ข้ามไปเนื้อหา

ประกาศประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)


ประกาศ


เรื่อง รายชื่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙[1]





โดยที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ หรือเมื่อมีปัญหาว่า กฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นรองประธาน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนห้าคน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสองคน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ

บัดนี้ ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดได้ประชุมใหญ่เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเมื่อวันศุกร์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ โดยได้ดำเนินการเลือกตุลาการรัฐธรรมนูญครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดนี้ประกอบด้วย

๑. นายปัญญา ถนอมรอด เป็นประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
๑. ประธานศาลฎีกา
๒. นายอักขราทร จุฬารัตน เป็นรองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
๒. ประธานศาลปกครองสูงสุด
๓. หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
๓. ผู้พิพากษาในศาลฎีกา
๔. นายสมชาย พงษธา เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
๔. ผู้พิพากษาในศาลฎีกา
๕. นายกิตติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
๕. ผู้พิพากษาในศาลฎีกา
๖. นายธานิศ เกศวพิทักษ์ เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
๖. ผู้พิพากษาในศาลฎีกา
๗. นายนุรักษ์ มาประณีต เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
๗. ผู้พิพากษาในศาลฎีกา
๘. นายจรัญ หัตถกรรม เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
๘. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
๙. นายวิชัย ชื่นชมพูนุท เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
๙. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด


จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน



ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙


ปัญญา ถนอมรอด
ประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ



เชิงอรรถ

[แก้ไข]
  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๓ ก/หน้า ๗/๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙

ดูเพิ่ม

[แก้ไข]




ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"