หน้า:คำพิพากษาคดีกบฏ - กรมโฆษณาการ - ๒๔๘๒.pdf/14

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๑

พระยาธรณีนฤเบศร์) กับพวกให้นายพุ่ม ทับสายทอง ยิงนายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ ที่ท้องสนามหลวง จังหวัดพระนครอีกด้วย

๑๒. ในคราวเกิดกบฏเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ และต่อ ๆ มาพระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์, พระยาสุเทพภักดี, พระวุฑฒิภาคภักดี, นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล และจ่านายสิบตำรวจแม้น เลิศราวี จำเลย ได้สะสมกำลังเพื่อช่วยเหลือทำการกบฏในครั้งนั้นด้วย นิกจากนี้ยังกล่าวติเตียนรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนขาดความจงรักภักดี หรือดูหมิ่นเกลียดชังรัฐบาล อันเป็นเหตุจะให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงกับจะก่อความไม่สงบขึ้นในแผ่นดิน ช่วยปกปิดเหตุการณ์ซึ่งรู้อยู่ว่าจะมีการกบฏเกิดขึ้นไม่นำความไปร้องเรียนตามที่กฎหมายบังคับไว้ และในระหว่างปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ถึงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ จำเลยทั้ง ๕ คนดังกล่าวแล้วข้างต้นกับ ร.อ. หลวงประสิทธิการ, นายโชติ คุ้มพันธ์ และหม่อมราชวงศ์นิมิตมงคล นวรัตน์ จำเลย ได้เขียนบทประพันธ์ส่งเสริมลัทธิคอมมิวนิสต์ และเขียนบทประพันธ์กับกล่าวด้วยวาจาติเตียนรัฐบาล นอกจากนี้ยังได้ชักชวนผู้คนตระเตรียมสะสมกำลัง คิดประทุษร้ายบุคคลสำคัญในรัฐบาล สำหรับหม่อมราชวงศ์นิมิตมงคล เคยต้องโทษฐานกบฏมาครั้งหนึ่งแล้ว พ้นโทษมาแล้วกลับมากระทำความผิดนี้ซ้ำอีก หาเข็ดหลาบไม่

๑๓. ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึงสันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ นายร้อยเอกจรัส สุนทรภักดี, นายร้อยโทแสง วัณณะศิริ, นายร้อยโทบุญลือ โตกระแส นายร้อยโทสัย เกษจินดา และนายร้อยโทเสริม พุ่มทอง จำเลย ได้ร่วมมือกันจะประหารคนสำคัญในคณะรัฐบาลหลายท่าน และยังได้หาบุคคลอื่นเพื่อทำการประหารบุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลตามแผนการณ์ที่วางไว้ กล่าวคือ เมื่อคราวเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ กับนายนาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ร.น. เดินทางไปต่างประเทศ