หน้า:พจนานุกรมกฎหมาย - สมาหารหิตะคดี - ๒๔๗๔.pdf/416

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๑๑
อุทลุม

ไม่เกิน ๒๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลเดิมพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ หรือให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับเป็นพินัยไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กับคดีแพ่งที่ฟ้องหากันด้วยทุนทรัพย์ไม่เกิน ๒๐๐ บาท จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่ได้ เว้นไว้แต่อธิบดีผู้พิพากษาหรือผู้ทำการแทนอธิบดีผู้พิพากษาของศาลซึ่งได้พิพากษาคดีนั้นในชั้นต้นจะอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรให้อุทธรณ์ หรือผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งซึ่งได้พิจารณาคดีนั้นในชั้นต้น หรืออธิบดีกรมอัยยการ ได้ลงชื่อรับรองว่ามีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย หรือผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งทำความเห็นแย้งไว้ จึงจะอุทธรณ์ได้ (พ.ร.บ. ลักษณะอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๔๗๓ มาตรา ๓)

กำหนดเวลาอุทธรณ์นั้น ๑ เดือนนับตั้งแต่วันได้ฟังหรือควรจะได้ฟังคำตัดสินเป็นต้นไป (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๙๖ ข้อ ๒ ซึ่งได้แก้ไขตาม พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๗๓ มาตรา ๙)
อุทลุม ผิดประเพณีและแบบธรรมเนียม, อำนาจที่บุตร์จะฟ้องบิดามารดาไม่ได้