ข้ามไปเนื้อหา

จดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษ/ตอนที่ 14

จาก วิกิซอร์ซ

ตอนที่ ๑๔ ต่อจดหมายเหตุของหม่อมราโชทัย ว่าด้วยแขกเมืองที่มาส่งราชทูตเข้าเฝ้า

[แก้ไข]

ได้เนื้อความตามใบบอกของ เซอร์รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษในกรุงเทพ ฯ มีไปยังกระทรวงต่างประเทศที่กรุงลอนดอน เรื่องราชทูตไทยกลับมาถึงกรุงเทพ ฯ แล้ว ว่ายังมีการรับพระราชสาส์น แลเสด็จออก รับแขกเมืองนายเรือรบที่มาส่งทูต มีเนื้อความดังนี้

ราชทูตไทยกลับมาถึงกรุงเทพ ฯ ณวันศุกรเดือน ๗ ขึ้น ๙ ค่ำ รุ่งขึ้นกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ แลเจ้าพระยา รวิวงศ์มหาโกษาธิบดี แจ้งความแก่เซอร์รอเบิตจอมเบิด ว่าจะโปรดให้ เรือไฟหลวงลงไปรับพระราชสาส์น ซึ่งสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียมีตอบ แต่เรือรบอังกฤษเข้ามาจนเมืองสมุทปราการ แล้วจะจัดเรือพระที่นั่ง เอกไชย กับเรือกระบวนลงไปรับพระราชสาส์น แห่ขึ้นมาจากเมือง สมุทปราการจนถึงกรุงเทพฯ (๑) พวกขุนนางนายเรือรบนั้นก็จะจัดเรือไฟหลวงลงไปรับขึ้นมา ด้วยจะโปรดให้เข้าเฝ้าเปนการเต็มยศ อนึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จลงไปเยี่ยมถึงเรือรบที่มาส่งราชทูต นั้นด้วย

ครั้นณวันจันทร์ เดือน ๗ ขึ้น ๑๒ ค่ำเวลาเช้า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จโดยเรือกลไฟจักรท้ายซึ่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศต่อแล้วใหม่ ออกจากกรุงเทพ ฯ ไปถึงเรือรบอังกฤษ ชื่อโปเลดิศ ซึ่งทอดสมออยู่ที่สันดอน กัปตันดิกอเซจัดการรับเสด็จตามสมควรแก่ พระเกียรติยศ เชิญเสด็จตรวจเรือ แล้วฝึกหัดยิงปืนใหญ่น้อยถวาย ทอดพระเนตร จนเวลาบ่าย ๓ โมงจึงเสด็จกลับ มีรับสั่งให้กัปตัน ดิกอเซ กับนายเรือรบที่เปนผู้ใหญ่ตามเสด็จมาในเรือพระที่นั่ง พวก ขุนนางนายเรือรบอังกฤษนอกจากนั้นมาในเรือไฟหลวงที่ออกไปรับ

ณวันอังคารเดือน ๗ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เรือกระบวนแห่พระราชสาส์น สมเด็จพระราชินีวิกตอเรียขึ้นมาถึงกรุงเทพ ฯ

ณวันพุธ เดือน ๗ ขึ้น ๑๓ ค่ำ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเปนการเต็มยศ โปรดให้ เซอร์รอเบิตจอมเบิค พากัปตันดิกอเซแลพวกขุนนางนายเรือรบ กับทั้ง พวกอังกฤษในสถานกงสุลเข้าเฝ้า มีพระราชปฏิสัณฐารแลทรงขอบใจ นายเรือรบที่รับราชทูตมาส่งถึงกรุงโดยสวัสดิภาพ ครั้นเฝ้าเต็มยศแล้ว เสด็จออกที่เก๋งกรงนก โปรดให้พวกนายเรือรบเข้าเฝ้าที่รโหฐาน ทรง ทักทายรายตัวทั่วกันแล้ว จึงโปรดให้จัดเลี้ยงอาหารเวลากลางวันใน ที่นั้น แล้วจึงได้กลับไป

ในเวลาที่พวกนายเรือรบเข้ามาพักอยู่กรุงเทพ ฯ นั้น ปรากฏว่าเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มีการเลี้ยงเวลาค่ำ แล้วมีละคอนให้ดูคืน ๑ เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดีมีการเลี้ยงเวลาค่ำ แล้วมีมโหรีให้ฟัง คืน ๑ พวกนายเรือรบกลับไปณวันพฤหัสบดี เดือน ๗ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๒๐ พ.ศ.๒๔๐๑


(๑) จะเห็นได้ตรงนี้ว่า ประเพณีฝรั่งกับประเพณีไทย ถือในเรื่องพระราชสาส์นผิดกันอย่างไรในสมัยนั้น ที่จริงพระราชสาส์นที่กวีนวิกตอเรียตอบ เขามอบให้ราชทูต ไทยแต่ที่เมืองลอนดอน แต่ประเพณีไทยเราถือว่า ต้องแห่แหนรับพระราชสาส์นเปน พระเกียรติยศ ทูตจึงมอบพระราชสาส์นไว้ในเรือรบอังกฤษที่มาส่ง เพราะจะต้องลง ไปแห่แหนพระราชสาส์นตามประเพณีไทย


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก