ข้ามไปเนื้อหา

ที่รฦกแห่งการเปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ ๒๔๕๙

จาก วิกิซอร์ซ
Warning: หน้านี้ขาด {{หัวเรื่อง}}
ถ้าคุณอยากช่วย คุณสามารถเพิ่มข้อมูลตาม {{หัวเรื่อง}} เข้ามาในหน้านี้ หรือแสดงความเห็นไว้ที่ หน้าพูดคุย

คำนำ

[แก้ไข]

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ขึ้นเพื่อเปนที่รฦกในการเปิดทางรถไฟหลวง
สายใต้ แต่เพ็ชรบูรีลงไปในมณฑลสุราษฎร์, นครศรีธรรมราช, ภูเก็ต,
แลปัตตานี การที่พิมพ์หนังสือนี้ขึ้นนั้น มได้มุ่งหมายจะให้เปน
สมุดนำทางสำหรับกรุงสยามไม่ เปนแต่การบรรยายสังเขปเฉภาะ
สำหรับท้องที่ต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดติดต่อกับทางรถไฟที่จะเปิดนี้เท่านั้น
จึงได้เลือกเก็บเอาแต่สิ่งที่ควรทราบ แลบาญชีสถิติบางอย่าง ซึ่ง
บางทีผู้ที่จะโดยสานไปในรถไฟสายนี้มีประสงค์จะใคร่ทราบ ส่วน
ความพิศดารที่เกี่ยวกับท้องทุ่งต่างๆ ซึ่งมีดินอุดมแลกว้างใหญ่มาก
ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชพรรณ์ธัญญาหารต่างๆ ไร่, สวน, ที่เหมาะ
สำหรับการเพาะปลูกพืชผลอย่างอื่น, ภูเขาต่างๆ, ป่าไม้สัก, ป่าไม้
กระยาเลย, บ่อแร่ธาตุต่างๆ ฯลฯ ซึ่งมีอยู่เหนือกรุงเทพพระมหา
นครทางฝ่ายเหนือจดถึงพรมแดนเมืองพม่าแลเมืองเงี้ยว ทางฝ่าย
ตวันออกจนถึงลำแม่น้ำโขง แลฝ่ายตวันตกจดถึงเมืองทวายนั้น หา
ได้กล่าวในหนังสือนี้ไม่.

กระทรวงคมนาคม กรุงเทพฯ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๙

รัฐบาล

[แก้ไข]

รัฐบาลของประเทศสยามนั้น มีสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงพระ
บรมเดชานุภาพสิทธิ์ขาดในกิจราชการแผ่นดินทั้งปวง ทรงพระปรมา
ภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้เสด็จขึ้นผ่านพิภพเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อ
วันที่ ๒๓ ตุลาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๓ ส่วนการปกครองแผ่นดิน
นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระบรมเดชานุภาพสิทธิ์ขาด
มีท่านเสนาบดีกระทรวงต่างๆ เปนที่ปฤกษา

พระราชอาณาจักร์แลจำนวนพลเมือง

[แก้ไข]

พระราชอาณาเขตร์ มีเนื้อที่ประมาณ ๓๒๐,๐๑๙ กิโลเมเตอร์
จัตุรัศ โดยยาวตั้งแต่เหนือถึงใต้ประมาณ ๑,๖๒๙ กิโลเมเตอร์ โดย
กว้างตั้งแต่ตวันออกถึงตวันตกประมาณ ๗๘๒ กิโลเมเตอร์ ส่วน
พระราชอาณาจักร์ที่ติดต่อกับอ่าวสยาม, ทะเล, แลมหาสมุทนั้น ยาว
ประมาณ ๒,๔๐๐ กิโลเมเตอร์ มีพลเมืองประมาณ ๘,๒๖๖,๔๐๐
ส่วนในกรุงเทพพระมหานครนั้น มีพลเมืองประมาณ ๕๔๐,๐๐๐

เงินผลประโยชน์รายได้ของแผ่นดิน

[แก้ไข]

ผลประโยชน์รายได้ของแผ่นดิน ในปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๖
๗๔,๓๙๙,๖๘๒ บาท รายจ่าย ๖๓,๒๒๐,๓๐๙ กับมีรายจ่าย
พิเศษอีก ๑๑,๘๓๓,๒๒๐ (ซึ่งมิได้จ่ายจากรายได้ของแผ่นดิน
ที่กล่าวมาแล้วนี้) ตามรายได้รายจ่ายที่กล่าวมาแล้วนี้ เปน
จำนวนที่รับแลจ่ายจริงในครั้งที่สุดเมื่อเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ ใน
เวลา ๒๒ ปีที่ล่วงแล้วมานั้น (พ.ศ. ๒๔๓๕) ผลประโยชน์รายได้
ของแผ่นดินได้เพียง ๑๕,๓๗๘,๑๑๔ บาทเท่านั้น จะเห็นได้ว่าในวาระ
๒๒ ปีที่ล่วงมาแล้วนี้ เงินผลประโยชน์ของแผ่นดินได้ทวีขึ้นถึงร้อย
ละ ๔๘๐

เงินผลประโยชน์รายได้เหล่านี้ ได้จากประเภทต่างๆ ดังนี้
(๑) ค่าภาษีอากรแลค่าธรรมเนียมต่างๆ คือ อากรสุรา,
ยาฝิ่น, ภาษีภายใน, อากรค่านา, อากรสมภักษร, เงินค่าราชการ, ภาษี
ขาเข้าแลขาออก, อากรค่าน้ำ, ค่าอาชญาบัตร์ฆ่าสัตว์, ค่าลง
ทะเบียฬรถแลเรือ, ค่าใบอนุญาตตั้งโรงจำนำ, ค่าภาษีโรงร้าน, ค่า
ธรรมเนียมความ, แลค่าธรรมเนียมอำเภอเบ็ดเตล็ดต่างๆ
(๒) ค่ารถไฟ, ไปรสนีย์โทรเลข, ประตูน้ำ, โอสถศาลา,
ค่าธรรมเนียมหอทะเบียฬ, ออกใบจอง, ค่าธรรมเนียม
ป่าไม้แลค่าตอไม้, ค่าอาชญาบัตร์เหมืองแร่, ค่าเช่าที่ดิน, แลค่าขาย
ของๆ รัฐบาล
(๓) ค่าดอกเบี้ย, กำไรค่าแลกเงิน, กำไรทำเหรียญกระสาปน์,
ค่าขายของที่ทำด้วยแรงนักโทษ, เหล่านี้เปนต้น

อนึ่งการปกครอง กระทรวงทะบวงการต่างๆ ที่ได้เปลี่ยนแปลง
แก้ไขให้เจริญยิ่งขึ้นเปนลำดับมาตามกาลสมัยนั้น ก็จำเปนที่ต้อง
เก็บส่วยสาอากรทวีขึ้นบ้างกว่าแต่ก่อนตามสมควร แต่การที่ผล
ประโยชน์รายได้ของแผ่นดินได้ทวีขึ้น ไม่ใช่เพราะขึ้นภาษีอากรแต่
อย่างเดียว ย่อมเนื่องมาจากการออกพระราชกำหนดกฎหมายต่างๆ
อันเกี่ยวกับการเงินเปนอาทิ นอกจากนี้ต้องนับว่าการที่ได้จัดระเบียบ
การปกครองทั่วไปให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนนั้นเปนอันมาก ส่วนการตรวจ
ตราในการเก็บผลประโยชน์ต่างๆ นั้นก็ถ้วนถี่ดีขึ้นด้วย ทั้งจำนวน
พลเมืองก็ได้ทวีมากขึ้นเปนลำดับมา แลการคมนาคมเช่นการรถไฟ,
การทางน้ำ, ทางบก, แลการไปรสนีย์โทรเลข ก็ได้เจริญขึ้นสมควร
แก่เวลานั้นด้วย

ในปลายปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๙ หนี้ของประเทศสยามที่กู้จาก
เมืองต่างประเทศ คิดเปนเงินตราอังกฤษเปนเงิน ๖,๕๘๐,๑๖๐ ปอนด์
เปนเงินสยามประมาณ ๘๕,๕๔๖,๐๘๐ บาท การที่กู้เงินต่างประเทศ
มาใช้เช่นนี้ ย่อมเป็นประเพณีรัฐบาลทั่วไปใช้อยู่เปนธรรมดา ที่รัฐบาล
ได้เริ่มทดลองกู้เงินต่างประเทศมาใช้นี้ ถ้าจะเปรียบกับรัฐบาลอื่นๆ
แล้ว ก็นับว่าเปนจำนวนเงินน้อย หรือหนี้ของประเทศมีน้อยที่สุด
ส่วนเงินที่กู้มาแต่ต่างประเทศนี้ก็เอามาใช้ในการสร้างทางรถไฟแล
การประปาเปนต้น เพื่อบำรุงบ้านเมืองให้มั่นคงสมบูรณ์ แลให้
ประชาชนพลเมืองได้รับความผาสุขยิ่งขึ้นเปนอาทิ

การค้าขาย

[แก้ไข]

ภายใน ๒๒ ปี นับตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๔๓๖ เปนต้นมา
สินค้าที่ส่งออกไปต่างประเทศ มีราคาทวีขึ้นตั้งแต่ ๓๘,๐๐๐,๐๐๐
บาทถึง ๑๑๕,๕๐๐,๐๐๐ (กว่าร้อยละ ๓๐๐) อนึ่งราคาสินค้า
ต่างประเทศที่ได้นำเข้ามาขายในประเทศสยามนั้น ก็มีส่วนทวีขึ้น
เกือบเท่ากัน ราคาสินค้าขาเข้าที่มากที่สุดนั้น นับว่าในปีพระพุทธ
ศักราช ๒๔๕๖ ซึ่งเปนจำนวนเงินถึง ๙๐,๗๘๘,๘๓๘ บาท การ
ค้าขายของประเทศสยามกับต่างประเทศนั้น ย่อมอาไศรย์เรือแลทุน
ของต่างประเทศอยู่โดยมาก สินค้าที่ประเทศสยามได้ส่งออกไปขาย
ในนานาประเทศทวีขึ้นตามลำดับเปนอันมากดังกล่าวมาแล้วนี้ ถ้า
คิดเฉลี่ยตามจำนวนพลเมืองแล้ว จะเห็นได้ว่าพลเมืองของประเทศ
สยามคนหนึ่ง ได้ส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเปนราคา
คนละ ๕ บาท ๘๐ สตางค์ ทวีขึ้นคนละ ๑๔ บาท ๓๐ สตางค์ หรือ
ได้ทวีขึ้นเกือบร้อยละยี่สิบห้า ทั้งนี้ย่อมเนื่องมาแต่เหตุที่บ้านเมือง
ได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วเปนลำดับมา ส่วนจำนวนเงินที่ใช้จ่ายกันอยู่
ในประเทศนั้น ได้ทวีขึ้นตั้งแต่ ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ถึง ๑๐๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท

สินค้าสำคัญที่ส่งออกไปขายในนานาประเทศนั้น มีเข้า, ไม้สัก,
พืชผลที่เกิดจากสวน ปลา, แลโคกระบือเปนต้น ส่วนบ่อเกิดแห่ง
โภคทรัพย์อื่นๆ ของประเทศนั้น ก็มีอยู่อีกเปนอันมาก คือ แร่ธาตุ
ต่างๆ เช่น ทองคำ, ดีบุก, ถ่านหิน, น้ำมันดิน, เหล็ก, ทองแดง, ตะกั่ว,
แร่ตายหรือวอลแฟรม, แลพลวงเปนต้น อนึ่งแก้วอันมีค่าก็มี เช่น
นิลแลทับทิมเปนอาทิ ในจำนวนโลหะต่างๆ นี้ มีแต่แร่ดีบุกแลแร่
วอลแฟรมเท่านั้น ที่มีผู้ขออนุญาตทำมากในมณฑลภาคใต้จนเปน
สินค้าใหญ่ ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ รวมดีบุกที่ขุดได้เปนจำนวน
๑๑๐,๗๓๒ หาบ.

สินค้าสำคัญที่ได้ส่งออกไปขายตามนานาประเทศในปี พ.ศ. ๒๔๔๗
นั้น มีรายชื่อดังต่อไปนี้ :-

รายชื่อสินค้า----------ราคาเงินบาท-----------ราคาเงินปอนด์
เข้า ......................๘๕,๓๔๖,๕๗๒............. ๖,๕๖๕,๑๒๑
ไม้สัก ...................๕,๐๔๔,๔๕๙ ................๓๘๘,๐๓๕
ไม้ต่างๆ ...............๗๔๔,๐๒๒ ....................๕๗,๒๓๒
หนังโค กระบือ ......๒,๔๖๗,๒๕๘ .................๑๘๙,๗๘๙
ปลาต่างๆ .............๑,๓๕๕,๕๘๖ .................๑๐๔,๒๓๖
พริกไทย์ ..............๑,๐๓๘,๕๔๗ .................๗๙,๘๘๘
ไหมต่างๆ .............๗๒๔,๔๖๑ ....................๕๕,๗๒๗
ไหมดิบ .................๓๑๑,๑๘๕ ...................๒๓,๙๓๗
ฝ้าย ......................๒๒๔,๕๑๙ ...................๑๗,๒๗๐
โค กระบือ .............๕๔๑,๖๖๕ ....................๔๑,๖๖๖

สินค้าสำคัญที่ได้ส่งเข้ามาจากนานาประเทศในปีเดียวกัน ดังมี รายชื่อต่อไปนี้ :-

รายชื่อสินค้า-----------------------ราคาเงินบาท-----------ราคาเงินปอนด์
ผ้าต่างๆ ที่ทำด้วยเยื่อใยต่างๆ
แลขนสัตว์ ..............................๑๗,๕๕๐,๓๑๕ ...........๑,๓๕๐,๐๒๔
ด้ายชนิดต่างๆ ที่ทำด้วยฝ้าย ........๒,๐๔๘,๘๔๑ ............๑๕๗,๕๒๖
เครื่องใช้ต่างๆ ทำด้วยโลหะ ...............๔,๖๘๐,๒๕๔ ...............๓๖๐,๐๑๙
เครื่องจักร์ต่างๆ ............................๑,๔๕๔,๘๔๘ ................๑๑๑,๙๑๑
โลหะต่างๆ ...................................๖๑๑,๖๔๐ ....................๔๗,๐๕๐
กระสอบป่าน ..............................๔,๔๓๓,๔๔๔ .................๓๔๑,๐๓๔
น้ำมันที่เกิดจากแร่ธาตุต่างๆ ..............๓,๐๑๔,๑๒๕ .................๒๓๑,๘๕๕
น้ำมันต่างๆ ที่ไม่ใช่เกิดจากแร่ธาตุ .......๑,๓๓๐,๘๓๗ ................๑๐๒,๓๗๒
ยาสูบต่างๆ ..................................๑,๖๓๕,๖๗๐ ................๑๒๕,๘๒๑
เหล้าองุ่น, เบียร์, แลเหล้าต่างๆ .........๑,๖๒๙,๐๑๗ .................๑๒๔,๓๐๙
อาหารแลเครื่องดื่มต่างๆ ที่ไม่ปนแอลกอฮอ ๑,๑๘๓๖,๔๖๘ ..........๙๑๐,๔๙๘
เสื่อแลเครื่องจักสานต่างๆ ....................๑,๑๓๐,๕๗๑ .............๘๖,๙๖๗
ไม้ต่างๆ .......................................๑,๑๓๐,๓๘๑ ...............๘๖,๙๕๒
ภาชนะต่างๆ ที่ทำด้วยหินฟันม้า
(เช่นชาม) แลที่ทำด้วยดินเหนียว ..........๑,๐๑๕,๒๕๐ ...............๓๘,๐๙๖
ยาต่างๆ ......................................๙๑๗,๗๓๓ ..................๗๐,๕๙๕
ทองใบ .....................................๓,๐๔๔,๘๕๒ ................๒๓๔,๒๒๐
เนื้อเงินแลเงินตราต่างๆ ...................๓,๖๗๑,๑๙๙ ................๒๘๒,๔๐๐
ฝิ่น ...........................................๒,๘๙๑,๐๓๗ ...............๒๒๒,๓๘๗

นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่ส่งเข้ามาขาย แลจำหน่ายออกไปทาง บกทางเขตร์แดนเมืองพม่า, เงี้ยวแลเมืองยุนนาน (จีน) และเมืองญวน อีกด้วย ตามรายงานสินค้าเข้าออกทางบก ระหว่างประเทศ สยามแลเมืองพม่านั้น ในปี พ.ศ.๒๔๕๗ สินค้าขาออกเปนราคา ๖,๐๐๔,๐๒๙ รูปี (ประมาณ ๕,๓๑๓,๓๐๐ บาท) สินค้าขาเข้าเปน ราคา ๔,๓๘๔,๐๑๗ รูปี (ประมาณ ๓,๘๗๙,๖๐๐ บาท) สินค้า เหล่านี้รวมทั้งที่เปนสิ่งของทองเงินรูปพรรณต่างๆ นั้นด้วย

การทำนา

ใน ๒๒ ปีที่ล่วงแล้วมานี้ การทำนาได้เจริญขึ้นตามลำดับ ดังนี้ คือ เมื่อปี ๒๔๓๖ มีนาอยู่ประมาณ ๗,๓๐๐,๐๐๐ ไร่ ใน ปี ๒๔๕๙ จำนวนนาได้ทวีขึ้นเปน ๑๓,๒๑๕,๐๐๐ ไร่ จำนวนเข้าที่ทำได้ นั้นได้ทวีขึ้น ตั้งแต่ ๓๑,๐๐๐,๐๐๐ ถึง ๗๑,๐๐๐,๐๐๐ หาบ จำนวน เข้าที่ส่งออกไปยังต่างประเทศนั้นได้ทวีขึ้น ตั้งแต่ ๘,๐๐๐,๐๐๐ ถึง ๑๙,๐๐๐,๐๐๐ หาบ ราคาเข้าทวีขึ้นตั้งแต่หาบละ ๓ บาท ๓๐ สตางค์ ถึงหาบละ ๕ บาท

มาตราวัดชั่งตวง

ในการที่จะนำมาตราวัดชั่งตวงแบบเมตริกมาใช้ในประเทศสยาม นั้น รัฐบาลก็ได้เปนอันตกลงว่าจะใช้แล้ว แลในกระทรวงทะบวงการ ต่างๆ ก็ได้ใช้มากขึ้นเปนลำดับมา ส่วนแบบตัวอย่างเครื่องวัด ชั่งตวงนั้น กระทรวงซึ่งเปนเจ้าน่าที่ก็ได้จัดหาไว้พร้อมแล้ว เว้น

๑๐

แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้ให้เปนอันถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น จึงได้ เทียบมาตราวัดชั่งตวงอย่างเก่าซึ่งใช้กันอยู่ทั่วไปนั้นไว้ในที่นี้ด้วย อัตรา อย่างเก่านั้นหามีกฎหมายบังคับไว้ประการใดไม่ เพราะเหตุฉนั้นจึงมี เครื่องวัดชั่งตวงที่ต่างกันใช้แพร่หลายอยู่หลายอย่าง

มาตราวัดชั่งตวงแบบเก่าเทียบกับแบบเมตริกมีดังนี้ ๑ นิ้ว ....................ประมาณ ๒๑ มิลิเมเตอร์ ๑๒ นิ้ว = ๑ คืบ " ๒๕๐ " ๒ คืบ = ๑ ศอก " ๕๐๐ " ๔ ศอก = ๑ วา " ๒ เมเตอร์ ๒๐ วา = ๑ เส้น " ๔๐ " ตามมาตราวัดชั่งตวงแบบเก่า แลแบบเมตริกที่ได้เทียบให้เห็นนี้ จะเห็นได้ว่าการที่จะคิดมาตราอย่างเก่าให้เปนแบบเมตริกนั้น เปน การง่ายดาย

มาตราวัดเนื้อที่จัตุรัศ๑๖ ตารางศอก = ๑ ตารางวา หรือ ๔ ตารางเมเตอร์ ๑๐๐ ตารางวา = ๑ งาน " ๔๐๐ " ๔ งาน = ๑ ตารางเส้น " ๑,๖๐๐ " ๑ ตารางเส้น = ๑ ไร่

ไร่หนึ่งเปนมาตราของการวัดเนื้อที่ดินในประเทศสยาม คำที่ เรียกว่า "แอร์" เปนมาตราของการวัดเนื้อที่ดินอย่างหนึ่งในแบบ เมตริก แลเท่ากับเนื้อที่ ๒๕ ตารางวา หรือ ๑๐๐ ตารางเมเตอร์

๑๑

อัตราเครื่องตวง

อัตราเครื่องตวงนี้ ยังใช้แตกต่างกันอยู่โดยมาก แต่อัตรา ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีอยู่ดังนี้ :- ๑ ทะนาน เท่ากับ ๑๙/๒๐ ของลิเตอร์ ๑ ถัง ประมาณ ๑๙ ลิเตอร์ ๑ เกวียน เท่ากับเข้าเปลือก ๑๖ หาบ หรือเข้ากล้อง ๒๒ หาบ หรือเข้าสาร ๒๓ หาบ ๘๐ สัด หรือ ๑๐๐ ถัง เท่ากับ ๑ เกวียน

มาตราชั่ง๑ บาท หนัก ๑๕ แกรม ๑ ตำลึง (๔ บาท) " ๖๐ " ๑ หาบ หนัง ๖๐.๔๘ กิโลแกรม หรือ เท่ากับน้ำหนัก ๑๓๓ ๑/๓ ปอนด์ หรือเท่ากับ ๑๐๐ ชั่งจีน คิด ๑ ๑/๓ ปอนด์ต่อชั่ง ซึ่งเปนอัตราสำหรับใช้ ชั่งสินค้าต่างๆ ทั่วไป

เงินของประเทศสยาม เงินของประเทศสยามที่ใช้อยู่นั้นได้กำหนดราคาตามราคาทองเปน หลัก เพื่อให้สดวกแก่การค้าขาย รัฐบาลได้ทำเงินเหรียญบาทขึ้น ใช้ ซึ่งได้กำหนดราคาแลกเปลี่ยนไว้ ๑๓ บาทต่อ ๑ ปอนด์ อังกฤษ (อัตรากระทรวงพระคลัง) แต่ราคาแลกเปลี่ยนของแบงก์ย่อมขึ้นลง บ้างเล็กน้อยตามเวลา เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๘ เงินปอนด์ที่รัฐบาลมีไว้เปนจำนวน ๑,๐๘๙,๐๐๑ ปอนด์ สำหรับการใช้

๑๒

มาตราทองคำ เงินบาทหนึ่งแบ่งออกเปน ๑๐๐ สตางค์ เงินตราแล สตางค์ที่ใช้อยู่นั้นมีดังนี้ :-

๑ สตางค์ (ทองแดง), ๕ สตางค์, แล ๑๐ สตางค์ (นิเกอล), ๒๕ สตางค์, ๕๐ สตางค์, แล ๑ บาท (เงิน) ๒๕ สตางค์เรียกว่าสลึง หนึ่ง และ ๕๐ สตางค์ ๒ สลึง พระราชบัญญัติมาตราทองคำ ได้ กำหนดราคาเหรียญทองทศเหรียญหนึ่ง เปนราคา ๑๐ บาท แต่ยัง มิได้ประกาศให้ใช้ เงินธนาบัตร์ที่ใช้อยู่นั้นมีธนาบัตร์ราคาใบละ ๕ บาท อย่างหนึ่ง, ๑๐ บาทอย่างหนึ่ง, ๒๐ บาทอย่างหนึ่ง, ๑๐๐ บาท อย่างหนึ่ง, แลราคาใบละ ๑,๐๐๐ บาทอย่างหนึ่ง, ส่วนธนาบัตร์ ที่รัฐบาลจ่ายออกใช้นั้น จนถึงเดือนพฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๕๘ มีจำนวน ๓๕๖๔๖๗๐๕ บาท เงินเหรียญบาทนั้นได้จัดทำขึ้นที่กรมกะสาปน์สิทธิการ

การวัดลมอากาศแลฝน

ความร้อนหนาวของอากาศในกรุงเทพฯ แลจำนวนน้ำฝนที่ตกนั้น ในเวลา ๑๓ ปีที่ล่วงมาแล้วนี้ ตามรายงานที่ได้วัดตรวจตราไว้ นั้น ปรากฏว่าหลอดปรอทสำหรับวัดอากาศร้อนหนาวที่แขวนไว้ในร่ม นั้น อย่างปานกลางเพียง ๘๖ ดีกรีเศษ ๙ ฟาเรนไฮต์ เท่ากับ ๒๘ ดีกรีเศษ ๓ เซนติเกรด อย่างร้อนที่สุด ๑๐๐ ดีกรีฟาเรนไฮต์ เท่ากับ ๔๑ ดีกรีเศษ ๑ เซนติเกรด อย่างหนาวที่สุด ๕๒ ดีกรีฟาเนไฮต์ เท่ากับ ๑๑ ดีกรีเศษ ๑ เซนติเกรด

๑๓

ส่วนการวัดน้ำฝนในเวลา ๑๓ ปีนั้นปรากฏว่า อย่างปานกลาง ๕๖ นิ้วอังกฤษเศษ ๒๔ เท่ากับ ๑,๔๒๘ มิลิเมเตอร์เศษ ๕, อย่างมาก ที่สุดใน ๒๔ ชั่วโมง ๕ นิ้วอังกฤษเศษ ๓๕, เท่ากับ ๑๓๕ มิลิเมเตอร์ เศษ ๙, ฤดูฝนนั้นตั้งต้นแต่เดือนพฤศภาคมถึงพฤศจิกายน ฤดู ที่เย็นดีที่สุดไม่มีฝน เปนเวลาเหมาะสำหรับเดินทางสดวกแลสบาย ดีนั้น คือในเดือนธันวาคม, มกราคมแลกุมภาพันธ์

ปฏิทิน

การนับวันเดือนปีนั้น นับแลคำนวณตามสุริยคติ ปีใหม่นั้น ตั้งต้นตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ส่วนศักราชนั้นใช้พระพุทธศักราช นับ แต่วันที่พระสมณะโคดมเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานเปนต้นมา ซึ่งในปีนี้ เปนปี ๒๔๕๙ อนึ่งปฏิทินที่นับแลคำนวณตามจันทรคตินั้น ทางฝ่าย พุทธจักร์ก็ยังใช้กันอยู่

การศึกษา

การศึกษานั้นในโบราณสมัยวัดต่างๆ เปนที่สั่งสอนหนังสือแล วิชาการต่างๆ คล้ายกันกับในประเทศยุโรป พระภิกษุสงฆ์เปนครูผู้ สั่งสอน บรรดาชายหนุ่มไม่ว่าชั้นใดตระกูลใด เมื่อมีอายุครบ ๒๑ ปี โดยบริบูรณ์แล้ว ตามธรรมดาย่อมจะอุปสมบทเปนพระภิกษุสงฆ์ในพระ บวรพุทธศาสนา อย่างน้อยก็เพียงหนึ่งพรรษา ธรรมเนียมอันนี้ยังนิยม ใช้กันอยู่เสมอมา ในเวลาที่บวชเปนพระอยู่นั้นเล่าเรียนหนังสือแล ธรรมวินัยตามสมควร ด้วยเหตุนี้คนที่อ่านหนังสือไม่ออกจึงมีน้อย ในเวลานี้ ถึงแม้ว่าการศึกษานั้น ได้จัดวางระเบียบใหม่ตามกาลนิยม

๑๔

แล้วก็ดี แต่วัดต่างๆ นั้นก็ยังคงเปนสถานที่สั่งสอนอันสำคัญอยู่ เหมือนกัน โรงเรียนนั้นแบ่งเปน ๒ ชนิด คือ โรงเรียนรัฐบาลแลโรงเรียน เชลยศักดิ์ โรงเรียนรัฐบาลนั้น คือ โรงเรียนที่รัฐบาลออกทุนรอน อุดหนุน มีโรงเรียนปถม, มัธยม, แลอุดมเปนต้น มีนักเรียนรวม ๒๗,๘๐๗ คน โรงเรียนเชลยศักดิ์นั้น ได้รับความบำรุงจากเงินที่เรี่ย รายได้จากพลเมืองในท้องที่นั้น หรือตามที่ครูจะเก็บค่าเล่าเรียนจาก นักเรียนที่เล่าเรียนอยู่ในโรงเรียนเหล่านั้นได้ โรงเรียนเชลยศักดิ์เหล่านี้ ตามธรรมดาเปนโรงเรียนชั้นปถมศึกษาเปนต้น มีนักเรียน ๑๐๐,๑๗๕ คน นอกจากนี้ในจำนวนวัด ๑๓,๒๗๗ วัด ซึ่งมีอยู่ในประเทศสยาม นั้น ไม่นับวัดที่เปนที่ตั้งโรงเรียนตามแบบของกรมศึกษาธิการที่ได้ กล่าวมาแล้ว ๑,๐๗๓ วัดนั้น ยังมีวัดต่างๆ ที่มีการสอนหนังสือ ตามแบบวัดอีก ๘,๗๓๗ วัด พระสงฆ์ในวัดเหล่านั้นเองเปนครูสอน ศิษย์ของตน ด้วยเหตุนี้ก็พอจะเห็นได้ว่าการศึกษาเบื้องต้นนั้นได้ รับความอุปถัมภ์บำรุงอันดีอยู่แล้ว แลจำนวนนักเรียนนั้นก็ทวีมาก ขึ้นทุกที ด้วยมีผู้ชอบส่งบุตร์หลานไปเล่าเรียนกันมาก การศึกษา วิชาชั้นสูงขึ้นไปนั้น, ก็มีความต้องการอยู่มาก, แต่กระทรวงทะบวง การบางกระทรวง ต่างก็มีโรงเรียนสำหรับให้กุลบุตร์ได้เล่าเรียนศึกษา วิชาชั้นสูง เพื่อเข้ารับราชการในกระทรวงต่างๆ เช่น โรงเรียนทหาร บก, ทหารเรือ, โรงเรียนกฎหมาย, โรงเรียนแพทย์, โรงเรียนข้า ราชการพลเรือน, โรงเรียนพานิชการแลโรงเรียนเพาะช่างเปนอาทิ ส่วน

๑๕

ในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนนั้น ในเวลานี้มีการฝึกหัดสั่งสอนอยู่ ๓ แพนก คือ แพนกยันตรศึกษา ๑, ครุศึกษา ๑, รัฏฐประสาตร ศึกษา ๑, โรงเรียนนี้ก็คือโครงของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะได้มีสืบต่อไป ในภายน่านั้น อนึ่งที่ดินอันกว้างใหญ้เหมาะแก่การสร้างมหาวิทยาลัย นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดพระราช ทานให้ตัวตึกใหญ่ที่จะเปนมหาวิทยาลัยสืบต่อไป ที่กำลังก่อสร้างอยู่ ก็จวนสำเร็จอยู่แล้ว

ในที่สุดนี้ควรจะกล่าวถึงโรงเรียนมหาดเล็กหลวงอีกแห่งหนึ่ง ซึ่ง เวลานี้กำลังปลูกสร้างอยู่นั้น โรงเรียนนี้เปนพยานให้เห็นในพระมหา กรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปนพระราชธุระฝักใฝ่ ในความเจริญของการศึกษาอยู่มากเพียงใด

อนึ่ง มหาวิทยาลัยแลโรงเรียนซึ่งกล่าวมาว่ากำลังก่อสร้างอยู่นั้น เมื่อแล้วเสร็จจะเปนสฐานที่อย่างแบบไทย์โบราณอันดีที่สุด ซึ่งภายใน ทำตามแบบอย่างใหม่ที่นิยมกันอยู่ในสมัยปัตยุบันนี้

การป้องกันรักษา

พระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหารนั้น ได้ประกาศใช้ทั่วพระราช อาณาจักร์ เวลารับราชการในกองประจำการนั้นมีกำหนด ๒ ปี ใน ราชการฝ่ายทหารนั้น เจ้าน่าที่ของกองทัพบกได้จัดการอย่างเคร่งครัด เมื่อมีราชการทัพศึกก็พร้อมที่จะทำการตามน่าที่ได้อย่างดี กำลัง ของกองทัพบกนั้นมี ๑๐ กองพล และจัดเปนกองทัพน้อย ๓ กองทัพ เปนกองพลอิศร ๑ กองพล ในกรุงเทพฯ มีโรงเรียนนายร้อยซึ่งเปน

๑๖

สำนักนิ์ที่ศึกษาวิชาการทหารบก สำหรับผู้ที่จะเปนนายทหารชั้น สัญญาบัตร์แลนายดาบ ส่วนโรงเรียนนายสิบนั้นมีอยู่ตามกรมทหาร นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนแม่นปืนแลโรงเรียนปืนใหญ่สำหรับนายทหาร ชั้นสัญญาบัตร์ด้วย ในการบำรุงกำลังร่างกายทหารให้แขงแรงแล ผาศุขสบายนั้น เจ้าน่าที่คอยเอาใจใส่ตรวจตราอยู่อย่างกวดขัน เครือง อาวุธยุทธภัณฑ์นั้น เปนของที่นิยมใช้กันในสมัยนี้ทั้งสิ้น ในที่ใกล้ เคียงกรุงเทพฯ นั้น มีโรงทำกระสุนปืนอยู่แห่งหนึ่ง นายทหารที่ เปนผู้บังคับการแลครูในกองบินนั้น ได้ฝึกหัดมาแต่ประเทศยุโรป

ฝ่ายกองทัพเรือ มีทหารเรือประจำการ ๕,๐๐๐ คน มีทหาร กองหนุน ๒๐,๐๐๐ คน มีเรือปืน ๔ ลำ เรือพิฆาฎตอร์ปิโด ๒ ลำ แล เรือตอปิโด ๔ ลำ ส่วนความมุ่งหมายที่จะจัดกองทัพเรือนั้น ก็มุ่งหมาย จะให็เป็นอย่างดีแลเพียงพอตามน่าที่ในเวลาที่มีการสงคราม โรงเรียน ทหารเรือนั้นมีหลักสูตร์อย่างดีแลพอเพียงสำหรับราชการทหารเรือ

ส่วนกรมสรรพาวุธแลอู่เรือนั้น ก็เพียงพอที่สามารถจะซ่อมแซม รักษาเรือรบต่างๆ เรือบรรทุกทหารแลเรือราชการอื่นๆ อีกถึง ๑๐ ลำเศษนั้นได้

อนึ่ง ราชนาวีสมาคม ซึ่งได้ตั้งขึ้นก็มุ่งหมายจะเตือนใจชนชาว สยามทั่วไปให้เห็นความสำคัญแลความจำเปนในการป้องกันรักษาพระ ราชอาณาเขตร์ทางฝ่ายนี้ เพื่อชักจูงแลปลุกใจชาวไทยให้รู้จักรักชาติ แลเมืองไทยอันเปนบ้านเกิดเมืองบิดร แลรู้จักน่าที่ของตนที่ควรฉลอง คุณชาติแลบ้านเมืองของตนอย่างใดนั้น

๑๗

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันทรงพระคุณธรรมอันประเสริฐของ เราได้ทรงตั้งกองเสือป่าขึ้น แลการตั้งกองเสือป่านั้นก็ได้แพร่หลาย ตลอดไปทั่วพระราชอาณาเขตร์โดยเร็วพลัน อนึ่งลูกเสือที่ได้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นนั้น ก็ได้รับความอุปถัมภ์บำรุงของประชา ชนพลเมืองทั่วไปโดยเร็วเหมือนกัน

อัตราไปรสนีย์แลโทรเลข

ประเทศสยามได้เข้าสากลไปรสนีย์สมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๒๘ เพราะฉนั้นอัตราค่าธรรมเนียมไปรสนีย์ในระหว่างประเทศสยามแลนานา ประเทศที่เข้าอยู่ในสากลไปรสนีย์แล้วนั้นคล้ายคลึงกัน การไปรสนีย์ไป ต่างประเทศนั้น จะฝากเงินทางไปรสนีย์ธนาณัติซึ่งมีจำนวนเงินไม่เกิน กว่า ๔๐ ปอนด์, ๑๐๐๐ แฟรงค์, ๘๐๐ มาร์ค, ๔๐๐ เหรียญแมกซิกัน, หรือเหรียญสิงคโปร์, ไปยังนานาประเทศได้ ห่อวัตถุที่ส่งทางไปรสนีย์ วัตถุนั้น จำกัดน้ำหนักเพียง ๕ กิโลแกรม หรือ ๑๑ ปอนด์ แต่เมือง ฝรั่งเศษแลอินโดไชนานั้น มีน้ำหนักจนถึง ๑๐ กิโลแกรมก็ส่งได้

ดวงตราไปรสนีย์ที่ออกใช้อยู่นั้น มีราคาต่างกันดังนี้ ๒ สตางค์, ๓ สตางค์, ๕ สตางค์, ๑๐ สตางค์, ๑๕ สตางค์, ๑ บาท, ๒ บาท, ๓ บาท, ๕ บาท, ๑๐ บาท, แล ๒๐ บาท,

หนังสือปิดซองผนึกธรรมดาฝากถึงผู้รับซึ่งอยู่ในแขวงจังหวัดเดียว กัน ต้องปิดดวงตราค่าธรรมเนียม ๕ สตางค์ ทุกน้ำหนัก ๑๕ แกรม

ฝากไปต่างหัวเมืองในพระราชอาณาเขตร์สยาม ต้องปิดดวงตรา

๑๘

ค่าธรรมเนียม ๑๐ สตางค์ ทุกน้ำหนัก ๑๕ แกรม

ฝากออกไปยังนานาประเทศ ต้องปิดดวงตราค่าธรรมเนียม ๑๕ สตางค์ในน้ำหนัก ๒๐ แกรมแรก ต่อไปต้องเสียค่าธรรมเนียม ๑๐ สตางค์ ทุกๆ ๒๐ แกรมหรือเศษของ ๒๐ แกรม,

ค่าธรรมเนียมสำหรับหนังสือจดทะเบียนฝากถึงตำบลใดๆ ต้อง ปิดดวงตราค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก ๑๕ สตางค์

ไปรสนีย์บัตร์ที่ส่งไปมาในจังหวัดเดียวกัน ราคาแผ่นละ ๒ สตางค์ ส่งไปต่างหัวเมืองในพระราชอาณาเขตร์ ราคาแผ่นละ ๓ สตางค์ ส่งไปยังนานาประเทศ ราคาแผ่นละ ๕ สตางค์ ถ้ามีตอบด้วย ราคาแผ่นละ ๑๐ สตางค์

อัตราค่าธรรมเนียมส่งหนังสือพิมพ์ต่างๆ ดังนี้

ส่งถึงผู้รับซึ่งอยู่ในแขวงเมืองเดียวกัน หรือตามหัวเมืองใน พระราชอาณาจักร์สยาม ต้องปิดดวงตราค่าธรรมเนียม ๒ สตางค์ ทุกน้ำหนัก ๕๐ แกรม

ส่งออกไปยังต่างประเทศ ต้องปิดดวงตราค่าธรรมเนียม ๓ สตางค์ ทุกน้ำหนัก ๕๐ แกรม อัตราค่าโทรเลขในพระราชอาณาจักร์สยามใน ๑๐ คำแรก หรือ น้อยกว่าเปนเงิน ๑ บาท คำต่อๆ ไปคิดคำละ ๑๐ สตางค์

โทรเลขที่จะมีไปยังทวีปยุโรป (เว้นประเทศรุซเซียแลเตอรกี) มีอัตราต่างกัน ตั้งแต่คำละ ๑ บาท ๙๐ สตางค์ ถึง ๓ บาท ๔๐ สตางค์ แล้วแต่จะส่งไปโดยทางสายใด