ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามผู้ใดมีไว้ครอบครอง/๑

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)



ประกาศกระทรวงมหาดไทย[1]

เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์
ที่ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง


_______________


ด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเอกสารสิ่งพิมพ์ดังต่อไปนี้ เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ซึ่งเสนอข่าวสาร บทความ และข้อเขียนแสดงความคิดเห็นอันส่อไปในทางก่อให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในชาติ หรือชี้นำผู้อ่านให้เกิดความนิยมเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน หรือให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน คือ

๑. การเมืองเรื่องของประชาชน เขียนโดย

แนวร่วมประชาชาติกันทรารมย์

๒. เกาอี้เป่า เขียนโดย

เกาอี้เป่า

๓. การ์ตูนปฏิวัติจากจีนใหม่ กองทหารหญิงแดง จดหมายขนไก่ เขียนโดย

หวาซาน หลิวจี้อิ่ว

๔. การปฏิวัติของจีน เขียนโดย

กองบรรณาธิการสังคมศาสตร์ปริทัศน์

๕. การศึกษาปฏิวัติประชาชนลาว เขียนโดย

ไกรสร พรหมวิหาร

๖. ก่อนไปสู่ภูเขา แปลโดย

สถาพร ศรีสัจจัง

๗. กาพย์กลอนเหมาเจ๋อตุง แปลโดย

ประไพ วิเศษธานี

๘. เข้าโรงเรียน เขียนโดย

กวั่นหวา

๙. ข้อขัดแย้งระหว่างสหภาพโซเวียต กับ จีน เขียนโดย

กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เหยินหมินยึเป้า และกองบรรณาธิการนิตยสารหงฉี

๑๐. คติพจน์ประธานเหมาเจ๋อตุง ไม่ปรากฏ

ชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ที่สำนักพิมพ์ต่างประเทศ ปักกิ่ง และสุนทรการพิมพ์ หจก. จรัลสนิทวงศ์ บางพลัด กรุงเทพมหานคร

๑๑. คัมภีร์นักปฏิวัติ เขียนโดย

กลุ่มอีสานปฏิวัติ

๑๒. คาร์ล มาร์กซ์ ผู้สร้างทฤษฎีนิรันดร เขียนโดย

วิตาลี ไวกอดสกี

๑๓. ความจัดเจนทางประวัติศาสตร์ของเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ ไม่ปรากฏ

ผู้เขียน แต่พิมพ์ที่สุวิทย์การพิมพ์ ซอยอรรถสิทธ์ สาทรใต้ กรุงเทพฯ

๑๔. เคียงข้างกันสร้างสรรค์โลก เขียนโดย

แสงเสรี

๑๕. ความคิดของเหมาเจ๋อตุง เขียนโดย

สุรัฐ โรจนวรรณ

๑๖. โจวเอินไหล ไม่ปรากฏ

ชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ที่วัชรินทร์การพิมพ์ ๓๖๔ ถนนพระสุเมรุ กรุงเทพฯ

๑๗. จะวิเคราะห์ชนชั้นในชนบทอย่างไร เขียนโดย

กลุ่มเยาวชนรับใช้ชาติ

๑๘. จากโฮจิมินห์ ถึง เปลื้อง วรรณศรี เขียนโดย

สุชาติ สวัสดิ์ศรี

๑๙. จรยุทธ-ใต้ดิน เขียนโดย

ตะวันฉาย

๒๐. จีนคอมมิวนิสต์ เขียนโดย

สนอง วิริยะผล

๒๑. จิตใจปฏิวัติ ไม่ปรากฏ

ชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน

๒๒. จีนแผ่นดินแห่งการปฏิวัติตลอดกาล เขียนโดย

Jan Myrdal & Gun Kessle

๒๓. ลัทธิสังคมนิยมแบบเพ้อฝันและแบบวิทยาศาสตร์ แปลโดย

อุทิศ และ โยธิน

๒๔. ลัทธิวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ เขียนโดย

ตะวันฉาย

๒๕. ลัทธิเลนิน กับ ลัทธิแก้สมัยใหม่ เขียนโดย

ชมรม ๑๓

๒๖. ลัทธิเลนินจงเจริญ เขียนโดย

กองบรรณาธิการนิตยสารหงฉี

๒๗. ลัทธิมาร์กซ์–เลนิน ว่าด้วยทฤษฎีสังคมนิยมที่เป็นวิทยาศาสตร์ แปลโดย

ศูทร ศรีประชา

๒๘. ว่าด้วยรากฐานทางสังคมกลุ่มหลินเปียวที่ค้านพรรค เขียนโดย

เหยาเหวินหยวน

๒๙. วิจารณ์คำแถลงของพรรคคอมมิวนิสต์ อเมริกา กระจกส่องพวกลัทธิแก้ ไม่ปรากฏ

ชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ที่ธเนศวรการพิมพ์ ๑๘๙ ถนนบำรุงเมือง กรุงเทพฯ

๓๐. วิพากษ์ลัทธิแก้ ไม่ปรากฏ

ชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ที่สมชายการพิมพ์ ๒๗๐/๗๗ ซอยวิมลสรกิจ บางยี่ขัน กรุงเทพมหานคร

๓๑. วัฒนาการความคิดสังคมนิยม เขียนโดย

ชาญ กรัสนัยปุระ

๓๒. ว่าด้วยรัฐบาลรวม เขียนโดย

เหมาเจ๋อตุง

๓๓. วิเคราะห์การต่อสู้ของพรรคลาวด๋อง เขียนโดย

ธีรยุทธ บุญมี

๓๔. วิวัฒนาการของมาร์กซ์ซิสม์ เขียนโดย

น.ชญานุตม์

๓๕. วัฒนธรรมจีนใหม่ เขียนโดย

ไจ๋เปียน

๓๖. วี.ไอ. เลนิน–รัฐ เขียนโดย

ชมรมหนังสือแสงดาว

๓๗. วีรบุรุษสู้รบ เขียนโดย

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสานแห่งประเทศไทย

๓๘. ว่าด้วยประชาธิปไตยรวมศูนย์ แปลโดย

เศรษฐวัฒน์ ผดุงรัฐ

๓๙. ลัทธิวัตถุนิยมวิภาษ และวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ เขียนโดย

โจเซฟ สตาลิน ประกาย สุชีวิน แปล

๔๐. ภาวะของศิลปะใต้ระบอบเผด็จการฟาสซีสม์ เขียนโดย

จิตติน ธรรมชาติ

๔๑. หลักลัทธิเลนิน เขียนโดย

บำรุง ไพรัชวาที

๔๒. หนทางการปฏิวัติไทย ไม่ปรากฏ

ผู้แต่ง และไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์

๔๓. ๕๐ ปีพรรคคอมมิวนิสต์คิวบา ๕๐ ปีสหพันธ์สตรีคิวบา ไม่ปรากฏ

ชื่อผู้แต่ง แต่พิมพ์ที่ประจักษ์การพิมพ์ กรุงเทพมหานคร

๔๔. เดินทางทัพทางไกลไปกับประธานเหมา เขียนโดย

เฉินชางเฟิ่ง

๔๕. เดินทัพทางไกลครั้งที่ ๒ เขียนโดย

เหยิน จาง – หลิน

๔๖. หยางกึนซือวีรชนอมตะ เขียนโดย

ว่างเฮ่า

๔๗. เหมาเจ๋อตุง ผู้นำจีนใหม่ เขียนโดย

เทอด ประชาธรรม

๔๘. นอร์แมน เบทูน แปลโดย

ศรีนรา

๔๙. บนเส้นทางไปสู่สังคมนิยมจีน เขียนโดย

ธีรยุทธ บุญมี

๕๐. บทกวีเพื่อผู้ถูกกดขี่ เขียนโดย

วิทยากร เชียงกูล

๕๑. คาร์ลม าร์กซ์ ค่าจ้างราคาและกำไร แปลโดย

ประสาท ลีลาเธียร

๕๒. บันทึกของไพ่ฉวิน ม่านเทียนเสื่อ แปลโดย

แจ่ม จรัสแสง

๕๓.ประวัติศาสตร์ ๓๐ ปี ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขียนโดย

หูเฉียวมุ เจิดจำรัส แปล

๕๔. ถังเหล่ยเวียดนาม เขียนโดย

อุดร ทองน้อย

๕๕. ทหารน้อยจางก่า เขียนโดย

สีกวงเย่า

๕๖. แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ เขียนโดย

คาร์ล มาร์กซ์ เฟรเดอริค เองเกลส์

๕๗. บทวิเคราะห์วรรณกรรมยุคศักดินา เขียนโดย

จิตร ภูมิศักดิ์

๕๘. ปัญหาลัทธิเลนินในยุคของเรา เขียนโดย

ชมรมดาวรุ่ง

๕๙. แนวร่วมปลดแอกของโฮจิมินห์ เขียนโดย

บัณฑูร เวชสาร

๖๐. นิพนธ์ปรัชญา ๔ เรื่องของประธานเหมาเจ๋อตุง แปลโดย

ชมรมหนังสือรวงข้าว

๖๑. แนวทางแห่งการต่อสู้ แนวทางแห่งชัยชนะ เขียนโดย

กลุ่มพลังชน

๖๒. นักศึกษาจีน แนวหน้าขบวนการปฏิวัติสังคม แปลโดย

เทอด ธงธรรม วรรณา พรประเสริฐ

๖๓. ด้วยเลือดและชีวิต เขียนโดย

จิตร ภูมิศักดิ์

๖๔. แนวร่วมเอกภาพเพื่อการปลดแอกแห่งชาติ เขียนโดย

ชมรมหนังสืออิสรภาพ

๖๕. ทฤษฎีการเมืองว่าด้วยเศรษฐศาสตร์การเมือง สำหรับชนชั้นกรรมาชีพ แปลโดย

เมธี เอี่ยมเจริญ

๖๖. ชีวทัศน์หนุ่มสาว ไม่ปรากฏ

ชื่อผู้เขียน แต่พิมพ์ที่บริษัทบพิธการพิมพ์ ๗๐ ถนนราชบพิธ กรุงเทพมหานคร

๖๗. ชีวทัศน์เยาวชน ไม่ปรากฏ

ชื่อผู้เขียน และไม่ปรากฏที่พิมพ์

๖๘. ชาวนาไทยกับการเปลี่ยนแปลง แปลโดย

สุเทพ สุนทรเภสัช

๖๙. เช กูวารา นายแพทย์นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ เขียนโดย

ศรีอุบล

๗๐. ชีวิตในคอมมูน เขียนโดย

สันติสุข

๗๑. ชนกรรมาชีพทั่วโลก จงสามัคคีกันคัดค้านศัตรูร่วมกับเรา เขียนโดย

สำนักพิมพ์เข็มทิศ

๗๒. ซ้ายทารก เขียนโดย

วี. ไอ. เลนิน

๗๓. สืบทอดภารกิจปฏิวัติ เขียนโดย

ชมรมดาวรุ่ง

๗๔. สุนทรพจน์ของประธานเหมาเจ๋อตุง ไม่ปรากฏ

ผู้เขียน แต่พิมพ์ที่ศรีเพ็ชรการพิมพ์ ๑๖๙/๑๒๐ ตรอกวัดดีดวด บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

๗๕. สงครามปฏิวัติ เขียนโดย

ชมรมดาวรุ่ง

๗๖. สงครามกองโจรของ เช กูวารา แปลโดย

ฤตินันทน์

๗๗. สรรนิพนธ์ โฮจิมินห์ แปลโดย

วารินทร์ สินสูงสุด ปารวดี วรุณจิต

๗๘. เสียงร้องของประชาชน แปลโดย

จิรนันท์ พิตรปรีชา

๗๙. สงครามยืดเยื้อ เขียนโดย

เหมาเจ๋อตุง

๘๐. สรรนิพนธ์เลนิน คอมมิวนิสต์ ปีกซ้าย โรคไร้เดียงสา แปลโดย

นพคุณ ศิริประเสริฐ

๘๑. สรรนิพนธ์เลนิน เพื่อคนจนในชนบท แปลโดย

พัลลภา ปั้นงาม

๘๒. สงครามอุโมงค์ เขียนโดย

เจ๋อเหมย ปี้เหลย

๘๓. สตรีกับภาระกิจแห่งการปฏิวัติ เขียนโดย

จินดา ไชยโยทยาน

๘๔. ยืนหยัดเคียงบ่าเคียงไหล่ ต่อสู้กับคลื่นลม ไม่ปรากฏ

ผู้เขียน และไม่ปรากฏที่พิมพ์

๘๕. ระลึกคอมมูนปารีสครบร้อยปี เขียนโดย

ชมรมหนังสือตะวันแดง

๘๖. ศัพทานุกรมปรัชญา เขียนโดย

เมธี เอี่ยมเจริญ

๘๗. สาธารณรัฐประชาชนจีน แปลโดย

ถ่องแท้ รจนาสัณห์

๘๘. เมาเซตุง เขียนโดย

ศิรวิทย์

๘๙. ยูโกสลาเวีย เป็นสังคมนิยมจริงหรือ ไม่ปรากฏ

ผู้เขียน แต่พิมพ์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

๙๐. ปัญหาปฏิวัติประเทศไทย เขียนโดย

กลุ่มชนภูเขา

๙๑. เอกสารสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ ๑๐ ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน เขียนโดย

กลุ่มเยาวชนรักชาติ

๙๒. โฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ไทย เขียนโดย

สายใย เทอดชูธรรม

๙๓. พระเจ้าอยู่ที่ไหน เขียนโดย

นายผี

๙๔. พระสงฆ์ลาวกับการปฏิวัติ เขียนโดย

คำตัน

๙๕. แล้วเราก็ปฏิวัติ ไม่ปรากฏ

ผู้เขียน แต่พิมพ์ที่เจริญวิทย์การพิมพ์ บ้านพานถม กรุงเทพมหานคร

๙๖. รัฐกับการปฏิวัติ เขียนโดย

วี. ไอ. เลนิน

๙๗. เลนินจักรวรรดิ์นิยมชั้นสูงสุดของทุนนิยม แปลโดย

ประสาท ลีลาเธียร

๙๘. ว่าด้วยปัญหาที่ดินและชาวนาของประธานเหมาเจ๋อตุง ไม่ปรากฏ

ผู้เขียน และไม่ปรากฏที่พิมพ์

๙๙. วีรสตรีจีนปฏิวัติหลิวหูหลาน แปลโดย

วีรจิตร

๑๐๐. อัลเยนเด้วีรชนปฏิวัติ เขียนโดย

สูรย์ พลังไทย

อาศัยอำนาจตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔๓ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ข้อ ๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าเอกสารสิ่งพิมพ์ รวม ๑๐๐ ฉบับ ตามรายชื่อข้างต้นนี้ เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ซึ่งต้องห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ครอบครอง


ประกาศมา ณ วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๒๐


สมัคร สุนทรเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔ ตอน ๑๘ ง ฉบับพิเศษ/หน้า ๑-๑๒/๑๑ มีนาคม ๒๕๒๐




งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"