ข้ามไปเนื้อหา

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๑๗

จาก วิกิซอร์ซ
ประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๓๑๗
_______________

โดยที่ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติให้จัดตั้งการเคหะแห่งชาติขึ้นเพื่อรับผิดชอบดำเนินงานให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย และให้โอนบรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน และสิทธิต่าง ๆ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้เช่าซื้อที่ดินหรืออาคารแก่ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยของตนเองให้แก่การเคหะแห่งชาติแล้วนั้น คณะปฏิวัติเห็นสมควรปรับปรุงกิจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้สอดคล้องและประสานกับกิจการของการเคหะแห่งชาติในการนี้จะเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า ที่ดิน และ อาคาร ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

ที่ดิน หมายความว่า ที่ดินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่อาศัย

อาคาร หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่อาศัย หรือเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๕ ให้จัดตั้งธนาคารขึ้นเรียกว่า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อส่งเสริมการนำเงินไปลงทุนเกี่ยวกับการจัดให้มีอาคารและหรือที่ดินตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ และให้ธนาคารนี้เป็นนิติบุคคล

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๑๐ กำไรสุทธิส่วนที่เหลือภายหลังที่ได้หักตามความในมาตรา ๘ แล้วให้สะสมไว้สำหรับใช้ในกิจการของธนาคาร

ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการธนาคารคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นมีจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ในจำนวนนี้ให้มีกรรมการเคหะแห่งชาติหนึ่งคน และผู้แทนกระทรวงการคลังหนึ่งคน ให้ผู้จัดการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งประธานกรรมการ กรรมการ และผู้จัดการต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยและให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง

ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๑๔ ผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ คือ

(๑) มีส่วนได้เสียในสัญญากับธนาคารหรือในกิจการที่กระทำให้แก่ธนาคาร ทั้งนี้ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยทางอ้อม เว้นแต่จะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อประโยชน์ในการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจำกัดที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น

(๒) เป็นพนักงานธนาคาร

(๓) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย

ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๑๕ ให้ประธานกรรมการและกรรมการ ดำรงตำแหน่งสองปีประธานกรรมการและกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอีกก็ได้

ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๑๗ ให้คณะกรรมการธนาคารมีอำนาจหน้าที่กำกับ ควบคุมและอำนวยกิจการของธนาคาร อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง

(๑) ดำเนินกิจการตามมาตรา ๒๗

(๒) วางข้อบังคับการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการบริหาร

(๓) วางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานของพนักงานธนาคาร

(๔) วางข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคาร

(๕) แต่งตั้งและถอดถอนพนักงานธนาคาร และกำหนดอัตราเงินเดือนผู้จัดการและพนักงานธนาคาร ตลอดจนเรียกประกันจากพนักงานธนาคารเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตข้อบังคับตาม (๓) และ (๔) และการกำหนดอัตราเงินเดือนผู้จัดการและพนักงานธนาคาร ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี

ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๑๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะกรรมการธนาคารดำเนินตามนโยบายซึ่งรัฐมนตรีกำหนด

ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๒๑ คณะกรรมการธนาคารมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้จัดการและกรรมการอย่างน้อยสองคนแตไม่เกินสี่คน ในจำนวนนี้ให้มีกรรมการเคหะแห่งชาติหนึ่งคนให้คณะกรรมการธนาคารเลือกตั้งกรรมการบริหารคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารดำรงตำแหน่งหนึ่งปีและอาจได้รับเลือกตั้งใหม่ได้ แต่การดำรงตำแหน่งจะต้องสิ้นสุดลง ในเมื่อออกจากตำแหน่งกรรมการธนาคาร

ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๒๓ ให้ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการธนาคารหรือคณะกรรมการบริหารจะมอบหมาย และให้ได้รับเงินเดือนตามที่คณะกรรมการธนาคารกำหนดในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้จัดการเป็นผู้แทนธนาคารเพื่อการนี้ผู้จัดการจะมอบอำนาจให้พนักงานของธนาคารผู้ใดปฏิบัติกิจการใดแทนก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อบังคับของธนาคาร

ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๒๗ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ธนาคารประกอบธุรกิจเพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือให้นำเงินไปลงทุนเกี่ยวกับการจัดให้มีอาคารและหรือที่ดินต่อไปนี้

(1) ให้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ดังต่อไปนี้

(ก) เพื่อผู้กู้จักได้ใช้ซื้อที่ดินหรืออาคารเป็นของตนเอง

(ข) เพื่อผู้กู้จักได้ใช้สำหรับสร้าง ขยายหรือซ่อมแซม

อาคารของตนเอง

(ค) เพื่อผู้กู้จักได้ใช้ไถ่ถอนจำนองอันผูกพันที่ดินหรืออาคาร

ของตนเอง

(ง) เพื่อผู้กู้จักได้ใช้ไถ่ถอนซึ่งการขายฝากที่ดินหรืออาคาร

ของตนเอง

(จ) เพื่อผู้กู้จักได้ใช้ในการลงทุนจัดกิจการและ

(2) รับจำนำหรือจำนองทรัพย์สินเพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืม

(3) รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลา

อันกำหนดไว้

(4) กิจการอันพึงเป็นงานธนาคารตามที่จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้

ทั้งนี้ให้ประกอบได้ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง'

ข้อ 12  ให้ยกเลิกความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496

ข้อ 13  ให้ยกเลิกความในข้อ 34 แห่งพระราชบัญญัติ

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

`มาตรา 34  ทุกปี ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบ

บัญชีธนาคาร'

ข้อ 14  ให้ยกเลิกความในมาตรา 36 และมาตรา 37

แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496

ข้อ 15  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 38 ทวิ แห่ง

พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496

`มาตรา 38 ทวิ  ให้ธนาคารจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์หรือการ

สงเคราะห์อื่น ๆ เพื่อสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานในธนาคารและครอบครัว

ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการธนาคารวางไว้'

ข้อ 16  ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด

หกสิบวันนับแต่วันวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕

จอมพล ถ. กิตติขจร

หัวหน้าคณะปฏิวัติ


งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"