ข้ามไปเนื้อหา

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 302

จาก วิกิซอร์ซ
ประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 302
_______________

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร เพื่อเพิ่ม

อำนาจของศาลจังหวัดทหารในการลงโทษปรับ ปรับปรุงองค์คณะตุลาการของ

ศาลจังหวัดทหาร และเพิ่มเติมอำนาจของผู้บังคับบัญชาที่จะสั่งควบคุมตัวผู้ต้องหา

ซึ่งเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำความผิดและเป็นผู้ต้องหา

ในคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร แต่ได้ออกจากประจำการหรือถูกปลด

จากกองประจำการไปแล้ว หรือซึ่งมิได้จัดเข้ารับราชการในกองประจำการ

หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ 1  ให้ยกเลิกความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญ

ศาลทหาร พ.ศ. 2498 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

`มาตรา 19  ศาลจังหวัดทหาร มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาได้ทุกบท

กฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นสัญญาบัตร

คดีที่กฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำ หรือกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำ

ไว้ให้จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกิน

กำหนดนี้ ถ้าศาลจังหวัดทหารเห็นควรยกฟ้องโจทก์ หรือเห็นควรลงโทษจำเลย

แต่ละกระทงจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ไม่เกินกำหนดนี้ ก็ให้พิพากษาได้

คดีที่ศาลจังหวัดทหารไม่มีอำนาจพิพากษา ให้ศาลจังหวัดทหารทำความเห็น

ส่งสำนวนไปให้ศาลมณฑลทหารหรือศาลทหารกรุงเทพพิพากษา แล้วแต่กรณี'

ข้อ 2  ให้ยกเลิกความในมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญ

ศาลทหาร พ.ศ. 2498 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

`มาตรา 26  ศาลจังหวัดทหารต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะ

พิจารณาพิพากษา คือ

นายทหารชั้นสัญญาบัตรสองนาย

ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย'

ข้อ 3  ให้ยกเลิกความในมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญ

ศาลทหาร พ.ศ. 2498 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

`มาตรา 46  การควบคุมผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

ตามความในมาตรา 16 นั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจ

ศาลทหารหรือไม่ก็ตาม ให้ผู้บังคับบัญชาทหารมีอำนาจสั่งควบคุมได้โดยอนุโลม

ตามอำนาจลงทัณฑ์ขังในกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร

ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยวินัยทหารมิได้ระบุผู้มีอำนาจลงทัณฑ์ขังหรือ

ผู้รับทัณฑ์ขังไว้หรือให้อำนาจลงทัณฑ์ขังไว้อย่างสูงไม่ถึงเก้าสิบวัน ให้นายทหาร

ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้นผู้บัญชาการกองพลขึ้นไปเป็นผู้มีอำนาจสั่งควบคุมหลายครั้ง

ติด ๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน

เก้าสิบวัน ถ้าไม่มีนายทหารซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ผู้บัญชาการกองพลขึ้นไป

หรือผู้ต้องหาอยู่ต่างท้องถิ่นกับผู้บังคับบัญชาก็ให้ผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุด

ณ ที่นั้น เป็นผู้มีอำนาจสั่งควบคุม

ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำ

ความผิดและเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร แต่ขณะที่ตกเป็น

ผู้ต้องหาผู้นั้นมิได้รับราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม หรือเป็นผู้ที่ถูกปลด

จากกองประจำการแล้ว หรือเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามมาตรา 16 (5)

แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารยังมิได้จัดเข้ารับราชการในกองประจำการในสังกัด

หน่วยทหารใด ให้นายทหารซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกขึ้นไป

ในท้องที่ที่การกระทำความผิดเกิดขึ้นหรือในท้องที่ที่จับตัวผู้ต้องหาได้ เป็น

ผู้มีอำนาจสั่งควบคุมหลายครั้งติด ๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวัน

และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินเก้าสิบวัน

การควบคุมผู้ต้องหานี้ให้ถือว่าเป็นการควบคุมตามประมวลกฎหมาย

วิธีพิจารณาความอาญา'

ข้อ 4  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามประกาศ

ของคณะปฏิวัติฉบับนี้

ข้อ 5  ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวัน

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515

จอมพล ถ. กิตติขจร

หัวหน้าคณะปฏิวัติ


งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"