หน้า:เลิกทาสในรัชกาลที่ ๕ - ศก - ๒๔๘๗.pdf/6

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร

ปรีชาญานอันสุขุมคัมภีรภาพ มิได้เกิดเหตุร้ายไนขึ้นเยี่ยงการเลิกทาสไนนานาประเทส ทั้งนี้น่าจะเปนเพราะอาสัยพระปรีชาญานซงดำเนินการหย่างสุขุมรอบคอบ เช่นเมื่อได้ประกาสพระราชปรารภไปแล้ว ก็น่าจะได้ซงสอบสวนเพื่อฟังความคิดเห็นของเจ้านายขุนนางไนเวลานั้งว่า จะมีความเห็นหย่างไดบ้าง ดังปรากตไนคำปรึกสาราชการบางเรื่อง ซึ่งกรมหลวงสักดาพิสาทำความเห็นถวายตอนหนึ่งว่า "ด้วยซงพระกรุนาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานคำปรึกสาเรื่องกะเสียรอายุลูกทาส และห้ามไม่ไห้ขายเด็กเกินกะเสียรอายุ ไห้ข้าพระพุทธเจ้าตรองการนั้น พระเดชพระคุนหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้ารับไส่เกล้า ฯ ได้ตรองความตามข้อพระราชบัญญัติซึ่งจัดขึ้นไหม่ตลอดจนสิ้นความแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่าซึ่งซงพระกรุนาโปรดเกล้า ฯ ไห้ลดหย่อนผ่อนค่ากะเสียรอายุเด็ก และบิดา มารดาจะขายบุตรซึ่งอายุยังเยาว์หยู่นั้น ก็เปนพระเดชพระคุนแก่เด็ก เกิดไปพายหน้าที่ดีมีความอุสาหะ ครั้นเติบไหย่ประพรึติตัวดีก็พอจะคิดไถ่ถอนตัวโดยง่าย ได้มาตั้งตัวเปนไทยและเปนลูกค้าวานิช เปนประโยชน์โดยมาก งามแก่บ้านเมือง แต่ก่อนั้นลูกทาสที่จะได้อุปสมบทและรู้หนังสือมีความรู้ต่าง ๆ ก็น้อยตัวนัก" ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซงรอบคอบเพียงไร และซงดำเนินการเลิกทาสไนประเทสไทยไห้สำเหร็ดลุล่วงไปด้วยความนิยมชมชื่นเปนที่สุด จนปีที่ซงไห้ไช้พิกิดกะเสียรอายุลูกทาสลูกไทยไหม่