ข้ามไปเนื้อหา

กฎหมายไทยฯ/เล่ม 5/เรื่อง 38

จาก วิกิซอร์ซ
พระราชกำหนดตั้งศาลรับสั่งพิเศษ
สำหรับชำระสะสางคดีความที่มีโทษหลวงชั้นเก่า
ซึ่งค้างอยู่ณศาลพระราชอาญาในกรุงเทพฯ ทั้งปวง

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า

มีพระราชประสงค์จะให้เสนาบดีแลรัฐมนตรีปฤกษาพร้อมกันแก้ไขข้อพระราชบัญญัติสำหรับพิจารณาคดีมีโทษหลวงที่ใช้อยู่ในศาลทั้งปวงทั่วพระราชอาณาเขตรให้เปนที่เรียบร้อยมั่นคงดีสืบไปภายน่า แต่เมื่อก่อนที่จะกระทำให้ข้อพระราชประสงค์นี้สำเร็จไป ทรงพระราชดำริห์จะให้คดีมีโทษหลวงทีคั่งค้างพิจารณาอยู่ณศาลทั้งปวงในเขตรแขวงกรุงเทพฯ แต่ก่อนมาสำเร็จล่วงแล้วไปโดยเร็วโดยยุติธรรมจงสิ้นเสียก่อน

เพราะฉนั้น ครั้งนี้ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศาลรับสั่งพิเศษขึ้นใหม่อิก ๓ หมู่ มีน่าที่พนักงานต่าง ๆ กัน เพื่อจะได้รับถอนเอาคดีที่มีโทษหลวงทั้งปวงซึ่งค้างพิจารณาแลพิพากษามาแต่ก่อนกำหนดวันในท้ายหมายประกาศนี้แต่เดือนหนึ่งขึ้นไปมาแบ่งปันกันทำการพิจารณาพิพากษาแลชำระสะสางเสียให้สิ้นตามกำหนดดังนี้


ข้อให้ตั้งศาลรับสั่งพิเศษสำหรับพิจารณาพิพากษาแลชำระสะสางบันดาคดีมีโทษหลวงซงขัดข้องแลยังค้างพิจารณาพิพากษาอยู่ณศาลที่ได้พิจารณาพิพากษาคดีมีโทษหลวงในเขตรข้อศาลรับสั่งพิเศษกองที่หนึ่ง มีอำนาจแลน่าที่พนักงานที่จะชำระสะสางตัดล้างบันดาความที่มีอยู่ในสารบบความฉบับที่ ๑ ซึ่งไม่มีตัวโจทยจำเลยทั้งสองฝ่ายฤๅแต่ฝ่ายเดียวก็ดี แลที่มีคำหาคำให้การฤๅสำนวนที่พิจารณาชำรุดบกพร่องขาดเสียแต่อย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี บันดาที่เปนคดีซึ่งมีเหตุขัดข้องในการพิจารณาแลพิพากษาชั้นใดอย่างใดประการใดซึ่งศาลจะทำการพิจารณาไปไม่ได้ทั้งปวง

ศาลรับสั่งพิเศษกองที่ ๒ มีอำนาจแลน่าที่ ๆ จะทำการพิพากษาบันดาคดีความในสารบบที่ ๑ ซึ่งเปนคดีที่ตระลาการได้พิจารณาเสร็จสิ้นสำนวนแล้ว คงค้างอยู่แต่การพิพากษาแลวางบทพระอัยการทั้งปวง

ศาลรับสั่งพิเศษกองที่ ๓ มีอำนาจแลน่าที่ ๆ จะทำการพิจารณาแลชำระสะสางคดีความทั้งปวงที่มีในสารบบที่ ๑ ซึ่งยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลทั้งปวงนั้น


ข้อกรรมการพิเศษส่วนที่ ๑ นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุธาธาร
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุธาธาร
พระยาเพ็ชร์พิไชย
พระยาไกรโกษา
หลวงนฤบาลบูรีรัฐ
มิสเตอร์ปาตริก
ผู้พิพากษาผู้ใหญ่ณศาลในสนามสถิตย์ยุติธรรมผลัดเปลี่ยนกันนั่งในที่ประชุมด้วยนาย
เปนตัวกรรมการ
ส่วนที่ ๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
พระยาธรรมสารเนตติ์
พระยาประชากิจกรจักร์
หลวงธรรมสาตร์
หลวงนครไภยพิเฉท
เปนตัวกรรมการ
ส่วนที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระณรงควิชิตร
จมื่นไชยาภรณ์
หลวงสุนทรโกษา
หลวงโยธาบริบาล
หลวงประสิทธิ์รักษา
เปนตัวกรรมการ

ข้อกำหนดเวลาที่กรรมการทั้งปวงจะได้ทำการนั้น มีกำหนดสามเดือนตั้งแต่วันกำหนดในหมายประกาศนี้ไป เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว กรรมการนี้จะควรยกเลิกเสีย ฤๅจะให้ทำการไปอีกเท่าใด แล้วแตจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ


ข้อกรรมการพิเศษเหล่านี้จะต้องนั่งศาลแลทำการเมื่อภายหลังวันพระต่อ ๆ กันจนครบ ๔ วันทุก ๆ เจ็ดวันไป แลต้องให้ได้เปิดศาลทำการอยาให้ต่ำกว่าวันละ ๓ ชั่วโมง เปีดศาลตั้งแต่เวลาเช้า ๔ โมงไปทุก ๆ คราวประชุม

ประกาศมาณวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๑๔ เปนวันที่ ๙๙๕๒ ในรัชกาลปัตยุบันนี้



ข้อบังคับสำหรับศาลรับสั่งพิเศษ
ชำระสะสางคดีความมีโทษหลวงในกรุงเทพฯ
วิธีจัดการชั้นต้น

ข้อให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมมีคำสั่งให้เจ้าน่าที่ทำสารบบความอาญามีโทษหลวงทั้งปวงณศาลต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ที่ค้างพิจารณาแลพิพากษาอยู่ก่อนวันที่ออกพระราชบัญญัติตั้งศาลรับสั่งพิเศษ ๓ ศาลนี้แต่เดือนหนึ่งขึ้นไปให้แล้วในภายใน ๑๕ วันนับแต่วันออกพระราชบัญญัติเปนต้นไป

ในสารบบนั้น ให้มีข้อความดังนี้ คือ

(๑)ชื่อจำเลยฤๅผู้ร้ายซึ่งต้องหาในฟ้อง

(๒)ลักษณโทษที่ต้องกล่าวหา

(๓)ชื่อโจทย

(๔)วันเดือนปีที่จำเลยฤๅผู้ร้ายต้องจับมากักขังติดอยู่

(๕)การที่ศาลได้พิจารณาถึงเพียงใด


ข้อเสนาบดีกระทรวงพระนครบาลต้องส่งสารบบบาญชีจำเลยฤๅผู้ร้ายผู้ต้องติดขังอยู่ในตรางฤๅคุกในกรุงเทพฯ ในเวลาก่อนน่าวันออกพระราชบัญญัติตั้งศาลรับสั่งพิเศษ ๓ ศาลเดือนหนึ่งขึ้นไปทั้งปวงนั้นมาให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมแต่ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันออกพระราชบัญญัตินั้นเปนต้นไป

ในสารบบบาญชีนี้ ให้จดข้อความดังนี้ คือ

(๑)ชื่อจำเลยฤๅผู้ร้ายซึ่งต้องกักขังอยู่

(๒)ต้องขังอยู่ด้วยถูกฟ้องหาว่ากระไร

(๓)วันเดือนปีที่ส่งจำเลยฤๅผู้ร้ายทุก ๆ คนมาขังไว้


ข้อเมื่อเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมได้รับสารบบบาญชีเช่นกล่าวมาในข้อ ๒ นั้นแล้ว ก็ให้ตรวจสอบดูชื่อพวกจำเลยฤๅผู้ร้ายที่จดมาในสารบบบาญชีนั้นว่าจะถูกต้องกันกับชื่อที่มีอยู่ในสารบบที่กล่าวไว้ในข้อ ๑ ฤๅไม่ ถ้ายังขาดชื่ออยู่ ก็ให้คัดเอาชื่อในสารบบที่ ๒ มาลงไว้ในสารบบที่ ๑ ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ดี แล้วให้ถือเอาสารบบที่ ๑ เปนฉบับที่ถูกต้องสำหรับให้ศาลรับสั่งพิเศษทั้ง ๓ ศาลชำระตัดสินให้สำเร็จเดดขาดแล้วไป

ข้อให้แบ่งจัดบันดาความอาญามีโทษหลวงในสารบบซึ่งได้ตรวจสอบเปนฉบับที่ถูกต้องแล้วนั้นเปน ๓ แผนกให้ตรงกันกับน่าที่ของศาลรับสั่งพิเศษทั้ง ๓ ศาล แล้วให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมส่งสารบบทั้ง ๓ นี้ไปให้ศาลรับสั่งพิเศษทั้ง ๓ ศาลตามน่าที่ศาลนั้น ๆ


ข้อในวันที่ ๔ ภายหลังวันพระทุก ๆ วันนั้น เมื่อศาลรับสั่งพิเศษทุกศาลทำการสำหรับวันนั้นแล้ว ก็ให้กำหนดกะเอาความไว้สำหรับที่จะชำระแลตัดสินในฃวบฃองวันพระข้างน่าต่อไป แลต้องกะจำนวนความให้พอดีกันกับเวลาของศาลที่จะมีทำการในระหว่างสี่วันในคราวประชุมขางน่านั้น แลศาลรับสั่งพิเศษทุกศาลมีอำนาจที่จะนับชำระความเรื่องใดเรื่องหนึ่งในวันใดวันหนึ่งเมื่อภายหลังคราวประชุมข้างน่า เมื่อศาลรับสั่งพิเศษนั้นดำริห์เหนว่าเปนการจำเปนเพื่อจะให้โจทยมีเวลาพอที่จะมาว่าความได้


ข้อเมื่อศาลรังสั่งพิเศษศาลใดได้กะกำหนดความทีจะได้ชำระในระหว่างอาทิตย์ต่อไปแล้ว ก็ให้ศาลรับสังพิเศษศาลนั้นออกหมายไปยังโจทย์ในความเหล่านั้นให้ทราบวันเดือนปีแลเวลากำหนดนัดชำระความนั้น แลให้แจ้งความให้ทราบด้วยว่า ถ้าถึงวันเวลานัดแล้ว โจทย์จะมาก็ดี ไมามาก็ดี ศาลรับสั่งพิเศษจะต้องชำระแลตัดสินคดีนั้นเปนเด็ดขาดทีเดียว

อนึ่ง ถ้าศาลรับสั่งพีเศษศาลใดไม่รู้จักบ้านเรือนที่อยู่อาไศรย์ของโจทย์ความรายใด แลไม่สามารถจะออกหมายไปถึงโจทย์ผู้นั้นได้ ก็ให้ศาลรับสั่งพิเศษศาลนั้นมีอำนาจชำระแลตัดสีนคดีนั้นในเวลาที่โจทย์ไม่ได้มาก็ได้ จงทุกเรื่อง


วิธีชำระแลตัดสิน

ข้อเมื่อได้ตัวจำเลยฤๅผู้ร้ายมายังศาลรับสั่งพิเศษแล้ว แลเจ้าพนักงานได้ตรวจสอบเห็นถูกต้องไม่ผิดตัวแล้ว ก็ให้ผู้พิพากษาในศาลรับสั่งพิเศษนั้นชี้แจงข้อหาในฟ้องให้จำเลยฤๅผู้ร้ายนั้นฟังจงเข้าใจดี


ข้อถ้าจำเลยฤๅผู้ร้ายคนนั้นให้การรับสารภาพตามข้อหา แลมิได้ให้การปฏิเศศฤๅต่อสู้ประการใด ก็ให้ศาลรับสั่งพิเศษตัดสินวางโทษตามคำรับสารภาพนั้น แลถ้าเวลาที่จำเลยฤๅผู้ร้ายนั้นต้องขังฤๅจำมาแต่ก่อนนั้นเท่ากันฤๅเกินกว่าเวลาที่กำหนดให้ขังฤๅจำคุกที่วางไว้ในคำตัดสินลงโทษจำเลยฤๅผู้ร้ายคนนั้น เช่นนี้ก็ให้มีคำสั่งลงในคำตัดสินนั้นว่า ให้ปล่อยตัวจำเลยฤๅผู้ร้ายนั้นให้พ้นโทษเสียทีเดยว


ข้อถ้าจำเลยฤๅผู้ร้ายในการปฏิเสธไม่รับ เมื่อมีตัวโจทยมา ก็ให้ศาลรับสั่งฟังคำชี้แจงของโจทยจงถ่องแท้ แต่เมื่อก่อนจะสืบพยานต่อไป ให้ไต่สวนดูว่า วันเวลาที่จำเลยฤๅผู้ร้ายคนนั้นต้องกักขังฤๅจำจองมาแล้วแต่หลังนั้น จะเท่านั้นฤๅเกินกว่าโทษที่ผู้นั้นควรจะได้รับ เมื่อเวลาพิจารณาเปนสัตยสมคำหานั้นฤๅยัง ถ้าหากได้ความว่า เวลาที่คนนั้นต้องขังฤๅจำมาแล้วนั้นพอสมควรจะเท่ากันฤๅเกินกว่าโทษแล้ว ศาลรับสั่งพิเศษไม่ต้องชำระความเรื่องนั้นต่อไป ให้ตัดสินปล่อยจำเลยฤๅผู้ร้ายคนนั้นให้พ้นโทษเสียทีเดียว


ข้อ๑๐โดยข้อความที่ได้กล่าวมมาแล้วในข้อ ๙ นั้น ถ้าเหนว่า เวลาที่จำเลยฤๅผู้ร้ายต้องกักขังฤๅจำจองมานั้นยังน้อยกว่าต่ำกว่าโทษที่ผู้นั้นควรจะต้องรับ ถ้าพิจารณาเปนสัตยสมคำหาลงเช่นนี้ ก็ให้ศาลรับสั่งพิเศษชำระความเรื่องนั้นต่อไป แลไห้กำหนดนัดวันสืบพยานฝ่ายโจทยฝ่ายจำเลยแลนัดวันตัดสินตามที่จะเหนสมควร


ข้อ๑๑ถ้าศาลรับสั่งพิเศษศาลใดพิเคราะห์ดูเหนจำเปนจะต้องเรียกโจทย์ฤๅพยานคนใดเวลาใด ก็มีอำนาจที่จะเลื่อนวันชำระความเรื่องนั้นต่อไปวันอื่น เพื่อจะให้โจทย์ฤๅพยานคน ๆ นั้นมีเวลามาได้ แต่ห้ามมิให้เลื่อนวันชำระความเรื่องหนึ่งเรื่องใดเกินกว่าสองครั้งขึ้นไป เว้นแต่เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมดำริห์ดูเหนสมควรแก่ประโยชน์แห่งทางยุติธรรมที่จะให้เลื่อนต่อไปอีก จึงทำได้

ข้อ๑๒ถ้าศาลรับสั่งพิเศษศาลใดมีความมากเกินกว่าที่จะชำระตัดสินได้ในวันเดือนปีที่ได้กำหนดนัดไว้แล้ว ก็ให้ศาลรับสั่งพิเศษศาลนั้นเลื่อนนัดความเรื่องนั้นไปชำระในวันเวลาที่กำหนดไว้ภายน่าสืบไป


ข้อ๑๓คำตัดสินของศาลรับสั่งพิเศษทุกศาลนั้น ให้ผู้พิพากษานายหนึ่งในศาลนั้นเปนผู้เขียนลงด้วยลายมือของตนเองทั้งคำพยานฤๅคำพูดชี้ของโจทยจำเลยฤๅผู้ร้ายด้วยตามที่ศาลรับสั่งพิเศษศาลนั้น ๆ จะเหนสมควรที่จะรับไว้พิจารณา

ประกาศมาณวันที่ ๙ เดือนกุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๑๔