ข้ามไปเนื้อหา

ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชชกาลที่ 8/เล่ม 2/เรื่อง 33

จาก วิกิซอร์ซ
พระราชบัญญัติ
สหกรณ์ แก้ไขเพิ่มเติม
พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉะบับที่ ๒)

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗)
อนุวัตน์จาตุรนต์
อาทิตย์ทิพอาภา
เจ้าพระยายมราช
ตราไว้ณวันที่ ๑๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๘
เป็นปีที่ ๒ ในรัชชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๖ เพื่อยังความสะดวกแก่การปฏิบัติตามแผนการที่วางไว้ และเพื่อช่วยเหลือกสิกร

จึ่งมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสหกรณ์ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉะบับที่ ๒)”

มาตราให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราให้ยกเลิกความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๖ และใช้ความต่อไปนี้แทน

“ถ้าสหกรณ์เกี่ยวข้องในกิจการใดซึ่งกฎหมายกำหนดให้ลงทะเบียนสำหรับการได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วงซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การลงทะเบียนเช่นว่านั้นให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

ถ้าไม่มีทะเบียน บรรดาวิธีการซึ่งกฎหมายกำหนดให้ทำที่ที่ว่าการอำเภอเพื่อประโยชน์อย่างเดียวกันนั้น ให้ได้รับยกเว้นจากการเสียค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกัน”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
(ตามมติคณะรัฐมนตรี)
พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์
รัฐมนตรี

พระราชบัญญัติสหกรณ์ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๗๖ มาตรา ๓ ที่พระราชบัญญัตินี้ให้ยกเลิก มีความดั่งนี้ “ถ้ามีการโอนแก้ทะเบียนที่ดินซึ่งสหกรณ์เป็นผู้โอนก็ดี หรือเป็นผู้รับโอนก็ดี ท่านให้งดเว้นการเรียกค่าธรรมเนียมในการแก้ทะเบียนและค่าธรรมเนียมประทับตราประจำตำแหน่ง

ถ้าการโอนเช่นว่านี้ทำที่อำเภอ ก็ให้งดเว้นการเรียกค่าธรรมเนียมการทำบริคณห์สัญญาและค่าธรรมเนียมสลักหลังเปลี่ยนแก้ข้อความในสัญญา”

(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ วันที่ ๒๑ เมษายน หน้า ๗๒)