หน้า:คำพิพากษาคดีกบฏ - กรมโฆษณาการ - ๒๔๘๒.pdf/15

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๒

เพื่อเชิญพระปกเกล้า ฯ กลับเมืองไทยนั้น จำเลยได้ตระเตรียมการจะลงมือประหารด้วยตนเอง และได้จัดหาบุคคลอื่นซึ่งเป็นพรรคพวกให้ทำการประหารบุคคลในคณะรัฐบาล เช่น นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม นายพันตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส และหลวงประดิษฐมนูธรรม ที่สถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง หากมีเหตุสุดวิสัยมาขัดขวางเสียจึงไม่ได้กระทำการดั่งกล่าวแล่ว ต่อมาในคราวมีงานฉลองรัฐธรรมนูญ ได้เตรียมการที่จะประหารและได้จัดหาบุคคลอื่นเพื่อกระทำการประหารบุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลตามที่ได้ระบุนามไว้ข้างต้น ที่ท้องสนามหลวง และที่วังสราญรมย์อีก แต่มีเหตุสุดวิสัยมาขัดขวางเสียจึงมิได้ลงมือกระทำการ ต่อมาวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ เวลากลางวัน จำเลยได้ร่วมคิดกับหลวงรณสิทธิพิชัย พระยาฤทธิอัคเนย์, หลวงวรณสฤช, นายพิทย์ ผัลเตมีย์ กับพวก ใช้ให้นายพุ่ม ทับสายทองยิงนายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม ที่ท้องสนามหลวงมีบาดเจ็บสาหัส นอกจากนี้ได้เกลี้ยกล่อมหาพรรคพวกข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน และราษฎร เพื่อยึดอำนาจการปกครองทำลายล้างรัฐบาลแล้วจะได้เชิญพระปกเกล้า ฯ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และให้พระยาทรงสุรเดช เป็นนายกรัฐมนตรี และจำเลยนี้ยังได้กล่าวต่อประชาชนว่า คณะรัฐบาลนี้ปกครองไปในทางลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเจตนาที่จะให้เกิดความดูหมิ่นต่อรัฐบาลในหมู่ประชาชน และให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลโดยใช้กำลังบังคับและทำร้าย

๑๔. ในคราวกบฏเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ พระยาวิชิตสรไกร จำเลยได้ตระเตรียมกำลังทหารเพื่อสมคบกับกบฏในคราวนั้น โดยพระยาวิชิตสรไกร ได้สั่งให้มีการระดมพลที่จังหวัดชัยนาทและกล่าวถ้อยคำว่า รัฐบาลเห็นจะอยู่ละคราวนี้ อันเป็นปฏิปักข์ต่อคำแถลงการณ์ของรัฐบาล เป็นการโน้มใจเกลี้ยกล่อมประชาชนให้หมดความเลื่อมใสในคณะรัฐบาล ต่อมาในระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ จนถึงวันที่ถูกจับ พระยาวิชิตสรไกร นายยันต์ วินิจฉัยภาค ขุนนิพันธ์ประศาสน์ และ