ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชกาลที่ 5/เล่ม 1/เรื่อง 6

จาก วิกิซอร์ซ
สารบัญ
ธรรมนูญ
พระราชดำริห์
หมวด 1 ว่าด้วยนามแลการที่จะใช้พระราชบัญญัตินี้
  1. นามพระราชบัญญัติ
  2. กำหนดให้ใช้
  3. เลิกกฎหมายเก่า
หมวด 2 ว่าด้วยศาลหัวเมือง
หมวด 3 ว่าด้วยผู้พิพากษาศาลหัวเมือง
หมวด 4 ว่าด้วยอำนาจศาลหัวเมือง
หมวด 5 ว่าด้วยธุระในการศาลหัวเมือง
หมวด 6 ว่าด้วยการเปรียบเทียบความหัวเมือง
หมวด 7 ว่าด้วยพนักงานจัดการรักษาพระราชบัญญัติ


มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ทรงพระราชรำพึงถึงการที่จะทำนุบำรุงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้อยู่เย็นเปนศุขสมบูรณยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า การพิจารณาแลพิพากษาบังคับคดีของราษฎรตามหัวเมืองทั้งปวงยังเปนการช้า แลเปนเหตุให้ราษฎรได้ความเดือดร้อน เพราะพระราชกำหนดกฎหมายสำหรับศาลซึ่งได้ตั้งมาแต่เดิมเปนประเพณีเก่าเกินกว่าความต้องการแลความเจริญของบ้านเมืองในปัตยุบันนี้อยู่เปนหลายประการ

เพราะเหตุนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระธรรมนูญศาลหัวเมืองไว้ต่อไปดังนี้

มาตรา  พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระธรรมนูญศาลหัวเมือง รัตนโกสินทรศก ๑๑๔”

มาตรา  พระราชบัญญัตินี้จะควรใช้ในหัวเมืองมณฑลใดตั้งแต่เมื่อใด จะได้โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แลให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยมีสารตราพระราชสีห์บังคับออกไปยังหัวเมืองมณฑลนั้น ส่วนหัวเมืองในจังหวัดกรุงเทพฯ ก็ให้เสนาบดีกระทรวงนครบาลมีสารตราพระยมทรงสิงห์บังคับออกไป หัวเมืองมณฑลใดที่ยังไม่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้คงปฏิบัติไปตามเดิมก่อน

มาตรา  พระราชกำหนดกฎหมายซึ่งได้มีมาแต่ก่อนบทใด ๆ ข้อความขัดขวางต่อพระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเลิกบทนั้น ๆ เสียแต่วันที่ได้ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัตินี้สืบไป

มาตรา  นอกจากศาลพิเศษซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเฉพาะแก่พระราชบัญญัติฤๅราชการอย่างใดในหัวเมืองนั้น ให้มีศาลประจำสำหรับพิจารณาคดีตามหัวเมืองเปน ๓ ชั้นโดยลำดับกันดังนี้ คือ

 ศาลมณฑล

 ศาลเมือง

 ศาลแขวง

แลศาลพิเศษซึ่งจะตั้งขึ้นในมณฑลเปนครั้งเปนคราว ดังจะว่าไว้ในมาตรา ๖ ต่อไป

เว้นแต่หัวเมืองในจังหวัดกรุงเทพฯ นั้น ศาลหลวงเปนศาลมณฑลอยู่แล้ว ให้มีแต่ศาลเมือง ๑ ศาลแขวงซึ่งเหมือนกับศาลโปรีสภา ๑ แลศาลพิเศษอันจะตั้งขึ้นในมณฑลเปนครั้งเปนคราวเหมือนกับกองไต่สวน ๑ รวมสามอย่างเท่านั้น

มาตรา  ศาลประจำทั้ง ๓ ชั้นนี้จะควรตั้งณที่ใด ๆ ให้ข้าหลวงเทศาภิบาลพิเคราะห์ดูตามสมควรแก่ราชการ แล้วมีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูลฯ เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแลได้ประกาศแก่มหาชนให้ทราบแล้ว ก็ให้ตั้งได้

มาตรา  ข้าหลวงเทศาภิบาลเห็นจำเปนจะต้องตั้งศาลพิเศษขึ้นในมณฑลที่ตำบลใดเปนครั้งเปนคราวเพื่อประโยชน์ในคดีรายหนึ่งรายใด เมื่อได้มีใบบอกคำนับแล้ว ก็ให้มีคำสั่งตั้งได้เปนครั้งเปนคราว แต่ศาลพิเศษที่ตั้งนั้นจะให้มีอำนาจยิ่งกว่าอำนาจศาลเมืองไม่ได้

มาตรา  ศาลมณฑลต้องมีผู้พิพากษาประจำตำแหน่งคณะ ๑ คือ อธิบดีผู้พิพกาษาศาลมณฎล กับผู้พิพากษาอื่นอีก รวมกันทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า ๓ นายจึ่งจะเปนองค์คณะที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีได้เต็มอำนาจศาล ศาลเมืองก็ต้องมีผู้พิพากษาคณะ ๑ คือ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเมือง กับผู้พิพากษาอื่นรวมกันไม่ต่ำกว่า ๓ นาย จึงจะเปนคณะแลพิจารณาพิพากษาคดีได้เต็มอำนาจศาลเมือง แต่ศาลแขวงนั้นมีตำแหน่งผู้พิพากษาแต่ศาลละนาย

มาตรา  ศาลมณฑลบังคับคดีตามอำนาจศาลได้ตลอดเขตรมณฑลเทศาภิบาลซึ่งตั้งศาลนั้น ศาลเมืองบังคับคดีตามอำนาจได้แต่ในเขตรเมืองที่ตั้งศาล แลศาลแขวงบังคับคดีตามอำนาจได้แต่ในท้องที่ซึ่งผู้บัญชาการเมือง (คือ ข้าหลวงเทศาภิบาล ฤๅผู้ว่าราชการเมืองเมื่อได้รับอนุมัติของข้าหลวงเทศาภิบาล) จะกำหนดแขวงให้ว่ากล่าวมากน้อยเท่าใดก็ได้

มาตรา  ในท้องที่ซึ่งศาลใดได้บังคับคดีอยู่โดยอำนาจนั้นจะพิจารณาและพิพากษาคดีอยู่ท้องที่ตำบลเดียว ฤๅจะย้ายที่ไปตำบลอื่นเพื่อให้สดวกในการพิจารณาแลสืบสวนพิพากษาคดี ฤๅเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อผู้บัญชาการเมืองเห็นสมควร ฤๅผู้พิพากษาเห็นสมควรโดยอนุมัติของผู้บัญชาการเมืองแล้ว ก็ย้ายที่ศาลไปได้

มาตรา ๑๐ ผู้พิพากษาสำหรับชั้นพิจารณาแลพิพากษาคดีตามหัวเมืองมีตำแหน่งโดยลำดับกันเปน ๓ ชั้น คือ

 ผู้พิพากษาชั้นที่ ๑ ถือศักดินา ๓๐๐๐ ไร่

 ผู้พิพากษาชั้นที่ ๒ ถือศักดินา ๑๐๐๐ ไร่

 ผู้พิพากษาชั้นที่ ๓ ถือศักดินา ๖๐๐ ไร่

มาตรา ๑๑ การที่จะตั้งฤๅจะเลื่อนจะเปลี่ยนผู้พิพากษาตามหัวเมืองนี้ เปนหน้าที่ของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมจะต้องนำขึ้นกราบบังคมทูลแลรับพระบรมราชโองการไปจัดการนั้น ในการที่เกี่ยวแก่ตั้ง ฤๅเลื่อน ฤๅเปลี่ยนผู้พิพากษาตามหัวเมืองซึ่งข้าหลวงเทศาภิบาลจะต้องชี้แจงประการใด ให้มีใบบอกเข้ามายังเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม

มาตรา ๑๒ ผู้พิพากษาชั้นที่สามมีอำนาจดังนี้ คือ

ข้อ  ที่จะออกหมายฤๅสั่งให้จับผู้ต้องหาในคดีมีโทษหลวง

ข้อ  ที่จะบังคับส่งตัวคนไปต่างแขวงตามสูตรนารายน์

ข้อ  ที่จะออกหมายฤๅมีคำสั่งให้ค้นของกลางในคดีซึ่งมีโทษหลวง

ข้อ  ที่จะออกหมายเรียกคู่ความแลพยานในคดีซึ่งมีอำนาจที่จะพิจารณาได้

ข้อ  ที่จะไต่สวนคดีมีโทษหลวง

ข้อ  ที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีมีโทษหลวงชั้นลหุโทษซึ่งอาญาจำไม่เกินเดือน ๑ ฤๅปรับไหมไม่เกิน ๕๐ บาท

ข้อ  ที่จะพิจารณาแลพิพากษาความแพ่งซึ่งทุนทรัพย์ฤๅเบี้ยปรับไหมไม่เกิน ๕๐ บาท

มาตรา ๑๓ ผู้พิพากษาชั้นที่สองมีอำนาจดังนี้ คือ

ข้อ  บรรดาอำนาจที่มีในผู้พิพากษาชั้นที่สามนั้นก็ทำได้

ข้อ  ที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีมีโทษหลวงชั้นลหุโทษเพียงอาญาจำไม่เกิน ๓ เดือน ฤๅปรับไหมไม่เกิน ๑๐๐ บาท ฤๅโบยด้วยไม้หวายไม่เกิน ๓๐ ที

ข้อ  ที่จะพิจารณาแลพิพากษาความแพ่งซึ่งทุนทรัพย์ฤๅเบี้ยปรับไม่เกิน ๑๐๐ บาท

มาตรา ๑๔ ผู้พิพากษาชั้นที่หนึ่งมีอำนาจดังนี้ คือ

ข้อ  บรรดาอำนาจที่มีในผู้พิพากษาชั้นที่สองก็ทำได้

ข้อ  ที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีมีโทษหลวงชั้นมัธยมโทษที่อาญาจำไม่เกิน ๖ เดือน ฤๅเบี้ยปรับไม่ถึง ๒๐๐ บาท ฤๅโทษโบยด้วยไม้หวายไม่เกิน ๕๐ ที

ข้อ  ที่จะพิจารณาแลพิพากษาความแพ่งซึ่งทุนทรัพย์ฤๅเบี้ยปรับไม่ถึง ๒๐๐ บาท

มาตรา ๑๕ ผู้พิพากษาจะมีอำนาจตามที่ได้ว่ามานี้เฉพาะแต่เมื่อได้อยู่ในตำแหน่งได้บังคับคดีในศาลใด ๆ ฤๅเมื่อได้รับคำสั่งของผู้บัญชาการเมืองให้พิจารณาแลพิพากษาคดีพิเศษอย่างใด ๆ จึงจะมีอำนาจตามข้อความที่ได้ว่ามานี้ได้

มาตรา ๑๖ ศาลแขวงมีอำนาจที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีเพียงเท่าอำนาจในตำแหน่งของผู้พิพากษานั้น

มาตรา ๑๗ ศาลเมืองมีอำนาจดังนี้ คือ

ข้อ  ถ้าคดีที่มาถึงศาลเมืองไม่เกินอำนาจในตำแหน่งผู้พิพากษา ผู้พิพากษาในศาลเมืองจะแยกกันพิจารณาแลพิพากษาคดีที่อยู่ในกำหนดอำนาจตำแหน่งของตนเรื่องละคนอย่างศาลแขวงก็ได้

ข้อ  ถ้าคดีที่มาถึงศาลเมืองเกินอำนาจในตำแหน่งผู้พิพากษา ก็ให้ผู้พิพากษาศาลเมืองรวมเปนคณะพร้อมกันมีอำนาจที่จะพิจารณาแลพิพากษาคดีโดยกำหนดดังนี้ คือ

ประการ ความแพ่งทุนทรัพย์ไม่เกิน ๕๐๐ บาท
ประการ ความมีโทษหลวงโดยกำหนดโทษเหล่านี้ คือ
สถาน จำ
สถาน เฆี่ยน
สถาน ปรับไหมไม่เกิน ๕๐๐๐ บาท

มาตรา ๑๘ ศาลมณฑลมีอำนาจดังนี้ คือ

ข้อ  บรรดาอำนาจที่มีในศาลหัวเมือง

ข้อ  ที่จะพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงได้ทุกบทกฎหมาย

ข้อ  ที่จะพิจารณาแลพิพากษาความอุทธรณ์ศาลต่ำในมณฑลนั้น

มาตรา ๑๙ คำพิพากษาคดีซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิตรอย่างหนึ่ง ถึงริบสมบัติอย่างหนึ่งนี้ เมื่อศาลได้อ่านให้คู่ความฟังแล้ว ต้องบอกส่งคำพิพากษาเข้ามายังเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมให้ทำขึ้นกราบบังคมทูลฯ ก่อน ต่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงจะกระทำตามคำพิพากษาได้ แต่คำพิพากษานอกจากนั้น เมื่อศาลได้พิพากษาแล้ว แลคู่ความมิได้อุทธรณ์ตามกฎหมาย ก็ให้ผู้พิพากษาหมายบอกผู้ว่าราชการเมืองแลกรมการให้บังคับตามคำพิพากษาได้ทุกประการ

มาตรา ๒๐ คู่ความจะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลแขวงแลศาลเมือง ให้อุทธรณ์ต่อศาลมณฑล เมื่อจะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลมณฑล จึ่งให้เข้ามาอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ณสนามสถิตย์ยุติธรรมในกรุงเทพฯ

มาตรา ๒๑ ผู้พิพากษาซึ่งเปนอธิบดีฤๅเปนประธานในศาลใด เปนผู้รับผิดชอบที่จะรักษาบรรดาการในศาลนั้นให้เรียบร้อยถูกต้องตามแบบแผน แลมีอำนาจที่จะตั้ง จะผลัดเปลี่ยน แลบังคับบัญชาพนักงานในศาลได้ทุกตำแหน่ง แต่บรรดาที่ได้ว่าในมาตรานี้ ผู้พิพากษาต้องกระทำแต่โดยที่ได้อนุมัติของผู้บัญชาการเมืองซึ่งเปนผู้รับผิดชอบในฝ่ายธุระการทั่วไป

มาตรา ๒๒ อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลเปนหัวหน้าแห่งผู้พิพากษาศาลทั้งปวงในมณฑลนั้นโดยตำแหน่ง แลมีน่าที่ในส่วนนี้ คือ

ข้อ  ที่จะตรวจตราตักเตือนให้การในศาลทั้งปวงเปนไปโดยเรียบร้อย

ข้อ  เปนที่หาฤๅความขัดข้องของผู้พิพากษาอื่น

ข้อ  ที่จะเรียกรายงานการคดีแลการศาลในมณฑลทั่วไป

ข้อ  ที่จะปฤกษาหาฤๅด้วยผู้บัญชาการเมืองในการที่จะจัดแลรักษาการศาลทั้งปวงให้เรียบร้อย

ข้อ  ที่จะรายงานคดีในมณฑลต่อกระทรวงยุติธรรม

มาตรา ๒๓ ถ้าผู้พิพากษาประจำตำแหน่งในศาลใดจะทำการในน่าที่ไม่ได้ด้วยเหตุอย่างใด ผู้บัญชาการเมือง ฤๅอธิบดีผู้พิพากษาเมื่อได้อนุมัติของผู้บัญชาการเมืองแล้ว จะจัดให้ผู้ใดทำการแทนไปชั่วคราวหนึ่งกว่าผู้เปนตำแหน่งจะกลับมาทำการได้ตามเดิม ฤๅถ้าเปนตำแหน่งว่าง กว่าเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมจะได้มีตรานำตั้งผู้หนึ่งผู้ใดให้เปนแทนนั้นก็ได้ ผู้แทนย่อมมิอำนาจแลรับผิดชอบเสมอตำแหน่งที่แทนนั้น แต่การที่จะเลือกสรรผู้แทนเช่นนี้ ถ้าไม่จำเปนจะต้องทำอย่างอื่น ควรให้ผู้พิพากษาซึ่งมีตำแหน่งชั้นเดียวกันฤๅที่รองต่อกันโดยลำลับได้เปนแทน แลผู้แทนผู้พิพากษาเช่นว่ามานี้ ต้องได้รับตราจันทรมณฑลอยู่แต่ก่อนแล้วว่าเปนผู้สามารถจะทำการแทนผู้พิพากษาชั้นใด จึงจะทำการแทนผู้พิพากษาชั้นนั้นได้

มาตรา ๒๔ การที่ผู้ว่าราชการกรมการจะลงอาญาผู้แพ้คดีตามคำพิพากษาศาลหัวเมืองนั้น ถ้าไม่จำเปนจะต้องส่งผู้แพ้คดีไปที่อื่นแล้ว ให้ลงอาญาในจังหวัดเมืองที่ได้พิพากษาโทษนั้น

มาตรา ๒๕ ข้าหลวงเทศาภิบาล เมื่อได้รับอนุญาตจากกระทรวงยุติธรรมแล้ว มีอำนาจที่จะตั้งพนักงานอัยการไว้สำหรับเปนทนายแผ่นดินฟ้องหาคดีมีโทษหลวงในมณฑลเมืองนั้น ๆ ตามข้อพระราชบัญญัติความอาญามีโทษหลวง ถ้าหากว่ามีคดีซึ่งจะต้องแต่งทนายแผ่นดินว่ากล่าวมากเกินกว่าพนักงานอัยการที่มีประจำตำแหน่ง ฤๅผู้บัญชาการเมืองจะเห็นสมควรโดยเหตุอย่างอื่น จะตั้งทนายแผ่นดินเพิ่มเติมขึ้นว่าความเฉพาะเรื่องฤๅชั่วครั้งหนึ่งคราวหนึ่งโดยจะยังไม่ได้รับอนุญาตของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ก็ตั้งได้

มาตรา ๒๖ ถ้าคดีมีโทษหลวงมาถึงศาลใดฤๅเกิดขึ้นในท้องที่ศาลใดซึ่งไม่มีพนักงานอัยการ ฤๅพนักงานอัยการไม่ได้มายังศาล ถ้าไม่มีโจทย์จะว่าคดีนั้น ผู้พิพากษาจะสั่งให้กรมการแขวงในท้องที่นั้นเปนทนายแผ่นดินว่าความเรื่องนั้นก็ได้

มาตรา ๒๗ ความแพ่งแลความวิวาทเล็กน้อยกำหนดโดยทุนทรัพย์ฤๅเบี้ยปรับไหมไม่เกิน ๒๐ บาท แลเปนความซึ่งไม่มีโทษหลวงเหล่านี้ เกิดขึ้นในตำบลใด ฤๅตัวจำเลยอยู่ในตำบลใด ถ้าโจทย์มาร้องฟ้องต่อกำนัน ก็ให้กำนันนายตำบลนั้นมีอำนาจที่จะเรียกตัวจำเลยแลพยานมาไต่ถามแลเปรียบเทียบให้แล้วต่อกันตามสมควร โดยไม่ต้องไปร้องฟ้องยังโรงศาลก็ได้

มาตรา ๒๘ ความชนิดที่ได้ว่ามาก่อนนั้น ถ้ากำนันนายตำบลเปรียบเทียบไม่ตกลงได้ก็ตาม ฤๅเปนคดีซึ่งทุนทรัพย์ฤๅเบี้ยปรับไหมแต่ ๒๐ บาทขึ้นไปจน ๔๐ บาท อันพ้นอำนาจที่กำนันจะเปรียบเทียบได้เหล่านี้ ถ้าคู่ความฝ่ายใดพอใจจะให้เปรียบเทียบให้เปนที่แล้วต่อกัน ก็ให้นายแขวงมีอำนาจที่จะเรียกคู่ความแลพยานมาไต่ถามแลเปรียบเทียบให้แล้วต่อกันตามสมควรก็ได้

มาตรา ๒๙ ในการเปรียบเทียบนี้ ถ้าโจทย์จำเลยยอมกันตามคำเปรียบเทียบ ให้ความนั้นเปนแล้วต่อกัน โจทย์ฤๅจำเลยจะเอาคดีเรื่องนั้นไปรื้อร้องฟ้องยังโรงศาลต่อไปอีกไม่ได้ ถ้าหากว่าโจทย์ฤๅจำเลยไม่ยอมตามคำเปรียบเทียบ ก็ให้กำนันนายแขวงบอกโจทย์จำเลยให้ไปร้องฟ้องว่ากล่าวกันตามโรงศาล

มาตรา ๓๐ ถ้าโจทย์จำเลยยอมตามคำเปรียบเทียบแล้ว แลภายหลังฝ่ายใดไม่กระทำตามยอมนั้น ให้กำนันนายแขวงขออำนาจศาลแขวงซึ่งได้บังคับคดีท้องที่ตำบลนั้นบังคับคู่ความฝ่ายนั้นนให้กระทำตามยอมนั้นได้ทุกประการ

มาตรา ๓๑ ศาลหัวเมืองมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบบรรดาคดีซึ่งไม่มีโทษหลวงฤๅเปนคดีมีโทษหลวงเพียงปรับไหมแลอยู่ในอำนาจแห่งศาลนั้น ๆ ให้แล้วต่อกันตามสมควรได้ทุกชั้นในกระบวนพิจารณา ถ้าคู่ความยินยอมในคำเปรียบเทียบ ก็ให้เปนที่แล้วต่อกันได้ในชั้นนั้น ถ้าไม่ยอม ก็ให้ศาลพิจารณาต่อไปให้สำเร็จเด็ดขาดตามลักษณพิจารณาในคดีนั้น ๆ

มาตรา ๓๒ ให้กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย แลกระทรวงนครบาลเปนพนักงานรักษาแลจัดการให้สำเร็จตามความในพระราชบัญญัตินี้ตามน่าที่ของกระทรวงนั้น ๆ ทุกประการ

ประกาศมาณวันที่ ๒ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๔ เปนวันที่ ๙๙๑๔ ในรัชกาลปัตยุบันนี้