ข้ามไปเนื้อหา

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2491

จาก วิกิซอร์ซ
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ พ.ศ. ๒๔๙๑

ด้วยคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาพิจารณาเห็นสมควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมแก่กาลสมัย จึงลงมติให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ ตามที่ได้ประกาศไปแล้วนั้นเสียทั้งสิ้น และให้ใช้ระเบียบนี้แทน คือ

๑.เรื่องเวลาทำงาน เริ่มเวลาทำงานตั้งแต่เวลา ๙.๐๐ น. ถึง ๑๖.๐๐ น. หยุดรับประทานอาหารกลางวันเวลา ๑๒.๐๐ น. ถึง ๑๓.๐๐ น. ส่วนวันเสาร์นั้นหยุดครึ่งวัน คงทำงานตั้งแต่เวลา ๙.๐๐ น. ถึง ๑๒.๐๐ น.

ทั้งนี้ ถ้ากรมใดจะใช้ระเบียบพิเศษนอกไปจากนี้เพื่อความสะดวก ก็ให้ทำได้ แต่เมื่อคำนวณเวลาทำงานรวมกันในสัปดาห์หนึ่ง ๆ แล้ว ต้องเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนรวมเวลาราชการในสัปดาห์หนึ่ง ๆ ดั่งที่ว่ามาข้างต้น

๒.เรื่องวันหยุดราชการ

๑. วันขึ้นปีใหม่ (New Year)
วันที่ ๓๑ ธันวาคม และวันที่ ๑, ๒ มกราคม วัน
๒. วันมาฆะบูชา (Makha Bucha)
วันเพ็ญและวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๓
หรือเดือน ๔ แล้วแต่กรณี วัน
๓. วันจักรี (Chakri Day)
วันที่ ๖ เมษายน วัน
๔. วันสงกรานต์ (Songkran)
วันที่ ๑๓, ๑๔ และ ๑๕ เมษายน วัน
๕. วันวิสาขะบูชา (Wisakha Bucha)
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖
หรือเดือน ๗ แล้วแต่กรณี วัน
๖. วันชาติ (National Day)
วันที่ ๒๔ มิถุนายน วัน
๗. วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent)
วันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ
เดือน ๘ วัน
๘. วันปิยะมหาราช (Chulalongkon Day)
วันที่ ๒๓ ตุลาคม วัน
๙. วันเฉลิมพระชนมพรรษา (The King's Birthday)
วันที่ ๔, ๕ และ ๖ ธันวาคม วัน
๑๐. วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day)
วันที่ ๑๐ ธันวาคม วัน

วันหยุดประจำทุก ๆ สัปดาห์นั้น คือ วันเสาร์ หยุดครึ่งวันตั้งแต่เวลา ๑๒.๐๐ น. วันอาทิตย์ เต็มวัน ทั้งนี้ ให้ใช้ทั่วราชอาณาจักร สำหรับโรงเรียนนั้น ให้คงใช้ระเบียบเดิม คือ ถ้าโรงเรียนใดอาศัยสถานที่วัดเป็นสถานศึกษา เพื่อความสะดวกทางวัด ก็ให้หยุดในวันพระ และถ้าไม่ต้องอาศัยที่วัด ก็ให้หยุดในวันอาทิตย์

ส่วนจังหวัดภาคใต้ ๔ จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี สตูล ยะลา และนราธิวาส คงให้หยุดราชการประจำทุก ๆ สัปดาห์ ในวันพฤหัสบดี ครึ่งวัน และวันศุกร์ เต็มวัน

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๙๑
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

บรรณานุกรม

[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"