ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชกาลที่ 5/เล่ม 1/เรื่อง 6

จาก วิกิซอร์ซ
สารบัญ
ธรรมนูญ
พระราชดำริห์
หมวด 1 ว่าด้วยนามแลการที่จะใช้พระราชบัญญัตินี้
  1. นามพระราชบัญญัติ
  2. กำหนดให้ใช้
  3. เลิกกฎหมายเก่า
หมวด 2 ว่าด้วยศาลหัวเมือง
หมวด 3 ว่าด้วยผู้พิพากษาศาลหัวเมือง
หมวด 4 ว่าด้วยอำนาจศาลหัวเมือง
หมวด 5 ว่าด้วยธุระในการศาลหัวเมือง
หมวด 6 ว่าด้วยการเปรียบเทียบความหัวเมือง
หมวด 7 ว่าด้วยพนักงานจัดการรักษาพระราชบัญญัติ


มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ทรงพระราชรำพึงถึงการที่จะทำนุบำรุงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้อยู่เย็นเปนศุขสมบูรณยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า การพิจารณาแลพิพากษาบังคับคดีของราษฎรตามหัวเมืองทั้งปวงยังเปนการช้า แลเปนเหตุให้ราษฎรได้ความเดือดร้อน เพราะพระราชกำหนดกฎหมายสำหรับศาลซึ่งได้ตั้งมาแต่เดิมเปนประเพณีเก่าเกินกว่าความต้องการแลความเจริญของบ้านเมืองในปัตยุบันนี้อยู่เปนหลายประการ

เพราะเหตุนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระธรรมนูญศาลหัวเมืองไว้ต่อไปดังนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระธรรมนูญศาลหัวเมือง รัตนโกสินทรศก ๑๑๔”

มาตราพระราชบัญญัตินี้จะควรใช้ในหัวเมืองมณฑลใดตั้งแต่เมื่อใด จะได้โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แลให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยมีสารตราพระราชสีห์บังคับออกไปยังหัวเมืองมณฑลนั้น ส่วนหัวเมืองในจังหวัดกรุงเทพฯ ก็ให้เสนาบดีกระทรวงนครบาลมีสารตราพระยมทรงสิงห์บังคับออกไป หัวเมืองมณฑลใดที่ยังไม่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้คงปฏิบัติไปตามเดิมก่อน

มาตราพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งได้มีมาแต่ก่อนบทใด ๆ ข้อความขัดขวางต่อพระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเลิกบทนั้น ๆ เสียแต่วันที่ได้ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัตินี้สืบไป

มาตรานอกจากศาลพิเศษซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเฉพาะแก่พระราชบัญญัติฤๅราชการอย่างใดในหัวเมืองนั้น ให้มีศาลประจำสำหรับพิจารณาคดีตามหัวเมืองเปน ๓ ชั้นโดยลำดับกันดังนี้ คือ

ศาลมณฑล

ศาลเมือง

ศาลแขวง

แลศาลพิเศษซึ่งจะตั้งขึ้นในมณฑลเปนครั้งเปนคราว ดังจะว่าไว้ในมาตรา ๖ ต่อไป

เว้นแต่หัวเมืองในจังหวัดกรุงเทพฯ นั้น ศาลหลวงเปนศาลมณฑลอยู่แล้ว ให้มีแต่ศาลเมือง ๑ ศาลแขวงซึ่งเหมือนกับศาลโปรีสภา ๑ แลศาลพิเศษอันจะตั้งขึ้นในมณฑลเปนครั้งเปนคราวเหมือนกับกองไต่สวน ๑ รวมสามอย่างเท่านั้น

มาตราศาลประจำทั้ง ๓ ชั้นนี้จะควรตั้งณที่ใด ๆ ให้ข้าหลวงเทศาภิบาลพิเคราะห์ดูตามสมควรแก่ราชการ แล้วมีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูลฯ เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแลได้ประกาศแก่มหาชนให้ทราบแล้ว ก็ให้ตั้งได้

มาตราข้าหลวงเทศาภิบาลเห็นจำเปนจะต้องตั้งศาลพิเศษขึ้นในมณฑลที่ตำบลใดเปนครั้งเปนคราวเพื่อประโยชน์ในคดีรายหนึ่งรายใด เมื่อได้มีใบบอกคำนับแล้ว ก็ให้มีคำสั่งตั้งได้เปนครั้งเปนคราว แต่ศาลพิเศษที่ตั้งนั้นจะให้มีอำนาจยิ่งกว่าอำนาจศาลเมืองไม่ได้

มาตราศาลมณฑลต้องมีผู้พิพากษาประจำตำแหน่งคณะ ๑ คือ อธิบดีผู้พิพกาษาศาลมณฎล กับผู้พิพากษาอื่นอีก รวมกันทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า ๓ นายจึ่งจะเปนองค์คณะที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีได้เต็มอำนาจศาล ศาลเมืองก็ต้องมีผู้พิพากษาคณะ ๑ คือ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเมือง กับผู้พิพากษาอื่นรวมกันไม่ต่ำกว่า ๓ นาย จึงจะเปนคณะแลพิจารณาพิพากษาคดีได้เต็มอำนาจศาลเมือง แต่ศาลแขวงนั้นมีตำแหน่งผู้พิพากษาแต่ศาลละนาย

มาตราศาลมณฑลบังคับคดีตามอำนาจศาลได้ตลอดเขตรมณฑลเทศาภิบาลซึ่งตั้งศาลนั้น ศาลเมืองบังคับคดีตามอำนาจได้แต่ในเขตรเมืองที่ตั้งศาล แลศาลแขวงบังคับคดีตามอำนาจได้แต่ในท้องที่ซึ่งผู้บัญชาการเมือง (คือ ข้าหลวงเทศาภิบาล ฤๅผู้ว่าราชการเมืองเมื่อได้รับอนุมัติของข้าหลวงเทศาภิบาล) จะกำหนดแขวงให้ว่ากล่าวมากน้อยเท่าใดก็ได้

มาตราในท้องที่ซึ่งศาลใดได้บังคับคดีอยู่โดยอำนาจนั้นจะพิจารณาและพิพากษาคดีอยู่ท้องที่ตำบลเดียว ฤๅจะย้ายที่ไปตำบลอื่นเพื่อให้สดวกในการพิจารณาแลสืบสวนพิพากษาคดี ฤๅเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อผู้บัญชาการเมืองเห็นสมควร ฤๅผู้พิพากษาเห็นสมควรโดยอนุมัติของผู้บัญชาการเมืองแล้ว ก็ย้ายที่ศาลไปได้

มาตรา๑๐ผู้พิพากษาสำหรับชั้นพิจารณาแลพิพากษาคดีตามหัวเมืองมีตำแหน่งโดยลำดับกันเปน ๓ ชั้น คือ

ผู้พิพากษาชั้นที่ ๑ ถือศักดินา ๓๐๐๐ ไร่

ผู้พิพากษาชั้นที่ ๒ ถือศักดินา ๑๐๐๐ ไร่

ผู้พิพากษาชั้นที่ ๓ ถือศักดินา ๖๐๐ ไร่

มาตรา๑๑การที่จะตั้งฤๅจะเลื่อนจะเปลี่ยนผู้พิพากษาตามหัวเมืองนี้ เปนหน้าที่ของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมจะต้องนำขึ้นกราบบังคมทูลแลรับพระบรมราชโองการไปจัดการนั้น ในการที่เกี่ยวแก่ตั้ง ฤๅเลื่อน ฤๅเปลี่ยนผู้พิพากษาตามหัวเมืองซึ่งข้าหลวงเทศาภิบาลจะต้องชี้แจงประการใด ให้มีใบบอกเข้ามายังเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม

มาตรา๑๒ผู้พิพากษาชั้นที่สามมีอำนาจดังนี้ คือ

ข้อที่จะออกหมายฤๅสั่งให้จับผู้ต้องหาในคดีมีโทษหลวง

ข้อที่จะบังคับส่งตัวคนไปต่างแขวงตามสูตรนารายน์

ข้อที่จะออกหมายฤๅมีคำสั่งให้ค้นของกลางในคดีซึ่งมีโทษหลวง

ข้อที่จะออกหมายเรียกคู่ความแลพยานในคดีซึ่งมีอำนาจที่จะพิจารณาได้

ข้อที่จะไต่สวนคดีมีโทษหลวง

ข้อที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีมีโทษหลวงชั้นลหุโทษซึ่งอาญาจำไม่เกินเดือน ๑ ฤๅปรับไหมไม่เกิน ๕๐ บาท

ข้อที่จะพิจารณาแลพิพากษาความแพ่งซึ่งทุนทรัพย์ฤๅเบี้ยปรับไหมไม่เกิน ๕๐ บาท

มาตรา๑๓ผู้พิพากษาชั้นที่สองมีอำนาจดังนี้ คือ

ข้อบรรดาอำนาจที่มีในผู้พิพากษาชั้นที่สามนั้นก็ทำได้

ข้อที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีมีโทษหลวงชั้นลหุโทษเพียงอาญาจำไม่เกิน ๓ เดือน ฤๅปรับไหมไม่เกิน ๑๐๐ บาท ฤๅโบยด้วยไม้หวายไม่เกิน ๓๐ ที

ข้อที่จะพิจารณาแลพิพากษาความแพ่งซึ่งทุนทรัพย์ฤๅเบี้ยปรับไม่เกิน ๑๐๐ บาท

มาตรา๑๔ผู้พิพากษาชั้นที่หนึ่งมีอำนาจดังนี้ คือ

ข้อบรรดาอำนาจที่มีในผู้พิพากษาชั้นที่สองก็ทำได้

ข้อที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีมีโทษหลวงชั้นมัธยมโทษที่อาญาจำไม่เกิน ๖ เดือน ฤๅเบี้ยปรับไม่ถึง ๒๐๐ บาท ฤๅโทษโบยด้วยไม้หวายไม่เกิน ๕๐ ที

ข้อที่จะพิจารณาแลพิพากษาความแพ่งซึ่งทุนทรัพย์ฤๅเบี้ยปรับไม่ถึง ๒๐๐ บาท

มาตรา๑๕ผู้พิพากษาจะมีอำนาจตามที่ได้ว่ามานี้เฉพาะแต่เมื่อได้อยู่ในตำแหน่งได้บังคับคดีในศาลใด ๆ ฤๅเมื่อได้รับคำสั่งของผู้บัญชาการเมืองให้พิจารณาแลพิพากษาคดีพิเศษอย่างใด ๆ จึงจะมีอำนาจตามข้อความที่ได้ว่ามานี้ได้

มาตรา๑๖ศาลแขวงมีอำนาจที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีเพียงเท่าอำนาจในตำแหน่งของผู้พิพากษานั้น

มาตรา๑๗ศาลเมืองมีอำนาจดังนี้ คือ

ข้อถ้าคดีที่มาถึงศาลเมืองไม่เกินอำนาจในตำแหน่งผู้พิพากษา ผู้พิพากษาในศาลเมืองจะแยกกันพิจารณาแลพิพากษาคดีที่อยู่ในกำหนดอำนาจตำแหน่งของตนเรื่องละคนอย่างศาลแขวงก็ได้

ข้อถ้าคดีที่มาถึงศาลเมืองเกินอำนาจในตำแหน่งผู้พิพากษา ก็ให้ผู้พิพากษาศาลเมืองรวมเปนคณะพร้อมกันมีอำนาจที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีโดยกำหนดดังนี้ คือ

ประการ ความแพ่งทุนทรัพย์ไม่เกิน ๕๐๐ บาท
ประการ ความมีโทษหลวงโดยกำหนดโทษเหล่านี้ คือ
สถาน จำ
สถาน เฆี่ยน
สถาน ปรับไหมไม่เกิน ๕๐๐๐ บาท

มาตรา๑๘ศาลมณฑลมีอำนาจดังนี้ คือ

ข้อบรรดาอำนาจที่มีในศาลหัวเมือง

ข้อที่จะพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงได้ทุกบทกฎหมาย

ข้อที่จะพิจารณาแลพิพากษาความอุทธรณ์ศาลต่ำในมณฑลนั้น

มาตรา๑๙คำพิพากษาคดีซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิตรอย่างหนึ่ง ถึงริบสมบัติอย่างหนึ่งนี้ เมื่อศาลได้อ่านให้คู่ความฟังแล้ว ต้องบอกส่งคำพิพากษาเข้ามายังเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมให้ทำขึ้นกราบบังคมทูลฯ ก่อน ต่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงจะกระทำตามคำพิพากษาได้ แต่คำพิพากษานอกจากนั้น เมื่อศาลได้พิพากษาแล้ว แลคู่ความมิได้อุทธรณ์ตามกฎหมาย ก็ให้ผู้พิพากษาหมายบอกผู้ว่าราชการเมืองแลกรมการให้บังคับตามคำพิพากษาได้ทุกประการ

มาตรา๒๐คู่ความจะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลแขวงแลศาลเมือง ให้อุทธรณ์ต่อศาลมณฑล เมื่อจะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลมณฑล จึ่งให้เข้ามาอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ณสนามสถิตย์ยุติธรรมในกรุงเทพฯ

มาตรา๒๑ผู้พิพากษาซึ่งเปนอธิบดีฤๅเปนประธานในศาลใด เปนผู้รับผิดชอบที่จะรักษาบรรดาการในศาลนั้นให้เรียบร้อยถูกต้องตามแบบแผน แลมีอำนาจที่จะตั้ง จะผลัดเปลี่ยน แลบังคับบัญชาพนักงานในศาลได้ทุกตำแหน่ง แต่บรรดาที่ได้ว่าในมาตรานี้ ผู้พิพากษาต้องกระทำแต่โดยที่ได้อนุมัติของผู้บัญชาการเมืองซึ่งเปนผู้รับผิดชอบในฝ่ายธุระการทั่วไป

มาตรา๒๒อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลเปนหัวหน้าแห่งผู้พิพากษาศาลทั้งปวงในมณฑลนั้นโดยตำแหน่ง แลมีน่าที่ในส่วนนี้ คือ

ข้อที่จะตรวจตราตักเตือนให้การในศาลทั้งปวงเปนไปโดยเรียบร้อย

ข้อเปนที่หาฤๅความขัดข้องของผู้พิพากษาอื่น

ข้อที่จะเรียกรายงานการคดีแลการศาลในมณฑลทั่วไป

ข้อที่จะปฤกษาหาฤๅด้วยผู้บัญชาการเมืองในการที่จะจัดแลรักษาการศาลทั้งปวงให้เรียบร้อย

ข้อที่จะรายงานคดีในมณฑลต่อกระทรวงยุติธรรม

มาตรา๒๓ถ้าผู้พิพากษาประจำตำแหน่งในศาลใดจะทำการในน่าที่ไม่ได้ด้วยเหตุอย่างใด ผู้บัญชาการเมือง ฤๅอธิบดีผู้พิพากษาเมื่อได้อนุมัติของผู้บัญชาการเมืองแล้ว จะจัดให้ผู้ใดทำการแทนไปชั่วคราวหนึ่งกว่าผู้เปนตำแหน่งจะกลับมาทำการได้ตามเดิม ฤๅถ้าเปนตำแหน่งว่าง กว่าเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมจะได้มีตรานำตั้งผู้หนึ่งผู้ใดให้เปนแทนนั้นก็ได้ ผู้แทนย่อมมิอำนาจแลรับผิดชอบเสมอตำแหน่งที่แทนนั้น แต่การที่จะเลือกสรรผู้แทนเช่นนี้ ถ้าไม่จำเปนจะต้องทำอย่างอื่น ควรให้ผู้พิพากษาซึ่งมีตำแหน่งชั้นเดียวกันฤๅที่รองต่อกันโดยลำลับได้เปนแทน แลผู้แทนผู้พิพากษาเช่นว่ามานี้ ต้องได้รับตราจันทรมณฑลอยู่แต่ก่อนแล้วว่าเปนผู้สามารถจะทำการแทนผู้พิพากษาชั้นใด จึงจะทำการแทนผู้พิพากษาชั้นนั้นได้

มาตรา๒๔การที่ผู้ว่าราชการกรมการจะลงอาญาผู้แพ้คดีตามคำพิพากษาศาลหัวเมืองนั้น ถ้าไม่จำเปนจะต้องส่งผู้แพ้คดีไปที่อื่นแล้ว ให้ลงอาญาในจังหวัดเมืองที่ได้พิพากษาโทษนั้น

มาตรา๒๕ข้าหลวงเทศาภิบาล เมื่อได้รับอนุญาตจากกระทรวงยุติธรรมแล้ว มีอำนาจที่จะตั้งพนักงานอัยการไว้สำหรับเปนทนายแผ่นดินฟ้องหาคดีมีโทษหลวงในมณฑลเมืองนั้น ๆ ตามข้อพระราชบัญญัติความอาญามีโทษหลวง ถ้าหากว่ามีคดีซึ่งจะต้องแต่งทนายแผ่นดินว่ากล่าวมากเกินกว่าพนักงานอัยการที่มีประจำตำแหน่ง ฤๅผู้บัญชาการเมืองจะเห็นสมควรโดยเหตุอย่างอื่น จะตั้งทนายแผ่นดินเพิ่มเติมขึ้นว่าความเฉพาะเรื่องฤๅชั่วครั้งหนึ่งคราวหนึ่งโดยจะยังไม่ได้รับอนุญาตของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ก็ตั้งได้

มาตรา๒๖ถ้าคดีมีโทษหลวงมาถึงศาลใดฤๅเกิดขึ้นในท้องที่ศาลใดซึ่งไม่มีพนักงานอัยการ ฤๅพนักงานอัยการไม่ได้มายังศาล ถ้าไม่มีโจทย์จะว่าคดีนั้น ผู้พิพากษาจะสั่งให้กรมการแขวงในท้องที่นั้นเปนทนายแผ่นดินว่าความเรื่องนั้นก็ได้

มาตรา๒๗ความแพ่งแลความวิวาทเล็กน้อยกำหนดโดยทุนทรัพย์ฤๅเบี้ยปรับไหมไม่เกิน ๒๐ บาท แลเปนความซึ่งไม่มีโทษหลวงเหล่านี้ เกิดขึ้นในตำบลใด ฤๅตัวจำเลยอยู่ในตำบลใด ถ้าโจทย์มาร้องฟ้องต่อกำนัน ก็ให้กำนันนายตำบลนั้นมีอำนาจที่จะเรียกตัวจำเลยแลพยานมาไต่ถามแลเปรียบเทียบให้แล้วต่อกันตามสมควร โดยไม่ต้องไปร้องฟ้องยังโรงศาลก็ได้

มาตรา๒๘ความชนิดที่ได้ว่ามาก่อนนั้น ถ้ากำนันนายตำบลเปรียบเทียบไม่ตกลงได้ก็ตาม ฤๅเปนคดีซึ่งทุนทรัพย์ฤๅเบี้ยปรับไหมแต่ ๒๐ บาทขึ้นไปจน ๔๐ บาท อันพ้นอำนาจที่กำนันจะเปรียบเทียบได้เหล่านี้ ถ้าคู่ความฝ่ายใดพอใจจะให้เปรียบเทียบให้เปนที่แล้วต่อกัน ก็ให้นายแขวงมีอำนาจที่จะเรียกคู่ความแลพยานมาไต่ถามแลเปรียบเทียบให้แล้วต่อกันตามสมควรก็ได้

มาตรา๒๙ในการเปรียบเทียบนี้ ถ้าโจทย์จำเลยยอมกันตามคำเปรียบเทียบ ให้ความนั้นเปนแล้วต่อกัน โจทย์ฤๅจำเลยจะเอาคดีเรื่องนั้นไปรื้อร้องฟ้องยังโรงศาลต่อไปอีกไม่ได้ ถ้าหากว่าโจทย์ฤๅจำเลยไม่ยอมตามคำเปรียบเทียบ ก็ให้กำนันนายแขวงบอกโจทย์จำเลยให้ไปร้องฟ้องว่ากล่าวกันตามโรงศาล

มาตรา๓๐ถ้าโจทย์จำเลยยอมตามคำเปรียบเทียบแล้ว แลภายหลังฝ่ายใดไม่กระทำตามยอมนั้น ให้กำนันนายแขวงขออำนาจศาลแขวงซึ่งได้บังคับคดีท้องที่ตำบลนั้นบังคับคู่ความฝ่ายนั้นนให้กระทำตามยอมนั้นได้ทุกประการ

มาตรา๓๑ศาลหัวเมืองมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบบรรดาคดีซึ่งไม่มีโทษหลวงฤๅเปนคดีมีโทษหลวงเพียงปรับไหมแลอยู่ในอำนาจแห่งศาลนั้น ๆ ให้แล้วต่อกันตามสมควรได้ทุกชั้นในกระบวนพิจารณา ถ้าคู่ความยินยอมในคำเปรียบเทียบ ก็ให้เปนที่แล้วต่อกันได้ในชั้นนั้น ถ้าไม่ยอม ก็ให้ศาลพิจารณาต่อไปให้สำเร็จเด็ดขาดตามลักษณพิจารณาในคดีนั้น ๆ

มาตรา๓๒ให้กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย แลกระทรวงนครบาลเปนพนักงานรักษาแลจัดการให้สำเร็จตามความในพระราชบัญญัตินี้ตามน่าที่ของกระทรวงนั้น ๆ ทุกประการ

ประกาศมาณวันที่ ๒ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๔ เปนวันที่ ๙๙๑๔ ในรัชกาลปัตยุบันนี้