ข้ามไปเนื้อหา

ห้องสิน/เล่ม ๑

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)

ปก ลงสารบัญ






ห้องสิน
เล่ม ๑






ปกใน ขึ้นลงสารบัญ



ห้องสิน
เล่ม ๑



พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง ๓,๐๐๐ ฉบับ
พ.ศ. ๒๕๐๖




องค์การค้าของคุรุสภา
ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์
ถนนราชดำเนินกลาง
จัดพิมพ์จำหน่าย


๒๐๐๒



หน้า ก–จ ขึ้นลงสารบัญ



คำนำ


ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานจัดพิมพ์หนังสือชุดภาษาไทยเพื่อทบทวนงานที่ได้ดำเนินมาแล้วในปีแรก คณะกรรมการดำเนินงานได้มีมติให้เพิ่มการจัดพิมพ์หนังสือชุดภาษาไทยขึ้นอีกสามชุด คือ ชุดประชุมพงศาวดาร ชุดรามเกียรติ์ และชุดพงศาวดารจีน

ชุดพงศาวดารจีนซึ่งจัดเป็นชุดที่ยี่สิบนี้ คณะกรรมการได้มีมติให้จัดพิมพ์เฉพาะเรื่องที่นับเนื่องเป็น "พงศาวดารจีน" จริง ๆ เสียก่อน ส่วนเรื่องจีนอื่น ๆ ที่จัดว่า เป็น "เกร็ด" พงศาวดารบ้าง หรือที่แต่งเป็นแบบนวนิยายบ้าง ให้จัดพิมพ์ต่อภายหลัง

ความจริงหนังสือพงศาวดารจีนไม่ว่าประเภทใดมีผู้นิยมอ่านกันมาก ในสมัยก่อน ชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปติดพงศาวดารจีนเหมือนกับการรับประทานอาหาร ฉะนั้น จึงปรากฏว่า บรรดาหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะต้องลงเรื่องจีนอย่างน้อยหนึ่งเรื่องเป็นประจำ นักอ่านจะซื้อหนังสือพิมพ์รายวันเพื่ออ่านเรื่องจีนวันต่อวัน เรื่องที่ลงพิมพ์นั้นบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เคยพิมพ์เป็นเล่มมาแล้ว แต่หาอ่านไม่ได้ เพราะต้นฉบับเดิมหายาก และมิได้มีการพิมพ์ขึ้นใหม่ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่แปลขึ้นใหม่จากนวนิยายจีนซึ่งแต่งอิงพงศาวดาร บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่นักประพันธ์ไทยแต่งข้นเองทำนองแต่งนวนิยายอาศัยพงศาวดารจีน เรื่องอิงพงศาวดารจีนที่น่าอ่านเพราะเป็นเรื่องมีคติแก่ชีวิตและครอบครัวก็มีหลายเรื่อง เช่น เรื่องจอยุ่ยเหม็ง เป็นต้น

ส่วนเรื่องจีนที่จัดได้ว่า เป็นเรื่อง "พงศาวดาร" นั้นปรากฏจากหนังสือตำนานสามก๊ก พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลขึ้นสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น และให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก นับเป็นเริ่มแรกของการแปลพงศาวดารจีนมาเป็นภาษาไทย ในรัชกาลที่ ๒ ได้มีการแปลบ้าง แต่ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ได้มีการแปลในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลต่อ ๆ มา

แต่การแปลพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยในครั้งนั้นหาได้แปลตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีนไม่ เข้าใจว่า อาจเพ่งเล็งไปในความสนุกของเรื่อง หรือตามแต่จะหาต้นฉบับได้มากกว่า ทั้งผู้อ่านไม่ปรารถนาจะหาความรู้ทางประวัติศาสตร์นอกจากความสนุกเป็นสำคัญ แต่ในการพิมพ์คราวนี้ คณะกรรมการมีความคิดเห็นว่า ควรจะจัดพิมพ์ใหม่ตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีน ซึ่งบางทีจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจของประวัติศาสตร์บ้าง จึงได้เรียงลำดับการพิมพ์ดังต่อไปนี้ คือ

๑. ไคเภ็ก
  • เริ่มแต่ประวัติศาสตร์ยังเจือปนด้วยนิยาย
  • เช่น การสร้างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ สร้างโลก ฯลฯ
  • จนถึงตอนใกล้ประวัติศาสตร์ กษัตริย์องค์แรก ๆ ของจีน
  • ตั้งแต่สมัยที่กษัตริย์ได้ขึ้นเสวยราชย์โดยราษฎรเป็นผู้เลือก
  • จนถึงปฐมกษัตริย์สืบราชวงศ์ คือ
  • กษัตริย์ราชวงศ์แฮ่ กับกษัตริย์ราชวงศ์เซียว
  • (ก่อนพุทธศักราช ๒๑๕๔ ปีถึงก่อนพุทธศักราช ๑๒๔๐ ปี)
๒. ห้องสิน
  • ราชวงศ์เซียว และราชวงศ์จิว
  • (ก่อนพุทธศักราช ๑๒๔๐ ปีถึงพุทธศักราช ๒๙๗)
๓. เลียดก๊ก
๔. ไซ่ฮั่น
  • ราชวงศ์จิ๋น และราชวงศ์ฮั่น
  • (พ.ศ. ๒๙๘–๓๓๗)
๕. ไต้ฮั่น
๖. ตั้งฮั่น
๗. สามก๊ก
  • ราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย ต่อราชวงศ์วุยและราชวงศ์จิ้นตอนต้น
  • (พ.ศ. ๓๓๗–๘๐๗)
๘. ไซจิ้น
  • ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์ซอ ราชวงศ์ชี
  • ราชวงศ์เหลียง และราชวงศ์ตั้น
  • (พ.ศ. ๘๐๘–๑๑๓๒)
๙. ตั้งจิ้น
๑๐. น่ำซ้อง
๑๑. ส้วยถัง
  • ราชวงศ์ซุย และราชวงศ์ถังตอนต้น
  • (พ.ศ. ๑๑๓๒–๑๑๖๑)
๑๒. ซุยถัง
๑๓. เสาปัก
  • ราชวงศ์ถัง
  • (พ.ศ. ๑๑๖๑–๑๔๕๐)
๑๔. ซิยิ่นกุ้ย
๑๕. ซิเตงซัน
๑๖. ไซอิ๋ว
๑๗. บูเช็กเทียน
๑๘. หงอโต้ว
  • ราชวงศ์เหลียง ราชวงศ์จัง ราชวงศ์จิ้น
  • ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิว
  • (พ.ศ. ๑๔๕๐–๑๕๐๓)
๑๙. น่ำปักซ้อง
  • ราชวงศ์ซ้อง
  • (พ.ศ. ๑๕๐๓–๑๘๑๙)
๒๐. บ้วนฮ่วยเหลา
๒๑. โหงวโฮ้วเพงไซ
๒๒. โหงโฮ้วเพงหนำ
๒๓. โหงวโฮ้วเพงปัก
๒๔. ซวยงัก
๒๕. ซ้องกั๋ง
๒๖. เปาเล่งถูกงอั้น
๒๗. ง่วนเฉียว
  • ราชวงศ์หงวน
  • (พ.ศ. ๑๘๒๐–๑๙๑๑)
๒๘. เม่งเฉียว
  • ราชวงศ์เหม็ง
  • (พ.ศ. ๑๙๑๑–๒๑๘๖)
๒๙. เองเลียดต้วน
๓๐. ซองเต๊กอิ้วกังหนำ
๓๑. ไต้อั้งเผ่า
๓๒. เซียวอั้งเผ่า
๓๓. เนียหนำอิดซือ
๓๔. เม่งมวดเซงฌ้อ
  • ราชวงศ์เช็ง
  • (พ.ศ. ๒๑๘๗–๒๔๕๔)
๓๕. เชงเฉียว

รวมทั้งสิ้นเป็นหนังสือสามสิบห้าเรื่อง ซึ่งถ้าแบ่งตามขนาดหนังสือชุดภาษาไทยก็อาจจะได้ไม่ต่ำกว่าห้าสิบเล่ม ต้นฉบับพิมพ์พงศาวดารจีนตามบัญชีดังกล่าวนี้ในปัจจุบันหาอ่านกันได้ยาก เพราะส่วนใหญ่มิได้มีการพิมพ์ขึ้นใหม่ นอกจากเรื่องที่นิยมกันว่า สนุก ๆ มากเท่านั้น การพิมพ์คราวนี้ก็ต้องยืมต้นฉบับจากหลายเจ้าของด้วยกัน ซึ่งคุรุสภาต้องขอแสดงความขอบคุณท่านเจ้าของต้นฉบับทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพราะความเอื้อเฟื้อของท่านเท่ากับเป็นการช่วยรักษาวรรณกรรมของชาติให้คงไว้ส่วนหนึ่ง และการจัดพิมพ์นั้นได้แก้ไขเฉพาะอักขรวิธี ส่วนถ้อยคำสำนวนต่าง ๆ ได้คงไว้ตามเดิม ซึ่งท่านจะได้ทราบภาษาที่คนไทยเรานิยมใช้เมื่อร้อยปีเศษมาแล้วว่าเป็นอย่างไร




สารบัญ ขึ้นลง



สารบัญ[1]


ตอน ชื่อตอน หน้า
ไทย จีน
ติวอ๋องเสด็จวัดหนึงวา 紂王女媧宮進香
พระยากีจิว (กีจิวเฮ้า) เชาฮู แข็งเมือง 冀州侯蘇護反商 ๑๕
กีเซียงหว่านล้อมเอานางขันกี 姬昌解圍進妲己 ๓๓
ปิศาจเสือปลาฆ่านางขันกีที่เมืองอินจี๋น 恩州驛狐狸死妲己 ๕๙
ฤษีเมฆาวาส (หุนต๋งจู๊) ถวายกระบี่ไม้สน 雲中子進劍除妖 ๗๒
ติวอ๋องให้สร้างเสาทองแดง (เผาหลก) 紂王無道造炮烙 ๗๘
ฮุยต๋งวางแผนโค่นล้มเกียงฮองเฮา 費仲計廢姜皇后 ๙๐
ราชโอรสลี้ภัย 方弼方相反朝歌 ๑๐๔
เสี่ยงหยงตายในวังนพเก้า 商容九間殿死節 ๑๒๐
พบหลุยจินที่เขานางแอ่น (เอียนซัว) 姬伯燕山收雷震 ๑๓๐
พระยาประจิม (ไซรเป๊กเฮ้า) ถูกขัง 羑里城囚西伯侯 ๑๔๕
โลเฉียกำเนิดที่ด่านตันตึง (ตันตึงก๋วน) 陳塘關哪吒出世 ๑๕๗
ไทอิดจินหยินรบนางเจียกี๋ 太乙真人收石磯 ๑๗๓
โลเฉียเกิดใหม่ด้วยใบบัว 哪吒現蓮花化身 ๑๘๑
จูแหยละเขาคุนหลุน (คุนหลุนซัว) 崑崙山子牙下山 ๑๙๕
จูแหยเผาปิศาจกระจับปี่ 子牙火燒琵琶精 ๒๐๗
นางเชาขันกีคิดค้นหลุมงู 蘇妲己置造蠆盆 ๒๑๑
จูแยบริภาษพระเจ้าแผ่นดิน 子牙諫主隱磻溪 ๒๑๕
เปกอิบโค้ต้องราชทัณฑ์เพราะถวายของกำนัล 伯邑考進貢贖罪 ๒๒๕
ซันงีเสงให้สินบน 散宜生私通費尤 ๒๓๔
บุนอ๋องหนีผ่านด่านทั้งห้า 文王誇官逃五關 ๒๓๙
พระยาประจิมบุนอ๋องรากลูก 西伯侯文王吐子 ๒๔๗
บุนอ๋องฝันถึงเสือคิ้วขาวติดปีก 文王夜夢飛熊兆 ๒๕๒
บุนอ๋องได้จูแหยเป็นพวกที่แม่น้ำผวน 渭水文王聘子牙 ๒๕๖
นางเชาขันกีเลี้ยงโต๊ะปิศาจ 蘇妲己請妖赴宴 ๒๖๔
นางขันกีคิดร้ายต่อปิกัน 妲己設計害比干 ๒๗๑
ราชครู (ไท้สือ) คืนทัพกลับพระนครและถวายฎีกาสิบข้อ 太師回兵陳十策 ๒๘๐
จูแหยเปิดศึกกับซ่องเฮ่าเฮ้า 子牙兵伐崇侯虎 ๒๙๒
ตัดหัวเฮ่าเฮ้า บุนอ๋องรับดูแลบุตรภรรยา 斬侯虎文王托孤 ๒๙๘
จิวกีและบูเสงอ๋องถูกยุให้กบฏ 周紀激反武成王 ๓๐๕
ราชครูบุน (บุนไท้สือ) นำทัพไล่ล่า 聞太師驅兵追襲 ๓๑๗



หน้า ๓๓๐ ขึ้นลงสารบัญ






พิมพ์ที่ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว นายกำธร สถิรกุล ผู้พิมพ์และผู้โฆษณา
๙ เมษายน ๒๕๐๖






หน้า ๓๓๑–๓๓๒ ขึ้นสารบัญ



  • ๑๘๐๑
  • ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑–๗๕)

ในบรรดาหนังสือที่เป็นประโยชน์สำหรับค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยแล้ว หนังสือชุด ประชุมพงศาวดาร เป็นหนังสือที่ให้ประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะได้รวบรวมเรื่องเก่า ๆ ที่มีสาระและคำอธิบายของผู้มีความรู้ในวิชาดังกล่าวไว้โดยละเอียด นอกจากเรื่องพงศาวดารแล้ว ยังมีตำนานและลัทธิธรรมเนียมที่ควรรู้และน่าสนใจรวมอยู่ด้วยเป็นอันมาก หนังสือชุดนี้เริ่มพิมพ์เป็นภาคแรก เรียกว่า ภาคที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ และได้พิมพ์ต่อมาจนถึงภาคที่ ๗๓ ใน พ.ศ. ๒๔๘๕ เป็นระยะเวลาถึงสามสิบปีเศษ และในขณะนี้ก็ยังมีพิมพ์ภาคอื่น ๆ ต่อมาอีกหลายภาค เนื่องด้วยหนังสือชุด ประชุมพงศาวดาร นี้เป็นหนังสือที่ดี และพิมพ์มาแล้วเป็นเวลาช้านาน ทำให้กระจัดกระจาย หาอ่านได้ยากในยามที่ต้องการ ทั้งหาผู้ที่จะลงทุนพิมพ์รวมเป็นชุดได้ยาก ราคาของหนังสือชุดนี้ในท้องตลาดจึงสูงขึ้นจนทุกวันนี้ ชุดหนึ่งถึงหนึ่งหมื่นบาท คณะกรรมการจัดพิมพ์หนังสือของคุรุสภามีความประสงค์จะรวบรวมพิมพ์หนังสือ ราคาพอสมควร สำหรับให้นักศึกษาและผู้สนใจในวิชาการได้หาซื้ออ่านได้สะดวก จึงได้จัดพิมพ์ขึ้น หนังสือชุดนี้ได้พิมพ์ออกมาสองภาคแล้ว และกำลังจัดพิมพ์ภาคต่อ ๆ ไปตามลำดับ ผู้สนใจโปรดอย่าลืมหาไว้เป็นสมบัติประดับห้องสมุดของท่าน


  • ๘๑๔–๘๒๐
  • พระราชพงศาวดารพม่า

พม่าเป็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงของเรา มีประวัติศาสตร์พัวพันกับไทยตลอดมา ทั้งด้านการเป็นมิตรและการสงคราม ไม่มีชาติใดที่มีประวัติศาสตร์การสงครามกับชาติไทยเรามากเท่ากับพม่า ในประวัติศาสตร์ของเราสมัยกรุงศรีอยุธยามีเรื่องที่เกี่ยวพันกับพม่าในการสงครามมากมาย อันประกอบเป็นเรื่องราวส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย หนังสือเกี่ยวกับพงศาวดารของพม่าที่เป็นภาษาไทยหาอ่านศึกษาได้ยาก ทางคุรุสภาจึงได้จัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ขึ้นในชุดภาษาไทยของคุรุสภา มีเรื่องติดต่อกันจากเลขที่ ๘๑๔–๘๒๐ รวมเป็นหนังสือเจ็ดเล่ม บรรยายพงศาวดารพม่าโดยละเอียด ตั้งแต่เริ่มต้นจนมาถึงยุคสิ้นราชวงศ์ในพม่า หนังสือชุดนี้ได้พิมพ์ออกมาครบชุดแล้ว ผู้ทรงนิพนธ์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ผู้สนใจในประวัติศาสตร์ไม่ควรพลาดที่จะมีหนังสือชุดนี้ไว้ในห้องสมุด



เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ

[แก้ไข]
  1. สารบัญเพิ่มโดยวิกิซอร์ซ ต้นฉบับไม่ได้แบ่งเป็นตอน ๆ เช่นนี้ ส่วนตอนที่ปรากฏนี้ วิกิซอร์ซเทียบเอากับต้นฉบับจีน เพื่อประโยชน์ในการอ่าน




ขึ้น เล่ม ๒