ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๖
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๖ เรื่องตำนานวังเก่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์
หม่อมราชวงศ์หญิงโต จิตรพงศ ณกรุงเทพ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ พิมพ์ในการกุศล สนองคุณหม่อมเจ้าแดง บิดา เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๖๕
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ โสภณพิพรรฒธนากร คำนำ หม่อมราชวงศหญิงโต จิตรพงศ ณกรุงเทพ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ ธิดาผู้เปนเจ้าภาพงานศพหม่อมเจ้าแดง ต จ, ม ป ร๔, จ ป ร๔, ว ป ร๔, ในพระเจ้าบรมวงศเธอชั้น ๓ พระองค์เจ้างอนรถ แจ้งความมายังหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับ พระนคร ขอให้กรรมการหอพระสมุด ฯ ช่วยเลือกเรื่องหนังสือ สำหรับจะพิมพ์แจกเมื่อพระราชทานเพลิงศพเจ้าบิดา พร้อมกับศพหม่อมเจ้าหญิงอ่าง จ จ, ม ป ร ๔, ในพระเจ้าบรมวงศเธอชั้น ๓ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร ซึ่งหม่อมราชวงศหญิงโตรับเปนเจ้าภาพสนองพระคุณแต่หนหลังด้วยอิกศพหนึ่ง ข้าพเจ้าจึงแต่งเรื่องตำนานวังเก่า จัดเปนหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๖ ให้หม่อมราชวงศหญิงโตพิมพ์แจกตามประสงค์ เหตุใดข้าพเจ้าจึงได้แต่งเรื่องตำนานวังเก่าให้พิมพ์ ในงานศพหม่อมเจ้าแดง ข้อนี้จะบอกอธิบายต่อไปข้างตอนท้ายคำนำ ในที่นี้จะกล่าวถึงเรื่องประวัติของหม่อมเจ้าหญิงอ่างและหม่อมเจ้าแดงก่อน ประวัติหม่อมเจ้าหญิงอ่างและหม่อมเจ้าแดง
กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทรทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าโกเมนเปนพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูตรในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๓๕๘ ทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นเชษฐาธิเบนทรในรัชกาลที่ ๔ และสิ้นพระชนม์ในรัชกาลนั้น เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ หม่อมเจ้าหญิงอ่าง ประสูตรในรัชกาลที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ปีชวด พ.ศ. ๒๓๘๓ หม่อมราชวงศเอี่ยม ธิดาหม่อมเจ้าโสวัจในกรม ( ๒ ) หมื่นนราเทเวศรเปนหม่อมมารดา หม่อมเจ้าหญิงอ่างได้เข้าไปอยู่กับพระองค์เจ้าวงเดือนเสด็จป้า ที่ตำหนักในพระบรมมหาราชวังแต่ยังน้อย หม่อมเอี่ยมมารดาก็ได้เข้าไปอยู่ด้วย พระองค์เจ้าวงเดือนมีน่าที่เปนใหญ่ในพนักงาน "สรงพระพักตร" คือปรุงพระสุคนธ์ถวายเปนต้น จึงทรงฝึกหัดหม่อมเจ้าหญิงอ่างในน่าที่ราชการนั้น จนได้มีตำแหน่ง ในพนักงานสรงพระพักตรในรัชกาลที่ ๔ มาจนตลอดรัชกาลนั้น ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระองค์เจ้าวงเดือนสิ้นพระชนม์แล้ว โปรด ฯ ให้หม่อมเจ้าหญิงอ่างย้ายตำแหน่งไปเปนพนักงานเครื่องนมัสการ รับ ราชการในตำแหน่งนี้มาจนตลอดชนมายุ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์จตุตถจุลจอมเกล้าฝ่ายใน กับเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔ ชั้นที่ ๔ เปนเกียรติยศ หม่อมเจ้าแดง ในพระเจ้าบรมวงศเธอชั้น ๓ พระองค์เจ้างอนรถนั้นประสูตรในรัชกาลที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๙๓ หม่อมเจ้าแดงได้เขียนเล่าเรื่องประวัติของเธอเองให้หม่อมราชวงศหญิงโตไว้ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศทรงคัดประทานมาดังนี้ หนังสือหม่อมเจ้าชายแดง เขียนให้หม่อมราชวงศหญิงโต เมื่อพระพุทธศักราชได้ ๒๔๕๑
พระเจ้าราชวรวงศเธอ๑ พระองค์เจ้างอนรถ เปนพระโอรสที่ ๑๕ ในรัชกาลที่ ๓ ประสูตรณพระราชวังเดิมที่แม่โตอยู่เดี๋ยวนี้ เมื่อ ๑ หม่อมเจ้าแดงแต่งเรื่องประวัติเมื่อรัชกาลที่ ๕ เวลานั้นพระเจ้าลูกเธอรัชกาลที่ ๓ ยังทรงศักดิเปนพระเจ้าราชวรวงศเธอ มาเปลี่ยนเปนพระเจ้าบรมวงศเธอในรัชกาลปัจจุบันนี้ ( ๓ ) วันพฤหัศบดี เดือนยี่ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีกุญสปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ ( พ.ศ. ๒๓๕๘ ) สิ้นพระชนม์ณวันพฤหัศบดีเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีจอ โทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ ในเวลานั้นอายุพ่อได้ ๘๒ วัน พระเจ้าราช วรวงศเธอ พระองค์เจ้าวงเดือนเสด็จป้า กับพระเจ้าราชวรวงศเธอ พระองค์เจ้าแสงจันทรเสด็จอา ทรงพระเมตตารับเอาพ่อเข้าไปเลี้ยงไว้ ที่ตำหนักในพระบรมมหาราชวัง ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ อายุพ่อประมาณได้ ๔ ปี ๕ ปี ก็ได้ขึ้นเฝ้า ฯ และตามเสด็จต่อท้ายพระเจ้าลูกเธอ และได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณเปนลำดับมา เปนเคราะห์ดีของพ่อ เผอิญทรงพระมหากรุณาได้พระราชทานหีบทองกับพานทองรองหีบเปนเกียรติยศ พ่ออุส่าห์รักษาตัวมิให้มีข้อขุ่นเคืองในใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย พระบรมวงศานุวงศ์ทุก ๆ พระองค์ก็ทรงพระเมตตากรุณา ทั้งข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ก็เมตตากรุณาพ่อ พ่อได้รับพระมหากรุณาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปัจจุบันนี้๑มาแต่ยังทรงพระเยาว์ เคยทรงเล่นหัวกับพ่อ ครั้นโสกันต์แล้วเสด็จ ออกเล่นอยู่ที่โรงช้างพลายหนูพุก จนเสด็จไปประทับอยู่พระตำหนักสวนกุหลาบ พ่อก็ได้ไปเฝ้าบ่อย ๆ เมื่อเวลาตามเสด็จพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ประพาศหัวเมืองต่าง ๆ ก็ได้ทรงใช้สอยพ่อมาก จนถึงปีมโรงสัมฤทธิศก ( พ.ศ.๒๔๑๑ ) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พ่อก็ได้สนองพระคุณต่อมา ได้รับพระมหากรุณาเปนลำดับมาจนทุกวันนี้ ๑ หมายความว่าพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ๔ ) เรื่องท้องพระโรงวัดราชาธิวาส เสด็จป้าพระองค์เจ้าวงเดือนรับสั่งเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชดำริห์จะทรงทำตำหนักตึกในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อตำหนักฝากระดานไปปลูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอที่ออกวัง "เจ้าน้องงอนรถ" อยากทำท้องพระโรงเอง จึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ จึงพระราชทานเงินค่าทำท้องพระโรง และท้องพระโรงหลังนี้ "เจ้าน้องงอนรถลงแรงมาก เขียนเองสลักเอง" โดยรับสั่งเล่าอย่างนี้ ภายหลังพระราชทานวังเสด็จพ่อแก่พระองค์เจ้าเปียก ครั้นสิ้น พระชนม์แล้ว พระราชทานกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ต่อมา ก็ไม่มีผู้รักษาเกือบจะเปนอันตรธานไป เดชะบุญในรัตนโกสินทรศก ๑๒๗ ( พ.ศ.๒๔๕๑ ) นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์วัดราชา ธิวาส ทรงระลึกได้โดยได้เคยเสด็จพระราชดำเนินประทับในท้องพระโรงนี้หลายคราว ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าเปนท้องพระโรงที่ทำงดงาม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รื้อไปปลูกไว้เปนหอสวดมนต์ที่วัดราชาธิวาส ได้ดำรงอยู่ในพระสาสนาต่อไป พ่อดีใจเปนล้นเหลือ๑ ๑ ที่หม่อมเจ้าแดงเอาเรื่องท้องพระโรงมาเล่าไว้ในเรื่องประวัติด้วยนั้น เพราะความพึ่งปรากฎว่าท้องพระโรงหลังนั้นเปนของพระองค์เจ้างอนรถทรงสร้าง และสลักด้วยฝีพระหัตถ์ เมื่อย้ายไปปลูกที่วัดราชาธิวาส หม่อมเจ้าแดงเขียนเรื่องประวัติ จึงเล่าเรื่องท้องพระโรงไว้ด้วย
( ๕ ) เรื่องประวัติของหม่อมเจ้าแดงอันสมควรจะกล่าว แต่ไม่ปรากฎในหนังสือที่เธอเรียบเรียงไว้ยังมีอยู่อิก คือเมื่อหม่อมเจ้าแดงเข้าไปอยู่ ที่ตำหนักพระองค์เจ้าวงเดือนแต่ยังเยาว์นั้น หม่อมราชวงศหญิงเอี่ยมหม่อมมารดาของหม่อมเจ้าหญิงอ่าง ได้เปนผู้เลี้ยงดูให้อยู่ด้วยกันกับหม่อมเจ้าหญิงอ่าง ๆ แก่กว่าหม่อมเจ้าแดงหลายปี ก็ได้เปนผู้ช่วย ดูแลเลี้ยงหม่อมเจ้าแดงด้วย หม่อมเจ้าแดงจึงเคารพนับถือหม่อมราชวงศเอี่ยมเหมือนมารดา และสนิทชิดชอบกับหม่อมเจ้าหญิงอ่างเหมือนเช่นเปนเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมกรมกันสืบมา ครั้นหม่อมเจ้าแดงเติบใหญ่ มีบุตรธิดา มักเลี้ยงไว้ไม่รอด หม่อมราชวงศหญิงโตเปนคนแรกที่ อยู่ได้จนโต หม่อมเจ้าหญิงอ่างจึงรับไปเลี้ยงที่ในพระบรมมหาราชวัง หม่อมเจ้าหญิงอ่างได้เปนผู้อุปการะเลี้ยงดูหม่อมราชวงศหญิงโตต่อมาอิกชั้นหนึ่ง จนหม่อมราชวงศหญิงโตเติบใหญ่ ได้เปนชายาในสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ จึงทำปฏิการะสนองพระคุณหม่อมเจ้าหญิงอ่างสืบมาจนเปนเจ้าภาพงานศพเปนที่สุด หม่อมเจ้าแดงนั้น เรื่องประวัติตามที่ทราบกันอยู่ในเจ้านาย ดูแปลกกับหม่อมเจ้าองค์อื่น ๆ โดยมาก คืออาภัพด้วยพระบิดาสิ้นพระชนม์แต่ยังเยาว์ ไม่ได้โอกาศที่จะได้รับรู้วิชาการโดยกระบวรฝึกหัด ในสำนักงานตามแบบเก่า ครั้นถึงสมัยเมื่อได้ความรู้กันโดยกระบวร ร่ำเรียน หม่อมเจ้าแดงก็มีอายุมากเกินกว่าที่จะเข้าโรงเรียนเสียแล้ว ทั้งเปนผู้ซึ่งกำลังร่างกายไม่แข็งแรง จึงไม่ได้รับราชการมีตำแหน่ง ในกรมหนึ่งกรมใด แต่ได้อาศรัยโอกาศที่เข้าไปอยู่ในพระบรม มหาราชวัง เพราะเปนกำพร้าแต่ยังเยาว์ กับทั้งที่มีอัธยาศรัย ( ๖ ) สุภาพเรียบร้อย เปนเหตุให้พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตตา โปรด ฯ ให้เฝ้าแหนตามเสด็จในหมู่พระเจ้าลูกเธอ ก็เลยได้คุ้นเคยชอบพระราชอัธยาศรัยของพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวมาแต่ทรงพระเยาว์ ครั้นเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติหม่อมเจ้าแดงจึงเปนผู้ซึ่งสนิทในพระองค์ยิ่งกว่าหม่อมเจ้าองค์อื่น ๆ โดยมาก ได้พระราชทานที่สร้างตำหนักที่ริมถนนราชินีต่อกับบริเวณที่ว่าการกระทรวงเกษตราธิการบัดนี้ และได้พระราชทานเบี้ยหวัดมากกว่าหม่อมเจ้าชั้นเดียวกัน หากขาดความสามารถด้วยเหตุดังกล่าวมาแล้ว จึงมิได้ทรงตั้งแต่งให้มีตำแหน่งในราชการ ความข้อนี้หม่อมเจ้าแดง ก็แจ้งตระหนักมิได้ทเยอทยาน แต่อุสาหะเข้าเฝ้าแหนเปนนิจมิได้มี เวลาที่จะขาด ความหมั่นของหม่อมเจ้าแดงปรากฏในพระราชสำนักครั้งรัชกาลที่ ๕ จนเจ้านายพอพระหฤทัยที่จะยกเปนตัวอย่าง เมื่อทรงสรรเสริญคนหมั่นมักตรัสว่า "หมั่นเหมือนเจ้าแดง" ดังนี้ และ อาศรัยความหมั่นนั้นเปนเหตุพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเงินเบี้ยหวัดพิเศษแก่หม่อมเจ้าแดงในงานเฉลิมพระชนม์พรรษาปีละ ๔๐๐ บาททุกปีมา มีหม่อมเจ้าแดงองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดพิเศษเช่นนั้น มาจนในรัชกาลปัจจุบันนี้ เมื่อหม่อมอมรวงศวิจิตร (ม.ร.ว.ถม คเนจร ณกรุงเทพ) ปลัดมณฑลอิสาณไปถึงแก่กรรมในราชการ จึงพระราชทานเบี้ยหวัดพิเศษแก่หม่อมเจ้าเมฆิน ในพระเจ้าบรมวงศเธอชั้น ๓ กรมหมื่น อมเรนทรบดินทรผู้บิดา ซึ่งหม่อมอมรวงศวิจิตรเคยเลี้ยงดูอยู่นั้น เพิ่มขึ้นอิกองค์หนึ่ง ได้รับพระราชทานจนตลอดชนมายุทั้ง ๒ องค์ ( ๗ ) หม่อมเจ้าแดงมีอัธยาศรัยสุภาพอ่อนโยน เปนเหตุให้ผู้ที่ได้สมาคมชอบพอ โดยเฉพาะในราชสกุล ไม่เลือกว่าเจ้านายที่ทรงพระเกียรติยศชั้นใด ฤๅมีพระชัณษารุ่นใด ที่ได้ทรงคุ้นเคยแล้วจะไม่โปรดหม่อมเจ้าแดงนั้นเห็นจะมีน้อย. เมื่อรัชกาลที่ ๕ หม่อมเจ้าแดงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า สำหรับสกุลพระเจ้าบรมวงศเธอ พระองค์เจ้างอนรถ อย่าง ๑ เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔ ชั้นที่ ๔ อย่าง ๑ เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๕ ชั้นที่ ๔ อย่าง ๑ มาถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ ๔ อิกอย่าง ๑ หม่อมเจ้าหญิงอ่างประชวรสิ้นชีพตักษัยที่วังสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ คำณวนชนมายุได้ ๗๗ ปี หม่อมเจ้าแดงประชวรสิ้นชีพตักษัยที่วังริมถนนราชินี เมื่อ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๙ คำณวนชนมายุได้ ๖๗ ปี กำหนดงานปลงศพหม่อมเจ้าทั้ง ๒ องค์นั้น จะได้รับพระราชทานเพลิงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๕ สิ้นเนื้อความในเรื่องประวัติของหม่อมเจ้าหญิงอ่างและหม่อมเจ้าแดงเพียงเท่านี้ อนึ่งในการปลงศพหม่อมเจ้าแดงนั้น หม่อมราชวงศหญิงโตปรารภจะสร้างสิ่งซึ่งจะเปนถาวรประโยชน์สืบอายุพระสาสนา เพื่ออุทิศส่วนกุศลสนองพระคุณ และเปนที่เชิดชูชื่อท่านบิดาไว้ในวัดพระเชตุพน ฯ
( ๘ ) อันเปนที่บำเพ็ญการกุศลของสกุลมาแต่ก่อน ได้ไปหารือพระญาณโพธิ ( ใจ ) พระราชาคณะในวัดนั้น ทราบว่าศาลาที่พระภิกษุสามเณรจะเล่าเรียนพระปริยัติธรรมเปนของต้องการอยู่ในวัดพระเชตุพน ฯ จึงนำความ นั้นกราบทูลแด่สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ ก็ทรงอนุโม ทนายินดีที่จะรับช่วยจัดการให้สมประสงค์ จึงทรงคิดแบบอย่างแล้วสร้างศาลาเรียนหลัง ๑ โดยฝีมืออย่างประณีต ณที่ซึ่งพระสงฆ์แสดงถวายในบริเวณคณะกลาง ทรงขนานนามว่า "ศาลาแดง" กำหนด จะได้ฉลอง และเปิดเปนที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมต่อเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าแดงเปนต้นไป. กรรมการหอพระสมุด ฯ ขออนุโมทนากุศลบุญราษีทักษิณานุปทานซึ่งหม่อมราชวงศหญิงโต จิตรพงศ ณกรุงเทพ บำเพ็ญในการปลง ศพสนองพระคุณเจ้าบิดา และหม่อมเจ้าหญิงอ่างผู้เปนบุรพการีด้วยความกตัญญูกตเวที และได้พิมพ์หนังสือเรื่องนี้ให้ได้อ่านกันแพร่หลายเปนครั้งแรก หวังใจว่าท่านทั้งหลายที่ได้รับสมุดเล่มนี้ไป คงจะพอใจและอนุโมทนาด้วยทั่วกัน.
สภานายก หอพระสมุดวิชรญาณ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๕
สารบาน อธิบายเรื่องตำนานวังเก่า น่า ก ตำนานวังเก่า ตอนที่ ๑ ว่าด้วยพระราชวังทั้ง ๓ " ๑ ว่าด้วยลูกเธอและหลานเธอในรัชกาลที่ ๑ " ๑ ว่าด้วยสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ " ๒ ว่าด้วยพระบรมมหาราชวัง " ๖ ว่าด้วยพระราชวังบวรสถานมงคล " ๙ ว่าด้วยพระราชวังบวรสถานพิมุข " ๑๑ ตอนที่ ๒ ว่าด้วยวังเจ้านายสร้างในรัชกาลที่ ๑ " ๑๔ ๑ วังริมป้อมพระสุเมรุ " ๑๔ ๒ วังริมป้อมจักรเพชร์ " ๑๕ ๓ วังริมวัดโพธิ " ๑๕ ๔ วังปากคลองวัดชนะสงคราม " ๑๗ ๕ วังสวนมังคุด " ๑๘ ๖ วังบ้านปูน " ๑๙ ๗ พระนิเวศน์เดิม " ๒๐ ๘ พระราชวังเดิม " ๒๑ ๙ วังคลังสินค้า " ๒๓ ๑๐ วังท่าเตียน " ๒๓ ๑๑ วังถนนน่าพระลาน วังตวันออก " ๒๔ ๑๒ วังถนนน่าพระลาน วังกลาง " ๒๕ ๑๓ วังถนนน่าพระลาน วังตวันออก " ๒๖ ( ๑๐ ) ๑๔ วังถนนหลักเมือง วังที่ ๑ น่า ๒๗ ๑๕ วังถนนหลักเมือง วังที่ ๒ " ๒๗ ๑๖ วังถนนหลักเมือง วังที่ ๓ " ๒๘ ๑๗ วังถนนหลักเมือง วังที่ ๔ " ๒๘ ๑๘ วังถนนหลักเมือง วังที่ ๕ " ๒๙ ๑๙ วังถนนหลักเมือง วังที่ ๖ " ๒๙ ๒๐ วังริมสนามชัย วังเหนือ " ๒๙ ๒๑ วังริมสนามชัย วังกลาง " ๒๙ ๒๒ วังริมสนามชัย วังใต้ " ๓๐ ๒๓ วังริมสนามวังน่า วังที่ ๑ " ๓๑ ๒๔ วังริมสนามวังน่า วังที่ ๒ " ๓๒ ๒๕ วังริมสนามวังน่า วังที่ ๓ " ๓๒ ๒๖ วังริมสนามวังน่า วังที่ ๔ " ๓๓ ตอนที่ ๓ ว่าด้วยวังเจ้านายสร้างในรัชกาลที่ ๒ " ๓๔ ว่าด้วยลักษณสร้างวังเจ้านายแต่โบราณ " ๓๔ ว่าด้วยพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๒ ที่ออกวังในรัชกาลนั้น " ๓๗ ๑ วังริมสพานช้างโรงสี วังเหนือ " ๓๘ ๒ วังริมสพานช้างโรงสี วังใต้ " ๓๘ ๓ วังท้ายหับเผย วังที่ ๑ " ๓๙ ๔ วังท้ายหับเผย วังที่ ๒ " ๓๙
( ๑๑ ) ๕ วังท้ายหับเผย วังที่ ๓ น่า ๔๐ ๖ วังถนนบ้านหม้อ " ๔๐ ๗ วังถนนสามชัย วังที่ ๑ " ๔๑ ๘ วังถนนสามชัย วังใต้ " ๔๑ ๙ วังริมแม่น้ำ ใต้วัดพระเชตุพน " ๔๑ ว่าด้วยพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๒ ที่ออกวังในรัชกาลที่ ๓ " ๔๒ ๑๐ วังถนนจักรเพชร์ " ๔๔ ๑๑ วังถนนสพานหัวจรเข้ " ๔๕ ๑๒ วังริมประตูสำราญราษฎร์ วังตวันออก " ๔๕ ๑๓ วังริมประตูสำราญราษฎร์ วังกลาง " ๔๕ ๑๔ วังริมประตูสำราญราษฎร์ วังตวันตก " ๔๖ ๑๕ วังริมพระนิเวศน์เดิม ที่ ๑ " ๔๖ ๑๖ วังถนนพระอาทิตย์ วังที่ ๑ " ๔๗ ว่าด้วยพระเจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ที่ออกวังในรัชกาลที่ ๒ " ๔๗ ๑๗ วังสพานเสี้ยว วังที่ ๑ " ๔๗ ๑๘ วังสพานเสี้ยว วังที่ ๒ " ๔๘ ๑๙ วังสพานเสี้ยว วังที่ ๓ " ๔๘ ๒๐ วังสพานเสี้ยว วังที่ ๔ " ๔๘ ๒๑ วังริมพระนิเวศน์เดิม วังที่ ๒ " ๔๘ ๒๒ วังริมพระนิเวศน์เดิม วังที่ ๓ " ๔๙ ( ๑๒ ) ว่าด้วยพระเจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ที่ออกวังในรัชกาลที่ ๓ น่า ๔๙ ๒๓ วังถนนโรงครก วังที่ ๑ " ๕๐ ๒๔ วังถนนโรงครก วังที่ ๒ " ๕๐ ๒๕ วังคลองตลาด วังที่ ๑ " ๕๐ ๒๖ วังหลังวัดชนะสงคราม " ๕๑ ๒๗ วังริมคลองบางลำภู วังที่ ๓ " ๕๑ ตอนที่ ๔ ว่าด้วยวังเจ้านายสร้างในรัชกาลที่ ๓ " ๕๒ ว่าด้วยพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๓ ที่ออกวังในคราวแรก " ๕๒ ๑ วังท้ายวัดพระเชตุพน วังที่ ๑ " ๕๓ ๒ วังท้ายวัดพระเชตุพน วังที่ ๒ " ๕๓ ๓ วังท้ายวัดพระเชตุพน วังที่ ๓ " ๕๓ ๔ วังท้ายวัดพระเชตุพน วังที่ ๔ " ๕๔ ๕ วังท้ายวัดพระเชตุพน วังที่ ๕ " ๕๔ ว่าด้วยพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๓ ที่ออกวังในตอนกลาง " ๕๕ ๖ วังริมแม่น้ำ ( เหนือป้อมมหาฤกษ์ ) " ๕๖ ๗ วังริมแม่นำ้ (ใต้ปัอมมหาฤกษ)์ " ๕๖ ๘ วังถนนสนามชัย วังที่ ๓ " ๕๖ ว่าด้วยพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๓ ที่ออกวังในตอนหลัง " ๕๗ ๙ วังถนนเฟื่องนคร วังเหนือ " ๕๗
( ๑๓ ) ๑๐ วังถนนเฟื่องนคร วังใต้ น่า ๕๗ ๑๑ วังริมคลองสพานถ่าน " ๕๗ ๑๒ วังคลองตลาด วังที่ ๒ " ๕๘ ๑๓ วังถนนมหาชัย วังเหนือ " ๕๙ ๑๔ วังถนนมหาชัย วังกลาง " ๕๙ ๑๕ วังถนนมหาชัย วังใต้ " ๖๐ ว่าด้วยพระเจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวร มหาศักดิพลเสพที่ได้ออกวัง " ๖๐ ๑๖ วังถนนพระอาทิตย์ วังที่ ๒ " ๖๑ ๑๗ วังสพานเสี้ยว วังที่ ๕ " ๖๑ ตอนที่ ๕ ว่าด้วยสร้างวังในรัชกาลที่ ๔ " ๖๒ ว่าด้วยพระราชวังที่เสด็จประพาศครั้งกรุงศรีอยุธยา " ๖๒ ว่าด้วยการสร้างพระราชวังสำหรับประพาศในรัชกาลที่ ๔ " ๖๓ พระราชวังประทุมวัน " ๖๔ พระราชวังนันทอุทยาน " ๖๔ พระราชวังสราญรมย์ " ๖๕ พระราชวังเมืองสมุทปราการ " ๖๖ พระราชวังบางปอิน " ๖๖ พระราชวังจันทรเกษม " ๖๖ พระราชวังท้ายพิกุล ที่เขาพระพุทธบาท " ๖๗ พระนารายยราช์นิเวศน์ ที่เมืองลพบุรี " ๖๗
( ๑๔ ) พระนครปฐม ที่จังหวัดนครไชยศรี น่า ๖๘ พระนครคิรี เมืองเพ็ชรบุรี " ๖๙ ว่าด้วยพระบวรราชวังสร้างในรัชกาลที่ ๔ " ๖๙ พระบวรราชวังใหม่ ในกรุงเทพ ฯ " ๖๙ พระบวรราชวังสีทา ที่จังหวัดสระบุรี " ๗๐ ว่าด้วยวังเจ้านายสร้างในรัชกาลที่ ๔ " ๗๑ ๑ วังกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ " ๗๒ ๒ วังกรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธร " ๗๓ ว่าด้วยการสร้างวังพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๔ " ๗๓ ๓ วังกรมพระนเรศวรฤทธิ์ " ๗๗ ๔ วังกรมหลวงพิชิตปรีชากร " ๗๗ ๕-๖ วังกรมหลวงอดิศรอุดมเดช " ๗๗ ๗ วังกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ " ๗๘ ๘ วังกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ " ๗๘ ๙ วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร " ๗๙ ๑๐ วังกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ " ๗๙ ๑๑ วังกรมขุนสิริธัชสังกาศ " ๗๙ ๑๒ วังกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ " ๘๐ ๑๓ วังพระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน " ๘๐ ๑๔-๑๕ วังสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศวโรปการ " ๘๐ ๑๖ วังสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช " ๘๑
( ๑๕ ) ๑๗ วังสมเด็จ ฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส น่า ๘๑ ๑๘ วังกรมพระสมมตอมรพันธุ์ " ๘๑ ๑๙ วังกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา " ๘๑ ๒๐ วังกรมหมื่นพงศาดิศรมหิป " ๘๒ ๒๑ วังกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ " ๘๒ ๒๒ วังกรมพระดำรงราชานุภาพ " ๘๒ ๒๓-๒๔ วังกรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา " ๘๒ ๒๕ วังกรมขุนมรุพงศสิริพัฒน์ " ๘๒ ๒๖ วังกรมหลวงสวัสดิวัตนวิศิษฏ์ " ๘๓ ๒๗-๒๘ วังกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย " ๘๓ ว่าด้วยลูกเธอ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ออกวังในรัชกาลที่ ๔ " ๘๓ ๒๙ วังกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ( วังใหม่ ) " ๘๕ ๓๐ วังกรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ " ๘๖ ๓๑ วังกรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ " ๘๖ ๓๒ วังพระองค์เจ้าโต " ๘๖ ๓๓ วังกรมหมื่นวรวัฒน์ศุภากร " ๘๗ ๓๔ วังกรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ " ๘๗ ตอนที่ ๖ ว่าด้วยสร้างวังในรัชกาลที่ ๕ " ๘๘ ว่าด้วยพระราชวังที่ทรงสร้างใหม่ " ๘๘ พระราชวังดุสิต " ๘๘
( ๑๖ ) พระตำหนักพญาไท น่า ๘๙ พระราชวังบางปอิน " ๘๙ ว่าด้วยพระราชวังเมืองราชบุรี " ๙๐ พระราชวังริมน้ำ ที่เมืองราชบุรี " ๙๑ พระราชวังบนเขาสัตนาถ " ๙๑ พระราชวังจุฑาธุชราชฐาน " ๙๒ พระราชวังรัตนรังสรรค์ " ๙๒ พระราชวังบ้านปืน " ๙๔ ว่าด้วยวังกรมพระราชวังบวร ฯ ทรงสร้างในรัชกาลที่ ๕ " ๙๕ ว่าด้วยวังเจ้านายรัชกาลอื่นสร้างในรัชกาลที่ ๕ " ๙๕ ๑ วังสวนหลวง วังเหนือ " ๙๖ ๒ วังสวนหลวง วังใต้ " ๙๖ ว่าด้วยการสร้างวังสำหรับพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ " ๙๖ ๑ วังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ " ๙๗ ๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน " ๙๘ ๓ วังสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต " ๙๘ ๔ วังสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ " ๙๘ ๕ วังสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมหลวงนครราชสิมา " ๙๙ ๖ วังสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ " ๙๙ ๗ วังสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนเพ็ชร์บูรณ์อินทราไชย " ๙๙ ๘ วังสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา " ๑๐๐
( ๑๗ ) ๙ วังสมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ น่า ๑๐๐ ๑๐ วังกรมพระจันทบุรีนฤนาถ " ๑๐๐ ๑๑ วังกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ " ๑๐๐ ๑๒ วังกรมหลวงปราจิณกิติบดี " ๑๐๑ ๑๓ วังกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช " ๑๐๑ ๑๔ วังกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ " ๑๐๑ ๑๕ วังกรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน " ๑๐๑ ๑๖ วังกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม " ๑๐๑ ๑๗ วังกรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร " ๑๐๒ ๑๘ วังกรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี " ๑๐๒ ๑๙ วังกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส " ๑๐๒ ๒๐ วังกรมขุนไชยนาทนเรนทร " ๑๐๒ ว่าด้วยวังหลานเธอในรัชกาลที่ ๕ " ๑๐๒ ว่าด้วยวังลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๕ " ๑๐๓ สารบานวังเก่าตามรายพระนามเจ้านาย " ๑๐๖
บอกแก้คำผิด คำว่า "กรมหมื่นนรินทรภักดี" น่า ๒ บันทัด ๔ ให้แก้เปน "กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์" คำว่า "กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์" น่า ๑๖ บันทัด ๑๗ ให้แก้เปน "กรมหมื่นนรินทรเทพ" คำว่า "พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโต" น่า ๒๘ บันทัด ๑๕ ให้แก้เปน "พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าโต" คำว่า "พระองค์เจ้าศรีสังข์ ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ" น่า ๔๙ บันทัด ๓ ให้แก้เปน "พระองค์เจ้าศรีสังข์ ใน กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์"
อธิบายเรื่องตำนานวังเก่า
เรื่องตำนานวังเก่านี้ พระเจ้าบรมวงศเธอชั้น ๓ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณทรงริแต่งขึ้นเมื่อรัชกาลที่ ๕ ว่าด้วยสร้างพระราชวังและวังเจ้านายครั้งรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ แล้วโปรดให้เขียนเปนหนังสือเส้นหมึกประทานชำร่วยแก่เจ้านายที่ไปถวายรดน้ำสงกรานต์ ข้าพเจ้าได้ประทานฉบับ ๑ อ่านแล้วเก็บรักษามาจนรัชกาลปัจจุบันนี้ ค้นหนังสือไปพบเข้า นึกว่าหนังสือเรื่องนั้นถ้าแต่งต่อเสียให้บริบูรณ์ ก็จะเปนประโยชน์ในทางความรู้ สมควรจะพิมพ์เปนหนังสือหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครได้ แต่การที่จะแต่งต่อนั้น เห็นว่าตำนานวังเจ้านาย รัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕ พอจะสืบเรื่องได้ไม่ยาก ลำบากอยู่แต่เรื่องวังเจ้านายรัชกาลที่ ๓ ไม่รู้ว่าจะสืบถามหาเรื่องราวที่ผู้ใดดี จึงทูลปฤกษาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ทรงแนะนำให้ถามหม่อมเจ้าแดง ในพระเจ้าบรมวงศเธอชั้น ๓ พระองค์เจ้างอนรถ ข้าพเจ้าทำตามทรงแนะนำก็ทราบเรื่องวังเจ้านายครั้งรัชกาลที่ ๓ สมประสงค์ ได้จดเปนหัวข้อไว้ แต่ยังหาได้แต่งขึ้นเปนเรื่องสำหรับพิมพ์ไม่ ครั้นหม่อมเจ้าแดงสิ้นชีพตักษัย หม่อมราชวงศหญิงโต จิตรพงศ ณกรุงเทพ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ ประสงค์จะพิมพ์หนังสือเปนของแจกเนื่องในทักษิณานุปทาน ที่บำเพ็ญสนองพระคุณบิดา ขอให้ข้าพเจ้าช่วยจัดการพิมพ์หนังสือนั้น สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศทรงเตือนถึงเรื่องตำนานวังเก่าที่ข้าพเจ้าได้ไต่ถามหม่อมเจ้าแดงไว้ ทรงพระดำริห์ว่าถ้าพิมพ์หนังสือเรื่องนั้นได้ก็
ข จะเหมาะดี ข้าพเจ้าเห็นชอบด้วย จึงได้แต่งเรื่องตำนานวังเก่าที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ขึ้นใหม่ทั้งเรื่อง การที่แต่งหนังสือเรื่องนี้ได้อาศรัยสอบแผนที่เก่าซึ่งมีอยู่ในกรมแผนที่ประกอบกับความรู้ที่สืบสวนได้ความแต่ที่ต่าง ๆ คือในหนังสือพงศาวดารและจดหมายเหตุบ้าง ในหนังสือซึ่งกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณทรงพระนิพนธ์ไว้บ้าง ได้จากคำชี้แจงของหม่อมเจ้าแดงบ้าง ไต่ถาม หม่อมเจ้าอุทัย ในพระเจ้าราชวรวงศเธอชั้น ๒ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ และท่านผู้อื่นได้ความต่อมาในเวลาเมื่อจะแต่งหนังสือนี้อิกบ้าง แต่เรื่องราวที่ข้าพเจ้าเรียบเรียงไว้ในหนังสือนี้ จะรับว่าถูกถ้วนทีเดียว ไม่ได้ ด้วยเปนการเก่าแก่ ความบางแห่งหมดตัวผู้รู้ต้องสันนิษฐาน เอาเองก็มี ที่ไม่รู้ว่าจะสันนิษฐานอย่างไรทีเดียวก็มี ถึงกระนั้นก็ดี เข้าใจว่าเรื่องราวเพียงเท่าที่ได้ความมาเรียบเรียงไว้ในสมุดเล่มนี้ คง จะเปนประโยชน์ในทางความรู้ได้บ้าง.
ตำนานวังเก่าในกรุงเทพ ฯ
ตอนที่ ๑ ว่าด้วยพระราชวังทั้ง ๓ เมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เริ่มทรงสร้างกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร ฯ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๓๒๕ นั้น เจ้านายพระองค์ชาย ซึ่งเจริญพระชัณษาสมควรจะเสด็จอยู่วังต่างหากมีเจ้าฟ้า ๗ พระองค์ พระองค์เจ้า ๓ พระองค์ รวมเปน ๑๐ พระองค์ ด้วยกัน คือ สมเด็จพระอนุชาธิราช มหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์ ๑ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา พระองค์ ๑ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (คือ พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เวลานั้นพระชัณษาได้ ๑๖ ปี) พระองค์ ๑ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (ซึ่งต่อมาทรงสถาปนาเปนกรมพระราชวังหลัง) พระองค์ ๑ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์ พระองค์ ๑ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรรณเรศร์ พระองค์ ๑ ( สมเด็จพระเจ้าหลานเธอทั้ง ๒ พระองค์นี้ เปนพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ) ๑
๒ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ( เปนโอรสของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์น้อย เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ) พระองค์ ๑ กรมหมื่นนรินทรภักดี พระภัศดาของพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้ากุ ( ซึ่งทรงสถาปนาพระนามพระอัฐิเปนกรมหลวงนรินทรเทวีเมื่อในรัชกาลที่ ๔ ) พระองค์ ๑ พระองค์เจ้าขุนเณร เปนพระอนุชาของกรมพระราชวังหลัง แต่มิได้ร่วมพระชนนี พระองค์ ๑ หม่อมเรือง ซึ่งกรมพระราชวังบวร ฯ ทูลขอให้ยกขึ้นเปนเจ้าเพราะทรงนับถือเปนพระภาดา โดยได้กระทำสัตย์ไว้ต่อกัน ( ภายหลังได้เปนกรมขุนสุนทรภูเบศร์ ) พระองค์ ๑ เจ้านายพระองค์ชายนอกนี้ยังทรงพระเยาว์อยู่ทั้งนั้น วังซึ่งสร้างพร้อมกรุงรัตนโกสินทร จึงมีแต่พระราชวังหลวง พระราชวังบวรสถานมงคล กับวังเจ้านายอิก ๘ วัง ( แลใน ๘ วังนั้น ต่อมาทรงสถาปนาเปนพระราชวังหลังวัง ๑ ) รวมทั้งสิ้นเปน ๑๐ วังด้วยกัน วังซึ่งสร้างในชั้นแรก การเลือกที่ตั้งวังเนื่องด้วยการสร้างพระนคร อมรรัตนโกสินทร ฯ เปนสำคัญ เพราะฉนั้นจะกล่าวถึงเหตุการณ์ที่สร้างพระนคร ฯ อันเปนปัจจัยแก่การสร้างวังให้ปรากฎก่อน แล้วจึงจะกล่าวบรรยายถึงเรื่องวังต่อไป เดิมเมืองธนบุรีตั้งอยู่ทางฝั่งแม่น้ำฟากตวันตกฝั่งเดียว ครั้นขุนหลวงพระยาตากมาตั้งเมืองธนบุรีเปนราชธานี จะขยายบริเวณเมือง
๓ ให้ใหญ่โตออกไปให้สมกับที่เปนราชธานี จึงให้ขุดคูแล้วสร้างปราการพระนครทางข้างฟากตวันออกอิกฝ่ายหนึ่ง(คือ แนวคลองตลาดทุกวันนี้๑) ทางข้างฟากตวันตกก็ให้ขุดคูเมืองธนเดิมก่อปราการต่อขึ้นไปทางข้างเหนือ จนถึงคลองบางกอกน้อย แนวคูกรุงธนบุรีด้านตวันตก ปากคูข้างใต้ต่อคลองบางกอกใหญ่ที่ริมวัดโมลีโลก ผ่านหลังวัดอรุณ ฯ แลบ้านขมิ้นไปออกคลองบางกอกน้อยที่หลังวัดอมรินทร ยังเปน คลองเรืออยู่จนบัดนี้ เว้นแต่ที่ตรงปากคูตอนต่อคลองบางกอกน้อยนั้นถมเสียเมื่อทำทางรถไฟสายตวันตก การที่สร้างกรุงธนบุรีจึงเปลี่ยน แผนที่เมืองเดิม ซึ่งตั้งฝั่งเดียวเอาแม่น้ำไว้ทางน่าเมือง กลายเปน เมืองตั้งสองฟากเอาแม่น้ำไว้กลางเมือง แผนที่เมืองอย่างที่เอาลำน้ำไว้กลางเมืองเช่นว่านี้มักเรียกกันว่า "เมืองอกแตก" ชวนให้เข้าใจว่าปราศจากชัยภูมิ แต่ที่จริงเปนแบบอย่างอันหนึ่งซึ่งนับถือกันมาแต่โบราณ เมืองโบราณที่สร้างปราการสองฟากเอาลำน้ำไว้กลางเช่นนี้มีหลายเมือง คือ เมืองพิษณุโลก เมืองเพ็ชร์บูรณ์ เมืองสรรคบุรี เมืองสุพรรณบุรีเปนต้น เพราะมีประโยชน์ ในการบางอย่าง เช่นอาจจะเอาพาหนะสำหรับใช้ทางน้ำรักษาไว้ได้ในเมือง มิให้เปนอันตรายในเวลามีข้าศึกมาตั้งประชิดติดเมืองนั้นเปนต้น ความข้อนี้มีเหตุการณ์เปนอุทาหรณ์ปรากฎมาเมื่อก่อนสร้างกรุงธนบุรีไม่ช้านัก คือ เมื่อพระเจ้ามังลองยกทัพพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่า ๑ คลองนี้มักเรียกกันเปน ๒ ชื่อ ตอนข้างใต้เรียกว่า คลองตลาด ตอนข้างเหนือเรียกว่า คลองโรงไหม จะเรียกในหนังสือนี้ว่า คลองคูเมืองเดิมทั้ง ๒ ตอน.
๔ เข้ามาได้จนชานพระนคร มาตั้งอยู่ข้างด้านเหนือ กรุงศรีอยุธยาไม่มีที่ไว้เรือในกำแพงพระนคร ต้องถอยเรือทั้งปวงทั้งเรือหลวงและเรือสินค้าของราษฎรลงมารวมรักษาไว้ในแม่น้ำที่ตรงปากคูข้างใต้พระนคร (คือราวปากคลองตะเคียนทุกวันนี้) ข้าศึกยกอ้อมลงมาเผาเรือเสียเกือบหมด บางทีจะเปนด้วยเหตุที่ปรากฎในคราวซึ่งกล่าวนี้เอง พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงเอาแบบเมืองสองฟากลำน้ำมาสร้างกรุงธนบุรี หาได้สร้างโดยปราศจากความพินิจพิจารณาไม่ แต่ภายหลังมา เมื่อครั้งอะแซหวุ่นกี้เข้ามาตีหัวเมืองเหนือ พม่ามาตั้งล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ พระบาทสม เด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงรักษาเมืองต่อสู้ในครั้งนั้น ได้ทดลองรักษา "เมืองอกแตก" ต่อสู้พม่าข้าศึก ทรงทราบประจักษ์ว่า เมืองที่ตั้งสองฟากเอาแม่น้ำไว้กลางเมือง เวลาต่อสู้มีทางเสียเปรียบข้าศึก ด้วยลำแม่น้ำกีดขวางอยู่ในเมือง เวลาศึกหนักทางด้านไหนจะส่งกำลังทางด้านอื่นไปช่วยกันไม่สดวก แม่น้ำที่เมืองพิษณุโลกยังว่าแคบแลตื้นพอทำสพานเรือกให้รี้พลข้ามได้ แต่แม่น้ำข้างตอนใต้เช่นที่กรุงธนบุรีทั้งกว้างและฦก จะทำสพานข้ามก็ขัดสน ถ้ามีกองทัพใหญ่ของข้าศึกเข้ามาได้ถึงชานพระนคร เห็นจะรักษายากเต็มที พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงประจักษ์แจ้งความข้อนี้แก่พระราชหฤทัย ครั้นเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงย้ายพระนครมาสร้างทางฝั่งตวันออกแต่ฟากเดียว ความที่กล่าวมานี้เปนเนื้อเรื่องที่มีมาในพระราชพงศาวดาร
๕
แต่เปนข้อที่น่าวินิจฉัยในเรื่องสร้างกรุงรัตนโกสินทรนี้ ด้วยความปรากฎว่า พอพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จผ่านพิภพ ในเดือนนั้นเองก็โปรด ฯ ให้ลงมือสร้างพระนครใหม่ ความอันนี้ส่อให้เห็นว่าการที่ย้ายพระนครนั้นเปนการที่ได้ดำริห์แลได้สำรวจตรวจที่ชัยภูมิ์ไว้แต่ก่อนแล้ว การใหญ่โตถึงปานนั้นใช่วิสัยที่จะทำโดยทรงพระราชดำริห์เปนปัจจุบันทันด่วน เมื่อคิดดูระยะเวลาตั้งแต่ศึกอะแซหวุ่นกี้มาจนเปลี่ยนรัชกาลกรุงธนบุรีมีถึง ๕ ปี เรื่องที่จะย้ายพระนครมาตั้งฟากเดียวน่าที่จะได้เคยเปนปัญหาวินิจฉัยกันมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี ข้างฝ่ายพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชดำริห์เห็นควรจะย้าย แต่ฝ่ายพระเจ้ากรุงธนบุรีจะไม่เห็นชอบด้วย ฤๅมิฉนั้นจะผัดผ่อนหาเวลาที่เปนโอกาศ การจึงค้างอยู่ แต่คงได้ทรงตรวจตราเห็นที่ชัยภูมิมาแต่ครั้งกรุงธนบุรีแล้ว พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงอาจทรงสั่งให้ย้ายพระนครได้ในทันที
ทำเลที่สร้างพระนครใหม่ ถึงว่าใกล้กับเมืองธนุบรีเดิมเพียงตรงกันข้ามฟากแม่น้ำก็จริง แต่เปนที่ชัยภูมิผิดกันด้วยอยู่หัวแหลมได้แม่น้ำเปนคูเมืองสองด้าน ต้องขุดคลองเปนคูเมืองแต่ ๒ ด้าน พื้นที่ทางด้านตวันออก พ้นคลองคูออกไปในสมัยนั้นก็ยังเปนที่ลุ่ม เรียกว่าทะเลตมมาแต่โบราณ ถึงข้าศึกจะเข้ามาได้ถึงแขวงกรุงเทพ ฯ จะเข้าถึงชานพระนครทางด้านนั้นก็ยาก ด้วยมีทางเดินแต่เฉพาะบางแห่ง เพราะเหตุนี้เมื่อสร้างพระนคร เดิมกะจะสร้างสพานช้าง คือสพานอย่างที่ก่ออิฐทอดไม้เหลี่ยมเปนพื้น สำหรับให้ช้างเดินข้ามคูทางด้านตวัน
๖ ออก พระพิมลธรรมวัดโพธารามถวายพระพรห้าม จึงได้ทรงพระราชดำริห์เห็นชอบด้วย เพราะเห็นว่าถ้าข้าศึกจับต้นทางได้แล้ว ก็จะอาศรัย สพานข้ามเข้าตีพระนครได้สดวกขึ้น ที่พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรีบสร้างพระนครใหม่ครั้งนั้น เพราะทรงคาดว่าจะมีศึกพม่ามาอิกในไม่ช้า ข้อที่ทรงคาดนี้ก็ไม่ผิด พอสร้างพระนครแล้วเมื่อปีมะเสง พ.ศ. ๒๓๒๘ ในปีนั้นเองศึกพม่าก็มีมา คือ คราวศึกใหญ่ที่พม่ายกมาทุกทาง แต่หากไทยไปสกัดตีกองทัพหลวงของพม่าแตกเสียแต่ที่ตำบลลาดหญ้าแขวงเมืองกาญจนบุรี ข้าศึกจึงมิได้เข้ามาถึงพระนคร เพราะพระนครใหม่สร้างในเวลาระแวงว่าจะมีศึกพม่าดังกล่าวมา การที่สร้างจึงทำเปน ๒ ระยะ คือระยะเบื้องต้นคงรักษากรุงธนบุรีเดิมเปนที่มั่น เปนแต่ย้ายพระราชวังกับสถานที่ต่าง ๆ ในรัฐบาลมาตั้งในกรุงธนบุรีทางฟากตวันออก ถึงระยะที่ ๒ จึงขุดคูขยายเขตร์พระนครออกไปทางตวันออกแต่ฝั่งเดียว แล้วรื้อกำแพงธนบุรีทางข้างฝั่งตวันตกเสีย คงรักษาแต่ที่ริมแม่น้ำเปนเขื่อนน่าของพระนครที่สร้างใหม่ บรรดาวังที่สร้างพร้อมกับกรุงเทพ ฯ สร้างโดยมีเหตุการณ์ที่กล่าวมาเปนปัจจัยทั้งนั้น จะกล่าวบรรยายเปนรายวังต่อไป พระบรมมหาราชวัง เมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงย้ายพระราชวังมาตั้งทางฝั่งตวันออก ทำเลที่ในกำแพงกรุงธนุบรีทางฝั่งนี้ ตั้งแต่ปากคลองคูเมืองเดิมข้างเหนือลงมาจนปากคลองข้างใต้ มาจนริมแม่
๗ น้ำมีที่ผืนใหญ่ที่จะสร้างพระราชวังได้แต่ ๒ แปลง ๆ ข้างใต้อยู่ในระหว่างวัดโพธิ์ (เชตุพน) กับวัดสลัก (มหาธาตุ) แปลงข้างเหนือ อยู่แต่เหนือวัดสลักขึ้นไปจนคลองคูเมือง จึงสร้างพระราชวังหลวงในที่แปลงใต้สร้างพระราชวังบวรสถานมงคลในที่แปลงเหนือ ด้วยเหตุนี้พระราชวังหลวงกับวังน่าในกรุงเทพ ฯ นี้จึงใกล้ชิดกัน ผิดกับที่กรุงศรีอยุธยา ท้องที่ตรงที่สร้างพระราชวังหลวงนี้ เมื่อครั้งกรุงธนบุรีให้พวกจีนซึ่งขึ้นอยู่ในพระยาราชาเศรษฐี๑ ตั้งบ้านเรือน เมื่อจะสร้างพระราชวัง โปรดให้พวกจีนย้ายลงไปตั้งบ้านเรือนอยู่ระหว่างวัดสามปลื้ม (จักร วรรดิ) กับวัดสำเพ็ง (ประทุมคงคา) จึงเลยเปนตลาดจีนมาจนทุกวันนี้ พระราชวังหลวงที่สร้างขึ้นในกรุงเทพ ฯ นี้ ถ่ายแผนที่พระราชวังหลวงในกรุงศรีอยุธยามาสร้างแทบทุกอย่าง เปนต้นว่าสร้างชิดข้างแม่น้ำแลหันน่าวังขึ้นข้างเหนือน้ำ เอาลำแม่น้ำไว้ข้างซ้ายวังอย่างเดียวกัน เอากำแพงเมืองด้านข้างแม่น้ำเปนกำแพงพระราชวังชั้นนอกอย่างเดียวกัน วางพระราชมณเฑียรรายเรียงเปนระยะอย่างเดียวกัน หมู่พระมหามณเฑียรตรงกับพระวิหารสมเด็จที่กรุงเก่า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทตรงกับพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ มิได้สร้างแต่พระที่นั่ง ๑ ขุนนางหัวน่าจีนแต่ก่อน ๒ คน เปนที่พระยาโชฎึกคน ๑ พระยาราชาเศรษฐีคน ๑ ครั้นมาภายหลังรวมเปนคนเดียว จึงมีชื่อว่าพระยาโชฎึกราชเศรษฐี เหมือนขุนนางหัวน่าแขก แต่ก่อนก็เปนที่พระจุฬาคน ๑ พระราชมนตรีคน ๑ เมื่อรวมเปนคนเดียว จึงชื่อว่าพระยาจุฬาราชมนตรี ดังนี้
๘ องค์กลางที่ตรงพระที่นั่งสรรเพ็ชญปราสาท (พึ่งมาสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทต่อรัชกาลที่ ๕) วัดพระศรีรัตนศาสดารามก็สร้างตรงกับวัดพระศรีสรรเพ็ชญที่ในพระราชวังกรุงเก่า แต่เครื่องที่ปลูกสร้างพระราชวังในชั้นแรกใช้เครื่องไม้ทั้งสิ้น แม้พระราชมณเฑียรฤๅป้อมปรา การรอบพระราชวังก็เปนเครื่องไม้ มาอิกชั้นหนึ่งจึงได้ทำป้อมปราการรอบพระราชวังเปนเครื่องก่ออิฐถือปูน แล้วทำพระราชมณเฑียรและพระมหาปราสาทเปลี่ยนเปนก่ออิฐถือปูน ที่เปนเครื่องก่ออิฐถือปูนมาแต่แรกมีแต่วัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งเดียว ตำหนักรักษาศาลาลูกขุนและคลังทั้งปวงยังเปนเครื่องไม้มาจนรัชกาลที่ ๓ จึงได้จับเปลี่ยนเปนเครื่องก่ออิฐถือปูนแต่นั้นมา เขตร์พระราชวังหลวงซึ่งสร้างเมื่อรัชกาลที่ ๑ นั้น ด้านเหนือ ด้าน ตวันออก ด้านตวันตก ตรงเท่าทุกวันนี้ แต่เขตร์ด้านใต้ครั้งนั้นสุดเพียงป้อมอนันตคิรี เปนป้อมมุมพระราชวังทิศตวันออกเฉียงใต้ แนวกำแพงพระราชวังแต่ป้อมอนันตคิรีตรงมาทางทิศตวันตก (เข้าใจว่าตามแนวที่สร้างแถวเต๊งชั้นนอกข้างในพระราชวังนั้น) มาบรรจบป้อมสัตบรร พต ถึงรัชกาลที่ ๒ จึงขยายเขตร์พระราชวังทางด้านใต้ออกไปเท่าทุกวันนี้ และสร้างประตูพิทักษ์บวร ประตูสุนทรทิศา สกัดในระหว่างกำแพงพระราชวังชั้นในกับกำแพงเมือง ซึ่งเรียกกันว่า "ประตูแดง" แต่ก่อนนั้นมาประตูทั้ง ๒ นี้หามีไม่ การปลูกสร้างแก้ไขพระราชมณเฑียรและสถานที่ต่าง ๆ ที่ในพระราชวังในรัชกาลหลัง ๆ มีมากมายหลายอย่างนัก จะพรรณาในหนังสือ
๙ นี้ก็จะยืดยาวเกินเจตนาไป ขอยุติเพียงกล่าวถึงการชั้นแรกสร้างดังได้แสดงมาเท่านี้ นามที่เรียกว่า "พระบรมมหาราชวัง" พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พึ่งทรงบัญญัติขึ้นเมื่อในรัชกาลที่ ๔ แต่ก่อนมาในบัตร์หมายใช้ว่า "พระราชวังหลวง" ตามแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา เข้าระเบียบกับ "พระราชวังบวรสถานมงคล" และพระราชวังบวรสถานพิมุข แต่เรียกกันเปนสามัญว่า "วังหลวง วังน่า วังหลัง" ถึงรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราชให้มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เปนพระราชา ๒ พระองค์ ในแผ่นดินนั้นก็ต้องมีราชาศัพท์สำหรับจะใช้ในที่หมายความว่าฝ่ายพระองค์ไหนฝ่ายเดียว จึงทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า "บรม" เพิ่มเข้าในฝ่ายวังหลวง คำ "บวร" เพิ่มเข้าในฝ่ายวังน่า เปนต้น ดังเช่นพระราชโองการก็เปนพระบรมราชโองการ และพระบวรราชโองการ พระราชวังหลวงและพระราชวังบวรสถานมงคลก็เปนพระบรมมหาราชวังและพระบวรราชวังดังนี้ ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตราชาศัพท์ส่วนข้างวังหน้า เช่นพระบวรราชโองการและพระบวรราชวังเปนต้นก็สูญไป แต่ฝ่ายข้างวังหลวงไม่ได้มีรับสั่งให้เลิกศัพท์ที่เติมใหม่ก็คงใช้คำ "บรม" ต่อมา จึงเรียกว่า พระบรมมหาราชวังอยู่จนทุกวันนี้ พระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อรัชกาลกรุงธนบุรีไม่มีพระมหาอุปราช ในกรุงธนบุรีจึงมีแต่พระราชวังหลวง ไม่มีพระราชวังบวรสถานมงคล ฤๅที่เรียกกันตาม ๒ ๑๐ แบบอย่างครั้งกรุงเก่าว่า "วังน่า" ถึงรัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาสม เด็จพระอนุชาธิราชเปนพระมหาอุปราช จึงต้องสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลขึ้นใหม่ ตรงที่วังน่าซึ่งเปนพิพิธภัณฑ์สถานบัดนี้๑ ที่เลือกที่สร้างพระราชวังบวร ฯ ตรงนี้ เพราะในที่กำแพงกรุงธนทางฝั่ง ตวันออก อันเปนที่มั่นในเวลาสร้างพระนครอมรรัตนโกสินทร มีที่ผืนใหญ่แต่ ๒ แปลงดังกล่าวมาแล้ว ที่แปลงใต้สร้างพระราชวังหลวง ยังเหลือที่แปลงเหนือจึงสร้างพระราชวังบวร ฯ แต่ที่แปลงนี้แคบ ต้องทำผาติกรรมถวายที่เพิ่มเติมเขตร์ วัดสลักทางด้านตวันออกแลกที่วัดทางด้านเหนือไปเปนเขตร์ พระราชวังบวร ฯ และบางทีจะเปนเพราะเหตุอันนี้เอง กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจึงทรงสร้างวัดสลัก (คือวัดมหาธาตุบัดนี้) ครั้งนั้นการรักษาพระนครซึ่งสร้างใหม่จัดอนุโลมตามแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา เอาท้องที่ที่ตั้งพระราชวังทั้ง ๒ เปนเขตร์ปันนาที่ ให้รี้พลฝ่ายพระราชวังหลวงรักษาทางด้านใต้ รี้พลฝ่ายวังน่ารักษาทางด้านเหนือ มาบรรจบกันที่ประตูสำราญราษฎร์ (ซึ่งคนมักเรียกกันว่าประ ตูผี) การปกครองท้องที่ในพระนครก็แบ่งเปนอำเภอวังหลวงอำเภอวังน่า อนุโลมตามเขตร์นั้น สืบมาจนรัชกาลหลัง ๆ พึ่งมาเลิกเมื่อรัชกาลที่ ๕ ๑. เมื่อขยายที่ท้องสนามหลวงในรัชกาลที่ ๕ รื้อพระราชวังบวร ฯ ชั้นนอกทำสนามเสียมาก ถ้าสังเกตที่พื้นสนามหลวง ยังจะแลเห็นแนวป้อมกำแพงวังของเดิมได้จนบัดนี้
๑๑ เรื่องราวพระราชวังบวรสถานมงคลต่อมามีอยู่ในหนังสือ "เรื่องตำนานวังน่า" โดยพิสดาร ได้พิมพ์ไว้ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๓ แล้ว จะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้
พระราชวังหลัง ชื่อที่เรียกวังน่าก็ดี วังหลังก็ดี เรียกตามแบบอย่างครั้งกรุงเก่าที่กรุงเก่านั้น วังจันทรเกษมอันเปนที่ประทับของพระมหาอุปราช อยู่ทางข้างด้านน่าพระราชวังหลวง จึงเรียกกันว่า วังน่า วังสวนหลวง (ตรงที่ตั้งโรงทหารบัดนี้) อยู่ข้างด้านหลังพระราชวังหลวง จึงเรียกกันว่า "วังหลัง" เรียกกันมาแต่ก่อนมีกรมพระราชวังหลัง ครั้นสถาปนากรมพระราชวังหลังขึ้นเมื่อรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา จึงขนานนามกรมว่า "กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข" ในกรุงเทพ ฯ นี้พระราชวัง บวรสถานมงคลยังอยู่ข้างด้านน่าพระราชวังหลวงเรียกว่า วังน่าก็ถูกตามแผนที่ แต่พระราชวังหลังนั้นผิดทิศห่างไกล ที่เรียกว่า วังหลัง จึงคงหมายความแต่ว่า เปนที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขเท่านั้น พระราชวังหลังสร้างที่ตำบลสวนลิ้นจี่ (คือตรงที่ตั้งโรงสิริราชพยา บาลบัดนี้) ตั้งแต่กรมพระราชวังหลังดำรงพระยศเปนสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ด้วยที่ตรงนั้นมีป้อมปราการเปนมุมเมืองมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี จึงเปนที่สำคัญสำหรับป้องกันพระนครทางฝั่งตวันตก มาสถาปนาเปนพระราชวังหลังต่อชั้นหลัง
๑๒ แต่จะก่อสร้างแปลกกับวังเจ้านายต่างกรมอย่างใดบ้าง ไม่ปรากฎสิ่งสำคัญเหลืออยู่ สืบก็ไม่ได้ความ อนึ่งที่ซึ่งสร้างพระราชวังหลังนั้น บางทีจะสร้างตรงที่พระนิเวศน์เดิมของกรมพระราชวังหลัง ครั้งทรงปฏิบัติราชการกรุงธนบุรีก็เปนได้ ด้วยกล่าวกันมาว่าเมื่อครั้งกรุงธนบุรีนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี พระพี่นางพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงตั้งพระนิเวศน์สถานอยู่ที่ตำบลสวนมังคุด แล้วทรงสร้างสวนลิ้นจี่นั้นขึ้น สมเด็จพระพี่นางพระองค์นั้นมีพระโอรสทรงปฏิบัติราชการครั้งกรุงธนบุรีถึง ๓ พระองค์ พระองค์ใหญ่ (คือกรมพระราชวังหลัง) ได้เปนพระยาสุริยอภัย พระองค์กลาง (คือกรมหลวงธิเบศร์บดินทร์) ได้เปนพระอภัยสุริยา พระองค์น้อย (คือกรมหลวงนรินทร์รณเรศร์) ได้เปนหลวงฤทธินายเวรมหาดเล็ก บางทีจะทรงโอนสวนลิ้นจี่ประทานกรมพระราชวังหลัง ซึ่งเปนพระโอรสผู้ใหญ่ให้ตั้งนิวเศน์สถาน เพราะฉนั้นจึงปรากฎในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เมื่อเกิดจลาจลในกรุงธนบุรี ครั้งพระยาสรรค์เข้ามาตีพระนคร กรมพระราชวังหลังยกกองทัพเข้ามาจากเมืองนครราชสีมา มาตั้งอยู่ที่ "พระนิเวศน์สถานเดิม" พระยาสรรค์ยุให้เจ้ารามลักษณ์ไปรบกับกรมพระราชหลัง กองทัพเจ้ารามลักษณ์ไปตั้งที่บ้านปูน และวางคนรายโอบขึ้นไปจนวัดบางว้าน้อย แล้วเอาไฟเผาบ้านเรือนราษฎรขึ้นไปแต่ข้างใต้ หมายจะให้ไหม้พระนิเวศน์สถานของกรมพระราชวังหลัง ตามความที่ปรากฎนี้บ่งว่า ขณะนั้นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี
๑๓ ประทับอยู่ที่สวนมังคุด กรมพระราชวังหลังเสด็จอยู่ที่สวนลิ้นจี่ ตั้งค่ายรักษาทั้ง ๒ แห่ง ฤๅชักแนวค่ายตลอดถึงกัน ด้วยพระนิเวศน์สถานทั้ง ๒ แห่งเกือบจะต่อติดไม่ห่างกัน ต่อมาถึงตอนปลายรัชกาลที่ ๑ เมื่อกรมพระราชวังหลังทิวงคตแล้วที่พระราชวังหลังแบ่งเปน ๔ วัง คือ วังเดิม อันเปนตอนพระราชมณเฑียรของกรมพระราชวังหลังนั้น พระอรรคชายา ซึ่งเรียกกันว่า "เจ้าครอกข้างใน" ประทับทรงปกครองเชื้อวงศ์ของกรมพระราชวังหลังอยู่กับพระองค์เจ้าหญิงกระจับ พระองค์เจ้าหญิงจงกล ซึ่งเปนพระธิดา และพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ซึ่งเปนพระโอรสองค์น้อย ส่วนพระโอรสซึ่งทรงพระเจริญแล้ว ๓ พระองค์นั้น แบ่งที่วังหลังข้างตอนใต้ลงมา ตั้งวังเปน ๓ วัง วังเหนือเรียกกันว่า "วังน้อย" เปนที่ประทับของกรมหลวงเสนีบริรักษ์ ถัดลงมาถึง "วังกลาง" เปนที่ประทับของกรมหมื่นนเรศร์โยธี วังใต้เรียกกันว่า "วังใหญ่" เปนที่ประทับของกรมหมื่นนราเทเวศร์ เจ้าข้างในและต่างกรมในพระราชวังหลังทั้ง ๓ พระองค์เสด็จอยู่มาจนรัชกาลที่ ๓ แต่พระองค์เจ้าปฐมวงศ์นั้นทรงผนวชอยู่วัดระฆังตลอดมาจนสิ้นพระชนม์มายุในรัชกาลที่ ๓ ครั้นสิ้นพระชนม์ไปหมดแล้ว หม่อมเจ้าหม่อมราชวงศ์ในกรมก็อยู่ต่อมา หาได้มีเจ้านายพระองค์อื่นเสด็จไปอยู่พระราชวังหลังไม่
ตอนที่ ๒ ว่าด้วยวังเจ้านายสร้างในรัชกาลที่ ๑
วังเจ้านายเมื่อรัชกาลที่ ๑ สร้างเปน ๒ คราว คือสร้างพร้อมกับกรุงรัตนโกสินทรคราว ๑ สร้างเพิ่มเติมเมื่อตอนปลายรัชกาลอิกคราว ๑ วังเจ้านายซึ่งสร้างพร้อมกับกรุงรัตนโกสินทรนั้น สร้างทางพระนครใหม่ฟากตวันออก ๔ วัง ศร้างทางกรุงธนฟากตวันตก ๔ วัง จะกล่าวพรรณาว่าเปนรายวังต่อไป จะว่าด้วยวังทางฝั่งตวันออกก่อน
๑ วังริมป้อมพระสุเมรุ วังนี้สร้างเปนที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา อยู่ตรงมุมพระนครด้านเหนือ (ยังมีประตูวังก่ออิฐ ปรากฎอยู่หลังป้อมพระสุเมรุจนบัดนี้) ที่สร้างวังนี้เดิมอยู่ในเขตร์พระนิเวศน์สถานของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เมื่อครั้งทรงปฏิบัติราชการกรุงธนบุรี แต่สมัยนั้นเปนที่อยู่นอกกำแพงเมืองข้างด้านเหนือที่สร้างพระตำหนักเห็นจะอยู่ริมแม่น้ำ ครั้นสร้างพระนครใหม่ แนวกำแพงเมืองผ่านกลางที่ แล้วเลี้ยวที่ปากคลองบางลำภูอันเปนคูพระนครใหม่ไปทางทิศตวันออก จึงสร้างป้อมพระสุเมรุเปนป้อมใหญ่ประจำมุมพระนครข้างด้านเหนือลงตรงนั้น ถือว่าเปนที่สำคัญในการป้องกันพระนครแห่ง ๑ เมื่อกรมพระราชวังบวร ฯ เสด็จมาประทับที่พระราชวังบวร ฯ แล้ว จึงพระราชทานที่พระนิเวศน์สถานเดิมตอนในกำแพงพระนครที่สร้างใหม่ ให้สร้างวังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา เพื่อประโยชน์ในการรักษาพระนครทางด้านนั้น
๑๕
วังนี้ตั้งแต่เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์แล้ว หาปรากฎว่า ได้โปรด ฯ ให้เจ้านายต่างกรมฤๅพระองค์เจ้าพระองค์ใดเสด็จไปประทับไม่ กล่าวกันว่าเพราะพระภูมิเจ้าที่ร้ายแรงนัก
๒ วังริมป้อมจักรเพ็ชร วังนี้เปนที่สำคัญสำหรับการรักษาพระนครข้างใต้ เหมือนอย่างวังเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาเปนที่สำคัญสำหรับรักษาพระนครข้างเหนือ เพราะกำแพงพระนครสร้างตามแนวลำแม่น้ำลงไปเลี้ยวเข้าคูพระนคร (ที่เรียกกันว่าคลองโอ่งอ่างบัดนี้) ที่ตรงนั้นสร้างป้อมจักรเพ็ชรไว้เปนป้อมมุมพระนครข้างใต้ เหมือนอย่างสร้างป้อมพระสุเมรุไว้ตรงมุมพระนครข้างเหนือ จึงโปรดให้สร้างวังเปนที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสพระองค์ใหญ่ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางพระองค์น้อย ที่ใต้วัดเลียบใกล้กับป้อมจักรเพ็ชรนั้น (มุมวังอยู่ตรงศาลเจ้าที่เชิงสพานวัดราชบุรณะบัดนี้) วังนี้เมื่อเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์แล้ว ก็หา ปรากฎว่าโปรดให้เจ้านายต่างกรมหรือพระองค์เจ้าพระองค์ใดเสด็จไปอยู่ไม่
๓ วังริมวัดโพธิ์ วังนี้เปนที่ประทับของกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ พระสามีของพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้ากุ (ซึ่งทรงสถาปนาพระอัฐิเปนกรมหลวง นรินทรเทวีเมื่อในรัชกาลที่ ๔) อยู่ติดเขตร์วัดโพธิ์ (เชตุพน) ข้าง
๑๖ ด้านเหนือ เพราะฉนั้นคนทั้งหลายจึงได้ขานพระนามพระเจ้าน้องนางเธอพระองค์เจ้ากุ ว่า "เจ้าครอกวัดโพธิ์" กล่าวกันว่าวังอยู่ตรงที่สร้างวิหารพระนอนวัดพระเชตุพน ด้วยในสมัยเมื่อแรกสร้างพระนครนั้น เขตร์พระราชวังหลวงด้านใต้ยังอยู่เพียงแนวแถวเต๊งตรงป้อมอนันตคิรีทางด้าน ตวันออกมาหาป้อมสัตบรรพตทางด้านตวันตก (ขยายเขตร์พระราชวังออกไปเท่าทุกวันนี้ต่อในรัชกาลที่ ๒ เขตร์วัดพระเชตุพนทางด้านตวันตกก็พึ่งขยายขึ้นมาทางพระราชวังต่อในรัชกาลที่ ๓) ที่ตั้งแต่เขตร์พระราชวังลงไปจนวัดโพธิ์ เมื่อชั้นแรกสร้างกรุงเทพ ฯ เปนบ้านเสนาบดีคือบ้านเจ้าพระยารัตนาพิพิธที่สมุหนายก แล้วถึงบ้านเจ้าพระยามหาเสนาบุนนาค แล้วจึงถึงวังกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ ล้วนหันน่าออกถนนริมกำแพงเมือง ซึ่งเรียกกันว่าถนนท้ายสนม ที่วังนี้บางทีจะเปนที่พระนิเวศน์เดิมของกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ ด้วยทำราชการเปนตำแหน่งนายกวดหุ้มแพรมหาดเล็กครั้งกรุงธนบุรี และเปนบุตร์เจ้าพระยามหาสมบัติแต่ก่อน กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์สิ้นชีพตักไษยในรัชกาลที่ ๒ แต่พระองค์เจ้ากุยังเสด็จอยู่มาจนรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระองค์เจ้ากุสิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงขยายเขตร์วัดพระเชตุพน จึงโปรดให้กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์กับกรมหมื่นนเรนทรบริรักษ์ พระโอรสของกรมหลวงนรินทรเทวี ย้ายไปอยู่วังที่สร้างพระราชทานใหม่ใกล้ประตูสพานหัน (เดี๋ยวนี้รวมอยู่ในเขตร์วังบูรพาภิรมย์ทั้ง ๒ วัง)
๑๗
๔ วังปากคลองวัดชนะสงคราม
วังนี้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างเปนที่ประทับของกรมขุนสุนทรภูเบศร์ ๆ นี้มีนามเดิมว่า หม่อมเรือง มิได้เปนเชื้อสายในพระราชวงศ์ เดิมตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองชลบุรี เมื่อเวลาบ้านเมืองเปนจลาจลครั้งเสียกรุงเก่าแก่พม่าข้าศึก ได้มีอุปการะแก่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท และได้ปฏิญาณเปนพี่น้องกัน ครั้นเมื่อประดิษฐานพระราชวงศ์ กรมพระราชวังบวร ฯ จึงทูลขอให้ยกขึ้นเปนเจ้า เดิมได้เปนที่เจ้าบำเรอภูธรราชนิกูล ครั้นต่อมามีความชอบในการสงคราม จึงทรงสถาปนาเปนกรมหมื่น แล้วเลื่อนเปนกรมขุนสุนทรภูเบศร์
กรมขุนสุนทรภูเบศร์รับราชการอยู่ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงห นาท กรมพระราชวังบวร ฯ จึงให้สร้างวังประทานที่ริมคลองคูเมืองเดิมทางฝั่งเหนือ ตรงพระราชวังบวร ฯ ข้าม (อยู่ริมปากคลองวัดชนะสงครามฟากตวันตกไปจนจดเขตร์โรงพยาบาลทหารเดี๋ยวนี้) วังนี้ถึงรัชกาลที่ ๓ เปนวังเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ หม่อมเจ้าในเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ได้ครอบครองสืบมา ทุกวันนี้เปนที่บ้านพระยาพจนปรีชา (ม.ร.ว. สำเริง อิศรศักดิ์ ณกรุงเทพ) ซึ่งเปนนัดดาของเจ้าฟ้าอิศราพงศ์
ทีนี้จะกล่าวถึงวังเจ้านายที่ตั้งทางฝั่งแม่น้ำฟากตวันตกต่อไป ลักษณแผนที่ริมแม่น้ำทางฝั่งตวันตกเมื่อครั้งกรุงธนเปนราชธานีนั้น พระราชวังตั้งอยู่สุดกำแพงกรุงธนบุรีข้างใต้ คือแต่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดแจ้ง เรียกว่าคลองนครบาล หมดเขตร์พระราชวังเพียงนี้
๓
๑๘
ตั้งแต่คลองนครบาลขึ้นไปจนคลองมอญเปนที่วังเจ้าและตั้งคุกในตอนนี้ เหนือคลองมอญขึ้นไปถึงบ้านเสนาบดี คือบ้านพระยาธรรมา (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์) ซึ่งเปนบ้านเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชในรัชกาลที่ ๑ แล้วถึงพระนิเวศน์สถานพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก อยู่ในบริเวณที่ว่าการกระทรวงทหารเรือทุกวันนี้ ต่อพระนิเวศน์สถานเดิมขึ้นไปถึงอู่ก่ำปั่นอยู่ติดกับเขตร์วัดบางว้าใหญ่ (คือวัดระฆังบัดนี้ แต่ ว่าเขตร์วัดข้างเหนือในสมัยนั้น กล่าวกันว่าอยู่เพียงราวพระอุโบสถบัดนี้) เหนือวัดบางว้าใหญ่ขึ้นไปจนคลองบางกอกน้อย อันเปนที่สุดกำแพงกรุงธนบุรีข้างฝ่ายเหนือ เรียกว่าตำบลบ้านปูน ตำบลสวนมังคุด และตำบลสวนลิ้นจี่ เปน ๓ ตำบล มีคำกล่าวกันอิกนัยหนึ่งว่า เดิมเรียกบ้านปูนตำบลเดียว ว่าสวนมังคุดและสวนลิ้นจี่นั้นเปนของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดีทรงสร้าง แต่พิเคราะห์ดูเห็นท้องที่ยืดยาวมากนักจึงเข้าใจว่าจะเรียกนามเปน ๓ ตำบลมาแต่เดิม
๕ วังสวนมังคุด
วังนี้เดิมเปนพระนิเวศน์สถานของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี เมื่อครั้งกรุงธนเปนราชธานี ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดีเสด็จเข้าไปประทับอยู่ในพระราชวังหลวง จึงประทานพระนิเวศน์สถานที่ตำบลสวนมังคุด ให้เปนวังเจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรรณเรศร์ ซึ่งเปนพระโอรสพระองค์น้อยเสด็จประทับต่อมา เมื่อเจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร
๑๙
รณเรศร์สิ้นพระชนม์แล้ว หม่อมเจ้าในกรมอยู่วังนี้ต่อมาจนรัชกาลที่ ๓ แต่เห็นจะหมดสิ้นผู้สามารถจะปกครอง จึงปรากฎว่าเมื่อปีที่ ๖ ในรัชกาลที่ ๓ นั้น ที่วังสวนมังคุดซุดโซมมาก เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงซื้อ แล้วย้ายไปสร้างวังใหม่ณที่นั้น ประทับอยู่ได้ปี ๑ ก็สิ้นพระชนม์ กรมหมื่นเทวานุรักษ์ พระโอรสพระองค์ใหญ่ได้ครอบครองต่อมา ครั้นกรมหมื่นเทวานุรักษ์สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ แต่นั้นหม่อมเจ้าในกรมขุนอิศรานุรักษ์ก็อยู่ต่อมา ยังมีกำแพงวังปรากฎอยู่มักเรียกกันว่า "วังกรมเทวา" แต่หาได้มีเจ้านายพระองค์อื่นเสด็จไปประทับไม่
๖ วังบ้านปูน
วังนี้เปนที่ประทับของพระองค์เจ้าขุนเณร อันเปนพระอนุชาต่างชนนีกับกรมพระราชวังหลัง เดิมพระองค์เจ้าขุนเณรจะตั้งนิเวศน์สถานอยู่ณที่ใดหาปรากฎไม่ ปรากฎแต่ว่าพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนาให้มียศเปนพระองค์เจ้า และมีพระเกียรติยศ ปรากฎในหนังสือพระราชพงศาวดารเมื่อเปนนายกองโจรครั้งรบพม่าที่ลาดหญ้า เมื่อเปนพระองค์เจ้าแล้วตั้งวังอยู่ที่บ้านปูนในระหว่างวังเจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรรณเรศร์กับเขตร์วัดระฆัง ยังมีทางเดินเรียกกันว่า "ตรอกเจ้าขุนเณร" ปรากฎอยู่ทุกวันนี้ คงจะเปนแต่วังอย่างน้อย หาเปนทสำคัญอันใดไม่
๒๐ ๗ พระนิเวศน์เดิม ได้กล่าวมาแล้ว ว่าในสมัยเมื่อกรุงธนบุรีเปนราชธานี พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงตั้งพระนิเวศน์สถานอยู่ตรงที่ว่าการกระทรวงทหารเรือทุกวันนี้ เมื่อเสด็จมาประทับในพระราชวังที่นั้นเรียกว่า "จวนเดิม" พระราชทานให้เปนวังของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ คือพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อยังดำรงพระยศเปนสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ด้วยอยู่ใกล้ตรงกับพระราชวังหลวงข้ามนับว่าเปนที่สำคัญแห่ง ๑ ต่อมาเมื่อโปรด ฯ ให้พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จไปประทับที่พระราชวังเดิม โปรด ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ พระบัณฑูรน้อยเสด็จประทับที่พระนิเวศน์เดิมต่อมาจนตลอดรัชกาลที่ ๑ เมื่อพระบัณฑูรน้อยทรงรับอุปราชาภิเษก เสด็จไปประทับพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๒ กรมพระราชวังบวร ฯ โปรดให้กรมขุนธิเบศร์บวร ซึ่งเปนพระโอรสพระองค์ใหญ่ประทับที่พระนิเวศน์เดิมต่อมา ครั้นกรมขุนธิเบศร์บวรสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ในกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ เสด็จไปประทับต่อมาจนในรัชกาลที่ ๕ เมื่อกรมหมื่น อนัตการฤทธิ์สิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานที่พระนิเวศน์เดิมให้สร้างที่ว่าการทหารเรือขยายต่อออกมาให้พอราชการ และโปรด ฯ ให้สร้างกำแพงมีใบเสมาหมายไว้เปนสำคัญ ให้ปรากฎว่าพระนิเวศน์เดิมอยู่ตรงนั้น
๒๑ ๘ พระราชวังเดิม เมื่อสร้างพระนครใหม่ ย้ายพระราชวังมาตั้งทางฝั่งตวันออก ที่พระราชวังเดิมครั้งกรุงธนบุรีว่างอยู่ แต่เปนที่สำคัญเพราะมีป้อมปราการสำหรับรักษาพระนครทางด้านใต้ฝ่ายตวันตก พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรด ฯ ให้กั้นเขตร์วังเข้าไปให้แคบกว่าเก่า คงไว้เปนวังสำหรับเจ้านาย ชั้นแรกโปรด ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศร์บดินทร พระโอรสพระองค์กลางของสมเด็จพระพี่นางเธอพระองค์ใหญ่เสด็จไปประทับ ครั้นเจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศร์ บดินทรสิ้นพระชนม์ จึงโปรด ฯ ให้พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จไปประทับที่พระราชวังเดิม ตั้งแต่ยังเสด็จดำรงพระยศเปนสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร และเมื่อพระราชทานอุปราชาภิเษกเปนกรมพระราชวังบวร ฯ แล้วก็โปรด ฯ ให้เสด็จประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมต่อมาจนตลอดรัชกาลที่ ๑ ในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรด ฯ ให้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีเสด็จไปประทับที่พระราชวังเดิม ครั้นเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์ จึงพระราชทานพระราชวังเดิมให้เปนที่พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับต่อมา ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ตลอดรัชกาล สมเด็จพระศรีสุเยนทราบรมราชินีเสด็จออกไปประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวและเสด็จสวรรคตที่พระราชวังเดิมนั้น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังเสด็จดำรงพระยศเปนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
๒๒ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศร์รังสรรค์เสด็จประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมมาจนตลอดรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับบวรราชาภิเษกเสด็จไปประทับณพระบวรราชวัง พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรด ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิทเสด็จไปประทับณพระราชวังเดิมต่อมาจนสิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ เสด็จไปประทับณพระราชวังเดิม เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์สิ้นพระชนม์แล้ว จึงพระราชทานพระราชวังเดิมให้เปนที่จัดตั้งโรงเรียนนายเรือมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ วัง ๘ วังที่พรรณามา นับว่าเปนวังตั้งพร้อมกับกรุงรัตนโกสินทร ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๑ เมื่อเจ้านายพระองค์ชายซึ่งยังทรงพระเยาว์อยู่ในเวลาเมื่อสร้างกรุง ฯ ทรงพระเจริญถึงเวลาควรจะออกอยู่วังต่างหาก พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรด ฯ ให้สร้างวังเพิ่มเติมขึ้นอีก และวังซึ่งสร้างเพิ่มเติมนี้อยู่ทางฝั่งตวันออกทั้งนั้น สร้างที่ริมแม่น้ำข้างท้ายโรงวิเสทลงไปจนท่าเตียน ๒ วัง สร้างที่ริมถนนน่าพระลานแต่ท่าพระขึ้นไปจนน่าประตูวิเศษไชยศรี ๓ วัง สร้างที่ริมถนนหลักเมืองทั้ง ๒ ฟาก ๆ ละ ๓ วัง รวมเปน ๖ วัง๑ ฝ่ายกรมพระราชวังบวร ฯ ก็ทรงสร้างวังสำหรับลูกเธอที่ทรงพระเจริญขึ้นที่ริมสนามน่าพระราชวังบวร ฯ อิก ๔ วัง รวมเปนวังที่สร้างเพิ่มเติมในรัชกาลที่ ๑ เปน ๑๘ วังด้วยกัน จะพรรณาเปนลำดับกับวังที่กล่าวมาแล้วต่อไป ๑ วังที่ถนนหลักเมืองจะเปน ๕ วังฤๅ ๖ วัง และวังริมสนามชัยจะสร้างแต่รัชกาลที่ ๑ ฤๅมาสร้างต่อรัชกาลที่ ๒ สงสัยอยู่บ้าง จะอธิบายเมื่อกล่าวถึงวังนั้น ๆ ๒๓ ๙ วังคลังสินค้า วังนี้อยู่ริมแม่น้ำใต้ตำหนักแพ (เห็นจะอยู่ราวที่หมู่ตึกเหนือโรงโม่หินบัดนี้) สร้างพระราชทานสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี พระโอรสพระองค์กลางของสมเด็จพระพี่นางพระองค์น้อย เล่ากันมาว่าถึงรัชกาลที่ ๒ เกิดไฟไหม้วังนี้หมด เวลานั้นประจวบพระราชวังเดิมว่างมาแต่พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงโปรดให้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีเสด็จไปประทับที่พระราชวังเดิม ส่วนที่วังที่ไฟไหม้นั้น ภายหลังโปรดให้สร้างโรงวิเสทและคลังสินค้า แต่จะสร้างในรัชกาลที่ ๒ ฤๅรัชกาลที่ ๓ ข้อนี้ไม่ทราบแน่
๑๐ วังท่าเตียน วังนี้อยู่ต่อวังเจ้าฟ้ากรมหลวงพิททักษมนตรีลงไปข้างใต้จนต่อบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุญ) ซึ่งอยู่ที่ท่าเตียน โปรด ฯ ให้สร้างพระราชทานสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ พระโอรสพระองค์น้อยของสมเด็จพระพี่นางพระองค์น้อย เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ประทับอยู่วังนี้จนในรัชกาลที่ ๓ ย้ายไปประทับที่วังสวนมังคุดฟากข้างโน้น พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานวังท่าเตียนให้กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๑ ประทับต่อมา
๒๔
ในเรื่องวังกรมหมื่นสุรินทรรักษ์นี้มีข้อสงสัยอยู่ ด้วยเสด็จออกจากวังแต่ในรัชกาลที่ ๒ จะประทับอยู่ที่ไหนก่อนเสด็จมาประทับวังท่าเตียนสืบหาได้ความไม่ สันนิษฐานว่าบางทีจะได้พระราชทานที่วังคลังสินค้า เสด็จประทับต่อเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีก็เปนได้ แต่ที่วังนั้นไฟไหม้ตำหนักเก่าเสียหมด เห็นจะสร้างแต่เปนตำหนักประทับชั่วคราว ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ วังเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ว่าง ทำนองจะเปนวังมีตำหนักรักษาบริบูรณ์กว่า จึงโปรด ฯ ให้ย้ายไปประทับที่วังท่าเตียนเอาที่วังก่อนทำคลังสินค้าและโรงวิเสท บางทีเรื่องจะเปนเช่นว่านี้
กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ประทับอยู่ที่วังท่าเตียนจนสิ้นพระชนม์ เจ้าจอมมารดาตานีของกรมหมื่นสุรินทรรักษ์อยู่ต่อมาจนอสัญกรรม และหม่อมเจ้าในกรมหมื่นสุรินทรรักษ์อยู่ต่อมา จนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงสร้างศาลต่างประเทศกับตึกหลวงที่ตรงวังนั้น
๑๑ วังถนนน่าพระลาน วังตวันตก
วังนี้อยู่ในพระนครใกล้ประตูท่าพระ โปรด ฯ ให้สร้างพระราชทานสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต ซึ่งเรียกกันว่า "เจ้าฟ้าเหม็น" พระราชนัดดา ประทับอยู่จนตลอดพระชนมายุถึงรัชกาลที่ ๒ พระราชทานให้เปนที่ประทับของพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จดำรงพระยศเปนพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ครั้นเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในรัชกาลที่ ๓ พระราชทานให้เปนที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ๆ สิ้นพระชนม์ พระราชทานให้เปนที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ
๒๕ พระองค์เจ้าชุมสาย ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นแล้วเลื่อนเปนกรมขุนราชสีหวิกรมในรัชกาลที่ ๔ เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์เมื่อปีสิ้นรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ พระราชทานให้เปนที่ประทับของกรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๓ เมื่อกรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติสิ้นพระชนม์แล้ว จึงพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ เสด็จประทับมาจนทุกวันนี้ ๑๒ วังถนนน่าพระลาน วังกลาง วังนี้อยู่ริมถนนน่าพระลานต่อวังท่าพระมาทางตวันออก โปรด ฯ ให้สร้างเปนที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรุโณทัย ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นศักดิพลเสพ เสด็จอยู่มาจนรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงรับอุปราชาภิเษกเสด็จไปประทับที่พระราชวังบวร ฯ (ที่วังกลางว่างอยู่จนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์เสด็จออกวัง จึงพระราชทานวังกลางให้เปนที่ประทับ ครั้นกรมหลวงเทพพลภักดิ์สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๐ โปรด ฯ ให้เจ้าฟ้าอาภรณ์เสด็จไปประทับณวังน่าประตูวิเศษไชยศรี๑) พระราชทานวังกลางให้เปนที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าชายกลาง ซึ่งพระราชทานพระนามในรัชกาลที่ ๔ ว่า เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ เสด็จอยู่จนสมเด็จเจ้าฟ้าอาภรณ์สิ้นพระชนม์ ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ ๑ ความที่ในวงกล่าวตามสันนิษฐานของข้าพเจ้า ด้วยเมื่ออุปราชาภิเษกกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ สมเด็จเจ้าฟ้าอาภรณ์พระชัณษาได้เพียง ๑๐ ปี แต่คงต้องออกวังก่อนสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา. ๔
๒๖ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้รวมวังน่าประตูวิเศษไชยศรีกับวังกลางเปนวังเดียว เปนที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนบำราบปรปักษ์และประทับต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงเลื่อนเปนกรมพระแล้วเปนกรมพระยา แล้วจึงสิ้นพระชนม์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ซึ่งเปนพระโอรสพระองค์ใหญ่ได้เสด็จอยู่ต่อมาจนตลอดพระชนมายุอิกพระองค์หนึ่ง แล้วจึงตั้งเปนโรงงานช่างสิบหมู่ ซึ่งจัดเปนที่ว่าการกรมศิลปากรในรัชกาลปัจจุบันนี้. ๑๓ วังถนนน่าพระลาน วังตวันออก วังนี้อยู่ริมถนนน่าพระลาน ต่อวังกลางมาทางตวันออกจนถึงมุมถนนน่าพระธาตุ อยู่ตรงประตูวิเศษไชยศรีทางเข้าพระราชวัง โปรด ฯ ให้สร้างพระราชทานเปนที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอภัยทัต ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นเทพพลภักดิ์ ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๓ เลื่อนเปนกรมหลวงเสด็จอยู่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ แล้วพระบาทสม เด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เปนที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ต่อมา ครั้นสมเด็จเจ้าฟ้าอาภรณ์สิ้นพระชนม์ ถึงรัชกาลที่ ๔ โปรดให้รวมกับวังกลาง เปนที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาบำราบปรปักษ์ดังกล่าวมาแล้วในเรื่องวังกลาง วังซึ่งสร้างที่ถนนหลักเมือง ๖ วังนั้น สร้างทางฟากถนนข้างเหนือ ๓ วัง ฟากถนนข้างใต้ ๓ วัง ตั้งแต่ริมศาลหลักเมืองไปจนถึงริมคลองคูเมืองเดิม ซึ่งเรียกว่าคลองตลาดในบัดนี้ ชื่อวังทั้ง ๖ นั้น มักเรียกเปลี่ยนไปตามพระนามเจ้านายซึ่งเสด็จประทับอยู่ภาย
๒๗ หลัง จะเรียกในหนังสือนี้ให้สดวกแก่ผู้อ่าน จึ่งสมมตเรียกวังทางฟากถนนข้างเหนือว่า วังที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๕ เรียกวังทางฟากถนนข้างใต้ว่าวังที่ ๒ ที่ ๔ ที่ ๖ ตั้งต้นแต่ทางหลักเมืองไปหาคลอง
๑๔ วังถนนหลักเมือง วังที่ ๑ วังนี้โปรด ฯ ให้สร้างพระราชทานเปนที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าสุริยา ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นรามอิศเรศร์ ในรัชกาลที่ ๒ เลื่อนเปนกรมขุนในรัชกาลที่ ๓ แล้วเลื่อนเปนกรมพระในรัชกาลที่ ๔ เสด็จประทับอยู่จนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา (ซึ่งได้หม่อมเจ้าในกรมพระรามอิศเรศร์เปนชายา) เสด็จไปประทับที่วังนี้ต่อมาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ นั้น ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ จึงรื้อวังทำโรงช้าง
๑๕ วังถนนหลักเมือง วังที่ ๒ วังนี้โปรด ฯ ให้สร้างพระราชทานเปนที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทับ ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นจิตรภักดีในรัชกาลที่ ๒ กรมหมื่นจิตรภักดีสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้ามรกต ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมขุนสถิตย์สถาพรเมื่อในรัชกาลที่ ๔ เสด็จไปประทับครั้นกรมขุนสถิตย์สถาพรสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอม
๒๘
เกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้พระองค์เจ้าชุมแสงในกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ ประทับ เมื่อพระองค์เจ้าชุมแสงสิ้นพระชนม์แล้วจึงรื้อวังสร้างโรงม้าแซง
๑๖ วังถนนหลักเมือง วังที่ ๓ วังนี้ปรากฏว่าพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดารากร ซึ่งทรงสถา ปนาเปนกรมหมื่นศรีสุเทพในรัชกาลที่ ๓ เสด็จประทับอยู่ แต่เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๑ พระชัณษากรมหมื่นศรีสุเทพได้เพียง ๑๔ ปี จะได้กะการสร้างไว้แต่ในรัชกาลที่ ๑ มาสร้างวังนี้ต่อในรัชกาลที่ ๒ ก็อาจจะเปนได้ กรมหมื่นศรีสุเทพสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ หม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนรื้อวังทำโรงช้างในรัชกาลที่ ๕
๑๗ วังถนนหลักเมือง วังที่ ๔ วังนี้โปรด ฯ ให้สร้างพระราชทานเปนที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าคันธรส ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นศรีสุเรนทร์ เมื่อในรัชกาลที่ ๒ เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ จึงโปรด ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าโต ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นอินทร อมเรศร์เมื่อรัชกาลที่ ๓ แล้วเลื่อนเปนกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์เมื่อรัชกาลที่ ๔ เสด็จประทับต่อมาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ แล้วพระองค์เจ้าหญิงสายสมร พระน้องร่วมเจ้าจอมมารดากับกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์เสด็จประทับอยู่ต่อมาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ แล้วจึงได้รื้อวังสร้างหมู่ตึกอันเปนที่ว่าการกระทรวงกลาโหมบัดนี้
๒๙ ๑๘ วังถนนหลักเมือง วังที่ ๕ วังนี้โปรด ฯ ให้สร้างพระราชทานเปนที่ประทับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากล้ายเสด็จอยู่ พระองค์เจ้ากล้ายสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ นั้น ถึงรัชกาลที่ ๒ โปรด ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์ ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นไกรสรวิชิตในรัชกาลที่ ๓ เสด็จอยู่ต่อมา กรมหมื่นไกรสรวิชิตสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ หม่อมเจ้าและหม่อมราช วงศ์ในกรมนั้นได้อยู่ต่อมา จนเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว. คลี่ สุทัศน์ ณกรุงเทพ) ได้อยู่เปนที่สุด พึ่งรื้อวังเมื่อแต่งท้องสนามหลวงในรัชกาลที่ ๕ ๑๙ วังถนนหลักเมือง วังที่ ๖ วังนี้ไม่ปรากฏพระนามเจ้านายที่ได้เสด็จอยู่ เข้าใจว่าเดิมเห็นจะสร้างพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทับทิม ซึ่งทรงสถา ปนาเปนกรมหมื่นอินทรพิพิธในรัชกาลที่ ๒ ครั้นถึงรัชกาลที่ ๒ โปรด ฯ ให้เสด็จไปประทับที่วังริมสนามชัย ที่วังนี้จะเปนวังเจ้านายพระองค์ใดต่อมา ฤๅจะตั้งโรงไหมของหลวงแต่เมื่อรัชกาลที่ ๒ หาทราบแน่ไม่ ทราบแต่ว่าที่ตรงนั้นเปนโรงไหมมาแต่รัชกาลที่ ๓ จนรื้อสร้างโรงทหาร ๒๐ วังริมสนามชัย วังเหนือ วังนี้ปรากฏว่าเปนที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทับทิม ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นอินทรพิพิธเมื่อในรัชกาลที่ ๒ อาจจะสร้างพระราชทานเมื่อในรัชกาลที่ ๑ เพราะเปนพระเจ้าลูกยาเธอชั้นใหญ่ ฤๅมิฉนั้นจะเสด็จอยู่วังที่ ๖ ที่ถนนหลักเมืองก่อน ย้ายมา
๓๐ ประทับอยู่วังนี้ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อจะสร้างโรงไหมก็เปนได้ กรมหมื่นอินทรพิพิธสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒ ต่อมาโปรด ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดวงจักร์ ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ เมื่อในรัชกาลที่ ๓ นั้นเสด็จอยู่ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ หม่อมเจ้าดิศในกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ ซึ่งทรงสถา ปนาเปนพระองค์เจ้าประดิษฐวรการเมื่อในรัชกาลที่ ๕ ได้อยู่ต่อมา จนสร้างเปนสวนสราญรมย์ ในรัชกาลที่ ๕ ๒๑ วังริมสนามชัย วังกลาง วังนี้เปนที่ประทับของพระองค์เจ้าไกรสร ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นรักษ์รณเรศร์เมื่อในรัชกาลที่ ๒ แล้วเลื่อนเปนกรมหลวงในรัชกาลที่ ๓ ต่อมาเปนที่ประทับของพระองค์เจ้าคเนจร ซึ่งทรงสถาปนาเปนพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทรเมื่อในรัชกาลที่ ๓ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทรเสด็จอยู่ที่วังนี้มาจนสร้างเปนสวนสราญรมย์เมื่อในรัชกาลที่ ๕ ๒๒ วังริมสนามชัย วังใต้ วังนี้สร้างเปนที่ประทับของพระองค์เจ้าสุริยวงศ์ พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นสวัสดิวิชัย เมื่อในรัชกาลที่ ๓ แล้วเลื่อนเปนกรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์ สุขวัฒนวิชัย เมื่อในรัชกาลที่ ๔ ประทับอยู่จนสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรด ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพเสด็จอยู่ต่อมา ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ จะพระราชทานวังอื่นแลกที่ทำสวนสราญ
๓๑ รมย์ กรมขุนวรจักรธรานุภาพไม่รับพระราชทาน ไปทรงซื้อที่สวนสร้างวังที่ริมถนนเจริญกรุง (ตรงมุมถนนวรจักร์บัดนี้) สร้างวังโดยลำภังพระองค์ แล้วเสด็จอยู่ที่นั้นต่อมาจนตลอดพระชนมายุ วังซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างสำหรับลูกเธอ ๔ วังนั้น สร้างริมสนามน่าพระราชวังบวร ฯ (ประมาณตั้งแต่น้ำพุนางธรณีมาจนตรางลหุโทษเพียงตรงกับแนวถนนพระจันทร์ทุกวันนี้) พื้นที่ตรงนั้น ด้านตวันตกจดแนวสนาม ด้านตวันออกตกคลองคูเมืองเดิมรูปที่เปนชายธง จึงสร้างวังเรียงตามแนวแต่เหนือลงมาหาใต้ ๓ วัง สร้างวังที่ ๔ ตรงหลังวังที่ ๓ หันน่าไปหาคลองคูเมืองเดิม เพราะพื้นที่ตอนข้างใต้กว้างกว่าข้างเหนือ วังทั้ง ๔ นี้เจ้านายพระองค์ใดจะได้ประทับบ้าง เกรงจะกล่าวไม่ได้ถูกถ้วนทีเดียว จะพรรณาเพียงเท่าที่สืบได้ความเมื่อจะแต่งหนังสือนี้ ๒๓ วังริมสนามวังน่า วังที่ ๑ วังนี้อยู่ข้างเหนือวังแถวเดียวกัน สร้างเปนที่ประทับของพระองค์เจ้าลำดวน ซึ่งเปนลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ ต่อมาเปนที่ประทับของกรมหมื่นเสนีเทพ ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จอยู่มาจนรัชกาลที่ ๓ เมื่อกรมหมื่นเสนีเทพสิ้นพระชนม์แล้ว หม่อมเจ้าในกรมมีหม่อมเจ้าพุ่ม ซึ่งรับราชการในตำแหน่งหมอม้าหลวงนั้นเปนต้นอยู่ต่อมา ถึงรัชกาลที่ ๔ แบ่งที่วังนี้อยู่กันเปน ๒ ส่วน ทางริมคลองข้างเหนือเปนวังพระองค์เจ้าชายเริงคนอง (ป๊อก) ในกรมพระราชวังบวร
๓๒
มหาศักดิพลเสพ ซึ่งย้ายมาจากที่อื่น ข้างใต้เปนบ้านเรือนพวกเชื้อสายกรมหมื่นเสนีเทพอยู่ต่อมา ถึงรัชกาลที่ ๕ แบ่งที่ตอนริมสพานสร้างวังกรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ ลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวอิกวัง ๑ เปนเช่นนี้จนรื้อทำสนามหลวง
๒๔ วังริมสนามวังน่า วังที่ ๒
วังนี้เปนวังกลางในแถววังริมสนามวังน่า สร้างเปนที่ประทับของพระองค์เจ้าอินทปัต ต่อมาเปนที่ประทับของกรมขุนนรานุชิต ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อกรมขุนนรานุชิตสิ้นพระชนม์แล้ว เชื้อสายอยู่ต่อมาจนรัชกาลที่ ๕ จึงแบ่งที่วังนี้เปนสองส่วน ทางริมคลองพวกเชื้อสายกรมขุนนรานุชิตอยู่ต่อมา ทางริมสนามเปนวังพระองค์เจ้านันทวันลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ แล้วกรมหมื่นชาญชัยบวรยศในกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญประทับต่อมาจนรื้อทำสนามหลวง
๒๕ วังริมสนามวังน่า วังที่ ๓
วังนี้ให้สร้างเปนที่ประทับของพระองค์เจ้าช้าง ต่อมาเปนที่ประ ทับของพระองค์เจ้าบัว ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จอยู่มาจนรัชกาลที่ ๓ แล้วหามีเจ้านายพระองค์ใดประทับไม่ เปนที่ว่างอยู่ช้านาน จนถึงรัชกาลที่ ๕ จึงเปนที่ประทับของพระองค์เจ้าสุธารสลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลนั้น
๓๓ ๒๖ วังริมสนามวังน่า วังที่ ๔ วังนี้ที่จริงมิได้อยู่ริมสนาม เพราะอยู่ตรงหลังวังที่ ๓ แต่อยู่ในแถววังหมู่เดียวกัน จึงสงเคราะห์เข้าในพวกวังริมสนามด้วย วังนี้สร้างเปนที่ประทับของพระองค์เจ้าก้อนแก้ว ต่อมาเปนที่ประทับของพระองค์เจ้ามั่ง แล้วพระองค์เจ้านพเก้า ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จอยู่มาจนในรัชกาลที่ ๔ แล้วเปนที่ประทับของพระองค์เจ้ากำภู ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ เสด็จอยู่มาจนในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระองค์เจ้ากำภูสิ้นพระชนม์แล้ว หม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนสร้างตรางลหุโทษ วังซึ่งสร้างเพิ่มเติมในรัชกาลที่ ๑ รวม ๑๘ วัง เจ้านายได้เสด็จประทับดังได้แสดงมา
๕
ตอนที่ ๓ ว่าด้วยวังเจ้านายสร้างในรัชกาลที่ ๒
ก่อนพรรณาถึงวังเจ้านายซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๒ จะกล่าวถึงลักษณการสร้างวังตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ มาจนรัชกาลที่ ๓ อันเข้าใจว่าทำตามประเพณีครั้งกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี คือเจ้านายพระองค์ชายเมื่อโสกันต์ และเสร็จทรงผนวชเปนสามเณรแล้ว ในตอนพระชัณษายังไม่ถึง ๒๐ ปี ยังประทับอยู่ในพระราชวัง บางพระองค์คงอยู่ตำหนักในพระราชวังชั้นในอย่างเดิม บางพระองค์ก็โปรด ฯ ให้จัดตำหนักให้ประทับอยู่ในพระราชวังชั้นนอก บางพระองค์ก็เสด็จไปประทับอยู่กับเจ้านายที่ออกวังแล้ว เริ่มกะการสร้างวังพระราชทานในตอนนี้ จะสร้างวังที่ตรงไหนก็ให้กรมนครบาลไล่ที่ บอกให้ราษฎรบรรดาอยู่ในที่นั้นรื้อถอนเหย้าเรือนย้ายไปอยู่ที่อื่น เพราะตามกฏหมายถือว่าที่แผ่นดินเปนของหลวงและเจ้านายเมื่อทรงกรมแล้วย่อมมีน่าที่ควบคุมรี้พลเปนกำลังราชการที่วังก็เหมือนอย่างเปนที่ทำการรัฐบาลแห่งหนึ่ง อิกประการ ๑ ที่ดินในสมัยนั้นก็ยังหาสู้จะมีราคาเท่าใดไม่ เรือนชานทั้งปวงเล่าก็เปนแต่เครื่องไม้มุงจากเปนพื้น อาจจะรื้อถอนย้ายไปหาที่ปลูกใหม่ได้โดยง่าย ครั้นจำเนียรกาลนานมาเมื่อสร้างวังหลายแห่งขึ้น มีคนต้องย้ายบ้านเรือนเพราะทำวังบ่อยเข้า ก็เกิดคำพูดกันเปนอุประมาในเวลาที่ใครถูกผู้อื่นจะเอาที่ แม้จนไล่จากที่นั่งอันหนึ่งให้ไปนั่งยังที่อื่น ก็มักเรียกกันว่า "ไล่ที่ทำวัง" ดังนี้ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
๓๕
พระราชดำริห์เห็นว่าราษฎรเดือดร้อน ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรด ฯ ให้พระราชทานค่าชดใช้แก่ผู้ที่ถูกย้ายบ้านเรือนเพราะสร้างวัง ถ้าเปนที่มีเจ้าของน้อยตัว ก็ให้ว่าซื้อตามราคาซื้อขายกันในพื้นเมือง ถ้าเปนที่คนอยู่แห่งละเล็กละน้อยหลายเจ้าของด้วยกัน ก็พระราชทานค่าที่ตามขนาดคิดเปนราคาวาจตุรัสละบาท ๑ (อันถือว่าเปนปานกลางของราคาที่ดินในสมัยนั้น) คำที่พูดกันว่า "ไล่ที่ทำวัง" ก็สงบไป แต่บางทีก็ไม่ต้องหาที่ทำวัง เพราะพระราชทานวังเก่าที่มีว่างอยู่บ้าง และเจ้านายบางพระองค์ได้ทรงรับมรดกบ้านเรือนของญาติวงศ์ฝ่ายข้างเจ้าจอมมารดา ก็โปรด ฯ ให้สร้างวังในที่นั้นบ้าง
ลักษณวังที่สร้างนั้นต่างกันเปน ๒ อย่าง ถ้าเปนวังเจ้าฟ้าสร้างกำแพงวังมีใบเสมา ถ้าวังพระองค์เจ้าจะมีใบเสมาไม่ได้ ประเพณีอันนี้เข้าใจว่าจะมีมาเก่าแก่ ด้วยในกฎมณเฑียรบาลกำหนดพระราชกุมารเปนเจ้านายครองเมืองชั้น ๑ เปนหน่อพระเยาวราชชั้น ๑ เจ้านายครองเมืองนั้นที่มากำหนดเปนชั้นเจ้าฟ้า ในสมัยเมื่อเลิกประเพณีให้เจ้านายออกไปครองหัวเมือง ซึ่งสร้างวังให้มีกำแพงใบเสมา เห็นจะเปนเครื่องหมายขัติยศักดิ์ว่าเปนชั้นเจ้านายครองเมืองตามโบราณราชประเพณี ส่วนตำหนักนั้นก็ผิดกันที่ท้องพระโรง ท้องพระโรงวังเจ้าฟ้าทำหลังคามีมุขลดเปน ๒ ชั้น ถ้าเปนท้องพระโรงวังพระองค์เจ้าหลังคาชั้นเดียว๑ แต่
๑ มีท้องพระโรงเจ้าฟ้า ฯ รื้อไปปลูกถวายเปนการเปรียญอยู่ที่วัดย่านอ่างทอง ในแขวงอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังปรากฎอยู่หลัง ๑ ท้องพระโรงวังพระองค์เจ้ารื้อไปจากวังกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ปลูกเปนหอสวดมนต์วัดราชาธิวาสอยู่บัดนี้หลัง ๑
๓๖ ตำหนักที่ประทับนั้นเห็นจะผิดกันแต่ขนาด แต่แบบแผนเปนอย่างเดียวกัน มีเรือนห้าห้องสองหลังแฝดเปนตำหนักใหญ่ที่เสด็จอยู่หลัง ๑ มีเรือนห้าห้องหลังเดียวเปนตำหนักน้อย เห็นจะสำหรับเปนที่อยู่ของพระชายาแลพระโอรสธิดาหลัง ๑ (บางคนอธิบายว่าสำหรับเจ้าจอมมารดาอยู่แต่เห็นว่าจะมิใช่ เพราะเจ้าจอมมารดาจะมีโอกาศออกมาอยู่วังได้ต่อเมื่อรัชกาลนั้นล่วงไปแล้ว เหตุใดจะโปรด ฯ ให้สร้างเตรียมไว้ก่อน) นอกจากท้องพระโรงกับตำหนัก ๓ หลังที่กล่าวมา ก็มีเรือนสำหรับบริวารชนทั้งฝ่ายน่าฝ่ายใน วังชั้นเดิมสร้างด้วยเครื่องไม้แก่นหลังคามุงกระเบื้องทั้งนั้น แผนผังก็วางเปนอย่างเดียวกัน คือปลูกท้องพระโรงหันด้านยาวออกน่าวัง ตำหนัก ๓ หลังที่เสด็จอยู่แลตำหนักน้อยหันด้านสกัดต่อหลังท้องพระโรง มีชาลาอยู่ระหว่างกลาง วังที่เคยเห็นเปนดังนี้ทั้งนั้น มาเริ่มสร้างตำหนักเปนตึกต่อในรัชกาลที่ ๓ แต่ก็เปนของเจ้านายที่เสด็จอยู่วังนั้น ๆ ทรงสร้างเองตามพระอัธยาศรัย เช่นตำหนักตึกพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างไว้ที่พระราชวังเดิมนั้นเปนต้น เล่ากันมาว่าประเพณีเจ้านายเสด็จออกอยู่วังแต่ก่อน ถ้าเปนวังสร้างใหม่ มักไปปลูกตำหนักพักชั่วคราวประทับอยู่ก่อน เพราะการสร้างตำหนักพระราชทานเปนพนักงานของกรมช่างทหารใน กว่าจะสร้างสำเร็จเสร็จหมดเห็นจะช้า เมื่อเจ้านายเสด็จอยู่วังสิ้นพระชนม์ลง ถ้ามีวงศ์วารจะครอบครองวังได้ ก็ได้ครอบครองต่อมา เว้นแต่เปนที่วังสำคัญเช่นพระราชวังเดิมเปนต้น แลวังที่วงศ์วารไม่สามารถจะปกครอง
๓๗ ได้ จึงโปรด ฯ ให้เจ้านายพระองค์อื่นเสด็จไปอยู่ ส่วนวงศ์วารของเจ้านายพระองค์ก่อนนั้น ก็ทรงพระกรุณาหาที่อยู่พระราชทานตามคุณานุรูปประเพณีการสร้างวังมีมาดังนี้ วังที่สร้างใหม่ในรัชกาลที่ ๒ จะเปนกี่วังสืบทราบจำนวนไม่ได้แน่พิจารณาตามพระชัณษาพระเจ้าลูกเธอ ซึ่งทรงพระเจริญวัยได้ออกวังในรัชกาลที่ ๒ มี ๑๔ พระองค์ คือ ๑ พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานวังเจ้าฟ้าเหม็น ๒ กรมหมื่นสุนทรธิบดี สร้างวังใหม่ ๓ กรมหมื่นเสพสุนทร สร้างวังใหม่ ๔ สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร สร้างวังใหม่ ๕ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร สร้างวังใหม่ ๖ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ สร้างวังใหม่แลสร้างในรัชกาลที่ ๓ อิกวัง ๑ ๗ พระองค์เจ้าเรณู วังเดิมอยู่ที่ไหนสืบไม่ได้ความ ได้พระราชทานวังกรมหมื่นสุนทรธิบดีในรัชกาลที่ ๓ ๘ พระองค์เจ้าอำไพ ทรงผนวชอยู่จนรัชกาลที่ ๓ วังอยู่ที่ไหนสืบไม่ได้ความ ๙ พระองค์เจ้าเนียม สร้างวังใหม่ ๑๐ พระองค์เจ้าขัติยวงศ วังอยู่ที่ไหนสืบไม่ได้ความ ๑๑ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ สร้างวังใหม่ ๑๒ กรมหมื่นสนิทนเรนทร สร้างวังใหม่ ๓๘ ๑๓ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ ได้พระราชทานวังกรมหมื่นศรีสุเรนทร์ ๑๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชวังเดิม วังที่สร้างใหม่ ๙ วังชั้นนี้ สร้างที่ริมคลองคูเมืองเดิมใกล้สพานช้างโรงสี ๒ วัง ทางท้ายหับเผย ๕ วัง ที่บ้านหม้อวัง ๑ ริมแม่น้ำที่ใต้วัดพระเชตุพนวัง ๑ จะพรรณาเปนรายวังต่อไป ๑ วังริมสพานช้างโรงสี วังเหนือ วังนี้อยู่ทางฝั่งคลองคูเมืองฟากตวันออก ริมถนนเสาชิงช้าฟากเหนือ สร้างพระราชทานกรมหมื่นสนิทนเรนทร์ ครั้นกรมหมื่นสนิทนเรนทร์สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เปนวังกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา ซึ่งเปนพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดากับกรมหมื่นสนิทนเรนทร์ กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาเสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซื้อพระราชทานเปนวังกรมหมื่นภูธเรศรธำรงศักดิ์ เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซื้อสร้างตึกแถว พระราชทานชื่อว่าตำบลแพร่งภูธรบัดนี้ ๒ วังริมสพานช้างโรงสี วังใต้ วังนี้อยู่ริมถนนเสาชิงช้าฟากใต้ (ตรงที่สร้างศาลากระทรวงนครบาลบัดนี้) สร้างพระราชทานพระองค์เจ้าเนียมเสด็จอยู่มาจนสิ้น
๓๙ พระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ต่อนั้นเปนที่ประทับของพระองค์เจ้าสว่าง พระองค์เจ้าอุทัย พระองค์เจ้าแฉ่ง ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ซึ่งร่วมเจ้าจอมมารดากัน พระองค์เจ้าสว่างมีพระชนม์มาจนถึงรัชกาลที่ ๔ พระองค์เดียว๑ เมื่อพระองค์เจ้าสว่างค์สิ้นพระชนม์แล้วหา ปรากฎว่าเปนวังเจ้านายพระองค์ใดต่อมาไม่ ๓ วังท้ายหับเผย วังที่ ๑ วังนี้อยู่ริมคลองคูเมืองเก่าฝั่งตวันตก แต่ถนนศาลพระเสอเมืองลงไปข้างใต้ สร้างพระราชทานกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ หม่อมเจ้าชายใหญ่ ซึ่งทรงสถาปนาเปนพระองค์เจ้าชิดเชื้อพงศ์ในรัชกาลที่ ๔ กับหม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมา ในเวลานี้เชื้อสายกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ก็ยังครอบครองอยู่ ๔ วังท้ายหับเผย วังที่ ๒ วังนี้อยู่ต่อวังที่ ๑ มาทางตวันตก หันน่าวังออกถนนสพานหัวจรเข้ (ถนนพระพิพิธ) สร้างพระราชทานกรมหลวงภูวเนตร์นรินทร์ฤทธิ์๒ เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ หม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมา เดี๋ยวนี้เชื้อสายกรมหลวงภูวเนตร์ ฯ ก็ยังปกครองอยู่ ๑ สงสัยว่าวังนี้เดิมจะเปน ๒ วัง บางทีจะเปนวังพระองค์เจ้าเรณู ฤๅพระองค์เจ้าขัติยวงศ์ แต่สืบไม่ได้ความแน่. ๒ วังท้ายหับเผยที่ ๒ และที่ ๓ นี้ ชั้นเดิมกรมพระพิทักษ์ ฯ ประทับวังไหนไม่ทราบชัด เพราะต่อมารวมเข้าเปนวังเดียว
๔๐ ๕ วังท้ายหับเผย วังที่ ๓ วังนี้อยู่ต่อวังที่ ๒ มาทางตวันตก ตามถนนพระพิพิธ สร้างพระราชทานกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ฯ (กรมพระพิพิธ ฯ กรมพระพิทักษ์ ฯ กรมหลวงภูวเนตร์ ฯ ทั้ง ๓ พระองค์นี้ร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกัน) แต่ยังเสด็จประทับตำหนักปลูกพักชั่วคราวมาจนรัชกาลที่ ๓ จนเกิดไฟไหม้วังกรมหมื่นสุนทรธิบดี ตลอดไปจนบ้านหม้อ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๗๔ กรมพระพิทักษ์ ฯ จึงย้ายวังไปสร้างใหม่ (ในที่ซึ่งไฟไหม้ว่างอยู่) ทางริมคลองคูเมืองเดิมฟากตวันออก ตรงกับวังที่ ๑ ข้าม ส่วนวังที่ ๓ เดิมนั้น (ได้ยินว่า) กรมหลวงวงศาธิราชสนิทได้ประทับมาจนทรงรับกรมหมื่นแล้ว พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้ไปประทับที่วังเดิมของสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร อันอยู่ริมแม่น้ำข้างใต้วัดพระเชตุพน วังที่ ๓ เดิมจึงรวมเปนวังเดียวกับวังที่ ๒ สืบมา ๖ วังถนนบ้านหม้อ วังกรมพระพิทักษ์ ฯ ทรงสร้างใหม่ดังกล่าวมาแล้ว เสด็จประทับ ณวังนั้นมาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ หม่อมเจ้าชายใหญ่ ซึ่งทรงสถาปนาเปนพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงคฤทธิ์ในรัชกาลที่ ๕ กับหม่อมเจ้าในกรมได้อยู่ต่อมา ครั้นพระองค์เจ้าสิงหนาท ฯ สิ้นพระชนม์ เจ้า พระยาเทเวศร์วงศวิวัฒน์ได้ครอบครองมา และพระยาศรีกฤดากร (ม.ล. วราห์ กุญชร ณกรุงเทพ) บุตร์เจ้าพระยาเทเวศร์ได้ครอบครองอยู่บัดนี้
๔๑
๗ วังถนนสนามชัย วังที่ ๑
วังนี้สร้างพระราชทานกรมหมื่นสุนทรธิบดี ในจดหมายเหตุเก่าว่าที่สร้างวังนั้น เดิมเปนบ้านเจ้าพระยามหาเสนาบดี (ปลี) ที่สมุหพระกลาโหม ซึ่งไปถึงอสัญกรรมคราวตีเมืองทวายเมื่อรัชกาลที่ ๑ และว่าอยู่ใกล้หอกลอง (อันปลูกในบริเวณสวนเจ้าเชตบัดนี้) จึงสันนิษฐานว่าวังนี้เห็นจะหันน่าวังออกถนนสนามชัย ตั้งแต่ถนนพระพิพิธไปทางใต้๑ กรมหมื่นสุนทรธิบดีเสด็จอยู่มาจนรัชกาลที่ ๓ เกิดเหตุไฟไหม้เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๗๔ กรมหมื่นสุนทรธิบดีสิ้นพระชนม์ในไฟ ต่อมาพระราชทานวังนั้นให้เปนวังพระองค์เจ้าเรณู เสด็จอยู่จนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ หม่อมเจ้าในกรมได้อยู่ต่อมาจนรัชกาลที่ ๕
๘ วังถนนสนามชัย วังใต้
วังนี้หันน่าวังออกถนนสนามชัย ต่อวังที่ ๑ ไปทางใต้ แต่จะไปหมดเขตร์วังเพียงไหนหาทราบไม่ สร้างพระราชทานกรมหมื่นเสพสุนทร เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ กรมหมื่นถาวรวรยศได้เสด็จอยู่ต่อมาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕
๙ วังริมแม่น้ำ ใต้วัดพระเชตุพน
ที่วังนี้อยู่เหนือเขตร์โรงเรียนราชินีบัดนี้ เดิมเปนที่บ้านเจ้าพระยาพระคลัง (หน) รัชกาลที่ ๑ ซึ่งเปนบิดาของเจ้าจอมมารดาสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร ๆ ได้ทรงรับมรดก จึงโปรด ฯ ให้สร้างวังที่
๑ ผู้มีอายุบางคนว่าวังกรมหมื่นสุนทรธิบดีอยู่ริมคลองดูเหมือนเดิมฝั่งตวันตกใกล้ ป ากคลอง (ตลาด) แต่คำนี้ขัดกับความในจดหมายเหตุเก่า จิงไม่ฟัง
๖
๔๒
ตรงนั้น เสด็จอยู่มาจนในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด ฯ ให้สร้างวังใหม่ (ริมถนนมหาชัย) ใกล้ประตู สพานหัน ๓ วัง๑ และโปรด ฯ ให้สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศรเสด็จไปประทับอยู่ที่วังใต้ เปนประธานการรักษาพระนครทางด้านนั้น ที่วังเดิม (ทำนองสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศรจะถวายคืน) จึงโปรด ฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิทเสด็จไปประทับ ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ โปรด ฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิทเสด็จไปประทับพระราชวังเดิม (ทำนองกรมหลวงวงศา ฯ จะถวายที่วังเดิมคืน จึงพระราชทานที่วังนั้นแก่เจ้าพระยาธรรมา (บุญศรี) ซึ่งเปนเจ้าพระยาสุธรรมมนตรีในรัชกาลที่ ๕ เพราะที่บ้านติดต่ออยู่ทางเหนือ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีแบ่งให้พระยาธรรม จรรยานุกูลมนตรี (เจริญ) ผู้เปนบุตร์ใหญ่ ซึ่งได้ถวายตัวเปนข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านเรือนต่อมาบุตรหลานพระยาธรรมจรรยา (เจริญ) ยังปกครองมาจนทุกวันนี้
พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งยังทรงพระเยาว์ได้เสด็จออกวังต่อในรัชกาลที่ ๓ รวม ๑๔ พระองค์ คือ
๑ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร สร้างวังใหม่
๒ กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา เดิมประทับอยู่บ้านคุณตา อยู่ทางหลังวัดชนะสงครามก่อน แล้วได้พระราชทานวังเก่าริมสพานช้างโรงสี วังเหนือ
๑ วังทั้ง ๓ นั้น เดี๋ยวนี้รวมอยู่ในเขตร์วังบูรพาภิรมย์
๔๓
๓ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ประทับที่วังเก่าท้ายหับเผย วังที่ ๓ แล้วเสด็จไปอยู่วังเก่าริมแม่น้ำที่ใต้วัดพระเชตุพน ที่สุดเสด็จอยู่พระราชวังเดิม
๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับพระราชวังเดิมจนได้บวรราชาภิเษก
๕ กรมขุนสถิตย์สถาพร เสด็จอยู่วังเก่า วังที่ ๒ ที่ถนนหลักเมือง
๖ กรมหมื่นถาวรวรยศ เดิมเสด็จอยู่ที่ข้างวัดราชบุรณะ อันเปนที่โรงเรียนสวนกุหลาบบัดนี้ ถึงรัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานวังเก่า คือ วังกรมหมื่นเสพสุนทรซึ่งสร้างเมื่อรัชกาลที่ ๒ ส่วน ๑ ข้างใต้
๗ กรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา ในรัชกาลที่ ๓ เสด็จอยู่ที่ข้างวัดราชบุรณะ อันเปนที่โรงเรียนสวนกุหลาบบัดนี้ มาได้พระราชทานวังกรมพระรามอิศเรศร คือวังที่ ๑ ถนนหลักเมืองเมื่อรัชกาลที่ ๔
๘ กรมหลวงวรศักดาพิศาล ได้ยินว่าเดิมเสด็จอยู่กับสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศรมาจนรัชกาลที่ ๓ จึงสร้างวังพระราชทานที่ริมถนนพระพิพิธ
๙ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ ได้ที่วังใหม่ที่ริมประตูสำราญราษฎร์ แต่มิได้สร้างวังจนรัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานวังที่ถนนมหาชัย วังที่ ๒
๑๐ เจ้าฟ้าอาภรณ์ ได้พระราชทานวังเก่าที่ถนนน่าพระลาน วังกลาง แล้วเสด็จมาประทับวังตรงประตูวิเศษไชยศรี
๑๑ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ได้พระราชทานที่วังใหม่เคียงวังกรมหมื่นภูบาล ฯ (กรมหมื่นภูบาล ฯ กรมขุนวรจักร ฯ พระองค์เจ้า
๔๔ เกยูร ทั้ง ๓ พระองค์นี้ร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกัน) แต่มิได้สร้างวังจนรัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานวังเก่าที่ริมสนามชัย วังใต้ ครั้นรัชกาลที่ ๕ ไปสร้างเปนของส่วนพระองค์ที่ถนนเจริญกรุง (ที่มุมถนนวรจักร์บัดนี้ข้างฟากใต้) ๑๒ พระองค์เจ้าเกยูร ได้พระราชทานที่วังใหม่อยู่ใกล้กับวังกรมหมื่นภูบาล ฯ และกรมขุนวรจักร์ ฯ แต่ประทับพักอยู่มิได้สร้างวังจนสิ้นพระชนม์ ๑๓ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ได้พระราชทานวังเก่าวังกลาง ที่ถนนน่าพระลาน แล้วได้วังน่าประตูวิเศษไชยศรีรวมกันเปนวังเดียว ๑๔ เจ้าฟ้าปิ๋ว เสด็จอยู่วังกลางที่ถนนน่าพระลาน สิ้นพระชนม์ก่อนสร้างวัง วังสร้างสำหรับพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๒ ที่มาสร้างในรัชกาลหลังรวม ๕ วัง คือ ๑๐ วังถนนจักรเพ็ชร วังนี้เดิมเปนที่บ้านของเจ้าจอมมารดากรมพระเทเวศรวัชรินทร ๆ ได้ทรงรับมรดกจึงสร้างวังณที่นั้น (อยู่ตรงสนามสามัคยาจารย์บัดนี้) กรมพระเทเวศรเสด็จประทับอยู่จนสิ้นพระชนม์เมื่อรัชกาลที่ ๕ หม่อมเจ้าชาย ซึ่งทรงสถาปนาเปนพระองค์เจ้าวัชรีวงศ กับหม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนถึงชั้นเชื้อสาย จึงทรงซื้อที่สร้างตึกแถวแลทำโรงเรียน
๔๕
๑๑ วังถนนสพานหัวจรเข้
วังนี้อยู่ริมถนนพระพิพิธฟากใต้ ต่อกับหลังวังถนนสนามชัยวังที่ ๑ ดูเหมือนจะแบ่งเขตร์ ที่วังที่ ๑ นั้นเองมาสร้างวังนี้ เพราะสร้างต่อรัชกาลที่ ๓ พระราชทานกรมหลวงวรศักดาพิสาล ซึ่งยังไม่มีที่วัง ทราบว่าเสด็จอยู่กับสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศรมาแต่ก่อน กรมหลวง วรศักดา ฯ เสด็จประทับอยู่วังนี้มาจนสิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ ๕ หม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนทรงซื้อทำโรงทหาร
๑๒ วังริมประตูสำราญราษฎร์ วังตวันออก
วังนี้อยู่สุดถนนทางประตูสำราญราษฎร์ เปนที่วังกรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ เข้าใจว่าสร้างแต่ตำหนักพักชั่วคราว เสด็จประทับมาจนในรัชกาลที่ ๔ จึงได้พระราชทานวังที่ถนนมหาชัย วังกลาง ซึ่งกรมหมื่นนรินทรเทพประทับเมื่อรัชกาลที่ ๓ ครั้นกรมหมื่นภูบาล ฯ เสด็จย้ายไปจากวังนี้ ทูลถวายที่วังเดิม แต่พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอซื้อ พระราชทานเปนที่วังกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
๑๓ วังประตูสำราญราษฎร์ วังกลาง
วังนี้ได้ยินว่าเปนที่ประทับของพระองค์เจ้าเกยูร (บางทีเดิมจะยังไม่ได้ปันเขตร์วังทีเดียว กรมหมื่นภูบาล ฯ กับกรมขุนวรจักร์ ฯ เห็นจะประทับอยู่พระองค์ละฝ่าย เจ้าจอมมารดาอยู่กลาง พระองค์เจ้าเกยูรเปนพระองค์น้อย เสด็จอยู่กับเจ้าจอมมารดาจึงอยู่กลาง) เสด็จประทับอยู่จนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ต่อมาที่วังนี้ปันเปนเขตรวังตวันออกและวังตวันตกคงแต่ ๒ วังต่อมา
๔๖ ๑๔ วังประตูสำราญราษฎร์ วังตวันตก วังนี้เปนที่ประทับของกรมขุนวรจักร์ธรานุภาพ เสด็จอยู่มาจนในรัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานวังริมสนามชัย วังเหนือ อันเปนวังของกรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์ ฯ อยู่แต่ก่อน จึงเสด็จย้ายไปจากวังนี้ กรมขุนวรจักร์ ฯ ทูลถวายที่วัง แต่พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอซื้อ พระราชทานเปนที่วังกรมหมื่นราชศักดิสโมสร รวมวังซึ่งสร้างใหม่สำหรับพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๒ เปน ๑๔ วังด้วยกัน ฝ่ายวังน่าเมื่อรัชกาลที่ ๒ ลูกเธอที่พระชัณษาถึงกำหนดออกวังในเวลาเมื่อกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ยังดำรงพระชนม์ มีแต่ ๓ พระองค์ ๑ กรมขุนธิเบศรบวร โปรดให้อยู่พระนิเวศน์เดิม ๒ กรมหมื่นอมรมนตรี สร้างวังใหม่ ๓ กรมหมื่นกระษัตริย์ศรีศักดิเดช สร้างวังใหม่ วังที่กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงสร้างพระราชทานลูกเธอ จึงมีแต่ ๒ วัง ๑๕ วังริมพระนิเวศน์เดิม ที่ ๑ ที่วังนี้เข้าใจว่าเห็นจะปันที่ดินอันอยู่ในเขตร์พระนิเวศน์เดิมข้างตอนใต้สร้างวังพระราชทานกรมหมื่นอมรมนตรี เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ หม่อมเจ้าในกรมเห็นจะอยู่ต่อมา จนพระราชทานเปนที่กรมทหารเรือพร้อมกับพระนิเวศน์เดิมเมื่อรัชกาลที่ ๕
๔๗ ๑๖ วังถนนพระอาทิตย์ วังที่ ๑ ที่สร้างวังนี้เดิมเปนที่บ้านเสนาบดีฝ่ายพระราชวังบวร ฯ เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ เขตร์อยู่ติดกับวังเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาต่อลงมาข้างใต้ สร้างวังพระราชทานกรมหมื่นกระษัตริย์ศรีศักดิเดช เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ หม่อมเจ้าในกรมได้อยู่ต่อมาจนเชื้อสาย คือ พระยาวรพงศพิพัฒน์ (ม.ร.ว. เย็น อิศรเสนา ณกรุงเทพ) เปนต้น ได้อยู่ในทุกวันนี้ ลูกเธอในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ซึ่งยังทรงพระเยาว์ ในเมื่อเวลาพระราชบิดาสวรรคต แต่ทรงเจริญพระชัณษาถึงกำหนดออกวังในรัชกาลที่ ๒ รวม ๖ พระองค์ โปรดให้สร้างวังใหม่พระราชทานที่ริมคลองคูเมืองเดิมทางฝั่งเหนือ แถวสพานเสี้ยว (แต่โรงกระ ษาปณ์เลี้ยวมาจนคลองวัดบุรณสิริ) ๔ วัง สร้างวังข้างหลังพระนิเวศน์เดิมทางแม่น้ำฟากตวันตก ๒ วัง จะพรรณาเปนรายวังต่อไป ๑๗ วังสพานเสี้ยว วังที่ ๑ (นับแต่ตวันตกไปตวันออก) วังนี้สร้างพระราชทานพระองค์เจ้าภุมริน เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ พระองค์เจ้านุชในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพได้เสด็จอยู่ต่อมาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ กรมหมื่นชาญชัยบวรยศในกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญประทับต่อมา แล้วทรงแลกกับวังที่ ๑ ริมท้องสนามวังน่า ซึ่งหม่อมเจ้าในกรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์
๔๘ กับหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้านันทวันอยู่นั้น หม่อมเจ้าใน ๒ พระองค์นั้น มีหม่อมเจ้าศรีไสเฉลิมศักดิ์ ในกรมหมื่นบริรักษ์ ฯ เปนต้น จึงย้ายมาอยู่ที่วังนี้ ๑๘ วังสพานเสี้ยว วังที่ ๒ วังนี้สร้างพระราชทานพระองเจ้าใย เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เข้าใจว่าหม่อมเจ้าในกรมแลเชื้อสายอยู่ต่อมา จนรื้อทำถนน ๑๙ วังสพานเสี้ยว วังที่ ๓ วังนี้สร้างพระราชทานพระองค็เจ้าภุมเรศ ซึ่งทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นอมเรศรัศมีในรัชกาลที่ ๔ เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ แล้วเชื้อสายอยู่ต่อมาจนรื้อทำถนน ๒๐ วังสพานเสี้ยว วังที่ ๔ วังนี้สร้างพระราชทานพระองค์เจ้าทับทิม เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ พระองค์เจ้าศรีสังข์ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพได้เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ ๒๑ วังริมพระนิเวศน์เดิม วังที่ ๒ วังนี้ทราบแต่ว่าสร้างในเขตร์พระนิเวศน์เดิมข้างด้านหลัง สร้างพระราชทานพระองค์เจ้าเสือ เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ แล้วเชื้อสายอยู่ต่อมา จนรวมเปนที่กรมทหารเรือ
๔๙ ๒๒ วังริมพระนิเวศน์เดิม วังที่ ๓ วังนี้สร้างพระราชทานพระองค์เจ้ากระต่าย ซึ่งร่วมจอมมารดากับพระองค์เจ้าเสือ ว่าอยู่เคียงกับวังที่ ๒ พระองค์เจ้ากระต่ายสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ที่วังนี้เห็นจะรวมกับวังที่ ๒ ต่อมา ลูกเธอในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ซึ่งยังทรงพระเยาว์อยู่ในเวลาเมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๒ ได้ออกวังต่อรัชกาลที่ ๓ มี ๙ พระองค์ คือ ๑ สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงผนวชอยู่วัดมหา ธาตุแล้วเสด็จไปอยู่วัดบวรนิเวศวิหารจนตลอดพระชนมายุ ๒ พระองค์เจ้าชุมแสง เดิมเสด็จอยู่ที่ไหนหาทราบไม่ ในรัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานวังถนนหลักเมือง วังที่ ๒ ซึ่งกรมขุนสถิตย์สถาพรเสด็จอยู่ก่อน ๓ พระองค์เจ้าสาททิพากร (ร่วมจอมมารดาเดียวกับสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แลกรมหมื่นอนันตการฤทธิ์) สร้างวังใหม่ ๔ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ สร้างวังใหม่ แล้วย้ายไปประทับพระนิเวศน์เดิม ๕ พระองค์เจ้าศรีสังข์ ได้พระราชทานวังเก่า วังที่ ๓ ที่สพานเสี้ยวซึ่งพระองค์เจ้าทับทิมเสด็จอยู่ก่อน ๖ พระองค์เจ้ารัชนิกร สร้างวังใหม่ ๗ พระองค์เจ้าทัดทรง ไม่ทราบว่าประทับที่ไหน ๘ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ สร้างวังใหม่ ๙ พระองค์เจ้าสุดวอน สร้างวังใหม่ ๗ ๕๐ วังลูกเธอในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ซึ่งสร้างใหม่ในรัชกาลที่ ๓ รวม ๕ วัง ดูเหมือนจะมีแต่วังกับตำหนักชั่วคราวทั้งนั้น จะพรรณาเปนรายวังต่อไป ๒๓ วังถนนโรงครก วังที่ ๑ วังนี้เปนที่ประทับของพระองค์เจ้าสาททิพากร เดิมเปนที่บ้านของคุณตา (อยู่ตรงศาลสถิตย์ยุติธรรมบัดนี้) แบ่งกันกับกรมหมื่น อนันตการฤทธิ์สร้างเปน ๒ วัง พระองค์เจ้าสาททิพากรประทับอยู่ที่วังนี้จนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ ๒๔ วังถนนโรงครก วังที่ ๒ วังนี้อยู่ต่อกับวังที่ ๑ เปนที่ประทับของกรมหมื่นอนันตการฤทธิ์เสด็จอยู่มาจนรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรด ฯ ให้เสด็จไปประทับพระนิเวศน์เดิม ๒๕ วังคลองตลาด วังที่ ๑ วังนี้อยู่สุดข้างเหนือของหมู่วังซึ่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชทานพระเจ้าลูกเธอ ที่ริมคลองคูเมืองเดิม (คลองตลาด) ฝั่งเหนือ ตอนใกล้ปากคลองข้างใต้ เดิมเปนที่บ้านของบิดาเจ้าจอมมารดากรมหมื่นสิทธิสุขุมการ ๆ ได้ทรงรับมรดกจึงสร้างวังเสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ เมื่อรัชกาลที่ ๕ แล้วหม่อมเจ้าชายใหญ่ ซึ่งทรงสถาปนาเปนพระองค์เจ้าวัฒนาในรัชกาลที่ ๕ กับหม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนรื้อทำถนน
๕๑
๒๖ วังหลังวัดชนะสงคราม
วังนี้เปนที่ประทับของพระองค์เจ้ารัชนิกร อยู่ริมคลองหลังวัดชนะสงคราม บางทีจะเปนแต่เสด็จอยู่ที่บ้านเดิมของพระญาติฝ่ายจอมมารดาซึ่งได้รับมรดก แต่เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์เมื่อรัชกาลที่ ๕ แล้วเชื้อสายอยู่ต่อมา
๒๗ วังริมคลองบางลำภู วังที่ ๓
วังนี้เปนที่ประทับของพระองค์เจ้าสุดวอน ว่าอยู่ตรงน่าวัดบวรนิเวศข้ามฟาก บางทีจะเปนบ้านพระญาติฝ่ายจอมมารดา แต่เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
วังลูกเธอของกรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งสืบไม่ได้ความว่าอยู่ที่ไหนมีอยู่วัง ๑ คือ วังพระองค์เจ้าทัดทรง ได้ยินว่าเสด็จไปอยู่สวนแห่งใดแห่งหนึ่ง เพราะไม่เอาพระไทยใส่ที่จะทำราชการ ถึงพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกพระนามอ้างเปนตัวอย่างประกาศพิธีแจกเบี้ยหวัด
รวมวังลูกเธอในกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ ซึ่งสร้างใหม่ ๑๓ วัง คิดรวมจำนวนวังซึ่งสร้างสำหรับเจ้านายรัชกาลที่ ๒ ทั้งวังหลวงวังน่าเปน ๒๗ วังด้วยกัน
ตอนที่ ๔ ว่าด้วยวังเจ้านายสร้างในรัชกาลที่ ๓
พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๓ ทรงเจริญพระชัณษาทันได้ออกวังในรัชกาลนั้นหมดทุกพระองค์ เปนแต่ออกวังต่างคราวกัน พระเจ้าลูกเธอที่ออกวังคราวแรก ๖ พระองค์ คือ ๑ สมเด็จ ฯ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ สร้างวังใหม่ ๒ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ได้พระราชทานวังถนนน่าพระลานริมประตูท่าพระ ที่พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประทับอยู่ก่อน ๓ กรมหมื่นเชษฐาธิเบน สร้างวังใหม่ ๔ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร สร้างวังใหม่ ๕ พระองค์เจ้างอนรถ สร้างวังใหม่ ๖ กรมหมื่นภูมินทรภักดี สร้างวังใหม่ วังที่สร้างใหม่ ๕ วังตอนนี้ สร้างในที่แปลง ๑ ด้านเหนือจดถนนเขตร์วัดพระเชตุพน ด้านตวันออกจดถนนสนามชัย ด้านตวันตกจดถนนมหาราชริมกำแพงพระนคร ด้านใต้ถนนทั้ง ๒ นั้นไปบรรจบกันที่เปนชายธงตรงสพานข้ามคลอง (ตลาด) คูเมืองเดิม วังทางตอนเหนือสร้างเปนคู่ หลังวังจดกัน หันน่าวังออกถนนสนามชัย ๒ วัง หันน่าวังออกถนนมหาราช ๒ วัง วังที่สุดทางใต้เปนวังเดียวด้วยรูปที่เปนชายธง จะพรรณาเปนรายวังต่อไป
๕๓
๑ วังท้ายวัดพระเชตุพน วังที่ ๑
วังนี้หันน่าออกถนนสนามชัย เปนวังเหนือ สร้างพระราชทานกรมหมื่นเชษฐาธิเบน เสด็จอยู่จนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ พระราชทานเปนวังกรมหลวงอดิศรอุดมเดช ทีหลังเสด็จไปสร้างวังอยู่ที่อื่น จึงโปรด ฯ ให้ซื้อที่วังนี้สร้างสถานสำหรับราชการในรัชกาลปัจจุบันนี้.
๒ วังท้ายวัดพระเชตุพน วังที่ ๒
วังนี้เปนวังเหนือถนนมหาราช ตรงหลังวังที่ ๑ สร้างพระราชทานกรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ ครั้นโปรด ฯ ให้กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์เสด็จไปประทับที่วังริมท้องสนามชัยวังใต้ พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานวังนี้แก่พระองค์เจ้าลำยอง เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ พระราชทานเปนวังของกรมหมื่นทิวากรวงศประวัติ (แต่กรมหมื่นทิวากร ฯ เสด็จอยู่ในวังกรมหลวงอดิศร ฯ ซึ่งเปนพระเชษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกัน หาได้สร้างตำหนักขึ้นในวังนี้ไม่) ครั้นกรมหมื่นทิวากร ฯ เสด็จไปสร้างวังอยู่ที่อื่น และสิ้นพระชนม์แล้ว จึงทำสถานที่สำหรับราชการในรัชกาลปัจจุบันนี้.
๓ วังท้ายวัดพระเชตุพน วังที่ ๓
วังนี้หันน่าวังออกถนนสนามชัย เปนวังกลาง สร้างพระราชทานพระองค์เจ้างอนรถ ๆ เสด็จอยู่จนสิ้นพระชนม์เมื่อรัชกาลที่ ๓ จึงพระราชทานพระองค์เจ้าเปียกเสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ถึง
๕๔ รัชกาลที่ ๕ พระราชทานเปนกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ หม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนทำสถานสำหรับราชการ ๔ วังท้ายวัดพระเชตุพน วังที่ ๔ วังนี้เปนวังกลางทางที่หันน่าออกถนนมหาราช สร้างพระราชทานกรมหมื่นภูมินทรภักดี เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ หม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนสร้างสถานที่สำหรับราชการในรัชกาลปัจจุบันนี้ ๕ วังท้ายวัดพระเชตุพน วังที่ ๕ วังนี้อยู่ปลายที่ทางข้างใต้ เขตร์วังจดถนนมหาชัยด้าน ๑ จดถนนมหาราชด้าน ๑ จดทางสามแพร่งที่สองถนนนั้นร่วมกันทางใต้วังด้าน ๑ พวกจีนเรียกวังนี้ว่า "ซากั๊กวัง" หมายความว่าวังที่ทางสามแพร่ง วังนี้เข้าใจว่าเดิมสร้างพระราชทานสมเด็จ ฯ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ครั้นต่อมา ทำนองจะทรงพระราชดำริห์เห็นว่าคับแคบนัก จึงสร้างวังพระราชทานใหม่ที่ริมแม่น้ำเหนือปากคลองตลาด ส่วนวังที่ ๕ พระราชทานเปนที่ประทับของกรมหมื่นอุดมรัตนราษี สมเด็จ ฯ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ หม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมา ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานวังสมเด็จ ฯ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ที่ปากคลองตลาดแก่กรมหมื่นอุดม ฯ โปรด ฯ ให้พระองค์เจ้ามงคลเลิศ กับหม่อมเจ้าองค์อื่นในสมเด็จ ฯ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์มาอยู่ที่วังที่ ๕ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ หม่อมเจ้าฉายเฉิด ซึ่งทรงสถาปนา
๕๕ เปนกรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์เมื่อรัชกาลที่ ๕ เสด็จอยู่ต่อมาจนสิ้นพระชนม์แล้วเชื้อสายอยู่ต่อมาจนสร้างเปนสถานที่สำหรับราชการ ในรัชกาลปัจจุบันนี้ พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๓ เสด็จออกวังในสมัยเปนตอนกลาง ๖ พระองค์ ได้พระราชทานวังเก่าซึ่งพระเจ้าลูกเธอสิ้นพระชนม์บ้าง สร้างวังใหม่พระราชทานบ้าง มีรายพระนามดังนี้ ๗ กรมขุนราชสีหวิกรม เสด็จอยู่วังถนนน่าพระลานที่ริมประตูท่าพระแทนพระองค์เจ้าลักขณานุคุณที่สิ้นพระชนม์ ๘ พระองค์เจ้าเปียก เสด็จอยู่วังที่ ๓ ท้ายวัดพระเชตุพน แทนพระองค์เจ้างอนรถซึ่งสิ้นพระชนม์ ๙ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ สร้างวังใหม่ ๑๐ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี เสด็จอยู่วังที่ ๕ ท้ายวัดพระเชตุพน แทนสมเด็จ ฯ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ซึ่งเสด็จย้ายไปอยู่วังใหม่ ๑๑ พระองค์เจ้าลำยอง เสด็จอยู่วังที่ ๒ ท้ายวัดพระเชตุพนแทนกรมหมื่นอมเรนทร ฯ ซึ่งเสด็จย้ายไปอยู่วังอื่น ๑๒ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ สร้างวังใหม่ วังซึ่งสร้างใหม่ในรัชกาลที่ ๓ ในตอนนี้ ๓ วัง สร้างที่ริมแม่น้ำเคียงป้อมมหาฤกษ์ (อันเปนโรงเรียนราชินีบัดนี้) ๒ วัง สร้างถนนริมสนามชัยฟากตวันออกวัง ๑ จะพรรณาเปนรายวังต่อไป
๕๖ ๖ วังริมแม่น้ำ เหนือป้อมมหาฤกษ์ วังนี้เขตร์วังด้านเหนือต่อกับวังแรกของสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศรด้านใต้จดป้อม สร้างพระราชทานพระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ ครั้นพระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์สิ้นพระชนม์ พระราชทานกรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ พระราชทานเปนที่วังสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสด็จพักอยู่จนย้ายมาประทับวังใหม่ที่สพานถ่าน ที่วังเดิมนั้นโปรด ฯ ให้สร้างเปนโรงเรียนสุนันทาลัย (คือโรงเรียนราชินีบัดนี้) ๗ วังริมแม่น้ำ ใต้ป้อมมหาฤกษ์ วังนี้เขตร์วังด้านใต้ตกปากคลองตลาด ด้านเหนือจดป้อมมหาฤกษ์สร้างพระราชทานสมเด็จ ฯ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ ถึงรัชกาลที่ ๔ พระราชทานเปนวังของกรมหมื่นอุดมรัตนราษี ครั้นกรมหมื่นอุดม ฯ สิ้นพระชนม์ หม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมา จนสร้างเปนโรงเรียนสุนันทาลัยในรัชกาลที่ ๕ ๘ วังถนนสนามชัย วังที่ ๓ วังนี้เข้าใจว่าแบ่งที่วังถนนสนามชัยวังที่ ๒ (คือ วังที่สร้างพระราชทานกรมหมื่นเสพสุนทรในรัชกาลที่ ๒) มาสร้างเปนวังขึ้นอิกวัง ๑ หันน่าวังออกถนนสนามชัย ตรงข้ามฟากถนนกับวังที่ ๕ ท้ายวัดพระเชตุพน สร้างพระราชทานกรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ เสด็จอยู่มาจนถึงรัชกาลที่ ๕ โปรด ฯ ให้เสด็จมาประทับที่วังถนนน่าพระลานริมท่าช้าง
๕๗
แทนกรมขุนราชสีหวิกรม วังที่ ๓ นั้นพระราชทานกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเสด็จอยู่มา แล้วถวายที่สร้างโรงทหาร
พระเจ้าลูกเธอรัชกาลที่ ๓ เสด็จออกวังเปนตอนหลัง ๔ พระองค์ สร้างวังใหม่พระราชทานทั้งนั้น คือ
๑ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราภิบาล
๒ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
๓ กรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ
๔ พระองค์เจ้าจินดา
วัง ๔ วังที่สร้างตอนนี้ สร้างที่ริมถนนเฟื่องนคร ๒ วัง สร้างริมคลองสพานถ่านวัง ๑ สร้างที่ริมคลองคูเมืองเดิม ทางด้านใต้วัง ๑ จะพรรณาเปนรายวังต่อไป
๙ วังถนนเฟื่องนคร วังเหนือ
วังนี้หันน่าวังออกถนนเฟื่องนคร หลังวังจดคลองคูเมืองเดิมที่วังอยู่ในเขตร์ข้างด้านใต้ของศาลาว่าการกระทรวงนครบาลบัดนี้ เปนที่วังกรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล เสด็จประทับอยู่จนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ หม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนสร้างเปนศาลากระทรวงนครบาล
๑๐ วังถนนเฟื่องนคร วังใต้
วังนี้ต่อวังที่ ๑ ไปทางใต้ อยู่ตรงบริเวณศาลาว่าการกระทรวงคมนาคมบัดนี้ แต่เขตร์วังทางด้านใต้เดิมถึงน่าพระอุโบสถวัดราชบพิธ เปนที่ประทับของกรมขุนเจริญผลพูนสวัสดิ ถึงรัชกาลที่ ๕ ทรงสร้าง
๘
๕๘ ตำหนักตึกพระราชทานหันน่าวังกลับมาออกถนนอัษฎางค์ เมื่อกรมขุนเจริญ ฯ สิ้นพระชนม์แล้ว จึงสร้างที่ว่าการกระทรวงโยธาธิการ ซึ่งเปลี่ยนนามเปนกระทรวงคมนาคมในรัชกาลปัจจุบันนี้
๑๑ วังริมคลองสพานถ่าน วังนี้อยู่ตรงที่สร้างวัดราชบพิธ ที่วังเดิมหลังวังจดคลองสพานถ่านหันน่าวังมาทางเหนือ เปนที่ประทับของกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ เสด็จอยู่มาจนรัชกาลที่ ๕ ต้องการที่สร้างวัดราชบพิธ จึงโปรด ฯ ให้เสด็จไปประทับที่วังท้ายวัดพระเชตุพนวังที่ ๓
๑๒ วังคลองตลาด วังที่ ๒ วังคลองตลาดวังที่ ๑ เปนวังของกรมหมื่นสิทธิสุขุมการในกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ ได้พรรณาไว้ในตอนว่าด้วยวังครั้งรัชกาลที่ ๒ แล้ว วังที่ ๓ ก็อยู่ริมคลองตลาดฝั่งเหนือ เขตร์ต่อวังที่ ๑ ไปจนเชิงสพานช้างทางปากคลอง สร้างพระราชทานพระองค์เจ้าจินดา ประทับอยู่ไม่ช้าสิ้นพระชนม์แต่ในรัชกาลที่ ๓ นั้น วังนี้หาปรากฎว่าเจ้านายพระองค์ใดเสด็จมาอยู่ต่อมาไม่ นึกสงสัยว่าวังที่ ๑ กับวังที่ ๒ ที่คลองตลาดนี้ เดิมจะเปนวังพระองค์เจ้าจินดาวังเดียวดอกกระมัง บางทีจะแบ่งที่พระราชทานกรมหมื่นสิทธิสุขุมการต่อในรัชกาลที่ ๔ ก็อาจจะเปนได้ ที่ ๒ วังเดี๋ยวนี้ทำเปนถนนราชินีทั้งนั้น
๕๙
ในรัชกาลที่ ๓ โปรดให้สร้างวังใหม่ที่ริมถนนมหาชัยใกล้ประตู สพานหัน ๓ วัง ด้วยที่ตรงนั้นเปนทำนองด่านต้นทางที่จะไปสำเพ็ง ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าควรจะมีเจ้านายไปประทับอยู่เปนประธาน อย่างเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ เสด็จประทับอยู่ทางพระนครด้านนั้นเมื่อรัชกาลที่ ๑ วัง ๓ วังนั้นเดี๋ยวนี้รวมเปนวังบูรพาภิรมย์วังเดียว แต่เมื่อยังเปน ๓ วังเจ้านายที่เสด็จประทับมีรายพระนามดังนี้
๑๓ วังถนนมหาชัย วังเหนือ
วังนี้เปนที่ประทับของกรมหมื่นนเรนทรบริรักษ์ พระโอรสพระองค์น้อยของกรมหลวงนรินทรเทวี ซึ่งเปนพระเจ้าน้องนางเธอในพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เดิมเสด็จอยู่ที่วังริมวัดโพธิ์ (พระเชตุพน) ครั้นจะขยายที่วัดเมื่อทำวิหารพระนอน พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรด ฯ ให้เสด็จไปประทับที่วังใหม่ริมถนนมหาชัยวัง ๑ กรมหมื่นนเรนทรบริรักษ์สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เชื้อสายได้อยู่ต่อมาจนรวมเปนวังบูรพาภิรมย์เมื่อในรัชกาลที่ ๕
๑๔ วังถนนมหาชัย วังกลาง
วังนี้อยู่ต่อวังเหนือไปทางใต้ เปนที่ประทับของกรมหมื่นนรินทรเทพพระโอรสองค์ใหญ่ของกรมหลวงนรินทรเทวี เสด็จย้ายไปจากวังริมวัดโพธิ์ พร้อมกับกรมหมื่นนเรนทรบริรักษ์ แลสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เหมือนกัน ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด ฯ ให้กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์เสด็จไปประทับที่วังนี้ เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ จึงรวมที่สร้างเปนวังบูรพาภิรมย์
๖๐
๑๕ วังถนนมหาชัย วังใต้
วังนี้เขตร์ต่อวังกลางไปทางใต้ สร้างพระราชทานสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ หม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนสร้างวังบูรพาภิรมย์ในรัชกาลที่ ๕
พระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ได้ออกวัง ๙ พระองค์ คือ
๑ พระองค์เจ้าสว่าง ได้พระราชทานวังเหนือสพานช้างโรงสีที่พระองค์เจ้าเนียมเสด็จอยู่แต่ก่อน
๒ พระองค์เจ้ากำภู ได้พระราชทานวังที่ ๔ ริมสนามวังน่าที่พระองค์เจ้านพเก้าเสด็จอยู่แต่ก่อน
๓ พระองค์เจ้าอุทัย เสด็จอยู่วังเดียวกับพระองค์เจ้าสว่าง เพราะร่วมจอมมารดาเดียวกัน
๔ กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ สร้างวังใหม่
๕ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ได้พระราชทานวังที่ริมปากคลองวัดชนะสงคราม ที่กรมขุนสุนทรภูเบศร์เสด็จอยู่แต่ก่อน
๖ พระองค์เจ้านุช ได้พระราชทานวังสพานเสี้ยววังที่ ๑ ที่พระองค์เจ้าภุมรินเสด็จอยู่แต่ก่อน
๗ พระองค์เจ้าแฉ่ง เสด็จอยู่วังเดียวกับพระองค์เจ้าสว่าง เพราะร่วมจอมมารดาเดียวกัน
๘ พระองค์เจ้าเริงคนอง (ชายป๊อก) เดิมเสด็จอยู่กับกรมหมื่นอานุภาพ ฯ แล้วได้พระราชทานที่ส่วน ๑ ในวังริมสนามน่าวังที่ ๑
๖๑ ๙ พระองค์เจ้าอินทวงศ์ สร้างวังใหม่ วังเจ้านายวังน่าในรัชกาลที่ ๓ สร้างใหม่แต่ ๒ วัง เพราะกรมพระราชวังบวร ฯ จะเลือกหาที่อย่างวังหลวงไม่ได้ ได้แต่สร้างในที่ซึ่งขึ้นอยู่ในกรมพระราชวังบวร ฯ จะพรรณาเปนรายวังต่อไป ๑๖ ถนนพระอาทิตย์ วังที่ ๒ ที่วังนี้อยู่ต่อไปข้างเหนือโรงพยาบาลทหารบัดนี้ เดิมเปนที่บ้านเสนาบดีวังน่าครั้งรัชกาลที่ ๑ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างวังกรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ เสด็จมาอยู่จนสิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ ๕ แล้วกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญประทานเปนที่วังแก่พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ลูกเธอ เสด็จมาอยู่จนทุกวันนี้ ๑๗ วังสพานเสี้ยว วังที่ ๕ วังนี้อยู่ริมคลองหลอดตรงวัดบุรณสิริข้าม ว่าเดิมเปนที่บ้านพระยาพิชัยบุรินทรา เสนาบดีกรมเมืองวังน่า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพประทานให้เปนวังพระองค์เจ้าอินทวงศ์ เสด็จมาอยู่จนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เปนวังกรมหมื่นพิศาลบวรศักดิพระเจ้าลูกเธอ เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลปัจจุบันนี้พระราชทานเปนวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม วังเจ้านายที่สร้างใหม่ในรัชกาลที่ ๓ วังเจ้านายฝ่ายพระราชวังหลวง ๑๕ วัง วังเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวร ๒ วัง รวมเปน ๑๗ วัง ดังพรรณามา.
ตอนที่ ๕ ว่าด้วยสร้างวังในรัชกาลที่ ๔
พระราชวัง ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชวัง แลตำหนักที่เสด็จประพาศขึ้นหลายแห่ง ทั้งที่ในกรุงเทพฯ และในหัวเมือง เหตุเพราะมามีประเพณีการเสด็จแปรพระราชสำนักไปประทับแรมณที่ประพาศขึ้น อันประเพณีแปรพระราชสำนักนี้ เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี ปรากฎว่ามีพระราชวังเปนที่สำหรับพระเจ้าแผ่นดินเสด็จประพาศ ๙ แห่ง คือ ในจังหวัดพระนคร ฯ มีพระตำหนักนครหลวงแห่ง ๑ พระตำหนักที่ท่าเจ้าสนุกแห่ง ๑ พระราชวังบางปอินแห่ง ๑ ตามหัวเมืองมีพระราชวังในแขวงจังหวัดพระพุทธบาทที่ท้ายพิกุลแห่ง ๑ พระตำหนักที่ธารเกษมแห่ง ๑ ในแขวงจังหวัดลพบุรีมีพระราชวังที่ในเมืองแห่ง ๑ พระตำหนักที่ทเลชุบศรแห่ง ๑ ในแขวงจังหวัดเพ็ชร์บุรี มีพระราชวังที่ในเมืองแห่ง ๑ พระตำหนักที่ปากน้ำบางตบูนแห่ง ๑ ครั้นมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เปนราชธานี เมื่อรัชกาลที่ ๑ มีการทัพศึกต้องเสด็จไปทำสงครามเนือง ๆ เวลาว่างการสงครามก็ทรงเสด็จสร้างพระนครถึงรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ แม้ไม่มีการสงครามที่ต้องเสด็จพระราชดำเนินการสร้างพระนครก็ยังมีต่อมา อีกประการ ๑ พระราชวังที่พระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยาเสด็จประพาศนั้น เมื่อย้ายราชธานีลงมาตั้งข้าง
๖๓
ใต้ ก็ เปนที่ห่างไกลไปมาไม่สดวกเหมือนครั้งกรุงเก่า ในรัชกาลที่ ๒ ที่ ๓ จึงมักเสด็จประพาศแต่ที่ใกล้ ๆ อันไปมาถึงกรุงเทพ ฯ ได้ในวันเดียว เช่นเมืองประทุมธานีแลเมืองสมุทปราการเปนต้น
ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ มามีการเปลี่ยนแปลงโดยมูลเหตุ ๒ ประการ คือ ประการที่ ๑ เมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ในรัชกาลที่ ๓ นั้น ได้เคยเสด็จไปเที่ยวธุดงค์ตามหัวเมืองหลายมณฑล พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังเปนกรม ก็ได้เคยเสด็จไปเที่ยวประพาศตามหัวเมืองเนือง ๆ ทรงประจักษ์แจ้งแก่พระปรีชาญาณว่า การเสด็จประพาศหัวเมืองเปนประโยชน์แก่ราชการบ้านเมือง ด้วยสามารถจะทรงทราบกิจสุขทุกข์ของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้กว้างขวาง อิกประการ ๑ เมื่อถึงรัชกาลที่ ๔ เกิดมีเรือกลไฟใช้สอยเปนพาหนะ อาจจะไปมาทางไกลได้รวดเร็วกว่าแต่ก่อน ด้วยเหตุ ๒ ประการที่กล่าวมาเปนอาทิ ทั้งประกอบด้วยเหตุอื่นอันจะกล่าวต่อไปข้างน่า จึงทรงสร้างพระราชวังและตำหนักที่ประพาศณที่ต่าง ๆ
พระราชวังที่สร้างใหม่ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างที่ในกรุงเทพ ฯ ๓ แห่ง คือ พระราชวังประทุมวันแห่ง ๑ พระราชวังนันทอุทยานแห่ง ๑ พระราชวังสราญรมย์แห่ง ๑ ทรงสร้างตามหัวเมือง ๗ แห่ง คือ ที่เมืองสมุทปราการแห่ง ๑ ที่บาง ปอินในแขวงกรุงเก่าแห่ง ๑ วังจันทรเกษมในกรุงเก่าแห่ง ๑ ที่ท้ายพิกุลเขาพระพุทธบาทแห่ง ๑ พระนารายน์ราชนิเวศน์ณเมืองลพบุรีแห่ง ๑ พระนครปฐมในแขวงเมืองนครไชยศรีแห่ง ๑ พระนครคิรีณเมืองเพ็ชร์
๖๔ บุรีแห่ง ๑ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชวังใหม่ในกรุงเทพ ฯ แห่ง ๑ ทรงสร้างตำหนักที่ประพาศณตำบลสีทาในแขวงเมืองสระบุรีแห่ง ๑ จะพรรณนาเปนรายวังต่อไป
พระราชวังประทุมวัน พระราชวังนี้สร้างในที่นาหลวงทุ่งบางกะปิ อยู่ริมคลองแสนแสบฝั่งใต้ ที่นาตำบลนี้มีบัวหลวงมากมาแต่ก่อน จึงโปรด ฯ ให้ขุดสระแต่งที่และสร้างวังน้อยเปนที่เสด็จประพาศแห่ง ๑ ที่พระราชวังสระประทุมเดี๋ยวนี้พระราชทานเปนวังสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชร์บูรณ์อินทราไชย
พระราชวังนันทอุทยาน พระราชวังนี้สร้างทางจังหวัดธนบุรี ในที่สวนริมคลองมอญข้างฝั่งเหนือ เหตุที่จะทรงสร้างพระราชวังนันทอุทยานนั้น ได้ยินว่าเพราะทรงปรารถว่าถ้าพระองค์เสด็จสวรรคต และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับรัชทายาท พระเจ้าลูกเธอซึ่งยังทรงพระเยาว์และเจ้าจอมมารดาอยู่ในพระบรมมหาราชวังจะกีดขวาง จึงโปรด ฯ ให้ซื้อสวนสร้างพระราชวังนันทอุทยานทำเปนที่เสด็จประพาศ โดยจำนงพระราชหฤทัยให้เปนที่ประทับของพระเจ้าลูกเธอกับเจ้าจอมมารดาในเวลาพระองค์เสด็จล่วงลับแล้ว แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเสียก่อน จึงพระราชทานที่นันทอุทยานกับทั้งพระที่นั่งซึ่งทรงสร้างในที่นั้นแก่พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนตำหนักข้างใน
๖๕ ซึ่งเตรียมไว้จะให้เปนที่พระเจ้าลูกเธอเสด็จอยู่กับเจ้าจอมมารดานั้น โปรด ฯ ให้รื้อไปสร้างเปนตำหนักตามวังพระเจ้าลูกเธอ ดังจะกล่าวต่อไปข้างน่า พระราชวังสราญรมย์ พระราชวังนี้สร้างตรงที่ตึกดินเก่า ใกล้พระบรมมหาราชวังทางด้านตวันออก สร้างในตอนปลายรัชกาลที่ ๔ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว ด้วยทรงพระราชดำริห์ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชัณษาพอทรงพระผนวชพระแล้ว จะทรงมอบเวรราชสมบัติพระราชทาน ส่วนพระองค์จะเสด็จออกไปประทับเปนพระเจ้าหลวงอยู่ณพระราชวังสราญรมย์ แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน ไม่ได้เปนดังพระราชประสงค์ ในรัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระราชวังสราญรมย์ให้เปนที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์ใหญ่ เจ้าฟ้า ฯ กรมพระจักรพรรดิพงศเมื่อแรกเสด็จออกวัง ครั้นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ฯ พระองค์ใหญ่เสด็จไปประทับพระราชวังเดิมแล้ว จึงพระราชทานให้เปนที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์น้อย เจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช เสด็จอยู่จนสร้างวังบูรพาภิรมย์แล้ว ต่อมาได้จัดวังสราญรมย์เปนศาลาว่าการกระทรวงต่างประเทศอยู่คราว ๑ แล้วใช้เปนที่รับเจ้านายต่างประเทศที่มาเปนแขกเมือง ได้โปรด ฯ ให้สร้างซ่อมแปลงใหม่ทั้งวัง ครั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันนี้ เมื่อยังเสด็จดำรงพระยศเปนสมเด็จพระยุพราช เสด็จกลับจากทรงศึกษาวิชาการในประเทศยุโรป จึงพระราชทานให้เปนที่เสด็จประทับแห่ง ๑ มาจนตลอดรัชกาลที่ ๕ ๙ ๖๖ พระราชวังเมืองสมุทปราการ พระราชวังนี้สร้างที่ริมแม่น้ำฝั่งตวันออก (อยู่ตรงสถานีรถไฟบัดนี้) ถึงรัชกาลที่ ๕ พระราชทานให้เปนที่ใช้ราชการ ได้เปนสถานีโทรเลขเปนเดิมมา แต่พระที่นั่งและเรือนโรงต่าง ๆ เปนของสร้างด้วยเครื่องไม้ผุพังเสียแล้วโดยมาก พระราชวังบางปอิน พระราชวังแห่งนี้พระเจ้าปราสาททองทรงสร้าง เปนที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จประพาศเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี ครั้นเสียกรุงเก่าแก่พม่าข้าศึก ก็ทิ้งร้างมาจนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงกลับเปนที่เสด็จประพาศอิก พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด ฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นองค์ ๑ (ตรงที่สร้างพระที่นั่งวโรภาศพิมานบัดนี้) พระราชทานนามว่า พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ ตามนามปราสาทที่พระเจ้าปราสาททองทรงสร้างไว้แต่เดิม มีตำหนักฝ่ายในหลัง ๑ และสร้างพลับพลาสำหรับเสด็จประพาศไร่แตงที่เกาะนอกอีกหลัง ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ จึงทรงสร้างพระราชวังอันปรากฎอยู่บัดนี้ พระราชวังจันทรเกษม พระราชวังนี้สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างเมื่อเสด็จดำรงพระยศเปนพระยุพราช แล้วเปนที่ประทับของพระมหาอุปราชต่อมาในสมัยเมื่อกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี ไฟไหม้เสียเมื่อในรัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐครั้ง ๑ เมื่อเสียกรุงเก่าก็ถูกข้าศึกเผาอีกครั้ง ๑ จึงเปนวังร้างมาจนรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้สร้าง
๖๗ ขึ้นเปนที่ประทับเวลาเสด็จประพาศกรุงเก่า ในรัชกาลที่ ๕ ก็ได้เสด็จประทับที่พระราชวังจันทรเกษมต่อมา จนสร้างพระราชวังที่บางปอินแล้วจึงพระราชทานวังจันทรเกษมให้เปนที่ว่าการมณฑลอยุธยา
พระราชวังท้ายพิกุลที่เขาพระพุทธบาท พระราชวังนี้พระเจ้าทรงธรรมทรงสร้างพร้อมกับบริเวณวัดพระพุทธบาท เปนที่ประทับเวลาเสด็จขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท ของเดิมยังเหลืออยู่แต่กำแพงวัง พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้สร้างพระตำหนักและเรือนราชบริพารขึ้นในบริเวณพระราชวังนั้น เปนเครื่องขัดแตะถือปูนบ้าง เครื่องไม้บ้าง แต่บัดนี้ผุพังไปหมดแล้ว
พระนารายน์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี พระราชวังนี้มีมาแต่ครั้งเมืองลพบุรีเปนราชธานี สมเด็จพระนารายน์มหาราชทรงสร้างใหม่ตรงที่วังเดิมนั้น แต่พระราชมณเฑียรและสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งสร้างครั้งสมเด็จพระนารายน์นั้นชำรุดปรักหักพังเสียโดยมาก เพราะทิ้งร้างมาตั้งแต่เสียกรุงเก่า พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้สร้างซ่อมแซมสิ่งซึ่งยังจะใช้ได้ เช่น ประตูและกำแพงเปนต้น ส่วนพระราชมณเฑียรของเก่าทรงสร้างแต่พระที่นั่งจันทรพิศาลองค์ ๑ นอกจากนั้นทรงสร้างพระที่นั่งที่เสด็จประทับและตำหนักข้างในเปนของใหม่ทั้งหมด แต่ของเดิมที่ร้างนั้นก็ยังรักษาไว้เพียงเท่าที่เหลืออยู่มิได้รื้อทำลาย ๖๘ เหตุที่สร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรีเมื่อรัชกาลที่ ๔ นั้น เนื่องด้วยราชการแผ่นดิน ด้วยพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์ว่า ราชธานีอยู่ที่กรุงเทพ ฯ อยู่ใกล้ทเล ถ้าหากเกิดสงครามกับต่างประเทศ บางทีข้าศึกอาจจะเอาเรือกำปั่นรบขึ้นมาถึงราชธานีได้ เพราะฉนั้นสมควรจะมีราชธานีไว้อิกสักแห่ง ๑ สำหรับจะได้ตั้งต่อสู้ข้าศึกซึ่งมีกำลังมาในทางทเล ได้โปรด ฯ ให้ตรวจดูที่อื่นเห็นไม่เหมาะเท่าเมืองลพบุรี ซึ่งสมเด็จพระนารายน์มหาราชได้ทรงตั้งเปนราชธานีสำหรับต่อสู้ข้าศึกทางทเล โดยทรงพระราชดำริห์อย่างเดียวกัน พระนารายน์ราชนิเวศน์ได้เปนที่ประทับเวลาเสด็จประพาศทั้งในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ จนสร้างทางรถไฟแล้ว จึงพระราชทานที่วังให้เปนที่ใช้ราชการมาจนทุกวันนี้ พระนครปฐม ที่จังหวัดนครไชยศรี พระราชวังแห่งนี้ทรงสร้างเนื่องในการปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ด้วยพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์ว่า พระปฐมเจดีย์เปนมหาเจดีย์สถานที่บรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างแต่แรกพระสาสนามาประดิษฐานในสยามประเทศนี้ เก่าก่อนพระสถูปเจดีย์องค์อื่น ๆ ทั้งหมด แม้มหานครเดิมอันตั้งอยู่ที่ประดิษฐานพระปฐมเจดีย์นั้นร้างกลายเปนป่าเปลี่ยว มหาชนก็ยังเลื่อมใสไปบูชาพระปฐมเจดีย์ต่อมามิได้ขาด จึงทรงพระราชศรัทธาโปรด ฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ทั่วทั้งบริเวณ และโปรด ฯ ให้ขุดคลองมหาสวัสดี คลองเจดีย์บูชา ให้ทางไปมากับกรุงเทพ ฯ สดวกขึ้น ถึงกระนั้นการที่ไปมา
๖๙ ในระหว่างกรุงเทพ ฯ กับพระปฐมเจดีย์ในสมัยนั้น ต้องค้างกลางทางคืนหนึ่งจึงถึง จำเปนต้องสร้างที่ประทับแรมที่พระปฐมเจดีย์ จึงโปรด ฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นที่ริมบริเวณพระปฐมเจดีย์ ทำนองเดียวกับพระราชวังซึ่งพระมหากษัตริย์ครั้งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างที่ริมบริเวณพระพุทธบาทฉนั้น พระราชทานนามว่า "พระนครปฐม" พระนครปฐมได้เปนที่เสด็จประทับทั้งในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ จนสร้างทางรถไฟแล้ว จึงพระราชทานพระราชวังนครปฐมให้เปนที่สำหรับราชการมณฑลเทศาภิบาล แต่ของเดิมชำรุดปรักหักพังเสียมาก จึงคงรักษาไว้แต่ตัวพระที่นั่งประทับหลังเดียว ใช้เปนที่ประชุมประชาภิบาลอยู่บัดนี้ พระนครคิรี เมืองเพ็ชร์บุรี พระราชวังแห่งนี้สร้างบนยอดเขามหาสวรรค์ เปนที่ประทับเวลาเสด็จประพาศเมืองเพ็ชร์บุรี ได้เสด็จประทับหลายคราว ทั้งในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๕ ได้โปรด ฯ ให้ซ่อมแซมใหม่หมดครั้ง ๑ ยังบริบูรณ์ดีอยู่จนทุกวันนี้ พระบวรราชวังใหม่ในกรุงเทพ ฯ พระบวรราชวังใหม่แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้สร้างที่ริมคลองคูเมืองเดิมทางฝั่งเหนือพระบวรราชวัง (คือตรงที่สร้างโรงกระษาปณ์สิทธิการบัดนี้) เหตุที่สร้างวังใหม่นั้น ได้ยิน มาว่าเดิมพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระที่นั่งเก๋งจีนขึ้นเปนที่ประทับในพระบวรราชวัง ครั้นเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งเก๋งนั้น
๗๐ เผอิญประชวรเสาะแสะไม่มีเวลาปรกติ จีนแสถวายพยากรณ์ว่า พระที่นั่งเก๋งนั้นปลูกผิดหวงจุ๊ยเปนอัปมงคล จึงโปรด ฯ ให้หาที่แล้วรื้อพระที่นั่งเก๋งไปปลูกเปนวังใหม่ หมายจะเสด็จไปประทับสำราญพระราชอิริยบถณที่นั้น การยังไม่ทันจะสำเร็จดังพระราชประสงค์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรด ฯ ให้แบ่งปันที่พระบวรราชวังใหม่นั้น เปนที่วังของพระองค์เจ้าภาณุมาศ พระองค์เจ้าเบญจางค์ พระองค์เจ้ายุคุนธร พระองค์เจ้ากระจ่าง พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔ พระองค์ด้วยกัน พระองค์เจ้าภานุมาศกับพระองค์เจ้าเบญจางค์ได้ประทับอยู่ที่พระที่นั่งเก๋งองค์ละครึ่ง เจ้านายทั้ง ๔ พระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ ที่พระบวรราชวังใหม่ก็เปนที่ว่าง ครั้นเมื่อจะสร้างโรงกระษาปณ์สิทธิการ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรารภเสียดายพระที่นั่งเก๋งของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะได้ทรงสร้างโดยฝีมือช่างอย่างประณีต จึงโปรด ฯ ให้รื้อไปปลูกไว้ในพระราชวังดุสิต เปนที่พักของพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในเวลาเสด็จไปเฝ้า ฤๅแปรสถานไปประทับเปนครั้งเปนคราว พระที่นั่งเก๋งนั้นยังอยู่ในพระราชวังดุสิตจนบัดนี้. พระบวรราชวังสีทาที่จังหวัดสระบุรี พระบวรราชวังแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างที่ริมแม่น้ำสักฝั่งตวันตกณตำบลบ้านสีทา ในแขวงจังหวัดสระบุรีสร้างคราวเดียวกับเมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
๗๑ สร้างพระนารายน์ราชนิเวศน์ที่เมืองลพบุรี เพราะมูลเหตุเกิดแต่คราวหาที่สร้างราชธานีสำหรับเวลาสงครามดังกล่าวมาแล้ว ได้โปรด ฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นไปตรวจเมืองนครราชสิมา ทรงเห็นภูมิลำเนากันดารน้ำไม่เหมาะ มาโปรดที่เขาคอกในแขวงจังหวัดสระบุรีว่าเหมือนเปนป้อมอยู่โดยธรรมดา จึงทรงสร้างที่ประทับขึ้นณตำบลบ้านสีทา อันอาจไปมาถึงเขาคอกได้สดวก แล้วเสด็จไปประทับณที่นั้น เพื่อตกแต่งเขาคอกไว้เปนป้อมปราการสำหรับต่อสู้ข้าศึกแห่ง ๑ ได้เสด็จไปประพาศที่วังสีทาเนือง ๆ จนตลอดพระชนมายุ แต่วังนั้นล้วนสร้างเปนเครื่องไม้ ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้รื้อตำหนักลงมาสร้างวังพระราชทานพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวบ้าง ที่เหลืออยู่ก็หักพังสูญไปหมด เดี๋ยวนี้ที่ซึ่งเคยเปนพระบวรราชวังก็กลับเปนที่บ้านราษฎรไปอย่างเดิม วังเจ้านายสร้างในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระเจ้าลูกยาเธอประสูตรก่อนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ๒ พระองค์ ต่อมาทรงสถาปนาเปนกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศพระองค์ ๑ กรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธรพระองค์ ๑ เจ้าจอมมารดาเปนธิดาพระอินทรอภัย โอรสของพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ในรัชกาลที่ ๓ กรมหมื่นมเหศวร ฯ ตามเสด็จไปอยู่วัดบวรนิเวศไปเกิดประชวรพระโรคเรื้อรัง เวลานั้นพระอินทรอภัยสิ้นชีพเสียแล้ว พระพงศ
๗๒ นรินทรพี่ชายพระอินทรอภัยจึงรับพระองค์ไปรักษาพยาบาล ด้วยพระพงศนรินทรเปนจางวางกรมหมออยู่ในรัชกาลที่ ๓ กรมหมื่นมเหศวร ฯ ได้เสด็จไปประทับอยู่ที่บ้านพระพงศนรินทร อันอยู่ริมคลองบางลำภู (ตรงที่เชิงสพานนรรัตนบัดนี้) ทางฝั่งเหนือเคียงกันกับบ้านพระอินทรอภัยจนทรงพระเจริญเปนหนุ่ม พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่า กรมหมื่นมเหศวร ฯ เสด็จอยู่ที่บ้านพระพงศนรินทรต่อไปจะกีดกับครอบครัวของพระพงศนรินทร จึงดำรัสวานพระพงศนรินทรให้ช่วยหาซื้อที่สร้างวังกรมหมื่นมเหศวร ฯ พระพงศนรินทรซื้อได้ที่สวนใกล้วัดบวรนิเวศ อยู่ริมคลองบางลำภูฝั่งเหนือไม่ห่างจากบ้านพระพงศนรินทรนัก พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้ปลูกตำหนักประทานกรมหมื่นมเหศวร ฯ และกรมหมื่นวิษณุนารถ ฯ เสด็จอยู่ด้วยกันในที่นั้นมาจนตลอดรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรด ฯ ให้สร้างวังพระราชทานกรมหมื่นมเหศวร ฯ และกรมหมื่นวิษณุนารถ ฯ เปนวังพระเจ้าลูกยาเธอสร้างชั้นแรกในรัชกาลที่ ๔ มี ๒ วัง จะพรรณาเปนรายวังต่อไป ๑ วังกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ วังนี้อยู่ริมคลองบางลำภูฝั่งเหนือ (ที่เชิงสพานนรรัตนบัดนี้) เดิมเปนที่บ้านพระพงศนรินทรกับบ้านพระอินทรอภัย คุณตาของกรมหมื่นมเหศวร ฯ ถึงรัชกาลที่ ๔ มีแต่วงศ์วารอยู่ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรด ฯ ให้ซื้อสร้างเปนวังกรมหมื่นมเหศวร ฯ เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ พระองค์เจ้าและหม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนถึงเชื้อสาย. ๗๓ ๒ วังกรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธร วังนี้อยู่ริมคลองบางลำภูฝั่งเหนือ คือที่ซึ่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้กรมหมื่นมเหศวร ฯ กับกรมหมื่นวิษณุนารถ ฯ ประทับอยู่เมื่อในรัชกาลที่ ๓ นั้น ถึงรัชกาลที่ ๔ โปรด ฯ ให้สร้างเปนวังกรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธร เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ พระองค์เจ้าและหม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนถึงเชื้อสาย พระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูตร์เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วนั้น ล้วนทรงพระเยาว์ไม่ทันได้อกวังในรัชกาลที่ ๔ แต่พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดซื้อที่สำหรับจะสร้างวังพระเจ้าลูกยาเธอที่เปนชั้นใหญ่และชั้นกลางหลายพระองค์ ได้ลงมือสร้างตำหนักแต่ในรัชกาลที่ ๔ บ้าง ยังมิได้ลงมือสร้างบ้าง ที่วังที่ได้กะไว้ในรัชกาลที่ ๔ บางแห่งเปลี่ยนไปโดยเหตุที่จะแสดงต่อไปข้างน่า แต่สร้างวังใหม่ในที่ซึ่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้นั้นโดยมาก จะพรรณาโดยลำดับพระองค์ต่อไป คือ ๑ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมได้พระราชทานที่ให้สร้างวังที่บ้านเจ้าพระยาพลเทพ ฯ (หลง) ที่ริมคลองคูเมืองเดิมฟากใต้ (ตรงปลายถนนอัษฎางค์ต่อกับถนนจักรเพชร์บัดนี้ พระราชดำริห์ดูเหมือนจะโปรด ฯ ให้สร้างวังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ และวังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช ๑๐
๗๔ ติดต่อกันไปกับวังนี้ด้วย) แต่ยังมิได้สร้างวัง เปนแต่ให้ข้าในกรมไปอยู่รักษาที่นั้น เพราะพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าอยู่หัวเสด็จอยู่ประจำใกล้พระองค์ พระราชทานพระตำหนักสวนกุหลาบที่ในพระบรมมหาราชวังให้เปนที่ประทับ ต่อมาพระราชทานพระราชวังนันทอุทยานอีกแห่ง ๑ ก็เปนแต่อย่างที่ประพาศ หาได้ไปประทับอยู่ประจำไม่ ครั้นพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระราชทานที่บ้านเจ้าพระยาพลเทพ ฯ (หลง) ซึ่งได้กะไว้ว่าจะสร้างวังแต่เดิมนั้น แก่พระยาพิชัยสงคราม (อ่ำ) อันเปนปลัดกรมข้าหลวงเดิม โดยได้อยู่รักษาที่นั้นมาแต่ในรัชกาลที่ ๔ ๒ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสวตวรลาภ ได้พระราชทานที่ให้สร้างวังที่มุมถนนเจริญกรุงฟากเหนือต่อกับถนนมหาชัย แต่พระองค์เจ้าเสวตวรลาภสิ้นพระชนม์เสียแต่ยังทรงพระเยาว์ หาทันได้สร้างวังไม่ ถึงรัชกาลที่ ๕ ที่นั้นแบ่งสร้างโรงหวยตอน ๑ พระราชทานเปนวังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการตอน ๑ ต่อมาพระองค์เจ้าอลังการย้ายไปอยู่ที่อื่น และเลิกอากรหวย ที่ก็กลับคืนเปนของหลวง ๓ กรมพระนเรศวรวรฤทธิ์ สร้างวังใหม่ ๔ กรมหลวงพิชิตปรีชากร สร้างวังใหม่ ๕ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช สร้างวังใหม่ในที่วังเก่า ๖ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ สร้างวังใหม่ในที่วังเก่า ๗ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้พระราชทานวังเก่า
๗๕ ๘ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ สร้างวังใหม่ในที่วังเก่า ๙ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร สร้างวังใหม่ในที่วังเก่า ๑๐ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักพรรดิ์พงศ์โปรด ฯ ให้เสด็จประทับ ณพระราชวังเดิม ๑๑ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย สร้างวังใหม่ แต่วังยังไม่ทันแล้วสิ้นพระชนม์เสียก่อน ที่วังนั้นเป็นวังสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการต่อมา ๑๒ กรมหมนทิวากรวงศ์ประวัติ ได้พระราชทานวังเก่าแล้วสร้างวังใหม่ ๑๓ กรมขุนสิริธัชสังกาศ สร้างวังใหม่ ๑๔ กรมหลวงสรรพสาตร์ศุภกิจ สร้างวังใหม่ ๑๕ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้พระราชทานที่ริมประตูสำราญราษฎร์ ใต้วัดเทพธิดา (ตรงกับวังกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ข้ามฟากถนนบำรุงเมือง) แต่เสด็จประทับอยู่วังกรมหลวงพิชิตปรีชากร ต่อมาเสด็จไปสำเร็จราชการมณฑลอิสาณ ประทับอยู่ณเมืองอุบลหลายปี ครั้นเสด็จกลับมาได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีในกระทรวงวัง ประทับอยู่ที่ตำหนักในบริเวณพระราชวังดุสิตจนตลอดพระชนมายุ หาได้สร้างวังใหม่ไม่ ๑๖ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน สร้างวังใหม่ ๑๗ สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ได้พระราชทานวังเก่าแล้วสร้างวังใหม่
๗๖ ๑๘ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สร้างวังใหม่ในที่วังเก่า ๑๙ สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส สร้างวังใหม่ ๒๐ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ สร้างวังใหม่ พระเจ้าลูกเธอชั้นใหญ่และชั้นกลางที่ได้พระราชทานที่วังเมื่อรัชกาลที่ ๔ เพียงนี้ นอกจากนี้เปนชั้นเล็ก เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๔ ยังทรงพระเยาว์นัก มาได้พระราชทานที่วังในรัชกาลที่ ๕ คือ ๒๑ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา สร้างวังใหม่ ๒๒ กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป สร้างวังใหม่ ๒๓ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ สร้างวังใหม่ ๒๔ กรมพระดำรงราชานุภาพ สร้างวังใหม่ ๒๕ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ได้พระราชทานที่บ้านเจ้าเขมรที่เชิงสพานดำรงสถิตย์ฟากตวันออก แต่สิ้นพระชนม์เสียก่อนไม่ทันสร้างวัง ๒๖ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา สร้างวังใหม่ ๒๗ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ ได้พระราชทานวังเก่า คือ วังริมท่าพระถนนน่าพระลาน ที่พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประทับอยู่แต่ก่อน ๒๘ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ สร้างวังใหม่ ๒๙ กรมหลวงสวัสดิ์วัตนวิศิษฏ์ สร้างวังใหม่ ๓๐ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย สร้างวังใหม่
๗๗ รวมจำนวนวังพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๔ ที่สร้างในที่ใหม่ ๑๘ วังสร้างในที่วังเก่า ๕ วัง เปน ๒๓ วัง ได้แสดงพรรณาถึงวังกรมหมื่นมเหศวร ฯ วังกรมหมื่นวิษณุนารถ ฯ มาแล้ว ๒ วัง จะกล่าวพรรณาถึงวังอื่นต่อไป ๓ วังกรมพระนเรศวรวรฤทธิ์ วังนี้อยู่ริมแม่น้ำเหนือพระราชวังบวร ฯ หลังวังออกถนนพระอาทิตย์เดิมเปนที่บ้านของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) ปู่ของเจ้าจอมมารดากลิ่น เจ้าพระยามหาโยธาได้ทำพินัยกรรมถวายแต่ยังทรงพระเยาว์ จึงโปรด ฯ ให้สร้างวังณที่นี้ ๔ วังกรมหลวงพิชิตปรีชากร วังนี้อยู่ริมถนนมหาชัย ต่อวังบูรพาภิรมย์ทางด้านเหนือมาจนถนนเจริญกรุง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศรับเปนธุระเลือกหาที่ และสร้างวังแต่ในรัชกาลที่ ๔ ด้วยพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมอบกรมหลวงพิชิต ฯ ให้เปนหลานของท่าน กรมหลวงพิชิต ฯ ประทับอยู่ที่วังนี้ตลอตพระชนมายุ หม่อมเจ้าในกรมยังปกครองอยู่จนทุกวันนี้ ๕-๖ วังกรมหลวงอดิศรอุดมเดช ในรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงซื้อที่บ้านเจ้าพระยาธรรมา (เสือ) ที่บางลำภู (อยู่ตรงที่ตลาดยอดบัดนี้) กะจะสร้างวังกรมหลวงอดิศร ฯ (และเข้าใจว่าวังกรมหมื่นทิวากร ฯ ซึ่งร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันด้วย) แต่ยังไม่ทันได้สร้างวัง ถึงรัชกาลที่ ๕ พระราชทานที่วังกรมหมื่นเชษฐา
๗๘ ธิเบน (คือ วังที่ ๑ แถววังท้ายวัดพระเชตุพน) ซึ่งว่างอยู่ แก่กรมหลวงอดิศร ฯ และโปรด ฯ ให้สร้างตำหนักใหม่พระราชทานกรมหลวงอดิศร ฯ ด้วย กรมหลวงอดิศร ฯ เสด็จอยู่วังนี้จนรัชกาลปัจจุบันนี้จึงย้ายวังไปสร้างใหม่ริมแม่น้ำถนนพระอาทิตย์ ๗ วังกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ วังนี้พื้นที่เดิมเปนวังกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา คือ วังริมสพานช้างโรงสีวังเหนือ กรมหลวงสรรพศิลป์ ฯ สิ้นพระชนม์ ที่ว่างอยู่ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานให้เปนวังกรมหมื่นภูธเรศ ฯ โปรด ฯ ให้รื้อตำหนักข้างในที่พระราชวังนันทอุทยานมาหมู่ ๑ สร้างเปนตำหนัก กรมหมื่นภูธเรศ ฯ ประทับอยู่ที่วังนี้จนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ หม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนทรงซื้อสร้างตึกและตัดเปนถนนแพร่งภูธรบัดนี้ ๘ วังกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ วังนี้อยู่ริมถนนบำรุงเมืองฟากใต้ ตรงต่อกับถนนที่ใกล้ประตูสำราญราษฎร์ พื้นที่เดิมเปนวังกรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ทั้งวังกับวังพระองค์เจ้าเกยูรด้วยกึ่งหนึ่ง พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซื้อพระราชทานกรมหลวงพรหม ฯ และโปรด ฯ ให้รื้อตำหนักที่พระราชวัง นันทอุทยานมาสร้างเปนตำหนักด้วย กรมหลวงพรหม ฯ เสด็จอยู่ที่วังนี้จนรัชกาลปัจจุบันนี้ จึงย้ายไปประทับที่วังถนนพระราม ๑
๗๙ ๙ วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร วังนี้อยู่ริมถนนบำรุงเมืองฟากใต้ ต่อวังกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์มาทางตวันตก ที่เดิมเปนวังกรมขุนวรจักร์ธรานุภาพทั้งวังกับวังพระองค์เจ้าเกยูรครึ่งวัง พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซื้อพระราชทานกรมหมื่นราชศักดิ์ ฯ และโปรด ฯ ให้รื้อตำหนักที่ พระราชวังนันทอุทยานมาสร้างเปนตำหนักด้วย ๑๐ วังกรมหมื่นทิวากรวงศประวัติ เดิมกรมหมื่นทิวากร ฯ ได้พระราชทานวังเก่า คือ วังที่ ๒ แถวท้ายวัดพระเชตุพน ที่พระองค์เจ้าลำยองเสด็จอยู่ก่อนนั้น แต่เสด็จอยู่วังกรมหลวงอดิศรอุดมเดช หาได้สร้างวังไม่ ภายหลังจึงไปทรงซื้อที่สร้างวังที่ริมแม่น้ำณตำบลสามเสน ข้างเหนือวัดส้มเกลี้ยงประทับอยู่ในวังนั้นต่อมาจนตลอดพระชนมายุ ๑๑ วังกรมขุนสิริธัชสังกาศ วังนี้อยู่ริมถนนบำรุงเมืองฟากใต้ ต่อวังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสรมาทางตวันตกจนถึงคลองวัดสุทัศน์ เดิมเปนที่บ้านพระยาเทพอรชุน พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซื้อพระราชทานกรมขุนสิริธัชสังกาศ และโปรด ฯ ให้รื้อตำหนักที่พระราชวังนันทอุทยานมาสร้างเปนตำหนักกรมขุนสิริธัช ฯ เสด็จอยู่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ หม่อมเจ้าชายใหญ่ได้รับมรดกอยู่ต่อมาจนทุกวันนี้
๘๐
๑๒ วังกรมหลวงสรรพสาตร์ศุภกิจ
วังนี้อยู่ริมถนนบ้านตะนาวฟากตวันตก พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้ซื้อพระราชทานกรมหลวงสรรพสาตร์ ฯ เสด็จอยู่มาจนตลอดพระชนมายุ
๑๓ วังพระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน วังนี้อยู่ริมคลองคูเมืองเดิม ต่อวังกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ไปทางเหนือ ได้ลงมือสร้างตำหนักยังค้างอยู่ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์สิ้นพระชนม์หาทันได้เสด็จอยู่ไม่
๑๔-๑๕ วังสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เดิมเมื่อรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้ซื้อที่ริมถนนบำรุงเมืองฟากเหนือ ตอนริมคลองวัดสุทัศน์ (ตรงข้ามกับวังกรมขุนสิริธัชสังกาศ) พระราชทาน แต่ยังไม่ทันสร้างวังถึงรัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานวังเก่าที่ริมแม่น้ำตอนเหนือป้อมมหาฤกษ์อันเปนวังกรมหมื่นภูบดี ฯ อยู่ก่อนนั้น เสด็จอยู่ที่วังนั้นกับพระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย ครั้นพระองค์เจ้าอุณากรรณ ฯ สิ้นพระชนม์ จึงได้พระราชทานที่วังเดิมของพระองค์เจ้าอุณากรรณที่ริมสพานถ่าน สร้างวังแล้วเสด็จไปประทับอยู่วังนั้นจนรัชกาลปัจจุบันนี้ ทรงพระกรุณาโปรด ฯ สร้างวังเทวะเวสม์พระราชทานที่ริมแม่น้ำตำบลบางขุนพรหม จึงเสด็จย้ายไปประทับที่วังเทวะเวสม์มาจนบัดนี้
๘๑
๑๖ วังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
วังนี้อยู่ริมถนนมหาชัยใกล้ประตูสพานหัน สร้างในรัชกาลที่ ๕ ในที่วังเก่า ๓ วัง คือ วังสมเด็จกรมพระยาเดชาดิศรวัง ๑ วังกรมหมื่นนเรนทรบริรักษ์ (ซึ่งกรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ได้เสด็จอยู่เมื่อรัชกาล ที่ ๔) วัง ๑ วังกรมหมื่นนรินทรเทพวัง ๑ รวมกันพระราชทานนามว่า "วังบูรพาภิรมย์"
๑๗ วังสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส
วังนี้อยู่ริมถนนมหาชัย ต่อวังกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ไปทางใต้ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ ได้ลงมือสร้างตำหนักยังไม่ทันแล้ว สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงผนวช แล้วเลยเสด็จดำรงสมณภาพอยู่จนตลอดพระชนมายุ
๑๘ วังกรมพระสมมตอมรพันธุ์
วังนี้อยู่ริมถนนบำรุงเมืองฟากเหนือ (ตรงข้ามกับวังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร) หลังวังจดเขตร์วัดเทพธิดา กรมพระสมมตอมรพันธุ์ประทับอยู่วังนี้ตลอดพระชนมายุ เดี๋ยวนี้เปนของหม่อมเจ้ามงคลประวัติในกรมพระสมมต ฯ
๑๙ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา
วังนี้อยู่ริมถนนมหาชัย ต่อวังสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสไปทางใต้
๑๑
๘๒
๒๐ วังกรมหมื่นพงศาดิศรมหิป
วังนี้อยู่หลังวังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสรไปทางใต้ ด้านตวันตกจดคลองวัดสุทัศน์
๒๑ วังกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
วังนี้อยู่ริมถนนบ้านตะนาว ต่อวังกรมหลวงสรรพสาตร์ศุภกิจไปทางใต้ ต่อมากรมพระนราธิปประพันธ์พงศทรงตัดถนนแพร่นราผ่านกลางวัง
๒๒ วังกรมพระดำรงราชานุภาพ
วังเดิมสร้างที่บ้านพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ซึ่งได้ทรงรับมรดก อยู่ที่ริมถนนเจริญกรุงฟากเหนือ ริมเชิงสพานดำรงสถิตย์ประทับอยู่วังนี้มาจนรัชกาลปัจจุบันนี้ จึงสร้างวังวรดิศที่ถนนหลานหลวงแล้วย้ายไปประทับที่วังวรดิศต่อมา
๒๓ - ๒๔ วังกรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
วังเดิมอยู่ริมแม่น้ำที่ใต้ปากคลองตลาด พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด ฯ ให้สร้างวังที่ริมถนนเจริญกรุงฟากเหนือตรงตลาดน้อยพระราชทานแลกวังเดิม จึงย้ายไปประทับที่วังตลาดน้อยต่อมาจนตลอดพระชนมายุ เดี๋ยวนี้เปนของพระองค์เจ้าธานีนิวัติ
๒๕ วังกรมขุนมรุพงศสิริพัฒน์
วังเดิมอยู่ริมคลองวัดสุทัศน์ ในระหว่างวังกรมขุนสิริธัชสังกาศกับวังกรมหมื่นพงศาดิศรมหิป ประทับอยู่ที่วังนี้จนถึงรัชกาลปัจจุบันนี้
๘๓
ทรงสร้างวังใหม่ที่ตำบลมักกะสัน ถวายที่วังเดิมกับทั้งตำหนักให้ตั้งเปนโรงเรียน ทรงอุทิศสนองพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว จึงตั้งเปนโรงเรียนสตรีมีชื่อว่า "โรงเรียนเบญจมราชาลัย"
๒๖ วังกรมหลวงสวัสดิวัตนวิศิษฎ์
วังนี้อยู่ริมถนนพระราม ๑ ฟากเหนือ ในอำเภอประทุมวัน
๒๗ - ๒๘ วังกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
วังเดิมอยู่ริมถนนมหาชัย ต่อวังกรมหมื่นพงศาดิศรมหิปไปทางใต้ครั้นทรงสร้างวังใหม่ที่ริมแม่น้ำณตำบลสามเสน รัฐบาลจึงซื้อที่วังเดิมทำเรือนจำเมื่อขยายเขตร์คุก กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยประทับอยู่ที่วังณตำบลสามเสนจนตลอดพระชนมายุ แล้วแบ่งที่วังประทานหม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมา
พระองค์เจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออกวังในเวลาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีพระชนม์แต่ ๓ พระองค์
๑ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ สร้างวังใหม่
๒ พระองค์เจ้าสุธารส ได้ยินว่าเดิมพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับเลี้ยง จึงแบ่งที่วังพระองค์เจ้าเรณูที่ริมถนนสนามชัย ตอนต่อวังกรมหมื่นถาวรวรยศไปทางเหนือ พระราชทานเปนที่วัง เสด็จอยู่วังนี้มาจนถึงรัชกาลที่ ๕ ต้องการที่ใช้ราชการ จึงโปรด ฯ ให้ย้ายไปประทับที่วังเก่าริมสนามวังน่า วังที่ ๓ (ซึ่งเปนวังของพระองค์เจ้าช้างเมื่อรัชกาลที่ ๑ นั้น) เสด็จอยู่ที่วังนี้มาจนตลอดพระชนมายุ
๘๔
๓ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ ได้พระราชทานวังเก่า คือวังที่ ๕ ในแถววังสพานเสี้ยวซึ่งพระองค์เจ้าอินทวงศ์ประทับอยู่แต่ก่อน เสด็จอยู่ที่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระองค์เจ้าลูกเธอยังไม่ได้ออกวังหลายพระองค์ ที่เจริญพระชัณษาสมควรจะออกวัง พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดที่วังพระราชทาน ๗ พระองค์ คือ
๔ พระองเจ้าภาณุมาศ
๕ พระองค์เบญจางค์
๖ พระองค์เจ้ายุคุนธร
๗ พระองค์เจ้ากระจ่าง
สี่พระองค์นี้ทรงแบ่งที่พระบวรราชวังใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างค้างอยู่นั้น พระราชทานพระองค์ละส่วน พระที่นั่งเก๋งได้แก่พระองค์เจ้าภาณุมาศกึ่ง ๑ พระองค์เจ้าเบญจางค์กึ่ง ๑
๘ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ สร้างวังใหม่
๙ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ เดิมอยู่วังเดียวกับกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ จนถึงรัชกาลที่ ๕ กรมพระราชวังบวร ฯ จึงสร้างวังใหม่ประทาน
๑๐ พระองค์เจ้าโต สร้างวังใหม่
พระองค์เจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเปนชั้นเล็กมาได้ออกวังต่อรัชกาลที่ ๕ มี ๔ พระองค์ คือ
๑๑ กรมหมื่นวรวัฒนศุภากร สร้างวังใหม่
๘๕
๑๒ พระองค์เจ้านันทวัน ได้พระราชทานวังเก่าที่ริมสนามวังน่า วังที่ ๒ ซึ่งกรมขุนนรานุชิตประทับอยู่ก่อน
๑๓ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ ได้พระราชทานที่วังเก่าริมสนามวังน่า วังที่ ๑ ซึ่งกรมหมื่นเสนีเทพเสด็จอยู่ก่อน ประทับอยู่ก่อนแล้วจึงสร้างวังใหม่
๑๔ พระองค์เจ้าสนั่น ได้พระราชทานที่วังริมถนนหลังวัดชนะสงคราม
แต่พระองค์เจ้าวัฒนากับพระองค์เจ้าพรหเมศ ๒ พระองค์ ประทับอยู่ในบริเวณพระราชวังบวร ฯ ไม่ได้ออกวังจนตลอดพระชนมายุ
แต่นี้จะพรรณาวังเจ้านายฝ่ายพระบวรราชวังในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งสร้างใหม่เปนรายวังต่อไป
๒๙ วังกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
(วังใหม่)
วังนี้อยู่ริมคลองคูเมืองเดิมฟากเหนือ เขตร์วังตั้งแต่ถนนพระอาทิตย์มาจนต่อเขตร์วังเจ้าฟ้าอิศราพงศ (คือที่สร้างโรงพยาบาลทหารบัดนี้) เดิมเปนที่บ้านข้าราชการฝ่ายพระราชวังบวร พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซื้อสร้างวังพระราชทานกรมพระราชวังบวร ฯ เมื่อยังดำรงพระยศเปนกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ เสด็จอยู่ที่วังนี้จนรับอุปราชาภิเษกในรัชกาลที่ ๕ แต่เดิมสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินกะว่าจะให้กรมพระราชวังบวร ฯ คงประทับอยู่ที่วังนี้ เปนแต่เสด็จเข้าไปทำการพระราชพิธีฤๅรับแขกเมืองในพระราชวังบวร ฯ จึงให้ไปถ่ายแบบตึกที่เมืองสิงคโปร์มาสร้างตำหนัก
๘๖
ขึ้น และให้ทำสพานข้ามคลองและทำฉนวนเปนทางเสด็จตั้งแต่วังเข้าไปจนถึงพระราชวังบวร ฯ คนทั้งหลายจึงเรียกวังนี้ว่า "วังใหม่" แต่ต่อมากรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเสด็จเข้าไปประทับในพระราชวังบวร ฯ ประทานวังใหม่ให้เปนวังพระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาศ พระองค์เจ้าชายใหญ่ครึ่ง ๑ ประทานพระองค์เจ้าชัยรัตนวโรภาสซึ่งทรงพระเมตตามากครึ่ง ๑ เปนวังของพระองค์เจ้า ๒ พระองค์นั้นมาจนซื้อที่สร้างโรงพยาบาลทหาร
๓๐ วังกรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์
วังนี้อยู่ริมแม่น้ำข้างใต้ท่าช้างวังน่า ได้ยินว่าเดิมเปนที่ทำการแต่งเรือกำปั่นรบของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมหมื่นบริรักษ์มีน่าที่ทรงทำการนั้น จึงประทับอยู่ณที่นั้นแต่เดิมมาจนตลอดพระชนมายุ
๓๑ วังกรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์
เมื่อในรัชกาลที่ ๔ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ประทับอยู่กับกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญที่ "วังใหม่" ถึงรัชกาลที่ ๕ กรมพระราชวังบวร ฯ จึงทรงซื้อที่ริมแม่น้ำข้างใต้ป้อมพระสุเมรุ อันเปนที่บ้านข้าราชการวังน่าอยู่ก่อนสร้างวังประทาน กรมหมื่นสถิตย์ ฯ ประทับอยู่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ แล้วรัฐบาลจึงซื้อ ที่สร้างที่ว่าการกรมตำรวจภูธร
๓๒ วังพระองค์เจ้าโต
วังนี้อยู่ริมถนนจักรพงศตรงน่าวัดชนะสงครามข้าม พระองค์เจ้าโตได้รับมรดกคุณตา จึงสร้างวังอยู่ณที่นั้นจนตลอดพระชนมายุ
๘๗ ๓๓ วังกรมหมื่นวรวัฒนศุภากร วังนี้อยู่ริมถนนเข้าสารฟากใต้ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชทาน กรมหมื่นวรวัฒนศุภากรได้ประทับอยู่ต่อมาตลอดจนพระชนมายุ ๓๔ วังกรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ เดิมกรมหมื่นจรัสพร ฯ ประทับอยู่ที่วังเก่า คือ วังที่ ๑ ริมสนามวังน่า ครั้นเมื่อสร้างถนนราชดำเนิน ที่วังนั้นถูกทำถนน พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานวังใหม่ที่ริมถนนสามเสนฟากตวันตกตรงข้ามกับปากถนนใบพร คือถนนอู่ทองในบัดนี้ กรมหมื่นจรัสพร ฯ ประทับอยู่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ วังสร้างใหม่สำหรับเจ้านายในรัชกาลที่ ๔ วังเจ้านายฝ่ายพระราชวังหลวง ๒๘ วัง วังเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวร ๖ วัง รวม ๓๔ วังด้วยกันดังพรรณามา
ตอนที่ ๖ ว่าด้วยสร้างวังในรัชกาลที่ ๕
ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชวังใหม่ในกรุงเทพ ฯ ๒ แห่ง คือพระราชวังดุสิตแห่ง ๑ พระตำหนักพญาไทแห่ง ๑ สร้างพระราชวังตามหัวเมือง ๖ แห่ง คือ ในเขตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทรงสร้างพระราชวังบางปอินแห่ง ๑ ในเขตรจังหวัดราชบุรี ทรงสร้างพระราชวังที่ริมน้ำทางฝั่งตวันตก ตรงเมืองข้ามแห่ง ๑ พระราชวังบนเขาสัตนาถแห่ง ๑ ในเขตรจังหวัด สมุทปราการ ทรงสร้างพระราชวังจุฑาธุชราชฐานที่เกาะสิชังแห่ง ๑ ในเขตรจังหวัดระนอง สร้างพระราชวังรัตนรังสรรค์แห่ง ๑ ในเขตรจังหวัดเพ็ชร์บุรี ทรงสร้างพระราชวังที่บ้านปืนแห่ง ๑ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญทรงบุรณะวังในกรุงเทพ ฯ แห่ง ๑ ทรงสร้างวังตามหัวเมือง ๑ แห่งจะพรรณาเปนลำดับต่อไป พระราชวังดุสิต ที่พระราชวังดุสิตเมื่อก่อนจะสร้างเปนพระราชวังนั้น เปนที่สวนต่อท้องนาทุ่งสามเสน พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประพาศ ทรงพระราชดำริห์ว่าเปนที่เย็นสบายดี จึงโปรด ฯ ให้ซื้อที่ตอนชายทุ่งแล้วสร้างพลับพลาขึ้น เปนที่เสด็จไปประทับแรมสำราญพระราชอิริยาบถในวันเสาร์วันอาทิตย์ปลายสัปดาหะ พระราชทานนามว่า "สวนดุสิต" ต่อมาเมื่อทรงสร้างถนนหนทางขยาย
๘๙
ชานพระนครกว้างขวางออกไปทั้งทางด้านตวันออกด้านใต้และด้านเหนือที่สวนดุสิตกลายเปนติดต่อกับบริเวณพระนครไปมาได้สดวก จึงทรงสร้างเปนพระราชวังที่เสด็จประทับอยู่เปนนิจ เสด็จเข้ามาประทับที่ในพระบรมมหาราชวังแต่เปนครั้งเปนคราว ตั้งแต่สร้างพระราชวังแล้วพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จประทับอยู่พระราชวังดุสิตจนตลอดรัชกาล ถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ก็เปนที่เสด็จประทับต่อมา
พระตำหนักพญาไท
ที่สร้างพระตำหนักแห่งนี้เดิมเปนที่สวนริมคลองสามเสนต่อกับท้องทุ่งพญาไท เมื่อสร้างพระราชวังดุสิตแล้วตัดถนน "ซังฮี้" ซึ่งบัดนี้เรียกว่าถนน "ราชวิถี" ผ่านไปทางสวนนั้น พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด ฯ ให้ซื้อที่สร้างสวนผักตอน ๑ ทำนาตอน ๑ แล้วสร้างตำหนักสำหรับเสด็จประพาศขึ้นณที่นั้น พระราชทานนามว่า "ตำหนักพญาไท" ถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จออกไปประทับอยู่ที่พระตำหนักพญาไทจนตลอดพระชนมายุ เมื่อสมเด็จพระบรมราชินีพันปีหลวงเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันนี้โปรด ฯ ให้สร้างพระราชมณเทียรสถานเปนที่เสด็จประทับต่อมา
พระราชวังบางปอิน
พระราชวังนี้อยู่ที่เกาะบางปอินในเขตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างเปนพระราชวังที่เสด็จประพาศ แล้ว
๑๒
๙๐ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่นก็ได้เสด็จประพาศต่อมาจนตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี ตั้งแต่เสียกรุงเก่าพระราชวังบางปอินเปนที่ทิ้งร้างมาจนถึงรัชกาลที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรด ฯ ให้สร้างเปนที่เสด็จประพาศอิก แต่สิ่งซึ่งสร้างครั้งพระเจ้าปราสาททองปรักหักพังหมดเหลือแต่สระกว้างเส้น ๑ ยาว ๑๐ เส้นสิ่งซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๔ มีแต่พระที่นั่ง (อยู่ตรงพระที่นั่ง วโรภาศพิมานบัดนี้) หลัง ๑ พระราชทานนามตามปราสาทของเดิมซึ่งพระเจ้าปราสาททองทรงสร้าง ว่าพระที่นั่งไอสวรรย์ทิพอาสน์ กับตำหนักข้างในอยู่ข้างเหนือหลัง ๑ กับพลับพลาโถงที่เกาะนอกสำหรับเสด็จประพาศไร่แตงหลัง ๑ พระราชวังที่ปรากฎอยู่บัดนี้เปนของพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างใหม่ทั้งนั้น ด้วยโปรดพระราชวังนี้ เสด็จไปประพาศเสมอมิได้ขาดจนตลอดรัชกาล มาถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ก็ยังเปนที่เสด็จประพาศต่อมา
พระราชวังเมืองราชบุรี การสร้างพระราชวังที่เมืองราชบุรี เกิดแต่รัฐบาลประสงค์จะทนุบำรุงหัวเมืองทางฝ่ายตวันตกให้เจริญขึ้น ได้ขุดคลองภาษีเจริญเมื่อปลายรัชกาลที่ ๔ แลขุดคลองดำเนินสดวกต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ทางไปมาค้าขายในระหว่างเมืองราชบุรีกับกรุงเทพ ฯ สดวกขึ้น สมเด็จเจ้า พระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งเปนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอยู่ในสมัยนั้น ได้ไปยังเมืองราชบุรีเนือง ๆ เห็นว่าควรเปนที่เสด็จประพาศอิก
๙๑
แห่ง ๑ ด้วยเปนที่สบายและไปมาถึงกรุงเทพ ฯ สดวกกว่าที่ประพาศเมืองเพ็ชร์บุรีในรัชกาลที่ ๔ จึงได้โปรด ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยา ฯ กับเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี ซึ่งได้เคยอำนวยการสร้างพระนครคิรีที่เมืองเพ็ชร์บุรีมาด้วยกัน สร้างพระราชวังที่เมืองราชบุรี
พระราชวังริมน้ำที่เมืองราชบุรี วังนี้สร้างตรงที่พลับพลาเดิม อยู่ทางฝั่งตวันตกตรงเมืองราชบุรีข้าม ได้ก่อกำแพงล้อมรอบและสร้างพระที่นั่งเปนตึกหลังใหญ่อยู่กลางหลัง ๑ การค้างอยู่ ทีหลังโปรด ฯ ให้ใช้เปนโรงทหารอยู่ระยะ ๑ ครั้นย้ายโรงทหารไปที่อื่น พระราชทานให้เปนที่สร้างโรงตำรวจภูธร ได้ตั้งโรงตำรวจภูธรอยู่ณที่นั้นจนบัดนี้
พระราชวังบนเขาสัตนาถ พระราชวังนี้สร้างบนยอดเขาขนาดย่อมลูกหนึ่ง อยู่ทางฝั่งตวันตก ห่างลำน้ำขึ้นไประยะทาง ๘๐ เส้น ทำถนนรถและวางรางเหล็ก สำหรับรถขนของตั้งแต่วังริมน้ำขึ้นไปจนถึงเขาสัตนาถ และมีตำหนักสร้างบนยอดเขามอ พ้นเขาสัตนาถไปอิก ๒ ลูก สำหรับเปนที่ประทับของเจ้านายที่ไปตามเสด็จ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไประทับที่พระราชวังเขาสัตนาถ และเคยเสด็จออกรับแขกเมืองราชทูตโปรตุเกศเฝ้าณที่นั้น แต่ได้เสด็จไปประทับเพียงคราวเดียว แล้วก็ทิ้งร้างมาจนบัดนี้
๙๒
พระราชวังจุฑาธุชราชฐาน
พระราชวังนี้อยู่ที่เกาะศรีชังในทเลอ่าวสยาม เขตร์จังหวัดสมุทปราการ เกาะศรีชังนี้เปนที่เสด็จประพาศมาแต่ในรัชกาลที่ ๔ เพราะเปนระยะที่พักทอดเรือพระที่นั่งในเวลาเสด็จประพาศทเล มาถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อยังมิได้สร้างทางรถไฟ แพทย์มักจะแนะนำให้คนไข้ไปพักรักษาตัวหาอากาศทเลบำรุงกำลังที่เกาะศรีชัง ด้วยการไปมาสดวกกว่าที่ชายทเลทางอื่น ๆ ในสมัยนั้น แม้สมเด็จพระบรมราชินีนาถและสม เด็จพระเจ้าลูกยาเธอเวลาประชวรก็เสด็จประทับรักษาพระองค์ที่เกาะศรีชังเนือง ๆ เพราะเหตุนี้พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรด ฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นที่เกาะศรีชัง สร้างเปนตำหนักเครื่องไม้เปนพื้น แต่ต่อมามีเรือพระที่นั่งมหาจักรี (ลำเก่า) แล้ว มักเสด็จประพาศหัวเมืองทางแหลมมลายู หาใคร่จะได้เสด็จประทับที่เกาะศรีชังไม่ ครั้นมีทางรถไฟการไปมาทางอื่นสดวกขึ้น และที่สุดทรงสร้างพระราชวังดุสิตแล้ว จึงโปรด ฯ ให้รื้อพระที่นั่งองค์ใหญ่ที่เกาะศรีชังที่ปลูกค้างอยู่ มาสร้างเปนพระที่นั่งวิมานเมฆที่สวนดุสิต แต่นั้นก็เปนอันเลิกพระราชวังที่เกาะศรีชัง
พระราชวังรัตนรังสรรค์ พระราชวังแห่งนี้อยู่ในเมืองระนอง เรื่องตำนานพระราชวังรัตนรังสรรค์เนื่องด้วยเรื่องตำนานเมืองระนอง เดิมเมืองระนองเปนแต่เมืองขึ้นของเมืองชุมพร (อย่างอำเภอทุกวันนี้) เมื่อในชั้นรัชกาลที่ ๓ จีนคอซูเจียง ซึ่งตั้งค้าขายอยู่ในเมืองตะกั่วป่า ไปพบแร่ดีบุกที่เมือง
๙๓ ระนอง จึงขออนุญาตไปทำเหมืองแร่ดีบุกในที่นั้น การทำแร่มีผลเจริญขึ้น จีนคอซูเจียงก็ไปตั้งบ้านเรือนเปนหลักแหล่งอยู่ณเมืองระนอง ต่อมาได้รับประทวนครั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ เมื่อยังเปนเจ้าพระยาพระคลังที่สมุหพระกลาโหม ตั้งให้เปนหลวงรัตนเศรษฐีตำแหน่งผู้รักษาเมืองระนอง (เท่ากับนายอำเภอทุกวันนี้) เมื่อตอนปลายรัชกาลที่ ๓ จนถึงรัชกาลที่ ๔ หลวงรัตนเศรษฐีทนุบำรุงเมืองระนองเจริญขึ้นโดยลำดับ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์เห็นว่ามีบำเหน็จความชอบ อิกประการ ๑ ทรงพระราชดำริห์ว่าเมืองระนองอยู่ต่อแดนอังกฤษ จึงโปรด ฯ ให้ยกเมืองระนองเปนเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ฯ และเลื่อนบันดาศักดิหลวงรัตนเศรษ ฐี (คอซูเจียง) ขึ้นเปนพระ ต่อมาถึงตอนปลายรัชกาลพระราชทานสัญญาบัตร์เลื่อนขึ้นเปนพระยารัตนเศรษฐี มาถึงรัชกาลที่ ๕ พระยารัตนเศรษฐี (คอซูเจียง) แก่ชรา ขอพระราชทานพระบรมราชา นุญาตออกจากตำแหน่งน่าที่ผู้ว่าราชการเมืองระนอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนบันดาศักดิ์เปนพระยาดำรงสุจริต มหิศรภักดี ตำแหน่งจางวางกำกับราชการเมืองระนอง และทรงตั้งพระศรีโลหภูมิพิทักษ์ (คอซิมก๊อง) บุตรพระยาดำรงสุจริต ฯ เปนพระยารัตนเศรษ ฐีผู้ว่าราชการเมืองระนองต่อมา ถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาศหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตวันตก เปนครั้งแรกที่จะได้เสด็จไปถึงเมืองระนอง พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) สร้างที่ประทับ
๙๔ รับเสด็จที่บนเนินควนอันอยู่กลางเมือง สร้างล้วนด้วยเครื่องก่อประกอบกับไม้แก่นอย่างมั่นคง ประสงค์จะถวายเปนราชพลีสนองพระเดชพระคุณ ซึ่ง ได้ทรงชุบเลี้ยงสกุลวงศ์มา พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตร์เห็นดำรัสว่า ทำงดงามมั่นคงสมควรจะเปนวังยิ่งกว่าจะเปนพลับพลา จึงพระราชทานนามว่า "พระราชวังรัตนรังสรรค์" ให้เปนเกียรติยศแก่เมืองระนองและสกุลของพระยารัตนเศรษฐีด้วย แต่ทรงพระราชดำริห์ว่าที่เมืองระนองนาน ๆ จะเสด็จประพาศครั้งหนึ่ง วังทิ้งไว้เปล่าก็จะชำรุดซุดโซมเสีย จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ว่าโดยปรกติให้ใช้พระราชวังนั้นเปนศาลารัฐบาล และทำการพิธีสำหรับบ้านเมือง ต่อมีการเสด็จประพาศเมื่อใดจึงให้จัดเปนที่ประทับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันนี้ได้เสด็จไปประทับที่พระราชวังรัตนรังสรรค์ เมื่อยังดำรงพระยศเปนสมเด็จพระยุพราชครั้ง ๑ ถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ก็ได้เสด็จไปประ ทับอิกครั้ง ๑ พระราชวังบ้านปืน พระราชวังนี้อยู่ที่เมืองเพ็ชร์บุรี สร้างในตอนปลายรัชกาลที่ ๕ เหตุด้วยพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จอยู่ในกรุงเทพ ฯ ถึงฤดูฝนชุกในเดือนกันยายนมักประชวร ได้ลองเสด็จ ฯ แปรสถานไปประทับตามหัวเมือง ทรงสำราญที่เมืองเพ็ชร์บุรีจึงโปรด ฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นที่ตำบลบ้านปืน ริมลำน้ำฝั่งตวันตกทางใต้เมืองเพ็ชร์บุรีเพราะพระนครคิรีซึ่งสร้างไว้แต่รัชกาลที่ ๔ อยู่บนยอดเขาไม่เหมาะแก่
๙๕ การที่จะเสด็จไปประทับในฤดูฝน แต่การสร้างพระราชวังที่บ้านปืนเมื่อรัชกาลที่ ๕ สำหรับเพียงทำถนนหนทางและปลูกพระตำหนักเครื่องไม้เปนที่ประทับชั่วคราว ส่วนพระราชมณเฑียรนั้นค้างอยู่ มาสร้างสำเร็จได้เสด็จประทับในรัชกาลปัจจุบันนี้ และพระราชทานนามว่า "พระรามราชนิเวศน์" สืบมา กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญได้ทรงสร้างวัง ๔ แห่ง คือบุรณะ "วังใหม่" ข้างเหนือพระราชวังบวร ฯ ที่ได้พรรณามาในเรื่องวังครั้งรัชกาลที่ ๔ นั้นแห่ง ๑ สร้างตำหนักเปนที่ประทับที่ริมป้อมเสือซ่อนเล็บ แขวงจังหวัดสมุทปราการ เมื่อทรงอำนวยการบุรณะป้อมนั้นแห่ง ๑ สร้างตำหนักที่ประพาศณที่นาวังน่า ที่ตำบลบางนาแขวงจังหวัดพระประแดงแห่ง ๑ ที่ตำบลบางยี่โท แขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแห่ง ๑ ตำหนักที่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญทรงสร้างตามหัวเมืองล้วนเปนเครื่องไม้ทุกแห่ง ทุกวันนี้หามีแห่งใดเหลืออยู่ไม่ วังเจ้านาย วังเจ้านายสร้างในรัชกาลที่ ๕ มีมาก เพราะเมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระเจ้าน้องยาเธอยังไม่ได้ออกวังทั้งนั้น ที่มีวังเตรียมไว้แล้วก็มี ที่ยังทรงพระเยาว์ไม่มีที่วังก็หลายพระองค์ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดสร้างวังพระราชทานทุกพระองค์ ส่วนวังพระเจ้าน้องยาเธอได้พรรณาเปนรายวังมาในตอนว่าด้วยวังพระเจ้าลูกยาเธอรัชกาลที่ ๔ แล้วแต่ยังมีวังสร้างใหม่สำหรับเจ้านายชั้นอื่นอิก คือเมื่อสร้างพระราชอุทยาน
๙๖ สราญรมย์ เขตร์พระราชอุทยานถูกที่วังซึ่งสร้างครั้งรัชกาลที่ ๑ ที่ริมสนามชัยทั้ง ๓ วัง ในขณะนั้นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ วรการประทับอยู่วังเหนือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทร บดินทรประทับอยู่วังกลาง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพประทับอยู่วังใต้ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสร้างวังใหม่พระราชทานแทนวังเดิมทั้ง ๓ พระองค์ แต่กรมขุนวรจักร์ ฯ สมัครจะทรงสร้างวังโดยลำภังพระองค์ ไปทรงซื้อที่สวนที่ริมถนนเจริญกรุง ตอนนอกพระนครสร้างวังใหม่ (ที่ริมถนนวรจักร์บัดนี้) จึงคงต้องสร้างวังพระราชทานแต่ ๒ แห่ง โปรด ฯ ให้จัดที่สวน (ครั้งรัชกาลที่ ๓) ที่ริมคลอง (ตลาด) คูเมืองเดิมฟากตวันตก ตั้งแต่เชิงสพานหัวจรเข้ไปทางใต้สร้างเปนวัง ๑ วังสวนหลวง วังเหนือ เปนวังกรมหมื่นอมเรนทรบดินทร เสด็จประทับอยู่จนตลอดพระชนมายุ ๒ วังสวนหลวง วังใต้ เปนวังพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ประทับอยู่จนตลอดพระชนมายุ เมื่อวังทั้ง ๒ นี้ว่าง จึงโปรด ฯ ให้สร้างสถานที่ว่าการกระทรวงเกษตราธิการในที่นั้นต่อมา. การสร้างวังสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกยาเธอ ฯ ในรัชกาลที่ ๕ ผิดกับรัชกาลก่อน ๆ ด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกยาเธอเสด็จไปศึกษาวิชาการณประเทศยุโรปอยู่หลาย ๆ ปีแทบทุก
๙๗ พระองค์ การสร้างวังโปรด ฯ ให้รอไว้ลงมือสร้างต่อเมื่อเสด็จกลับด้วยพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะให้เจ้าของวังทรงเลือกแบบอย่างตามพอพระหฤทัย ไม่สร้างเปนวังแบบเดียวกันอย่างรัชกาลก่อน ๆ เพราะฉนั้นวังสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ จึงได้สร้างต่อตอนปลายรัชกาลโดยมาก ที่ยังไม่ทันสร้างก็มี อิกประการ ๑ ในรัชกาลที่ ๕ พระนครมั่งคั่ง็ สมบูรณ์ขึ้นกว่าแต่ก่อน ที่ในพระนครบ้านเรือนยัดเยียดหนาแน่น จึงโปรด ฯ ให้ทำถนนขยายเขตร์พระนครให้กว้างขวางออกไปทั้งทางด้านเหนือด้านตวันออกและด้านใต้ ทรงพระราชดำริห์ว่าที่ชานพระนครอยู่เปนผาสุกกว่าในพระนคร วังสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ จึงสร้างที่ชานพระนครทั้งนั้น จะพรรณาต่อไป. ๑ วังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เดิมสร้างวังใหม่ที่ทุ่งประทุมวัน "เรียกกันว่าวังกลางทุ่ง" ต่อมามีพระราชประสงค์จะใคร่ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ เสด็จประทับอยู่ใกล้พระองค์ในเวลาทรงศึกษาราชการแผ่นดิน เหมือนอย่างเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยโปรด ฯ ให้พระองค์เสด็จประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังเมื่อรัชกาลก่อน จึงโปรด ฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นที่โรงแสงเก่า (คือ พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญบัดนี้) แต่สร้างยังไม่ทันแล้วเสร็จ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สวรรคตเสียก่อน จึงหาได้ประทับไม่ ๑๓
๙๘ ๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันนี้ เดิมกะจะสร้างวังที่ริมแม่น้ำน่าวัดราชบุรณะ ครั้นเมื่อเสด็จไปศึกษาวิชาการอยู่ณประเทศยุโรป ทรงเฉลิมพระเกียรติยศเปนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อเสด็จกลับมาจึงโปรด ฯ ให้ประทับที่พระราชวังสราญรมย์ แล้วโปรด ฯ ให้สร้างพระตำหนักสวนจิตรลดา (คือพระตำหนักหลังเหนืออันรวมอยู่ในบริเวณสวนปารุสกวันบัดนี้) พระราชทานเปนที่ประทับที่สวนดุสิตอิกแห่ง ๑ ต่อมาได้โปรด ฯ ให้สร้างวังจันทร์ที่ริมถนนเบ็ญมาศ (คือถนนราชดำเนินนอกบัดนี้) ตอนต่อกับถนนลูกหลวงเชิงสพานมัฆวานรังสรรค์ เปนที่ประทับสำหรับพระเกียรติยศ แต่สร้างยังไม่ทันแล้วสิ้นรัชกาลที่ ๕ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ หาได้ประทับที่วังจันทร์ไม่ ๓ วังสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต สร้างวังใหม่พระราชทานที่ริมแม่น้ำตำบลบางขุนพรหม จึงเรียกกันว่า "วังบางขุนพรหม" เสด็จประทับอยู่ณบัดนี้ ๔ วังสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เดิมกะจะสร้างวังที่ริมแม่น้ำ ตรงถนนจักรเพ็ชร์ ตอนน่าวัดราชบุรณะ ครั้นเมื่อเสด็จกลับจากยุโรป โปรด ฯ ให้สร้างพระตำหนักปารุสกวัน (คือพระตำหนักหลังใต้) พระราชทานเปนที่ประทับในสวนดุสิตมาจนตลอดรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ ทรงสมัคจะประทับอยู่
๙๙ ที่พระตำหนักปารุสกวันต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรด ฯ พระราชทาน พระราชตำหนักจิตรลดาเดิมให้รวมเปนบริเวณเดียวกับสวนปารุสกวัน ให้สมเด็จพระอนุชาธิราช ฯ เสด็จประทับต่อมาจนตลอดพระชนมายุ. ๕ วังสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสิมา เดิมกะที่วังที่ริมแม่น้ำตอนใต้ปากคลอง (ตลาด) คูเมืองเดิมครั้นเสด็จกลับจากทรงศึกษาในยุโรป พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะให้ทรงศึกษาราชการอยู่ใกล้พระองค์ จึงโปรด ฯ ให้สร้างพระตำหนักพักชั่วคราวพระราชทานที่สวนดุสิต ตรงริมถนนใบพร ( คือถนนอู่ทองบัดนี้) พระราชทานนามที่บริเวณตำหนักนั้นว่า "สวนกุหลาบ" เสด็จอยู่มาจนตลอดรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ขยายเขตร์ที่สวนกุหลาบกว้างขวางกว่าแต่ก่อน และสร้างพระตำหนักกับท้องพระโรงเปนเครื่องถาวรพระราชทานเสด็จประทับอยู่จนทุกวันนี้ . ๖ วังสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชทานที่วังริมถนนประทุมวัน (คือ ถนนพระราม ๑ บัดนี้) ข้างฟากเหนือจนตกคลองแสนแสบ ยังกำลังทรงศึกษาณประเทศยุโรปจึงไม่ได้สร้างพระตำหนักจนตลอดรัชกาลที่ ๕ ๗ วังสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชร์บูรณ์อินทราไชย เดิมกะที่จะสร้างวังริมแม่น้ำระหว่างวังสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กับวังสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสิมา
๑๐๐ ครั้นเสด็จกลับจากทรงศึกษาในประเทศยุโรปในรัชกาลปัจจุบันนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่พระราชวังประทุมวันครั้งรัชกาลที่ ๔ ให้สร้างวังเสด็จประทับอยู่ในบัดนี้. ๘ วังสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เดิมกะที่วังที่ริมถนนอัษฎางค์ในพระนคร ตอนต่อกับถนนจักรเพ็ชร์ คือตรงที่ซึ่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้เจ้าอยู่หัวได้ทรงกะว่าจะสร้างวังพระราชทานพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่เดิม และได้โปรด ฯ ให้พระยาพิชัยสงคราม (อ่ำ) อยู่เมื่อในรัชกาลที่ ๕ นั้น ครั้นเสด็จกลับมาจากทรงศึกษาในยุโรปในรัชกาลปัจจุบันนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่ให้สร้างวังที่ริมถนนสามเสนฟากตวันตก ตอนริมคลองสามเสน ใช้นามวังว่า "วังสุโขทัย" เสด็จประทับอยู่ในบัดนี้. ๙ วังสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ สร้างวังใหม่พระราชทานที่ริมถนนลูกหลวงต่อถนนดวงดาว (คือ ถนนนครราชสิมาใต้บัดนี้) เสด็จประทับมาแต่รัชกาลที่ ๕ จนบัดนี้. ๑๐ วังกรมพระจันทบุรีนฤนาถ สร้างวังใหม่พระราชทานที่ริมแม่น้ำ ใต้ปากคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งออกแม่น้ำข้างเหนือ เสด็จประทับมาแต่รัชกาลที่ ๕ จนบัดนี้. ๑๑ วังกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สร้างวังใหม่พระราชทานที่ริมถนนสามเสนฟากตวันตก ริม สพานเทเวศรนฤมิตร์ เสด็จประทับอยู่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ.
๑๐๑ ๑๒ วังกรมหลวงปราจิณกิติบดี สร้างวังใหม่พระราชทานที่ริมถนนลูกหลวงต่อกับถนนสามเสนฟาก ตวันออกที่เชิงสพานเทเวศรนฤมิตร์ เสด็จประทับที่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ. ๑๓ วังกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช สร้างวังใหม่พระราชทานที่ริมถนนกรุงเกษม ต่อคลองมหานาคฟากเหนือ เสด็จประทับที่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ. ๑๔ วังกรมหลวงชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์ สร้างวังใหม่พระราชทานที่ริมถนนลูกหลวง ตอนต่อปากคลองเปรมประชากรฟากใต้ เสด็จประทับมาแต่รัชกาลที่ ๕ จนบัดนี้. ๑๕ วังกรมหลวงกำแพงเพ็ชร์อัครโยธิน สร้างวังใหม่พระราชทานที่ริมถนนหลวงฟากเหนือตอนต่อถนน บริพัตร์ เสด็จประทับมาแต่รัชกาลที่ ๕ จนบัดนี้. ๑๖ วังกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม เดิมได้พระราชทานที่สร้างวังที่ริมถนนกรุงเกษม ตอนต่อถนนหลานหลวงฟากเหนือ ตรงที่เปนบ้านเจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์และบ้านพระยาสุริยานุวัตร์อยู่บัดนี้, แต่กรมหมื่นพิชัย ฯ ทรงสมัคจะสร้างวังที่บ้านเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เจ้าคุณตา ซึ่งได้ทรงรับมรดก พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับซื้อที่ ๆ ได้พระราชทานนั้นและสร้างพระตำหนักพระราชทานที่วังใหม่ อยู่ริมแม่น้ำข้างใต้ตลาดท่าเตียน กรมหมื่นพิชัย ฯ ประทับอยู่ที่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ.
๑๐๒ ๑๗ วังกรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร สร้างวังใหม่พระราชทานที่ริมถนนกรุงเกษม ตอนต่อกับถนนหลานหลวงฟากใต้ เสด็จประทับมาแต่รัชกาลที่ ๕ จนบัดนี้.
๑๘ วังกรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี สร้างวังใหม่พระราชทานที่ริมถนนพายัพ (คือถนนนครไชยศรีบัดนี้) ข้างฟากใต้ ต่อกับที่ซึ่งพระราชทาน เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำ เสด็จประทับอยู่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ
๑๙ วังกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาศ สร้างวังใหม่พระราชทานที่ริมถนนลูกหลวง ตอนต่อถนนนคร สวรรค์ฟากใต้ เสด็จประทับที่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ
๒๐ วังกรมขุนชัยนาทนเรนทร ได้พระราชทานที่สร้างวังที่ริมถนนหลวงฟากใต้ ตอนตรงกับวัดเทพศิรินทราวาส ส่วนตำหนักนั้น เมื่อเสด็จกลับจากทรงศึกษา ณประเทศยุโรปในรัชกาลปัจจุบันนี้ สร้างเปนตำหนักพักชั่วคราว ยังไม่ได้สร้างตำหนักเครื่องถาวร อนึ่ง เมื่อพระราชทานที่พระราชวังเดิมให้เปนโรงเรียนนายเรือในรัชกาลที่ ๕ พระองค์เจ้าและหม่อมเจ้าในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศจะต้องย้ายจากวังนั้น พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวังพระราช
๑๐๓
ทานวัง ๖ วัง วังเหล่านี้หันน่าออกถนนหลวง ๓ วัง หันน่าออกถนนดำรงรักษ์ ๓ วัง หลังวังติดกัน
วังที่ ๑ ทางถนนดำรงรักษ์ ฝ่ายตวันออก พระราชทานกรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์
วังที่ ๒ ทางถนนดำรงรักษ์ อยู่กลาง พระราชทานหม่อมเจ้าดนัยวรนุชอยู่ที่วังนี้จนสิ้นชีพตักษัย
วังที่ ๓ ทางถนนดำรงรักษ์ ฝ่ายตวันตก พระราชหม่อมเจ้าปิยบุตรอยู่ที่วังนี้จนสิ้นชีพตักษัย
วังที่ ๑ ทางถนนหลานหลวง ฝ่ายตวันออก พระราชทานกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์
วังที่ ๒ ทางถนนหลานหลวง อยู่กลาง พระราชทานหม่อมเจ้าดรุณวัยวัฒน
วังที่ ๓ ทางถนนหลานหลวง ฝ่ายตวันตก พระราชทานหม่อมเจ้าทศสิริวงศ์
พระองค์เจ้าในกรมพระราชวังบวรรัชกาลที่ ๕ ได้ออกวัง ๑๐ พระองค์ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญประทานวังเก่าบ้าง เมื่อกรมพระราชวังบวร ฯ ทิวงคตยังไม่ทันได้ประทานวังเก่าบ้าง จะกล่าวเปนรายพระองค์ต่อไป
๑ พระองค์เจ้าวิลัยวรวิลาศ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญประทาน "วังใหม่" ครึ่งหนึ่ง คือวังเดิมของกรมพระราชวัง ฯ ที่ริมคลองคูเมืองเดิมฟากเหนือ ประทานพระองค์เจ้าวิลัยวรวิลาศ ตอน
๑๐๔ ทางตวันออก ประทับอยู่ที่วังนี้จนจัดซื้อสร้างโรงพยาบาลทหารในรัชกาลที่ ๕ ๒ กรมหมื่นชาญชัยบวรยศ เดิมกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญประทานวังสพานเสี้ยว วังที่ ๑ (คือที่พระองค์เจ้านุชประทับอยู่แต่ก่อน) ต่อมาเมื่อพระองค์เจ้านันทวันสิ้นพระชนม์ หม่อมเจ้าในกรมหมื่นบริรักษ์นรินทร์ฤทธิ์ กับหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้านันทวันตกลงแลกวังกับกรมหมื่นชาญชัย ฯ กรมหมื่นชาญชัย ฯ ย้ายมาประทับที่วังสนามวังน่าวังที่ ๒ จนเมื่อจะต้องการที่ทำถนนราชดำเนิน พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานวังใหม่ที่ริมถนนสามเสนฟากตวันตกตอนใกล้กับถนนซังฮี้ (คือถนนราชวิถีบัดนี้) กรมหมื่นชาญชัย ฯ ประทับอยู่ที่วังนี้มาจนตลอดพระชนมายุ ๓ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่วังที่บ้านลาว หลังวังบูรพาภิรมย์ ๔, พระองค์เจ้าสุทัศน์นิภาธร พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานบ้านพันเงินซึ่งตกเปนที่หลวง อยู่ใกล้วัดราชสิทธารามแขวงจังหวัดธนบุรีเปนที่วัง ประทับอยู่ที่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ ๕ พระองค์เจ้าโอภาสไพศาล อยู่วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสรสิ้นพระชนม์เสียก่อนได้พระราชทานที่วัง ๖ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี อยู่บ้านพระยาภักดีภูบาล ซึ่งเปนคุณตาที่ตรอกถนนบ้านตะนาว
๑๐๕ ๗ พระองค์เจ้าวิบูลย์พรรณรังษี อยู่บ้านพระยาจำนงสรไกรซึ่งเปนคุณตา ที่ริมแม่น้ำใต้ตำหนักแพวังน่า จนตลอดพระชนมายุ ๘ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่วังที่ริมคลองบางกอกใหญ่ฟากใต้ ณตำบลบ้านมอญ ในแขวงจังหวัดธนบุรี ๙ พระองค์เจ้าชัยรัตนวโรภาศ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญประทาน "วังใหม่" ครึ่งหนึ่ง ตอนออกถนนพระอาทิตย์ ประทับอยู่ที่วังนี้จนตลอดพระชนมายุ ๑๐ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ อยู่บ้านพระยาทิพมณเฑียร ซึ่ง เปนคุณตาที่ริมถนนเฟื่องนคร ตอนตกคลองหลอดฟากใต้ จนตลอดพระชนมายุ เรื่องวังที่สร้างในรัชกาลที่ ๕ สิ้นความเพียงเท่านี้
๑๐๖
สารบานวังเก่าตามรายพระนามเจ้านาย
ในรัชกาลที่ ๑ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท น่า ๑,๑๐,๑๔ กรมพระราชวังหลัง น่า ๑,๑๑ เจ้าฟ้า กรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธเลิศหล้า นภาลัย) น่า ๑,๒๐,๒๑ เจ้าฟ้า กรมหลวงเสนานุรักษ์ (พระบัณฑูรน้อย) น่า ๒๐ เจ้าฟ้า กรมหลวงจักรเจษฎา น่า ๑,๑๔ เจ้าฟ้า กรมหลวงธิเบศรบดินทร น่า๑,๒๑ เจ้าฟ้า กรมหลวงนรินทรรณเรศร น่า ๑,๑๘ เจ้าฟ้า กรมหลวงเทพหริรักษ์ น่า ๒,๑๕ เจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษมนตรี น่า ๒๑,๒๓ เจ้าฟ้า กรมขุนอิศรานุรักษ์ น่า ๑๙,๒๓ เจ้าฟ้า กรมขุนกระษัตรานุชิต น่า ๒๔ พระองค์เจ้ากล้าย น่า ๒๙ กรมหมื่นอินทรพิพิธ น่า ๒๙ กรมหลวงเทพพลภักดิ์ น่า ๒๖ กรมหมื่นศักดิ์พลเสพ (กรมพระราชวังบวร ฯ ในรัชกาลที่ ๓) น่า ๒๕ กรมหมื่นจิตรภักดี น่า ๒๗ กรมหมื่นศรีสุเรนทร น่า ๒๘ กรมพระอิศเรศร น่า ๒๗ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงผนวชแต่ยังไม่ออกวัง ๑๐๗ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ น่า ๒๓ กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์ น่า ๓๐ กรมหลวงรักษรณเรศร น่า ๓๐ กรมหมื่นศรีสุเทพ น่า ๒๘ กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ น่า ๓๐ กรมหมื่นไกรสรวิชิต น่า ๒๙ ในกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๑ พระองค์เจ้าลำดวน น่า ๓๑ พระองค์เจ้าอินทปัต น่า ๓๒ พระองค์เจ้าก้อนแก้ว น่า ๓๓ พระองค์เจ้าช้าง น่า ๓๒ กรมหมื่นเสนีเทพ น่า ๓๑ พระองค์เจ้ามั่ง น่า ๓๓ พระองค์เจ้าสิงหราช สืบไม่ได้ความ กรมขุนนรานุชิต น่า ๓๒ พระองค์เจ้าบัว น่า ๓๒ พระองค์เจ้าสุก สืบไม่ได้ความ พระองค์เจ้าเพ็ชร์หึง สืบไม่ได้ความ พระองค์เจ้านพเก้า น่า ๓๓ พระองค์เจ้าเณร สืบไม่ได้ความ
๑๐๘
ในกรมพระราชวังหลัง
กรมหมื่นนราเทเวศร น่า ๑๓
กรมหมื่นนเรศรโยธี น่า ๑๓
กรมหลวงเสนีบริรักษ์ น่า ๑๓
พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ น่า ๑๓
เจ้านายนอกพระราชวงศ์
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ น่า ๒,๑๕
พระองค์เจ้าขุนเณร น่า ๒,๑๙
กรมขุนสุนทรภูเบศร น่า ๒,๑๗
ในรัชกาลที่ ๒
พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว น่า ๒๔,๓๗
กรมหมื่นสุนทรธิบดี น่า ๓๗,๔๑
กรมหมื่นเสพสุนทร น่า ๓๗,๔๑
สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร น่า ๒๗,๔๑,๔๒,๖๐
กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร น่า ๓๗,๓๙
กรมพระพิทักษ์เทเวศร น่า ๓๗,๔๐
พระองค์เจ้าเรณู น่า ๓๗,๔๑
พระองค์เจ้าอำไพ น่า ๓๗
พระองค์เจ้าเนียม น่า ๓๗,๓๘
พระองค์เจ้าขัติยวงศ น่า ๓๗
กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ น่า ๓๗,๓๙
๑๐๙ กรมหมื่นสนิทนเรนทร น่า ๓๗,๓๘ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ น่า ๒๘,๓๘ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว น่า ๒๑,๓๘,๖๒,๖๓,๖๔, ๖๕,๖๖,๖๗,๖๘,๖๙,๙๐ กรมพระเทเวศรวัชรินทร น่า ๔๒,๔๔ กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา น่า ๓๘,๔๒ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท น่า ๒๒,๔๐,๔๒,๔๓ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว น่า ๒๑,๔๓,๖๒,๖๙ กรมขุนสถิตย์สถาพร น่า ๒๗,๔๓ กรมหมื่นถาวรวรยศ น่า ๔๑,๔๓ กรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา น่า ๒๗,๔๓ กรมหลวงวรศักดาพิศาล น่า ๔๓,๔๕ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ น่า ๔๓,๔๕,๕๙ เจ้าฟ้าอาภรณ์ น่า ๒๕,๒๖,๔๓ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ น่า ๓๐,๓๑,๔๓,๔๖ พระองค์เจ้าเกยูร น่า ๔๔,๔๕ สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ น่า ๒๕,๒๖,๔๔ เจ้าฟ้าปิ๋ว น่า ๔๔ ในกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ กรมขุนธิเบศรบวร น่า ๒๐,๔๖ กรมหมื่นอมรมนตรี น่า ๔๖
๑๑๐ กรมหมื่นกระษัตริย์ศรีศักดีเดช น่า ๔๖,๔๗ พระองค์เจ้าภุมริน น่า ๔๗ กรมหมื่นอมเรศรรัศมี น่า ๔๘ พระองค์เจ้าเสือ น่า ๔๘ พระองค์เจ้าใย น่า ๔๘ พระองค์เจ้ากระต่าย น่า ๔๙ พระองค์เจ้าทับทิม น่า ๔๘ สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ น่า ๔๙ พระองค์เจ้าชุมแสง น่า ๒๘,๔๙ พระองค์เจ้าสาททิพากร น่า ๔๙,๕๐ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ น่า ๒๐,๔๙,๕๐ พระองค์เจ้าศรีสังข์ น่า ๔๘,๔๙ พระองค์เจ้ารัชนีกร น่า ๔๙,๕๑ พระองค์เจ้าทัดทรง น่า ๔๙ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ น่า ๔๙,๕๐ พระองค์เจ้าสุดวอน น่า ๔๙,๕๑ ในรัชกาลที่ ๓ สมเด็จ ฯ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ น่า ๕๒,๕๔,๕๖ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ น่า ๒๔,๕๒ กรมหมื่นเชษฐาธิเบน น่า ๕๒,๕๓ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร น่า ๓๐,๕๒,๕๓,๙๖
๑๑๑ พระองค์เจ้างอนรถ น่า ๕๒,๕๓ กรมหมื่นภูมินทรภักดี น่า ๕๒,๕๔ กรมขุนราชสีหวิกรม น่า ๒๕,๕๕ พระองค์เจ้าเปียก น่า ๕๓,๕๕ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ น่า ๒๕,๕๕,๕๖ กรมหมื่นอุดมรัตนรังษี น่า ๕๔,๕๕,๕๖ พระองค์เจ้าลำยอง น่า ๕๓, ๕๕ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ น่า ๕๕,๕๖ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย น่า ๕๖ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล น่า ๕๗ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ น่า ๕๔,๕๗,๕๘ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ น่า ๕๗ พระองค์เจ้าจินดา น่า ๕๗,๕๘ ในกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๓ พระองค์เจ้าสว่าง น่า ๓๙,๖๐ พระองค์เจ้ากำภู น่า ๓๓,๖๐ พระองค์เจ้าอุทัย น่า ๓๙,๖๐ กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ์ น่า ๖๐,๖๑ เจ้าฟ้าอิศราพงศ น่า ๑๗,๖๐ พระองค์เจ้านุช น่า ๔๗, ๖๐ พระองค์เจ้าแฉ่ง น่า ๓๙, ๖๐ พระองค์เจ้าเริงคนอง น่า ๓๑, ๖๐ พระองค์เจ้าอินทวงศ น่า ๖๑ ๑๑๒ ในรัชกาลที่ 4 กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ น่า ๗๒ กรมหมื่นวิษณุนารถนิภาธร น่า ๗๓ พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว น่า ๖๔,๖๖,๖๗,๖๘, ๖๙,๗๓,๗๔,๘๘,๘๙,๙๐,๙๑,๙๒,๙๓,๙๔ พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ น่า ๗๔ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ น่า ๗๔,๗๗ กรมหลวงพิชิตปรีชากร น่า ๗๔,๗๗ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช น่า ๕๓,๗๔,๗๗,๗๘ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ น่า ๓๘,๗๔,๗๘ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม น่า ๕๗,๖๑,๗๔ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ น่า ๔๕,๗๕,๗๘ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร น่า ๔๖,๗๕,๗๙ สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ น่า ๒๒,๖๕,๗๕ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรชัย น่า ๗๕ กรมหมื่นทิวากรวงศประวัติ น่า ๕๓,๗๕,๗๙ กรมขุนสิริธัชสังกาศ น่า ๗๕,๗๙ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ น่า ๗๕,๘๐ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ น่า ๗๕ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน น่า ๗๕,๘๐ สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศวโรปการ น่า ๕๖,๗๕,๘๐
๑๑๓ สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช น่า ๖๕,๗๖,๘๑ สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส น่า ๗๖,๘๑ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ น่า ๗๖, ๘๑ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา น่า ๗๖,๘๑ กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป น่า ๗๖, ๘๒ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ น่า ๗๖,๘๒ กรมพระดำรงราชานุภาพ น่า ๗๖, ๘๒ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ น่า ๗๖ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา น่า ๗๖,๘๒ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระนริศรานุวัติวงศ น่า ๒๕,๗๖ กรมขุนมรุพงศสิริพัฒน์ น่า ๗๖,๘๒,๘๓ กรมหลวงสวัสดิ์วัตนวิศิษฎ์ น่า ๗๖,๘๓ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย น่า ๗๖,๘๓ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ น่า ๘๓,๘๕,๙๕ พระองค์เจ้าสุธารส น่า ๓๒, ๘๓ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ น่า ๖๑,๘๔ พระองค์เจ้าภาณุมาศ น่า ๗๐,๘๔ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ น่า ๘๔,๘๖ พระองค์เจ้าเบญจางค์ น่า ๗๐, ๘๔
๑๑๔
พระองค์เจ้าชายยุคุนธร น่า ๗๐,๘๔
พระองค์เจ้ากระจ่าง น่า ๗๐,๘๔
พระองค์เจ้าโตสินี น่า ๘๔,๘๖
กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร น่า ๘๔,๘๗
พระองค์เจ้านันทวัน น่า ๓๒,๘๕
พระองค์เจ้าพรหเมศ สืบไม่ได้ความ
กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ น่า ๓๒,๘๕
พระองค์เจ้าสนั่น น่า ๘๕
ในรัชกาลที่ ๕
กรมพระจันทบุรีนฤนาถ น่า ๑๐๐
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ น่า ๑๐๐
กรมหลวงปาจิณกิติบดี น่า ๑๐๑
กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช น่า ๑๐๑
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ น่า ๙๗
กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ น่า ๑๐๑
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัตยุบัน น่า ๖๕,๘๙,๙๐,๙๔,
๙๕,๙๘
สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมหลวงนครสวรรควรพินิต น่า ๙๘
กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน น่า ๑๐๑
กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม น่า ๑๐๑
สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ น่า ๙๘
๑๑๕ สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนลพบุรีราเมศวร์ น่า ๑๐๐ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร น่า ๑๐๒ กรมขุนสรรควิสัยนรบดี น่า ๑๐๒ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาศ น่า ๑๐๒ กรมขุนชัยนาทนเรนทร น่า ๑๐๒ สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมหลวงนครราชสีมา น่า ๙๙ สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนสงขลานครินทร น่า ๙๙ สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชย น่า ๖๔,๙๙ สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา น่า ๑๐๐ ในกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๕ พระองค์เจ้าวิลัยวรวิลาศ น่า ๘๖,๑๐๓ กรมหมื่นชาญชัยบวรยศ น่า ๓๒,๔๗,๑๐๔ กรมหมื่นกวีพจนสุปรีชา น่า ๑๐๔ พระองค์เจ้าสุทัศน์นิภาธร น่า ๑๐๔ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ น่า ๖๑ พระองค์เจ้าโอภาสไพศาลรัศมี น่า ๑๐๔ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี น่า ๑๐๔ พระองค์เจ้าวิบูลยพรรณรังษี น่า ๑๐๕ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ น่า ๑๐๕ พระองค์เจ้าชัยรัตนวโรภาส น่า ๘๖, ๑๐๕ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ น่า ๑๐๕
๑๑๖ พระองค์เจ้าหลานเธอ ที่ได้รับวังมรดก กรมหมื่นนรินทรเทพ น่า ๑๖,๕๙ กรมหมื่นนเรนทรบริรักษ น่า ๑๖,๕๙ กรมหมื่นเทวานุรักษ น่า ๑๙ กรมหมื่นปราบปรปักษ น่า ๒๖ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ น่า ๓๐,๙๖ พระองค์เจ้าชิดเชื้อพงศ์ น่า ๓๙ พระองค์เจ้าสิงหนาท น่า ๔๐ พระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ น่า ๔๔ พระองค์เจ้าวัฒนา น่า ๕๐ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ น่า ๕๔ กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ น่า ๕๕ พระองค์เจ้าอลังการ น่า ๗๔ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ น่า ๘๒ พระองค์เจ้าและหม่อมเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งได้พระราชทานวัง กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ น่า ๑๐๓ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ น่า ๑๐๓ หม่อมเจ้าดนัยวรนุช น่า ๑๐๓ หม่อมเจ้าดรุณวัยวัฒน์ น่า ๑๐๓ หม่อมเจ้าทศสิริวงศ์ น่า ๑๐๓ หม่อมเจ้าปิยบุตร น่า ๑๐๓
งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
- (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
- (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
- (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
- (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
- (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก