ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ มลายู

จาก วิกิซอร์ซ
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน รัสเซีย ญี่ปุ่น อาหรับ และมลายู


โดยที่ราชบัณฑิตยสถานเสนอว่า หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๒ นั้น เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้กับการทับศัพท์ภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียว จึงยังไม่เพียงพอแก่การใช้เขียนทับศัพท์คำที่มิใช่ภาษาอังกฤษ สมควรกำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์ขึ้นใช้เฉพาะแต่ละภาษา ราชบัณฑิตยสถานจึงได้ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีก ๘ ภาษา คือ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน รัสเซีย ญี่ปุ่น อาหรับ และมลายู และบัดนี้ได้จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วตามที่แนบท้ายประกาศนี้

คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว เห็นชอบด้วย จึงลงมติให้ใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน รัสเซีย ญี่ปุ่น อาหรับ และมลายู ที่ราชบัณฑิตยสถานเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
นายอานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี


(ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๕๖ หน้า ๑  ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕)

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส[แก้ไข]

๑. สระ ให้ถอดตามการออกเสียงในพจนานุกรมภาษาฝรั่งเศส โดยเทียบเสียงสระภาษาไทยตามตารางเทียบเสียงสระภาษาฝรั่งเศส เช่น

papa = ปาปา

๒. พยัญชนะ ให้ถอดเป็นพยัญชนะภาษาไทยตามหลักเกณฑ์ในตารางเทียบพยัญชนะภาษาฝรั่งเศส เช่น

demi = เดอมี
sec = แซก

๓. พยัญชนะที่ในภาษาฝรั่งเศสไม่ออกเสียง ไม่ต้องถอดเป็นภาษาไทย เช่น

(le) ticket = ตีเก
(le) prix = ปรี
chaud = โช
sept = แซต

๔. คำที่มีพยัญชนะท้ายคำตามด้วยสระ e ให้ทับศัพท์โดยละเสียง e แต่คงพยัญชนะหน้า e ไว้ และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น

(le) lampe = ลองป์
(le) reste = แรสต์
ถ้าพยัญชนะท้ายคำเป็นพยัญชนะควบกล้ำ ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
Legendre = เลอช็องดร์
(la) chèvre = แชฟวร์

๕. คำที่มีพยัญชนะซ้อนให้ถือเป็นหน่วยเสียงเดียว และถอดเป็นพยัญชนะไทยเพียงตัวเดียว เช่น

(la) ville = วีล
(l') allée = อาเล
(la) famme = ฟาม

๖. ตัวอักษรภาษาฝรั่งเศส ในการเขียนตัวย่อใช้ดังนี้

A = อา B = เบ C = เซ
D = เด E = เออ F = แอฟ
G = เช H = อาช I = อี
J = ชี K = กา L = แอล
M = แอม N = แอน O = โอ
P = เป Q = กู R = แอร์
S = แอส T = เต U = อู
V = เว W = ดูเบลอเว X = อิกซ์
Y = อีแกรก Z = แซด    

๗. หลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ไม่ไต่คู้ เครื่องหมายวรรณยุกต์ ให้ถือตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

ตารางเทียบเสียงสระภาษาฝรั่งเศส[แก้ไข]

สระ ใช้ ตัวอย่าง
A
a อา (le) matin = มาแตง
à อา là = ลา
â อา (le) mât = มา
aen ออง Caen = ก็อง
ai แอ, เอ aigrir = แอกรีร์, เอกรีร์
  [ยกเว้นคำว่า faisant (ai = เออ) เป็น เฟอซอง]
อาอี hr = อาอีร์
แอ (le) mtre = แมตร์
  เอ = เอเน
aid แอ, เอ laid = แล, เล
aie แอ, เอ (le) taie = แต, เต
ail อาย (le) portail = ปอร์ตาย
aille อาย Versaille = แวร์ซาย
aim แอง faim = แฟง
aime แอม (il) aime = แอม
ain แอง (le) pain = แปง
aine แอน Vilaine = วีแลน
ais แอ, เอ (le) dais = แด, เด
ait แอ, เอ (le) lait = แล, เล
aix แอ, เอ (la) paix = แป, เป
am ออง (la) lampe = ลองป์
amme อาม (le) gramme = กราม
an ออง (le) pan = ปอง
anne อาน Anne = อาน
aon ออง (le) paon = ปอง
aône โอน Saône = โซน
au โอ chaud = โช
  [ยกเว้นคำว่า Paul (au = ออ) เป็น ปอล]
aur ออร์ Maure = มอร์
ay แอ, เอ Raymond = แรมง, เรมง
ays เออี (le) pays = เปอี