ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๕

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ เรื่องสถานที่แลวัดถุซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๔

นายเซี้ยง กรรณสูตร พิมพ์ในงานปลงศพสนองคุณบิดา

เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕

พิมพ์ที่โรงพิมพ์ โสภณพิพรรฒธนากร

คำนำ

นายเซี้ยง กรรณสูต มาแจ้งความยังหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับ พระนคร ว่าจะปลงศพนายฮะหยง กรรณสูต มีศรัทธาจะพิมพ์หนังสือ เปนของแจกเนื่องในการกุศลทักษิณานุปทาน ซึ่งบำเพ็ญสนองคุณ บิดาสักเรื่อง ๑ ขอให้กรรมการช่วยเลือกเรื่องหนังสือในหอพระสมุด ฯ ให้พิมพ์ตามประสงค์ ข้าพเจ้าจึงได้เลือกหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๕ ให้พิมพ์ หนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ นี้ ว่าด้วยการสร้างวัดถุ และสถานที่ต่าง ๆ เมื่อในรัชกาลที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ เปน หนังสือซึ่งข้าพเจ้าเรียบเรียงเอง เหตุที่จะเรียบเรียงหนังสือเรื่องนี้ เพราะได้รูปต่าง ๆ อันหลวงอัคนีนฟมิตร (จิตร จิตราคนี) ได้ถ่าย ไว้แต่ในรัชกาลที่ ๔ มีรูปสถานที่ซึ่งได้รื้อและเปลี่ยนแปลงไปไม่มี อยู่ในเวลานี้หลายรูป ผู้ที่ได้เห็น ๆ แปลกปลาด มักกล่าวกันว่าเคย ได้ยินแต่ว่าแต่ก่อนมีสิ่งนั้น ๆ แต่รูปสัณฐานจะเปนอย่างไรไม่เคยเห็น กล่าวกันดังนี้เนือง ๆ ข้าพเจ้าจึงนึกว่า ถ้าได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเปนเล่ม สมุด ให้ได้เห็นกันแพร่หลาย เห็นจะเปนประโยชน์ในทางความรู้ แต่ จะพิมพ์แต่รูปก็ไม่บริบูรณ์ จึงได้แต่งพรรณาถึงสถานที่และวัดถุต่าง ๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้าง เก็บความ มาจากหนังสือพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ได้แต่งไว้เปนพื้น ประกอบกับความที่ข้าพเจ้ารู้เองเพิ่มเติมอิกบ้าง ได้


ข ให้พิมพ์หนังสือเรื่องนี้ขึ้นสำรองไว้ในหอพระสมุด ฯ พระเจ้าบรมวงศเธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา ได้ทรงแบ่งไปประทานในงานพระชนมายุ สมะมงคลส่วน ๑ แต่ยังมีหนังสือเหลืออยู่ในหอพระสมุด ฯ เมื่อ นายเซี้ยง กรรณสูต มาขอให้เลือกหนังสือที่จะพิมพ์แจกในงานศพบิดา ข้าพเจ้านึกว่าผุ้ที่จะได้รับแจก โดยมากคงจะไม่ซ้ำกับที่ผู้ซึ่งได้เคยรับ หนังสือนี้แล้ว และหนังสือเรื่องนี้เข้าใจว่าเจ้านายก็ดี ข้าราชการก็ดี พ่อค้าและคฤหบดีก็ดี แม้ตลอดจนราษฎรได้อ่านคงเปนประโยชน์ ใน ทางความรู้มิมากก็น้อยทั่วทุกชั้นบันดาศักดิ์ ข้าพเจ้าเห็นว่าดีกว่าที่จะ พิมพ์หนังสือขึ้นใหม่ ทั้งวันกำนดงานศพเวลาก็จวน ข้าพเจ้าจึงได้ แนะให้นายเซี้ยง กรรณสูต แจกหนังสือเรื่องนี้ในงานศพบิดา. ข้าพเจ้าขออนุดมทนาในการกุศลบุญราษีทักษิณานุปทาน ซึ่ง นายเซี้ยง กรรณสูต ผู้บุตร ได้กระทำปฏิการกิจปลงศพสนองคุณบิดา และทั้งได้แจกหนังสือเรื่องนี้ให้ได้อ่านกันแพร่หลาย ข้าพเจ้าหวังใจว่า ผู้ที่ได้รับสมุดเล่มนี้ไป คงจะพอใจแลอนุโมทนาด้วยทั่วกัน. สภานายก หอพระสมุดวชิรญาณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๕


บาญชีรูป พระบรมรูปพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช แลกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ น่า ต้น สกุณวัน เก๋งกรงนก " ๔ โรงกระสาปน์เก่า " ๑๐ พระพุทธมณเฑียร แลพระพุทธรัตนสถาน " ๑๖ ประมาณแผนผังพระอภิเนาวนิเวศน์ " ๒๒ ทางเข้าพระที่นั่งอนันตสมาคม " ๒๘ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย (หอนาฬิกา) " ๓๔ เสานางเรียงที่ด้านถนนบำรุงเมือง " ๔๐ ตึกดินตรงที่สร้างพระราชวังสราญรมย์ถ่ายจากพระที่นั่งภูวดล ทัศไนย " ๔๖ ตึกแถวถนนเจริญกรุงแลหอกลอง ถ่ายจากพระที่นั่งภูวดล ทัศไนย " ๕๒ หลังคาพระที่นั่งอภิเนาวนิเวศน์ ถ่ายจากพระที่นั่งภูวดลทัศไนย แลเห็นโครงปราสาทแถวนอก " ๕๘ พระพุทธมณเฑียร แลพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ถ่ายจากพระ ที่นั่งภูวดลทัศไนย " ๖๔ รูปท้องสนามไชยถ่ายจากหอกลอง " ๗๐ ท่าราชวรดิฐ ถ่ายในรัชการที่ ๕ แต่พระที่นั่งเดิมยัง บริบูรณ์ " ๗๖ เรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชลำแรก " ๘๔

สารบาน

สิ่งซึ่งทรงสร้างในบริเวณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท น่า ๑ สิ่งซึ่งทรงสร้าง ในบริเวณพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย " ๒ พระที่นั่งราชฤดี " ๔ เก๋งกรงนก สกุณวัน " ๔ พระที่นั่งสีตะลาภิรมย์ " ๕ พระพุทธนิเวศน์ " ๑๑พระอภิเนาวนิเวศน์ " ๑๑ สถานที่ต่าง ๆ ทรงสร้างในบริเวณพระราชวังชั้นใน " ๑๖ สถานที่ต่าง ๆ ทรงสร้างในบริเวณพระราชวังชั้นกลาง " ๑๗ สถานที่ต่าง ๆ ทรงสร้างในบริเวณพระราชวังชั้นนอก " ๒๐ สถานที่ต่าง ๆ ทรงสร้างรอบนอกพระราชวัง " ๒๓ สถานที่ต่าง ๆ ทรงสร้างในพระราชวังบวรสถานมงคล " ๒๗ พระราชวังนันทยาน " ๒๗ พระราชวังประทุมวัน " ๒๙พระราชวังสราญรมย์ " ๓๑ คลองแลถนนสร้างในจังหวัดพระนคร " ๓๒คลองทางไปมากับหัวเมือง " ๔๐ สถานที่ต่าง ๆ ทรงสร้างตามหัวเมือง " ๔๓ ที่แขวงเมืองสมุทปราการ " ๔๓ ที่แขวงกรุงศรีอยุทยา " ๔๔

ที่แขวงเมืองลพบุรี น่า ๕๐ ที่แขวงเมืองพระพุทธบาท " ๕๒ศาลากลางเมืองเหนือ " ๕๓ ที่แขวงเมืองปราจิณบุรี " ๕๓ ที่แขวงเมืองชลบุรี ตำบลอ่างศิลา " ๕๔ ที่แขวงเมืองนครไชยศรี " ๕๕ ที่แขวงเมืองเพ็ชรบุรีน่า " ๕๖ หัวเมืองทรงตั้งใหม่ " ๕๙ เมืองขึ้นทรงตั้งใหม่ " ๕๙ พระอารามหลวงทรงสร้างใหม่ " ๖๒ พระอารามหลวงในกรุงเทพ ฯ ที่ทรงปฏิสังขรณ์ " ๖๔ พระอารามหลวงแลเจดีย์สถานในหัวเมืองที่ทรงสร้างแลปฏิสังขรณ์ " ๗๔











พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธวงศวรเดช แลกรมหลวงพรหมวรานุรักษ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ฉายที่ชาลาน่าพระที่นั่งอนันตสมาคม


สถานที่ต่าง ๆ ซึ่ง พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง ภาคที่ ๑ ที่ทรงสร้างในกรุงเทพ ฯ

ในบริเวณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ที่ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทโปรดให้สร้างพระที่นั่งบุษบกมาลาขึ้นตรงที่สุดมุขด้านใต้เปนที่เสด็จออกข้างใน แลให้ทำฉากลงรักปิดทองเขียนลายเรื่องอินทราภิเศกแลดาวดึงษ์สวรรค์ กั้นสกัดมุขใต้แทนม่าน. ที่บริเวณพระมหาปราสาท โปรดให้สร้างปราสาทโถงบนกำแพงแก้วทางด้านตวันออกองค์ ๑ พระราชทานนามว่า พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท ทางด้านตวันตกพระมหาปราสาท ตรงมุขกระสันลงไปโปรดให้ก่อเขาไกรลาศไว้สำหรับเปนที่สรง พระองค์เจ้าโสกันต์แลหม่อมเจ้าเกษา-กันต์ ประตูกำแพงแก้วบริเวณพระมหาปราสาทเดิมเปนประตูหูช้าง โปรดให้สร้างเปนประตูซุ้มยอดมณฑปเหมือนกันทุกประตู ประตูพระราชวังชั้นใน ๒ ข้างพระมหาปราสาทโปรดให้สร้างเปนประตูพรหมภักต์ยอดปรางค์ อย่างประตูพระราชวังในกรุงเก่า พระราชทานนามประตูข้างฝ่ายตวันออกว่า ประตูพรหมโสภา ข้างฝ่าย ตวันตกว่า ประตูพรหมศรีสวัสดิ์. ๑


๒ (สิ่งซึ่งทรงสร้างในบริเวณพระมหาปราสาท ยังคงอยู่จนทุกวันนี้ ทุกอย่าง เว้นแต่ฉากกั้นมุขใต้นั้นรื้อเมื่องานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในบริเวณพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยแต่ก่อน พระแกลแลพระทวารเปนผนัง เปล่า โปรดให้ทำซุ้มจรนำเพิ่มขึ้นทุกช่อง. โปรดให้รื้อเก๋งบอกพระปริยัติธรรมพระภิกษุสามเณรที่อยู่ริมหอพระปริต ย้ายไปปลูกข้างน่าวัดพระศรีรัตนาศาสดาราม ตรงที่เก๋งเดิมให้ปลูกเก๋งสำหรับข้าราชการพักขึ้น ๒ หลัง. ( เก๋งบอกพระปริยัติธรรมข้างพระที่นั่งอมรินทร ฯ เดิมเห็นจะมีหลังเดียว จะสร้างมาแต่ในรัชกาลที่ ๒ ฤาพึ่งมาสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๓ หาทราบชัดไม่ ปรากฏแต่ว่าเมื่อในรัชกาลที่ ๓ พระภิกษุสามเณรเข้ามาเรียนหนังสือมากจนที่เก๋งไม่พอ จึงทรงพระราชศรัทธาโปรดให้จัดพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเปนที่พระภิกษุสามเณรเล่าเรียนพระปริยัติธรรมทั้ง ๔ มุข มีอาจารย์บอกมุขละคน ครั้นสิ้นรัชกาลที่ ๓ พระมหาปราสาทต้องเปนที่ประดิษฐานพระบรมศพ จึงย้ายการบอกพระปริยัติธรรมไปบอกที่พระรเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามอยู่ชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์จะให้การบอกพระปริยัติ ธรรมประจำที่มั่นคงเสมอไป จึงโปรดให้รื้อเก๋งเดิมไปปลูกที่น่าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงเพิ่มเติมให้เปน ๔ หลังเท่าจำนวนอาจารย์ซึ่งเคยบอกบนพระมหาปราสาท พระภิกษุสามเณรเรียนพระปริยัติธรรม

๓ ที่เก๋งทั้ง ๔ นั้น ต่อมาจนรัชกาลที่ ๕ ถึง ร.ศ.๑๐๙ ( ปีขาล พ.ศ.๒๔๓๓ ) จึงได้ย้ายไปอยู่ที่มหาธาตุวิทยาลัย ตรงที่สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนครทุกวันนี้ แลย้ายไปอยู่วัดสุทัศน์ในเวลาต่อมา เก๋งที่สร้างน่าวัดพระศรีรัตนศาสดารามยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ) ที่กำแพงแก้วพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยทางด้านตวันตก ( เดิมเปนประตูช้าง ) โปรดให้ทำประตูประดับสีลาย มีซุ้มยอดประดับกระเบื้องสี พระราชทานนามว่า พระทวารเทเวศร์รักษา กำแพงแก้วทางด้านเหนือพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย โปรดให้สร้างกำแพงแก้วขึ้นใหม่นอกกำแพงแก้วเดิมออกไป ตรงกลางทำประตูยอดอิก ประตู ๑ พระราชทานนามว่า พระทวารเทวาภิบาล แนวกำแพงแก้วด้านเหนือของเดิมรื้อตรงกลาง สร้างเปนพระที่นั่งหลังขวางข้างน่าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยขึ้นหลัง ๑ เหลือกำแพงแก้วเดิมไว้ทั้ง ๒ ข้างต่อหลังขวางมาจนตรงมุมพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย ทำกำแพงแก้วสกัดทั้ง ๒ ด้าน มีประตูยอดพรหมภักตร์ด้านละประตู ที่ตรงมุมกำแพงแก้วเก่าใหม่ต่อกันนั้นทำเปนซุ้มตะเกียงทั้ง ๒ บ้าง กำแพงแก้วด้านเหนือของเดิมเหลือนั้น รื้อหมด. ( ของที่กล่าวนี้ยังอยู่หมด เว้นแต่ซุ้มตะเกียงรื้อเสียแล้วทั้ง ๒ หลัง ) พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ เดิมมีเกยช้างทางด้านหุ้มกลองข้างเหนือ โปรดให้แก้เปนเกยพระราชยาน สร้างเกยช้างขึ้นใหม่ทางด้านตวันตก( ยังอยู่บริบูรณ์ทั้ง ๒ เกย )


๔ พระที่นั่งราชฤดี โปรดให้สร้างพระที่นั่งขึ้นข้างด้านตวันออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย องค์ ๑ เปนตึก ๒ ชั้นอย่างฝรั่ง เปนที่ประทับว่าราชการเวลาว่างออกขุนนาง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งราชฤดี แลให้ทำประตูลับสำหรับเสด็จขึ้นข้างในจากพระที่นั่งราชฤดีทางหอพระสุราลัยพิมานได้อีกทาง ๑. ( พระที่นั่งราชฤดี ถึงรัชกาลที่ ๕ ของเดิมชำรุด โปรดให้รื้อปลูกใหม่ แก้เปนเก๋งจีน ต่อมาชำรุดจึงโปรดให้รื้อเสียทีเดียว เอานามไปพระราชทานพระที่นั่งโถงที่สร้างใหม่ที่พระราชวังดุสิต พระที่นั่งราชฤดีเดิมอยู่ตรงที่สร้างพระที่นั่งจันทรทิพโยภาศทุกวันนี้ ) สกุณวัน ที่ชาลาน่าโรงช้างในแถวกระถางต้นไม้ดัด เดิมเปนอ่างแก้วสำหรับปลูกบัว โปรดให้ถมสระสร้างกรงใหญ่ ในนั้นก่อภูเขาแลปลูกต้นไม้สำหรับเลี้ยงนก เรียกบริเวณนี้ว่า "สกุณวัน" แล้วสร้างเก๋งรอบกรงด้านละเก๋ง ด้านตวันออกตรงพระทวารเทเวศร์รักษาออกมาเปนเก๋งที่ประทับ ชื่อว่าพระที่นั่งราชานุราชอาศน์เก๋ง ๑ เก๋งด้านใต้ชื่อว่า เก๋ง วรนาฏนารีเสพ เปนที่นางในนั่งเก๋ง ๑ เก๋งด้านตวันตกชื่อว่า เก๋ง วรเทพยสถาน ยาวกว่าทุกเก๋ง เปนที่ไว้เทวรูป (แลชำระความฎีกา)เก๋ง๑เก๋งด้านเหนือชื่อว่าเก๋งสำราญมุขมาตย เปนที่ขุนนางนั่งเก๋ง ๑ มีเสาธงในบริเวณสกุณวันข้างด้านเหนือ ๒ เสา เสาทางด้านตวันตกเปน แบบเสาธงฝรั่ง กลางวันชักธงตราแผ่นดินเวลาเสด็จประทับอยู่ในกรุง ฯ








๕ ถ้าเสด็จไม่อยู่ชักไอยราพต กลางคืนชักโคมทุกวัน เสาตวันออกเปนเสาธงอย่างจีน ชักธงตราแผ่นดินก่อน ในวันทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลก่อน ๆ. ( เมื่อรัชกาลที่ ๓ ทรงเลี้ยงนกแลไก่ต่าง ๆ ข้างในพระบรมมหา ราชวัง จึงโปรดให้ย้ายมาเลี้ยงไว้ในกรงที่สร้างใหม่นี้ ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ รื้อกรงนกสร้างเก๋งใหญ่แทนกรงนกเก๋ง ๑ ชื่อว่าเก๋งวรสภาภิรมย์ เปนที่ประชุมว่าราชการแผ่นดินในเวลาเมื่อยังมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เสาธงสำหรับชักธงตราแผ่นดินทำใหม่ที่ในสนามหญ้าน่าพระที่นั่งใหม่ ( คือหมู่ที่พระที่นั่งจักรีทุกวันนี้ ) รื้อเสาธงเก่าทั้ง ๒ เสา ครั้นเมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ย้ายเสาธงไปไว้น่าหอรัษฎากรพิพัฒน์ รื้อเก๋งในบริเวณสกุณวันทั้งหมดทำสนามหญ้า ) พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ ที่พระราชวังชั้นในโปรดให้สร้างพระที่นั่งเย็น เปนตึกจีนสูง ๓ ชั้นองค์ ๑ อยู่ในบริเวณพระตำหนักสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ใกล้ประตูสนามราชกิจ พระราชทานนามว่า พระที่นั่งสีตลาภิรมย์. ( ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อจะทรงสร้างพระที่นั่งใหม่ตรง ( หมู่พระที่นั่งจักรี ) นั้น โปรดให้รื้อพระที่นั่งสีตลาภิรมย์ไปปลูกที่วัดราชบพิธ ทรงอุทิศเปนเสนาศนะสำหรับเจ้าอาวาศ กรมหมื่นชินวรศิริวัฒน์ได้เสด็จอยู่บัดนี้ ) พระพุทธนิเวศน์ พระที่นั่งทอง ๓ หลัง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างไว้ในสวนขวา ( ที่เรียกว่าสวนศิวาลัยบัดนี้ ) โปรดบูรณะปฏิ

๖ สังขรณ์ให้คืนดี แล้วทรงอุทิศถวายเปนพุทธบูชา พระราชทานนามว่า พระพุทธมณเฑียร พระที่นั่งองค์กลางเปนที่ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองสูง ๗ ศอก พระที่นั่งองค์ข้างเหนือเปนที่ทำพิธีสงฆ์ พระที่นั่งองค์ข้างใต้เปนที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์น้อยซึ่งทรงสร้างขึ้นใหม่ ฝาพระที่นั่งเดิมปิดทองล่องชาดโปรดให้ลงรักปิดทอง เขียนเรื่องพระพุทธประ วัติอันปรากฏในพระสูตรต่าง ๆ ทั้ง ๓ หลัง ตรงน่าพระพุทธมณเฑียรทางด้านตวันออกสร้างพระวิหารขึ้นหลัง ๑ เปนที่ประดิษฐานพระพุทธบุษยรัตน จักรพรรดิพิมลมณีมัย ซึ่งได้มาสู่พระบารมีเมื่อในรัชกาลที่ ๒ พระราชทานนามว่า พระพุทธรัตนสถาน พระวิหารนี้เสาแลฝาผนังพนักล้วนแล้วด้วยศิลา บานประตูหน้าต่างประดับมุก พื้นพระวิหารปูด้วยเสื่อเงิน มีฐานชุกชีทำด้วยงาช้างชั้น ๑ รองบุษบกทองคำประดับพลอยที่ตั้งพระพุทธบุษยรัตน น่าพระวิหารออกไปมีหอระฆังยอดมณฑปประดับกระเบื้อง ฐานประดับศิลา สองข้างพระวิหารสร้างเก๋งที่พักด้านละหลัง น่าเก๋งมีอ่างแก้วก่อเขาอ่างแก้วทางด้านใต้ทำเปนแผนที่ทางทเล อ่างแก้วทางด้านเหนือทำเปนแผนที่ป่าเขา ตามทำนองแผนที่พระราชอาณาเขตร ทางด้านใต้พระพุทธมณเฑียรโปรดให้ซ่อมแซมเก๋งที่ประชุมครั้งรัชกาลที่ ๒ จัดเปนธรรมสภาคศาลา โปรดให้เรียกว่าพระที่นั่งทรงธรรม เปนที่พระสงฆ์แสดงธรรมแก่ข้าราชการฝ่ายใน ทางด้าน ตวันตกของพระพุทธมณเฑียรต่อกับที่ทรงบาตร โปรดให้สร้างปราสาทน้อยขึ้นองค์ ๑ เฉลิมพระเกียรติยศรัชกาลที่ ๒ เปนที่ประดิษฐานพระ


๗ พุทธรูปต่าง ๆ แลคัมภีร์พระไตรปิฎกในรัชกาลที่ ๒ พระราชทานนามว่า มหิศรปราสาท แล้วโปรดให้กั้นบริเวณสวนขวาเดิมกึ่ง ๑ รวมเปนเขตที่ซึ่งทรงพระราชอุทิศนี้ โปรดให้เรียกรวมทั้งเขตรว่า " พระพุทธนิเวศน์ " กระแสพระราชดำริห์ซึ่งทรงสร้างพระพุทธนิเวศน์นี้ มีแจ้งอยู่ในประกาศเฉลิมพระอภิเนาวนิเวศน์ เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๐๒ ดังนี้ " พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระรำพึงถึงกาลอันเปนบุรพภาคสมัย ในขณะเมื่อกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยาเก่ายังตั้งเปนปกติอยู่นั้น สมเด็จบรมสยามมหาราชาธิราชเจ้าผู้ประกอบด้วยอิศราธิปไตยยศ จะให้ปรากฏพระนามตามบุรพราชสยามวงศ์ ให้ทรงจัดแจงสถาปนาพระราชวัง พระที่นั่งมหาปราสาทราชมหาสถาน เพื่อจะเสด็จศุขสำราญในไตรพิธฤดูเปนหมู่ ๆ สามตำบลบ้างสี่ตำบลบ้างเปนเยี่ยงอย่างมาฉนี้ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ทรงจัดแจงกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร มหินทรายุธยาใหม่นี้ ในฝั่งฟากบุรพทิศแห่งแม่น้ำเจ้าพระยามหานทีสำเร็จแล้ว จึงทรงสร้างพระที่นั่งสองหมู่ มีนามพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งพิมานรัตยา พระปรัศซ้ายขวานั้นหมู่หนึ่งฝ่าย ตวันตก พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยนั้น หมู่หนึ่งฝ่ายตวันออก แลที่ในสวนขวาทิศตวันออก พระที่นั่งหมู่ตวันออกนี้ ทรงสร้างไว้แต่พระตำหนักทองที่ประทับในสระน้ำหลัง ๑ พลับพลาที่เสวยริมปากอ่างแก้วน่าเขาฟองน้ำหลัง ๑ สวนนั้น

๘ มีกำแพงแก้วล้อมรอบเปนบริเวณ ครั้นมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเห็นว่า พระตำหนักทองแลพลับพลานั้นย่อมนัก จึงโปรดให้ขยายสวนแลสระให้ใหญ่กว้างออกไป ก่อกำแพงล้อมชั้นนอกเปนวงใหญ่ แล้วทรงสร้างพระที่นั่งทองสามหลัง มีตึกอย่างจีนอย่างยุโรปต่าง ๆ มากกว่าร้อย เรี่ยรายประดับอยู่โดยรอบเปนบริวาร เปนที่ประทับสำราญพระราชหฤไทยฯ ครั้นมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธาโปรดให้รื้อตึกจีนตึกอย่างยุโรปทั้งปวงนั้นไซ้ ไปปลูกสร้างถวายในพระอารามนั้น ๆ เสียจนสิ้น ศิลาก่อเขาศิลาปูพื้นทั้งปวง ก็ให้ลากขนไปประดับประดาในพระอารามหลวงทั้งหมด เปนการฉลองพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยังเหลืออยู่แต่พระที่นั่งใหญ่สามองค์กับพระที่นั่งเย็น อ่างแก้วแลโรงมหาสภากับซุ้มประตูสามแห่ง ทรงดำรัสประภาษอยู่ว่าจะรื้อไปถวายในพระอารามบ้าง จะสร้างเปนพระอารามบ้าง แล้วก็สงบไป การก็งดอยู่จนสิ้นแผ่นดินนั้น ครั้นล่วงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมาแล้ว ถึงแผ่นดินปัตยุบันนี้ จึงทรงพระราชดำริห์ว่า ถ้าจะให้รื้อพระที่นั่งใหญ่สามองค์กับทั้งโรงมหาสภาไปสร้างในพระอารามใด ๆ ฤาจะสร้างเปนพระอารามใหม่ ตามพระราชดำริห์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเล่า ก็ทรงรังเกียจอยู่ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือจะเปนที่เสื่อมเสียสาบสูญพระเกียรติยศแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้เปนเจ้าของเดิมได้ทรงสร้างไว้ เพราะพระราชมณเฑียรสถานที่ใหญ่ ๆ ปรากฏ มีกำหนดว่า

๙ จะทรงสร้างในแผ่นดินนั้น จะไม่มีในพระราชวังนี้เลย อย่างหนึ่งทรงระแวงว่าพระราชดำริห์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าจะให้ รื้อไปถวายฤาสร้างเปนพระอารามดังนั้น เกลือกชรอยเทพยดาที่เปนมเหศรศักดานุภาพ ที่สิงสถิตย์อยู่ในพระที่นั่งนั้นจะไม่เห็นชอบด้วยกระมัง จึงบันดาลให้การรอ ๆ รั้ง ๆ มาจนหาได้รื้อไปไม่ดังนี้ ฯ เพราะฉนั้นครั้นจะให้รื้อใหม่บัดนี้กลัวจะมีเหตุต่าง ๆ ไป ควรจะปฏิสังขรณ์ขึ้นไว้ในที่เดิมจึงจะชอบ ถึงกระนั้นก็ไม่ควรจะทำแลประกอบเปนพระราชมณเฑียร สถาน เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ออกพระโอษฐในพระราชดำริห์ว่า จะถวายในพระพุทธสาสนาเปนพระราชอุทิศ เปนการฉลองพระเดชพระคุณ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น เพราะฉนั้น จึงโปรดสถาปนาการแก้ไขแลปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ให้ดีกว่าเก่า แล้วขนานนามว่าพระพุทธมหามณเฑียร แล้วทรงสถาปนาการสร้างพระพุทธรัตนสถานหลัง ๑ เพิ่มเข้าในทิศตวันออกพระราชมณเฑียรของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น แล้วให้ก่อกำแพงแก้วกั้นเปนส่วนหนึ่ง ตั้งแต่ที่กึ่งพระราชอุทยานสวนขวามาจนมุมทิศพายัพยกเปนพุทธเจดียสถานอารามภายในพระราชวัง เปนที่ประดิษฐานตั้งพระสถูปทองสุวรรณสถูปบรรจุพระบรมพุทธสารีริกธาตุ แลพระพุทธปฏิมากร แก้วผลึก แลพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ แลพระพุทธปฏิมารูปพิเศษต่าง ๆ ไว้เปนที่นมัสการในพระราชวัง ดังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ขนานนามว่าพระพุทธนิเวศน์อีกแห่งหนึ่ง " ดังนี้ ๒

๑๐ ที่นอกกำแพงแก้วบริเวณพระพุทธมณเฑียรข้างด้านตวันออกโปรดให้ทำสวนปลูกพรรณไม้ดอกที่ได้มาแต่ต่างประเทศ ในสวนนั้นสร้างปราสาทน้อยอิกองค์ ๑ เปนที่ประดิษฐานเทวะรูปแก้วผลึกองค์สูง ๑๕ นิ้ว ทรงอุทิศเปนเทพารักษ์สำหรับพระราชวังชั้นใน ( ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อ จะทรงผนวช โปรดให้สร้างพระที่นั่งทรง ผนวชกับสังฆเสนาศนะขึ้นในบริเวณสวนดอกไม้ต่างประเทศข้างด้านเหนือต่อกำแพงแก้วพระพุทธนิเวศน์ แลให้ผูกพัทธสิมาพระวิหารพระพุทธรัตนสถานเปนพระอุโบสถที่ทรงทำสังฆกรรม ที่บริเวณสวนดอกไม้ต่างประเทศข้างด้านตวันออก ก็สร้างทิมดาบข้าราชการอยู่ประจำซอง แลแก้ไขเปนชาลาลานน่าพระกุฎี เมื่อเสร็จการทรงผนวชแล้ว ที่วัดพระพุทธรัตนสถานเปนที่ข้างในทำพิธีพุทธบูชาต่อมา ครั้นล่วงมาหลายปีพระพุทธมหามณเฑียรชำรุดมาก เพราะเมื่อสร้างในรัชกาลที่ ๒ ทำเครื่องไม้เปนโครง ครั้นนานมาไม้ผุเสาขาดก็ทรุดโทรมลงจนพ้นวิไสยที่จะซ่อมแซม ได้แต่จะรื้อของเดิม แล้วสร้างของใหม่ขึ้นแทนทั้งหมดจึงจะคืนดี ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มกับทุนที่จะต้องลง จึงโปรดรื้อเสียทั้งพระพุทธมหามณเฑียรแลพระที่นั่งทรงธรรม คงรักษาแต่มหิศรปราสาทไว้เฉลิมพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ส่วนพระที่นั่งทรงผนวชกับสังฆเสนาศนะนั้น เมื่อทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรโปรดให้รื้อไปปลูกในวัดนั้น แล้วทรงอุทิศเปนเสนาศนะของเจ้าอาวาศ พระพุทธรัตนสถานนั้นยังคงอยู่จนทุกวันนี้ )





โรงกระสาปน์ (อยู่ตรงมุมบริเวณมหาปราสาท)



๑๑ พระอภิเนาวนิเวศน์ ในที่สวนขวาอันเหลือจากที่ทรงสร้างพระพุทธนิเวศน์นั้น โปรดให้สร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่หมู่ ๑ พระราชทานนามเรียกรวมทั้งหมดว่า พระอภิเนาวนิเวศน์เดิมโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติเปนแม่กอง พอลงมือสร้างได้ไม่ช้าสมเด็จเจ้าพระยา ฯ นั้นถึงพิราลัยจึงโปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เปนแม่กอง แลกรมขุนราชสีหวิกรมเปนนายช่างสร้างต่อมาจนสำเร็จ พระที่นั่งแลสถานที่ต่าง ๆ ในพระอภิเนาวนิเวศน์ มีนามต่างกันเปน ๑๐ แห่ง คือ ๑ พระที่นั่งอนันตสมาคม ( ๒ ชั้น อยู่ตรงพระที่นั่งสุทไธสวรรย์เข้ามา ) เปนท้องพระโรง หันน่าไปทิศตวันออก มีมุขด้านน่า ๓ มุข มุขกลางยาว ๓ ห้อง แต่มุขเหนือมุขใต้เปนมุขโถงห้องห้องเดียว ( ถึงรัชกาลที่ ๕ ต่อมุขกลางยาวออกไปหาพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ไว้ทางในระหว่างพระที่นั่งทั้ง ๒ พอเดินกระบวนแห่ แต่โดยปรกติทอดตะพานข้ามทางนั้นเปนทางเสด็จพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ) ๒ พระที่นั่งบรมพิมาน ( ๓ ชั้น ต่อพระที่นั่งอนันตสมาคมเข้าไป ) เปนพระมหามณเฑียรที่พระบรรธมแห่ง ๑ แลเปนทีรับแขกเมืองเฝ้าในที่รโหฐานด้วย (ถึงรัชกาลที่ ๕ เปนที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามที่ได้ทรงสั่งไว้ ตลอดอายุพระอภิเนาวนิเวศน์ ) ๓ พระที่นั่งนงคราญสโมสร ( ๒ ชั้น อยู่ต่อพระที่นั่งบรมพิมานเข้าไป ) เปนท้องพระโรงใน แลเปนที่เสวย.

๑๒ ๔ พระที่นั่งจันทรทิพโยภาศ ( ๓ ชั้น อยู่ข้างด้านใต้พระที่นั่งนงคราญสโมสร ) เปนพระวิมานที่พระบรรธมแห่ง ๑ ๕ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ ( ๓ ชั้น เหมือนพระที่นั่งจันทร อยู่ข้างด้านเหนือพระที่นั่งนงคราญสโมสร ) เปนพระวิมานที่พระบรรธมอิกแห่ง ๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตที่พระนั่งภาณุมาศจำรูญนี้ ๖ พระที่นั่งมูลมณเฑียร พระตำหนักเดิมซึ่งเสด็จประทับเมื่อในรัชกาลที่ ๒ โปรดให้รื้อมาแก้ไขเปนตึก ปลูกขึ้นในระหว่างพระที่นั่งภาณุมาศจำรูญกับบริเวณพระพุทธนิเวศน์ ( ในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชศรัทธาโปรดให้รื้อไปปลูกที่วัดเขมาภิรตาราม ทรงพระราชอุทิศเปนโรงเรียน โดยทำนองเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อพระตำหนักของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระบรมราชชนนี ไปสร้างทรงพระราชอุทิศเปนเสนาศนะเจ้าอาวาศ มาแต่ก่อนฉนั้น พระที่นั่งมูลมณเฑียรยังอยู่จนทุกวันนี้ ) ๗ หอเสถียรธรรมปริต เปนที่พระสวดพระปริต อยู่ริมกำแพง พระอภิเนาวนิเวศน์ตรงมุมตวันออกเฉียงเหนือข้างน่าพระที่นั่งอนันตสมาคม ๘ หอราชฤทธิรุ่งโรจน์ เปนที่ไว้เครื่องพระพิไชยสงคราม อยู่ต่อหอเสถียรธรรมปริตมาทางตวันตก ๙ หอโภชนลีลาส เปนที่มีการเลี้ยงโต๊ะพระราชทาน คือ เลี้ยงแขกเมืองเปนต้น อยู่ข้างด้านใต้พระที่นั่งอนันตสมาคม

๑๓ ๑๐ พระที่นั่งประพาศพิพิธภัณฑ์ เปน ( มิวเซียม ) ที่ไว้สิ่งของต่าง ๆ สำหรับทอด พระเนตร อยู่ข้างด้านใต้พระที่นั่งอนันตสมาคม ( ในรัชกาลที่ ๕ รื้อพระที่นั่งประพาศพิพิธภัณฑ์ สร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทตรงนั้น ) ๑๑ พระที่นั่งภวูดลทัศไนย ( นามขนานต่อสัมผัสข้างน่าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ อนันตสมาคม ) เปนพระที่นั่งสูง ๕ ชั้น ชั้นยอดมีนาฬิกา ๔ ด้าน สร้างในสวนตรงน่าพระพุทธนิเวศน์ บริเวณพระอภิเนาวนิเวศน์ข้างด้านตวันออก มีเขื่อนเพ็ชร์เปนเขตรข้างน่าพระที่นั่งอนันตสมาคม มีประตูเขื่อนเพ็ชร์ตรงมุขพระที่นั่ง ๓ ประตู ๆ ข้างใต้ชื่อประตูทักษิณสิงหร ประตูข้างเหนือชื่อประตูอุดรสิงหาศน์ ประตูกลางชื่อประตูเทวราชดำรงศร ตัวเขื่อนเพ็ชร์ระหว่างประตูตอนเหนือเปนห้องอาลักษณ ตอนใต้เปนห้องเครื่องมหาดเล็ก นอกเขื่อนเพ็ชร์แถวนี้ออกไปมีกำแพงสกัดแต่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์มาหาเขื่อนเพ็ชร แลมีประตูไม้โค้งแทนประตูหูช้างอย่างเดิม ทั้งข้างเหนือ แลข้างใต้ ภายในเขื่อนเพ็ชรมีประตูอยู่ข้างด้านเหนือพระที่นั่งอนันตสมาคมประตู ๑ ชื่อประตูแถลงราชกิจ เปนเขตรฝ่ายน่าต่อกับฝ่ายใน ส่วนบริเวณข้างฝ่ายในสร้างแถวเต๊งตามเขตรสวนขวาเดิมเปนเขตรทั้ง ๓ ด้าน แลสร้างฉนวนทางพระบิณฑบาตยาวตามทิศตวันออกไปตวันตก ปันเขตรที่ต่อกับพระพุทธนิเวศน์ตอน ๑ ฉนวนนั้นเลี้ยวหักไปข้างใต้ทางหลังพระที่นั่งนงคราญสโมสร จนถนนประตูราชสำราญ เปนฉนวนที่ปันเขตรสวนที่ยังคงอยู่อิกตอน ๑

๑๔ พระอภิเนาวนิเวศน์ ลงมือสร้างเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๕ สร้าง อยู่ ๕ ปี ได้เสด็จเฉลิมพระราชมณเฑียร เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๐๐ กระแสพระราชดำริห์ที่ทรงสร้างพระอภิเนาวนิเวศน์ มีปรากฏอยู่ในประกาศเทวดาในงานพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรดังนี้ " ทรงพระราชดำริห์ให้สถาปนาพระที่นั่งราชมหามณเฑียรสถานขึ้นใหม่อีกหมู่ ๑ มีพระที่นั่งหลายองค์เนื่องกัน คือพระที่นั่งภูวดลทัศไนยให้เปนคู่กับพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งอยู่บนกำแพงพระราชวังข้างทิศตวันออกนั้น แลพระที่นั่ง อนันตสมาคม พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งสงคราญสโมสร พระที่นั่งจันทรทิพโยภาศ พระที่นั่งภาณุ มาศจำรูญ พระที่นั่งมูลมณเฑียร มีหอเสถียรธรรมปริต หอราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ หอโภชนลีลาศ แลพระที่นั่ง ประพาศพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในสถานนั้น ๆ ที่ควรโดยรอบคอบ พระที่นั่งมหามณเฑียรอภิเนาวนิเวศน์นี้ ทรงสถาปนาประดิษฐานขึ้นทั้งนี้ ใช่จะลุ่มหลงมัวเมาด้วยเบญจพิธกามคุณฤดี ไม่เห็นพระไตรลักษณ์แล ความชราพยาธิมรณสังเวควัตถุนั้นก็หามิได้ ซึ่งทรงสร้างขึ้นทั้งนี้หวังพระราชหฤทัยจะให้เปนพระเกียรติยศแด่พระบารมีแผ่นดินประจุบันนี้สืบไปภายน่า ดังหนึ่งพระที่นั่งมหามณเฑียรเดิม แลหมู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เปนพระเกียรติยศแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระที่นั่งพุทธมหามณเฑียรแลโรงช้างเผือกทั้ง ๔ เปนพระเกียรติยศแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แลพระที่นั่ง


๑๕ สุทไธสวริยปราสาท เปนพระเกียรติยศแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ อนึ่งในแผ่นดิน ประจุบันนี้ได้มีทางพระราชไมตรีด้วยพระมหานครใหญ่ ๆ ในแผ่นดินยุโรปแลทวีปอเมริกา ล้วนบรรดาซึ่งเปนประเทศไม่ต้องขึ้นแด่เมืองอื่นเมืองใดหลายพระนคร มีสิ่งของเครื่องราชบรรนาการมาถวาย เจริญทางพระราชไมตรีล้วนดี ๆ หลายอย่างต่าง ๆ ของจำพวกนี้จะทรงพระราชศรัทธาถวายบูชาพระรัตนไตรยในพระอารามหลวงเสียก็หาควรไม่ เพราะทูตที่มาแต่เมืองเจ้าของเครื่องราชบรรณาการเหล่านั้นก็เข้ามาเนือง ๆ แล้วถามว่าเครื่องราชบรรณา การเหล่านั้นยังคงเก็บไว้เปนที่รฦกถึงทางพระราชไมตรีสืบไปฤา ครั้นเมื่อจะจัดประดับประดาในพระที่นั่งสร้างอย่างสยามตามอย่างช่างโบราณ ก็ดูจะพานขัดพระเนตร เปนที่ยิ้มเย้ยของแขกเมืองที่มาแต่ประเทศยุโรปจะพึงว่าได้ ว่าของสำหรับใช้อย่างอื่นเอามาใช้อย่างอื่นไป เพราะฉนั้นจึงโปรดให้ช่างสร้างพระอภิเนาวนิเวศน์ โดยแบบอย่างท่วงทีละม้ายคล้ายกับราชนิเวศน์ ซึ่งมีในมหานครข้างโยรปิยปถพี เพื่อจะต้องท่วงทีกับสิ่งเครื่องประดับประดาที่ได้มาแต่โยรปิยมหานครต่าง ๆ ไว้สำหรับรับแขกเมือง แลรฦกถึงทางพระราชไมตรีด้วยพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ในโยรปิยปถพี เพราะทอด พระเนตรเห็นของราชบรรณาการพิเศษที่กล่าวมานี้อยู่เนือง ๆ นั้น " ดังนี้ ( ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อสร้างพระอภิเนาวนิเวศน์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับอยู่ที่พระอภิเนาวนิเวศน์เปนพื้น เสด็จมาประทับพระราชมณเฑียรเดิม คือที่หมู่พระที่นั่ง

๑๖ จักรพรรดิพิมานเปนครั้งเปนคราว ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ เสด็จมาประทับที่พระราชมณเฑียรเดิม แล้วต่อมาสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นที่พระตำหนักเดิม คือหมู่พระที่นั่งจักรีเปนที่ประทับ ที่พระอภิเนาวนิเวศน์เปนแต่ที่เสด็จออกมหาสันนิบาต แลทำการพระราชพิธีที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเปนครั้งเปนคราว เช่นเสด็จออกวันประชุมตราจุลจอมเกล้าแลการฉลองไตรปีเปนต้น แลพระราชมณเฑียรทั้งปวงในหมู่พระ อภิเนาวนิเวศน์นั้นสร้างด้วยโครงเครื่องไม้ประกอบอิฐปูนเปนพื้น อยู่ได้สัก ๓๐ ปี พอไม้โครงผุก็ทรุดโทรมพ้นวิสัยที่จะซ่อมแซมให้คืนดีได้จึงต้องรื้อหมดทั้งหมู่ แล้วปราบที่ทำเปนสวนสืบมา ) สถานที่ต่าง ๆ ในบริเวณพระราชวังชั้นใน เขื่อนเพ็ชรอันเปนเขตรพระราชวังชั้นใน เดิมทำเปนทิมแถวชั้นเดียว โปรดให้ทำใหม่เปนเล่าเต๊ง ๒ ชั้น ทั้งด้านตวันออกแลตวันตก แต่ด้านใต้นั้นทรงพระราชดำริห์ว่า พระราชวังชั้นในตอนที่ขยายออกไปทางวัดพระเชตุพนเมื่อในรัชกาลที่ ๒ นั้น ยังไม่ได้สร้างสิ่งใดขึ้นเปนที่ว่างร้างอยู่ในพระบรมมหาราชวังกว้างขวางนัก จึงโปรดให้กั้นเขตรข้างในพระราชวังเสียอิก คือให้สร้างเล่าเต๊งเขื่อนเพ็ชร์ขึ้นเปนแนวกำแพงด้านใต้ ๒ ชั้น ชั้นในเรียกว่าเต๊งแถวท่อ เพราะทำตามแนวท่อที่ไขน้ำเข้าในวัง ท่อนี้แต่เดิมเปนท่อเปิดเหมือนกับคลอง เปนทางไขน้ำเข้ามาใช้ในพระราชวัง แลให้น้ำไปลงสระสวนขวา โปรดให้ก่อปิดทำเปนพื้นถนน เปิดเปนปากบ่อไว้สำหรับตักน้ำใช้เปนระยะ




พระพุทธมณเฑียร พระพุทธรัตนสถานอยู่ซ้ายมือ



๑๗ นอกเต๊งแถวท่อออกไปสร้างเต๊งอีกแถว ๑ ยาวแต่ตวันออกไปตวันตกเหมือนกับเต๊งแถวท่อ เรียกกันว่าเต๊งแดง ( เพราะแต่แรกโบกปูนเปนสีแดง ) ที่ระหว่างเต๊งแถวท่อกับเต๊งแดงเรียกว่าแถวกลางมีประตูที่ เต๊งทั้ง ๒ แถว นอกเต๊งแดงออกไปจนแถวทิมอันเปนเขตรพระราชวังชั้นในของเดิมไว้ที่อิกตอน ๑ เรียกว่าแถวนอก ในที่ตอนแถวนอกนี้ โปรดให้สร้าง ปราสาทน้อยขึ้นองค์ ๑ ทรงพระราชดำริห์ว่าจะให้เปน ที่ประดิษฐานพระอัฐิเจ้านายฝ่ายใน มีศาลาที่พักสำหรับผู้ไปบำเพ็ญ การกุศลด้วย ปราสาทนี้สร้างค้างอยู่จนตลอดรัชกาล สำเร็จแต่ เต๊งทั้ง ๒ แถวที่กล่าวมา ยังอยู่จนทุกวันนี้ สถานที่ต่าง ๆ ที่ทรงสร้างในบริเวณพระราชวังชั้นกลาง หอธรรมสังเวช นอกกำแพงแก้ว พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาททางด้านตวันตก ( ระหว่างประตูพรหมจนประตูศรีสุนทร )เดิมมีโรงสำหรับครูผู้ชายหัด ลครหลวง สร้างไว้แต่ในรัชกาลที่ ๒ โปรดให้รื้อโรงลครเสียสร้างหอ ที่ไว้พระศพเจ้านายฝ่ายในหอ ๑ ขนานนามว่า หอธรรมสังเวช แลหอสำหรับทำพิธี คือกวนเข้าทิพเปนต้นต่อมาอิกหลัง ๑ ( ขนานนามในรัชกาลที่ ๕ ว่า หอนิเพทพิทยา รื้อในรัชกาลปัตยุบันนี้ทั้ง ๒ หอ ) หอพิธีพราหมณ์ นอกกำแพงแก้วพระมหาปราสาทด้านเหนือ ตรงมุมถนนออกประตูสุวรรณบริบาลฟากตวันตก โปรดให้สร้างตึกเปนหอพระไสยสาตรหลัง ๑


๑๘ เปนที่พราหมณ์ทำพิธี มิให้ต้องปลูกโรงเครื่องผูกทุกคราวงานพิธี เช่น ตรุษสารทเปนต้น ดังแต่ก่อน เรียกว่า หอพิธีพราหมณ์ (หอพิธีพราหมณ์นี้ในรัชกาลที่ ๕ รื้อย้ายมาปลูกใหม่เมื่อสร้างโรงกสาปน์ใหม่) โรงกสาปน์ โปรดให้สร้างโรงเครื่องจักรสำหรับทำเงินเหรียญขึ้นที่น่าพระคลังมหาสมบัติ (ที่ทำเงินพด ด้วงแต่ก่อน) ตรงมุมถนนนอกประตูสุวรรณบริบาลข้างตวันออก พระราชทานนามว่า โรงกสาปน์สิทธิการ เหตุที่สร้างโรงกสาปน์นี้ได้ความว่า ตั้งแต่ทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศเมื่อในรัชกาลที่ ๔ การค้าขายกับต่างประเทศเจริญขึ้นรวดเร็ว พวกพ่อค้ามาขอแลกเงินบาทพระคลัง มหาสมบัติทำเงินพดด้วงโดยวิธีอย่างเก่าให้ไม่ทัน เมื่อราชทูตไทยไปเมืองอังกฤษคราวแรก เมื่อปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๐๐ จึงโปรดให้ไปซื้อ เครื่องจักรมาสร้างโรงกสาปน์ ทำเงินเหรียญบาทแลเงินสลึงเงินเฟื้องจำหน่ายแทนเงินพดด้วง แต่ปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ แล้วทำทองแดงซีกแลเสี้ยวแลอัฐตะกั่วใช้แทนเบี้ย แต่ปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๕ เปนต้นมา ถึงรัชกาลที่ ๕ โรงกสาปน์นี้เล็กไปไม่พอแก่การ โปรดให้สร้างโรง กสาปน์ใหม่ทางข้างตวันออกประตูสุวรรณบริบาล โรงกสาปน์เก่าใช้ เปนโรงหมอตอน ๑ เหลือ นั้นใช้เปนคลังทหารมาจนปีระกา พ.ศ. ๒๔๔๐ เกิดไฟใหม้ตึกโรงกสาปน์เก่าหมดทั้งหลัง จึงแก้ไขซ่อมแซมใช้เปนคลังชาวที่แต่นั้นมา

๑๙ โรงพระยาช้างต้น โรงพระยาช้างต้นของเดิมมี ๔ โรง (อยู่ตรงที่สร้างพระที่นั่ง จักรีมหาปราสาท) โปรดให้สร้างเพิ่มเติมขึ้นที่ริมกำแพงชั้นกลางด้านเหนือพระมหาปราสาท ทางฝ่ายตวันตกโรง ๑ ฝ่ายตวันออกโรง ๑ โรงพระยาช้างต้นของเดิมใช้แผ่นดินเปนพื้นโรง โปรดให้ยกพื้นปูกระดานทั้งโรงช้างเดิมแลที่สร้างใหม่ (ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อถึงพระที่นั่งใหม่หมู่พระที่นั่งจักรี โรงช้าง ต้นของเดิมกีด จึงต้องย้ายออกไปสร้างที่หลังศาลาลูกขุนทั้ง ๔ หลังยังปรากฏอยู่บัดนี้ โรงพระยาช้างต้นที่สร้างในรัชกาลที่ ๔ ที่อยู่ด้านน่าพระมหาปราสาท รื้อเมื่อสร้างโรงกสาปน์ใหม่หลัง ๑ รื้อสร้างโรง เรียนราชกุมารหลัง ๑ หอนาฬิกา โปรดให้กรมขุนราชสีหวิกรมทรงคิดแบบสร้างหอนาฬิกาขึ้นที่ทิมดาบโรงนาฬิกาเดิมหลัง๑ สูง ๑๐ วา มีนาฬิกาทั้ง ๔ ด้าน (หอนาฬิกานี้เห็นจะอยู่ตรงมุขเด็ดพระที่นั่งจักรีทีเดียว รื้อเสียเมื่อจะสร้างทิมดาบใหม่ในรัชกาลที่ ๕ ) สังฆาศนศาลา โปรดให้สร้างตึก ๒ ชั้นขึ้นหลัง ๑ ในระหว่างทิมดาบกับฉนวนออกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ขนานนามว่า สังฆาศนศาลา เปนที่พักพระสงฆ์ซึ่งนิมนต์เข้ามาในวัง ( สังฆาศนุศาลาอยูตรงโรงนาฬิกาเดี๋ยวนี้ รื้อเสียเมื่อจะสร้างทิมดาบใหม่รัชกาลที่ ๕ )

๒๐ ในบริเวณโรงแสงต้น ( อยู่ในบริเวณพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ บัดนี้ ) โปรดให้สร้างตึก ๒ ชั้น เปนโรงพิมพ์หนังสือหลัง ๑ พระราชทานชื่อว่า โรงอักษรพิมพการ ข้างเหนือโรงพิมพ์ต่อไปสร้างโรงกลั่น ลม ( แกส ) จุดประทีปในพระราชวัง ( โรงพิมพ์รื้อเมื่อเลิกโรงพิมพ์ หลวงในรัชการที่ ๕ ) โรงแกสนั้นย้ายไปตั้งที่ ( ตลาดเสาชิงช้า ) น่าวัดสุทัศน์ รื้อเสียเมื่อใช้ไฟฟ้า สถานที่ต่างๆ ที่ทรงสร้างในบริเวณพระราชวังชั้นนอก โรงปืนใหญ่ ศาลาลูกขุนในของเดิมเปน ๒ หลัง โปรดให้สร้างโรงใหญ่ที่ระหว่างศาลาลูกขุนนั้นหลัง ๑ เปนที่เก็บรักษาปืนใหญ่สำหรับเฉลิมพระ เกียรติยศ คือปืนพระยาตานีเปนต้น ที่สระน้ำน่าศาลาลูกขุนฝ่าย ขวาก็โปรดให้ลงเขื่อนแลสร้างเก๋งขึ้นเปนเครื่องประดับ ( โรงปืนแลสระรื้อแลถมเสียในรัชกาลที่ ๕ เมื่อสร้างศาลาลูกขุนรวมเปนหลังเดียวกัน ) โรงทหารรักษาพระองค์ ที่ริมกำแพงพระราชวังระหว่างประตูพิมานเทเวศร์กับประตูวิเศษไชยศรีนั้น เดิมมีทิมพล โปรดให้รื้อทำโรงยาวสำหรับทหารรักษา พระองค์อยู่ ( ถึงรัชกาลที่ ๕ โปรดให้รื้อโรงทหารรักษาพระองค์นั้นสร้างเปน ตึก ๒ ชั้น สำหรับจะเปนที่นายทหารมหาดเล็กอยู่ ในเวลากำลัง


๒๑ สร้างตึกนั้นอยู่ โปรดให้จัดการพระคลังมหาสมบัติ จะต้องมีที่ว่า การกระทรวงพระคลัง จึงพระราชทานตึกนั้นเปนที่ว่าการกระทรวงพระคลัง ขนานนามว่า หอรัษฎากรพิพัฒน์ ) ประตูพระราชวัง โปรดให้แก้ประตูพระราชวังชั้นนอกทำเปนยอดปรางค์ แลเพิ่มบานให้เปน ๒ ชั้น แต่หาทันแล้วสำเร็จทุกประตูไม่ ( ประตูพระราชวังชั้นนอกเมื่อแรกสร้างในรัชกาลที่ ๑ ทำด้วยเครื่องไม้ยอดทรงมณฑป ถึงรัชกาลที่ ๓ สร้างเปนเครื่องก่ออิฐถือ ปูน ทำเปนซุ้มฝรั่ง ตามแบบประตูพระราชวังชั้นนอกที่กรุงเก่า เหมือนอย่างประตูรัตนพิศาลที่ยังเหลืออยู่บัดนี้ ที่แก้เปนยอดปรางค์ ในรัชกาลที่ ๔ ก็ถ่ายอย่างมาแต่ประตูพระราชวัง ( ชั้นกลาง ) ครั้งกรุงเก่าเหมือนกัน ป้อมรอบพระราชวัง โปรดให้สร้างป้อมที่กำแพงพระราชวังเพิ่มขึ้นข้างด้านตวันออก ๓ ป้อม คือ ป้อมสัญจรใจวิง ตรงถนนบำรุงเมืองป้อม ๑ ป้อมขยันยิง ยุทธ ริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ข้างเหนือป้อม ๑ ป้อมฤทธิรุตม์โรมรัน ริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ข้างใต้ป้อม ๑ โปรดให้สร้างพลับพลาบนป้อมขันธ์เขื่อนเพ็ชร์ ริมประตูวิเศษ ไชยศรี เปนที่เสด็จออกทอดพระเนตรช้างน้ำมันแห่ง ๑ สร้างพระที่ นั่งบนกำแพงพระราชวังตรงน่าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระราชทาน


๒๒ นามว่า พระที่นั่งไชยชุมพลองค์ ๑. (นามพระที่นั่งไชยชุมพลสัมผัสเข้าลำดับต่อพระที่นั่งอมริทร วินิจฉัย ต่อน่าพระที่นั่งภูวดลทัศไนย ) พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ โปรดให้ปฏิสังขรณ์พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ( เห็นจะคราวเดียวกับสร้างพระอภิเนาวนิเวศน์ ) ของเดิมเปนฝาไม้แก้เปนตึกในครั้งนี้ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์นี้เมื่อสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เปนพลับพลาโถงจตุรมุข ( เหมือนอย่างพลับพลาสูงวังน่าซึ่งสร้างเมื่อในรัชกาลที่ ๔ นั้น ) จึงเรียกว่าพลับพลาสูง ถึงรัชกาลที่ ๓ โปรด ฯ ให้แก้เปน ปราสาทแต่ยังเปนเครื่องไม้ พระราชทานนามว่า พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ถึงรัชกาลที่ ๔ ทรงเปลี่ยนนามเปนพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ต่อมาถึง รัชกาลที่ ๕ ได้ซ่อมแซมใหม่อิกครั้ง ๑ ในรัชกาลปัจจุบันนี้แก้ไข ข้างในอีกบ้างเล็กน้อย ตำหนักสวนกุหลาบ ที่สวนกุหลาบข้างด้านใต้พระอภิเนาวนิเวศน์ โปรดให้แก้ที่คลัง ศุภรัตเดิมสร้างเปนตำหนักพระราชทานเปนที่ประทับของพระบาทสม เด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อลาผนวชสามเณรแล้วแห่ง ๑. สถานที่ต่าง ๆ ที่ทรงสร้างแลปฏิสังขรณ์ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จะพรรณาในตอนว่าด้วยพระอารามทั้งหลายที่ทรงสร้างแลปฏิสัง ขรณ์ อันจะปรากฏข้างน่าต่อไป.



ประมาณแผนผังพระอภิเนาวนิเวศน์



๒๓ สถานที่ต่าง ๆที่ทรงสร้างรอบนอกพระราชวัง ท้องสนามหลวง ที่ทุ่งข้างเหนือพระราชวัง เดิมเรียกว่าทุ่งพระเมรุ โปรดให้เรียก ว่าท้องสนามหลวง แลตอนข้างใต้ ในสนามนั้นโปรดให้สร้างบริเวณสำหรับการพระราชพิธีพืชมงคลแลพิธีพรุณสาตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ข้างในสร้างหอพระเปนที่ประดิษฐานพระสำหรับการพิธี มีพระพุทธคันธารราฐเปนต้น หลัง ๑ มีพลับพลาที่ทำการพระราชพิธีหลัง ๑ มีหอสำหรับดักลมลงที่พลับพลาหลัง ๑ ข้างพลับพลามีโรงลครสำหรับเล่นบวงสรวงหลัง ๑ ข้างด้านเหนือมีพลับพลาน้อยสร้างบนกำแพงแก้ว สำหรับประทับทอดพระเนตรทำนาในทุ่งนั้นหลัง ๑ แลสร้างฉางสำหรับไว้เข้านาหลวงในบริเวณนั้นด้วยอิกหลัง ๑. ( การทำนาที่ทุ่งพระเมรุที่กล่าวกันว่าตั้งต้นทำเปนการหลวงเมื่อในรัชกาลที่ ๓ ประสงค์จะให้ปรากฏไป ถึงนานาประเทศว่า เมืองไทยบริบูรณ์ด้วยเข้าปลาอาหารมีไร่นาจนกระทั่งใกล้ ๆ พระราชวัง เพราะ ไทยเอาใจใส่ในการสะสมเสบียงอาหารไว้เปนกำลังบ้านเมือง ด้วยในสมัยนั้นมีทูตญวนไปมาอยู่กับเมืองไทยเนือง ๆ จึงทำนาในท้องสนามหลวงตลอดมาจนรัชกาลที่ ๔ ที่พลับพลาท้องสนามหลวงเปนที่ทำพระราชพิธีพืชมงคลแลพิธีพรุณสาตรมาจนในรัชกาลที่ ๕ ครั้นเมื่อทำสนามใหญ่ที่บริเวณนั้นกีดอยู่ในสนาม ทั้งสถานต่าง ๆ มีพลับพลาเปนต้นชำรุดทรุดโทรม จึงโปรดให้รื้อเสียหมด )


๒๔ ท้องสนามไชย ทางด้านตวันออกพระราชวัง ที่สนามน่าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ให้ปักเสานางเรียงเปนเขตร ข้างเหนือแถว ๑ ข้างใต้แถว ๑ ในบริเวณนั้นให้เรียกว่าท้องสนามไชย เอาพระที่นั่งสุทไธสวรรย์เปนกึ่งกลาง สร้างแท่นเบญจาเปนที่ข้าราชการเฝ้าข้างน่าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ มีเกยช้างอยู่ข้างเหนือ แลเกยพระราชยานอยู่ข้างใต้ ตรงน่าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ข้ามฟากสนามหลวงโปรดให้สร้างตึก ๒ ชั้น เปนที่สำหรับนายทหารอยู่แถว ๑ ต่อไปข้างเหนือ ( ตรงวังสราญรมย์ ) สร้างโรง ทหารแถว ๑ (สนามน่าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ เดิมมักเรียกว่า " สนามน่า จักรวรรดิ" อย่างสนามน่าพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ในกรุงเก่า จึง โปรดให้ขนานนามว่า สนามไชย ตามตำราโบราณ ที่ปักเสานางเรียงแลสร้างแท่นเบญจานั้น ก็ทำตามโบราณเหมือนกัน ) โรงม้าแซง เหนือสนามไชยไปถึงหัวถนนบำรุงเมืองซึ่งสร้างใหม่ โปรดให้ สร้างโรงม้าแซง ๒ ข้าง โรงโขน อยู่กลาง ตรงน่าพระที่นั่งไชยชุมพล ศาลเทพารักษ์ แลที่ศาลหลักเมือง เดิมหลังคาเปนศาลา โปรดให้ก่อเปนยอดปรางค์ตามแบบอย่างศาลาที่กรุงเก่า แลที่ศาลพระเสื้อเมือง ศาลพระทรงเมือง ศาลพระกาฬ แลศาลเจ้าเจตคุปต์ เดิมเปนหลังคาศาลา ก็โปรดให้ ก่อเปนยอดปรางค์เหมือนกับศาลาหลักเมือง

๒๕ หอกลอง หอกลองที่น่าหับเผย (ในบริเวณสวนเจ้าเชตบัดนี้ ) นั้น โปรด ให้ซ่อมแซมแล้วแก้ทรงหลังคา ของเดิมเปนทรงยอดเกี้ยว แก้เปน ยอดทรงมณฑป. สิ่งซึ่งทรงสร้างในวัดพระเชตุพนจะงดไว้พรรณาในตอนที่ว่าด้วยพระอารามใหญ่น้อยที่ทรงสร้างแลบูรณปฏิสังขรณ์ต่อไป. ศาลต่างประเทศ ที่เหนือท่าเตียนโปรดให้สร้างตึกขึ้น ๔ หลัง หลังใต้เปนที่กรม ท่ารับกงสุลต่างประเทศ แลต่อมาใช้เป็นศาลต่างประเทศด้วย ตึกต่อ ขึ้นมาเปนที่สำหรับแขกเมือง แลเปนที่อยู่ของฝรั่งที่รับราชการ. ( สถานที่ต่าง ๆ ซึ่งทรงสร้างด้านตวันออกแลด้านใต้พระราชวังดังกล่าวมานี้ ยังคงอยู่บัดนี้แต่ศาลหลักเมืองแลศาลเทพารักษ์ที่ในบริเวณสวนเจ้าเชตอิก ๔ ศาล กับตึกแถว ๒ ชั้นที่น่าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ นอกจากนั้นรื้อในรัชกาลที่ ๕ เมื่อสร้างศาลาว่าการกระทรวงกระลาโหมบ้าง เมื่อขยายเขตรวังสราญรมย์บ้าง เมื่อแต่งท้องสนามไชยบ้าง เมื่อย้ายคุกไปที่คุกใหม่บ้าง ) ท่าราชวรดิฐ ด้านตวันตกพระราชวัง ที่พระตำหนักน้ำเดิมเปนตำหนักปักเสาลงในน้ำ ทอดคานเหมือนอย่างเรือนแพ แต่หลังคามุงกระเบื้อง โปรดให้รื้อตำหนักของเดิมเสีย แล้วลงเขื่อนถมที่ขึ้นเสมอพื้นแผ่นดิน


๒๖ สร้างพระที่นั่งขึ้นหมู่ ๑ เปนพลับพลาสูงตรงกลางองค์ ๑ พระราชทานนามว่า พระที่นั่งชลังคพิ มาน ต่อพลับพลาสูงเข้าไปทางด้านตวันออกมีพระที่นั่งสูงเปนที่ประทับองค์ ๑ พระราชทานนามว่าพระที่นั่งทิพยสถานเทพสถิตย์ พระที่นั่งข้างเหนือลดพื้นต่ำลงมาเปนท้องพระโรงฝ่ายน่าองค์ ๑ พระราชทานนามว่าพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย มีพระที่นั่ง ข้างใต้เหมือนกันกับองค์ข้างเหนือ เปนที่พักฝ่ายในอิกองค์ ๑ พระ ราชทานนามว่าพระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์ ตรงน่าพระที่นั่งชลังคพิมาน ใต้ท่าทางเสด็จลงเรือ ก่อเขื่อนทำสระเปนที่สรงสระ ๑ ก่อกำแพงเปนบริเวณข้างในทั้ง ๓ ด้าน มีป้อมริมน้ำปลายแนวกำแพงด้านเหนือ พระราชทานชื่อว่า ป้อมพรหมอำนวยศิลป์ป้อม ๑ ป้อมข้างใต้ตรง กันชื่อ ป้อมอินทร์อำนวยศรป้อม ๑ โปรดให้เรียกรวมกันทั้งบริเวณว่าท่าราชวรดิฐ ข้างเหนือขึ้นไปให้ทำท่าสำหรับเรือข้าราชการอีกท่า ๑ โปรดให้เรียกว่า ท่านิเวศน์วรดิฐ. ประปา ที่เหนือท่านิเวศน์วรดิษฐ โปรดให้ตั้งเครื่องสูบน้ำด้วยเครื่องจักรแลสร้างถังสูงสำหรับขังน้ำที่สูบขึ้นไปจากแม่น้ำ แล้วฝังท่อไขน้ำเข้าไปใช้ในพระราชวัง ( ประปาที่ยังใช้มาจนตลอดรัชกาลที่ ๕ พึ่งเลิกเมื่อมีประปาสำหรับพระนคร ) ( ในรัชกาลที่ ๕ พระที่นั่งในบริเวณท่าราชวรดิฐผุชำรุด โปรดให้ซ่อมรักษาไว้แต่พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ยังคงอยู่จนบัดนี้ นอกนั้นให้รื้อปราบที่ทำสนามเมื่อขยายเขื่อนออกไปข้างน่า) ๒๗ ประปา ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล ที่ในพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงสร้างพระที่นั่งเก๋งขึ้นข้างด้านเหนือพระวิมานองค์ ๑ พระราชทานนามว่า " พระที่นังบวรบริวัตร " เปนที่ประทับเวลาเสด็จขึ้นไปพระบวรราชวัง เวลาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว. ( พระที่นั่งเก๋งนี้ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มสร้างได้หน่อยหนึ่งค้างอยู่เปนแต่ทรงสร้างให้สำเร็จ ด้วยเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว ทรงพระปริวิตกว่าพระบวรราชวังจะเปนวังร้าง พระราชวงศ์ฝ่ายในทางพระราชวังบวรฯ ก็ยัง มีอยู่ทั้ง ๔ รัชกาลจะทรงว้าเหว่นัก จึงทรงพระอุสาหะเสด็จขึ้นไปประทับเปนประธานอยู่ในพระบวรราชวังเปนครั้งเปนคราว ด้วยเหตุนี้จึงโปรด ให้สร้างพระที่นั่งบวรบริวัตรขึ้นเปนที่ประทับ พระที่นั่งบวรบริวัตยังอยู่บริบูรณ์ในบัดนี้ ) พระราชวังนันทอุทยาน โปรด ฯ ให้ซื้อสวนในคลองมอญทางฝั่งเหนือตำบล ๑ แล้วโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติเปนนายงาน สร้างพระราชวังขึ้นในที่นั้นอิกแห่ง ๑ พระราชทานนามว่า วังนันทอุทยาน มีพระตำหนักที่เสด็จประทับแลตำหนักข้างในอิกหลายหมู่ มีเขื่อนเพ็ชรล้อม แล้วขุดคลองต่อจากคลองมอญเข้าไปจนถึงที่ประทับที่สร้างนั้น ลงมือสร้างได้หน่อยหนึ่ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติถึงพิราลัย

๒๘ จึงโปรดให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิทเปนนายงานต่อมา จนถึงปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๘ จึงหยุดการสร้างวังนันทอุทยาน. (วังนันทอุทยานลงมือสร้างเมื่อปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๐๐ เหตุที่ทรงสร้างวังนันทอุทยานนี้ โดยทรงพระราชปรารภว่า ถ้าพระองค์เสด็จสวรรคตลง พระราชโอรสธิดาแลเจ้าจอมมารดาอยู่ในพระบรมมหา ราชวังบางทีจะลำบาก ฤๅมิฉนั้นก็กีดขวางแก่พระบาทสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งจะรับรัชทายาท จึงทรงสร้างวังนันทอุทยานขึ้นเปนที่ประพาศ แลเตรียมไว้สำหรับเปนที่อยู่ของพระราชโอรสธิดา ในเวลาเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเสียก่อน ไม่มีข้อปัญหาที่ทรงปรารภไว้ พอพระเจ้าลูกเธอพระองค์ชายทรงพระเจริญขึ้นหลายพระองค์ ถึงเวลาที่จะต้องสร้างวัง จึงโปรดให้รื้อตำหนักฝ่ายในที่วังนันทอุทยานมาสร้างตำหนักพระราชทาน ที่วังพระเจ้าลูกเธอ คือ วังกรมหลวงพิชิตปรีชากรแห่ง ๑ วังกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์แห่ง ๑ วังกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์แห่ง ๑ วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสรแห่ง ๑ วังกรมขุนศิริธัชสังกาศแห่ง ๑ ที่ไม่ได้ พระราชทานตำหนักนันทอุทยานมีบ้าง คือ วังกรมพระนเรศร์วรฤทธิ แห่ง ๑ เพราะเจ้าพระยามหาโยธา ทอเรีย คชเสนี ปู่ของเจ้าจอมมารดากลิ่น ยกที่บ้านเรือน (ตรงวังที่ประทับทุกวันนี้) ถวายสมโภช เมื่อประสูตร แลกรมหลวงอดิศรอุดมเดช กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมทั้ง ๒ พระองค์นี้ ได้พระราชทานวังเก่าอันมีตำหนักอยู่แล้ว ส่วนพระ



ทางเข้าพระที่นั่งอนันตสมาคม




๒๙ ตำหนักแลที่ประทับที่สวนนันทอุทยานทั้งตำบลนั้น พระราชทานแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นเมื่อถึงในรัชกาลที่ ๕ ชั้นแรกพระราชทานที่พระตำหนักในนันทอุทยานให้เปนโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ ครั้นโรงเรียนนั้นย้ายมาตั้งที่โรงเรียนสุนันทาลัย ( อันเปนโรงเรียนราชินีบัดนี้ ) จึงพระราชทานที่นันทอุทยานให้ ใช้ราชการทหารเรือ แต่นั้นมา ) สระปทุมวัน เดิมมีที่นาหลวงอยู่ในทุ่งบางกะปิริมคลองสามเสนแห่ง ๑ ( เห็นจะจับไว้แต่เมื่อขุดคลองไปบางขนากในรัชกาลที่ ๓ ) โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติเปนแม่กอง แลพระสามภพพ่ายหนูซึ่งภายหลังได้เปนพระยาเพ็ชรพิไชยเปนนายงาน สร้างสระบัวที่เสด็จ ประพาศแห่ง ๑ เหมือนที่มีเมื่อครั้งกรุงเก่า ขุดสระใหญ่ ๒ สระติดต่อถึงกัน สระในอยู่ข้างเหนือ เปนที่เสด็จประพาศ สระนอกอยู่ข้างใต้เปนที่มหาชนไปเล่นเรือ ดินที่ขุดขึ้นจากสระทิ้งทำเปนเกาะน้อยใหญ่หลายเกาะ ที่ฝั่งก็ถมที่ทำเปนสวน แล้วขุดคลองไขน้ำจากคลองแสนแสบทำทางเรือเข้าในสระ ที่ฝั่งสระข้างด้านเหนือไปจนฝั่งคลองแสนแสบ ตั้งบริเวณพลับพลาที่เสด็จประทับ มีพระที่นั่ง ๒ ชั้นที่ประทับแรมอยู่ริมสระแลมีพลับพลาที่เสด็จออกแลโรงลคร เรือนข้างใน ครบทุกอย่าง พระราชทานให้เรียกที่สระบัวซึ่งทรงสร้างใหม่รวมกันทั้งตำบลว่า " ปทุมวัน " แล้วโปรดให้สร้างพระอารามขึ้นที่ริมสระนอกข้างด้านตวันตกพระ


๓๐ อาราม ๑ พระราชทานนามว่า " ปทุมวนาราม " ให้เปนวัดของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี แลโปรดให้อาราธนาพระสงฆ์ธรรมยุติกา มาอยู่แต่แรกสร้าง ( เมื่อแรกสร้างปทุมวัน ยังไม่มีถนนออกไปจากในพระนคร ต้องเสด็จแต่ทางเรือ จึงเหมือนหนึ่งเปนที่เสด็จอยู่นอกพระนครห่างไกล ครั้งแรกเสด็จไปประทับแรมที่ปทุมวันเมื่อเดือน ๗ แรม ๔ ค่ำ ปีมะเสง พ.ศ.๒๔๐๐ ถึงเกณฑ์นอนกองรักษาพระนครเหมือนอย่างเสด็จประพาศ หัวเมือง หมายรับสั่งยังมีสำเนาปรากฏอยู่ ภายหลังได้เริ่มสร้างถนน ต่อจากประตูพฤฒิบาศ เรียกว่าถนนบางกะปิเคียงถนนเพ็ชรบุรี เดี๋ยวนี้ยังมีคันถนนเหลืออยู่บางแห่ง ภายหลังเลิกใช้ถนนนั้น เปลี่ยนต่อจากถนนบำรุงเมืองออกไป ที่เปนถนนพระราม ๑ เดี๋ยวนี้ ไปเลียวอ้อมสระหรือตรงกับแนวถนนราชดำริห์แต่ไม่ได้ถมอิฐ มาทำเสร็จเมื่อรัชกาลที่ ๕ สระปทุมวันยังเปนที่ราษฎรไปเล่นแข่งเรือกันในระดูน้ำเดือน๑๑เดือน ๑๒ ทุกปี ได้โปรด ฯ ให้พระยานานาพิธภาษี บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติซึ่งเปนกองเดิม เปนนายงานปฏิสังขรณ์ปทุมวันครั้ง ๑ แต่นานมาสระตื้นเสียหมด จึงพระราชทานให้เปนที่โรงทหารน่า ครั้นทหารย้ายไปอยู่ที่อื่นแล้ว จึงใช้เปนแตที่มีการสมาคมพิเศษ เช่น แสดงกสิกรรม เปนต้นมาเนือง ๆ )



๓๑ วังสราญรมย์ ในปลายรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙ โปรดให้พระยา บุรุษรัตนราชพัลลภ๑ เปนแม่กองสร้างพระราชวังขึ้นตรงที่ตึกดินเก่า แห่ง ๑ พระราชทานนามว่า วังสราญรมย์ ยังอยู่จนบัดนี้ ( เหตุที่จะสร้างวังสราญรมย์นี้ ด้วยพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จฯ พระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจริญพระชัณษาได้ทรงอุปสมบทแล้ว จะทรงมอบเวนราชสมบัติพระราชทาน ส่วนพระองค์จะเสด็จออกไปประทับอยู่ที่วัง วังสราญรมย์ เปนตำแหน่งพระเจ้าหลวงช่วยทรงแนะนำราชการแผ่นดินไปจนตลอดพระชนมายุ แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน ในรัชกาลที่ ๕ พระราชทานวังสราญรมย์ ให้เปนที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จนสร้างวังบุรพาภิรมย์แล้ว แลต่อมาเมื่อทรงตั้งสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการเปนเสนาบดีว่าการกระทรวงต่างประเทศ โปรดให้ใช้วังสราญรมย์ เปนศาลาว่าการต่างประเทศอยู่คราว ๑ ต่อมาจัดเปนที่สำหรับรับเจ้าต่างประเทศ แล้วพระราชทานให้เปนที่ประทับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชมาจนตลอดรัชกาล วังสราญรมย์แก้ไขเมื่อในรัชการที่ ๕ หลายอย่าง แต่ตัวตึกเปนของเดิมโดยมาก ของสร้างใหม่แต่มุขบันไดด้านใต้อย่าง ๑ ตึกที่ บรรธมอยู่ด้านตวันออกหลัง ๑ แต่เดิมทางท้องสนามไชยมีโรงทหาร บังตลอด รื้อโรงทหารขยายเขตรวังสราญรมย์ออกมาต่อท้องสนามไชยอิกอย่าง ๑ ๑ ได้เปนเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงในรัชกาลที่ ๕ ๓๒ ขุดคลองแลทำถนนในจังหวัดพระนคร ๑ คลองผดุงกรุงเกษม เมื่อปีกุญ พ.ศ. ๒๓๙๔ โปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหมเปนแม่กอง ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ( วร ) เปนนายงานขุด คลองแต่ลำแม่น้ำที่ใต้วัดเทวราชกุญชรผ่านคลองมหานาคไปออกแม่น้ำ ที่เหนือวัดแก้วแจ่มฟ้าคลอง๑ ๑ เปนคูพระนครชั้นนอกกว้าง ๑๐ วาลึก ๖ ศอก ยาว ๑๓๗ เส้น ๑๐ วาสิ้นค่าจ้างขุดเปนเงิน๒๗,๕๐๐ บาท สำเร็จในปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ ได้เปิดคลองเมื่อณวันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม ค่ำ ๑ พระราชทานนามว่า คลองผดุงกรุงเกษมแลมีงานมโหรศพ ฉลอง ๓ วัน ต่อมาโปรดให้สร้างป้อมตามแนวคลองเปนระยะห่างกันประมาณ ๑๒ เส้น รวม ๘ ป้อม คือ ๑ ป้อมป้องปัจจามิตร อยู่ฝั่งตวันตกที่ปากคลองสาร ๒ ป้อมปิดปัจนึก อยู่ที่ปากคลองผดุง ฯ ข้างใต้ ๓ ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ ๔ ป้อมผลาญไพรีราบ อยู่ตรงตลาดหัวลำโพง ๕ ป้อมปราบสัตรูพ่าย อยู่ที่ริมวัดพลับพลา ไชย ๖ ป้อมทำลายแรงปรปักษ์ อยู่ตรงมุมถนนหลานหลวง ๗ ป้อมหักกำลังดัษกร อยู่ตรงถนนราชดำเนิน ๘ ป้อมพระนครรักษา อยู่ริมวัดนรนารถ ๑ วัดแก้วแจ่มฟ้า เดิมอยู่ตรงหลังธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ ย้ายไปอยู่ถนนสี่พระยา เมื่อ ในรัชกาลที่ ๕

๓๓ ( ป้อม ๘ ป้อมนั้นสร้างไม่ทันแล้วหมด ถึงรัชกาลที่ ๕เมื่อเขตร พระนครขยายต่อออกไปอิก ป้อมเหล่านั้นไม่เปนประโยชน์ดังแต่ก่อน จึงโปรดให้รื้อเอาที่สร้างสถานที่ต่าง ๆ โดยมาก ยังเหลืออยู่เวลานี้แต่ป้อมป้องปัจจามิตรข้างฝั่งตวันตกที่ปากคลองสาร กับป้อมปิดปัจนึก ข้างฝั่งตวันออกที่ปากคลองผดุง ฯ ข้างใต้ ๒ ป้อมเท่านั้น ) ๒ คลองถนนตรง เมื่อปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๐๐ โปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เปนแม่กองขุดคลองต่อจากคลอง ผดุงกรุงเกษมฝั่งนอก ตรงหัวลำโพงลงไป ต่อคลองพระโขนงคลอง ๑ กว้าง ๖ วา ลึก ๖ ศอก ยาว ๒๐๗ เส้น ๒ วา ๓ ศอก ทิ้งดินที่ขุดขึ้นแต่ทางฝั่งคลองข้างเหนือฝั่งเดียว แล้วปราบทำเปนถนนลงไปจนตลอดคลอง สิ้นค่าจ้างทั้งขุดคลองถมถนนเบ็ดเสร็จเปนเงิน ๑๖,๖๓๓ บาท โปรดให้เรียกชื่อคลองว่า "คลองถนนตรง" แล้วแต่งคลองพระโขนงแต่ที่ต่อคลองนี้ไปจนออกแม่น้ำด้วย (เหตุที่จะขุดคลองถนนตรงนั้น ปรากฏว่าพวกฝรั่งที่เข้ามาตั้งห้างค้าขายอยู่ในเวลานั้น ทำเรื่องราวเข้าชื่อกันยื่นต่อกรมท่าว่า ที่ตั้งห้าง ค้าขายทางริมแม่น้ำข้างใต้พระนคร เรือลูกค้าจะขึ้นมาค้าขายถึงพระนครต้องทวนน้ำเสียเวลาลำบาก พวกพ่อค้าต่างประเทศคิดจะลงไปตั้งห้างค้าขายที่ใต้ปากคลองพระโขนงลงไปจนบางนา ขอให้รัฐบาลช่วยสงเคราะห์ขุดคลอง ( แลทำถนน ) เปนทางลัดให้ไปมาค้าขายถึงพระนครได้โดยสดวก จึงโปรดให้ขุดคลองถนนตรง แต่ภายหลังมาจะ เปนด้วยเหตุใดหาปรากฏไม่ พวกฝรั่งหาได้ย้ายลงไปทางห้างตามที่คิด ไว้แต่เดิมไม่ ) ๓๔ ถนนในจังหวัดพระนคร ๑ ถนนเจริญกรุง ตอนใต้ เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ โปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยงศ์ ที่สมุหพระกลาโหมเปนแม่กอง พระอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเปนนายงานตัดถนนตั้งแต่คลองคูพระนครชั้นใน ที่ริมวังเจ้าเขมร ตรงลงไปต่อกับถนนตรงไปพระโขนง ที่คลองผดุงกรุงเกษมตรงหัวลำโพงสาย ๑ ตัดถนนแยกจากถนนตัดใหม่ที่ว่ามาแล้วที่เหนือวัดสามจีน ทำถนนลงไปข้ามคลองผดุง ฯ ที่ใต้วัดตะเคียน แล้วตรงลงไปทางหลังบ้านฝรั่งจนตก ฝั่งแม่น้ำที่ตำบลดาวคนองสาย ๑ แล้วให้ขุดคลองขวางแต่บางรักไปถึงถนนตรงตรงศาลา ( แดง ) ที่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์สร้างไว้ ทิ้งดินทางฝั่งใต้ทำเปนถนน ( ที่เรียกกันทุกวันนี้ว่าถนนสีลม )อีกสาย ๑ ถนนทั้ง ๓ สายนี้ตัดกว้าง ๕ วา ๒ ศอก ถนดินสูงกว่าพื้นเดิม ๒ ศอกคืบ เปนระยะทางยาวรวมกันทั้ง ๓ สาย ๒๘๑ เส้น ๕ วา ค่าจ้างทำถนนเปนเงิน ๑๘,๐๓๘ บาท ค่าจ้างขุดคลอง ( ถนนสีลม )เปนเงิน ๘,๑๙๔ บาท แล้วให้รื้อกำแพงทำประตูพระนครแลสร้างสพานเหล็กข้ามคลองคูพระนครที่ตรงถนนเข้ามาต่อกับถนนในพระนคร. การสร้างถนน ๓ สายที่กล่าวมานี้ จะต้องทำสพานข้ามคลอง ที่ถนนผ่านไปหลายสพานด้วย กันจึงโปรดให้บอกบุญ มีผู้ศรัทธารับสร้างสพานหลายแห่ง คือ





พระที่นั่งภูวดลทัศไนย (หอนาฬิกา)



๓๕ สพานถนนสำเพ็ง ๑ สพานหันเดิมเปลี่ยนเปนสพานเหล็ก ของหลวงทรงสร้างจำนวนเงินหาปรากฏไม่ ๒ สพานข้ามคลองวัดจักรวรรดิ์ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธรทรงสร้าง เปนสพานไม้ สิ้นเงิน ๘๐๐ บาท ๓ สพานข้ามคลองศาลเจ้าเก่า หลวงศรีทรงยศสร้าง สิ้น เงิน ๑,๖๐๐ บาท สพานถนนเจริญกรุง ๑ สพานเหล็ก ( ดำรงสถิตย์ ) เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สร้าง สิ้นเงิน ๑๒,๘๐๐ บาท ๒ สพานข้ามคลองวัดใหม่ ( กันมาตุยาราม ) นางกลีบผู้สร้างวัดรับสร้าง สิ้นเงิน ๑,๒๘๐ บาท ๓ สพานข้ามคลองวัดสามจีน หลวงจิตรจำนงวานิชสร้าง สิ้นเงิน ๑,๒๐๐ บาท ๔ สพานเหล็ก ( พิทยเสถียร ) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่ใต้ วัดตะเคียน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สร้าง สิ้นเงิน ๑๐,๔๐๐ บาท ๕ สพานตรงหลังบ้านกงซุลอังกฤษ พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ ( ยิ้ม ) สร้าง สิ้นเงิน ๑,๔๔๐ บาท ๖ สพานข้ามคลองบางรัก หลวงพิศาลศุภผลสร้าง สิ้น เงิน ๑,๒๘๐ บาท ๓๖ ๗ สพานเหนือวัดยานนาวา พระยาโชฎึก ( จ๋อง ) สร้าง สิ้น เงิน ๑,๖๐๐ บาท ๘ สพานใต้วัดยานนาวา หลวงนาวาเกณิกรสร้าง สิ้น เงิน ๑,๔๔๐ บาท ๙ สพานข้ามคลองวัดลาว ( สุทธิวราราม ) หลวงไมตรีวานิชสร้าง สิ้นเงิน ๑,๓๖๐ บาท ๑๐ สพานเข้าคลองบางขวาง หลวงภาษีวิเศษสร้าง สิ้น เงิน ๑,๖๐๐ บาท สพานถนนขวาง ( สีลม ) ๑ สพานข้ามปลายคลองบางขวางต่อถนนขวางที่ขุดใหเจ้าพระ ยาพลเทพ ( หลง ) สร้างสิ้นเงิน ๙๖๐ บาท สพานคลองถนนตรง ๑ สพานข้ามคลองถนนตรงที่ศาลาแดง เจ้าพระยาทิพากรวงศ์สร้าง สิ้นเงิน ๘๐๐ บาท ๒ สพานข้ามคลองไปปทุมวัน๑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์สร้าง สิ้น เงิน ๑,๐๔๐ บาท ๒ ถนนเจริญกรุง ตอนใน ถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๕ โปรดให้เจ้าพระยายมราชครุฑ เปนแม่กองพระพรหมบริรักษ์เปนนายงาน ขยายทางเดิมบ้าง ตัดใหม่บ้าง ทำเปน

๑ คลองขุดแต่คลองถนนตรงไปปทุมวัน น่าจะขุดในครั้งนั้นเหมือนกันจึงทำ สพานที่กล่าวนี้ แต่หาปรากฏในจดหมายเหตุไม่ ๓๗ ถนนหลวงกว้าง ๔ วา แต่ถนนน่าวัดพระเชตุพนไปออกประตู( สามยอด ) สพานเหล็กที่ทำใหม่ ต่อกับถนนใหม่ข้างตอนใต้ เปนระยะทาง ๒๕ เส้น ๑๐ วา ๓ ศอก สิ้นค่าจ้างถมดินก่อคันถนนแลทำท่อน้ำ ๒ ข้าง รวมเปนเงิน ๑๙,๗๐๐ บาท แล ๒ ฟากถนนตอนที่ทำใหม่นี้โปรดให้สร้างตึกแถวพระราชทานพระราชโอรสธิดา ๓ ถนนบำรุงเมือง ถึงปีกุญพ.ศ. ๒๔๐๖ โปรดให้พระพรหมบริรักษ์เปนนายงานขยาย ทางไปเสาชิงช้าเดิมทำเปนถนนกว้าง ๓ วา ตั้งแต่สนามไชยไปจนประตูสำราญราษฎร์ ( ออกวัดสระเกษ ) เปนระยะทาง ๒๙ เส้น ๑๔ วา ๓ ศอก ค่าจ้างพูนดินถมถนนแลก่ออิฐเปนคัน๒ข้างถนนทั้งทำท่อไขน้ำทั้ง ๒ ข้าง รวมเบ็ดเสร็จเปนเงิน ๑๕,๐๙๒ บาท ๔ ถนนเฟื่องนคร ในคราวเดียวกับเมื่อทำถนนบำรุงเมืองนั้น โปรดให้พระพรหมบริรักษ์ขยายทางเปนถนนกว้าง ๑๐ ศอกอีกสาย ๑ ตั้งแต่กำแพงพระนครทิศใต้ ที่มุมวังกรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ เปนถนนขวางผ่าน บ้านหม้อ ( แลถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ) ไปจนวัดบวรนิเวศ ถึงกำแพงพระนครด้านเหนือที่ริมวัดบวรนิเวศ เปนระยะทาง ๕๐ เส้น สิ้นเงินค่าถมที่ค่าทำคันถนนแลท่อน้ำเบ็ดเสร็จเปนเงิน ๒๐,๐๔ บาท แล้วโปรดให้สร้างตึกแถวทรงพระราชอุทิศเปนสมบัติของวัดบวรนิเวศแถว ๑ ของวัดราชประดิษฐฯแถว ๑.


๓๘ การสร้างถนนทั้งปวงที่กล่าวมา สำเร็จในปีชวด พ.ศ. ๒๔๐๗ จึงโปรดให้มีการฉลองถนน ๓ วัน ตั้งแต่เดือน ๖ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เปนต้นไป มีงานมโหรศพแลดอกไม้ไฟตั้งรทาสูง ๑๒ วาที่น่าพระที่นั่งไชยชุมพล แลเสด็จประพาศถนนที่สร้างใหม่นั้นทุกสาย พระราชทานนามถนน ที่ตัดใหม่ทั้งตอนในแลตอนนอกพระนครว่า " ถนนเจริญกรุง " พระ ราชทานนามถนนที่ตัดไปทางตลาดเสาชิงช้าว่า " ถนนบำรุงเมือง " แลพระราชทานนามถนนที่ตัดขวางในพระนครว่า" ถนนเฟื่องนคร " ( เหตุที่จะสร้างถนนเจริญกรุงตอนใต้ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์กล่าวว่า เดิมกงซุลต่างประเทศเข้าชื่อกันทำเรื่องราวถวายว่า " ชาวยุโรป เคยขี่รถขี่ม้าเที่ยวตากอากาศได้ความสบายไม่มีไข้เจ็บ เข้ามาอยู่ที่กรุง เทพพระมหานคร ไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถขี่ม้าพากันเจ็บไข้เนื่อง ๆ ได้ทรงทราบหนังสือแล้ว ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า พวกยุโรปเข้ามาอยู่ ในกรุงมากขึ้นทุกปี ๆ ด้วยประเทศบ้านเมืองเขามีถนนหนทางก็เรียบ รื่นสอาดไปทุกบ้านทุกเมือง บ้านเมืองของเรามีแต่รกเรี้ยว หนทาง ก็เปนตรอกเล็กซอกน้อย หนทางใหญ่ก็เปรอะเปื้อนไม่เปนที่เจริญตา ขายหน้าแก่ชาวนานาประเทศ เขาว่าเข้ามาเปนการเตือนสติ เพื่อจะ ให้บ้านเมืองงดงามขึ้น " ดังนี้ จึงโปรดให้สร้างถนนขึ้นดังกล่าวมา การที่สร้างถนนครั้งนั้นเข้าใจว่า คงกะแผนที่ถนนพร้อมกันหมดทุกสายเปนแต่ลงมือสร้างก่อนแลทีหลังกันโดยลำดับ ที่สร้างถนนเจริญกรุง ตอนใต้ก่อนตอนในเมือง ก็เพราะจะให้ฝรั่งได้มีที่ขี่ม้าเที่ยวแล่นไสม ๓๙ ปราถนาที่ได้กราบทูลร้องทุกข์ มีคำเล่ากันมาว่าเมืองแผนผังจะตัด ถนนเจริญกรุงนั้น เดิมขีดเส้นแต่สามแยกตรงเข้ามาในพระนคร พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทักท้วงว่าผิดทางยุทธสาตรเพราะถนนตรงเช่นนั้น ถ้ามีข้าศึกเอาปืนใหญ่ตั้งที่ในถนนก็อาจจะยิงทำลายประตูเมืองได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้แก้ถนนให้เลี้ยวตรงเชิงสพาน เหล็ก ( ดำรงสถิตย์ ) แล้วทำป้อมขึ้นที่กำแพงเมืองให้ตรงสูนย์ถนน ลงไปสามแยกป้อม ๑ ซึ่งพึ่งรื้อเมื่อในรัชกาลที่ ๕ ) ( ชื่อถนนที่พระราชทานว่า ถนนเจริญกรุงแต่แรกคนเรียกกันแต่ ว่าถนนใหม่โดยมาก ต่อมามีฝรั่งคิดตั้งสีลมขึ้นที่ถนนขวาง จึงพา กันเรียกถนนนั้นว่าถนนสีลม ส่วนถนนตรงนั้นเรียกกันว่าถนนหัวลำโพงตามชื่อทุ่งที่ถนนผ่านไป ) สพานเหล็กที่ข้ามคูพระนครแลคลองผดุงกรุงเกษม (คือสพานหัน สพานดำรงสถิตย์ สพานพิทยเสถียร ) แต่แรกเสาแลคานเปนเครื่องไม้เปนเหล็กแต่โครง พื้นสพานมีล้อข้างล่าง ที่คานไม้มีรางเหล็ก ถ้า จะเปิดสพานขันจักรเดินสพานแยกออกกันไปได้ เปลี่ยนสพานใหม่ เมื่อในรัชกาลที่ ๕ ประตูเมืองนั้นเมื่อแรกสร้างพระนครทำเปนประตูไม้ ในรัชกาลที่ ๓ เปลี่ยนเปนเครื่องก่ออิฐ หลังประตูทำเปนหอรบ ( เหมือนประตูเมืองใหม่ที่ตำบลเนินวงเมืองจันทบุรี ) ถึงรัชกาลที่ ๕ ซ่อมกำแพงแลประตูพระนครเมื่อปีระกา พ.ศ.๒๔๑๖ โปรดให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงเปนแม่กองแก้เปนประตูยอด ( อย่างประตูลงท่าขุนนางยังเหลือประตู ๑ ) ต่อ

๔๐ มาเมื่อใช้รถกันมากขึ้น ตรงประตู ( ซึ่งเรียกกันว่าประตูใหม่ ) ถนนเจริญกรุงรถมักโดยกันด้วยประตูแคบนัก จึงโปรดให้กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์เวลานั้นทรงบัญชาการกรมเมือง เปนแม่กองสร้างประตูใหม่เปนประตู ๓ ช่อง คงทำเปนประตูยอดตามแบบเก่า จึงเรียกกันว่าประตูสามยอด รื้อเสียเมื่อขยายถนนทำตึกแถวถนนเจริญกรุงใหม่. ตึกแลถนนเจริญกรุงที่สร้างเมื่อในรัชกาลที่ ๔ นั้นเปนตึกชั้นเดียวว่าถ่ายแบบมาแต่เมืองสิงคโปร์ ตึกรูปนั้นยังเหลืออยู่ที่บ้านตนาว ซึ่งทรงพระราชอุทิศเปนของวัดบวรนิเวศแลวัดราชประดิษฐฯ เปนแต่ตึกแถวถนนเจริญกรุงเขื่องกว่า ขุดคลองทางไปมากับหัวเมือง ๑ คลองมหาสวัสดิ์ เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๑๓ โปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เปน แม่กอง พระศิริสมบัติเปนนายงาน ขุดคลองทางเรือสาย ๑ แต่แม่น้ำ อ้อมที่ริมวัดไชยพฤกษมาลา ไปทลุแม่น้ำเมืองนครไชยศรีที่เหนือศาล เจ้าสุบิน คลองขุดใหม่ ๖๗๖ เส้น ขุดแก้คลองเก่า ๘ เส้น รวมระยะทาง ๖๘๔ เส้น คลองกว้าง ๗ วา ลึก ๖ ศอก สิ้นค่าจ้างเปนเงิน ๘๘,๑๒๐ บาท สำเร็จเมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ พระราชทานนามว่า " คลองมหาสวัสดิ์ " ( เมื่อขุดคลองแล้วสร้างศาลาอาไศรยที่ริมคลอง ๑๐๐ เส้นหลัง ๑ เปนระยะไป ที่ศาลหลังกลางย่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ให้เขียนตำรายารักษาโรคต่าง ๆ ใส่แผ่นกระดานติดไว้เปนการกุศล คนจึงได้เรียก



เสานางเรียง ที่ด้านถนนบำรุงเมือง





๔๑ ศาลาหลังนั้นว่า "ศาลายา" เลยเปนชื่อสถานีรถไฟอยู่บัดนี้ ศาลาอิกหลัง๑เจ้าพระยาทิพากรวงศ์สร้างในการกุศลปลงศพคนของท่านคน ๑ จึงเรียกว่า "ศาลาทำศพ" เลยเปนชื่อสถานีรถไฟเหมือนกัน. อนึ่งที่ ๒ ฟากคลองมหาสวัสดิ์ เดิมเปนป่าพงที่ว่าง เมื่อขุดคลองแล้วพระราชทานให้เปนที่นาของพระราชโอรสธิดา จึงเปนที่ของเจ้านายโดยมากจนบัดนี้

๒ คลองเจดีย์บูชา เมื่อปีฉลูพ.ศ.๒๓๙๖โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เปนแม่กองทำการปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ ได้กะทางจะขุดคลองทางเรือแต่แม่น้ำเมืองนครไชยศรีเข้าไปจนถึงบริเวณพระปฐมเจดีย์ แต่การยังค้างอยู่จนสมเด็จเจ้าพระยาฯ ถึงพิราลัย จึงโปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เปนแม่กองปฎิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ต่อมา จะได้ลงมือขุดคลองเมื่อไรไม่แน่ ขุดแต่ตำบลท่านาไปถึงพระราชวังซึ่งสร้างใหม่ แล้วเลี้ยวแยกไปถึงเขตรวัดพระงามเปนที่สุด รวมระยะทาง ๔๔๘ เส้น คลองกว้างแต่ ๕ วาจน ๘ วาลึกประมาณ ๖ ศอกเปนกำหนด สิ้นค่าจ้างขุดรวมเปนเงิน ๖๔,๓๖๓ บาท พระราชทานนามว่า "คลองเจดีย์บูชา" ๓ คลองดำเนินสดวก เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙ โปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหมเปนแม่กองขุดคลองกว้าง ๖ วาลึก ๖ ศอกแต่แม่น้ำเมือง ๔๒ นครไชยศรีที่ตำบลบางยางไปออกแม่น้ำเมืองราชบุรีที่ตำบลบางนกแขวกเปนระยะทาง๘๔๐ เส้นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์( ได้จับที่ว่างทำนาในคลองนั้นจึง ) ออกค่าขุดคลอง ๘๐,๐๐๐บาท เงินหลวงคงออก ๓๒,๐๐๐ บาท รวมเปนค่าขุดคลองสิ้น๑๑๒,๐๐๐บาทการขุดคลองนี้สำเร็จได้เปิดคลองเมื่อวันจันทร์เดือน ๗ ขึ้น ๔ ค่ำปีมโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชทานนามว่า คลองดำเนินสดวก ๔ คลองภาษีเจริญ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐ โปรดฯให้พระภาษีบริบูรณ์( ยิ้ม ) เจ้าภาษีฝิ่นเปนแม่กองขุดคลองกว้าง ๗ วา ลึก ๕ ศอก แต่คลองบางกอกใหญ่ในกรุงเทพฯ ที่ริมวัดปากน้ำออกไปแม่น้ำเมืองนครไชยศรีที่ตำบลดอนไก่ดี เปนระยะทาง ๖๒๐ เส้น หักภาษีฝิ่นพระราชทานเปนค่าจ้างขุดคลอง ๑๑๒,๐๐๐ บาท พระราชทานนามว่า "คลองภาษีเจริญ" แต่มาขุดแล้วต่อในรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดคลองเมื่อเดือน ๖ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๕. (คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสดวก ทั้ง ๒ คลองนี้กะแผนที่คราวเดียวกัน เปนแต่ลงมือขุดคลองดำเนินสดวกก่อน ขุดคลองภาษีเจริญทีหลัง เปนทางสัญจรสำคัญมาแต่แรก แลในรัชกาลที่ ๕ ได้ขุดซ่อมอิกครั้ง ๑ แล้วทำประตูขังน้ำให้มีในคลองพอเรือใหญ่เดินได้เสมอ )


๔๓ ภาคที่ ๒ สถานที่ต่าง ๆ ที่ทรงสร้างตามหัวเมือง พลับพลาที่ประทับณเมืองสมุทปราการ โปรดให้พนักงานการก่อสร้างที่พระสมุทเจดีย์นั้น สร้างพลับพลาเปนที่ประทับที่ริมน้ำข้างเหนือเมืองสมุทปราการแห่ง ๑ มีที่ประทับและเรือนโรงหลายหลัง พระราชทานชื่อต่าง ๆ กัน คือ พระที่นั่งสมุทธาภิมุข เปนท้องพระโรงที่เสด็จออก พระที่นั่งศุขไสยาศน์ ๒ ชั้น เปนที่พระบรรธม ตำหนักนาฎนารีรมย์ เปนที่พระประเทียบอยู่ เรือนสนมนิกร เปนเรือนแถวสำหรับพนักงาน โรงสันถาคารสภา เปนโรงประชุมแลเปนที่เล่นลครโรง ๑ โรงศึกษาสงคราม เปนโรงทหารรักษาพระองค์ ( พลับพลาที่เมืองสมุทปราการชำรุดรื้อเสียโดยมาก ยังเหลือแต่พระที่นั่งสมุทธาภิมุขกับพระที่นั่งศุขไสยาศน์ ใช้เปนสถานีโทรเลขอยู่บัดนี้ ) ประภาคารปากน้ำ โปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ทสมุหพระกลาโหม สังประภาคารเหล็กมาจากยุโรปสำหรับจะปลูกที่สันดอนปากน้ำ จุดโคมไฟหมายทางให้เรือเข้าออกแห่ง ๑ แต่การสร้างประภาคารมาสำเร็จต่อในรัชกาลที่ ๕.


๔๔ กรุงศรีอยุธยา วังจันทรเกษม วังจันทรเกษมเดิมเปนวังพระมหาอุปราช แต่สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินได้เคยเสด็จอยู่เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราชคราว ๑ เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์คราว ๑ ตั้งแต่เสียกรุงเก่าแล้วก็หักพังรกร้างอยู่จนรัชกาลที่ ๔ มีพระราชประสงค์จะทรงสร้างให้กลับคืนดีขึ้นดังเก่า ไว้เปนที่ประทับในเวลาเสด็จขึ้นไปประพาศกรุงศรีอยุธยา จึงโปรด ฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิทเปนแม่กอง กรมขุนราชสีหวิกรมเปนนายช่าง สร้างวังจันทรเกษม แลแผนผังที่กะการก่อสร้างนั้น จะสร้างพระที่นั่งพิมานรัถยาของเดิมขึ้นเปนที่ประทับ จึงกะเอาพระที่นั่งพิมานรัถยาเปนสูนย์กลาง วางแนวกำแพงเขตรวังซึ่งจะสร้างใหม่แต่พอสมควรแก่ที่ประทับชั่วคราว ร่นแคบเข้ามากว่าแนวกำแพงวังจันทร์ครั้งกรุงเก่ามาก ในเวลาที่ก่อสร้างวังจันทรเกษมนั้น เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปกรุงเก่าบ่อย ๆ เพราะเริ่มมีเรือไฟใช้ราชการเสด็จได้สดวกกว่าแต่ก่อนจึงโปรดฯ ให้สร้างพลับพลาขึ้นในวังจันทรเกษมทางริมกำแพงวังด้าน ตวันออก เปนที่ประทับไปกว่าพระที่นั่งพิมานรัถยาจะสร้างแล้วเสร็จ ครั้นลงมือก่อสร้างมา พอก่อกำแพงวัง ( แลทำเขื่อนอิฐที่ริมน้ำ ) แล้วกรมหลวงวงศา ฯ ประชวรเปนอัมพาต จึงโปรดฯ ให้พระยาราชวรานุกูล รอด ๑ เปนแม่กองต่อมา


๑ คือเจ้าพระยารัตนบดิทร์ ในรัชกาลที่ ๕ ๔๕ สถานที่ต่าง ๆ ซึ่งสร้างที่วังจันทรเกษม ตอนพลับพลาที่ประทับถมที่ขึ้นเปนฐานมีไพรทีรอบ บนนั้นปลูกพลับพลาจัตุรมุขที่เสด็จประทับองค์ ๑ มีตำหนักข้างในหลายหมู่อยู่ข้างหลัง ข้างน่ามีหอพระหลัง ๑ พลับพลาโถงสำหรับทอดพระเนตรลครหลัง ๑ ตรงน่าพลับพลาลงมามีโรงลครแลใช้เปนที่พักข้าราชการด้วยหลัง ๑ ต่อไปตามริมกำแพงวังมีห้องเครื่องมหาดเล็ก ทิมดาบตำรวจ แลโรงม้าต้นตลอดจนด้านเหนือ ทางหมู่พระที่นั่งพิมานรัถยา สร้างเปนตึกถาวร มีพระที่นั่งที่ประทับองค์ ๑ ปรัศซ้ายขวา ๒ หลัง สร้างตามแนวผนังเดิม นอกจากนี้ข้างในมีตำหนักแลเรือนจันทน์เรือนแถวอิกหลายหลัง ข้างน่าก็มีเขื่อนเพ็ชรเปนบริเวณชั้นในอิกชั้น ๑ แลมีพลับพลาโถงที่ประทับทอดพระเนตรกิฬาในสนามหลัง ๑ ต่อไปตามมุมวังด้านตวันตกเฉียงใต้ เดิมมีหอสูง กล่าวกันว่าสร้างครั้งสมเด็จพระนารายน์ มหาราช ยังเหลือแต่แนวผนัง โปรดให้ก่อเสริมผนังขึ้นไปตามแผนผังของเดิมจนถึงชั้นยอดแล้วพระราชทาน นามว่าพระที่นั่งพิไสยศัลลักษณ์ ทางนอกวังด้านตวันตก สร้างโรงช้างต้น ๒ โรง ทางนอกวังด้านตวันออกมีท่าเรือพระที่นั่งท่า ๑ ท่าเรือพระประเทียบมีฉนวนแต่ท่าจนถึงประตูวังท่า ๑ มีพลับพลาโถงที่ท่าเสด็จขึ้นหลัง ๑ ศาลาพวกล้อมวังรักษาประตูวัง ประตูละ ๒ หลังทั้ง ๕ ประตู แลสร้างตึกเปนห้องเครื่องอยู่ข้างฉนวนหลัง ๑ สร้างตึก ๒ ชั้นสำหรับเปนที่พักเจ้านายแลข้าราชการที่ตามเสด็จที่ริมน้ำข้างเหนือน่าวัง ๔๖ หลัง ๑ ข้างใต้หลัง ๑ แล้วโปรดให้ขุดคลองต่อจากคลองมะขามเรียงข้างใต้กรุง ฯ แยกมาออกที่ใกล้หัวรอสาย ๑ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จขึ้นไปประทับที่วังจันทรเกษมหลายคราว แต่การสร้างพระที่นั่งพิมานรัถยายังไม่สำเร็จจนตลอดรัชกาล ( ถึงรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จไปประทับที่ วังจันทรเกษมหลายครั้งจนสร้างพระราชวังบางปอินแล้วจึงพระราชทานวังจันทรเกษมให้เปนที่ว่าการมณฑลกรุงเก่า ได้สร้างพระที่นั่งพิมานรัถยาต่อมาจนสำเร็จใช้เปนที่ว่าการมณฑลมาจนทุกวันนี้ สถานที่พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างไว้ที่ชำรุดหักพังรื้อเสียโดยมาก ยังบริบูรณ์ดีอยู่แต่พระที่นั่งพิไสยศัลลักษณ์กับพลับพลาจตุรมุขกับหอพระ ห้องเครื่องมหาดเล็กแลโรงม้าต้น พระยาโบราณราชธานินทร์ พร เดชะคุปต์ อุปราชมณฑลกรุงเก่า จัดเปนที่ทำการพิธีแลเปนพิพิธภัณฑ์สถานมาจนทุกวันนี้. ) พระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท โปรด ฯ ให้กรมขุนราชสีหวิกรมเปนนายช่าง สร้างปราสาทขนาดน้อยองค์ ๑ กับพระปรัศซ้ายขวา ๒ องค์ ขึ้นบนฐานพระที่นั่งสรรเพ็ชญ์ปราสาท ซึ่งยังเหลืออยู่ในพระราชวังหลวงในกรุงศรีอยุธยาเปนที่ทรงบวงสรวงสมเด็จพระอดีตมหาราช ที่ได้เสวยราชย์ณกรุงศรีอยุธยามาแต่ก่อน แต่การที่สร้างค้างมาตลอดรัชกาล



ตึกดิน ตรงที่สร้างพระราชวังสราญรมย์ ถ่ายจากพระที่นั่งภูดลทัศไนย.




๔๗ กระแสพระราชดำริห์ที่ทรงสร้างปราสาทที่ปรากฏอยู่ในประกาศ เมื่อทรงสังเวยที่กรุงเก่าดังนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นมาโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคพร้อมด้วยราชบริพาร คือพระราชวงศานุวงค์แลข้าทูลลอองธุลีพระบาท ทั้งฝ่ายน่าฝ่ายใน เสด็จประทับแรมราตรีณที่พระพลากรที่ประทับ จึ่งได้ ทรงพระราชดำริห์ให้สถาปนาสร้างปราสาทขึ้นใหม่ในที่สรรเพ็ชญ์ปราสาทซึ่งเปนพระที่นั่งของพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงพระมหานครศรีอยุธยา ครอบครองมาจนแตกทำลายนั้น จะให้คืนคงเปนพระที่นั่งขึ้นแล้ว จะได้เปนที่จารึกพระนามพระเจ้าแผ่นดินทั้งปวง ซึ่งได้ครอบครองกรพระมหานครศรีอยุธยามาแต่ก่อนไว้เปนการสนองพระเดชพระคุณให้เปนพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดินทุกๆพระองค์ แลจะได้ทรงสร้างวังจันทรเกษมขึ้นไว้เปนที่เสด็จประทับแรม แลจะให้ปรากฎอยู่สิ้นกาลนาน แลจะได้ทรงปฏิสัง ขรณ์พระอารามในจังหวัดกรุงพระมหานครศรีอยุธยาโบราณราชธานีแล้ว จะได้ทรงบำเพ็ญทานอุทิศส่วนพระราชกุศล แลให้จัดเครื่องกระยาพลีกรรมบวงสรวงสังเวยถวายพระเจ้าแผ่นดินทั้งปวง ซึ่งได้ครอบครองศิริราชสมบัติในสยามประเทศแต่กาลก่อนทุกพระองค์ ดังนี้ ในรัชกาลที่ ๕ โปรดให้พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) เมื่อยังเปนข้าหลวงเทศาภิบาล แผ้วถางพระราชวังหลวงที่กรุงศรีอยุธยา จัดการรักษาเปนโบราณวัตถุทั้งวัง ได้เสด็จประพาศเนือง ๆ


๔๘ แลได้ทำการพระราชพิธีรัชมงคลที่ในพระราชวังครั้ง ๑ ปราสาทกับพระ ปรัศที่สร้างค้างอยู่แต่รัชกาลที่ ๔ จะรักษาไว้ให้ถาวรไม่ได้ จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้รื้อเสีย พเนียด ที่พเนียดคล้องช้างเดิมไม่มีพลับพลา โปรดให้สร้างพลับพลาที่ประทับทอดพระเนตรคล้องช้างในวงพาดหลัง๑พลับพลาประทับทอดพระเนตรคล้องช้างกลางแปลงหลัง ๑ พลับพลาฝ่ายในดูคล้องช้างกลางแปลงหลัง ๑ (เมื่อกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี ที่พเนียดมีปราสาทที่ประทับทอดพระเนตรคล้องช้าง แต่พม่าเผาเสียเมื่อล้อมกรุง ฯ ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร ในรัชกาลก่อนๆ ไม่ได้เสด็จไปทอดพระเนตรคล้องช้าง จึงไม่ได้สร้างพลับพลาขึ้นใหม่ ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์ซ่อมพลับพลาที่พเนียดทั้งหมดครั้ง ๑ ) พระราชวังบางปะอิน เมื่อทรงปฏิสังขรณ์วัดชุมพลนิกายารามที่บางปะอินโปรดให้เจ้าพระยาพลเทพ (หลง) เปนแม่กองสร้างตำหนักขึ้น ๓ หลัง ในบริเวณพระราชวังของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองที่เกาะบางปะอินใน แลปลูกพลับพลาโถงที่ไร่แตงเกาะบางปะอินนอกอิกหลัง ๑ เปนที่เสด็จประพาศ จากกรุงเก่า


๔๙ ( มีคำเล่ากันมาว่า เหตุที่จะสร้างพระตำหนักที่บางปะอินเมื่อในรัชกาลที่ ๔นั้น เดิมเสด็จผ่านไปทอดพระเนตรเห็นหมู่มะม่วง (อยู่ที่สนามหญ้าน่าพระที่นั่งวโรภาศทุกวันนี้) ขึ้นงามมาก เปนที่ต้องพระราช หฤไทยจึงเสด็จแวะขึ้นประพาศที่พระราชวังเก่า แล้วมีรับสั่งให้สร้างพระตำหนักขึ้นณที่นั้น สิ่งซึ่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ทรงสร้างไว้ยังเหลืออยู่ในเวลานั้น คือ สระกว้างเส้น ๑ ยาว ๑๐ เส้น ( คือตอนสระตรงที่อยู่จนทุกวันนี้ ) อย่าง ๑พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพอาศน์เปนปราสาทเครื่องไม้สร้างไว้ที่ปากสระอย่าง ๑ กล่าวกันว่าโครงปราสาท และเครื่องบนยังมีอยู่ มาหักพังไปต่อทีหลัง ยังมีโคนเสาและคานปรากฏที่พื้นสระข้างใต้พระที่นั่งวโรภาศพิมานจนทุกวันนี้ ถึงรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างเปนพระราชวังที่ประพาศต่อมา ชั้นแรกโปรดให้สร้างพระที่นั่งที่ประทับตรงตำหนักหลังกลางซึ่งสร้างไว้ในรัชกาลที่ ๔ พระราชทานนามว่า พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพอาศน์ ตามนามปราสาทครั้งกรุงเก่า สร้างตำหนักข้างในตรงที่ตำหนักหลังเหนือเปนที่พักพระประเทียบ พระราชทานนาม ว่าตำหนัก วรนาฎเกษมสานต์สร้างตำหนักหลังใต้เปนตำหนักเจ้านายข้างน่า พระราชทานนามว่า ตำหนักสภาคารราชประยูร ต่อมาจึงได้ทรงสร้างสถานที่ต่างๆ เพิ่มเติม เปลี่ยนระเบียบนามตามอย่างที่ปรากฏในบัดนี้



๕๐ พระนารายน์ราชนิเวศน์เมืองลพบุรี โปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหม เปนแม่กองพระนรินทรราชเสนีเปนกงสี พระยาพิไชยสงคราม พระยาวิชิตณรงค์เปนแม่กองทำการสร้างที่ประทับที่ในพระราชวังเมืองลพบุรี ซึ่งสมเด็จพระนารายน์มหาราชได้ทรงสร้างไว้ แลทิ้งเปนที่รกร้างมาแต่ครั้งกรุงเก่านั้น ปฏิสังขรณ์ของเดิมที่ยังจะพอซ่อมแซมได้ คือพระที่นั่งจันทร พิศาลองค์ ๑ กับกำแพงแลประตูพระราชวังโดยรอบ แล้วสร้างพระที่นั่งเปนที่ประทับขึ้นหมู่ ๑ ในระหว่างพระที่นั่งจันทรพิศาลกับพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาทของเดิม เปนพระที่นั่ง ๓ ชั้น ที่พระบรรธมองค์ ๑ พระราชทานนามว่า พระที่นั่งพิมานมงกุฎ ท้องพระโรง ๒ ชั้น ต่อมาทางทิศตวันออก นามพระที่นั่งวิสุธิวินิจฉัย พระที่นั่งน้อยอยู่ข้างน่าท้องพระโรงอิก ๒ องค์เปนคู่กัน องค์ข้างใต้นามพระที่นั่งไชยสาตรากร องค์ข้างด้านเหนือนามพระที่นั่งอักษรสาตราคม แลสร้างตึกตำหนักข้างในหลายหลัง ที่ข้างน่าก็สร้างศาลาแลเพิงพลสำหรับข้าราชการที่ตามเสด็จพักอาไศรยอิกหลายหลัง พระราชทานนามพระราชวังให้เรียกรวมกันทั้งหมดว่า พระนารายน์ราชนิเวศน์ (เหตุที่จะทรงสร้างที่ประทับที่พระนารายน์ราชนิเวศน์นั้นปรากฎมาว่า เกิดแต่ปรารภขึ้นในรัฐบาลว่า ถ้าหากจะเกิดเหตุการณ์เปนอริขึ้นกับฝรั่ง กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในทางที่เรือรบอาจขึ้นมาถึงได้ การต่อสู้ศัตรูจะลำบาก ควรจะมีราชธานีเปนที่มั่นให้ห่างทางเรือรบของข้าศึก


๕๑ อีกสักแห่ง ๑ เมื่อปฤกษาเลือกหาที่ซึ่งจะเหมาะสำหรับเปนราชธานีใหม่มีความเห็นกันว่า ควรจะเอาเมืองนครราชสิมาเปนราชธานีที่ ๒ จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จ ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรเมืองนครราชสิมากับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เมื่อปีมะโรงพ.ศ.๒๓๙๙ เห็นพร้อมกันว่าอัตคัดทั้งทางที่จะไปมากับกรุงเทพฯ ก็ลำบาก ไม่เหมาะที่จะเปนราชธานี พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง รฦกถึงกระแสพระราชดำริห์ของสมเด็จพระนารายน์มหาราชซึ่งทรงสร้างเมืองลพบุรี เปนที่ประทับเมื่อครั้งกรุงเก่า จึงโปรดให้สร้างที่ประทับที่เมืองลพบุรี แต่พระบาทสมเด็จ ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นโปรดที่เขาคอกแขวงเมืองสระบุรีว่าเปนที่คับขัน จึงไปทรงสร้างป้อมที่เขาคอกแต่ตั้งที่ประทับอยู่เพียงที่บ้านสีทา ) การสร้างที่ประทับที่พระนารายน์ราชนิเวศน์ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรู้สึกระแวงบาปอยู่ ด้วยความ ปรากฎในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า เมื่อสมเด็จพระนารายน์ประชวรหนักใกล้จะสวรรคตที่เมืองลพบุรีนั้น พระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ให้จับพระปิยะซึ่งผู้อยู่ปรนนิบัติพระองค์ประหารชีวิตเสีย สมเด็จพระนารายน์มหาราชทรงโทมนัสน้อยพระหฤไทย แลเกรงว่าพระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์จะทำอันตรายพวกข้าราชการที่อยู่ประจำพระองค์เสียอิก จึงมีรับสั่งให้พากันไปอุปสมบทเสียให้พ้นภัย พวกข้าราชการพากันกราบทูลว่าพระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ให้จุกช่องล้อมวง รักษาพระราช


๕๒ วังไว้จะออกไปไม่ได้ จึงมีรับสั่งให้นิมนต์พระสงฆ์คณะปรกเข้าไปแล้วมีรับสั่งขอให้พระสงฆ์อุปสมบทข้าราชการที่ในพระราชวัง พระสงฆ์ถวายพระพรว่า พระราชวังมิใช่เปนที่สิมาสงฆ์ จะทำสังฆกรรมขัดข้องอยู่ สมเด็จพระนารายน์จึงออกพระโอษฐ์ถวายบริเวณพระราชวังเปนที่วิสุงคามสิมา ให้พระสงฆ์ให้อุปสมบทข้าราชการในครั้งนั้น มีความ ปรากฏมาดังนี้ จึงทรงพระราชดำริห์ทำผาติกรรม โปรดให้ซื้อนาเปนเนื้อที่ ๔๐ ไร่ ๒ งาน ถวายเปนที่ธรณีสงฆ์เท่า เนื้อที่บริเวณพระนารายน์ ราชนิเวศน์ แล้วทรงบุรณปฏิสังขรณ์วัดชุมพลนิกายารามที่บางปอิน วัดเสนาสนารามที่กรุงเก่า แลวัดกวิศรารามที่เมืองลพบุรีรวม ๓ พระอารามใช้แทนค่าสิ่งซึ่งยังเหลืออยู่ ทรงไถ่พระนารายน์ราชนิเวศน์ให้พ้นจากที่วิสุงคามแต่นั้นมา สิ่งซึ่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงสร้างที่พระนารายน์ราชนิเวศน์ยังอยู่หมดทุกสิ่ง พระที่นั่งจันทรพิศาลซึ่งปฏิสังขรณ์ค้างอยู่เมื่อรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ ก็โปรดให้ทำต่อมาจนสำเร็จ พระตำหนักที่พระพุทธบาท เมื่อปีมะเสง พ.ศ.๒๔๐๐ ทรงปฏิสังขรณ์พระมณฑปพระพุทธบาทจึงโปรดให้สร้างพระตำหนักในบริเวณพระราชวังเก่าที่ท้ายพิกุลซึ่งเปนที่ร้าง ว่างอยู่ ให้มีที่ประทับแลเรือนข้างในข้างน่าหลายหลัง ( พระตำหนักแลเรือนในบริเวณวังที่พระพุทธบาท ในรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จไปประทับ ๒ ครั้ง ต่อมาชำรุดหักพังจะปลูกพลับพลาใหม่จึงรื้อหมด ไม่มีอไรเหลืออยู่ )



ตึกแถวถนนเจริญกรุงและหอกลองถ่ายจากพระที่นั่งภูวดลทัศไนย



๕๓ ศาลากลางเมืองเหนือ เมื่อในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาศหัวเมืองฝ่ายเหนือหลายคราว ได้เสด็จถึงเมืองพิศณุโลกเปนที่สุด๑ ทอดพระเนตรเห็นศาลากลางตามหัวเมืองเลวทราม ไม่สมควรจะเปนที่ทำราชการแผ่นดิน เพราะตามประเพณีแต่ก่อนมา เมื่อผู้ใดได้เปนตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองใด ต้องไปหาที่สร้างจวนอยู่เองแลปลูกศาลากลางขึ้นที่น่าจวนตามกำลังที่จะทำได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเงินหลวงให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ที่สมุหนายกไปสร้างศาลากลางขึ้นตามหัวเมืองคิดเปนจำนวนเงินหลังละ ๑๐ ชั่งโปรดให้ทำแผ่นกระดานจำหลักลายพระมหามงกุฎแผ่น ๑ ลายรูปช้างอยู่ในวงจักรแผ่น ๑ ( เหมือนตราเงินเหรียญบาทในรัชกาลที่ ๔ ทั้ง ๒ ด้าน ) แลเปนรูปตราพระราชสีห์ แผ่น ๑ ติดไว้เปนสำคัญทุกแห่ง ( ศาลากลางซึ่งสร้างเมื่อรัชกาลที่ ๔ กับทั้งแผ่นกระดานจำหลักยังเหลืออยู่จนรัชกาลที่ ๕ บ้าง ถึงรัชกาลที่ ๕ โปรดให้สร้างที่ว่าการเมือง แลที่อยู่ของผู้ว่าราชการแลกรมการในตำแหน่งเปนของหลวงครบหมดทุกเมือง ) ป้อมเมืองปราจิณบุรี โปรดให้สร้างเมืองปราจิณเปนป้อมปราการอีกแห่ง ๑ เหมือนที่เมืองพระตะบองเมืองเสียมราฐ แลเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งได้สร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๓ ๑ แต่เมื่อยังทรงผนวชอยู่ในรัชกาลที่ ๓ ได้เคยเสด็จธุดงค์จนถึงเมืองสวรรคโลก เมืองศุโขไทย. ๕๔ ที่ประพาศที่อ่างศิลา ทรงพระราชดำริห์ว่าที่ชายทะเลตำบลอ่างศิลาแขวงเมืองชลบุรีเปนที่อากาศดี ให้ทำเปนที่เสด็จประทับแห่ง ๑ กับที่เขาสมมุขข้างใต้ ตำบลอ่างศิลาก็โปรดให้ทำพลับพลาเปนที่ประพาศ ด้วย แต่การปลูกสร้างส่วนที่อ่างศิลาเปนแต่ได้กะที่บนเนินไว้สำหรับทำพลับพลาแลได้ถมศิลาที่ชายทะเลก่อนเปนท่าเรือจอด แต่ตำหนักของถาวรประจำที่ยังหาได้สร้างไม่ ทำแต่พลับพลาที่สมมุข ต่อมาเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหมสร้างตึกอาไศรยสถาน (หลังใหญ่) ขึ้นหลัง ๑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์สร้างตึกอาไศรยสถาน (หลังเล็ก) ขึ้นหลัง ๑ ที่ปลายแหลม สำหรับให้คนป่วยไปพักรักษาตัวเปนการกุศล ถึงรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จไปประพาศอ่างศิลาหลายครั้ง ทำแต่พลับพลารับเสด็จชั่วคราว หาได้ทำตำหนักของถาวรไม่ พลับพลาที่สมมุขนั้นนานมาก็ผุพังไปหมด แต่ตึกอาไศรยสถาน ๒ หลังนั้นเมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์คราวเสด็จยุโรปเมื่อในรัชกาลที่ ๕ โปรด ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ในการพระราชกุศลเฉลิมพระชัณษาพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลตกแต่งเครื่องใช้สอยครบบริบูรณ์แล้วพระราชทานนาม หลังใหญ่ว่า ตึกมหาราช นามหลังเล็กนั้นว่า ตึกราชินี ยังเปนที่อาไศรยสถานมาจนทุกวันนี้ )


๕๕ พระนครปฐมเมืองนครไชยศรี เมื่อทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์นั้นโปรด ฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เปนแม่กอง กรมขุนราชสีหวิกรมเปนนายช่าง สร้างพระราชวังขึ้นข้างด้านตวันออกพระปฐมเจดีย์แห่ง ๑ สำหรับเปนที่ประทับเวลาเสด็จออกไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ เหมือนอย่างพระราชวังซึ่งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่าทรงสร้างที่พระพุทธบาทฉนั้น พระราชทานนามว่า พระนครปฐม มีพระที่นั่งเปนตึก ๒ ชั้นที่ประทับหลังใหญ่องค์ ๑ หลังเล็ก ๒ องค์มีท้องพระโรงแลพลับพลากับโรง ลครทั้งตำหนักเรือนจันทน์ฝ่ายในก่อกำแพงมีเพิงพลรอบเขตรพระราชวังข้างภายนอกพระราชวังมีโรงม้าโรงช้าง แลมีตึกที่ประทับสำหรับเจ้านายและที่ข้าราชการผู้ใหญ่อยู่ ปลูกรายตามฝั่งคลองเจดีย์บูชาอีกหลายหลัง การที่สร้างสำเร็จได้เสด็จไปประทับแต่ในรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อก่อสร้างทางรถไฟก็ได้เสด็จไปประทับหลายครั้ง ( ในรัชกาลที่ ๕ ตั้งที่ว่าการมณฑลนครไชยศรีที่พระปฐมเจดีย์แล้วทำทางรถไฟผ่านไปทางนั้น โปรดให้สร้างที่พระปฐมเจดีย์ขึ้นเปนเมือง ตึกแลเรือนในบริเวณพระราชวังนครปฐมชำรุดจึงรื้อเสียโดยมาก ยังเหลืออยู่แต่พระที่นั่งองค์ใหญ่ อันเปนที่ประทับปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ )



๕๖ พระนครคิรีเมืองเพ็ชรบุรี โปรด ฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหมเปนแม่กองให้จมื่นราชามาตย์ ท้วม๑ ซึ่งได้เคยออกไปประเทศยุโรปกับราชทูตที่ไปเมืองอังกฤษ เลื่อนเปนพระเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ตำแหน่งปลัดเมืองเพ็ชรบุรีเปนนายงาน สร้างพระราชวังขึ้นที่บนเขามหาสมณแห่ง ๑ และเขามหาสมณนั้นมี ๓ ยอด ยอดเหนือโปรดให้สร้างพระเจดีย์วิหารยอดกลางมีพระเจดีย์อยู่แต่เดิมโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ดังจะกล่าว ในตอนที่ว่าด้วยพระเจดีย์วิหารซึ่งทรงสร้างต่อไปข้างน่า ยอดข้างใต้นั้นโปรดให้สร้างพระราชวัง การที่ก่อสร้างล้วนเปนเครื่องอิฐปูนของถาวรพระราชทานนามเรียกรวมกันว่า พระนครคิรี แลเขามหาสมณนั้นพระราชทานนามใหม่ว่า เขามหาสวรรค์ พระที่นั่งในบริเวณพระนครคิรีมีหลายหลัง พระราชทานนามต่าง ๆ กัน คือ พระที่นั่งเพ็ชรภูมิไพโรจน์ เปนท้องพระโรง พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ เปนที่ประทับ พระที่นั่งเวชยันตวิเชียรปราสาท เปนปราสาทหลังน้อยยอดปรางค์สร้างขึ้นโดยทรงพระราชดำริห์ว่า พระราชวังใหญ่แต่โบราณเช่นพระนารายน์ราชนิเวศน์ที่เมืองลพบุรี ย่อมมีปราสาท จึงทรงสร้างขึ้นเปนสังเขปที่พระนครคิรี พระที่นั่งราชธรรมสภา เปนที่ทรงธรรมแลพระราชพิธีสงฆ์ ตำหนักสันถาคารสถาน เปนที่ประทับของเจ้านายฝ่ายใน

๑ คือเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี. ๕๗ หอพิมานเพ็ชรมเหศวร์ เปนที่ทำนองศาลพระภูมิ หอจัตุเวทประดิษฐพจน์ เปนหอพระปริต มีซุ้มตะเกียงใหญ่ที่ริมพระที่นั่งราชธรรมสภาซุ้ม ๑ จุดตะเกียงแลเห็นได้ถึงทเล พระราชทานนามว่า หอชัชวาลเวียงไชย ๑ ประตูรอบบริเวณพระราชวังมีชื่อขนานต่าง ๆ กัน ประตูบริเวณพระราชวัง ๔ ประตูชื่อ ประตูนารีประเวศ ๑ ประตูวิเศษราชกิจ ๑ ประตูราชฤทธิแรงปราบ ๑ ประตูอานุภาพเจริญ ๑ ประตูในบริเวณพระราชมณเฑียร ๓ ประตู ชื่อ ประตูดำเนินทางสวรรค์ ๑ ประตูจันทร์แจ่มจำรูญ ๑ ประตูสูรย์แจ่มจำรัส ๑ ภายนอกพระราชวังมีป้อมตามไหล่เขารายรอบ ๕ ป้อม มีชื่อ ป้อมธตรฐป้องปก ๑ ป้อมวิรุฬหกบริรักษ์ ๑ ป้อมวิรูปักษ์ป้องกัน ๑ ป้อมเวศสวรรณรักษา ๑ ป้อมวัชรินทราภิบาล ๑ ๑ มีหอพราหมณ์คู่กับหอพิมานเพ็ชรมเหศวว์อิกหลัง ๑ น่าจะมีชื่อรับสัมผัสมา ต่อชัชวาลเวียงไชย แต่หาพบชื่อปรากฏไม่. ๕๘ และยังมีศาลาลูกขุนทิมดาบโรงม้าและสถานที่ต่าง ๆ อิกหลายอย่าง ถนนใหญ่ทำแต่เชิงเขาลงมาถึงท่าน้ำ พระราชทานนามว่า ถนนราชวิถี และที่เมืองเพชรบุรีนั้นโปรดให้สร้างสพานช้างก่ออิฐ ถือปูนข้ามลำน้ำสพาน ๑ สร้างตึกแถวริมถนนตลาดเมืองเพ็ชรบุรี ๒ แถว สร้างถนนแต่เชิงเขามหาสวรรค์ไปถึงเขาหลวงสาย ๑ ถนนแต่เชิง สพานช้างไปถึงเขาบันไดอิฐสาย ๑ ถนนขวางแต่ถนนราชวิถีมาถึงถนนเขาบันไดอิฐสาย ๑ สร้างประปามีเครื่องสูบน้ำขึ้นถังที่ริมลำน้ำ ฝังท่อให้ ไหลไปลงอ่างที่เชิงเขา ให้คนตักหาบขึ้นไปบนพระนครคิรี เจ้านายแลข้าราชการที่ไปตามเสด็จสร้างตึกที่พักขึ้นที่ริมน้ำ ๔หลัง คือตึกของกรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธรหลัง ๑ ของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์หลัง ๑ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์หลัง ๑ ของพระยามนตรีสุริยวงศ์ชุ่ม หลัง ๑ การก่อสร้างสำเร็จแต่รัชกาลที่ ๔ ได้เสด็จไปประทับหลายคราว ในรัชกาลที่ ๕ ก็ได้เสด็จไปประทับที่พระนครคิรีหลายคราว ( ในรัชกาลที่๕ ได้โปรด ฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระนครคิรีขึ้นสำหรับ รับแขกเมืองเจ้าต่างประเทศ เพราะฉนั้นยังอยู่บริบูรณ์ดีหมดทุกอย่าง ตึกที่พักที่ริมน้ำก็ยังใช้เปนที่พักข้าราชการอยู่ แต่ตึกแถวที่ตลาดนั้นชำรุดทรุดโทรมมาก แล้วไฟไหม้เสียเมื่อในรัชกาลปัตยุบันนี้ )




หลังคาพระที่นั่งอภิเนาวนิเวศน์ ถ่ายจากพระที่นั่งภูวดลทัศไนย (แลเห็นโครงปราสาทแถวนอก)



๕๙ เมืองที่ทรงตั้งในรัชกาลที่ ๔ เมืองจัตวาขึ้นกรุงเทพฯ ๕ เมือง ๑ ตั้งบ้านคลองบางนางรม เปนเมืองประจวบคิรีขันธ์ ( เมืองนี้เมื่อรัชกาลที่ ๒ กะจะย้ายเมืองคลองวาฬขึ้นมาตั้งที่อ่าวเกาะหลัก ด้วยอยู่ในทางข้าศึกพม่าจะมาจากเมืองตะนาวศรี เรียกมาแต่ก่อนแต่ว่าเมืองใหม่ ยังหาได้เปนหลักแหล่งไม่ ) ๒ ตั้งบ้านเกาะกง ( ใต้เมืองตราษ ) เปนเมืองประจันตคิรีเขตร ๓ ตั้งบ้านพยุแด่น ( ใต้เมืองนครสวรรค์ ) เปนเมืองพยุหคิรี ๔ ตั้งบ้านสระบัว เปนเมืองกมลาไสย ( อยู่ในมณฑลร้อยเอ็จบัดนี้ ) ๕ ตั้งบ้านยางใหญ่ เปนเมืองมหาสารคาม

เมืองขึ้นทรงตั้งใหม่ ๑๙ เมือง ขึ้นเมืองนครสวรรค์ ตั้งบ้านหาดส้มเสี้ยว เปนเมืองบรรพตพิไสย ขึ้นเมืองฉเชิงเทรา ตั้งบ้านท่าซ่าน เปนเมืองพนมสารคาม ขึ้นเมืองอุบลราชธานี ตั้งบ้านกวางชโด เปนเมืองพิมูลมังษาหาร


๖๐ ตั้งบ้านเวินไชย เปนเมืองมหาชนะไชย ตั้งบ้านยักขุ เปนเมืองชาณุมานมณฑล ตั้งบ้านสะพือ เปนเมืองตระการพืชผล ขึ้นเมืองหนองคาย ตั้งบ้านหนองบัวลำภู เปนเมืองกุมุทาไสย ตั้งบ้านหงษ์ทอง เปนเมืองธุรคมหงษ์สถิตย์ ขึ้นเมืองขุขันธ์ ตั้งบ้านห้วยลำแสน เปนเมืองกันทราลักษณ์ ตั้งบ้านอุทุมพร เปนเมืองอุทุมพรพิไสย ขึ้นเมืองสกลนคร ตั้งบ้านภูหว้า เปนเมืองภูวดลสอาง ตั้งบ้านกุดลิง เปนเมืองวานรนิวาศ ตั้งบ้านโพธิ์สว่าง เปนเมืองสว่างแดนดิน ขึ้นเมืองมุกดาหาร ตั้งบ้านท่าทราย เปนเมืองพาลุกากรภูมิ ขึ้นเมืองหนองหาร ตั้งบ้านปลาเป้า เปนเมืองวาริชภูมิ ขึ้นเมืองนครพนม ตั้งบ้านท่าม่วง เปนเมืองอากาศอำนวย


๖๑ ขึ้นเมืองกมลาไสย ตั้งบ้านลำพัน เปนเมืองสหัสขันธ์ ขึ้นเมืองสุวรรณภูมิ ตั้งบ้านโป่ง เปนเมืองพนมไพรแดนมฤค ขึ้นเมืองนครเสียมราฐ ตั้งบ้านละลวด เปนเมืองสูตรนิคม









๖๒ ภาคที่ ๓ พระเจดีย์วิหารที่ทรงสถาปนาในรัชกาลที่ ๔ พระอารามหลวงทรงสร้างใหม่ในกรุง ฯ ๕ พระอาราม ๑ วัดบรมนิวาศ ทรงสร้างแต่ยังทรงผนวช เพื่อจะเปนที่ประทับสำราญพระอิริยาบถ เดิมเรียกว่าวัดนอก ครั้นถวายเปนพระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้า-เจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า วัดบรมนิวาศ ๒ วัดโสมนัศวิหาร ทรงสร้างเมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖ อุทิศพระราชทานสมเด็จพระนาง-โสมนัศวัฒนาวดี ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๕ ๓ วัดปทุมวนาราม ทรงสร้างเมื่อปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๐๐ พระราชทานเปนวัดของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ๔ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสิมาราม ทรงสร้างเมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๔๐๗ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระคลังข้างที่ ทรงพระราชอุทิศ เฉภาะพระสงฆ์คณะธรรมยุติกา โดยได้เปนศิษานุศิษย์ศึกษาตามลัทธิธรรม ซึ่งพระองค์ได้ทรงเริ่มริชำระตกแต่งตั้งตำราขึ้น ถึงรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้แบ่งพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปบรรจุในพระพุทธอาศน์เปนที่สักการบูชาในวัดราชประดิษฐฯ นี้ด้วย


๖๓ การที่บรรจุพระบรมอัฐิเปนกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริห์ว่า พระบรมอัฐิสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓ รัชกาลก่อน ซึ่งเปนส่วนของพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลนั้น ๆ ได้พระราชทานไป เมื่อเจ้านายสิ้นพระชนม์ไม่มีผู้จะพิทักษ์รักษา ได้เชิญกลับมารักษาไว้เปนของหลวงมีอยู่ ควรจะประดิษฐานไว้ให้มหาชนกระทำสักการะบูชาแลบำเพ็ญกุศลสนองพระเดชพระคุณได้โดยง่าย จึงโปรดให้บรรจุพระบรมอัฐิในกล่องศิลา แล้วเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ไปบรรจุไว้ที่พระพุทธอาศน์พระประธานในพระอุโบสถวัดพระเชตุพน พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย บรรจุไว้ที่พระพุทธอาศน์พประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรจุไว้ที่พระพุทธอาศน์พระประธานในพระอุโบสถวัดราชโอรส แลมีรับสั่งไว้ว่าให้บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ที่วัดราชประดิษฐฯ อย่างเดียวกัน ๕ วัดมงกุฏกระษัตริย์ ทรงก่อฤกษ์เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๐ แต่แรกพระราชทานนามว่าวัดมงกุฏกระษัตริย์ คนทั้งหลายเห็นพ้องกับพระ ปรมาภิธัยไม่ใคร่กล้าเรียกนามวัด จึงทรงขนานนามใหม่ว่า วัดพระนามบัญญัติ แล้วมีรับสั่งไว้ว่า ถ้าถึงรัชกาลหลังให้เปลี่ยนนามเปนวัดมงกุฏ กระษัตริย์ตามเดิม ถึงรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดให้เปลี่ยนนามตามกระแส รับสั่ง


๖๔ พระอารามหลวงในกรุง ฯ ที่ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ คือ ๑ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดให้ถมที่ต่อฐานทักษิณพระมณฑปออกไปทั้งด้านตวันออกแลด้านตวันตก ทำพนักศิลา ล้อมทั้ง ๒ ชั้น สร้างประตูซุ้มมณฑปประดับกระเบื้องที่บรรไดขึ้น ๖ ประตู แล้วสร้างพระระเบียงวัด ตรงด้านสกัดฐานทักษิณที่ต่อใหม่นั้น ต่อเปนคดขยายที่ออกไปทั้งด้านตวันออกแลด้าน ตวันตก ทางด้านตวันออกทำประตูซุ้มมงกุฏ ประดับกระเบื้องที่พระระเบียง แลมีพลับพลาเปลื้องเครื่องอยู่ข้างประตูข้างละหลัง ทางด้าน ตวันตกทำประตูหลังคาจัตุรมุขมีพลับพลาเปลื้องเครื่องข้างเหนือประตูหลัง ๑ บนลานทักษิณพระมณฑปที่ต่อใหม่ทางด้านตวันออกสร้างปราสาทยอดปรางค์องค์ ๑ประดับกระเบื้องทั้งฝาผนังแลยอดปรางค์พระราชทานนามว่าพระพุทธปรางค์ปราสาท ( คือปราสาทพระเทพบิดรเดี๋ยวนี้ ) ทรงก่อฤกษ์เมื่อเดือน ๖ แรม ๙ ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ เดิมทรงพระราชดำริห์จะให้เปนที่ประดิษฐานพระแก้วมรกฎแต่เมื่อสร้างขึ้นแล้วเห็นไม่พอที่จะทำการพระราชพิธีต่าง ๆ จึงไม่ได้เชิญพระแก้วมรกฎมาดังทรงพระราชดำริห์ไว้แต่เดิม ทางด้านตวันตกพระมณฑปนั้น โปรดให้สร้างเจดีย์ตามแบบพระมหาสถูปในวัดพระศรี-สรรเพ็ชญ์ที่กรุงเก่าองค์ ๑ ทรงก่อฤกษ์เมื่อเดือนยี่แรม ๑๑ ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ทรงขนานนามว่าพระศรีรัตนเจดีย์ ( แต่พึ่งประดับกระเบื้องทองเมื่อในรัชกาลที่ ๕ )


พระพุทธมณเฑียร และพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน. ถ่ายจากพระที่นั่งภูดลทัศไนย.




๖๕ พระมณฑปของเดิมซึ่งสร้างเมื่อรัชกาลที่ ๑ นั้น โปรดให้ซ่อมแซมเครื่องบนใหม่ แลพื้นข้างในพระมณฑปเดิมคาดแผ่นเงิน โปรดให้สานเปนเสื่อเงินปูแทน ที่มุมพระระเบียงข้างน่าพระอุโบสถโปรดให้สร้างมณฑปยอดปรางค์หลัง ๑ เปนที่ประดิษฐานพระเจดีย์โบราณ ซึ่งเชิญลงมาแต่เมืองเหนือข้างน่ามณฑปนั้นลงมาสร้างหอพระยอดปรางค์อิกหลัง๑เปนที่ประดิษ ฐานพระคันธารราษฎ ( แต่การประดับกระเบื้องทำต่อเมื่อในรัชกาลที่ ๕ ) แล้วโปรดให้ทำแท่นปูแผ่นมะนังศิลาของสมเด็จพระร่วงไว้ข้างน่าหอพระนั้น ทางด้านใต้พระอุโบสถโปรดให้สร้างหอระฆังใหม่ ( เข้าใจว่าตรงที่หอระฆังเดิม ) ข้างหลังพระอุโบสถโปรดให้สร้างมณฑปยอดปรางค์ประดับกระเบื้องเปนที่ประดิษฐานพระปรางค์ของโบราณ พระราชทานนามว่า พระโพธิธาตุพิมาน แลสร้างหอพระข้างละหลัง หลังข้างเหนือเปนที่ไว้พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ซึ่งทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินครั้ง กรุงเก่า พระราชทานนามว่า หอราชกรมานุสร ฝาผนังข้างในโปรดให้พระอาจารย์อิน วัดราชบุรณะ เขียนเรื่องพระราชพงษาวดารครั้งกรุงศรีอยุธยา หอข้างใต้เปนที่ไว้พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในกรุงรัตนโกสินทร์พระราชทานนามว่าหอราชพง ศานุสร โปรดให้พระอาจารย์อินเขียนเรื่องพระราชพงษาวดารกรุงรัตนโกสินทร์

๑ เรียกกันว่า ขรัวอินโข่ง เปนช่างเขียนภาพไม่มีตัวสู้ในสมัยนั้น. ๖๖ พระอุโบสถนั้น โปรดให้ซ่อมตัวไม่เครื่องบนแลเขียนภาพที่ฝาผนังใหม่ แต่ภาพเรื่องมาผจญด้านหุ้มกลองข้างน่านั้นคงของเดิมไว้ หาได้เขียนใหม่ไม่ พื้นพระอุโบสถเดิมปูเสื่อทองเหลืองโปรดให้หล่อเปนแผ่นอิฐทองเหลืองปูใหม่ ยังมีการอื่น ๆ ที่ได้ทรงสถาปนาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามอิกหลายอย่าง ซึ่งยังไม่ทราบรายการแน่ ๒ วัดบวรนิเวศ วัดบวรนิเวศทรงบูรณะมาแต่เมื่อทรงผนวชอยู่ ในรัชกาลที่ ๓ คือเชิญพระชินสีห์มาไว้ในพระอุโบสถ แลสร้างพระเจดีย์ที่หลังพระอุโบสถเปนต้น ด้วยเสด็จประทับอยู่วัดนั้นหลายปี แล้วทรงสร้างเพิ่มเติมต่อมาในรัชกาลที่ ๔ อิกก็มาก มีของที่พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างมากกว่าที่กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพได้ทรงสร้างไว้แต่เดิม ๓ วัดพระเชตุพน เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖ โปรดให้ถ่ายอย่างพระเจดีย์ วัดสวนหลวงสบสวรรค์ที่กรุงเก่ามาสร้างในวัดพระเชตุพน เปนพระเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๔ องค์ ๑ ประดับกระเบื้องทั้งองค์แลโปรดให้ต่อพระระเบียงที่ล้อมพระเจดีย์ ๓ องค์ ของเดิมขยายออกไปทางด้าน ตวันตกล้อมพระเจดีย์ที่ทรงสร้างใหม่ไว้ในบริเวณเดียวกันด้วย


๖๗ เมื่อทรงสร้างพระเจดีย์นั้นได้มีรับสั่งไว้ว่า ต่อไปในรัชกาลหลังอย่าให้เอาเปนแบบอย่างที่จำจะต้องสร้างพระเจดีย์ประจำรัชกาลใน วัดพระ เชตุพนต่อไปเลย เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ รัชกาลแต่แรกนั้นได้เคยทรงเห็นกันทั้ง ๔ พระองค์ผิดกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่นด้วยเหตุนี้จึงมิได้ทรงสร้างเพิ่มเติมในรัชกาลหลังต่อมา ที่ในพระอุโบสถนั้นโปรดให้เชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ไปบรรจุไว้ที่พระพุทธอาศน์ให้มหาชนได้กระทำสักการบูชา. ๔ วัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์ ใหม่ทั้งพระอาราม การยังไม่เสร็จจนรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ โปรดให้เชิญ รูปสมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร ซึ่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้หล่อไว้ แห่จากหอพระนาคไปไว้ในพระวิหารวัดมหาธาตุแล้วโปรดให้สร้างพระวิหารน้อยขึ้นที่ตรงที่พระตำหนักซึ่งเสด็จประทับเมื่อแรกทรงผนวช อยู่ที่ริมต้นโพธิ์ลังกาหลัง ๑ มีกำแพงแก้วเปนบริเวณรอบ ๕ วัดชะนะสงคราม วัดชะนะสงคราม พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์คราวเดียวกับวัดมหาธาตุ การก็ยังค้างอยู่ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ


๖๘ ๖ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดสุทัศน์เทพวราราม โปรดให้สร้างพระพุทธรูปมีพระอสีติสาวกนั่งล้อมที่ในพระอุโบสถ แลโปรดให้เชิญพระศาสดาจากวัดประดู่มาไว้ วัดสุทัศน์ ประดิษฐานไว้ที่น่าอุโบสถ ตั้งแต่ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖ จนถึงปี ชวด พ.ศ. ๒๔๐๗ จึงได้ย้ายไปวัดบวรนิเวศ แลโปรดให้สร้างศาลาบนกำแพงข้างน่าวัด ๔ หลัง ๗ วัดสระเกษ วัดสระเกษ พระบามสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระเจดีย์องค์ ๑ จะให้เปนเจดีย์ใหญ่อย่างภูเขาทองที่กรุงเก่า แต่ตรงที่สร้างเปนชายคลองมหานาคแผ่นดินอ่อน ก่อพระเจดีย์ขึ้นไปพอน้ำหนักมากก็ซุดลงทุกครั้งแก้ไม่หาย จึงต้องหยุดการสร้างพระเจดีย์นั้นค้าง อยู่เพียงแต่ฐานมาแต่รัชกาลที่ ๓พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์ แพ ( บุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ ซึ่งเปนผู้สร้างพระเจดีย์นั้นเมื่อรัชกาลที่ ๓ ) เปนแม่กอง ให้พระยาราชสงครามเปนนายช่าง ซ่อมแปลงพระเจดีย์ที่ค้างอยู่นั้นทำเปนภูเขาแลสร้างพระเจดีย์ไว้บนยอด มีบันไดเวียนทางขึ้นไปได้ถึงพระเจดีย์ ๒ทาง พระราชทานนามว่าบรมบรรพต แลโปรดให้สร้างพระระเบียงรอบพระอุโบสถ ซึ่งทำค้างมาแต่รัชกาลที่ ๓ ให้สำเร็จบริบูรณ์ ๘ วัดมหาพฤฒาราม เมื่อขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองผ่านไปน่าทางวัดตะเคียนเปนวัดโบราณ จึงทรงพระราชศรัทธาโปรดให้กรมหมื่นภูมินทรภักดี ๖๙ เปนแม่กองทรงบุรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม พระอุโบสถวิหาร ของเดิมก็รื้อสร้างใหม่ แลเดิมมีพระปรางค์ ๔ องค์ อยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหาร ก็โปรดให้ก่อครอบใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ทรงพระราช อุทิศบูชาพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ แล้วพระราชทานนามพระอารามว่า วัดมหาพฤฒาราม แลขณะเมื่อเจ้าเริ่มการปฏิสังขรณ์นั้น พระอาจารย์แก้วผู้เปนอธิการมีอายุได้ ๑๐๗ ปี มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ทรงเลื่อมใสจึงทรงตั้งเปนราชาคณะที่พระมหาพฤฒาจารย์ด้วย ๙ วัดปทุมคงคา วัดปทุมคงคา พระยาสวัสดิวารีได้รับพระราชทานพระราชานุญาตปฏิสังขรณ์เมื่อรัชกาลที่ ๓ การค้างอยู่ ถึงรัชกาลที่ ๔ พระยาพิศาลศุภผล ชื่น ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตปฏิสังขรณ์ต่อไป พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงช่วยในส่วนปฏิสังขรณ์พระประธานที่ในพระอุโบสถ โปรดให้กรมขุนราชสีหวิกรม เปนนายช่าง แก้พระประธานเปนพระทรงเครื่องต้น แล้วยกพุทธอาศน์ให้สูงขึ้น แลเสิมฐานชุกชีออกมาทำเทวรูปถือดอกไม้ทองเงิน ๒ องค์ ๑๐ วัดราชาธิวาศ วัดสมอราย ได้เริ่มทรงปฏิสังขรณ์มาแต่ยังทรงผนวช ครั้งเสด็จประทับอยู่เมื่อก่อนจะเสด็จมาประทับวัดบวรนิเวศ ถึงในรัชกาลที่ ๔ โปรดให้พระยาเพ็ชรพิไชย หนู เมื่อยังเปนพระยาสามภพพ่ายเปนแม่กองทำการบุรณปฏิสังขรณ์ต่อมาคือต่อมุขขวางข้างน่าและหลังพระอุโบสถ ๗๐ สร้างพระเจดีย์ขึ้นข้างหลังพระอุโบสถ สร้างเสนาศน์ใหม่ แลสร้างเมรุปูนกับศาลาบริเวณสำหรับทำการปลงศพขึ้นข้างน่าพระอาราม พระราชทานนามพระอารามใหม่ว่า วัดราชาธิวาส ๑๑ วัดอรุณราชวราราม วัดอรุณฯ เดิมมีนามว่า วัดอรุณราชธาราม ทรงแก้เปนวัดอรุณราชวรารามแลทรงบูรณ ปฏิสังขรณ์หลายอย่าง คือโปรดให้เชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัยไปบรรจุที่ พระพุทธอาศน์ในพระอุโบสถ ให้มหาชนได้สักการบูชา แลที่พระอุโบสถนั้นโปรดให้สร้างบุษบกยอดปรางค์ขึ้นริมผนังทั้งด้านน่าด้านหลังพระอุโบสถ ด้านน่าสำหรับจะประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ด้านหลังสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระพุทธรูปฉลองพระองค์ส่วนพระองค์เอง ( การประดิษฐานพระพุทธรูปค้างอยู่ได้ประดิษฐานพระพุทธรูป ฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อในรัชกาลที่ ๕ ) อนึ่งเดิมประดับกระเบื้องเคลือบเปนลายดอกไม้ร่วงแต่ที่ฝาผนังข้างนอกพระอุโบสถ โปรดให้ประดับเพิ่มเติมต่อออกมาจนเสารายรอบพระอุโบสถ ที่พระวิหาร เดิมฝาไม่ได้ประดับกระเบื้อง โปรดให้ประดับใหม่ทั้งหลัง



รูปท้องสนามไชย ถ่ายจากหอกลาง




๗๑ ๑๒ วัดกัลยาณมิตร ที่วัดกัลยาณมิตรทรงสร้างหอไตรหลัง ๑ สร้างตรงที่ซึ่งสมเด็จพระไอยิกา กรมพระศรีสุดารักษ์ จอดแพที่ประทับเมื่อครั้งกรุงธนบุรีเปนราชธานี

๑๓ วัดบุบผาราม วัดดอกไม้ ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ กับเจ้า พระยาทิพากรวงศ์ บุรณปฏิสังขรณ์ ทรงช่วยในส่วนพระอุโบสถ แล้วพระราชทานนามว่า วัดบุบผาราม ๑๔ วัดโมลีโลก วัดโมลีโลก ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม อนึ่งพระตำหนักเดิมของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ซึ่งรื้อไปปลูกถวายเปน กุฎิเจ้าอาวาศที่วัดโมลีโลกเมื่อเสด็จสวรรคตนั้น โปรดให้ย้ายไปปลูกที่วัดเขมาภิรตาราม อันเปนวัดซึ่งสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ ฯ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ โปรดให้สร้างกฏิตึกถวายให้เจ้าอาวาศวัดโมลีโลก ทั้งหมู่ แทนพระตำหนักที่รื้อย้ายไปนั้น ๑๕ วัดหงษ์รัตนาราม วัดนี้นามเดิมว่าวัดเจ้าขรัวหงษ์ แล้วเปลี่ยนมาเปนวัดหงษาราม สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีทรงบุรณปฏิสังขรณ์ด้วยกันกับวัดเขมาภิรตาราม ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับปฏิสังขรณ์วัดเขมา ฯ โปรดให้พระบาทสมเด็จ ฯ พระปิ่นเกล้า ๗๒ เจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์วัดหงษ์ การยังไม่แล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จ ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ พระราชทานนามว่าวัดหงษ์รัตนาราม ๑๖ วัดราชสิทธาราม ที่วัดราชสิทธาราม ทรงสร้างพระเจดีย์ทรงเครื่องข้างน่าพระอาราม ๒ องค์ องค์ ๑ ขนานนามว่า พระศิราศนเจดีย์ อุทิศถวายพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกองค์ ๑ ทรงขนานพระนามว่า พระศิรจุมพฏเจดีย์ เปนส่วนของพระองค์เอง เหตุด้วยได้ทรงศึกษามาในสำนักสมเด็จพระสังฆราชสุก เมื่อยังเปนพระญาณสังวรเถรอยู่วัดราชสิทธ ฯ นั้น ทั้ง ๒ พระองค์ ๑๗ วัดหิรัญรูจี เดิมชื่อวัดน้อยบางไส้ไก่ เจ้าขรัวเงินพระบิดาของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีได้ทรงสถาปนาไว้เมื่อครั้งกรุงธนบุรี โปรดให้พระยาสีหราชเดโชไชยเปนแม่กองทำการปฏิสังขรณ์ทั้งพระอาราม แล้วพระราชทานนามว่า วัดหิรัญรูจี ๑๘ วัดราชโอรส วัดราชโอรส ซึ่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอู่หัว ทรงสร้างวัดจอมทองของโบราณไว้เมื่อรัชกาลที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เชิญพระบรมอัฐิพระบาท

๗๓ สมเด็จ ฯพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปบรรจุไว้ที่พระพุทธอาศน์ในพระอุโบสถให้มหาชนได้สักการบูชา แลโปรดให้ปฏิสังขรณ์วิหารโถงที่ประดิษฐานพระสิทธารถของโบราณอยู่ที่ริมคลอง กับศาลารายที่รินคลองรวม ๖ หลัง ๑๙ วัดวงศมูลวิหาร วัดใหม่ กรมขันธิเบศร์บวรทรงสร้างขึ้นข้างหลังวัง ( คือ บริเวณที่ว่าการกระทรวงทหารเรือทุกวันนี้ เปนพระราชนิเวศน์เดิมของพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์เสด็จประทับเมื่อครั้งกรุงธนบุรี ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อโปรดให้พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จไปประทับที่พระราชวังเดิม จึงพระราชทานพระนิเวศน์เดิมให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ประทับ ถึงรัชกาลที่๒กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์โปรดให้กรมขุนธิเบศร์บวรซึ่งเปนลูกเธอพระองค์ใหญ่ประทับต่อมา จึงได้ทรงสร้างวัดขึ้นข้างหลังวัง ) แต่สร้างค้างอยู่พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้กรมหมื่นอนันตการฤทธิ ซึ่งได้ประทับอยู่ที่วังนั้นต่อมา เปนแม่กองสร้างวัดใหม่จนแล้ว พระราชทานนามว่า วัดวงศมูลวิหาร

๒๐ วัดชิโนรสาราม สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสได้ทรงสร้างวัดในคลองมอญวัด ๑ สำหรับจะเปนที่ประทับสำราญพระอิริยาบถ ได้ทรงสร้างพร้อมกับเมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดบรมนิวาศ ทรง ๗๔ รฦกถึงพระคุณของสมเด็จกรมพระปรมานุชิต ฯ จึงโปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้น ๒ องค์ แลโปรดให้เขียนฝาผนังข้างในพระอุโบสถพระราชทานเพิ่มเติม แล้วพระราชทานนามว่า วัดชิโนรสาราม ๒๑ วัดศรีสุดาราม วัดชีปะขาว ในคลองบางกอกน้อย เปนวัดโบราณ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ทรงบุรณปฏิสังขรณ์ เมื่อรัชกาลที่ ๑นานมาน้ำเซาะตลิ่งพังเข้าไปทุกทีจนถึงน่าพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้เจ้าพระยามุขมนตรีเปนแม่กอง สร้างพระอุโบสถใหม่ย้ายเข้าไปให้พ้นอันตราย แลให้ลงเขื่อนกันที่น้ำเซาะแล้วพระราชทานนามพระอารามว่า วัดศรีสุดาราม ๒๒ วัดบวรมงคล วัดนี้ เดิมชื่อวัดลิงขบอยู่ริมแม่น้ำฝั่งตวันตก กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงบุรณปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่ ๒ ได้พระราชทานนามว่า วัดบวรมงคล ถึงรัชกาลที่ ๔ ชำรุดทรุดโทรมทั้งพระอารามจึงโปรดให้พระองค์เจ้าใย ลูกเธอในกรมพระราชวังบวรพระองค์นั้นเปนแม่กองปฏิสังขรณ์ทั้งพระอาราม วัดหัวเมือง แขวงจังหวัดนนทบุรี ๒๓ วัดไชยพฤกษมาลา วัดไชยพฤกษ์ เปนวัดโบราณร้างอยู่เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้รื้ออิฐมาสร้าง

๗๕ กำแพงพระนคร ตอนซึ่งพระองค์ทรงเปนนายด้าน ครั้นถึงรัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างวัดไชยพฤกษ์ใช้ยังไม่สำเร็จ มีรับสั่งให้พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังไม่ได้ทรงผนวชเปนแม่กองทำเปนการหลวง การค้างอยู่ตลอดรัชกาลที่ ๓ ด้วยพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดให้พระเจ้าลูก ยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศเปนแม่ กองสร้างต่อมา พระราชทานนามว่า วัดไชยพฤกษ์มาลา ( การสำเร็จบริบูรณ์เมื่อในรัชกาลที่ ๕ ) ๒๔ วัดเขมาภิรตาราม วัดเขมาเปนวัดโบราณ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีทรง บุรณปฏิสังขรณ์ เมื่อรัชกาลที่ ๒ ครั้นนานมาชำรุดทรุดโทรมไป ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดให้กรมหมื่นมนตรีรักษาซึ่งเปนพระโอรสเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษมนตรี เปนแม่กองทำการบุรณปฏิสังขรณ์ต่อมา คือ โปรดให้ถ่ายอย่างพระเจดีย์ที่วัดศรีอโยธยา ( คือวัดเดิม ) ในกรุงเก่ามาสร้างข้างหลังพระอุโบสถ สูง ๑๕ วา มีพระเจดีย์น้อยประจำทิศ ๔ องค์ ที่ในพระอุโบสถโปรดให้สร้างพระพุทธรูปมีพระอสีติสาวกแลเขียนฝาผนังทำบานประตูน่าต่างใหม่ สร้างกำแพงแก้วแลประตูรอบพระอุโบสถ แลสร้างการเปรียญศาลาทั้งปวงให้บริบูรณ์ทั้งพระอาราม

๗๖ โปรดให้ย้ายพระตำหนักของสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ ซึ่งถวายไว้ในวัดโมลีโลก มาปลูกเปนเสนาศน์สำหรับเจ้าอาวาสวัดเขมา แล้วพระราชทานนามพระอารามว่า วัดเขมาภิรตาราม ๒๕ วัดเฉลิมพระเกียรดิ์ วัดเฉลิมพระเกียรดิ์นั้น พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างที่จวนเดิมของพระยานนทบุรี ซึ่งเปนพระชนกสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระพันปีหลวง การยังค้างอยู่ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสร้างต่อมา เปนการทรงสนองพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เปนแม่กองการบุรณจนสำเร็จทั้งพระอาราม แขวงจังหวัดสมุทปราการ ๒๖ พระสมุทเจดีย์ พระสมุทเจดีย์นั้นในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างเปนพระเจดีย์ไม้ สิบสอง สูง ๑๓ วา ๓ ศอก อยู่กลางเกาะ มีศาลาสี่ทิศ ถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ โปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เปนแม่กอง พระยามหาอรรคนิกร พระอมรมหาเดช เปนนายงานทำการบุรณปฏิสังขรณ์ให้จัดซื้อศิลาถมขยายเกาะให้กว้างออกไป แล้วถ่ายแบบพระเจดีย์ กลมที่กรุงเก่ามาสร้างสวมพระเจดีย์ไม้สิบสองของเก่าถานกว้าง ๑๐ วา สูง ๒๐ วา ทำกำแพงและศาลารายสี่ทิศ สร้างพระวิหารหลวงข้าง


ท่าราชวรดิษฐ์ (ถ่ายในรัชกาลที่๕ แต่พระที่นั่งของเดิมยังอยู่บริบูรณ์)





๗๗ ด้านใต้พระเจดีย์หลัง ๑ สร้างหอระฆังข้างน่าพระวิหารหลวงแลสร้างวิหารน้อยข้างเหนือพระเจดีย์ ๒ หลังเปนที่สำหรับราษฎรฝากพระพุทธรูปแล้วก่อกระถางปลูกพระศรีมหาโพธิ ซึ่งทรงเพาะเมล็ดพรรณพระศรีมหาโพธิที่ได้มาแต่เมืองพุทธคยา ที่ขอบเกาะนั้นให้ทำเขื่อนแลคั่นบันไดศิลาก่อเรือนไฟแลหลักสำหรับผูกเรือรายรอบทั้งเกาะ การที่สร้างสิ้นเงินหลวง ๒๑,๒๔๒ บาท เงินมีผู้ศรัทธาเรี่ยราย ๓,๕๐๒ บาท รวมทั้งสิ้นเปนเงิน ๒๔,๗๔๔ บาท แต่ของหลวงที่จ่ายไม่ได้คิด.. ( การที่ทรงบุรณปฏิสังขรณ์พระสมุทเจดีย์นี้ ปรากฎกระแสพระราชดำริห์ในพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ในประกาศ ว่าเมื่อรัชกาลที่ ๒ ครั้งสร้างป้อมนารายน์ปราบศึก ป้อมพระกาฬ ป้อมประโคนไชย แลป้อมผีเสื้อสมุทนั้น พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จลงไปพระราชทานพระกฐินที่เมืองสมุทปราการเมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๓๖๖ ทอดพระเนตรเห็นเกาะน้อยมีอยู่ข้างเหนือป้อมผีเสื้อสมุทเกาะ ๑ จึงทรงพระราชดำริห์จะสร้างพระมหาสถูปขึ้นที่เกาะนั้นสักองค์ ๑ เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าการที่ทรงสร้างป้อมปราการขึ้นที่เมือง สมุทปราการขึ้น เพื่อจะรักษาพระพุทธสาสนา จึงมีพระราชโองการดำรัสสั่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังดำรงพระยศ เปนพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาประยูรวงศ์เมื่อยังเปนเจ้าพระยาพระคลังให้เปนแม่กองจัดการจ้างเรือลูกค้าขนศิลามาถมที่เกาะนั้นให้แน่นหนามั่นคง ครั้นการถม


๗๘ ศิลาเสร็จแล้วจึงโปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ แต่ยังดำรงพระยศเปนกรมหมื่นศักดิพลเสพ คิดอย่างเจดีย์ที่สร้าง ถวายทอดพระเนตร ทรงแก้ไขตัวอย่างจนพอพระราชหฤไทยแล้ว แต่ยังหาได้ลงมือสร้างไม่ ด้วยทรงพระราชดำริห์ว่าที่ดินพึ่งถมใหม่ เกรงจะทรุด จะรอไว้ให้ที่ดินอยู่ตัวเสียก่อน เปนแต่ทรงขนานนาม พระเจดีย์ไว้ว่าพระสมุทเจดีย์ การค้างอยู่เพียงนั้นก็สิ้นรัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๓ โปรดให้สร้างป้อมปราการที่ยังค้างอยู่ให้สำเร็จ แลให้สร้างป้อมนาคราชขึ้นที่เมืองสมุทปราการทางฝั่งตวันตก สร้างป้อมคงกระพันขึ้นที่ตำบลบางจะเกรง สร้างป้อมตรีเพ็ชรขึ้นที่ปากคลอง บางปลากดรวม ๓ ป้อม ครั้นถึงปีกุญ พ.ศ. ๒๓๗๐ จึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ เมื่อยังเปนเจ้าพระยาพระคลังเปน แม่กองสร้างพระสมุท เจดีย์ขึ้นตามกระแสพระราชดำริห์ในพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เปนพระเจดีย์รูปไม้สิบสอง ( อย่างพระเจดีย์ที่วัดพระเชตุพน ) ขึ้นกับศาลา ๔ หลัง พอสร้างพระเจดีย์เสร็จแล้วคนทั้งหลายก็พากันไปบูชาเปนการนักขัตฤกษ์ประจำปีในเดือน ๑๑ แรม ๘ ค่ำเสมอมาไม่ขาด แลพระสมุทเจดีย์นี้ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๕ โปรดให้สร้างศาลาข้างเหนือพระเจดีย์เพิ่มเติมขึ้นอิกหลัง ๑ ) ๒๗ วัดเกาะสีชัง เมื่อเสด็จประพาศที่เกาะสีชังทรงพระราชศรัทธาให้เจ้าพระยา ทิพากรวงศ์เปนแม่กองสร้างวัดพระราชทานสำหรับพวกชาวเกาะจะได้


๗๙ ประพฤติกิจในพระสาสนาวัด ๑ สร้างพระอุโบสถก่ออิฐถือปูนบนเนินเขาข้างปลายแหลมด้านตวันออก ที่เชิงเนินสร้างการเปรียญ แลกุฎีสงฆ์เปนเครื่องไม้ครบทั้งวัด ( วัดนี้ย้ายไปสร้างใหม่ที่ไร่บนทางเหนือเกาะ พระราชทานนามว่าวัดจุฑาทิศนธรรมสภาราม ฯ เมื่อในรัชกาลที่ ๕ ) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒๘ วัดสุวรรณดาราราม วัดสุวรรณดาราม เปนวัดของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ต้นพระบรมราชจักรีวงศ์ได้ทรงสถาปนาไว้เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานีเปนวัดร้างมาแต่เสียกรุงเก่า ถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ กับกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสถาปนาให้คืนดีมีพระสงฆ์อยู่อย่างเดิม ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์ แลโปรด ให้สร้างการเปรียญเสนาศน์ใหม่ ในรัชกาลที่ ๔ ก็ทรงสร้างเพิ่มเติม อิกหลายอย่างคือ สร้างพระเจดีย์ใหญ่สำหรับพระอารามองค์ ๑ สร้างพระวิหารหลวงน่าพระเจดีย์หลัง ๑ โปรดให้จำลองรูป พระแก้วมรกฎขยายส่วนให้ใหญ่สร้างเปนพระประธานในพระวิหารหลวง ( พระวิหารหลวงมาสำเร็จในรัชกาลที่ ๕ ) สร้างศาลาโรงควงใหม่หลัง ๑ แลก่อกำแพงแก้วล้อมรอบบริเวณพระอุโบสถแลพระวิหาร

๘๐ โปรดให้ขุดคลองแต่คลองมขามเรียงผ่านวัดสุวรรณไปออกลำน้ำขื่อน่าพระนคร ให้เปนทางเรือไปมาถึงวัดได้ด้วย นามพระอารามนั้นเดิมเรียกในราชการว่า วัดสุวรรณดาราม ทรงพระราชดำริห์ว่าความยังเคลือบคลุม จึงทรงแก้นามพระอารามเปนวัดสุวรรณดาราราม เพราะที่ในพระอุโบสถเพดานมีดาวทองจำหลัก ( เหมือนที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ) ทำไว้แต่รัชกาลที่ ๑ ๒๙ วัดพระเจ้าพนันเชิง พระพุทธรูปพระเจ้าพนันเชิงชำรุดร้าวอยู่ ทรงพระราชดำริห์ว่าวัดพระเจ้าพนันเชิง พระบรรพบุรุษในพระบรมราชจักรีวงศ์ได้เคยบุรณปฏิสังขรณ์มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเปนราชธานี จึงโปรดให้ ปฎิสังขรณ์แล้วลงรักปิดทองใหม่ทั้งพระองค์ ๓๐ วัดขุนยวม เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จขึ้นไปประพาศที่กรุงเก่าเนือง ๆ ในสมัยนั้นวัดขุนยวนยังเปนวัดร้าง มีรับสั่งแก่พระธรรมราชา คุ้มวัดศาลาปูน ซึ่งเปนเจ้าคณะสงฆ์กรุงเก่า จะขอประทับอาไศรยที่วัดขุนยวม พระธรรมราชา คุ้ม ถวายอนุญาตแลจัดการทั้งปวงถวายตามพระประสงค์ ได้โปรดให้ปลูกตำหนักขึ้นในวัดนั้น แลทรงปฎิสังขรณ์ให้กลับเปนวัดมีพระสงค์ขึ้นอย่างแต่ก่อน


๘๑ ๓๑ วัดเสนาศนาราม วัดเสนาศน์ เปนวัดโบราณ เดิมชื่อวัดเสื่อ เมื่อขยายเขตรวังจันทรเกษมในครั้งกรุงเก่า เห็นจะเปนเมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์ วัดเสื่ออยู่ในเขตกำแพงวังจึงเปนวัดไม่มีพระสงฆ์ตลอดสมัยครั้งกรุงเก่า แล้วเลยร้างอยู่กับวังจันทร์ ฯ ด้วยกัน จนถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างวังจันทรเกษม แลพระนารายน์ราชนิเวศน์ มีพระราชประสงค์จะทรงสร้างวัดเปนผาติกรรมไถ่พระราชวังเมืองลพบุรี ซึ่งสมเด็จพระนารายน์ได้ทรงพระราชอุทิศเปนที่วิสุงคามสิมาไว้นั้น จึงโปรดให้สร้างวัดเสื่อขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม ให้เปนวัดพระสงฆ์ธรรมยุติกาวัดแรกจะมีในจังหวัดกรุงศรีอยุธยา แลโปรดให้รื้อพระตำหนักเดิมที่วัดขุนยวนมาปลูกเปนตำหนักสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แต่เมื่อยังดำรงพระยศเปนกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์นั้นด้วย แล้วพระราชทานนามพระอารามว่า วัดเสนาศนาราม ๓๒ วัดขมิ้น วัดขมิ้น เปนวัดโบราณอยู่ในบริเวณวังจันทรเกษมเหมือนวัดเสื่อ โปรดให้สร้างพระราชทานเปนวัดของเจ้าจอมมารดาเที่ยง แต่การยังค้างอยู่หาได้ทันจะนิมนต์พระสงฆ์มาอยู่ไม่



๘๒ ๓๓ วัดขันแสน วัดขุนแสนนั้นทรงพระราชดำริห์ว่า พระบุรพการีของพระบรมราชจักรีวงศ์ได้ตั้งนิวาศฐานอยู่ใกล้เคียง เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้พระยาราชสงครามเปนนายงานสถาปนาอิกพระอาราม ๑ ได้ ก่อพระเจดีย์ใหญ่สวมพระเจดีย์ของเดิม แลสร้างพระวิหารหลวงยังไม่ ได้ยกเครื่องบนการค้างอยู่เพียงนั้น ๓๔ วัดชุมพลนิกายาราม วัดชุมพล ฯ ที่บางปอิน เดิมสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างในที่มูลนิเวศฐานของพระพันปีหลวง พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เจ้าพระยาพลเทพ หลง เปนแม่กองปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม นับในวัด ๑ ซึ่งทรงสร้างไถ่พระนารายน์ราชนิเวศน์ ๓๕ พระพุทธบาท ที่พระพุทธบาทนั้นได้ทรงบุรณปฏิสังขรณ์หลายอย่าง คือ พระมณฑปเล็กที่สวมรอยพระพุทธบาทองค์ที่สร้างเมื่อรัชกาลที่ ๒ ไฟไหม้ม่านแล้วเลยไหม้พระมณฑปนั้นยับเยินไปแต่เมื่อรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดให้พระยาราชสงครามเปนนายงานสร้างเปลี่ยนใหม่ พระมณฑปใหญ่เครื่องเดิมชำรุด โปรด ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติเปนแม่กอง รื้อเครื่องบนซ่อมแซมตัวไม้ใหม่ ข้างในพระมณฑปเดิมคาดด้วยแผ่นเงินชำรุดไป โปรด ฯ ให้กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ เปนนายงานสานสื่อเงินปูใหม่


๘๓ พระวิหารหลวง พระอุโบสถ ศาลาโรงธรรม คลังเครื่องพุทธบูชา แลกุฎีสงฆ์ ที่ชำรุดก็โปรดให้ปฏิสังขรณ์ทั่วทุกแห่ง แลโปรดให้สร้างพระตำหนักที่ประทับในพระราชวังเดิมที่ท้ายพิกุลด้วย ในการที่ทรงบุรณปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทครั้งนั้น เจ้านายแลข้าราชการผู้ใหญ่มีศรัทธาสร้างสถานต่างๆ โดยเสด็จในการพระราชกุศลด้วยก็หลายอย่าง คือ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงบุรณปฏิสังขรณ์ตึกเก่าที่น่าวัดพระพุทธบาท หลัง ๑ กรมหลวงมเหศวรศิววิลาศ ทรงซ่อมแซมสระสามเส้นที่ขังน้ำสำหรับสัปรุษอาไศรยแห่ง ๑ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ สร้างศาลาที่พักของสัปรุษที่ท่าเรือ เปนเครื่องก่ออิฐถือปูน ๓ หลัง ขุดบ่อน้ำทำศาลาเครื่องไม้ในระยะทางขึ้นพระบาท ตั้งแต่บางโขมดจนถึงเขาตกหลายแห่ง สร้างกุฎีสงฆ์ที่วัดท้ายพิกุล ๗ หลัง ในบริเวณพระพุทธบาทสร้างโรงธรรมหลัง ๑ ศาลา ๙ ห้อง หลัง ๑ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหกลาโหม บุรณตึกเก่าที่ริมบ่อโพงหลัง ๑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์บุรณโรงเครื่องริมประตูยักษ์หลัง ๑ สร้าง กุฎีสงฆ์ที่วัดท้ายพิกุลหลัง ๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิรขึ้นไปยกยอดพระมณฑปเมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓

๘๔ จังหวัดลพบุรี ๓๖ วัดกระวิศราราม วัดขวิด เปนวัดโบราณอยู่ข้างใต้พระราชวังเมืองลพบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้บุรณใหม่ทั้งพระอาราม นับในจำนวนวัดซึ่งทรงสร้างถ่ายพระนารายน์ราชนิเวศจากที่วิสุงคามสิมา พระราชทานนามว่า วัดกระวิศราราม แล้วนิมนต์พระสงฆ์รามัญนิกายมาอยู่ ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้สวดพระปริตสำหรับพระราชวัง จังหวัดไชยนาท ๓๗ วัดธรรมามูล วัดธรรมามูล เปนวัดโบราณอยู่บนไหล่เขา มีพระพุทธรูปเรียกกันว่า " พระธรรมจักร "เพราะที่พระหัดถ์มีรอยสำหรับพิมพ์แผ่นขี้ผึ้ง เปนดวงธรรมจักร เปนที่คนนับถือมาก พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบุรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ แล้วโปรดให้ประดิษ ฐานพระพุทธรูปโบราณ ซึ่งมีผู้นำมาถวายจากเมืองนครสวรรค์นั้นไว้เปนพระประธาน. จังหวัดนครสวรรค์ ๓๘ วัดเขาบวชนาค บนยอดเขาบวชนาค ข้างฝั่งตวันออกใต้ปากน้ำโพธิ์ มีวัดโบราณวัด ๑ เปนที่นับถือของชาวเมือง พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบุรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอุโบสถแลพระวิหาร



เรือพระที่นั่งอัคราชารเดช ลำแรก





๘๕ จังหวัดพิศณุโลก ๓๙ วัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุ เมืองพิศณุโลกอันเปนที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ แลพระศาสดา แต่เดิมนั้นวิหารพระชินสีห์แลวิหารพระศาสดาปรักหักพังจึงได้เชิญพระพุทธรูปทั้ง ๒ พระองค์ นั้นลงมาไว้ในกรุงเทพฯ แต่รัชกาลก่อน พระวิหารก็ทิ้งหักพังอยู่อย่างเดิม พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้บุรณพระวิหารนั้นขึ้นใหม่ทั้ง ๒ หลัง แล้วโปรดให้ปั้นจำลองพระพุทธชินสีห์แลพระศาสดาขึ้นไว้ณที่เดิมในวิหารนั้นด้วย จังหวัดอุตรดิฐ ๔๐ พระธาตุพระฝาง พระฝาง คือพระมหาธาติเมืองสวางคบุรี พังลงเมื่อปีมโรง พ.ศ. ๒๓๙๙ โปรดฯ ให้สร้างใหม่ให้บริบูรณ์อย่างเดิม จังหวัดชลบุรี ๔๑ วัดบางพระ วัดที่บางพระเปนวัดโบราณราษฎรในตำบลนั้นได้อาไศรยบวชเรียน และประกอบการกุศล พระอุโบสถเครื่องบนผุหมด พวกชาวบ้านไม่สามารถจะซ่อมแซมให้ดีอย่างเดิมได้พระครูกันทราจารย์ถวายพระพร ให้ทรงทราบ จึงโปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เปนแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดบางพระเสิมผนังขึ้นไป ๒ ศอก ทำเครื่องบนใหม่ แลสร้างพระเจดีย์สูง ๕ วา ขึ้นหลังพระอุโบสถอิกองค์ ๑

๘๖ จังหวัดระยอง ๔๒ พระเจดีย์ช่องแสมสาร เมื่อเสด็จประพาศหัวเมืองชายทเลตวันออกเมื่อปีมเสงพ.ศ. ๒๔๐๐ โปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นไว้บนไหล่เขาที่แหลมเทียนช่องแสมสารองค์ ๑ สำหรับเปนที่หมายปากช่องให้เรือแล่นไปได้โดยสดวก จังหวัดจันทบุรี ๔๓ พระเจดีย์วัดโยธานิมิตรแลเขาสระบาป ในคราวเสด็จประพาศเมืองจันทบุรีเมื่อปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๐๐ นั้น โปรดให้สร้างพระเจดีย์สูง ๘ วาไว้ที่วัดโยธานิมิตรองค์ ๑ พระเจดีย์สูง ๓ วาที่ธารนารายน์เขาสระบาปด้วยองค์ ๑ จังหวัดนครไชยศรี ๔๔ พระปฐมเจดีย์ เมื่อพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่นั้นได้เสด็จไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ ทรงพระราชดำริห์ว่าเปนพระเจดีย์ใหญ่โตแลสถานเก่าก่อนแห่งอื่น ๆ บรรดามีในประเทศสยามนี้ สมควรจะบุรณปฏิสังขรณ์ให้คืนดีแล้วรักษาไว้ให้เปนสำคัญในตำนานพระสาสนาในประเทศนี้ ได้ทรงนำกระแสพระราชดำริห์ทูลพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งว่าพระปฐมเจดีย์อยู่ในป่าดอนห่างไกล



๘๗ กรุงเทพ ฯ จะไปปฏิสังขรณ์ก็จะรักษาไว้ไม่ได้ ก็ต้องทรงระงับพระราชดำริห์มาจนได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เปนแม่กอง ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาองค์นั้นถึงพิราลัย จึงโปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เปนแม่กอง ทำการปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์มาจนตลอดรัชกาล พระปฐมเจดีย์ เมื่อก่อนจะลงมือบุรณปฏิสังขรณ์เมื่อในรัชกาลที่ ๔ นั้น ได้โปรดให้ขุดชัณสูตรพื้นดินที่ในบริเวณ พบอิฐหลายขนาดสะสมกันอยู่หลายชั้น ขุดลงไปจนลึกถึง ๒ ศอก ๓ ศอกจึงถึงพื้นเดิมซึ่งปูดาดด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ขนาดยาวศอก๑ น่าใหญ่๑๒ นิ้วน่าน้อย ๖ นิ้วเห็นได้ว่าองค์พระเจดีย์เคยหักพังลงมาได้มีผู้ศรัทธาเกลี่ยอิฐให้เปนเกาะขึ้นแล้วบุรณเปนพระเจดีย์อยู่บนนั้นครั้นนานมาทำนองยอดจะหักลงมาอิกจะมีผู้มาศรัทธาปฏิสังขรณ์ขึ้นอิกคราว ๑ จะเห็นว่าพระเจดีย์ยอดแหลมจะไม่ถาวรมั่นคง จึงเกลี่ยให้เสมอเพียงไหล่ที่ก่อองค์ปรางค์ต่อตั้งขึ้นไปแทนยอด ที่ริมขอบไพรฑีก่อกำแพงแก้วไว้เปนที่ทักษิณ ก่อบันไดลงมาถึงพื้นเนินเก่า พิเคราะห์ดูบันไดก่อทับปะองค์ระฆังเข้าไว้ เห็นจะเปนของทำทีหลัง แต่วิหารมีอยู่ด้านตวันออกบนเนินเรียงกันอยู่ทั้ง ๔ วิหาร วิหารพระนาคปรกอยู่ข้างทิศตวันออกเฉียงใต้หลัง ๑ ถัดมาถึงวิหารพระไสยาศน์หลัง ๑ วิหารไว้พระพุทธรูปต่างๆ หลัง ๑ วิหารพระป่าเลไลยที่สุดด้านตวันออกเฉียงเหนือหลัง ๑ เปนแถวกันมา แล้วมีพระเจดีย์ย่อมๆ เปนผีมือราษฎรชาวบ้านทำเล็กๆ ใหญ่ ๆ เปนของ

๘๘ ทำทีหลังอิกหลายองค์ ที่เปนของเดิมแท้นั้นมีวิหารหลวงแลพระอุโบสถอยู่ที่พื้นแผ่นดิน วิหารหลวง ( อยู่ตรงพลับพลาทรงโปรยลงไป ) เสาศิลาแลงมีปรากฏอยู่หลายต้น พระอุโบสถนั้นก็ตรงพระอุโบสถเดี๋ยวนี้ ลงไป กุฎีสงฆ์อยู่น่ากะเปาะข้างทิศใต้ แลยังพบของสำคัญหลายอย่างคือสระน้ำแลถนนอิฐปูเปนพื้น ที่จอมปลวกใหญ่ก็รื้อได้พระพุทธรูปในนั้นยังปรากฏอยู่ ได้โปรดให้วัดองค์พระปฐมเมื่อก่อนทรงปฏิสังขรณ์ ตั้งแต่แผ่นดินขึ้นไป ถึงหลังเกาะสูง ๔ วาบ้าง ๕ วาบ้าง ด้วยแผ่นดินไม่เสมอกัน ตั้งแต่หลังเกาะขึ้นไปเปนองค์พระเจดีย์กลมสูง ๑๔ วา ๒ ศอก องค์ปรางค์สูง ๒๐ วา ยอดนพศูลขึ้นไป ๘ ศอก รวมตั้งแต่หลังเกาะขึ้นไปตลอดยอดนพศูลคิดได้ ๔๐ วา ๒ ศอก การปฏิสังขรณ์นั้น ส่วนองค์พระปฐมเจดีย์ของเดิมเปนอย่างไรโปรดให้คงไว้ให้สร้างพระมหาสถูปใหม่หุ้มองค์เดิมไว้ข้างใน เดิมคิดแบบพระมหาสถูปใหม่เปนอย่างพระเจดีย์กลมสามัญ ครั้นก่อขึ้นไปได้ถึง ๑๗ วา พังลงมาเมื่อเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ จึงทรงคิดรูปพระมหาสถูปเปนรูปใหม่ให้ฐานผายออกให้มากกว่าแต่ก่อน ไขส่วนสูงวัดด้วยวาทองธานพระกร ตั้งแต่พื้นดินขึ้นไปเสมอพื้นถมใหม่ชั้นพระระเบียงกลมสูง ๔ วา ๒ ศอกบ้าง ๕ วาบ้าง แต่พื้นพระระเบียงขึ้นไปถึงทักษิณที่หนึ่ง สูง ๖ ศอกคืบ ๒ นิ้ว ตั้งแต่พื้นทักษิณที่หนึ่งขึ้นไปถึงฐานบัวคว่ำสูง ๘ ศอกคืบ ตั้งแต่ทักษิณที่สองขึ้นไปถึงปาก ระฆังสูง ๙ วาคืบนิ้ว องค์ระฆังสูง ๑๔ วา ๔ นิ้ว บัลลังก์สูง ๓ วา


๘๙ คืบ ๖ นิ้วตั้งแต่บัลลังก์ถึงหลังฝาละมีสูง ๕ วาคืบ ๑๑ นิ้ว ปล้อง ฉนัย ๒๗ ปล้อง สูง ๑๕ วา ๒ ศอกคืบ ๕ นิ้ว บัลลังก์บัวแวงสูง ๓ วาคืบ ๖ นิ้ว ฐานทองเหลืองสูง ศอกคืบ ๒ นิ้ว ยอดนพศูลขึ้นไปตลอด ยอดมงกุฏสูง ๓ วานิ้ว คิดรวมตั้งแต่พื้นดินขึ้นไปตลอดยอดมงกุฏ คิดได้เปน ๓ เส้นคืบ ๖ นิ้ว ก่อฐานใหญ่รอบ ๕ เส้น ๑๖ วา ๓ ศอก ทักษิณที่หนึ่งก่อออกมากว้าง ๕ วา ตั้งแต่ลูกแก้วหลังบัวถลาขึ้นไป ก่อกว้าง ๔ วาบ้าง ๔ วาเศษบ้างตลอดถึงทักษิณที่องค์ปรางค์ตั้งอยู่ ก่อกว้าง ๗ วาบ้าง ๗ วา ๒ ศอกบ้าง ลดเข้าไปทุกทีจนกระทั่งที่ตั้งไพรฑีที่นั้นกว้าง ๓ วา ที่ปล้องฉนัยนั้น กว้าง ๕ ศอกจนตลอดยอดปรางค์ฐานล่างถึงจะชักเปน ๔ เหลี่ยมด้านหนึ่งยาว ๒ เส้น ๗ วา เท่ากับฐานกะเปาะทำไว้ทั้ง ๔ ด้าน ครั้นตัวอย่างตกลงแล้วได้ก่อพระฤกษ์ เมื่อ ณวันพฤหัศบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีวอกโทศก พ.ศ.๒๔๐๓ ในบริเวณองค์พระนั้นได้ก่อวิหารไว้ที่ทิศ ประดิษฐานรูปพระปฏิมากรทั้ง ๔ ปาง วิหารใหญ่ข้างทิศบูรพ์นั้นห้องนอกไว้พระพุทธรูปมานวิไชยได้ตรัสรู้ ห้องในไว้พระพุทธอาศน์เปนแท่นที่นมัสการ มุขน่าไว้พระพุทธรูปฉลองพระองค์ วิหารทิศทักษิณห้องนอกไว้พระเทศนาธรรมจักรโปรดปัญจวัคคีห้องหลังไว้พระนาคปรกซึ่งเปนของเดิม มุขหลังไว้รูปพระยาภาณ ทิศประจิมนั้นทำวิหารพระพุทธไสยาศน์ใช้ของเก่าหลังหนึ่ง พระพุทธไสยาศน์องค์เดิมยาว ๔ วา องค์ใหม่ยาว ๘ วา ๒ ศอก วิหารห้องเบื้องหลังไว้พระนิพพานพระองค์หนึ่ง วิหารทิศอุดรนั้นห้องนอกไว้พระประสูตร


๙๐ ห้องเบื้องหลังไว้พระป่าเลไลย์ซึ่งเปนของเดิม มุขหลังไว้รูปพระยากงแล้วชักระเบียงกลมล้อมรอบถึงกันทั้ง๔ ด้าน จดจารึกกถาพระธรรมบทไว้ทุกห้อง รอบนอกนั้นก่อหอระฆังรายรอบไปอิกชั้นหนึ่ง ชั้นล่างก่อกำแพงถมดินกะเปาะขึ้นมาทั้งสี่ทิศ บนกะเปาะด้านข้างตวันออกทำโรงธรรมข้างหนึ่ง โรงพระอุโบสถตรงพระอุโบสถเก่าขึ้นมาข้างหนึ่งประดิษฐานพระคันธารราษฎร์ซึ่งได้มาแต่วัดทุ่งพระเมรุ ด้านใต้บนกะเปาะจำลองรูปพระปฐมเจดีย์เดิมไว้ข้างตวันออกองค์หนึ่งสูง ๙ วาคืบ ยอดนพศูลศอกคืบ ๒ นิ้ว ต่ำกว่าองค์เดิมอยู่ ๒๖ วาศอก ๒นิ้ว ข้าง ตวันตกนั้นได้จำลองรูปพระเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเรียกว่าพระบรมธาตุใหญ่ศักดิสิทธิทำขึ้นไว้เดิมสูง ๓๗ วา ๒ ศอกตลอดยอดพุ่มจำลองใหม่สูง ๑๐ วา ๒ ศอกคืบ ยอดนพศูลสามศอกนิ้วกึ่ง ต่ำกว่าองค์เดิม ๒๖ วาคืบนิ้วกึ่ง เพื่อให้สัปรุษเห็นจะได้ส่งใจไปนมัสการพระธาตุเมืองนคร กะเปาะด้านตวันตกนั้นชั้นบนได้ประดิษฐานพระมหาโพธิเมื่อครั้งพระอาจารย์ดี พระอาจารย์เทพออกไปเกาะลังกาได้เข้ามา ชั้นล่างประดิษฐานไม้สำคัญที่ควรจะกระทำสักการบูชาเปนที่ระฦก คือไม้อัชปาละนิโครธ แปลว่าไม้ไทร ที่พระพุทธเจ้าฉันมธุปายาสได้ตรัสแล้วเสด็จไปเสวยวิมุติศุขอยู่ที่นั้ นอิกคราวหนึ่งถึง ๗ วัน แล้วเสด็จไปอาไศรย อยู่ใต้ร่มไม้มุจลินท์ คือไม้จิก คราวนั้นฝนตกหนัก พระยานาคขึ้นมาทำกายวงล้อมพระพุทธเจ้าแล้วเลิกพังพานปกเบื้องบน ฝนก็ไม่รั่วน้ำก็ไม่ท่วมเข้าไปได้ พระองค์อยู่ใต้ร่มไม้จิก ๗ วันแล้วเสด็จมาประทับอยู่ใต้ร่มไม้ราชายัตน คือไม้เกษ ครั้งนั้นได้รับสตูก้อนสตูผงของ ๙๑ นายตปุสสภัลลิกะพ่อค้าเกวียน ตั้งแต่ได้ตรัส ๔๘ วันมาเสวยพระกระยาหารในวันที่สี่สิบเก้า แลไม้พระหูบุตนิโครธ คือไม้กร่างที่พระองค์ได้พบพระมหากัสสปในร่มไม้นั้น สาลรุกโข คือไม้รังเปนทพระองค์ได้ประสูตรในร่มไม้นั้นอย่างหนึ่ง ปรินิพพานในใต้ต้นรังอย่างหนึ่ง เปนสองอย่างด้วยกัน ไม้ชมพู คือไม้หว้า เมื่อพระองค์ยังเยาว์อยู่ตามเสด็จพระราชบิดาไปแรกนาขวัญได้ประทับอยู่ ในร่มไม้นั้น ก็ได้พิจารณากรรมฐานถึงปฐมฌานเปนปฐมที่หนึ่ง ครั้งนั้นเกิดอัศจรรย์หลายอย่างจนแผ่นดินไหวเงาไม้ก็มิได้ย้ายไปตามพระอาทิตย์ ไม้อัมพวา คือไม้มะม่วงที่พระองค์ได้กระทำยมกปาติหารในยอดไมมะม่วงนั้น ไม้ที่พรรณามานี้ก็คล้าย ๆ กันกับไม้พระศรีมหาโพธิ เรียกว่า สัตตมหาสถานจึงเอาประดิษฐานไว้เปนที่รฦกด้วย กะเปาะข้างทิศเหนือนั้นทำเปนคลังหนึ่ง โรงประโคมหลังหนึ่ง ระหว่างกะเปาะทำเปนภูเขาไว้ทั้งสี่ทิศ น่าภูเขาออกมามีรั้วล้อมเหล็กล้อมชั้นหนึ่ง น่ารั้วเหล็กออกมาทำเปนฐานพระมหา โพธิทั้งสี่ทิศ ได้ผลมาแต่เมืองพุทธคยาบุรีว่าเปนหน่อเดิมที่พระได้ตรัส พระมหาโพธิต้นนั้นมีพระระเบียงล้อมถึง ๗ ชั้น พวกพราหมณ์หวงแหนอยู่แน่นหนา เจ้าเมืองอังกฤษจึงไปขอเอาผลและใบมาถวายเข้ามาทรงเพาะได้งอกงามดีประทานให้ไปปลูกที่วัดหลวงทุกวัด น่าชานพระมหาโพธิออกมาชักกำแพงปีกกามีหลังคาออกมาพอคนอาไศรยได้ บรรจบกะเปาะออกมาธงสิ่ทิศ ที่มุมมีหอกลองหลัง ๑ หอระฆัง ๑ สลับกันทั้ง ๔ มุม คิดจะมิให้ของโบราณเสื่อมสูญ ไปเที่ยวเก็บเอาศิลาใหญ่อยู่ในป่าในรกเอามาไว้ให้ดูทุกสิ่ง

๙๒ ( พระมหาสถูปก่อเสร็จในรัชกาลที่ ๔ แต่ยังไม่ทันยกยอดสิ้นรัชกาลที่ ๔ เสียก่อน พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิรไปยกยอดพระปฐมเจดีย์ เมื่อณวันพุฒ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ แล้วทรงสถาปนาการต่อมา คือประดับกระเบื้องเคลือบพระมหาสถูปทั้งพระองค์ แลสร้างพระระเบียงชั้นนอกอิกชั้น ๑ สิ่งซึ่งทรงสร้างในบริเวณพระปฐมเจดีย์ยังบริบูรณ์ ดีอยู่เกือบหมดทุกสิ่ง ในรัชกาลปัจจุบันนี้ทรงพระราชศรัทธาบุรณพระวิหารหลวง และทรงสร้างวิหารประดิษฐานพระร่วง ซึ่งโปรดให้เชิญมาแต่เมืองสวรรคโลก แต่เมื่อยังเสด็จดำรงพระยศเปนสมเด็จพระ ยุพราชนั้น แล้วทรงบุรณบันไดน่าซึ่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม ราชินีนารถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงสร้างไว้แต่ก่อน อิกอย่าง ๑ พระระเบียงชั้นนอกซึ่งทรงสร้างไว้ในรัชกาลที่ ๕ นั้นชำรุดซุดโซมใปรดให้แก้ไขเปนกำแพงแก้วรอบบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ด้วย )

จังหวัดสุพรรณบุรี ๔๕ วัดพระป่าเลไลย พระพุทธรูป ป่าเลไลยองค์ใหญ่ของโบราณซึ่งนับถือกันในเมือง สุพรรณ บุรี วิหารชำรุดองค์พระก็ชำรุดไปบ้าง โปรดให้เจ้าพระยานิกรบดินทร ที่สมุหนายกเปนแม่กองปฏิสังขรณ์ทั้งพระวิหารและองค์พระพุทธรูปให้บริบูรณ์ดีอย่างเก่า


๙๓ จังหวัดสมุทสงคราม ๔๖ วัดอัมพวันเจติยาราม วัดอัมพวา ซึ่งสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงสร้างในเขตร พระนิเวศน์สถานเดิมนั้นชำรุดซุดโซม พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถทั้งหลัง แล้วสร้างศาลาโรงธรรมขึ้นข้างน่าพระอารามหลัง ๑ แล้วพระราชทานนามว่า วัดอัมพวันเจติยาราม

จังหวัดเพ็ชร์บุรี ๔๗ วัดมหาสมณาราม วัดมหาสมณ เปนวัดโบราณที่อยู่ไหล่เขามหาสมณ ซึ่งทรงแปลงนามว่าเขามหาสวรรค์นั้น เมื่อสร้างพระนครคิรีโปรดให้บุรณปฏิสังขรณวัดมหาสมณใหม่ทั้งพระอาราม พระราชทานนามใหม่ว่า วัดมหา สมณาราม ๔๘ พระธาตุจอมเพ็ชร์ ที่บนยอดเขามหาสวรรค์ยอดกลาง เดิมมีพระเจดีย์สร้างไว้แต่โบราณองค์ ๑ โปรดให้ก่อหุ้มพระเจดีย์เดิมนั้นให้ใหญ่ขึ้นกว่าแต่ก่อน สูงเส้น ๑ แล้วทรงขนานนามว่า พระธาตุจอมเพ็ชร์ ๔๙ พระสุทธเสลเจดีย์ ที่ยอดเขามหาสวรรค์ยอดใต้ โปรดให้สร้างพระเจดีย์ศิลาทึบองค์ ๑ ทำศิลาเปนซีก ๆ ไปจากเกาะสีชังไปประกอบเปนพระเจดีย์

๙๔ ฐาน ๖ ศอก สูง ๔ วา ๒ ศอก ทรงขนานนามว่าพระสุทธเสลเจดีย์ แล้วสร้างพระวิหารน้อยข้างน่าพระเจดีย์หลัง ๑ มีหอระฆังอยู่ข้างน่าวิหาร ชั้นต่ำต่อวิหารลงมาสร้างศาลาและพระปรางค์เขมรอิกองค์ ๑ ๕๐ ถ้ำเขาหลวง ที่ถ้ำใหญ่เขาหลวงเมืองเพ็ชรบุรีมีพระพุทธรูปสร้างไว้แต่โบราณบ้าง โปรดให้แต่งถ้ำนั้นทำบันไดศิลาลงถ้ำได้อิกทาง ๑ โปรดให้สร้างพระพุทธรูปในถ้ำนั้น ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลก่อน ๆ บ้าง เปนส่วนของพระองค์เองบ้าง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์แลเจ้าจอมฝ่ายในสร้างบ้าง ตกแต่งงดงามทั้งถ้ำ

จังหวัดสงขลา ๕๑ พระเจดีย์บนยอดเขาตังกวน ครั้งเสด็จประพาศเมืองสงขลาเมื่อปีมะแมพ.ศ. ๒๔๐๒ เสด็จกลับแล้วโปรดให้พระยาสามภพพ่ายเปนนายช่าง เจ้าพระยาสงขลา สังข์ เปนแม่กองสร้างพระเจดีย์บนยอดเขาตัวกวนริมเมืองสงขลาองค์ ๑ สูง ๙ วา ๓ ศอก เปนที่รฦกในการที่เสด็จพระราชดำเนินนั้น. สถานที่ต่าง ๆ และพระเจดีย์วิหารซึ่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างตามที่กล่าวมาในหนังสือนี้ คัดจากจดหมายเหตุเจ้าพระยาทิพากรวงศ์เป็นพื้น ที่ไม่ปรากฏในจดหมายเหตุของ


๙๕ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ พบที่อื่นก็มีบ้าง การที่เรียบเรียงมีเวลาน้อยเกรงจะไม่ถูกถ้วนหมด และบางทีจะวิปลาศพลาดพลั้งบ้าง ถ้าพลาดพลั้งไปต้องขออภัยแก่ท่านผู้อ่าน อนึ่งรูปต่าง ๆ ที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ เปนของหลวงอรรคนีนฤมิตร ( จิตร ) ถ่ายไว้ ได้มาจากพระฉายาสาทิศกร ( สอาด จิตราคนี ) กรมแผนที่ทหารบกได้จัดการพิมพ์สำหรับสมุดเล่มนี้.


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก