ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:Siam (IA siampeepsatmany00youn).pdf/61

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ภิกษุ

เหล่าผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ที่คุกเข่าอยู่เบื้องล่าง หรือไม่ก็สลายตัวไปในความมืดมิดของหลังคาสูงตระหง่านด้านบน ขณะที่เสียงภาวนาเป็นทำนองนุ่มนวลก็แผ่แพร่ไปในบรรยากาศยามค่ำ ฝ่ายกบในสระก็จะครวญเสียงทุ้มกันสนั่น จิ้งหรีดก็พลันเสริมเสียงแหลมระเบ็งเซ็งแซ่ ส่วนหิ่งห้อยก็คอยกระพริบอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้และไม้ตาล ต่างผสมโรงในพิธีกรรมยามค่ำกันถ้วนหน้า

กุฏิที่ภิกษุอยู่นั้นเป็นห้องเล็ก ทาสีขาวทั่ว แทบไม่มีเครื่องเรือนใด ๆ มีเพียงพรมไม่กี่ผืน บางทีก็โครงเตียง หรือหาไม่แล้ว ก็จะมีฟูกอยู่บนพื้น มีดอกไม้สักนิดสักหน่อย และมีรูปพระพุทธเจ้าผู้สถาปนาศาสนาของพระภิกษุเหล่านั้น ภิกษุจะเก็บกาชาหนึ่งใบกับถ้วยใบจิ๋วสองสามใบไว้ในตู้หลังเล็ก และยินดีอยู่เสมอที่จะจัดน้ำชาให้แขกมากเท่ากับที่ตนฉันได้ เป็นไปได้มากว่า ภิกษุจะมีกระดานหมากรุกพร้อมตัวหมากสักชุดอยู่ในครอบครอง เพราะชาวสยามส่วนใหญ่คลั่งไคล้การละเล่นโบราณนี้

บทภาวนาและบทสวดนั้นจะใช้หัวเข็มอันแข็งและละเอียด ทำจากงาช้างหรือเหล็ก จารลงบนใบตาลที่เป็นริ้วยาว[1] ริ้วใบตาลนี้จะใช้เชือกหรือแถบสักชิ้นยึดไว้ด้วยกันผ่านแนวรู เอกสารผูกนี้จะปิดทองไว้ตามขอบและเก็บรักษาอย่างระมัดระวังไว้ในหีบ "หนังสือ" เหล่านี้จะเขียนเป็นภาษาที่ผู้คนทั่วไปไม่เข้าใจ และอันที่จริง มีแต่ภิกษุที่อยู่รับใช้พระศาสนามานานพอจนได้เรียนภาษานี้แล้ว จึงจะรู้ว่า บทสวดที่ตนเพียรท่องนักหนานี้มีเนื้อหาว่าด้วยสิ่งใด

ในบรรดาข้าวของไม่กี่อย่างที่ภิกษุอาจครอบครองได้ตามกฎหมายนั้น มีพัดขนาดใหญ่ทำจากใบตาลใบกว้าง[2] เป็นที่คาดหมายว่า ภิกษุจะถือพัดนี้ไว้เบื้องหน้าตนในยาม

37
  1. คือ ใบลาน
  2. คือ ตาลปัตร