ตำนานหนังสือสามก๊ก/๑๒
ได้ลองสืบสวนดูเมื่อจะแต่งตำนานนี้ ได้ความว่า หนังสือสามก๊กได้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ ถึงสิบภาษา[1] คือ
๑. แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๕
๒. แปลเป็นภาษาเกาหลีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๒
๓. แปลเป็นภาษาญวนพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒
๔. แปลเป็นภาษาเขมร แปลเมื่อใดหาทราบไม่ ยังไม่ได้พิมพ์
๕. แปลเป็นภาษาไทยเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๔๕
๖. แปลเป็นภาษามลายูพิมพ์[2] เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕
๗. แปลเป็นภาษาลาตินมีฉบับเขียนอยู่ในรอยัลอาเซียติคโซไซเอตี แต่จะแปลเมื่อใดไม่ปรากฏ
๘. แปลเป็นภาษาสเปนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓
๙. แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๘
๑๐. แปลเป็นภาษาอังกฤษพิมพ์[3] เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙
ตำนานการแปลหนังสือสามก๊กเป็นภาษาไทย มีคำบอกเล่าสืบกันมาว่า เมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น แลให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก คำที่เล่ากันมาดังกล่าวนี้ไม่มีในจดหมายเหตุ แต่เมื่อพิเคราะห์ดูเห็นมีหลักฐานควรเชื่อได้ว่า เป็นความจริง ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเอาเป็นพระราชธุระขวนขวายสร้างหนังสือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์สำหรับพระนคร หนังสือซึ่งเป็นต้นฉบับตำรับตำราในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ทั้งที่รวบรวมของเก่า ที่แต่งใหม่ แลที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ มีมาก แต่ว่าในสมัยนั้นเป็นหนังสือเขียนในสมุดไทยทั้งนั้น ฉบับหลวงมักมีบานแพนกแสดงว่าโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีใด แต่หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กสองเรื่องนี้ต้นฉบับที่ยังปรากฏอยู่มีแต่ฉบับเชลยศักดิ์ขาดบานแพนกข้างต้น จึงไม่มีลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญว่าแปลเมื่อใด ถึงกระนั้นก็ดี มีเค้าเงื่อนอันส่อให้เห็นชัดว่า หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กแปลเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ทั้งสองเรื่อง เป็นต้นว่า สังเกตเห็นได้ในเรื่องพระอภัยมณีที่สุนทรภู่แต่งซึ่งสมมุติให้พระอภัยมณีมีวิชาชำนาญในการเป่าปี่ ก็คือ เอามาแต่เตียวเหลียงในเรื่องไซ่ฮั่น ข้อนี้ยิ่งพิจารณาดูคำเพลงปี่ของเตียวเหลียงเทียบกับคำเพลงปี่ของพระอภัยมณีก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ถ่ายมาจากกันเป็นแท้ ด้วยเมื่อรัชกาลที่ ๑ สุนทรภู่เป็นข้าอยู่ในกรมพระราชวังหลัง คงได้ทราบเรื่องไซ่ฮั่นมาแต่เมื่อแปลที่วังหลัง ส่วนเรื่องสามก๊กนั้นเค้าเงื่อนก็มีอยู่เป็นสำคัญในบทละครนอกเรื่องคาวีซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทหนึ่งว่า
"เมื่อนั้น | ไวยทัตหุนหันไม่ทันตรึก | |
อวดรู้อวดหลักฮักฮึก | ข้าเคยพบรบศึกมาหลายยก |
จะเข้าออกยอกย้อนผ่อนปรน | เล่ห์กลเรานี้อย่าวิตก | |
ทั้งพิชัยสงครามสามก๊ก | ได้เรียนไว้ในอกสารพัด |
ยายกลับไปทูลพระเจ้าป้า | ว่าเรารับอาสาไม่ข้องขัด | |
ค่ำวันนี้คอยกันเป็นวันนัด | จะเข้าไปจับมัดเอาตัวมา" |
พึงเห็นได้ในบทละครนี้ว่า ถึงรัชกาลที่ ๒ หนังสือสามก๊กที่แปลเป็นภาษาไทยได้อ่านกันจนนับถืออยู่แล้ว สมกับที่อ้างว่าแปลในรัชกาลที่ ๑ ใช่แต่เท่านั้น มีเค้าเงื่อนที่จะสันนิษฐานต่อไปอีกว่า ความนับถือเรื่องสามก๊กดังในพระราชนิพนธ์นั้นเป็นมูลเหตุให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ ในรัชกาลภายหลังต่อมา ข้อนี้มีจดหมายเหตุเป็นหลักฐานอยู่ในบานแพนกว่า ถึงรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้แปลเรื่องเลียดก๊กอีกเรื่องหนึ่ง แลปรากฏนามผู้รับสั่งให้เป็นพนักงานการแปลล้วนผู้มีศักดิ์สูงแลทรงความสามารถถึงสิบสองคน คือ กรมหมื่นนเรศร์โยธี ๑ เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ ๑ เจ้าพระยายมราช ๑ พระยาโชดึกราชเศรษฐี ๑ พระท่องสือ ๑ จมื่นวัยวรนาถ ๑ นายจ่าเรศ ๑ นายเล่ห์อาวุธ ๑ หลวงลิขิตปรีชา ๑ หลวงวิเชียรปรีชา ๑ หลวงญาณปรีชา ๑ ขุนมหาสิทธิโวหาร ๑ พึงสันนิษฐานว่า เพราะทรงพระราชดำริเห็นว่า เป็นหนังสืออันสมควรแปลไว้เพื่อประโยชน์ราชการบ้านเมืองเช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้แปลเรื่องไซ่ฮั่นแลสามก๊ก ยังมีหนังสือเรื่องห้องสินกับเรื่องตั้งฮั่นอีกสองเรื่อง ฉบับพิมพ์ที่ปรากฏอยู่ไม่มีบานแพนกบอกว่าแปลเมื่อใด แต่สำนวนแต่งเห็นเป็นสำนวนเก่า อาจแปลเมื่อในรัชกาลที่ ๒ ก็เป็นได้ ด้วยเรื่องห้องสินอยู่ข้างหน้าต่อเรื่องเลียดก๊ก และเรื่องตั้งฮั่นอยู่ในระหว่างเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊ก แต่ประหลาดอยู่อย่างหนึ่งที่ไม่ปรากฏว่า ได้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเมื่อในรัชกาลที่ ๓ น่าจะเป็นด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า ในรัชกาลแต่ก่อนมาได้สร้างหนังสือเพื่อประโยชน์ในทางคดีโลกมากแล้ว หนังสือคดีธรรมยักบกพร่องอยู่ เปลี่ยนไปทรงอุดหนุนการแปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย จึงมีหนังสือเรื่องต่าง ๆ ซึ่งแปลจากภาษาบาลีเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๓ เป็นอันมาก แต่อย่างไรก็ดี บรรดาหนังสือเรื่องพงศาวดารจีนที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ นอกจากสี่เรื่องที่ได้ออกชื่อมาแล้ว เป็นหนังสือแปลตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ มาทั้งนั้น ได้ลองสำรวจเมื่อแต่งตำนานนี้มีจำนวนหนังสือพงศาวดารจีนที่ได้แปลแลพิมพ์เป็นภาษาไทยถึงสามสิบสี่เรื่อง คือ
๑. เรื่องไซ่ฮั่น แปลเมื่อก่อน[4] พ.ศ. ๒๓๔๙ เป็นหนังสือสามสิบเจ็ดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ เป็นสมุดสองเล่ม
๒. เรื่องสามก๊ก แปลเมื่อก่อน[4] พ.ศ. ๒๓๔๘ เป็นหนังสือเก้าสิบห้าเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ เป็นสมุดสี่เล่ม
๓. เรื่องเลียดก๊ก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้แปลเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ เป็นหนังสือหนึ่งร้อยห้าสิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นสมุดห้าเล่ม
๔. เรื่องห้องสิน สันนิษฐานว่า แปลเมื่อรัชกาลที่ ๒ เป็นหนังสือสี่สิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ เป็นสมุดสองเล่ม
๕. เรื่องตั้งฮั่น สันนิษฐานว่า แปลในรัชกาลที่ ๒ เป็นหนังสือสามสิบเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๖. เรื่องไซ่จิ้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้หลวงพิชัยวารีแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ เป็นหนังสือสามสิบห้าเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ เป็นสมุดสองเล่ม
๗. เรื่องตั้งจิ้น สันนิษฐานว่า จะแปลเนื่องกันกับเรื่องไซ่จิ้น เป็นหนังสือสามสิบแปดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ เป็นสมุดสองเล่ม
๘. เรื่องน่ำซ้อง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปลเป็นหนังสือห้าสิบสี่สมุดไทย โรงพิมพ์หลวงพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ เป็นสมุดสองเล่ม
๙. เรื่องซุยถัง เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ให้จีนบั้นกิมกับจีนเพงแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ กล่าวกันว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี) วัดประยุรวงศาวาส เป็นผู้แต่งภาษาไทย เป็นหนังสือหกสิบเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอสมิธพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ เป็นสมุดสามเล่ม
๑๐. เรื่องน่ำปักซ้อง หลวงพิศาลศุภผลให้จีนบั้นกิมแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ เป็นหนังสือยี่สิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หลวงพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๑๑. เรื่องหงอโต้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ เป็นหนังสือยี่สิบเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หลวงพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๑๒. เรื่องบ้วนฮ่วยเหลา สันนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปล (คราวเดียวกับเรื่องโหงวโฮ้วเพงหนำ) เป็นหนังสือสิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๑๓. เรื่องโหงวโฮ้วเพงไซ สันนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปล (คราวเดียวกับเรื่องโหงวโฮ้วเพงหนำ) เป็นหนังสือสิบสี่เล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๑๔. เรื่องโหงวโฮ้วเพงหนำ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้จีนโตแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ เป็นหนังสือหกเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๑๕. เรื่องซวยงัก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้จีนโตกับจีนแสอินบั้นอั๋นแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ เป็นหนังสือสามสิบแปดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หลวงพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ เป็นสมุดสามเล่ม
๑๖. เรื่องซ้องกั๋ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ เป็นหนังสือแปดสิบสองเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ เป็นสมุดห้าเล่ม
๑๗. เรื่องเม่งเฉียว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปล (เมื่อปีใดไม่ปรากฏ) เป็นหนังสือสิบเจ็ดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หลวงพิมพ์ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ เป็นสมุดสองเล่ม
๑๘. เรื่องไคเภ็ก เจ้าพระยาภานุวงศฯ ให้หลวงพิพิธภัณฑวิจารณ์[5] แปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ เป็นหนังสือสิบแปดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๑๙. เรื่องส้วยถัง ใครแปลหาทราบไม่ เป็นหนังสือยี่สิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์ศิริเจริญพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๒๐. เรื่องเสาปัก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นหนังสือสิบแปดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นสมุดสามเล่ม
๒๑. เรื่องซิยินกุ้ยเจงตัง สินนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปล (ในคราวเดียวกับเรื่อง ซิเตงซันเจงไซ) เป็นหนังสือสิบสองเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๒๒. เรื่องซิเตงซันเจงไซ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้จีนโตแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ เป็นหนังสือสิบสี่เล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นสมุดสองเล่ม
๒๓. เรื่องเองเลียดต้วน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นหนังสือยี่สิบเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๒๔. เรื่องอิวกังหนำ สันนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปล เป็นหนังสือสิบสี่เล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๒๕. เรื่องไต้อั้งเผ่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้หลวงพิชัยวารีแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ เป็นหนังสือยี่สิบเจ็ดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ เป็นสมุดสองเล่ม
๒๖. เรื่องเซียวอั้งเผ่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้หลวงพิชัยวารีแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นหนังสือสิบสามเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์อุดมกิจเจริญพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๒๗. เรื่องเนียหนำอิดซือ สันนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้แปลเป็นหนังสือยี่สิบหกเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ เป็นสมุดสองเล่ม
๒๘. เรื่องเม่งมวดเชงฌ้อ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ให้หลวงพิชัยวารีแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นหนังสือสิบเจ็ดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์หมอบรัดเลพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๒๙. เรื่องไซอิ๋ว พระโสภณอักษรกิจ (เล็ก สมิตะสิริ) ให้นายตีนแปล แลนายเทียนวรรณาโภเรียบเรียง เป็นหนังสือหกสิบห้าเล่มสมุดไทย
๓๐. เรื่องเปาเล่งถูกงอั้น นายหยองอยู่ในกรมทหารปืนใหญ่แปล นายเทียนวรรณาโภเรียบเรียง เป็นหนังสือสิบแปดเล่มสมุดไทย โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็นสมุดสองเล่ม
๓๑. เรื่องเชงเฉียว พระโสภณอักษรกิจ (เล็ก สมิตะสิริ) ให้ขุนจีนภาคบริวัตร (โซวคึนจือ) แปล พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (ม.ร.ว.ประยูร อิศรศักดิ์ ณ อยุธยา) เรียบเรียง (ประมาณขนาดสิบสองเล่มสมุดไทย) โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๓๒. เรื่องง่วนเฉียว นายซุ่มเทียม ตันเวชกุล แปล (ประมาณขนาดสี่สิบหกเล่มสมุดไทย) โรงพิมพ์เดลิเมล์พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นสมุดสองเล่ม
๓๓. เรื่องบูเช็กเทียน คณะหนังสือพิมพ์สยามแปล (ประมาณขนาดสิบแปดเล่มสมุดไทย) แลพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นสมุดหนึ่งเล่ม
๓๔. เรื่องโหงวโฮ้วเพ็งปัก แปลพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ (ประมาณขนาดสิบแปดเล่มสมุดไทย) แลคณะหนังสือพิมพ์ศรีกรุงรวมพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นสมุดสองเล่ม[6]
หนังสือเรื่องต่าง ๆ ที่แปลจากพงศาวดารจีนดังพรรณนามา ถ้าลำดับเทียบกับสมัยในพงศาวดารตีนตรงกันดังแสดงต่อไปนี้
ศักราชพงศาวดารจีน | ชื่อเรื่องหนังสือ | ||||
(๑) | พระเจ้าอึ่งตี่ฮ่องเต้ครองราชสมบัติอยู่หนึ่งร้อยปี แต่เมื่อก่อนพุทธกาล ๒๑๕๔ ปี | เรื่องไคเภ็ก | |||
(๒) | พระเจ้ากิมเต๊กอ๋องฮ่องเต้ครองราชสมบัติอยู่แปดสิบสี่ปี แต่เมื่อก่อนพุทธกาล ๒๐๕๔ ปี | " | |||
(๓) | พระเจ้าจวนยกตี่ฮ่องเต้ครองราชสมบัติอยู่เจ็ดสิบสี่ปี แต่เมื่อก่อนพุทธกาล | " | |||
(๔) | พระเจ้าตี่คอกฮ่องเต้ครองราชสมบัติอยู่เจ็ดสิบปี แต่เมื่อก่อนพุทธกาล ๑๘๙๒ ปี | " | |||
(๕) | พระเจ้าจี่เต้ฮ่องเต้ครองราชสมบัติอยู่เก้าปี แต่เมื่อก่อนพุทธกาล ๑๘๒๒ ปี | " | |||
(๖) | พระเจ้าเงี้ยวเต้ฮ่องเต้ครองราชสมบัติอยู่หนึ่งร้อยปี แต่เมื่อก่อนพุทธกาล ๑๘๑๔ ปี | " | |||
(๗) | พระเจ้าสุ้นเต้ฮ่องเต้ครองราชสมบัติอยู่สี่สิบแปดปี แต่เมื่อก่อนพุทธกาล ๑๗๑๒ ปี | " | |||
๑. ราชวงศ์แฮ่
|
|||||
|
" | ||||
๒. ราชวงศ์เซียง
|
|||||
|
| ||||
๓. ราชวงศ์จิว
|
|||||
|
| ||||
๔. ราชวงศ์จิ๋น
|
|||||
|
เรื่องไซ่ฮั้นตอนต้น | ||||
๕. (๑) ราชวงศ์ฮั่น
|
|||||
|
เรื่องไซ่ฮั่นตอนปลาย | ||||
แทรก
|
|||||
|
เรื่องตั้งฮั่นตอนต้น | ||||
|
เรื่องตั้งฮั่นตอนต้น | ||||
๕. (๒) ราชวงศ์ฮั่น
|
|||||
|
| ||||
๖. ราชวงศ์วุย
|
|||||
|
เรื่องสามก๊กตอนกลาง | ||||
๗. ราชวงศ์จิ้น
|
|||||
|
| ||||
เอกราชภาคเหนือแลเอกราชภาคใต้
|
|||||
๘. ราชวงศ์ซอง
|
|||||
|
เรื่องน่ำซ้อง | ||||
๙. ราชวงศ์ชี
|
|||||
|
เรื่องน่ำซ้อง | ||||
๑๐. ราชวงศ์เหลียง
|
|||||
|
เรื่องน่ำซ้อง | ||||
๑๑. ราชวงศ์ตั้น
|
|||||
|
เรื่องน่ำซ้อง | ||||
๑๒. ราชวงศ์ซุย
|
|||||
|
| ||||
๑๓. ราชวงศ์ถัง
|
|||||
|
| ||||
๑๔. ราชวงศ์เหลียง
|
|||||
|
เรื่องหงอโต้ว | ||||
๑๕. ราชวงศ์ถัง
|
|||||
|
เรื่องหงอโต้ว | ||||
๑๖. ราชวงศ์จิ้น
|
|||||
|
เรื่องหงอโต้ว | ||||
๑๗. ราชวงศ์ฮั่น
|
|||||
|
เรื่องหงอโต้ว | ||||
๑๘. ราชวงศ์จิว
|
|||||
|
เรื่องหงอโต้ว | ||||
๑๙. ราชวงศ์ซ้อง
|
|||||
|
| ||||
๒๐. ราชวงศ์หงวน
|
|||||
|
เรื่องง่วนเฉียว | ||||
๒๑. ราชวงศ์เหม็ง
|
|||||
|
| ||||
๒๒. ราชวงศ์เช็ง
|
|||||
|
|
เรื่องพงศาวดารจีนที่ได้แปลเป็นภาษาไทยนั้น ไม่ใช่แต่แปลเป็นหนังสืออ่านอย่างเดียว บางเรื่องถึงมีผู้เอาไปแต่งเป็นกลอนแลบทละคร ได้ลองสำรวจดูที่มีฉบับอยู่ในหอพระสมุดสำหรับพระนครขณะเมื่อแต่งตำนานนี้ มีทั้งที่พิมพ์แล้วแลยังไม่ได้พิมพ์หลายเรื่องหลายตอน คือ
๑. เรื่องห้องสิน ตอนพระเจ้าติวอ๋องไปไหว้เทพารักษ์ที่เขาอิสานจนถึงพระเจ้าบู๊อ๋องตีได้เมืองอิวโก๋ หลวงพัฒนพงศภักดี (ทิม สุขยางค์) แต่งให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงเล่นละคร เป็นหนังสือสี่เล่มสมุดไทย ยังไม่ได้พิมพ์
๒. เรื่องไต้ฮั่น ตอนพระเจ้าบูฮ่องเต้ให้นางเต๊กเอี๋ยงกงจู๊เลือกคู่จนถึงเตียวเห่าไปล่าเนื้อในป่า หลวงพัฒนพงศฯ แต่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ เล่นละคร เป็นหนังสือสองเล่มสมุดไทย ยังไม่ได้พิมพ์
๓. เรื่องสามก๊ก
๓. (ก) ตอนพระเจ้าเลนเต้ประพาสสวนจนถึงตั๋งโต๊ะเข้าไปขู่พระเจ้าเหี้ยเต้ หลวงพัฒนพงศฯ แต่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ เล่นละคร เป็นหนังสือสิบหกเล่มสมุดไทย ยังไม่ได้พิมพ์
๓. (ข) ตอนอ้องอุ้นกำจัดตั๋งโต๊ะ หลวงพัฒนพงศฯ แต่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ เล่นละคร เป็นหนังสือสองเล่มสมุดไทย ยังไม่ได้พิมพ์
๓. (ค) ตอนจิวยี่คิดอุบายจะเอาเมืองเกงจิ๋ว หลวงพัฒนพงศฯ แต่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ เล่นละคร เป็นหนังสือสองเล่มสมุดไทย ยังไม่ได้พิมพ์
๓. (ฆ) ตอนจิวยี่คิดอุบายจะเอาเมืองเกงจิ๋ว หมิ่นเสนานุชิต (เจต) แต่งลงพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖
๓. (ง) ตอนจิวยี่รากเลือก หลวงพัฒนพงศฯ แต่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ เล่นละคร เป็นหนังสือเล่มสมุดไทยหนึ่ง ยังไม่ได้พิมพ์
๓. (จ) ตอนนางซุนฮูหยินหนีกลับไปเมืองกังตั๋ง หลวงพัฒนพงศฯ แต่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ เล่นละคร เป็นหนังสือเล่มสมุดไทยหนึ่ง ยังไม่ได้พิมพ์
๔. เรื่องซุยถัง ตอนเซงจือเกณฑ์ทัพจนถึงนางยั่งอั่นกงจู๊จับนางปักลันกับทิก๊กเอี๋ยนได้ หลวงพัฒนพงศฯ แต่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ เล่นละคร เป็นหนังสือเล่มสมุดไทยหนึ่ง ยังไม่ได้พิมพ์
๕. เรื่องหงอโต้ ตอนฮองเฉาสามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากวางเผ็ง หลวงพัฒนพงศฯ แต่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ เล่นละคร เป็นหนังสือเล่มสมุดไทยหนึ่ง ยังไม่ได้พิมพ์
๖. เรื่องบ้วนฮวยเหลา ตอนพวกฮวนตีด่านเมืองหลวงจนถึงนายโปยเหลงจะทำร้ายเพ็งไซอ๋อง หลวงพัฒนพงศฯ แต่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ เล่นละคร เป็นหนังสือหกเล่มสมุดไทย ยังไม่ได้พิมพ์
๗. เรื่องซวยงัก ตอนกิมงึดตุดตีเมืองลูอันจิ๋ว กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญทรงพระนิพนธ์ (สันนิษฐานว่า เพื่อให้เจ้าคุณจอมมารดาเอมเล่นละคร) พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒
๑. เรื่องสามก๊ก
๑. (ก) ตอนนางเตียวเสี้ยนลวงตั๋งโต๊ะ ผู้แต่งใช้นามปากกาว่า "นายบุญสะอาด" พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘
๑. (ข) ตอนตั๋งโต๊ะหลงนางเตียวเสี้ยน ผู้แต่งใช้นามปากกาว่า "เหม็งกุ้ยปุ้น" พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘
๑. (ค) ตอนเล่าปี่แต่งงานจนจิวยี่รากเลือด ผู้แต่งใช้นามปากกว่า "ทิดโข่ง" พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑
๑. เรื่องห้องสิน ขุนเสนานุชิต (เจต) แต่งค้างอยู่ เป็นหนังสือสามเล่มสมุดไทย
๒. เรื่องสามก๊ก ตอนนางเตียวเสิ้ยนลวงตั๋งโต๊ะ หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) แต่ง พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙
- ↑ เชื่อว่า จะได้แปลเป็นภาษาอื่นซึ่งยังสืบไม่ได้ความมีอยู่อีก เช่น ภาษามงโกเล เป็นต้น
- ↑ พวกเกาหลีกับพวกญวนใช้หนังสือจีนเป็นหนังสือสำหรับบ้านเมืองอยู่แล้ว บางทีจะใช้หนังสือสามก๊กที่จีนพิมพ์อยู่ก่อนพิมพ์เองต่อชั้นหลัง ที่แปลเป็นภาษาเขมรนั้นเข้าใจว่า แปลจากฉบับพิมพ์ภาษาไทยที่ได้ไปจากกรุงเทพฯ ที่แปลเป็นภาษามลายูพิมพ์ที่เมืองสิงคโปร์ แต่จะได้ฉบับมาแต่ไหนและแปลเมื่อใดหาทราบไม่
- ↑ หนังสือสามก๊กที่แปลเป็นภาษาลาตินนั้น บาทหลวงโรมันคาทอลิกคนหนึ่งซึ่งได้มียศเป็นบิชอปอยู่ในเมืองจีนเป็นผู้แปล ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษนั้นเคยแปลช้านานแล้ว แต่ว่าแปลเพียงบางตอน มิสเตอร์บริเวตเตเลอพึ่งแปลตลอดทั้งเรื่องแล้วพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จไปได้มาจากเมืองสิงคโปร์ ประทานแก่หอพระสมุดสำหรับพระนคร
- ↑ 4.0 4.1 กรมพระราชวังหลังทิวงคตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๙ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงอสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘
- ↑ พระยาโชดึก (ฟัก) เคยเป็นหลวงพิพิธภัณฑพิจารณ์ แลเป็นผู้ชำนาญภาษาจีน บางทีจะเป็นผู้แปลหนังสือเรื่องไคเภ็ก
- ↑ ยังมีหนังสือพิมพ์เรื่องจีนซึ่งมีผู้แปลเป็นภาษาไทยลงพิมพ์อีกหลายเรื่อง แต่เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ดชั่วแต่อ้างพงศาวดาร มิใช่เอาเรื่องพงศาวดารจีนมาแต่งอย่างทำนองสามก๊ก จึงมิได้กล่าวถึง