ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๖๔ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๑๕
โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า วิชานิติศาสตร์เป็นวิชาสำคัญและจำเป็นแก่การศึกษาในมหาวิทยาลัยและแก่ประเทศโดยส่วนรวม แผนกวิชานิติศาสตร์ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๔ นั้นได้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ มีนิสิตเป็นจำนวนมากขึ้นจนต้องเปิดสอนทั้งภาคปกติและภาคสมทบ และได้ขยายศึกษาวิชานิติศาสตร์ขึ้นไปจนถึงขั้นปริญญาโท สมควรแยกแผนกวิชานิติศาสตร์ออกจากคณะรัฐศาสตร์ และจัดตั้งขึ้นเป็นคณะนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อช่วยพัฒนาการศึกษาในวิชาการสาขานี้ได้เจริญยิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้มีการศึกษาจนถึงขั้นปริญญาเอกในโอกาสต่อไป หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ให้จัดตั้งคณะนิติศาสตร์เพิ่มขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ให้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๖ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๘๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๗
ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[1]
เชิงอรรถ
[แก้ไข]- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙/ตอนที่ ๙๓/ฉบับพิเศษ/หน้า ๑/๑๗ มิถุนายน ๒๕๑๕
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"