ข้ามไปเนื้อหา

ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชชกาลที่ 8/เล่ม 2/เรื่อง 28

จาก วิกิซอร์ซ


มาตราศาลยุตติธรรมทั้งหลายตามพระธรรมนูญนี้ ให้สังกัดอยู่ในกระทรวงยุตติธรรม

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมเป็นผู้รับผิดชอบในงานธุรการของศาลทั้งหลายที่อยู่ในสังกัดให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย แต่การดำเนินการพิจารณาคดี รวมตลอดถึงการที่จะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาบังคับคดีให้เสร็จเด็ดขาดไปนั้น ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลโดยฉะเพาะ

มาตราศาลยุตติธรรมตามพระธรรมนูญนี้ แบ่งออกเป็นสามชั้น คือ

(๑)ศาลชั้นต้น

(๒)ศาลอุทธรณ์

(๓)ศาลฎีกา (ศาลสูงสุด)

มาตราศาลชั้นต้น

(๑)สำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ได้แก่

(ก)ศาลแขวง

(ข)ศาลแพ่งและศาลอาญา

(๒)สำหรับหัวเมือง ได้แก่

(ก)ศาลแขวง

(ข)ศาลจังหวัด

มาตราศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น ศาลใดศาลหนึ่งนั้น อาจแบ่งออกเป็นแผนก และแผนกหนึ่งจะให้มีอำนาจฉะเพาะในคดีประเภทใดก็ได้ โดยออกเป็นกฎกระทรวง

มาตราเมื่อเห็นเป็นการสมควร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมมีอำนาจสั่งให้ผู้พิพากษานายหนึ่งไปนั่งร่วมกับผู้พิพากษาในศาลแขวงมีกำหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลแขวงมีอำนาจเสมือนศาลจังหวัดชั่วคราวเกียวแก่คดีซึ่งอยู่ในเขตต์ศาลนั้น

ถ้าท้องที่ใดยังไม่มีศาลแขวง เมื่อเห็นเป็นการสมควร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมมีอำนาจสั่งให้ผู้พิพากษานายหนึ่งหรือหลายนายของศาลจังหวัดไปนั่งเป็นศาลณที่ว่าการอำเภอแห่งท้องที่นั้น เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่นั้นชั่วคราว ซึ่งมิฉะนั้น คดีย่อมตกอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือศาลจังหวัด

มาตราการจัดตั้งหรือยุบเลิกศาลยุตติธรรมนั้น ให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมที่จะรายงานต่อรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงจำนวน สภาพ สถานที่ตั้ง และเขตต์อำนาจศาล ตามที่จำเป็น เพื่อให้ความยุตติธรรมเป็นไปโดยเรียบร้อยตลอดราชอาณาจักร

มาตราให้มีผู้พิพากษาประจำศาลทุกศาลตามจำนวนซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมจะกำหนดไว้ตามความจำเป็นแห่งราชการ

มาตราให้มีอธิบดีผู้พิพากษาประจำศาลต่อไปนี้ศาลละหนึ่งนาย คือ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลแพ่ง และศาลอาญา

เมื่อตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลใดว่างลง หรือเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมจะกำหนดให้ผู้พิพากษาอาวุโสนายหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนอธิบดีผู้พิพากษาชั่วคราวก็ได้

มาตราในศาลชั้นต้นทุกศาล นอกจากศาลแพ่งและศาลอาญา ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมกำหนดให้ผู้พิพากษาของศาลนั้นนายหนึ่งทำการเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาล

ถ้าศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ หรือศาลชั้นต้น ศาลใดศาลหนึ่ง แบ่งออกเป็นสองแผนกหรือกว่านั้นขึ้นไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมจะกำหนดให้ผู้พิพากษาอาวุโสนายหนึ่งของแผนกใดทำการเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าในแผนกนั้นก็ได้

เมื่อใดตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือหัวหน้าแผนกว่างลง หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลหรือหัวหน้าแผนกไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลนั้นหรือในแผนกนั้นเป็นผู้ทำการแทนชั่วคราว

มาตรา๑๐อธิบดีผู้พิพากษา หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือผู้ทำการแทน ต้องรับผิดชอบในงานของศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และมีหน้าที่ ดั่งต่อไปนี้

(๑)ระมัดระวังการที่จะใช้ระเบียบวิธีการต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยรวดเร็ว

มาตราให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในศาลของตนในข้อขัดข้องเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา

(๓)ร่วมมือกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองท้องที่ ในบรรดากิจการอันเกี่ยวกับการจัดวางระเบียบและดำเนินการงานส่วนธุรการของศาล

(๔)ทำรายงานการคดีและกิจการของศาลส่งไปตามระเบียบ

และให้มีอำนาจ ดั่งต่อไปนี้

(๑)นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีใด ๆ ของศาลนั้น หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้ว มีอำนาจลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งได้

(๒)สั่งคำร้องคำขอต่าง ๆ ที่ยื่นต่อตนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ

มาตรา๑๑ในการควบคุมบังคับบัญชาเสมียนพนักงานในศาล ให้อธิบดีผู้พิพากษามีอำนาจเสมือนหัวหน้ากองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

มาตรา๑๒ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกเป็นผู้รับผิดชอบให้งานในแผนกดำเนินไปโดยเรียบร้อยตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ได้จัดตั้งแผนกนั้นขึ้น หรือตามคำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลนั้น

มาตรา๑๓ให้ตั้งข้าหลวงยุตติธรรมขึ้น ส่วนจำนวน และตำแหน่งประจำจะอยู่ณที่ใด และมีเขตต์อำนาจเพียงไรนั้น ให้เป็นไปตามที่จะได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาตั้งข้าหลวงยุตติธรรม ผู้ที่เป็นข้าหลวงยุตติธรรมให้เลือกตั้งจากผู้พิพากษา

ให้ข้าหลวงยุตติธรรมมีอำนาจและหน้าที่อย่างเดียวกับอธิบดีผู้พิพากษาดั่งที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๐ และ ๑๑ และให้มีอำนาจ

(๑)สั่งให้ผู้พิพากษาและจ่าศาลรายงานเกี่ยวด้วยคดีใด ๆ หรือรายงานกิจการอื่น ๆ ของศาลซึ่งอยู่ในเขตต์อำนาจของตน

(๒)นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลทุกศาลซึ่งอยู่ภายในเขตต์อำนาจของตน หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้ว มีอำนาจลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งได้

(๓)ในกรณีฉุกเฉิน สั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งคนใดในศาลหนึ่งซึ่งอยู่ในเขตต์อำนาจของตนไปช่วยทำหน้าที่ชั่วคราวในอีกศาลหนึ่ง แล้วรายงานไปยังกระทรวงยุตติธรรมทันที



มาตรา๑๔ศาลชั้นต้นมีเขตต์ ดั่งนี้

(๑)ศาลแขวง มีเขตต์ตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงได้กำหนดไว้

(๒)ศาลจังหวัด มีเขตต์ตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดได้กำหนดไว้ แต่บรรดาคดีซึ่งเกิดขึ้นในเขตต์ศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดนั้น ๆ ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้

(๓)ศาลแพ่ง และศาลอาญา มีเขตต์ตลอดจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี แต่บรรดาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตต์จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีนั้นจะยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งและศาลอาญาก็ได้ ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลนั้น ๆ ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้ เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

มาตรา๑๕ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีซึ่งผู้พิพากษานายเดียวมีอำนาจดั่งที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๑ และ ๒๒

มาตรา๑๖ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง

มาตรา๑๗ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวง และศาลอาญามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง

มาตรา๑๘ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้สั่งรับประทับฟ้องโดยชอบแล้วไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

มาตรา๑๙ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์

นอกจากนี้ ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจ

(๑)พิพากษายืนตาม แก้ไข หรือกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ในเมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

(๒)วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องที่ยื่นตามกฎหมายคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้น

(๓)วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น

มาตรา๒๐ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการฎีกา

นอกจากนี้ ให้ศาลฎีกามีอำนาจ

(๑)วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ขอให้พิจารณาพิพากษาใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

(๒)วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น

คดีใดซึ่งศาลฎีกาได้พิจารณาพิพากษาแล้ว คู่ความหามีสิทธิที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาคัดค้านคดีนั้นต่อไปอีกไม่



มาตรา๒๑ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งมีอำนาจ

(๑)ออกหมายเรียก ออกหมายอาญา ออกหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น

(๒)ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี

มาตรา๒๒ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาเพียงนายเดียวก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้นได้ เมื่อ

(๑)เป็นคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสองร้อยบาท หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ นอกจากคดีพิพาทที่เกี่ยวกับฐานะบุคคลและสิทธิในครอบครัว

(๒)เป็นคดีอาญาซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ทั้งนี้ จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือนหรือปรับเกินสองร้อยบาทหาได้ไม่

ถ้าเป็นคดีในศาลแขวง เมื่อผู้พิพากษานายเดียวได้พิจารณาพะยานหลักฐานแห่งคดีไปแล้วปรากฏว่า โทษของจำเลยควรจำคุกเกินกว่าหกเดือนหรือปรับเกินสองร้อยบาท ก็ให้ศาลแขวงทำความเห็นส่งสำนวนไปให้ศาลอาญาหรือศาลจังหวัดพิพากษา แล้วแต่กรณี

และมีอำนาจ

(๑)ทำการไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีแพ่ง ยกเว้นในกรณีที่ผู้ร้องสอดร้องขอเป็นโจทก์หรือจำเลย

(๒)ทำการไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญาทั้งปวง

ศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวง ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองนาย จึ่งเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง

เมื่อผู้พิพากษาไม่สามารถจะนั่งพิจารณาความให้ครบองค์คณะได้ ให้ผู้พิพากษาที่จะนั่งพิจารณาคดีนั้นมีอำนาจเชิญบุคคลที่มีลักษณะดั่งจะกล่าวต่อไปนี้นั่งเป็นสำรองผู้พิพากษาเพื่อให้ครบองค์คณะ

(๑)มีคุณสมบัติอนุโลมตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๖ แต่ต้องมีอายุตั้งแต่ ๒๕ ปีขึ้นไป

(๒)เป็นข้าราชการประจำการหรือนอกประจำการตั้งแต่ชั้นประจำแผนกขึ้นไป หรือผู้ที่เป็นเนติบัณฑิตสยาม หรือได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตร หรือปริญญาในทางกฎหมายในต่างประเทศ

เมื่อได้เชิญผู้ใดมาเป็นสำรองผู้พิพากษาให้ช่วยพิจารณาคดีดั่งกล่าวมาข้างบนนั้นแล้ว ให้รายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตติธรรมทันที

ถ้าได้มีการร้องคัดค้านผู้ที่เชิญมาเป็นสำรองผู้พิพากษา ให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีเชิญบุคคลอื่นมาเป็นสำรองผู้พิพากษาแทนต่อไป การใดที่ศาลได้จัดทำไปก่อนมีการคัดค้านเป็นอันสมบูรณ์

มาตรา๒๔ศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองนาย และศาลฎีกา อย่างน้อยสามนาย จึ่งเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้