คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๕๙/๒๕๕๗

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ที่ ๕๙/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว




เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการแก้ไขแรงงานต่างด้าว ทั้งระบบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการ ลดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคม ครอบคลุมทั้งการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ชายแดนแบบมาเช้า-เย็นกลับ แรงงานตามฤดูกาล แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และแรงงานต่างด้าวประเภทอื่นๆ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

๑. แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) ประกอบด้วย

๑.๑ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
๑.๒ ปลัดกระทรวงแรงงาน รองประธานกรรมการ
๑.๓ ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
๑.๔ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
๑.๕ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
๑.๖ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
๑.๗ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
๑.๘ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ
๑.๙ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
๑.๑๐ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
๑.๑๑ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
๑.๑๒ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
๑.๑๓ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ
๑.๑๔ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
๑.๑๕ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
๑.๑๖ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
๑.๑๗ ผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
๑.๑๘ ผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
๑.๑๙ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
๑.๒๐ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
๑.๒๑ เลขาธิการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรรมการ
๑.๒๒ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
๑.๒๓ เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
๑.๒๔ เจ้ากรมยุทธการทหาร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๑.๒๕ อธิบดีกรมการจัดหางาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

๒.ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

๒.๑ เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ทั้งระบบต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
๒.๒ อำนวยการ กำกับดูแล ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว และรายงานผลต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
๒.๓ พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
๒.๔ พิจารณาสนับสนุนให้ทบทวนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๒.๕ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
๒.๖ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

๓. คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู้ภาวะปกติ หรือมีคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินแล้ว

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


สั่ง ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑ /ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง /หน้า ๙/๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗.



๕๘/๒๕๕๗ ขึ้น ๖๐/๒๕๕๗

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"