คำให้การขุนหลวงหาวัด/เรื่อง

จาก วิกิซอร์ซ
คำให้การขุนหลวงหาวัด
(ฉบับหลวง)

 พระเจ้าหงษาเอาแต่คนดี อันพระยาจักรีนั้น พระเจ้าหงษาปูนบำเหน็จรางวัลหนักหนา เพราะว่ามีความชอบ จึ่งตั้งทวีให้เกินแต่ก่อนมา ครั้นเลี้ยงไว้ได้ครบเจ็ดวันแล้ว พระเจ้าหงษาจึ่งสั่งให้บั่นเกล้าเกษาเสียแล้ว จึ่งสั่งให้เสียบไว้ที่กลางเมืองตามบทพิพากษาที่มีมา แล้วจึ่งเรียกเอาพระมหินทร ซึ่งเปนพระราชโอรสของพระมหาจักรพรรดิ พระปกพระพี่นางพระนเรศร์อันชื่อ นางสุวรรณกัลยา นั้น ขึ้นมาหงษา กับองค์พระนเรศร์อันเปนพระราชโอรสของพระสุธรรมราชา อันพระเอกาทศรถนั้น ให้ไว้เปนเพื่อนพระบิดา แล้วจึ่งเอาช้างเผือกทั้งห้าช้างนั้นมา กับนายช่างต่าง ๆ ที่ชำนาญในการช่างใหญ่ กับฝีพายสกรรจ์สรรเอาห้าร้อยที่มีฝีมือ กับช้างใหญ่คัดกวาดแล้ว แต่ที่ใหญ่กว่ากัน อันหนึ่งกับรูปสิบสองนักษัตรที่ไว้ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์อยู่นั้น อันรูปเหล่านี้ เมื่อครั้งพระเจ้าอู่ทองตั้งกรุงแล้ว จึ่งสั่งให้ช่างพราหมณ์ปั้นรูป แล้วจึ่งหล่อไว้ด้วยทองสำริด เปนรูปสิบสองนักษัตร ทั้งรูปมนุษย์เปนรูปพราหมณ์ มีรูปช้างเอราวรรณ รูปม้าสินธพ รูปคชสีห์ รูปราชสีห์ รูปนรสิงห์ รูปสิงโต รูปโคอุศุภราช[1] รูปกระบือ รูปกระทิง รูปหงษ์ รูปนกยูง รูปนกกะเรียน อันสัตว์เหล่านี้สิ่งละคู่ พระเจ้าอู่ทองทำถวายไว้ที่ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ พระเจ้าหงษาเห็นรูปเหล่านี้ก็ชอบพระไทย จึ่งแบ่งเอามาตามที่ชอบพระไทย คือ รูปช้างเอราวรรณ[2] รูปม้าสินธพ รูปราชสีห์ รูปคชสีห์ รูปสิงห์ รูปมนุษย์ อันนอกนี้มิได้เอาสิ่งใดมา แล้วพระเจ้าหงษาจึ่งสร้างพระเจดีย์ไว้ที่ทุ่งภูเขาทอง จึ่งสมมุตินามเรียก พระภูเขาทอง แล้วจึ่งทำการฉลองเปนการใหญ่หนักหนา แล้วพระเจ้าหงษาจึ่งยกทัพกลับไป

ครั้นกลับไปยังมิทันถึงเมือง อันพระมหินทรราชานั้นไม่สุภาพดั่งพระยาราชสีห์ ไม่มีความครั่นคร้ามขามใจ เจรจาทำนององอาจ รามัญนั้นจับคำประหลาดได้ จึ่งทูลกับพระเจ้าหงษา พระเจ้าหงษาจึ่งให้ล้างเสีย แล้วจึ่งถ่วงน้ำเสียที่หน้าเมืองสถัง แล้วจึ่งยกทัพกลับมาเมืองหงษา อันพระพี่นางพระนเรศร์นั้น พระองค์ก็เอาไว้ในปราสาทเปนที่มเหษี จึ่งมีพระราชโอรสองค์หนึ่งเปนกุมาร อันพระนเรศร์นั้น พระเจ้าหงษาประทานที่บ้านแลตำหนักให้อยู่ตามที่ อันองค์พระเจ้าหงษานั้นรักใคร่พระนเรศร์เหมือนหนึ่งพระราชโอรส เลี้ยงไว้จนจำเริญไวยใหญ่มา ๚

 ส่วนพระสุธรรมราชานั้น วันพุฒได้ครองกรุงทวาราวดีศรีอยุทธยามาแต่เมื่อจุลศักราชได้ ๙๒๕ ปี พระชนม์ได้ ๒๐ ปีอยู่ในราชสมบัติได้ ๑๕ ปี เปน ๓๕ ปีสำเร็จ เมื่อสำเร็จนั้นจุลศักราชได้ ๙๔๐ ปี ๚

 จึ่งพระราชบุตรน้อย พระนามชื่อพระเอกาทศรถนั้น ขึ้นว่าราชการงานกรุงแทนที่พระบิดา เปนแต่ที่มหาอุปราชรักษาธานีไว้ ด้วยพระนเรศร์เชษฐายังมีอยู่พระองค์หนึ่ง จึ่งไม่ภิเศกศรี ด้วยพระองค์นั้นรักใคร่พระเชษฐายิ่งนัก จึ่งว่าราชการงานกรุงทั้งปวงแทนที่แล้วรักษาธานีเขตรขัณฑ์ไว้ท่าพระเชษฐาธิราช ๚

 ส่วนพระเจ้าหงษานั้น อยู่นานมาพระองค์ก็ได้ยินข่าวเลื่องฦๅมาว่า ยังมีพระมหามุนีองค์หนึ่งเสด็จอยู่เมืองพม่าใหญ่ เรียกเมืองยะไข่ เปนพระพุทธรูปสร้างไว้แต่เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังเสด็จอยู่นั้น มีพุทธานุภาพยิ่งนัก ปาฏิหารได้ ให้มีพระรัศมีนั้นเปนต่าง ๆ ถ้าแลบุคคลผู้ใดจะปราถนาสิ่งใด ๆ ก็ดี ทูลขออธิฐานแล้วก็ได้ดั่งใจปราถนา อันพระมหามุนีองค์นี้มีพุทธานุภาพยิ่งนัก พระเจ้าหงษาจึ่งมีพระไทยศรัทธาขึ้นมาตั้งพระมหามุนีเปนหนักหนา จึ่งสั่งให้จัดแจงแต่งเครื่องสักการบูชาเปนอันมาก มีทั้งผ้าทรงแลไตรจีวรทอง ทั้งธูปเทียนทอง แลเข้าตอกดอกไม้ทอง แลมีทั้งฉัตรวงแลธงทองทั้งปวงต่าง ๆ เปนอันมาก กับรูปสิบสองนักษัตรที่พระเจ้าหงษาแบ่งเอามาแต่เมืองกรุงศรีอยุทธยานั้น คือรูปมนุษย์ รูปช้างเอราวรรณ รูปม้าสินธพ รูปราชสีห์ รูปคชสีห์ รูปนรสิงห์ ครุธ โคอุศุภราช แต่บรรดารูปทองหล่อเหล่านี้กับเครื่องสักการบูชาทั้งปวงเปนอันมาก พระเจ้าหงษาจึ่งบูชาแล้วก็ทำการฉลองเปนอันมาก แล้วจึ่งหลั่งน้ำทักษิโณทก แล้วก็ให้อำมาตย์คุมเครื่องบูชาเหล่านี้ลงสำเภาแล้วก็ไปถวายไว้กับพระมหามุนีเมืองยะไข่ เมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๙๓๐ ปีตั้งแต่ครั้งนั้นมา ๚

 ส่วนพระนเรศร์นั้นอยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าหงษามีรับสั่งให้หาพระนเรศร์เข้ามาในพระราชวัง พระนเรศร์ก็เข้าไปตามรับสั่งพระเจ้าหงษา ครั้นพระนเรศร์ขึ้นไปบนปราสาทใหญ่ปราสาทไหว ครั้นเสนาเห็นเปนอัศจรรย์จึ่งทูลกับพระเจ้าหงษา พระเจ้าหงษาจึ่งทำนายทายไว้ว่านานไปเบื้องน่า มอญเมืองหงษาจักได้ไปเกี่ยวหญ้าช้างเมืองกรุงไทย ครั้นตรัสทำนายดังนั้นแล้ว ก็มิได้มีพจมานประการใด พระนเรศร์ก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าหงษา แล้วก็กลับมาสู่ยังบ้านเรือนหลวงดังเก่า ๚

 ครั้นอยู่มาพระนเรศร์คิดจะสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่ง จึ่งสั่งให้หานายช่างได้แล้ว จึ่งให้ช่างนั้นทำพระพุทธรูปเปนอย่างที่พระไทยแล้วก็ทำเปนพิหารแลอารามแล้ว จึ่งเชิญพระพุทธรูปไว้ในนั้น อันพระพุทธรูปที่พระนเรศร์สร้างนี้อยู่ที่ในป่าเมืองสราง ก็ยังปรากฎอยู่ทุกวันนี้ อันพระนามนั้นมิได้ปรากฎ ๚

 อันพระนเรศร์กุมารกับพระประทุมราชาอันเปนที่มหาอุปราชนั้นชอบพอรักใคร่ต่อกัน สัญญาว่าพี่น้องพระครรภ์เดียวกัน มิได้มีความรังเกียจเดียดฉันต่อกัน เปนที่ปรึกษาหารือต่อกัน เล่นชนไก่กันอยู่อัตรา พระนเรศร์เมื่อแรกมาแต่กรุงไทยนั้นพระชนม์ได้ ๑๐ ปี มาอยู่หงษาได้ ๕ ปี เปน ๑๕ ปี มาเมื่อจะมีเหตุใหญ่นั้น พระนเรศร์กับอุปราชาชนไก่กัน ไก่ข้างอุปราชานั้นแพ้ไก่พระนเรศร์ ในเพลานั้นมิได้มีไชย ฝ่ายข้างอุปราชานั้นทั้งอายทั้งขัดอัชฌาไศรย จึ่งทำจริตแกม จึ่งจับไหล่พระนเรศร์สั่นพลาง จึ่งว่ามาว่าไก่ขุนชเลยนี้มีไชยกับเราหนักหนา พระนเรศร์จึ่งอัชฌาไศรย เพราะว่าตัวนี้พลัดมาต่างเมืองจึ่งทำกันได้ที่กลางสนาม แล้วจึ่งจำใจพูดไปตามเรื่องว่าไก่นี้ราคาค่าเมือง ก็คุมเคืองแค้นกันมาแต่วันนั้น จึ่งคิดว่าเปนชายเหมือนกัน จักได้เห็นกัน พระนเรศร์จึ่งหมายมั่นกับอุปราชาหงษามาแต่ครั้งนั้น แล้วก็หาพลโยธา จึ่งได้โจรป่ากับหมอเฒ่าเหล่าพรานป่า ๆ จึ่งถวายช้าง ชื่อมงคลคชานั้น มีฝีเท้าฝีงากล้าหาญหนักหนา ถวายทั้งพวกพลเหล่าพรานล้วนกล้าหาญชาญไชย ครั้นเตรียมพลพร้อมแล้ว พระนเรศร์จึ่งลอบส่งสารลับให้เข้าไปถึงพระพี่นางข้างใน จึ่งบอกความว่าน้องจักหนีไปภารา ฝ่ายพระพี่นางนั้นกลัวพระเจ้าหงษาจักรู้ จึ่งว่าถ้าหนีได้ก็จักไม่มรณา ถ้าไม่พ้นก็จักพากันบรรไลย จึ่งตรัสว่าอย่าเปนห่วงด้วยพี่เลย เจ้าจักไปก็ตามอัชฌาไศรยเถิด จึ่งอธิฐานแล้วประทานพรให้เจ้าจงไปดี ให้พ้นมือไพรีเถิด ครั้นพระนเรศร์ได้ฟังพระพี่นางว่าดังนั้น ก็ตรอมพระไทยหนักหนา ถ้าแม้นมิได้เตรียมการแล้วก็ทำเนาเถิด นี่เตรียมพร้อมแล้ว เราจักไม่หนีก็เกลือกความจักรู้ไปเมื่อภายหลัง ดั่งแกล้งสังหารตัวเสียให้บรรไลย จำเปนก็จำจักต้องไป จำใจจำจักจากกัน แล้วพระองค์จึ่งกำหนดเพลากับพรานป่าทั้งปวง กับพลของพระองค์ด้วยกันได้หกร้อยเศษ ครั้นเพลาพลบลงแล้วก็ลอบหนี แล้วออกจากเมืองหงษา จึ่งกวาดต้อนทั้งมอญแลลาวไป ทั้งพลเก่าพลใหม่ได้เก้าพัน แล้วจึ่งยกมาทางเมืองจิตตอง แล้วมาทางเมืองมัตตมะ แล้วจึ่งมาถึงท่าข้ามน้ำพลัน จึ่งยกมาทางอัทรัญ ครั้นถึงสะมิแล้ว ก็รีบมาจนถึงพระเจดีย์สามองค์ แล้วจึ่งยกมาตั้งคอยท่าอยู่ที่ซอยหน้าภูม ๚

 ฝ่ายมอญก็อื้ออึงคนึงกันขึ้น จึ่งรู้ไปถึงอุปราชา พระอุปราชาจึ่งเข้าไปในพระราชวัง แล้วก็กราบทูลกับพระบิดาว่า บัดนี้พระนเรศร์ยกพลหนี ไป ลูกจักยกทัพไปจับให้ทันที จักเอาตัวไพรีมาจงได้ พระเจ้าหงษาวดีจึ่งตอบพระราชโอรสว่า อันว่านเรศร์กุมารนี้ไชยชาญยิ่งนัก เจ้าอย่าทนงใจ วันหนึ่งพ่อนี้ให้หาขึ้นมาบนปราสาทปราสาทไหว พ่อทำนายไว้ว่าเขาจักได้เปนใหญ่ในโลกา จักมีฤทธิยิ่งกว่าอุปราชา ถึงรามัญที่ในหงษาก็จักได้ไปเลี้ยงช้างที่เมืองกรุงศรีอยุทธยา เจ้าอย่าไปตามเลย จงฟังคำพระบิดาเถิด แม้นเจ้ามิฟังคำพ่อห้ามดีร้ายจักเกิดสงครามใหญ่ อุปราชาจึ่งทูลทัดขัดไว้ มิได้ฟังในพระโองการ ว่าเปนชเลยมาอยู่ในเนื้อมือแล้ว ควรฤๅจักให้มันโวหาร ดั่งเรานี้มิใช่ชายชาญ ลูกจักขอยกพลตามไป ส่วนพระเจ้าหงษาจึ่งอนุญาตแล้ว จึ่งมีคำบังคับกับเสนาผู้ใหญ่ ว่าลูกกูจักยกทัพไปอย่าให้มีอันตรายมา ถ้าแม้นอุปราชามีเหตุเภทไภยสิ่งใด มึงจักบรรลัยทั้งวงษา จึ่งเกณฑ์ทัพสรัพสรรพโยธาก็ได้แสนหนึ่งแต่ในตาทัพ อุปราชาจึ่งเร่งยกทัพขับพลมา จึ่งทันที่ในป่าใหญ่ที่ในแดนพระเจดีย์สามองค์เข้ามา ก็ไล่รุกบุกบันกันเปนหนักหนา พระนเรศร์จึ่งถอยพลางสู้รบไม่ต้านทานอยู่ได้ ด้วยพลรบข้างหงษานี้มากนัก หักโหมกระโจมแล้วไล่มา ฝ่ายไทยนั้นรบรามาในไพร ส่วนพระนเรศร์จึ่งมึสิงหนาทกับเหล่าอาทมาตทหารใหญ่ทั้งหกร้อยอันร่วมพระไทย ว่ากูจักเข้าโจมทัพในบัดนี้ ให้ เร่งกะเกณฑ์กันให้ครบทั้งช้างแลพลทหารตามที่ ส่วนพระนเรศร์จึ่งแต่งองค์แล้วก็เสด็จขึ้นยืนอยู่บนเกยไชย อันช้างพระที่นั่งอยู่ที่ริมเกยกับนายควาญช้าง เมื่อจักมีบรมโพธิสมภาร จึ่งบันดาลให้ประจักษ์ในทัพขันธ์ ในเวลากลางวันก็บันดาลให้มีอัศจรรย์มา พระอาทิตย์นั้นก็ทรงกลด อันแดดนั้นก็มิได้ต้องพระองค์ ร่มอยู่สักศอกปลาย ส่วนที่นอกนั้นก็สว่างเปนแสงแดดอยู่ ก็เห็นเปนอัศจรรย์ทั่วกันไปสิ้นทั้งทัพ แล้วแลเห็นพระบรมธาตุเสด็จมาบนกลางอากาศ มีพระรัศมีเปนอันมาก ปาฏิหารแล้วผ่านมาที่น่าพลับพลาไป ก็เห็นเปนมหาพิไชยฤกษ์ใหญ่หนักหนา พระองค์จึ่งตัดปลอกคชสาร แต่กลางช้างกับควาญนั้นขึ้นได้ทันเปนสามทั้งพระองค์ด้วยกัน ก็เข้าไปโจมทัพไล่ไพรี จัตุลังคบาทสี่คนนั้นวิ่งมาพอทันช้างพระที่นั่ง อันว่าพหลมนตรีนอกนี้มิได้ทันพระองค์ แต่ช้างพระองค์เข้าหักโหมกระโจมตี ทัพมอญก็ยับย่อยพ่ายพังไปไม่นับได้ บ้างก็ล้มตายเจ็บปวด บ้างก็วิ่งหนีซอกซอนไปในป่า อันทัพรามัญนั้นไม่เปนสมฤดี บ้างซมซานกราบไหว้ บ้างก็บรรไลยลำบากแตกหนี พระองค์ก็ไสช้างเข้าไล่หักโหมกระโจมแทงแล้วเหยียบค่ายให้พังไปทั้งสิ้น ฝ่ายข้างทหารพลรามัญก็เข้มแขง ฟันแทงแย้งยิงด้วยปืนน้อยแลปืนใหญ่เปนนักหนา อันควันปืนนั้นมืดไปทั้งในป่า พระองค์เข้าไล่หักค่ายประทุมราชา ทั้งทัพปีกซ้ายปีกขวาก็พังไปทั้งสิ้น ทั้งทัพหนุนทัพน่าก็แตกแพ้อปราไชยไป อันเหล่ามอญนั้นครั้นคุมกันเข้าได้แล้ว ก็กลับคืนเข้ามารุมกันรบกันเปนหนักหนา แล้วก็กลับคืนตระหลบแตกไปเปนหลายครั้ง ครั้นเต็มพักช้างแล้วก็ถอยมา พระองค์ก็คืนเข้าในค่าย ทั้งกลางช้างแลท้ายช้าง จักได้เปนอันตรายก็หามิได้ ทั้งแรงเชิงสารทหารในก็มิได้มีอันตรายสิ่งใด แต่โลหิตรามัญที่บรรไลยนั้นติดแดงไปทั้งพลแลช้างก็เห็นเปนยิ่งนัก ๚

 ซึ่งพระนเรศร์กลับมานี้ เหตุรู้ถึงกรุงศรีอยุทธยา จึ่งพระเอกาทศรถอันเปนพระอนุชานั้น ก็แต่งพลทัพแล้วยกหนุนมา แต่เสบียงลำเลียงนั้นให้ไปก่อน ด้วยเปนการร้อนจักได้ช่วยพระเชษฐา แล้วพระองค์จึ่งยกพลโยธาเร่งรีบมาให้ทันทัพ อันเสบียงลำเลียงที่ล่วงมานั้นหลงทางไป ฝ่ายมอญนั้นจับได้ อันพระเอกาทศรถนั้น ก็ยกไปทันพระพี่ยาที่ตำบลเล่นแต่เขางาม ทั้งสองพระองค์โสมนัศาทรงพระยินดียิ่งนัก พระเอกาทศรถจึ่งกราบลงกับพระบาทพระพี่ยา พระเชษฐานั้นก็สร้วมกอดเอาทันใจ ทั้งสององค์ปรีดิ์เปรมเกษมศรี แล้วมีพระไทยยินดียิ่งนัก ไม่มีสิ่งจักเปรียบได้ แล้วพระเอกาทศรถจึ่งถามถึงพระพี่นาง พระพี่ยาจึ่งเล่าไปตามความคดีที่มีมาทั้งสิ้น พระเอกาทศรถจึ่งกราบลงแล้วก็ทูลอาสา พระนเรศร์จึ่งตรัสว่าพระน้องยานี้ยังเยาว์อยู่นัก อันประทุมราชานั้นเขากล้าหาญหนักหนา แลชัณษานั้นก็แก่กว่าเจ้า พี่เองจักหักอุปราชา แต่น้องยาจงช่วยหนุนรองป้องกันเถิด พลขันธ์พี่นี้บอบมาหนักหนา ครั้นตรัสดังนั้นแล้วก็จัดแจงโยธาทัพให้เปนปีกซ้ายขวากัน ทั้งทัพหนุนทัพรองก็แน่นหนา ด้วยได้พลโยธามาใหม่ ครั้นเกณฑ์สำเร็จแล้ว ทั้งสองพระองค์ก็ทรงช้างพระที่นั่ง แล้วยืนอยู่กลางพล แล้วก็ยกพลทัพตีรุกเข้าไป เหล่าโยธาก็โห่ร้องเอาไชย ทั้งเสียงฆ้องไชยกลองไชยก็ดังครื้นเครงไปทั้งป่าใหญ่ ก็เข้ารบพุ่งประจันกันเปนหนักหนา จึ่งเหล่าทัพน่าเสนารามัญก็ประจันสู้ พระนเรศร์จึ่งเอาช้างเข้าไล่แทง ช้างข้างรามัญก็หนี พระองค์จึ่งตีด้วยพระแสงขอ ก็ถูกท้ายช้างมอญเข้า ก็ล้มตะแคงอยู่ทับที่ พระเอกาทศรถก็ไล่มาทันเสนามอญผู้หนึ่งเข้าไม่ถอยหนี ก็กลับหน้ามาสู้กันกับพระองค์ ก็หักโหมกระโจมสู้กันเปนหนักหนา พระเอกาทศรถจึ่งแทงด้วยทวน ก็ถูกกลางช้างข้างมอญนั้นก็ตายตกช้างลงมาอยู่กับที่ ฝ่ายช้างพระนเรศร์นันก็มาทันเข้า ทั้งสองพระองค์ก็ประจันกันเข้าเหยียบค่าย ฝ่ายทัพข้างมอญก็ล้มตายหน่ายหนีเปนหนักหนา จนถึงน่าช้างอุปราชา อุปราชาครั้นเห็นช้างพระนเรศร์ จึ่งจับเอาลูกคลีจักทิ้งเอาพระนเรศร์ พระนเรศร์จึ่งสรวลพลางแล้วก็ร้องว่ามา ว่าดูกรอุปราชา ท่านก็เปนเชื้อกษัตร ฝ่ายเราก็เปนเชื้อขัติยวงษา จักทิ้งกันด้วยลูกคลีนั้นดูเหมือนเด็กเล่น ควรที่ท่านกับเราจักชนช้างชิงไชยกัน ให้เสนาทั้งปวงดูเล่นเปนขวัญตาจึ่งจักสมควรกับเราทั้งสอง จักให้เสนาแลอาณาราษฎรมาพลอยตายด้วยไม่ต้องการ ควรแต่ท่านกับเราเปนชายขัติยะเชื้อกษัตรต่อกษัตร จักชนช้างชิงไชยกันจึ่งจักสม นานไปเบื้องน่านี้ไม่มีกษัตรองค์ใดแล้วที่จักชนช้างชิงไชยกันดังนี้ ส่วนอุปราชาครั้นได้ยินพระนเรศร์ว่าดังนั้นก็ชอบอัชฌาไศรย จึ่งว่าเจ้าว่ามานี้เราชอบใจเปนหนักหนา ครั้นสององค์ตรัสดังนั้นแล้ว จึ่งห้ามทหารโยธาทั้งปวงว่าอย่าให้รบพุ่งกันทั้งสิ้น จึ่งตั้งเปนกระบวนปีกซ้ายปีกขวา แล้วจึ่งปักธงไชยลงด้วยกันทั้งสองฝ่าย แล้วก็ตีฆ้องไชยกลองไชยทั้งสองฝ่าย อันเหล่าทหารก็รำแพนอยู่ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ส่วนพระนเรศร์กับอุปราชาก็เข้าชนช้างชิงไชย แล้วสู้รบฟันแทงกันด้วยพระแสงของ้าวตามกระบวนเพลงขอ ก็รำรอรับกันประจันสู้กันไปตามเพลง ส่วนช้างพระนเรศร์นั้นเล็ก ก็ถอยทางพลางสู้ชน ครั้นถอยไปอุปราชาจึ่งฟันพระนเรศร์ด้วยพระแสงของ้าว พระนเรศร์จึ่งหลบ ก็ถูกพระมาลาบี้ไปประมาณได้สี่นิ้ว ครั้นช้างพระนเรศร์ถอยไป จึ่งได้ที่ประจันหนึ่ง เรียกว่าหนองขายันแลพุดทรากะแทก ก็ยังมีที่ที่อันนั้นจนทุกวันนี้ ช้างพระนเรศร์นั้นยันต้นพุดทราอันนั้นเข้าได้แล้วจึ่งชนกะแทกขึ้นไป ก็ค้ำคางช้างอุปราชาเข้า ฝ่ายข้างช้างอุปราชาก็เบือนหน้าไป พระนเรศร์ได้ทีก็ฟันด้วยพระแสงของ้าว ชื่อเจ้าพระยาแสนพลพ่าย ก็ถูกอุปราชาพระเศียรก็ขาดออกไปกับที่บนฅอช้าง กลางช้างจึ่งเข้าประคองไว้ ฝ่ายไทยก็โห่เอาไชยสามลา ก็ดังครื้นเครงอื้ออึงสนั่นไปทั้งป่า ฝ่ายมอญก็กราบถวายบังคมอยู่สลอน พระนเรศร์จึ่งชักช้างพระที่นั่งแล้วก็ยืนอยู่ในกลางพล แล้วพระนเรศร์จึ่งกรายกรกวักเรียกเสนารามัญ จึ่งตรัสว่าดูกรสมิงพลรามัญทั้งปวง จงชวนกันกลับไปหงษาเถิด เราไม่เอาโยธา ด้วยธรรมยุทธสัญญากันไว้ ถึงอุปราชากับเราก็ชอบอัชฌาไศรยกันอยู่ ตัวท่านก็ย่อมแจ้งอยู่ในใจ ควรฤๅมาดูหมิ่นกันได้ แต่เรียกว่าขุนชเลยน้อยแล้วมิสา ยังมาจับบ่าสั่นกันได้ เปนเชื้อชาติชายเหมือนกัน เพราะสำคัญว่าเปนชเลย เราเจ็บใจจึ่งคิดการทั้งนี้ จักมาลองฝีมือกันให้ได้ ซึ่งอุปราชาตามมาชิงไชย ก็ตายไปด้วยฝีมือเรา ก็สมดังใจที่เราปราถนาแล้ว เราก็จักกลับคืนไปกรุงศรีอยุทธยาดังเก่า อันเปนที่ถิ่นฐานบ้านเมืองของเรา ท่านจงเอาความทั้งนี้ไปทูลกับพระเจ้าหงษาเถิด แล้วพระนเรศร์ก็กรีพลมายังกรุงศรีอยุทธยา ๚

 ฝ่ายรามัญจึ่งเชิญพระศพอุปราชานั้นใส่บนราชยานแล้ว ก็กลับมาสู่ยังเมืองหงษา แล้วก็เข้าไปกราบทูลเรื่องราวซึ่งข้อที่อุปราชากับพระนเรศร์ได้รบกันจนบรรไลยนั้น ส่วนพระเจ้าหงษาก็มิขอฟังความที่เสนามาทูลดังนั้นได้ จึ่งมีพระโองการตรัสสั่งกับนายเพชฌฆาฏ ให้เอาเสนามอญเหล่านี้กับทั้งเจ็ดชั่วโคตรด้วยกันทั้งสิ้น ให้เอาไม้ลำทำตับเข้าแล้วให้ปิ้งเพลิงเสียทั้งเจ็ดชั่วโคตร แล้วให้ทำพลีกรรมเทวดา นายเพชฌฆาฏก็เอาตัวเสนาทั้งปวงไปแล้วก็ทำตามมีรับสั่งทั้งสิ้น ส่วนพระเจ้าหงษาก็ทรงพระโกรธยิ่งนัก ก็เสด็จเข้าไปในพระราชฐาน จึ่งเห็นองค์พระพี่นางพระนเรศร์นั้นประธมอยู่ให้พระราชโอรสเสวยนมอยู่ที่ในที่ พระเจ้าหงษาจึ่งฟันด้วยพระแสงก็ถูกทั้งพระมารดาแลพระราชโอรสทั้งสององค์ ก็ถึงแก่ความพิราไลยไปด้วยกันทั้งสององค์ ด้วยพระเจ้าหงษาทรงพระโกรธยิ่งนัก มิทันที่จะผันผ่อนได้ ๚

 ส่วนพระนเรศร์นั้นก็เข้าไปกรุงศรีอยุทธยา ก็เสด็จขึ้นสู่บนพระราชฐาน อันอรรคมหาเสนาบดีแลมหาปโรหิตทั้งปวง จึ่งทำการปราบดาภิเศก แล้วเชื้อเชิญขึ้นให้เสวยราชสมบัติ จึ่งถวายอาณาจักรเวนพิภพแล้ว จึ่งถวายเครื่องเบญจกกุธภัณฑ์ทั้งห้า แล้วเครื่องมหาพิไชยสงครามทั้งห้า ทั้งเครื่องราชาอุปโภคทั้งปวงอันครบครัน แล้วจึ่งถวายพระนามใส่ในพระสุพรรณบัตรสมญา แล้วฝ่ายกรมในจึ่งถวายพระมเหษีพระนามชื่อนั้น พระมณีรัตนา แล้วถวายพระสนมกำนัลทั้งสิ้น แล้วครอบครองราชสมบัติเมื่อจุลศักราชได้ ๙๕๒ ปี อันพระเอกาทศรถนั้นก็เปนที่มหาอุปราช อันพระนเรศร์นั้นมีบุญญาธิการแลเดชาอานุภาพกล้าหาญ มีตะบะเดชะเข้มแขงเรี่ยวแรงยิ่งนัก พระนเรศร์จึ่งให้ตกแต่งบ้านเมืองแล้วก็ให้ยกกำแพงก่อออกมา ให้ถึงขอบริมน้ำทั้งรอบกรุง แล้วพระนเรศร์จึ่งสร้างพระองค์หนึ่ง จึ่งถวายนามเรียก พระบรมไตรโลกนารถ สมาธิน่าตัก ๒ ศอก ทำด้วยทองเหลืองหล่ออยู่วัดเจ้าพระแนงเชิง พระนเรศร์ให้ช่างรามัญทั้งปวงทำฝีมือมอญ ฝ่ายมอญจึ่งเรียกวัดพระแนงเชิงอยู่ทางทิศใต้เมือง แล้วจึ่งทำการฉลองเปนหนักหนา ครั้นแล้วพระนเรศร์จึ่งซ่องสุมทำนุบำรุงทหารแลโยธาบรรดาที่มาแต่หงษา อันมีความชอบจงรักภักดีต่อพระองค์นั้น พระนเรศร์ก็ประทานบำเหน็จรางวัลทั้งไพร่แลผู้ดีทั้งสิ้น บ้างก็ได้เลื่อนที่เลื่อนทาง แล้วประทานชื่อเสียงเรียงตัวกันทั้งสิ้น อันเหล่าทหารแลพลรบเมื่อครั้งนั้นดั่งหมู่มาร เก่าใหม่หักสท้านทุกบ้านเมือง อันพระแสงของ้าวเล่มนั้นที่ฟันอุปราชหงษา แล้วใช้กลางโยธาแสนหนึ่งนั้น จึ่งตรานามกรชื่อเจ้าพระยาแสนพลพ่าย กับพระมาลาเบี่ยงบิ่นของพระองค์ อันพระแสงที่ตีช้างมอญล้มลงนั้น จึ่งเรียกว่า (พระแสงขอตีช้างล้ม) พระแสงที่คาบปีนค่ายขึ้นไปนั้น เรียกพระแสงขึ้นค่าย อันพระมาลาแลพระแสง สามองค์นี้อยู่จนเสียกรุง อันช้างทรงที่พระองค์ชนมีไชยกับอุปราชานั้น ชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพ เปนมหาคชสาร อันยันคันหนองเมื่อชนช้างกันนั้น เรียกว่าหนองขายันมาจนบัดนี้ อันถิ่นฐานนั้นก็มีอยู่จนทุกวัน อันที่ที่ช้างชนกันที่ต้นพุดทรานั้น เรียกพุดทรากะแทก ก็ยังมีอยู่จนทุกวันนี้ ๚

 ครั้นอยู่มาพระนเรศร์ จึ่งให้ซ่องสุมทหารโยธาแลช้างมันคชสารอาสา แลทหารถืออาวุธเปนอันมาก แล้วพระนเรศร์จึ่งยกทัพไปรบเมืองน้อยใหญ่ จึ่งไปรบเมืองล้านช้าง เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงตุง เมืองเชียงแสน เมืองจำปาศักดิ อันเมืองลาวเหล่านี้ ฝ่ายทิศเหนือ ยังเมืองปากใต้ เมืองนคร ไชยา ตานี พัทลุง สงขลา ออกไปจนกระทั่งเกาะเมืองเรียก (เรียว?) แดนชวา แลได้เมืองน้อยใหญ่นอกนี้เปนอันมาก ครั้นมีไชยกลับมาแล้ว พระองค์จึ่งตั้งหมู่ทหารต่าง ๆ คือหมู่ทศโยธา จตุรงคเสนา แลหมู่องครักษ์จักรนารายน์ แลอาสาหกเหล่า แลอาสายี่ปุ่น อาสาจาม แลอาสาต่าง ๆ มีกระบวนช้างพิไชยสงคราม แล้วธงไชยกระบี่ธุชครุธธวัช แลพระเสมาธิปัติฉัตรไชยเกาวพ่าย สำหรับกระบวนมหาพิไชยสงคราม ครั้นตั้งพร้อมแล้วจึ่งเกณฑ์ช้างที่นั่งเอก ที่นั่งรอง แลช้างระวางนอกระวางในทั้งข้างซ้ายขวา ทั้งดั้งทั้งกัน มีทั้งช้างเขนช้างแพน อันช้างเหล่านี้มีชื่อต่าง ๆ จึ่งผูกเครื่องพระที่นั่งนั้นก็ต่าง ๆ ทั้งช้างพังช้างพลายมีทั้งเขนแลแพน ทั้งปืนน้อยแลปืนใหญ่ ทั้งหอกแลทวนหลังช้างก็ครบตัวช้างทั้งสิ้น อันช้างตัวหนึ่ง มีคนขี่สามคนมีอาวุธครบตัวคน ยังเหล่าม้าพระที่นั่งเอก ที่นั่งรอง โรงนอกโรงใน ม้าซ้ายม้าขวา ทั้งม้าอาสาเกราะทอง ทั้งม้าหอกม้าทวนแลม้าไชย อันม้าเหล่านี้ผูกเครื่องต่าง ๆ กัน มีทวนธนูแลน่าไม้ทั้งหอกซัดแลเขน อันคนขี่นั้นใส่หมวกใส่เสื้อเสนากุฏ มีอาวุธครบมือกันต่าง ๆ ทั้งสิ้น แล้วจึ่งถึงเหล่าทหารขี่รถต่าง ๆ มีทั้งรถดั้งรถกันรถเขนรถแทงแพน อันคนเดินถืออาวุธต่าง ๆ กัน ยังเหล่าปืนใหญ่เกณฑ์มีชื่อต่าง ๆ อันเหล่าทหารปืนใหญ่นั้นล้วนเหล่าฝรั่งเศสเกณฑ์มีชื่อแลมีอาวุธครบตัวกันทั้งสิ้น แล้วจึ่งเกณฑ์ทหารใหญ่ให้เปนยกรบัตร เกียกกาย ปีกซ้าย ปีกขวา ทัพน่า ทัพหลัง ทัพหนุน ทัพรอง ทัพเสือป่าแมวเซา แต่บรรดาอาทมาตแลทหารพลทัพเหล่านี้มีอาวุธครบตัวกันทั้งสิ้น เปนคนสี่แสน จึ่งให้พระเอกาทศรถเปนแม่ทัพน่า อันองค์พระนเรศร์นั้นเปนทัพหลวง แล้วจึ่งขึ้นไปจักรบเมืองหงษา จึ่งยกทัพไปทางเมืองพิศณุโลก จึ่งหยุดทัพพลไปในป่า แล้วจึ่งตัดไม้ข่มนามตามที่พิไชยสงคราม ครั้นยกไปถึงเมืองเรียว จึ่งเข้ารบลาวเมืองเรียว ฝ่ายลาวเมืองเรียวก็ออกสู้รบต้านทานเปนหนักหนา แล้วตั้งค่ายคูเปนมั่นคง ฝ่ายลาวก็ออกสู้รบประจันกันเปนอันมาก ฝ่ายไทยก็เข้าโจมทัพรุกรบกันกลางแปลง แต่ไทยกับลาวเมืองเรียวนั้นสู้รบกันอยู่เปนหลายวัน ฝ่ายลาวเมืองเรียวนั้นยกทัพมาช่วยเมืองเรียว แต่รบพุ่งกันอยู่นั้นเปนหนักหนา พระนเรศร์กับโยธาทั้งปวง จึ่งเข้าตีประดากันเข้าไป แล้วพระองค์จึ่งจับพระแสงแล้วก็ปีนค่ายขึ้นไป พระเอกาทศรถจึ่งปีนขึ้นไปกับเหล่าโยธาทหารทั้งปวง ก็เข้าได้ในค่ายลาว ก็ฟันแทงลาวล้มตายพ่ายพังไปทั้งสิ้น ครั้นพระนเรศร์มีไชยกับลาวได้เมืองเรียวทั้งสองเมืองแล้ว จึ่งยกทัพไปตีเมืองกงศรีละลายก็ได้ง่ายงาม ครั้นได้เมืองกงศรีละลายแล้ว พระนเรศร์จึ่งยกทัพไปรบเมืองห่าง ฝ่ายลาวเมืองห่างก็ทานสู้รบมิได้ก็แตกหนี พระนเรศร์ก็มีไชยกับเมืองห่าง อันว่าเมืองห่างนี้เปนเมืองบุรีบุราณเขามาช้านานหนักหนา แต่นับกษัตรได้ถึงร้อยชั่ว แต่คราวเมืองปาตลีบุตรนั้นมา มีรอยพระพุทธบาทอยู่บนยอดเขา เรียกเขารังรุ้ง แต่ก่อนตั้งพระสาสนา พร้อมด้วยพระรัตนไตรย พระนเรศร์จึ่งทำพิธีเข้าเหยียบกรุงจักให้รุ่งเรืองเดชา อันที่พระพุทธบาทนั้นก็เสด็จไปนมัสการ พระองค์จึ่งเปลื้องเครื่องทรงทั้งสังวาลแลภูษา แลทรงไว้ในรอยพระพุทธบาท แล้วทำสักการบูชาธงธูปเทียนเข้าตอกดอกไม้ มีเครื่องทั้งปวงเปนอันมาก แล้วจึ่งทำการพิธีสมโภชอยู่เจ็ดราตรี จึ่งให้มหาอุปราชเปนทัพน่ายกไปเมืองหงษาก่อน อันองค์พระนเรศร์นั้นเสด็จอยู่เมืองห่าง เพราะเหตุฉนี้จึ่งถวายพระนามเรียกองค์พระนารายน์เมืองห่าง เปนกรุงหยุดพักอยู่กลางทางของพระองค์ ครั้นเสร็จการมงคลพิธีแล้วพระองค์ก็ยกไปเมืองหงษา จึ่งทรงช้างพระที่นั่งสุวรรณปฤษฎางค์ ก็พ้นเมืองทางไกลได้เจ็ดวัน จึ่งพ้นไปน่าเขาเขียวดงตะเคียนใหญ่ จึ่งมีศาลนางเทพารักษ์อยู่ที่ต้นตะเคียนใหญ่ มีอานุภาพศักดิสิทธิยิ่งนัก เสนาจึ่งทูลเชิญเสด็จให้ลงจากช้างพระที่นั่ง เมื่อจักมีเหตุมานั้น พระนเรศร์จึ่งถามเสนาว่า เทพารักษ์นี้เปนเทพารักษ์ผู้ชายฤๅผู้หญิง เสนาจึ่งทูลว่า อันเทพารักษ์เปนนาง ศักดิสิทธิยิ่งนัก พระนเรศร์จึ่งตรัสว่าอันเทพารักษ์นี้เปนแต่นางเทพารักษ์ดอก ถ้าจักเปนเมียเราก็จักได้ เราไม่ลงจากช้าง ครั้นพระนเรศร์ตรัสดังนี้แล้ว ก็ทรงช้างพระที่นั่งผ่านน่าศาลนางเทพารักษ์นั้นไป จึ่งเห็นเปนตัวแมลงภู่บินตรงมาน่าช้างแล้วก็เข้าต่อยเอาที่อุณาโลม องค์พระนเรศร์นั้นก็สลบอยู่กับหลังช้างพระที่นั่ง แล้วก็เสด็จสู่สวรรคตที่ตรงน่าเขาเขียว เสนาทั้งปวงจึ่งเชิญพระศพ แล้วก็กลับมายังพลับพลาเมืองห่าง ส่วนพระเอกาทศรถนั้นก็ยกพลไปถึงแดนเมืองหงษา จึ่งตีบ้านกว้านกวาดได้มอญลาวหญิงชายเปนอันมาก แล้วจักยกเข้าตีเมืองหงษา ก็พอเสนาอำมาตย์ให้ม้าใช้เร่งรีบไปทูลความพระนเรศร์สวรรคต พระองค์ครั้นทราบดั่งนั้นก็เร่งรีบยกพลโยธาทัพกลับมายังเมืองห่าง ครั้นถึงแล้วก็เสด็จเข้าไปสู่ยังสถานพระเชษฐา จึ่งกอดพระบาทพระพี่ยาเข้าแล้ว ก็ทรงพระกรรแสงโศกาอาดูรร่ำไรไปต่าง ๆ พระองค์ก็กอดพระเชษฐาเข้าแล้วก็สลบลงอยู่กับที่ แต่ทรงพระกรรแสงแล้วสลบไปถึงสามครั้ง ครั้นพระองค์ก็ได้สมฤดีคืนมาแล้ว พระองค์จึ่งมีพระบัณฑูรตรัสสั่งให้หาพระโกษฐทองทั้งสองใบที่ใส่พระศพ แล้วจึ่งเชิญขึ้นสู่บนพระราชรถ แล้วก็แห่แหนเปนกระบวนมหาพยุหบาตราอย่างใหญ่มาจนถึงกรุงอยุทธยาธานี แล้วจึ่งสั่งให้ทำพระเมรุทองอันสูงใหญ่ยิ่งนัก อันการพระบรมศพครั้งนั้นเปนการใหญ่หลวงหนักหนา เกินที่เกินทางแต่ก่อนมา ทั้งเครื่องไทยทานก็มากมายหนักหนา แล้วให้ชุมนุมกษัตรทุกประการอันน้อยใหญ่ทั้งสิ้น จึ่งเชิญพระศพแห่แหนไปแล้ว จึ่งถวายพระเพลิงที่วัดสบสวรรค์ ๚

 อันพระนเรศร์นั้นวันพฤหัศบดีได้ครองกรุงมาเมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๙๖๐ ปี พระชนม์ได้ ๑๕ ปี อยู่ในสมบัติได้ ๒๐ เปน ๓๕ ปี สวรรคต เมื่อสวรรคตนั้นจุลศักราชได้ ๙๖๐ ปีสัมฤทธิศก ๚

 ครั้นพระนเรศร์สวรรคตแล้ว พระเอกาทศรถจึ่งครอบครองกรุงฉลองพระเชษฐาสืบไป จึ่งทำการราชาภิเศกอันครบครัน จึ่งถวายพระมเหษี พระนามชื่อพระสวัสดี พระองค์จึ่งสร้างวัดไว้ที่ถวายพระเพลิงพระนเรศร์ แล้วจึ่งสมมุตินามเรียกวัดสบสวรรค์ พระองค์จึ่งสร้างวัดไว้ที่สวนฉลององค์พระเชษฐาวัดหนึ่ง จึ่งสมมุตินามที่เรียกว่าวัดวรเชษฐาราม แล้วพระองค์จึ่งถวายที่เขตรอาราม จึ่งจาฤกไว้ในแผ่นศิลา อันเหล่าบรรดาทหารทั้งนั้น พระองค์ปูนบำเหน็จหนักหนา ให้เปนชั้นหลั่นกันลงมา ทั้งบุตรแลภรรยาได้ดี อันทหารห้าร้อยคนเดิมนั้นพระองค์เพิ่มบำเหน็จมีภาษี ให้ทั้งโคควายไร่นาแลที่ถิ่นฐานบ้านเรือน ทั้งทาสีทาษา แล้วให้มีตราพระราชสีห์คุ้มห้ามด่านขนอนอากรทั้งปวงเบ็ดเสร็จ มิให้เบิกจ่ายทุกกระทรวงจนต้องคดีโรงศาล ประทานให้ทั้งพิไนยหลวง ที่พระองค์ประทานทั้งปวงนี้มิให้ล่วงพระโองการที่พระเชษฐาสั่งไว้ อันเมืองกรุงศรีอยุทธยานี้มีมอญแลลาวมากมาแต่ครั้งนั้น จึ่งเอาจ่ายในการเมือง แล้วให้เลี้ยงช้างทั้งกรุงทั้งหมู่โขลงแล่น มียศทั้งสิ้น ก็มีมาแต่ครั้งนั้น อันมอญแลลาวเหล่าชเลยจึ่งมีหนักหนา ด้วยพระนเรศร์เธอกวาดต้อนเอามาทุกบ้านเมือง จึ่งมีมากมาแต่ครั้งนั้น กรุงศรีอยุทธยาเมื่อครั้งนั้น มีเดชาอานุภาพเลื่องฤๅชาปรากฎหนักหนา แล้วพระองค์จึ่งสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่ง จึ่งสมมุตินามเรียกพระศรีสรรเพชญ์ ใหญ่สูงสิบแปดศอก หล่อด้วยสังกะสีเปนชั้นใน ข้างนอกนั้นหุ้มทองคำ หนักทองร้อยเจ็ดสิบสามชั่งที่จำได้ แล้วพระองค์จึ่งทำเปนรูปพระเชษฐาธิราช คือรูปพระนเรศร์ จึ่งเอาไว้ในโรงแสงขวา แล้วพระองค์จึ่งสร้างปราสาท ชื่อบรรยงก์รัตนาศน์ แล้วจึ่งขุดสระล้อมรอบ แล้วจึ่งสร้างวัดราชบุรณะวัดหนึ่ง อยู่ในกรุงทิศตวันออกเฉียงใต้ วัง วัดโพธารามวัดหนึ่ง อยู่นอกกรุงทิศตวันตกเฉียงเหนือเมือง แล้วจึ่งสร้างพระเจดีย์เรียกพระมหาคาราเจดีย์องค์หนึ่ง อยู่วัดกุฎีดาวนอกเมืองอยู่ทิศตวันออก อันพระเอกาทศรถนั้น รักพระนเรศร์เชษฐายิ่งนัก อันดาบทรงของพระนเรศร์ที่คาบแล้วปีนค่ายขึ้นไปในวันนั้น ก็ยังปรากฎเปนรอยพระทนต์คาบนั้นมีอยู่ตัวคาบ อันด้ามนั้นทำด้วยนอแล้วประดับพลอยแดงอยู่ในโรงแสงซ้าย อันชาวแสงนั้นเชิญออกชำระที่ใดแม้นมิบาดก็ไม่ได้ อันพระแสงองค์นี้กินเลือดคนอยู่อัตราแต่ไรมา อยู่จนเสียกรุงเมื่อครั้งนี้ อันพระแสงง้าวที่ฟันอุปราชาขาดฅอช้าง ซื่อเจ้าพระยาแสนพลพ่ายนั้น ก็เอาไว้ในโรงแสงซ้าย อันพระแสงที่ตีช้างมอญล้มนั้น เรียกพระแสงช้างตีล้มก็ไว้ในโรงแสงซ้าย อันพระมาลาที่อุปราชฟันถูกเข้าบิ่นไปนั้น ก็ไว้ในโรงแสงซ้าย อันรูปพระนเรศร์นั้นไว้ในโรงแสงขวา อันพระเอกาทศรถนั้น จักได้ไปรบพุ่งบ้านใดเมืองใดนั้นหามิได้ ตั้งอยู่ในธรรมสิบประการ ทั้งอาณาประชาราษฎรก็อยู่เย็นเปนศุข ทั้งสมณชีพราหมณ์ก็จำเริญศีลาบารมีก็เปนศุข อันพระเอกาทศรถนั้น ได้เสวยราชสมบัติมาแต่เมื่อจุลศักราช ๙๖๐ ปี พระชนม์ได้ ๒๐ ปี อยู่ในราชสมบัติได้ ๑๙ ปี ๓๙ ปีสวรรคต เมื่อจุลศักราชได้ถึง ๘๗๙ ปี ๚

 ครั้นอยู่หลายชั่วกษัตรมา จึ่งมีกษัตรองค์หนึ่งเปนเชื้อพระสุธรรมราช ได้ครองราชสมบัติต่อมาในกรุงศรีอยุทธยา จึ่งอรรคมหาเสนาบดีแลมหาปโรหิตผู้ใหญ่แลเสนาทั้งปวง จึ่งตั้งการราชาภิเศกตามประเพณีกษัตริย์แต่ก่อนมา จึ่งถวายพระนามเรียกว่าพระไตรโลกนารถ พระองค์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม อาณาราษฎรทั้งปวงจึ่งเรียกว่า พระเจ้าทรงธรรมอันมหาประเสริฐ อันพระอรรคมเหษีนั้นพระนามชื่อพระจันทชายา อันราชมเหษีนั้นพระนามเรียกพระขัติยเทวี จึ่งมีพระราชธิดาในพระอรรคมเหษีนั้นสี่องค์ ที่เปนพระราชธิดาเดิมนั้นพระนามเรียกว่า พระประทุมาองค์หนึ่ง แล้วถัดมาชื่อพระสุริยา ถัดมาชื่อพระจันทเทวี อันพระธิดาน้อยนั้นชื่อพระศิริกัลยา อันในพระอรรคมเหษีนั้นสี่องค์ จึ่งมีในราชมเหษีนั้นก็สี่องค์ องค์พี่นางนั้นชื่ออุบลเทวี ถัดมานั้นชื่อพระประภาวดี ถัดมาชื่อพระไวยบุตรี สุดพระครรภ์นั้นชื่อพระกนิษฐาเทวี ในมเหษีซ้ายนั้นสี่องค์ จึ่งเปนแปดองค์ด้วยกันทั้งสิ้น อันพระไตรโลกนารถนั้นมิได้มีพระราชบุตรเปนกุมาร มีแต่พระราชนัดดาองค์หนึ่ง เปนหน่อเนื้อฝ่ายข้างพระมารดา ชื่อพระสุริยวงษ์กุมาร อันพระสุริยวงษ์กุมารนั้นแต่เมื่อยังเยาว์อยู่นั้นเห็นเปนอัศจรรย์ยิ่งนัก จักเล่นกับทารกทั้งปวงก็ปลาดในกิริยาอาการ อันจอมปลวกที่เล่นนั้นทำเปนอาศน์แล้วให้เด็ก ๆ เข้ามาเฝ้าเล่า ทำเปนขุนนาง แล้วจึ่งว่าราชการงานกรุง ทำปลาดต่าง ๆ เห็นเปนฉนี้มีอัศจรรย์ยิ่งนัก อันพระไตรโลกนารถนั้นเธอทรงทศพิธราชธรรมหนักหนา พระองค์ตั้งอยู่ในศีลาแลอุโบสถศีลมิได้ขาด แล้วพระองค์ตั้งอยู่ในธรรมสิบประการ พระองค์ชำนาญในคันถธุระ ทรงบำรุงพระสาสนาโดยสุจริต ในเดือนหนึ่งสี่อุโบสถ พระองค์บำรุงศีลาพรหมจรรย์มิได้ขาด แล้วงหาฝ่ายสวรรค์แลการพระนิพพาน พระองค์มิได้รอนสัตว์ให้ตักไษย เปนราชประเพณีจำเปนจำเสด็จออกพระโรง แล้วว่าราชการตามกิจประเพณีกษัตรแต่ก่อนมา ใครชอบก็ประทานรางวัล ใครผิดก็ให้พิพากษาโทษตามกฎพระไอยการ ถ้าโทษใหญ่แลลูกขุนพิพากษาใส่ในพระไอยการมา พระองค์ขอโทษไว้มิให้ตาย พระองค์จึ่งเอาพระราชนัดดา ที่ชื่อสุริยวงษ์กุมารนั้นมาเลี้ยงไว้ในพระราชฐาน จึ่งประทานชื่อให้เรียกว่าเจ้าพระยาสุริยวงษ์ ว่าที่จักรีกระลาโหม กรมท่า แล้วประทานเครื่องสูงต่าง ๆ มีพานทองสองชั้น กระโถนทอง ทั้งพระแสงก็ประทานมา นั่งแคร่จมูกสิงห์ พิงหมอนที่บนศาลกลางชุมนุมที่ปฤกษา อันที่เฝ้านั้นอยู่น่าเสนา ปูพรมมีผ้าลาดบน ขี่เรือเอกไชยเข้าเฝ้าอัตรา แล้วประทานอาญาสิทธิเปนต้น มีทนายมหาดเล็กนุ่งสองปักอัตรา ให้รับพระประสาทในบาดหมาย แล้วลอยชายเข้าเฝ้าฝ่ายน่า อันตำแหน่งนั้นที่เจ้าพระยามหาอุปราช เปนสิทธิ์ขาดอยู่แต่ในผู้เดียวนี้ อันพระองค์นั้นมิได้เปนภารธุระในกรุง พระองค์แสวงหาแต่ทางสวรรค์แลนิพพาน พระองค์ชำนาญในการพระธรรมแลคันถธุระ วิปัสนาธุระ ทั้งพระสูตรแลพระปรมัตถ์ พระองค์ก็บอกหนังสือพระสงฆ์อยู่อัตรา พระองค์ทรงแต่งมหาเวสสันตรชาฎกมาแต่เมื่อครั้งนั้น แล้วจึ่งทรงแต่งกาพย์โคลงฉันท์แลคำพากย์ก็ได้ปลาดต่าง ๆ ทั้งสวดสำรวจประสานเสียงโอดพันคร่ำครวญต่าง ๆ ก็มีมาแต่ครั้งนั้น พระองค์ก็แต่งเปนศัพท์แสงเปนคำหลวง แลพระราชนิพนธ์ก็มีมาแต่ครั้งนั้น อันบรรดากษัตรทั้งปวงแต่ก่อนมา เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาททุกปีมิได้ขาด พระไตรโลกนารถนั้นเสด็จขึ้นไปนมัสการแต่ครั้งเดียวก็มิได้เสด็จขึ้นไปอิกเปนอันขาด ด้วยทรงพระกรุณาแก่อาณาประชาราษฎรทั้งปวงที่ไปตามเสด็จนั้น ได้ลำบากหาบคอนเหนื่อยยาก พระองค์เมตตาแก่อาณาราษฎรทั้งปวงจักต้องลำบาก จึ่งไม่เสด็จขึ้นไปอิก พระองค์นี้ทรงพระเมตตากับอาณาราษฎรยิ่งนัก อันอาณาราษฎรเมื่อครั้งนั้นได้อยู่เย็นเปนศุขทั้งกรุงแลทั้งขอบขัณฑเสมาทั้งสิ้น อันเครื่องอุปโภคที่มีในพระราชฐานอันที่พระองค์จักทรงนั้น พระองค์บูชาพระรัตนไตรยก่อนแล้ว จึ่งไถ่เอาตามค่าแล้วจึ่งทรงจนเรือพระที่นั่งที่ทรงนั้น พระองค์เชิญเสด็จพระขึ้นทรงก่อนแล้ว พระองค์จึ่งทรง อันการสิ่งนี้เปนนิจสินมิได้ขาด ครั้นอยู่มาครั้งหนึ่ง จึ่งมีคนร้ายเปนเสนาข้างฝ่ายทหารขวา ครั้นสำเภายี่ปุ่นเข้ามาค้าขาย แต่บรรดาสินด้าทั้งปวงที่มีมา ขุนนางผู้นั้นเข้ากวาดกว้านจำหน่ายเอาเองว่าเปนภาษีหลวง แล้วจึ่งเอาเงินทองแดงแต่งไปฉ้อฬ่อลวงนั้น อันยี่ปุ่นพ่อค้านั้นก็สำคัญสัญญาเอาเปนมั่นว่าพระองค์คิดกันมาทำดั่งนี้ ยี่ปุ่นจึ่งแต่งทหารสี่คนให้ลอบเข้าไปในกรุงแล้วจึ่งเข้าไปในพระราชวัง วันนั้นพระองค์เสด็จอยู่ที่น่าจักรพรรดิพิมานไชย ทรงฟังสวดสำรวจคำหลวงอยู่ ยี่ปุ่นมันล่วงเข้าไปได้จนถึงพระองค์ ผู้ใดมิได้ทักทาย ครั้นถึงยี่ปุ่นถอดกฤช อันกฤชนั้นก็ติดฝักอยู่ ถอดออกมิได้ดังใจหมาย ก็ยืนจังงังอยู่ที่ตำบลอันนั้น ก็พอพระองค์ทอดพระเนตรแลมาเห็นยี่ปุ่นสี่คนอยู่ที่นั้น พระองค์จึ่งตวาดด้วยสีหนาทภูมี อันยี่ปุ่นทั้งสี่คนนั้นก็ซวนซบสลบอยู่ทันที พระองค์จึ่งให้จับตัวแล้วไต่ถาม ขุนล่ามจึ่งแปลคำทันที ญี่ปุนจึ่งว่าเอาเงินทองแดงแต่งไปลวงกันบอกว่าเงินดีที่ในคลัง เปนกษัตรมาฉ้อพ่อค้า ยี่ปุ่นจึ่งขัดอัชฌาไศรย อันคนดีที่มาสี่คนบัดนี้จักมาสังหารพระองค์มรณา พระองค์ได้ฟังคำสำนวนยี่ปุ่นว่ากล่าวให้การดังนี้ ก็ทรงพระสรวลแล้ว จึ่งตรัสสั่งให้หาเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์เข้ามาบัดนี้ จึ่งสั่งให้พิจารณาหาตัวคนร้าย แล้วให้เอาเงินดีตีให้มัน อย่าให้ลงโทษทัณฑ์ชีวิตรให้ฉิบหาย ถึงยี่ปุ่นก็อย่าทำมันให้วุ่นวาย มันไม่ร้ายเราร้ายไปฉ้อมัน จึ่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์รับสั่งแล้วก็ลงมาขมีขมัน จึ่งเรียกยี่ปุ่นทั้งสี่คนออกมาทันใด ก็ส่งตัวให้นายกำปั่นทันที อันที่ฉ้อยี่ปุ่นนั้นก็ลงโทษทัณฑ์ประจานตามที่ แล้วให้ยี่ปุ่นรู้ว่าคนนี้เปนคนร้าย แล้วก็ปล่อยเสียดุจมีพระโองการ อันที่ผิดทั้งนี้ควรที่จักทำโทษ พระองค์ก็โปรดมิได้สังหารชีวิตรให้ฉิบหาย พระองค์ถือศีลาจารสมาทานอธิวาศนขันตีบารมี อันว่ากรุงศรีอยุทธยาเมื่อครั้งนั้น ก็สำเริงสำราญเปนศุขทั้งกรุง แล้วพระองค์จึ่งสร้างวัดพุทไธสวรรย์วัดหนึ่ง วัดธรรมมิกราชวัดหนึ่ง จึ่งปฏิสังขรณ์อารามในเมืองพิไชยบุรี คือวัดพระรัตนมหาธาตุ แล้วจึ่งสร้างปราสาทแว่นฟ้าที่น่าจักรวรรดิ ชื่อจักรวรรดิไพชยนต์มหาปราสาท สำหรับในพระวรรษาสามเดือนนั้น เสด็จออกไปศึกษาบอกหนังสือพระสงฆ์มิได้ขาด อันนอกพระวรรษานั้นแต่วันพระ พระองค์เคล่าคล่องว่องไวที่ในธรรม พระองค์ชำนิชำนาญเปนหนักหนา อันพระไตรโลกนารถนั้นวันเสาร์ได้เสวยราชสมบัติมา แต่เมื่อจุลศักราชได้ ๙๗๙ ปีมเสงเดือนหก พระชนม์ได้ ๒๐ ปี อยู่ในสมบัติได้ ๑๙ ปี ๓๙ ปี สวรรคต เมื่อจุลศักราช ๙๙๘ ปี ๚

 ครั้นพระไตรโลกนารถเสด็จสู่สวรรคตแล้ว เสนาทั้งปวงจึ่งพร้อมใจกันทั้งสิ้นแล้ว จึ่งเชิญเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ขึ้นครองกรุง แล้วจึ่งตั้งทำการราชาภิเศกตามประเพณีกษัตรแต่ก่อน ๆ จึ่งถวายพระนามเรียกว่า พระรามาธิเบศร์ พระองค์จึ่งเอาพระราชธิดาของพระไตรโลกนารถมาตั้งเปนมเหษีทั้งแปดองค์ อันพระราชธิดาในพระอรรคมเหษีขวาสี่องค์นั้นตั้งเปนฝ่ายขวา อันพระราชธิดาในราชมเหษีซ้ายสี่องค์นั้น จึ่งเอามาตั้งเปนฝ่ายซ้าย อันพระอรรคมเหษีใหญ่นั้น พระนามเรียกพระประทุม จึ่งถัดมานั้นชื่อพระสุริยา ถัดมาองค์หนึ่งชื่อพระจันทเทวี แล้วถัดมาชื่อพระศิริกัลยา ฝ่ายขวาสี่องค์ด้วยกัน ยังฝ่ายซ้ายสี่องค์นั้น พระนามชื่อพระอุบลเทวีองค์หนึ่ง พระประภาวดีองค์หนึ่ง ถัดมาชื่อพระไวยบุตรีองค์หนึ่ง อันสุดพระครรภ์นั้นชื่อพระกนิษฐาเทวี พระราชธิดาฝ่ายซ้ายสี่ จึ่งเปนแปดองค์ด้วยกัน อันพระมเหษีขวาที่ชื่อพระประทุมานั้น มีพระราชโอรสสี่องค์ อันพระเชษฐานั้นชื่อพระองค์ไชย แล้วพระไตรภูวนารถ แล้วพระอภัยชาติ แล้วพระไชยาทิตย์ ในอรรคมเหษีขวาสี่องค์ อันในพระราชมเหษี ที่พระนามเรียกว่าพระอุบลเทวีนั้น มีพระราชโอรสสามองค์ อันพระเชษฐานั้นชื่อพระขัติยวงษา แล้วพระไตรจักร องค์สุดพระครรภ์นั้น ชื่อพระสุรินทกุมาร ทั้งสองฝ่ายจึ่งเปนเจ็ดองค์ด้วยกันทั้งสิ้น ๚

 ครั้นอยู่มาพระรามาธิเบศร์ทรงพระสุบินนิมิตรว่า อันจอมปลวกที่เล่นเมื่อยังย่อมอยู่นั้น มีปราสาททองอันงามวิจิตรอยู่ที่ในใต้จอมปลวกนั้น ครั้นเช้าพระองค์จึ่งเสด็จไป แล้วก็พิจารณาดูที่ตำบลอันนั้น จึ่งให้ขุดลงที่จอมปลวกนั้น จึ่งเปนมหัศจรรย์อยู่หนักหนา เสียงนั้นดังครื้นเครงไปทั้งสิ้น ครั้นขุดลงไปจึ่งได้ปราสาททองเปนจตุรมุข อันทองนั้นสุกแล้วมีลายอันงามประเสริฐ แต่ต้นจนยอดปราสาทนั้นสูงประมาณได้ศอกเศษ พระองค์จึ่งเอาปราสาททองนั้นไว้แล้ว จึ่งเชิญพระธาตุบรรจุไว้แล้ว จึ่งเอาไว้อยู่ที่ในสรรเพ็ชญ์ปราสาท อันปราสาททองนี้อยู่มาจนครั้งหลัง จึ่งสมมุตินามเรียกว่าเจ้าปราสาททองมาแต่ครั้งนั้น อันเจ้าปราสาททองนั้น มีพระราชโอรสาเปนกุมารทั้งเจ็ดองค์ พระองค์นั้นรักใคร่ปฐมโอรสาที่ชื่อว่าพระองค์ไชยกุมารนั้น พระองค์จึ่งจินดาว่าจักให้ผ่านธานี แต่ว่าพระองค์ก็ยังสงไสยบุญญาธิการที่จักได้ครอบครองธานี ฤๅจักไม่คู่ควรครอบครองกรุง พระองค์จึ่งลองบุญญาธิการในกุมารทั้งเจ็ดองค์นั้น จึ่งเอาพระขรรค์มาเจ็ดเล่มแล้ว จึ่งเสี่ยงทายพระขรรค์เล่มหนึ่งอันที่จักได้เปนกษัตรนั้น ถ้ากุมารองค์ใดจักได้เปนกษัตรแล้วก็ขอให้ได้พระขรรค์อันที่เปนกษัตรเถิด ครั้นพระองค์เสี่ยงทายแล้วจึ่งเอาพระขรรค์นั้นวางเรียงลงไว้ทั้งเจ็ดเล่มแล้ว พระองค์จึ่งตรัสเรียกพระองค์ไชยกุมารให้เข้าเลือกเอาก่อน อันพระองค์ไชยกุมารนั้นก็เข้าไปเลือกเอาพระขรรค์ตามที่ชอบพระไทย จักได้พระขรรค์ที่พระบิดาเสียงทายนั้นหามิได้ แล้วพระองค์เรียกกุมารทั้งหกนั้นให้เข้าเลือกเอาตามที่ชอบใจ อันกุมารทั้งหกองค์ก็เข้าไปเลือกเอาตามรับสั่งพระบิดา ก็ได้พระขรรค์ไปทั้งสิ้น ยังอยู่สุดท้ายนั้นคือนรินทกุมาร ได้เข้าไปเอาพระขรรค์ตั้งทีหลังกุมารทั้งปวง จึ่งได้พระขรรค์ที่เปนสำคัญ ที่พระบิดาเสี่ยงทายนั้นมา สมเด็จพระบิดาก็เห็นในนิมิตรที่พระองค์เสี่ยงทาย แต่มิได้มีพจนาดถ์ประการใด พระองค์ยังสงไสยในพระไทยอยู่ ว่ายังจักไม่เที่ยงแท้ จึ่งจักเสี่ยงทายให้ครบสามครั้ง จึ่งจะประจักษ์ทักแท้ แล้วพระองค์จึ่งเอาช้างพระที่นั่งมาเจ็ดช้างแล้ว พระองค์จึ่งเสี่ยงทายช้างเปนสำคัญดังพระขรรค์ แล้วพระองค์จึ่งเจาะเรียกให้พระองค์ไชย ให้เข้ามาเลือกเอาช้างพระที่นั่งก่อนกุมาราทั้งหกองค์ พระองค์ไชยก็เข้ามาเลือกเอาช้างพระที่นั่งตามมีรับสั่งพระบิดา ก็จักได้ช้างสำคัญที่พระบิดาเสี่ยงทายนั้นหามิได้ พระบิดาจึ่งเรียกกุมารทั้งหกองค์ ให้เข้ามาตามหลั่นกันแล้ว จึ่งให้เลือกเอาช้างพระที่นั่งตามที่ชอบใจ อันกุมารทั้งหกองค์ก็เข้ามาทั้งนั้น ก็เข้ามาตามรับสั่งพระบิดา แล้วเข้าเลือกเอาช้างตามที่ชอบใจไป ก็จักได้ช้างสำคัญที่พระองค์เสี่ยงทายนั้นหามิได้ ได้แต่ช้างอื่นนั้นไป แต่ยังนรินทกุมารนั้นอยู่สุดท้ายกุมารทั้งหกองค์ จึ่งเข้าไปทีหลังคน ก็ได้ช้างสำคัญที่พระบิดาเสี่ยงทายนั้นมา อันสมเด็จพระบิดานั้น ก็ทราบในนิมิตรที่พระองค์สำคัญไว้ทั้งสิ้น แต่ยังอยู่อิกครั้งหนึ่งจึ่งจักครบสามครั้ง ครั้นมาอิกครั้งหนึ่งพระองค์เสี่ยงทายม้าพระที่นั่งแล้วก็ทำดังนั้น พระนรินทกุมารก็ได้ม้าพระที่นั่งที่พระองค์เสี่ยงทายไว้ แต่เปนดังนั้นมาถึงสามครั้งแล้ว อันพระปราสาททองนั้นก็หมายมาดว่าพระนรินทกุมารจักได้ครอบครองราชสมบัติ แต่พระองค์มิได้ตรัสประการใด พระองค์สงสารกับพระองค์ไชยกุมารยิ่งนัก แล้วพระองค์จึ่งมีพระราชโองการตรัสเรียกพระราชโอรสทั้งเจ็ดองค์เข้ามาแล้ว พระองค์จึ่งสั่งสอนว่ากล่าวทั้งเจ็ดองค์ด้วยกัน ว่าพี่น้องให้รักใคร่กัน อย่าให้คิดร้ายต่อกัน พระองค์สั่งพระนรินทกุมารก็รับสั่งเปนเสร็จแล้ว จึ่งสั่งสอนกุมารทั้งปวงไปตามที่มีพระไทยกรุณากับพระราชโอรสทั้งหกองค์ด้วยกันทั้งสิ้น พระนรินทกุมารก็รับสั่งตามคำพระบิดาสั่งสอนว่ากล่าว ๚

 ครั้นอยู่มาพระองค์จึ่งสร้างปราสาทชื่อ สุริยาศน์อมรินทร์ แล้วสร้างวิไชยปราสาทที่ตำหนักใหม่ แล้วจึ่งสร้างตำหนักที่เกาะบางนางอินชื่อ ไอสวรรย์ทิพอาศน์ แล้วสร้างปราสาทพระนครหลวง แล้วจึ่งสร้างเรือที่นั่งกิ่งแลมหาพิไชยราชรถ แล้วจึ่งสร้างวัดไชยวัฒนาราม แล้วสร้างวัดราชหุลาราม แต่บรรดาเครื่องอุปโภคแลเงินทองทั้งสิ้น แต่เมื่อยังเปนเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์อยู่นั้น จึ่งเอามาจำหน่ายแล้วสร้างพระปรางค์กระทำทั้งสิ้น จึ่งทำรูปภรรยาเก่าทั้งสองคนที่ตายไปแล้วนั้น ทำรูปไว้ที่ในวัดราชหุลาราม แล้วจาฤกชื่อไว้ที่ในฐานนั้น แล้วพระองค์จึ่งตั้งกฐินบกพยุหบาตราใหญ่มีมาแต่ครั้งนั้น ๚

 ครั้นอยู่มาจึ่งไฟฟ้าลงที่นั่งมังคลาภิเศกมหาปราสาท จึ่งพระโอรสาธิราชเสด็จขึ้นไปดับเพลิง แต่บรรดาคนทั้งปวงจึ่งเห็นเปนสี่กรทั้งสิ้น ก็เปนนิมิตรใหญ่หลวงหนักหนา อันพระรามาธิเบศร์นั้น ก็ได้เสวยราชสมบัติ เมื่อจุลศักราชได้ ๙๙๘ ปีชวดอัฐศก พระชนม์ได้ ๒๐ ปี อยู่ในราชสมบัติได้ ๒๕ ปี เปน ๔๕ ปีสวรรคต เมื่อจุลศักราชได้ ๑๐๒๓ ปี ๚

 ครั้นพระเจ้าปราสาททองสู่สวรรคตแล้ว พระราชโอรสอันชื่อพระนรินทกุมารได้เสวยราชสมบัติ จึ่งถวายพระนามตามนิมิตรเมื่อครั้งไฟฟ้าลงพระที่นั่งมังคลาภิเศกมหาปราสาท พระองค์เสด็จขึ้นไปดับเพลิง คนทั้งปวงเห็นเปนสี่กรทั้งสิ้นนั้น จึ่งสมมุติเรียกว่าพระนารายน์ อันพระนารายน์นั้น พระพรหมเปนอาจารย์ มีพระมเหษีนามชื่อ พระกษัตรี เปนหลานพระเจ้าปราสาททองฝ่ายข้างมารดา แลพระกษัตรีมเหษีขวานั้น มีแต่พระราชธิดาองค์หนึ่ง พระนามเรียกพระสุดาเทวี อันพระราชมเหษีซ้ายนั้น พระนามเรียก พระพันปี มิได้มีพระราชบุตรแลธิดา มีพระสนมนั้นเปนอันมาก อันพระนารายน์นั้นมิได้มีราชบุตรเปนกุมาร จึ่งกุมารผู้หนึ่งชื่อหม่อมเตี้ย พระนารายน์เอามาเลี้ยงไว้เปนที่ (พระปิย์) ลูกหลวง ยังหลานองค์หนึ่ง ชื่อพระศรีศิลป์ เปนลูกพระไชยาทิตย์ผู้เปนเชษฐา แล้วพระองค์จึ่งสร้างอ่างแก้วแลน้ำพุทั้งวังหลวงวังน่า แลปราสาทในวังทั้งปวงจึ่งแปลงให้ก่ออิฐ แลผนังทั้งสิ้นนั้นปิดทองประดับกระจก เสวยราชย์อยู่ในกรุงทวาราวดีนั้นได้ ๑๐ ปี แล้วเสด็จไปสร้างเมืองอยู่ที่เมืองเก่าอันหนึ่ง ชื่อเมืองละโว้ จึ่งสมมุตินามเรียกว่าเมืองลพบุรี มีกำแพงแลป้อม แลสร้างปราสาทชื่อดุสิตมหาปราสาท แล้วมีพระที่นั่งฝ่ายขวา ชื่อสุธาสวรรย์ ฝ่ายซ้ายชื่อจันทพิศาล มีพระปรัศซ้ายขวา แล้วมีน้ำพุอ่างแก้ว มีน้ำดั้นน้ำดาษ แล้วจึ่งสร้างทเลชุบศรแลสระแก้ว แล้วจึ่งสร้างวัดทรางวัด ๑ วัดมหาธาตุวัด ๑ จึ่งสร้างพระปรางค์สามยอดองค์ ๑ แล้วจึ่งสร้างเครื่องต้นแลพระมาลา ทั้งเส้าสูงเส้าสเทิน แลพระยี่ก่า แลฉลองพระองค์อย่างเทศอย่างยี่ปุ่นมีมาแต่ครั้งนั้น ๚

 พระองค์มีช้างเผือกลูกบ้านตัวหนึ่งทั้งกล้าหาญ แล้วก็มีรูปอันงามยิ่งนัก พระองค์ปล่อยไว้ที่ในพระราชวัง จึ่งประทานชื่อว่าพระบรมรัตนากาศ ไกรลาศคิรีวงษ์ อันการศิลปสาตรช้างของพระองค์นี้ดียิ่งนักไม่มีผู้ใดเสมอ ถึงจะเปนช้างร้ายหยาบช้าแลช้างน้ำมันก็ดี พระองค์ทรงเล่นกลางพระนครในที่ชุมนุมคนเปนอันมาก จึ่งไว้ทางกว้างสี่ศอกแล้ว พระองค์จึ่งทรงไปในกระบวนแห่ แต่งวงจะสอดคว้าก็หาบมิได้ ครั้งหนึ่งแขกเมืองโครส่านเข้ามาเฝ้าในเมืองลพบุรี พระองค์จึ่งทรงพลายส้อม อันพลายส้อมนี้ร้ายรองหยาบช้านักหนา ต่อเปนคนโทษจึ่งให้ขึ้นขี่ เปนยอดช้างอยู่ในกรุง ประทานชื่อเรียกว่าโจมจักรพาฬ ทั้งน้ำมันอยู่ พระองค์ไสให้ไล่แล้วปราไสโครส่าน ให้เหยียบพรมอยู่ริมพานราชสาสนแล้วก็กลับมายังเกยไชย แสนมหาแต่ช้างเถื่อนที่ติดโขลงมาเข้าพะเนียดใหม่ พระองค์ก็ใส่ชนักแลซองหางรัตคนแล้ว ก็ทรงออกแขกเมืองฝรั่งเศส พระองค์ก็สำแดงเดชทุกแห่งหน อันช้างเถื่อนนั้นก็ไม่ป่วนปั่นไปมาดุจหนึ่งช้างบ้าน อันการช้างของพระองค์นี้ยกเปนยอดยิ่งนัก เปนอรรคมหากษัตร ในพงษาวดาร ไม่มีกษัตรองค์ใดในการวิชาช้างนี้ จักได้เสมอพระองค์นี้หามิได้ เมื่อครั้งหนึ่งไฟฟ้าลงยอดปราสาทมังคลาภิเศกเปนอัศจรรย์ยิ่งนัก ไฟนั้นลุกโพลงพลุ่งขึ้นมาดังไฟกาล คนผู้ใดจะขึ้นไปก็บมิได้ พระองค์จึ่งขึ้นไปดับเพลิง อันเพลิงนั้นก็ดับไปสิ้น คนทั้งปวงจึ่งเห็นเปนสี่กร จึ่งถวายพระนามเรียกว่า องค์พระนารายน์มาแต่เมื่อครั้งนั้น ๚

 มีพระราชนัดดาองค์หนึ่งเปนโอรสของพระเชษฐา ซื่อพระศรีศิลป์กุมาร ชัณษาได้ ๑๕ ปี จึ่งคิดเปนขบถกับพระบิตุฉา จักมาสังหารชีวิตรให้บรรไลย เอาพระแสงจะแทงพระนารายน์ พระองค์จึ่งฉวยปลายกั้นหยั่นไว้ได้ทันที จึ่งจับตัวไว้ที่ทิมดาบ พระองค์ทรงแต่กำราบมิให้ตาย พระองค์สงสารกับกุมารนั้นว่าไร้บิตุเรศมารดา แล้วเห็นแก่พระไชยาทิตย์ด้วยรักใคร่สนิทกัน เพราะเปนเชษฐาได้ฝากพระศรีศิลป์ไว้แต่เมื่อจะใกล้สิ้นชีพพิราไลย จึ่งสั่งให้ออกจากโทษ พระองค์โปรดเลี้ยงไว้ตามที่ ครั้นอยู่มาวันหนึ่งพระศรีศิลป์จึ่งคิดร้ายอิกครั้งหนึ่ง เมื่อพระนารายน์เสด็จออกว่าราชการเมืองอยู่ที่สีหบัญชร จึ่งพระศรีศิลป์ใจหาญนั้น ถือพระแสงแล้วแฝงใบบานประตูอยู่ที่ห้อง เสด็จเข้าไป ผู้ใดมิได้ล่วงรู้เห็น อันพระนารายน์นั้นออกไปว่าราชการ จึ่งเรียกช้างพระที่นั่งเข้ามาดู พระองค์ก็เสด็จทรงช้างแล้วเสด็จเข้ามาทางหนึ่ง อันพระศรีศิลป์นั้นยืนแอบประตูอยู่จนพนักงานนั้นเชิญเครื่องเข้ามา จึ่งเห็นพระศรีศิลป์ถือพระแสงแลแฝงประตูอยู่ อันพนักงานเครื่องนั้นจึ่งกราบทูลตามที่เห็น พระองค์จึ่งเสด็จตรงออกมาแล้วก็จับตัวกุมารได้ทันใด จึ่งตรัสสั่งนายเพชฌฆาฏให้สังหารเสียให้ตักไษย นายเพชฌฆาฏจึ่งให้คุมตัวพระศรีศิลป์ไป จึ่งเอาตัวนั้นมัดผูกพันแล้วใส่ลงไปในแม่ขันสาคร แล้วจึ่งเอาใส่ลงในถุงแดงแล้วก็แห่หามไปยังวัดกะชาย แล้วจึ่งขุดหลุมฝังเสียทั้งเปน อันนี้เปนตามธรรมเนียมหน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/51หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/52หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/53หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/54หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/55หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/56หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/57หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/58หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/59หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/60หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/61หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/62หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/63หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/64หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/65หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/66หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/67หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/68หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/69หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/70หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/71หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/72หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/73หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/74หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/75หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/76หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/77หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/78หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/79หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/80หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/81หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/82หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/83หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/84หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/85หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/86หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/87หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/88หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/89หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/90หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/91หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/92หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/93หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/94หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/95หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/96หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/97หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/98หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/99หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/100หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/101หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/102หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/103หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/104หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/105หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/106หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/107หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/108หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/109หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/110หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/111หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/112หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/113หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/114หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/115หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/116หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/117หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/118หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/119หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/120หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/121หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/122หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/123หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/124หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/125หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/126หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/127หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/128หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/129หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/130หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/131หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/132หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/133หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/134หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/135หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/136หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/137หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/138หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/139หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/140หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/141หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/142หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/143หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/144หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/145หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/146หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/147หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/148หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/149หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/150หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/151หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/152หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/153หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/154หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/155


  1. เดี๋ยวนี้อยู่ที่พระพุทธบาท
  2. รูปนี้ว่า ยังอยู่ที่วัดพระมหามัยมุนี ณเมืองอมรบุระ