คำนำ เรื่องพงษาวดาร เมืองหลวงพระบาง

จาก วิกิซอร์ซ
Warning: หน้านี้ขาด {{หัวเรื่อง}}
ถ้าคุณอยากช่วย คุณสามารถเพิ่มข้อมูลตาม {{หัวเรื่อง}} เข้ามาในหน้านี้ หรือแสดงความเห็นไว้ที่ หน้าพูดคุย

คำนำ


นายใหญ่ โรหิตเสถียร มาแจ้งความแก่กรรมการหอพระสมุด วชิรญาณว่าจะทำการปลงศพสนองคุณ นายพันเอก พระยาดัษกรปลาศ ( ทองอยู่ โรหิตเสถียร ) ผู้บิดา มีความศรัทธาจะรับพิมพ์หนังสือ ในหอพระสมุดสำหรับพระนคร เปนของแจกสักเรื่อง ๑ ขอให้กรรมการช่วยเลือกเรื่องหนังสือให้ แลนำเรื่องประวัติซึ่งพระยาดัษกรปลาศได้ จดไว้เอง มาขอให้ข้าพเจ้าช่วยตรวจตราเรียบเรียงพิมพ์ประวัติในสมุด ที่จะแจกในการศพพระยาดัษกรปลาศด้วย ข้าพเจ้าได้เคยรับราชการอยู่ร่วมกรมกับพระยาดัษกรปลาศ แต่เมื่อเปนทหารมหาดเล็กอยู่ด้วยกัน มาในชั้นหลังได้มาร่วมราชการ กันเมื่ออยู่ในกระทรวงมหาดไทยด้วยกันอิกครั้ง ๑ ได้ทราบเรื่องประวัติ ของพระยาดัษกรปลาศมาแต่ก่อนบ้าง คิดเห็นว่าพระยาดัษกรปลาศ เปนข้าราชการผู้ ๑ ซึ่งได้มีโอกาศรับราชการสำคัญมาทั้งในฝ่ายทหาร แลพลเรือนได้เคยตรากตรำทำราชการตามน่าที่ ถึงเอาชีวิตรเข้าแลกประโยชน์ถวายในราชการบ้านเมืองหลายครั้ง ข้อนี้เปนสำคัญใน ประวัติของพระยาดัษกรปลาศ ซึ่งสมควรจะปรากฏ จึงได้รับเรียบเรียง ให้ตามประสงค์ ประวัติพระยาดัษกรปลาส


นายพันเอก พระยาดัษกรปลาส (ทองอยู่ โรหิตเสถียร) ท ม.ต ช. ดุษฎีมาลา. เข็มราชการแผ่นดิน. ฯลฯ เปนบุตรพระยาพระ กฤษณรักษ์ (บุญยัง) เกิดในรัชกาลที่ ๓ เมื่อวันพฤหัศบดี เดือน ๑๑ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๒๑๑ พ.ศ. ๒๓๙๒


(๒)แรกเข้ารับราชการเมื่อปีมแมพ.ศ. ๒๔๑๔ อายุ ๒๒ ปี เปนทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในรัชกาลที่ ๕ เปนพลทหารอยู่ ๒ ปี ได้เปน นายสิบโทอยู่อิก ๓ ปี จึงได้เปนนายสิบเอกในกองร้อยที่ ๖ เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙ รับราชการในตำแหน่งนั้นต่อมาอิก ๔ ปี ถึงปีมโรง พ.ศ. ๒๔๒๔ ในสมัยเมื่อเจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีเปน ที่เจ้าหมื่นไวยวรนารถ บังคับทหาร จัดการทหารสมัค กราบบังคม ทูลขอพระยาดัษกรปลาศไปเปนตำแหน่งนายร้อยโท ในกรมทหารสมัคกองร้อยที่ ๓ แลได้เลื่อนยศขึ้นเปนร้อยเอกในปีนั้น รับ ราชการต่อมาได้พระราชทานสัญญาบัตรเปนหลวงดัษกรปลาศ ถึงปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ ปรดให้เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีแต่ยังเปนนายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนารถ เปนแม่ทัพคุมกองทหารยกขึ้นไป ปราบปรามพวกฮ่อ ซึ่งเข้ามาย่ำยีในอาณาเขตรเมืองหลวงพระบาง เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีให้พระยาดัษกรปลาศคุมทหาร ๑ ยกล่วงน่าขึ้นไปทางเมืองงอย ในเขตรหัวพันทั้งหก ซึ่งฮ่อเข้ามาตั้งค่ายอยู่หลายแห่ง พระยาดัษกรปลาศยกขึ้นไปถึงค่ายฮ่อที่บ้านได้ ริมน้ำแอดเข้าตีค่ายได้รบกับฮ่อก่อนทหารกองอื่น เมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีจอ พ.ศ.๒๔๒๙ ตีค่ายบ้านไดได้ พวกฮ่อล้มตายแตกหนี ได้เสบียงอาหารแลครอบครัวซึ่งฮ่อรวบรวมไว้เปนอันมาก พระยาดัษกร ฯ ตั้งมั่นอยู่ที่นั่น แต่งกองทหารออกเที่ยวตีค่ายฮ่อ ซึ่งเปนค่ายน้อย ตั้งอยู่ที่อื่น ๆ ในจังหวัดนั้น จนฮ่อแตกหนีไปทั้งสิ้น


(๓) ครั้นถึงเดือน ๑๑ พวกฮ่อไปรวบรวมกันได้กำลังมากยกเปนกระบวน ทัพกลับมา พวกทหารซึ่งออกไปตั้งรักษาท้องที่อยู่ตามที่ห่าง ๆ น้อยกว่า ฮ่อมากนัก ก็สู้รบพลางถอยพลาง เข้ามารวมกันที่ค่ายพระยาดัษกรปลาศ ๆ แต่ได้ทราบว่าฮ่อยกมามีกำลังมาก ก็บอกขอกำลังเพิ่มเติมลงมายังแม่ทัพใหญ่ กองหนุนยังขึ้นไปไม่ถึง ด้วยเปนฤดูฝนทางเดินยาก ฮ่อยกลงมาถึงค่ายพระยาดัษกรปลาศก่อน พระยาดัษกรปลาศเห็นว่ากำลังที่มีอยู่ไม่พอจะออกตีฮ่อให้แตกไปได้ จึงรักษาค่ายมั่นไว้ ฮ่อเข้าล้อมค่ายสู้รบกันอยู่ ๙ วัน พวกฮ่อตีหักเอาค่ายไม่ได้ พอฮ่อหมดเสบียงอาหาร ทหารกองหนุนก็ขึ้นไปถึง พวกฮ่อเห็นว่าจะถอยหนีไปไม่พ้น จึงให้เข้ามาขอยอม " ทู้ " ต่อพระยาดัษกรปลาศ คือ ขอให้ยกโทษแล้วจะยอมเปนไพร่พลเมืองโดยปรกติต่อไป กองทัพเจ้าพระยาสุรศักดิ ฯ ปราบปรามฮ่อ แลจัดการด่านทางอยู่ ๒๐ เดือน จึงมีตราพระราชสีห์ให้หากองทัพกลับมาถึงกรุงเทพ ฯ เมื่อเดือน ๗ แรม ๑ ค่ำ ปีกุญ พ.ศ. ๒๔๓๐ ในสมัยนั้นยังไม่ได้ทำสายโทรเลขไปถึงหัวเมืองฝ่ายเหนือ พอกองทัพกลับลงมาถึงกรุงเทพ ฯ ได้ ๔ วันก็ได้ข่าวลงมาว่า เจ้าเมืองไลพากองทัพฮ่อยกจู่เข้ามาตีเมืองหลวงพระบางแตก เมืองไลเปนหัวเมือง ๑ ในแว่นแคว้นสิบสองจุไทย พลเมืองเปนไทยพวก ๑ เรียกกันว่าผู้ไทย เปนเมืองขึ้น ๓ ฝ่ายฟ้า คือ จีนก็ขึ้น ญวนก็ขึ้น หลวงพระบางก็ขึ้น ด้วยเหตุว่าอยู่ต่อพรมแดนทั้ง ๓ ฝ่าย


(๔) เมื่อฮ่อยกเข้ามาเบียดเบียนอาณาเขตรหลวงพระบาง ความปรากฏว่า เจ้าเมืองไลสมคบกับฮ่อ ครั้นเมื่อพระยาสุรศักดิมนตรีปราบปรามพวกฮ่อแล้วยกกองทัพขึ้นไปตั้งอยู่ที่เมืองแถง พวกพระยาท้าวขุนหัวเมือง สิบสองจุไทยพากันเข้ามาหาแม่ทัพ แต่เจ้าเมืองไลบิดพลิ้วเสียหามาไม่ ให้แต่ลูกเข้ามาแทนตัว เจ้าพระยาสุรศักดิ ฯ รออยู่จนจวนยกกองทัพกลับ เจ้าเมืองไลก็ไม่เข้ามา เจ้าพระยาสุรศักดิ ฯ จึง เอาตัวลูกเจ้าเมืองไลคุมลงมา ๒ คน ด้วยเหตุนี้เจ้าเมืองไลจึงไปพาพวกฮ่อลงมาตีเมืองหลวงพระบาง เมื่อกองทัพยกกลับมาแล้ว ในปีกุญ พ. ศ. ๒๔๓๐นั้นโปรดให้เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรียกกองทัพกลับขึ้นไปเมืองหลวงพระบางอิก พระยาดัษกรปลาศได้เลื่อนยศขึ้นเปนนายพันตรี ได้เปนนายทัพน่าของเจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีคราวนี้ยกขึ้นไปก่อนแต่ในเดือน ๘ เดินทางกำลังเปนฤดูฝนชุก ไปถึงเมืองหลวงพระบางต่อเดือน ๑๒ พวกฮ่อหนีกลับไปเสียแล้ว พระยาดัษกรปลาศจึงตั้งรักษาเมืองหลวงพระบางอยู่กับพระยาไกรโกษา ทัด สิงห์เสนี )แต่ยังเปนพระยานนทบุรี ซึ่งเปนข้าหลวงใหญ่ เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรียกขึ้นไปถึงเมืองหลวงพระบางต่อเดือนยี่ จึงให้พระยาดัษกรปลาศคุมกองทหารยกออกไปปราบปรามพวกฮ่อ ที่กลับเข้ามาตั้งอยู่ในเขตรแขวงเมืองขึ้นเมืองหลวงพระบาง พระยาดัษกรปลาศออกไปคราวนี้ ได้รบกับฮ่อที่เมืองฮังตีได้ค่ายฮ่อ พวกฮ่อล้มตายแตกหนีกระจัดกระจายไปแต่นั้นฮ่อก็ไม่กล้ายกมารบพุ่งกองทหารอิก พระยาดัษกรปลาศเที่ยวปราบปรามฮ่อแลจัดการด่านทางอยู่ ๒ ปีเศษ จนปีขาล พ.ศ.๒๔๓๓ จึงกลับลงมาเมืองหลวงพระบาง


(๕) ถึงปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ มีตราให้หากองทัพเจ้าพระยาสุรศักดิมนตรี กลับกรุงเทพ ฯ ทางโน้นโปรดให้พระยาฤทธิรงค์รณเฉท ( ศุข ชูโต ) แต่ยังเปนพระพลัษฎานุรักษ์ปลัดทัพ ที่ขึ้นไปกับเจ้าพระยาสุรศักดิมนตรี เปนข้าหลวงใหญ่อยู่รักษาราชการที่เมืองหลวงพระบาง พระราชทาน สัญญาบัตรพระยาดัษกรปลาศ ซึ่งยังเปนหลวง เลื่อนขึ้นเปนพระดัษกร ปลาศ แลเลื่อนยศทหารเปนนายพันโท เปนผู้บังคับทหาร แลเปน ข้าหลวงรองอยู่เมืองหลวงพระบางกับพระยาฤทธิรงค์รณเฉทอิก ๒ ปี ถึงปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๓๖ โปรดให้เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ ( เชย กัลยาณมิตร ) แต่ยังเปนพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ผู้ว่าราชการเมืองพิไชย ขึ้นไปเปนข้าหลวงใหญ่ประจำเมืองนครหลวงพระบางเปลี่ยนพระยาฤทธิรงค์รณเฉท แลให้นายพันตรี พระราญรอนอริราช ( เพิ่ม ) ขึ้นไปเปนข้าหลวงรองบังคับทหารเปลี่ยนพระยาดัษกรปลาศ ข้าหลวงใหญ่ให้พระยาดัษกรปลาศพาพระราญรอนอริราชไปตรวจด่านทางเมืองหัวพันทั้งหก ชี้แจงมอบหมายการงานแก่พระราญรอนอริราชในเวลาที่เดินทางตรวจการอยู่นั้น ทางกรุงเทพ ฯ เกิดเหตุอริกับฝรั่งเศส ใน ร.ศ. ๑๑๒ มีท้องตราขึ้นไปให้พระยาดัษกรปลาศอยู่ช่วยราชการเจ้า พระยาสุรสีห์ ฯ ต่อไป จึงยังมิได้กลับกรุงเทพ ฯ เจ้าพระยาสุรสีห์ ฯ ให้ กลับออกไปรักษาเมืองหัวพันทั้งหก พระยาดัษกรปลาศจึงยกกลับ ออกไปตั้งอยู่ที่เมืองงอย จนเสร็จเรื่องอริกับฝรั่งเศส พระยาดัษกรปลาศคุมทหารกลับมาตั้งอยู่ที่ปากลาย ได้รับท้องตราพระราชสีห์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเปนพระยา ดัษกรปลาศ แลให้เปนข้าหลวงรักษาการในที่ ๒๕ กิโลเมตร์อยู่ปีเศษ


(๖) ถึงปีมแม พ.ศ. ๒๔๓๘ เจ้าพระยาสุรสีห์เลื่อนที่ขึ้นเปนข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิศณุโลก จะโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาดัษกรปลาศเปนผู้ว่าราชการเมืองพิไชย มีท้องตราสั่งให้ลงมารั้งราชการเมืองพิไชยอยู่พลาง พระยาดัษกรปลาศลงมารั้งราชการเมืองพิไชยอยู่สักครึ่งเดือนก็ได้รับท้องตราให้หาลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปนตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครสวรรค์ ซึ่งพึ่งจัดตั้งเปนมณฑลขึ้นใหม่ ในปีมแม พ.ศ. ๒๔๓๘ นั้น แลได้พระราชทานสัญญาบัตรเปนรัฐมนตรีด้วย พระยาดัษกรปลาศเปนข้าหลวงเทศาภิบาลอยู่ไม่ถึง ๒ ปี ก็ย้ายกลับมารับราชการทหารอิก เหตุที่ย้ายมานั้น เปนด้วยพระยาดัษกรปลาศรู้สึกว่าตัวไม่สันทัดราชการพลเรือน แต่พอขึ้นไปเปนข้าหลวงเทศาภิบาลแล้วไม่ช้า ก็รู้สึกอึดอัดใจ ด้วยเคยแต่รับราชการทหารมาอย่างเดียว เกรงจะไม่สามารถรับราชการพลเรือนให้ดีได้ จึงร้องขอมารับราชการทหารอย่างเดิม ในสมัยนั้น เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีได้เปนผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ บังคับการทหารบกทั่วไป จึงกราบบังคมทูลขอพระยา ดัษกรปลาศย้ายไปรับราชการทหาร เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๓๙ เปนตำแหน่งจเรทหารบกก่อน แล้วเลื่อนเปนยกรบัตรทัพบกในปีนั้น ถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาดัษกร ปลาศย้ายตำแหน่งมารับราชการเปนราชองครักษ์ประจำการ ถึงปีกุญ


(๗) พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้พระราชทานสัญญาบัตรเปนองคมนตรี พระยาดัษกรปลาศรับราชการเปนราชองครักษ์อยู่ได้ปีเศษ เกิดอาการเจ็บป่วยทุพลภาพ จึงกราบถวายบังคมลาออกพักรักษาตัว เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ ในตอนนี้พระยาดัษกรปลาศได้เลื่อนยศทหารเปนนายพันเอก แต่เจ็บ ป่วยไม่ได้รับราชการอยู่กว่าปี ถึงปีขาล พ. ศ. ๒๔๔๕ เมื่อพวกผู้ร้ายเงี้ยวก่อการจลาจลขึ้นในมณฑลภาคพายัพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีเปนแม่ทัพคุมทหารขึ้นไปปราบผู้ร้ายเงี้ยวทางเมืองแพร่ เจ้า พระยาสุรศักดิมนตรีกราบบังคมทูล ขอให้พระยาดัษกรปลาศเปนนายทัพ น่า ยกออกจากกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ครั้นถึงเมืองแพร่แล้ว เจ้าพระยาสุรศักดิมนตรี จึงให้พระยาดัษกรปลาศคุมกองทหารยกไปปราบ ปรามผู้ร้ายเงี้ยว ซึ่งยังตั้งอยู่ตามหัวเมืองข้างฝ่ายเหนือ พระยาดัษกรปลาศยกจากเมืองแพร่เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ไปถึง เมืองสเอียบเมื่อณวันที่ ๑๕ ตุลาคม ในคืนวันนั้นพวกผู้ร้ายเงี้ยวเข้า ปล้นค่ายพระยาดัษกรปลาศ ได้รบกัน ๒ พัก พระยาดัษกรปลาศตีพวก ผู้ร้ายเงี้ยวแตก แล้วยกกองทหารต่อไป วันที่ ๒ พฤศจิกายน ถึง เมืองออย ซึ่งพวกผู้ร้ายตั้งค่ายใหญ่อยู่ค่าย ๑ พระยาดัษกรปลาศ คุมทหารเข้าตีค่ายพวกผู้ร้ายเงี้ยว รบกันอยู่ชั่วโมงเศษ ผู้ร้ายเงี้ยว ก็แตกหนี ตีได้ค่ายเมืองออยแล้วยกต่อไปถึงเมืองเชียงคำตั้งพักอยู่ ที่นั่น ได้ข่าวว่าพวกผู้ร้ายเงี้ยวตั้งค่ายอยู่ที่วัดเวียงแก แขวงเมือง พงอิกแห่ง ๑ ระยาดัษกรปลาศจึงแบ่งกองทหารให้ยกไปตีค่ายวัด


(๘) เวียงแก ตีได้เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม อิกแห่ง ๑ เสร็จการปราบผู้ ร้ายเงี้ยวครั้งนั้นแล้ว กองทัพกลับมาถึงกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๔๖ พระยาดัษกรปลาศไปทัพคราวนี้เปนเวลาเคราะห์ร้าย ด้วยเมื่อคุมกองทหารออกไปจากเมืองแพร่ไปข้างเหนือ พระยาดัษกรปลาศได้ข่าวว่าผู้ร้ายเงี้ยวเข้ามาตั้งคอยต่อสู้อยู่หลายแห่ง จึงมีจดหมายไปถึง ผู้บังคับกองทหารที่เมืองพเยา ให้แบ่งทหารยกมาตีตัดเงี้ยวอิก ทาง ๑ เมื่อพระยาดัษกรปลาศรบชนะเงี้ยวที่เมืองสเอียบแล้วยกต่อ ขึ้นไป กองทหารที่มาจากเมืองพเยารบเงี้ยวเข้ามาอิกทาง ๑ เงี้ยว สู้พลางถอยพลาง มาจนถึงบ้านท่าฟ้า ในทางที่พระยาดัษกรปลาศ ก็ยกขึ้นไป พอเงี้ยวแตกหนีจากบ้านท่าฟ้า พระยากดัษกรปลาศก็ ยกขึ้นไปถึง นายทหารที่มาจากเมืองพเยาจับพม่าไว้ได้ ๒ คน เอา มาส่งให้พระยาดัษกรปลาศ ว่าเปนพวกผู้ร้ายเงี้ยวที่ต่อสู้กองทหาร พระยาดัษกรปลาศไต่ถาม พม่า ๒ คนนั้นไม่ให้การ พระยาดัษกรปลาศจึงสั่งให้เอาไปประหารชีวิตรเสีย พม่า ๒ คนนั้นเปนคนในบังคับอังกฤษ กงซุลอังกฤษฟ้องว่าหาได้เปนผู้ร้ายไม่ เมื่อเสร็จการปราบ ผู้ร้ายเงี้ยวแล้ว จึงต้องตั้งศาลทหารพิจารณาคดีเรื่องพระยาดัษกรปลาศสั่งให้ประหารชีวิตรพม่า ๒ คน ทางพิจารณาได้ความว่า พม่าคน ๑ หนีขึ้นไปจากเมืองแพร่กับผู้ร้ายเงี้ยวด้วยกัน อิกคน ๑ เปนคนจรจัด มาอยู่ในหมู่ผู้ร้ายเงี้ยวที่ต่อสู้กองทหาร ไม่มีพยานปรากฏว่าพม่า ๒ คนได้สู้รบด้วย แต่ความปรากฏว่า พระยาดัษกรปลาศไม่สืบให้


(๙) สิ้นกระแสความในเรื่องพม่า ๒ คนนั้น เปนแต่ถือเอาข้อที่ไม่ให้การ เปนพิรุธ โดยฐานไม่มีข้อแก้ตัว ศาลจึงพิพากษาว่าพระยาดัษกรปลาศมีความผิด แต่ทำโดยซื่อตรงมิได้มีเจตนาเปนทุจริต พระยาดัษกรปลาศจึงต้องกักขังอยู่ในโรงทหารปีเศษ จึงทรงพระกรุณาโปรดยกโทษพระราชทาน สำนวนคดีเรื่องนี้มีแจ้งอยู่ในหนังสือราชกิจจา นุเบกษา รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ นั้นแล้ว เรื่องประวัติของพระยา ดัษกรปลาศที่เกี่ยวด้วยราชการหมดเพียงเท่านี้ แต่นั้นก็ไม่ได้รับ ราชการ ด้วยพระยาดัษกรปลาศอายุมาก รับราชการมากว่า ๓๐ ปี กำลังร่างกายก็ทุพลภาพ ได้พระราชทานเบี้ยบำนาญ รักษาตัวอยู่ ในกรุงเทพ ฯ บ้าง ออกไปศรีราชากับเจ้าพระยาสุรศักดิมนตรีบ้าง อิกหลายปี. พระยาดัษกรปลาศได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เปน บำเหน็จความชอบพิเศษหลายคราว คือ เมื่อปีกุญ พ. ศ. ๒๔๓๐ ได้พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๓ นิภาภรณ์ เปนบำเหน็จคราวคุมทหารไปรบฮ่อ คราวแรก เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่ ๒ จุลสุราภรณ์ เปนบำเหน็จที่รบฮ่อครั้งที่ ๒ ในเขตรเมืองหลวงพระบาง เมื่อปีวอก พ. ศ. ๒๔๓๙ ได้พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน เปนบำเหน็จคราวรักษาราชการที่เมืองหลวงพระบางในรัตนโกสินทรศก ๑๑๒


(๑๐) เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้พระราชทานเหรียญปราบฮ่อ มีเข็มติด ๒ เข็ม นอกจากนี้ได้พระราชทานเหรียญจักรมาลา ด้วยรับ ราชการทหารมานาน แลเหรียญการพระราชพิธีต่าง ๆ ตามบันดาศักดิ์ ถึงปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๖๐พระยาดัษกรปลาศป่วยเปนโรคปอดบวม ถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม คำนวณอายุได้ ๖๗ ปี