ข้ามไปเนื้อหา

คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 76/2563

จาก วิกิซอร์ซ

ตราครุฑ
ตราครุฑ
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๗๖/๒๕๖๓
เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)


ตามที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓ ว่า การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่และระบาดอยู่ในหลายประเทศตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๙) เป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ" และต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นการระบาดใหญ่ โดยในประเทศไทยได้ปรากฏการระบาดของโรคภายในประเทศอันเนื่องมาจากผู้ป่วยที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศแล้วว่า เป็นโรคติดต่ออันตราย และประกาศให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรบางประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรค และมีผู้ป่วยเสียชีวิต ตลอดจนมีความเสี่ยงเป็นอันมาก เป็นเขตติดต่อของโรคดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทยให้อยู่ในวงจำกัด ลดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชน เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ สร้างความตระหนักรู้เท่าทัน และเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล ตลอดจนประเมินสถานการณ์เพื่อการบังคับใช้กฎหมายให้ตรงกับความรุนแรงของปัญหา และวางมาตรการปัองกัน ควบคุม และช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๖) และ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
๑. ให้จัดตั้ง "ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)" เรียกโดยย่อว่า "ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19" ขึ้นในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตั้งอยู่ในทำเนียบรัฐบาลหรือสถานที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
๒. แต่งตั้ง "คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)" โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
๒.๑ องค์ประกอบ
(๑) นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
(๒) รองนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(๓) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรรมการ
(๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ
(๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
(๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
(๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม กรรมการ
และความมั่นคงของมนุษย์
(๙) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ
(๑๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรรมการ
(๑๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
(๑๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
(๑๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
(๑๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ
(๑๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
(๑๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
(๑๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา กรรมการ
วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
(๑๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
(๑๙) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(๒๐) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กรรมการ
(นายพีระพันธุ สาลีรัฐวิภาค)
(๒๑) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(๒๒) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
(๒๓) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
(๒๔) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กรรมการและเลขานุการ
(นายประทีป กีรติเรขา)
(๒๕) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยเลขานุการ
(๒๖) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสมคิด จันทมฤก) ผู้ช่วยเลขานุการ
(๒๗) อธิบดีกรมการค้าภายใน ผู้ช่วยเลขานุการ
(๒๘) อธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้ช่วยเลขานุการ
๒.๒ หน้าที่และอำนาจ
(๑) กำหนดนโยบายและมาตรการเร่งด่วนในการบริหารสถานการณ์ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ในด้านการสาธารณสุข ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน ด้านข้อมูล ด้านการชี้แจงและการรับเรื่องร้องเรียน ด้านการต่างประเทศ ด้านมาตรการป้องกัน และด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา เพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอันเกิดจากแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
(๒) สั่งการให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติภายในขอบเขต หน้าที่ และอำนาจตามกฎหมาย รวมทั้งขอความร่วมมือภาคเอกชนเพื่อให้ดำเนินการเป็นไปตามนโยบายและมาตรการเร่งด่วนที่กำหนด
(๓) กำกับดูแล ควบคุม และติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเพื่อแก้ใขป้ญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ
(๔) บริหารจัดการข้อมูลที่ได้รับรายงานจากศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เพื่อการประเมินสถานการณ์ที่เป็นป้จจุบันและแนวโน้มของสถานการณ์ในอนาคต
(๕) ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ต่อประชาชนเพื่อสร้างความรู้เท่าทันและความเข้าใจที่ตรงกันในสถานการณ์ดังกล่าว
ประธานกรรมการอาจมอบหมายให้กรรมการทำหน้าที่ผู้ชื้แจงและประชาสัมพันธ์ในนามของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ก็ได้
(๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
(๗) เชิญบุคคลเข้าร่วมประชุม หรือขอเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานหรือบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจตามคำสั่งนี้
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
๓. ให้คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขป้ญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๓/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๓ และให้ศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขป้ญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๗๒/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๓ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามเดิมภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19
๔. ให้หน่วยงานของรัฐตามที่ปรากฏในบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้ รับผิดชอบการดำเนินการในด้านต่าง ๆ และให้รายงานการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรีเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาในวาระการพิจารณาเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในการประชุมคณะรัฐมนตรีตามความจำเป็น
๕. สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานที่แต่งตั้งตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๔๔๗ หรือตามระเบียบของทางราชการ แล้วแต่กรณี โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
  • พลเอก
  • (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
  • นายกรัฐมนตรี

  • บัญชีแนบท้ายคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๗๖/๒๕๖๓
  • เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
  • ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๓

  • รายชื่อหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ
มาตรการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ด้านการสาธารณสุข
  1. กระทรวงสาธารณสุข
  2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  3. กระทรวงมหาดไทย
ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน
  1. กระทรวงพาณิชย์
  2. กระทรวงสาธารณสุข
  3. กระทรวงอุตสาหกรรม
  4. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  5. กระทรวงมหาดไทย
  6. กระทรวงยุติธรรม
  7. กระทรวงกลาโหม
  • ด้านข้อมูล
  • การชี้แจงและการรับเรื่องร้องเรียน
  1. สำนักนายกรัฐมนตรี
  2. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ด้านการต่างประเทศ
  1. กระทรวงการต่างประเทศ
  2. กระทรวงคมนาคม
  3. กระทรวงแรงงาน
ด้านมาตรการป้องกัน
  1. กระทรวงมหาดไทย
  2. กระทรวงกลาโหม
  3. กระทรวงคมนาคม
  4. กระทรวงแรงงาน
  5. กระทรวงศึกษาธิการ
  6. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
  7. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  8. ทุกกระทรวง
ด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา
  1. กระทรวงการคลัง
  2. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  4. กระทรวงมหาดไทย
  5. กระทรวงแรงงาน
  6. ทุกกระทรวง

บรรณานุกรม

[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"