หน้า:ข่าวตอนต้นรัชกาลที่ ๓ - พิทยาลงกรณ์ - ๒๔๗๕.pdf/4

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ก็เพราะจำเป็นที่ข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งหลายจะต้องมาถวายพระเพลิง เพราะในการนั้น ข้าราชการผู้ใหญ่ทุกคนมีหน้าที่ฉะเพาะตัว และทหารก็จะต้องมารักษาเหตุการณ์ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า มีความเกรงการจลาจลกันบ้าง เพราะมีคนเป็นอันมากเห็นว่า พระเจ้าแผ่นดินปัจจุบันเป็นผู้แย่งราชสมบัติ พระองค์จึงไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของคนมากนัก การถวายพระเพลิงนั้นเริ่มเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน มีงานถึง ๙ วัน ตลอดงานนั้นมีความเรียบร้อยสม่ำเสมอ และข้าพเจ้าควรกล่าวว่า พิธีนั้นกอบด้วยสุภาพเกลี้ยงเกลา และสำเร็จไปปราศจากเหตุฉุกเฉิน ก่อนที่ทัพยกกลับมานั้น โจษกันว่า นายทัพคน ๑ ชื่อ พระยาพิพัฒน์ ได้รับคำสั่งว่า เมื่อยกกลับมาถึงทัพอังกฤษ ก็ให้แวะไปรับคำสั่ง (รายงานตัว) ต่อแม่ทัพอังกฤษ พระยาพิพัฒน์ไม่ทำตาม พระเจ้าแผ่นดินกริ้วมาก จนถึงทรงกำหนดว่า เมื่อพระยาพิพัฒน์กลับมาถึง ให้ตัดศีร์ษะส่งไปให้แม่ทัพอังกฤษ[1] เป็นพยานว่า พระเจ้าแผ่นดินมีพระทัยจะเข้าร่วมสงครามกับอังกฤษจริง ๆ ส่วนพระยาพิพัฒน์นั้น เมื่อกลับมาถึงบ้านไม่กี่วัน ก็ตายเอง และไฟไหม้บ้านเผาทั้งศพและสมบัติทั้งสิ้น นอกจากนั้น ยังมีพระยาชุมพรอีกคน ๑ เป็นเจ้าเมืองชื่อเดียวกัน ได้กระทำการหมิ่นประมาทคนอังกฤษพวก ๑ พระเจ้าแผ่นดินจึงตรัสสั่งให้เรียกมากรุงเทพฯ แล้วจำโซ่ตรวนไว้ พระเจ้าแผ่นดินทรงพระวิตกว่า การหมิ่นประมาทนั้นอาจเกิดเหตุร้าวฉาน จึง


  1. เป็นคำลือในพวกฝรั่งเวลานั้น จนถึงเซอร เฮนรี เบอร์นี ผู้เป็นทูตจำทูลอุปราชสาสนมาแต่อินเดีย เมื่อเขียนรายงานยื่นต่อรัฐบาลของเขาในเรื่องที่มากรุงเทพฯ โดยเพียรจะทำหนังสือสัญญากับไทย ก็มีความข้อนี้