ข้ามไปเนื้อหา

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การรับเข้าเป็นสถาบันสมทบฯ พ.ศ. ๒๕๕๓

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)


ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เรื่อง การรับเข้าเป็นสถาบันสมทบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


พ.ศ. ๒๕๕๓





โดยที่พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้เปลี่ยนสถานะของมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จึงสมควรให้มีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การรับเข้าเป็นสถาบันสมทบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำหรับวิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย และวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเข้าสมทบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้ก่อนแล้ว

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ วรรคสอง ประกอบกับมาตรา ๒๑ (๒) และ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑ สภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ ๗๒๐ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงมีมติให้ออกประกาศไว้ดังนี้



ข้อ ๑

ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การรับเข้าเป็นสถาบันสมทบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๓"


ข้อ ๒

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[1]


ข้อ ๓

ให้วิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับเข้าเป็นสถาบันวิชาการชั้นสูงในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามพระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย เข้าสมทบเป็นสถาบันวิชาการชั้นสูงในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นสถาบันสมทบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อไป


ข้อ ๔

ให้วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับเข้าสมทบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามพระราช กฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ กรมตำรวจ เข้าสมทบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นสถาบันสมทบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อไป


ข้อ ๕

ให้สถานภาพและการดำเนินการของสถาบันสมทบตามข้อ ๓ และข้อ ๔ ยังคงเป็นไปตามพระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย เข้าสมทบเป็นสถาบันวิชาการชั้นสูงในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๔ และพระราชกฤษฎีการับวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ กรมตำรวจ เข้าสมทบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐ แล้วแต่กรณี



ประกาศ ณ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓


ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา
นายกสภามหาวิทยาลัย



เชิงอรรถ

[แก้ไข]
  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๖๗/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕



ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"