คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๒๐/๒๕๕๘
ตามที่ได้มีการประกาศรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาและคัดเลือกเพื่อเสนอชื่อเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมายแทนกรรมการปฏิรูปกฎหมายชุดเดิมซึ่งได้ครบวาระการดํารงตําแหน่งไปเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๕๓ นั้นเนื่องจากปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศและมีหลักการสําคัญส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งอาจมีการวางหลักเกณฑ์หรือกําหนดกลไกที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปกฎหมายไว้แตกต่างไปจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ก็ได้มีองค์กรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ รวมถึงด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไว้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายชุดเดิมได้ดํารงตําแหน่งจนครบวาระไปแล้วจึงสมควรระงับกระบวนการสรรหาและคัดเลือกกรรมการปฏิรูปกฎหมายชุดใหม่ไว้ก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิรูปกฎหมายของประเทศมีความเป็นเอกภาพและสอดคล้องกับหลักการที่จะได้กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ระงับการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอชื่อเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมายตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๕๓ ไปจนกว่าจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒ ให้กรรมการปฏิรูปกฎหมายที่อยู่ในตําแหน่งจนครบวาระไปแล้ว แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๕๓ พ้นจากตําแหน่งตั้งแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๓ ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ให้สํานักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย โดยอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของนายกรัฐมนตรี
ข้อ ๔ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เชิงอรรถ
[แก้ไข]- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษที่ ๑๖๓ ง/หน้า ๔/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"