กฎบัตรสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เรา
บรรดาประชาชนของรัฐสมาชิกของสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) โดยมีประมุขรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลของบรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นผู้แทน
รับทราบด้วยความพึงพอใจในความสําเร็จอย่างสูงและการขยายตัวของอาเซียนนับตั้งแต่มีการก่อตั้งขึ้นที่กรุงเทพมหานครด้วยการประกาศใช้ปฏิญญาอาเซียน
ระลึกถึงการตัดสินใจจัดทํากฎบัตรอาเซียนตามแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด่วยการจัดทํากฎบัตรอาเซียน และปฏิญญาเซบูว่าด้วยแผนแม่บทของกฎบัตรอาเซียนตระหนักถึงการมีผลประโยชน์ร่วมกันและการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างประชาชนและรัฐสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความผูกพันกันทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนมีวัตถุประสงค์เดียวกันและชะตาร่วมกัน
ได้รับแรงบันดาลใจและรวมกันภายใต้วิสัยทัศน์เดียวกัน อัตลักษณ์เดียวกัน และประชาคมที่มีความเอื้ออาทรเดียวกัน
รวมกันด้วยความปรารถนาเดียวกันและเจตจํานงร่วมกันที่จะดํารงอยู่ในภูมิภาคแห่งสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพที่ถาวร มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน มีความมั่งคั่งและความก้าวหน้าทางสังคมร่วมกัน และที่จะส่งเสริมผลประโยชน์ อุดมการณ์ และความมุ่งมาดปรารถนาที่สําคัญของเรา
เคารพความสําคัญพื้นฐานของมิตรภาพและความร่วมมือและหลักการแห่งอธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงกัน ฉันทามติและเอกภาพในความหลากหลายยึดมั่นในหลักการแห่งประชาธิปไตย หลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล การเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ตกลงใจที่จะทําให้แน่ใจถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของประชาชนรุ่นปัจจุบันและอนาคต และตั้งมั่นให้ความเป็นอยู่ที่ดี การดํารงชีวิตและสวัสดิการของประชาชนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน
เชื่อมั่นในความจําเป็นที่จะกระชับสายสัมพันธ์ที่มีอยู่ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระดับภูมิภาค เพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่มีความเหนียวแน่นทางการเมือง การรวมตัวทางเศรษฐกิจ และมีความรับผิดชอบทางสังคมเพื่อที่จะตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อความท้าทายและโอกาสในปัจจุบันและอนาคต
ผูกพันที่จะเร่งสร้างประชาคมโดยผ่านความร่วมมือและการรวมตัวในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วยประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ตามที่ระบุไว้ในปฏิญญาบาหลีว่าด้วยข้อตกลงอาเซียนฉบับที่ 2ในการนี้
จึงตกลงที่จะจัดทํากรอบทางกฎหมายและทางสถาบันของอาเซียนโดยกฎบัตรนี้
และเพื่อการนี้ ประมุขรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิกอาเซียนซึ่งมาประชุมกันที่สิงคโปร์ ในวาระประวัติศาสตร์ครบรอบ 40 ปีของการก่อตั้งอาเซียนได้เห็นชอบกับกฎบัตรอาเซียนนี้
ความมุ่งประสงค์ของอาเซียนคือ
1. เพื่อธํารงรักษาและเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพ กับทั้งเสริมสร้างคุณค่าทางสันติภาพในภูมิภาคให้มากขึ้น
2. เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัวยืดหยุ่นสู่สภาวะปกติของภูมิภาคโดยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
3. เพื่อธํารงรักษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และปราศจากอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูงอื่นๆ ทุกชนิด
4. เพื่อทําให้แน่ใจว่าประชาชนและรัฐสมาชิกของอาเซียนอยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้โดยสันติในสภาวะที่เป็นธรรม มีประชาธิปไตยและและมีความปรองดองกัน
5. เพื่อสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีเสถียรภาพ มั่งคั่ง มีความสามารถในการแข่งขันสูงและมีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจซึ่งมีการอํานวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้า บริการและการลงทุน การเคลื่อนย้ายที่ได้รับความสะดวกของนักธุรกิจ ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้มีความสามารถพิเศษและแรงงาน และการเคลื่อนย้ายอย่างเสรียิ่งขึ้นของเงินทุน
6. เพื่อบรรเทาความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนาภายในอาเซียนโดยผ่านความช่วยเหลือซึ่งกันและกันและความร่วมมือ7. เพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตย เพิ่มพูนธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม ตลอดจนส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยคํานึงถึงสิทธิและหน้าที่ของรัฐสมาชิกของอาเซียน
8. เพื่อตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติต่อสิ่งท้าทายทุกรูปแบบ อาชญากรรมข้ามชาติ และสิ่งท้าทายข้ามพรมแดนอื่นๆ
9. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อทําให้แน่ใจว่าในภูมิภาคมีการคุ้มครองสภาพแวดล้อม ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
10. เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยผ่านความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างพลังประชาชนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแหงประชาคมอาเซียน
11. เพื่อเพิ่มพูนความเป็นอยู่ที่ดีและการดํารงชีวิตของประชาชนอาเซียนด้วยการให้ประชาชนมีโอกาสที่ทัดเทียมกันในการเข้าถึงการพัฒนามนุษย์ สวัสดิการสังคม และความยุติธรรม12. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มั่นคง และปราศจากยาเสพติดสําหรับประชาชนของอาเซียน
13. เพื่อส่งเสริมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางซึ่งทุกภาคส่วนของสังคมได้รับการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์จากกระบวนการรวมตัวและการสร้างประชาคมของอาเซียน
14. เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียนโดยผ่านการส่งเสริมความสํานึกถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมรดกของภูมิภาคยิ่งขึ้น และ
15. เพื่อธํารงไว้ซึ่งความเป็นศูนย์รวมและบทบาทเชิงรุกของอาเซียนในฐานะพลังขับเคลื่อนหลักในความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนนอกภูมิภาค ในภาพแบบของภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส และไม่ปิดกั้น
1. ในการดําเนินการเพื่อให้บรรลุความมุ่งประสงค์ตามข้อ 1 อาเซียนและรัฐสมาชิกอาเซียนยืนยันและยึดมั่นในหลักการพื้นฐานที่ปรากฏในปฏิญญา ความตกลง อนุสัญญา ข้อตกลง สนธิสัญญา และตราสารอื่นๆ ของอาเซียน
2. ให้อาเซียนและรัฐสมาชิกอาเซียนปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้
(ก) การเคารพเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน และอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
(ข) ความผูกพันและความรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคงและความมั่งคั่งของภูมิภาค
(ค) การไม่ใช้การรุกราน และการข่มขู่ว่าจะใช้หรือการใช้กําลังหรือการกระทําอื่นใดในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
(ง) การอาศัยการระงับข้อพิพาทโดยสันติ
(จ) การไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน(ฉ) การเคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธํารงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรกแซง การบ่อนทําลาย และการบังคับ จากภายนอก
(ช) การปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน
(ซ) การยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
(ฌ) การเคารพเสรีภาพพื้นฐาน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
(ญ) การยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศรวมถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่รัฐสมาชิกอาเซียนยอมรับ
(ฎ) การละเว้นจากการมีสาวนราวมในนโยบายหรือกิจกรรมใดๆ รวมถึงการใช้ดินแดนของตน ซึ่งดําเนินการโดยรัฐสมาชิกอาเซียนหรือรัฐที่มิใช่สมาชิกอาเซียนหรือผู้กระทําที่ไม่ใช่รัฐใดๆ ซึ่งคุกคามอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน หรือเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกอาเซียน
(ฏ) การเคารพในวัฒนธรรม ภาษาและศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน โดยเน้นคุณค่าร่วมกันของประชาชนอาเซียนด้วยจิตวิญญาณของเอกภาพในความหลากหลาย
(ฐ) ความเป็นศูนย์รวมของอาเซียนในความสัมพันธ์ภายนอกทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยคงไว้ซึ่งความมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน การมองไปภายนอก การไม่ปืดกั้นและการไม่เลือกปฏิบัติ และ
(ฑ) การยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียนซึ่งมีกฎเป็นพื้นฐานสําหรับการปฏิบัติตามข้อผูกพันทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และการลดอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไปสู่การขจัดอุปสรรคทั้งปวงต่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในระบบเศรษฐกิจซึ่งขับเคลื่อนโดยตลาด
อาเซียน ในฐานะองค์การระหว่างประเทศในระดับรัฐบาลได้รับสภาพบุคคลตามกฎหมายโดยกฎบัตรนี้
รัฐสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
1. ให้รัฐสมาชิกมีสิทธิและพันธกรณีที่เท่าเทียมกันภายใต้กฎบัตรนี้
2. ให้รัฐสมาชิกมีมาตรการที่จําเป็นทุกประการอันรวมถึงการออกกฎหมายภายในที่เหมาะสมเพื่ออนุวติบทบัญญัติของกฎบัตรนี้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีทั้งหมดของรัฐสมาชิก
3. ในกรณีการละเมิดกฎบัตรอย่างร้ายแรงหรือการไม่ปฏิบัติตาม ให้การดําเนินการตามข้อ 20
2. การรับสมาชิกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
(ก) ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อันเป็นที่ยอมรับว่าอยูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(ข) การยอมรับโดยรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
(ค) การตกลงที่จะผูกพันและเคารพกฎบัตรนี้ และ
(ง) ความสามารถและความเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของสมาชิกภาพ
3. การรับสมาชิกให้ตัดสินโดยฉันทามติโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีประสานงานอาเซียน
4. รัฐผู้สมัครจะได้รับเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อได้ลงนามภาคยานุวัติสารกฎบัตรนี้
1. ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนประกอบด้วยประมุขของรัฐ หรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิก
2. ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน:
(ก) เป็นองค์กรสูงสุดในการกําหนดนโยบายของอาเซียน
(ข) พิจารณาหารือ ให้แนวนโยบายและตัดสินใจในประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุวัตถุประสงค์ของอาเซียนในเรื่องสําคัญที่เป็นผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก และในทุกประเด็นที่ได้มีการนําเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียน คณะมนตรีประชาคมอาเซียนและองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขา
(ค) สั่งการให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในแต่ละคณะมนตรีที่เกี่ยวข้องให้จัดการประชุมเฉพาะกิจระหว่างรัฐมนตรี และหารือประเด็นสําคัญที่เกี่ยวกับอาเซียน ซึ่งคาบเกี่ยวระหว่างคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่างๆ ทั้งนี้ ให้คณะมนตรีประสานงานอาเซียนรับกฎการดําเนินการประชุมดังกล่าว
(ง) สนองตอบสถานการณ์ฉุกเฉินที่กระทบต่ออาเซียนโดยดําเนินมาตรการที่เหมาะสม
(จ) ตัดสินใจในเรื่องที่มีการนําเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนภายใต้หมวดที่ 7 และ 8
(ฉ) อนุมัติการจัดตั้งและการยุบองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาและสถาบันอื่นๆ ของอาเซียน และ
(ช) แต่งตั้งเลขาธิการอาเซียนที่มีชั้นและสถานะเทียบเท่ารัฐมนตรีซึ่งจะปฏิบัติหน้าที่โดยได้รับความไว้วางใจและตามความพอใจของประมุขของรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
3. ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
(ก) จัดประชุมสองครั้งต่อปีและให้รัฐสมาชิกซึ่งเป็นประธานอาเซียนเป็นเจ้าภาพ และ(ข) เรียกประชุม เมื่อมีความจําเป็นในฐานะการประชุมพิเศษหรือเฉพาะกิจ โดยมีประธานการประชุมเป็นรัฐสมาชิกซึ่งเป็นประธานอาเซียนโดยจัดในสถานที่ที่รัฐสมาชิกอาเซียนจะตกลงกัน
1. ให้คณะมนตรีประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และประชุมกันอย่างน้อยสองครั้งต่อปี
2. ให้คณะมนตรีประสานงานอาเซียน
(ก) เตรียมการประชุมของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
(ข) ประสานการอนุวัติความตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
(ค) ประสานงานกับคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่างๆ เพื่อเพิ่มความสอดคล้องกันของ นโยบายประสิทธิภาพ และความร่วมมือระหว่างกัน(ง) ประสานการเสนอรายงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน ต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
(จ) พิจารณารายงานประจําปีของเลขาธิการอาเซียนเกี่ยวกับงานของอาเซียน
(ฉ) พิจารณารายงานของเลขาธิการอาเซียนเกี่ยวกับหน้าที่และการดําเนินงานของสํานักงานเลขาธิการอาเซียนและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ช) เห็นชอบการแต่งตั้งและการพ้นจากหน้าที่ของรองเลขาธิการอาเซียนตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการอาเซียน และ
(ซ) ปฏิบัติภารกิจอื่นตามที่กําหนดไว้ในกฎบัตรนี้หรือหน้าที่อื่นที่อาจได้รับมอบหมายจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
3. ให้คณะมนตรีประสานงานอาเซียนได้รับการสนับสนุนโดยเจ้าหน้าที่อาวุโสที่เกี่ยวข้อง
1. ให้คณะมนตรีประชาคมอาเซียนประกอบด้วยคณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
2. ให้คณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละคณะมีองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องในขอบข่ายการดําเนินงานของตน
3. ให้รัฐสมาชิกแต่ละรัฐแต่งตั้งผู้แทนของรัฐตนสําหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละคณะ
4. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละเสาหลักของเสาหลักทั้งสามของประชาคมอาเซียน ให้คณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละคณะ
(ก) ทําให้แน่ใจว่ามีการอนุวติการข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่เกี่ยวข้อง
(ข) ประสานการปฏิบัติงานของสาขาต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายการดําเนินงานของตนและในประเด็นซึ่งคาบเกี่ยวกับคณะมนตรีประชาคมอื่นๆ และ(ค) เสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายการดําเนินงานของตน
5. ให้คณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละคณะประชุมกันอย่างน้อยสองครั้งต่อปีและมีประธานการประชุมเป็นรัฐมนตรีที่เหมาะสมจากรัฐสมาชิกซึ่งเป็นประธานอาเซียน
6. ให้คณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละคณะได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่อาวุโสที่เกี่ยวข้อง
1. ให้องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
(ก) ดําเนินงานตามอํานาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรที่มีอยู่
(ข) อนุวัติการความตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่อยู่ในขอบข่ายการดําเนินงานของแต่ละองค์กร
(ค) เสริมสร้างความร่วมมือในสาขาของแต่ละองค์กรให้เข้มแข็งขึ้นเพื่อสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนและการสร้างประชาคมอาเซียน และ
(ง) เสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียนของแต่ละองค์กร
2. องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาแต่ละองค์กรอาจมีเจ้าหน้าที่อาวุโสและองค์กรย่อยที่เกี่ยวข้องในขอบข่ายการดําเนินงานของตนตามที่ระบุในภาคผ นวก 1 เพื่อดําเนินหน้าที่ของตน
ภาคผนวกดังกล่าวอาจได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยโดยเลขาธิการอาเซียนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการของผู้แทนถาวรโดยไม่ต้องใช้บทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขภายใต้กฎบัตรนี้
1. ให้เลขาธิการอาเซียนได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน โดยมีวาระการดํารงตําแหน่งห้าปีที่ไม่สามารถต่ออายุได้และให้ได้รับการเลือกจากคนชาติของรัฐสมาชิกอาเซียน บนพื้นฐานของการหมุนเวียนตามลําดับตัวอักษร โดยคํานึงตามสมควรถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความสามารถ รวมถึงประสบการณ์ทางวิชาชีพ และความเท่าเทียมกันทางเพศ
2. ให้เลขาธิการอาเซียน
(ก) ปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของตําแหน่งระดับสูงนี้ โดยเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎบัตรฉบับนี้และตราสาร พิธีสาร และแนวปฏิบัติที่มีอยู่ของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง
(ข) อํานวยความสะดวกและสอดส่องดูแลความคืบหน้าในการอนุวัติการความตกลงและข้อตัดสินใจของอาเซียนและเสนอรายงานประจําปีเกี่ยวกับงานของอาเซีย นต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
(ค) เข้าร่วมในการประชุมต่างๆ ของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนคณะมนตรีประชาคมอาเซียนคณะมนตรีประสานงานอาเซียน และองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา และการประชุมอาเซียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ง) เสนอข้อคิดเห็นของอาเซียนและเข่าร่วมการประชุมกับภาคีภายนอกตามแนวนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบและตามอํานาจหน้าที่ที่เลขาธิการอาเซียนได้รับมอบหมาย และ
(จ) เสนอแนะการแต่งตั้งและการพ้นจากหน้าที่ของรองเลขาธิการอาเซียนต่อคณะมนตรีประสานงานอาเซียน เพื่อให้ความเห็นชอบ
3. ให้เลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของอาเซียนด้วย
4. ให้เลขาธิการอาเซียนได้รับการสนับสนุนจากรองเลขาธิการอาเซียนสี่คนซึ่งมีชั้นและสถานะของรัฐมนตรีช่วยว่าการ โดยให้รองเลขาธิการอาเซียนรับผิดชอบต่อเลขาธิการอาเซียนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
5. รองเลขาธิการอาเซียนทั้งสี่คนต้องมีสัญชาติที่แตกต่างจากเลขาธิการอาเซียนและมาจากรัฐสมาชิกที่แตกต่างกันสี่รัฐสมาชิกอาเซียน6. ให้รองเลขาธิการอาเซียนสี่คน ประกอบด้วย
(ก) รองเลขาธิการอาเซียนสองคนซึ่งมีวาระการดํารงตําแหน่งสามปีที่ไม่สามารถต่ออายุได้ ซึ่งได้รับเลือกจากคนชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนบนพื้นฐานของการหมุนเวียนตามลําดับตัวอักษรโดยคํานึงตามสมควรถึงความซื่อสัตย์สุจริต คุณสมบัติ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเท่าเทียมกันทางเพศ และ
(ข) รองเลขาธิการอาเซียนสองคน ซึ่งมีวาระการดํารงตําแหน่งสามปีและอาจต่ออายุได้อีกสามปี ให้รองเลขาธิการอาเซียนสองคนนี้ได้รับการคัดเลือกโดยเปืดกว้างบนพื้นฐานของความรู้ความสามารถ
7. ให้สํานักเลขาธิการอาเซียนประกอบด้วยเลขาธิการอาเซียนและพนักงานตามที่จําเป็น
8. ให้เลขาธิการอาเซียนและพนักงาน
(ก) ยึดมั่นในมาตรฐานสูงสุดของความซื่อสัตย์สุจริต ความมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของตน(ข) ไม่ขอหรือรับคําสั่งจากรัฐบาลหรือภาคีภายนอกอาเซียนใดๆ และ
(ค) ละเว้นจากการดําเนินการใด ซึ่งอาจมีผลสะท้อนถึงตําแหน่งหน้าที่ของตนในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของสํานักเลขาธิการอาเซียนซึ่งรับผิดชอบต่ออาเซียนเท่านั้น
9. รัฐสมาชิกอาเซียนแต่ละรัฐรับที่จะเคารพต่อความรับผิดชอบของเลขาธิการและพนักงานอันมีลักษณะเฉพาะของอาเซียนและจะไม่แสวงหาที่จะมีอิทธิพลต่อเลขาธิการอาเซียนและพนักงานในการปฏิบัติตามความรับผิดชอบของบุคคลเหล่านั้น
1. ให้รัฐสมาชิกอาเซียนแต่ละรัฐแต่งตั้งผู้แทนถาวรประจําอาเซียนหนึ่งคนในชั้นเอกอัครราชทูตที่มีถิ่นพํานัก ณ กรุงจาการ์ตา
2. ผู้แทนถาวรประกอบรวมกันเป็นคณะกรรมการผู้แทนถาวร ซึ่งต้อง(ก) สนับสนุนการทํางานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
(ข) ประสานงานกับสํานักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติและองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาอื่นๆ
(ค) ติดต่อประสานงานกับเลขาธิการอาเซียนและสํานักเลขาธิการอาเซียนในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับงานของตน
(ง) อํานวยความสะดวกความร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก และ
(จ) ปฏิบัติหน้าอื่นๆ ที่อาจกําหนดโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียน
ให้รัฐสมาชิกแต่ละรัฐจัดตั้งสํานักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ ซึ่งต้อง
(ก) ทําหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกลางแห่งชาติ
(ข) เป็นหน่วยงานระดับชาติซึ่งเก็บรักษาข้อสนเทศในเรื่องทั้ง ปวงเกี่ยวกับอาเซียน
(ค) ประสานงานระดับชาติเกี่ยวกับการอนุวัติการข้อตัดสินใจของอาเซียน
(ง) ประสานงานและสนับสนุนการเตรียมการระดับชาติของการประชุมอาเซียน
(จ) ส่งเสริมอัตลักษณ์และความสํานึกเกี่ยวกับอาเซียนในระดับชาติ และ
(ฉ) มีส่วนร่วมสร้างประชาคมอาเซียน
1. โดยสอดคล้องกับความมุ่งประสงค์และหลักการของกฎบัตรอาเซียนเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานให้อาเซียนจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนขึ้น
2. องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนนี้ต้องดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ซึ่งจะกําหนดโดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
1. ให้มูลนิธิอาเซียนสนับสนุนเลขาธิการอาเซียนและดําเนินการร่วมกับองค์กรของอาเซียนที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียนโดยการส่งเสริมความสํานึกที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของอาเซียน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและการดําเนินการร่วมกันที่ใกล้ชิดระหว่างภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในอาเซียน
2. ให้มูลนิธิอาเซียนรับผิดชอบต่อเลขาธิการอาเซียนผู้ซึ่งต้องเสนอรายงานของมูลนิธิฯต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนผ่านคณะมนตรีประสานงานอาเซียน
1. อาเซียนอาจมีความสัมพันธ์กับองคภาวะซึ่งสนับสนุนกฎบัตรอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน
องคภาวะที่มีความสัมพันธ์เหล่านี้ระบุอยู่ในภาคผนวก 2
2. ให้คณะกรรมการผู้แทนถาวรบัญญัติกฎการดําเนินงานและหลักเกณฑ์สําหรับการมีความสัมพันธ์ตามข้อเสนอแนะของเลขาธิการอาเซียน3. ภาคผนวก 2 อาจได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยโดยเลขาธิการอาเซียนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้แทนถาวรโดยไม่ต้องใช้บทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขภายใต้กฎบัตรนี้
1. ให้อาเซียนได้รับความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ในดินแดนของรัฐสมาชิกที่จําเป็นเพื่อให้บรรลุความมุ่งประสงค์ของอาเซียน
2. ความคุ้มกันและเอกสิทธิจะถูกกําหนดไว้ในความตกลงต่างหากระหว่างอาเซียนและรัฐสมาชิกเจ้าภาพ
{{กลาง|ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ของเลขาธิการอาเซียนและพนักงานของสํานักเลขาธิการอาเซียน}}
1. ให้เลขาธิการอาเซียนและพนักงานของสํานักเลขาธิการอาเซียนที่เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ อันเป็นทางการของอาเซียนหรือทําการแทนอาเซียน ในรัฐสมาชิกได้รับความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ที่จําเป็นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างอิสระของตน
2. ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ภายใต้ข้อนี้จะถูกกําหนดไว้ในความตกลงต่างหากของอาเซียน
1. ให้ผู้แทนถาวรของรัฐสมาชิกประจําอาเซียนและเจ้าหน้าที่ของรัฐสมาชิกที่เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ อันเป็นทางการของอาเซียนหรือทําการแทนอาเซียน ในรัฐสมาชิกได้รับความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ที่จําเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
2. ให้ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ของผู้แทนถาวรและเจ้าหน้าที่ที่อยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของอาเซียนอยู่ภายใต้บังคับของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ค.ศ. 1961หรือเป็นไปตามกฎหมายภายในของรัฐสมาชิกอาเซียนที่เกี่ยวข้อง
1. โดยหลักการพื้นฐานให้การตัดสินใจของอาเซียนอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือและฉันทามติ
2. หากไม่สามารถหาฉันทามติได้ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอาจตัดสินว่าจะทําการตัดสินใจเฉพาะเรื่องนั้นอย่างไร
3. ไม่มีความใดในวรรค 1 และ 2 ของข้อนี้กระทบถึงวิธีการตัดสินใจที่ระบุอยู่ในตราสารทางกฎหมายของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง
4. ในกรณีที่มีการละเมิดกฎบัตรอย่างร้ายแรงหรือการไม่ปฏิบัติตาม ให้เสนอเรื่องดังกล่าวไปยังที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อการตัดสินใจ
1. ให้คณะมนตรีประชาคมอาเซียนแต่ละคณะบัญญัติกฎว่าด้วยขั้นตอนการดําเนินงานของตนเอง
2. ในการอนุวัติการตามข้อผูกพันด้านเศรษฐกิจ อาจนํารูปแบบการเข้าร่วมแบบยืดหยุ่นรวมถึงรูปแบบอาเซียนที่ไม่รวมสมาชิกบางรัฐมาใช้หากมีฉันทามติ
1. รัฐสมาชิกต้องพยายามที่จะระงับข้อพิพาททั้งปวงอย่างสันติให้ทันท่วงที โดยผ่านการสนทนาการปรึกษาหารือ และการเจรจา
2. ให้อาเซียนจัดตั้งและธํารงไว้ซึ่งกลไกการระงับข้อพิพาทในทุกสาขาความร่วมมือของอาเซียน
่1. รัฐสมาชิกที่เป็นคู่กรณีในข้อพิพาทอาจจะตกลงกันเมื่อใดก็ได้ที่จะใช้คนกลางที่น่าเชื่อถือ การประนีประนอม หรือการไกล่เกลี่ย เพื่อระงับข้อพิพาทภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน
2. คู่กรณีในข้อพิพาทอาจร่องขอให้ประธานอาเซียนหรือเลขาธิการอาเซียนทําหน้าที่โดยตําแหน่งเป็นคนกลางที่น่าเชื่อถือ ประนีประนอม หรือไกล่เกลี่ย
1. ให้ระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับตราสารเฉพาะของอาเซียนโดยกลไกและขั้นตอนการดําเนินการที่กําหนดไว้ในตราสารนั้นๆ
2. ให้ระงับข้อพิพาทที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตีความหรือการใช้ตราสารอาเซียนใดๆ โดยสันติตามสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตามกฎการดําเนินงานของสนธิสัญญาดังกล่าว3. ในกรณีที่มิได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นเป็นการเฉพาะให้ระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการตีความหรือการใช้ความตกลงทางเศรษฐกิจของอาเซียนตามพิธีสาร ว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน
ในกรณีที่มิได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นเป็นการเฉพาะให้มีการจัดตั้งกลไกระงับข้อพิพาทที่เหมาะสม รวมถึงการอนุญาโตตุลาการ สําหรับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการตีความหรือการใช้กฎบัตรนี้ และตราสารอาเซียนอื่นๆ
ในกรณีที่ยังคงระงับข้อพิพาทมิได้ ภายหลังการใช้บทบัญญัติก่อนหน้านี้ในหมวดนี้แล้ว ให้เสนอข้อพิพาทนั้นไปยังที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อตัดสิน
1. เลขาธิการอาเซียนโดยการช่วยเหลือจากสํานักเลขาธิการอาเซียน หรือ องค์กรอาเซียนอื่นๆ ที่ได้รับแต่งตั้ง ต้องสอดส่องดูแลการปฏิบัติตามผลการวินิจฉัย ข้อเสนอแนะ หรือข้อตัดสินใจซึ่งเป็นผลจากกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียนและเสนอรายงานไปยังที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
2. รัฐสมาชิกที่ได่รับผลกระทบจากการไม่ปฏิบัติตามผลการวินิจฉัย ข้อเสนอแนะ หรือข้อตัดสินใจซึ่งเป็นผลจากกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียนอาจส่งเรื่องให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อตัดสิน
หากมิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นในกฎบัตรนี้ รัฐสมาชิกยังคงไว้ซึ่งสิทธิที่จะใช้วิธีการระงับข้อพิพาทอย่างสันติที่ระบุไว้ในข้อ 33(1) ของกฎบัตรสหประชาชาติ หรือตราสารกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่รัฐสมาชิกคู่พิพาทเป็นภาคี
1. อาเซียนต้องกําหนดกฎและขั้นตอนการดําเนินงานทางการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
2. อาเซียนต้องปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการทางการเงินที่ดีและระเบียบวินัยด้านงบประมาณ
3. บัญชีการเงินต้องได้รับการตรวจสอบภายในและภายนอก
1. สํานักเลขาธิการอาเซียนต้องได้รับเงินที่จําเป็นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ
2. งบประมาณสําหรับการดําเนินงานของสํานักเลขาธิการอาเซียนต้องมาจากรัฐสมาชิกอาเซียนโดยค่าบํารุงประจําปีรัฐละเท่าๆ กัน ซึ่งจะต้องส่งให้ทันตามกําหนด
3. เลขาธิการต้องเตรียมงบประมาณสําหรับการดําเนินงานประจําปีของสํานักเลขาธิกาอาเซียนเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะมนตรีประสานงานอาเซียน โดยคําแนะนําของคณะกรรมการผู้แทนถาวร
4. สํานักเลขาธิการอาเซียนต่องปฏิบัติตามกฎและขั้นตอนการดําเนินงานทางการเงินที่กําหนดโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียน โดยคําแนะนําของคณะกรรมการผู้แทนถาวร
1. ให้หมุนเวียนตําแหน่งประธานอาเซียนทุกปีบนพื้นฐานของลําดับอักษรของชื่อภาษาอังกฤษของรัฐสมาชิก
2. ในหนึ่งปีปฏิทิน อาเซียนจะมีตําแหน่งประธานเดียว โดยรัฐสมาชิกที่รับตําแหน่งประธานนั้นจะทําหน้าที่เป๋นประธานของ
(ก) การประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
(ข) คณะมนตรีประสานงานอาเซียน
(ค) คณะมนตรีประชาคมอาเซียนทั้งสามคณะ
(ง) องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาและเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่เกี่ยวข้อง ตามที่เหมาะสม และ
(จ) คณะกรรมการผู้แทนถาวร
รัฐสมาชิกที่ดํารงตําแหนงประธานอาเซียนต้อง
(ก) ส่งเสริมและเพิ่มพูนผลประโยชน์และความเป็นอยู่ที่ดีของอาเซียนอย่างแข็งขัน รวมถึงความพยายามในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยการริเริ่มทางนโยบาย การประสานงาน ฉันทามติ และความร่วมมือ
(ข) ทําให้แน่ใจถึงความเป็นศูนย์รวมของอาเซียน
(ค) ทําให้แน่ใจถึงการตอบสนองต่อประเด็นเร่งด่วนหรือสถานการณ์วิกฤติที่มีผลกระทบต่ออาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที รวมถึงเป็นคนกลางที่น่าเชื่อถือและจัดให้มีการจัดการอื่นเช่นว่า เพื่อสนองตอบข้อกังวลเหล่านี้โดยทันที
(ง) เป็นผู้แทนของอาเซียนในการเสริมสร้างและส่งเสริมความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนภายนอกภูมิภาคให้ใกล้ชิดขึ้น และ
(จ) ปฏิบัติภารกิจและหน้าที่อื่นที่อาจได้รับมอบหมาย
อาเซียนและรัฐสมาชิกต้องยึดมั่นในพิธีการและแนวปฏิบัติทางการทูตที่มีอยู่ในการดําเนินกิจกรรมทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน การเปลี่ยนแปลงใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะมนตรีประสานงานอาเซียน โดยคําแนะนําของคณะกรรมการผู้แทนถาวร
ภาษาที่ใช้ในการทํางานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ
อาเซียนต้องส่งเสริมอัตลักษณ์ร่วมกันของตนและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในหมู่ประชาชนของตน เพื่อให้บรรลุชะตา เป้าหมาย และคุณค่าร่วมกันของอาเซียน
คําขวัญของอาเซียน คือ “วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว”
ให้ธงอาเซียนเป็นไปตามที่แสดงไว้ในภาคผนวก 3
ให้ดวงตราอาเซียนเป็นไปตามที่แสดงไว้ในภาคผนวก 4
ให้วันที่ 8 สิงหาคม เป็นวันอาเซียน
1. อาเซียนต้องพัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรและช่องทางเจรจาความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน กับนานาประเทศ องค์การและสถาบันระดับอนุภูมิภาค ระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
2. ความสัมพันธ์ภายนอกของอาเซียนต้องยึดมั่นในความมุ่งประสงค์และหลักการที่วางไว้ในกฎบัตรนี้
3. อาเซียนจะเป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการจัดการภูมิภาคที่อาเซียนได้ริเริ่มขึ้นและธำรงไว้ซึ่งความเป็นศูนย์รวมของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาคและการสร้างประชาคม
4. ในการดำเนินความสัมพันธ์ภายนอกของอาเซียน รัฐสมาชิกต้องประสานงานและพยายามพัฒนาท่าที่ร่วมและดำเนินการร่วมกันบนพื้นฐานของเอกภาพและความสามัคคี5. ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนกำหนดแนวนโยบายยุทธศาสตร์ของความสัมพันธ์ภายนอกของอาเซียนโดยการเสนอแนะของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
6. ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนต้องทำให้แน่ใจว่าความสัมพันธ์ภายนอกของอาเซียนดำเนินไปอย่างเสมอต้นเสมอปลายและเป็นไปในทางที่สอดคล้อง กัน
7. อาเซียนอาจสามารถทำความตกลงกับนานาประเทศหรือองค์การและสถาบันระดับอนุภูมิภาค ระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ กระบวนการทำความตกลงดังกล่าวให้กำหนดโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียนโดยการหารือกับคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
2. ในความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนภายนอก นอกจากหน้าทีอื่นแล้ว ให้ผู้ประสานงานประเทศ
(ก) เป็นผู้แทนอาเซียน และเพิ่มพูนความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกันและความเสมอภาค โดยสอดคล้องกับหลักการของอาเซียน
(ข) เป็นประธานร่วมในการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างอาเซียนและหุ้นส่วนภายนอก และ
(ค) รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สามและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการในลักษณะเดียวกันอาจจัดตั้งขึ้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์การระหว่างประเทศต่างๆ คณะกรรมการเช่นว่าต้องส่งเสริมผลประโยชน์และอัตลักษณ์ของอาเซียนในประเทศเจ้าภาพและองค์การระหว่างประเทศ
2. ให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกำหนดกฎการดำเนินงานของคณะกรรมการเช่นว่า
1. ในการดำเนินความสัมพันธ์ภายนอกของอาเซียน ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอาจมอบสถานภาพอย่างเป็นทางการให้แก่ภาคีภายนอกในฐานะป ระเทศคู่เจรจา ประเทศคู่เจรจาเฉพาะสาขา หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ผู้สังเกตการณ์พิเศษ ผู้ได้รับเชิญ หรือสถานภาพอื่นที่อาจจัดตั้งขึ้นต่อไป
2. ภาคีภายนอกอาจได้รับการเชิญให้เข้าร่วมการประชุมหรือกิจกรรมความร่วมมือโดยมิต้องกำหนดให้สถานภาพอย่างเป็นทางการใดๆ ตามกฎการดำเนินงาน1. อาเซียนอาจขอสถานภาพที่เหมาะสมกับระบบสหประชาชาติ รวมทั้งกับองค์การและสถาบันระดับอนุภูมิภาค ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศอื่น
2. ให้คณะมนตรีประสานงานอาเซียนเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของอาเซียนในองค์การและสถาบันระดับอนุภูมิภาค ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศอื่น
รัฐที่มิใช่สมาชิกอาเซียนและองค์การระหว่างประเทศในระดับรัฐบาลที่เกี่ยวข้องอาจแต่งตั้งและส่งเอกอัครราชทูตเป็นผู้แทนประจําอาเซียน ให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการรับผู้แทนเช่นว่า
1. กฎบัตรนี้ต้องได้รับการลงนามโดยรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
2. กฎบัตรนี้ต้องได้รับการสัตยาบันจากรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งหมดตามกระบวนการภายในของแต่ละรัฐ
3. ให้เก็บรักษาสัตยาบันสารไว้กับเลขาธิการอาเซียน ซึ่งจะแจ้งให้รัฐสมาชิกทั้งหมดทราบถึงการมอบแต่ละฉบับโดยพลัน
4. กฎบัตรนี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่สามสิบต่อจากวันที่มีการส่งมอบสัตยาบันสารฉบับที่สิบให้แก่เลขาธิการอาเซียน1. รัฐสมาชิกใดๆ อาจเสนอข้อแก้ไขกฎบัตร
2. ข้อเสนอแก้ไขกฎบัตรต้องยื่นโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียนโดยฉันทามติต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อตัดสินใจ
3. ข้อแก้ไขกฎบัตรที่ได้ตกลงกันโดยฉันทามติโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียนต้องได้รับการสัตยาบันจากรัฐสมาชิกทั้งหมด ตามข้อ 47
4. ข้อแก้ไขใดๆ จะมีผลใช้บังคับในวันทีสามสิบต่อจากวันที่มีการส่งมอบสัตยาบันสารฉบับสุดท้ายต่อเลขาธิการอาเซียน
นอกจากจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในกฎบัตรนี้ ให้คณะมนตรีประสานงานอาเซียนกําหนดอํานาจหน้าที่และกฎการดําเนินงานและต้องทําให้แน่ใจว่าอํานาจหน้าที่และกฎว่าด้วยขั้นตอนการดําเนินงานมีความสอดคล่องกัน
กฎบัตรนี้อาจได้รับการทบทวนห้าปีหลังจากที่มีผลใช้บังคับหรือตามที่ได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน
1. เมื่อรัฐสมาชิกใด ๆ ร้องขอให้สํานักงานเลขาธิการอาเซียนตีความกฎบัตรตามกฎการดําเนินงานที่กําหนดโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียน
2. ให้ระงับข้อพิพาทใด ๆ ที่เกิดจากการตีความกฎบัตรเป็นไปตามตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในหมวด 8
3 หัวข้อและชื่อที่ใช้ในกฎบัตรมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์สําหรับการอ้างอิงเท่านั้น1. สนธิสัญญาอนุสัญญาความตกลงข้อตกลง ปฏิญญา พิธีสาร และตราสารอาเซียนอื่นๆ ทั้งหมดซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วก่อนการมีผลใช้บังคับของกฎบัตรนี้ ให้มีผลใช้ต่อไป
2 ในกรณีที่เกิดความไม่สอดคล้องกันระหว่างสิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิกอาเซียนภายใต้ตราสารดังกล่าวและกฎบัตรนี้ ให้ถือกฎบัตรเป็นสําคัญ
ให้เลขาธิการอาเซียนจดทะเบียนกฎบัตรอาเซียนนี้กับสํานักเลขาธิการสหประชาชาติ ตามข้อ 102 วรรค 1 ของกฎบัตรสหประชาชาติ
ให้บรรดาสินทรัพย์และกองทุนต่าง ๆ ขององค์การระบุไว้ในนามของอาเซียน
ทํา ณ สิงคโปร์ วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เป็นภาษาอังกฤษฉบับเดียว
I. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
1. ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน
- คณะกรรมการประจําอาเซียน
- เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการวางแผนการพัฒนา
2. คณะกรรมการเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- คณะกรรมการบริหารงานเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. ที่ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียน
4. ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านกฎหมาย
5. ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยเอาชญากรรมข้ามชาติ
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยเรื่องยาเสพติด
- ที่ประชุมผู้อํานวยการกรมการตรวจคนเข้าเมือง และหัวหน้ากองการกงสุลของกระทรวงต่างประเทศ
6. ที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิก
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
II. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
1. ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
- คณะทํางานระดับสูงว่าด้วยการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน
3. คณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียน
4. ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านการคลังอาเซียน
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสธนาคารกลางและกระทรวงการคลังอาเซียน
- ที่ประชุมอธิบดีศุลกากรอาเซียน
5. ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียน
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐมนตรีด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียน
- เจ้าหน้าที่อาวุโ สด้านป่าไม้อาเซียน
6. ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านพลังงานอาเซียน
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงาน
7. ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านแร่ธาตุอาเซียน
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแร่ธาตุอาเซียน
8. ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาเซียน
9. ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศอาเซียน
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศอาเซียน
- คณะกรรมการผู้ตรวจด้านโทรคมนาคมอาเซียน
10. ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านการขนส่งอาเซียน
- การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการขนส่ง
11. การประชุมรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวอาเซียน
- การประชุมองค์การการท่องเที่ยวแห่งชาติอาเซียน
12. ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียนลุ่มแม่น้ําโขง
- คณะกรรมการเตรียมการประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มแม่น้ําโขง
- คณะกรรมการระดับสูงการคลัง
13. ศูนย์พลังงานอาเซียน
14. ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียวIII. ประชาคม สังคม-วัฒนธรรมอาเซียน
1. ที่ประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสารนิเทศอาเซียน
2. ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กํากับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนที่กํากับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ
3. ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการศึกษา
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษา
4. ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านภัยพิบัติอาเซียน
- คณะกรรมการด้านภัยพิบัติอาเซียน
5. ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม
- เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม
6. สมัชชารัฐภาคีต่อความตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดน
- คณะกรรมการของสมัชชารัฐภาคีต่อความตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดน
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพัฒนาสาธารณสุข
8. ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านแรงงานอาเซียน
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแรงงานอาเซียน
- คณะกรรมการการปฏิบัติตามปฏิญญาอาเซียนเกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานอาเซียน
9. ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน
10. ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา
11. ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเยาวชน
- ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านเยาวชน
12. กรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วยเรื่องข้าราชการพลเรือน
13. ศูนย์อาเซียนว่าด้วยความความหลากหลายทางชีวภาพ
14. ศูนย์ประสานงานการจัดการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยพิบัติ
15. ศูนย์ประชาสัมพันธ์ด้านแผ่นดินไหวอาเซียน
16. ศูนย์พยากรณ์อากาศอาเซียน
17. เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
1. รัฐสภา
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
2. องค์กรภาคธุรกิจ
ที่ประชุมสายการบินอาเซียน
สมาคมยานยนต์แห่งอาเซียน
สมาคมธนาคารอาเซียน
สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน
ที่ประชุมทางด้านธุรกิจของอาเซียน
สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน
สภาผู้ประกอบการธุรกิจเคมีอาเซียน
สมาพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งอาเซียน
สภาการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์อาเซียน
สภาการประกันภัยอาเซียน
สมาคมทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน
สมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศแห่งอาเซียน
สมาพันธ์อุตสาหกรรมเหล็กและแร่เหล็ก
ชมรมเภสัชแห่งอาเซียน
สมาคมการท่องเที่ยวประจําอาเซียน
สมาพันธ์แห่งสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สมาพันธ์สภาผู้ส่งสินค้าทางเรืออาเซียน
สภาธุรกิจระหว่างสหรัฐ-อาเซียน
3. สถาบันวิชาการ
เครือข่ายสถาบันศึกษายุทธศาสตร์และนานาชาติระหว่างประเทศของอาเซียน
4. องค์กรภาคประชาสังคม
สถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งอาเซียนสถาบันการศึกษาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีของอาเซียน
สมาคมห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตรแหงอาเซียน
สมาคมวางแผนและการเคหะแห่งอาเซียน
สมาคมนักรังสีวิทยาอาเซียน
สมาพันธ์หมากรุกอาเซียน
สมาพันธ์นายจ้างอาเซียน
สมาพันธ์องค์กรสตรีอาเซียน
สมาพันธ์ผู้ก่อสร้างอาเซียน
สมาคมผู้ผลิตเครื่องสําอางอาเซียน
สภานิสิตเก่าญีปุ่นแห่งอาเซียน
สภาอาจารย์แห่งอาเซียน
สหพันธ์จิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตแห่งอาเซียน
สหพันธ์นักบัญชีอาเซียน
สหพันธ์ผู้รับเหมาวิศวกรรมไฟฟ้าแห่งกลุ่มประเทศอาเซียน
สหพันธ์องค์กรวิศวกรรมแห่งอาเซียน
สหพันธ์สโมสรการบินแห่งอาเซียน
สมาพันธ์สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าอาเซียน
สหพันธ์มูลนิธิโรคหัวใจแห่งอาเซียน
สหพันธ์รางวัดและสํารวจที่ดินแห่งอาเซียน
สหพันธ์สมาคมเหมืองแร่แห่งอาเซียน
สหพันธ์การประมงแห่งอาเซียน
สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน
สมาคมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป่าไม้แห่งอาเซียน
สมาคมนักศึกษาวนศาสตร์แห่งอาเซียน
สมาคมส่งเสริมและพัฒนาหัตถกรรมแห่งอาเซียน
สภาว่าวแห่งอาเซียน
สมาคมกฎหมายแห่งอาเซียน
สมาคมนักศึกษากฎหมายแห่งอาเซียน
สมาคมอุตสาหกรรมดนตรีแห่งอาเซียน
สมาคมศัลยกรรมทางประสาทแห่งอาเซียน
สมาพันธ์องค์กรเอกชนว่าด้วยผู้สูงอายุแห่งอาเซียน
องค์กรเอกชนเพื่อการป้องกันการใช้ยาเสพติดและสารเสพติดแห่งอาเซียน
กลุ่มผู้ผลิตน้ํามันแห่งอาเซียน
สมาคมศัลยกรรมกระดูกแห่งอาเซียน
สหพันธ์กุมารแพทย์แห่งอาเซียน
สหพันธ์กีฬาคนพิการแห่งอาเซียน
สมาคมท่าเรืออาเซียน
สมาคมโรคธาลัสซีเมีย
สมาคมผู้ประเมินราคาแห่งอาเซียน
สมาคมผู้ผลิตน้ํามันพืชแห่งอาเซียน
หุ้นส่วนเอเชียเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในชนบทเอเชีย
คณะกรรมการความร่วมมือด้านเยาวชนอาเซียน
สหพันธ์ที่ปรึกษาด้านวิศวกรแห่งอาเซียน
สหพันธ์องค์กรประชาสัมพันธ์แห่งอาเซียน
สหพันธ์สมาคมเจ้าของเรืออาเซียน
คณะกรรมการสมาคมแพทย์แห่งชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมาคมโรคไขข้ออักเสบแห่งอาเซียน
สถาบันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยการศึกษาและชุมชน
มูลนิธิโครงการแลกเปลี่ยนระดับภูมิภาคว่าด้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
สมาพันธ์ทหารผ่านศึกของประเทศอาเซียน
5. กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ในอาเซียน
ที่ประชุมอธิบดีกรมตํารวจอาเซียน
สหพันธ์สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านอาหารแห่งอาเซียน
ศูนย์การพัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คณะทํางานว่าด้วยกลไกสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียน
ธงอาเซียนแสดงถึงเสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคีและพลวัตของอาเซียน สีของธง ได้แก่ น้ําเงิน แดง ขาว และเหลือง ซึ่งแสดงถึงสีหลักในธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
น้ำเงิน แสดงถึงสันติภาพและเสถียรภาพ แดง บ่งชี้ความกล้าหาญและความก้าวหน้า ขาว แสดงความบริสุทธิ์ เหลือง เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง
รวงข้าวแสดงถึงความใฝ่ฝันของบรรดาผู้ก่อตั้งอาเซียนให้มีอาเซียนที่ประกอบด้วยบรรดาประเทศทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว วงกลมแสดงถึงเอกภาพของอาเซียนรายละเอียดของแถบสีที่ได้รับการรับรองสําหรับสีของธงอาเซียน ได้แก่
น้ําเงิน: แถบสี 19-4053 TC
แดง: แถบสี 18-1655 TC
ขาว: แถบสี 11-4202 TC
เหลือง: แถบสี 13-0758 TC
สําหรับสีที่ใช้ในการพิมพ์ รายละเอียดของแถบสี (ยกเว้นสีขาว) ให้เป็นไปตามสีของดวงตราอาเซียน ได้แก่
น้ําเงิน: แถบสี 258 หรือสีชุด 100C 60M 0Y 6K
แดง: แถบสี แดง 032 หรือสีชุด0C 91M 87Y 0K
เหลือง: แถบสีชุดสีเหลืองหรือสีชุด 0C 0M 100Y 0K
สัดส่วนของความกว้างต่อความยาวของธงคือสองต่อสาม และรายละเอียดของขนาดของธงมีดังนี้
ธงประดับห้อง: 100 ซม. x 150 ซม.
ธงประจํารถ: 10 ซม. x 30 ซม.
ธงภาคสนาม: 200 ซม. x ซม.ดวงตราอาเซียนแสดงถึงเสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคีและพลวัตของอาเซียน สีของธง ได้แก่ น้ําเงิน แดง ขาว และเหลือง ซึ่งแสดงถึงสีหลักในตราประจําชาติของบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
น้ําเงิน แสดงถึงสันติภาพและเสถียรภาพ แดง บ่งชี้ความกล้าหาญและความก้าวหน้า ขาว แสดงความบริสุทธ์ เหลือง เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง
รวงข้าวแสดงถึงความใฝ่ฝันของบรรดาผู้ก่อตั้งอาเซียนให้มีอาเซียนที่ประกอบด้วยบรรดาประเทศทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว วงกลมแสดงถึงเอกภาพของอาเซียนรายละเอียดของแถบสีที่ได้รับการรับรองสําหรับสีของดวงตราอาเซียน ได้แก่
น้ำเงิน: แถบสี 258
แดง: แถบสีแดง 032
เหลือง: แถบสีผสมแล้วสีเหลือง
สําหรับกระบวนการพิมพ์แบบสี่สีรายละเอียดของสีจะเป็น
น้ำเงิน: 100C 60M 0Y 6K (100C 60M 0Y 10K)
แดง: 0C 91M 87Y 0K (0C 90M 90Y 0K)
เหลือง: 0C 0M 100Y 0K
ให้ใช้รายละเอียดที่อยู่ในวงเล็บเมื่อการวัดใดๆ ของสีชุดนั้น ไม่สามารถทําได้
ในตัวจําลองแถบสีชุด ให้รายละเอียดเท่ากับ
น้ำเงิน: แถบสี 204-1
แดง: แถบสี 60-1
เหลือง: แถบสี 1-3
รูปแบบตัวอักษรที่ใช้สําหรับคําว่า "อาเซียน" ในดวงตราอาเซียนคือ Helvetica ตัวเล็ก หนา
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- ไม่ทราบผู้แต่ง. (ม.ป.ป.). กฎบัตรสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"