หน้า:แม่ย่า - สฐกศ นคปท - ๒๔๘๑.pdf/27

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– ๑๘ –
๒ – เรื่อง กุลาตีไม้

ก่อนที่จะได้อธิบายถึงการเล่นกุลาตีไม้ น่าจะทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า กุลาเป็นชาติอะไร คำว่า "ชาติกุลา" ตามที่เข้าใจกันเป็นสามัญ ก็ดูเหมือนจะหมายถึงพวกต้องสู้หรือพวกไทยใหญ่ที่เรียกกันว่า "เงี้ยว" แต่กุลาตีไม้ในที่นี้คงไม่ใช่ต้องสู้หรือไทยใหญ่ เพราะไม่ปรากฏว่า การเล่นชนิดนี้มีอยู่ในสองชาติที่กล่าวนี้ ถ้าจะพิจารณาเครื่องแต่งตัวของผู้เล่นซึ่งสวมเทริดเป็นชฎาและแต่งตัวคล้ายเทวดา ก็น่าจะเข้าใจว่า กุลานั้นคือแขก แขกที่มาจากประเทศอินเดียนั้นชาวพะม่าเรียกว่า "พวกกุหล่าดำ" และเรียกพวกฝรั่งและแขกทางตะวันตกของอินเดียว่า "กุหล่าขาว" และเขาว่า กุลา คำนี้มาจากคำว่า "กุล" ในภาษาบาลี แปลว่า "พวกฝั่งโน้น" แต่อย่างไรก็ดี ชาวไทยทางเหนือก็ยังใช้เรียกฝรั่งว่า "กุหล่าขาว" และเรียกแขกว่า "กุหล่าดำ" ส่วนในภาษาไทยเราแต่เดิมมาก็เรียกแขกที่มีผิวขาวว่า "แขกเทศ" เรียกแขกผิวดำ เช่น พวกทมิฬ ว่า "แขกกุหล่า" หมายความว่า ชาติทมิฬ การเล่นกุลาตีไม้จึงน่าจะสันนิษฐานว่า มาจากทมิฬ ถ้าว่าตามประวัติศาสตร์ ก็มีหลักฐานอยู่