คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๘๕/๒๕๕๗
หน้าตา
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ที่ ๘๕/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกําหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา
ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตามประกาศ ฉบับที่ ๑/๒๕๕๗ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ นั้น
เพื่อให้การพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม รวมทั้งป้องกันภัยพิบัติให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง จึงออกคำสั่ง ดังนี้
ข้อ ๑ ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ๓ ฉบับ ได้แก่
- ๑.๑ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยยุทธศาสตร์ เพื่อการพื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.๒๕๕๔
- ๑.๒ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ.๒๕๕๔
- ๑.๓ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๕ แต่ให้คง สำนักนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) ให้เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ในการประสานงานหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลสภาพภูมิอากาศ สภาพน้ำในลุ่มน้ำและเขื่อนหรือที่กักเก็บน้ำ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ข้อ ๒ แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประกอบด้วย
- ๒.๑ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ประธานกรรมการ
- ๒.๒ เลขาธิการคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
- ๒.๓ พลโทศุภกร สงวนชาติศรไกร กรรมการ
- ๒.๔ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
- ๒.๕ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
- ๒.๖ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
- ๒.๗ ปลัดกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
- ๒.๘ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ
- ๒.๙ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
- ๒.๑๐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
- ๒.๑๑ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
- ๒.๑๒ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฏีกา กรรมการ
- ๒.๑๓ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรรมการ
- ๒.๑๔ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
- ๒.๑๕ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก กรรมการ
- ๒.๑๖ เลขาธิการคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ กรรมการ
- ๒.๑๗ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กรรมการ
- ๒.๑๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรรมการ
- ๒.๑๙ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรรมการ
- ๒.๒๐ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ กรรมการ
- ๒.๒๑ เจ้ากรมการทหารช่าง กรรมการและเลขานุการ
- ๒.๒๒ อธิบดีกรมชลประทาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- ๒.๒๓ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- ๒.๒๔ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- ๒.๒๕ อธิบดีกรมเจ้าท่า กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๒ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
- ๓.๑ กำหนดกรอบนโยบายและแผนงานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัย ภัยแล้งและคุณภาพน้ำของประเทศ เพื่อให้การบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศเป็นไปอย่างมีเอกภาพและบูรณาการ
- ๓.๒ เสนอแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการปฏิบัติต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
- ๓.๓ สนับสนุนการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างความเข้าใจของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
- ๓.๔ บูรณาการการสั่งงานด้านการบริหารจัดการน้ำ โดยสั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามวิกฤติให้มีการประสานกับคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภช.) ซึ่งสามารถใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.๒๕๕๐
- ๓.๕ ติดตาม กำกับ ดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย แผนงาน โครงการ และมาตรการที่อนุมัติ
- ๓.๖ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
- ๓.๗ เชิญบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และความคิดเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ
- ๓.๘ ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
- ๓.๙ รายงานผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เชิงอรรถ
[แก้ไข]- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑ /ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง /หน้า ๖/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"