ประกาศตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2480

จาก วิกิซอร์ซ
ตราครุฑ
ตราครุฑ
ประกาศ
ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

โดยที่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งประกอบด้วย

๑. นายนาวาเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ร.น. เป็นประธาน

๒. เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

๓. นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ได้ลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ แห่งรัฐธรรมนูญ จึ่งได้ลงมติณวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นใหม่ ประกอบด้วย

๑. นายนาวาเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ร.น. เป็นประธาน

๒. เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

๓. นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน)

ทั้งนี้ ย่อมมีข้อตกลงว่า ในการลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้น ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ และในการลงนามในเอกสารราชการนั้น ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างน้อย ๒ ท่านเป็นผู้ลงนาม

จึ่งขอประกาศให้ทราบทั่วกัน

  • ประกาศมาณวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐
  • พระยามานวราชเสวี
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร

บรรณานุกรม[แก้ไข]

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก