จดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ ๓ ตอนที่ ๑

จาก วิกิซอร์ซ

ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกเอก พระยานครราชเสนี ( สหัด สิงหเสนี ) ที่เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑

พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์


สารบาญเรื่อง

คำนำ หน้า ๑ ประวัติเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) " ( ก ) แผนที่ลำดับสกุล ประวัติพระยานครราชเสนี ( สหัด สิงหเสนี ) " ก จดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ ๓ " ๑ มูลเหตุสงครามไทยกับญวน " ๑ ฉะบับที่ ๑ ตราตอบเมืองปราจินบุรี ให้จัดซื้อ ข้าวเตรียมไว้ ๕๐๐ เกวียน " ๕ ฉะบับที่ ๒ ตราตอบเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) เรื่องพระยาพิบูลย์ ยกมาติดตามพระยาสังคโลก " ๗ เหตุการณ์ในปีมะเสง พ.ศ. ๒๓๗๖ " ๑๒ ฉะบับที่ ๑ ตราถึงเจ้าเมืองมุกดาหาร ตอบ เรื่องรับผลเร่ว สีผึ้ง ป่านใบ ตาม จำนวนเกณฑ์ และชี้แจงข้อราชการบ้าง เล็กน้อย " ๑๔ ฉะบับที่ ๒ ตราสั่งหัวเมืองเรื่องให้เจ้าพระยา ธรรมา (สมบุญ ) เป็นแม่ทัพ " ๑๙ ฉะบับที่ ๓ ตราถึงพระยาน่าน, พระยาแพร่ " ๒๔


- ๒ - ฉะบับที่ ๔ ตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) หน้า ๓๐ เหตุการณ์ในปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๗๗ " ๓๒ ฉะบับที่ ๑ ตราตอบเจ้าพระยาธรรมา ( สมบุญ )เรื่องกวาดต้อนเมืองพวน " ๓๔ ฉะบับที่ ๒ หนังสือญวนเกลี้ยกล่อมชาวไทย ภาคอิสาน " ๓๕ ฉะบับที่ ๓ หนังสือหลวงราชเสนา มหาดไทย ถึงพระยานครเสียมราบ " ๓๙ ฉะบับที่ ๔ หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ถึงเจ้าพระยา นครราชสีมา ( ทองอิน อินทรกำแหง ) " ๔๐ ฉะบับที่ ๕ หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ถึงเจ้าองค์อิ่ม เจ้าองค์ด้วง พระองค์แก้ว " ๔๒ ฉะบับที่ ๖ หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ถึงพระยาราชนิกูล พระยาพิชัยสงคราม " ๔๓ ฉะบับที่ ๗ หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ถึงพระยาจ่าแสน พระยาณรงคพิชัย พระยาปราจินบุรี " ๔๕

- ๓ - ฉะบับที่ ๘ ใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) หน้า ๔๖ ฉะบับที่ ๙ หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ถึงพระยาศรีสหเทพ " ๔๗ ฉะบับที่ ๑๐ หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ถึงพระยานราราช มนตรี " ๔๘ ฉะบับที่ ๑๑ หนังสืออุปฮาดเมืองหลวงมูเลง มาถึงเจ้าเมืองหลวงมูเลง พระนคร พนม ท้าววรบุตร " ๔๙ ฉะบับที่ ๑๒ ใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) " ๕๐ ฉะบับที่ ๑๓ ใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) " ๖๐ ฉะบับที่ ๑๔ ใบบอกเมืองสระบุรี ขอเรือ ลำเลียงกองทัพลงมากรุงเทพฯ " ๖๑ ฉะบับที่ ๑๕ ตราตอบเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) เรื่องถอยทัพ จากเมืองโจดก " ๖๒ ฉะบับที่ ๑๖ รายงานของพระยาราชนิกุล เสนอแม่ทัพใหญ่ " ๖๕

- ๔ - ฉะบับที่ ๑๗ คำให้การหมื่นโชอันชิต หน้า ๗๕ ฉะบับที่ ๑๘ คำให้การนายสุข " ๗๖ ฉะบับที่ ๑๙ รายงานพระสุนทรราชวงศา เสนอแม่ทัพใหญ่ " ๘๗ ฉะบับที่ ๒๐ ระยะทางเรือใบในเมืองญวน " ๙๑ เหตุการณ์ในปีมะแม พ.ศ. ๒๓๗๘ " ๙๕ ฉะบับที่ ๑ ตราถึงพระยานครชัยศรี " ๙๖ ฉะบับที่ ๒ คำให้การนักซวน ให้แก่หมื่นพิทักษ์ ปลายแดน " ๙๗ ฉะบับที่ ๓ หนังสือเจ้าพระยาธรรมาธิบดี แม่ทัพ ใหญ่ถึงเจ้าหัวพันห้าทั้งหก " ๑๑๓ เหตุการณ์ในปีวอก พ.ศ. ๒๓๗๙ " ๑๒๒ ฉะบับที่ ๑ ตราถึงเมืองสุวรรณภูมิ เรื่องตั้งให้อุปหาด เมืองร้อยเอ็จเป็นที่พระรัตนวงศา " ๑๒๓ ฉะบับที่ ๒ ย่อศุภอักษรเจ้านครจำปาศักดิ์ " ๑๒๘ ฉะบับที่ ๓ ศุภอักษรเจ้านครจำปาศักดิ์ " ๑๒๙ ฉะบับที่ ๔ ใบบอกเมืองอุบลราชธานี เรื่องแต่ง ท้าวเพี้ยไปรักษาราชการทางเมืองมุกดาหาร " ๑๓๓ เหตุการณ์ในปีระกา พ.ศ. ๒๓๘๐ " ๑๓๔ ฉะบับที่ ๑ ตราถึงข้าหลวงและเจ้าเมืองหนองคาย เจ้าเมืองหนองหาร " ๑๓๕

- ๕ - ฉะบับที่ ๒ บันทึกจำนวนคนกรุงเทพฯ และหัว เมืองเกนไปทำเมืองพัตบอง พ.ศ. ๒๓๘๐ หน้า ๑๔๔ ฉะบับที่ ๓ บันทึกรายการบอกขนาดเมืองพัตบอง เป็นต้น " ๑๔๗ เหตุการณ์ในปีจอ พ.ศ. ๒๓๘๑ " ๑๔๘ ฉะบับที่ ๑ ตราสั่งให้เมืองฉะเชิงเทรารักษาเกวียน และกระบือของเจ้าองค์ด้วง " ๑๔๙ ฉะบับที่ ๒ ตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) เรื่องให้จัดส่งเครื่องยศ เจ้าองค์ด้วงไว้กับเมืองพัตบอง " ๑๕๐ ฉะบับที่ ๓ ตราถึงข้าหลวงและกรมการเมืองปราจิน บุรี สั่งจ่ายเกลือ ๖๐๐ ถังส่งไปเมืองพัตบอง " ๑๕๒ ฉะบับที่ ๔ จำนวนครัวทางภาคอิสานที่อพยพเข้ามา พึ่งพระบรมโพธิสมภาร ซึ่งแยกย้ายไปอยู่ ต่างเมืองตามใจสมัคร " ๑๕๔ เหตุการณ์ในปีกุน พ.ศ. ๒๔๘๒ " ๑๕๖ ฉะบับที่ ๑ ย่อความใบบอกต่าง ๆ " ๑๕๗ ฉะบับที่ ๒ บัญชีกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) เมื่อยกไปเมืองพัตบอง " ๑๗๔


- ๖ - ฉะบับที่ ๓ ตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) เรื่องให้พระราชทาน เสื้อผ้าแก่นายทัพนายกอง หน้า ๑๙๐ ฉะบับที่ ๔ ตราถึงกรมการเมืองปราจินบุรี และกระบินทรบุรี " ๑๙๑ ฉะบับที่ ๕ คำให้การนายถ่อญวน " ๑๙๒ ฉะบับที่ ๖ ตราถึงเมืองกาฬสินธุ์, ไชยบุรี, สกลนคร ไห้ไปกวาดต้อนครอบครัวญวน ที่ค่ายนาขนองม้า " ๑๙๘ ฉะบับที่ ๗ รายการเสื้อ ที่พระราชทานนายทัพ นายกอง " ๒๐๒ ฉะบับที่ ๘ ย่อความใบบอกต่าง ๆ " ๒๐๖






สารบาญรูป

๑. รูปเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รูปยืน อยู่ข้างหน้าประวัติ รูปนั่ง ระหว่างหน้า (ณ) - (ด) ๒. รูปพระยานครราชเสนี (สหัด สิงหเสนี) อยู่หน้าประวัติ ๓. ภาพแสดงการลำเลียงกองทัพ กองช้างและกองเดินท้าว ระหว่างหน้า ๘ - ๙ กองช้าง " ๑๒ - ๑๓ กองช้างและล้อเลื่อน " ๓๒ - ๓๓ กองช้างและโคตั่ง " ๑๔๔ - ๑๔๕ กองเรือ " ๑๗๖ - ๑๗๗





คำนำ กรมศิลปากรกำลังรวบรวมจดหมายรายงานทัพ, ใบบอก, ท้องตรา, หมายรับสั่ง ฯลฯ ซึ่งเป็นจดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวน ในสมัยรัชกาลที่ ๓ จัดเข้าเรื่องตามลำดับปี แล้วทำคำอธิบายเหตุการณ์โดยย่อเป็นปี ๆ ไป สำหรับนำทางให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ง่าย บรรดาเอกสารซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ กรมศิลปากรเก็บรวบรวมไว้มาก จะเป็นเครื่องมือสำคัญของนักประวัติศาสตรในกาลต่อไป ถ้าได้พิมพ์ขึ้นให้แพร่หลาย จะเป็นประโยชน์หาน้อยไม่ ในระหว่างที่ กรมศิลปากรกำลังรวบรวมเอกสารเหล่านี้อยู่ ก็พอดีคุณหญิงเจือ นครราชเสนี เจ้าภาพในงานพระราชทานเพลิงศพเสวกเอก พระยานครราชเสนี (สหัด สิงหเสนี) ให้นายอรุณ สิงหเสนี และนายกระเจิ่น สิงหเสนี มาขอรับเรื่องไปตีพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานนั้น กรมศิลปากรเห็นว่า ถ้าได้พิมพ์จดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ ๓ ที่รวบรวมไว้นี้จะสมควรอย่างยิ่งเพราะว่า เรื่องราวที่ปรากฏในจดหมายเหตุนั้น เกี่ยวเนื่องด้วยประวัติท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ซึ่งเป็นต้นสกุลสิงหเสนี ก็มีอยู่หลายประการ และเวลานี้ความสนใจในทางประวัติศาสตรสยาม เจริญมากกว่าแต่ก่อน ย่อมต้องการสอบสวนข้อความประกอบความรู้ทางประวัติศาสตร ให้


(๒) แน่ชัดยิ่งขึ้น กรมศิลปากรจึงแนะให้พิมพ์จดหมายเหตุเรื่องนี้ ก็เป็นที่น่าพอใจของเจ้าภาพ บรรดาจดหมายเหตุเกี่ยวกับเรื่องนี้ เท่าที่รวบรวมได้มาอาจแบ่งพิมพ์ได้เป็นตอน ๆ ตามความประสงค์ของเจ้าภาพ เพราะฉะนั้นในงานนี้จึงจัดพิมพ์เป็นประชุมพงศาสดารภาคที่ ๖๗ ตอนที่ ๑ คือเหตุการณ์ตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๗๕ จนถึงปีกุน พ.ศ. ๒๓๘๒ รวม ๘ ปี นายอรุณ สิงหเสนี ได้ส่งภาพการลำเลียงกองทัพสมัยก่อน ซึ่งให้ช่างเขียนไว้เป็นที่ระลึกของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) มาให้กรมศิลปากรพิจารณา กรมศิลปากรเห็นว่า ถ้าได้พิมพ์ภาพเหล่านั้นแซกลงในท้องเรื่อง จะช่วยจูงใจให้ผู้อ่านนึกเห็นความจริงของเรื่องได้ง่ายขึ้น จึงอนุมัติให้พิมพ์ประกอบไว้ด้วย ๕ ภาพ อนึ่ง เจ้าภาพได้ส่งประวัติเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และประวัติเสวกเอก พระยานครราชเสนี (สหัด สิงหเสนี) มาตีพิมพ์ไว้ข้างต้น กรมศิลปากรได้ช่วยแก้ไขเพิ่มเติมประวัติเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ให้บางแห่งเท่าที่จะหาหลักฐานสอบสวนได้เป็นแน่นอน จากพงศาวดารบ้าง เอกสารอื่น ๆ บ้าง ส่วนที่ยังไม่พบหลักฐานประกอบโดยแน่นแฟ้นนั้น ก็สมควรจะได้รับการพิจารณาต่อไป เพราะเจ้าพระยา บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นบุคคลสำคัญผู้หนึ่งของสยาม

(๓) ซึ่งได้บากบั่นทำประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง ให้แก่ประเทศเป็นอันมาก จึงสมควรที่คนภายหลังจะพึงสำเนียกในประวัติของท่าน ในทางที่เป็นบรรทัดฐานของการบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติ อย่างที่เอาชีวิตเข้าแลกด้วยความรอบคอบและกล้าหาญ กรมศิลปากรขออนุโมทนากุศล ที่เจ้าภาพได้พยายามบำเพ็ญเป็นปฏิการคุณตลอดมา จนได้พิมพ์หนังสือเล่มนี้แจกเป็นวิทยา-ทาน เพิ่มพูนบุญราษีอันพึงสำเร็จโดยฐานะนิยม แก่เสวกเอกพระยานครราชเสนี (สหัด สิงหเสนี) ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เทอญ

กรมศิลปากร วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑






ประวัติสังเขป เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

ตามทางสืบสวนได้ความว่า บรรพบุรุษของท่านเจ้าพระยา บดินทรเดชา (สิงห์) เป็นพราหมณ์ ชื่อศิริวัฒนะ รับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ อยู่ในตำแหน่งราชปโรหิต มีบุตรได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณ จนเป็นที่พระมหาราชครู พระราชปโรหิตาจารย์ ราชสุภาวดี ศรีบรมหงส์ องค์บุริโสดม พรหมทิชาจารย์ พระมหาราชครูมีบุตรปรากฏนามต่อมา ๒ คน คือ เจ้า พระยาพิศณุโลก (เมฆ) และเจ้าพระยามหาสมบัติ (ผล) เจ้าพระยาพิศณุโลก (เมฆ) มีบุตรปรากฏนามต่อมา ๓ คน คือ (๑) เจ้าพระยานเรนทราภัย (บุญเกิด) (๒) เจ้าพระยาสุรินทรภักดี (บุญมี) (๓) เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช เป็นต้นสกุลศิริวัฒนกุล, จันทโรจวงศ์, บุรณศิริ, สุจริตกุล, ภูมิรัตน, ชัชกุล รวม ๖ สกุล เจ้าพระยามหาสมบัติ (ผล) มีบุตรธิดาปรากฏนามต่อมา ๖ คน คือ (๑) ญ. เลื่อน (๒) เจ้าพระยาพลเทพ (ทองอิน) ต้นสกุลทองอินและอินทรพล เป็นต้น (๓) กรมหมื่นนรินทร


(ข) พิทักษ์(มุก) ภัสดากรมหลวงนริทนรเทวี (กุ) ต้นสกุลนรินทรกุล (๔) ท้าวทรงกันดาล (ทองศรี) (๕) ญ. ทองเภา ไปอยู่ประเทศพะม่า เพราะถูกกวาดต้อนเมื่อคราวไทยเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ ว่าเป็นพระราชมารดาพระเจ้าธีบอ (๖) เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) มีบุตรธิดาปรากฏนามต่อมา ๘ คน คือ (๑) เจ้าจอมปริก ในรัชกาลที่ ๑ (๒) จมื่นเด็กชายหัวหมื่นมหาดเล็ก ในกรมพระราชวังบวรรัชกาลที่ ๑ (แตงโม) (๓) เจ้าจอมปราง ในรัชกาลที่ ๒ (๔) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) (๕) หลวงรามรณรงค์ (โต) (๖) พระยาพิชัยสงคราม (โห้) (๗) หลวงมหาใจภักดิ์ (เจริญ) (๘) หลวงพิพิธ (ม่วง) (๙) คุณหญิงบุนนาค กำแหงสงคราม (ทองอิน อินทรกำแหง) บุตรคนที่ ๔ คือเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) นั้นเกิดแต่ท่านผู้หญิงฟัก เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๒๐ เป็นปีที่ ๑๐ ในสมัยกรุงธนบุรี ที่บ้านริมคลองรอบกรุงธนบุรีด้านตะวันออก ซึ่งบัดนี้นับเป็นเขตต์จังหวัดพระนคร ตอนเชิงสะพานช้างโรงสี หน้ากระทรวงมหาดไทยทุกวันนี้ ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) นำนายสิงห์ บุตรชายขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร นายสิงห์ ตั้งใจรับราชการฉลองพระเดชพระคุณด้วยความ

(ค) อุตสาหะพากเพียรสม่ำเสมอ ได้รับพระราชทานยศโดยลำดับจนเป็นจมื่นเสมอใจราช เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๑ แล้ว โปรดให้ย้ายไปรับราชการที่วังหน้า ต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็นพระนายเสมอใจ ในระหว่างที่เป็นพระนายเสมอใจนี้เอง เคยต้องโทษครั้งหนึ่ง เพราะต้องหาว่าพายเรือตัดหน้าฉาน ตามเรื่องมีว่าตอนเช้าวันนั้น เจ้าพนักงานได้จัดเทียบเรือพระที่นั่ง และเรือกระบวนไว้พร้อมแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังมิได้เสด็จลง หมอกกำลังลงจัด พระนายเสมอใจราช (สิงห์) มีธุระผ่านเรือไปทางนั้นในระยะไม่ห่าง เพราะหมอกลงคลุมขาวมัวไปหมด ในที่สุดก็ถูกจับไปลงพระราชอาชญาจำอยู่ที่ทิมในพระราชวังหลวง แต่อาศัยพระอนุเคราะห์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเวลานั้นยังดำรงพระยศเป็น พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร ได้ทรงพระกรุณาช่วยให้พ้นโทษโดยเร็ว เมื่อพระนายเสมอใจราช (สิงห์) พ้นโทษแล้ว ได้รับราชการในตำแหน่งเดิมอีก ต่อมาได้รับพระราชทานบันดาศักดิ์เป็นพระยาเกษตรรักษา ว่าการกรมนาฝ่ายพระราชวังบวร พระยาเกษตรรักษา (สิงห์) เป็นผู้มีนิสสัยขมักเขม้นทั้งในทางราชการ และในการทางบ้าน เมื่อว่างจากราชการก็ดำริการค้าขาย พยายามต่อสำเภาแต่งออกไปค้าขายยังเมืองจีน สิ่งที่ขายได้ผลดีมากก็คือเศษเหล็ก จัดหาซื้อส่งไปขายเป็นจำนวนมาก

(ฆ) สถานที่ตั้งต่อสำเภา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอู่ตะเภา ก็คือที่บริเวณวัดตึกทุกวันนี้ การค้าได้กำไรดี ทางราชการก็เจริญดีเรื่อยมาจนต้องโทษเป็นครั้งที่ ๒ ราชการสำคัญของพระยาเกษตรรักษา (สิงห์) ที่ต้องปฏิบัติในระหว่างนี้ก็คือการนา ได้ออกไปควบคุมการทำนาหลวงอยู่เนือง ๆ ในที่สุดต้องหาว่าไปตั้งค่ายคูอย่างทำศึก และประกอบกับการค้าขายเศษเหล็กเป็นส่วนตัวอยู่ด้วย น่าระแวงว่าจะสะ สมเหล็กทำอาวุธบ้างกระมัง จึงถูกนำตัวมาจำไว้ในพระบรมมหา ราชวัง แต่ก็ได้อาศัยพระบาร มีพระบาทสมเด็จพระนั่งเล้าเจ้าอยู่หัวอีกเป็นครั้งที่ ๒ เหมือนกัน ซึ่งเวลานั้นยังเป็นรัชกาลที่ ๒ พระองค์อยู่ในฐานะเป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ และทรงบัญชาราชการสำคัญหลายอย่าง ได้ทรงอนุเคราะห์พระยาเกษตรรักษา (สิงห์) แม้จะต้องโทษถูกจำอยู่ ก็พอผ่อนหนักเป็นเบาตลอดมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๒ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชย์แล้ว ทรงพระกรุณาให้พระยาเกษตรรักษา (สิงห์) พ้นโทษ และต่อมาโปรดให้มีบันดาศักดิ์เป็นพระยาราชสุภาวดี ตั้งแต่นั้นสืบมาชีวิตของพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) ก็เริ่มเจริญรุ่งเรืองขึ้นในกิจการสำคัญของชาติ จนปรากฏเกียรติคุณประจักษ์อยู่ในพระราชพงศาวดาร เป็นต้น ถึง พ.ศ. ๒๓๖๙ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๓ พระเจ้าอนุวงศ์

(ง) นครเวียงจันท์คิดการกบฎ ยกกองทัพจู่โจมเข้ามายึดนครราชสีมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปทางสระบุรี แล้วโปรดให้กองทัพยกไปทางเมืองปราจินบุรี เพื่อรุกเข้าทางช่องเรือแตกอีก ๔ ทัพ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ เป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) เป็นแม่ทัพหน้า พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) เดินทัพไปเมืองสุวรรณภูมิ พบกองทัพเจ้าโถง นัดดาพระเจ้าอนุวงศ์ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองพิมาย ก็ยกเข้าตีถึงตลุมบอน ทัพเจ้าโถงรับไม่หยุด แตกกระจัดกระจายไปสิ้น เมื่อได้ชัยชะนะแล้ว พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ก็เคลื่อนกองทัพไปตั้งอยู่เมืองขอนแก่น แล้วยกไปตีค่ายเวียงคุกที่เมืองยโสธรแตกอีก จึงหยุดพักพลอยู่ ณ เมืองยโสธร เพื่อสะสมกำลังสำหรับยกไปปราบนครจำปาศักดิ์ต่อไป ฝ่ายเจ้าราชบุตรซึ่งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ตั้งค่ายอยู่เมืองศรีสะเกษ ได้ทราบข่าวว่าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) จะยกกองทัพตัดตรงไปนครจำปาศักดิ์ ก็รีบยกมาตั้งรับที่เมืองอุบลราชธานี และให้เจ้าปานกับเจ้าสุวรรณอนุชาทั้งสอง ยกทัพมาตั้งยันทัพพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) อยู่ที่แดนเมืองยโสธร พระยาราชสุภาวดี(สิงห์) ก็เคลื่อนกองทัพออกตีทัพปานกับเจ้าสุวรรณแตก แล้วตามไปตีทัพเจ้าราชบุตร ณ เมืองอุบลราชธานี ฝ่ายไทยชาวเมืองอุบลราชธานีที่ถูกเกณฑ์เข้ากองทัพเจ้าราชบุตร เมื่อทราบว่ากองทัพพระยาราชสุภาวดี

(จ) (สิงห์) ยกไปถึง ก็พร้อมกันก่อการกำเริบฆ่าฟันพวกเจ้าราชบุตรล้มตายเป็นอลหม่านขึ้นในค่าย กองทัพพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ก็ตีโอบเข้ามา เจ้าราชบุตรเห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ ก็พาพรรคพวกหนีไปนครจำปาศักดิ์ พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) รีบยกทัพตามติดไปไม่ลดละ ฝ่ายครัวเมืองต่าง ๆ ที่เจ้าราชบุตรกวาดไปรวมไว้ในนครจำปาศักดิ์ ทราบข่าวว่ากองทัพเจ้าราชบุตรเสียทีจึงพร้อมกันก่อการกำเริบ เอาไฟจุดเผาบ้านเรือนในนครจำปาศักดิ์ไหม้ขึ้นเป็นอันมาก เจ้าราชบุตรเห็นดังนั้นจะเข้าตีเมืองมิได้ก็รีบหนีข้ามฟากแม่น้ำโขงไปทางตะวันออก พระยาราชสุภาวดี(สิงห์) ก็ยกกองทัพเข้าตั้งมั่นในนครจำปาศักดิ์ และให้กองตระเวนออกสืบจับพวกเจ้าราชบุตร ได้ตัวเจ้าราชบุตร, เจ้าปาน, เจ้าสุวรรณ มาจำไว้ แล้วเดินทัพมาตั้งอยู่เมืองนครพนม พอทราบว่าทัพหลวงกรมพระราชวังบวร จะเสด็จกลับกรุงเทพ ฯ จึงรีบเดินทางมาเฝ้ากราบทูลชี้แจงข้อราชการ กรมพระราชวังบวรก็โปรดให้พระยาราชสุภาวดี(สิงห์) อยู่จัดการบ้านเมืองทางภาคอิสานจนกว่าจะสงบเรียบร้อย ครั้นกรมพระราชวังบวรเสด็จกลับถึงกรุงเทพ ฯ ก็กราบทูลความดีความชอบของพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ที่เข้มแข็งในการสงคราม สามารถปราบปรามพวกกบฏให้พ่ายแพ้ลงได้โดยรวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้มีตราขึ้น ให้เลื่อนบันดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดี ว่า


(ฉ) ที่สมุหนายก ใน พ.ศ. ๒๓๗๐ เวลานั้นมีอายุย่างขึ้นปีที่ ๕๑ เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) จัดการบ้านเมืองตามท้องถิ่น ให้สงบลงตามสมควรแล้ว ให้เพี้ยเมืองจันท์อยู่รักษานครเวียงจันท์ พร้อมด้วยท้าวเพี้ยกรมการ จึงพาเจ้าอุปราชลงมาเฝ้าทูลละออง ฯ ณ กรุงเทพ ฯ ในปลายปีนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบางให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ผู้ว่าที่สมุหนายก เชิญไปสร้างพระวิหารประดิษฐานไว้ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส รุ่นขึ้นปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๑ โปรดให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ผู้ว่าที่สมุหนายก ยกทัพไปนครเวียงจันท์อีก เมื่อไปถึงหนองบัวลำภู เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ก็แต่งให้พระยาราชรองเมือง พระยาพิชัยสงคราม พระยาทุกขราษฎร์เมืองนครราชสีมา หลวงสุเรนทรวิชิต เป็นกองหน้าคุมทหาร ๕๐๐ คน ยกล่วงหน้าขึ้นไปตั้งอยู่พันพร้าวก่อน ครั้นกองหน้าไปถึงพันพร้าว ได้ทราบข่าวว่าท้าวเพียกรมการ ที่ให้อยู่รักษานครเวียงจันท์ มีกิริยาอาการผิดปกติอยู่บ้าง พระยาราชรองเมืองไม่ไว้ใจแก่เหตุการณ์ จึงจัดให้พระยาพิชัยสงคราม พระยาทุกขราษฎร์ หลวงสุเรนทรวิชิต แบ่งกำลัง ๓๐๐ คน ยกข้ามไปตั้งฟังราชการอยู่ที่นครเวียงจันท์ ฝ่ายพระเจ้าอนุวงศ์ หนีไปพึ่งญวน ๆ อุดหนุนและนำมาส่งยังนครเวียงจันท์ พร้อมทั้งมีกำลังพลในอาณาเขตต์เวียงจันท์

(ช) ประมาณ ๑๐๐๐ คน พวกญวนราว ๘๐ คนเศษ พระเจ้าอนุวงศ์ทำเป็นทียอมสารภาพรับผิด แสดงไมตรีจิตต์กับนายทัพนายกองไทยเป็นอย่างดี จนนายทัพนายกองไทยหลงเชื่อว่าพระเจ้าอนุวงศ์จะไม่เป็นปรปักษ์อีก พอรุ่งขึ้นเพลาบ่าย ๔ โมง พระเจ้าอนุวงศ์ก็ยกพวกเข้าล้อมยิงกองพระยาพิชัยสงคราม พระยาทุกขราษฎร์ หลวงสุรเนทรวิชิต ซึ่งตายใจมิได้ระมัดระวังคุมเชิงไว้ พลทหารอยู่บ้างไม่อยู่บ้าง ในที่สุดก็แตกเสียทีแก่พระเจ้าอนุวงศ์ ทั้งนายทั้งพลถูกฆ่าตายเกือบหมด ที่พยายามหนีลงน้ำจะว่ายข้ามฟากมา ก็ถูกพวกพระเจ้าอนุวงศ์ลงเรือตามฆ่าฟันย่อยยับ ได้เหลือรอดตายว่ายน้ำหนีมาได้ คือหมื่นรักษานาเวศ กับพลทหารเพียง ๔๐ คนเศษ เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ได้ทราบว่าญวนพาพระเจ้าอนุวงศ์กลับมานครเวียงจันท์ ก็รีบเดินทัพไปพอถึงค่ายพันพร้าวบ่าย ๓ โมง ก่อนหน้าที่พระเจ้าอนุวงศ์ จะลงมือล้อมยิงกองพระยาพิชัยสงครามเพียงชั่วโมงเดียว เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) เห็นชาวเวียงจันท์กลุ้มรุมฆ่าฟันที่หาดทรายหน้าเมือง ก็เข้าใจว่ากองพระยาพิชัยสงครามคงเป็นอันตราย เป็นเวลาจวนตัวจะรีบยกกำลังข้ามไปช่วย เรือก็ไม่มี ทั้งกำลังคนก็ยังน้อย พอเวลาค่ำหมื่นรักษานาเวศ มารายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนเย็น เจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) จะตั้งรับอยู่ที่ค่ายพันพร้าวทหารก็น้อยตัว จะถอยมานครราชสีมาก็ไกลนัก พระยาเชียงสา

(ซ) เรียนว่า เมืองยโสธรผู้คนข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ รับอาษาจะนำเดินทางลัด ก็ตกลงออกเดินทางจากค่ายพันพร้าวในคืนวันนั้น มุ่งตรงไปยังเมืองยโสธรทันที ฝ่ายพระเจ้าอนุวงศ์ เมื่อสังหารกองพระยาพิชัยสงครามวอดวายแล้ว ทราบว่าเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ยกไปตั้งอยู่ค่ายพันพร้าว ก็จัดให้เจ้าราชวงศ์รีบยกกองทัพข้ามฟากมาล้อมจับเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ครั้นเจ้าราชวงศ์ยกมาและทราบว่าเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ยกไปเมืองยโสธรเสียแล้ว เจ้าราชวงศ์เวียงจันท์ ก็เร่งกองทัพออกตามไปโดยเร็ว วันรุ่งขึ้นพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ได้ทราบข่าวว่าเจ้าราชวงศ์ เวียงจันท์ ยกกองทัพตามมา จึงรีบจัดกองทัพยกไปต่อสู้ กองทัพทั้งสองปะทะกันที่บกหวาน ต่างบุกบั่นสู้รบถึงตะลุมบอน บังเอิญม้าของเจ้าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) เหยียบคันนาแพลงล้มลงทับขาเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ทันใดนั้นพอดีเจ้าราชวงศ์เวียงจันท์ขับม้าสะอึกเข้าไปถึง จึงเอาหากแทงปักตรงกลางตัวเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ๆ รู้ท่วงทีอยู่ก่อนแล้ว จึงเบ่งพุงลวงตาเจ้าราชวงศ์เวียงจันท์ เมื่อหอกพุ่งปร๊าด ลงไป เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) แขม่วท้องและเอี้ยวหลบปลายหอกแทงเฉี่ยวข้าง เสียดผิวท้องถูกผ้าสมรดทะลุ หอกก็ปักตรึงอยู่กับดิน เจ้าราชวงศ์ เวียงจันท์จะดึงหอกขึ้นแทงซ้ำแต่เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) จับคันหอกยึดไว้ แล้วพยา-

(ฌ) ยามชักมีดหมอประจำตัว จะแทงสวนขึ้นไป เจ้าราชวงศ์ เวียงจันท์ ดึงหอกไม่ได้สมประสงค์จึงชักดาบที่คอม้าออก เงื้อจะจ้วงฟันเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ฝ่ายหลวงพิพิธ (ม่วง) น้องชายเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) เห็นดังนั้น จึงกระโจมเข้ารับดาบเจ้าราชวงศ์ เวียงจันท์ เสียทีถูกเจ้าราชวงศ์ เวียงจันท์ ฟันขาดใจตายทันที ขณะที่เจ้าราชวงศ์ เวียงจันทน์กำลังจ้วงฟันอยู่นั้น เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ชักมีดหมอออกทัน และได้ทีก็แทงสวนขึ้นไป ถูกโคนขาเจ้าราชวงศ์ เวียงจันท์ เป็นแผลลึกและตัวเจ้าราชวงศ์ เวียงจันท์ ก็ผงะตกจากหลังม้าเลือกสาดแดงฉาน พวกมหาดเล็กเข้าใจว่านายตาย รีบช่วยกันประคองเจ้าราชวงศ์ เวียงจันท์ จัดการหามหนีไปโดยเร็ว ฝ่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ได้จัดการบาดแผลเรียบร้อยแล้ว เร่งทหารให้รีบตามกองทัพเจ้าราชวงศ์ เวียงจันท์ ไปทันที ตามไปจนถึงฝั่งแม่น้ำโขงก็ไม่ทัน จึงเดินทางไปตั้งพักอยู่ที่พันพร้าว การที่เจ้าราชวงศ์ต้องถอยหนีคราวนั้น เป็นผลทำให้ชาวเวียงจันท์เข็ดขยาดกองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) เป็นอันมาก แม้จนพระเจ้าอนุวงศ์ก็ไม่คิดที่จะต่อสู้อีก พระเจ้าอนุวงศ์รีบจัดแจงพากันยกหนีไปจากนครเวียงจันท์ในวันรุ่งขึ้น กองทัพเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) เดินไปถึงเมืองพัน พร้าว ภายหลังเมื่อพระเจ้าอนุวงศ์หนีไปแล้ววันหนึ่ง จึงแบ่ง

(ญ) กำลังให้ยกไปตามจับโดยเร็วที่สุด จับได้เจ้านายบุตรหลานพระเจ้าอนุวงศ์มาหลายองค์ ทราบว่าพระเจ้าอนุวงศ์หนีไปทางเมืองพวน ก็เร่งให้กองทหารรีบตามไปจับให้ได้ ถึงเดือนธันวาคม เมืองพวนช่วยกับเมืองหลวงพระบาง พยายามตามจับพระเจ้าอนุวงศ์ส่งมาให้ จับได้ที่น้ำไฮเชิงเขาไก่ แขวงเมืองพวน เจ้า พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) จึงจัดส่งลงมากรุงเทพ ฯ ทันที แล้วเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) อยู่จัดราชการจนเรียบร้อยตลอดเห็นว่าเป็นที่วางใจได้ ก็กลับลงมาเฝ้ากราบทูลข้อราชการใน พ.ศ.๒๓๗๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระ กรุณาสถาปนาเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ขึ้นเป็นเจ้าพระยา บดินทรเดชา ที่สมุหนายก เวลานั้นท่านมีอายุย่างขึ้นปีที่ ๕๓ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) สมุหานายก รับราชการฉลองพระเดชพระคุณอยู่ในพระนครเพียง ๒ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๗๕ ก็โปรดให้ออกไปราชการที่เมืองพัตบอง รุ่งขึ้นปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖ ไทยจำเป็นต้องรบกับญวน (ดังปรากฏเหตุการณ์ตามที่กรมศิลปากร ทำบันทึกประจำปีลงไว้ให้ทราบ มีแจ้งอยู่ในจดหมายเหตุต่อไปนี้) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตั้งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์) สมุหนายก เป็นแม่ทัพใหญ่ ผู้สำเร็จราชการ ยกไปรบกับญวน ขับเคี่ยวกันมาตั้งแต่ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๗๖ ในระหว่างที่ไปบัญชาการรบอยู่ ณ เมืองพัตบอง พระยาศรี

(ฎ) สหเทพ (เพ็ง ศรีเพ็ญ) แต่งให้หมื่นจงอักษร คุมเอาของกิน ๕๐ ชะลอมส่งไปให้ เป็นการแสดงไมตรีจิตต์ตามฉันท์ผู้น้อยกับผู้ใหญ่ ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) นอกจากตอบขอบใจตามธรรมเนียมแล้ว ยังได้แสดงความรู้สึกอันจริงใจให้พระยาศรีสหเทพ (เพ็ญ ศรีเพ็ญ) ทราบอีกว่า การของกินนั้นอย่าให้ส่งเสียเป็นธุระอีกเลย ถึงจะบรรทุกเกวียนไปเท่าใดก็หา พอไม่ ด้วยนายทัพนายกองมาก ต้องเจือจานไปทุกแห่ง เป็นนิสสัยไปราชการทัพ ก็ต้องอดอยากเป็นธรรมดา ให้พระยาศรีสหเทพตั้งใจแต่ที่ตรงราชการ กับให้บอกกระแสพระราชดำริออกไปให้รู้เนือง ๆ จะได้ฉลองพระเดชพระคุณให้ถูกกับพระราชดำริ (ดูจดหมายเหตุในเล่มนี้ หน้า ๔๗) บางปีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ได้กลับเข้ามาเฝ้ากราบทูลข้อราชการด้วยตนเองบ้าง และในระหว่างที่ยังไม่ได้ออกไปบัญชาการทัพที่เมืองพัตบอง บางคราวก็ต้องไปทำการสำรวจกำลังพลตามท้องถิ่น เช่น ภาคอิสาน จะได้ทราบจำนวนที่ใกล้ความจริง เป็นประโยชน์ในราชการต่อไป เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ต้องไปตรากตรำในการสู้รบกับญวน เพื่อป้องกันเขมรมิให้ถูกญวนกลืนเสีย ตั้งแต่ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖ จนถึงปีวอก พ.ศ.๒๓๙๑ ในที่สุดญวนขอผูกไมตรีอย่างเดิม ฝ่ายไทยเห็นว่าได้ช่วยเขมรให้กลับมีราชวงศ์ปกครอง และมีอำนาจในการรักษาประเทศเขมรอย่าง

(ฏ) แต่ก่อน ไม่ต้องอยู่ใต้บังคับบัญชาญวน อยู่ในลักษณะเป็นเมืองขึ้นของไทย ฟังพระราชกำหนดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร เป็นแต่ถึงกำหนด ๓ ปีนำบรรณาการไปออกแก่ญวนครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบตามคำกราบทูลแนะนำ ของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) จึงโปรดให้รับเป็นไมตรีกับญวน และให้มีตราถึงเจ้า พระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ปรารภข้อราชการตามสมควร แล้วแจ้งความรู้สึกส่วนพระองค์ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ทราบว่า ทรงพระราชดำริราชการเมืองเขมร เข้าพระทัยว่าทำนองญวนก็จะเหมือนกันกับทำนองแต่ก่อน ที่ไหนจะให้มา กลับให้มาสมคิดสมหมายง่าย ๆ พระราชดำริผิดไปแล้ว เจ้าพระยา บดินทรเดชา (สิงห์) คิดราชการถูก อุตส่าห์พากเพียรจนสำเร็จได้ตามความปรารถนา "ออกไปลำบากตรากตรำ คิดราชการจะเอาเมืองเขมรคืน ตั้งแต่ปีมะเส็งเบญจศก ช้านานถึง ๑๕ ปี อุปมาเหมือนหนึ่งว่ายน้ำอยู่กลางพระมหาสมุทร ไม่เห็นเกาะไม่เห็นฝั่ง พึ่งมาได้ขอนไม้น้อยลอยมา ได้เกาะเป็นที่ยึดที่หน่วงว่ายเข้าหาฝั่ง" (ดูตราฉะบับลงวันพุธเดือน ๘ ขึ้น ๔ ค่ำ จ.ศ. ๑๒๐๙) เมื่อได้ จัดการพิธีราชาภิเษกพระองค์ด้วง เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา ตามพระบรมราชโองการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าพระยา บดินทรเดชา (สิงห์) ก็เดินทางกลับคืนมายังประเทศสยาม ณ

(ฐ) วันศุกรที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๑ บังเอิญในระหว่างนั้นเกิดจีนตั้วเหี่ยก่อการกำเริบขึ้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าพระยา บดินทรเดชา (สิงห์) จึงแวะช่วยทำการปราบปรามจนสงบ แล้วเข้ามาเฝ้าทูลละออง ฯ ณ กรุงเทพ ฯ ความอ่อนแอซึ่งมีมากมาแต่ก่อนจนถึงสมัยนั้น ได้ทำความหนักใจให้แก่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นอันมาก จนท่านต้องใช้ความเฉียบขาดเป็นหลักในการบังคับบัญชา จึงได้ผลคือทำการปราบกบฏพระเจ้าอนุวงศ์ นครเวียงจันท์ และช่วยป้องกันเขมรจากญวน สำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นำเกียรติคุณมาสู่ทหารไทยอีกครั้งหนึ่ง แต่ถึงกระนั้นก็ยังน่าเสียใจอยู่บ้างว่า ท่านต้องใช้เวลานานเกินสมควร และขาดผลสำคัญที่น่าจะได้ยิ่งกว่าที่ได้แล้วอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะความอ่อนแอของนายทัพนายกอง เป็นเหตุให้ต้องยืดเวลาเยิ่นเย้อออกไป และตัดทอนความไพบูลย์ของผลสำเร็จลงเสียไม่น้อยนั่นเอง เนื่องจากเหตุที่กล่าวมาในลักษณะตรงข้าม เป็นอันพิสูจน์ให้เห็นความมั่นคงของบ้านเมืองได้ประการหนึ่งว่า สยามจะยั่งยืนในเอกราชได้ ก็ต้องกำจัดมูลรากของความอ่อนแอให้หมดไปเสีย นอกจากทำประโยชน์อันใหญ่ยิ่งแก่บ้านเมืองแล้ว เจ้า พระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ยังได้พยายามทะนุบำรุงพระศาสนา เช่น บุณรณปฏิสังขรณ์หรือสร้างวัด แม้ในระหว่างไป

(ฑ) ราชการทัพก็ยังเป็นห่วงถึง บางคราวได้ขอร้องให้พระยาสหเทพ (เพ็ง ศรีเพ็ญ) ช่วยเป็นธุระให้บ้าง ดังปรากฎหลักฐานอยู่ในจดหมายเหตุเล่มนี้แล้ว รวมวัดที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ ) ปฏิสังขรณ์และสร้างใหม่ คือ (๑) ปฏิสังขรณ์วัดจักรวรรดิราชาวาส ( เดิมเรียกวัดสามปลื้ม ) และสร้างพระปรางค์กับวิหารพระบางที่เชิญมาจากนครเวียงจันท์ (พระบางนั้นเดิมอยู่ที่นครเวียงจันท์ ครั้งกรุงธนบุรีทำสงครามกับนครเวียงจันท์มีชัยชะนะ จึงเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้มีการสมโภชพระพุทธรูปสำคัญ ๒ พระองค์นั้นพร้อมกับฉลองชัยชะนะของบ้านเมือง เป็นงานมโหฬารยิ่ง เมื่อวิศาขบูชา ตรงกับวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๒ ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์นี้พระเจ้านันทเสน นครเวียงจันท์ ขอพระราชทานพระบางกลับคืนไปนครเวียงจันท์ ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อเสร็จการปราบกบฎพระเจ้าอนุวงศ์เวียงจันท์แล้วจึงเชิญพระบางกลับลงมาอีก พระบาทสม เด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) สร้างวิหารประดิษฐานไว้ณวัดจักรวรรดิราชาวาส ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระราชทานกลับไปประดิษฐานที่นครหลวงพระบาง แล้วโปรดให้เชิญพระนาคจากหอพระในพระบรมมหาราชวัง ไปประ ดิษฐานไว้ในวิหารนั้นแทนพระบางวัดจักรวรรดิสืบมาจนทุกวันนี้ )

(ฒ) (๒) ปฏิสังขรณ์วัดพรหมสุรินทร์ จังหวัดพระนคร ในรัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามใหม่ว่าวัดปริณายก และทรงปฏิสังขรณ์ต่อมา (๓) ปฏิสังขรณ์วัดช่างทอง ซึ่งเป็นวัดที่ท่านผู้หญิงฟัก ผู้เป็นมารดาได้สร้างไว้ อยู่ที่เกาะเรียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (๔) ปฏิสังขรณ์วัดวรนายกรังสรรค์ ( เขาดิน ) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (๕) สร้างวัดเทพลิ้นลา ในคลองบางกะปิ ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดตึกบ้าง วัดตึกคลองตันบ้าง ได้ยินว่าวัดนี้สร้างในระหว่างไปทำสงครามขับเคี่ยวกับญวน เมื่อต้องขุดคลองบางกะปิและทำนาไปตลอดทางเพื่อสะสมสะเบียงกองทัพ และเพื่อความสมบูรณ์ของบ้านเมืองในเวลาต่อมาด้วย จึงถือโอกาสให้ทหารในกองทัพได้ร่วมกันสร้างวัดเป็นที่ยึดเหนี่ยวในการทำศึก และปลูกกำลังใจในการต่อสู้ เพื่อรักษาพระศาสนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นอีก (๖) ยกที่บ้านถวายเป็นวัด แล้วสร้างโบสถ์วิหารการเปรียญเสนาสนะพร้อม มีชื่อว่าวัดไชยชะนะสงคราม แต่ชาวบ้านมักเรียกกันว่าวัดตึกจนทุกวันนี้ อยู่ตรงข้ามกับเวิ้งนครเขษมใกล้สี่แยกวัดตึก จังหวัดพระนคร นอกจากนี้ยังสร้างวัดที่เมืองพัตบอง และเมืองอุดงมีชัย เป็นต้น อีกทั้งได้ช่วยทะนุบำรุงการพระศาสนาในประเทศเขมร ได้สืบต่อศาสนวงศ์มาจนสมัยปัจจุบันนี้

(ณ) ปีที่กลับจากประเทศเขมรนั้น เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) มีอายุย่างขึ้น ๗๒ แต่ก็ยังเข้มแข็งสามารถรับราชการฉลองพระเดชพระคุณต่อมาถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๙๒ ก็ถึงแก่อสัญญกรรมด้วยโรคปัจจุบัน (อหิวาตกะโรค ซึ่งบังเกิดชุกชุมในปีนั้น) รุ่งขึ้นปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓ พระราชทานเพลิงศพวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม ที่เมรุผ้าขาว ณ วัดสระเกษ (แต่ในพงศาวดารว่าเป็นวันอังคารที่ ๒๘ พฤษภาคม ) รูปเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ซึ่งปรากฏในหนังสือ นี้ ถ่ายมาจากรูปหล่อซึ่งมีอยู่ในเก๋งจีน ข้างพระปรางค์วัดจักรวรรดิ ราชาวาส (วัดสามปลื้ม) รูปถ่ายไม่มี ในสมัยนั้นน่าจะยังไม่มีกล้องถ่ายรูปในเมืองไทย หรืออีกอย่างหนึ่งท่านผู้ใหญ่ในครั้งโบราณมักถือกันว่า ถ้าเขียนหรือปั้นรูปไว้ในขณะที่มีชีวิตอยู่จะทำให้มีอายุสั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง และรูปที่กล่าวนี้แต่เดิมก็ไม่มีในเมืองไทย แต่ไปถ่ายอย่างมาจากเมืองเขมรอีกต่อหนึ่ง แล้วจัดการหล่อขึ้น มีเรื่องเล่ากันมาว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๓ กรุงเทพ ฯ เมื่อองค์หริรักษ์ (นักองค์ด้วง) พระเจ้ากรุงกัมพูชาได้ทราบว่า เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์) ถึงอสัญญกรรมแล้ว องค์หริรักษ์ระลึกถึงบุญคุณ ที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา ได้เคยช่วยเหลือปราบปรามหมู่ปัจจามิตร์ทั้งช่วยจัดราชการเมืองเขมรให้ราบคาบเรียบร้อยตลอดมา จึงสั่งสร้างเก๋งขึ้นที่หน้าค่ายใหญ่ ใกล้วัดโพธารามในเมืองอุดงมีชัย

(ด) (เมืองหลวงเก่าเขมร) แล้วให้พระภิกษุสุกชาวเขมร ช่างปั้นฝีมือเยี่ยมในยุคนั้น ปั้นรูปเจ้าพระยาบดินทร เดชา ขึ้นไว้เป็นอนุสสรณีด้วยปูนเพ็ชร และกอปรการกุศลมีสดับปกรณ์เป็นต้นปีละครั้งที่เก๋งนี้ ชาวเขมรเรียกว่า "รูปองค์บดินทร" ตลอดมาจนบัดนี้รูปนี้สร้างขึ้นในราวปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๒ การถ่ายอย่างรูปเจ้าพระยาบดินทรเดชามาหล่อไว้ ณ วัดจักร วรรดิราชาวาสนี้ เนื่องด้วยพระพุฒาจารย์(มา) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อยังเป็นพระมงคลทิพย์มุนี ระลึกถึงอุปการคุณที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา ตลอดเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) บิดาเจ้าพระยาบดินทรเดชา ได้บุรณปฏิสังขรณ์ให้ความเจริญเรียบร้อยแก่วัดจักรวรรดิราชาวาส มาโดยเอนกประการ นับว่าเป็นอนุสาวรีสำคัญที่วัดจักรวรรดิราชาวาส ระลึกถึงคุณความดีของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ซึ่งมีต่อบ้านเมืองและพระศาสนา แล้วร่วมใจกันสร้างขึ้นไว้เป็นทำนองปฏิถารคุณโดยปริยาย ซึ่งขณะที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาถึงอสัญญกรรม พระพุฒจารย์ยังเป็นสามเณรอยู่ที่วัดจักรวรรดิราชาวาสนี้ ทันได้เห็นกิจการบุรณะของท่านมาด้วยดีทุกอย่าง จึงได้ให้คนไปวาดเขียนถ่ายอย่างรูปปั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่เมืองเขมร มาให้นายเล็กช่างหล่อจัดการหล่อขึ้น ขณะที่ปั้นหุ่นรูปได้อาศัยช่างเขียน และท่านทองภรรยาเจ้าพระยายมราช(แก้ว) ซึ่งมีอายุทันได้เห็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา ช่วยกันติชมแก้ไขจนเห็นว่าเหมือนเจ้าพระยาบดินทรเดชา

(ต) แล้ว จึงได้จัดการหล่อขึ้น ประจวบกับพระพุฒาจารย์มีอายุครบ ๕ รอบ (๖๐ ปี) จึงได้รวมทำพิธีฉลองอายุในคราวเดียวกัน รูปนี้หล่อขึ้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๑ กับ พ.ศ. ๒๔๔๗ เหตุประจวบอีกอย่างหนึ่งก็คือขุนวิจิตรจักราวาส (คำ) ไวยาวัจจกรวัดจักรวรรดิราชาวาส ขออนุญาตพระพุฒาจารย์สร้างเกซิ้นนามเจ้าพระยาบดินทรเดชา ไว้เป็นที่ระลึกสักการะด้วยอักษรจีน อ่านได้ความว่าเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) สลักลงในแผ่นหินอ่อน และสร้างเก๋งจีนข้างพระปรางค์ใหญ่ด้านตะวันออก ซึ่งเดิมเคยเป็นที่วางดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระปรางค์ ฝังศิลาจารึกเกซิ้นไว้กับผนังด้านหลังภายในเก๋ง แล้วเลยประดิษฐานรูปหล่อเจ้าพระยาบดินทรเดชารวม ไว้ในเก๋งนั้นด้วยทีเดียว เป็นที่ระลึกสักการะของผู้เคารพนับถือตลอดมาจนทุกวันนี้ เมื่อจะพิมพ์หนังสือจดหมายเหตุ เกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ ๓ ตอนที่ ๑ ครั้งนี้ นายอรุณ สิงหเสนี ได้จัดให้ช่างเขียนรูปยืนสรวมเสื้อแม่ทัพสมัยโบราณ เป็นที่ระลึกขึ้นอีกรูปหนึ่ง ซึ่งลำดับไว้ข้างหน้าประวัตินี้แล้ว.




ประวัติสังเขป ของเสวกเอก พระยานครราชเสนี (สหัด สิงหเสนี )

พระยานครราชเสนี เป็นบุตรชายคนใหญ่ของนายพลตรีพระยาสิงหเสนี ศรีสยาเมนทรสวามิภักดิ์ (สอาด สิงหเสนี) และคุณหญิงหงษ์ สิงหเสนี เกิด ณ ตำบลหัวลำโพง อำเภอปทุม-วัน จังหวัดพระนคร เมื่อวันเสาร์เดือน ๑๒ แรม ๗ ค่ำปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๒๕ เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาวิชาการที่ โรงเรียนวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส โรงเรียนวัดเทพศิรินทราวาส โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนราช-วิทยาลัย ครั้นมีความรู้หนังสือไทยและหนังสืออังกฤษพอสมควรแล้ว ได้ออกไปศึกษาเพิ่มเติมในประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ เริ่มต้นโรงเรียนปรีแปเรตตอรีสกูล ณ เคนชิงตัน และลิงคนซอินลอนดอน สอบวิชากฎหมายได้ชั้นเนติบัณฑิตอังกฤษ กลับจากประเทศอังกฤษ พ.ศ. ๒๔๕๐ มาศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ภายหลังพระราชทานนามใหม่ว่าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง) เมื่อเสร็จการเรียนในตอนนี้แล้ว ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษในรัชกาลที่ ๕ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๐



ข พ.ศ. ๒๔๕๑ พระยานครราชเสนี ได้อุปสมบทและจำพรรษาอยู่ ณ วัดโสมนัสวิหาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์เป็นพระอุปัชฌายะ สมเด็จพระพุฒธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อดำรงสมณศักดิ์ เป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ กับพระธรรมปาโมกข์ (ถม) วัดมกุฎกษัตริยาราม เป็นกรรมวาจาจารย์ อยู่ในสมณเพศพรรษาหนึ่ง จึงลาสิกขาบทออกมา รับราชการอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ และได้รับพระราชทานเงินเดือนโดยลำดับ ดังนี้ (๑) กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๐ เป็นผู้ช่วยกองล่าม และฝึกหัดราชการกองบัญชาการกระทรวงยุตติธรรม เงินเดือน ๑๒๐ บาท (๒) กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นผู้พิพากษา ในกองข้าหลวงพิเศษ และไปช่วยพิจารณาอรรถคดี ณ ศาลจังหวัดเพ็ชรบุรี เงินเดือน ๒๔๐ บาท (๓) พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นผู้พิพากษาโปริสภาที่ ๒ (๔) มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๑ รั้งตำแหน่งหัวหน้าศาลจังหวัดเพ็ชรบุรี (๕) พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ไปช่วยศาลมณฑลนครชัยศรี (๖) สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ไปช่วยศาลจังหวัดนนทบุรี (๗) พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ เป็นผู้พิพากษาศาล



ค มณฑลอิสาณ เงินเดือนเพิ่มขึ้น เป็นเดือนละ ๓๐๐ บาท (๘) พ.ศ. ๒๔๕๔ เงินเดือนเพิ่มขึ้นอิกเป็นเดือนละ ๓๒๐ บาท (๙) พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔เป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศ (๑๐) พ.ศ. ๒๔๕๕ เงินเดือนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ ๓๔๐ บาท (๑๑) กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖ ย้ายมารับตำแหน่งตุลาการศาลรับสั่งกระทรวงวัง (๑๒) เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ เงินเดือนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ ๔๐๐ บาท (๑๓) เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๙ เงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกเป็นเดือนละ ๔๕๐ บาท (๑๔) เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ เงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกเป็นเดือนละ ๖๐๐ บาท (๑๕) ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ย้ายมารับตำแหน่งเจ้ากรมกรมการเมือง กระทรวงมหาดไทย (๑๖) ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ย้ายไปรับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา (๑๗) มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ย้ายไปรับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต คงรับพระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๖๐๐ บาท


ฆ (๑๘) พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ออกจากราชการ ส่วนราชการแผนกเสือป่า ก็ได้ฉลองพระเดชพระคุณดังนี้ (๑) พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นสมาชิกเสือป่า กองราบหลวงรักษาพระองค์ (๒) เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานยศเป็นนายหมู่โท (๓) กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็นราชองครักษ์เวร (๔) มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เลื่อนยศเป็นนายกองตรีประจำแผนกเสนาธิการเสนาน้อยราบเบา และโปรดให้เป็นครูสอนวิชาพิเศษ คือ ธรรมะระวางประเทศโรงเรียนผู้กำกับลูกเสือด้วย เมื่อมีการซ้อมรบเสือป่า ณ เขตต์มณฑลราชบุรีและนครชัยศรีคราวใด ก็ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินทำการซ้อมรบด้วยทุกคราว (๕) เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔ รับตำแหน่งผู้บังคับการกรมเสือป่านครราชสีมาในกองเสนาตะวันออก จนตลอดสมัยเสือป่า นอกจากราชการแผ่นดิน อันมีหน้าที่ประจำการตามตำแหน่งแล้ว พระยานครราชเสนี ได้มีโอกาศ ปฏิบัติราชการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยใกล้ชิดอยู่เนือง ๆ เพราะทรงรู้จักคุ้นเคยมาแต่ครั้งยังทรงศึกษาวิชาการอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ เช่น เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างดุสิตธานีขึ้นด้วยพระบรมราโชบาย เพื่อให้ข้าราชการตลอดประชาชน รู้เห็น


ง วิธีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยทางอ้อม พระยานครราชเสนีก็ได้มีโอกาสเป็นเจ้าหน้าที่ฉลองพระเดชพระคุณ ในดุสิตธานีนี้ด้วยหลายอย่าง จนตลอดอวสานแห่งการนั้น ยศบันดาศักดิ์ เครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ได้รับพระราชทานโดยลำดับ ดังนี้ (๑) พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ เหรียญรัชมังคลาภิเษกเงิน (๒) พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ยศอำมาตย์ตรี ยศมหาดเล็กชั้นหุ้มแพร บันดาศักดิ์ นายหัสบำเรอ หุ้มแพรพิเศษ (๓) มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เข็มข้าหลวงเดิม (รัชกาลที่ ๖) เหรียญบรมราชาภิเษกเงิน เหรียญราชรุจิเงิน เหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ ๕ (๔) ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (๕) มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕ เหรียญที่ระลึกแสดงตำนานเสือป่า (๖) พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖ เหรียญ ว.มงกุฎ (๗) ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เสมาอักษรพระปรมาภิธัย ว.ป.ร. ทองลงยา (๘) มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ตราเบญจมาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๕ (๙) พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ เลื่อนบันดาศักดิ์เป็นพระ



จ ศรีวิกรมาทิตย์ (๑๐) พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗ เลื่อนยศเป็นเสวกโท (๑๑) เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๘ เลื่อนยศเป็นเสวกเอก (๑๒) มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ตราจตุรถาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๔ (๑๓) มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตราตริตาภรณ์มงกุฏสยามชั้นที่ ๓ (๑๔) มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๑ เข็มอักษรพระปรมาภิธัย ว.ป.ร.ทองลงยาชั้นที่ ๓ (๑๕) เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ เลื่อนบันดาศักดิ์เป็น พระยาราชเสนา (๑๖) พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๒ ตราตติยจุลจอมเกล้าเกล้าวิเศษ โต๊ะทอง กาทอง (๑๗) ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ เปลี่ยนราชทินนาม เป็นพระยานครราชเสนี (๑๘) พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ตราตริตาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๓ (๑๙) พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๙ เหรียญบรมราชภิเษกเงิน (ในรัชกาลที่ ๗) พระยานครราชเสนีได้ทำการสมรสครั้งแรก กับ ถนอม สิงหเสนี บุตรีพระเหมสมาหาร (เพิ่ม สิงหเสนี) เมื่อวัน


ฉ ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๑ มีบุตร์หญิงด้วยกันคนหนึ่ง คือ นัดดา สิงหเสนี คุณหญิงถนอม ขณะนั้นยังเป็นคุณหญิงราชเสนาได้ป่วยลงและถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๓ มาภายหลังพระยานครราชเสนีได้ทำการสมรส กับ เจือ สิงหเสนี บุตรีพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) พระยานครราชเสนี มีบุตรธิดากับภรรยาอื่นอีกคือ ๑. นายสุขเกษม สิงหเสนี ๒. นางอนุสรนนทิกิจ (ประสนีย์) ๓. นางสาวศรี สิงหเสนี พระยานครราชเสนี เป็นผู้มีปสาทะเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอันแท้จริง นอกจากได้อุปสมบทเป็นภิกษุตามศรัทธาแล้ว ยังนิยมในสัมมาปฏิบัติ มีทานบริจาคเป็นต้น แม้สาธารณกุศลอื่น ๆ ก็ได้บำเพ็ญอยู่มิได้ขาด ยังเป็นผู้ตั้งอยู่ในความจงรักภักดีต่อ ชาติ, ศาสนา, มหากษัตริย์, นอกจากนี้ยังมีนิสสัยโอบอ้อมอารี เผื่อแผ่แก่ญาติมิตร์เป็นอย่างดียิ่ง แม้มีผู้เข้ามาขอความอนุเคราะห์ ก็มิได้ละเลย ได้เกื้อกูลอุดหนุนไปตามฐานานุรูปอยู่เนืองนิตย์ เรียกได้ว่าเป็นผู้มีน้ำใจกว้างขวางหาได้ยาก ผู้ที่ได้สมาคมคุ้นเคยกันกับพระยานครราชเสนี ย่อมเป็นพะยานอันดีในเรื่องเช่นนี้ พระยานครราชเสนี (เริ่มป่วยมาตั้งแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๒) ป่วยเป็นโรคเส้นโลหิตในสมองแตก มีอาการ


ช หนักมากกลายเป็นอำมะพาธอย่างแรง แพทย์ผู้สามารถหลายนายได้พยายามรักษาพยาบาลอยู่นาน อาการจึงค่อยทุเลาขึ้นเป็นลำดับ จนพ้นอันตราย นับว่าหายได้ตอน ๑ แต่ก็ทำให้พูดไม่ได้ มือ แขน ขา ซีกข้างขวาพิการเสียไปทั้งแถบ ใช้การไม่ได้ทีเดียว จะลุกเดินก็ต้องมีคนช่วยพยุง แต่อาศัยการรักษาพยาบาลเป็นอันดี ทั้งพระยานครราชเสนีชอบนั่งรถยนต์เที่ยวไปตามถนนเพื่อเปลี่ยนอากาศในเวลาบ่ายเนือง ๆ ด้วย น่าจะเนื่องจากเหตุอันนี้อย่างหนึ่ง เป็นเครื่องช่วยให้มีชีวิตยืนยาวมาจนวันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ แรม ๗ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐ คล้ายวันเกิดทางจันทรคติ ในปีนี้ได้บำเพ็ญกุศลตามที่เคยกระทำมาทุกปี และเพื่อฉลองพระพุทธรูป ซึ่งได้หล่อขึ้นในคราวนี้ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๒ ศอกคืบ ลงรักปิดทอง งามได้ส่วนสัดสมพุทธลักษณะ พระยานครราชเสนีมีความเลื่อมใสศรัทธามาก มีความจำนงอยู่ว่า เมื่อทำการฉลองเสร็จแล้วจะอัญเชิญไปประดิษฐานไว้เป็นพระประธาน ในพระอุโบสถวัดหลวงอำเภอศรีสะเกษ จังหวัดขุขันธ์ ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ยังไม่มีพระประธาน งานพิธีได้เริ่มเมื่อเย็นวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พระสงฆ์ ๗ รูปเจริญพระพุทธมนต์ รุ่งขึ้นเวลา ๗.๐๐ น. วันที่ ๒๕ ถวายอาหารบิณฑบาต พระสงฆ์มาพร้อมกันแล้ว พอจะลงมือจุดธูปเทียนบูชา พระยานครราชเสนีกำลังนั่งพินิจ


ซ พิเคราะห์พระพุทธรูปอยู่ด้วยปสาทะเลื่อมใสอันแรงกล้า ก็พะเอิญป่วยเป็นลม เส้นโลหิตในสมองแตกอีกเป็นครั้งที่ ๒ โดยปัจจุบันทันด่วน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พระสงฆ์, และบรรดาญาติมิตร ที่มาชุมนุมกัน ณ ที่นั้น ได้ช่วยกันพยาบาลแก้ไขจนสุดความสามารถอาการหาคลายไม่ เริ่มป่วยเวลา ๗.๑๕ น. ถึง ๗.๓๐ น. รวมเวลาประมาณ ๑๕ นาฑีเท่านั้น ก็ถึงอนิจจกรรม เหตุวิปโยคอันเกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วนทั้งนี้ ย่อมเป็นที่เศร้าสลดอาลัยแก่ญาติมิตร และผู้ที่คุ้นเคยอย่างยิ่ง การบำเพ็ญกุศลสำหรับวันเกิดก็เลยกลายเป็นบำเพ็ญเมื่อวันมรณะด้วย แต่ก็เป็นการมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ความมรณะของพระยานครราชเสนีได้บังเกิดขึ้นฉะเพาะหน้า พระพุทธรูป พระธรรม พระสงฆ์ โดยพร้อมมูล และในขณะที่มีใจผ่องแผ้ว เต็มไปด้วยความเลื่อมใสศรัทธา อันถือว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญยิ่ง ยากที่จักได้พบเห็น เชื่อว่าพระยานครราชเสนีคงจักได้บรรลุสุคติภูมิโดยแน่แท้ พระยานครราชเสนี ชาตะวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๕ มรณะวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐ อายุครบ ๕๕ ปีบริบูรณ์ (ทางจันทรคติ) ได้รับพระราชทานน้ำอาบศพ และหีบทองลายก้านแย่งเป็นเกียรติยศ


มูลเหตุสงครามไทยกับญวน ในรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์

ไทยกับญวนตอนใต้ มีดินแดนเขมรแซกอยู่ในระหว่างกลางเขมรเป็นแต่ประเทศน้อย ต้องยอมเป็นเมืองออก ส่งบรรณา- การแก่ไทยและญวนทั้งสองฝ่ายมาช้านาน แต่เขมรนับถือไทยยิ่งกว่าญวน เพราะถือศาสนาและมีขนบธรรมเนียมอย่างเดียวกันความยุ่งยากที่เกิดแก่เขมรเนือง ๆ นั้น เนื่องมาแต่เหตุที่พวกเขมรมักประทุษร้าย และรบพุ่งกันเอง ด้วยเรื่องชิงอำนาจกันบ่อย ๆ พวกแพ้มักไปขอกำลังประเทศใหญ่อีกฝ่ายหนึ่งมาป้องกัน เมืองเขมรจึงคล้ายกับสมรภูมิระหว่างไทยกับญวนมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้นถึงสมัยกรุงธนบุรี ไทยช่วยอุปการะให้เขมรสงบราบคาบ และสมเด็จพระรามราชาธิราช เจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีก็มาขึ้นแก่ไทยแต่ฝ่ายเดียว ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ครั้งรัชกาลที่ ๑ ตอนต้นไทยช่วยทนุบำรุงทั้งเขมรและญวน ทางไมตรีระหว่างไทยกับญวนสนิทสนมดีมาก ครั้นตกมาในตอนปลายรัชกาลที่ ๑ นั้นเอง



๒ ญวนมีอำนาจมากขึ้นอย่างเดิม ช่วยทนุบำรุงเขมรร่วมมือกับไทยและได้มาขอเอาเมืองพุทไธมาศของไทย ไปไว้ในอาณาจักรญวนด้วย ไทยก็ผ่อนผันเพื่อเห็นแก่ทางพระราชไมตรี บังเอิญเมื่อเริ่มรัชกาลที่ ๒ ไทยกับพะม่าเกิดรบกันขึ้นอีกมีท้องตราสั่งไปจากกรุงเทพฯ ให้เขมรเกณฑ์กองทัพมาช่วยรบพะม่า พวกขุนนางเขมร ( ซึ่งโดยปกติปราศจากความสามัคคีกันอยู่แล้ว ) เกิดแตกกันเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งชังไทย เห็นว่าไม่ควรทำตามท้องตรา ถ้าไทยเอาผิด ก็ควรไปพึ่งญวน อีกพวกหนึ่งชอบไทย เห็นว่าควรเกณฑ์กองทัพมาช่วยตามท้องตราสมเด็จพระอุทัยราชา ( บางแห่งเรียกว่า สมเด็จพระอุทัยธิราช พระนามเดิมว่า นักองค์จันท์ ) เข้าด้วยพวกชังไทย ให้จับขุนนางที่เป็นหัวหน้าพวกนิยมไทยไปฆ่าเสีย สมเด็จพระมหาอุปโยราช (นักองค์อิ่ม) อนุชาสมเด็จพระอุทัยราชา เป็นหัวหน้าพวกนิยมไทยอยู่ในเวลานั้น ตกในที่คับขันจึงหนีเข้ามาในกรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดให้เจ้าพระยายมราช ยกกองทัพออกไปเมืองเขมร สมเด็จพระอุทัยราชาก็หนีลงไปพึ่งญวนที่เมืองไซ่ง่อน แต่นักองค์ด้วง ซึ่งเป็นอนุชาองค์เล็กของสมเด็จพระอุทัยราชา มาเข้ากับไทยเมื่อเกิดเหตุขึ้นครั้งนั้น พระเจ้าเวียดนามยาลองเห็นได้ช่องก็แต่งราชทูตให้เชิญพระราชสารเข้ามายังกรุงเทพ ฯ ในพระราชสาร ใช้ถ้อยคำอ่อนหวานเป็นทางไมตรี แต่ส่วนข้อความนั้นอ้างว่า

๓ เพราะเมืองเขมรเคยพึ่งทั้งไทยและญวนมาแต่ก่อน พระเจ้ากรุงสยามเหมือนเป็นบิดา และพระเจ้าเวียดนามเสมือนเป็นมารดา ของเจ้ากรุงกัมพูชา บัดนี้สมเด็จพระอุทัยราชามีความผิดต่อบิดา ไปอ้อนวอนให้มารดาช่วยขอโทษ ก็มิรู้ที่จะทอดทิ้งเสียได้ จึงมีพระราชสารมาขอพระราชทานโทษ และขอให้สมเด็จพระอุทัยราชาได้ครองกรุงกัมพูชาตามเดิม ก็ในเวลานั้นไทยกำลังเตรียมสู้ศึกพะม่า ไม่อยากจะให้เกิดเป็นอริขึ้นกับญวนอีกฝ่ายหนึ่ง จึงต้องจำยอมให้สมเด็นพระอุทัยราชากลับขึ้นมาครองเมืองเขมรดังเก่า แต่นั้น เมืองเขมรก็ไปฝากฝ่ายอยู่กับญวน เป็นแต่ถึงกำหนดก็ส่งเครื่องราชบรรณาการเข้ามากรุงเทพ ฯ ครั้นพระเจ้าเวียดนามยาลองทิวงคต ถึงรัชกาลพระเจ้าเวียดนามมินมาง ราชบุตร ซึ่งได้รับรัชทายาทญวนก็คิดแผ่อำนาจต่อเข้ามาในเมืองเวียงจันท์อีกทางหนึ่ง พอขึ้นรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าอนุวงศ์เวียงจันท์เป็นกบฏขึ้น ด้วยญวนอุดหนุน ถึงต้องรบพุ่งปราบปรามเป็นการใหญ่ ครั้นพระเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์แพ้หนีไปพึ่งญวน พระเจ้าเวียดนามมินมางก็มีพระราชสารเข้ามาว่ากล่าวขอโทษพระเจ้าอนุวงศ์ เหมือนครั้งเรื่องเมืองเขมรในหนหลัง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขัดเคืองญวน ไม่ยอมอนุโลมตาม โปรดให้ปราบปรามพวกกบฏเวียงจันท์จนราบคาบ ทางไมตรีระหว่างไทยกับญวนก็หมองหมางกันแต่นั้นมา

๔ ฝ่ายไทย เมื่อเสร็จการปราบปรามกบฏเวียงจันท์แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ ต้นสกุลสิงหเสนี) ที่สมุหนายกออกไปตั้งระวังเหตุการณ์ที่เมืองพัตบองเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ (จ.ศ. ๑๑๙๔) ต่อนี้ไปเป็นเอกสารแสดงเรื่องราวในปีนั้นแต่บางส่วน (เพราะเอกสารที่ได้มายังไม่บริบูรณ์)









๕ ฉะบับที่ ๑ ตราตอบเมืองปราจินบุรีให้จัดซื้อข้าว เตรียมไว้ ๕๐๐ เกวียน

หนังสือเจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงพระยาประชาชีพ หลวงยกรบัตร กรมการ เมืองปราจิน ด้วยบอกเข้าไปว่า เจ้าพระยา บดินทรเดชา ที่สมุหนายก สั่งให้พระยาราชนิกุล มีหนังสือมาเถิงพระยาภิรมย์ราชา พระยาประชาชีพ ว่าข้อราชการเมืองระสือซึ่งพระยาวิเศษสุนทรมีหนังสือมาแต่ก่อนว่า พระยาพิบูลย์ยกกองทัพมาตั้งอยู่ด้านกระพงปรักคน ๑๐๐๐ แล้วพระยามหาเสนา พระยานรินทร์ จะยกมาอีก จึงให้พระยาภิรมย์ราชา คุมเลกเมืองปราจินบุรี เมืองกบินทรบุรี เมืองประจันตคาม เมืองนครนายก ๕๐๐ คน กับปืนคาบศิลา ๔๐๐ บอก ยกตามเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก ออกไป ครั้นข้าหลวงเจ้าเมือง กรมการ แต่งให้หลวงเพ็ชรบริบาล ออกไปสืบเถิงแขวงเมืองโพธิสัตว์ หาพบกองทัพพระยาพิบูลย์ และกองทัพพระยาพระเขมร ยกมาไม่ พบแต่เขมรมารักษาด่านทางลาดตระเวนคน ๑๐๐ เศษ ข่าวราชการสงบอยู่ ให้แต่พระยาภิรมย์ราชาคุมเลกชะเลย ขึ้นไปช่วยปลูกเรือนครัว ณ เมืองอรัญ-ประเทศ ให้พระยาประชาชีพอยู่จัดซื้อข้าว ณ แขวงเมืองปราจิน เมืองฉะเชิงเทรา เมืองนครนายก มาตวงขึ้นฉางไว้ ณ เมืองปราจิน

๖ ให้ได้ ๕๐๐ เกวียนนั้น ได้นำเอาหนังสือบอกขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบใต้ฝ่าละออง ฯ แล้ว ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า การสะเบียงอาหารทางเมือปราจินนี้ จะต้องจัดแจงตระเตรียมเอาเม็ดข้าวใส่ยุ้งฉางไว้ให้มาก จะได้เจือจานเลี้ยงครอบครัวเมืองโพธิสัตว์ ทั้งจะได้สำหรับเอาไว้ใช้ราชการด้วย ด้วยราชการทางเมือเขมรครั้งนี้ เถิงจะไม่มีเมื่อหน้าคงจะมีราชการสักครั้งหนึ่งเป็นแน่ จะไว้ใจกับการสะเบียงอาหารหาได้ไม่ ให้พระยาประชาชีพเร่งรัดจัดซื้อข้าวแขวงเมืองปราจิน เมืองฉะเชิงเทรา เมืองนครนายก ขนถ่ายมาใส่ฉางไว้ ณ เมือง ปราจินให้ได้จงมาก ถ้าพระยาประชาชีพ หลวงยกรบัตร กรมการจัดซื้อข้าวได้เท่าใด ให้บอกจำนวนข้าวเข้าไปให้แจ้ง อนึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้จมื่นมนเทียรพิทักษ์ ถือตราตอบออกไปเถิงเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก ถ้าจมื่นมนเทียรพิทักษ์ออกมาเถิงเมืองปราจินแล้ว ก็ให้พระยาประชาชีพข้าหลวง หลวงยกรบัตร กรมการ จัดแจงม้าและคนส่งจมื่นมนเทียรพิทักษ์ออกไปโดยเร็ว ถ้าสืบไปเมื่อหน้า ข้าหลวง เจ้าเมือง กรมการเมืองพระตะบองจะแต่งผู้ใดถือหนังสือบอกมาแจ้งราชการ ณ กรุง เทพ ฯ และจะกลับออกไป ก็ให้พระยาประชาชีพ ข้าหลวงยกรบัตร กรมการ จัดแจงส่งผู้ถือหนังสือบอก และผู้ถือหนังสือท้องตราไปมาโดยเร็ว อย่าให้ค้างช้าอยู่แต่ทุ่มหนึ่งโมงหนึ่งได้ หนังสือมา ณ วันอังคาร เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง

๗ จัตวาศก วันเดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง จัตวาศก ได้ส่งตรานี้ให้จมื่นมนเทียรพิทักษ์ ปลัดกรมพระตำรวจพระราชวังบวรถือไป

ฉะบับที่ ๒ ตราตอบเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เรื่องพระยาพิบูลย์ยกมาติดตามพระยาสังคโลก ฯ

ฯ ข้า ฯ พระยามหาอำมาตย์ ฯ ขอกราบเรียนมาให้ทราบด้วยอยู่ ณ วันเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ จมื่นมนเทียรพิทักษ์ถือหนังสือบอก ฯ พณ ฯ สมุหนายกบอกส่งต้นหนังสือข้าหลวงเจ้าเมืองกรมการเมืองพระตะบอง ต้นหนังสือพระฤทธิ์สงคราม พระรามรณรงค์ พระยาวิเศษสุนทร เข้าไปว่า พระยาวิเศษสุนทรซึ่งออกไปอยู่รักษาด่านกระพงปรักมีหนังสือมาว่า แต่งให้ขุนมหาภักดีไปลาดตระเวนพบกองลาดตระเวนพระยาพิบูลย์ บอกว่าพระยาพิบูลย์จะยกมาตั้งคอยพระยาสังคโลกอยู่ ณ กระพงปรัก ถ้าไม่ส่งพระยาสังคโลกออกไปจะขอทางเข้ามาตามพระยาสังคโลก ว่าพระยามหาเสนาจะยกมาทางสมอแกร ว่าพระยานรินทร์จะยกมาทางด่านฉนวน ว่าเจ้าเมืองครวงจะมาตั้งอยู่ด้านพะเนา ครั้นเพลาบ่ายเห็นกองทัพพระยาพิบูลย์ยกมาประมาณ ๑๐๐๐ มาตั้งอยู่ห่างพระยาวิเศษสุนทร ๖๐ เส้นเศษ ฯ พณ ฯ สมุหนายกจะยก

๘ เลื่อนออกไปอยู่เมืองมงคลบุรี จะจัดแจงราชการและเร่งรัดครอบครัวให้เดินเข้ามา ครั้น ณ วันเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ นายขจรใจภพกรมม้าซึ่งคอยอยู่เมือง ......... (ลบ) ...... นายก ถือหนังสือ ฯ พณ ฯ สมุหนายกบอกส่งหนังสือข้าหลวงเจ้าเมืองกรมการเมืองพระตะบอง คำให้การหลวงเพ็ชรบริบาลออกเข้าไปว่า ข้าหลวง เจ้าเมือง กรมการ แต่งให้หลวงเพ็ชรบริบาลออก ไปสืบราชการ พระยาราชนายก พระเมือง ซึ่งอยู่ด่านสมอแกร พระยาวิเศษสุนทรซึ่งอยู่ด่านกระพงปรัก ให้คนไปกับหลวงเพ็ชรบริบาลออกไปสืบ พบเขมรมาลาดตระเวนอยู่นอกด่านกระพงปรักออกไปพวกหนึ่งคนประมาณ ๒๐ คน หลวงเพ็ชรบริบาลเลยออกไปถึงด่านลงกรายแขวงเมืองโพธิสัตว์ พบปลัดเมืองลาดปะเอี๋ย มาตั้งชุมชนุมรักษาด่านอยู่คนประมาณ ๑๐๐ ได้พูดจากันกับหลวงเพ็ชรบริบาล ๆ ถามถึงพระยาพิบูลย์ พระยามหาเสนา พวกเขมรบอกว่าพระยาพิบูลย์พระยามหาเสนาพระยาแสนชีบดีอยู่ ณ บ้านจาอยู่ ครั้นหลวงเพ็ชรบริบาลกลับมาพระยาราชนายก พระราชรักษ์ มีหนังสือมาว่า ทางด่านสมอแกร ด่านฉนวนราชการสงบอยู่ ฯ ข้า ฯ ได้นำเอาหนังสือบอกทั้งสอง ครั้งขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบใต้ฝ่าละออง ฯ แล้ว ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า ความซึ่งพระยาวิเศษสุนทรบอกมาว่าพระยาพิบูลย์ ยกมาตั้งอยู่ห่างกับพระยาวิเศษสุนทรทาง ๖๐ เส้น แล้วพระยามหาเสนา พระยานรินทร์ เจ้าเมืองกรวง

๙ จะยกมาทางด่านสมอแกร ด่านฉนวน ด่านพะเนา ความทั้งนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงแคลงพระทัยอยู่ ด้วยพระยาราชนายก พระเมือง พระราชรักษ์ ก็ออกไปอยู่รักษาด่านทางต่อเคียงกันกับพระยาวิเศษสุนทร ก็หาได้มีหนังสือบอกข้อราชการเข้ามาประการใดไม่ จึงโปรดเกล้า ฯ ดำรัสถามจมื่นมนเทียรพิทักษ์ว่าราชการซึ่งพระยาวิเศษสุนทรบอกมาทั้งนี้ เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก และข้าหลวงเจ้าเมืองกรมการเมืองพระตะบองเห็นความประการใด จมื่นมนเทียรพิทักษ์กราบทูลพระกรุณาว่า ยังหาเชื่อเอาหนังสือพระยาวิเศษสุนทรเป็นแน่นอนทีเดียวไม่ แต่เป็นข่าวทัพศึกก็จัดแจงกองทัพยกเพิ่มเติมออกไป ยังแต่งให้คนออกไปสืบอยู่นั้น พระยาวิเศษสุนทรคนนี้เป็นคนขลาดเบาความไม่ไล่เลียงไต่สวนให้แน่นอน เชื่อเอาแต่ถ้อยคำขุนมหาภักดี พระยาวิเศษสุนทรตื่นตกใจมีหนังสือเข้ามา พระยาเสนาภูเบศ พระยารามกำแหง หลวงราชเสนา ข้าหลวง พระยาอภัยภูเบศ กรมการ แต่งให้หลวงเพ็ชรบริบาลออกไปสืบเถิงด่านสมอแกร ด่านฉนวน ด้านกระพงปรัก ไม่พบพระยาพิบูลย์และกองทัพเขมรที่แห่งใด พบแต่เขมรมาอยู่รักษาด่านลงกราย ๑๐๐ คน ได้พูดจากับเขมรรักษาด่าน บอกว่าพระยาพิบูลย์พระยามหาเสนาอยู่บ้านจาอยู่ ตามความซึ่งบอกเข้าไปแต่ครั้งก่อน ความอันนี้โปรดเกล้า ฯ ว่า ซึ่งพระยาพิบูลย์ พระยามหาเสนามาติดตามพระยาสังคโลก ยังตั้งอยู่ที่บ้านจาอยู่แขวงเมือง


๑๐ โพธิสัตว์นั้น องค์จันท์ใช้มาหรือญวน จะกดขี่ให้มาโดยร้ายดีประการใดก็ยังหารู้ความแน่นอนไม่ ถ้าเขมรพวกที่มาติดตามพระยาสังคโลก ทำองอาจล่วงเกินเข้ามาประการใด ข้าหลวงอยู่ที่เมืองพระตะบองก็หลายคน เจ้าเมืองกรมการเมืองพระตะบองของเราก็พรักพร้อม อย่าใหล่ลดให้เขมรล่วงเกินเข้ามาได้ ได้ทีทำแล้วก็ให้ทำให้หนัก ถ้าเขมรแตกถอยหนีไปก็ให้กองทัพยกติดตามซ้ำเติมลงไป เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก เห็นการจะทำได้เพียงใด ก็ให้ทำเอาให้ได้แต่เพียงนั้น อย่าให้เสียทีคิดอ่านเอาผู้คนมาใส่บ้านใส่เมือง ให้เป็นกำลังรี้พลของเราขึ้นอีกให้ได้ให้มาก ถ้าราชการผันแปรประการใดก็จะโปรดให้ข้าราชการ ยกรี้พลเพิ่มเติมออกมา ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาที่สมุหนายกใช้สอยอีก พระยาเพ็ชรพิชัยก็ได้ให้เตรียมผู้คนไว้พร้อมคอยฟังราชการอยู่ ณ กรุงเทพ ฯ แล้ว ถ้าเขมรซึ่งมาติดตามพระยาสังคโลก มาว่ากล่าวพูดจาแต่โดยดี ก็ให้พูดจาโต้ตอบตามทำนองความโดยดี อย่าเพ่อไปทำกับเขมรเข้าก่อนเลย เถิงว่าราชการครั้งนี้เป็นที่ทำหนักหนาก็จริง แต่ยังหาพอพระทัยจะให้ทำไม่ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก จัดแจงครอบครัวผ่อนปรนเข้ามาตั้งเย่าเรือนเสียให้สำเร็จ ตามซึ่งทรงพระราชดำริดำรัสสั่งเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก ออกมาแต่เดิมที่บ้านเมืองใดมีสะเบียงอาหารอยู่ พอจะพักครอบครัวอาศัยสะเบียงอาหารไว้ได้บ้างมากน้อยเท่าใด ก็ให้ผ่อนปรนเอาไว้ให้พอ


๑๑ กับสะเบียงอาหาร อย่าให้ครอบครัวอดอยาก จะเอานาเมืองอรัญประเทศได้เท่าใด ก็ให้เอาเข้ามาจัดแจงเย่าเรือนให้ครอบครัวนายไพร่อยู่ให้เป็นพวกภูมิถิ่นถานทันทำไร่นา ให้ทนุบำรุงพระยาสังคโลก พระยาพระเขมรและครอบครัวให้รื่นเริง ให้กิติศัพท์เลื่องฦาปรากฎออกไปว่าครอบครัวได้เข้ามาอยู่เย็นเป็นสุข กับให้จัดหาสะเบียงไว้ที่เมืองอรัญประเทศ ให้พอครอบครัวรับพระราชทานตลอดปี กว่าครอบครัวจะทำไร่นาได้ ที่เมืองพระตะบอง ก็ให้จัดซื้อเข้าขึ้นไว้สำหรับราชการ และที่เมืองปราจินบุรีนั้นก็ได้มีตรากำชับมาเถิงพระยาประชาชีพ ให้จัดซื้อข้าวขึ้นฉางไว้ให้ได้จงมาก ตามหนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก มีเข้ามาเถิงพระยาประชาชีพ ขอเรียนมา ณ วันจันทร์เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรงจัตวาศก (พ.ศ. ๒๓๗๕) ร่างตรานี้ท่านเจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ ท่านปลายเชือกหลวงศรีเสนา ทำเอากราบเรียนฯ พณ ฯ โกษาธิบดีแล้ว ณ วันเดือน ๔ แรม ๑๒ ค่ำ เพลา ๒ ทุ่มเศษ เสด็จออก ณ พระที่นั่งอำมรินทรวินิจฉัย ท่านเจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายเหนือเอาร่างตรานี้กราบทูลพระกรุณา ให้หลวงศรีเสนาอ่านทูลเกล้า ฯ ถวาย มีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ตกแทรกลงบ้าง วงกาเสียบ้าง แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีไปตามร่าง นี้เถิด

๑๒ วันเดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำปีมะโรงจัตวาศก ได้ส่งตรานี้ให้จมื่นมนเทียรพิทักษ์ ปลัดกรมพระตำรวจพระราชวังบวรถือไป

เหตุการณ์ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖

ความตึงเครียดระหว่างสยามกับญวน สืบอนุสนธิ์มาแต่เหตุตามที่เล่าไว้ในตอนแรกนั้น เมื่อจะสรูปให้สั้น ดังปรากฏในกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีความสำคัญอยู่ว่า ตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ญวนขอเอาเมืองพุทไธมาศ ครั้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็กันเอาเมืองเขมรไปเป็นสิทธิ์ของตัว มาถึงแผ่นดินปัจจุบันนี้ (คือรัชกาลที่ ๓ ตอนต้น) ญวนก็กันเอาเขตต์แดนเมืองเวียงจันทร์ไปอีกเล่า จึงเหลือที่จะอดทน พอรุ่งขึ้นปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖ พวกญวนที่เมืองไซ่ง่อนเป็นกบฏต่อพระเจ้าเวียดนามมินมาง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า เป็นโอกาศที่จะเอาเมืองเขมรคืนและให้ญวนหายกำเริบเสียบ้าง จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายก เป็นแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการยกทัพบกไปตีเมืองเขมร แต่ ณ วันเดือนอ้ายแรม ๕ ค่ำ แล้วให้ตีหัวเมืองญวนลงไปจนเมืองไซ่ง่อน และให้เจ้าพระยาพระคลัง เป็นแม่ทัพเรือยกไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายทะเล แล้ว


๑๓ ไปสมทบกับกองทัพบกตีเมืองไซ่ง่อนด้วยกัน พอเขมรทราบว่าไทยยกทัพใหญ่ออกไป สมเด็จพระอุทัยราชา (นักองค์จันท์) ก็รีบหนีออกนอกแดนเขมร เข้าไปอยู่ในความป้องกันของญวน ส่วนทางเหนือและทางภาคอิสาณ ก็โปรดเกล้า ฯ ให้กองทัพบกยกแยกกันขึ้นไปอีก ๓ กอง คือ (๑) กองพระมหาเทพ และพระยาวิเศษศักดา ยกขึ้นไปทางเมือมหาชัย, เมืองพ้อง, เมืองพลาน (๒) กองพระราชรินทร์ยกขึ้นไปทางเวียงจันท์ ไปตีเมืองพวนบรรจบกับกองทัพฝ่ายเหนือ (๓) กองทัพฝ่ายเหนือเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี(สมบุญ) เป็นแม่ทัพ ยกออกจากกรุงเทพ ฯ ณ วันเดือนยี่ขึ้น ๖ ค่ำ เดินทัพขึ้นไปทางเมืองพิชัย ไปตั้งรวมพลที่ปากหลาย เพื่อรีบรุดขึ้นไปตีเมืองแถงหัวพันทั้งหก เอกสารต่อไปนี้ จะบรรยายให้เห็นความพิสดารตามสมควรแต่เสียดายที่เอกสารได้มาไม่บริบูรณ์ ข้อความจึงมีเท่าที่ปรากฏในท้องตราอย่างเดียว





๑๔ ฉะบับที่ ๑ ตราถึงเจ้าเมืองมุกดาหาร ตอบเรื่องรับผลเร่ว ขี้ผึ้ง ป่านใบ ตามจำนวนเกณฑ์ และชี้แจงข้อราชการบ้างเล็กน้อย

หนังสือ เจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงพระจันทสุริยวงศ์ เจ้าเมืองมุกดาหาร ด้วยบอกหนังสือแต่งให้ท้าวอุปฮาด ท้าวจันท์ชมภูท้าวเพิษ คุมผลเร่ว จำนวนปีมะโรงจัตวาศก (พ.ศ.๒๓๗๕) หนัก ๔๘ หาบ กับขี้ผึ้ง ๒ หาบ ป่านใบ ๒ หาบ จำนวนเกณฑ์ลงไปทูลเกล้า ฯ ถวาย แลว่าได้แต่งท้าวเพี้ยไปสืบราชการทางเมืองมหาชัย เมืองชุมพร เมืองพ้อง เมืองพลานเนือง ๆ มิได้ขาด ราชการสงบอยู่ กับว่าเพี้ยเมืองคุก ท้าวเพี้ยเมืองมุกดาหาร ซึ่งไปตกค้างอยู่ต่างเมือง พาครอบครัวกลับคืนมา เป็นคนมาแต่เมืองมหาชัยชายหญิงใหญ่น้อย ๒๑๕ คน มาแต่เมืองชุมพรชายหญิงใหญ่น้อย ๖๙ คน มาแต่เมืองปาศักดิ์ เมืองอุบลชายหญิงใหญ่น้อย ๑๗ คน (รวมเป็น) ๓๕๑ คน แล้ว ณ เดือนยี่ข้างขึ้นได้แต่งให้ท้าวเพี้ยไปกวาดเอาครอบครัวเมืองมุกดาหาร ซึ่งตกค้างอยู่แขวงเมืองชุมพร เมืองพ้อง เมืองพลาน ได้มาอีก ชายหญิงใหญ่น้อย ๗๐๖ คน เข้ากัน ๑๐๕๗ คน กับว่า ณ เดือน ๔ ข้างขึ้น ได้แต่งให้ท้าวสุวอ เพี้ยเชียงเหนือ ไปฟังราชการ ณ เมืองนคร พนม ได้ความว่า ณ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ญวนมีชื่อนายไพร่

๑๕ ๓๐ คน กับพวกเมืองมหาชัยนายไพร่ ๑๐๐ เศษ ลงมาเถิงท่าแขก ตั้งค่ายยาวด้านละ ๑๕ วา สูง ๘ ศอก แต่พวกญวนมาเถิงประมาณครู่หนึ่ง แล้วกลับคืนไปเสีย ยังประจำค่ายอยู่แต่พวกเมืองมหาชัย ได้ความว่าญวนให้มาตั้งอยู่ แลว่า ณ ปีมะโรงจัตวาศก อาณาประชาราษฏรทำไร่นาเสีย ๒ ส่วน ได้ผลส่วนหนึ่ง เรียกข้าวขึ้นฉางได้แต่ ๖๐๐๐ ถัง ได้ส่งไปเมืองนครพนม ๑๕๐๐ ถัง จ่ายข้าหลวงไทยลาวไปมาราชการ ๑๓๐๐ ถัง แจกจ่ายครอบครัวที่ได้คืนมา ๒๖๐๐ ถัง ทุกวันนี้ราษฏรได้รับพระราชทานข้าวเจือกลอยเจือมันอยู่ทุกวัน นั้น ได้นำเอาหนังสือบอกขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา พาท้าวอุปหาต ท้าวจันท์ชมภู ท้าวเพี้ย เข้าเฝ้าทูลละออง ฯ ทรงพระกรุณาดำรัสถามด้วยข้อราชการเมืองมหาชัย ท้าวอุปหาตให้กราบทูลพระกรุณาว่า ลูกค้าเมืองมหาชัยมาค้าขายพูดกันว่า ญวนให้ลาวต่อเรือที่นำพลิกนา เมืองมหาชัย ๖ ลำ ว่าจะบรรทุกครัวพระบรมมาท่าแขก จึงทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งพระจันทสุริยวงศ์ให้ท้าวเพี้ย ขึ้นไปฟังราชการที่เมืองนครพนม ได้ความว่า ญวนประมาณ ๓๐ กับลาว ๑๐๐ ลงมาตั้งอยู่ที่ท่าแขก แต่ญวนนั้นกลับคืนไปเสียแล้ว ความทั้งนี้เป็นความคิดญวน ด้วยญวนจะให้พระบรมพาครอบครัวมาตั้งอยู่ท่าแขก พระบรมได้ให้ท้าวทัง พระนคร ท้าวเพี้ย พาครอบครัวมาแต่ก่อนหลายพวกแล้ว นายทัพนายกองซึ่งรักษาเมืองนครพนม ไม่ให้ท้าวทัง พระนคร ท้าวเพี้ยตั้งอยู่ฟาก

๑๖ ฝั่งข้างโน้น ท้าวทัง พระนคร ท้าวเพี้ย พาครอบครัวข้ามมาอยู่ฟากข้างเมืองนครพนมสิ้น ครั้นญวนจะให้พระบรมพาครอบครัวมา ก็กลัวนายทัพนายกองฝ่ายเราจะไม่ให้ตั้งอยู่ท่าแขก ญวนกับลาวเมืองมหาชัยจึงเอาผู้คนมามาก จะมาดูลู่ดูทางที่นายทัพนายกองซึ่งอยู่รักษาเมืองนครพนม ครั้นมาได้พูดจาและได้หนังสือนายทัพนายกองไป ก็จะเอาความไปบอกกล่าวคิดอ่านกัน ญวนรู้ความที่นายทัพนายกองฝ่ายเราแล้ว จะให้พระบรมพาครอบครัวมาหรือจะแต่งผู้คนมาหลอกลวงประการใดอีก ก็ยังหามีหนังสือบอกพระสุนทรราชวงศานายทัพนายกองลงไปไม่ และที่เมืองนครพนมก็ได้โปรดมีตราให้ขุนภักดีภูมินทร์นายกอง กองลาวเวียงจันท์ถือขึ้นไปแต่ก่อน ถ้าญวนจะมาพูดจาด้วยครอบครัวเขตต์แดนประการใด สุดแต่ฝ่ายเราไม่ให้เขตต์แดนของเราถ่ายเดียว ถ้าญวนพาพระบรมและครอบครัวมาพูดจาแต่โดยดี การไม่ควรจะวิวาทก่อนก็อย่าเพ่อวิวาท ให้นายทัพนายกองทำดีไว้แต่ปาก บอกข้อราชการลงไป ณ กรุงเทพ ฯ ถ้าญวนพาพระบรมครอบครัวยกเป็นกระบวนทัพมา การเถิงจะวิวาทรบพุ่งกัน ก็ให้นายทัพนายกองต้านทานไว้ บอกข้อราชการไปเถิงหัวเมืองที่ใกล้และเมืองนครราชสีมา จะได้รีบยกรี้พลไปโดยเร็ว ช่วยกันรบพุ่งรักษาเขตต์แดนไว้ กว่ากองทัพกรุงเทพ ฯ จะขึ้นไปเถิง ความแจ้งอยู่ในท้องตราซึ่งโปรดขึ้นมาเถิงนายทัพนายกองเมืองนครพนมแต่ก่อนทุกประการแล้ว แต่ซึ่งอุปหาตให้กราบทูลพระกรุณา


๑๗ ว่า ญวนให้ลาวต่อเรืออยู่ที่เมืองมหาชัยว่า จะบรรทุกครัวพวกเมืองนคร มาตั้งอยู่ท่าแขกนั้น แต่ก่อนที่เมืองมหาชัยก็หาเคยต่อเรือไม่ ถ้าแม้ญวนให้ต่อเรือจริง เห็นจะคิดราชการ ซึ่งว่าจะบรรทุกครัวเมืองนครพนมมานั้น ความหาจริงไม่ และฝ่ายพระจันทสุริยวงศ์อุปหาตท้าวเพี้ย ก็มิได้คิดอ่านแต่งผู้คนไปสืบสวนเอาความให้แน่ไม่ การรักษาเขตต์แดนบ้านเมืองจะประมาทแก่ราชการนั้นไม่ได้ ให้พระจันทสุริยวงศ์ อุปหาต ท้าวเพี้ย คิดอ่านแต่งคนเล็ดรอดไปสืบให้รู้ความว่า ญวนให้ต่อเรืออยู่กี่แห่ง กี่ตำบล จะเป็นเรือกี่ลำ ญวนจะคิดอ่านประการใด ให้สืบสวนเอาความให้แน่นอนจงได้ อย่าให้มีความประมาทไว้ใจแก่ราชการกับให้แต่งกองลาดตระเวนสืบสวนราชการอยู่อย่าให้ขาด ถ้าได้ความประการใดก็ให้บอกไปเถิงเมืองนครพนม และหัวเมืองที่ใกล้ให้รู้ราชการเถิงกัน จะได้ช่วยกันคิดอ่านตริตรองราชการ กับให้เร่งรีบบอกลงไป ณ กรุงเทพ ฯ โดยเร็วจะได้รู้ข้อราชการ ซึ่งว่าเกลี้ยกล่อมครอบครัว และแต่งคนไปขับไล่เอาครอบครัวกลับคืนมาบ้านเมืองในปีมะโรงจัตวาศกได้เปนครัว ๑๐๐๐ เศษนั้น ก็เป็นความชอบอยู่แล้ว แต่ครอบครัวเมืองมุกดาหารยังกระจัดพลัดพรายไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองเป็นอันมาก ให้พระจันทสุริยวงศ์อุปหาตท้าวเพี้ย คิดอ่านเกลี้ยกล่อมเอาครอบครัวกลับคืนมาคงบ้านคงเมืองให้สิ้น จะได้เป็นกำลังรี้พลของเจ้าเมืองท้าวเพี้ยทั้งปวงสืบไปภายหน้า กับซึ่งว่าได้จัดแจงส่งเข้าไปเมืองนครพนม


๑๘ ๑๕๐๐ ถังนั้น นายทัพนายกองจะได้จับจ่ายราชการ และผลเร่ว สีผึ้ง ป่านใบ จำนวนเกณฑ์ซึ่งส่งลงไปนั้น ได้ให้ท้าวอุปหาตท้าวเพี้ยคุมไปส่ง เจ้าพนักงานชั่งได้ผลเร่วจำนวนปีเถาะ ๑ หาบ ๙๓ ชั่ง ปีมะโรง ๔๓ หาบ ๕๓ ชั่ง ๔๕ หาบ ๔๖ ชั่ง สีผึ้งหนัก ๑ หาบ ๖๒ ชั่ง ป่านหนัก ๒ หาบ ๑ ชั่ง รับไว้แล้ว และผลเร่วจำนวนปีมะโรงยังค้าง ๖ หาบ ๔๗ ชั่ง สีผึ้งค้าง ๒ หาบ ๘ ชั่ง ป่านค้าง ๙๙ ชั่งนั้น ให้พระจันทสุริยวงศ์ ท้าวเพี้ย จัดส่งลงไปให้ครบจำนวนอย่าให้ขาดค้างล่วงงวดล่วงปีต่อไปได้เป็นอันขาด หนังสือมา ณ วันศุกร เดือน ๗ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะเส็งนักษัตรเบญจศก (พ.ศ. ๒๓๗๖) ร่างตรานี้ท่านปลายเชือกทำ ครั้น ณ วันเดือน ๗ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เพลาบ่าย ฯ พณ ฯ สมุหนายกว่าราชการ ณ จวน หลวงราชเสนาได้เอาร่างตรานี้อ่านกราบเรียน สั่งให้ตกแทรกลงบ้าง วงกาเสียบ้าง แล้วสั่งให้มีไปตามร่างนี้เถิด วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเส็ง เบญจศก ได้ส่งตรานี้ให้ท้าวอุปหาตรับไป




๑๙ ฉะบับที่ ๒ ตราสั่งหัวเมือง เรื่องให้เจ้าพระยาธรรมา(สมบุญ)เป็นแม่ทัพ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - (ต้นฉะบับขาด)- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ชื่อให้การต้องคำกันว่า องเกียนอานบุตรเจ้าเวียดนามคนเก่ามีหนังสือลงมาเถิงองพองายซึ่งอยู่ ณ เมืองไซ่ง่อน ให้ชักชวนพวกองตากุญคนเก่าคิดเป็นการกบฏขึ้น ข้างเมืองตังเกี๋ยนั้นองเกียนอานก็ได้นัดหมายให้พวกเมืองตังเกี๋ยคิดกบฏต่อเจ้าเวียดนาม ให้พร้อมกันกับเมืองไซ่ง่อน ครั้นองพองายรู้หนังสือแล้ว จึงชักชวนจีนบงบางเป็นจีนผู้ใหญ่อยู่ในเมืองไซ่ง่อน ไปถอดเอาขุนนางขององตากุญคนเก่า ซึ่งเจ้าเวียดนามให้จำไว้ กับคนโทษในคุกเมืองไซ่ง่อนออกได้สิ้น คิดพร้อมใจกันจับองตากุญเจ้าเมืองไซ่ง่อนคนใหม่กับขุนนางผู้ใหญ่ฆ่าเสีย แล้วเกลี้ยกล่อมได้ญวนเข้าเพศฝรั่ง ญวนตังเกี๋ยกับพวกจีนเจ้าด้วยเป็นอันมาก องพองายกับพวกกบฏตั้งกันเป็นองเหากุญ องหวีกุญ องเตียนกุญ องเสียนหอง แบ่งกันคุมกองทัพยกลงมาตีเมืองล่องโห้ เมืองสมิถ่อ เมืองโจดก เมืองพุทไธมาศ ตีได้สิ้นแล้ว กวาดเอาเสบียงอาหารเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่ปืนน้อย ขึ้นไปไว้ในเมืองไซ่ง่อนสิ้นญวนที่ยังไม่เข้ากับพวกกบฎ รวบรวมไพร่พลเข้าได้ แต่เครื่องสาตราวุธมีน้อย ยกไปตีพวกกบฎเมืองไซ่ง่อน พวกกบฎเอาปืนใหญ่ยิงกราดสาดออกมา พวกซึ่งเข้าข้างเจ้าเวียดนามถูกปืน


๒๐ ล้มตาย แตกกระจัดกระจาย แล้วกลับรวบรวมกันยกไปตีพวกกบฎอีก พวกกบฎตีแตกทุกครั้ง สู้รบกันมาแต่เดือน ๑๐ จนเดือน ๑๑ - ๑๒ ผู้คนตายประมาณ ๑๐๐๐๐ พวกกบฎรวบรวมไพล่พลเข้าไว้ในกำแพงเมืองไซ่ง่อนได้มาก พร้อมทั้งเสบียงอาหารเครื่องสาตราวุธ แล้วก็หามีกองทัพเมืองเว้ยกลงมากระทำกับพวกกบฎไม่ ข้างเมืองตังเกี๋ยนั้นก็ว่ายกกองทัพลงมาเมื่อเดือน ๙ ข้างขึ้น ญวนตังเกี๋ยตีหัวเมืองซึ่งขึ้นกับเมืองเว้ได้ ๕ หัวเมืองแล้ว ยังรบพุ่งกันอยู่ เจ้าเวียดนามต้องรักษาบ้านเมืองเป็นพะว้าพะวัง ไม่ได้ให้กองทัพลงมาตีพวกกบฎที่เมืองไซ่ง่อนจึงทรงพระราชดำริเห็นว่า จีนมีชื่อ ๒๘ คน เป็นจีนอยู่ในบ้านในเมือง ได้รู้เห็นถ้วนถี่ ความเป็นแน่นอนอยู่แล้ว เมืองญวนเกิดการกบฎขึ้นทั้งสองฝ่าย พวกกบฎก็มีกำลังมาก จะรบพุ่งกัน เห็นการจะยืดยาวไปอยู่ และเมืองเขมรหัวเมืองลาวฝ่ายแดนกรุงเทพฯ ญวนมาครอบงำเกียดกันเอาไว้แต่ครั้งกรุงยังเป็นศึกติดพันอยู่กับพะม่า และครั้งเวียงจันท์เป็นกบฎ กับครอบครัวเมืองเวียงจันท์ ครัวหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก ไปตกค้างอยู่ตามหัวเมืองเหล่านั้นก็มาก ทรงพระราชดำริจะให้กองทัพไปตีคืนเอาบ้านเมืองครอบครัวมา คงเป็นไพร่พลข้าขอบขันธเสมากรุงเทพฯ ตามเดิมเหมือนแต่ก่อน แต่เห็นการยังเป็นทีทำไม่ จะหนักแรงทแกล้วทหารรี้พล จึงโปรดให้งดรอมา บัดนี้การได้ท่วงที จะไปตีคืนเอาบ้านเมืองครอบครัว


๒๑ ของเรามา เห็นได้โดยง่ายไม่สู้ลำบากหนักแรง ทั้งเทศกาลนี้ก็เป็นฤดูแล้งอยู่แล้ว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพใหญ่กรุงเทพฯ ทั้งทัพบกทัพเรือออกไปให้พร้อมกัน และทัพบกทางเมืองพระตะบองนั้น โปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายกเป็นแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการสิทธิ์ขาด คุมรี้พลกองทัพพร้อมไปด้วยนายทัพนายกอง เครื่องสาตราวุธ ปืนใหญ่น้อย ยกออกไปคิดราชการคืนเอาเมืองเขมรแต่ณวันเดือนอ้าย แรม ๕ ค่ำ ปีมะเส็ง เบญจศก ( จ.ศ. ๑๑๙๕ พ.ศ. ๒๓๗๖ ) ฝ่ายทางเมืองมหาชัย เมืองพอง เมืองพลานนั้น ก็ได้ให้พระมหาเทพ พระยาวิเศษศักดา คุมกองทัพกรุงเทพฯ กองทัพหัวเมืองฝ่ายตะวันออกยกขึ้นไปแล้ว บัดนี้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาเป็นแม่ทัพคุมกองทัพกรุงเทพฯ ยกขึ้นมาทางเมืองพิชัย ยกขึ้นไปตั้งอยู่ณปากหลาย จัดให้พระยาพิชัย ให้กรมการ คุมกองทัพเมืองพิชัย ๕๐๐ คน ยกไปเมืองหลวงพระบาง บรรจบกับกองทัพเมืองหลวงพระบาง ยกไปตีเมืองแถงหัวพันทั้งหก ซึ่งต่อแดนเมืองหลวงพระบางทางหนึ่ง จะได้จัดกองทัพเมืองพิศณุโลก เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิจิตร์ ปากเหือง เมืองเพ็ชรบูรณ์ เมืองแพร่ เมืองน่าน ยกไปทางเมืองเชียงทันไปตีเมืองพวนทางหนึ่ง และทางเมืองพวนก็ได้โปรดให้พระราชรินทร์ คุมกองทัพยกขึ้นไปทางเมืองเวียงจันท์หนึ่ง ไปตีเมืองพวนบรรจบกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือด้วยแล้ว กำหนดเจ้า


๒๒ พระยาธรรมาแม่ทัพได้ยกจากกรุงเทพฯ ณวันเดือนยี่ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะเส็ง เบญจศก ให้พระสุริยวงษาเจ้าเมืองหล่มศักดิ์ พระยาพิศณุโลก พระยาสวรรคโลก พระยาสุโขทัย พระยาพิจิตร์ พระยาพิชัย พระอนุพินาส พระยาเพ็ชรบูรณ์ เจ้าเมืองเลย เจ้าเมืองแก่นท้าว กรมการ คุมกองทัพเมืองพิศณุโลก ๑๐๐๐ คน เมืองสวรรคโลก ๕๐๐ คน เมืองสุโขทัย ๖๐๐ คน เมืองพิจิตร์ ๑๔๐ คน เมืองพิชัย ๕๐๐ คน ปากเหือง ๒๐๐ คน กองทัพเมืองเพ็ชรบูรณ์ เมืองหล่มศักดิ์ เมืองแก่นท้าว เมืองเลย สี่หัวเมืองเป็นคน ๑๓๙๐ คน ให้พร้อมสรรพไปด้วยเครื่องสาตราวุธ โคต่างช้างม้าเสบียงอาหาร ตามท้องตราแต่ก่อน รีบยกไปเข้ากองทัพเจ้าพระยาธรรมา ณเมืองพิชัย ณปากหลาย โดยเร็ว เจ้าพระยาธรรมาจะได้จัดกองทัพให้ยกไปตีเมืองพวนหัวพันทั้งหก กวาดเอาครอบครัวเมืองเวียงจันท์ ครัวหัวเมืองลาวซึ่งเป็นข้าขอบขันธเสมากรุงเทพฯ คืนมาให้สิ้น จัดแจงบ้านเมืองครอบครัวเสียให้สำเร็จในระหว่างที่ญวนยังรบพุ่งกันอยู่ จะไม่ได้หนักแรงมือทแกล้วทหารและไพร่พล ถ้ากองทัพหัวเมืองใด ตีกวาดได้ครอบครัวมา ก็จะได้เอามาใส่บ้านใส่เมืองเป็นกำลังรี้พลต่อไป ถ้าและเจ้าพระยาธรรมาแม่ทัพ เจ้าเมือง กรมการนายทัพนายกอง ยกกองทัพขึ้นไปเถิงปากหลายแล้ว ก็ให้จัดกองทัพเมืองพิชัย ให้พระยาพิชัยรีบยกขึ้นไปคุมกองทัพเมืองหลวงพระบาง ยกขึ้นไปตีเมืองแถงหัวพันทั้งหกให้ทัน


๒๓ ท่วงที และซึ่งจะยกไปตีเมืองพวนนั้น ให้มีหนังสือกำหนดวันไปถึงกองทัพพระราชรินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ณเมืองหนองคายให้รู้นัดหมายวันคืนยกไปตีเมืองพวนบรรจบให้พร้อมกัน และซึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาแม่ทัพยกขึ้นมาจัดแจงกองทัพยกไปตีเมืองพวน เมืองแถงหัวพันทั้งหกครั้งนี้ ได้มีพระราชโองการดำรัสสั่งเจ้าพระยาธรรมา ขึ้นมาทุกประการแล้ว ให้เจ้าเมือง กรมการ นายทัพนายกองฟังบังคับบัญชา เจ้าพระยาธรรมาแม่ทัพจงพร้อมมูล ตั้งใจทำราชการฉลองพระเดชพระคุณอย่าให้เสียราชการไปแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ถ้าเจ้าเมือง กรมการ นายทัพนายกองคุมไพร่พลยกไปไม่ทันท่วงที จะเอาตัวเป็นโทษตามอาญาศึก ถ้าเจ้าเมือง กรมการ ได้ยกไปจากเมืองวันใดเป็นคนนายไพร่เท่าใด จัดให้ผู้ใดอยู่รักษาบ้านเมืองนายไพร่มากน้อยเท่าใด ให้บอกลงไปให้แจ้ง อนึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาชัยบูรณ์ ถือตรากำหนดยกกองทัพเมืองพิชัย เมืองพิศณุโลก เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองแพร่ เมืองน่าน ขึ้นมาให้พระยาพิศณุโลก แต่งกรมการถือตราเมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย ไปส่งให้เจ้าเมืองกรมการโดยเร็ว แต่ตราเมืองแพร่ เมืองน่าน นั้น ให้พระยาชัยบูรณ์ถือขึ้นไปส่งให้กับพระยาแพร่ พระยาน่าน ให้จัดแจงสะเบียงอาหารไปส่งกองทัพณปากหลาย แล้วโปรดให้พระยาชัยบูรณ์อยู่ด้วยเจ้า


๒๔ พระยาธรรมาแม่ทัพณปากหลาย จะได้จัดแจงเร่งรัดสะเบียงอาหาร แจกจ่ายไพร่พลกองทัพ หนังสือมาณวันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้น ๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๙๕ ปีมะเส็ง เบญจศก วันพฤหัศบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะเส็ง เบญจศก ได้ส่งตราเร่งกองทัพเมืองพิศณุโลก เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิจิตร์ ให้พระยาชัยบูรณ์เมืองพิศณุโลกถือไป วันเดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีมะเส็ง เบญจศก ได้ส่งตราเร่งกองทัพเมืองเพ็ชรบูรณ์ ให้หลวงวังเมืองเพ็ชรบูรณ์ ถือไป.

ฉะบับที่ ๓ ตราถึงพระยาแพร่, พระยาน่าน

หนังสือเจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงพระยาแพร่ พระยาน่าน ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า มีตราขึ้นมาแต่ก่อนว่า ราชการฝ่ายข้างเมืองญวน สืบได้ความทั้งทางบกทางเรือต้องกันว่า บุตร์เจ้าเวียดนามองค์ก่อนซึ่งเป็นบุตร์เลี้ยงองตากุญ กับหูมาหลาน กับบาเลินเมียองตากุญคนเก่าอยู่ที่เมืองไซ่ง่อน คิดชักชวนได้จีนญวน ซึ่งเข้าเพศฝรั่งกับญวนแกวซึ่งอยู่ในเมืองไซ่ง่อน เมืองปันแงะ เป็นอันมาก ให้ถอดบุตร์เจ้าเมืองพุทไธ


๒๕ มาศกับพวกจีนญวนนักโทษ ซึ่งต้องเวนจำออกให้เข้าด้วย จับเจ้าเมืองไซ่ง่อนคนใหม่ฆ่าเสียแล้ว แต่งกองทัพไปตีเมืองสมิถ่อ เมืองล่องโห้ เมืองสะแดก เมืองพุทไมาศ จับเจ้าเมืองกับขุนนางฆ่าเสียเป็นหลายคน ตั้งแต่งเจ้ามืองขึ้นใหม่ รบกันมาแต่ณเดือน ๘ จนถึงเดือน ๑๒ ยังหาสงบไม่นั้น กรุงเทพ ฯ กับกรุงเวียดนามเป็นทางพระราชไมตรีกัน แม้นเจ้าเวียดนามมีพระราชสารเข้ามาขอกองทัพ การควรจะช่วยก็จะไปช่วย ถ้าไม่ควรจะช่วยก็ไม่ช่วย ประการหนึ่งพวกกบฎได้แผ่นดินเมืองญวน พวกกบฎหาได้เป็นไมตรีกับกรุงเทพฯ ไม่ เขตต์แดนกรุงเทพ ฯ กับเขตต์แดนเมืองญวน ก็ต่อแดนเมืองลาวเมืองเขมรฝ่ายตะวันออก และทางฝ่ายเหนือต่อกันกับแดนเมืองหลวงพระบางจะไว้ใจกับราชการหาได้ไม่ ให้เกณฑ์กองทัพใหญ่ณกรุงเทพฯ ทั้งทัพบกทัพเรือ และกองทัพหัวเมืองเตรียมไว้ให้พร้อมสรรพ ถ้ามีราชการกองทัพเมืองแพร่ เมืองน่าน จะได้ยกไปทางเมืองหลวงพระบาง บรรจบกองทัพเมืองฝ่ายเหนือ แม้นแผ่นดินเมืองญวนเห็นจะเป็นของพวกกบฎแล้ว จะได้ยกกองทัพไปตีเมืองพวนหัวเมืองลาว ซึ่งขึ้นกับเมืองเวียงจันท์ไปแอบอิงพึ่งญวนอยู่หลายเมือง กวาดเอาไพร่พลครอบครัวมาใส่บ้านใส่เมือง ว่ารักษาด่านพาเอาตัวจีนเจ จีนยัง จีนมีชื่อเข้ากัน ๒๘ คนเข้ามาแจ้งความว่า จีนมีชื่อ ๒๘ คนได้ญวนเป็นภรรยา ........(ลบ) ..........เมือง........(ลบ)..........อยู่เมืองไซ่ง่อน ๕ คน เมืองล่องโห้


๒๖ ๒๒ คน เมืองพุทไธมาศ ๑ คน พากันลงเรือหนีมา พระยาจันทบุรีกรมการส่งตัวจีนมีชื่อเข้าไปณกรุงเทพฯ ถามจีนมีชื่อให้การต้องคำกันว่า องเกียนอานบุตร์เจ้าเวียดนามคนเก่า มีหนังสือลงมาเถิงองพองายซึ่งอยู่ณเมืองไซ่ง่อน ให้ชักชวนพวกพ้ององตากุญคนเก่าคิดเป็นการกบฎขึ้น ข้างเมืองตังเกี๋ยนั้น องเกียนอานก็ได้นัดหมายให้พวกเมืองตังเกี๋ย คิดกบฎต่อเจ้าเวียดนามให้พร้อมกันกับเมืองไซ่ง่อน ครั้นองพองายรู้หนังสือแล้วจึงชักชวนจีนบงบางเป็นจีนผู้ใหญ่อยู่ที่เมืองไซ่ง่อน ไปถอดเอาขุนนางขององตากุญคนเก่าซึ่งเจ้าเวียดนามให้จำไว้ กับคนโทษในคุกเมืองไซ่ง่อนออกได้สิ้น คิดพร้อมใจกันจับองตากุญเจ้าเมืองไซ่ง่อนคนใหม่กับขุนนางผู้ใหญ่ฆ่าเสีย แล้วเกลี้ยกล่อมได้ญวนเข้าเพศฝรั่ง ญวนตังเกี๋ยกับพวกจีนเข้าด้วยเป็นอันมาก องพองายกับพวกกบฎตั้งกันเป็นที่องเหากุญ องหวีกุญ องเตียนกุญ องเสียนหวง แบ่งกันคุมกองทัพลงมาตีเมืองล่องโห้ เมืองสมิถ่อ เมืองโจดก เมืองพุทไธมาศ ตีได้สิ้นแล้วกวาดเอาสะเบียงอาหาร เครื่องสาตราวุธปืนใหญ่น้อยขึ้นไปไว้เมืองไซ่ง่อนสิ้น ญวนที่ไม่เข้ากับพวกกบฎ รวบรวมกันเข้าได้ไพร่พลมากอยู่ แต่เครื่องสาตราวุธมีน้อยยกไปตีพวกกบฎเมืองไซ่ง่อน พวกกบฎเอาปืนใหญ่ยิงกราดสาดออกมา พวกซึ่งเข้าข้างเจ้าเวียดนามถูกปืนล้มตายแตกกระจัดกระจาย แล้วกลับรวบรวมกันกลับไปตีพวกกบฎอีก พวกกบฎตีแตกทุกครั้ง สู้รบกันมา


๒๗ แต่เดือน ๑๐ จนเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ ผู้คนตายประมาณ ๑๐๐๐๐ เศษพวกกบฎรวบรวมไพร่พลได้มาก พร้อมทั้งสะเบียงอาหารเครื่องสาตราวุธ แล้วก็หามีกองทัพเมืองเว้ยกลงมากระทำกับพวกกบฎไม่ ข้างเมืองตังเกี๋ยนั้นก็ว่ายกกองทัพลงมาเมื่อเดือน ๙ ข้างขึ้นญวนตังเกี๋ยตีหัวเมืองซึ่งขึ้นกับเมืองเว้ได้ ๕ หัวเมือง แล้วยังรบพุ่งกันอยู่ จึงทรงพระราชดำริเห็นว่า จีนมีชื่อ ๒๘ คนเป็นจีนมีภรรยาญวนอยู่ในบ้านในเมือง ได้รู้เห็นถ้วนถี่ความเป็นแน่นอนอยู่แล้ว เมืองญวนเกิดการกบฎขึ้นทั้งสองฝ่าย พวกกบฎก็มีกำลังมาก เขตต์แดนเมืองญวนกับแดนเมืองลาวเมืองเขมรต่อกัน และเมืองเขมร พุทไธเพ็ชรกับเมืองพวน เมืองมหาชัย เมืองพอง เมืองพลาน เมืองชุมพร เมืองคำเกิด เมืองคำมวนหัวพันทั้งหก หัวเมืองทั้งปวงนี้เป็นข้าขอบขันธเสมากรุงเทพ ฯ มาแต่ก่อน แล้วครอบครัวเวียงจันทร์ ครัวหัวเมืองลาวไปตกค้างอยู่ก็มาก ครั้นจะละทิ้งไว้นานไปแผ่นดินเมืองญวนเป็นของพวกกบฎแล้ว ญวนพวกกบฎก็จะครอบงำเอาบ้านเมืองไพร่พลครอบครัวทั้งนี้เสีย จะไปตีคืนเอาบ้านเมืองครอบครัวมาก็จะหนักแรงรี้พล เถิงมาทว่าแผ่นดินเมืองญวนยังเป็นของเจ้าเวียดนาม ๆ เป็นทางพระราชไมตรีกับกรุงเทพฯ ก็จริง แต่เจ้าเวียดนามมาเบียดเบียนเอาบ้านเมืองเหล่านี้ ซึ่งเป็นเขตต์แดนกรุงเทพ ฯ ไปไว้ การครั้งนี้เป็นทีกรุงเทพฯ จะยกกองทัพไปจัดแจงคืนเอาบ้านเมืองปลายเขตต์แดนเสียให้สำเร็จ ในระหว่างพวกกบฎ


๒๘ ยังไม่ได้แผ่นดินเมืองญวน ทั้งจะได้ฟังราชการข้างเมืองญวนด้วยและทางเมืองเขมรนั้น ได้โปรดให้กองทัพใหญ่ทั้งทัพบกทัพเรือพร้อมไปด้วยแม่ทัพนายกองรี้พลเป็นอันมาก ยกออกไปแต่ณวันเดือนอ้ายแรม ๕ ค่ำ ฝ่ายทางเมืองมหาชัย เมืองพอง เมืองพลานนั้น ก็ได้ให้พระมหาเทพ พระยาวิเศษศักดา คุมกองทัพกรุงเทพฯ กองทัพหัวเมืองฝ่ายตะวันออกยกขึ้นไปแล้ว บัดนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาเป็นแม่ทัพคุมกองทัพกรุงเทพฯ กองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือ ยกขึ้นไปคิดราชการจัดแจงกองทัพเมืองพิชัย เมืองหลวงพระบาง บรรจบกันยกไปตีเมืองแถงหัวพันทั้งหก ซึ่งต่อแดนกับเมืองหลวงพระบางทางหนึ่ง จะได้จัดทัพยกไปตีเมืองพวนทางหนึ่ง และทางเมืองพวนก็ได้โปรดให้พระราชรินทร์คุมกองทัพยกขึ้นไปทางเมืองเวียงจันท์ทางหนึ่ง ไปตีเมืองพวนบรรจบกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือด้วยแล้ว กำหนดเจ้าพระยาธรรมาแม่ทัพได้ยกจากกรุงเทพฯ ณ วันเดือนยี่ขึ้น ๖ ค่ำปีมะเส็ง เบญจศก เจ้าพระยาธรรมาแม่ทัพจะได้ยกขึ้นไปจัดแจงกองทัพณปากหลาย และกองทัพเมืองนคร เมืองเชียงใหม่ เมืองตาก เมืองเถิน ระยะทางไกลจะยกไปเห็นจะไม่ทัน อย่าให้พระยาแพร่ พระยาน่าน คอยกองทัพเมืองนครเมืองเชียงใหม่ เมืองเถิน ให้พระยาแพร่ พระยาน่าน บุตร์หลานแสนท้าว เร่งคุมกองทัพเมืองแพร่ ๕๐๐ คน เมืองน่าน ๒๕๐๐ คน ให้พร้อมสรรพไปด้วยเครื่องสาตราวุธโคต่างช้างม้าสะเบียงอาหาร รีบยกไปเข้า


๒๙ กองทัพเจ้าพระยธรรมาณปากหลาย ให้พร้อมกันทันท่วงทีโดยเร็วเจ้าพระยาธรรมาแม่ทัพจะได้จัดกองทัพ ยกไปตีเมืองพวนหัวพันทั้งหก กวาดเอาครอบครัวเมืองเวียงจันท์ครัวหัวเมืองลาว ซึ่งเป็นข้าขอบขันธ เสมากรุเทพฯ คืนมาให้สิ้น จัดแจงบ้านเมืองครอบครัวเสียให้สำเร็จระหว่างญวนยังรบพุ่งกันอยู่ จะได้ไม่หนักแรงมือทะแกล้วทหารไพร่พล ถ้ากองทัพเมืองใดตีกวาดได้ครอบครัวมา ก็จะได้เอามาใส่บ้านใส่เมืองเป็นกำลังรี้พลต่อไป และกองทัพซึ่งได้ยกขึ้นไปพร้อมกันณปากหลายครั้งนี้ ไพร่พลกองทัพเถิง ๗๐๐๐ เศษ ๘๐๐๐ เมืองหลวงพระบางก็ต้องยกกองทัพไปกับกองทัพเมืองพิชัย ไปตีเมืองแถงทางหนึ่งแล้ว ทั้งส่งสะเบียงกองทัพทางเมืองแถงทางปากหลายด้วย กำลังเมืองหลวงพระบางเมืองเดียวจะส่งสะเบียงกองทัพทั้งสองทางเห็นไม่ทัน กองทัพณปากหลายจะขัดสะเบียงอาหารก็จะเสียราชการไป การสะเบียงอาหารเป็นกำลังศึกสงครามสำคัญนัก เมืองแพร่ เมืองน่านจะไปปากหลายทางใกล้กว่าเมืองหลวงพระบาง ให้พระยาแพร่พระยาน่านบรรทุกช้างโคต่างไปส่งกองทัพณปากหลาย เพิ่มเติมกันกับเข้าเมืองหลวงพระบาง แจกจ่ายไพร่พลกองทัพกรุงเทพฯ กองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกองทัพเมืองแพร่เมืองน่านให้พอทั่วเถิงกันอย่าให้กองทัพอดอยากเสบียงอาหารได้ จะได้คิดราชการโดยสะดวก และซึ่งโปรดให้เจ้าพระยาธรรมาเป็นแม่ทัพยกขึ้นไปคิด


๓๐ ราชการครั้งนี้ ได้มีพระราชโองการดำรัสสั่งเจ้าพระยาธรรมาขึ้นมาทุกประการแล้ว ให้พระยาแพร่ พระยาน่าน บุตร์หลานแสนท้าว นายทัพนายกองทั้งปวงฟังบังคับบัญชาเจ้าพระยาธรรมาแม่ทัพ ให้พร้อมมูลกันอย่าให้เสียราชการได้ ให้พระยาแพร่ พระยาน่าน ตั้งใจฉลองพระเดชพระคุณ ให้ได้ไพร่พลกองทัพยกไปให้ทันท่วงที ทั้งสะเบียงอาหารซึ่งจะได้ลำเลียงส่งกองทัพณปากหลายก็ให้ได้ทันจ่ายกองทัพ จัดแจงให้ได้ราชการทั้งสองอย่าง จะได้เป็นบำเหน็จความชอบกับพระยาแพร่ พระยาน่าน บุตร์หลานแสนท้าวทั้งปวงมากยิ่งขึ้นไป หนังสือมา ณ วันอังคารเดือนอ้ายขึ้น ๘ ค่ำ ปีมะเส็ง เบญศก ( พ.ศ. ๒๓๗๖ ) วันเดือนอ้ายแรม ๗ ค่ำ ได้ส่งตราเมืองแพร่เมืองน่าน ให้พระยาชัยบูรณ์ถือไป

ฉะบับที่ ๔ ตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี )

................(ลบ) ฤทธิมีหนังสือไปว่า โปรดให้กำปั่นบรรทุกข้าวสาร ๕๐ เกวียนออกมาพระราชทานเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯ มีหนังสือไปให้พระยารณฤทธิ์ส่งข้าวสารให้พระฤทธิสงคราม ขุนพรโภชนาที่เมืองกระพงโสม แล้วให้กำปั่นไปลาดตระเวนติดปากน้ำ


๓๑ เมืองพุทไธมาศไว้ และว่าข้าวซึ่งจะขนออกไปทางท่าสวายระยะทางไกล จะขอรับพระราชทานข้าวเปลือกที่เมืองจันทบุรี เมืองตราด ๘๐๐ เกวียนศิริเป็นข้าวสาร................ ได้มีหนังสือมาเกนให้เจ้าเมืองกรมการเมืองจันทบุรี กรมการเมืองตราด สีข้าวจัดคนและเรือบรรทุกข้าวบรรทุกเกลือไปส่งณะเมืองกระพงโสม จะจัดเกวียนมารับขนไปณอุดงมีชัยระยะทางไกล ๓ คืน ๔ คืน ก็เถิงหาลำบากกับไพร่พลหนักไม่ และหนังสือซึ่งมีเข้าไปเถิงพระยาราชสุภาวดี ใจความว่า การซึ่งจะคิดกระทำต่อไปข้างหน้า ขอให้สติปัญญาพระยาราชสุภาวดีช่วยฟังกระแสพระราชดำริให้ถ้วนถี่นั้น ได้นำหนังสือบอกขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบใต้ฝ่าละอองฯ ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าฯ ว่า การศึกสงครามควรจะรบก็รบกัน ควรจะพูดก็พูดกัน ชอบด้วยราชการแล้ว ความประการหนึ่งประการใดก็ได้มีตราโปรดเกล้าฯ ออกมาแต่ก่อน ๆ ทุกอย่าง เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯ คิดราชการเห็นประการใดก็ให้ผ่อนปรนไปตามการ อย่าให้เสียชั้นเชิงกับญวนได้ บัดนี้โปรดเกล้าฯ ให้นายสิทธิ์ นายเวนมหาดเล็ก กลับออกมาฟังราชการอุดงมีชัยอีก นายสิทธิ์ นายเวนมหาดเล็ก .................................( ต้นฉะบับขาด )..................... ...........



๓๒ เหตุการณ์ในปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๗๗

กองทัพบกทัพเรือไทยไปรบญวนจนถึงเมืองโจดก บังเอิญกองทัพเรือทำการอ่อนแอ ในที่สุดทัพไทยต้องถอยหมด เจ้าพระยาพระคลัง ( ดิส บุนนาค ) ถอยทัพเรือมาพักอยู่จันทบุรีแล้วเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) จึงถอยทัพบกมาตั้งมั่นอยู่เมืองปัตบอง ฝ่ายเขมรรู้ว่ากองทัพไทยทำการไม่สำเร็จต้องถอยทัพกลับ ก็พากันก่อการกำเริบต่อสู้กองทัพไทย บรรดาที่ตั้งรักษาเมืองสำคัญของเขมร และระดมทำร้ายกองทัพไทยย่อย ๆ ที่ล่ากลับจากเมืองญวนเสียหายมาก นายทัพนายกองไทยและเขมร ที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ให้อยู่รักษาเมืองพนมเป็ญ มีอาทิคือพระยาราชโยธา จมื่นสมุหพิมาน พระยาอภัยภูเบศ ( เชด ) เจ้าองค์อิ่ม เจ้าองค์ด้วง เมื่อทราบว่าเขมรหลายเมืองก่อการกำเริบ ซึ่งอาจจะสมทบกันไประดมตีเมืองพนมเป็ญอีก เกรงว่ากำลังที่มีอยู่จะต่อต้านไม่ไหว จึงรีบกวาดต้อนครัวเมืองพนมเป็ญ ยกมาพักอยู่เมืองโพธิสัตว์ พวกเขมรกำเริบ ก็ไล่ตามมาทำร้าย กองทัพไทยที่ตั้งรักษาด่านทางในระหว่าง ก็ช่วยกันป้องกันเมืองพนมเป็ญ และขับไล่พวกเขมรแตกพ่ายไป ฝ่ายยองเตียนกุญ แม่ทัพญวน เห็นว่ากองทัพไทยถอย


๓๓ กลับหมดแล้ว จึงให้องค์จันเบยี่คุมพล ๑๐๐๐ พาสมเด็จพระอุทัยราชา ( นักองค์จันท์ ) ขึ้นมาตั้งอยู่เมืองพนมเป็ญ ถึงเดือนยี่สมเด็จพระอุทัยราชาประชวนไข้พิศม์ถึงพิราลัย ญวนจึงยกนักองค์มี เจ้าหญิงราชธิดาสมเด็จพระอุทัยราชา ให้เป็นเจ้าเมืองพนมเป็ญโดยตำแหน่ง ( เพราะราชบุตรไม่มี ) แต่ราชการทั้งปวงสิทธิขาดอยู่กับญวนสิ้น ส่วนที่เมืองพัตบอง พระยาอภัยภูเบศ ( เชด ) ถึงอนิจกรรมจึงทรงพระกรุณาโปรดให้ เจ้าพระยา บดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) สมุหนายก แม่ทัพใหญ่ ผู้สำเร็จราชการ ดำเนินการตามกระแสพระบรมราชโองการ ให้ยกเจ้าองค์อิ่มขึ้นเป็นผู้ครองเมืองพัตบองไปพลาง จนกว่าเหตุการณ์ในเมืองเขมรสงบเรียบร้อยแล้ว จึงจะทรงพระราชดำริเชิดชูอิศรศักดิของเจ้านายเขมรให้สมควรยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก แล้วโปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) กลับเข้ามากรุงเทพฯ ทางเหนือและทางภาคอิสาน กองทัพไทยยกขึ้นไปโดยสะดวก ทำการเกลี่ยกล่อมบ้าง กวาดต้อนบ้าง ตามสมควรแก่เหตุการณ์ ขยายเขตต์ไปจนถึงเมืองพวน เมืองพวนนั้นอยู่ใกล้อาณาเขตต์นครเวียงจันทน์ และดินแดนด้านตะวันออกก็ติดต่อกับอาณาจักรญวน ต่อไปนี้จงตรวจดูเอกสารต่าง ๆ ซึ่งจะให้หลักฐานประกอบความรู้แจ่มแจ้งขึ้นมาก


๓๔ ฉะบับที่ ๑ ตราตอบเจ้าพระยาธรรมา ( สมบุญ ) เรื่องกวาดต้อนเมืองพวน

การฉลองพระเดชพระคุณสืบไป.................................... สิ้นครอบครัวหลบหลีกแอบแฝง................................................ ฐานบ้านเรือนต่อไปจะเป็นทาง................................................ ญวนไปข้างหน้า ให้ว่ากล่าวกับเจ้า.......................................... เพี้ยพวกเมืองพวนและเจ้าเมือง................................................ ผู้คนไปเกลี้ยกล่อมเอาครอบครัว............................................. ถ้าในปีมะเมียฉอศก ( พ.ศ. ๒๓๗๗ ) นี้เห็นว่าจะเกลี้ยกล่อมเอาพวนไม่สิ้น จะตกค้างอยู่บ้าง ก็ให้กำชับเจ้าเมือง, ท้าวเพี้ย เมืองหนองคาย, เมืองหนองหาร, เมืองไชยบุรีให้แต่งผู้คนรักษาด่านทางสืบสวนฟังข้อราชการจงกวดขัน ให้ระวังระไวอย่าให้พวนซึ่งกวาดมาแล้วหนีกลับไปบ้านเมืองได้ เข้าฤดูแล้งก็ให้คิดเกลี้ยกล่อมเอาพวนที่ตกค้างอยู่นั้นต่อไป ถ้าจะเอามาโดยดีก็ให้เกลี้ยกล่อมเอามา ถ้าเห็นว่าจะเอามาโดยดีไม่สิ้น พวนยังตกค้างอยู่ จึงจะโปรดให้กองทัพไปตีกวาดเอามาให้สิ้น อย่าให้เป็นเชื้อสายทางสะเบียงอาหารกับข้าศึกต่อไปได้และครอบครัวพวนซึ่งได้มานั้น จะจัดแจงไว้ที่หัวเมืองตามท้องตราซึ่งโปรดขึ้นมาครั้งนี้ ถ้าเจ้าเมือง ท้าวเพี้ย จะวิวาทว่า


๓๕ กล่าวเกี่ยวข้องกันด้วยครอบครัวประการใด ก็ให้พระราชรินบังคับบัญชาตัดสินให้เป็นอันสำเร็จให้ว่ากล่าวประนบประนอม อย่าให้มีความอริวิวาทร้าวฉานแก่กันให้เกิดความเคืองใต้ฝ่าละออง ฯ จะได้ช่วยกันรักษาเขตต์แดนบ้านเมือง ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณต่อไป หนังสือมา ณ วันพุธขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปี มะเมีย ฉอศก ( พ.ศ. ๒๓๗๗ ) วันศุกร์ขึ้น ๑๑ ค่ำเดือน ๖ ปีมะเมียฉอศก ได้ส่งตราตอบส่งสำเนาหนังสือบอกเจ้าพระยาธรรมา ให้ขุนวิชิตสงคราม ปลัดกรมอาษาวิเศษซ้ายถือไป เป็นคน ขุนวิชิตสงคราม ๑ พลพาย ๑๐ ( รวม ) ๑๑ คน เรือยาว ๑๑ วา ฉะบับที่ ๒ หนังสือทงเจญวนเกลี้ยกล่อมชาวไทยภาคอิสาน

หนังสือทงเจ ขุนนางเมืองเวียดนาม เป็นจงตกเมืองแง่อานเมืองห่าติน ได้จัดแจงบ้านเมืองไพร่พลสะเบียงอาหารทำหนังสือมาประกาศสั่งสอนหัวเมืองลาวทั้งปวงทุกตำบล เดิมไทยหาตั้งอยู่ในยุติธรรมไม่ ไม่มีเหตุไม่มีวิวาท ยกกองทัพมาตีเมืองญวน เบียดเบียนหัวเมืองทั้งปวง ได้สู้รบกับกองทัพญวน กองทัพไทยไปเถิงไหนก็เผาบ้านเผาเมือง กวาด


๓๖ ต้อนเอาครอบครัวผู้คนไปเป็นกำลัง ไปเถิงไหนก็ทำดังนั้นทุกเมือง พวกลาวหลงเชื่อหาทันคิดไม่ เข้าเกลี้ยกล่อมให้ใช้สอย ความรู้ไปเถิงเจ้าเวียดนาม จึงให้ยกทัพใหญ่ลงมาปราบปราม กองทัพญวนยกมาเถิงบ้านเมืองตำบลใด เห็นกองทัพไทยเผาบ้านเผาเรือนเสียสิ้น แล้วเห็นฆ่าลาวล้มตายลำบากเวทนาอยู่เป็นอันมาก ความทราบไปเถิงเจ้าเวียดนาม ก็มีน้ำพระทัยทนสังเวชหาได้ไม่ กองทัพญวนจับลาวได้คนหนึ่งชื่อชูเพีย ซักถามได้ความว่าเป็นคนเมืองมหาชัย กองทัพไทยจับเอาไปได้ มีรับสั่งเวียดนามว่า ชูเพียคนนี้ เป็นคนโง่ หารู้ความว่าไรไม่ หลงเชื่อพวกไทยเกลี้ยกล่อมหาได้คิดร้ายต่อญวนไม่ กรุงเวียดนามใจบุญ มีความเมตตาปล่อยให้ชูเพียกลับไปบ้านเมือง เราเห็นว่าเจ้าเวียดนามเจ้าของเราใจบุญ มีความเมตตาทั่วกัน แต่ก่อนมาหัวเมืองทั้งปวงได้พึ่งบุญ ชื่นชมอยู่เย็นเป็นสุขมาช้านาน ครั้งนี้แต่คนตีทัพจับได้ก็หาเอาโทษไม่ ปล่อยให้กลับไปบ้านเมือง ด้วยมีความเมตตาอย่างนี้ ลาวทั้งปวงจะไม่คิดเห็นจริงหรือ จึงเอาหนังสือประกาศคำสั่งสอน มอบให้ชูเพียกลับมาแจก บอกกล่าวกันให้ทั่วทุก ๆ เมือง เมืองไทยกับเมืองญวน ใหญ่เล็กไม่เหมือนกัน แข็งอ่อนรู้กันไม่ได้ พวกลาวทั้งปวงจะไม่รู้ไม่ได้ยินหรือ บัดนี้พวกไทยไม่ตั้งอยู่ในอย่างธรรมเนียม ก่อเหตุก่อน เทวดามนุษย์ก็ชวนกันโกรธ ทำความอัปราชัยใส่



๓๗ ตัวเองแต่ทหารไทยไพร่พลทั้งปวง พวกญวนจับฆ่าเสียบ้าง จมน้ำตายบ้าง หนีตายบ้าง สัก ๑๐,๐๐๐ หนึ่ง เมืองประเทศอื่นทั้งปวงเขารู้เข้า ก็จะหัวร่อประมาทว่า เป็นคนใจโลภ รักแต่จะทำลาย ไปเถิงเมืองไหน ก็เผาบ้านเผาเมืองกวาดต้อนไปให้อยู่แต่แผ่นดินเปล่า ความทั้งนี้พวกลาวก็ย่อมรู้อยู่สิ้น ทำไมจึงมีใจยินดีไปเข้าด้วย เราเห็นว่าจะเป็นด้วยกลัวอำนาจจึงเข้าด้วย ทำไมไม่คิดดูหรือว่าพวกไทยมาเกลี้ยกล่อมเมืองทั้งนั้นเอาแต่อำนาจ มีไทยมาแต่ ๕๐ คน ๗๐ คน ทั้งนายทั้งไพร่ พวกพ้องก็ไม่มากสักเท่าไร เป็นแต่มีชื่อไม่มีตัว เอาแต่พวกที่เกลี้ยกล่อมได้เป็นกำลัง เมืองลาวทั้งปวง ถ้าแม้นจะมาเข้าด้วยกับพวกญวนแล้ว พวกไทยมาจะทำไม่ได้ เดี๋ยวนี้มายอมตัวเป็นชะเลยไทย ก้มหัวให้เขาใช้ มีลูกชายหญิงและข้าวของสิ่งใด ก็จะเป็นของไทยสิ้น พวกลาวจะได้อะไรเป็นลาภของตัวหรือสักเท่าเส้นผมก็ไม่มี ถ้าแม้นกองทัพญวนมารบกับไทย หอกดาบปืนไฟก็จะถึงตัวลาวก่อน พวกลาวทั้งปวงมารับหน้าตายก่อน มิใช่จะตายแต่ตัวคนเดียว ตัวตายแล้วลูกเมียข้าวของอยู่ที่เมืองไทย ก็จะกวาดต้อนเก็บไปสิ้น ทั้งพวกพ้องก็หาเหลือไม่ ได้ความเดือดร้อนน่าเวทนานัก เราได้ยินได้ฟังแล้ว น้ำใจเราทนหาได้ไม่ และได้ความเดือดร้อนแค้นเข็ญทั้งนี้ ก็ย่อมแจ้งอยู่สิ้น ถ้าไปเข้าด้วยไทยซึ่งจะทำผิดต่อไปก็เหมือนหนึ่งละลาภเสีย ไปหาความทุกข์ ละ


๓๘ ความสุขไปหาความเดือดร้อนใจเห็นชอบแล้วหรือ ภายหลังเมืองญวนจะยกทัพไปตีเมืองลาว ว่าโทษที่เข้ากับไทยทำผิดโทษทั้งนี้จะหาพ้นตัวไม่ เร่งคิดชวนกันกลับใจเสียโดยเร็ว รักษาอย่างธรรมเนียมไว้ให้ดี จะได้คุ้มครองพวกพ้อง เลี้ยงบุตรภรรยาให้เป็นสุข กับที่คิดผิดนั้นใครจะดีกว่า ภายหลังเมืองไทยและเมืองอื่นจะยกมาตี และเกลี้ยกล่อมพวกชาวเจ้าทั้งปวง ถ้าชวนกันรบสู้ไว้ได้ ไม่ต้องให้เขาจับไปเป็นชะเลยจะมิดีนักหนาหรือ ถ้ากำลังสู้รบไม่ได้ ก็ให้หลบหนีไปให้พ้น เขามาไม่พบคน เขาไม่ได้ของ อยู่ไม่นานเขาก็จะกลับไป แล้วก็จะได้กลับเข้ามาอยู่บ้านเมือง ทำมาหากินตามเดิม ก็จะไม่เสียที ทั้งจะได้ความชอบ ถ้าแม้นคิดตามพวกซึ่งทำผิดต่อเหตุต่อการณ์ ก็จะไม่ผิดแต่ตัวที่ตัวเข้าติดบ่วงทุกข์ จะตลอดถึงลูกหลานทุกชั่วไม่หยุด ร้ายดีทั้งนี้ตัวของใครก็คิดใส่ตัวเอง คิดทำตามอย่าให้ผิดหนังสือประกาศสั่งสอน หนังสือให้มาเถิงเมืองเหมราช ท้าวเพียผู้ใหญ่เจ้าเมือง ๔ เมืองมุกดาหาร ท้าวเพียผู้ใหญ่เจ้าเมือง ๓ ฉะบับ เมืองอุบล ท้าวเพียผู้ใหญ่เจ้าเมือง ๓ ฉบับ เมืองยโสธร ท้าวเพียผู้ใหญ่เจ้าเมือง ๓ ฉะบับ เมืองมหาชัย ท้าวเพียผู้ใหญ่เจ้าเมือง ๓ ฉะบับ เข้ากัน ๕ เมืองเป็นหนังสือ ๑๖ ฉะบับ อักษรเรื่องความเหมือนกัน ปิดตราแดง อักษรในดวงตรา ๘ คัว ว่าแง่อาน ห่าติน จงตกกวาน อันแปลออกเป็น



๓๙ คำไทยว่า ตราจงตกเมืองแง่อาน เมืองห่าติน หนังสือทำมินมาง ๑๕ ปี เดือน ๘ ต้น ขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘) ต้น หนังสือญวน ๑๖ ฉะบับ อยู่เสมียนตราหมื่นนรา นายเวนกรมท่า

ฉะบับที่ ๓ หนังสือหลวงราชเสนา มหาดไทย ถึงพระยานครเสียมราบ

หนังสือหลวงราชเสนา มหาดไทย มาเถิงพระยาอภัยสงคราม พระยานครเสียมราบ....ด้วย ฯ พณ ฯ สมุหนายกเจ้าคุณแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการ....ประสาทสั่งว่า จมื่นศรีบริรักษ์ ขุนนาถจำนง เชิญ....ท้องตราพระราชสีห์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ออกมาฉะบับหนึ่งว่า ราชการซึ่ง.........สองอยู่ในท้องตราพระราชสีห์ โปรดให้จมื่นศรีบริรักษ์ ขุนนาถจำนง ถือมา และราชการทางเมืองกระพงสวายนั้นบ้านเมืองฝ่ายเราเขตต์แดนต่อกันอยู่จะประมาทไว้ใจมิได้ ให้ตริตรองจงรอบคอบ ช่วยกันรักษาบ้านเมืองเขตต์แดนของสมเด็จพระพุทธเจ้า......ให้เสียท่วงทีกับข้าศึกได้ แล้วให้แต่งกองลาดตระเวน.......ทางบกทางเรือจงสามารถ จับเอาเขมร ญวน จีน ชาวเมืองพนมเป็ญและหัวเมือง..ของเขมรซึ่ง


๔๐ ไปมาหากินและมาตระเวน จับเอาตัวมาสืบสวนราชการให้จงได้ กระทำให้ถูกต้องตามท้องตราพระราชสีห์ซึ่งโปรดเกล้า ฯ ออกมาจงทุกประการ ได้มอบ ปืนใหญ่กระสุน ๒ นิ้วกึ่ง ๒ กระบอก ปืนใหญ่กระสุน ๓ นิ้วกึ่ง ๑๒ บอก ปืนหลักกระสุน ๒ นิ้ว ๓ บอก ปืนหามแล่นกระสุนนิ้วกึ่ง ๓๐ กระบอก (รวมเป็น ๕๗ บอก) ได้มอบกระสุน ๒ นิ้วกึ่ง ๒๐๐ กระสุน กระสุน ๓ นิ้วกึ่ง ๑๒๐๐ กระสุน ๒ นิ้ว ๓๐๐ กระสุนนิ้วกึ่ง ๔๐๐๐ กระสุนคาบศิลา ๒๐๐๐๐ (รวมเป็น, ๒๕๗๐๐) ดินดำ ๑๐ ผาน ๒๐๐ อัน กะทะใบบัวขนาดกลางหุงดิน ๖ ใบ ออกมาไว้สำหรับ...นครเสียมราบ ให้นายทองสุข บุตรพระยาลครเสียมราบคุมมาด้วยแล้ว หนังสือมา ณ วันเสาร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย ฉอศก (พ.ศ.๒๓๗๗) วันเสาร์แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ เพลา ๓ ทุ่มได้ส่งสำเนาท้องตราให้นายสุขบุตรพระยา....(นครเสียมราบ).....

ฉะบับที่ ๔ หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ถึงเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน อินทรกำแหง)

หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก มาเถิงเจ้าพระ ๔๑ ยานครราชสีมาด้วยเจ้าพระยานครราชสีมาบอกหนังสือให้ขุนเทพนารายณ์ถือมาแจ้งราชการว่า เจ้าพระยานครราชสีมายกขึ้นไปเถิงเมืองนางรอง ณ วันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมียฉอศก หลวงสุริยามาตย์บอกข้อราชการมาว่า พระยาศรีราชเดโช พระยาบำเรอภักดิ์ พระยาทัศฏาจัตุรงค์ กวาดครอบครัวทางเมืองสมบุกเมืองสมบูรณ์ มาตั้งอยู่ ณ เมืองอุบล เมืองป่าศักดิ์นั้น ฝ่ายพระยาศรีราชเดโช พระยาบำเรอศักดิ์ พระยาทัศฏาจัตุรงค์...บอกข้าราชการไป ณ เมืองปัตบอง ข้อราชการก็ถูกต้องกันอยู่ อนึ่งอยู่ ณ วันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย ฉอศก จมื่นศรีบริรักษ์ ขุนนาถจำนงค์ เชิญท้องตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ออกมาฉะบับหนึ่ง ใจความ... อยู่ในท้องตราพระราชสีห์ที่จมื่นศรีบริรักษ์ ขุนนาถจำนงค์ ถือมา และราชการทางเมืองโพธิสัตว์นั้น ได้จัดให้ จมื่นสมุหพิมาน พระพลหลวงศรีสิทธิสงคราม นายไพร่ ๑๐๐๐ เศษยกไปตีครัวป่ากระ... ณ วันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ เราก็จะยกหนุนออกไปตั้งอยู่ ด่านสมอแกร จะแต่งกองแยกกันออกไปตีจับชาวด่านแขวงเมืองโพธิสัตว์ยั่วเย้าให้รวบรวมตั้งตัวทำไร่นาได้ และราชการทางเมืองเขมรนั้นให้เจ้าพระยานครราชสีมาตริตรองไว้ จะได้ช่วยกันฉลองพระเดชพระคุณกระทำศึกสงครามต่อไปข้างหน้า กับการสะเบียงอาหารที่จะเลี้ยงกองทัพนั้น ให้เจ้าพระยานครราชสีมา


๔๒ เร่งจัดแจงส่งข้าวลง..ให้ทัน กองทัพที่อยู่รักษาเมืองปัตบองก็ฝืดเคืองอยู่ ถ้าส่ง...อาหารทันท่วงทีก็จะได้เป็นกำลังราชการ ความชอบของเจ้าพระยานครราชสีมาก็จะมีอยู่เป็นอันมาก หนังสือมา ณ วันจันทร์แรม ๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย ฉอศก (พ.ศ.๒๓๗๗) วันจันทร์แรม ๕ ค่ำ เดือน ๖ ขุนเทพเสนาเมืองนางรองถือไป

ฉะบับที่ ๕ หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ถึงเจ้าองค์อิ่ม , เจ้าองค์ด้วง , พระองค์แก้ว

หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก แม่ทัพใหญ่ มาเถิงเจ้าองค์อิ่ม, เจ้าองค์ด้วง, พระองค์แก้ว ด้วยจมื่นบริรักษ์ ขุนนาถจำนง ถือตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯมาว่า นายทัพ นายกอง ทางชเลได้ครัวญวนส่งเข้าไปทูลเกล้า ฯ ถวาย โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บางโพ จะจัดให้เป็นกองทหารปืนใหญ่ไว้สำหรับการศึกสงคราม และมีผู้เข้าไปแจ้งความให้พระยาศรีสหเทพกราบทูลพระกรุณาว่า เจ้าองค์อิ่ม เจ้าองค์ด้วง พระองค์แก้ว กับนายทัพนายกอง ทางบกได้ครัวญวนมามากอยู่นั้น ห้ามอย่าให้นายทัพนายกอง เอา


๔๓ ครัวญวนเหล่านี้ไว้แต่คนหนึ่งได้ จึงให้จมื่นศรีบริรักษ์ ให้ขุนนาถจำนงค์ ให้พระยาวิเศษสุนทร ถือตรามาชำระครัวญวนซึ่งตกอยู่ตามหัวเมือง ถ้าครัวญวนตกอยู่ที่เมืองใดก็ให้......เจ้าองค์อิ่ม เจ้าองค์ด้วงเจ้าเมืองกรมการ แต่งคนคุมออกไป ณ เมืองปัตบอง จะได้บอกส่งเข้าไป ณ กรุงเทพ ฯ หนังสือมา ณ วันพุธ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย ฉอศก (พ.ศ. ๒๓๗๗) ณ วันพุธแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เพลา ๕ โมงเย็น ได้ส่งตราให้ขุนนาถจำนงค์ถือไป มงคลบุรี ๑ สวายจิต ๑

ฉะบับที่ ๖ หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ถึงพระยาราชนิกุล, พระยาพิชัยสงคราม

หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก แม่ทัพใหญ่มาเถิงพระยาราชนิกุล พระยาพิชัยสงคราม พระยาอภัยสงคราม พระยานครเสียมราบ ด้วยจมื่นศรีบริรักษ์ ขุนนาถจำนงค์ ถือตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ มาว่า นายทัพนายกอง ทางชเลได้ครัวญวนส่งเข้าทูลเกล้า ฯ ถวาย โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บางโพ จะจัดให้เป็นกองทหารปืนใหญ่ไว้สำหรับราชการศึกสงคราม มีผู้เข้าไปแจ้งความให้พระยา

๔๔ ศรีสหเทพกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า นายทัพนายกอง ทางเมืองลครเสียมราบได้ครัวญวนมามากอยู่นั้น ห้ามอย่าให้นายทัพนายกอง พระยาพระเขมร เบียดบังเอาครอบครัวญวนเหล่านี้ไว้แต่คนหนึ่งได้ อนึ่งให้จมื่นศรีบริรักษ์ ขุนนาถจำนงค์ พระยาวิเศษสุนทร ถือตรามาชำระครัวญวนซึ่งตกอยู่ตามหัวเมือง ถ้าครัวญวนตกอยู่ที่เมืองใดให้ข้าหลวง เจ้าเมือง กรมการ แต่งคนคุมเข้าไปส่ง ณ เมืองปัตบองให้สิ้น อย่าให้ปิดบังอำพรางไว้แต่คนหนึ่งได้เป็นอันขาด อนึ่งครัวเขมรซึ่งนายทัพนายกองกวาดได้มานั้น ถ้าเป็นครัวเขมรใหม่ ก็ให้แต่งคนคุมเข้าไปส่ง ณ เมืองปัตบอง จะได้บอกส่งเข้าไป ณ กรุงเทพ ฯ ถ้าได้มาเป็นครัวเดิม เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองศรีษะเกษ ก็ให้มอบให้มูนนายคุมไป...เมืองตามเดิมให้สิ้น หนังสือมา ณ วันพุธแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย ฉอศก (พ.ศ. ๒๓๗๗) วันพุธแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เพลา ๕ โมงเย็น ได้ส่งตราให้ขุนนาถจำนงค์ถือไป




๔๕ ฉะบับที่ ๗ หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ถึงพระยาจ่าแสน, พระยาณรงค์พิชัย, พระยาปราจินบุรี

หนังเสือเจ้าพระบดินทรเดชา ที่สมุหนายก มาเถิงพระยาจ่าแสนบดี พระยาณรงคพิชัย พระยาปราจิน ด้วยจมื่นศรีบริรักษ์ ขุนนาถจำนงค์ ถือตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ออกไปฉะบับหนึ่งว่า นายทัพนายกองทางชเล ได้ครัวญวนส่งเข้าไปทูลเกล้า ฯ ถวาย โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บางโพ จะจัดให้เป็นกองทหารปืนใหญ่ไว้สำหรับการศึกสงคราม และมีผู้ไปแจ้งความพระยาศรีสหเทพกราบทูลพระกรุณาว่า นายทัพนายกองทางบก ได้ครัวญวนมามากอยู่ ให้ชำระครัวญวนส่งเข้าไปเป็นหลวงให้สิ้น ห้ามอย่าให้ผู้ใดเอาไว้แต่คนหนึ่งได้ถ้าพระยาจ่าแสนบดี พระยาปราจิน พระยาณรงควิชัย นายทัพนายกองได้ญวนมาเท่าใด ก็ให้ส่งเข้าไปทูลเกล้า ฯ ถวายให้สิ้นและให้พระยาปราจินคอยตรวจตราดูผู้ใดจะได้ญวนเข้าไป ก็ให้พระยาปราจินชักเอาญวนบอกส่งเข้าไป ณ กรุงเทพ ฯ และครัวญวนซึ่งพระยาจ่าแสนบดีให้นั้น ก็ให้ส่งเข้าไปทูลเกล้า ฯ ถวายด้วย บุตรชายญวน ๑๑ คนนั้นก็จะส่งเข้าไปภายหลังจะได้อยู่ให้พร้อมมูลกัน ถ้าพระยาณรงควิชัย พระยาจ่าแสน


๔๖ บดี พระยาปราจิน จัดแจงครัวญวนส่งเข้าไปถวายได้เท่าใดให้บอกไปให้แจ้ง หนังสือมา ณ วันพุธ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ฉอศก (พ.ศ. ๒๓๗๗) วันพุธแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เพลาเช้า ๕ โมง ได้ส่งต้นหนังสือนี้ให้พระพิทักษ์บดินทร์ถือไปแล้ว

ฉะบับที่ ๘ ใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)

หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก มาเถิงพระยามหาอำมาตย์ ให้นำขึ้นกราบบังคม ทูลพระกรุณาให้ทราบใต้ฝ่าละออง ฯ ด้วยครัวเมืองโพธิสัตว์เข้ามาแต่ครั้งพระยาสังคโลก เป็นสมัครพรรคพวกญาติพี่น้องพระยาวงศานุชิตค้างอยู่ เมืองปัตบองเป็นคน ชายฉกรรจ์ ๑ ครัว ๑๙ เป็น ๒๐ ค้างอยู่เมืองอรัญเป็นคนชายฉกรรจ์ ๒ ครัว ๔ เป็น ๖ (รวมเป็น) ๒๖ คน พระยาวงศานุชิต ขอรับพระราชทานเอาเข้าไปไว้ ณ เมืองราชบุรีให้พร้อมมูลกัน ได้ให้พระยาวงศานุชิตคุมครัวชายฉกรรจ์ ๓ คุมครัวชายหญิงใหญ่น้อย ๒๓ (รวมเป็น) ๒๖ คนเข้ามาด้วยแล้ว หนังสือมา ณ วันพฤหัสบดี แรม ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมียฉอศก


๔๗ วันพฤหัสบดีแรม ๙ ค่ำ เดือน ๖ เพลาเช้า ๓ โมง ได้ส่งหนังสือบอกให้พระพิพิธ...............ถือไป

ฉะบับที่ ๙ หนังสือเจ้าพระยาบดินบทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ถึงพระยาศรีสหเทพ

หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก มาเถิงพระยาศรีสหเทพ ด้วยแต่งให้หมื่นจงอักษรคุมเอาของกิน ๕๐ ชะลอมออกไปนั้นขอบใจอยู่แล้ว การของกินอาหารนั้นอย่าให้ส่งเสียเป็นธุระอีกเลย เถิงจะบรรทุกเกวียนไปเท่าใดก็หาพอไม่ด้วยนายทัพนายกองมาก ต้องเจือจานไปทุกแห่ง เป็นนิสสัยไปราชการทัพก็ต้องอดอยากเป็นธรรมดา ให้พระยาศรีสหเทพตั้งใจแต่ที่ตรงราชการ กับให้บอกกระแสพระราชดำริออกไปให้รู้เนือง ๆ จะได้ฉลองพระเดชพระคุณให้ถูกกับพระราชดำริกับที่การวัดจักรวรรดิ์ราชาวาสนั้น จะขัดสนไปก็ให้เอาเป็นธุระหาไปส่งให้บ้าง ให้ทันการด้วย จะได้เป็นกองการกุศลสืบไป หนังสือมา ณ วันพฤหัสบดีแรม ๙ ค่ำเดือน ๖ ปีมะเมียฉอศก วันพฤหัสบดีแรม ๙ ค่ำเดือน ๖ เพลาเช้า ๓ โมง ได้ส่งหนังสือบอกให้หมื่นจงอักษรถือไป ฯ


๔๘ ฉะบับที่ ๑๐ หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ถึงพระยานราราชมนตรี

หนังสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก มาเถิงพระยานราราชมนตรี หลวงศรีเสนา ด้วยจมื่นศรีบริรักษ์ ขุนนาถจำนง ถือตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ออกมาฉะบับหนึ่งว่า ต้องพระราชประสงค์ครัวญวนครัวเขมรเข้าไปตั้งบ้านเรือนไว้เป็นหมวดเป็นกอง จะให้เป็นกองทหารปืนใหญ่ไว้สำหรับการศึกสงครามสืบไปและนายทัพนายกองผู้ใดได้ครัวญวน ครัวเขมรมา ที่ไม่ควรจะได้ก็อย่าให้เอาไว้ และพระยาปราจินได้ครัวเขมรมาเป็นครัวชายฉกรรจ์ ๑๒ ครัวชายหญิงใหญ่น้อย ๗๑ (รวมเป็น) ๘๓ คนนั้นให้พระยานราราชมนตรี ให้หลวงศรีเสนา.. ชำระเอาครัวเขมรที่พระยาปราจินให้ครบส่งเข้าไป ณ กรุงเทพ ฯ อย่าให้พระยาปราจินเอาครัวเขมรไว้แต่คนหนึ่งได้เป็นอันขาด หนังสือมา ณ วันพฤหัสบดีแรม ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมียฉอศก วันพฤหัสบดีแรม ๙ ค่ำเดือน ๖ เพลาเช้า ๓ โมงได้ส่งตราให้พระพิพิธวาทีถือไป



๔๙ ฉะบับที่ ๑๑ หนังสืออุปฮาดเมืองหลวงมูเลง มาถึงเจ้าเมืองหลวงมูเลง พระนครพนม ท้าววรบุตร (ต้นฉะบับเป็นอักษรไทยเหนือ เจ้าอุปราช เจ้าเหม็น แปล)

หนังสืออุปฮาดผู้น้อง อุทิศสวัสดีมาเถิงเจ้าพี่เจ้าน้อง และตาลุงทั้งปวงได้แจ้ง ข้าอยู่ข้านี้ ก็อยู่ด้วยบุญด้วยคุณแก้วทั้งสามพระรัตนตรัย และบารมีเจ้าฟ้าสามกว้านหลวง ซึ่งว่าบ้านเมืองของเรานี้ใครก็ไม่ได้เคืองทำอะไรแก่กัน หากเป็นบาปบ้านเวรเมือง หากจำพรากจากกัน ข้าก็ทุกข์ยากไม่มีใคร ข้าก็ขออาศัยพึ่งบุญเจ้าพี่เจ้าน้อง อย่าให้ข้องขัดสน คนทั้งปวงก็หากได้ลงมาสู่พระราชสมภารสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพ ฯ ข้างนี้หมดแล้ว ข้าอยู่โน่นบ่าวไพร่ยังมีมากน้อยเท่าใด ก็ขอไว้อยู่กับข้าทำราชการกับเจ้าฟ้าสามกว้านหลวงไปก่อน สุดแต่บุญเราเจ้าข้าทั้งหลายเถิด ข้อหนึ่งรายข้าวเรากับข้าวเจ้าพระนคร เจ้าวรบุตรมาจัดแจงให้ศรีลามวัดกับบิดา นายกองรักษาไว้มีข้าว ๔๑ ยุ้งนั้น แต่ข้ามาเถิงข้าวยังมีแต่ ๔ ยุ้ง ข้าแบ่งปันกับพวกอยู่บ้านกินก็หมดแล้ว อย่าว่าข้าไม่ให้ไม่ปันกันกิน ข้าก็ไม่ได้ว่าบ่าวไพร่ข้างโน้นข้างนี้ แม้นว่าคนอยู่กับข้างนี้จะไปหาข้างโน้น ข้าก็ไม่ว่าอะไร และทิตด้วงกับตาพรมขึ้นมากับเจ้าพระนคร เขาเจ็บไข้ลงไปไม่ได้ ข้าไม่ได้เกาะกุมไว้ ถ้าที่พระนครเป็นบ้านเป็นเมือง


๕๐ ปกติดีแล้วเมื่อใด ข้าไม่ว่าจะเอาของพี่ของน้องดอก และนางออนให้ลงไปหานั้น ข้าไม่ว่าอะไร นางออนก็ ลงไปไม่ได้ นางออนก็ยังไม่มาเถิงข้า ยังอยู่ข้างใต้โน้น เอาแต่ใจนางออนจะอยู่ข้างนี้ก็ตาม จะไปข้างโน้นก็ตาม หนังสือมา ณ วันเสาร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ทุติยาษาฒ ปีมะเมียฉอศก หนังสืออุปฮาดเมืองหลวงมูเลง มาเถิงเจ้าเมืองหลวงมูเลง พระนคร ท้าววรบุตร ซึ่งมาตั้งอยู่ ณ บ้านอุเทน

ฉะบับที่ ๑๒ ใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)

หนัสือเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ที่สมุหนายก มาเถิงพระยามหาอำมาตย์ ด้วยมีตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ให้ส่งครัวพระยาพิษณุโลก พระยามหาธิราช เข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ เมืองฉะเชิงเทรานั้น ฯ ข้า ฯ ได้ทราบเกล้า ฯ และครัวพระยาพิศณุโลก พระยามหาธิราชนั้น ฯ ข้า ฯ ได้จัดแจงให้เดินเข้ามาพักอยู่ ณ เมืองตะโนด แต่ ณ วันแรมคำหนึ่ง เดือน ๖ ปีมะเมียฉอศก เป็นครัวเมืองโพธิสัตว์มาครั้งนี้ญาติพี่น้องสนองมก ชายฉกรรจ์ ๒๔ คน ครัว ๗๔ คน เป็น ๙๘ คน มาครั้ง


๕๑ พระยาสังคโลก ทางเรือพวกพระยาสาครสงคราม ชาย นาย ๑ ชาย ไพร่ ๑๕ เป็น ๑๖ ครัว ๕๓ เป็น ๖๙ (รวม) ๑๖๗ คน ครัวเหล่านี้ป่วยเป็นไข้ ออกทรพิศม์ก็มีอยู่บ้าง แต่ที่ดีอยู่นั้นจะให้ส่งเข้าไปก่อน ได้ให้พระยาปลัดเมืองปัตบองมาจัดแจงทำบัญชีอยู่ ฯ ข้า ฯ ได้ให้พระพิพิธวาที หลวงปลัดเมืองนครสวรรค์ พระยาวงศานุชิต กะลาภาษเอก หลวงขุนหมื่นเมืองราชบุรี ........... ครัวเข้ามาส่ง ได้ให้เสมียนส่งช่วยป้องกันครัวเข้ามาด้วย จำนวนสำมะโนครัวชายหญิงใหญ่น้อย กองพระยาพิศณุโลก พระยามหาธิราช พระยาวงศานุชิต และครัวมาทางเรือนั้น แจ้งมาในหางว่าวพระยาปลัดเมืองปัตบองแล้ว อนึ่งเลขพระยาวงศานุชิตเมืองราชบุรีเกณฑ์ไปราชการทัพ ๔๗๐ บุตรภรรยาอยู่เมืองโพธิสัตว์ ให้ชักไว้มอบหลวงศรีสมบัติกองเกียรน้องสาลิกา ๓๐ คน ๆ สนองมกว่าได้.............................แต่ ๔๓๙ คน ให้ตรวจตราจำนวน..................สนองมกว่าเลก จำหน่ายตาย ๒๙ คน จำหน่ายหนี ๓๙ คน ป่วยค้างอยู่พนมเป็ญ ๓๒ คน (รวมเป็น) ๑๐๐ คน คง ไปตีครัวปากกระวาร นายไพร่ ๕๐ คน เข้ามากับสนองมก ๒๘๙ คน เป็น ๓๓๙ คน(รวมเป็น) ๔๓๙ คน จวนข้ามด่านหน้าอยู่แล้ว ฯ ข้า ฯ จึงให้พระยาวงศานุชิตกับนายหมวดนายกองคุมนายไพร่กลับไป ณ เมืองราชบุรี จะได้ทำไร่นาเป็นกำลังราชการสืบไป อนึ่งภรรยาองค์จันท์ป่วยค้างอยู่ ณ เมืองปัตบองคนหนึ่ง........เชิญท้องตราพระราชสีห์ ๒ ฉะบับโปรด


๕๒ เกล้า ฯ ออกไปเถิง............................. ใจความว่าพระยาอภัยภูเบศเถิงแก่อสัญญกรรมเสียแล้ว เมืองปัตบองต่อแดนกันกับเมืองเขมร, ราชการศึกสงครามยังจะคิดกระทำกับญวนเขมรต่อไปอยู่ จะต้องจัดแจงให้มีผู้ใหญ่ว่าราชการรักษาบ้านเมืองให้สำเร็จ ครั้นจะจัดแจงพระยาปลัด พระพิทักษ์บดินทร์ พระยาพระเขมรที่เป็นผู้ใหญ่ ตั้งแต่งขึ้นตามลำดับให้รักษาบ้านเมืองเล่า ก็ทรงเห็นว่า เจ้าองค์อิ่ม เจ้าองค์ด้วง สององค์พี่น้องออกมาอยู่ ณ เมืองมงคลบุรีแล้ว เจ้าองค์อิ่ม เจ้าองค์ด้วง เป็นเชื้อวงศ์เจ้าในแผ่นดินเมืองเขมร เจ้าองค์อิ่มเป็นพี่เจ้าองค์ด้วง ควรจะให้เจ้าองค์อิ่มว่าราชการบ้านเมืองไปพลางได้อยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าองค์อิ่มมาเป็นผู้ใหญ่อยู่ ณ เมืองปัตบอง ว่าราชการบ้านเมือง ปกครองพระยาพระเขมรไพร่พลราษฏร ในแขวงเมืองปัตบองเมืองขึ้นกับเมืองปัตบอง สำเร็จกิจราชการบ้านเมืองไปพลางก่อน เมื่อการศึกสงครามราบคาบลงข้างหน้าประการใดแล้ว จึงจะทรงพระราชดำริจัดแจงต่อไป ให้ข้าพระพุทธเจ้าประคับประคองสั่งสอนเจ้าองค์อิ่ม ให้ว่าราชการบ้านเมืองปกครองโอบอ้อมทะนุบำรุงสมณชีพราหมณ์ พระยาพระเขมรไพร่บ้านพลเมือง เมืองปัตบองเมืองขึ้นกับเมืองปัตบอง ให้เจ้าองค์อิ่มบังคับบัญชา ตัดสินสำเร็จกิจสุขทุกข์ของอาณาประชาราษฏรโดยยุติธรรม ตามจารีตประเพณีบ้านเมือง อย่าให้เสียขนบธรรมเนียมเมืองปัตบองสืบมา อย่าให้พระยาพระเขมรไพร่บ้านพล


๕๓ เมืองเดือดร้อนได้ ให้พระยา................................พระภักดีบริรักษ์ พระพิทักษ์บดินทร์ พระยกรบัตร กรมการ พระยาพระเขมร ผู้ใหญ่ผู้น้อยในเมืองปัตบอง เจ้าเมืองกรมการหัวเมืองขึ้นกับเมืองปัตบอง สตับฟังบังคับบัญชาเจ้าองค์อิ่มให้พร้อมมูลกัน อย่าให้เสียราชการ และเจ้าองค์ด้วงนั้น จะมาอยู่ช่วยเจ้าองค์อิ่มว่าราชการ ณ เมืองปัตบอง หรือใจจะรักษาอยู่ ณ เมืองมงคลบุรีประการใด ให้ข้าพระพุทธเจ้าปรึกษาหารือดูตามแต่ใจเจ้าองค์ด้วง และข้าพระพุทธเจ้าจะเห็นชอบด้วยราชการ กับว่าจีนเขมรมาให้การว่าองพะเวพวกกบฏในเมืองไซ่ง่อน ออกรบกับพวกที่ล้อมเมืองไซ่ง่อน แล้วเก็บเอาเสบียงอาหาร ปืนใหญ่ปืนน้อยเข้าไว้ในเมือง ความทั้งนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงแคลงพระทัยอยู่ อย่าให้ข้าพระพุทธเจ้ามีความประมาทกับราชการ ให้คิดอ่านแต่งผู้คนไปจับเอาเขมรมาสืบราชการเมืองญวนเมืองเขมร ให้ได้ความจงแน่นั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบเกล้า ฯ ในท้องตราซึ่งโปรดออกไปทุกประการ แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าองค์อิ่มว่าราชการ สำเร็จสิทธิสุขทุกข์ของอาณาประชาราษฏรในเมืองปัตบองและเมืองขึ้นกับเมืองปัตบองนั้น พระยาปลัด พระยาภักดีบริรักษ์ พระพิทักษ์บดินทร์ พระยาพระเขมร ผู้ใหญ่ผู้น้อย อาณาประชาราษฏรทั้งปวง ชื่นชมยินดีพร้อมกันทั้งสิ้น ข้าพระพุทธเจ้าได้เอาตราสำหรับที่พระยาอภัยภูเบศร์ มอบให้เจ้าองค์อิ่มว่าราชการบ้านเมืองแล้ว และเจ้าองค์ด้วงนั้นให้ไป


๕๔ อยู่รักษาเมืองมงคลบุรี ยังมาหา ณ เมืองปัตบองไม่ อนึ่งทางเมืองโพธิสัตว์นั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้บอกให้ จมื่นเพ็ชรภักดีถือเข้ามาแต่ก่อนว่า ได้แต่งให้พระยามโนไมตรี หลวงมนตรีนุชิตกาย ไปจับเขมรมาสืบราชการยังหากลับมาไม่แจ้งมาในบอกแต่ก่อนนั้นแล้ว ณ วันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ปีมะโรงฉอศก (พ.ศ.๒๓๗๗) พระยามโนไมตรี พาเอาตัว อ้ายกลาบาญชีศรี อ้ายหัด อ้ายเมียด อ้ายหมก เข้ามาณเมือง ปัตบอง แจ้งราชการว่า พระยามโนไมตรีสืบรู้ว่าอ้ายกลาบาญ ชีศรีอยู่บ้านปะทะ เวียนแขวงเมืองโพธิสัตว์ เคยไปมาหาสู่นายสุกบ่าวพระยามโนไมตรีณ บ้านเบงแขวงเมืองระสือ พระยามโนไมตรีใช้ให้นายสุกไปล่อลวงเอาอ้ายกลาบาญชีศรี อ้ายหัด อ้ายเมียด อ้ายหมก เข้ามา ณ เมืองระสือ ข้าพระพุทธเจ้า......................... ถามอ้ายกลาบาญชีศรี ให้การว่า อ้ายกลาบาญชีศรีเป็นบ่าวพระยามหาเสนา ได้ยินพระยามหาเสนาพูดว่าที่เมืองไซ่ง่อนนั้น องพะเวพวกกบฏรบพุ่งกันอยู่ยังหาสำเร็จไม่ องญวนซึ่งเป็นแม่ทัพมาแต่เมืองเว้ ให้องตันหญีกลับขึ้นมาอยู่รักษาเมืองพนมเป็ญกับองทงฏก องอันสาท ไพร่ญวนประมาณ ๒๐๐๐ คน กับว่าสมเด็จเจ้าพระยาอุไทยธิราช เจ้าเมืองสำโรงทองป่วยล้มตายแล้ว ฟ้าทะละหะนั้นป่วยหนัก และ.............อยู่รักษาเมืองโพธิสัตว์ พระยาจักรี พระยามหาเสนา พระยาวงศาธิราช กับเจ้าเมืองขลุง เมืองกรอง เมืองบริบูรณ์ ไพร่


๕๕ เขมรประมาณ ๑๐๐๐ คน ญวนนายหนึ่งจะชื่อไรหารู้จักชื่อไม่กับไพร่ญวน ๕๐ คน แต่พระยามหาเสนานั้น องค์จันกับญวนตั้งให้เป็นพระยาสังคโลก เจ้าเมืองโพธิสัตว์ แล้วว่าพระยายมราชจะมาผลัดพระยาจักรี ให้ลงไปเมืองพนมเป็ญเมื่อ ณ วันเดือน ข้างขึ้น องโดยเทียวญวนมาจอดเรือที่ปากน้ำเมืองโพธิสัตว์ ให้มาบอกกับญวนที่อยู่เมืองโพธิสัตว์ว่า.............อ้างนาม ให้ใช้องโดยเทียว ถือหนังสือเข้ามา ณ เมืองปัตบองให้ญวนที่อยู่รักษาเมืองโพธิสัตว์ จัดแจงส่งองโดยเทียวเข้ามาณ เมืองปัตบอง ญวนนายไพร่ ๕๐ คน ก็ลงเรือมาจัดแจงส่งอยู่ที่ปากน้ำเมืองโพธิสัตว์ยังหากลับไปไม่ และสะเบียงอาหารที่เมืองโพธิสัตว์ขัดสนนัก พระยาจักรี พระยามหาเสนา เกณฑ์ให้เจ้าเมืองขลุง เจ้าเมืองกรอง เจ้าเมืองบริบูรณ์ เจ้าเมืองลาบเวีย เฉลี่ยเอาเข้าของที่ครอบครัวมาส่งบ้าง ก็หาพอรับ.......พระราชทานไม่ กองทัพรับพระราชทานแต่มันแต่กลอย ไพร่ในกองทัพเขมรพากันหนีไปเนือง ๆ ครอบครัวเมืองโพธิสัตว์นั้นลงไปตั้งทำไร่นาอยู่แขวงเมืองตะปือบ้าง เมืองขลุงบ้าง เมืองกรองบ้าง ครอบครัวเมืองตะปือ เมืองขลุง เมืองกรอง เมืองบริบูรณ์ เมืองลาบเวีย ทำไร่นาได้อยู่บ้าง แต่หาเต็มภาคภูมิไม่ ยังสะดุ้งสะเทือนกลัวว่ากองทัพกรุงเทพ ฯ จะยกไปอีกและอ้ายกลาบาญชีศรี อ้ายหัด อ้ายเมียด อ้ายมก ๔ คนนั้นครั้นให้ยึดเอาตัวไว้เล่าก็คิดด้วยเกล้า ฯ เห็นว่า จะได้เป็น

๕๖ ทางสืบราชการเมืองโพธิสัตว์สืบต่อไปข้างหน้า จึงให้พาอ้ายกลาบาญชีศรีไปหาเจ้าองค์อิ่ม แต่พอให้เขมรรู้ว่าโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าองค์อิ่มว่าราชการบ้านเมือง ได้ให้เจ้าองค์อิ่มพูดกับอ้ายกลาบาญชีศรีว่า กระทำความผิดต่อกรุงเทพฯ ก็แต่องค์จันคนเดียว อาณาประชาราชฎรเมืองเขมรทั้งปวงหาได้มีความผิดสิ่งใดไม่ อย่าให้สดุ้งสะเทือนกลัวเลย ให้ทำมาหากินตามปกติเถิด เคยไปมาหาสู่ญาติพี่น้องอย่างไร ก็ให้ไปมาตามเคยได้ให้พระยามโนไมตรีพาตัวอ้ายกลาบาญชีศรี อ้ายหัด อ้ายเมียด อ้ายมก ไปส่งแขวงเมืองโพธิสัตว์ แต่ณวันขึ้นค่ำหนึ่ง เดือน ๙ แล้ว ข้าพระพุทธเจ้ายังให้ไปสืบสวนฟังราชการทางเมืองกระพงสวาย เมืองโพธิสัตว์อยู่อีก ได้ข้อราชการประการใด ข้าพระพุทธเจ้าจะบอกเข้ามาให้ทราบครั้งหลัง ข้าพระพุทธเจ้าได้คัดคำให้การกลาบาญชีศรีส่งเข้ามาแล้ว อนึ่งข้าวที่เมืองปัตบองแขวงเมืองนครเสียมราบ น้อยเบาบาง ข้าพระพุทธเจ้าจึงให้เจ้าพระยานครราชสีมา คุมไพร่พลขึ้นไปฟังราชการ อยู่ณเมืองนางรอง เจ้าพระยานครราชสีมาแจ้งว่าณปีมะเส็งเบญจศก ( พ.ศ. ๒๓๗๖ ) ได้เกณฑ์ให้ทำนาไว้ที่เมืองนางรอง มีข้าวอยู่รับจะสีข้าวสารให้ได้ ๑๐๐ เกวียน ส่งลงมาเลี้ยงกองทัพณแขวงเมืองปัตบองให้ทันมิให้ขัดสน เมื่อณเดือน ๘ ปฐมาสาทข้างขึ้น เจ้าพระยานครราชสีมาได้ส่งข้าวสารมาณเมืองมงคลบุรีแต่ ๑๘ เกวียน ๓๔ สัด แล้วเจ้าพระยานครราช


๕๗ สีมาบอกไปเถิงข้าพระพุทธเจ้า ว่าจะส่งข้าวมาอีกหามีช้างมีเกวียนไม่ ต้องลำเลียงข้าวขึ้นไปรับครอบครัว....... ซึ่งพระมหาเทพพระราชรินส่งมา เจ้าพระยานครราชสีมาว่าข้าวสารมีอยู่ ณ ฉางเมืองนางรอง ๕๐ เกวียน ให้จัดคนและเกวียนขึ้นไปรับขนข้าว ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้พระยาราชนิกูล พระยาพิชัยสงคราม พระยาอภัยสงคราม พระยานครเสียมราบ พระองค์แก้ว กรมการ จัดคนในกองทัพ คนนอกจากเกณฑ์ทำนาหุงกิน พระบรรจงพานิช พระพิพิธโภคา หลวงวิเศษวานิช จัดเกวียนไปขนข้าว ณ เมืองนางรอง แต่ ณ วันเดือน ๘ ปฐมาสาฒแรม ๑๐ แล้วได้ให้ขุนวิสูตรพลเดชไปเร่งข้าวที่เกณฑ์ให้พระองค์แก้ว กรมการ พระบรรจงพานิช หลวงพิพิธโภคา หลวงวิเศษวานิช ไปขน และขุนวิสูตรพลเดช.......หนังสือไป ณ เมืองปัตบอง ว่าหลวงวิเศษวานิชแจ้งว่า คุมเกวียนขึ้นไปขนข้าวที่เมืองนางรองหามีข้าวในฉางไม่ กรมการเมืองนางรองนำไปเอาข้าวที่เมืองประโคนชัยก็ได้ข้าวสารแต่ ๘ เกวียน ๒ สัด ๘ ทะนาน ส่งมาเถิงเมืองปัตบองแล้ว ข้าวที่เกณฑ์ให้กองทัพเมืองนครเสียมราบพระองค์แก้วไปขนก็ยังหามาเถิงไม่ อนึ่งข้าวสารเมืองปราจิน เมืองอรัญขนส่งมา ณ เมืองปัตบอง รายขุนแก้วคุมมา ๔ เกวียน ตวงได้ ๓ เกวียน ๖๒ สัด รายเสมียนส่งคุมมา ๒๙ เกวียน ๑๐ สัด ตวงได้ ๒๗ เกวียน ๑๐ สัด รายเกณฑ์ช้างในหลวงอินทคชลักษณ์ไปขนเมืองอรัญมา ตวงได้ ๖


๕๘ เกวียน ๔๑ สัด รายหลวงยศกำแหงคุมเรือไปบรรทุกเมืองอรัญตวงได้ ๑๑ เกวียน ๔๑ วัด รายขุนมหาดไทยเมืองบัวชุมบรรทุกเรือคุมมา เดิม ๕ เกวียน ๘๕ สัด ตวงได้ ๕ เกวียน ๘๑ สัด (รวมเป็น) ๕๔ เกวียน ๓๕ สัด กับข้าวจำนวนเงินหลวงมอบให้กรมการเมืองปัตบอง เมืองนครเสียมราบ จัดซื้อข้าว ๔๓ ชั่ง ๑๘ ตำลึง ๑ บาท ๑ สลึง เป็นข้าว ๓๖๙ เกวียน ๗๕ สัด แจ้งมาในบอกครั้งก่อนแล้ว ได้จ่ายให้นายทัพนายกองไพร่พล และครอบครัวข้าหลวงไปมาราชการรับพระราชทานแต่ ณ เดือนยี่ปีมะเส็งเบญจศก(พ.ศ.๒๓๗๖) มาจนเถิงเดือน ๘ ทุติยสาทปีมะเมีย ฉอศก(พ.ศ.๒๓๗๗) ยังมีข้าวอยู่ ๒๑ เกวียน ๒๑ สัด ณ เดือน ๙ จ่ายเฉลี่ยกองทัพรับพระราชทานได้ข้าวสารแต่คนละ ๑๐ ทะนาน ข้าพระพุทธเจ้าให้กรมการเที่ยวสำรวจจัดซื้อให้พระยาพระเขมรราษฏร ณ แขวงเมืองปัตบอง แขวงเมืองนครเสียมราบ แขวงเมืองสวายจิต ราคาเกวียนละ ๔ ตำลึง ๕ ตำลึง ก็หามีเมล็ดข้าวซื้อขายกันไม่ ราษฏรชาวบ้านต้องไปเที่ยวหามันหากลอย นอนค้างทางวันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง จึงได้มารับพระราชทาน แต่ก่อน ฯ ข้า ฯ ได้ผ่อนคนในกองทัพให้หลวงเพ็ชฏา พระบัวชุม ขุนเทพทวยหาญ นายไพร่ ๕๖๙ คน คุมเรือมาคอยรับข้าวอยู่ ณ เมืองอรัญ แล้วได้แต่งคนให้ไปเร่งรัดก็หาได้....ทันจ่ายในเดือน ๑๐ เดือน ๑๑ ข้าวขาดมือหามีจ่ายกองทัพต่อไปไม่ ไพร่พลในกองทัพก็จะระส่ำระสายเกลือก


๕๙ จะเสียราชการ ครั้นจะกักเอาไพร่พลไว้มากจะพากันอดอยากสะเบียงอาหาร ข้าพระพุทธเจ้าจึงให้พระยาราชโยธาคุมหลวงขุนหมื่นและไพร่ ๗๗๔ คน เข้ามาคอบฟังราชการอยู่ ณ เมืองปราจิน ให้พระยาราชโยธาหลวงขุนหมื่นเร่งรัดส่งข้าวออกไปให้เถิง พรมโหด......ให้เถิงเมืองอรัญโดยเร็ว อนึ่งข้าพระพุทธเจ้าบอกเข้ามาแต่ก่อนว่า............... . .ที่เมืองปัตบอง เมืองนครเสียมราบ เมืองสวายจิต เมืองมงคลบุรี เมืองตะโนด เมืองหินแร่ ได้ปักดำลงแล้วประมาณ ๒ ส่วน ยังส่วนหนึ่ง ต้นข้าวที่ปักดำเมื่อเดือน ๗ เดือน ๘ ปฐมาสาฒ สูงศอกหนึ่งบ้าง คืบหนึ่งบ้าง แจ้งมาในใบบอกครั้งก่อนนั้นแล้ว ครั้น ณ วันเดือน ๘ ทุติยาสาฒแรม ๑๒ ค่ำ ฝนตกมาจน ณ วันเดือน ๙ ขึ้น ๒ ค่ำ น้ำหลากนอกมาเข้าทุ่งนาท่วมต้นข้าวของราษฏรแขวงเมืองปัตบอง เมืองมงคลบุรี ที่นาลุ่มปักดำต้นมือเสียส่วนหนึ่งงามดีอยู่ส่วนหนึ่ง ข้าวที่ปักดำทีหลังอ่อนต้นน้ำท่วมเสียไป น้ำในท้องนาลดลง ราษฏรจะได้ปักดำทำต่อไปอีกกว่าจะสิ้นฤดูนา แลอาการน้ำฝนต้นข้าวแขวงเมืองนครเสียมราบ เมืองสวายจิตเป็นปกติดีอยู่ อนึ่งทาษนักไทยภรรยาองค์จันท์ป่วยค้างอยู่ พระองค์แก้ว ส่งมา ณ เมืองปัตบอง ชายฉกรรจ์ ๑ หญิงฉกรรจ์ ๑ (รวม) ๒ คน กับฝาบาตร ๒ เชิงบาตร ๒ ที่ค้างอยู่ประดับเสร็จแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้หลวงยกรบัตรเมืองปราจินถือ....................บอก และคำให้


๖๐ การอ้ายกลาบัญชีศรีกับทาษภรรยาองค์จันท์ชาย ๑ หญิง ๑ (รวม) ๒ คน กับฝาบาตร ๒ เชิงบาตร ๒ เข้ามาส่ง ณ กรุงเทพ ฯ ด้วยแล้ว หนังสือมา ณ วันพฤหัสบดีเดือน ๙ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก ในวันเดียวนั้น เพลาบ่ายได้ส่งหนังสือบอกนี้ ให้หลวงยกรบัตรถือไป

ฉะบับที่ ๑๓ ใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)

หนังสือเจ้าพระบดินทรเดชา ที่สมุหนายก มาเถิง...............ด้วยคนในกองทัพซึ่งรักษาเมืองปัตบองพากันหลบหนี เป็นคนรักษาค่ายลงกูป จมื่นสิทธิแสนยารักษ์ ปลัดนาย ๑ กรมตำรวจวังหน้านอกราชการ ไพร่ ๑ (เป็น) ๒ นายตรวจ นายเวนมหาดไทยวังหน้า นาย ๑ ไพร่ ๑ (เป็น) ๒ (รวมเป็น) ๔ เป็นคนกองพระยาอัศดา เลกสมพระยาอัศดา นายแก้ว ๑ นายจินโสด ๑ นายช่างโสด ๑ นายเสาโสด ๑ นายแก้วม่าย ๑ นายโพ ๑ นายอิน ๑ นายอิ่ม ๑ (รวม) ๘ คน เอาปืนคาบศิลาหลวงไปด้วย ๖ บอก เป็นคนเลกหลวงพิทักษ์คลังมหาสมบัติวังหน้า นายฟักอำแดงเสน ๑ นายเถื่อน ๑ เลกอภิรมย์วังหน้า นายวัน..........กองพระปลัดสพัน กองเรือ เลกเมืองพรหมขุนอินอำแดงมี ๑ นายรักอำแดงเพียร ๑ นายอิ่มอำแดงเพียร ๑


๖๑ นายบัว อำแดงกลีบ ๑ นายอยู่ อำแดงเพ็ง ๑ นายจันโสด ๑ นายจัน อำแดงทอง ๑ นายกี อำแดงขำ ๑ (รวม) ๘ คน เอาปืนคาบศิลาหลวงไป เลกพระอินทรเดช นายเมฆ อำแดงเกิด ๑ นายชูโสด ๑ นายอูไม่รู้จักชื่อเมีย ๑ (รวม) ๓ คนเอาปืนคาบศิลาหลวง............... นายจันทร์พี่ชายหลวงเทพเสนีในกองพระยาเสนาภูเบศร์ ๑ นายโตบ่าวขุนวิเศษโยธามหาดไทย ๑ เข้ากัน ๒๘ คน ปืนคาบศิลาหลวง ๑๒ บอกนั้น คนเหล่านี้ใจเบา........ล่วงบทพระอัยการศึก ผิดเป็นมหันตโทษข้อใหญ่..............

ฉะบับที่ ๑๔ ใบบอกเมืองสระบุรี ขอเรือลำเลียงกองทัพลงมากรุงเทพ ฯ

หนังสือพระยาสระบุรี บอกมายังท่านหลวงอักขรสุนทรเสมียนตรามหาดไทยให้ทราบ ด้วยกองทัพกลับลงมาเถิงเมืองสระบุรี ฯ ข้า ฯ ได้เอาเรือหลวงรองงานจ่ายบรรทุกสิ่งของนายทัพนายกอง ลงมา ณ กรุงเทพพระมหานครหลายลำ เรือรองงาน ณ เมืองสระบุรีสิ้นเชิง หัวเมืองลงมาเถิงเมืองสระบุรีก็ต้องจ้างเช่าเรือส่ง ขอคุณได้โปรดช่วยชำระเอาเรือหลวงรองงานที่พระราชริน ๓ ลำ พระจันทาทิพ ๒ ลำ พระพรหมธิบาลลำหนึ่ง หลวงจ่าเมืองนอกราชการลำหนึ่ง ขุนพินิจโวหาร

๖๒ ลำหนึ่ง ขุนศรีสังหารกรมนาเอาลงมาลำหนึ่ง ถ้าคุณชำระได้เรือมากน้อยเท่าใด ก็ให้มอบให้นายจำปา นายโม คนมีชื่อคุมแพกงทับพายลงมาส่ง เอาเรือหลวงรองงานกลับขึ้นไปจะได้จัดแจงยาไว้สำหรับราชการ บอกมา ณ วันอังคารเดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมะเมียนักษัตรฉอศก

ฉะบับที่ ๑๕ ตราตอบเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เรื่องถอยทัพจากเมืองโจดก

หนังสือ เจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่สมุห นายก ด้วยบอกนังสือแต่งให้จมื่นศรีบริรักษ์ ขุนนาถจำนง ถือเข้าไปแจ้งราชการว่า พระยาบดินทรเดชาที่สมุหนายก นายทัพนายกองถอยจากเมืองโจดก มาตั้งอยู่ ณ เมืองเชิงกะชุมได้ ๒ วัน ญวนตามขึ้นมาทั้งทางบกทางเรือเป็นคน ๒๐๐ เศษ ให้กองทัพไปสะกัดหาทันไม่ ญวนถอยกลับไปเสียก่อน แล ณ วันขึ้นค่ำหนึ่งเดือน ๔ พระยาราชโยธา จมื่นสมุหพิมาน หลวงราชเสนา พระยาอภัยภูเบศร์ เจ้าองค์อิ่ม เจ้าองค์ด้วง ซึ่งอยู่เมืองพนมเป็ญ ให้ขุนนาถจำนงถือหนังสือไปว่า ให้หมื่นตีไปสืบทัพพระยาราชนิกูลทางเมืองบาพนมกลับมา ได้ความว่าพระยาเสนาราชกุเชนทร


๖๓ กองหน้า พระยาจ่าแสนบดี ได้รบพุ่งกันกับเขมร แล้วว่าพระยาราชนิกูลถอยมาตั้งอยู่บ้านโขมง พระยาจักรี พระยายมราช จะมาตีทัพพระยาราชนิกูล พระยาจ่าแสนบดีกับว่าเขมรออกสะกัดตีพวกกองทัพไทยเป็นหลายตำบล และครอบครัวเขมรเมืองพนมเป็ญนั้น พระยาราชโยธา หลวงราชเสนา จมื่สมุหพิมาน พระยาอภัยภูเบศร์ องค์อิ่ม องค์ด้วง ให้กวาดต้อนครอบครัวขึ้นมาเถิงค่ายกระพง.................ยกมาตีกองทัพ ๆ ยิงถูก เขมร แขก จีน ตาย ๕๐ คนแตกไปทัพเรือเอาปืนใหญ่ยิงพวกครัวตายเป็นอันมาก ทิ้งเรือ เสียหนีขึ้นฝั่งตะวันออก กองทัพเผาเรือเสีย...........ครัวเหลืออยู่เป็นพรรคพวก องค์อิ่ม องค์ด้วง พระองค์แก้ว...................กับปืนใหญ่ ๓๖ ปืนหาม ๓๔ บอก ปืนคาบชุด คาบศิลา(รวม) ๔๘๐ บอก ใหญ่.............สุน ๗ นิ้ว ๑ บอก ๖ นิ้ว ๑ บอก ๕ นิ้ว ๕ บอก(รวม) ๗ บอก กระสุนใหญ่.......ปัตบองแล้ว พระยาราชโยธา พระยาอภัยภูเบศร์...........อยู่เมืองโพธิสัตว์ เจ้า................................

ฉะบับที่ ๑๖ ตราตอบเจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์ สิงหเสนี) เรื่องถอยทัพจากเมืองโจดกมาตั้งอยู่เมืองเชิงกระชุม

หนังสือเจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่


๖๔ สมุหนายก ด้วยบอกหนังสือแต่งให้จมื่นศรีบริรักษ์ ขุนนาถจำนง ถือเข้าไปแจ้งราชการว่า เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก นายทัพนายกองถอยจากเมืองโจดก มาตั้งอยู่ ณ เมืองเชิงกระชุมได้ ๒ วัน ญวนตามขึ้นมาทั้งทางบกทางเรือเป็นคน ๒๐๐ เศษ ให้กองทัพไปสะกัดหาทันไม่ ญวนถอยทัพกลับไปเสียก่อน แล ณ วันเดือน ๔ ขึ้น ๑ ค่ำ พระยาราชโยธา จมื่นสมุหพิมาน หลวงราชเสนา พระยาอภัยภูเบศร์ องค์อิ่ม องค์ด้วง ซึ่งอยู่เมืองพนมเป็ญ ให้ขุนนาถจำนงถือหนังสือไปว่า ให้หมื่นตีไปสืบทัพพระยาราชนิกูลทางเมือบาพนมกลับมาได้ความว่า พระยาราชเสนากุเชนทร กองหน้า พระยาจ่าแสนบดีได้รบพุ่งกันกับเขมร แล้วว่าพระยาราชนิกูลถอยมาตั้งอยู่บ้านโขมง พระยาจักรี พระยายมราช จะมาตีทัพพระยาราชนิกูล พระยาจ่าแสนบดี กับว่าเขมรออกสะกัดตีพวกกองทัพไทยเป็นหลายตำบล แลครอบครัวเขมรเมืองพนมเป็ญนั้น พระยาราชโยธา หลวงราชเสนา จมื่นสมุหพิมาน พระยาอภัยภูเบศร์ องค์อิ่ม องค์ด้วง ให้กวาดต้อนครอบครัวขึ้นมาถึงค่ายกระพงหลวง เขมร แขก จีน ยกมาตีกองทัพ ๆ ยิงถูกเขมร จีน แขก ตาย ๕๐ คน แตกไปทัพเรือเอาปืนใหญ่ยิงพวกครัวตายเป็นอันมาก ทิ้งเรือเสียหนีขึ้นฝั่งตะวันออก กองทัพเผาเรือเสีย.............(ความขาด)............ ครัวเหลืออยู่เป็นพรรคพวกเจ้าองค์อิ่ม เจ้าองค์ด้วง พระองค์แก้ว.......(ความขาด)............กับปืนใหญ่ ๓๖ บอกปืนหามแล่น


๖๕ ๓๔ บอก ปืนคาบชุดคาบศิลา ๔๘๐ บอก ปืนใหญ่...... (ความขาด).........กระสุน ๗ นิ้ว ๑ บอก ๖ นิ้ว ๑ บอก ๕ นิ้ว ๕ บอก รวม ๗ บอก กระสุนใหญ่.............(ความขาด)..........พระตะบองแล้วพระราชโยธา พระยาอภัยภูเบศร์................(ความขาด).............อยู่เมืองโพธิสัตว์.......................(ความขาด)...................

ฉะบับที่ ๑๖ รายงานของพระยาราชนิกูล เสนอแม่ทัพใหญ่

หนังสือพระยาราชนิกูล มาเถิงหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ ได้นำขึ้นกราบเรียน ฯ พณ ฯ สมุหนายก เจ้าคุณแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการ ด้วย......บอกมาว่า นายทัพนายกองยกไปเถิงเมืองอุบลราชธานี พระพรหมราชวงศา อุปฮาด ท้าวเพี้ย แจ้งความกับ ฯ ข้า ฯ ว่า ณ วันเดือน ๓ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก (พ.ศ. ๒๓๗๗) เพี้ยนามวงศ์ซึ่งพระยาพรหมราชวงศาแต่งให้ไปรักษาด่านท่าจักขุ ถือหนังสืออุปฮาดบ้านลีบปุงฉะบับหนึ่งเข้ามา เพี้ยนามวงศ์แจ้งความแก่พระพรหมวงศาว่า เพี้ยสุวัณราชถือหนังสืออุปฮาดเมือง.........บ้านลีบปุงเข้ามาเถิงด่านท่าจักขุ เพี้ยสุวัณราชกลัวกองทัพ จึงเอาหนังสืออุปฮาด ส่งให้เพี้ยนามวงศ์ถือเข้ามาเถิงพระพรหมราชวงศา ใจความในหนังสืออุปฮาดนั้นว่า อุปฮาดท้าวเพี้ยพรรคพวกครอบครัวพร้อมกัน


๖๖ สมัครจะเข้ามาทำราชการฉลองพระเดชพระคุณเป็นข้าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ขึ้นอยู่กับเมืองอุบล ถ้าพระพรหมราชวงศามีความเมตตาว่ากล่าวแก่นายทัพนายกองกรุงเทพ ฯ ให้อุปฮาดกับท้าวเพี้ยสมัครพาครอบครัวพวกบ่าวไพร่ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ แขวงเมืองอุบลได้ อุปฮาดกับท้าวเพี้ยก็จะพาครอบครัวเข้ามาอยู่ ณ เมืองอุบล ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป ฯ ข้า ฯ จึงให้พระพรหมราชวงศามีหนังสือไปเถิงอุปฮาดบ้านลีบปุงว่า ถ้าอุปฮาดจะสมัครเข้ามาทำราชการฉลองพระเดชพระคุณ อยู่กับพระพรหมราชวงศา ณ เมืองอุบล ก็ให้อุปฮาดท้าวเพี้ยยกครอบครัวเข้ามาอยู่ตามใจสมัคร ฯ ข้า ฯ จึงจัดให้หลวงยกรบัตรเมืองสิงห์นายไพร่ ๑๐ คน กำกับเพี้ยเวียงแกเมืองอุบล ไปคอยฟังราชการอยู่ ณ ด่านท่าจักขุ ถ้าอุปฮาดบ้านลีบปุง จะยกครอบครัวเข้ามาโดยดี ก็ให้กลวงยกบัตรป้องกันเอาเข้ามาให้เถิงเมืองอุบล แล้ว ฯ ข้า ฯ ได้มีหนังสือไปเถิงพระมหาเทพ พระราชริน ให้รู้ราชการด้วยฉะบับหนึ่ง แล้ว ฯ ข้า ฯ ได้เร่งรัดให้พระพรหมราชวงศา อุปฮาด ท้าวเพี้ย ทำค่ายเมืองอุบล เสาค่ายใหญ่รอบ ๒ กำ ๒ กำกึ่ง ยาว ๓๗ เส้น กว้าง ๔ เส้น สูง ๗ ศอก มีป้อม ๗ ป้อม มีหอรบทุกประตู และให้ปลูกฉางข้าวขื่อ ๓ วา ๒ ศอก ยาว ๗ วา ๓ ศอก คืบ ๗ ห้องหลังหนึ่ง โรงปืนหลังหนึ่ง ตึกดินหลังหนึ่ง ไว้สำหรับเมืองทำแล้ว ๓ ส่วนยังส่วนหนึ่ง ยังเร่งรัดให้ทำอยู่ ฯ ข้า ฯ นาย


๖๗ ทัพนายกองยกไปเถิงเมืองนครจำปาศักดิ์ แต่ ณ วันขึ้นค่ำหนึ่งเดือน ๔ ปีมะเมียฉอศก พระยาบำเรอศักดิ์ หลวงราชมนูซึ่งใต้เท้าพระกรุณาเจ้าให้ส่ง ไปอยู่รักษาเมืองนครจำปาบาศักดิ์ แจ้งความแก่ ฯ ข้า ว่า ณ วันเดือนอ้ายแรม ๑๓ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก พระยาบำเรอศักดิ์เจ้านครจำปาบาศักดิ์ ได้จัดให้เพี้ยพรม โคชชาวเมืองพ้อง ซึ่งมาเป็นเขยสู่อยู่ ณ เมืองนครจำปาบาศักดิ์ ถือหนังสือไปเกลี้ยกล่อมเมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองตะโปน เมืองวัง เมืองพิน และสืบราชการด้วย ครั้น ณ วันแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๓ เพี้ยพรหมโคตรกลับมาเถิงเมืองจำปาบาศักดิ์ แจ้งความกับพระยาบำเรอภักดิ์เจ้านครจำปาบาศักดิ์ว่า เพี้ยพรหมโคตรออกไปเถิงเซน้ำมวก เห็นครอบครัวตั้งกระบวนทัพอยู่ที่ฝั่งเซน้ำมวก ชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๑๐๐๐ เศษ เพี้ยพรหมโคตรทำเป็นลูกค้าถามซื้อข้าวครัว ๆ บอกว่าข้าวถังละบาทก็หามีที่ซื้อไม่ พวกครัวรับพระราชทานแต่บุกกลอยรากกะทาษอยู่ช้านาน ขัดสนสะเบียงอาหารเหลือกำลัง เพี้ยพรหมโคตรต่อไปเถิงเมืองตะโปน แต่ ณ วันแรม ๙ ค่ำ เดือนอ้ายปีมะเมียฉอศก พบเจ้าเมืองตะโปน ๆ ตอบรับพูดจากับเพี้ยพรหมโคตรเป็นปกติดีอยู่ เพี้ยพรหมโคตรจึงเอาหนังสือเกลี้ยกล่อมออกให้เจ้าเมืองตะโปนกรมการดู เจ้าเมืองตะโปนกรมการพร้อมกันว่า บุญคุณเจ้านครจำปาบาศักดิ์หาที่สุดมิได้ ณ เดือน ๑๑ ปีมะเมียฉอศก เจ้าเมืองตะโปนกรมการกับเจ้าเมืองชุมพร เจ้าเมืองพิน เจ้าเมืองพลาน คิดพร้อมกันจะเข้า

๖๘ มาสู่พระบรมโพธิสมภาร ทำราชการขึ้นกับเมืองนครจำปาศักดิ์ องจุญวนมาอยู่ที่เมืองตะโปน รู้ความห้ามเจ้าเมืองตะโปน เจ้าเมืองพ้อง เจ้าเมืองพลาน เจ้าเมืองพินเสีย หาให้เข้ามาเมืองนครจำปาศักดิ์ไม่ เจ้าเมืองตะโปน เจ้าเมืองพ้อง เจ้าเมืองพลาน เจ้าเมืองพินจึงปรึกษากันจัดให้ราชบุตรเมืองชุมพรลงไปเฝ้าเจ้าเวียดนาม ให้กราบทูลขอทำส่วยส่งแต่เมืองลาวเมืองญวนตามอย่างแต่โบราณสืบ ๆ มา ราชบุตรไปเมืองเวียดนามยังหากลับมาไม่ ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้าเจ้าเมืองตะโปนพาเจ้าเมืองชุมพร เจ้าเมืองพิน เจ้าเมืองพลาน กับโถลายมุกองไชยาเมืองพ้อง มาพร้อมกันฟังหนังสือเกลี้ยกล่อมและปรึกษากันว่า เราจะสมัครทำราชการเข้าไปพึ่งเจ้านครจำปาบาศักดิ์ จะพร้อมกันหรือไม่ โถลายมุกองไชยาเมืองพ้องว่า ถ้าเจ้าเมืองตะโปน เจ้าเมืองพิน เจ้าเมืองพลาน จะเข้าหาเมืองนครจำปาศักดิ์ โถลายมุกองไชยาจะไปบอกองญวนให้กันเอาครอบครัวไว้ เจ้าเมืองกรมการเมืองพิน เมืองพลาน ก็นิ่งความเสีย แต่เจ้าเมืองตะโปนว่า ถ้าราชบุตรกลับมาแต่เมืองเวียดนาม เจ้าเมืองตะโปนจะ แต่งให้พี่น้องบุตรหลานกรมการ เข้ามาแจ้งราชการณเมืองนครจำปาบาศักดิ์ ถ้าเพี้ยพรหมโคตรจะกลับเข้าไปณเมืองนครจำปาบาศักดิ์แล้วให้กลับออกไปคอยรับพี่น้อง บุตรหลานกรมการเมืองตะโปน ซึ่งเจ้าเมืองตะโปนจะใช้เข้ามาณทุ่งปาง เป็นพรมแดนเมืองตะโปนกับเมืองคำทองใหญ่ต่อกัน ในเดือน ๔ ข้างแรมปีมะเมียฉอศก

๖๙ ให้จงได้ เพี้ยพรหมโคตรไปอยู่ที่เมืองตะโปนได้เดือนเศษ เห็น ญวนมาอยู่ที่เมืองตะโปน ๑๑ คน ๑๒ คน มาอยู่ ๒ คืน ๓ คืนแล้วก็กลับไปเมืองญวน เพี้ยพรหมโคตรถามชาวบ้านว่าญวนมาด้วยธุระยังไร ชาวบ้านบอกว่าญวนผลัดเปลี่ยนกันมาเยี่ยมเยียนบ้านเมืองอยู่เนือง ๆ มิได้ขาด ครั้นอยู่มา ณ วันเดือน ๓ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก เพี้ยพรหมโคตรได้ยินราษฎรชาวเมืองตะโปนพูดกันว่า ท้าวบัวศรีเจ้าเมืองพ้องราชวงศ์ แต่งให้นายรวยหรวยถือหนังสือไปเกลี้ยกล่อม เจ้าเมืองกรมการราษฎรทั้งปวงยังหาเข้าเกลี้ยกล่อมไม่ ครอบครัวเมืองพ้อง เมืองชุมพรซึ่งตั้งอยู่เซน้ำมวก แตกตื่นเข้าไปตั้งอยู่แขวงเมืองตะโปนต่อแดนญวน แต่เซน้ำมวกไปเมืองพินทางวันหนึ่ง แต่เมืองพินไปเถิงเมืองตะโปนทางคืนหนึ่ง แต่เมืองตะโปนไปเถิงด่านญวนทาง ๒ คืน ครั้นณวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย สัปตศก เพี้ยพรหมโคตรก็ลาเจ้าเมืองตะโปนกลับมา พระยาบำเรอภักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ ได้ให้เพี้ยพรหมโคตรกลับขึ้นไป คอยรับพวกเจ้าตะโปนอยู่ณทุ่งปางแล้วอยู่ ณ วันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมียฉอศก พระอภัยราชวงศาเจ้าเมืองสีทันดร บอกส่งต้นหนังสือ พระศรีสุลาดเจ้าเมืองเชียงแตง มาเถิงพระยาบำเรอภักดิ์ฉะบับหนึ่งใจความว่า เพี้ยษาเนตรออกไปบ้านไสพวกแขวงเมืองเชียงแตง เห็นเขมรประมาณ ๕๐ คน มาตั้งอยู่ณบ้านไสพวก ชาวบ้านบอกกับเพี้ยสาเนตรว่าเขมรจะมากวาดเอาครอบครัวบ้านไสพวกไป เพี้ยสาเนตรมาแจ้ง

๗๐ ความแก่พระศรีสุลาด ๆ แต่งให้อุปฮาดเมืองเชียงแตงคุมไพร่ ๑๐๐ คนยกไปบ้านไสพวก อุปฮาดบอกมาเถิงพระศรีสุลาดว่า เขมรกวาดเอาครัวบ้านไสพวกไปหมดสิ้น เห็นแต่ไฟไหม้บ้านเรือนบ้านไสพวกอยู่ อุปฮาดขอกำลังอีกร้อยคนสรรพไปด้วยเครื่องสาตราวุธ อุปฮาดจะยกติดตามไปเอาครอบครัวมา พระศรีสุลาดได้แต่งให้ราชวงศ์คุมไพร่ ๑๐๐ คนยกตามอุปฮาดออกไป ณ บ้านไสพวก อุปฮาดติดตามได้ครัวหรือไม่ได้ อุปฮาดยังหาบอกเถิงพระศรีสุลาดไม่ แต่บ้านไสพวกเป็นแขวงเมืองเชียงแตงแต่เมืองเชียงแตงจะไปบ้านไสพวกทาง ๓ คืน แต่บ้านไสพวกไปเมืองสมบูรณ์ทาง ๓ คืน ครัวบ้านไสพวกเป็นครัวเมืองเชียงแตง เมืองสมบูรณ์ปนละวนกันอยู่ จะเป็นครัวเมืองเชียงแตงเมืองสมบูรณ์มากน้อยเท่าใดยังให้ไปสืบอยู่ พระยาบำเรอศักดิ์ไม่ไว้ใจแก่ราชการ จึงมีหนังสือไปเถิงเจ้าเมืองสีทันดรเจ้าเมืองแสนปาง ให้แต่งท้าวเพี้ยที่มีสติปัญญาคุมไพร่ ๑๐๐ คน ลงไปรักษาเมืองเชียงแตงให้ลาดตระเวนอยู่ด้วย แล้ว ฯ ข้า ฯ เห็นว่าเป็นแต่ลาวจะไว้ใจแก่ราชการมิได้ ฯ ข้า ฯ จึงจัดให้พระสันทบุรีคุมไพร่ ๓๐๐ คนยกเพิ่มเติมไปรักษาเมืองเชียงแตงอีก พระสันทบุรีจะได้ยกออกจากเมืองนครจำปาบาศักดิ์ แต่วันขึ้นค่ำหนึ่งเดือน ๔ ปีมะเมียฉอศกแล้ว อนึ่งอยู่ ณ วันศุกร์เดือน ๓ แรม ๙ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก พระยาภักดีเดโชมีหนังสือบอกส่งต้นหนังสือขุนจิตรสงคราม นายด่านบ้าน


๗๑ ละลอกใจความว่า ขุนจิตรสงครามแต่งให้นายบางนายบุตรนายไชยนายรัก ลงไปสืบราชการ ณ เมืองกระพงสวาย ลงไปเถิงบ้านหัวน้ำแขวงเมืองกระพงสวาย ไปอาศัยอยู่ณเรือนนายอก นายบาง นายบุตร นายไชย นายรัก ถามนายอกว่า พระยาเดโชรามคิดราชการประการใดบ้าง นายอกบอกว่าหาได้ยินคิดราชการสิ่งใดไม่ แต่ขุนหมื่นนายด่านบ้านนอก บอกหนังสือมาเถิงพระยาเดโชราม ใจความว่า กองทัพไทยจะยกลงมาตีเมืองเขมรเป็นอันมาก พระยาเดโชรามจึงมีหนังสือบอกไปเถิงเจ้าองค์จันทร์ณเมืองพนมเป็ญ ว่า ครัวเขมรหนีไปสมัครอยู่ในเขตต์แดนลาวเป็นอันมาก เจ้าองค์-จันทร์จึงใช้ให้สมเด็จเจ้าพระยาพระยาสุภาชีราช คุมกำลัง ๒๕๐๐ คน มารักษาอยู่เมืองกระพงสวาย สนองน้อยกับไกรแปนนั้น สมเด็จเจ้าพระยาและพระยาสุภาชีราชใช้ให้คุม กำลัง ๕๐๐ คนมาตั้งอยู่ ณ บ้านสะโทงกับไกรปิง อยู่ ณ วันเดือนยี่แรมค่ำหนึ่งปีมะเมียฉอศก องทงฎกญวนใช้ให้ภาษาโดยเตรืองสือกับไพร่ ๕๐ คนขึ้นไปดูพระยาเดโชรามว่าจะยกทัพไปรบกับไทยจริงหรือไม่จริง ถ้าไม่มีทัพใหญ่ยกมาแล้ว ให้บอกกับสมเด็จเจ้าพระยาและพระยาสุภาชีราช พระยาเดโชราม ให้เกณฑ์เอาไพร่พลในเมืองกระพงสวายยกไปรบองพะเวช่วยเจ้าเวียดนาม ด้วยองพะเวตีเจ้าเวียดนามแตกไปแล้ว ครั้น ณ วันเดือนยี่แรม ๘ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก องค์จันท์มี

๗๒ หนังสือให้พระยาเสน่หานุชิต ถือมาเถิงสมเด็จเจ้าพระยาและพระยาสุภาชีราช พระยาเดโชรามว่า ให้ฆ่าภาษาโดยเตรืองสือกับไพร่ญวน ๕๐ คนเสียให้สิ้น อย่าให้เกณฑ์เอากำลังไปได้ด้วยองค์จันทร์คับแคบตัวนัก ครั้นอยู่ ณ วันเดือนยี่ แรม ๘ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก มีหนังสือมาแต่เมืองพนมเป็ญว่าองค์หายไป หารู้ว่าไปอยู่แห่งหนตำบลใดไม่ สมเด็จเจ้าพระยาและพระยาสุภาชีราช พระยาเดโชรามจึงจัดให้ม้า ๓ ม้าไปสืบดูองค์จันทร์ยังหากลับมาไม่ นายบาง นายบุตนายรักก็กลับมา ครั้น ณ วันเดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก พระยาภักดีเดโชบอกส่งตัวหมื่นโชอันชิต ซึ่งพระยาภักดีเดโชใช้ให้ไปสืบราชการทางเมืองสะโทง เมือกระพงสวาย มา ณ เมืองจำปาศักดิ์ ฯ ข้า ฯ ถามหมื่นโชอันชิตด้วยข้อราชการแจ้งอยู่ในคำให้การหมื่นโชอันชิตนั้นแล้ว ฯ ข้า ฯ มิไว้ใจแก่ราชการ ได้จัดให้พระมหาดไทยเมืองนครราชสีมา คุมไพร่ ๕๐๐ คนยกลงไปฟังราชการทางพระยาภักดีเดโช และทางพระวิเศษสัจจาจีน ขุนจง ด้วยแล้วให้ลาดตระเวนจับเอาจีนจามญวนเขมร แขวงเมืองสะโทง เมืองกระพงสวาย มาสืบถามเอาข้อราชการให้ได้เป็นแน่นอน ถ้าครอบครัวเมืองสะโทงเมืองกระพงสวาย ตั้งพักแรมอยู่ใกล้แขวงพระยาภักดีเดโช ก็ให้พระมหาดไทยคิดกวาดเอามาอย่าให้เขมรตั้งบ้านเรือนลงเป็นปกติได้ พระมหาดไทยได้ยกไป


๗๓ จากเมืองจำปาบาศักดิ์ แต่ ณ วันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีมะเมียแล้ว ครั้น ณ วันเดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก พระสันทบุรีบอกหนังสือแต่งให้ขุนจ่าเมือง ๆ สันคุมเอาตัวอ้ายเสา อ้ายคง เขมรเมืองกระพงสวายมา ณ เมืองจำปาบาศักดิ์ ฯ ข้า ฯ ถามอ้ายเสา อ้ายคง ๆ ให้การต้องคำกันว่า เป็นบ่าวพระยาเดโชราม ตั้งบ้านเรืออยู่ ณ บ้านกวง แขวงเมืองกระพงสวาย อดสะเบียงอาหารขึ้นมาหาข้าวกิน ณ บ้านเมืองแสน แขวงเมืองสีทันดร แจ้งอยู่ในคำให้การอ้ายเสา อ้ายคง นั้นแล้ว ครั้น ณ วันเดือน ๔ แรม ๓ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก พระยาภักดีเดโชแต่งให้หลวงภักดีวิเศษบุตรเขยพระยาภักดีเดโช พาเอาตัวนายสุขเขมรขึ้นมา ณ เมืองจำปาบาศักดิ์ ฯ ข้า ฯ ถามนายสุขด้วยข้อราชการแจ้งอยู่ในคำให้การนายสุขนั้นแล้ว ฯ ข้า ฯ ได้ส่งตัวนายสุข อ้ายเสา อ้ายคง และคำให้การหมื่นโชอันชิต คำให้การนายสุข อ้ายเสา อ้ายคงให้นายเอี่ยมมหาดเล็กบุตรพระลพบุรี ถือหนังสือบอกคุมเอาลงไปแจ้งราชการ ณ กรุงเทพ ฯ ด้วยแล้ว อนึ่ง ณ วันเดือน ๔ แรม ๗ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก พระราชรินมีหนังสือให้เพี้ยเวียงแก เมืองเขมราชถือมาเถิง ฯ ข้า ฯ ว่านายทัพนายกองทางเมืองนครพนม จะได้ยกข้ามของไปกวาดครัวเมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองพิน เมืองชุมพร เมืองวัง ณ วันเดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะเมียสัปตศก ฯ ข้า ฯ ก็ได้เตรียม

๗๔ กองทัพทางเมืองจำปาบาศักดิ์ไว้ ๑๐๐๐ หนึ่ง จะได้ยกไปช่วยป้องกันครอบครัว ฯ ข้า ฯ ได้มีหนังสือไปเถิงพระมหาเทพ พระราชรินว่า ถ้าทัพทางเมืองนครพนมจะได้ยกไปวันใด กำหนดทัพให้พร้อมกันที่ไหน ก็จะให้ทัพทางเมืองจำปาบาศักดิ์ยกไปบรรจบให้พร้อมกัน เพี้ยเวียงแกได้ถือหนังสือกลับไปจากเมืองจำปาบาศักดิ์ แต่ ณ วันเดือน ๔ แรม ๙ ค่ำ ปีมะเมียฉอศกแล้ว อนึ่ง ฯ ข้า ฯ ได้เร่งรัดให้เจ้านครจำปาบาศักดิ์ เจ้าอุปราชท้าวเพี้ย ทำค่ายเมืองจำปาบาศักดิ์ เสาค่ายใหญ่รอบ ๒ กำ ๒ กำกึ่ง ยาว ๓๑ เส้น กว้าง ๙ เส้น ๑๐ วา สูง ๗ ศอก ๓ ด้าน มีป้อม ๖ ป้อม ๆ กว้าง ๕ วา ๖ เหลี่ยม มีหอรบทุกประตู และให้ปลูกฉางข้าวขื่อ ๓ วา ๒ ศอก ยาว ๗ วา ๓ ศอกคืบ ๗ ห้องหลังหนึ่ง โรงปืนหลังหนึ่ง ตึกดินหลังหนึ่ง ไว้สำหรับเมืองทำแล้วส่วนหนึ่งยัง ๔ ส่วน ฯ ข้า ฯ ยังเร่งรัดให้ทำอยู่ อนึ่งจำนวนข้าวขึ้นฉางเมืองจำปาบาศักดิ์ปีหนึ่งเป็นข้าว ๒๓๕ เกวียน ๔๕ ถัง ณ ปีมะเมียฉอศกนี้ ได้ตวงข้าวขึ้นฉางไว้ได้ ๗๓ เกวียน ๗๑ ถัง ได้จ่ายกองทัพและข้าหลวงไปมาคิดราชการเก่าใหม่ สิ้นข้าว ๕๐ เกวียน ยังคงฉางอยู่ ๒๓ เกวียน ๗๐ ถัง ยังเร่งรัดกันอยู่ บัดนี้ ฯ ข้า ฯ แต่งให้เพี้ยศรีมหาโคตรเมืองจำปาบาศักดิ์ นายไพร่ ๑๑ คน ถือหนังสือและคำให้การหมื่นโชอันชิต นายสุข อ้ายเสา อ้ายคง มากราบใต้เท้าพระกรุณาเจ้าด้วยแล้วควรมิควรแล้วแต่จะโปรด


๗๕ บอกมา ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก

ฉะบับที่ ๑๗ คำให้การหมื่นโชอันชิต

ฯ ข้า ฯ หมื่นโชอันชิตให้การว่า ฯ ข้า ฯ เป็นบ่าวพระภักดีเดโช ๆ ตั้งให้ ฯ ข้า ฯ เป็นนายด่านเป็นบ้านแสประทานได้ปีหนึ่ง บ้านแสประทานเป็นพรมแดนกันกับเมืองกระพงสวาย แต่บ้านแสประทานจะมาบ้านพระยาภักดีเดโชตั้งอยู่ทางคืนหนึ่ง แต่บ้านแสประทานจะไปเมืองกระพงสวายทาง ๕ คืน ครั้นอยู่ ณ วันเดือน ๓ แรม ๑๓ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก พระยาภักดีเดโชแต่งให้ ฯ ข้า ฯ กับไพร่ ๒ คน ไปสืบราชการ ณ เมืองสะโทง เมืองกะพงสวาย ฯ ข้า ฯ ได้ไปจากแสประทาน แต่ ณ วันเดือน ๓ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก นอนทางคืนหนึ่งเถิงบ้าน ข.........แขวงกระสวาย ฯ ข้า ฯ ไปสำนักที่เรือนนายเสาเป็นบ่าวพระยาเดโชรามคืนหนึ่ง นายเสาเป็นพี่ภรรยา ฯ ข้า ฯ แต่บ้านบาขนองจะไปเมืองกระพงสวาย ทาง ๔ คืน ฯ ข้า ฯ เห็นครัวมาเที่ยวซื้อข้าวที่บ้านขนองประมาณ ๑๐ เล่มเกวียน คนชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๓๐ คน ฯ ข้า ฯ สืบถามราชการกับนายเสา ๆ จึงหาตัวครัวมาถามต่อหน้า ฯ ข้า ฯ ว่าอยู่เมืองใหม่ ครัวบอก ฯ ข้า ฯ กับนายเสาว่าอยู่เมืองสะโทงบ้าง เมืองกระพงสวายบ้าง

๗๖ แล้วครัวบอกว่า พระยาจักรีมีหนังสือมาเถิงพระยาเดโชรามเจ้าเมืองกระพงสวายว่าเดือนหายไปแล้วยังแต่ดาว ให้พระยาเดโชราม พระยาพระเขมรคิดเถิงจงทุกคนเถิด และราษฏรนั้นมันจะไปค้างไหนก็ตามใจของมัน อย่าให้ขัดขวางไว้เหมือนแต่ก่อนเลย ทุกวันนี้พระยาพระเขมร และราษฏรเมืองสะโทง เมืองกระพงสวาย สะดุ้งสะเทือนทุกบ้านทุกเมือง แต่ยังหาได้หนีออกจากบ้านจากเมืองไม่ แล้วครัวบอกว่าครอบครัวเมืองบาพะนมเมืองศรีสุนทร เมืองไพรแว้ง พากันทำตะพานข้ามแม่น้ำของที่ท่าระกาโกง ผ่อนครอบครัวมารวบรวมกันอยู่ ณ เมืองกระพงเสียมข้างฝั่งฟากตะวันตก ครัวว่าถ้าญวนมาเกณฑ์เอากำลังไปรบกับองพะเว้ ก็จะสู้รบกันกับญวนหาได้ไม่ และทุกวันนี้เมืองสะโทง เมืองกระพงสวาย และแขวงเมืองสะโทง เมืองกระพงสวาย ขัดด้วยสะเบียงอาหารนัก ครอบครัวหาได้ทำไร่นาเต็มพากภูมิไม่ ทำได้บ้างเล็กน้อย ............(ต้นฉะบับลบเลือน)............

ฉะบับที่ ๑๘ คำให้การนายสุข

ฯ ข้า ฯ นายสุขให้การว่า อายุ ฯ ข้า ฯ ได้ ๓๔ ปี บิดา มารดา ฯ ข้า ฯ ตายเสียแต่อายุ ฯ ข้า ฯ ได้ ๑๙ ปี ภรรยา ฯ ข้า ฯ ชื่ออำแดงเลบหาบุตรมิได้ ฯ ข้า ฯ เป็นบ่าวพระยา


๗๗ ภักดีเดโช บ้านเรือน ฯ ข้า ฯ อยู่บ้านดอนขะเม้า แขวงเมืองสีทันดร ครั้น ณ วันเดือน ๑๒ ข้างขึ้นปีมะเส็งเบญจศก ฯ ข้า ฯ กับ...........ฯ ข้า ฯ เข้ากัน ๓ คน พากันเอาผ้าขาวผ้าลายเอาฝ้าย บรรทุกเกวียนไปขาย ณ เมืองกระพงสวาย ฯ ข้า ฯ ไปเถิงเมืองสะโทง ณ วันเดือน ๑๒ แรมค่ำหนึ่ง ฯ ข้า ฯ ไปสำนักอยู่ที่เรือนนายบุญศรีเป็นพี่น้อง ฯ ข้า ฯ ๆ ให้นายบุญศรีช่วยเอาสิ่งของ ฯ ข้า ฯ ไปจำหน่ายกับผู้มีชื่อชาวบ้าน ได้เป็นกระบือผู้เมีย ๑๕ ตัว ฯ ข้า ฯ ก็อยู่กับนายบุญศรีประมาณเดือนเศษ ครั้น ณ วันเดือนอ้าย ปีมะเส็ง เบญจศก ข่าวลือไปว่ากองทัพกรุงเทพ ฯ พาเอาตัวเจ้าองค์อิ่ม เจ้าองค์ด้วง ออกมาครอบครองเมืองเขมรกับองค์จันท์ พระยาแสนตราเจ้าเมืองสะโทง และกรมการจึงปฤกษาพร้อมกันว่า ถ้ากองทัพไทยพาเอาเจ้าทั้งสองมาจริงก็จะพากันออกต้อนรับกองทัพ ครั้น ณ วันเดือนยี่ปีมะเส็งเบญจศก เจ้าเมืองซีแครงมีหนังสือไปเถิงเจ้าเมืองสะโทงว่า กองทัพไทยยกขึ้นมาเถิงด่านพรมสอแล้ว ประมาณคนไทยกองทัพ ๒๐๐๐๐ เศษ ครั้น ณ วันเดือนยี่ข้างแรมกองทัพยกขึ้นไปเถิงเมืองสะโทงแต่ตัวหาได้อยู่ไม่ ออกไปอยู่ ณ บ้านกระบือกับนายยศเพื่อน ฯ ข้า ฯ ทางไกลเมืองสะโทง ๒ คืน ครั้น ณ วันเดือน ๓ ขึ้นค่ำหนึ่ง ขุนสุภมาตรา ขุนศรีมงคล เมืองอ่างทองกับผู้ช่วยแปนเมืองสวายจิต ยกขึ้นมาเถิงบ้านกระบือ ขุนสุภมาตรา ขุนศรีมงคล ผู้ช่วยแปนถาม ฯ ข้า ฯ ว่าอยู่บ้าน


๗๘ ไหนพูดไทยได้ไหม ฯ ข้า ฯ บอกบ่า ฯ ข้า ฯ เป็นบ่าวพระยาภักดีเดโชมาค้าขายค้างอยู่ ขุนศรีมงคล ขุนศุภมาตรา ผู้ช่วยแปนก็เอา ฯ ข้า ฯ ไปด้วย พวก ฯ ข้า ฯ ทั้งไทยทั้งเขมรประมาณ ๕๐ คน กับหลวงพิพิธโภคา นายไพร่เข้ากัน ๑๐๐ คนอยู่ ครั้น ณ วันเดือน ๓ ข้างแรมได้ยินข่าวว่า กองทัพกับเขมรเกิดฆ่าฟันกันวุ่นวายขึ้น เขมรเมืองกระพงสวายแขวงเมืองกระพงสวาย ก็พากันกำเริบขึ้นทุกบ้านทุกเมือง ไล่ฆ่าฟันกองทัพซึ่งอยู่รักษาเมืองกระพงสวายแตกกระจัดพรัดพรายไป หารู้ว่าใครไปอยู่แห่งหนตำบลใดไม่ ฯ ข้า ฯ ก็หนีเข้าไปอยู่ในป่าดงกับพวกชาวบ้านอยู่ประมาณ เดือนเศษ ครั้น ณ วันเดือน ๔ ข้างแรมปีมะเส็งเบญจศก ฯ ข้า ฯ รู้ว่ากองทัพกรุงเทพ ฯ ถอยกลับมาสิ้นแล้ว ครั้น ณ วันเดือน ๕ ข้างขึ้นปีมะเมียฉอศก ฯข้า ฯ ก็ออกมาอยู่บ้านกระบือบ้านนายยศเพื่อน ฯ ข้า ฯ ดังเก่า ครั้น ณ วันเดือน ๕ ข้างแรมองค์จันท์ มีหนังสือขึ้นมา ณ เมืองกระพงสวาย ตั้งให้พระยาโยธาสงครามเป็นพระยาเดโชเจ้าเมืองกระพงสวาย แต่พระยาเดโชโปคนเก่านั้น องค์จันท์ให้หาตัวลงไปเมืองพนมเป็ญแล้วถอดเสีย จะผิดด้วยสิ่งใด ฯ ข้า ฯ หาทราบไม่ ครั้น ณ วันเดือนข้างแรม พระยาเดโชรามเจ้าเมืองกระพงสวายคนใหม่ มีหนังสือออกไปประกาศป่าวร้องทุกกำนันบ้าน แต่บรรดาขึ้นกับเมืองกระพงสวายให้สืบเสาะหาพวกกองทัพไทยซึ่งป่วยเจ็บตกค้างอยู่ยังไปมิได้ จะเที่ยวแอบแฝงอยู่ ณ บ้านใด ตำบลใด ก็ให้กำนันพันนาย


๗๙ บ้านขวนขวายจับเอาตัวมาฆ่าเสียให้สิ้น อย่าให้หลงเหลืออยู่แต่คนหนึ่งได้ ฯ ข้า ฯ กลัวซ่อนตัวอยู่กับนายยศเพื่อน ฯ ข้า ฯ ณ บ้านกระบือจนเถิงเดือน ๑๐ ปีมะเมียฉอศก นายยศกลัวความผิดเห็นจะปกปิด ฯ ข้า ฯ ไว้ไม่มิด นายยศจึงพา ฯ ข้า ฯ ไปหาพระยาเดโชรามให้ทำราชการอยู่กับพระยาเดโชราม ๆ ถาม ๆ ฯ ข้า ฯ ว่า เอ็งมาอยู่เมืองเขมรแต่เมื่อไร เอ็งมาพร้อมกับกองทัพไทยหรือให้บอกไปตามจริง ฯ ข้า ฯ จึงบอกว่า ฯ ข้า ฯ มาค้าขายค้างอยู่ก่อนกองทัพไทยหลายปีแล้ว พระยาเดโชจึงว่ากับ ฯ ข้า ฯ ว่าถ้าสมัครมาทำราชการด้วยกันแล้วก็ให้เข้ามาเถิด ฯ ข้า ฯ ก็อยู่ ณ บ้านพระยาเดโช ๆ ให้ ฯ ข้า ฯ เป็นเสมียนเขียนหนังสือแลการเล็กน้อยในเรือน ครั้น ณ วันเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำปีมะเมียฉอศก มีหนังสือองค์จันท์มาให้หาตัวพระยาเดโชรามลงไป ณ เมืองพนมเป็ญ ฯ ข้า ฯ ก็ไปด้วยพระยาเดโชราม ฯ ข้า ฯ เห็นองค์จันทร์จอดเรืออยู่หน้าเมืองพนมเป็ญ ๗ ลำ เป็นเรือศรีสนากบ้าง เรือไกโอบ้างยาวประมาณ ๑๑ วา ๑๒ วา จอดเคียงติดกันอยู่ แต่ทำตะพานเดินลงไปจนเถิงเรือไกลฝั่งประมาณเส้นหนึ่ง องค์จันท์ให้ปลูกโรงเสาไม้จริงไว้สำหรับราชการริมฝั่งน้ำ ๕ ห้องหลังหนึ่ง พระยาเดโชไปหาองค์จันท์ที่โรงหมอบอยู่ที่แผ่นดินหามีเสื่อปูไม่ ฯ ข้า ฯ ก็ตามเข้าไปหมอบอยู่ห่างพระยาเดโชประมาณ ๕ ว่า และลูกเมียองค์จันท์จะมีอยู่มากน้อยเท่าใด ฯ ข้า ฯ หาเห็นไม่ ฯ ข้า ฯ เห็นครัวญวนตั้ง


๘๐ บ้านเรือนแลโรงร้านตลาดซื้อขายกันอยู่ ณ เมืองพนมเป็ญ ทั้งสองฝั่งฟากแม่น้ำ อยู่บนบกบ้างบนเรือบ้างเป็นอันมาก จะเป็นครัวญวนเมืองไหน ฯ ข้า ฯ หาทราบไม่ แต่ ฯ ข้า ฯ ได้ยินองค์จันท์สั่งพระยาเดโชรามว่า ให้จัดแจงตั้งค่ายไว้ทุกด่านทุกทาง ให้เกนไพร่พลไว้ให้พร้อมกับบ้านเมือง อย่าให้ไปหากินทางไกล แล้วพระยาเดโชรามก็กลับมาเมืองกระพงสวาย ฯ ข้า ฯ ก็มาด้วย พระยาเดโชรามจึงเกนให้สนองน้อยคุมกำลัง ๒๕๐๐ คนไปตั้งค่าย ณ เมืองสะโทงค่ายหนึ่ง เสาค่ายไม้กระดานหน้าใหญ่ประมาณ ๑๒ นิ้วหน้าน้อยประมาณ ๔ นิ้ว กว้างประ มาณ ๓ เส้น ยาวประมาณ ๔ เส้น มีคนรักษาค่ายอยู่ ๕๐๐ คนแล้วให้ไกรเหมงไกรแปนคุม ๕๐๐ คน ไปตั้งค่าย ณ เมืองชีแครงค่ายหนึ่ง เสาค่ายใหญ่รอบ ๒ กำ กว้างประมาณ ๓ เส้น ยาวประมาณ ๔ เส้น ครั้น ณ วันเดือน ๑๒ ข้างแรม องค์จันท์ให้สมเด็จเจ้าพระยาหูกับพระยาสุภาชีราช คุมกำลัง ๑๕๐๐ คนขึ้นมาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองกระพงสวายค่ายหนึ่ง เสาไม้ไผ่กว้างประมาณ ๕ เส้นยาวประมาณ ๖ เส้น พูนสนามเพลาะสูง ๔ ศอก หนา ๔ ศอกทั้ง ๘ ด้าน ครั้น ณ วันเดือนอ้ายขึ้น ๕ ค่ำปีมะเมียฉอศก ฟ้าทะละหะกับองจันยีญวนมีหนังสือมาเถิงสมเด็จเจ้าพระยา พระยาสุภาชีราช พระยาเดโชราม ใจความว่า องตากุญคุมไพร่ ๙๐๐๐ คน มาตั้งค่ายอยู่ที่เปรียมพระสุทัตแห่งหนึ่ง องทงฎกกับพระยา ยมราชตีคุมกำลังญวนเขมร ๑๐๐๐๐ เศษ มาตั้งอยู่ที่เปรียมมัจรุก

๘๑ แห่งหนึ่ง ครั้น ณ วันเดือนอ้ายแรม ๖ ค่ำ ฟ้าทะละหะมีหนังสือมาเถิงสมเด็จเจ้าพระยา พระยาสุภาชีราช พระยาเดโชราม ๆ ฉีกหนังสือออกอ่าน แล้ววางหนังสือเสียพากันกอดเข่าถอนใจใหญ่นิ่งอยู่ทั้ง ๓ คน แล้วเอาหนังสือซ่อนเสียมิให้ผู้ใดเห็น แล้วพูดปรับทุกข์กันว่า ทีนี้เราจะพึ่งใครเล่า ครั้น ณ วันเดือนยี่ขึ้น ๕ ค่ำปีมะเมียฉอศก มีหนังสือฟ้าทะละหะมาเถิงสมเด็จเจ้าพระยา พระยาสุภาชีราช พระยาเดโชรามใจความว่าองค์จันท์ป่วยเป็นไข้หนัก กับว่าองจันญีเอายามาให้องค์จันท์กินถ้วยหนึ่ง ได้ประมาณ ๖ - ๗ วันองจันญีจึงให้หาตัวพระยาธรมา พระยาวัง ผู้พยาบาลองค์จันท์มาถามว่าองค์จันท์ป่วยนั้น ค่อยคลายขึ้นแล้วหรือยังพระยาธรมา พระยาวัง บอกกับองจันญีว่า องค์จันท์ตายเสียแล้ว องจันญีลงไปในเรือเปิดโรงขึ้นดู องจันญีจึงว่ามิใช่ผีองค์จันท์ดอก องจันญีว่าพระธรมา พระยาวัง ปดหาบอกตามจริงไม่ ให้ฆ่าพระยาธรมาพระยาวังเสียทั้งสองคน อยู่ ณ วันเดือนยี่ข้างแรมปีมะเมียฉอศก องจันญี ฟ้าทะละหะ มีหนังสือมาเถิงสมเด็จเจ้าพระยา พระยาสุภาชีราช พระเดโชราม ใจความว่า องค์จันท์หนีไปบวชเสียแล้ว ครั้นอยู่ ณ วันเดือน ๓ ข้างขึ้น มีหนังสือองจันญี หนังสือฟ้าทะละหะมาเถิงสมเด็จเจ้าพระยา พระยาสุภาชีราช พระยาเดโชรามอีกฉะบับหนึ่ง ใจความว่าให้หาตัวสมเด็จเจ้าพระยา พระยาสุภาชีราช พระยาเดโชราม ลงไปหาองจัน


๘๒ ญีณเมืองพนมเป็ญ สมเด็จเจ้าพระยาจึงปฤกษาพระยาสุภาชีราช พระยาเดโชรามว่า เราจะลงไปหรือไม่ไป พระยาสุภาชีราช พระยาเดโชรามว่าไม่ไปแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาจึงว่า ถ้าพระยาสุภาชีราช พระยาเดโชรามไม่ไปแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาก็ไม่ไปแล้ว ฯ ข้า ฯ ได้ยินสมเด็จเจ้าพระยา พระยาสุภาชีราช พระยาเดโชรามพูดกันว่า แต่พระยาธรมาพระยาวังนั้น องจันญียังฆ่าเสียแล้วเราจะไปทำไม แล้วสมเด็จเจ้าพระยาพระยาสุภาชีราช พระยาเดโชรามก็หาไปไม่ ครั้น ณ วันเดือน ๓ แรม ๑๑ ค่ำ ฯ ข้า ฯ ก็ลาพระยาเดโชรามว่าจะมาทวงลูกหนี้ ณ บ้านกันดารแขวงเมืองกระพงสวาย ฯ ข้า ฯ มาอยู่บ้านด่านได้ ๒ วัน เจ้าเมืองราชาโช มาแต่เมืองกระพงสวาย ฯ ข้า ฯ จึงถามเจ้าเมืองราชาโชว่า มาด้วยราชการสิ่งใด ราชาโชบอกกับ ฯ ข้า ฯ ว่ามีหนังสือฟ้าทะละหะมาแต่เมืองพนมเป็ญฉะบับหนึ่ง ใจความว่า เกณฑ์ให้พระยามนตรีเสน่หาเจ้าเมืองไพรกดี ตัดเสาเมรุ ๒ ต้น พระยาเดโชราม ๓ ต้น ใหญ่รอบ ๗ กำ ยาว ๑๑ วา กับให้พระยาเดโชรามเก็บเอาเงินกับตัวเลกเสมอคนละ ๒ บาท ส่งลงไปเมืองพนมเป็ญจะได้ทำบุญ ครั้นรุ่งเช้า ฯ ข้า ฯ ก็ลาราชาโชมาเถิงบ้านหมอประดับที่ไกรเหมาอยู่ ฯ ข้า ฯ เห็นเกวียนครัวอยู่ที่บ้านไกรเหมา ๒๕ เล่ม ประมาณคนชายหญิงใหญ่น้อย ๕๐ เศษ ฯ ข้า ฯ ถามไกรเหมาว่าคนครัวบ้านไหน ไกรเหมาบอก ฯ ข้า ฯ


๘๓ ว่าเป็นครัวเมืองสะโทงเมืองกระพงสวาย หาข้าวกินแล้วไกรเหมาถาม ฯ ข้า ฯ ว่าจะไปข้างไหน ฯ ข้า ฯ แกล้งบอกไกรเหมาว่ามาตามกระบือผู้ร้ายลักมา ฯ ข้า ฯ นอนอยู่ ณ บ้านไกรเหมาคืนหนึ่ง รุ่งขึ้นณ วันเดือน ๔ ขึ้นค่ำหนึ่งปีมะเมียฉอศก ฯ ข้า ฯ ก็ลาไกรเหมามาว่าจะไปตามกระบือ ฯ ข้า ฯ มาเถิงด่านแสประทานเป็นด่านพระยาภักดีเดโช ฯ ข้า ฯ หยุดอยู่ที่ด่านแสประทาน ๒ คืน ฯ ข้า ฯ มาจากด่านแสประทานเถิงบ้านพระยาภักดีเดโช แต่ ณ วันเดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำปีมะเมียฉอศก พระยาภักดีเดโชจึงแต่งให้หลวงภักดีวิเศษ บุตร์เขยพระยาภักดีเดโช พาเอาตัว ฯ ข้า ฯ ขึ้นมาส่ง ณ เมืองปาศักดิ์ และเมื่อ ฯ ข้า ฯ อยู่ ณ เมืองกระพงสวายนั้น ฯ ข้า ฯ เห็นแสนหานุชิตเจ้าเมืองกระพงแลง ขึ้นมาบอกพระยาเดโชราม ว่าครัวญวนพากันมาตั้งอยู่ ณ เมือง กระพงแลง ๖๐ ครัว อยู่ ณ เมืองกระพงเสียม ๗๐ ครัว อยู่ ณ เมืองกระพงฉนัง ๕๐ ครัว จะเป็นฉกรรจ์สำมะโนครัวมากน้อยเท่าใด และครัวญวนจะมาอยู่เมืองไหนอีกเท่าใด ฯ ข้า ฯ หาได้ยินพูดกันไม่แต่ ฯ ข้าฯ ได้ยินข่าวลือไปว่ากองทัพกรุงเทพ ฯ จะยกออกไปตีอีก พระยาพระเขมรและราษฏรเมืองกระพงสวาย และแขวงเมืองกระพงสวาย พากันระส่ำระสายสะดุ้งตกใจอยู่ หาเป็นอันที่จะทำไร่นาลงเป็นปกติไม่ ทำได้บ้างเล็กน้อย แล้วข้าวปลูกก็ขัดสน ราษฏรต้องรับพระราชทานแต่ต้นมะละกอกับศีร์ษะกล้วยปนกันกับข้าวอยู่เป็นนิจราคาข้าวเปลือกราษฏรซื้อขาย


๘๔ แก่กัน ถังเขมร ๔๐ ทนานเป็นกระบือตัวหนึ่ง คิดเป็นราคา ๑ ตำลึง ๑ บาทเงินไทย หามีเม็ดข้าวจะซื้อขายกันไม่ ราษฏรได้ความลำบากยากแค้นเดือนร้อนนัก เป็นความสัตย์ความจริง ฯ ข้า ฯ แต่เท่านี้ ฯ ข้า ฯ อ้ายเสาอ้ายคงให้การต้องคำกันว่า ฯ ข้า ฯ อ้ายเสาอ้ายคง เป็นบ่าวพระยาเดโชรามเจ้าเมืองกระพงสวาย บ้านเมือง ฯ ข้า ฯ อยู่บ้าน กวงแขวงเมืองกระพงสวาย แต่บ้านกวงจะไปตีเมืองกระพงสวายทาง ๓ คืน อยู่ ณ วันเดือนยี่ข้างแรมปีมะเมียฉอศก พระยาเดโชรามเจ้าเมืองกระพงสวายใช้ให้พระยาทิพยราชาขึ้นมาเกนคนบ้านระเวียง บ้านนาโทม บ้านตะแกง บ้านบาขนอง บ้านกวง บ้านบิง บ้านฉนวนเข้ากัน ๗ บ้านเป็นคน ๒๐๐ ให้ไปตั้งค่ายมั่นไว้ ณ ท่ากระพงกรม เสาค่ายไม้จริงทุบเปลือกใหญ่รอบกำกึ่ง ๒ กำ ค่ายยาวประมาณ ๓ เส้น กว้างประมาณ ๒ เส้นเศษ พูนสนามเพลาะสูง ๒ ศอกหนาศอกคืบ ตั้งอยู่ฟากห้วยข้างโน้น แต่หามีเขมรญวนมาอยู่รักษาประจำค่ายอยู่ไม่ แล้วพระยาทิพยราชาสั่งชาวบ้านระเวียง บ้านนาโทม บ้านตะแกง บ้านบาขนอง บ้านกวง บ้านบิง บ้านฉนวน ๗ บ้าน ให้ผลัดเปลี่ยนกันลาดตระเวนรักษาค่ายอยู่ แล้วพระยาทิพยราชากลับไปเมืองกระพงสวาย แต่ท่าพระพงกรมที่ค่ายอยู่นั้นจะไปเมืองกระพงสวายทาง ๓ คืน ฯ ข้า ฯ ได้ยินพระทิพยราชาพูดว่า ถ้ากองทัพไทยจะยกมาจริง เถิงปืนเรามีน้อยก็จะสู้รบได้


๘๕ ด้วยเรากันเอาน้ำไว้ แล้วระยะทางแต่หนองนำทรัพย์จะมาที่ค่ายตั้งอยู่ก็ไกลกันเถิง ๕๐๐ เส้นเศษ แต่ค่ายที่ตั้งอยู่บ้านกระพงกรม จะมาบ้านพระยาภักดีเดโชทางคืนหนึ่ง และท่ากระพงไชยนั้น ฯ ข้า ฯ ได้ยินชาวบ้านพูดกันว่า พระยาไกรเหมาอยู่บ้านถมอประดับแขวงเมืองกระพงสวาย เกนเอาพวกเขมรป่าดงมาทำค่ายไว้ ณ ท่ากระพงไชยค่ายหนึ่ง เสาค่ายไม้จริงใหญ่รอบ ๒ กำกึ่ง พูนสนามเพลาะรอบกว้างยาวเข้ากันกับค่ายท่ากระพงไชยค่ายหนึ่ง เสาค่ายไม้จริงใหญ่รอบ ๒ กำกึ่ง พูนสนามเพลาะรอบกว้างยาวเข้ากันกับค่ายท่ากระพงกรม แต่ท่ากระพงไชยจะไปเมืองกระพงสวายทาง ๔ คืน แต่ท่ากระพงไชยจะมาที่พระยาภักดีเดโชทาง ๒ คืน พระยาไกรเหมาเกนให้ชาวบ้านท่ากระพงไชย บ้านป่าดงผลัดเปลี่ยนกันมาลาดตระเวนรักษาด่านทางอยู่ แล้วพระยาไกรเหมาก็กลับไปบ้านถมอประดับ ๆ ไกลกันกับค่ายท่ากระพงไชยทางวันหนึ่งและนอกจากนี้จะตั้งค่ายที่แห่งใดตำบลใดอีกนั้น ฯ ข้า ฯ หาได้ยินผู้ใดพูดไม่ อยู่ ณ วันเดือนยี่ข้างแรม ฯ ข้า ฯ อยู่ ณ บ้านกวง บ้าน ฯ ข้า ฯ พบนายโภกชาวเมืองสะโทง มาหากิน ณ บ้าน ฯ ข้า ฯ นายโภกบอก ฯ ข้า ฯ ว่า ชายหญิงเมืองสะโทงพูดกันว่า ได้ยินข่าวลือกันมาแต่เมืองพนมเป็ญ ว่าองค์จันท์หายไปหารู้ว่าไปอยู่แห่งหนตำบลใดไม่ ยังติดตามหากันวุ่นวายอยู่ แล้วว่าครอบครัวเมืองสะโทงเมืองกระพงสวาย ก็พากันสะดุ้งสเทือนระส่ำระสายอยู่ หาได้ทำไร่นาเต็มพากภูมิไม่ ทำได้บ้างเล็กน้อย


๘๖ ข่าวลือไปว่ากองทัพกรุงเทพ ฯ จะยกออกไปตีอีก จึงพากันระส่ำระสายอยู่ หาได้ตั้งบ้านเรือนทำไร่นาเป็นปกติเหมือนดังเก่าไม่ และราคาข้าวเปลือก ณ เมืองสะโทงเมืองกระพงสวาย ราษฏรซื้อขายแก่กันถังเขมร ๔๐ ทะนาน เป็นราคา ๑ ตำลึง ๑ บาทเงินไทยแพงนัก หามีเล็ดข้าวจะซื้อขายกันไม่ จะหาบุกกลอยมารับพระราชทานก็ขัดสน ครอบครัวเมืองสะโทงเมืองกระพงสวาย และแขวงเมืองสะโทงเมือกระพงสวาย ได้ความอดอยากยากแค้นนักอยู่ ณ วันเดือน ๓ ข้างขึ้น ฯ ข้า ฯ จึงพากันมาหาข้าวกินที่บ้านนายออนเป็นพี่ภรรยา ฯ ข้า ฯ อยู่บ้านเกาะเมืองแสนแขวงเมืองแสนปาง นายออนบอก ฯ ข้า ฯ ว่า ข้าว ณ เมืองสีทันดรเมืองแสนปางมีบริบูรณ์อยู่ นายออนชวน ฯ ข้า ฯ ให้ ฯ ข้า ฯ พาครอบครัวมาแอบแฝงหากินอยู่ ณ บ้านเกาะเมืองแสนกับนายออน ฯ ข้า ฯ ก็กลับคืนไปบ้าน ฯ ข้า ฯ ครั้น ณ วันเดือน ๓ แรม ๔ ค่ำ ฯ ข้า ฯ ก็พามารดาบิดาภรรยา ฯ ข้า ฯ และป้าและน้องเขย ฯ ข้า ฯ เพื่อนบ้าน ฯ ข้า ฯ ชายหญิงใหญ่น้อยเข้ากัน ๑๔ คน เกวียน ๓ เล่มบรรทุกเหล็กกับน้ำตาล คิดกันมาทำเป็นค้าขายดูบ้านเมืองถ้าเห็นบริบูรณ์เป็นสุขอยู่ จะกลับไปรับบุตร์ภรรยาและญาติพี่น้อง มาแอบแฝงทำมาหากินอยู่ ฯ ข้า ฯ มาเถิงบ้านเกาะเมืองแสนแขวงเมืองแสนปาง ณ วันเดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ ฯ ข้า ฯ มาหยุดเกวียนอาศัยอยู่ ณ บ้านนายออนได้ ๒ คืน พระสันทบุรีแต่งให้ข้าหลวงเพี้ยกรมการเมืองสีทันดรไปรับเอาตัวพวก ฯ ข้า ฯ ๆ


๘๗ หนีไปได้ ๑๑ คนจับได้แต่ ฯ ข้า ฯ ส่งขึ้นมา ณ เมืองปาศักดิ์ และบ้านกวางที่ข้าอยู่ มีเรือนอยู่ ๑๐ หลังเรือน คนชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๔๐ เศษ และเมืองพนมเป็ญ เมืองบาราย เมืองกระพงเสียม เมืองสีสุนทร เมืองไพรแวง เมืองบาพนม เมืองตะบงขมุม จะขัดสนสะเบียงอาหาร เจ้าเมืองกรมการและพระยาพระเขมรจะคิดข้อราชการประการใด และราคาข้าวจะถูกแพงมากน้อยเท่าใด แล้วกองทัพญวนเขมรจะตั้งอยู่แห่งใดตำบลใด ฯ ข้า ฯ หาทราบไม่ เป็นความสัตย์ความจริงของ ฯ ข้า ฯ แต่เท่านี้

ฉะบับที่ ๑๙ รายงานพระสุนทรราชวงศาเสนอแม่ทัพใหญ่

ฯ ข้า ฯ พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธร ผู้รักษาราชการเมืองนครพนม และอุปฮาตราชวงศ์กรมการ บอกปรนนิบัติมายังท่านหลวงราชเสนา ได้เอาบอก ฯ ข้า ฯ ขึ้นกราบเรียน ฯ พณ ฯ สมุหนายก เจ้าคุณแม่ทัพใหญ่ ผู้สำเร็จราชการ ณ เมืองปัตบอง ให้ทราบ ด้วยโปรดเกล้า ฯ ให้ขึ้นไปรักษาราชการ ณ เมืองนครพนมนั้น ฯ ข้า ฯ ก็ได้เกณฑ์เอาท้าวเพี้ยตัวเล็กไปอยู่รั้งด้วย ๑๔๒ คน ปืนหลวง ๑๐๐ บอก ปืนราชการ ๓๐ บอก ช้างพลายพัง ๔ ช้าง ม้า ๓ ม้า ดินดำ....... หาบ กะสุน ๓๕๐๐ กะสุน สิลา ๒๐๐ ปาก อยู่ ณ วันเดือนปีมะเส็งเบญจศก ท่านพระมหาเทพแม่ทัพ คุมทัพ

๘๘ หลวงขึ้นมาเถิงเมืองนครแล้ว ฯ ข้า ฯ ได้จ่ายกระสุนไป ๒๕๐๐ ลูก ดินดำ ๒ หาบ สิลา ๒๐๐ ปาก แล้วดินดำยังค้างเมือง ฯ ข้า ฯ อยู่ ๙ ตุ่ม แล้ว ฯ ข้า ฯ ได้เตรียมเลกไว้สำหรับเมือง นายไพร่ ๖๕๘ คน ปืนชะเลย๑๐๐ บอก ดินดำ ๕๐ กลัก ลูกกระสุน ๓๐๐๐ ช้างสำหรับทัพ ๑๐ ช้าง โคต่าง ๒๐ ม้า ๔ ม้า อนึ่ง ฯ ข้า ฯ จ่ายดินดำให้เมืองสุวรรณภูมิหนัก.......................... เมืองมุกดาหาร ๓๐ กลัก ณ วันเดือนยี่ปีมะเมียฉอศก พระมหาเทพคุมทัพหลวงขึ้นมาอีก แล้วเกนเอาเลกในเมือง ฯ ข้า ฯ นายไพร่ ๒๐๐ คน ปืน ๖๐ บอก ดินดำ ๓๐ กลัก ลูกกะสุน ๓๐๐๐ ช้างสำหรับทัพ ๑๐ ช้าง โคต่าง ๒๐ หลัง ม้า ๕ ม้า และเลกยังคงอยู่รักษาเมืองนายไพร่ ๔๕๘ คน ได้เก็บข้าวในเมืองขนไปเลี้ยงกองทัพ ๒๐๐๐ ถัง ยังไว้สำหรับเมือง ๓๐๐๐ ถัง อนึ่ง ฯ ข้า ฯ............. พาบ่าวไพร่ครอบครัวทำไร่นาในปีมะเมียฉอศก ณ เดือน ๙ เดือน ๑๐ ฝนตกชุก ต้นข้าวพอเป็นกลาง เถิงเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ ฝนแล้ง ข้าวตายฝอยเสียมากได้ผลเม็ดข้าวน้อย ฯ ข้า ฯ ได้เกนเอาข้าวกับบ่าวไพร่ตวงขึ้นฉางได้ ๕๐๐ ถัง หลวงเทเพนทร์ได้จ่ายเลี้ยงข้าหลวงกองทัพกับครอบครัวสิ้นแล้ว ข้อราชการทางเมืองมหาชัย เมืองคำเกิดนั้น ท่านพระมหาเทพขึ้นมาแล้ว จึงแต่งหนังสือให้พระสงฆ์ และคนถือเข้าไปเกลี้ยกล่อมอยู่ ไว้ใจแก่ราชการไม่ได้ ฯ ข้า ฯ ยังได้แต่งขึ้นไปสืบข้อราชการลาดตระเวนทางเมืองมหาชัยเมืองคำเกิดเนือง ๆ อยู่มิได้ขาด อนึ่งมีท้อง


๘๙ ตราพระราชสีห์โปรดเกล้า ฯ ให้เพี้ยษานนท์เชิญเอาขึ้นมาเถิง ฯ ข้า ฯ แต่ปีมะโรงจัดตวาศกใจความว่า ให้ ฯ ข้า ฯ เก็บเอาเงินแลกส่วยผ้าขาวแต่ปีมะโรงปีมะเส็ง จัดซื้อข้าวเลี้ยงนายทัพนายกองและครอบครัว ณ เมืองนครพนม อย่าให้ขัดสนอดอยาก ฯ ข้า ฯ ก็ทราบเกล้า ฯ แล้ว ฯ ข้า ฯ และขุนภักดีภูมินทร์ หมื่นพรมรักษา ข้าหลวง พร้อมกันเก็บเงินได้ปีมะโรงทั้งข้าวคิดเข้ากันเงิน ๙ ชั่ง ๙ ตำลึง ปีมะเส็งเงิน ๖ ชั่ง ๑๖ ตำลึง ๒ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ได้รับเงินหลวง ให้หลวงเทเพนทร์ถือขึ้นไปเงิน ๙ ชั่ง ให้ค่าข้าวลูกหลวงและลูกค้าเมืองพะบาง เลี้ยงกองทัพและครอบครัวต่ออยู่อนึ่งพระเทพวงษาเจ้าเมืองเหมราช แต่งให้ท้าวเพี้ยคุมเอาเงินอากรเมืองสะเมีย เมืองเจียมขึ้นมาเถิง ฯ ข้า ฯ ขุนภักดีภูมินทร์ แต่ ณ วันเดือน ๗ ปีมะเส็งเบญจศก เมืองเจียม ๘ ชั่ง ๗ ตำลึง ๓ สลึง ๑ เฟื้อง คิดทั้งข้าวเข้ากันเป็นเงิน ๘ ชั่ง ๙ ตำลึง ๓ สลึง ๑ เฟื้อง เงินอากรบ้านต่อ ๑ ชั่ง ๕ ไพ ฯ ข้า ฯ และขุนภักดีภูมินทร์ และหมื่นพรหมรักษา เงินเมืองสะเมีย ๕ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ๓ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ทั้งเงินค่าข้าวเข้ากันเงิน ๕ ชั่ง ๑๖ ตำลึง ได้จำหน่ายซื้อข้าวเลี้ยงและครอบครัวสิ้น แต่ปีมะเส็งเบญจศก เงินอาการหัวเมืองข้าเกนหัวเมืองข้าวน้ำใจส่งขึ้นมา ฯ ข้า ฯ นั้น ฯ ข้า ฯ ได้บอกส่งไป ณ กรุงเทพ ฯ แต่ ณ วันเดือน ๕ ปีมะเส็งเบญจศกแล้ว ฯ ข้า ฯ ได้เอาเงิน ฯ ข้า ฯ จัดซื้อเลี้ยง



๙๐ บ่าวไพร่มะโรงปีมะเส็ง......................................................... ทุกวันนี้ครอบครัวขัดสนอดอยากซวดโซล้มตายเป็นอันมาก ได้เอาข้าว ฯ ข้า ฯ แจกจ่ายเลี้ยงครอบครัวบ่าวไพร่ปีมะโรง ๕๐๐ ถัง ปีมะเส็ง ๑๑๐ ถัง ปีมะเมีย ๑๘๗ ถัง ณ วันเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก แม่ทัพทางเมืองหนองคายบอกมาเถิงพระมหาเทพ ณ เมืองนครพนมว่า ได้ใช้ปลัดวุนเล็ดรอดเข้าไปบ้านดาวแขวงเมืองเชียวขวาง เห็นบ้านรางใกล้เมืองเชียงขวาง ไปเถิงทุ่งเชียงคำ เห็นพวนคั้งค่ายที่ทุ่งเชียงคำประมาณคน ๑๐๐๐ เศษ ญวนชายหญิง ๒๐ คน พระพิเรนทรเทพจะยกเข้าไปตีเมื่อวันเดือน ๔ แรมค่ำหนึ่ง ปีมะเมียฉอศก เพี้ยโคตรศรีเมืองบ่าว ฯ ข้า ฯ พระปทุมเทวาขอขึ้นไปทำราชการ ณ เมืองหนองคาย พระปทุมเทวาตั้งเพี้ยโคตรศรีเมืองให้เป็นเมืองแพนอยู่เมืองหนองคาย ลงไปคอยตัวเป็นข้าอยู่ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุริวงศ์ จึงโปรดเกล้า ฯ มีตราจางวางพวงให้เพี้ยเมืองแพนถือขึ้นมาเถิง ฯ ข้า ฯ กรมการ ว่าสมัครพรรคพวกเพี้ยเมืองแพนตกอยู่กับเมือง ฯ ข้า ฯ ถ้าได้เลกมากน้อยเท่าใดให้บอกไปให้ทราบ ครั้น ฯ ข้า ฯ จะจัดแจงให้เพี้ยเมืองแพนมากน้อยก็กลัวอยู่ จึงได้บอกมากราบใต้เท้าพระกรุณาเจ้าสุดแล้วแต่จะโปรดแต่สำเนาตรานั้นได้ส่งมาด้วยแล้ว อนึ่งโปรดให้เอาเรือลงมาแต่เมืองเวียงจันทร์ไว้สำหรับราชการนั้น ครั้นมาเถิงเมืองมุกดาหารแล้ว.................ตีแตก.....................ขึ้นไปเถิงเมืองแต่ ๖ ลำ ชำรุดเสีย ๕ ลำ ยังใช้ราช


๙๑ การอยู่แต่ ๒ ลำ อนึ่งโปรดให้เอาโคหลวงไปเลี้ยงปรนปรือไว้เดิมตัวผู้ ๑๑ ตัวเมีย ๑๐ เป็น ๒๑ ตัว ตายผู้ ๙ เมีย ๖ เป็น ๑๕ ตัว คงอยู่ผู้ ๒ เมีย ๔ เป็น ๖ ตัว ลูกผู้ ๑๒ ลูกเมีย ๘ เป็น ๒๐ ตัว เข้ากัน ๒๖ ตัว อนึ่งโปรดเกล้าผมสั่งว่าให้ ฯ ข้า ฯ เอาของอ้ายโยปาศักดิ์ซึ่งกองทัพได้ไว้นั้น ฯ ข้า ฯ ชำระได้กับเพี้ย....................................... เครื่องสายทองคำสายหนึ่ง ฯ ข้า ฯ จัดแจงได้ช้างพังสูง ๔ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว ๑ ช้างลูก ๑ เป็น ๒ ม้าผู้แดง ๒ ศอก ๘ นิ้ว ๑ ม้าผู้เหลือง ๒ ศอก ๘ นิ้ว ๑ เป็น ๒ ของอุปฮาดม้าผู้แดงสูง ๒ ศอก ๗ นิ้วม้าหนึ่ง ให้เมืองขวาให้พันโนราช ให้เพี้ยวงษา เพี้ยกลบต กับไพร่มีชื่อมากับใต้เท้าพระกรุณาเจ้าด้วยควรมิควรแล้วแต่จะโปรด สิ่งใดจะชอบด้วยราชการขอบุญปัญญาเป็นที่พึ่ง............... มา ณ วันศุกรเดือน ๕ แรม ๖ ค่ำ ปีมะแมสัปตศก ปรนนิบัติมา ณ วันศุกรเดือน ๕ แรม ๖ ค่ำ ปีมะแมสัปตศก

ฉะบับที่ ๒๐ ระยะทางเรือใบไปเมืองญวน

ข้าพระพุทธเจ้า พระภักดีวานิจ พระสุนทรวานิจ พระไมตรีวานิจ หลวงจำเริญวานิช รับใส่เกล้า ฯ ได้ไปปรึกษากับไต่ก๋งตีนญวน พร้อมกันทำระยะทางทูลเกล้า ฯ ถวาย แต่เมืองเว้จะเข้า


๙๒ มาเมืองไซ่ง่อน ถ้าเดือนยี่ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๕ เป็นฤดูลมตะวันออกลมดีมาได้คล่อง ๙ วัน ๑๐ วันถึงเมืองไซ่ง่อน ถ้าจะกลับไปในเดือนยี่ เดือน ๓ เดือน ๔ ลมต้านหน้าไปไม่ได้ ต่อเดือน ๕ พอแล่นก้าวไปได้บ้าง ๑๗ วัน ๑๘ วัน จึงจะถึงเมืองเว้ เดือน ๖ เดือน ๗ เดือน ๘ เป็นฤดูลมสำเภา สลาตัน ลมขัด เมืองเว้จะลงมาเมืองไซ่ง่อนไม่ได้ ถ้าจะกลับไปสมสลาตันส่งท้ายไปคล่อง ๙ วัน ๑๐ วันถึงเมืองเว้ เดือน ๙ เดือน ๑๐ เดือน ๑๑ เป็นฤดูลมตะวันออก ลมอุตรา ลมตะวันตก ลมแปรปรวนหายืนไม่ เมืองเว้จะลงมาเมืองไซ่ง่อน ต้องแล่นก้าวเข้ามา ๒๑ วัน ๒๒ วัน จึงจะถึงเมืองไซ่ง่อน ถ้าจะกลับไปต้องแล่นก้าว ลมไม่เป็นประตูเดียวไป ๒๕ วัน ๒๖ วันถึงเมืองเว้ เดือน ๑๒ เดือนอ้าย เป็นฤดูลมว่าวลมอุตรากล้า คลื่นใหญ่เกิดพายุในตกหนัก เมืองเว้จะลงมาเมืองไซ่ง่อนไม่ได้ ถ้าจะกลับไปเป็นลมพายุฝนคลื่นใหญ่ตีเข้าฝั่งถึงจะแล่นก้าวก็ไม่ได้ ระยะทางนอกแต่เมืองเว้ จะมาเมืองไซ่ง่อนที่จะแวะเข้าตักน้ำหาฟืน ถ้าลมดีแล่นมาแต่เมืองเว้ วันหนึ่งถึงเขาหันสอหน้าเมืองหุ้ยอาน แต่เขาหันสอแล่นมาครึ่งวันถึงเกาะเจียมปิดหลอมาวันหนึ่งถึงเกาะวัวโลตรงปากน้ำเมืองกวางง่าย แต่เกาะวัวโลแล่นมา ๒ วัน ถึงปากน้ำเมืองกุยเญิน แต่ปากน้ำเมืองกุบเญินแล่นมาวันหนึ่งถึงปากน้ำเมืองภูเอียน แต่ปากน้ำเมืองภูเอียนแล่นมาวันหนึ่งถึงปากน้ำเมืองภูเอียน แต่ปากน้ำเมืองภูเอียนแล่นมาวันหนึ่งถึงปากน้ำเมืองอยาตรัง แต่ปากน้ำเมืองอยา


๙๓ ตรังแล่นมา ๒ วันถึงวัวญิมปากน้ำเมืองไซ่ง่อน แต่เมืองไซ่ง่อนจะมาเมืองพุทไธมาศทางนอก ถ้าเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ เดือนอ้ายเป็นฤดูลมตะวันออกมาคล่อง ๔ วัน ๕ วันถึงเมืองพุทไธมาศ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๕ แล่นก้าวมาได้ ถ้าเป็นฤดูลมว่าวต้องแล่นก้าวบ้าง มา ๖ วัน ๗ วันจึงถึงเมืองพุทไธมาศ ถ้าจะกลับไปเมืองไซ่ง่อนต้องแล้นก้าวไป ๓ วัน ๔ วันถึงเกาะมัน แต่เกาะมันจะไปเมืองไซ่ง่อน ลมตะวันออกลมว่าวต้านหน้าไปไม่ได้ ถ้าเดือน ๖ เดือน ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ เดือน ๑๐ ห้าเดือนเป็นลมสลาตันลมสำเภาคลื่นลมกล้า เมืองไซ่ง่อนจะมาเมืองพุทไธมาศไม่ได้ ถ้าจะกลับไปได้คล่อง ลมตะวันตกส่งท้ายไป ๕ วัน ๖ วัน ถึงเมืองไซ่ง่อน แต่ปากน้ำเมืองไซ่ง่อนมาทะเลทางใน ล้าลมดีครึ่งวันถึงปากน้ำเมืองสมีถ้อ แต่ปากน้ำเมือยล่องโห้มาครึ่งวันถึงปากน้ำเมืองล่องโห้ แต่ปากน้ำเมือยล่องโห้มาครึ่งวันถึงปากน้ำเมืองปาศักดิ์ แต่ปากน้ำเมืองปาศักดิ์มาครึ่งวันถึงเกาะอุยเลย ถ้าคลื่นลมกล้าเรือเดินในเกาะอุยเลยถ้าคลื่นลมปกคิเรือเดินนอกเกาะอุยเลยในเกาะมัน ๆ กับเกาะอุยเลยตรงกัน ห่างกันทางประมาณครึ่งวัน ถ้าเรือสำเภา เรือปากใต้แล่นนอกเกาะมัน ถ้าเรือศีร์ษะญวนยาว ๑๑ วา ๑๒ วา เดินทางในเกาะมันในเกาะอุยเลยออกจากท้ายเกาะอุยเลยแลเห็นปากน้ำเมืองเขมา แต่เมืองเขมามาวันหนึ่งถึงเมืองเตกเซีย แต่เมืองเตกเซียมาวันหนึ่งถึงเมือง


๙๔ พุทไธมาศ แต่เมืองพุทไธมาศมาครึ่งวันถึงเมืองกำปอด แลเห็นเกาะตุนอยู่ทิศสำเภาประมาณครึ่งวัน แต่เมืองกำปอดมาครึ่งวันถึงฉองตงมึง สำหรับเรือไปมาแวะเข้าตักน้ำหาฟืน แต่ตงมึงมาวันครึ่งถึงเมืองกระพงโสม แต่เมืองกระพงโสมมาวันครึ่ง มาแต่ไซ่ง่อนทาง ๖ วัน ๗ วันถึงเกาะกง แต่เกาะกงมาวันหนึ่งถึงเกาะกูด เกาะช้าง หน้าเมืองตราด แต่เกาะช้างมาวันหนึ่งถึงแหลมสิงห์ปากน้ำเมืองจันทบุรี แต่ปากน้ำเมืองจันทบุรีมาวันหนึ่งถึงเกาะสม็ด แต่เกาะเสม็ดครึ่งวันถึงปากน้ำเมืองระยอง แต่ปากน้ำเมืองระยองมาครึ่งวันถึงช่องแสมสาร แต่ช่องแสมสารมาวันหนึ่งถึงเกาะศรีชังหน้าเมืองบางละมุง แต่เกาะศรีชังวันหนึ่ง แต่ไซ่ง่อนมา ๑๓ วัน ๑๔ วันถึงปากน้ำเจ้าพระยา แต่ปากน้ำเมืองไซ่ง่อนเรือใหญ่จะเดินทางนอก ๒ วัน ถึงเกาะมันออกจากเกาะมันมาวันครึ่งถึงขวางใหญ่ แต่ขวางใหญ่มาวันหนึ่งถึงขวางน้อย แต่ขวางน้อยจะเข้ามา ถ้าเดือนยี่ เดือน ๓ สองเดือนเป็นฤดูลมตะวันออกลมอุตรา ต้องแล่นเลียบฝั่งตะวันออกมา ๓ วัน ๔ วันถึงหน้าเกาะช่องกำปั่น มาแต่เกาะช่องกำปั่นวันหนึ่งถึงเกาะไผ่ออกจาเกาะไผ่วันหนึ่งถึงหลังเต่าตรงเข้าปากน้ำเจ้าพระยาเป็นทาง ๙ วัน ๑๐ วัน ถ้าเดือน ๔ เดือน ๕ สองเดือนเป็นลมสำเภาสลาตัน ออกจากขวางน้อยแล่นข้ามมา ๔ วัน ๕ วันถึงหน้าเขาสามร้อยยอด ออกจากเขาสามร้อยยอดครึ่งวันมาถึงเจ้าลาย ออกจากเจ้าลายครึ่งวันถึงเกาะไผ่ มาวันหนึ่งถึง


๙๕ หลังเต่าตรงเข้าปากน้ำเจ้าพระยาเป็นทาง ๗ วัน ถ้าเดือน ๖ เดือน ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ สี่เดือนนี้ฤดูลมสลาตันลมตะวันตกพัดกล้าคลื่นใหญ่ เมืองพุทไธมาศ ขวางน้อย จะเข้ามาไม่ได้ ถ้าเดือน ๑๐ เดือน ๑๑ เดือน ๑๒ เดือนอ้าย สี่เดือนนี้เป็นฤดูลมตะวันออกลมศีร์ษะเขา ทางนอกมาไม่ได้ลมพัดกล้าคลื่นใหญ่ ถ้าจะมาต้องมาทางใน ที่จะตั้งกองลาดตระเวนคอยดูเรือไปมาทางนอกทิศตะวันออก ที่เกาะกูดแห่งหนึ่งที่เกาะช่องกำปั่นแห่งหนึ่ง ข้างทิศตะวันตกที่สามร้อยยอดแห่งหนึ่ง ถ้าจะตั้งกองตระเวนทางในที่ตั้งเกาะกง เกาะช้าง เกาะกูดเกาะศรีชังแห่งหนึ่ง แต่เมืองไซ่ง่อนจะมาเมืองพุทไธมาศเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ เดือนอ้าย มาได้คล่อง เดือนยี่เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๕ ต้องแล่นก้าวจึงมาได้ เดือน ๖ เดือน ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ เดือน ๑๐ มาไม่ได้

เหตุการณ์ในปีมะแม พ.ศ. ๒๓๗๘

ตั้งแต่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กลับมาจากเมืองพัตบองรับราชการอยู่ในกรุงเทพ ฯ ทางฝ่ายไทยก็เพียงแต่คอยระวังมิให้เขมรและญวนรุกล้ำเขตต์แดน หรือแอบแฝงลอบเกลี้ยกล่อมพลเมือง และพยายามสืบสวนเหตุการณ์ในเมืองเขมร ได้ความว่า เมื่อสมเด็จพระอุทัยราชาถึงพิราลัยแล้ว ท่วงทีญวนจะต้องการรวมเอาดินแดนเขมรเข้าไว้ในอาณาจักรญวนเสีย


๙๖ ทีเดียว ญวนตั้งค่ายใหญ่อยู่เหนือเมืองพนมเป็ญ แม่ทัพใหญ่ชื่อองตำตาง แม่ทัพรองชื่อองลองยิน พระยาพระเขมรเกิดระแวงญวนมากขึ้น และกลับหวนมาคิดถึงเจ้าองค์อิ่ม เจ้าองค์ด้วง ซึ่งไทยทนุบำรุงอยู่ ใคร่จะขอเชิญไปเป็นกษัตริย์ปกครองเขมร แต่เขมรยังตกในที่คับขัน ทั้งกำลังส่วนรวมก็ไม่เพียงพอ จึงยังคิดทำอะไรไม่ถนัดทุกทาง ส่วนกองทัพเจ้าพระยาธรรมา(สมบุญ) ที่ยกขึ้นไปฝ่ายเหนือและภาคอิสาน บรรดาเมืองหัวพันทั้งหก ยอมอ่อนน้อมขอขึ้นกับไทยฝ่ายเดียว โดยไม่ต้องรบราฆ่าฟัน เมืองหัวพันทั้งหก อยู่ใรเขตต์สิบสองจุไทย แต่ใกล้กับนครหลวงพระบาง นัยว่าเดิมมี ๕ เมือง พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ทางตั้งท้าวพระยาออกไปเป็นตำแหน่งหัวพันปกครอง ต่อมาเพิ่มขึ้นอีกเมืองหนึ่ง จึงเรียกรวมกันว่า เมืองหัวพันทั้งหกคือเมืองเหยิม, เมืองเชียงคอ, เมืองซำเหนือ, เมืองซำใต้, เมืองโสย, เมืองซอน

ฉะบับที่ ๑ ตราถึงพระยานครชัยศรี หนังสือเจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงพระยานครชัยศรี ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า ครัวเขมรเจ้าพระยาบดินทร



๙๗ เดชา ที่สมุหนายก ส่งเข้ามาแต่เมืองปัตบองเป็นคนชายฉกรรจ์ ๑๕ คน ครัว ๔๑ รวม ๕๖ คนนั้น โปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานพร้า ๑๖ เล่ม เสียม ๑๖ เล่ม เสื่อ ๒๕ผืน ชามข้าว ๕๐ ใบ ชามแกง ๕๐ ใบ รวม ๑๐๐ ใบ ตุ่มน้ำ ๑๐ ใบ แล้วขุนศรีภักดี กรมพระสัสดี คุมครัวออกมาส่งให้พระยานครชัยศรี ให้กรมการตรวจนั้นรับครัวไว้ให้ขึ้นอยู่บ้านเรือนตามพวกตามเหล่า ให้เป็นกอง เป็นหมวด แล้วให้พระยานครชัยศรี กรมการเอาใจใส่ตรวจตราดูแลจ่ายสะเบียงอาหารให้ครัวรับพระราชทาน อย่าให้ครอบครัวอดอยากระส่ำระสายหลบหนีไปแต่คนหนึ่งได้ ถ้าตรวจรับได้ครัวเป็นคนชายหญิงใหญ่น้อยเท่าใด ให้บอกเข้ามาให้แจ้งเหมือนอย่างแต่ก่อน หนังสือมา ณ วันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะแม สัปตศก (พ.ศ. ๒๓๗๘)

ฉะบับที่ ๒ คำให้การนักซวนให้แก่หมื่นพิทักษ์ปลายแดน

ฯ ข้า ฯ นักซวนให้การว่า บิดาชื่อนักทัน มารดาชื่อนักจัน มีบุตรชายหญิง ๖ คน ทั้ง ฯ ข้า ฯ บิดา ฯ ข้า ฯ ตายได้ประมาณ ๑๐ ปี อายุ ฯ ข้า ฯ ได้ ๓๐ ปี ยังหาภรรยามิได้ อยู่บ้านตีนท่าปลายคลอง.........................(ลบ)................ใกล้กับปากคลองเกาะกงทางวันหนึ่ง

๙๘ ฯ ข้า ฯ เข้าเกลี้ยกล่อมขุนพิทักษ์ปลายแดน แต่ก่อนที่บ้านตีนท่ามีบ้านเรือนเขมรอยู่ ๕ เรือนทั้งเรือน ฯ ข้า ฯ เมื่อปีมะเมียฉอศก กองทัพเลิกกลับเข้ามาแต่เมืองญวน เขมรที่อยู่บ้านตีนท่ากลัวเขมรเมืองตะพอกจะมาจับได้ พากันเลิกบ้านเรือนเข้ามาอยู่เมืองเกาะกงสิ้น แต่ครัว ฯ ข้า ฯ ๕ คนด้วยกันยังรักษาไว้อยู่ที่บ้านตีนท่า ครั้น ณ วันเดือน ๓ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะเมียฉอศก(พ.ศ. ๒๓๗๗) เวลาเช้ามารดาฯ ข้า ฯ กับพี่ชายพี่สะใภ้ ฯ ข้า ฯ ๓ คน ไปเที่ยวหาปลายังหากลับไม่ ฯ ข้า ฯ กับนักโปพี่สาว ฯ ข้า ฯ อยู่เฝ้าเรือน ครั้น ณ วันเดือน ๓ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เวลาใกล้รุ่งมีเขมรประมาณ ๒๐ คน ถือเครื่องสาสตราอาวุธมาล้อมเรือน ฯ ข้า ฯ แล้วปีนขึ้นบนเรือน จับเอาตัว ฯ ข้า ฯ กับนักโปพี่สาว ฯ ข้า ฯ มัดไว้ แล้วเก็บเอาทรัพย์สิ่งของ แล้วพา ฯ ข้า ฯ ลงมา ฯ ข้า ฯ เห็นเขมรตัวนายลางคน ฯ ข้า ฯ จำได้อยู่ว่าชื่อนักอง นักกงอยู่บ้านตงตะเลแขวงเมืองสำโรงทอง แต่ก่อนเคยมาค้าขายพบ ฯ ข้า ฯ ที่เมืองตะพองเนือง ๆ นักอง นักกง ถาม ฯ ข้า ฯ ว่าเรือน ฯข้า ฯ มีคนกี่คน ฯ ข้า ฯ บอกว่ามีอยู่ ๕ คน มารดากับพี่ชายพี่สะใภ้ ฯ ข้า ฯ ไปหาปลา แต่เพลาวานนี้ ฯ ข้า ฯ อยู่เฝ้าเรือน............................................. แล้วนักอง นักกง ถามว่าที่เกาะกงกองทัพมาอยู่บ้างหรือไม่............... สัพลงมาอยู่คน ๓๐๐๐ เศษ นักอง นักกง พูดกับ ฯ ข้า ฯ เท่านั้น...... เชือกมัดมือข้ากับนักโปพี่สาว ฯ ข้า ฯ จูงไปทางวันหนึ่งเถิงสำนัก


๙๙ ....................................แขวงเมือตะพอง นักอง นักกง ให้แก้มัด ฯ ข้า ฯ กับพี่สาว ฯ ข้า ฯ ออกแล้วว่ากับ ฯ ข้า ฯ ว่า ฟ้าทะละหะใช้ให้นักอง นักกงลงมาสืบราชการทางเมือเกาะกง นักอง นักกงลงมาเถิงบ้านคำลวด พบเขมรถือหนังสือเจ้าเมืองกระพงโสมขึ้นไปเถิงฟ้าทะละหะฉะบับหนึ่ง ว่า เจ้าเมืองกำปอดใช้ให้สนองอูมาสืบราชการที่เมืองเกาะกง สนองอูไปเถิงบ้านสะทิงปรัก นอนอยู่เรือนักยศนายบ้าน กองทัพได้ล้อมเรือนตจับเอาสนองอูนักยศ กับเขมรชายหญิงใหญ่น้อยบ้านสะเทิงปรักไปเป็นอันมาก แล้วนักอง นักกง ถาม ฯข้าฯ ว่าใครจับสนองอูไป ฯ ข้า ฯ บอกว่าได้ยินว่ากองทัพที่ออกมาตั้งอยู่เกาะกงจับไป ไปได้แต่หาได้เดินทางบ้าน ฯ ข้า ฯ ไม่เดินพลีมาต ฯ ข้า ฯ หารู้ว่าผู้ใดมาจับไม่ นักองนักกงถาม ฯ ข้า ฯ แล้วนอนอยู่ที่สำนักมะปรางคืนหนึ่ง ครั้นรุ่งเช้าขึ้นไปจากสำนักมะปราง ทางวันหนึ่งเถิงบ้านจอมสันลาแขวงตระพอง นักองนักกงขึ้นนอนอยู่บนเรือนนักสวดเขมรนายบ้านคืนหนึ่ง นักสวดเขมรก็เลี้ยงดูข้าวปลานักอง นักกง ไปจากบ้านจอมสันลาวันหนึ่งเถิงด่านกะปังปริ แดนเมืองกระพงโสม ฯ ข้า ฯ เห็นมีโรงยาวประมาณ ๓ วา กว้างประมาณ ๗ ศอก หลังหนึ่ง เขมรให้นายเตยเขมรเป็นนายคุมไพร่ ๑๕ คน มีหอกดาบหน้าไม้ครบมืออยู่รักษาด่าน นอนอยู่ที่ด่านกะปังปรือคืนหนึ่ง ออกจากด่านกะปังปรือไปวันหนึ่งเถิงบ้านคาเรามีเรือนเขมรอยู่ ๔ เรือน คนชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๒๐


๑๐๐ คน นักปรักเป็นนายบ้าน นักองนักกงลงนอนอยู่ที่เรือนนักปรักคืนหนึ่ง ออกจากบ้านคาเราไปวันหนึ่งเถิงป่ามะละวา มีเรือนเขมรอยู่ประมาณ ๖ เรือน คนชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๓๐ คน นอนอยู่เรือนนักตวนนายบ้านคืนหนึ่ง ออกจากบ้านป่ามะละวาไปวันหนึ่งเถิงบ้านครั้งอ้ายวาย มีเรือนเขมรอยู่ประมาณ ๑๒ เรือน คนชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๔๐ คน นักองนักกงนอนอยู่คืนหนึ่ง ออกจากบ้านครั้งอ้านวายไปวันหนึ่งเถิงบ้านสำโรงทอง มีเรือนเขมรอยู่ประมาณ ๗ เรือน ๘ เรือน คนชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๓๐ คน บ้านสำโรงทองไกลกับบ้านเจ้าเมืองสำโรงทองทางครึ่งวัน นักองนักกงนอนอยู่คืนหนึ่ง ออกจากบ้านสำโรงทองไปทางวันหนึ่งเถิงบ้านมหาสัง มีเรือนเขมรอยู่ประมาณ ๖ เรือน ๗ เรือน คนชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๒๐ คน นักองนักกงนอนอยู่บ้านหมื่นมาตนายบ้านมหาสังคืนหนึ่ง ออกจากบ้านมหาสังไปวันหนึ่งเถิงบ้านตงตะเล ที่บ้านนักองนักกงอยู่มีเรือนเขมรประมาณ ๖ เรือน คนชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๑๖ คน นักกงก็แยกเอาพี่สาว ฯ ข้า ฯ ไปไว้เป็นภรรยาอยู่ที่เรือนนักกง แล้วนักองนักกงว่ากับ ฯ ข้า ฯ ว่า อย่าคิดหนีกลับไปอยู่เกาะกงเลย นักองนักกงจะช่วยแก้ไขไม่ให้ฟ้าทะละหะจิตต์จำทำโทษ จะบอกว่า ฯ ข้า ฯ อยู่ปลายคลองเกาะกงเป็นปลายเขตต์ปลายแดนหารู้ราชการสิ่งใดไม่ สมัครจะเข้ามาทำราชการอยู่เมืองพนมเป็ญ แล้วนักองนักกงว่าถ้าบอกฟ้าทะละหะ


๑๐๑ อย่างนี้แล้ว เห็นฟ้าทะละหะจะให้ ฯ ข้า ฯ กลับมาอยู่กับพี่สาว ฯ ข้า ฯ ที่บ้านนักกง ฯ ข้า ฯ ก็รับว่าไม่หนีไปดอก พี่สาว ฯ ข้า ฯ อยู่ที่ไหนก็จะอยู่ด้วยกันที่นั่น อยู่บ้านตงตะเล ๒ คืน นักองนักกงก็พาแต่ ฯ ข้า ฯ ไปวันหนึ่งเถิงบ้านตะบังกวง มีเรือนเขมรอยู่ประมาณ ๒๐ เรือน คนชายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๕๐ คน นอนอยู่คืนหนึ่ง ออกจากบ้านตะบังกวงไปวันหนึ่งเถิงด่านเรือหักแขวงเมืองพนมเป็ญ ที่ด่านนั้นมีโรงอยู่หลังหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ล้อมกว้างยาวประมาณ ๑๔วา ๑๕ วา ล้อมรอบ มีร้านไฟอยู่หน้าค่าย นายด่านนั้นชื่อนักพอ คุมไพร่เขมรเฝ้าอยู่ประมาณ ๖๐ คน เครื่องสาตราวุธหอกดาบหน้าไม้ครบมืออยู่ที่ด่านเรือหักคืนหนึ่ง แล้วไปอีกทางวันหนึ่งถึงเมืองพนมเป็ญ ณ วันแรมเดือน ๓ แรม ๗ ค่ำ นักองนักกงก็พา ฯ ข้า ฯ ไปหาฟ้าทะละหะ ฯ ข้า ฯ เห็นฟ้าทะละหะอยู่ที่เมืองพนมเป็ญเก่า อยู่โรง ๓ ห้อง เครื่องไม้ไผ่โรงหนึ่ง โรงนักจาบบุตรชายฟ้าทะละหะอยู่โรงหนึ่ง ผู้คนบ่าวไพร่นายหญิงใหญ่น้อยประมาณ ๒๕๐ คน ปลูกโรงเล็ก ๆ ล้อมรอบหามีรั้วระเนียดไม่ ฟ้าทะละหะถามนักองนักกงว่า ฯ ข้า ฯ มาแต่ไหน นักองนักกงบอกฟ้าทะละหะว่านักองนักกงไปสืบราชการปลายคลองเมืองเกาะกง พบ ฯ ข้า ฯ สมัครมาทำราชการอยู่เมืองพนมเป็ญด้วย นักองนักกงก็พามา ฟ้าทะละหะถาม ฯ ข้า ฯ ว่าจะมาอยู่เมืองพะนมเป็ญจริงหรือ ฯ ข้า ฯ ก็บอกว่าจะมาอยู่จริง แล้วฟ้าทะละหะ


๑๐๒ ถามนักองนักกงว่าครัว ฯ ข้า ฯ มากน้อยเท่าใดอยู่ที่ไหน นักกงบอกว่า ฯ ข้า ฯ กับพี่สาว ฯ ข้า ฯ มาด้วยกัน ๒ คนก่อน แต่พี่สาว ฯ ข้า ฯ นั้น นักกงเอาไว้ที่เรือนนักกง ครอบครัวชายหญิงใหญ่น้อย ๓๐ เศษยังค้างอยู่ที่บ้านคำลวก ฟ้าทะละหะถามนักองนักกงว่า ฯ ข้า ฯ รู้ราชการอะไรบ้าง นักองนักกงบอกว่า ฯ ข้า ฯ อยู่ปลายเขตต์ปลายแดน รู้อยู่บ้างเล็กน้อยหาถี่ถ้วนไม่ แล้วฟ้าทะละหะถาม ฯ ข้า ฯ ว่า ใครยกออกมาอยู่ ณ เมืองจันทบุรีคนมากน้อยเท่าใด ฯ ข้า ฯ บอกว่าเจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพ คน ๘๐๐๐ ยกออกมาตั้งอยู่ ณ เมืองจันทบุรี แล้วฟ้าทะละหะถามว่า ใครตั้งอยู่เมืองเกาะกงคนมากน้อยเท่าใด ฯ ข้า ฯ บอกว่าพระยาราชวังสัน คน ๓๐๐๐ ตั้งอยู่เกาะกง แล้วฟ้าทะละหะถามว่าจะยกออกไปเมืองเขมรเมืองญวนอีกหรือไม่ ฯ ข้า ฯ บอกว่าหาได้ยินว่าจะยกออกมาเมืองเขมรเมืองญวนไม่ เป็นแต่ออกมาตั้งรักษาบ้านเมืองอยู่ ฟ้าทะละหะถามว่า เมื่อไรกองทัพจะเลิกกลับเข้าไปกรุงเทพฯ ฯ ข้า ฯ บอกว่า ได้ยินว่าจะตั้งรักษาบ้านเมืองอยู่ทั้งหน้าฝนหน้าแล้ง ฟ้าทะละหะว่ากองทัพจะมาตั้งอยู่ทำไมทั้งหน้าฝนหน้าแล้ง ไพร่พลจะไม่ขาดทำไร่ทำนาไปหรือ แล้วฟ้าทะละหะว่าจะพา ฯ ข้า ฯ ไปหาองญวน ฟ้าทะละหะก็เข้าไปในโรง ฯ ข้า ฯ จึงถามนักองนักกงว่า องญวนที่ฟ้าทะละหะจะพาไปหานั้นชื่อไร นักกงบอก ฯ ข้า ฯ ว่า องใหญ่ชื่ออง


๑๐๓ ตำตวง อีก ๒ คนนั้นชื่อองอันสาตคนหนึ่ง ชื่อองลันยินคนหนึ่ง พอฟ้าทะละหะออกมาแต่ในโรง แต่งตัวใส่เสื้อใส่กางเกงพอกศีร์ษะเป็นญวน พานักองนักกงกับ ฯ ข้า ฯ ไปแต่บ้านฟ้าทะละหะ ประมาณ ๒๐ เส้นเถิงค่ายญวน เห็นญวนไพร่ใส่เสื้อดำบ้าง เสื้อแดงบ้าง ใส่หมวกปักขนไก่ถือง้าวถือทวนยืนรักษาประตูค่ายอยู่ประมาณ ๒๐ คน ฟ้าทะละหะให้ญวนรักษาประตูเข้าไปบอกองญวนว่า ฟ้าทะละหะจะเข้าไปหาองตำตวง ญวนก็เข้าไปประมาณครู่หนึ่ง กลับออกมาบอกฟ้าทะละหะ ๆ ก็เข้าไปหาองตำตวง ฯ ข้า ฯ เห็นโรงที่องตำตวงอยู่นั้นขื่อประมาณ ๗ ศอก ๘ ศอก มีเฉลียงรอบพื้น ๒ ชั้นองตำตวงนั่งเก้าอี้อยู่พื้นชั้นบน มีโต๊ะตั้งหน้า องโดยองกายยืนถือพัดขนนกอยู่ข้างละ ๒ คน องอันสาตองลันปินนั่งอยู่พื้นชั้นล่างองโดยองกายยืนอยู่พื้นดิน ๒ แถว ประมาณ ๓๐ คน ๔๐ คนฟ้าทะละหะยืนไหว้องตำตวงอย่างญวนที่พื้นดิน แล้วบอกองตำตวงว่าฟ้าทะละหะให้นักองนักกงไปสืบราชการทางเมืองเกาะกงไปเถิงปลายคลองเมืองเกาะกง พบนักซวนกับพี่สาวนักซวน สมัครจะมาทำราชการอยู่ณ เมืองพนมเป็ญด้วย นักซวนคนนี้แต่ก่อนบิดาเป็นบ่าวอยู่ในฟ้าทะละหะ เข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่เกาะกง แต่ครั้งเจ้าองค์เองเป็นเจ้าเมืองเขมร องตำตวงว่ากับฟ้าทะละหะว่า นักซวนอยู่เกาะกงรู้ราชการสิ่งไรบ้าง ฟ้าทะละหะบอกกับองตำตวงว่า ฯ ข้า ฯ เป็นคนอยู่ปลายเขตต์


๑๐๔ ปลายแดน ถามเถิงราชการก็หารู้สิ่งไรไม่ แล้วองค์ตำตวงให้ญวนเอาเสื่อลายมาปูให้ฟ้าทะละหะนั่งที่พื้นดิน ฟ้าทะละหะนั่งลงแล้วองตำตวงว่า นักซวนเป็นคนของฟ้าทะละหะก็ให้เอาไว้เถิด เมื่อฟ้าทะละหะเข้าไปหาองตำตวงนั้น ฯ ข้า ฯ นั่งอยู่หน้าโรงไกลกับฟ้าทะละหะประมาณ ๘ ศอก ฟ้าทะละหะพูดกับองตำตวงเป็นภาษาญวนบ้าง ภาษาเขมรบ้าง ที่พูดเป็นภาษาญวน ฯ ข้า ฯ หาทราบว่าจะพูดกันว่ากระไรไม่ แล้วฟ้าทะละหะก็ลาญวนกลับมา ฯ ข้า ฯ ก็มาอยู่กินหลับนอนที่บ้านฟ้าทะละหะกับนักองนักกง เมื่อฟ้าทะละหะพา ฯ ข้า ฯ ไปหาองตำตวงนั้น ค่ายองตำตวงตั้งอยู่เหนือเมืองพนมเป็ญเก่าห่างกับตลิ่งประมาณ ๕ วา ค่ายนั้นทำด้วยเสาไม้จริงใหญ่ ๓ กำ ทำ ๒ ซีกปักเป็นค่ายสูงประมาณ ๖ ศอก กว้างยาวประมาณ ๔ เส้นเศษ พูนดินเป็นเชิงเทินเสมอปลายเสาค่าย หนาประมาณ ๘ ศอก ขุดคู ๓ ด้าน ๆ หน้าหาได้ขุดไม่ มีประตู ๔ ประตู มีสระน้ำอยู่ในค่ายสระหนึ่ง กว้างประมาณ ๑๐ วายาวประมาณ ๑๐ วา มีท่อไขน้ำเข้าไปในสระ ญวนตั้งโรงอยู่นอกค่ายริมน้ำประมาณ ๓๐๐๐ คน ตั้งโรงอยู่ในค่ายประมาณ ๒๐๐๐ คน มีปืนทองใหญ่กระสุนประมาณ ๗ นิ้ว ๘ นิ้ว ยาวประมาณ ๖ ศอก ๒ บอก อยู่ในค่ายริมประตูด้านหน้า ปืนปะเรี่ยมเหล็กนั้นหาเห็นมีไม่ มีโรงใหญ่ ๆ อยู่ในค่ายเป็นหลายโรง ฯ ข้า ฯ หาทราบว่าจะเป็นโรงอะไรไม่ ครั้นอยู่ประมาณ


๑๐๕ ๕ วันนักองนักกง ชวน ฯ ข้า ฯ ไปดูญวนหัดทหาร ฯ ข้า ฯ ก็ไปกับนักองนักกง ฯ ข้า ฯ เห็นญวนออกตั้งหัดอยู่หน้าค่ายญวนตั้งเป็น ๒ พวก ๆ ละ ๒๐๐ เศษ ตัวนายขี่ช้างผูกสัปคับยืนอยู่ข้างละช้าง มีกลองตีอยู่ข้างละ ๓ ใบ ญวนถือธงแดงคัน ๑ ธง ขาวคัน ๑ ธงดำคัน ๑ ข้างละ ๓ คัน ไพร่ญวนถือปืนคาบสิลาบ้าง ถือทวนบ้าง ถือง้าวบ้าง เข้าสู้รบกัน แล้วหัดทีเข้าทีออกทีไลทีหนี ถ้าผู้ใดทำผิด ญวนนายอยู่บนหลังช้างร้องลงมาด้วยแตรญวนสำหรับเฆี่ยนก็เอาตัวไปเฆี่ยนคนละ ๒๐ ที ๓๐ ที ตั้งหัดอยู่ทุกวัน ครั้นเพลาเย็นเลิกหัดแล้ว นักองนักกงก็พา ฯ ข้า ฯ เดินมาข้างหน้าค่ายญวนตามริมน้ำ ญวนตั้งร้านขายของที่หน้าค่ายตามหนทางเดินเป็นหลายร้าน ฯ ข้า ฯ เห็นเรือแง่โอแง่ทรายจอดอยู่หน้าค่ายประมาณ ๓๐ ลำ มีปืนหลักหน้าเรือลำละบอก รายแคมข้างละ ๒ บอก ๓ บอก มีญวนประจำอยู่กับเรือลำละ ๒๐ คน ๓๐ คน ทุกลำ ฯ ข้า ฯ เดินมาข้างค่ายข้างเหนือ เห็นมีโรงช้างอยู่ริมค่ายด้านเหนือ ๒ โรง ช้างผูกในโรง ๆ ละ ๘ ช้าง ๙ ช้าง ปล่อยกินอยู่ที่ทุ่งหลังค่ายประมาณ ๕๐ ช้าง ฯ ข้า ฯ ถามนักองนักกงว่าญวนเอาช้างมาแต่ไหนนักหนา นักองนักกงบอก ฯ ข้า ฯ ว่าญวนให้เก็บเอาช้างเขมรมาเป็นช้างของญวนสิ้น ญวนตั้งให้เขมรเป็นองดวย องโดย นายกองคุมไพร่เขมรประมาณ ๕๐ คน ๖๐ คน สำหรับเลี้ยงช้าง แล้วนักอง นักกง ก็กลับแวะเข้านั่งพูดอยู่กับกาละพาดลก ฯ ข้า ฯ ก็ไปนั่งอยู่ที่นั่นด้วย กาละภาษลกว่ากับ


๑๐๖ นักองนักกงว่า เมื่อนักองนักกงลงไปสืบราชการที่เมืองเกาะกงนั้น ที่เมืองพนมเป็ญมีเจ้านายก็หาบุญไม่แล้ว ญวนกระทำข่มเหงได้ความเดือดร้อนนัก จะมีช้างมีม้า ญวนก็เก็บเอาไปเป็นของญวนเสียสิ้น ทุกวันนี้ญวนเกนให้ฟ้าทะละหะ พระยายมราช พระยากลาโหม ผลัดเปลี่ยนกัน ถึงเพลาเช้าให้ไปฟังราชการในค่ายองตำตางทุกวัน พระยาพระเขมรจะไปหาญวน แล้วก็ต้องนุ่งกางเกงใส่เสื้อโพกศีร์ษะเป็นญวน ราชการบ้านเมืองสิ่งใด ญวนบังคับบัญชาเอาแต่ใจญวนทั้งสิ้น ตั้งแต่เจ้าองต์จันท์ตายแล้วญวนชายหญิงพากันขึ้นมาตั้งบ้านโรงร้านซื้อขายมากกว่าแต่ก่อน ประมาณคนชายหญิงใหญ่น้อย ๗๐๐ คน ๘๐๐ คน ที่ตลาดเมืองพนมเป็ญซื้อขายกันอยู่เดี๋ยวนี้ญวนมากกว่าเขมร เมื่อ ณ เดือน ๓ ข้างขึ้น ญวนเจาะขื่อทำคาทาแดงไว้ประมาณ ๒๐,๓๐ เศษ ปิดความไม่ให้พระยาพระเขมรรู้ แล้วให้ญวนมาหาฟ้าทะละหะ พระยาพระเขมร ไปฟังหนังสือในค่ายองตำตางให้สิ้นพร้อมกัน พระยาพระเขมรจึงมาพร้อมกันที่บ้านฟ้าทะละหะปรึกษากันว่า ญวนทำขื่อคาไว้เป็นอันมาก ญวนจะคิดอย่างไรก็ยังไม่รู้ ครั้นจะไม่ไปกลัวญวนจะพาลเอาผิด จึงว่าพระยาพระเขมรทั้งปวงก็ไม่มีความผิดสิ่งไร ญวนจะจับจำเสียนั้นก็ยังไม่แน่จะต้องไปฟังดูให้รู้เหตุการณ์ก่อน จึงพากันไป พระยาพระเขมรทั้งปวงหาเข้าไปในค่ายญวนไม่ เข้าไปแต่ฟ้าทะละหะ องตำตาง


๑๐๗ ถามฟ้าทะละหะว่าทำไมจึงมาแต่คนเดียว พระยาพระเขมรทั้งปวงจึงไม่มาด้วยเล่า ฟ้าทะละหะจึงว่า พระยาพระเขมรทั้งปวงว่าแต่ก่อนมีหนังสือเจ้าเวียดนามลงมาครั้งไร ก็ไปพร้อมกันฟังหนังสือที่ศาลากลางเมืองทุกครั้ง ๆ นี้ องจะให้หาพระยาพระเขมรเข้ามาฟังหนังสือรับสั่งในค่าย พระยาพระเขมรกลัวไม่อาจจะเข้ามา องตำตางจึงบอกฟ้าทะละหะว่า เจ้าเวียดนามมีหนังสือมาว่าขุนนางญวน ขุนนางเขมร ซึ่งพิทักษ์รักษาเจ้าองค์จันท์อยู่ที่เมืองพนมเป็ญนี้ เจ้าองค์จันท์ป่วยเจ็บไม่ช่วยกันรักษาพยาบาลจนเจ้าองค์จันท์ตาย มีความผิดทั้งขุนนางญวนขุนนางเขมร เราจึงให้หาพระยาพระเขมร.....................ให้ฟังหนังสือรับสั่ง ฟ้าทะละหะจึงว่า เจ้าองค์จันท์เป็นเจ้าได้ชุบเลี้ยงมา พระยาพระเขมรก็มีกตัญญูรักเจ้าอยากจะให้หายทุกตัวคน แต่ความตายมาเถิงแล้วจะทำกะไรได้ องตำตางจึงว่า ฟ้าทะละหะว่าอย่างนั้นเราจะมีหนังสือบอกขึ้นไปเถิงเมืองเว้ ว่าเท่านั้นแล้วฟ้าทะละหะก็ลากลับมาบ้าน ญวนเห็นว่าพระยาพระเขมรรู้ตัวแล้วจะทำการไม่สนิท ครั้นเพลาค่ำญวนก็เอาขื่อเอาคาไปทิ้งน้ำเสียสิ้นแล้วญวนก็ทำดีไปดังเก่า ญวนให้พระยาวัง พระยาศรีอัคราชพระยามหาเสนา คุมไพร่เขมร ๗๐๐ คนไปตั้งรักษาเมืองโพธิสัตว์ ญวนให้องโดยกับไพร่ประมาณ ๑๐ คนไปกำกับอยู่ด้วยกาละภาษลกเล่าให้นักองนักกงฟังแต่เท่านี้แล้ว นักอง นักกง ฯ ข้า ฯ ก็กลับมาอยู่บ้านฟ้าทะละหะ ครั้น ณ วันเดือน ๔ แรมค่ำหนึ่ง อง

๑๐๘ ตำตางมาที่ศาลากลางเมืองพนมเป็ญ ให้ญวนมาหาฟ้าทะละหะว่าให้ฟ้าทะละหะกับพระยาพระเขมรไปที่ศาลาให้พร้อมกัน ฯ ข้า ฯ ก็ตามฟ้าทะละหะไปด้วย ครั้นฟ้าทะละหะกับพระยาพระเขมรไปที่ศาลากลางพร้อมแล้ว องตำตางจึงว่า เจ้าเวียดนามมีหนังสือลงมาให้ขอเอาศพเจ้าองค์จันท์ไปเผาที่เมืองญวน ฟ้าทะละหะพระยาพระเขมรจึงว่า เจ้านายเมืองเขมรแต่ก่อนมาก็ตายหลายองค์หาได้เอาศพเผาเมืองอื่นไม่ องค์จันท์ก็เป็นเจ้านายของเขมร ซึ่งจะเอาศพส่งไปนั้นเยี่ยงอย่างแต่ก่อนไม่มี พระยาพระเขมรจะขอจัดแจงเอาศพไว้เผาที่เมืองพนมเป็ญ ไพร่บ้านพลเมืองจะได้มาทำบุญให้ทาน ฉลองพระเดชพระคุณเจ้านายให้พร้อมกัน องตำตางจึงว่าไม่ยอมให้เอาศพไปเผาเมืองญวน จะเอาศพไว้เผาที่เมืองพนมเป็น จะได้เผาเมื่อไร พระยาพระเขมรกำหนดช้าเร็วจะกำหนดยังไม่ได้ ด้วยการงานสิ่งไรก็ยังไม่ได้จัดแจง พูดกันแล้วองตำตาก็กลับไป ฟ้าทะละหะก็กลับมาบ้าน พระยาพระเขมรก็พากันมาที่บ้านฟ้าทะละหะเป็นหลายคน ฯ ข้า ฯ รู้จักชื่ออยู่แต่พระยายมราช พระยากลาโหมกาลภาษลก ภานชา นอกกว่านั้น ฯ ข้า ฯ หารู้จักไม่ ฟ้าทะละหะว่าเจ้านายเราหาบุญไม่ ญวนมาอยู่รักษาเมืองตั้งตัวเป็นเจ้า จะเอาศพเจ้าองค์จันท์ไปเผาเมืองญวน เราทั้งปวงไม่ยอมให้ไปถ้าญวนไม่ฟังขืนจะเอาศพเจ้านายเราไปให้ได้เราก็จะต้องดื้อเอาไว้ฉลองพระเดชพระคุณเจ้านายเรา พระยาพระเขมรทั้งปวง


๑๐๙ ก็เห็นด้วย แล้วฟ้าทะละหะว่าญวนจะขอเอาศพเจ้าไปเผาที่เมืองญวนนั้น พระยาพระเขมรทั้งปวงเห็นว่าญวนจะคิดเป็นประการใด พระยาพระเขมรลางคนว่า ญวนจะเอาศพเจ้าไปเผาที่เมืองญวนนั้น เห็นว่าจะให้เราทั้งปวงลงไปให้พ้นบ้านพ้นเมือง แล้วก็จะกดขี่ให้ญวนพร้อมกัน จะให้ญวนมาเป็นเจ้าเมืองเขมร เห็นว่าเราทั้งปวงจะกลัวจะต้องยอมด้วยลงไปแต่ตัวความอันนี้จะกดขี่เราที่ในบ้านในเมืองเห็นว่าเราจะไม่ยอม ลางคนก็ว่าถ้าลงไปแล้วเห็นญวนจะจับพระยาพระเขมรที่เป็นใหญ่ ๆ เสียก่อน ยังแต่ผู้น้อยก็จะต้องยอมตามใจญวน ฟ้าทะละหะจึงว่า ถ้าญวนจะคิดจับเราแล้วเราทุกวันนี้อยู่ในเงื้อมมือญวน วันนี้รอดไปวันหน้าก็คงตะเสียทีลงวันหนึ่ง ถ้าพระยาวัง พระยาศรีอัคราช ติดเดินเหินต่อท่านแม่ทัพเมืองปัตบอง ได้เจ้าองค์อิ่มเจ้าองค์ด้วง ออกไปเสวยราชเมืองเขมร พวกเราจึงจะได้เป็นที่ยุดหน่วง ถ้าแต่อย่างนี้อยู่แล้วเห็นจะไม่มีความสุข พระยาพระเขมรก็ว่าความทั้งนี้สุดแต่ฟ้าทะละหะจะคิดอ่าน พูดกันแล้วพระยาพระเขมรก็ลากลับไป ครั้นเพลาบ่าย ฯ ข้า ฯ เห็นฟ้าทะละหะเรียกบ่าวไพร่ลงเรือจะไปที่ศพเจ้าองค์จันท์ นักองนักกง กับ ฯ ข้า ฯ ก็ลงเรือจะไปด้วย ฟ้าทะละหะว่านักองนักกงกับ ฯ ข้า ฯ เป็นคนพึ่งมาแต่บ้านนอกอย่าไปเลย ฯ ข้า ฯ กับนักองนักกงก็หาได้ไปไม่ ฯ ข้า ฯ เห็นฟ้าทะละหะนุ่งขาวห่มขาวมีดอกไม้ธูปเทียนใส่พานไปด้วย ครั้นเพลาค่ำฟ้าทะละหะกลับมา คน

๑๑๐ ซึ่งไปด้วยฟ้าทะละหะเล่าให้นักองนักกง ฯ ข้า ฯ ฟัง ว่าศพเจ้าองค์จันท์นั้นเอาไว้ในโรงใหญ่ที่บ้านเจ้าองค์จันท์ พระสงฆ์-สวดทั้งกลางวันกลางคืนทุกวัน เมรุนั้นจัดแจงทำที่โพพระบาท ยังหาแล้วไม่ กำหนดว่าจะเผาศพในเดือน ๖ เขมรเล่าให้ ฯ ข้า ฯ ฟังแต่เท่านี้ ครั้น ณ วันเดือน ๔ แรม ๒ ค่ำ เพลาเช้า ฟ้าทะละหะใช้เขมรถือหนังสือไปเถิงพระยาศรีอัคราชฉะบับหนึ่ง ในหนังสือจะว่ากล่าวประการใด ฯ ข้า ฯ หาทราบไม่ อยู่ประมาณ ๓ วัน ฯ ข้า ฯ เห็นเขมรถือหนังสือมาแต่เมืองโพธิสัตว์ มาให้ฟ้าทะละหะ ๆ ได้หนังสือแล้วก็เข้าไปอ่านในเรือน หนังสือนั้นจะว่าด้วยราชการสิ่งไร ฯ ข้า ฯ หาทราบไม่ อยู่ ๒ วัน ๓ วันคนถือหนังสือมาแต่เมืองโพธิสัตว์อีกเนือง ๆ ฟ้าทะละหะได้หนังสือแล้วก็เอาเข้าไปดูในเรือนทุกครั้ง จะเขียนหนังสือตอบไปก็เขียนออกมาแต่ในเรือน หาให้ความแพร่งพรายไม่ ครั้น ณ วันเดือน ๔ ข้างแรม ฟ้าทะละหะให้นักองนักกง ฯ ข้า ฯ กับเขมรมีชื่อประมาณ ๘ คน ๙ คน ไปตัดไม้ไผ่อยู่หลายวัน ได้ไม้ ไผ่ประมาณ ๓๐๐ ลำ ว่าจะปลูกโรงไว้สำหรับใส่ใบตาลเกนให้หัวเมืองส่ง จะเอามาเย็บเป็นตับมุงหลังคาเมรุ ครั้นอยู่ประมาณ ๒ วัน ฯ ข้า ฯ ไปซื้อของที่ตลาดกับนักองนักกง ได้ยินเขมรชาวตลาดพูดกันว่า กบฏในเมืองไซ่ง่อนก็ยังอยู่ในเมือง กองทัพเมืองเว้ยังล้อมอยู่ กองทัพเมืองเว้เพิ่มเติมลงมาอีกเป็นหลายครั้ง ๆ ละ ๑๐๐๐ บ้าง ๑๐๐๕ บ้าง ว่าจะล้อมไว้กว่ากบฏในเมือง

๑๑๑ ไซ่ง่อนจะสิ้นสะเบียงอาหาร ฯ ข้า ฯ ซื้อสิ่งของได้แล้วก็กลับไปเรือนฟ้าทะละหะ ฯ ข้า ฯ อยู่ที่เมืองพนมเป็ญตั้งแต่ ณ วันเดือน ๓ แรม ๗ ค่ำ มาจนเดือน ๕ เที่ยวไปมาหาเพื่อนที่รู้จักกัน ได้ยินเขมรชาวบ้านชาวเมืองพูดอยู่ว่า ทำอย่างไรจะได้เจ้าองค์อิ่มเจ้าองค์ด้วง มาเป็นเจ้าเป็นนายครอบครองบ้านเมือง จะได้เป็นสุขสืบต่อไป พูดกันเนือง ๆ อยู่ แต่ซึ่งพระยาพระเขมรทั้งปวงจะคิดเอาใจออกจากญวนนั้น หามีผู้ใดแข็งแรงที่จะกล้าคิดไม่ พระยาพระเขมรกลัวญวนมาก ลูกเมียองค์จันท์อยู่โพพระบาท ขึ้นอยู่บนบ้านที่ไว้ศพองค์จันท์ หาได้ยินผู้ใดพูดว่าญวนตั้งให้บุตรผู้หญิงองค์จันท์ เป็นเจ้าบังคับบัญชาไพร่บ้านพลเมืองไม่ การบ้านการเมืองนั้น องตำตางบังคับบัญชาทั้งสิ้นตั้งแต่องค์จันท์ตายแล้ว ญวนพาครอบครัวขึ้นมาเนือง ๆ ไม่ขาด ที่ตลาดเมืองพนมเป็ญญวนขึ้นปลูกโรงตั้งร้านขายของทั้งสองฟากถนน พวกเขมรต้องซื้อของญวนกิน จีนเมืองพนมเป็ญนั้น ฯข้า ฯ หาเห็นมีไม่ ญวนที่มาอยู่เมืองพนมเป็ญ ได้ยินว่าญวนกองทัพ ๕๐๐๐ ญวนนอกจากกองทัพทั้งผู้ชายผู้หญิงประมาณสัก ๗๐๐ คน ๘๐๐ คนว่าจะอยู่ทีเดียว ฯ ข้า ฯ อยู่กับฟ้าทะละหะทำสนิทให้ใช้สรอยติดหน้าตามหลังเชื่อว่าไม่หนี ครั้น ณ วันเดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะแมสัปตศก เพลาทุ่มเศษ ฯ ข้า ฯ ลักข้าวสารของบ่าวฟ้าทะละหะได้ทะนานหนึ่งแล้ว ฯ ข้า ฯ หนีออกจากเมืองพนมเป็ญ ลัดป่ามาตามริมทางไม่ได้หุงข้าวกิน ๆ แต่ข้าว


๑๑๒ สารมา ๔ วัน เถิงบ้านนักสุขพี่น้อง ฯ ข้า ฯ ตั้งทำไร่อยู่ในป่าแขวงเมืองสำโรงทอง ฯ ข้า ฯ อยู่กับนายสุขประมาณ ๑๕ วัน ฯ ข้า ฯ ก็ลานักสุขมาวันหนึ่ง เถิงบ้านป่ามะละว่า เข้าซุ่มนอนอยู่ริมบ้านคืนหนึ่ง ออกจากบ้านป่ามะละว่ามาวันหนึ่งเถิงบ้านสลัดกองเชิง ฯ ข้า ฯ อาศัยนอนอยู่กับนักมาตพี่น้อง ฯ ข้า ฯ ๕ คืน มาจากบ้านสลัดกองเชิงวันหนึ่งเถิงสำนักรุงสวาย นอนอยู่กลางป่าคืนหนึ่ง มาจากบ้านรุงสวายวันหนึ่งเถิงบ้านจอมศาลา เข้าซุ่มนอนอยู่ในป่า มาจากบ้านจอมศาลามาวันหนึ่งเถิงสำนักมะปราง ออกจากสำนักมะปรางมาวันหนึ่ง เถิงปลายคลองเกาะกงบ้าน ฯ ข้า ฯ ณ วันเดือน ๗ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมียสัปตศก หลวงศรีสุนทรข้าหลวงนายกองด่านเอาตัว ฯ ข้า ฯ ไปไถ่ถามแล้ว บอกหนังสือให้ขุนพิทักษ์ปลายแดนคุมตัว ฯ ข้า ฯ เข้ามาส่ง ณ เมืองจันทบุรี เถิงเมืองจันทบุรี ณ วันเดือน ๗ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีมะแมสัปตศกและพระมหาธิบดี พระปัญญาธิบดี ขุนเทพภักดี ขุนเสนาธิบดี หมื่นราชารักษ์ ครอบครัว ๑๐๐ เศษ หนีออกไปจากทิดโซ เมื่อ ณ วันเดือน ๑๒ แรม ๑๐ ค่ำ ปีมะเมียฉอศกนั้น ว่าญวนฆ่าเสียนั้น ฯ ข้า ฯ หาทราบไม่ ฯ ข้า ฯ อยู่ที่เมืองพนมเป็ญหาเห็นญวนฆ่าผู้ใดไม่ ราคาข้าวลูกค้าญวนลูกค้าเขมรซื้อขายกัน ข้าวเปลือกตวงด้วยถัง ๒๐ ทะนาน ถังหนึ่งเป็นเงิน ๑๒ แป คิดเป็นเงินตราถังละ ๒ สลึง ข้าวสารถังละ ๒๔ แป เป็นเงินตราถังละ ๑ บาท เป็นความสัจความจริง


๑๑๓ ฯ ข้า ฯ แต่เท่านี้ (วันเสาร์ เดือน ๗ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะแมสัปตศก ๑๙๗)

ฉะบับที่ ๓ หนังสือเจ้าพระยาธรรมาธิบดี ฯ แม่ทัพใหญ่ ถึงเจ้าเมืองหัวพันห้าทั้งหก

หนังสือ เจ้าพระยาธรรมาธิบดี ศรีวิริยวงศ์ พงศ์ภักดีบดินทรเดโชชัย มไหสุริยาธิบดี ศรีรัตนมนเทียรบาล อรรคมหาเสนาบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ แม่ทัพใหญ่ฝ่ายเมืองด้านเหนือ มาถึงเจ้าเมืองหัวพันห้าทั้งหกทั้งปวง ด้วยเมืองหัวพันห้าทั้งหกกับเมืองพวน เมืองมหาชัย เมืองคำเกิด เมืองคามอง เมืองวัง เมืองพวน เมืองพรอง เมืองชุมพร เมืองตะโปน บรรดาหัวเมืองลาวฝ่ายข้างตะวันออก ซึ่งขึ้นกับเมืองเวียงจันท์ อันเป็นข้าขอบขัณฑเสมากรุงเทพพระมหานครมาแต่เดิม อนุเจ้าเมืองเวียง จันท์เป็นคนไม่มีสัตย์กตัญญูเป็นกบฏ คิดการใหญ่ใฝ่สูงเหลือเกินวาสนาบารมี องอาจยกกองทัพลงมาตีเมืองนครราชสีมา อำนาจพระเดชเดชานุภาพพระบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ อนุต้านทานทแกล้วทหารรี้พลกองทัพมิได้นั้น ก็ได้ความวินาศฉิบหายยับเยินไป จนกองทัพจับได้ตัวอนุญาติพี่น้องบุตรภรรยา ส่งลงไป ณ กรุงเทพพระมหานคร แต่หัว


๑๑๔ เมืองซึ่งขึ้นกับเมืองเวียงจันท์อยู่ฟากข้างตะวันออกนั้น ทรงพระมหากรุณาดำรัสว่าเป็นแต่หัวเมืองเล็กน้อย หาได้ร่วมคิดกับอนุเป็นกบฏไม่ จึงโปรดเกล้า ฯ ว่าให้งดกองทัพไว้มิให้กองทัพยกไปย่ำยีบ้านเมือง โดยทรงพระมหากรุณาเมตตาจะมิให้หัวเมืองทั้งปวงได้ความเดือดร้อน ครั้นปราบปรามเมืองเวียงจันท์ราบคาบ โปรดให้จัดแจงตั้งเมืองเวียงจันท์ขึ้นที่หนองคาย บ้านเมืองก็เป็นภูมิฐานขึ้นได้ ๑๕ ปีมาแล้ว หัวเมืองลาวฝ่ายข้างตะวันออกที่เคยขึ้นกับเมืองเวียงจันท์มาก่อน ก็ขัดแข็งบ้านเมืองไปขึ้นเสียกับญวน ญวนก็ไม่ได้คิดถึงทางไมตรีกรุงเทพพระมหานคร อันมีบุญคุณกับญวนมาแต่ก่อน ๆ เป็นอันมาก ญวนทำให้เสียทางไมตรีก่อนหัวเมืองลาวทั้งปวงก็ขัดแข็งบ้านเมือง ละคายอย่างธรรมเนียมประเพณีบ้านเมืองเสีย พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ฯ ให้ทแกล้วทหารยกเป็นกระบวนทัพสรรพไปด้วยเครื่องศัตราวุธ ยกขึ้นไปเป็นหลายทาง ไปปราบปรามบ้านเมืองลาวที่ขัดแข็งให้ราบคาบ ครั้นกองทัพตีได้เมืองพวน เมืองมหาชัย หัวเมืองทั้งปวงแล้ว กองทัพจะยกต่อขึ้นไปตีเมืองหัวพันทั้งหก จึงแต่งให้เพี้ยศรีอรรคหาด ซึ่งเคยเป็นล่ามเมืองหัวพันทั้งหกมาแต่ก่อน ให้ขึ้นไปสืบข่าวราชการ เพี้ยศรีอรรคหาด มีหนังสือมาถึงนายทัพนายกองของให้งดกองทัพไว้-ว่าเจ้าเมืองท้าวเพี้ยพวกเมืองหัวพันทั้งหกทั้งปวง พร้อมกันสามิภักดิอ่อนน้อมกลับคืนมา เป็นข้าขอบขันธเสมาสมเด็จพระ

๑๑๕ พุทธเจ้าอยู่หัวตามเดิม จะขอทำราชการขึ้นกับเมืองหลวงพระบางเจ้าเมืองหัวพันทั้งหกทั้งปวงจะจัดแจงกันลงมาหากองทัพ นายทัพนายกองบอกความมาถึงกองทัพใหญ่ จึงให้งดกองทัพไว้พอเป็นฤดูฝนจึงได้เลิกกองทัพกลับลงไปแจ้งราชการ ณ กรุงเทพพระมหานคร ครั้นเข้าฤดูฝนแล้งปีมะเมียฉอศก พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้ทแกล้วทหารยกกองทัพขึ้นไปคิดราชการ ณ เมืองหลวงพระบางอีก ครั้นยกทัพขึ้นมาถึงเมืองพิชัย เพี้ยศรีอรรคหาดพาตัวเพี้ยชัยหัวเมือง ท้าวพลเมืองซำเหนือท้าวพลเมืองเชียงคอ ท้าวเมืองโสย แสนหมเมืองซอน ท้าวบุตรเมืองเหยิมลงมา ครั้นจะส่งตัวลงมายังกรุงเทพพระมหานครก็เห็นว่าเป็นแต่ท้าวเพี้ยผู้น้อย จึงได้พาเพี้ยทั้งหกหัวเมืองขึ้นไปณ เมืองหลวงพระบาง ให้ท้าวเพี้ยกลับไปบอกความกับเจ้าเมืองทั้งปวง ถ้าจะสามิภักดิโดยสุจริตแล้ว ก็ให้เจ้าเมืองทั้งปวงและญาติพี่น้องที่เป็นผู้ใหญ่ลงมา ณ เมืองหลวงพระบาง จะได้พาลงไปแจ้งราชการ ณ กรุงเทพพระมหานคร ภายหลังเจ้าเมืองเหยิมกับปลัดหัวเมือง ปลัดเมืองซอน ท้าวพลเมืองซำเหนือ ท้าวเพี้ยมีชื่อ มาณเมืองหลวงพระบาง แจ้งความว่าเจ้าเมืองท้าวเพี้ยเมืองหัวพันทั้งหก พร้อมใจกันทุกเมืองจะสามิภักดิเป็นข้าขอบขันธเสมาตามเดิม หัวเมืองที่ยังไม่มาถึงนั้นก็จะจัดแจงกันมาภายหลัง ครั้นจะจัดแจงราชการ ณ เมืองหลวงพระบาง......................(ความขาด)...........................


๑๑๖ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้กองทัพยกไปปราบปรามหัวเมืองลาวฟากน้ำข้างตะวันออก หัวเมืองลาวบรรดาที่ขัดแข็งได้ความเดือดร้อนวินาศไปทั้งนี้ ก็เพราะอนุคนพาลคนเดียว แต่เมืองหัวพันทั้งหกกองทัพยังหาได้ยกไปถึงบ้านเมืองไม่ เจ้าเมืองท้าวเพี้ยพวกหัวพันทั้งหก กลัวความเดือดร้อนจะมีกับบ้านเมืองคิดพร้อมกันสามิภักดิคืนมาเป็นข้าขอบขันธเสมาตามเดิม จะทำราชการขึ้นกับเมืองหลวงพระบาง อ่อนน้อมมาโดยดี เจ้าเมืองเหยิม ปลัดเมือง ท้าวเพี้ยศรีเมืองได้ลงมาถึงกรุงเทพพระมหานครแล้ว ควรจะนำเอาความขึ้น กราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ให้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ท่านอรรคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ปรึกษาพร้อมกันแล้ว จึงนำเอาข้อราชการเมืองหัวพันทั้งหกขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ว่าซึ่งโปรดเกล้า ฯ ให้ยกกองทัพขึ้นไปปราบปรามเมืองพวน เมืองลาว ฝ่ายข้างตะวันออกที่ขัดแข็งบ้านเมืองครั้นกองทัพได้เมืองพวนหัวเมืองลาวทั้งปวงแล้ว ฝ่ายเจ้าเมืองหัวเมือง เมืองเหยิม เมืองเชียงคอ เมืองซำเหนือ เจ้าเมืองซำใต้ เมืองโส่ย เมืองซอน กับหัวเมืองขึ้น ๔๘ เมือง กลัวกองทัพจะย่ำยีบ้านเมือง กลัวพระเดชเดชานุภาพพระบารมี พระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ปรึกษาพร้อมกันอ่อนน้อมสามิภักดิ มาเป็นข้าขอบขันธเสมาตามเดิมสืบไปไม่ขึ้นกับญวน จะขอทำราชการขึ้นกับเมืองหลวงพระบาง เจ้าเมือง

๑๑๗ เหยิม ปลัดเมืองหัวเมือง ปลัดเมืองซอน ท้าวพลเมืองซำเหนือ ท้าวเพี้ยเมืองหัวพัน ๔ เมือง ลงมา ณ กรุงเทพพระมหานคร ได้รับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัจจาถวายสัตยานุสัตย์แล้ว แต่เมืองเชียงคอ เมืองซำใต้ เมืองโสย ก็ว่าจะจัดแจงตามกัน ลงมาภายหลัง เมืองหัวพันทั้งหกได้สามิภักดิ์อ่อนน้อมกลับคืนมาโดยดีแล้ว จะพระราชทานงดกองทัพซึ่งจะไปตีเมืองหัวพันทั้งหกไว้ก่อน เมืองหัวพันทั้งหกจะขอทำราชการขึ้นกับเมืองหลวงพระบาง ถ้าพวกหัวพันทั้งหกไม่มีความสุจริตกลับคืนแข็งบ้านเมือง ไม่กระทำตามอย่างธรรมเนียม เมืองหัวพันทั้งหกทั้งนี้เป็นแต่ซ่อง เมืองขึ้นเมืองหัวพันเล็กน้อยจะหาพลเมืองทแกล้วทหารกองทัพไม่ ครั้นทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบันทูลสุรสิงหนาทดำรัสว่า เมืองหัวพันทั้งหกเหล่านี้แต่ก่อนก็เป็นเมืองขึ้นกับเมืองเวียงจันท์ เป็นหัวเมืองปลายเขตต์แดนข้าขอบขันธเสมากรุงเทพพระมหานครสืบต่อมา เมื่ออนุเป็นกบฎชักนำเอาหัวเมืองเหล่านี้ไปขึ้นกับญวน บัดนี้เมืองหัวพันทั้งหกกลัวกองทัพ สามิภักดิ์กลับคืนมาจะทำราชการขึ้นกับเมืองหลวงพระบาง ถ้าสามิภักดิ์โดยสุจริตตามเดิมแล้ว บ้านเมืองก็จะเป็นปรกติเหมือนแต่ก่อน สำเร็จแล้ว จะคอยท่าเมืองหัวพันทั้งหกให้มาพร้อมกันก็เห็นจะช้า จึงได้พาตัวเจ้าเมืองเหยิม ปลัดเมืองหัวเมือง ปลัดเมืองซอน ท้าวพลเมืองซำเหนือ ท้าวเพี้ย ลงไปณ

๑๑๘ กรุงเทพพระมหานคร ปรึกษากับท่านอรรคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่พร้อมกันว่า เมืองหัวพันทั้งหกเหล่านี้ไปขึ้นกับเมืองญวน ละคายอย่างธรรมเนียมเสียช้านานหลายปีมาแล้ว บัดนี้เจ้าเมืองเหยิมปลัดเมืองหัวเมือง ปลัดเมืองซอน ท้าวพลเมืองซำเหนือท้าวเพี้ย กลับสามิภกัดิ์ลงมา ณ กรุงเทพพระมหานคร ให้ถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาให้เจ้าเมืองเหยิม ปลัดเมืองหัวเมือง ปลัดเมืองซอน ท้าวพลเมือซำเหนือ ท้าวเพี้ย กราบถวายบังคมกระทำสัตยานุสัตย์สาบาลตัวจำเพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า ถวายความสัตย์ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐตามอย่างธรรมเนียมแล้ว จึงให้ถามเจ้าเมืองเหยิม ปลัดหัวเมือง ปลัดเมืองซอน ท้าวพลเมืองซำเหนือ ท้าวเพี้ยผู้ลงไปแจ้งราชการ ให้การว่า แต่ก่อนเมืองหัวเมือง เมืองซำเหนือ เมืองเชียงค้อ เมืองโสย เมืองซอน เมืองเหยิม เมืองซ้ำใต้ กับหัวเมือขึ้น ๔๘ เมือง เป็นเมืองขึ้นกับเมืองเวียงจันท์มาแต่เดิม หาได้ขึ้นกับญวนไม่ ครั้นเมื่ออนุคิดประทุษฐร้ายต่อกรุงเทพพระมหานคร สู้รบกองทัพมิได้ อนุหนีไปเมืองญวนจึงเอาเมืองหัวพันทั้งหกไปยกให้ขึ้นกับเมืองญวน ญวนจึงแต่งขุนนางมาจัดแจงบ้านเมือง ให้เมืองหัวพันทั้งหกขึ้นกับเมืองซือเง เมืองซือแทง เจ้าเมืองท้าวเพี้ย พวกเมืองหัวพันทั้งหกขึ้นมา



๑๑๙ เมืองพึงไม่ กลัวญวน จึงต้องเสียส่วยให้ญวนต่อมา ครั้น ณ ปีมะเส็งเบญจศก กองทัพกรุงเทพพระมหานครยกขึ้นไปตี เมืองพวนกลัวกองทัพจะไปตีบ้านเมือง เจ้าเมืองท้าวเพี้ยเมืองหัวพันทั้งหกคิดพร้อมกันทั้งสิ้น สามิภกัดิ์กลับคืนมาเป็นข้าขอบขันธเสมากรุงเทพพระมหานครตามเดิมสืบไปฝ่ายเดียว ไม่ขึ้นกับเมืองญวนจะขอทำราชการขึ้นกับเมืองหลวงพระบาง จะได้พึ่งพระบารมีพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว บ้านเมืองจะได้อยู่เย็นเป็นสุขเหมือนแต่ก่อน จึงท่านอรรคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ปรึกษาพร้อมกันว่า เมืองหัวพันทั้งหก เมืองพวน กับเมืองลาวฝ่ายข้างตะวันออกเป็นหลายเมือง ขึ้นกับเมืองเวียงจันท์เป็นปลายเขตต์แดนขอบขันธเสมากรุงเทพพระมหานคร หาได้เป็นเมืองขึ้นเมืองออกของญวนไม่ ญวนมาครอบงำเอาหัวเมืองลาวเหล่านี้ไว้ เพราะเหตุด้วยอนุ คิดกบฏต่อกรุงเทพพระมหานคร เอาบ้านเมืองลาวฟากข้างตะวันออกไปยกให้ขึ้นกับญวน หัวเมืองทั้งปวงก็พากันขัดแข็งบ้านเมืองละอย่างธรรมเนียมเสียพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว......................................ถ้าไม่สุจริตทำให้เสียประเพณีอย่างธรรมเนียม ความเดือดร้อนก็จะมีกับบ้านเมืองหัวพันทั้งหก แลซึ่งอรรคมหาเสนาบดีพร้อมกันเห็นว่า เมืองหัวพันทั้งหกได้อ่อนน้อมโดยดีแล้ว จะขอให้งดกองทัพซึ่งจะไปตีเมืองหัวพันทั้งหกไว้ก่อน จะให้เมืองหัวพันทั้งหกทำราชการขึ้นกับเมืองหลวงพระบางตามสมัคร เมืองหัวพันทั้ง


๑๒๐ หกจะสุจริตไม่สุจริต จะดูใจพวกเมืองหัวพันทั้งหกไปสักครั้งหนึ่งก่อนนั้น ก็ตามแต่อรรคมหาเหสนาบดีปรึกษาเห็นพร้อมกันนั้นเถิดแลเจ้าเมืองเหยิม ปลัดเมือง หัวเมือง ปลัดเมืองซอน ท้าวพลเมืองซำเหนือ ท้าวเพี้ยเมืองหัวพันทั้งหก ซึ่งลงไปกรุงเทพพระมหานครนั้น ก็ได้นำเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบถวายบังคมสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ ทรงพระมหากรุณาดำรัสว่า เจ้าเมืองเหยิม ปลัดเมืองท้าวเพี้ยเมืองหัวพันทั้งหก ได้ลงมาถึงกรุงเทพพระมหานครแล้วโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานจัดสิ่งของพระราชทานเมืองเหยิมหัวพันเจ้าเมือง เงินตรา ๑๐ ตำลึง เสื้อโหมดเมืองบน ๑ แพร จุนติว ๑ แพรนุ่ง ๑ แพรขาวห่ม ๑ ผ้าเชิงปูม ๑ ท้าวผา ท้าวไค หม่อมบ่าวศรีทา หม่อมบ่าวจันเทพา เงินตราคนละ ๕ ตำลึง เงินชั่ง ๑ เสื้อผ้าลาย ๔ ผืน แพรจุนติว ๔ ผืน แพรนุ่ง ๔ ผืน ไพร่ ๖ คน เงินตราคนละ ๖ บาท เงิน ๙ ตำลึง ผ้าลายเพลาะ ๖ ผืน ผ้าขาวห่ม ๖ ผืน เสื้อผ้าดำ ๖ ตัว เมืองหัวเมืองเพี้ยลานปลัด เงินตรา ๑๐ ตำลึง เสื้อโหมดเมืองบนตัว ๑ แพรท่อน ๑ ผ้าเชิงปูม ๑ เพี้ยนามบุตรปลัดเงินตรา ๖ ตำลึง เสื้อโหมดกวางตุ้ง ๑ แพรจุนติว ๑ แพรนุ่ง ๑ ท้าวแพง เงินตรา ๕ ตำลึง เสื้อผ้าลาย ๑ แพรจุนติว ๑ แพรนุ่ง ๑ ไพร่ ๖ คน เงินคนละ ๖ บาท เงิน ๙ ตำลึง เสื้อผ้าดำ ๖ ตัว ผ้าขาวห่ม ๖ ผืน ผ้าลายเกาะ ๖ ผืน เมืองซ่อนแสนหัวพันปลัด เงินตรา ๗ ตำลึงเสื้อ


๑๒๑ โหมดเมืองบน ๑ แพรขาว ๑ ผ้าเชิงปูม ๑ ท้าวเอิน เงินตรา ๕ ตำลึง เสื้อผ้าลาย ๑ แพรจุนติว ๑ แพรนุ่ง ๑ ไพร่ ๒ คน เงินตราคนละ ๖ บาท เงิน ๓ ตำลึง เสื้อผ้าดำ ๒ ตัว ผ้าขาว ๒ ผืน ผ้าลายเกาะ ๒ ผืน เมืองชำเหนือ ท้าวพลเมือง เงินตรา ๖ ตำลึง เสื้อโหมดกวางตุ้ง ๑ แพรจุนติว ๑ แพรนุ่ง ๑ แสนอุทัย เงินตรา ๕ ตำลึง เสื้อผ้าลาย ๑ แพรจุนติว ๑ แพรนุ่ง ๑ ไพร่ ๒ คน เงินตราคนละ ๖ บาท เงิน ๓ ตำลึง เสื้อผ้าดำ ๒ ตัว ผ้าขาว ๒ ผืน ผ้าลายเกาะ ๒ ผืน ตามอย่างธรรมเนียม จึงโปรดให้พาเจ้าเมืองเหยิม ปลัดหัวเมือง ปลัดเมืองซอน ท้าวพลเมืองชำเนือ ท้าวเพี้ย ขึ้นมา ณ เมืองหลวงพระบาง ให้เจ้าเมืองหลวงพระบางจัดแจงส่งกลับคืนไป ณ บ้านเมือง เจ้าเมืองหัวพันทั้งหกท้าวเพี้ยทั้งปวงจะได้รู้ว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานโทษเมืองหัวพันทั้งหกไว้ครั้งหนึ่ง ให้ทำราชการขึ้นกับเมืองหลวงพระบาง ตามใจพวกเมืองหัวพันทั้งหกคิดอ่านปรึกษาพร้อมกันไว้แต่ก่อน เมืองหัวพันทั้งหกที่ยังมิได้ลงไป ก็จะได้ลงไป ณ เมืองหลวงพระบาง เจ้าเมืองหลวงพระบางเห็นควรจะพาลง ณ กรุงเทพระมหานคร ก็จะได้จัดแจงให้พาลงไปแจ้งราชการ ให้เจ้าเมืองท้าวเพี้ยพวกเมืองหัวพันทั้งหก รักษาบ้านเมืองเขตต์แดนขอบขันธเสมา ทำราชการขึ้นกับเมืองหลวงพระบาง ตามอย่างธรรมเนียมประเพณีเมืองน้อยขึ้นกับเมืองใหญ่ อย่าให้เสียอย่างธรรมเนียม ถ้าจะมีเหตุการณ์


๑๒๒ บ้านเมืองประการใด ก็ให้มีหนังสือบอกความไปยังเมืองหลวงพระบาง เมืองหลวงพระบางจะได้ช่วยคิดอ่านทนุบำรุงรักษาบ้านเมือง แลเมืองหัวพันทั้งหกประการใด บ้านเมืองจะได้เป็นปรกติสมณชีพราหมณ์ไพร่บ้านพลเมืองจะได้อยู่เย็นเป็นสุขนั้น ให้เจ้าเมืองท้าวเพี้ยเมืองหัวพันทั้งหกทั้งปวง คิดอ่านปรึกษาหารือกันรักษาสัตย์สุจริต กระทำตามประเพณีบุราณ บ้านเมืองจะได้อยู่เย็นเป็นสุขสืบไปภายหน้า แลท้องตราซึ่งมีขึ้นมานี้ พวกเมืองหัวพันทั้งหกหารู้หนังสือไทยไม่ ได้ให้เขียนเป็นอักษรไทยฉะบับหนึ่ง ลาวฉะบับหนึ่งกำกับกันขึ้นมาด้วยแล้ว เรื่องราวต้องกัน หนังสือมา ณ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช ๑๑๙๗ ปีมะแมสัปตศก (พ.ศ. ๒๓๗๘)

เหตุการณ์ในปีวอก พ.ศ. ๒๓๗๙

ทางเมืองเขมรถูกญวนบีบคั้นมากขึ้น ฝ่ายไทยก็คาดหมายว่าต่อไปไทยคงจะต้องเกิดปะทะกับญวน เกี่ยวกับเรื่องเมืองเขมรอีกเป็นแน่ เพราะถ้าเขมรหมดความนิยมในญวน ถึงกับพร้อมใจกันต่อสู้เพื่อขับไล่ญวนเมื่อใดแล้ว เขมรก็คงจะต้องการพึ่งไทยให้ช่วยป้องกันชีวิต จำเป็นที่ไทยจะต้องตระเตรียมกำลังไว้ให้พร้อม เผื่อจะมีโอกาสช่วยเขมรในวาระต่อไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์

๑๒๓ สิงหเสนี) ขึ้นไปตั้งกองทำบัญชีพลเมืองทางภาคอิสาน ส่วนทางเมืองพวน ญวนส่งทหารเข้ามาตั้งค่ายสะสมกำลังอยู่บางส่วน แต่จำนวนยังไม่มากนัก

ฉะบับที่ ๑ ตราถึงเมืองสุวรรณภูมิ เรื่องตั้งให้อุปหาดเมืองร้อยเอ็จเป็นที่พระรัตนวงศา

หนังสือ เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก อัครมหาเสนาธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ มาเถิงท้าวฝ่ายท้าวเพี้ยเมืองสุวรรณภูมิ ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่าเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก กลับมาจากราชการทัพเมืองปัตบอง พาเอาตัวอุปหาดท้าวสุริยะเมืองร้อยเอ็จ เข้าแจ้งราชการ ณ กรุงเทพพระมหานคร ด้วยเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่สมุหนายก กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า อุปหาดเมืองร้อยเอ็จเป็นคนเข้มแข็งในการศึกสงคราม ได้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณครั้งอนุเวียงจันท์ และไปตีเมืองมหาชัย อุปหาดได้รบพุ่งกับญวนลาวยังยินดี ครั้นพระรัตนวงศาอุปหาดเมืองสุวรรณภูมิเถิงแก่กรรมแล้ว โปรดเกล้า ฯ ให้อุปหาดเมืองร้อยเอ็จไปอยู่ว่าราชการบ้านเมืองรักษาเมืองสุวรรณภูมิ และเลกเมืองสุวรรณภูมิแต่ก่อนพระรัตนวงศาอุปหาดยังไม่เถิงแก่กรรม พระรัตนวงศา


๑๒๔ ท้าวเพี้ยยื่นบัญชีจำนวนเลกฉกรรจ์ไว้ ๑๓๔๘ คน ครั้น ณ ปีมะแมสัปตศก (พ.ศ. ๒๓๗๘) อ้ายขุนประเสริฐ อ้ายขุนชนะโวหารกับอ้ายมีชื่อ ขึ้นไปตั้งเกลี้ยกล่อมท้าวเพี้ยและไพร่หัวเมืองลาว โปรดเกล้า ฯ ให้จับเอาตัวอ้ายขุนประเสริฐอ้ายขุนชนะโวหาร อ้ายมีชื่อ ซึ่งคบคิดกันเกลี้ยกล่อมผู้คน พวกท้าวเพี้ยและไพร่เมืองสุวรรณภูมิ ที่เข้าเกลี้ยกล่อมอ้ายขุนประเสริฐ อ้ายขุนชนะโวหาร พากันหลบหนีแยกย้อยแอบแฝงอยู่ อุปหาดจัดแจงเกลี้ยกล่อมรวบรวมท้าวเพี้ยตัวเลกเมืองสุวรรณภูมิ ซึ่งหลบหลีกแอบแฝงอยู่นอกบัญชี ได้มาคงบ้านเมืองนายไพร่ ๑๗๓๘ คน เข้ากันทั้งเลกซึ่งพระรัตนวงศาอุปาดยื่นบัญชีไว้แต่ก่อน เป็นคนฉกรรจ์นายไพร่ ๓๐๘๖ คน ได้ผู้คนมากขึ้นกว่าจำนวนเดิม ๑๗๐๐ เศษ เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก จะขอพระราชทานให้อุปหาดเมืองร้อยเอ็จ เป็นที่พระรันยวงศา เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ จะได้จัดแจงบ้านเมือง ชำระรวบรวมท้าวเพี้ยไพร่พลให้มั่งคั่งขึ้น จะขอพระราชทานเอาท้าวสุริยะ บุตรอุปหาดคนเก่าเมืองร้อยเอ็จเป็นที่อุปหาด ท้าวราชบุตร บุตร์พระรัตนวงศาคนเก่าเป็นที่ราชวงศ์ ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป จึงทรงพระกรุณาดำรังว่า เลกหัวเมืองลาวเจ้าเมืองท้าวเพี้ยยื่นบัญชีไว้แต่ก่อน ไพร่พลซึ่งระส่ำระสายแตกหนีอนุเวียงจันท์ ยังหากลับคืนเข้าบ้านเมืองสิ้นไม่ ครั้นบ้านเมืองเป็นปรกติ ไพร่พลกลับ


๑๒๕ คืนเข้าบ้านเมืองพร้อมมูลแล้ว เจ้าเมืองท้าวเพี้ยหาชำระเลกยื่นบัญชีให้สิ้นจำนวนตามอย่างแค่ก่อนไม่ เคลือบแฝงปิดบังอำพรางเลกไว้ เลกเป็นรี้พลสำหรับจะป้องกันพระบวรพุทธศาสนารักษาแผ่นดิน ซึ่งอุปหาดเมืองร้อยเอ็จไปอยู่รักษาเมืองสุวรรณภูมิ ชำระรวบรวมได้เลกเมืองสุวรรณภูมิมากขึ้นกว่าเจ้าเมืองท้าวเพี้ยคนเก่ายื่นบัญชีเถิง ๒ - ๓ ส่วน แล้วอุปหาดคนนี้ได้ทำราชการทัพศึกมา ๒ - ๓ ครั้ง เข้มแข็งในการศึกสงครามรบพุ่งกล้าหาญยังยินดี เป็นคนจงรักภักดีต่อราชการแผ่นดินมีความชอบมากอยู่ สมควรจะชุบเลี้ยงเป็นผู้ใหญ่ได้จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานท้าวอุปหาด ลูกประคำทองสาย ๑ คนโทถมดำ ๑ กะโถนถมดำ ๑ พานถม ๑ เครื่องในทองคำ ตลับยาสูบ ๒ ตลับสีผึ้ง ๑ ซองพลู ๑ ..............................๑ .......................๑ สัปทนปัศตูคัน ๑ เสื้อเข้มขาบตัว ๑ ผ้าห่มนอนปักทองผืน ๑ ผ้าแพรสี ๒ ผืน ผ้าขาวผุดดอก ๑ ผ้าปูมผืน ๑ ผ้าลายม่วงอย่างผืน ๑ ผ้าวิลาศผืน ๑ พระราชทานท้าวสุริยะคนโทเงิน ๑ ถาดหมากเงิน ๑ เสื้ออัตลัดพื้นเขียวตัว ๑ ผ้าห่มนอนไหมผืน ๑ ผ้าแพรผืน ๑ ผ้าเชิงปูมผืน ๑ ให้อุปหาดเป็นที่เจ้าเมือง ให้ท้าวสุริยะเป็นอุปหาด ให้เอาท้าวราชบุตรเป็นราชวงศ์ ตามเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก กราบบังคมทูลนั้นเถิด บัดนี้ตั้งให้อุปหาดเป็นที่พระรัตนวงศาเจ้าเมือง ตั้งให้ท้าวสุริยะเป็นที่อุปหาด ตั้งให้ท้าวราชบุตรเป็นที่ราชวงศ์


๑๒๖ ขึ้นมาว่าราชการรักษาบ้านเมืองด้วยท้าวเพี้ยเมืองสุวรรณภูมิ ให้อุปหาดผู้เป็นที่พระรัตนวงศา บังคับบัญชาว่าราชการบ้านเมืองตัดสินสำเร็จกิจสุขทุกข์อาณาประชาราษฏร ด้วยอุปหาดราชวงศ์ท้าวเพี้ย ตามจารีตคลองประเพณีขนบธรรมเนียมบ้านเมืองสืบไปโดยยุติธรรม ให้อุปหาดราชวงศ์กรมการท้าวเพี้ยผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง ฟังบังคับบัญชาอุปหาดผู้เป็นที่พระรัตนวงศาเจ้าเมือง แต่ซึ่งชอบด้วยราชการให้เป็นสามัคคีรสเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว อย่าให้ถือเปรียบแก่งแย่งกันให้เสียราชการไปแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ให้พระรัตนวงศาอุปหาดราชวงศ์ท้าวเพี้ย ประนบประนอมช่วยกันรักษาบ้านเมือง ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณ ให้มีเมตตาโอบอ้อมทนุบำรุงท้าวเพี้ยไพร่บ้านพลเมือง สมณชีพราหมณ์ในแขวงจังหวัดเมืองสุวรรณภูมิให้อยู่เย็นเป็นสุข กับให้สืบสาวเอาท้าวเพี้ยตัวเลกเมืองสุวรรณภูมิ ซึ่งหลบหลีกแอบแฝงอยู่นอกบัญชี ให้ชำระรวบรวมเอามาทำราชการคงบ้านเมืองให้สิ้นเชิง ให้บ้านเมืองมีไพร่พลมากบริบูรณ์มั่งคั่งขึ้น จะได้เป็นความชอบมากต่อไปภายหน้า ถ้าชำระบัญชีจำนวนท้าวเพี้ยตัวเลกได้ขึ้นอีกเท่าใด เข้ากันเก่าใหม่เท่าใด ให้บอกลงไปให้แจ้ง เมื่อและบ้านเมืองมีไพร่พลมากก็จะทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงให้สมควร....................พลบ้านเมือง และให้พระรัตนวงศาอุปหาด ราชวงศ์ กำชับห้ามปรามท้าวเพี้ยบ้าวไพร่ อย่าให้คบหากันเป็นโจรผู้ร้าย กระทำข่มเหงเบียดเบียนไพร่บ้านพลเมือง


๑๒๗ ลูกค้าวานิชให้ได้ความเดือดร้อน และกระทำให้ผิดจารีตครองประเพณีบ้านประเพณีเมือง แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นอันขาด ประการหนึ่ง การศึกสงครามยังหาสำเร็จราบคาบไม่ ให้จัดแจงสะสมสะเบียง อาหาร กระสุนดินดำเครื่องสาตราวุธให้พร้อมสรรพไว้สำหรับบ้านสำหรับเมือง จะมีราชการคุกคามขึ้นประการใดก็ให้ได้ราชการพร้อมมูลทันท่วงทีอย่าให้เสียราชการได้ ถ้าเถิงเทศกาลไร่นา ก็ให้เอาใจใส่ว่ากล่าวป่าวร้องไพร่บ้านพลเมืองทำไร่นาให้ได้เต็มภูมิฐานจงทุกปี ให้บ้านเมืองมีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ จะได้ทำบุญให้ทานบ้านเมืองจะได้อยู่เย็นเป็นสุข ถ้าเถิงเทศกาลพระราชพิธีตรุษสารท ก็ให้พระรัตนวงศาเจ้าเมือง อุปหาด ราชวงศ์ ท้าวเพี้ยกรมการ พร้อมกัน ณ พระอุโบสถพระวิหารที่เป็นพระอารามใหญ่ บ่ายหน้าต่อกรุงเทพ ฯ กราบถวายบังคมกระทำสัตยานุสัตย์ต่อใต้ฝ่าละออง ฯ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จำเพาะพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า รับพระราชทานน้ำพิพัฒน์สัจจาปีละ ๒ ครั้ง ตามธรรมเนียมจงทุกปี และราชบุตรผู้เป็นที่ราชวงศ์นั้น ตกแล้งว่างราชการแล้วให้ลงมาเฝ้าทูลละออง ฯ ณ กรุงเทพ ฯ จะได้จัดแจงตั้งแต่งขึ้นไปตามธรรมเนียม ครั้นท้องตรานี้มาเถิงวันใด ก็ให้ท้าวฝ่ายท้าวเพี้ย ส่งกฏมายกิจราชการเก่าใหม่ ตราจำนำกับเลกสำหรับที่พระรัตนวงศา อุปหาด ราชวงศ์ คนเก่า ให้กับอุปหาดผู้เป็นที่พระรัตนวงศา ท้าวสุริยะผู้เป็นที่อุปหาดราชบุตรผู้เป็นที่


๑๒๘ ราชวงศ์ ทำราชการรักษาบ้านรักษาเมือง ตามท้องตราซึ่งโปรดเกล้าฯ ขึ้นมานี้จงทุกประการ หนังสือมา ณ วันศุกร์แรม ๑๑ ค่ำเดือน ๗ ปีวอกนักษัตรอัฏฐศก ร่างตรานี้ท่านปลายเชือกทำ ๆ แล้ววันเดือน ๗ แรม ๑๐ ค่ำ เพลาเช้า ฯ พณ ฯ สมุหนายก ว่าราชการอยู่ ณ จวน ได้เอาผ้าตรานี้อ่านกราบเรียนจนสิ้นข้อความ แล้วตกแทรกวงกาลงบ้างแล้วสั่งว่าให้มีไปตามร่างนี้เถิด

ฉะบับที่ ๒ ย่อศุภอักษรเจ้านครจำปาศักดิ์

เจ้าปาศักดิบอกลงมาว่า ณ วันเดือน ๙ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เพี้ยศรีหาวงศ์เพี้ยอินทโคตร ที่ไปอยู่สอดแนมดูค่าย ณ แก่งพรามกลับมาแจ้งว่า เพี้ยศรีหาวงศ์กับไพร่ ๒ คนได้แต่ง........................(ฉะบับลบ)........................... แก่งพราหมณ์กลับมาเห็นองยั่มแทงกับไพร่ญวน ๕๐ คน ไพร่ลาวเมืองพิน เมืองระนอง เมืองพ้อง เมืองพลาน เข้ากัน ๑๐๐ คน มีโรงอยู่ ๒ หลัง ๆ ละ ๒ ห้อง ปืนคาบศิลา ๑๐ บอก ค่ายกว้างยาว ๓ เส้น เสาค่ายใหญ่ต้นหนึ่งแบก ๓ คน สูงพ้นดิน ๖ ศอก เชิงเทินรอบค่าย หนา ๔ ศอก สูง ๕ ศอก มีประตูค่าย ๒ แห่ง คูลึก ๕ ศอกกว้าง ๖ ศอก แต่ค่ายไปเถิงคู ๔๐ ศอก หามียุ้งฉาง

๑๒๙ ข้าวไม่ พวกลาวหัวเมืองพูดว่าไม่มีข้าวกิน ญวนพากันหนีกลับไป เพี้ยศรีหาวงศ์อยู่ในค่ายได้ ๒ คืน รุ่งขึ้นองภอองย่ำแทงให้พวกลาวหัวเมืองไปหาไม้ไผ่ มาทำขวากปักริมค่ายแล้วเพี้ยศรีหาวงศ์กับบ่าว ๒ คนก็กลับมา ฯ ข้า ฯ จึงบอกให้เพี้ยเวียงคำ เพี้ยหมื่นหน้า ถือลงมาแจ้งราชการ และข่าวราชการฝ่ายเมืองสมบุก เมืองสมบูรณ์ ยังสงบอยู่ ถ้าเพี้ยพรหมโคตร เพี้ยสุวรรณเหลาผู้ไปฟังราชการ ณ เมืองตะโปนเพี้ยสุโพเพี้ยศรีจันทวงศ์ผู้ไปลาดตระเวนสืบข่าวราชการ รับพาไพร่บ้านทูนกลับมาได้ข่าวราชการประการใด จะบอกส่งเข้ามาครั้งหลัง

ฉะบับที่ ๓ ศุภอักษรเจ้านครจำปาบาศักดิ์

ศุภกัตถาสัมปัตตตา สัมนาคม ภิรมย์พรหมสุจริต มหิทธิณาสัย ให้ข้าพระพุทธเจ้า..........(ลบ).......................นครจำปาบาศักดิ์ มีมธุรจิตต์สนิทเสนหา มายังท่านอัครมหาเสนาธิบดินทร์ นรินทรามาตย์ อันเป็นสวามีประวาส บาทมุลิกากร บวรรัตนามาตย์ แห่งพระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ ณ กรุงเทพมหานคร ปวรทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัฐราชธานี บุรีรมย์ อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน ได้ทราบด้วย

๑๓๐ ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าได้มีศุภอักษร บอกข้อราชการฝ่ายเมืองญวน ให้เพี้ยเมืองแพน ถือลงมากราบบังคมทูลพระกรุณาได้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทครั้งก่อนนั้น ว่าองหลวงต่านติ้งกาดแต่งให้องภอองยั่มแทง องด้วยเม้ย คุมเอาไพร่ญวนไพร่ลาว ๑๐๐๐ คนออกมาตั้งค่าย ณ แก่งพราม แขวงเมืองชุมพรค่ายหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าจึงแต่งให้เพี้ยศรีหาวงศ์ เพี้ยอินทวงศ์กับไพร่มีชื่อออกไปสอดแนมดูค่าย ณ แก่งพราม ทางหนึ่งได้แต่งให้เพี้ยพรมโคตร เพี้ยสุวรรณเหลา กับไพร่มีชื่อออกไปฟังข่าวราชการอยู่ ณ เมืองตะโปน ทางหนึ่งได้แต่งให้เพี้ยสุโพเพี้ยสีจันทวงศ์คุมไพร่ออกไปลาดตระเวน อยู่ทางค่ายไพร่บาตทูล เป็นพรมแดนเมืองปาศักดิ์ เมืองภ้อง เมืองชุมพรต่อกัน เข้ากัน ๓ ทาง ครั้นอยู่ ณ วันเดือน ๘ ปฐมาษาฒ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีจออัฐศก เจ้าเมืองตะโปนแต่งให้ท้าวมหาราชผู้หลาน กับไพร่มีชื่อ ๑๘ คนลงมาแจ้งราชการต่อข้าพระพุทธเจ้าว่า ซึ่งองหลวงต่านติ้งกาดแต่งให้องจูดากองจูติ้ง ออกมาเร่งเอาตัวเจ้าเมืองตะโปน เจ้าเมืองพิน เจ้าเมืองระนอง เข้าไปเมืองญวนแต่ก่อนนั้น ครั้นไปเถิงด่านติ้งอะหลาวแล้ว เจ้าเมือตะโปน เจ้าเมือพิน เจ้าเมืองระนอง บอกแก้ตัวว่าป่วยเสียไม่เข้าไป เจ้าเมืองตะโปนจึงจัดได้เงินแน่นราง ๖ แท่ง สีผึ้ง ๗ ชั่ง เจ้าเมืองพินจัดได้เงินแน่นราง ๓ แท่ง สีผึ้ง ๒ ชั่ง เจ้าเมืองระนองจัดได้เป็นเงินแน่นราง ๒ แท่ง สีผึ้ง ๒ ชั่ง แต่งให้เพี้ยเมือง


๑๓๑ หาญ กับไพร่มีชื่อคุมเอาเข้าไปขอทุเลากับองหลวงต่านติ้งกาด แล้วเจ้าเมืองตะโปนก็กลับมาเถิงเมืองแล้ว ซึ่งองภอองยั่มแทง องด้วยเม้ย คุมไพร่ญวนไพร่ลาวหัวเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองวังเมืองระนอง เมืองเชียงรม เมืองผาบัง เมืองคางเข้ากันทั้งญวน ๑๐๐๐ คน ออกมาตั้งค่ายณแก่งพรามแต่ก่อนนั้นญวนแจกจ่ายสะเบียงอาหารให้ไพร่พลหัวเมืองทั้งปวง เจือจานกันรับพระราชทาน วันหนึ่ง ๒ คนต่อทะนานบ้าง ๓ คนต่อทะนานบ้าง หาพอรับพระราชทานไม่ ไพร่พลหัวเมืองทั้งปวงก็เห็นว่าได้สามิภักดิ์เข้ามาเป็นข้าสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว แล้วก็ไม่มีใจจะทำค่ายช่วยญวน ก็พากันหนีกลับคืนไปบ้านเมืองเสียก็มีบ้าง ค่ายก็ยังหาทันได้ตั้งขึ้นแล้วไม่ องภอองยั่มแทงองด้วยเม้ย จึงใช้ญวนเข้าไปแจ้งราชการต่อองหลวงติ้งกาด องหลวงติ้งกาดจึงแต่งให้องจูติ้ง คุมไพร่ญวน ๒๐๐ คนออกมาเพิ่มองภอองยั่มแทง องด้วยเม้ยอีก ญวนเข้ากันเก่าใหม่ ๕๐๐ คน จึงได้ค่ายคูนเชิงเทินขึ้นไว้ แต่ข้าวสะเบียงนั้น องจูเท่า องจูแถะคุมไพร่หัวเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองระนองไปเกนเอาข้าวด้วยค่าไพร่ญวน ออกมาเบิกจ่ายให้พวกญวนพวกลาวที่ตั้งค่ายนั้น ก็หาได้เมล็ดข้าวมาพอเจือจานกันรับพระราชทานไม่ ว่าดังนี้ ครั้นอยู่ณวันเดือน ๙ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีวอกอัฏศก เพี้ยศรีหาวงศ์ เพี้ยอินทวงศ์ ที่ไปสอดแนมดูค่ายแก่งพรามกลับมา แจ้งราชการต่อข้าพระพุทธเจ้าและเจ้าอุปราชว่า


๑๓๒ เพี้ยศรีหาวงศ์กับไพร่มีชื่อ ๒ คน ได้แต่งตัวเป็นลาวเมืองตะโปนปลอมเข้าไปทำการอยู่ค่ายแก่งพราม เห็นองภอ องยั่มแทงกับไพร่ญวน ๕๐ คน ไพร่ลาวหัวเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองระนอง เมืองพ้อง เมืองชุมพร เมืองพลาน เข้ากัน ๑๐๐ คน มีตึกสำนักญวนอยู่ ๒ หลัง หลังละ ๒ ห้อง ปืนคาบศิลาญวน ๑๐ บอก ค่ายด้านสะกัดและยาว ๓ เส้นเสมอกัน เสาค่ายใหญ่ต้นหนึ่งแบก ๓ คน สูงพ้นดิน ๖ ศอก เชิงเทินรอบค่าย หนา ๔ ศอก สูง ๕ ศอก บ่อคูค่ายมี ๒ แห่ง มีคลองรอบค่ายลึก ๕ ศอก กว้าง ๖ ศอก แต่ตีนค่ายไปเถิงตีนคลองกว้าง ๔ ศอก ที่ในค่ายหาได้มียุ้งฉางข้าวสักหลังไม่ เพี้ยศรีหาวงศ์ได้ถามพวกลาวหัวเมืองซึ่งทำค่ายอยู่แต่ ว่าญวนลงมาทำค่ายมากอยู่ไปไหนบ้าง ลาวหัวเมืองแจ้งความต่อเพี้ยศรีหาวงศ์ ว่าไม่มีข้าวกินญวนพากันกลับหนีคืนไปหมด เพี้ยศรีหาวงศ์อยู่ในค่ายได้ ๒ คืน รุ่งมาองภอองยั่มแทงจึงแต่งให้พวกลาวหัวเมือง ออกไปเที่ยวหาไม้ไผ่ปลายด้วน มาทำขวากปักตามริมค่าย แล้วเพี้ยศรีหาวงศ์กับบ่าว ๒ คนก็เลยออกมาเถิงข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้มีศุภอักษรบอกข้อราชการ แต่งให้เพี้ยเวียงคำ เพี้ยหมื่นหน้า กับไพร่มีชื่อ ถือลงมากราบบังคมทูลพระกรุณา ให้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยแล้ว ซึ่งข้อราชการฝ่ายเมืองสมบุก เมืองสมบูรณ์ นั้นยังสงบอยู่ ถ้าเพี้ยพรหมโคตร เพี้ยสุวรรณเหลา ซึ่งไปอยู่คอยฟังข่าวราชการณเมือง


๑๓๓ ตะโปน เพี้ยสุโพ เพี้ยศรีจันทวงศ์ ออกไปลาดตระเวนสืบข่าวราชการ อยู่ณค่ายไพร่บ้านทูน ทางใดกลับมาได้ข่าวราชการจะผันแปรแน่นอนเป็นประการใด ข้าพระพุทธเจ้าจึงจะขอพระราชทานบอกลงมากราบบังคมทูล ให้กรุงทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทต่อภายหลัง ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด สุภกัตถามาณวันเสาร์ เดือน ๙ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอกอัฐศก ( พ.ศ. ๒๓๗๙ )

ฉะบับที่ ๔ ใบบอกเมืองอุบลราชธานี เรื่องแต่งท้าวเพี้ยไปรักษาราชการทางเมืองมุกดาหาร

ฯ ข้า ฯ พระพรหมราชวงศา อุปฮาด ราชวงศ์ กรมการเมืองอุบลราชธานี ขอบอกปรนนิบัติมายังท่านหลวงอักขรสุนทรเสมียนตรามหาดไทย ขอให้นำเอาบอก ฯ ข้า ฯ ขึ้นกราบเรียนใต้ท้าวพระกรุณาเจ้าพ่อ พ่อทรงทราบ ด้วยมีท้องตราพระราชสีห์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมขึ้นมาเถิง ฯ ข้า ฯ ใจความว่าให้ ฯ ข้า ฯ จัดคน ณ เมืองอุบลไปช่วยรักษาราชการณเมืองมุกดาหารนั้น ฯ ข้า ฯ ก็ทราบเกล้าทราบกระหม่อมทุกประการแล้ว ฯ ข้า ฯ ได้แต่งให้เพี้ยเชียงเหนือ คุมไพร่ไปอยู่รักษาราชการณเมืองมุกดาหารแห่งหนึ่ง ท่ายักคูแห่งหนึ่ง ตามมีท้องตรา

๑๓๔ พระราชสีห์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมมานั้น ซึ่งคนจำนวนเกนไปอยู่รักษาราชการ ณ เมืองนครพนม ๒๐๐ คนนั้น ฯ ข้า ฯ ขอรับพระราชทานมาอยู่ช่วยรักษาหน้ากระดาน ที่บ้านธาตุพะนมแห่งหนึ่ง เมืองมุกดาหารแห่งหนึ่ง บ้านท่ายักคูแห่งหนึ่ง ทั้งสามแห่ง ขอให้ใต้เท้าพระกรุณาเจ้าช่วยโปรด ฯ ข้า ฯ ให้จงมาก หนังสือบอกปรนนิบัติมา ณ วันอังคาร เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอกอัฐศก วันเดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ปีวอกอัฐศก (พ.ศ. ๒๓๗๙) ท้าวโพธิสารถือมา

เหตุการณ์ในปีระกา พ.ศ. ๒๓๘๐

การที่ญวนส่งกองทหารเข้ามาตั้งค่าย อยู่ในเขตต์เมืองพวน ตั้งแต่ปีวอก พ.ศ. ๒๓๗๙ นั้น ข้างฝ่ายไทยเข้าใจว่า ญวนหมายจะเอาเมืองพวนเป็นเมืองหน้าด่าน สำหรับทางสะเบียงอาหารกองทัพญวนในภายหน้า ไทยจึงคอยหาโอกาศที่จะส่งกองทัพขึ้นไปขับไล่ญวน และจัดการเมืองพวนให้เรียบร้อย ส่วนทางเมืองเขมร ญวนตั้งหน้าบีบคั้นและตัดทอนกำลังเขมรหนักลง บรรดาเจ้าหญิงราชธิดาสมเด็จพระอุทัยราชา ญวนก็ส่งไปไว้ ณ เมืองญวน พระยาพระเขมรคนใดที่เข้มแข็งนักก็ถูก

๑๓๕ กำจัดเสียบ้าง ส่งไปเมือญวนบ้าง พระยาพระเขมรที่ยังเหลืออยู่จึงเดือดร้อนระส่ำระสาย พากันครุ่นคิดจะสังหารญวน โดยหวังจะพึ่งกำลังฝ่ายไทยอีก และจะขอเจ้าเขมรออกไปปกครองสืบสันตติวงศ์ แต่พวกหนึ่งอยากได้เจ้าองค์อิ่ม อีกพวกหนึ่งอยากได้เจ้าองค์ด้วง นัยว่าพวกฟ้าทะละหะนิยมเจ้าองค์ด้วงมาก จึงลอบให้คนมาชักชวนเจ้าองค์ด้วงก่อน ครั้นต่อมาเจ้าองค์อิ่มฟ้องกล่าวโทษเจ้าองค์ด้วง ว่าพยายามเกลี้ยกล่อมชาวเมือง จะพาอพยพหนีไปเมืองพนมเป็ญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้คุมเจ้าองค์ด้วงและพรรคพวกเข้ามาชำระในกรุงเทพ ฯ โดยด่วน แล้วให้เจ้า พระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รีบออกไปไต่สวนฟังเหตุการณ์ที่เมืองพัตบองทีเดียว และถ้าเห็นเป็นการสมควร ก็ให้จัดการก่อสร้างเมืองพัตบอง เพิ่มเติมสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้เมืองมั่นคงแข็งแรงงดงามมีสง่าขึ้นอีก จะได้เป็นที่เชิดชูเกียรติคุณเจ้าองค์อิ่มซึ่งทรงครองอยู่ และสะดวกแก่การที่เขมรจะหนีร้อนมาพึ่งเย็นต่อไปด้วย

ฉะบับที่ ๑ ตราถึงข้าหลวงและเจ้าเมืองหนองคาย, เจ้าเมืองหนองหาร

หนังสือ เจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงพระพิเรนทรเทพ พระ


๑๓๖ ปทุมเทวาเจ้าเมืองหนองคาย พระพิทักษ์เขตต์ขันธ์เจ้าเมืองหนองหาร ด้วยบอกหนังสือแต่งให้หมื่นเดชสงคราม หัวหมื่นพระตำรวจ เพี้ยอุปชาเมืองหนองคาย เพี้ยโคตรเมืองหนองหารกุมเอาตัว อ้ายหัวพันเชียงเปา อ้ายทิดดา อ้ายทอง ลาวพวน ๓ คน หางว่าจำนวนเลกพลเมือง ครัวพวนเวียงจันทน์ ๒ ฉะบบ ส่งไปแจ้งราชการว่า ได้แต่งกองตระเวนไปลาดตระเวน จับได้อ้ายทวง อ้ายศรี อ้ายนัน อ้ายออน อ้ายสวน อ้ายเชียงเปา อ้ายทิดดา ลาวพวน ๘ คน ให้ถามลาวพวนซึ่งจับได้ให้การว่าอ้ายท้าวษาลิ อ้ายเมืองเปรียนวย อ้ายเวียงกัด อ้ายเวียงขัน อ้ายเมืองสุย อ้ายเมืองแสนเชียงดี ใช้ให้ท้าวสร เชียงทม เชียงแมน ไปพูดจา ณ เมืองหลวงพระบาง แต่ ณ เดือนอ้ายเดือนยี่ปีวอกอัฐศก ยังไม่กลับมา ที่ทุ่งเชียงคำนั้น มีค่ายอยู่ค่ายหนึ่ง ญวน มอย ผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่คราวละ ๑๐๐ คราวละ ๑๐๐ เศษ มีไพร่พลที่ทุ่งเชียงคำ ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ทั้งเมืองเชียงดี ทั้งเมืองเชียงขวาง ๑๐๐๐ เศษ ราคาข้าวเปลือกซื้อขายแก่กันถังละ ๑ บาท กับว่าชำระครัวพวนเวียงจันท์ได้ที่เมืองหนองคาย ครัวพวนตกค้างอยู่ ๔๘๘ ครัวเวียงเป็นพี่น้องกองท่าสาร ๓๙๘ เวียงหนีท่าสาร เณร ๒ ชายฉกรรจ์ ๓๑ ครัว ๖๐ (รวม ) ๙๑ (รวม) ๙๓ เวียงครังพันพราว เณร ๒ ชายฉกรรจ์ ๔๒ ครัว ๑๙ (เป็น) ๖๑ (รวม) ๖๓ (รวมทั้งหมด) ๑๐๔๒ ห้วยหลวง ครัวพวนตกค้างอยู่ ๒๐๔ ครัวเวียงท่าสารฝากไว้ ๒๑ (รวม) ๒๒๕ (รวม) ๑๒๖๗


๑๓๗ เมืองหนองหาร ครัวพวนตกค้าง ๓๕๓ ครัวเวียงพี่น้องกองท่าสาร ๑๐๑ หนีกลับไปแต่ท่าสาร ชายฉกรรจ์ ๑๓ กรุงเทพ ฯ ลาวเวียงชายฉกรรจ์ ๘ ครัวพันพราวครัว ๑๗ (รวม) ๒๕ อารยิก (อรัญญิก) ชายฉกรรจ์ ๓ กอง สระบุรี ชายฉกรรจ์ ๘ เป็น ๑๑ เมืองชนบทหนีมาแต่อารยิก ชายฉกรรจ์ ๓ เมืองสระบุรี ๘ เป็น ๑๑ (รวมเป็น) ๕๐๓ เข้ากัน พระสงฆ์สามเณร ๓๒๒ ชายฉกรรจ์ ๓๗๙ ครัว ๑๐๖๕ (รวม) ๑๔๔๘ (รวมทั้งสิ้น) ๑๗๗๐ คน กำหนดได้เดินครัวออกจากเมืองหนองคาย เมืองหนองหาร ณ วันเดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ครัวพวนครัวเวียงจันท์กองท่าสารจะให้ลงทางเมืองปราจิน แต่ครัวเวียงครัวพันพราวหนีกลับไปชำระได้ กับครัวมารดาพันแสน จะให้ลงทางเมืองสระบุรี กับว่าลาวเวียงจันท์ครัวพันพราวหนีขึ้นไปอยู่เมืองหนองคาย ๗๓ คน พระปทุมเทวาอุปฮาดใช้สอยได้ราชการ ตั้งเป็นเพี้ยกวานกำนันบ้านอยู่ ๑๐ คน จะขอรับพระราชทานไว้ จะได้ส่งลงมาแต่ ๖๓ คน และพระพิเรนทรเทพได้จัดแจงชำระเลกเมืองหนองคาย เมืองหนองหาร เมืองชนบท เมืองขอนแก่น เมืองปากเหือง กับเร่งทองเกนร่อน ณ เมืองหนองคายอยู่ยังไม่เสร็จการ มีข้อความในหนังสือบอกพระพิเรนทรเทพเป็นหลายประการ ได้นำเอาหนังสือบอกกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบใต้ฝ่าละออง ฯ แล้วทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า ครัวลาวพวน ครัวเวียงจันท์ในจำนวนส่งลงไป ณ กรุงเทพ ฯ ยังตกค้างอยู่กับครัว


๑๓๘ เวียงจันท์ครั้งก่อนพากับหลบหนีขึ้นไป ครอบครัวเหล่านี้มันเกี่ยวพันกันอยู่กับครัวที่ส่งลงไป ณ กรุงเทพ ฯ มันจะหนีไปหนีมาหากัน จะหาเป็นอันทำมาหากินและทำราชการแผ่นดินไม่ ที่เป็นลาวพวนเกลือกมันจะหนีเลยไปเมืองพวนเมืองญวน จึงโปรดให้ชำระส่งลงไปให้สิ้น อย่าให้ครอบครัวตกค้างเกี่ยวพันกันอยู่ซึ่งพระพิเรนทรเทพ แม่ทัพ เจ้าเมืองท้าวเพี้ยชำระได้ครอบครัวซึ่งหนีขึ้นไปกับครัวพวนครัวเวียงจันท์ ตกค้างอยู่เมืองหนองคาย เมืองหนองหาร ได้เป็นครัวเก่าครัวใหม่เข้ากัน ๑๗๐๐ คนเศษ ได้จัดแจงครอบครัวซึ่งชำระได้ส่งลงไป ณ กรุงเทพ ฯ นั้น ก็ชอบตามท้องตรากระแสพระราชดำริ ซึ่งโปรดเกล้า ฯ ขึ้นมาแต่ก่อนนั้นแล้ว ซึ่งพระปทุมเทวาจะขอครัวเวียงจันท์ครั้งก่อนซึ่งหนีขึ้นไป ได้ตั้งแต่งเป็นท้าวเพี้ยไว้ ๑๐ คนนั้น ก็ให้พระปทุมเทวา อุปฮาด ราชวงศ์ ท้าวเพี้ยเอาไว้ทำราชการ ณ เมืองหนองคาย ตามหนังสือบอกพระพิเรนทรเทพนั้นเถิด และซึ่งว่าจับได้ลาวพวน ๘ คนมาถามข้อราชการได้ความว่า ลาวพวนซึ่งออกตั้งบ้านเรือนอยู่แขวงเมืองพวน คิดอ่านกันแต่งให้เจ้าสะท้าวเพี้ยไปเมืองหลวงพระบาง แต่ ณ เดือนอ้ายเดือนยี่ยังไม่กลับมานั้น ฝ่ายเมืองหลวงพระบางบอกข้อราชการ ให้พระยาเมืองแพนถือลงไปราชการ ณ กรุงทเพ ฯ ว่าเจ้าษาลีท้าวเพี้ยพวกลาวพวนแต่งให้ท้าวจันทุมานาย ๓ ไพร่ ๕ คนไปเมืองหลวงพระบาง เมื่อ ณ เดือนอ้ายพวกหนึ่ง ครั้น ณ วันเดือน ๓ แรม


๑๓๙ ๒ ค่ำ เจ้าสะสิบโสมพันแสน เพี้ยสวนตาน นาย ๕ คน ไพร่ ๘ คนไป ณเมืองหลวงพระบางอีกพวกหนึ่ง พวกลาวพวนไปพูดจาว่า จะสามิภักดิทำราชการ ขึ้นกับเมืองหลวงพระบางเหมือนกันกับเมืองหัวพันทั้งหก พอเจ้าเมืองหลวงพระบางป่วยเป็นวรรณโรคเถิงแก่พิราลัย เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์จัดแจงส่งพวกพวนกลับคืนไปบ้านเมือง จึงทรงพระราชดำริว่า เมืองหัวพันทั้งหก เมืองพวน อนุก็เอาบ้านเมืองไปยกให้กับญวนเหมือนกัน แต่ญวนเห็นว่าเมืองพวนเป็นเมืองใหญ่กว่าเมืองหัวพันทั้งหก ญวนมาจัดแจงตั้งแต่งบ้านเมืองผูกพันเอาเป็นสนิท มีกองทัพญวนมารักษาบ้านรักษาเมืองอยู่ ญวนหมายจะเอาเมืองพวนเป็นเมืองหน้าด่าน ทางสะเบียงอาหารกำลังกองทัพญวนไปข้างหน้า และเมืองหัวพันทั้งหกนั้น ญวนเรียกเอาแต่ส่วยให้ขึ้นกับเมืองซือเงเมืองซือแถง ญวนไม่ได้จัดแจงตั้งแต่งบ้านเมือง หามีญวนมารักษาอยู่ไม่ ด้วยเมืองหัวพันทั้งหกระยะทางไกลเขตต์แดนญวนออกมา เมืองหัวเมืองพันทั้งหกใกล้กับเมืองหลวงพระบาง กองทัพยกขึ้นไปปราบปรามเมืองหัวพันทั้งหก ก็หาได้กวาดครอบครัวมาไม่ เมืองหัวพันทั้งหกไม่สู้ร้าวฉานไปนัก เมืองหัวพันทั้งหกว่าจะสมัครทำราชการขึ้นกับเมือหลวงพระบาง จึงโปรดให้เมืองหลวงพระบางรับรองไว้ดูท่วงทีพวกเมืองหัวพันทั้งหกไปก่อน แต่พวกเมืองพวนนั้นกองทัพยกขึ้นไปกวาดเอาครอบครัวมา ที่เราได้ครอบครัวไว้ก็พอจะไว้ใจได้


๑๔๐ พวกที่ยังเหลืออยู่บ้านเมืองกับเจ้าษาลีเจ้าสะท้าวเพี้ย ที่ได้พาครอบครัวลงไปกับเจ้าเมืองเชียงขวาง เจ้าสะก็ได้ลงไปจนเถิงกรุงเทพ ฯ แล้ว กับคบคิดกันพาครอบครัวหนีคืนไปหาญวน มันร้าวฉานไปกับเรามากหาเหมือนเมืองหัวพันทั้งหกไม่ จะไว้ใจกับพวกลาวพวนซึ่งอยู่กับบ้านเมืองนั้นไม่ได้ และลาวพวน ๓ คนซึ่งส่งลงไปกรุงเทพ ฯ นั้นโปรดเกล้า ฯ ให้ซักถามข้อราชการลาวพวน ๓ คน ให้การว่า เป็นพวกครัวลงมาแต่ครั้งเจ้าเมืองเชียงขวางลงมาอยู่ ณ ห้วยหลวง แต่อ้ายทิดดานั้นหนีตามครัวไปแต่ครั้งเจ้าสะพาครอบครัวหนี อ้ายทิดดาขึ้นไปอยู่เมืองเชียงขวาง เมื่อ ณ ปีวอกอ้ายเชียงจำปาขึ้นไปจากห้วยหลวง ไปชักชวนอ้ายทิดดาลงมาอยู่ที่บ้านฉง่อ อ้ายทวงให้การว่าเมื่อ ณ เดือน ๑๐ ปีวอกอัฐศก ลาวพวน ๒ คนหนีมาแต่เมืองเชียงขวางอยู่กับอุปชาบ้านห้วยหลวง อ้ายทวงจึงถามข่าวเถิงญาติพี่น้อง ลาวพวน ๒ คนบอกความกับอ้ายทวงว่า ญาติพี่น้องของอ้ายทวงอยู่เมืองกัษเมืองงาน ครั้น ณ เดือน ๑๑ ปีวอกอัฐศก อ้ายทวงผู้เดียวขึ้นไปสืบหาญาติพี่น้อง อ้ายทวงขึ้นไปเถิงเมืองโมพบอ้ายเชียงศรีหาอ้ายอ้นอ้ายนัน อ้ายทวงจึงชักชวนพากันลงมาเถิงบ้านห้วยหลวง ณ เดือน ๔ ข้างขึ้น อ้ายทิดดาอ้ายทองรู้ความว่า ที่ทุ่งเชียงคำนั้นญวนมาตั้งอยู่ ๕๐ คน ๖๐ คน บ้าง ๑๐๐ บ้าง ๑๐๐ เศษบ้าง ญวนมรักษาอยู่เสมอไม่ขาด ญวนแต่งคนให้มาตรวจตราเรียกเอาส่วย กับท้าวเพี้ยครอบครัวลาว ๑๔๑ พวนอยู่ทุกตำบล ญวนให้พวกลาวพวนบ้านทุ่งเชียงคำเมืองโมซึ่งอยู่ใกล้ญวน ไว้ผมนุ่งห่มเป็นญวน ญวนคิดอ่านจัดแจงจะเอาพวกลาวพวนเป็นพวกญวนให้สิทธิ์ขาด กับว่าเจ้าษาลีเจ้าสะพันแสนเมืองเชียงดีเมืองกัษเมืองขังเมืองสุยเป็นพวกหนึ่ง คิดอ่านกันแต่งคนไปเมืองหลวงพระบาง แต่อ้ายเพี้ยคำเมืองเชียงขวางเพี้ยตางคำบ้านทุ่งเชียงคำ ปลัดขันเมืองโมเป็นพวกหนึ่ง หาเข้ากับเจ้าษาลีเจ้าสะไม่ และซึ่งพวกลาวพวนคิดอ่านกันไปเมืองหลวงพระบางนั้น ญวนจะรู้ความไม่รู้ความ และจะเป็นความคิดญวนให้ไป หรือพวกลาวพวนจะคิดอ่านชักชวนกันไปประการใด ลาวพวน ๓ คนหารู้ความชัดไม่ และครอบครัวเจ้าษาลีเจ้าสะก็อยู่กับญวนบ้านทุ่งเชียงคำ เจ้านายท้าวเพี้ยพวกลาวพวน ซึ่งออกตั้งบ้านเรือนอยู่เขวงเมืองพวนทุกวันนี้ เป็นคนอยู่ในอำนาจญวน จะหาอาจคิดการล่วงเกินญวนไปไม่ เกลือกจะเป็นกลอุบายความคิดญวน แต่งให้ลาวพวนไปพูดจาดูท่วงทีทางเมืองหลวงพระบาง จึงโปรดเกล้า ฯ ให้มีตราตอบขึ้นไปเถิงเมืองหลวงพระบาง ให้ช่วยกันรักษาบ้านเมืองให้รอบคอบ อย่าให้ไว้ใจแก่ราชการ กับให้เมืองหลวงพระบางพูดจากับลาวพวนเป็นทางเกลี้ยกล่อมทำดีไว้ แต่พออย่าให้ลาวพวนสะดุ้งสะเทือน ถ้าลาวพวนแต่งกันมาพูดจา ณ เมืองหลวงพระบางอีก ก็ให้เมืองหลวงพระบางส่งตัวพวกลาวพวนลงไป ณ กรุงเทพ ฯ จะได้ซักถามเอาข้อราชการ ความแจ้งอยู่ในท้องตราตอบไปเถิงเมืองหลวง


๑๔๒ พระบางนั้นแล้ว ครั้นจะให้กองทัพไปกระทำกับพวนโดยเร็วเล่า พวนซึ่งหนีออกมาตั้งบ้านเรือนอยู่นั้น ยังขัดสนสะเบียงอาหารอยู่ จะต้องงดรอไว้ แต่พอพวกพวนทำไร่นามีข้าวปลาอาหารพอเลี้ยงกองทัพได้เมื่อใด ก็จะโปรดให้ กองทัพยกไปตัดรอนทางสะเบียงอาหารกองทัพญวนให้เด็ดขาด บ้านเมืองฝ่ายเราจะได้อยู่เย็นเป็นสุขตามท้องตราซึ่งโปรดขึ้นมา แต่ก่อนและราชการทางเมืองพวนนั้น พระพิเรนทรเทพจัดแจงชำระเลกและราชการซึ่งเกี่ยวข้องเสร็จแล้ว พระพิเรนทรเทพจะกลับลงไป ณ กรุงเทพ ฯ เสียแล้วก็ดี ให้พระปทุมเทวา ให้พระพิทักษ์เขตต์ขันธ์ อุปฮาด ราชวงศ์ ท้าวเพี้ยทั้งปวง สืบสวนฟังราชการทางเมืองพวนให้เสมออยู่อย่าให้ขาด และลาวพวนจะเล็ดรอดขึ้นลงไปมาประการใด ก็ให้คอยจับตัวลาวพวนให้ได้ จะได้เอามาถามข้อราชการให้รู้ความว่า ลาวพวนออกตั้งบ้านเมืองอยู่กี่ตำบล เป็นผู้คนครอบครัวเท่าใด และลาวพวนจะพร้อมมูลเข้ากันทั้งสิ้นหรือจะเป็นพวกเป็นเหล่ากันอยู่ ลาวพวนญวนจะคิดอ่านราชการประการใดบ้าง กับลาวพวนทำไร่นาพอจะมีข้าวปลาอาหารขึ้นแล้วหรือยัง ให้รู้ราชการและชั้นเชิงลาวพวนญวนให้แน่นอน จะได้ทรงพระราชดำริข้อราชการทางเมืองพวนต่อไป ได้มีตราไปเถิงพระปทุมเทวา เถิงพระพิทักษ์เขตต์ขันธ์ด้วยเมืองละฉะบับ ความต้องการแจ้งอยู่แล้ว หนังสือมา ณ วันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๙ ค่ำ ปีระกา นพศก


๑๔๓ (พ.ศ. ๒๓๘๐) ให้เขียนไปเถิงพระพิเรนทรเทพ ๑ เมืองหนองคาย ๑ เมืองหนองหาร ๑ (รวม) ๓ ฉะบับ ร่างตรานี้ ท่านปลายเชือกหลวงศรีเสนา ทำแล้ว ณ วันเดือน ๖ แรม ๗ ค่ำ เพลาค่ำเสด็จ ฯ ออก ณ พระที่นั่งอำมรินทรวินิจฉัย ท่านปลายเชือกได้เอาร่างตรานี้กราบทูลพระกรุณา ให้หลวงอนุชิตพิทักษ์อ่านทูลเกล้า ฯ ถวายจนสิ้นข้อความแล้ว ฯ ทรง ฯ โปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ให้มีไปตามร่างนี้เถิด ครั้น ณ วันเดือน ๖ แรม ๙ ค่ำ เพลาเช้า เจ้าคุณพระยาราชสุภาวดี ว่าราชการณทิมดาบตำรวจฝ่ายซ้าย ได้เอาร่างตรานี้กราบเรียนแล้ว สั่งว่าให้ปิดตราไปตามนี้เถิด เบิกด่าน เพี้ยอุปชาเมืองหนองคาย เพี้ยโคตรเมืองหนองหารกลับไป เป็นคนขึ้นไปแต่กรุง ฯ นาย ๕ ไพร่ ๙ (รวม) ๑๔ คน อยู่รักษาช้างเมืองสระบุรี นาย ๑ ไพร่ ๗ ผรวม) ๘ คน ช้าง ๒ ช้าง ปืนคาบศิลาบอก ๑ วัยจันทร์เดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ ปีระกานพศก ได้ส่งตรา ๓ ฉะบับนี้ให้เพี้ยอุปชา เพี้ยโคตร ถือไป



๑๔๔ ฉะบับที่ ๒ บันทึกจำนวนคน กรุงเทพ ฯ และหัวเมือง เกนไปทำเมืองพัตบอง พ.ศ. ๒๓๘๐

เป็นคนกองพระราชวังหลวง พลเรือนนาย ๒๙ ขุนหมื่น ๑๗๔ เป็น ๒๐๓ ไพร่หลวง ๑๓๔ ไพร่สม ๓๔๘ เป็น ๔๘๒ เป็น ๖๘๕ กองพระราชวังหลวง ทหารนาย ๑๐ ทหารขุนหมื่น ๖๓ เป็น ๗๓ ไพร่หลวง ๕ ไพร่สม ๖๔ เป็น ๖๙ เป็น ๑๔๓ (รวมเป็น ๘๒๗) กองพระราชวังบวร พลเรือนนาย ๒๙ ขุนหมื่น ๒๓๓ เป็น ๒๖๒ ไพร่หลวง.......................๑๐ ไพร่สมนอก ๒๒ เป็น ๓๒ ไพร่สม ๖๕ เป็น ๙๗ (รวมเป็น) ๓๕๙ กองพระราชวังบวร ทหาร นาย ๘ ขุนหมื่น ๔๔ ไพร่หลวงช้าง ๑ ไพร่หลวงนอก ๗ เป็น ๘ เป็น ๕๒ ไพร่สม ๔๕ เป็น ๕๓ เป็น ๑๐๕ (รวมเป็น) ๖๔๖ นาย ๑๖ ขุนหมื่น ๕๑๔ เป็น ๕๙๐ ไพร่หลวง ๑๗๙ ไพร่สม ๕๒๒ เป็น ๗๐๑ (รวมเป็น) ๑๒๙๑ จำนวนคนหัวเมือง เมืองนครราชสีมา ๒๐๐๐ เถิง ๑๖๐๐ ยัง ๔๐๐ เมืองเขมราช


๑๔๕ เมืองศรีสะเกษ ๕๐๐ เมืองเดชอุดม ๓๐๐ เมืองสุวรรณภูมิ ๑๐๐๐ เมืองยโสธร ๓๐๐ เมืองขอนแก่น ๓๐๐ เมืองร้อยเอ็จ ๕๐๐ เมืองอุบล ๕๐๐ เมืองนครนายก ไทย ๕ ลาว ๑๐๐ เป็น ๑๐๕ เมืองประจันตคาม ๒๐๐ เมืองกบินทร์ ๓๐๐ เมืองวิเชียร เมืองบัวชุม เมืองชัยบาดาล ๑๐๐ เถิง ๘๐ ยัง ๒๐ เป็น ๖๔๕๐ เมืองลพบุรี ๓ กอง นาย ๕๑ ไพร่ ๓๐๗ เป็น ๓๕๘ คลองท่อ ๒ กอง นาย ๒๔ ไพร่ ๑๐๕ เป็น ๑๒๙ อารยิก (อรัญญิก) ๓ กอง นาย ๕๑ ไพร่ ๒๘๖ เป็น ๓๓๗ เมืองนครนายก ๒ กอง นาย ๓๖ ไพร่ ๑๑๙ เป็น ๑๕๕ เมืองประจันตคาม นายไพร่ ๒๐๐ เมืองกบินทรบุรี นายไพร่ ๓๐๐ เป็น ๑๔๗๙ เป็น ๗๙๒๙ กรุงนาย ๕๙๐ ไพร่ ๗๐๑ เป็น ๑๒๙๑ หัวเมืองนายไพร่ ๗๙๒๙ รวมเป็น ๙๒๒๐ คน กองทัพพระราชวังหลวง พระราชวังบวร พลเรือนนาย ๒๗ ๑๐ ๑๔๖ ขุนหมื่น ๑๗๙ เป็น ๒๐๖ ไพร่หลวง ๑๕๙ ไพร่สม ๙๒ เป็น ๒๕๑ (รวม) ๔๕๗ กองทัพพระราชวังหลวง พระราชวังบวร ทหารนาย ๒๕ ขุนหมื่น ๑๒๗ เป็น ๑๕๒ ไพร่หลวง ๙ ไพร่สม ๑๑๐ เป็น๑๑๙ (รวม) ๒๗๑ นาย ๕๒ ขุนหมื่น ๓๐๖ เป็น ๓๕๘ ไพร่หลวง ๑๖๘ ไพร่สม ๒๐๒ เป็น ๓๗๐ (รวม) เป็น ๗๒๘ กองโคได้ยกไปขนข้าวขนเกลือ ณ เมืองกบินทร์บุรี ไปเมืองปัตบอง เป็นคนนาย ๑๕ ไพร่ ๒๐๕ เป็น ๒๒๐ คน โคต่าง ๑๕๐๐ หลัง ได้ยกไปจากเมืองสระบุรี แต่ณวันเดือนอ้าย แรม ๕ ค่ำด้วยแล้ว วันเดือน ๓ แรมค่ำหนึ่ง ให้หลวงบุรินทามาตย์คุมพระสงฆ์คุมโหร คุมพราหมณ์ และสิ่งของออกไปปัตบอง เป็นคนพราหมณ์พิธี พระครูหัสดาจารย์ ๑ พราหมณ์มีชื่อ ๘ เป็น ๙ หมอเฒ่าหลวงอินทร์ฤาไชย ๑ พราหมณ์มีชื่อ ๖ เป็น ๗ เป็น ๑๖ โหร ขุนพิชัยฤกษ์ ขุนโลกาทิตย์ ขุนพิทักษ์เทวา ขุนญาณประสิทธิ์ ๔ คน (รวม) เป็น ๒๐ คน กับคุมเอาเทียนชัยเล่มหนึ่ง เสาหลักเมืองหลัก ๑ ศิลารองลกแผ่น ๑ แผ่นเงินชตาเมืองหลัก ๑ แผ่นเงินปิดต้นเสา ๑ แผ่นเงินปิด......................๑ เป็น ๒ เป็น ๓ แผ่นทองแดงอาถรรพณ์ใหญ่ ๑ แผ่นศิลาอาถรรพณ์ใส่ป้อม ๕ แผ่นศิลาอาถรรพณ์ ๘ ทิศ ๘ รูปราชสีมาดวง ๑ รูปช้าง


๑๔๗ ดวง ๑ รูปเต่าดวง ๑ เป็น ๓

ฉะบับที่ ๓ บันทึกรายการบอกขนาดเมืองพัตบองเป็นต้น

เมืองปัตบองที่สร้าง กว้าง ๑๒ เส้น ยาว ๑๘ เส้น กำแพงสูง ๘ ศอก หน้าต้น ๒ ศอก ๑ คืบ หน้าปลาย ๒ ศอก ป้อมใหญ่มุม ๒ ป้อม ๘ เหลี่ยม ๆ ละ ๖ วา ป้อมมุม ๒ ป้อม ๗ เหลี่ยม ๆ ละ ๕ วา ๕ เหลี่ยม เข้ากัน ๔ ป้อม ๆ กลาง ๒ ป้อม ยาว ๑๐ วา เหลี่ยม ( ต้นฉะบับขาด ) .........................................คน ครั้งหลังพระยาศรีพิพัฒน์ เจ้าพระยายมราช คนกองวังหลวงทหาร นาย ๑๐๒ ไพร่ ๓๓๖ เป็น ๔๐๘ กองวังบวร พลเรือน นาย ๒๖๑ ไพร่ ๖๒ เป็น ๓๒๓ กองวังบวร ทหาร นาย ๑๓๓ ไพร่ ๑๗๓ เป็น ๓๐๖ เป็น ๖๒๙ นาย ๖๘๒ ไพร่ ๒๐๒๖ (รวมเป็น) ๒๘๙๘.................................. หัวเมืองกลาโหม เมืองราชบุรี ๖๕๗ เมืองเพ็ชรบุรี ๙๐๐ เมืองกุย ๒๔ เมืองปราณ ๒๐ เป็น ๔๔ (รวม) ๑๖๐๑ หัวเมืองกรมท่า เมืองพนัสนิคม ๑๐๐ เมืองนนทบุรี ๘๒ เป็น



๑๘๒ หัวเมืองกรุงเก่าคง ๓๕๐ คน เกน ๑๔๖ ได้ ๑๑๙ ขาด ๒๗ เถิงแล้ว ๙๗ ยังไม่เถิง ๑๑ ตาย ๑๑ เป็น ๒๒ ๑๔๘ หัวเมืองกรมมหาดไทย เมืองอ่างทองคง ๑๘๑ คน เกน ๑๐๐ ได้.................ขาด ๒๐ ตาย กรมการ ๒ คงมาบก ๓๘ คงมาเรือ ๔๐ เป็น ๗๘ เมืองสวรรค์คง ๑๓๑ เกน ๗๔ ได้ ๕๙ ขาด ๑๕ ตาย ๑ คงมาบก ๒๒ คงมาเรือ ๓๖ เป็น ๕๘ เมืองชัยนาท เกนคงเมือง ๑๕๔ เกนมอบเมืองส่วย ๗๕ เป็น ๒๒๙ คน เกนคงเมือง ๖๐ ได้ ๖๐ เกนมอบเมืองส่วย ๗๕ ได้ ๑๔ ขาด ๖๑ เป็น ๗๔ ได้ ๔๓๑ ขาด ๑๗๒ เป็น ๖๐๓ ตาย ๑ คงมาบก ๑๗ คงมาเรือ ๕๖ เป็น ๗๓ เมืองสิงห์ เกนคงเมือง ๑๒๘ เกนมอบเมืองส่วย ๓๕ เป็น ๑๖๓ คน เกนคงเมือง ๘๔ ได้ ๖๘ ขาด ๑๖ เกนมอบเมืองส่วย ๓๕ ได้ ๑๒ ขาด ๒๓ เป็น ๘๐ ตาย ๓ คงมาบก ๑๖ คงมาเรือ ๖๑ เป็น ๗๗ เมืองมโนรมคง ๔๕ เกณฑ์ ๒๘ ได้ ๒๘ คงมาบก ๑๙ คงมาเรือ ๙ ( รวมเป็น ๒๓๘๖ )

เหตุการณ์ในปีจอ พ.ศ. ๒๓๘๑

เจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) ออกไปเมืองพัตบอง สอบสวนเรื่องที่เจ้าองค์ด้วงคิดเตรียมการที่จะอพยพหนีไปเมืองพนมเป็ญเสร็จแล้ว ก็รีบจับการสร้างเมืองพัตบองจนสำเร็จเรียบร้อย รุ่งขึ้นปีจอ พ.ศ. ๒๓๘๑ เดือน ๖ เจ้าพระยา ๑๔๙ บดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) จึงกลับคืนมาเฝ้า กราบบังคมทูลชี้แจงข้อราชการณกรุงเทพพระมหานคร

ฉะบับที่ ๑ ให้เมืองฉะเชิงเทรารักษาเกวียน และกระบือของเจ้าองค์ด้วง

หนังสือพระยามหาอำมาตย์ ฯ มาเถิงหลวงยกรบัตร กรมการเมืองฉะเชิงเทรา ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่าเจ้าพระยาบดินทรเดชา ฯ ส่งบุตรภรรยาทาษชายหญิง กระบือเกวียน ขององค์ด้วงเข้ามาเถิงแขวงเมืองฉะเชิงเทรา แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้ส่งบุตรภรรยาทาษชายหญิงเข้ามาณกรุงเทพฯ ให้สิ้นแต่กระบือเกวียนของครอบครัวพวกองค์ด้วงนั้น เจ้าองค์ด้วงให้บ่าวพิทักษ์รักษาไว้ณเมืองฉะเชิงเทรานั้น ให้หลวงยกรบัตรกรมการ ตรวจตราดูแล อย่าให้โจรผู้ร้ายลักเกวียนกระบือขององค์ด้วงไปได้ และให้หลวงยกรบัตรกรมการ เร่งจัดเรือแต่งกรมการคุมบุตรภรรยาทาษชายหญิงขององค์ด้วง เข้าไปส่งณกรุงเทพพระมหานครให้สิ้นโดยเร็ว แล้วให้บอกจำนวนบุตรภรรยาทาษชายหญิง กับกระบือเกวียนของครอบครัวพวกเจ้าองค์ด้วงเข้าไปให้แจ้ง หนังสือมาณวันอังคาร เดือน ๖ แรม ๗ ค่ำ ปีจอสัมฤทธิศก


๑๕๐ ( จ.ศ. ๑๒๐๐ ) ร่างตรานี้ ท่านอนุชิตพิทักษ์มาสั่งว่า ท่านปลายเชือกสั่งให้ทำตราออกไปเมืองฉะเชิงเทรา ให้ส่งครัวองค์ด้วง แต่เกวียนกระบือให้เอาไว้ที่ฉะเชิงเทรา ทำแล้ว วันเดือน ๖ แรม ๖ ค่ำ ท่านเจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายเหนือว่าราชการอยู่ณศาลาลูกขุน ได้เอาร่างตรานี้อ่านกราบเรียนจนสิ้นข้อความ แล้วสั่งว่าให้มีไปตามร่างนี้เถิด เมื่อสั่งนั้นท่านต้นเชือก พระพิพิธเสนา นายแกว่น นายรักษ์ นั่งอยู่ด้วย ในทันใดนั้น ได้ส่งตรานี้ให้ท่านปลายเชือกรับไว้

ฉะบับที่ ๒ ตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) เรื่องให้จัดส่งเครื่องยศเจ้าองค์ด้วงไว้กับเมืองพัตบอง

หนังสือเจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่ สมุหนายก ด้วยบอกเข้าไปว่า องค์ด้วงฝากเครื่องยศไว้กับพระยาปลัดเมืองปัตบอง เป็นของลูกประคำทองคำสาย ๑ มาลายอดทองคำ ๑ แหวนทองคำประดับพลอยไพฑูรย์วง ๑ ประดับพลอยทับทิมวง ๑ เป็น ๒ วง พานทองคำ ๑ ซองพลูทองคำ ๑ ซองบุหรี่ทองคำ ๑ จอกหมากทองคำ ๒ ผะอบทองคำ ๒ ตลับสีผึ้งทองคำ ๑ คณโฑทองคำ ๑ มีดหมากด้ามทองคำ ๑ เครื่องวางสาแหรกทอง

๑๕๑ คำสาย ๑ ดาบด้ามฝักหุ้มทองคำจำหลักประดับพลอยเล่ม ๑ โต๊ะเงินใหญ่ ๑ เล็ก ๑ เป็น ๒ ใบ หอกคู่ปลอกทองคำ ๒ ปลอกเงิน ๒ ปลอกคร่ำทองคำ ๑ เป็น ๕ เล่ม ง้าวปลอกกาไหล่ทองคำเล่ม ๑ ทวนปลอกเงิน ๒ เล่ม และว่าเลกส่วยกระวานจำนวนปีระกา นพศกนี้ เดิมจะได้ส่งกระวาน ๖๕ หาบ ๓๖ ชั่ง ครั้นชำระบัญชีจำนวนป่วยไข้ตาย ๓๐ คน คงจะได้ส่งกระวานครั้งนี้ ๖๔ หาบ ๑๖ ชั่ง ขึ้นกว่าจำนวนปีวอกอัฐศก ๔ หาบ ๑๖ ชั่ง กับเงินส่วยหัวเมืองลาว ๔๐ ชั่ง ซึ่งมอบให้หลวงอภัยพิทักษ์จัดซื้อกระวานราคาหาบละ ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง เป็นกระวาน ๒๖ หาบ ๖๗ ชั่ง ๘ ตำลึง แลว่าเจ้าองค์อิ่ม พระยาปลัด กรมการจัดได้สีผึ้ง เจ้าองค์อิ่ม ๓ หาบ พระยาปลัด ๒ หาบ พระยกรบัตร ๑ หาบ พระพิทักษ์บดินทร์ ๑ หาบพระยาสังตรา พระเมือง ๑ หาบ พระนรินทรโยธา ๑ หาบ พระราชนายก พระยาภักดีบริรักษ์ ๑ หาบ พระราชรักษ์ เมืองมงคลบุรี ๑ หาบ พระยามโนไมตรีเมืองระสือ ๕๐ ชั่ง เข้ากัน ๑๑ หาบ ๕๐ ชั่ง ทูลเกล้า ฯ ถวายฉลองพระเดชพระคุณ ให้หลวงอภัยพิทักษ์จางวาง พระมนตรีนายก พระบวรนายก พระสัตรีนุชิต นายกองกระวานคุมผลกระวานส่วยจัดซื้อ คุมเครื่องยศ สีผึ้ง เข้าไปส่งนั้น ได้นำเอาหนังสือบอกกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบใต้ฝ่าละออง ฯ แล้ว ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งเจ้าองค์อิ่ม พระยาปลัด พระยกรบัตร พระยาพระเขมร คิดเถิงพระเดชพระคุณ จัดสีผึ้งทูลเกล้าฯ ถวายในการ


๑๕๒ พระบรมศพนั้น ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงานจัดแจงสีผึ้งสดับปกรณ์ ทรงพระราชอุทิศพระราชกุศล ออกมากับเจ้าองค์อิ่ม พระยาปลัด พระยกรบัตร พระยาพระเขมรด้วยแล้ว และซึ่งส่งผลกระวานส่วย ผลกระวานจัดซื้อ กับเครื่องยศองค์ด้วงเข้าไปนั้น หลวงอภัยพิทักษ์จางวาง พระมนตรีนายก พระบวรนายก พระสัตรีนุชิต นายกอง ได้คุมเอากระวานส่วย กระวานจัดซื้อ และเครื่องยศองค์ด้วง ไปส่งเจ้าพนักงานรับไว้ได้ครบจำนวนตามบอกแล้ว อนึ่งซึ่งพระยานคร เจ้าเมืองเสียมราบจัดได้ผลเร่ว ๑๕ หาบ ได้สีผึ้ง ๕ หาบ ให้นายอูมบุตรเขยคุมเข้าไปทูลเกล้า ฯ ถวายนั้น นายอูมคุมไปส่งเจ้าพนักงานชาวพระคลังชั่งได้ผลเร่ว ๑๔ หาบ ๙๑ ชั่ง ชั่งได้สีผึ้ง ๔ หาบ ๘๙ ชั่ง รับไว้แล้ว หนังสือมาณวันอังคารเดือน ๖ แรม ๗ ค่ำปีจอ สัมฤทธิศก วันเดือน ๖ แรม ๓ ค่ำ ท่านเจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายเหนือว่าราชการณศาลาลูกขุน ได้เอาร่างตรานี้อ่านกราบเรียนสั่งให้ตกแซกลงบ้าง วงกาเสียบ้าง แล้วสั่งว่าให้มีไปตามร่างนี้เถิด

ฉะบับที่ ๓ หนังสือพระยามหาอำมาตย์ถึงข้าหลวง และกรมการเมืองปราจินบุรี

หนังสือพระยามหาอำมาตย์ มาเถิงพระยาภิรมราชา ข้า

๑๕๓ หลวง จมื่นมหาสนิทกรมการเมืองปราจินบุรี ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่าหลวงอภัยพิทักษ์จางวางนายกองปลัดของส่วยกระวาน เอาผลกระวานบรรทุกเกวียน ๕๐ เล่ม เข้ามาส่ง จะเอาเกวียนกลับออกไปเปล่าเสียเที่ยวป่วยการเกวียนกระบือ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชทานเกลือกับพวกพระหลวงขุนหมื่นไพร่ข้าส่วยกองกระวาน ๖๐๐ ถัง จะได้แจกจ่ายกันรับพระราชทานเป็นกำลังราชการ ถ้าหลวงอภัยพิทักษ์จางวางออกมาเถิงเมืองปราจินแล้ว ก็ให้พระยาภิรมราชา จมื่นมหาสนิทกรมการจ่ายเกลือ ๖๐๐ ถังให้กับหลวงอภัยพิทักษ์ พระหลวงขุนหมื่นคุมออกไปเมืองปัตบองโดยเร็ว อย่าให้ค้างช้าอยู่ได้ ถ้าได้ส่งเกลือให้หลวงอภัยพิทักษ์พวกส่วยกระวาน แล้วให้บอกจำนวนเกลือเข้าไปให้แจ้ง หนังสือมาณวันพฤหัสบดีเดือน ๗ ขึ้นค่ำหนึ่งปีจอสัมฤทธิศก จำนวนคนและสิ่งของเบิกด่าน หลวงอภัยพิทักษ์ จางวางนายกองปลัดกองส่วยกระวานกลับไปเมืองปัตบอง ไปแต่กรุง ฯ เป็นพระสงฆ์ ๗ สามเณร ๕ เป็น ๑๒ รูป เป็นคนนาย ๓๕ ไพร่ เขมร ๓๓ ไพร่จีน ๕ เป็น ๓๘ (รวม) ๗๓ หญิง ๕ (รวมเป็น) ๗๘ คน ปืนคาบศิลาเดิม ๓ บอก จัดซื้อ ๑ บอก เป็น ๔ บอก ดีบุกพระราชทาน ๒ หาบ ๕๐ ชั่ง ดีบุกจัดซื้อ ๒ หาบ ๕๐ ชั่ง หล่อฐานพระพุทธรูป ๕ หาบ กะทะเหล็กใหญ่พระราชทาน ๑๐ ใบ จัดซื้อ ๑๐ ใบ เป็น ๒๐ ใบ มะพร้าว ๕๐๐ ใบ เรือ ๑๔ ลำ อยู่รักษาช้าง


๑๕๔ เกวียนณเมืองปราจิน ไพร่ ๔๓ คน ช้างพลาย ๑ พัง ๑ เป็น ๒ ช้าง เกวียน ๕๖ เล่ม กระบือ ๑๒๘ ตัว ปืนคาบศิลา ๓ บอก กับให้ขุนทนนชักลากเรือส่งให้เถิงน้ำลึก วันเดือน ๖ แรม ๑๕ ค่ำ ได้เอาจำนวนพระสงฆ์สามเณรและนายไพร่ กับรายสิ่งของเบิกด่านนี้กราบเรียนแล้ว สั่งว่าให้มีไปตามจดหมายนั้นเถิด หลวงอภัยพิทักษ์ พระมนตรีนายก พระบวรนายก อยู่ด้วย เบิกด่าน นายอูมออกไปแต่กรุงเทพ ฯ เป็นพระสงฆ์รูป ๑ เติมนาย ๘ เติมไพร่ ๑ เป็น ๙ เข้ามา ไพร่เขมร ๖ ไพร่จีน ๒ เป็น ๘ (รวมเป็น) ๑๗ คน เป็นเหล็กกล้า ๕๐ ชั่ง กะทะเหล็ก ๒ เก่า ๑๐ ใบ อยู่รักษากระบือเมืองปราจิน นาย ๒ ไพร่ ๓๘ เป็น ๔๐ คน ปืนคาบชุด ๑ เกวียน ๒๙ กระบือ ๘๙ นายบิงจะมาเอาหนังสือเบิกด่าน วันเดือน ๖ แรม ๑๕ ค่ำ ได้ส่งตราตอบเมืองปัตบอง ๑ ตราเถิงพระยาภิรมราชา จมื่นมหาสนิท ๑ เข้ากัน ๒ ฉะบับ ให้หลวงอภัยพิทักษ์จางวางกองกระวานรับไป ฉะบับที่ ๔ จำนวนครัวที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และแยกย้ายไปอยู่ตามเมืองตามใจสมัคร

จำนวนครัวท้าวเถื่อน ท้าวเหม็น ข้ามฟากมาสมัคร จ.ศ. ๑๒๐๐ ไปอยู่ต่างเมือง ครัวเป็นท้าวเถื่อน ท้าวอยู่ ณ เมืองหนองคาย

๑๕๕ ท้าว ๓ เพี้ย ๒ ภรรยา ๒ เป็น ๗ สกรรจ์ ๑๐ สำมะโนครัว ๓๖ ทาษ ๘ เป็น ๕๔ เป็น ๖๑ ครัวนายร้อยอัควงศ์อยู่เมืองหนองหาร เพี้ย ๒ ฉกรรจ์ ครัว ๒๕ เป็น ๓๓ ครัวเพี้ยนามวงศ์อยู่กับหลวงศรีมหาพรหมห้วยหลวง เพี้ย ๑ ฉกรรจ์ ๓ ครัว ๑๔ เป็น ๑๘ ครัวเพี้ยไชยอยู่เมืองไชยบุรี เพี้ย ๑ ฉกรรจ์ ๑๐ ครัว ๓๕ เป็น ๔๖ ครัวนายพ่อบุญอยู่เมืองท่าอุเทน ฉกรรจ์ ๓ ครัว ๙ เป็น ๑๒ ครัวเพี้ยศรีจันทอง เพี้ยสีหะพล เวียงจันท์พาครัวมาเมืองท่าอุเทนครั้งก่อน ๓๔ เป็น ๔๖ ครัวท้าวเหม็น เพี้ยศรีขันไชย อยู่เมืองนครพนม ท้าว ๑ แม่ยาย ๑ ภรรยา ๑ บุตร ๒ น้องภรรยา ฉกรรจ์ ๑ เป็น ๖ เพี้ย ๑ ครัว ๔ เป็น ๕ ทาษชายฉกรรจ์ ๒ ครัว ๗ เป็น ๙ เป็น ๒๐ ครัวท้าวไชยสารเมืองนคร ท้าวอุปชิต ท้าวขัติย เมืองคำเกิด เกลี่ยกล่อมได้ครั้งหลัง ๑๒๓ คน ครัวเวียงจันท์ ชรา ๓ ฉกรรจ์ ๙ ครัว ๒๒ เป็น ๓๔ เมืองนคร ฉกรรจ์ ๒ ครัว ๘ เป็น ๑๐ เดิมเมืองคำเกิด เดิมเมืองคำมวน ฉกรรจ์ ๒๐ เวียงจันท์ตีได้ไปสักเป็นเวียงจันท์ ฉกรรจ์ ๒๐ ครัว ๕๙ เป็น ๗๙ เป็น ๑๒๓ ครัวด่านฆุดี ด่านเชียงษา เกลี่ยกล่อมครัวเมืองแสนได้ฉกรรจ์ ๗ ครัว ๘ เป็น ๑๕ (รวมเป็น) ๑๓๘ (รวมทั้งหมด) ๓๖๒ คน

๑๕๖ เหตุการณ์ในปีกุน พ.ศ. ๒๓๘๒

ความปั่นป่วนในเมืองเขมรอันเนื่องมาแต่ญวนบีบคั้นดังกล่าวแล้ว ได้กระทบกระเทือนติดต่อมาถึงชาวเขมรที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของไทย มีเขมรในเมืองพัตบองเป็นต้น ต่างเกลียดชังและเจ็บแค้นญวน คอยหาช่องทางจะกำจัดญวนอยู่เสมอ ทางกรุงเทพ ฯ สั่งออกไป ให้เมืองพัตบองแต่งกองออกลาดตระเวน และสอดแนมแถบด่านเมืองโพธิสัตว์ เจ้าองค์อิ่มจึงให้พระพิทักษ์บดินทร์ (โสม) และพระนรินทรโยธา (นอง) เป็นนายกองยกไปสอดแนม อยู่ภายหลังเจ้าองค์อิ่มเอาใจออกหากจากไทย ร่วมคิดกับพรรคพวก จับกรมการหลายนายแล้วเข้าชิงค่ายและเผาเมืองพัตบอง และกวาดต้อนครัวอพยพหนีไปเมืองพนมเป็ญ ฝ่ายพระพิทักษ์บดินทร์ (โสม) พระนรินโยธา (นอง) ทราบข่าวก็รีบยกมาสะกัดจับครัวที่เจ้าองค์อิ่มกวาดต้อน ได้คืนมาเกือบหมด พระพิทักษ์บดินทร์ (โสม) พาครัวเข้าเมืองพัตบอง ส่วนพระนรินโยธา (นอง) พยายามไล่ตามจับเจ้าองค์อิ่มต่อไป แล้วรีบรายงานเหตุการณ์เข้ามายังกรุงเทพ ฯ โดยด่วน เมื่อข่าวทราบถึงใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็โปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์



๑๕๗ สิงหเสนี ) เร่งยกทัพใหญ่ออกไปโดยเร็ว เจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิงห์ สิงหเสนี ) เดินทัพไปถึงเมืองพัตบองแล้ว จัดให้นายทัพนายกองแยกย้ายไปควบคุมรักษาค่าย และด่านทางที่สำคัญโดยกวดขัน ในไม่ช้ามีกองทัพญวนยกมาถึงค่ายด่านพรหมศักดิ์ แต่ถูกกองทัพไทยขับไล่ล่าถอยกลับไปตั้งอยู่แขวงเมืองชีแครง

ฉะบับที่ ๑ ย่อความใบบอกต่าง ๆ

วันพุธเดือนอ้ายแรม ๑๔ ค่ำปีกุนเอกศก พระยาภิรมราชาบอกส่งต้นหนังสือขุนศุภมาตราเมืองปราจินรักษาปัตบอง พระวงศานุชิตยกรบัตรเมืองมงคลบุรี พระยามนตรีเสนหาเจ้าเมืองตะโนด หนังสือขุนศุภมาตราว่าณเดือนอ้ายขึ้น ๑๕ ค่ำ หลวงปลัดเมืองปราจีนออกไปตรวจค่ายเมืองระสือ ณวันเดือนอ้ายแรม ๓ ค่ำ องค์อิ่มปิดประตูเมืองจับพระยาปลัด หลวงอภัย หนังสือพระวงศานุชิต พระภักดีนุชิต กรมการเมืองมงคลบุรีว่า ณวันเดือนอ้ายแรม ๓ ค่ำ เพลา ๒ ยามเศษ ปลัดแก้วมารับมารดาบุตรภรรยา ปลัดแก้วลวงว่าญวนเขมรยกทัพมาเถิงบ้านกระพงปรักมารับองค์อิ่มกับนักมารดา พระยกรบัตร


๑๕๘ กรมการได้ยกกองทัพตามรบ ปลัดแก้วชิงเอาครอบครัวมาได้ แต่ปลัดแก้วกับนักมารดาและบุตรภรรยาหนีไปได้ ให้ขุนอาจ (และ) ไพร่ ๖๐ ปืน ๑๕ บอก ครั้นณวันแรม ๔ ค่ำเดือนอ้าย เพลาไก่ขัน หมื่นเทพหนีมาแต่เมืองปัตบองว่าองค์อิ่ม นักมารดา พระยาราชรักษ์ ปลัดแก้ว พระยาพระเขมร พวกองค์อิ่ม คิดกบฎจับพระปลัด พระราชนายก พระสมบัติ พระคลัง พระบวรนายก หลวงอภัย จำใส่ตรวนไป แล้วหมื่นเทพบอกว่า กองทัพญวนเขมรยกมาเถิงบ้านกระพงปรัก บอกมาณวันเดือนอ้ายแรม ๖ ค่ำ หนังสือพระยามนตรีเสนหากรมการเมืองตะโนดว่า แต่งให้หมื่นปราบไปสืบราชการ พบหลวงจงภักดีบ้านกงพระงามหนีมาแต่เมืองปัตบองบอกว่า ณวันเดือนอ้ายแรม ๓ ค่ำ องค์อิ่มกับพวกองค์อิ่ม คิดกบฎจับพระยาปลัดฆ่าเสียแล้ว ให้จับพระสมบัติ พระคลัง หลวงอภัยพิทักษ์ กรมการเสียสิ้น แล้วจะกวาดครัวไปเมืองพนมเป็ญ หลวงจงภักดีแลไปเห็นไฟไหม้ทั่วทั้งเมือง กับหลวงปลัด พระพิทักษ์บดินทร พระนรินทรโยธา หลวงขุนหมื่นออกไปรั้งทัพเมืองระสือ บอกมา ณวันเดือนอ้ายแรม ๖ ค่ำ หนังสือพระยาภิรมราชาว่า ได้ให้เจ้าเมือง ยกรบัตร กรมการเมืองวัฒนานครคุมไพร่ ๓๐๐ ปืนคาบศิลา ๑๐๐ (บอก) ยกไป



๑๕๙ ณวันเดือนอ้ายแรม ๙ ค่ำ พระยาภิรมราชา พระกำแหงมหิมา กรมการ คุมไพร่ เมืองกบินทร์ ๓๐๐ เมืองประจันตคาม ๓๐๐ (รวม) ๖๐๐ ปืนคาบศิลา ๒๐๐ (บอก) ยกไปณวันเดือนอ้ายแรม ๑๐ ค่ำ กับมีหนังสือไปเถิงข้าหลวงกรมการเมืองปัตบอง เจ้าเมืองเสียมราบ หลวงยกรบัตร กรมการ เมืองมงคลบุรี ว่าพระยาภิรมจะยกกองทัพ ๑๐๐๐ เศษ ออกมาให้เถิงเมืองปัตบอง ณวันเดือนยี่ขึ้น ๑ ค่ำ ให้ข้าหลวง เจ้าเมือง กรมการ เมืองปัตบอง เมืองนครเสียมราบ เมืองมงคลบุรี จัดหลวงขุนหมื่นติดตามองค์อิ่มทางบกทางน้ำ จับตัวองค์อิ่มอย่าให้หลบหนีไปได้ กับให้ลาดตระเวนรักษาด่านทางสืบราชการ กำชับกำชาอย่าให้ครอบครัวสะดุ้งสะเทือน กับมีหนังสือให้พระยาปราจินยกตามออกไป นายเทษหมื่นรามถือบอกมาณวันเดือนอ้ายแรม ๙ ค่ำ หมื่นราม นายเทษ มาจากเมืองปัตบองณวันเดือนอ้าย แรม ๓ ค่ำเพลาบ่าย ๓ โมงเศษ นายเทษมาเถิงเมืองมงคลบุรี วันเดือนอ้ายแรม ๓ ค่ำเพลาใกล้รุ่ง มาจากเมืองมงคลบุรีวันเดือนอ้ายแรม ๔ ค่ำ เพลา ๒ ยาม หมื่นรามว่าคนออกไปรักษาเมืองปัต บอง คนเมืองปราจิน หลวงปลัด ขุนรองปลัด ไพร่ไทย ๑๐ คนเมืองกบินทร์ ขุนชนะไพริน ขุนหมื่น ไพร่ ๕๐ คนเมืองประจันตคาม ขุนจำนง ขุนหมื่น ไพร่ ๖๐ คนเมืองวัฒนานคร แสนโยธา เพี้ยวงศา

๑๖๐ คำเภา ไพร่ ๘๐ (เป็น) ๑๙๐ (รวม) ๒๐๐ คน แบ่งไปรักษาเมืองนครเสียมราบ ขุนรองปลัดไพร่ ๓๐ รักษาเมืองระสือ ขุนหมื่นไพร่ ๒๐ (รวม) ๕๐ ตรวจด่านด้วยหลวงปลัดไพร่ ๔๕ (รวม) ๙๕ คน ยังอยู่เมืองปัตบอง ขุนหมื่นกรมการ ไพร่ ๑๐๕ คน หมื่นรามมาจากเมืองปัตบองวันเดือนอ้ายแรม ๓ ค่ำ เถิง กรุง ฯ วันเดือนอ้ายแรม ๑๑ ค่ำ วันเดือนอ้ายแรม ๑๑ ค่ำ เพลาค่ำหลวงกำจรใจราช ถือหนังสือบอกระยาภิรมราชา พระยาปราจินพาตัวนายนุมบุตรพระยาวิเศษสุนทรเข้ามาว่า พระยาภิรมแต่งให้นายนุมออกไปสืบราชการเมืองปัตบอง ณ วันเดือน อ้ายแรม ๓ ค่ำ นายนุมกลับมาแจ้งว่า ณ วันเดือนอ้ายแรม ๓ ค่ำ เพลาเช้าองค์อิ่มให้ปลัดแก้ว กับรามโยธาฝรั่ง จับพระยาปลัด หลวงอภัย จำโซ่ตรวนเอาตัวไปไว้ในเรือนญวน แต่สมบัติพระคลังคุมไว้ในกำแพง เพลาบ่าย ๓ โมง ผู้ช่วยหนีออกจากเมืองปัตบอง พระยาปราจินจะยกไปวันเดือนอ้ายแรม ๑๑ ค่ำ คน ๒๐๐ คำนายมุนว่าพระยกรบัตรไปรักษาค่ายที่ประเดทางไกล ๓๐๐ พระภักดีบริรักษ์ทำโรงพักแขวงมงคลบุรี พระนาราชนายก หลวงแพ่งไปทำโรงพักทางเมืองตะโนด พระยากระสัตรา พระบวรนายก พระเมือง พระวัง หาทราบว่าไปอยู่ที่ไหนไม่ พระยาภิรมราชา พระยาปราจิน บอกเข้ามาว่า ณ วันเดือน


๑๖๑ อ้ายแรม ๘ ขุนพลพิทักษ์คุมโคต่าง ๑๐๐๐ ตัว ได้จ่ายเกลือ ๒๐ ได้ยกออกจากเมืองปราจินณวันเดือนอ้ายแรม ๑๐ ค่ำ วันเดือนอ้ายแรม ๑๓ ค่ำ ปีกุนเอกศก หลวงศรเสนาถือหนังสือบอก หลวงปลัดปราจิน หลวงสำรวจโคราช พระพิทักษ์บดินทร์ พระนรินทรโยธา เข้ามาณวันเดือนอ้ายแรม ๔ ค่ำ เพลาบ่าย ๒ โมงเศษ เขมรหนีไป บอกว่าวันเดือนอ้ายแรม ๓ ค่ำเพลาเช้า องค์อิ่มจับพระยาปลัด พระยาพระเขมร แล้วไล่ครัวไปทางค่ายทิปเด ทางนนทรี ทางกระพง พระพิทักษ์บดินทร์ข้าหลวงกรมการคุมคน ๔๐๐ ยกมาสะกัดครัว แต่งกันออกไล่สะกัดครัวได้มาทั้ง ๓ ทาง ฆ่าพวกองค์อิ่มตาย ๓๐ คน ไล่ครัวกลับมาบ้านเมืองสิ้น ณวันเดือนอ้ายแรม๕ ค่ำเพลาพรบ ได้จัดให้พระนรินทรพระพลคุมไพร่ ๒๐๐ เรือขมวดณายาว ๘ วา ๙ วา ๑๐ ลำ ไปตามจับองค์อิ่มแล้ว ได้เกนคน ๘๐๐ คนเข้ารักษาเมืองปัตบองกับจับได้สลาเมียดกับบ่าว ๙ คน พวกองค์อิ่มชิงค่ายเผาเมืองมาฆ่าเสียทั้ง ๑๐ คน กับว่าองค์อิ่มจับจำไป พระยาปลัด พระยกรบัตร พระยากระสัตรา พระบวรนายก หลวงอภัยพิทักษ์ หลวงภักดีชุมพลบุตรเขยปลัด หลวงเสนหาพิมลรองกระสัตรา สมบัติพระคลัง หมื่นภักดีบุตรสมบัติพระคลัง พระอรัญภักดี พระราชานุชิตน้องเจ้าพระยาโคราชจับภรรยาไป ภรรยาพระนรินทรโยธา ๑ พระพล นายแก้วบุตร พระยาปลัด พระยาราชนายก (รวม) ๔ จับตรัวไปด้วย ครัว ๑๑

๑๖๒ พระยาปลัด พระยกรบัตร พระยากระสัตรา พระบวรนายก หลวงอภัยพิทักษ์ หลวงเสนหาพิมล พระสมบัติพระคลัง หลวงภักดีจุมพล หมื่นภักดี (รวม) ๙ บุตรภรรยาหนีได้ ภรรยาพระมนตรีนายก ภรรยาพระราชานุชิต ภรรยาพระอรัญภักดี (รวม) ๓ บุตรสมบัติพระคลัง นายสิน นายเมียก นายฉิม (รวม) ๓ บุตรพระยกรบัตร นายสวก ๑ (รวม) ๔ จำนวนปืนกระสุน ปืนใหญ่คงอยู่พร้อม ปืนคาบศิลาที่ค่ายคง ๑๕๐ ฯ ข้า ฯ รักษา ๒๓๕ บอก หาย ๘๑ (บอก) ดินดำ ๔ บาท กระสุน ๑๗๐๐ เศษ ศิลาปากนก ๑๐๐ คงอยู่ปืนคาบศิลาในเมืองปัตบองกรมการกรัษา ปืนชำรุดใช้ไม่ได้ ๑๐๐ ปืนใช้ได้ ๑๐๐ เศษ ดินดำ ๑๔๐ หีบ กระสุนศิลามีน้อย เกลือมีน้อย บอกมา ณ วันเดือนอ้ายแรม ๗ ค่ำ วันอังคารเดือนยี่ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีกุนเอกศกขุนสารวัด เมืองนครนายกถือบอกเมืองนครเสียมราบบอกพระยาภิรมราชา เข้ามาแจ้งราชการ ใบบอกพระยานครเสียมราบว่า ณ วันเดือนอ้าย แรม ๕ ค่ำ พระยามโนเสิฏนายด่านมักษ์บอกหนังสือมาว่า องค์อิ่มกบฏจับพระยาปลัด พระยาพระเขมร ไล่ครอบครัวไปทางบกทางเรือเป็นอันมาก องค์อิ่มพระยาพระเขมรไล่ครัวมาเถิงด่านมักษ์วันเดือนอ้ายแรม ๔ ค่ำ เพลา ๒ ยามเศษ แล้วพระนครบาล จีนมีชื่อหนีไปจากเมืองปัตบองบอกว่า องค์อิ่มจับพระยาพระเขมรไปพระยานครเสียมราบได้ให้พระหลวงออกสะกัด

๑๖๓ ทางด่านมักษ์หาทันองค์อิ่มไม่ ได้จัดแจงรักษาด่านทาง และมีหนังสือไปเถิงเมืองป่าดงให้ยกมาช่วย บอกมาวันเดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ บอกพระยาภิรมราชาว่า ยกไปเถิงอ่างศิลา วันเดือนอ้ายแรม ๑๑ ค่ำ พบชาวด่านส่งต้นหนังสือหลวงภักดีนครปลัดซ้ายเมืองอรัญมาว่า ได้จัดให้หมื่นรองสุภา หมื่นสถาน ไพร่ ๒๐ คน เข้ากองพระยาสังคโลก ไปสืบราชการเมืองปัตบอง ณ วันเดือนอ้ายแรม ๗ ค่ำ พบหลวงปลัดเมืองปราจิน พระพิทักษ์บดินทร์ไล่ครัวทางบก ซึ่งพากันหนีระส่ำระสายเข้าไว้ในเมืองปัตบอง ๘๐๐ คน ๙๐๐ คน กับว่าพระนรินทรโยธาตามครัวต่อไป กับว่าหลวงปลัดซ้ายได้เกนคน ๑๐๐ ให้หลวงยกรบัตรคุมไปช่วยราชการ ได้ยกไปเถิงเมืองปัตบองแต่ ณ วันเดือนอ้ายแรม ๘ ค่ำแล้ว บอกมา ณ วันเดือนอ้าย แรม ๑๑ ค่ำ ปีกุน เถิงกรุงวันเดือนยี่ ขึ้น ๓ ค่ำ วัน เดือนยี่ขึ้น ๖ ค่ำปีกุนเอกศก จมื่นชัยภูษา ขุนรักษ์โยธา เมืองวัฒนานคร ถือบอกหลวงปลัดเมืองปราจิน พระพิทักษ์บดินทร์ พระนรินทรโยธา เข้ามาว่า พระนรินทรโยธาไปตามองค์อิ่มเถิงด่านมักษ์หาทันองค์อิ่มไม่ แต่ด่านมักษ์ไปเถิงแดนต่อแดนทางวันหนึ่ง พบแต่เรือครัวหนีอยู่ในป่าระนามได้กลับมาบ้าง หนีแยกทางไปเมืองนครเสียมราบบ้าง พระนรินทร พระพล ได้กวาดต้อนครัวตามป่าระนาม พระ นรินทรโยธา พระพลกลับมา


๑๖๔ เถิงเมืองปัตบอง ณ วันเดือนอ้าย แรม ๗ ค่ำ บอกมา ณ วันเดือนอ้ายแรม ๙ ค่ำ กับมีจดหมายมาว่า องค์อิ่มจับพระยาพระเขมรจำตรวนไปพระยาปลัด พระยกรบัตร พระบวรนายก หลวงอภัย (รวม) ๔ พระราชานุชิต พระเสนหาพิมล พระเพชรสงคราม หมื่นภักดี หมื่นเสียบุตรเขย หมื่นวิเศษ หลวงภักดีชาพล หมื่นชำนิกมาตหลาน พระมนตรีนายก พระยาปลัด นายโสมบุตรเขยพระพิทักษ์บดินทร์ หมื่นมาบุตรพระยกรบัตร หลวงชิดนายก เข้ากัน ๑๖ ไม่ได้จำเอาตัวไป พระสมบัติพระคลัง พระภักดีบริรักษ์ พระยากระสัตราธิบดี พระมนตรีไชยัน พระพิพิธ หลวงสุภา พระยาโกษา โสม นอกราชการ พระยานราธิราช ๑๑ (รวม) ๒๗ ไลครัวเขมร หลวงมนตรีนุชิต หลวงวันษาสัตรี หมื่นชำนิกภักดี (รวม) ๓ ครัวฝรั่ง หลวงรามโยธา หลวงปลัดตวน เจ้ากรมมด(รวม) ๓ (รวม) ๖ คน ใบบอกเจ้าคุณว่า ได้ให้พระพรหมบริรักษ์ คุมคนกรุง ๔๔ เมืองกบินทร์ ๒๑๓ เมืองประจันตคาม ๒๔๖ เมืองวัฒนานคร ๒๐๐ (รวม) ๗๐๓ คน จะได้ยกจากปราจิน ณ วันเดือนยี่ขึ้น ๕ ค่ำ ให้ไปรักษาเมืองระสือ เจ้าพระยาบดินทรเดชาจะได้ยกจากเมืองกบินทร์ ณ วันเดือนยี่ ขึ้น ๗ ค่ำ กับว่าพระยานครเสียมราบ ให้พระองค์แก้วคุมคนเมืองเสียมราบ ๓๐๐ คน ไปรักษาเมืองปัตบอง แต่ ณ วัน


๑๖๕ เดือนอ้าย แรม ๘ ค่ำ กับเมืองเสียมราบจับอ้ายแกวอ้ายศาเขมรเมืองชีแกรงได้ส่งเข้ามา และบอกส่งต้นหนังสือบอกเมืองขุขันธ์ เมืองนครเสียมราบ คำให้การอ้ายแกวอ้ายศาเมืองซีแกรง คำให้การรามเสนานายตน เมืองเสียมราบบอกมา ณ วันเดือนยี่ขึ้น ๔ ค่ำ ใบบอกพระยานครเสียมราบว่า ให้พระองค์แก้วคุมไพร่ ๓๐๐ คนไปรักษาเมืองปัตบอง ณ วันเดือนอ้าย แรม ๘ ค่ำ แล้วได้เกนคน พรหมศักดิ์ ๑๐๐ จงกัน ๑๕๐ สวายจิต ๑๐๐ (รวม) ๓๕๐ คนยกไปเข้ากองพระองค์แก้ว กับได้ให้พระมหาดไทย พระภักดีเสนหา คุมไพร่ ๒๐๐ คนออกไปไล่ครัวด่านมักษ์ ให้ขึ้นมาเมืองเสียมราบ พระยาเสนาราชกุเชนทร์ ไพร่ ๒๐๐ รักษาด่านพรหมศักดิ์ หลวงเสนานุชิต หลวงพลไพร่ ๕๐๐ รักษาด่านพรหมศักดิ์ได้แต่งไปสืบกลับมาแจ้งความว่า เมืองกระพงสวาย องภูไพร่ญวน ๕๐๐ เมืองสะโทงองเซิงส่งไพร่ญวน ๔๐๐ เมืองชีแกรง องภอลันบินไพร่ญวน ๓๐๐ อยู่รักษาทั่ว ราชการสงบอยู่ บอกมา ณวันเดือนอ้าย แรม ๙ ค่ำ ปีกุน คำรามเสนา นายตน ให้การว่า ไปสืบราชการพบสนองศุกชานิกตน บอกว่า ณ เดือน ๗ ปีกุน องเตียนกุญซึ่งรักษาเมืองพนมเป็ญ เกนให้เมืองโพธิสัตว์ เมืองลวดปะเวิบ เมืองบริบูรณ์ เมืองตรวง ตัดไม้ต่อเรือซึ่งชำรุด เป็นไม้กระานเมืองโพธิสัตว์ ๔๐ แผ่น สนองศุกชานิกตน ลากไม้ไปส่งองเตียนกุญ ณ เมืองพนมเป็ญ เห็นญวน ๔๐๐ คน ญวนลากเรือชำรุดออกทำซ่อม


๑๖๖ แซม ๑๕ ลำ เห็นญวนหล่อปืนกระสุน ๖ นิ้ว ๗ นิ้ว ๘ บอก ๒ นิ้ว ๓ นิ้ว ๙๐ บอก ๕ นิ้ว ๖ นิ้ว ๑๐ บอก (รวม) ๑๐๘ บอกครัวจีนอยู่เมืองพนมเป็ญ องเตียนกุญให้ไปอยู่ที่พระบาท กับว่าพระยาจักรีเขมรป่วยตาย องเตียนกุญ ให้ฟ้าทะละหะว่าราชการสิทธิ์ขาดกับเกนให้พระยามหาเสนา พระยาสังคโลก ไพร่เขมร ๑๕๐๐ ไพร่ญวน ๑๐๐๐ รักษาเมืองโพธิสัตว์ องอานภูให้ญวนทำนา ๕๐๐ ไร่ เกนทำรางปืนบ้าง คำให้การนายสุกว่า ภอญีนเมืองชีแกรงใช้ให้นายสุกกับนายจันมาหานายศรี อำแดงหอม นายศรีพามาหาพระยาเสนาราชกุ-เชนทร์ยังหาเถิงไม่ ชาวด่านจับเอาตัว นายศุก นายแกวได้ แต่ อ้ายจันหนีไปไ ด้ คำอ้ายศุกว่า ภอญีนให้มาหาพระยาเสนาราชกุเชนว่าองค์เตียนกุญจะเอาองค์มีส่งไปเมืองเว เขมรไม่ยอมเกิดรบพุ่งขึ้น ก็จะพึ่งพระยาเสนาราชกุเชน ราชการเมืองพนมเป็ญ วันเดือน ๑๑ ขึ้นค่ำหนึ่ง ฟ้าทะละหะให้หาพระยาเดโช เมืองกระพงสวาย เมืองแตบ เมืองชีแกรง ไปเมืองพนมเป็ญ จะตั้งพระยาเดโชเป็นที่พระยาจักรี เมืองแตบเป็นที่พระยาหาบูรเทพนายด่าน พระยาเดโชเมืองแตบกลับมาว่าเมืองพนมเป็ญวุ่นวาย เจ้าเวียดนามมีหนังสือมาเถิงองเตียนกุญ ให้ส่งตัวองค์มีไปเมืองเว้ เขมรไม่ยอม ฟ้าทะละหะให้พระยาเดโชออกมาจัดผู้คนเตรียมไว้ ถ้ายอมจะเอาองค์มีไปจริง ก็ให้กำเริบฆ่าญวนเสีย ฟ้าทะละหะให้พระยาเดโชแต่งคนมาสืบ ณ เมืองเสียมราบ ข่าวลือไป


๑๖๗ ว่า สนองอีพระยาพระเขมรสามิภักดิ์เข้ามา กรุง ฯ จะยกกองทัพไปทำกับญวน ภอญีนให้มาสืบดู ถ้าสู้รบญวนมิได้ จะได้พาครอบครัวเข้ามาหาพระยาเสนาราชกุเชนทร์ ญวนรักษาเมืองกระพงสวาย ๕๐๐ คน องภอลันบินไพร่ญวน ๓๐๐ รักษาเมืองชีแกรง เมืองสะโทง องเชียงสูงไพร่ญวน ๔๐๐ ญวนทำค่ายลูกหนึ่งยาวเส้น ๑๐ วาจัตุรัส สูง ๗ ศอก ทำด้วยไม้จริง ยกเชิงเทินสูง ๔ สอก แล้ว ๓ ด้าน ยังด้านหนึ่ง วันเดือนยี่ แรมค่ำหนึ่ง ปีกุนเอกศก หมื่นจบเมืองนครนายก ถือบอกเจ้าคุณผู้ใหญ่ พระยาภิรม พระยาครเสียมราบ หลวงรักษาเทพ พระยากุขัน กรมการ เข้ามา ๕ ฉะบับ บอกเจ้าคุณว่า ยกไปเถิงพรมโหฏ วันเดือนยี่ ขึ้น ๑๐ ค่ำ พระยาภิรม พระยาปราจิน บอกมาว่า พระยานครเสียมราบบอกมาว่า พระยาเสนาราชกุเชนทร์ แต่งให้นายทิดกับไพร่ ๓ คน ไปสืบราชการเถิงหนองบัวแขวงชีแกรง พบนายรดนายเมียวเมืองชีแกรงมาตระเวนบอกความว่า องกายดกญวนรักษาเมืองชีแกรง ไพร่ญวนไพร่เขมร ๑๐๐๐ คนจะยกมาเมืองเสียมราบ เจ้าเมืองชีแกรงกับจันทิกคุมไพร่เขมร ๒๐๐ คนยกมาก่อน ตั้งอยู่ที่ศาลาหายกำโอง ไกลกันกับกองทัพเมืองเสียมราบทาง ๒๐๐ เส้นเศษ พระยานครเสียมราบได้ให้ยกรบัตรให้มหาดไทย คุมคน ๔๐๐ คนออกไปรักษาด่านพรหมศักดิ์ วันเดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ บอกไปเมืองปัตบองวันเดือนยี่ ขึ้น ๓ ค่ำ


๑๖๘ ฉะบับ ๑ พระยาภิรมราชา พระยาปราจิน บอกมาว่า ณ วันเดือนยี่ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีกุนเอกศก เพลาเช้า หลวงสำราจข้าหลวงพระยามโนไมตรีกรมการเมืองระสือ ให้หลวงวิเศษถือบอก พาตัวหมื่นเชต นายรด เข้ามาเมืองปัตบองใจความว่า ไปลาดตระเวนพบ หมื่นเชต นายรด หนีกลับมาทางตะวันออก หมื่นเชต นายรด ให้การว่า อยู่บ้านประกาษแขวงเมืองเสียมราบเอาน้ำรักมาขาย ณ เมืองปัตบอง ณ วันเดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ พบองค์อิ่มที่เลียวสมเพลิง อ้ายมหาธิราชพวกองค์อิ่มจับเอาตัวนายเชต นายรดไปเถิงปากน้ำโพธิสัตว์ ตามคลองเข้าไปเถิงท่าปากพะเติง ญวน เขมร ๕๐๐ คน คุมครัวอยู่ที่ปากน้ำพะเติง พวกญวนพวกเขมรประมาณ ๓๐ คน พาเอาตัวองค์อิ่มกับพวกองค์อิ่มประมาณ ๒๐ คน ไปเมืองโพธิสัตว์ แต่พระยาปลัด พระบวรนายก หลวงอภัย ญวนจำตรวนกุมตัวไว้ในเรือพวกญวน แต่พระยาพระเขมรออกไปด้วยองค์อิ่มกับนักมารดา อยู่ในเรือพวกครัว ๆ ไปเถิงเปรียมสะติมเรือครัวล่ม ๓ ลำ คนตายบ้างขึ้นได้บ้าง ญวนเก็บเอาเครื่องสาตราวุธของพวกองค์อิ่มกับพวกครัวรวมไว้ รุ่งขึ้น ณ วันเดือนอ้าย แรม ๘ ค่ำ หมื่นเชต นายรด ขึ้นบกพาเล็ดลอดหนีมา ๗ คืนเถิงเมืองระสือ ขุนแสนณรงค์ขุนมโนสงคราม ถือหนังสือบอกเข้ามา ณ วันเดือนยี่ ขึ้น ๗ ค่ำ หลวงรักษาเทพ หลวงหัศนัยน์ณรงค์คุมกองทัพ เมืองขุขันธ์ ๑๕๐๐ เมืองสังคะ ๕๐๐ เมืองสุรินทร์ ๑๐๐๐ เมืองศรีสะ


๑๖๙ เกศ ๑๐๐๐ เมืองเดชอุดม ๓๐๐ (รวม) ๔๓๐๐ คน ได้ยกไปเมืองเสียมราบ วันเดือนยี่ ขึ้นค่ำหนึ่ง ได้ไปแต่ ๕๐๐ คน จมื่นชัยภูษา ให้หมื่นกำจายถือบอกพระยาภิรมราชเข้ามาเถิงกรุง ฯ วันเดือนยี่แรม ๑๒ ค่ำ ใจความว่า พระยามโนไมตรีแต่งให้พระยาภักดีคชศักดิ์ ไพร่ ๕๐ คน ไปลาดตระเวนพบครัวบ้านกะสามุด บ้านแสลงดง ๒๐๐ คน ครัวตีหนีกลับมาพระยามโนไมตรีเกนให้หลวงวิเศษโคราช หลวงเสนาธิบดีคุมไพร่ไทยไพร่เขมร ๒๐๐ คน ยกไปเถิงบ้านตุมเลง ได้สู้รบกันกับครัว ยิงถูกขุนทิพมนตรีที่หลังเท้าแห่งหนึ่ง กลับเข้ามาบอกพระพิทักษ์บดินทร์ พระนรินทรโยธา ๆ จึงเกนคน ๓๐ ม้าเร็ว ๓๐ ม้า กับจัดคนเพิ่มเติมไปอีก ๑๐๐ คน ยกไปวันเดือนอ้าย แรม ๑๐ ค่ำ ม้าเร็วกลับมาว่าครัวข้ามคลองกระพงปรักหนีไป แต่ ณ วันเดือนอ้าย แรม ๘ ค่ำ บอกมา ณ วันเดือนยี่ขึ้น ๕ ค่ำ คนอยู่ที่เมืองเสียมราบ ๑๐๐ กระพงธมเสนาราชกุเชนทร์ ๓๐ กองทัพ ๑๐๐ (รวม) ๒๓๐ เสียมราบ ๕๐ พรหมศักดิ์เสนาราชกุเชนทร์ ๒๐ กองทัพ ๕๐ (รวม) ๑๒๐ (รวม) ๓๕๐ คน เจ้าพระยาบดินทรเดชา ฯ บอกเข้ามาว่า ยกไปเถิงเมืองปัตบอง ณ วันเดือนยี่ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ได้จัดให้พระพรหมบริรักษ์ พระรามรณงค์ คุมคน ๑๐๔๔ คน ไปรักษาค่ายระสือ พระพิเรนทรเทพ พระพรหมสุรินทร์ คุมคน ๘๐๐ คน ไปรักษาค่ายกระพงพระ พระยาราชนิกูล พระยาอภัยสงคราม คุมคน ๑๕๐๐ คนไปรักษา


๑๗๐ เมืองนครเสียมราบ ณ วันเดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ เพลาบ่าย ๒ โมง ญวน เขมรยกกองทัพมา ๑๐๐๐ เศษ เข้ามาเถิงด่านพรหมศักดิ์ ได้รบพุ่งกับญวนเขมรล่าถอยไปตั้งอยู่ห้วยคำโอง แขวงเมืองชีแกรง แล้วได้จัดให้กองทัพกลับไปบ้านเมือง เมืองนครราชสีมา ๑๕๐๐ เมืองกุขัน ๑๕๐๐ เมืองสุรินทร์ ๖๐๐ เมืองสังฆะ ๔๐๐ เมืองศรีสะเกศ ๖๐๐ เมืองเดชอุดม ๒๐๐ (รวม) ๔๘๐๐ คน คงอยู่เมืองปัตบอง เมืองระสือ กรุงเทพ ฯ ๑๓๗๐ กองร่อนทอง ๑๖๒๗ เมืองกบินทร์ เมืองวัฒนานคร เมืองประจันตคาม(รวม) ๑๐๐ (รวม) ๓๗๙๗ เมืองเสียมราบ กรุงเทพ ฯ ๕๐๐ เมืองสุรินทร์ ๔๐๐ เมืองสังฆะ ๑๐๐ เมืองศรีสเกศ ๔๐๐ เมืองเดชอุดม ๑๐๐ (รวม) นายไพร่ ๑๕๐๐ (รวม) ๕๒๙๗ คน บอกมาจากปัตบอง ณ วันเดือนยี่ แรม ๑๔ ค่ำ มาเถิงกรุง ฯ ณ วันเดือน ๓ แรวม ๑๔ ค่ำ ปีกุนเอกศก พระยาภิรมราชาถือมา เถิงเวนนายรัก อ้ายมัน อ้ายจาบ อ้ายกุย บ้าวกรมการเมืองปัตบอง ๓ อ้ายหิงทาษจีนเทียนเมืองปัตบอง ๑ (รวม) ๔ คน เจ้าพระยาบดินทรเดชา ฯ ให้หลวงศรีสรลักษณ์ ให้นายฉลองไนยนาถ นอกราชการ ถือหนังสือบอกด้วยข้อราชการ ๑ ชำระฝิ่น ๑ ส่งฝรั่งเมืองปัตบอง ๑ (รวม) ๓ ต้นหนังสือ พระยาราชนิกูล พระยาอภัยสงคราม ชำระฝิ่น ๑ (รวม) ๔ คำให้การ พระพิพิธ หมื่นชำนาญ เขมร ๗ คนมาตัดมาดส่งพระอินทรเดช เขมรครัวเมืองปัตบองหนีกลับมา จีนตั้ง................


๑๗๑ มีชื่อซื้อฝิ่นขายฝิ่น (รวม) ๕ (รวม) ๙ ฉะบับ บอกมาจากเมืองปัตบองวันเดือน ๓ แรวม ๖ ค่ำ มาเถิงกรุง ฯ วันเดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ กับว่ากองเมืองปัตบองกลับเข้ามา ลาวท่าทราน ๘๖๐ คงอยู่คนกรุง ๑๘๐๐ หัวเมือง ๑๖๐๐ (รวม) ๓๔๐๐ (รวม) ๔๒๖๐ ค่ายระสือกลับเข้ามาเก่า เมืองปราจิม ๑๐๐ เมืองกบินทร์ ๒๐๐ เมืองประจันตคาม ๒๐๐ เมืองวัฒนานคร ๑๐๐ (รวม) ๖๐๐ กลับเข้ามาใหม่เมืองปราจิน ๓๐ เมืองกบินทร์ ๑๕๐ เมืองประจันตคาม ๑๗๒ เมืองวัฒนา ๒๓๐ เมืองอรัญ ๗๐ (รวม) ๖๒๕ (รวม) ๑๒๒๕ อยู่รักษาค่าย พระรามณรงค์ พระคำแหงมหิมา หลวงบริบูรณ์ (รวม) ๒๕ เมืองกบินทร์ ๑๕๐ เมืองประจันตคาม ๑๒๗ เมืองวัฒนา ๑๒๗ หลวงคำรากโคราช ๓๒๕ (รวม) ๗๕๔ (รวม) ๑๙๗๙ เมืองเสียมราบ กลับไปบ้านเมือง เมืองโคราช ๑๕๐๐ เมืองกุขัน ๑๕๐๐ เมืองสุรินทร์ ๖๐๐ เมืองสังฆะ ๔๐๐ เมืองศรีสะเกศ ๖๐๐ เมืองเดชอุดม ๒๐๐ (รวม) ๔๘๐๐ คงอยู่ คนกรุง ๕๖๐ หัวเมือง เ มืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองศรีสะเกศ เมืองเดชอุดม (รวม) ๑๐๐๐ (รวม) ๑๕๖๐ (รวม) ๖๓๖๐ กลับมา ๖๘๘๕ อยู่กรุง ๒๓๖๐ อยู่หัวเมือง ๓๓๕๔ (รวม) ๕๗๑๔ (รวมทั้งสิ้น) ๑๒๕๙๙ เจ้าพระยาบดินทรเดชา ฯ บอกว่าได้ชำระเลกส่วยกระวาน ๕ กองเป็นคนเดิม ๑๖๕๘ กระวาน ๖๖ หาบ ๓๒ ชั่ง จำหน่ายตายชราตายพิการ ๘๖ คน กระวาน ๓ หาบ ๔๔ ชั่ง องค์อิ่มกวาด


๑๗๒ ไป ๒๓๖ คน กระวาน ๙ หาบ ๔๔ ชั่ง (รวม) ๓๒๒ คน กระวาน ๑๒ หาบ ๘๘ ชั่ง คง ๑๓๓๖ คน กระวาน ๕๓ หาบ ๔๔ ชั่ง ชำระได้ลูกหมู่ขึ้น ๒๐ กระวาน ๘๐ ชั่ง ๔๐ คน เลกพระยาพระเขมรสมัครมาเป็นส่วย ๒๐ กระวาน ๘๐ ชั่ง กระวาน ๑ หาบ ๖๐ ชั่ง(รวม) ๑๓๗๖ คน กระวาน ๕๕ หาบ ๔ ชั่ง ส่งกระวานส่วย ๕๒ หาบ ๖๘ ชั่ง จัดซื้อ ๗ หาบ ๔๗ ชั่ง ๖๐ หาบ ๑๕ ชั่ง ให้พระพลว่าที่พระยกรบัตร ให้หลวงอนุรักษ์ ผู้ช่วยคุมมา กับจัดให้ นายบุญนายคงบุตรพระมนตรีนายกเป็นพระมนตรีนายก หลวงทิพโยธาเป็นพระบวรนายก หลวงอินทโกษาเป็นพระอรัญภักดี หลวงภักดีสนิทเป็นพระเสนานุชิต หลวงวงษากริริยปลัดกองพระมนตรีนุชิตคนเก่า บอกมา ณ วันเดือน ๔ แรม ๒ ค่ำ กรุงเทพ ฯ วันเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ เจ้าพระยาบดินทรเดชา ฯ บอกเข้ามาว่า พระไกรษรราชาสงคราม หลวงษรโช ไปตามช้างเถิงด่านกระพงฉะนาพบมนตรีเสนหาเจ้าเมืองจรด ภอพลเจ้าเมืองตะแบง หาให้ตามเข้าไปไม่ ว่าจะสืบช้างให้ ๔ วันจะให้รู้ข่าว พระไกรศรราชาสงครามพากันกลับมาอยู่บ้านพระเมมายังไม่ทันหยุด เจ้าเมืองจรด เจ้าเมืองตะแบง คุมไพร่ ๗๐๐ คนตามมาตี ได้สู้รบกัน พระไกรศรราชาสงครามพากันถอยมาตั้งอบู่บ้านตรวจ พระแก้วมนตรียกรบัตรให้หมื่นชำนิวงศาไปสืบ ณ วันเดือน ๖ แรม ๔ ค่ำ หลวงภักดีณรงค์ พระเสนากุเชนทร์ บอกมาว่า อ้ายเสนาจรด อ้ายออกญาโช


๑๗๓ อ้ายบวรสงคราม ไพร่ ๒๐๐ คน ตั้งอยู่บ้านโพพระเม จึงให้หลวง.......................ส่งต้นหนังสือหลวงอภัยภูเบศ.................ว่าด้วยครอบครัวพระยาภักดีเดโช บอกมาจากเมืองปัตบองวันเดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ เถิงกรุงเทพฯ วันเดือน ๖ แรม ๒ ค่ำ กลับไปวันเดือน ๖ แรม ๑๔ ค่ำ ข้าวคงฉาง เมืองปัตบอง ๗๐๘ เกวียน ๑๘ ถัง ๑๐ ทะนาน เมืองระสือ ๓๔๘ เกวียน ๖๔ ถัง เมืองมงคลบุรี ๓๔๔ เกวียน ๖๖ ถัง ๑๗ ทะนาน เมืองตะโนฏ ๑๗ เกวียน ๔๓ ถัง เมืองสวายจิก ๑๑๖ เกวียน ๙๐ ถัง(รวม) เก่าใหม่ ๑๕๒๘ เกวียน ๘๒ ถัง ๗ ทะนาน เมืองนครเสียมราบ ๑๔๒ เกวียน ๓๗ ถัง วันเดือน ๗ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีชวด โทศก ฯ พณ ฯ บอกให้หลวงพิศณุแสนคุมเขมรคนโทษเมืองปัตบองเข้ามาส่ง เป็น จมื่นทิพเสนาสารวัดผู้คุม รับไป นายเแก้วบุตร์พระยาพิพิธภักดี ๑ ทองภรรยานายแก้ว ๑ อ้ายจันแลนทาส ๑ (รวม) ๓ เจ้าคุณพระยาราชสุภาวดีไปสุพรรณ นายรักษ์โกษาเมียด ๑ อีปรักเมีย ๑ (รวม) ๒ บุตร์ชายรุ่นอ้ายงวน ๑ หญิงฉกรรจ์ อีมด อีอิด อีมวน ๓ (รวม) ๔ (รวม) ๖ อ้ายกลาบัญชีวง ๑ อีติเมีย ๑ (รวม) ๒ บุตร์ชายฉกรรจ์อ้ายคง ๑ บุตร์ชายรุ่นอ้ายกิ ๑ (รวม) ๒ (รวม) ๔ อ้ายราชนายก ๑ บุตร์ชายแลนอ้ายโภค ๑ บุตร์หญิงรุ่นอีสวย ๑ (รวม) ๒ (รวม) ๓ อีเภาเมียอ้ายนิม่าย ๑ บุตร์ชายฉกรรจ์อ้ายโสม ๑ ชายรุ่นอ้ายอำ ๑ แลนอ้ายแกว ๑


๑๗๔ แลนอ้ายตูก ๑ (รวม) ๒ (รวม) ๔ หญิงฉกรรจ์อีกิน ๑ หญิงรุ่นอีแปน ๑ แลนอีเกม ๑ แลนอีนวล ๑ (รวม) ๒ (รวม) ๔ (รวม) ๘ (รวม) ๙ อีเอียดเมียอ้ายแก้วมังกลิงม่าย ๑ บุตร์ชายแลนอ้ายเยก ๑ หญิงฉกรรจ์อีแปน ๑ อีเรก ๑ รุ่นอีอิ่ม ๑ (รวม) ๓ (รวม) ๔ (รวม) ๕ (รวม) ๒๗ (รวม) ๓๐ คน ฉะบับที่ ๒ บัญชีกองทัพเจ้าพระบดินทรเดชา (สิงหา สิงหเสนี) เมื่อยกไปเมืองพัตบอง

บัญชีกองทัพเจ้าคุณ ยกไปปัตบอง ณ วันเดือนยี่ปีกุนเอกศก พระราชวังหลวง พลเรือน นาย ๒๔ ขุนหมื่น ๒๖๑ เป็น ๒๕๘ ไพร่หลวงกรมม้า ๖ จ่าย ๑๑๓ เป็น ๑๑๙ ไพร่สม ๓๙๔ เป็น ๕๑๓ (รวม) ๗๙๘ ทหาร นาย ๑๐ ขุนหมื่น ๑๓๕ เป็น ๑๔๕ ไพร่หลวง ๓๐ ไพร่สม ๑๐๗ เป็น ๑๓๗ (รวม) ๒๘๒ นาย ๓๔ ขุนหมื่น ๓๙๖ เป็น ๔๓๐ ไพร่หลวง ๑๔๙ ไพร่สม ๕๐๑ เป็น ๖๕๐ (รวม) ๑๐๘๐ พลเรือน นาย ๘๐ ขุนหมื่น ๖๒๕ เป็น ๗๐๕ ไพร่หลวง ๓๑๕ ไพร่สม ๕๑๗ เป็น ๘๓๒ (รวม) ๑๕๓๗ ทหาร นาย ๔๔ ขุนหมื่น ๒๙๘ เป็น ๓๔๒ ไพร่หลวง ๖๒


๑๗๕ ไพร่สม ๒๒๖ เป็น ๒๘๘ (รวม) ๖๓๐ นาย ๑๒๔ ขุนหมื่น ๙๒๓ เป็น ๑๐๔๗ ไพร่หลวง ๓๗๗ ไพร่สม ๗๔๓ เป็น ๑๑๒๐ (รวมเป็น) ๒๑๖๗ พระราชวังบวร พลเรือน นาย ๕๖ ขุนหมื่น ๓๖๔ เป็น ๔๒๐ คิดช้าง ๖ ไพร่หลวงกรมช้าง ๑๓๐ ไพร่หลวงกรมม้า ๑๔ เป็น ๑๔๔ ไพร่จ่าย ๔๖ เป็น ๑๙๖ ไพร่สม ๑๒๓ เป็น ๓๑๙ (รวม) ๗๓๙ ทหาร นาย ๓๔ ขุนหมื่น ๑๖๓ เป็น ๑๙๗ ไพร่หลวง ไพร่สม ๑๑๙ เป็น ๑๕๑ (รวม) ๓๔๘ นาย ๙๐ ขุนหมื่น ๕๒๗ เป็น ๖๑๗ ไพร่หลวง ๒๒๘ ไพร่สม ๒๔๒ เป็น ๔๗๐ ผรวม) ๑๐๘๗ หัวเมือง เมืองนนทบุรี ๓ กอง นายไพร่ ๓๕๐ คลองท่อ ๒ กอง นายไพร่ ๑๒๙ อารยิก ๓ กอง นายไพร่ ๓๓๗ นายไพร่เป็น ๘๑๖ กองร่อนทองเมืองพรหม ๓๒๐ เมืองอ่างทอง ๙๗ เมืองสิงห์ ๔๓ เมืองสุพรรณ ๑๖๔ เมืองฉะเชิงเทรา ๘๗๖ เมืองอินทร์ ๑๒๗ นายไพร่ (รวม) ๑๖๒๗ นายไพร่(รวมทั้งสิ้น) ๒๔๔๓ ยกกองมอญ นาย ๑๑๔ ไพร่ ๘๘๙ เป็น ๑๐๐๓ เกนเตรียม เมืองนครราชสีมา ตัดเสา ๑๕๐๐ เกนไม้ ๓๕๐๐ กองนอก ๑๐๐๐ เป็น ๖๐๐๐ เมืองสระบุรี ๑๐๐๐ เมืองเขมราช ๓๐๐ เมืองร้อยเอ็จ ๕๐๐ เมืองอุบล ๕๐๐ เมือง



๑๗๖ ศรีสะเกศ ๕๐๐ เมืองเดชอุดม ๓๐๐ เมืองสุวรรณภูมิ ๑๐๐๐ เมืองขอนแก่น ๓๐๐ นายไพร่ ๓๔๐๐ ยกเมืองพนัศนิคม ๔๐๐ นายไพร่ ๑๐๘๐๐ นายไพร่ (รวมทั้งสิ้น) ๑๑๘๐๓ คน กรมมหาดไทย ฯ พณ ฯ สมุหนายก ๒๕๐ พระราชนิกูลนาย ๑ ในตัว ๕๐ ไพร่หลวงนุชิต ๕ เป็น ๕๕ (รวม) ๕๖ หลวงเสนีย์พิทักษ์นาย ๑ ไพร่ ๕ เป็น ๖ เมืองยโสธร ๑ เวนนายแกว่น หมื่นสวัสดิ์อักษรนาย ๑ เอาเลกนายแกว่นไป ๕ เป็น ๖ เวนนายรด ขุนพิพิธภักดีนาย ๑ เลกนายรด ๒ เป็น ๓ เวนนายชำนาญ หมื่นตรมอักษร ๑ หลวงจินดารักษ์นาย ๑ ไพร่ ๙ เป็น ๑๐ หลวงสุริยามาตย์ นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ทะลวงฟันหมื่นยง ๑ ขุนหมื่น ๒๕ นาย ๘ ขุนหมื่น ๒๙ เป็น ๓๗ ไพร่ ๓๒๘ (รวม) ๓๖๕ กองหลวงพิศณุเทพนาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ ขุนมหาวิชัยปลัดนาย ๑ ไพร่ ๕ เป็น ๖ ขุนแผลงสะท้านปลัดนาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ หมื่นพินิจภักดี นาย ๑ ไพร่ ๕ เป็น ๖ หมื่นสวัสดิ์นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ (หมื่นณโมนาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓) สมุห์บัญชีนาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนหมื่นหาเลกมิได้ ๒๑ ไพร่หลวง ๒๖ นาย ๖ ขุนหมื่น ๒๑ เป็น ๒๗ ไพร่หลวง ๒๖ ไพร่สม ๑๕ เป็น ๔๑ (รวม) ๖๘ กองหลวงเทเพนทร์ ขุนรักษ์โยธาปลัด ๑ ขุนหมื่น ๖



๑๗๗ มหาดเล็กเวนให้ไพร่หลวง ๕ เป็น ๑๒ นายพุด ๑ เป็น ๑๓ กองหลวงวาสุเทพ หลวงวาสุเทพเจ้ากรม ๑ ขุนพิศณุแสน นาย ๑ ไพร่ ๓๐ เป็น ๓๑ ขุนเพชรอินทรา ปลัด ๑ ขุนหมื่น ๒๐ ไพร่หลวง ๕๒ นาย ๓ ขุนหมื่น ๒๐ เป็น ๒๓ ไพร่หลวง ๕๒ ไพร่สม ๓๐ เป็น ๘๒ (รวม) ๑๐๕ ออกเรือ ณ วันเดือนอ้าย แรม ๑๓ ค่ำ กรมเกนหัดแสงปืน ขุนหมื่น ซ้าย ๑๒ ขวา ๒๙ เป็น ๔๑ พันทนาย ๒๓ เป็น ๖๔ นายพิณมหาดเล็ก บุตรพระอัคเณศวร ๑ ไพร่หลวง ๑๐ นาย ๑ ขุนหมื่น ๖๕ เป็น ๖๖ ไพร่หลวง ๑๐ ไพร่สม ๕ เป็น ๑๕ (รวม) ๘๑ ณ วันเดือนยี่ขึ้นค่ำหนึ่ง ล้อมพระราชวัง พระรามพิชัย นาย ๑ ไพร่ ๕ เป็น ๖ ขุนหมื่น ซ้าย ๘ ขวา ๖ เป็น ๑๔ บุตรขุนหมื่น ซ้าย ๒ ขวา ๔ เป็น ๖ นาย ๑ ขุนหมื่น ๒๐ เป็น ๒๑ ไพร่ ๕ เป็น ๒๖ ณ วันเดือนยี่ขึ้นค่ำหนึ่ง ช่างเหล็กเกนหัด หมื่นวิเศษ ๑ หมื่นสารพัดช่าง ๑ หมื่นชัยอาวุธ ๑ หมื่นภักดี ๑ นายหมวด ๔ นายเต้า ๒ เลว ๑๑ นาย ๑๐ เลว ๑๑ เป็น ๒๑ กรมม้า ขุนเพชรสงคราม ๑ ขุนหมื่น ๑๐ ไพร่หลวง ๖ เป็น ๑๗ กองกลางซ้าย ขุนจงใจหาญปลัด ๑ ขุนหมื่น ๓๐ ไพร่



๑๗๘ หลวง ๑๐ เป็น ๔๑ ณ วันเดือนอ้าย แรม ๑๓ ค่ำ โหร ขุนญานโยค นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ณ วันเดือนอ้ายแรม ๑๓ ค่ำ กองกลางขวา หลวงศรีรณรงค์ นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนหมื่น ๔๐ ไพร่หลวง ๑๐ นาย ๑ ขุนหมื่น ๔๐ เป็น ๔๑ ไพร่หลวง ๑๐ ไพร่สม ๑ เป็น ๑๑ (รวม) ๕๒ ณ วันเดือนยี่ขึ้น ๓ ค่ำ ตำรวจใหญ่ซ้าย พระพิเรนทรเทพ นาย ๑ ไพร่ ๔๐ เป็น ๔๑ ขุนหมื่นพันทนาย ๖๐ ไพร่หลวง ๒๐ นาย ๑ ขุนหมื่น ๖๐ เป็น ๖๑ ไพร่หลวง ๒๐ ไพร่สม ๔๐ เป็น ๖๐ (รวม) ๑๒๑ ม้าบ้านใหม่ ขุนฤทธิ์พิชัย ๑ ขุนหมื่น ๑๐ ไพร่หลวง ๕ เป็น ๑๖ ม้า อาษาขวา พระยารามคำแหง นาย ๑ ไพร่ ๖ เป็น ๗ หลวงสำแดงฤทธิรงค์ นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ หลวงเพชรกำแหง ปลัด ๑ ขุนหมื่น ๒๒ นาย ๓ ขุนหมื่น ๒๒ เป็น ๒๕ ไพร่สม ๗ (รวม) ๓๒ ม้า โพเรียง ขุนกระชาพล ๑ ขุนหมื่น ๔ ไพร่หลวง ๕ เป็น ๑๐ ม้า ตำรวจสนมขวา พระพรหมบริรักษ์ นาย ๑ ไพร่ ๒๔ เป็น ๒๕ ขุนหมื่นเวน ๑๐ รองงาน ๕ เป็น ๑๕ นาย ๑



๑๗๙ ขุนหมื่น ๑๕ เป็น ๑๖ ไพร่ ๒๔ (รวม) ๔๐ ตำรวจใหญ่ขวา จมื่นชัยภูษา นาย ๑ ไพร่ ๒๗ เป็น ๒๘ ขุนหมื่น ๑๓ นาย ๑ ขุนหมื่น ๑๓ เป็น ๑๔ ไพร่ ๒๗ เป็น ๔๑ ม้า ตำรวจนอกขวา จมื่นทิพย์รักษา นาย ๑ ไพร่ ๘ เป็น ๙ ขุนหมื่นพันทนาย ๑๑ นาย ๑ ขุนหมื่น ๑๑ เป็น ๑๒ ไพร่ ๘ (รวม) ๒๐ ม้า ตั้งทองซ้าย พระยาเกียรติ์ ๑ พระยาสิงหราชา ๑ พระยาอัคราชา ๑ พระยาฤทธิ์รณภพ ๑ สมิงสิทธิ์ราชาปลัด ๑ สมิงนนทบุรี ๑ สมิงราชามน ๑ สมิงราชาสิทธิ ๑ สมิงลสิยโยธา ๑ นาย ๙ ไพร่ ๒๕๒ (รวม) ๒๖๑ ตั้งทองขวา พระยาพระราม ๑ พระยาจัตุรงค์ฤทธี ๑ พระยาสุริยจักร์ ๑ สมิงพัตเบิด ๑ สมิงพัตบะ ๑ เป็น ๒ สมิงราชาสงคราม ๑ สมิงทิพพราย ๑ นาย ๗ ไพร่ ๑๙๓ (เป็น) ๒๐๐ อาทะมาดซ้าย พระยาจงใจยุทธ์ ๑ สมิงนราฤทธีปลัด ๑ สมิงธนูตำรวจ ๑ สมิงสิทธิพรหมา ๑ นาย ๔ ไพร่ ๑๔๖ (รวม) ๑๕๐ อาทะมาดขวา พระยารัตนจักร์ ๑ พระยากำแหงหาญณรงค์ ๑ พระยาแผลงผลาญศึก ๑ สมิงดาบเพชรปลัด ๑ สมิงปราบชัย ๑ สมิงอาจสงคราม ๑ นาย ๖ ไพร่ ๑๔๔ (รวม) ๑๕๐



๑๘๐ ปราบอังวะ สมิงสิทธิชัยปลัดกรม ๑ สมิงทรงพลพัน ๑ สมิงสารสาตรา ๑ สมิงพิลึกณรงค์ ๑ นาย ๔ ไพร่ ๙๖ (รวม) ๑๐๐ พระชะนะหงษา สมิงปราบถวายสุนปลัด ๑ สมิงแสงสิทธิกรรม์ ๑ สมิงชัยชาญศรี ๑ นาย ๓ ไพร่ ๕๗ (รวม) ๖๐ เมืองนครเขื่อนขันธ์ สมิงพิมุขมนตรา ๑ สมิงปราบหงษา ๑ สมิงศรีกุล ๑ สมิงเทวสงคราม ๑ นาย ๔ ไพร่ ๗๖ (รวม) ๘๐ นาย ๑๑๔ ไพร่ ๘๘๙ (รวมเป็น) ๑๐๐๓ กรมมหาดไทยวังหน้า พระยาราชโบรา นาย ๑ ไพร่ ๑๕ เป็น ๑๖ พระเสนาพิพิธ นาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ หลวงเทพนรานาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ หลวงภักดีณรงค์ นาย ๑ ไพร่ ๕ เป็น ๖ หลวงบุรินทามาตย์ นาย ๑ ไพร่ ๖ เป็น ๗ หลวงรักษ์เสนานาย ๑ ไพร่ ๘ เป็น ๙ หลวงฤทธามาตย์ นาย ๑ ไพร่ ๖ เป็น ๗ ขุนจำนงภักดี นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ หลวงอนุรักษ์ภักดี นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ หลวงโยธาสงคราม ๑ ขุนหมื่น ๓๐ เป็น ๓๑ นาย ๑๐ ขุนหมื่น ๓๐ เป็น ๔๐ ไพร่ ๔๗ (รวม) ๘๗ กรมเมือง ขุนชะนะ นาย ๑ เลกหลวงเทพนาลัย ๒ เป็น ๓ ขุนสารวัด ๑ ขุนนคร ๑ หมื่นสนิท ๑ หมื่นแผ้ว ๑ นาย ๑ ขุนหมื่น ๔ เป็น ๕ ไพร่ ๒ เป็น ๗ กรมอาลักษณ์ หลวงลิขิตปรีชา นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒



๑๘๑ ขุนสาราบรรจง ๑ ขุนหมื่นในกรม ๗ ช่างสมุด ๖ เป็น ๑๓ ช่างสมุดเลว ๙ นาย ๒ ขุนหมื่น ๒๒ เป็น ๒๔ ไพร่ ๑ เป็น ๒๕ ชาวที่ขวา ขุนอาศนภิรม นาย ๑ ขุนหมื่น ๕ เป็น ๖ ล้อมวังขวา พระชะนะรณชิต นาย ๑ ไพร่ ๕ เป็น ๖ ขุนจำนงใจหาญ นาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ ขุนฤทธิ์สงคราม นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนศรีสงคราม นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนหมื่นซ้าย ๕ ขวา ๑๒ เป็น ๑๗ ไพร่หลวงติดข้างซ้าย ๔ ขวา ๒ เป็น ๖ ไพร่หลวงจ่าย ซ้าย ๑๐ ขวา ๑๐ เป็น ๒๐ เป็น ๒๖ นาย ๔ ขุนหมื่น ๑๗ เป็น ๒๑ ไพร่หลวงติดช้าง ๖ ไพร่หลวงจ่าย ๒๐ เป็น ๒๖ ไพร่สม ๙ เป็น ๓๕ (รวม) ๕๖ กรมม้าใน ขุนแสนนพรัตน์ นาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ ขุนหมื่น ๗ นาย ๑ ขุนหมื่น ๗ เป็น ๘ ไพร่ ๓ เป็น ๑๑ กรมม้านอก ขุนมณีกัณฐัศว์ นาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ แสนขจรกันจง นาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ แสนอาษาศึก นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนหมื่น ๔ ไพร่หลวง ๑๔ นาย ๓ ขุนหมื่น ๔ เป็น ๗ ไพร่หลวง ๑๔ ไพร่สม ๖ เป็น ๒๐ เป็น ๒๗ นาย ๔ ขุนหมื่น ๑๑ เป็น ๑๕ ไพร่หลวง ๑๔ ไพร่สม ๙ เป็น ๒๓ (รวม) ๓๘ กรมช้างใน พระศรีภาวัง นาย ๑ ไพร่ ๑๒ เป็น ๑๓ หลวงศรีคชริน นาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ หลวงอินทร์คชลักษณ์ นาย ๑ ไพร่ ๔ เป็น ๕ หมื่นจ่ากลาง นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒


๑๘๒ นายกรินทรพัดชา นาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ ขุนหมื่น ๓๑ ไพร่หลวง ๒๙ นาย ๕ ขุนหมื่น ๓๑ เป็น ๓๖ ไพร่หลวง ๒๙ ไพร่สม ๒๓ เป็น ๕๒ (รวม) ๘๘ กรมช้างนอก หลวงอินท์คชไกร ๑ หลวงจำเริญคชสาร ๑ ขุนหมื่น ๓๔ ไพร่หลวง ๑๐๑ นาย ๒ ขุนหมื่น ๓๔ เป็น ๓๖ ไพร่หลวง ๑๐๑ (รวม) ๑๓๗ นาย ๗ ขุนหมื่น ๖๕ เป็น ๗๒ ไพร่หลวง ๑๓๐ ไพร่สม ๒๓ เป็น ๑๕๓ (รวมเป็น) ๒๒๕ สนมพลเรือนซ้ายขวา หลวงศรีทิพบาล นาย ๑ ไพร่ ๘ เป็น ๙ หลวงเทพบาลนาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนจำนงภักดีนาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ หมื่นโจมใจอาจนาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนหมื่นหาเลกมิได้ ซ้าย ๗ ขวา ๑๐ เป็น ๑๗ ไพร่หลวง ๔ นาย ๔ ขุนหมื่น ๑๗ เป็น ๒๑ ไพร่หลวง ๔ ไพร่สม ๑๒ เป็น ๑๖ (รวม) ๓๗ คลังมหาสมบัติ หลวงพิทักษ์สมบัติ ๑ ขุนหมื่น ๓ เลวกะโถน ขันน้ำ ๙ เป็น ๑๓ คลังสุพรัต หลวงวิสูทรัตนาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ ขุนทิพย์ชำนาญ ๑ ขุนหมื่น ๑๐ นาย ๒ ขุนหมื่น ๑๐ เป็น ๑๒ ไพร่ ๓ เป็น ๑๕ คลังวิเศษ หมื่นอินทสมบัติ ๑ ขุนหมื่น ๕ เป็น ๖ คลังในซ้าย หมื่นสำเร็จ ๑ ขุนหมื่น ๒ เลวช้างต่อ ๔ ขุนหมื่น ๗

๑๘๓ คลังในขวา หลวงอนันทบริรักษ์ ๑ หลวงยี่สาร ๑ ขุนหมื่น ๑ นาย ๒ ขุนหมื่น ๑ เป็น ๓ นำส่ง ขุนพรธารานาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ ขุนหมื่น ๒ นาย ๑ ขุนหมื่น ๒ เป็น ๓ ไพร่ ๒ เป็น ๕ สังฆการี หลวงพรหมาธิบดี ๑ ขุนศรีธรรมลังการ์ ๑ ขุนศรีธรรมลังกร ๑ ขุนหมื่น ๑ นาย ๓ ขุนหมื่น ๑ เป็น ๔ กรมแสงใน หลวงเทพาวุธ ๑ ขุนหมื่นกำนัน ๑๓ ช่างเหล็ก ๔ ช่างทอง ๓ เป็น ๗ เป็น ๒๐ นาย ๑ ขุนหมื่น ๒๐ เป็น ๒๑ ราชยาน หลวงราชพิมานนาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ พันเงิน ๑ ขุนหมื่น ๑๗ ภูดาษ ๒๖ ไพร่หลวง ๓ นาย ๒ ขุนหมื่น ๔๓ เป็น ๔๕ ไพร่หลวง ๓ ไพร่สม ๒ เป็น ๕ (รวม) ๕๐ กรมภูษามาลา หลวงวิจิตร์ภูษาเจ้ากรม ๑ ขุนมหาพรปลัดกรม ๑ ขุนสุนทรปลัด ๑ ขุนหมื่นกำนัน ๒๕ นาย ๓ ขุนหมื่น ๒๕ (รวม) ๒๘ อพิรม พันทอง ๑ ขุนหมื่น ๒๒ ภูดาษ ๓ ไพร่หลวง ๓ นาย ๑ ขุนหมื่น ๒๕ เป็น ๒๖ ไพร่หลวง ๓ (รวม) ๒๙ กรมหมอยา หลวงวิเศษโอสถนาย ๑ ไพร่ ๗ เป็น ๘ ขุนหมื่น ๖ พัน ๘ เป็น ๑๔ เป็น ๒๒ กรมหมอนวด หลวงประสาทวิจิตร์ ๑ ขุนหมื่น ๒ พัน ๓ เป็น ๖


๑๘๔ กรมหมอประสาน หมื่นสุรามฤตย์ ๑ กรมหมอยาตาหมื่นแผ้วไนยนา ๑ พัน ๒ เป็น ๓ กรมหมอฝรั่ง หมื่นแมศรีแวทยา ๑ ขุนหมื่น ๒ พัน ๒ เป็น ๕ กรมหมอฝี หมื่นชาติแวทยา ๑ พัน ๑ เป็น ๒ นาย ๖ ขุนหมื่นพัน ๒๖ เป็น ๓๒ ไพร่ ๗ (รวม) ๓๙ ช่างเหล็กแสงต้น หมื่นวิเศษ ๑ หมื่นภักดีอาวุธ ๑ นายสุนา ๑ นายพัน ๑ ขุนหมื่น ๔ กรมโหร ขุนญานประสิทธิ์ ๑ หมื่นปรีชาพินิจ ๑ ขุนหมื่น ๒ เรือกันซ้าย หลวงรักษาจัตุรงค์ ๑ ขุนหมื่น ๓ ไพร่หลวง ๘ เป็น ๑๒ เรือกันขวา หลวงภักดีโยธานาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ ขุนหมื่น ๘ ไพร่หลวง ๘ นาย ๑ ขุนหมื่น ๘ เป็น ๙ ไพร่หลวง ๘ ไพร่สม ๓ เป็น ๑๑ เป็น ๒๐ กรมพระยาอภัยสงคราม พระยาอภัยสงครามนาย ๑ ไพร่ ๖ เป็น ๗ หลวงศรีศรสิทธิ์ ๑ หลวง สรินฤทธิ์นาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ ขุนหมื่น ๙ นาย ๓ ขุนหมื่น ๙ เป็น ๑๒ ไพร่ ๘ เป็น ๒๐ พลพันขวา หลวงกำจรใจราชนาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ ขุนนาถจำนง ๑ ขุนหมื่น ๑๑ ไพร่หลวง ๑ นาย ๒ ขุนหมื่น ๑๑



๑๘๕ เป็น ๑๓ ไพร่หลวง ๑ ไพร่สม ๒ เป็น ๓ เป็น ๑๖ กรมพระยาณรงค์วิชัย พระยาณรงค์วิชัยนาย ๑ ไพร่ ๑๐ เป็น ๑๑ หลวงวิสูตรโยธาบาล ๑ หลวงยี่สารเสนามาตย์ ๑ ขุนหมื่น ๑๗ ได้เลก พันเทพ ๔ นาย ๓ ขุนหมื่น ๑๗ เป็น ๒๐ ไพร่สม ๑๔ เป็น ๓๔ กรมพระรามเดชะ พระรามเดชะนาย ๑ ไพร่ ๒๓ เป็น ๒๔ หลวงวุฒิกำแหงนาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ ขุนหมื่น ๑๑ นาย ๒ ขุนหมื่น ๑๑ เป็น ๑๓ ไพร่ ๒๕ เป็น ๓๘ กรมพระวิชิตสงคราม พระวิชิตสงครามนาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ หลวงพิพิธเสนา ๑ หลวงนราเสนี ๑ ขุนหมื่นในกรม ๑๓ ขุนหมื่นกองนอก ๑ เป็น ๑๔ นาย ๓ ขุนหมื่น ๑๔ เป็น ๑๗ ไพร่ ๒ เป็น ๑๙ กรมพระฤทธิ์สงคราม พระฤทธิ์สงครามนาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ หลวงจงใจภพ ๑ หลวงลบบาดาล ๑ นาย ๓ ไพร่ ๓ (รวม) ๖ กรมพระรามณรงค์ พระรามณงค์นาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ หลวงวิชิตราชานาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ หลวงนรารณรงค์นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนหมื่น ๔ นาย ๓ ขุนหมื่น ๔ เป็น ๗ ไพร่ ๖ (รวม) ๑๓ พลพันซ้าย หลวงชาติสุเรนทร์นาย ๑ ไพร่ ๕ เป็น ๖ ขุนศรสิทธิราชนาย ๑ ไพร่ ๖ เป็น ๗ ขุนหมื่น ๕ นาย ๒



๑๘๖ ขุนหมื่น ๕ เป็น ๗ ไพร่ ๑๑ (รวม) ๑๘ ปืนใหญ่ ขุนยุทธศาสตราปลัด ๑ ขุนหมื่น ๑๐ ไพร่หลวง ๕ นาย ๑ ขุนหมื่น ๑๐ เป็น ๑๑ ไพร่หลวง ๕ (รวม) ๑๖ กองกลางซ้าย หลวงอาษาภูธรนาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนรักษาโยธีปลัด ๑ ขุนหมื่น ๙ ไพร่หลวง ๖ นาย ๒ ขุนหมื่น ๙ เป็น ๑๑ ไพร่หลวง ๖ ไพร่สม ๑ เป็น ๗ (รวม) ๑๘ เลือกหอกซ้าย ขุนนราเรืองเดชนาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนหมื่น ๘ (รวม) ๑๐ เลือกหอกขวา หลวงพิลึกโยธานาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ ขุนวิเศษจัตุรงค์ ๑ ขุนหมื่น ๔ นาย ๒ ขุนหมื่น ๔ เป็น ๖ ไพร่ ๒ (รวม) ๘ กองพระไกรภพรณฤทธิ์ หลวงรามวิชิตปลัด ๑ ขุนหมื่น ๖ เป็น ๗ คู่ชักซ้าย หลวงฤทธิ์พลชัยนาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนหมื่น ๗ ไพร่ ๕ นาย ๑ ขุนหมื่น ๗ เป็น ๘ ไพร่หลวง ๕ ไพร่สม ๑ เป็น ๖ (รวม) ๑๔ คู่ชักขวา หลวงเสนาพลสิทธิ์นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนวิเศษสาตราปลัดนาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ ขุนหมื่น ๘ ไพร่หลวง ๕ นาย ๒ ขุนหมื่น ๘ เป็น ๑๐ ไพร่หลวง ๕ ไพร่สม ๓ เป็น ๘ (รวม) ๑๘ ตำรวจในซ้าย พระอินท์ธิบาลนาย ๑ ไพร่ ๑๕ เป็น ๑๖ นาย


๑๘๗ เวน ๓ ขุนหมื่น ๘ เป็น ๑๑ ไพร่หลวง ๔ นาย ๑ ขุนหมื่น ๑๑ เป็น ๑๒ ไพร่หวง ๔ ไพร่สม ๑๕ เป็น ๑๙(รวม) ๓๑ ตำรวจใหญ่ขวา พระพรหมสุรินทร์นาย ๑ ไพร่ ๑๕ เป็น ๑๖ ขุนหมื่น ๒๐ ไพร่หลวงในกรม ๔ ไพร่หลวงฝีพาย ๒ เป็น ๖ ( รวม ) ๔๒ ตำรวจนอกขวา หลวงณรงค์วิชิตนาย ๑ ไพร่ ๑๐ เป็น ๑๑ นายเวน ๑ ขุนหมื่น ๓ เป็น ๔ ไพร่หลวง ๔ (รวม) ๑๙ นายบัวน้องพระยาบริรักษ์ ๑ ขุนหมื่น ๑๐ ไพร่เลกพระยาบริรักษ์ ๒๐ ( รวม ) ๓๑ ให้พระอินท์ธิบาลถือท้องตราไปเถิง ฯ พณ ฯ สมุหนายกให้เกนเลกลาวเขมร ๓๐๐๐๐ เกนได้มากน้อยเท่าใดแล้วจะบอกเข้ามา ฯ พณ ฯ สมุหนายกเกนลาว เกนเขมร ๓๐๐๐๐ คน เกนใหม่ เมืองนครราชสีมา ๑๐๐๐๐ เมืองสระบุรีไทยลาว ๒๐๐ เป็น ๑๕๐๐ เมืองราชบุรีเขมรเก่า ๖๘๔ เขมรใหม่ ๓๑๖ เป็น ๑๐๐๐ กรุงกองมอญ ๓๐๐๐ หัวเมืองไทย ๑๗๒๕ หัวเมืองลาว ๑๔๐๐ เป็น ๓๑๒๕ เป็น ๑๐๐๐๐ (รวม) ๒๒๕๐๐ คน เกนเมืองนครชัยศรีเดิมไทย ๘๐ เกน ๕๐ เดิมลาว ๖๔๑ เกน ๔๐๐ เป็น ๔๕๐ เมืองสุพรรณเดิมไทย ๔๐๐ เกน ๓๐๐ เดิมลาว ๑๗๗๘ เกน ๑๐๐๐ เป็น ๑๓๐๐ กรุงเก่าไทยเดิม ๓๐๐ เกน ๑๕๐ เมืองอ่างทองไทยเดิม ๑๘๐ เกน ๑๐๐ เมืองพรหมไทยเดิม ๒๙ เกน๑๕ เมืองสิงห์ไทย

๑๘๘ เดิม ๙๐ เกน ๕๐ เมืองอินทร์ไทยเดิม ๓๐ เกน ๒๐ เมืองนนทบุรีไทยเดิม ๕๐ เกน ๓๐ เมืองสรรค์เจ้าเมืองกรมการกองนอกไทยเดิม ๑๒๐ เกน ๘๐ เมืองชัยนายไทยเดิม ๑๐๐ เกน ๖๐ เมืองมโนรมไทยเดิม ๓๔ เกน ๒๐ เมืองอุทัยธานีเจ้าเมืองกรมการไทยเดิม ๒๓๐ เกน ๒๐๐ ด่านไทยเดิม ๑๐๔ ด่านมอญเดิม ๑๕๔ เป็น ๒๕๘ เมืองนครสวรรค์ไทยเดิม ๖๐๐ เกน ๓๕๐ ส่วยศรีลาสะโบถ เกน ๑๐๐ หลวงกระเชนกองนอก เกน ๑๐๐ เมืองวิเชียรเกน ๔๐ เมืองบัวชุมเกน ๔๐ เมืองชัยบาดาลเกน ๒๐ ไทย ๑๗๒๕ ลาว ๑๔๐๐ (รวมเป็น) ๓๑๒๕ คน พระยาราชนิกูล พระพิเรนทรเทพ จมื่นชัยภูษา พระอินท์ธิบาล พระพรหมสุริน หลวงณรงค์วิชิต เจ้าพระยานครราชสีมาตัดเสา ๑๕๐๐ เกนไม้ ๒๕๐๐ กองนอก ๑๐๐๐ เป็น ๕๐๐๐ เมืองพนัศนิคม พระอินทร์อาษา ๔๐๐ ร่อนทอง เมืองอินทร์ เมืองพรหม เมืองฉะเชิงเทรา ๘๐๐ เกนเข้า ๘๓๕ เกนใหม่ ๑๔๐๐ (รวม) ๑๔๐๐ พระยาเกียรต์ พระยาพระราม พระยารัตนจักร์ พระยารามกำแหง ๑๐๐๐ เมืองสระบุรี ๑๐๐๐ กรมกลาโหม ขุนวิสูตรสมบัตินาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ ขุนพิทักษ์โยธานาย ๑ ไพร่ ๔ เป็น ๕ เป็น ๙ อาษาใหม่ซ้าย ขุนอินท์ภิรมปลัด ๑ อาษาใหม่ขวา ขุน



๑๘๙ พรหมฤทธีปลัด ๑ ทำลุซ้าย ขุนจงใจยุทธ์ปลัด ๑ นาย ๕ ไพร่ ๗ เป็น๑๒ กรมมหาดไทย ขุนราชนัทธีนาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ ขุนบำรุงนาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ (รวม) ๔ สนมพลเรือนซ้าย นายสวัสดิ์ภักดี นายเวน นาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ สนมพลเรือนขวา นายมีใจภักดิ์ นายเวน นาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ ชาวที่ซ้าย หมื่นวิจิตรราชา ๑ ชาวที่ขวา ขุนพรภูเบศ ๑ เป็น ๒ กรมวัง ขุนนิเวศพิมานปลัด ๑ ขุนทิพรสโอชา ๑ เป็น ๒ คลังวิเศษ หมื่นประยาภูษา ๑ กรมม้าซ้าย ขุนศรีมโนมัย นาย ๑ ไพร่ ๑ เป็น ๒ กรมช้าง พันลีนาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ คลังในขวาหมื่นจิตร์ภักดี นาย ๑ ไพร่ ๒ เป็น ๓ กรมนา หลวงวิเศษสาลี นาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ ขุนพรหมสาลี นาย ๑ ไพร่ ๓ เป็น ๔ (รวม) ๘ เกนหัดแสงปืนซ้าย ๑





๑๙๐ ฉะบับที่ ๓ ตราถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) เรื่องให้พระราชทานเสื้อผ้าแก่นายทัพนายกอง

หนังสือเจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก เป็นแม่ทัพนายทัพนายกองคุมไพร่พลยกออกไป คิดราชการ ณ เมืองปัตบองและนายทัพนายกอง ซึ่งออกมาในกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายกนั้น ยังหาได้รับพระราชทานเสื้อไม่ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยานราราชมนตรี คุมเสื้อพระราชทานนายทัพนายกองกับเสื้อผ้า เสื้อแพร เตรียมทัพสำหรับเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก จะได้แจกให้ผู้มีบำเหน็จความชอบ ได้เขียนหางว่าวจำนวนเสื้อจำนวนผ้าจำนวนแพร กับฉลากติดตัวเสื้อส่งออกมาแจ้งอยู่ในหางว่าวนั้นแล้ว ถ้าพระยานราราชมนตรีคุมเสื้อคุมผ้าคุมแพรออกมาเถิงแล้ว ก็ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนาย เอาเสื้อพระราชทานให้กับนายทัพนายกอง ตามรายหางว่าวและฉลากแล้ว ให้รับเสื้อรับผ้ารับแพร สำหรับทัพไว้แจกให้ผู้มีบำเหน็จความชอบตามสมควร พระยานราราชมนตรีได้คุมเสื้อคุมผ้าคุมแพร ออกมาจาก ณ กรุงเทพ ฯ ณ วันเดือนยี่ขึ้น ๕ ค่ำแล้ว หนังสือมา ณ วันพุธเดือนยี่ขึ้น ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๐๑


๑๙๑ ปีกุนเอกศก

ฉะบับที่ ๔ ตราถึงกรมการเมืองปราจินบุรีและกบินทรบุรี

สารตรา ท่านเจ้าพระยาจักรี ฯ ให้มาแก่กรมการผู้อยู่รักษาเมืองปราจินและเมืองกบินทร ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก เป็นแม่ทัพนายทัพนายกอง คุมไพร่พลออกไปคิดราชการ ณ เมืองปัตบอง และนายทัพนายกองซึ่งออกมาในกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก ยังหาได้รับพระราชทานเสื้อไม่ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยานราราชมนตรีคุมเสื้อผ้าเสื้อแพรออกไปส่งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก เป็นเสื้อพระราชทานนายทัพนายกอง ริ้ว ๑๒ แย่ง ๑๐ ดอกถี่ ดอกสะเทิน ๒๖ ดอกราย ๔๕ อริยา ๒ มังกร ๖ ต่วน ๑ เป็น ๑๐๒ ตัว เสื้อริ้ว ๑๐ แย่ง ๑๐ ดอกสะเทิน ๓๐ ดอกราย ๕๐ ต่วน ๓๐ อริยา ๒๐ แพรกิน ๑๕๐ ผ้าลาย ๔๐๐ เป็น ๗๐๐ ตัว เป็นเสื้อเป็นผ้าเป็นแพรเตรียมทัพ แพรหงอนไก่ลาย ๒ พับ แพรชุนติว ๓ พับ ผ้าขาวยามนิ ๕ พับ ผ้าโภกคลีบ ๑๐ ผืน ผ้าปูม ๑๐ ผืน ผ้าเชิงปูม ๑๐ ผืน ผ้าไหมนุ่ง ๒๐ ผืน ผ้าลายวิลาด ๒๐ ผืน ผ้าลายกุจรา ๕ กุลี ถ้าพระยานราราชมนตรีคุมเสื้อผ้าแพรออกมา


๑๙๒ ไม่ทันเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก ยกออกไปแล้ว ก็ให้กรมการผู้อยู่รักษาเมืองปราจินเมืองกบินทร จัดแจงช้างจัดแจงเกวียนบรรทุกเสื้อผ้าเสื้อแพร แต่งกรมการคุมออกไปส่งด้วยพระยานราราชมนตรี ให้เถิงเมืองปัตบองโดยเร็ว อย่าให้เป็นเหตุการแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นอันขาดทีเดียว สารตรามา ณ วันพุธเดือนยี่ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีกุนเอกศก ร่างตรา ๒ ฉะบับนี้ หลวงศรีเสนาทำ ได้เอากราบเรียนเจ้าคุณฝ่ายเหนือแล้ว สั่งว่าให้มีไปตามร่างนี้เถิด วันเดือนยี่ขึ้น ๔ ค่ำ ส่งตรา ๒ ฉะบับ กับหางว่าวเสื้อผ้าให้พระยานราราชมนตรีรับไปแล้ว ท่านพระยาจ่าแสนบดีปรนนิ..............(ลบ).................. ณ วันนั้น ให้กรมการ.......................(ลบ)..................ปีระกาเบญจศก ฉะบับที่ ๕ คำให้การนายถ่อญวน

................................. (ต้นฉะบับขาด)..................... ต้องเกนนาด้วย องตวนผู้เกนได้คน ๒๐๐ คน คุมมาส่งเมืองพุทไธมาส แล้ว ณ เดือนยี่ข้างขึ้น มีหนังสือเจ้าเวียดนามมาเมืองพุทไธมาส ให้กับพระยาธนมาธิบดี พามา ณ เมืองพนมเป็ญ ถ่อญวนให้การว่า ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านอิน

๑๙๓ ทานแขวงเมืองสาแดก เป็นบ่าวองฉารายกำนันบ้านอินทานยังหาได้เสียส่วยไม่ ณ เดือน ๑๑ ข้างขึ้นปีขาลจัตวาศก ฯ ข้า ฯ กับอิงิอาว์ ฯ ข้า ฯ กับญวนมีชื่อ ๓ คนเข้ากัน ๕ คน จัดได้ข้าสารได้น้ำสุรา สินค้าเล็กน้อย บรรทุกเรือไปขายเมืองพุทไธมาศ ฯ ข้า ฯ ขายของรายทางมา ๔ คืนเพลาเย็นเถิงเมืองโจดก หยุดนอนอยู่คืนหนึ่ง ฯ ข้า ฯ ถามลูกค้าญวนว่า ได้ยินพูดกันว่า เจ้าเวียดนามเกนกองทัพเมืองไซ่ง่อน เมืองล่องโห เมืองสาแดก เมืองสมิถ่อ เมืองดงนาย ให้มารักษาเมืองโจดก ลูกค้าญวนบอกว่าองดกโปซึ่งรักษาเมืองโจดก เกนไพร่ไปช่วยทำค่ายที่เมืองพุทไธมาศบ้าง ไปรักษาค่ายตามค่ายคลองขุดใหม่บ้าง แต่กองทัพเมืองดงนายให้ไปลาดกระเวนที่เกาดรนทางฉเล แล้วว่าไพร่ญวนอยู่ในเรือ ๕๐๐ คน เพลาเช้าจะยกไปเมืองพุทไธมาศ ครั้นรุ่งเช้า ฯ ข้า ฯ กับเพื่อนลูกเรือลูกค้า ๖ ลำก็ตามเรือกองทัพมา ฯ ข้า ฯ รู้ว่าองพอเกอ ๒ นาย คุมเรือแง่โอ ๕ แง่หงส์ ๑ เป็น ๖ ลำ บรรทุกกองทัพ ๕๐๐ คน กับสะเบียงอาหารเครื่องสาตราวุธไปเมืองพุทไธมาศ ฯ ข้า ฯ เห็นค่ายรายทางตามคลองขุด ๙ ค่าย ญวนกองทัพพายเรือมาขอหมากขอพลูกิน ฯ ข้า ฯ ถามญวนกองทัพบอก ฯ ข้า ฯ ว่ามีไพร่ รักษาค่ายละ ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง ฯข้าฯ มา ๓ คืนเถิงเมืองพุทไธมาศ องพอเกอ ๒ นายขึ้นไปหาองตนภู องอันสากองโปจันที่เมืองพุทไธมาศ องตนภูองอันสากองโปจันองลันบินให้อง


๑๙๔ พอเกอ ๒ นายไพร่ ๕๐๐ คน ไปช่วยทำค่ายปีกกาที่แหลมหอลันทิริมชายทะเลมาเถิงคลองสเมาทางประมาณ ๓๐๐ เส้นเศษ ฯข้าฯ จอดเรืออยู่ที่หน้าเมืองพุทไธมาศได้ ๕ วัน ครั้น ณ วันเดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำ ปีขาลจัตวาศก องฉางายนาย ฯ ข้า ฯ เกน ฯ ข้า ฯ ไปเข้ากระบวนทัพที่เมืองพุทไธมาศ เข้ากององโดยจิน แม่กองทำเรือ ฯ ข้า ฯ กับไพร่ญวนผลัดเปลี่ยนกันไปทำเรือวันละ ๑๕ คน เรือแง่โอ ๑๐ เรือ เรือแง่ทราย ๓ เรือ เรือแง่หงส์ ๓ เรือ .... ๒ เป็น ๑๘ ลำเศษ แล้วองตนกู ให้องจันเกอคุมไพร่ผลัดเปลี่ยนกันไปลาดตระเวนทางทะเลเที่ยวละ ๒ ลำ ๆ ๒๐ คน ทุกวัน เมื่อ ณ เดือนยี่ข้างแรมปีขาลจัตวาศกเห็นญวน ๕ คน เรือลำหนึ่งไปที่เมืองพุทไธมาศ แจ้งกับองตนภูว่า เรือลูกค้า ๓ ลำไปเถิงค่ายตะโนตจงส่งเขมรประมาณ ๔๐ คน ๕๐ คน เข้าล้อมจับลูกค้าไปได้ชาย ๓ หญิง ๓ เป็น ๖ คนหนีได้ ๓ คน ไปแจ้งกับองโดยจีนที่ค่ายกันจิต องโดยจีนให้ญวน ๒ คนพามาแจ้งกับตนภูที่เมืองพุทไธมาศ องตนภู ให้องจันเกอ คุมไพร่ ๕๐๐ คน เรือ ๖ ลำ ไปลาดตระเวนรักษาค่ายตามคลองขุด ที่เมืองพุทไธมาศเกิดความไข้ตั้งแต่เดือน ๑๑ มาจนเดือน ๔ ข้างขึ้น ไพร่ญวนกองทัพตายประมาณ ๓๐๐ เศษ ป่วยเจ็บใช้ราชการไม่ได้ ๒๐๐ เศษ แต่ราษฎรชาวบ้านป่วยเจ็บล้มตายบ้างหาเหมือนกองทัพไม่ เมื่อ ณ เดือน ๓ ข้างแรมองตนภูทำบัญชีไพร่กองทัพหัดทหารรบ มีตัวไพร่นอกจากป่วยล้มตาย ๙๐๐ คน ให้ไปรักษาค่ายปีกกาแต่แหลม


๑๙๕ หอลันที ชายทะเลมาเถิงคลอง.....................เมา ๓๐๐ คน อยู่ค่ายใหญ่เมืองพุทไธมาศ ๒๐๐ คน อยู่รักษาป้อมปากน้ำ ๒๐๐ คน รักษาค่ายโตโจฟากตะวันออก ๒๐๐ คน เข้ากัน ๙๐๐ คน มีปืนใหญ่ที่ค่ายเมืองพุทไธมาศ ๘ บอก กระสุน ๔ นิ้วกึ่ง ที่ค่ายปีกกาแลมหอลันภิมีปืนหามแล่น ๓๐ บอก ที่ป้อมปากน้ำ มีปืนใหญ่กระสุน ๔ นิ้ว กึ่ง ๑๐ บอก แล้วองตนภู องอันสาก องโปจัน องลันบินว่าข้าวในฉางมีน้อย จะจ่ายได้แต่ ๒ เกวียน ๓ เกวียน อยู่ ณ วันเดือน ๓ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีขาลจัตวาศก องตนภูให้องจันสากเอาเรือแง่หงส์ ๒ ลำ ไปรับกองทัพเมืองเว้ ที่เมืองล่องโห้ได้ประมาณ ๗ วัน องอันสากกลับมาบอกองตนภูว่าองทงเจมัก องกวานลิ องเหียบลิ คุมกองทัพมาแต่เมืองเว้ ๓๐๐๐ คน มาเถิงเมืองบินวา เมืองบินทุน องกวานลิ องเหียบลิ ป่วยเป็นไข้ตาย ๒ คน องทงเจมักแบ่งกองทัพ ๑๐๐๐ คน เอาศพองกวานลิองเหียบลิไปเมือง.............. แต่องทงเจมักกับกองทัพ ๒๐๐๐ คนมาอยู่เมืองล่องโห้ แล้วว่ากองทัพองทงเจมักเกิดความไข้ตายเสีย ๕๐๐ คน ยังคงอยู่ที่เมืองล่องโห้ ๑๕๐๐ คน องทงเจมักยังคอยกองทัพซึ่งกลับไปเมืองเว้ พากลับมาเถิงเมืองล่องโห้พร้อมกันแล้ว จะยกมา ณ เมืองโจดก เมืองพุทไธมาศ ณ วันเดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำปีขาลจัตวาศก ฯ ข้า ฯ ออกจากค่ายเขาโคนกรมเพลาเช้า ฯ ข้า ฯ มาดูลอบที่คลองเขมาพบเขมร ๓ คน ถือเครื่องสาตราวุธไล่จับ ฯ ข้า ฯ ได้แล้วจำคามา ๓ วันเถิงพระยาพระเขมรกองตระเวนถามเอาถ้อยคำ ฯ ข้าฯ


๑๙๖ แล้วจึงส่งตัว ฯ ข้า ฯ มาให้หลวงศักดาสงคราม ให้พระยาพล ณ บ้ามโรมหลวง............พระยา..............ให้เขมร ๘ คนคุม ฯ ข้า ฯ มาส่ง ณ เมืองพนมเป็ญ และเมื่อ ฯข้าฯ อยู่ที่เมืองสะแดกบ้าน ฯ ข้า ฯ เมื่อปีกุนเอกศก ได้ยินญวนลือว่า องค์อิ่มพาครอบครัวหนีมาหาองญวนที่เมือพนมเป็ญ องญวนส่งลงไปเมืองเว้ ฯ ข้า ฯ ได้ยินว่าองค์อิ่มป่วยเป็นแผลที่ข้อเท้าฟกบวมแห่งหนึ่ง ราคาข้าวสารที่เมืองพุทไธมาศ ซื้อขายกันถังญวนหนึ่งเป็นอีแปะ ๒ พวง ๘ เตียน เป็นถังไทยถังละ ๒ บาท ๑ เฟื้อง ๒ ไพ เกลือถังญวนหนึ่งเป็นอีแปะ ๒ พวง ๓ เตียนเป็นถังไทย..................... (ต้นฉะบับขาด)..........ไพร่ญวนเขมร ๑๕ คน............... มาเถิงเกาะเลาพระยามหามนตรีได้บอกว่าองญวนพาฟ้าทะละหะ สมเด็จเจ้าพระยา พระยากลาโหมขึ้นมา จะพูดจาปรึกษาราชการ ณ เกาะกระสวย พระยาจัตุรงค์นรินทร์อินทวิไชยคุมไพร่ ๑๐๐ คน เรือใหญ่น้อย ๑๕ ลำ เครื่องสาตราวุธพร้อม ลงไปเถิงเกาะเลาเห็นเรือแง่โอ ๔ เรือแง่ทราย ๖ เรือ................ ๘ ลำเป็น ๑๘ ลำ ไพร่ญวนเขมรประมาณ ๓๐๐ คน แจวเรือเข้ามาใกล้พระยาจัตุรงค์นรินทร์อินทวิไชยประมาณ ๒ เส้น เรืออ้ายภาษาตีแจวใกล้เข้ามาประมาณ ๕ วา อ้ายภาษาตีบอกว่าองจันเวทง ฟ้าทะละหะ สมเด็จเจ้าพระยาพระยากลาโหม ให้มาบอกว่า ให้พรระยาจัตุรงค์นรินทร์อินทวิไชยนายทัพนายกอง ไปพูดจากันที่เรือฟ้าทะละหะ พระยาจัตุรงค์นรินทร์อินทวิไชยว่ามาทั้งนี้ก็จะพูดจากัน แต่เรือองญวนล้อมเรือ

๑๙๗ ฟ้าทะละหะ สมเด็จเจ้าพระยาพระยากลาโหมอยู่ จะไปหาได้ไม่ ถ้าจะพูดจากันให้ญวนถอยเรือไปอยู่ข้างหลัง ให้เรือฟ้าทะละหะ เรือสมเด็จเจ้าพระยา เรือพระยากลาโหม เข้ามาข้างหน้า จึงจะไปพูดจาด้วย ญวนหาให้เรือฟ้าทะละหะ เรือสมเด็จเจ้าพระยา เรือพระยากลาโหมขึ้นมาข้างหน้าไม่ พระยาจัตุรงค์นรินทร์อินทวิไชยจึงว่า ถ้าจะพูดจากันให้ได้ ให้ฟ้าทะละหะ สมเด็จเจ้าพระยา พระยากลาโหมขึ้นไปพูดจากันบนบก ญวนก็หาให้ขึ้นไปพูดจาบนบกไม่ แล้วอ้ายรามเสนาโสมกับไพร่ญวน ๕ คน แจวเรือเข้ามาเถิงเรือพระยาจัตุรงค์นรินทร์อินทวิไชย อ้ายรามเสนาโสมกระซิบบอกพระยาจัตุรงค์นรินทร์อิทวิไชยไปพูดกันที่เรือเถิด ฟ้าทะละหะจะได้หนีมาด้วย พระยาจัตุรงค์นรินทร์อินทวิไชยไม่ไป ญวนก็ถอยเรือไปอยู่ค่ายจะโรยตามา พระยาจัตุรงค์นรินทร์อินทวิไชยกลับมาอยู่ปากน้ำเกาะเตียว ณ วันเดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำ หลวงศักดาสงคราม พระยาพลเมืองปัตบอง ซึ่งอยู่ ณ บ้านมะโรมแขวงเมืองพุทไธมาศ ให้หลวงยกรบัตรเมืองประโคน ใช้ถือหนังสือคุมตัวอ้ายตุง อ้ายเชิญ ญวน จับได้ทางตะโนดจงส่งมา ส่ง ณ เมืองพนมเป็ญ อ้ายตุงเชิญให้การว่าอยู่บ้านเมือกสะไว แขวงเมืองสะแดก ณ วันเดือน ๑๒ แรม ๕ ค่ำ ปีขาลจัตวาศก องตวนภูคนใหม่มาแต่เมืองเว้ เกนคนที่เมืองสะแดก ๒๐๐ คน ไปรักษาเมืองพุทไธมาศ อ้ายตุงอ้ายเชิญ.........(ต้นฉะบับขาดไม่จบ)..................


๑๙๘ ฉะบับที่ ๖ ตราถึงเมืองกาฬสินธุ์, ไชยบุรี, สกลนคร ให้ไปกวาดต้อนครอบครัวญวนที่ค่ายนาขนองม้า

หนังสือเจ้าพระยาจักรี ฯ มาเถิงพระอุปหาด ผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์ พระไชยวงษาเจ้าเมืองไชยบุรี พระยาประเทศธานีเจ้าเมืองสกลนคร ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า พระสุนทราชวงศา พระบรมราชอุปหาดราชวงศ์ ท้าวเพี้ยบอกหนังสือแต่งให้ท้าวพรหมจักร์ถือลงไปว่า ได้แต่งให้ท้าวเพี้ยไปเกลี้ยกล่อม ได้อุปหาดเมืองหลวงหมูเลงกับครอบครัวชายหญิงใหญ่น้อย ๑๐๐ เศษ ข้ามมา ณ เมืองนครพนม พระสุนทรราชวงศาให้ท้าวพรหมจักร์ พาตัวอุปหาดเมืองหลวงมูเลง นายศรีบุตรเขยอุปหาด เสมียนจันทา ลงไปแจ้งราชการ ณ กรุงเทพ ฯ เจ้าพนักงานจัดแจงตั้งน้ำพระพิพัฒสัจจา ให้อุปหาด นายศรีบุตรเขยอุปหาด เสมียนจันทา กระทำสัตยานุสัตย์สาบาลรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒสัจจา ตามอย่างทำเนียมแล้ว ให้ไล่เลียงถามเถิงครอบครัว และญวน ซึ่งมาตั้งอยู่ที่ค่ายนาขนองม้า อุปหาดให้การว่า ญวนอยู่รักษาค่ายนาขนองม้าคราวละ ๑๐๐ หนึ่ง คราวละ ๑๐๐ เศษ ญวนเกนเมืองคำเกิด เมืองคำมวน ไปรักษาค่ายเมืองละ ๓๐ คน ๔๐ คน ญวนให้ครัวเมืองคำเกิด เมืองคำมวน เข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่หลังค่ายนาขนองม้า ครัวเมืองคำมวนตั้ง


๑๙๙ อยู่น้ำพร้าว เพี้ยพุทวงนายครัว มีครัวฉกรรจ์ ๒๐๐ ครัวเมืองคำเกิดตั้งอยู่น้ำงบ เพี้ยแก้ววิไชยมีครัวชายฉกรรจ์ ๓๐๐ คน กับครัวเรี่ยรายอยู่ในป่าดง แห่งละ ๒๐ คนบ้าง ๓๐ คนบ้าง เข้ากันทั้งครอบครัวชายหญิงประมาณ ๓๐๐๐ เศษ ญวนเกียจกันระวังรักษาครอบครัวอยู่ ญวนให้เรียกเอาเงินส่วยแก่พวกครัวไพร่ฉกรรจ์คนละ ๒ สลึงเสมอทุกครอบครัว ขัดสะเบียงอาหาร อุปหาดพาครัวหนีมาจริง ทรงพระกรุณาดำรัสถามท้าวพรหมจักร์ว่า ครอบครัวเมืองคำเกิด เมืองคำมวน เมืองมหาชัย เมืองเวียงจันท์ ซึ่งตกค้างอยู่ฟากตะวันออกนั้น ได้มีตราโปรดขึ้นมาแต่ก่อน ให้พระสุนทรราชวงศา อุปหาดราชวงศาท้าวเพี้ยพร้อมมูลกัน คิดอ่านยกกองทัพไปตีค่ายญวน กวาดเอาครอบครัวมาเสียให้สิ้น พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมือง ท้าวเพี้ยทั้งปวง คิดอ่านปรึกษาหารือกันประการใด ท้าวพรหมจักร์ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระสุนทรราชวงศาได้ปรึกษากันกับท้าวเพี้ย คิดจะให้กองทัพยกไป ๒ ทาง ไปทางเมืองเห้า เมืองวาง ทางหนึ่งนายไพร่ ๖๐๐ คน ให้ยกโอบขึ้นไปเถิงเชิงภูหลวงหลังค่ายนาขนองม้า จะได้สะกัดกวาดครอบครัวมิให้หลบหนีไปได้ จะให้กองทัพไปทางบ้านค่ามทางหนึ่ง นายไพร่ ๖๐๐ คน ให้ยกเข้าล้อมค่ายญวน คิดอ่านปรึกษาหารือกันจะไปตีค่ายญวนกวาดเอาครอบครัวมา เจ้าเมืองอุปหาดราชวงศ์ท้าวเพี้ย เมืองคำเกิด เมืองคำมวน ซึ่งสามิภักดิ์มาตั้งอยู่บ้านท่าขอนยาง บ้านแซรงกระดาน


๒๐๐ แขวงเมืองกาฬสินธุ์ มาว่ากล่าวกับพระสุนทรราชวงศา ว่าจะยกกองทัพไปกวาดครอบครัว ๆ จะหลบหนีระส่ำระสาย จะหาได้ครอบครัวมาสิ้นไม่ เจ้าเมืองท้าวเพี้ยเมืองคำเกิด เมืองคำมวน จะขอคิดอ่านเกลี้ยกล่อมครอบครัวไป ถ้าครอบครัวไม่ข้ามมาโดยดี จึงให้ยกกองทัพไปตีกวาดเอาครอบครัวมา พระสุนทรราชวงศาจึงงดรอให้เกลี้ยกล่อมครอบครัวอยู่ก่อน จึงทรงพระราชดำริว่า ครอบครัวซึ่งตกค้างอยู่ฟากคลองตะวันออก เกลี้ยกล่อมไม่มีใครจะข้ามมาทางนี้ ก็เพราะญวนมาตั้งเกียจกันอยู่ที่ค่ายนาขนองม้า ครอบครัวจึงหาใคร่จะข้ามมาโดยสะดวกไม่ แล้วญวนก็มาตั้งรักษาค่าย มีญวนแต่ ๑๐๐, ๑๐๐ เศษ กับลาวเมืองคำเกิด เมืองคำมวน ญวนเกนมาไว้ทั้งญวนทั้งลาวอยู่รักษาค่าย ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน หาควรจะให้กองทัพกรุงยกขึ้นไปไม่ กองทัพกรุงยกขึ้นไปก็จะหนักแรงสะเบียงอาหาร เมืองนครพนมญวนมาตั้งค่ายมีไพร่พลเล็กน้อยเท่านี้ แต่กำลังรี้พลเมืองนครพนม เมืองสกลนคร เมืองกาฬสินธุ์ เมืองไชยบุรี เมืองคำเกิด เมืองคำมวน เมืองท่าอุเทน ก็จะทำได้ ครั้นจะละไว้นานไป ญวนจะรวบรวมครอบครัวตั้งเป็นภูมิฐานบ้านเมืองขึ้น ญวนจะกดขี่ให้พวกครัวมาสะกัดจับผู้คนฝ่ายเรา ซึ่งข้ามไปลาดตระเวนและหากินฟากตะวันออก จะไปมายาก และครอบครัวที่ข้ามมาแล้วกับครอบครัวซึ่งค้างอยู่ฟากข้างโน้น ก็เป็นพวกพะวงเกี่ยวพันกันอยู่ จะหนีไปหนีมาหากันจะหาเป็นปรกคิไม่ ทั้งจะเป็น


๒๐๑ ทางสะเบียงอาหารกองทัพญวนต่อไปข้างหน้า ครั้นญวนรวบรวมครอบครัวตั้งเป็นภูมิฐานขึ้นได้แล้ว จะยกไปตีก็จะหนักแรงรี้พลจะต้องคิดอ่านตีค่ายญวนให้ยับเยินเลิกถอนไป อย่าให้ญวนมาตั้งกันครอบครัวอยู่ได้ จะได้กวาดเอาครอบครัวมาเสียให้สิ้น และข้างทางเมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองชุมพรนั้น ครอบครัวก็ยังตกค้างอยู่มาก ครอบครัวถอยเข้าไปข้างในเมืองพิน เมืองตะโปน ได้โปรดให้พระเทพวงศาเจ้าเมืองเขมราฐเป็นแม่ทัพ คุมกองทัพเมืองเขมราฐ เมืองอุบลราชธานี เมืองมุกดาหาร ยกข้ามไปตีเมืองพิน เมืองเชียงร่มผาบาง ให้คิดทำต่อเข้าไปเมืองตะโปน กวาดเอาครอบครัวมา ตัดทางสะเบียงอาหารกองทัพญวนให้ขาดห่างไกลออกไป พระเทพวงศาเจ้าเมืองเขมราฐ ลงไปเฝ้าทูลละออง ฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาจะขอยกไปตีในฤดูฝน หัวเมืองลาวฟากตะวันออกและครอบครัวที่หลบหลีกอยู่ในห่าดงไม่สู้ระวังตัวจะทำเอาโดยง่าย กำหนดพระเทพวงศาเจ้าเมือง ท้าวเพี้ย เมืองอุบลราชธานี เมืองมุกดาหาร จะได้ยกกองทัพไปในเดือน ๙ ปีกุนเอกศก และคลองทางเมืองมหาชัยญวนมาตั้งกันครอบครัว ๆ ยังตกค้างอยู่ฟากคลองตะวันออกมา ซึ่งเจ้าเมืองอุปหาดราชวงศ์ ท้าวเพี้ยเมืองคำเกิด เมืองคำมวน จะขอเกลี้ยกล่อมครอบครัวนั้นก็ให้เกลี้ยกล่อม ไปให้พระสุนทรราชวงศาอุปหาด ผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์ พระไชวงศาเจ้าเมืองไชยบุรี พระบรมราชา พระยาประเทศธานี พระศรีวรราช


๒๐๒ เมืองท่าอุเทน อุปหาด ราชวงศ์ ท้าวเพี้ยเมืองนครพนม เมืองสกลนคร เมืองกาฬสินธุ์ .............(ต้นฉะบับขาด).....................

ฉะบับที่ ๗ รายการเสื้อที่พระราชทานนายทัพนายกอง

กรมมหาดไทย พระราชนิกูล เสื้อเข้มขาบริ้วดี ๑ หลวงเสนีพิทักษ์ หลวงอนุรักภูเบศร หลวงจินดารักษ์ หลวงสุริยามาตย์ เสื้อเข้มขาบดอกสะเทิน ๔ หลวงพิศณุเทพเจ้ากรม หลวงวาสุเทพเจ้ากรม เสื้อเข้มขาบก้านแย่ง ๒ ขุนมหาวิชัย ขุนแพลงสะการ ขุนพิศณุแสน ขุนเพชรอินทรา ขุนรักษาโยธา ปลัดกรม เสื้ออัตลัตดอกราย ๕ เป็น ๑๒ พระอัคเณศวรเจ้ากรม เสื้อเข้มขาบริ้วขอ ๑ นายพินมหาดเล็ก เสื้อแพรต่วน ๑ ล้อมวัง พระรามพิชัยเจ้ากรม เสื้อเข้มขาบริ้วขอ ๑ กองกลางขวา หลวงศรีรณรงค์เจ้ากรม เสื้อเข้มขาบก้านแย่ง ๑ กองกลางซ้าย ขุนใจหาญปลัดกรม เสื้ออัตลัตราย ๑ กรมม้า ขุนเพชรสงคราม เสื้ออัตลัตราย ๑ กรมโหร ขุนญาณโยค เสื้อมังกร ๑ ตำรวจใหญ่ซ้าย พระพิเรน ทรเทพเจ้ากรม ริ้ว เจ้ากรมตำรวจผืนม่วง ๑ ตำรวจใหญ่ขวา จมื่นชัยภูษาปลัดกรม เสื้ออัตลัตดอกถี่ ๑


๒๐๓ ตำรวจนอกขวา จมื่นทิพรักษาปลัด เสื้ออัตลัตดอกถี่ ๑ ตำรวจสนมขวา พระพรหมบริรักษ์เจ้ากรม ริ้วเจ้ากรมตำรวจ ๑ อาษาขวา พระยารามกำแหงเจ้ากรม ริ้วมะลิเลื้อย ๑ หลวงเพชรกำแหง หลวงสำแดงฤทธิรงค์ ปลัด ดอกสะเทิน ๒ เป็น ๓ บ้านใหม่ ขุนฤทธิ์พิชัยปลัดกรม เสื้อดอกสะเทิน ๑ โพเรียง ขุนกระชาพลปลัด เสื้อดอกสะเทิน ๑ กรมมหาดไทยวังหน้า พระยาราชโยธา ริ้วดี ๑ พระเสนาพิพิธ ก้านแย่ง ๑ หลวงสุเทพนุรักษ์ หลวงบุรินทามาตย์ หลวงรักษ์เสนา หลวงฤทธามาตย์ หลวงอนุรักษ์ภักดี หลวงโยธาสงคราม หลวงภักดีณรงค์ เสื้อดอกลาย เป็น ๗ (รวมเป็น ) ๙ กรมเมือง ขุนชะนะ เสื้อมังกร ๑ กรมหมอ หลวงวิเศษโอสถ เจ้ากรม เสื้อดอกถี่ ๑ กรมอาลักษณ์ หลวงลิขิตปรีชาเจ้ากรม ดอกถี่ ๑ ขุนสาราบรรจง ปลัดกรม ดอกลาย ๑ เป็น ๒ คลังมหาสมบัติ หลวงพิทักษ์สมบัติ ดอกลาย ๑ คลังสุพรัต หลวงวิสุทธิรักษ์เจ้ากรม เสื้อดอกสะเทิน ๑ ขุนทิพย์ชำนาญปลัด เสื้อดอกลาย ๑ เป็น ๒ คลังในขวา หลวงอนันตบริรักษ์เจ้ากรม เสื้อดอกลาย ๑ สังฆาการี หลวงพรหมาธิบดีเจ้ากรม เสื้อมังกรหนา ๑ ขุนศรีธรรมลังการ์ ขุนศรีธรรมลังกรปลัดกรม เสื้อมังกรบาง ๒ เป็น ๓


๒๐๔ น้ำสรง ขุนพรธาราเจ้ากรม เสื้อมังกรบาง ๑ แสงใน หลวงเทพาวุธเจ้ากรม ดอกถี่ ๑ กรมภูษามาลา หลวงวิจิตร์ภูษาเจ้ากรม ดอกถี่ ๑ ขุนมหาภรณ์ ขุนสุนทรปลัดกรม ดอกลาย ๒ เป็น ๓ สนมพลเรือน หลวงศรีทิพบาล หลวงศรีเทพบาลเจ้ากรม ดอกสะเทิน ๒ กรมช้าง พระศรีพาวังเจ้ากรม ก้านแย่ง ๑ หลวงศรีคชริน หลวงอินทร์คชลักษณ์ปลัด ดอกลาย ๒ หลวงอินทร์คชไกร หลวงจำเริญคชสาร เสื้ออริยา ๒ เป็น ๕ ชาวที่ขวา ขุนอาศน์ภิรมย์ ดอกลาย ๑ กรมม้า ขุนแสนนพรัตน์ปลัดกรม ดอกลาย ๑ อพิรม พันทองเจ้ากรม ดอกลาย ๑ราชยานหลวงราชพิมาตจางวาง ดอกสะเทิน ๑ พันเงินเจ้ากรม ดอกลาย ๑ เป็น ๒ เรือกันซ้าย หลวงรักษาจัตุรงค์เจ้ากรม ดอกสะเทิน ๑ เรือกันขวา หลวงภักดีโยธาเจ้ากรม ดอกสะเทิน ๑ ล้อมวัง พระชะนะรณชิตเจ้ากรม ก้านแย่ง ๑ กรมพระยาณรงค์วิชัย พระยาณรงค์วิชัย ริ้วปอ ๑ หลวงวิสูตรโยธา หลวงยี่สารเสนามาตย์ปลัด ดอกลาย ๒ เป็น ๓ กรมพระรามเดช พระรามเดชเจ้ากรม ก้านแย่ง ๑ หลวง รุทธิกำแหงปลัด ดอกลาย ๑ เป็น ๒


๒๐๕ กรมพระวิชิตสงคราม พระวิชิตสงครามเจ้ากรม เสื้อก้านแย่ง ๑ หลวงพิพิธเสนา หลวงนราเสนีปลัด เสื้อดอกลาย ๒ เป็น ๓ กรมพระฤทธิสงคราม พระฤทธิสงคราม ก้านแย่ง ๑ หลวงจงใจภพ หลวงลบบาดาล ดอกลาย ๒ เป็น ๓ กรมพระรามรงค์ พระรามรงค์เจ้ากรม ก้านแย่ง ๑ หลวงวิชิตราชา หลวงนรารณรงค์ปลัด ดอกลาย ๒ เป็น ๓ กรมพระยาอภัยสงคราม พระยาอภัยสงคราม ริ้วขอ ๑ หลวงศรีสรสิทธิ์ หลวงสุรินทร์ฤทธิ์ปลัด ดอกลาย ๒ เป็น ๓ กรมพระไกรภพ หลวงรามวิชิตปลัด ดอกลาย ๑ กรมตำรวจในซ้าย พระอินทธิบาลเจ้ากรม ริ้วขอ ๑ ตำรวจในขวา พระพรหมสุรินทร์เจ้ากรม ริ้วขอ ๑ ตำรวจนอกขวา หลวงณรงค์วิชิตเจ้ากรม ริ้วขอ ๑ กรมเลือกหอกซ้าย ขุนนราเรืองเดชปลัด ดอกลาย ๑ กรมเลือกหอกขวา หลวงพิลึกโยธาเจ้ากรม ดอกสะเทิน ๑ ขุนวิเศษจัตุรงค์ปลัด ดอกลาย ๑ เป็น ๒ พลพันซ้าย หลวงชาติสุเรนทร์เจ้ากรม ดอกถี่ ๑ ขุนสรสิทธิราชปลัด ดอกลาย ๑ เป็น ๒ พลพันขวา หลวงกำจรใจราชเจ้ากรม ดอกถี่ ๑ ขุนนาถจำนงค์ปลัด ดอกลาย ๑ เป็น ๒ กองกลางซ้าย หลวงอาษาภูธรเจ้ากรม ดอกสะเทิน ๑


๒๐๖ ขุนรักษาโยธีปลัด ดอกลาย ๑ เป็น ๒ คู่ชักซ้าย หลวงฤทธิพลชัย เจ้ากรม ดอกสะเทิน ๑ คู่ชักขวา หลวงเสนาพลสิทธิ์ เจ้ากรม ดอกสะเทิน ๑ ขุนวิเศษศัตรา ปลัด ดอกลาย ๑ เป็น ๒ ปืนใหญ่ ขุนยุทธสรา ปลัด ดอกลาย ๑ เตรียมสำหรับทัพ เสื้อริ้ว ๑๐ เสื้อก้านแย่ง ๑๐ เสื้อดอกสะเทิน ๓๐ เสื้อดอกลาย ๕๐ เสื้อต่วน ๓๐ เสื้ออริยา ๒๐ เสื้อแพรกิน ๑๕๐ เสื้อผ้าลาย ๔๐๐ เป็น ๗๐๐ เตรียมสำหรับทัพ ผ้าแพรงอนไก่ลาย ๒ พับ แพรชุนติว ๓ พับ ผ้าขาวยาวตะนิ ๕ พับ ฟ้าโพกกลีบ ๑๐ ผืน ผ้าปูม ๑๐ ผืน ผ้าเชิงปูม ๑๐ ผืน ผ้าไหมนุ่ง ๒๐ ผืน

ฉะบับที่ ๘ ย่อความใบบอกต่าง ๆ

วันเดือนยี่ปีกุนเอกศก เจ้าเมืองหลวงพระบางบอกลงมาว่าปลัดหัวเมืองให้ท้าวราช ท้าวเพชรเมืองเหียม ให้ท้าวบุญมา ท้าวกิ่ง มาคอยรับ ไม่มา เมืองสบแอด เมืองชำเหนือ เมืองชำใต้ เมืองโสย เมืองเชียงฆ้อ เมืองบัว เมืองลาน เมืองซ่อน ให้เพี้ยราชถือหนังสือไปบอกหัวพันทั้งหก มาเดือน ๑๒ กับเมืองแถง ณ วันเดือน ๘ อุตราษาฒ แรม ๒ ค่ำ ท้าวขุนเมืองงวยแจ้งว่า


๒๐๗ องโปเลญวน ให้ท้าวกิม เมืองแถง กับไพร่ ๔ คน ถามท้าวขุนเมืองงวยว่า เมืองแถง เมืองหลวงพระบางจะขึ้นไปตั้งหรือเจ้าเมืองหลวงพระบาง ให้พระยาศักกะแคร ให้เพี้ยอรินให้พันเมืองงวยขึ้นไปจับเอาตัวท้าวกิมกับไพร่ ๔ คน มา ณ เมืองหลวงพระบาง ครั้นลาวทองดำที่เจ้าอภัยสุริยวงศ์เอาไปซุ่มซ่อนไว้ทางไกลกับเมืองแถงคืนหนึ่ง ให้เพี้ยอริน พันเมืองงวย นายหนานเทพ ไพร่ ๑๕๐ คน ไปกวาดได้เพี้ยทุงกับครัว ๑๑๑ คน ให้พระยาเชียงเหนือ พระยาเชียงใต้ พระยาศรีนครโลก คุมเอาตัวท้าวกิม ไพร่ ๔ คน เพี้ยทุงครัวลาวทรงดำ ๑๑๑ คน กับสีผึ้งหนัก ๔ หาบ ลงทูลเกล้า ฯ ถวาย หลวงพิศณุแสน พระยาวิเศษภักดี เจ้าเมืองศรีสะเกศ พระศรีสุระ เจ้าเมืองเดชอุม บอกมาว่าชำระได้ครอบครัวหลวงภักดีเดช เจ้าเมืองประจันตคามลงมา เป็นคน (ต่อไปนี้) เมืองศรีสะเกศ ตาย ชายฉกรรจ์ ๑ เณร ๓ ชายชราเดิม ๑ พิการขึ้น ๑ ขุนหมื่นเดิม ๒ ฉกรรจ์ขึ้น ๑๐ เป็น ๑๗ ครัวชายหญิง ๔๖ เป็น ๖๓ เป็น ๖๔ เมืองเดชอุดม ตาย หญิงชรา ๒ เณร ๘ ขุนหมื่นเดิม ๒ คงฉกรรจ์เดิม ๙ คงฉกรรจ์ขึ้น ๙ เป็น ๑๘ เป็น ๒๘ ครัวชายหญิง ๘๖ เป็น ๑๑๔ เป็น ๑๑๖ (รวมเป็น) ๑๘๐ กับภรรยาชายโทน เมืองศรีสะเกศ ชายหญิง ๘ เมืองเดชอุดมชายหญิง ๑๐ เมืองอุบลชายหญิง ๒๑ เป็น ๒๙ (รวมเป็น) ๒๐๙ คน


๒๐๘ กับสิ่งของพวกครัวมีโคผู้ ๑๔ ตัว กระบือ ๕๖ ตัว พระสุนทรราชวงศาบอกลงมา ณ วันเดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีกุนเอกศก เกลี้ยกล่อมได้ครัวเมืองแทรก องกายไก ๑ ครัว ๓๔ เป็น ๓๕ เมืองมหาชัยครัว ๒๕ เป็น ๖๐ จับได้ญวน ๒ คน ช้างพลาย ช้างพัง ๑๑ ช้าง กับครัวพวกเพี้ยเชียงเหนือ ท้าว ๒ ฉกรรจ์ ๓ ครัว ๔๓ เป็น ๔๘ ครัวกระโชร ชายฉกรรจ์ ๑๙ ครัว ๓๗ เป็น ๕๖ เป็น ๑๐๔ ครัวอุปหาดเมืองหลวงมูเลงกาม มาเดือน ๖ อุปหาด ๑ ท้าวเพี้ย ๗ ฉกรรจ์ ๑๔ ครัว ๑๐๐ เป็น ๑๒๑ เขยสู่นครพนม ๒ เป็น ๑๒๔ (รวมเป็น) ๒๖๘ กับว่า ณ วันเดือน ๗ ขึ้น ๓ ค่ำ องกายไกเถิงแก่กรรม หลวงยกรบัตรเมืองกบินทร์ ซึ่งไปรักษาเมืองปัตบองกลับเข้ามาแจ้งว่า ให้ขุนรักษาพลไปอยู่เมืองเสียมราบมาให้การว่า ป้อมกำแพงเมืองเสียมราบด้านใต้ กำแพงพังเส้น ๘ วา ป้อมมุมตะวันตกเฉียงใต้พัง ๒ วา ป้อมตะวันตกพัง ๔ วา ป้อมตะวันตกเฉียงเหนือพัง ๑๖ วา ป้องตะวันออกเฉียงเหนือพัง ๘ วา พระยาอุทัยธานี กรมการบอกลงมาว่า แต่งให้ขุนจาสัจไปสืบราชการ กลับมาแจ้งความว่าไปเถิงเมืองมระวดี ณ วันเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ เห็นเรือน ๒ เห็นโรง ๑ เป็น ๓ หลัง



๒๐๙ นอกเมืองริมน้ำข้างตะวันออกหามีคนอยู่ไม่ เลยออกไปเถิงเมืองเมาะตำเลิม มะวอกมูเล่าความว่าพวกอังกฤษได้สามเณรพะม่า ๑ ได้ศิษย์พะม่า ๒ เป็น ๓ คน มาแต่นำมะเริงพิทักษ์รักษาไว้ในเมือง ไม่ให้ผู้ใดไปดู ขุนจาสัจเห็นกำปั่นน่าเมือง ใหญ่ ๑ ลำ เล็ก ๕ เป็น ๖ ลำ เห็นต่อกำปั่นใหญ่ลำหนึ่ง บอกมา...........................ค่ำ เถิงกรุง ณ วันเดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ