คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 122/2553
คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรม เดชานุภาพ
ด้วยลํานักงานตํารวจแห่งซาติ พิจารณาเห็นว่าสมควรแก้ไขปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการดําเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามคําสั่งสำนักงานตํารวจแห่งชาติที่ ๖๐๒/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ให้ครอบคลุมถึงความผิตที่อาจส่งผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และความผิดที่เกี่ยวเนื่องกัน อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๑๑(๔) จึงให้ยกเลิกคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติที่ ๖๐๒/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ และกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้
แนวทางปฏิบัติในการดําเนินคดีความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๓๓ และมาตรา ๑๓๔ รวมถึงการกระทําที่มีลักษณะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๔(๓) (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๓๓ และมาตรา ๑๓๔) มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๗ ให้ดําเนินการดังนี้
๑. เมื่อปรากฏว่าหน่วยงานในลํานักงานตํารวจแห่งชาติได้รับทราบไม่ว่าโดยทางใดว่ามีการกระทําที่เข้าข่ายเป็นความผิดดังกล่าว ให้ดําเนินการดังนี้
๑.๑ เมื่อมีผู้กล่าวโทษให้ดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิด ให้พนักงานสอบสวนดําเนินการสอบสวนไปตามอํานาจหน้าที่ ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แล้วรายงานข้อเท็จจริงโดยละเอียด และพยานหลักฐาน พร้อมความเห็นเสนอผู้บัญชาการเพื่อพิจารณาในเรื่อง
๑.๑.๑ การตั้งข้อหา
๑.๑.๒ การร้องขอให้ศาลออกหมายจับ
๑.๑.๓ การทําความเห็นทางคดีเสนอผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติเพื่อพิจารณาสั่งคดี
ในระหว่างการพิจารณาของผู้บัญชาการ ให้พนักงานสอบสวนทําการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานและดําเนินการทั้งหลายเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดต่อไปโดยไม่ ต้องรอความเห็นจากผู้บัญชาการ เมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่ามีพยานหลักฐานสําคัญทางคดีเพิ่มเติมที่ เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของผู้บัญชาการ ให้รีบนําเสนอต่อผู้บัญชาการโดยเร็ว
ลําหรับในส่วนของกองบัญชาการตํารวจสันติบาล ให้รายงานเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่สอบสวนรับผิดชอบทําการสอบสวนต่อไป
๑.๒ เมื่อปรากฎพฤติการณ์จากข่าวทางสื่อมวลชน หรือเป็นกรณีที่ไม่เป็นการกล่าวโทษ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทําการตรวจสอบ แล้วรายงานข้อเท็จจริงโดยละเอียด และพยานหลักฐาน พร้อมความเห็นเสนอผู้บัญชาการเพื่อพิจารณาว่าเป็นการกระทําที่เข้าข่ายเป็นความผิดตังกล่าวหรือไม่ หากเห็นว่าเป็นการกระทําที่เข้าข่ายเป็นความผิด ก็ให้ดําเนินการตามข้อ ๑.๑ แต่หากพิจารณาแล้ว เห็นว่าการกระทําดังกล่าวไม่เข้าข่ายเป็นความผิด ให้รายงานผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติทราบโดยเร็ว
๑.๓ เมื่อมีการจับกุมบุคคลใดดําเนินคดีดังกล่าว เพราะเหตุกระทําความผิดซึ่งหน้าหรือมีเหตุจําเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติ ภายหลังการจับกุมให้พนักงานสอบสวนรีบรายงานข้อเท็จจริงโดยละเอียด และพยานหลักฐาน พร้อมความเห็นเบื้องต้น เสนอผู้บัญชาการพิจารณาตามข้อ ๑.๑
๒. ให้ผู้บัญชาการพิจารณามอบหมายรองผู้บัญชาการเป็นผู้รับผิดชอบการสอบสวนคดีหมื่นพระบรมเดชานุภาพทุกคดี
๓. เมื่อพนักงานสอบสวนทําการสอบสวนเสร็จสิ้น และ กองบัญชาการ/ตํารวจภูธรภาค ได้เสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นทางคดีมายัง สํานักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บังคับการกองคดีอาญา ประมวลเรื่องนําเข้าพิจารณาในคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย
๓.๑ รองผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ (ตามที่ได้รับมอบหมาย) เป็น ประธานกรรมการ
๓.๒ รองผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ หรือ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตํารวจแห่งซาติ (ตามที่ได้รับบอบหมาย) เป็น รองประธานกรรมการ
๓.๓ ผู้บัญชาการ สํานักงานกฎหมายและคดี เป็น กรรมการ
๓.๔ ผู้บัญชาการ กองบัญชาการตํารวจสันติบาล เป็น กรรมการ
๓.๕ ผู้บัญชาการ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็น กรรมการ
๓.๖ ผู้บัญชาการ ท้องที่เกิดเหตุ/รับผิดชอบ เป็น กรรมการ
๓.๗ ผู้บังคับการ ท้องที่เกิดเหตุ/รับผิดชอบ เป็น กรรมการ
๓.๘ ผู้บังคับการ กองกฎหมาย เป็น กรรมการ
๓.๙ ผู้บังคับการ กองคดีอาญา เป็น กรรมการ/เลขานุการ
คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณาสำนวนการสอบสวน และมีความเห็นในความผิดดังกล่าวเพื่อเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีความเห็นทางคดีหรือสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับคดี
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการที่มีอาวุโสสูงสุด ทําหน้าที่เป็นประธานกรรมการแทน หรือกรณีที่ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการที่มีอาวุโสถัดลงมาทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการแทน
อนึ่ง ในกรณีที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ สั่งให้มีการประชุมเป็นการเร่งด่วน ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติอาจเข้าเป็นประธานที่ประชุมก็ได้ และรองผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติที่เข้าประชุมเป็นรองประธาน
๔. การรายงานเหตุเบื้องต้น ให้พนักงานสอบสวนสรุปข้อเท็จจริงโดยให้ปรากฎชื่อผู้กล่าวหา ชื่อผู้ต้องหา ความผิดที่กล่าวหา วันเดือนปีที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ และพฤติการณ์แห่งคดีโดยละเอียด เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผ่าน กองคดีอาญา) ภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่รับคํากล่าวโทษ
๕. กำหนดชั้นความลับในการเสนอเรื่องเป็น "ลับมาก" ทุกกรณี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๑๒๒/๒๕๕๓ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๓". (๒๕๕๕). ใน สมชาย ว่องไวเมธี (ผู้รวบรวม), คู่มือพนักงานสอบสวน (น. ๓๙๙-๔๐๑). กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล. ISBN 978-974-520-9244.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"