ข้ามไปเนื้อหา

บันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๖๕/๒๕๕๙ (เป็นพิเศษ)

จาก วิกิซอร์ซ
บันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[1]
ครั้งที่ ๖๕/๒๕๕๙ (เป็นพิเศษ)
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
ณ ตึกรัฐสภา

เริ่มประชุมเวลา ๒๑.๓๐ นาฬิกา

เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์กล่าวเปิดประชุมและได้ดําเนินการให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม คือ รับทราบ เรื่อง ประกาศสํานักพระราชวัง เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดําเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันศุกร์ที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ตามที่สํานักพระราชวังได้แถลงให้ทราบเป็นระยะแล้วนั้น แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ได้ทรุดหนักลงตามลําดับ ถึงวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เวลา ๑๕ นาฬิกา ๕๒ นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ ๘๙ ทรงครองราชสมบัติได้ ๗๐ ปี

ต่อมา ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เชิญสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติยืนขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ เป็นเวลา ๙ นาที

ท้ังนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะได้ดําเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๙ มาตรา ๒ ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓ ต่อไป และจะไม่มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวาระปกติจนกว่าจะมีการดําเนินการตามโบราณราชประเพณีกฎมณเฑียรบาลและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ที่ประชุมรับทราบ

เลิกประชุมเวลา ๒๑.๔๕ นาฬิกา
วรารัตน์ อติแพทย์
เลขาธิการวุฒิสภา
ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เชิงอรรถ

[แก้ไข]
  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๑๔ ง/หน้า ๑๒๖/๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๙

ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"