ข้ามไปเนื้อหา

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2501

จาก วิกิซอร์ซ

เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๘๑

๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑
ฉบับพิเศษ หน้า ๕
ราชกิจจานุเบกษา

ประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒

เนื่องจากประกาศฉบับที่ ๑ ของคณะปฏิวัติว่า ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศในนามของปวงชนชาวไทยได้เรียบร้อยแล้วนั้น คณะปฏิวัติขอประกาศต่อไปว่า การยึดอำนาจครั้งนี้ได้กระทำด้วยความจำเป็น โดยความยินยอมสนับสนุนของรัฐบาลชุดที่ลาออกไป และด้วยความเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่ที่ห่วงใยความเป็นอยู่ของประเทศชาติ เพราะเหตุที่สถานการณ์ทั้งภายนอกภายในรัดรึงตึงเครียดยิ่งขึ้นทุกที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภัยคอมมิวนิสต์ได้คุกคามประเทศไทยอย่างรุนแรง ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงไปใช้วิธีใดนอกจากยึดอำนาจและดำเนินการปฏิวัติในทางที่เหมาะสม

คณะปฏิวัติให้ประกันว่า จะไม่เปลี่ยนสถาบันใด ๆ มากเกินไปกว่าความจำเป็นเพื่อความปลอดภัยของประเทศชาติ คณะปฏิวัติจะคงดำเนินการปคกรองระบอบรัฐธรรมนูญ และเทอดทูนองค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะอยู่เสมอ การยึดอำนาจครั้งนี้ก็เพื่อรักษาสถาบันที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป องค์พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดถึงองคมนตรี ได้รับอารักขาจากคณะปฏิวัติอย่างปลอดภัยแล้วทุกประการ ชนชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานทูตสถานกงสุลต่างประเทศและสำนักงานระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ในพระนคร ได้รับความคุ้มครองอย่างเข้มแข็ง คณะปฏิวัติจะได้ชี้แจงเหตุผลที่ต้องทำการครั้งนี้ให้มหาชนทราบโดยละเอียดต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
หัวหน้าคณะปฏิวัติ

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก