คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๒/๒๕๕๘

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๒/๒๕๕๘
เรื่อง ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอยู่ในตําแหน่งต่อไป[1]




ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป นั้น

บัดนี้ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยประกาศฉบับดังกล่าว กําลังจะพ้นจากตําแหน่งในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘เนื่องจากอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ในขณะที่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอีก ๔ คนได้แก่ นายประสาท พงษ์ศิวาภัย นายภักดี โพธิศิริ นายวิชา มหาคุณ และนายวิชัย วิวิตเสวีซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยประกาศฉบับเดียวกัน ยังคงอยู่ในตําแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ ๙ ปี ในวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘

ดังนั้น เพื่อมิให้ต้องดําเนินการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ๒ ครั้งในเวลาใกล้เคียงกัน อันจะเป็นการสร้างภาระแก่ผู้สนใจสมัครเข้ารับการสรรหาและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอีกทั้งจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศโดยไม่จําเป็น จึงเห็นสมควรให้ดําเนินการสรรหาบุคคลแทนตําแหน่งที่ว่างไปในคราวเดียวกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปประเทศและการปฏิรูปองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่งให้ นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ดํารงตําแหน่งประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต่อไปจนถึงวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘

คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


สั่ง ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษที่ ๑๐๗ ง/หน้า ๑/๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘



ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"