ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชชกาลที่ 8/เล่ม 1/เรื่อง 16

จาก วิกิซอร์ซ
กฎกระทรวงเศรษฐการ
ออกตามความในมาตรา ๒๐
แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ
พุทธศักราช ๒๔๗๔

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ พ.ศ. ๒๔๗๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการออกกฎดั่งต่อไปนี้

หมวด ๑
ข้อความทั่วไป

ข้อ  ในกฎกระทรวงนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“พระราชบัญญัติ” หมายความว่า พระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ พ.ศ. ๒๔๗๔

“กำหนด” หมายความว่า กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหรือกฎหมายกระทรวงนี้

ข้อ  ให้มีเจ้าพนักงานสัตวแพทย์ในท้องที่ซึ่งได้ใช้พระราชบัญญัติ และบรรดาท่าเข้า ท่าออก ด่านกักสัตว์ สถานีรถไฟสำหรับบรรทุกสัตว์และพาสัตว์ลง และที่สำนักงานใหญ่ของกรมเกษตร ดั่งระบุไว้ตามใบแนบ หมาย ก. ต่อท้ายกฎนี้

ข้อ  เจ้าพนักงานสัตวแพทย์มีหน้าที่ดั่งต่อไปนี้

(๑) พิจารณาคำขออนุญาตต่าง ๆ ตรวจดูสัตว์ และทำการสอบสวนคำร้องขออนุญาตเหล่านั้น ออกใบอนุญาต หรือปฏิเสธอนุญาต ตลอดจนมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อความแห่งกฎนี้

(๒) เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัดได้มีคำสั่งให้เดินทางไปสำรวจท้องที่ ให้ปฏิบัติตามคำสั่งทันที และถ้ามีโรคระบาด ให้รีบรายงานต่อข้าหลวงประจำจังหวัดซึ่งตนสังกัดอยู่ และแจ้งให้ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือเจ้าพนักงานสัตวแพทย์ในจังหวัดที่ใกล้เคียงทราบ ในหนังสือแจ้งโรคระบาดสัตว์นั้น ให้แสดงขอบเขตต์ตำบลที่มีโรคระบาด และที่ซึ่งสงสัยว่ามีโรคระบาด

(๓) ให้คำแนะนำแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ออกคำสั่งใด ๆ แก่เจ้าของสัตว์ จัดการป้องกันและรักษาสัตว์ จัดการซื้อและทำลายสัตว์ และกระทำการทุกอย่างทั่วไปอันได้กำหนดไว้เพื่อป้องกันโรคมิให้ลุกลามหรือเพื่อให้โรคนั้นระงับไป

(๔) เมื่อได้รับคำสั่งของกรมเกษตรให้ไปทำหน้าที่ช่วยเหลือในเขตต์จังหวัดอื่น ให้เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ปฏิบัติตาม (๒) และ (๓) และถ้าเป็นกรณีฉุกเฉิน เมื่อเจ้าพนักงานสัตวแพทย์ได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ว่า มีโรคระบาดเกิดขึ้นในเขตต์จังหวัดใกล้เคียง และขอให้ไปช่วยหลือ ก็ให้รีบไปทำหน้าที่ช่วยเหลือทันที แล้วรายงานต่อข้าหลวงประจำจังหวัดที่ตนสังกัดอยู่ให้ทราบ

ข้อ  ท้องที่ทุกตำบลซึ่งได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ ให้มีนายตรวจประจำอยู่ และในเบื้องต้น ให้กำนันในตำบลที่กล่าวนั้นเป็นนายตรวจ นายตรวจมีหน้าที่ดั่งต่อไปนี้

(๑) เดินทางไปยังท้องที่ซึ่งได้รับรายงานหรือได้ทราบว่ามีโรคระบาดเกิดขึ้น เพื่อทำการสำรวจท้องที่นั้น และถ้ามีโรคระบาดเกิดขึ้น ให้แนะนำเจ้าของสัตว์ถึงวิธีป้องกันโรคและมิให้โรคติดต่อตามสมควรหรือตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสัตวแพทย์ กับต้องระวังให้มีการปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น และให้รายงานต่อข้าหลวงประจำจังหวัดที่ตนสังกัดอยู่ แล้วให้ข้าหลวงประจำจังหวัดแจ้งไปยังข้าหลวงประจำจังหวัดที่ใกล้เคียงโดยด่วน

(๒) ดูแลควบคุมสัตว์ป่วยหรือสัตว์ที่ล้มตายซึ่งไม่ปรากฏผู้เป็นเจ้าของ

ข้อ  คำขออนุญาตหรือคำขอจดทะเบียนตามความในกฎนี้ จะต้องทำตามแบบที่กำหนดไว้ และจะต้องชำระค่าธรรมเนียมดั่งระบุไว้ในแบบแนบ หมาย ข. ต่อท้ายกฎหมายนี้

ข้อ  ในการพิจารณาคำขอต่าง ๆ นั้น ให้เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ที่อำนาจที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่างดั่งต่อไปนี้

(๑) มีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอนำสัตว์ที่อ้างไว้ในคำขอไปยังที่ซึ่งเคยใช้เป็นที่ทำการตรวจสัตว์หรือซึ่งเห็นเหมาะแก่การตรวจสัตว์

(๒) มีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอนำสัตว์ไปยังที่หรือทำไปเก็บไว้ณที่สำหรับแยกสัตว์ซึ่งเคยใช้เป็นที่สอบสวนอาการโรคหรือซึ่งเห็นเหมาะแก่การสอบสวนอาการโรค ตลอดเวลาไม่เกินสิบห้าวัน

(๓) ในขณะทำการตรวจหรือในระหว่างกำหนดเวลาสำหรับตรวจสอบอาการโรค จัดส่งสัตว์ดั่งกล่าวนั้นไปรับการรักษาหรือป้องกันโรค แล้วแต่จะเห็นสมควร

(๔) แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอหรือผู้แทนแถลงข้อความตามที่เห็นว่าจำเป็น และโดยเฉพาะ ให้ยื่นใบรับรองต้นทาง หรือใบรับรองการตรวจสอบของเจ้าพนักงานสัตวแพทย์ หรือเอกสารอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน

ข้อ  เมื่อผู้ถือใบอนุญาตได้ละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ หรือฝ่าฝืนต่อข้อบังคับแห่งกฎนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการมีอำนาจที่จะสั่งถอนใบอนุญาตนั้นเสียได้

ข้อ  สัตว์ที่ถูกยึดไว้เพื่อการตรวจโรค การสอบสวนอาการโรค การแยกสัตว์ การกักสัตว์ การรักษาโรค หรือเพื่อการอื่นตามพระราชบัญญัติหรือตามกฎหมายนี้ เจ้าของสัตว์เหล่านั้นต้องรับผิดชอบในการให้อาหาร อาบน้ำ การรักษา ตลอดการควบคุมไว้เป็นฝูง

ค่าป้องกันเชื้อโรคสัตว์ผ่านด่านกักสัตว์ ท่าเข้า ท่าออก ตลอดจนการอื่นหรือการรักษาอย่างอื่นที่ได้กระทำไปตามพระราชบัญญัติหรือตามกฎนี้ ให้เป็นไปตามใบแนบ หมาย ค.

ข้อ  ในกรณีที่บังคับการตามมาตรา ๑๐ (๙) แห่งพระราชบัญญัติ เมื่อเจ้าพนักงานสัตว์แพทย์ได้สั่งเจ้าของสัตว์ให้ขายสัตว์ให้แก่เจ้าพนักงาน เพื่อจัดการทำลายตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติและกฎนี้ ให้เจ้าพนักงานสัตวแพทย์มีหน้าที่

(๑) รับเอาสัตว์นั้นแล้วทำลายเสียโดยเร็ว และจัดการกับซากสัตว์นั้นตามสมควรแก่พฤติการณ์

(๒) เสนอรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโดยทันที แสดงมูลความอันจำเป็นเกี่ยวแก่การกำหนดราคาที่พึงใช้ให้แก่เจ้าของสัตว์

รายงานนั้นให้แสดง

ก. ราคาสัตว์ในตลาดตามที่เจ้าพนักงานสัตวแพทย์กะประมาณโดยถือตามอัตราราคาทางราชการที่แสดงไว้ครั้งหลังที่สุด

ข. ราคาควรจ่ายซึ่งเจ้าพนักงานสัตวแพทย์เห็นควรใช้ให้แก่เจ้าของสัตว์ แต่ราคานี้ต้องไม่ต่ำกว่า ๑ ใน ๓ ของราคาสัตว์ในตลาดก่อนมีโรคระบาดเกิดขึ้น และต้องไม่มากกว่าราคาอย่างสูงซึ่งระบุไว้สำหรับชะนิดของสัตว์ในใบแนบ หมาย ง. ต่อท้ายกฎนี้ อนึ่ง ราคานี้อาจถูกลดลงหรือไม่จ่ายได้ดั่งกำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ (๙) แห่งพระราชบัญญัติ

ค. ข้อความว่า เจ้าของสัตว์และกำนันประจำตำบลยอมรับตามราคาในตลาดและราคาควรจ่ายที่เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ได้ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าไม่ยอม ให้แจ้งราคาที่เรียกร้องหรือที่เสนอขึ้นมานั้นด้วย

เมื่อได้รับรายงานจากเจ้าพนักงานสัตวแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะกำหนดราคาเป็นครั้งสุดท้ายที่จะใช้ให้แก่เจ้าของสัตว์

หมวด ๒
การพาสัตว์เข้ามา การพาสัตว์ออกไป
และการพาผ่านเขตต์

ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้พาสัตว์จากที่อื่นเข้ามาในท้องที่ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติ นอกจากจะพามาตามทางท่าเข้า และผู้พาได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสัตวแพทย์แล้ว

การพาสัตว์เข้ามาโดยทางอื่น ๆ นั้นจะทำให้ฉะเพาะต่อเมื่อได้ยื่นคำขออนุญาตเป็นพิเศษ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงได้อนุญาตโดยกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควร และต้องมีใบอนุญาตพิเศษซึ่งเจ้าพนักงานสัตวแพทย์ออกให้ด้วย

การยื่นคำขออนุญาตพาสัตว์มาทางท่าเข้าและขออนุญาตพิเศษเพื่อพาสัตว์มาทางอื่นนั้น ให้ทำตามแบบ ๑ และแบบ ๓ ต่อท้ายกฎนี้ตามลำดับ

ข้อ ๑๑ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ออกใบอนุญาตเพื่อพาสัตว์มาทางท่าเข้า เว้นแต่ได้สอบสวนแล้วปรากฏว่า

(๑) ถ้าเป็นสัตว์มาจากประเทศใดประเทศหนึ่งนอกทวีปเอเชีย (เว้นแต่โค กระบือ ที่พาเข้ามาเพื่อเพาะพันธุ์) ประเทศเดิมที่สัตว์อยู่นั้นปราศจากโรคระบาดซึ่งอาจจะเกิดแก่สัตว์เหล่านั้นได้ หรือถ้าเป็นสัตว์มาจากประเทศที่ไม่ปราศจากโรคระบาด ได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของเจ้าพนักงานนั้นแล้ว

(๒) ถ้าเป็นสัตว์มาจากต่างประเทศซึ่งเป็นประเทศในทวีปเอเชีย สัตว์เหล่านั้นปราศจากโรคระบาด

โค กระบือ ที่พาเข้ามาเพื่อเพาะพันธุ์นั้น ห้ามมิให้เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ออกใบอนุญาต จนกว่าสัตว์นั้นจะได้แยกกันไว้ต่างหากเป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวันตามที่เจ้าพนักงานสัตวแพทย์จะสั่ง และต้องได้ผ่านการตรวจวัณโรคปรากฏว่าไม่เป็นโรคนั้นแล้ว

ใบอนุญาตพาสัตว์เข้า ให้ใช้แบบ ๒ ต่อท้ายกฎนี้

ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ออกใบอนุญาตพิเศษให้แก่ผู้ใดเพื่อพาสัตว์เข้ามาทางอื่นซึ่งไม่ใช่ทางท่าเข้า เว้นแต่

(๑) สัตว์ที่จะพาเข้ามานั้นปรากฏว่า

 (ก) เป็นสัตว์สำหรับขับขี่ลากขน หรือใช้ในการบรรทุกทำการขนส่งไปมาข้ามชายราชอาณาเขตต์โดยสุจริต หรือ

 (ข) เป็นสัตว์สำหรับใช้ในการทำไร่นาสวนซึ่งพาข้ามชายราชอาณาเขตต์ไปมาโดยสุจริตเพื่อให้กินหญ้าในที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของสัตว์นั้น

 (ค) เป็นสัตว์ที่พาเข้ามาในราชอาณาเขตต์โดยสุจริตเพื่อทำการเลี้ยงผะสม

(๒) ได้สอบสวนแล้วปรากฏว่า สัตว์ที่พามานั้นเป็นสัตว์ที่สมบูรณ์ดี และมิใช่สัตว์ที่มาจากหรือผ่านมาทางตำบลที่มีโรคระบาดหรือสงสัยว่ามีโรคระบาดซึ่งอาจเกิดขึ้นหรืออาจติดมากับสัตว์นั้นได้

(๓) ได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงได้กำหนดไว้

ใบอนุญาตพิเศษเช่นนี้จะออกได้ฉะเพาะระยะเวลาอันมีกำหนด และฉะเพาะสำหรับสัตว์ตามจำนวนและตามประเภทที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมีอำนาจสั่งถอนใบอนุญาตนี้ได้ทุกเมื่อ

ใบอนุญาตพิเศษตามความในข้อนี้ให้ใช้แบบ ๔ ต่อท้ายกฎนี้

ข้อ ๑๓ ห้ามมิให้พาสัตว์ออกไปนอกท้องที่ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติโดยทางอื่น นอกจากจะพาไปตามทางท่าออก และผู้พาได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสัตวแพทย์แล้ว

สัตว์ที่ได้พาเข้ามาโดยมีใบอนุญาตพิเศษสำหรับการพาเข้านั้น จะพาออกไปทางซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาตพิเศษโดยไม่มีใบอนุญาตพาสัตว์ออกนอกท้องที่ก็ได้ แต่การพาสัตว์ออกไปเช่นนี้ ต้องได้กระทำในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และต้องได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงได้กำหนดไว้นั้นด้วย

การยื่นคำขออนุญาตพาสัตว์ออกนอกประเทศ ให้ทำตามแบบ ๕ ต่อท้ายกฎนี้

ข้อ ๑๔ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ออกใบอนุญาตให้ทำการพาสัตว์ออกนอกท้องที่ซึ่งใช้พระราชบัญญัติ เว้นแต่เจ้าพนักงานนั้นได้สอบสวนแล้วปรากฏว่า

(๑) สัตว์นั้นมาจากท้องที่ซึ่งปราศจากโรคระบาด

(๒) สัตว์นั้นสมบูรณ์ดี

(๓) ได้มีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อันว่าด้วยการฉีดยา การปลูกเชื้อ การกัก และการฆ่าเชื้อ ซึ่งเกี่ยวกับสัตว์นั้นแล้ว

(๔) สัตว์ที่จะพาออกนั้นจะไม่พาผ่านไปในตำบลที่มีโรคระบาดหรือสงสัยว่ามีโรคระบาด

ใบอนุญาตพาสัตว์ออกนอกประเทศ ให้ใช้แบบ ๖ ต่อท้ายกฎนี้

ข้อ ๑๕ ห้ามมิให้พาสัตว์ผ่านเข้าหรือพาผ่านออกหรือผ่านไปทางท้องที่ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติโดยทางอื่นนอกจากจะพาไปตามทางท่าเข้าหรือท่าออก และผู้พาได้รับใบอนุญาตพาสัตว์จากเจ้าพนักงานสัตวแพทย์แล้ว

การยื่นคำขออนุญาตพาสัตว์ผ่าน ให้ทำตามแบบ ๗ ต่อท้ายกฎนี้

ข้อ ๑๖ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ออกใบอนุญาตให้ทำการพาสัตว์ผ่าน เว้นแต่เจ้าพนักงานนั้นได้สอบสวนแล้วปรากฏว่า

(๑) สัตว์นั้นมาจากตำบลที่ปราศจากโรคระบาด

(๒) สัตว์นั้นสมบูรณ์ดี

(๓) ได้มีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อันว่าด้วยการฉีดยา การปลูกเชื้อ การกัก และการฆ่าเชื้อ ซึ่งเกี่ยวกับสัตว์นั้นแล้ว

(๔) สัตว์ที่จะพาออกนั้นจะไม่ผ่านไปในตำบลที่มีโรคระบาดหรือซึ่งสงสัยว่ามีโรคระบาด

(๕) สัตว์ที่แจ้งอยู่ในใบอนุญาตนั้นได้ตีตราเป็นรูปอักษร T ไว้ที่คอเบื้องซ้ายแล้ว

ถ้าการพาสัตว์นั้นผ่านไปทางรถไฟ ให้ถือตามข้อ ๒๑ แห่งกฎนี้ซึ่งว่าด้วยการขนส่งทางรถไฟอีกด้วย

ใบอนุญาตพาสัตว์ผ่าน ให้ใช้แบบ ๘ ต่อท้ายกฎนี้

ข้อ ๑๗ สัตว์ที่มาจากต่างประเทศและได้พาเข้ามาหรือพาผ่านมาโดยชอบด้วยกฎหมายในท้องที่ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัตินั้น ถ้าภายใน ๓ เดือนนับตั้งแต่วันพาเข้ามาหรือวันพาผ่านมา เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประกาศว่า สัตว์นั้นเป็นโรคระบาดหรือสงสัยว่าเป็นโรคระบาด ดั่งนี้แล้ว เจ้าของสัตว์ผู้ได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานสัตวแพทย์ซึ่งทำการตามคำสั่งทั่วไปหรือคำสั่งพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ต้องพาสัตว์นั้นไปจากราชอาณาเขตต์หรือเลี้ยงไว้ณที่ใดที่หนึ่งเพื่อสอบสวนอาการโรคตลอดระยะเวลาและภายในเงื่อนไขดั่งที่กำหนดไว้ในคำสั่ง หรือมิฉะนั้น ต้องขายสัตว์นั้นเพื่อการทำลายตามความในมาตรา ๑๐ (๙) แห่งพระราชบัญญัติ

ข้อ ๑๘ ถ้าปรากฏว่า สัตว์ใดได้พาเข้ามาหรือสงสัยว่าพาเข้ามาในหรือพาผ่านท้องที่ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติโดยฝ่าฝืนต่อความในพระราชบัญญัติหรือในกฎนี้ ในระหว่างพิจารณานั้น ให้เลี้ยงสัตว์นั้นไว้เพื่อสอบสวนอาการโรคณที่ใดที่หนึ่งและภายในเงื่อนไขดั่งที่กำหนดในคำสั่งทั่วไปหรือคำสั่งพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

เมื่อปรากฏว่าได้ทำผิดจริง ถ้ามิได้ริบสัตว์นั้น เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ซึ่งทำการตามคำสั่งทั่วไปหรือคำสั่งพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะมีคำสั่งให้เจ้าของเลี้ยงสัตว์นั้นไว้ณที่ใดที่หนึ่งเพื่อสอบสวนอาการโรคตลอดระยะเวลาและภายในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำสั่ง หรือมิฉะนั้น ให้ย้ายไปจากราชอาณาเขตต์ หรือขายสัตว์นั้นเพื่อการทำลาย ตามแต่เจ้าพนักงานสัตวแพทย์จะสั่ง

หมวด ๓
การย้ายสัตว์

ข้อ ๑๙ ห้ามมิให้ทำการย้ายโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ไปจากท้องที่ซึ่งระบุไว้ในใบแนบ หมาย จ. ต่อท้ายกฎนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสัตวแพทย์แล้ว

การยื่นคำขออนุญาตทำการย้ายสัตว์นั้นให้ทำตามแบบ ๙ ต่อท้ายกฎนี้

ข้อ ๒๐ ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตให้ทำการย้ายสัตว์ เว้นแต่เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ได้สอบสวนแล้วปรากฏว่า

(๑) สัตว์นั้นสมบูรณ์ดี

(๒) สัตว์นั้นไม่ได้มาจากหรือไม่ได้ผ่านมาทางตำบลที่มีหรือสงสัยว่ามีโรคระบาดซึ่งอาจเกิดขึ้นแก่หรืออาจติดมากับสัตว์นั้นได้

(๓) ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อันว่าด้วยการฉีดยา การปลูกเชื้อ การกัก และการฆ่าเชื้อแล้ว และยังจะปฏิบัติตามต่อไป

(๔) สัตว์ที่แจ้งอยู่ในใบอนุญาตนั้นได้ตีตราเป็นรูปอักษร R ไว้ที่คอเบื้องซ้ายแล้ว

ใบอนุญาตย้ายสัตว์ ให้ใช้แบบ ๑๐ ต่อท้ายกฎนี้

ข้อ ๒๑ ห้ามมิให้ทำการส่งสัตว์โดยทางรถไฟหรือทางเรือไปในท้องที่ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสัตวแพทย์แล้ว

การยื่นคำขออนุญาตทำการส่งสัตว์นั้นให้ทำตามแบบ ๑ ต่อท้ายกฎนี้

ข้อ ๒๒ ห้ามมิให้เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ออกใบอนุญาตให้ทำการส่งสัตว์ เว้นแต่จะได้สอบสวนแล้วปรากฏว่า

(๑) สัตว์ที่จะส่งนั้นไม่เป็นโรคระบาด และไม่สงสัยว่าเป็นโรคระบาด

(๒) สัตว์ที่แจ้งอยู่ในใบอนุญาตนั้นได้ตีตราเป็นรูปอักษร S ไว้ที่คอเบื้องซ้ายแล้ว

ใบอนุญาตทำการส่งสัตว์ ให้ใช้แบบ ๑๒ ต่อท้ายกฎนี้

หมวด ๔
การจดทะเบียนผู้ทำการค้าสัตว์

ข้อ ๒๓ บุคคลใดทำการค้าสัตว์ชะนิดหนึ่งหรือหลานชะนิดดั่งต่อไปนี้ คือ ช้าง กระบือ โค แพะ แกะ และสุกร หรือทำการค้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือหลายสิ่งอันเป็นส่วนของร่างกายสัตว์เหล่านั้นดั่งต่อไปนี้ คือ กระดูก หนัง กีบ เขา ผม ขน ในท้องที่ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติ ต้องขอจดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าเช่นนั้นต่อเจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำจังหวัดที่ตนทำการค้า ภายในเดือนเมษายนทุก ๆ ปี ถ้าทำการค้าในหลายจังหวัด ให้จดทะเบียนต่อข้าหลวงประจำจังหวัดนั้น ๆ ทุกจังหวัด

แต่สำหรับปีที่ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติตามมาตรา ๒ ให้ขอจดทะเบียนเช่นว่านั้นภายใน ๑ เดือนนับแต่วันประกาศนั้นเป็นต้นไป

การยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัตว์ ให้ทำตามแบบ ๑๓ ต่อท้ายกฎนี้

เมื่อผู้ขอได้ชำระค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดไว้แล้ว ให้เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ออกใบสำคัญการจดทะเบียนให้ตามแบบ ๑๔ ต่อท้ายกฎนี้

ข้อ ๒๔ ให้ใช้กฎนี้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๘ เป็นต้นไป

กฎนี้ให้ไว้ณวันที่ ๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗
พระยาศรยุทธเสนี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๑ วันที่ ๑๐ มีนาคม หน้า ๑๓๔๐)

ใบแนบ หมาย ก.
เจ้าพนักงานสัตวแพทย์

ก. หัวหน้าแผนกสัตวรักษ์ กรมเกษตร เป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์เข้าและใบอนุญาตต่าง ๆ ภายในราชอาณาจักร์
ข. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำด่านกักสัตว์กรุงเทพฯ เป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์ออกจากจังหวัดพระนคร
ค. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำจังหวัดปัตตานีเป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์ออกจาก
ตำบลรูสมิเล อำเภอสบารัง จังหวัดปัตตานี
ตำบลกะโผะ อำเภอมะกรูด จังหวัดปัตตานี
ตำบลสะเตง อำเภอสะเตง จังหวัดยะลา
ง. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำจังหวัดนราธิวาสเป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์ออกจาก
ตำบลบางนรา อำเภอบางนรา จังหวัดนราธิวาส
ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ตำบลตันหยงมัส อำเภอตันหยงมัส จังหวัดนราธิวาส
ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
จ. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำจังหวัดสตูลเป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์ออกจาก
ตำบลมำบัง อำเภอมำบัง จังหวัดสตูล
ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอมำบัง จังหวัดสตูล
ฉ. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำอำเภอกันตังเป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์ออกจาก
ตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ช. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำจังหวัดสงขลาเป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์ออกจาก
ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ซ. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์จังหวัดชุมพรเป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์ออกจาก
ตำบลท่าตะเภา อำเภอท่าตะเภา จังหวัดชุมพร
ตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ตำบลขันเงิน อำเภอขันเงิน จังหวัดชุมพร
ฌ. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์จังหวัดภูเก็ตเป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์ออกจาก
ตำบลบางเหนียว อำเภอทุ่งคา จังหวัดภูเก็ต
ตำบลท้ายช้าง อำเภอท้ายช้าง จังหวัดพังงา
ตำบลปากน้ำ อำเภอปากน้ำ จังหวัดกระบี่
ญ. ให้หัวหน้าภาคใต้ แผนกสัตวรักษ์ กรมเกษตร กรุงเทพฯ มีอำนาจออกใบอนุญาตพาสัตว์ออกจากตำบลต่าง ๆ ซึ่งกล่าวไว้ในข้อ ค. ง. จ. ฉ. ช. ซ. ฌ. ด้วย
ฎ. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำด่านกักสัตว์ห้วยลำสะโตน ตำบลตาพยา อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์ผ่านช่องตะโก
ฏ. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำด่านกักสัตว์ตำบลมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์ผ่านด่านกักสัตว์ตำบลมวกเหล็ก
ฐ. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำอำเภอวัดป่า จังหวัดเพ็ชร์บูรณ์ เป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์ผ่านอำเภอวัดป่า
ฑ. ให้หัวหน้าภาคกลาง แผนกสัตวรักษ์ มีอำนาจออกใบอนุญาตพาสัตว์ผ่านด่านกักสัตว์ตำบลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไว้ในข้อ ฎ. ฏ. ฐ. ด้วย
ฒ. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำด่านกักสัตว์ตำบลโคกคลี กิ่งอำเภอบ้านชวน จังหวัดชัยภูมิ์ เป็นผู้ออกใบอนุญาตพาสัตว์ผ่านช่องจงโก
ณ. ให้หัวหน้าภาคอิสาณ แผนกสัตวรักษ์ มีอำนาจออกใบอนุญาตพาสัตว์ผ่านช่องจงโกด้วย
ด. เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำจังหวัดหรือผู้ช่วยเป็นผู้ออกใบอนุญาตย้ายสัตว์ สำหรับสัตว์ที่อยู่ในจังหวัดนั้น ๆ และเป็นผู้ออกใบอนุญาตทำการส่งสัตว์บรรทุกรถไฟหรือบรรทุกเรือ สำหรับสัตว์ที่อยู่ในจังหวัดนั้น ๆ

ใบแนบ หมาย ข.
อัตราค่าธรรมเนียม

๑. คำร้องต่าง ๆ ฉะบับละ ๕ สตางค์

๒. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่าง ๆ

 ก. พาสัตว์เข้าโดยผ่านท่าเข้า

 (๑) สัตว์ที่เจ้าพนักงานสัตวแพทย์เห็นว่าเหมาะสำหรับทำการผะสมพันธุ์ และพาเข้ามาเพื่อการผะสมพันธุ์โดยฉะเพาะ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

 (๒) สัตว์ที่พาเข้าเพื่อการกิฬาหรือการเล่นแสดง ซึ่งพักกยู่ไม่เกิน ๓ เดือน

กระบือ ตัวละ ๑ บาท

โคผู้ โคเมีย ลูกโค ตัวละ ๑ บาท

แกะและแพะ ตัวละ ๑๐ สตางค์

สุกร ตัวละ ๑๐ สตางค์

ช้าง เชือกละ ๓ บาท

ม้า ฬา และฬ่อ ตัวละ ๑ บาท

 (๓) สัตว์ที่พาเข้ามาเพื่อประโยชน์อย่างอื่น

กระบือ ตัวละ ๕ บาท

โคผู้ โคเมีย และลูกโค ตัวละ ๕ บาท

แกะและแพะ ตัวละ ๒ บาท

สุกร ตัวละ ๒ บาท

ช้าง เชือกละ ๒๐ บาท

ม้า ฬา และฬ่อ ตัวละ ๕ บาท

 ข. ใบอนุญาตพิเศษสำหรับพาสัตว์เข้า

 (๑) สัตว์ที่เจ้าพนักงานสัตวแพทย์เห็นว่าเหมาะสำหรับทำการผะสมพันธุ์ และพาเข้ามาเพื่อการผะสมพันธุ์โดยฉะเพาะ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

 (๒) สัตว์ที่พาเข้าเพื่อการกิฬาหรือการเล่นแสดง ซึ่งพักอยู่ไม่เกิน ๓ เดือน

กระบือ ตัวละ ๒ บาท

โคผู้ โคเมีย และลูกโค ตัวละ ๒ บาท

แพะและแกะ ตัวละ ๒๐ สตางค์

สุกร ตัวละ ๒๐ สตางค์

ช้าง เชือกละ ๖ บาท

ม้า ฬา และฬ่อ ตัวละ ๒ บาท

 (๓) สัตว์ที่พาเข้ามาเพื่อประโยชอย่างอื่น

กระบือ ตัวละ ๖ บาท

โคผู้ โคเมีย และลูกโค ตัวละ ๖ บาท

แกะและแพะ ตัวละ ๓ บาท

สุกร ตัวละ ๓ บาท

ช้าง เชือกละ ๒๕ บาท

ม้า ฬา และฬ่อ ตัวละ ๖ บาท

 ค. พาสัตว์ออกโดยผ่านท่าเรือกรุงเทพฯ

กระบือ ตัวละ ๕๐ สตางค์

โคผู้ โคเมีย และลูกโค ตัวละ ๕๐ สตางค์

แพะและกะ ตัวละ ๑๐ สตางค์

สุกร ตัวละ ๑๐ สตางค์

ช้าง เชือกละ ๕ บาท

ม้า ฬา และฬ่อ ตัวละ ๑ บาท

 ง. พาสัตว์ออกโดยผ่านท่าออกทางอื่น

กระบือ ตัวละ ๑ บาท

โคผู้ โคเมีย และลูกโค ตัวละ ๑ บาท

แกะและแพะ ตัวละ ๑๐ สตางค์

สุกร ตัวละ ๒๕ สตางค์

ช้าง เชือกละ ๕ บาท

ม้า ฬา และฬ่อ ตัวละ ๑ บาท

 จ. พาสัตว์ผ่านท้องที่

กระบือ ตัวละ ๑๐ สตางค์

โคผู้ โคเมีย และลูกโค ตัวละ ๑๐ สตางค์

แพะและแกะ ตัวละ ๕ สตางค์

สุกร ตัวละ ๕ สตางค์

ช้าง เชือกละ ๑ บาท

ม้า ฬา และฬ่อ ตัวละ ๑๐ สตางค์

 ฉ. ย้ายสัตว์หรือพาผ่านหรือเข้าในเขตต์ที่เกิดโรคระบาดหรือสงสัยว่าจะมีโรคระบาด ตามที่ระบุไว้ในใบแนบ

กระบือ ตัวละ ๕๐ สตางค์

โคผู้ โคเมีย และลูกโค ตัวละ ๕๐ สตางค์

แกะและแพะ ตัวละ ๑๐ สตางค์

สุกร ตัวละ ๑๐ สตางค์

ช้าง เชือกละ ๓ บาท

ม้า ฬา และฬ่อ ตัวละ ๕๐ สตางค์

๓. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนประจำปี

 ก. ผู้ค้าขายปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ ๓๐ บาท

 ข. ผู้ค้าขายแกะและแพะ ๑๐ บาท

 ค. ผู้ค้าขายสุกร ๑๕ บาท

 ง. ผู้ค้าขายกระดูก หนังสัตว์ กีบ เขา ผม ขนของสัตว์ ๑๐ บาท

ใบแนบ หมาย ค.
ค่าธรรมเนียม

การปลูกเชื้อ ไม่ต้องเสีย

การอาบยา ไม่ต้องเสีย

ค่าป้องกันเชื้อโรคผ่านด่านกักสัตว์ ท่าเข้า ท่าออก และรถบรรทุกสัตว์ ตัวละ ๕ สตางค์

การพ่นยา ไม่ต้องเสีย

การตีตรา ไม่ต้องเสีย

การครอบปากสัตว์ ไม่ต้องเสีย

ใบแนบ หมาย ง.

ราคาอย่างสูงสำหรับปศุสัตว์และสัตว์พาหนะที่ถูกสั่งให้ทำลาย

ช้าง เชือกละ ๕๐๐ บาท
โคผู้ฝักที่สั่งเข้ามาสำหรับการผะสมโดยฉะเพาะ ตัวละ ๒๐๐ บาท
กระบือ ตัวละ ๔๐ บาท
โคผู้ ตัวละ ๔๐ บาท
โคเมียและลูกโค ตัวละ ๑๐ บาท
สุกรชะนิดสั่งเข้ามาสำหรับผะสมพันธุ์ ตัวละ ๗๕ บาท
สุกรอย่างอื่น ๆ ตัวละ ๒๕ บาท
แกะและแพะอย่างอื่น ๆ ตัวละ บาท
แกะและแพะชะนิดสั่งเข้ามาสำหรับผะสมพันธุ์ ตัวละ ๕๐ บาท
ม้าสูงแต่ ๑.๒๒ เมตร์ขึ้นไป ตัวละ ๖๐ บาท
ม้าสูงไม่ถึง ๑.๒๒ เมตร์ ตัวละ ๒๕ บาท

ใบแนบ หมาย จ.

ท้องที่ซึ่งไม่ให้ย้ายสัตว์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต คือ

จังหวัดพระนครและธนบุรี

ด่านกักสัตว์ตำบลโคกคลี กิ่งอำเภอบ้านชวน จังหวัดชัยภูมิ์

ด่านกักสัตว์ห้วยลำสะโตน ตำบลตาพยา อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี

ด่านกักสัตว์ตำบลมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

อำเภอวัดป่า จังหวัดเพ็ชร์บูรณ์

ตำบลรูสะมิแล อำเภอสะบางรัง จังหวัดปัตตานี
ตำบลกะโผะ อำเภอมะกรูด จังหวัดปัตตานี
ตำบลบางนรา อำเภอบางนรา จังหวัดนราธิวาส
ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ตำบลตันหยงมัส อำเภอตันหยงมัส จังหวัดนราธิวาส
ตำบลปุโยะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดขลา
ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมมือง จังหวัดสงขลา
ตำบลสะเตง อำเภอสะเตง จังหวัดยะลา
ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ตำบลท่าตะเภา อำเภอท่าตะเภา จังหวัดชุมพร
ตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ตำบลขันเงิน อำเภอขันเงิน จังหวัดชุมพร
ตำบลมำบัง อำเภอมำบัง จังหวัดสตูล
ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอมำบัง จังหวัดสตูล
ตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ตำบลบางเหนียว อำเภอทุ่งคา จังหวัดภูเก็ต
ตำบลท้ายช้าง อำเภอท้ายช้าง จังหวัดพังงา
ตำบลปากน้ำ อำเภอปากน้ำ จังหวัดกระบี่

แบบ ๑
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
แบบคำร้องขออนุญาตพาสัตว์เข้า
เขียนที่ . . . . . . . . . .
วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .

ข้าพเจ้า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . . . . . . บังคับ . . . . . . . . . . อาชีพ . . . . . . . . . .

เรียน เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำท่าเข้า . . . . . . . . . .

ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะพา

ชะนิดของสัตว์ . . . . . . . . . .

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

เข้าสู่ดินแดนสยาม ผ่านท่าเข้าที่ . . . . . . . . . .

ทาง . . . . . . . . . .

โดยวิธี . . . . . . . . . .

ที่ลำเลียงสัตว์ (ถ้ามี) . . . . . . . . . .

วัตถุประสงค์ของการพาเข้ามาเพื่อ . . . . . . . . . .

ที่ซึ่งจะพาสัตว์ไป ตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

จำนวนสัตว์ที่ขออนุญาตนี้ ข้าพเจ้าได้พามาจากตำบล . . . . . . . . . . ประเทศ . . . . . . . . . .

หมายเหตุ . . . . . . . . . .

ลงนาม . . . . . . . . . .

แบบ ๒
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
ใบอนุญาตพาสัตว์เข้า
ที่ . . . . . . . . . .

หนังสือฉะบับนี้แสดงความว่า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . . . . . . บังคับ . . . . . . . . . . อาชีพ . . . . . . . . . . ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . . ได้รับอนุญาตให้พา

ชะนิดของสัตว์

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

เข้าสู่ดินแดนสยาม ผ่านท่าเข้าที่ . . . . . . . . . .

ตามเงื่อนไขและข้อจำกัดดังต่อไปนี้

เงื่อนไข
ข้อจำกัด
ออกให้แต่วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .
ลงนาม . . . . . . . . . .
เจ้าพนักงานสัตวแพทย์
ประจำ

แบบ ๓
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
คำร้องขออนุญาตพาสัตว์เข้าโดยไม่ผ่านท่าเข้า
เขียนที่ . . . . . . . . . .
วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .

ข้าพเจ้า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . . . . . . บังคับ . . . . . . . . . . อาชีพ . . . . . . . . . .

เรียน เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำท่าเข้า . . . . . . . . . .

ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะพา

ชะนิดของสัตว์ . . . . . . . . . .

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

ข้าสู่ดินแดนสยาม ผ่าน . . . . . . . . . .

ทาง . . . . . . . . . .

โดยวิธี . . . . . . . . . .

ที่ลำเลียงสัตว์ (ถ้ามี) . . . . . . . . . .

วัตถุประสงค์ของการพาเข้ามาเพื่อ . . . . . . . . . .

ที่ซึ่งจะพาสัตว์ไป ตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

จำนวนสัตว์ที่ขออนุญาตนี้ ข้าพเจ้าได้พามาจากตำบล . . . . . . . . . . ประเทศ . . . . . . . . . .

หมายเหตุ . . . . . . . . . .

ลงนาม . . . . . . . . . .

แบบ ๔
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
ใบอนุญาตพาสัตว์เข้า
ที่ . . . . . . . . . .

หนังสือฉะบับนี้แสดงความว่า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . . . . . . บังคับ . . . . . . . . . . อาชีพ . . . . . . . . . . ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . . ได้รับอนุญาตให้พา

ชะนิดของสัตว์

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

เข้าสู่ดินแดนสยาม ผ่าน . . . . . . . . . .

ตามเงื่อนไขและข้อจำกัดดังต่อไปนี้

เงื่อนไข

ข้อจำกัด . . . . . . . . . .

ออกให้ไว้แต่วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .
(ลงนาม) . . . . . . . . . .

แบบ ๕
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
แบบคำร้องขออนุญาตพาสัตว์ออกจากดินแดนสยาม
เขียนที่ . . . . . . . . . .
วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .

ข้าพเจ้า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . . . . . . บังคับ . . . . . . . . . . อาชีพ . . . . . . . . . .

เรียน เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำ . . . . . . . . . .

ด้วยข้าพเจ้ามีความประสงค์จะพาสัตว์ออกนอกดินแดนสยามไปยัง . . . . . . . . . .

ชะนิดของสัตว์ . . . . . . . . . .

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

โดย . . . . . . . . . .

ผ่านท่าออกที่ . . . . . . . . . .

ที่ลำเลียงสัตว์ (ถ้ามี) . . . . . . . . . .

วัตถุประสงค์ของการพาออกไปเพื่อ . . . . . . . . . .

ที่ซึ่งจะพาไป . . . . . . . . . . ประเทศ . . . . . . . . . .

จำนวนสัตว์ที่ขออนุญาตนี้ ข้าพเจ้าได้พาไปจากตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

หมายเหตุ . . . . . . . . . .
(ลงนาม) . . . . . . . . . .

แบบ ๖
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
ใบอนุญาตพาสัตว์ออกจากดินแดนสยาม
ที่ . . . . . . . . . .

หนังสือฉะบับนี้แสดงความว่า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . . . . . . บังคับ . . . . . . . . . . อาชีพ . . . . . . . . . . ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . . ได้รับอนุญาตให้พาสัตว์ออกจากดินแดนสยามไปยัง . . . . . . . . . .

ชะนิดของสัตว์

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

โดย . . . . . . . . . .

ผ่านท่าออกที่ . . . . . . . . . .

โดยเงื่อนไขและข้อจำกัดดังต่อไปนี้

เงื่อนไข . . . . . . . . . .

ข้อจำกัด . . . . . . . . . .

ออกให้แต่วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .
(ลงนาม) . . . . . . . . . .
เจ้าพนักงานสัตวแพทย์
ประจำ

แบบ ๗
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
แบบคำร้องขออนุญาตพาสัตว์ผ่าน
เขียนที่ . . . . . . . . . .
วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .

ข้าพเจ้า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . . . . . . บังคับ . . . . . . . . . . อาชีพ . . . . . . . . . .

เรียน เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำ . . . . . . . . . .

ด้วยข้าพเจ้ามีความประสงค์จะพาสัตว์ผ่าน

ชะนิดของสัตว์ . . . . . . . . . .

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

จากตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

ไปยังตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

ไปโดยทาง . . . . . . . . . .

วัตถุประสงค์ . . . . . . . . . .

(ลงนาม) . . . . . . . . . .

แบบ ๘
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
ใบอนุญาตพาสัตว์ผ่าน
ที่ . . . . . . . . . .

หนังสือฉะบับนี้แสดงความว่า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . . . . . . บังคับ . . . . . . . . . . อาชีพ . . . . . . . . . . ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . . ได้รับอนุญาตให้พาสัตว์ผ่าน

ชะนิดของสัตว์ . . . . . . . . . .

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

จากตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

ไปยังตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

โดยทาง . . . . . . . . . .

ตามเงื่อนไขและข้อจำกัดดังต่อไปนี้ . . . . . . . . . .

เงื่อนไข . . . . . . . . . .

ข้อจำกัด . . . . . . . . . .

ใบอนุญาตฉะบับนี้ใช้ได้แต่วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พ.ศ. . . . . . ถึงวันที่ . . . . . เดือน . . . . . พ.ศ. . . . . . และผู้ควบคุมสัตว์จักต้องนำไปด้วย เพื่อแสดงในเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ ใบอนุญาตนี้จะเพิกถอนเมื่อไรก็ได้ จำนวนสัตว์ทั้งหมดตามใบอนุญาตซึ่งออกให้นี้ได้ตีตรารูปอักษร T ของรัฐบาลไว้ที่คอเบื้องซ้ายแล้วทุกตัว

ออกให้แต่วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .
(ลงนาม) . . . . . . . . . .
เจ้าพนักงานสัตวแพทย์
ประจำ . . . . . . . . . .

แบบ ๙
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
แบบคำร้องขออนุญาตย้ายสัตว์
เขียนที่ . . . . . . . . . .
วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .

ข้าพเจ้า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . . . . . . บังคับ . . . . . . . . . . อาชีพ . . . . . . . . . .

เรียน เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำ . . . . . . . . . .

ด้วยข้าพเจ้ามีความประสงค์จะย้ายสัตว์

ชะนิดของสัตว์ . . . . . . . . . .

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

จากตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

ไปยังตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

โดยทาง . . . . . . . . . .

วัตถุประสงค์ . . . . . . . . . .

(ลงนาม) . . . . . . . . . .

แบบ ๑๐
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
ใบอนุญาตย้ายสัตว์
ที่ . . . . . . . . . .

หนังสือฉะบับนี้แสดงความว่า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . . . . . . บังคับ . . . . . . . . . . อาชีพ . . . . . . . . . . ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . . ได้รับอนุญาตให้ย้ายสัตว์

ชะนิดของสัตว์ . . . . . . . . . .

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

จากตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

ไปยังตำบล . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

โดยทาง . . . . . . . . . .

ตามเงื่อนไขและข้อจำกัดดังต่อไปนี้ . . . . . . . . . .

เงื่อนไข . . . . . . . . . .

ข้อจำกัด . . . . . . . . . .

ใบอนุญาตนี้ใช้ได้แต่วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พ.ศ. . . . . . ถึงวันที่ . . . . . เดือน . . . . . พ.ศ. . . . . . ผู้ควบคุมสัตว์จักต้องนำไปด้วย เพื่อแสดงในเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ ใบอนุญาตนี้จะเพิกถอนเมื่อไรก็ได้ จำนวนสัตว์ทั้งหมดตามใบอนุญาตซึ่งออกให้นี้ได้ตีตรารูปอักษร R ไว้ที่คอเบื้องซ้ายแล้วทุกตัว

ออกให้แต่วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .
(ลงนาม) . . . . . . . . . .
เจ้าพนักงานสัตวแพทย์
ประจำ . . . . . . . . . .

แบบ ๑๑
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
แบบคำร้องขออนุญาตทำการส่งสัตว์บรรทุกรถไฟหรือเรือ
เขียนที่ . . . . . . . . . .
วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .

ข้าพเจ้า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . . . . . . บังคับ . . . . . . . . . . อาชีพ . . . . . . . . . .

เรียน เจ้าพนักงานสัตวแพทย์ประจำ . . . . . . . . . .
ด้วยข้าพเจ้ามีความประสงค์จะทำการส่งสัตว์บรรทุก รถไฟ

เรือ

ชะนิดของสัตว์ . . . . . . . . . .

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

จาก ท่าเรือ . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

สถานี . . . . . . . . . .

ไปยัง ท่าเรือ . . . . . . . . . . อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

สถานี . . . . . . . . . .

วัตถุประสงค์ . . . . . . . . . .

หมายเหตุ . . . . . . . . . .
(ลงนาม) . . . . . . . . . .

แบบ ๑๒
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
ใบอนุญาตทำการส่งสัตว์บรรทุกรถไฟหรือเรือ
ท่อน ๑
ที่ . . . . .

นายสถานี . . . . . . . . . . ถึง —————— ที่

นายเรือหรือเจ้าพนักงานประจำเรือ . . . . . . . . . .

ท่านมีอำนาจที่จะอนุญาตให้ . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . บังคับ . . . . . อาชีพ . . . . . ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ . . . . . ตำบล . . . . . อำเภอ . . . . . จังหวัด . . . . .

ทำการส่งสัตว์บรรทุก รถไฟ

เรือ

ชะนิดของสัตว์

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

จาก ท่าเรือ อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

สถานี
ไปยัง ท่าเรือ อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

สถานี

ใบอนุญาตส่วนนี้ ให้นายสถานี นายเรือ หรือเจ้าพนักงานประจำเรือ ซึ่งสัตว์ขึ้นบรรทุกรถไฟหรือลงเรือไปนั้น เรียกเก็บไว้ เมื่อเจ้าของได้ทำการส่งสัตว์บรรทุกรถไฟหรือเรือเสร็จแล้ว ให้รีบส่งใบอนุญาตส่วนนี้ไปยังกรมเกษตร จังหวัดพระนคร ทันที

ออกให้แต่วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .
(ลงนาม) . . . . . . . . . .
เจ้าพนักงานสัตวแพทย์
ประจำ . . . . . . . . . .

แบบ ๑๒
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
ใบอนุญาตทำการส่งสัตว์บรรทุกรถไฟหรือเรือ
ท่อน ๒
 ที่ . . . . .

หนังสือนี้แสดงความว่า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . บังคับ . . . . . อาชีพ . . . . . ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ . . . . . ตำบล . . . . . อำเภอ . . . . . จังหวัด . . . . .

ได้รับอนุญาตให้ทำการส่งสัตวบรรทุก รถไฟ

เรือ

ชะนิดของสัตว์

จำนวนสัตว์ (ตัวผู้) . . . . . ตัว

(ตัวเมีย) . . . . . ตัว

ประเภท . . . . . . . . . .

จาก ท่าเรือ อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

สถานี
ไปยัง ท่าเรือ อำเภอ . . . . . . . . . . จังหวัด . . . . . . . . . .

สถานี

และต่อจากนั้นให้ทำการส่งสัตว์โดยทางตรง เลี่ยงเสียซึ่งเขตต์กัก ไปยังตำบล . . . . . อำเภอ . . . . . จังหวัด . . . . .

ใบอนุญาตนี้ใช้ได้แต่วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พ.ศ. . . . . . ถึงวันที่ . . . . . เดือน . . . . . พ.ศ. . . . . . และจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ ใบอนุญาตนี้ออกให้โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้รับใบอนุญาตจะทำการส่งสัตว์ไปจากตำบล . . . . . อำเภอ . . . . . จังหวัด . . . . . โดยไม่มีใบอนุญาตฉะบับใหม่ไม่ได้

จำนวนสัตว์ทั้งหมดตามใบอนุญาตซึ่งออกให้นี้ต้องตีตรารูปอักษร S ไว้ที่คอเบื้องซ้ายแล้วทุกตัว

ข้อจำกัด

เงื่อนไข

ออกให้แต่วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พุทธศักราช . . . . .
(ลงนาม) . . . . . . . . . .
เจ้าพนักงานสัตวแพทย์
ประจำ . . . . . . . . . .

แบบ ๑๓
กรมเกษตร
กระทรวงเศรษฐการ
แบบคำร้องขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัตว์

ข้าพเจ้า . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . บังคับ . . . . . อาชีพ . . . . . ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบล . . . . . อำเภอ . . . . . จังหวัด . . . . . ขออนุญาตจดทะเบียนเป็น

(ก) ผู้ค้าปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ

(ข) ผู้ค้าแกะและแพะ

(ค) ผู้ค้าสุกร

(ง) ผู้ค้ากระดูก หนัง กีบ เขา ผม ขน สัตว์

(ให้ขีดฆ่าข้อความที่ไม่ต้องการออกเสีย)

ข้าพเจ้ามีความประสงค์ทำการค้าในจังหวัด . . . . . . . . . .

(ลงนาม) . . . . . . . . . .
แบบ ๑๔
ที่ . . . . .
ใบสำคัญจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัตว์ในประเภท . . . . . . . . . .

ใบสำคัญฉะบับนี้แสดงว่า นาม . . . . . . . . . . นามสกุล . . . . . . . . . . อายุ . . . . . ปี ชาติ . . . . . บังคับ . . . . . อาชีพ . . . . . ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบล . . . . . อำเภอ . . . . . จังหวัด . . . . . ได้จดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัตว์ในประเภท . . . . . . . . . . ในท้องที่จังหวัด . . . . . . . . . .

ใบสำคัญนี้ให้ใช้ได้มีกำหนด . . . . . เดือนนับตั้งแต่ที่ได้ออกให้เป็นต้นไป และใช้ได้ฉะเพาะผู้ได้รับอนุญาต

(ลงนาม) . . . . . . . . . .
(ตำแหน่ง) . . . . . . . . . .
วันที่ . . . . . เดือน . . . . . พ.ศ. . . . . .