หน้า:คำวินิจฉัย ศร ๒๕๖๔-๑๙ (กลาง).djvu/2

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้ตรวจสอบแล้ว

เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๘๐ ก

๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
หน้า ๒๓
ราชกิจจานุเบกษา

ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า คณะบุคคลประกอบด้วยกลุ่มกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสหภาพนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กลุ่มแนวร่วมนิสิตมหาสารคามเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มเสรีเทยพลัส ได้ใช้สถานที่ต่าง ๆ ในการจัดเวทีชุมนุม อันเป็นการกระทำความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๖ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย เป็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และก่อให้เกิดความแปลกแยก ปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะบุคคลที่ปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จำนวน ๘ คน ได้แก่ นายอานนท์ นำภา (ผู้ถูกร้องที่ ๑) นายภาณุพงศ์ จาดนอก (ผู้ถูกร้องที่ ๒) นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (ผู้ถูกร้องที่ ๓) นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ (ผู้ถูกร้องที่ ๔) นางสาวจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ (ผู้ถูกร้องที่ ๕) นางสาวสิริพัชระ จึงธีรพานิช (ผู้ถูกร้องที่ ๖) นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข (ผู้ถูกร้องที่ ๗) และ นางสาวอาทิตยา พรพรม (ผู้ถูกร้องที่ ๘) ได้กระทำเป็นขบวนการ มีการนำแนวคิดมาจากอดีตพรรคอนาคตใหม่ซึ่งคอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ปรากฏสัญลักษณ์การชูสามนิ้ว และไม่ยอมรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมถึงการปราศรัยในสถานที่สาธารณะ ได้แก่

วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวทีเสกคาถาปกป้องประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวทีเชียงใหม่จะไม่ทน จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ถูกร้องที่ ๑ ปราศรัยสรุปได้ว่า การที่นิสิตนักศึกษาและประชาชนชุมนุมเรียกร้องส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องการตั้งคำถามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาสำคัญคือ มีกระบวนการที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไกลห่างจากระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ การออกแบบโครงสร้างรัฐธรรมนูญให้เอื้อต่อการขยายพระราชอำนาจ โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕ วรรคสอง กำหนดให้การจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย การแทรกแซงการประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยสถาบันพระมหากษัตริย์ การออกกฎหมายขยายพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์หลายฉบับ ให้มีหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ทำให้ทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตกเป็นของพระมหากษัตริย์ ให้มีการโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ รวมถึงการตรากฎหมายเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดินในส่วนของสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการเสนอ