ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๖/๒๕๕๗

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]
ฉบับที่ ๒๖/๒๕๕๗
เรื่อง การดูแลและสอดส่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์




ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒/๒๕๕๗ เรื่อง ขอความร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๗/๒๕๕๗ เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ นั้น เพื่อให้การดำเนินการตามประกาศดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย จึงให้ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแต่งตั้งบุคคลเป็นคณะทำงานด้านสื่อสังคมออนไลน์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

๑.   ตรวจสอบหรือเข้าถึงข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ การใช้เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ ทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง และคลิปเสียง ที่แพร่ในเชิงปลุกระดม ยั่วยุ สร้างความรุนแรง ความไม่น่าเชื่อถือและไม่เคารพกฎหมาย ตลอดจนต่อต้านการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยประสานกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

๒.   มีอำนาจระงับการเผยแพร่เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ ทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง และคลิปเสียง ที่ฝ่าฝืนตามข้อ ๑

๓.   ใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำในลักษณะดังกล่าว รวมทั้งร่วมมือและประสานงานกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าวต่อไป

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง


ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๓/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗.



๒๕/๒๕๕๗ ขึ้น ๒๗/๒๕๕๗

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"