ข้ามไปเนื้อหา

ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชกาลที่ 5/เล่ม 3/เรื่อง 2

จาก วิกิซอร์ซ
พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยน่าที่ราชการซึ่งเกี่ยวข้องกันอยู่
ในระหว่างกระทรวงนครบาลแลกระทรวงยุติธรรม ร.ศ. ๑๑๖

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า

มีพระราชประสงค์จะใคร่ให้การไต่สวนคดีที่มีโทษหลวงแลการทำโทษคนผู้ที่ล่วงพระราชอาญามีความผิดตามคำพิพากษานั้นมารวมอยู่ในน่าที่ฝ่ายตุลาการ แลให้อยู่ในบังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เพื่อว่าการพิจารณาพิพากษาความอาญาแผ่นดินจะได้รวดเร็วดียิ่งขึ้นกว่ากาลก่อนมาก

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้ต่อไปดังนี้

มาตาภายในสามเดือนนับแต่วันที่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้เปนต้นไป ให้เสนาบดีกระทรวงนครบาลแลเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมพร้อมกันจัดการตามพระบรมราชานุญาตเพื่อที่จะส่งบรรดาคดีทั้งปวงที่กองไต่สวนโทษหลวงยังคงไต่สวนค้างอยู่ กับตัวคนทั้งปวงซึ่งต้องจับกุมมาในชั้นไต่สวน แลถ้อยคำสำนวนที่เกี่ยวข้องด้วยคดีเหล่านั้น แลสรรพหนังสือต่าง ๆ ซึ่งเปนของสำหรับกองไต่สวนโทษหลวงนั้น มามอบให้แก่กรมอัยการฤๅกรรมการกองใดกองหนึ่งซึ่งจะได้ตั้งขึ้นภายน่าให้มีน่าที่ทำการในบังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม

เมื่อครบกำหนดสามเดือนนับตั้งแต่วันได้ประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้เปนต้นไปแล้ว ก็ให้ยกเลิกกองไต่สวนโทษหลวงเสีย

ต่อไปให้เสนาบดีกระทรวงนครบาลแลเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมจัดการกำหนดน่าที่อันจะมีอยู่ในระหว่างกรมอัยการ ฤๅกรรมการดังเช่นกล่าวมาแล้วนั้น แลกรมกองตระเวร ให้เรียบร้อยต่อไป

มาตราอำนาจแลน่าที่ของกรมกองตระเวรซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวงนครบาลนั้นมีอยู่ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

ข้อให้สืบสวนพยานฤๅสรรพสิ่งอื่น ๆ อันเปนหลักฐานมั่นคงมาประกอบกับเหตุการณ์ที่กล่าวหาว่ามีผู้กระทำร้ายต่อความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎรทั้งหลาย เพื่อได้รงับเหตุการณ์เหล่านั้นเสียมิให้เกิดขึ้นต่อไป อาณาประชาราษฎรทั้งหลายจะได้อยู่เย็นเปนศุขสบายทั่วกัน แล้วให้แจ้งความบอกเหตุการณ์เหล่านั้นกับส่งพยานฤๅสรรพสิ่งอื่นอันเปนหลักฐานมั่นคงมาให้เจ้าน่าที่ทราบ

ข้อให้คอยห้ามปรามอย่าให้ผู้ใดกระทำการล่วงพระราชอาญาอันมีโทษตามพระราชกำหนดกฎหมาย แลอย่าให้ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจให้เกิดผลอันร้ายฤๅเปนอันตรายแก่ชีวิตรร่างกายฤๅทรัพย์สมบัติของคนใดคนหนึ่งฤๅคนทั้งหลายทั่วไป

ข้อให้สืบสวนดูว่าผู้ใดกระทำการล่วงลเมิดพระราชอาญาอันมีโทษตามพระราชกำหนดกฎหมาย แล้วให้จับกุมผู้นั้นมาส่งให้เจ้าน่าที่พิจารณาพิพากษาต่อไป

ข้อให้จับผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเจ้าน่าที่ได้มีคำสั่งให้จับฤๅได้ออกหมายให้จับ

ข้อให้จับผู้ใดผู้หนึ่งตามเหตุที่จะกล่าวต่อไปข้างล่างนี้ ๓ ประการ แม้ว่าไม่มีคำสั่งให้จับฤๅหมายให้จับก็ได้ คือ

ประการผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งกำลังทำการล่วงลเมิดพระราชอาญาอันมีโทษหลวงอยู่

ประการผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งมีอาวุธฤๅสิ่งอื่นอยู่ในตัว ซึ่งควรที่จะสงไสยได้ว่าผู้นั้นได้กระทำการล่วงลเมิดพระราชอาญาอันมีโทษหลวง ฤๅผู้นั้นมุ่งหมายว่าจะกระทำการล่วงลเมิดพระราชอาญาอันมีโทษหลวงต่อไป

ประการผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งทำการขัดขวางฤๅต่อสู้พลตระเวรในระหว่างเวลาที่พลตระเวรทำการตามน่าที่อยู่ ฤๅผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งได้หนีฤๅพยายามจะหนีไปจากที่กักขังอันชอบด้วยกฎหมาย

ข้อให้กระทำการตามพระราชกำหนดกฎหมาย พระราชบัญญัติ ประกาศ แลกฎข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งได้บังคับไว้ให้เปนน่าที่ของพลตระเวรต้องช่วยทำให้ตลอดไป

มาตราผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งพลตระเวรได้จับตัวกักขังไว้นั้น ต้องให้กรมกองตระเวรนำตัวผู้นั้นมาส่งต่อผู้พิพากษาศาลโบริสภาศาลใดศาลหนึ่งตามกระทรวง อย่าให้ช้ากว่าที่จำเปน แลเมื่อผู้พิพากษาศาลโบริสภานั้นได้ฟังรายงานของพลตระเวรซึ่งเปนคำกล่าวหาผู้นั้นตลอดแล้ว ก็ให้ไต่สวนผู้นั้นต่อไป แล้วให้ตัดสินตามคำพยานว่าควรให้ปล่อยผู้นั้นหลุดพ้นไป ฤๅควรให้เรียกประกันผู้นั้นไว้ ฤๅควรให้เอาตัวผู้นั้นขังไว้กว่าจะถึงวันกำหนดนัดพิจารณาความเรื่องนั้นต่อไป แล้วให้ผู้พิพากษาศาลโบริสภาคนนั้นส่งรายงานการไต่สวนชำระผู้นั้นไปยังเจ้ากรมอัยการ

แต่ถ้าผู้ที่ต้องจับนั้นปรากฎว่าเปนคนอยู่ในบังคับต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีด้วยกรุงสยามแล้ว ก็ให้ส่งตัวผู้นั้นไปยังกงศุลของต่างประเทศซึ่งผู้นั้นอยู่ในบังคับ อย่าให้ช้ากว่าที่จำเปน แลให้ชี้แจงเหตุผลตามที่เกิดขึ้นในความเรื่องนั้นไปให้กงศุลทราบด้วย

มาตรากองมหันตโทษแลกองลหุโทษในกรุงเทพฯ ทั้งสองนี้ ให้ยกมาขึ้นอยู่ในกระทรวงยุติธรรมต่อไป

ประกาศมาณวันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ เปนวันที่ ๑๐๓๖๙ ในรัชกาลปัตยุบันนี้