คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 76/2563
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 76/2563 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2563)
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี |
ที่ ๗๖/๒๕๖๓ |
เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) |
ตามที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓ ว่า การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่และระบาดอยู่ในหลายประเทศตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๙) เป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" และต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นการระบาดใหญ่ โดยในประเทศไทยได้ปรากฏการระบาดของโรคภายในประเทศอันเนื่องมาจากผู้ป่วยที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศแล้วว่า เป็นโรคติดต่ออันตราย และประกาศให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรบางประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรค และมีผู้ป่วยเสียชีวิต ตลอดจนมีความเสี่ยงเป็นอันมาก เป็นเขตติดต่อของโรคดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทยให้อยู่ในวงจำกัด ลดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชน เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ สร้างความตระหนักรู้เท่าทัน และเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล ตลอดจนประเมินสถานการณ์เพื่อการบังคับใช้กฎหมายให้ตรงกับความรุนแรงของปัญหา และวางมาตรการปัองกัน ควบคุม และช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๖) และ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ |
๑. ให้จัดตั้ง "ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)" เรียกโดยย่อว่า "ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19" ขึ้นในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตั้งอยู่ในทำเนียบรัฐบาลหรือสถานที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี |
๒. แต่งตั้ง "คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)" โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่และอำนาจ ดังนี้ |
๒.๑ องค์ประกอบ |
(๑) | นายกรัฐมนตรี | ประธานกรรมการ | ||
(๒) | รองนายกรัฐมนตรี | กรรมการ | ||
(๓) | รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | กรรมการ | ||
(๔) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | กรรมการ | ||
(๕) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | กรรมการ | ||
(๖) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | กรรมการ | ||
(๗) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | กรรมการ | ||
(๘) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม | กรรมการ | ||
และความมั่นคงของมนุษย์ | ||||
(๙) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | กรรมการ | ||
(๑๐) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | กรรมการ | ||
(๑๑) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | กรรมการ | ||
(๑๒) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | กรรมการ | ||
(๑๓) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | กรรมการ | ||
(๑๔) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | กรรมการ | ||
(๑๕) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | กรรมการ | ||
(๑๖) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | กรรมการ | ||
(๑๗) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา | กรรมการ | ||
วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม | ||||
(๑๘) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | กรรมการ | ||
(๑๙) | เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | กรรมการ | ||
(๒๐) | ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี | กรรมการ | ||
(นายพีระพันธุ สาลีรัฐวิภาค) | ||||
(๒๑) | ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี | กรรมการ | ||
(๒๒) | เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ | กรรมการ | ||
(๒๓) | ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | กรรมการ | ||
(๒๔) | รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง | กรรมการและเลขานุการ | ||
(นายประทีป กีรติเรขา) | ||||
(๒๕) | รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร | ผู้ช่วยเลขานุการ | ||
(๒๖) | รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสมคิด จันทมฤก) | ผู้ช่วยเลขานุการ | ||
(๒๗) | อธิบดีกรมการค้าภายใน | ผู้ช่วยเลขานุการ | ||
(๒๘) | อธิบดีกรมควบคุมโรค | ผู้ช่วยเลขานุการ | ||
๒.๒ หน้าที่และอำนาจ |
(๑) กำหนดนโยบายและมาตรการเร่งด่วนในการบริหารสถานการณ์ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ในด้านการสาธารณสุข ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน ด้านข้อมูล ด้านการชี้แจงและการรับเรื่องร้องเรียน ด้านการต่างประเทศ ด้านมาตรการป้องกัน และด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา เพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอันเกิดจากแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) |
(๒) สั่งการให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติภายในขอบเขต หน้าที่ และอำนาจตามกฎหมาย รวมทั้งขอความร่วมมือภาคเอกชนเพื่อให้ดำเนินการเป็นไปตามนโยบายและมาตรการเร่งด่วนที่กำหนด |
(๓) กำกับดูแล ควบคุม และติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเพื่อแก้ใขป้ญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ |
(๔) บริหารจัดการข้อมูลที่ได้รับรายงานจากศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เพื่อการประเมินสถานการณ์ที่เป็นป้จจุบันและแนวโน้มของสถานการณ์ในอนาคต |
(๕) ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ต่อประชาชนเพื่อสร้างความรู้เท่าทันและความเข้าใจที่ตรงกันในสถานการณ์ดังกล่าว |
ประธานกรรมการอาจมอบหมายให้กรรมการทำหน้าที่ผู้ชื้แจงและประชาสัมพันธ์ในนามของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ก็ได้ |
(๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม |
(๗) เชิญบุคคลเข้าร่วมประชุม หรือขอเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานหรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจตามคำสั่งนี้ |
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย |
๓. ให้คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขป้ญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๓/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๓ และให้ศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขป้ญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๗๒/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๓ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามเดิมภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 |
๔. ให้หน่วยงานของรัฐตามที่ปรากฏในบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้ รับผิดชอบการดำเนินการในด้านต่าง ๆ และให้รายงานการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรีเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาในวาระการพิจารณาเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในการประชุมคณะรัฐมนตรีตามความจำเป็น |
๕. สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานที่แต่งตั้งตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๔๔๗ หรือตามระเบียบของทางราชการ แล้วแต่กรณี โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี |
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป |
สั่ง ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ |
- บัญชีแนบท้ายคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๗๖/๒๕๖๓
- เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
- ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๓
- รายชื่อหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ
มาตรการ | หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
---|---|
ด้านการสาธารณสุข |
|
ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน |
|
|
|
ด้านการต่างประเทศ |
|
ด้านมาตรการป้องกัน |
|
ด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา |
|
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- สำนักนายกรัฐมนตรี. (2563). คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 76/2563. สืบค้นจาก http://media.thaigov.go.th/uploads/document/66/2020/03/pdf/Doc_20200318153452000000.pdf
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"