ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๗
ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๗ เรื่องจดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา ตอนแผ่นดินพระเจ้าเสือแลแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ ภาค ๔
พิมพ์ในงารศพ คุณหญิงผลากรนุรักษ (สงวน เกาไศยนันท์) เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙
พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
คำนำ อำมาตย์เอก พระยาผลากรนุรักษ์ (อิ่ม เกาไศยนันท์) มาขอหนังสือที่ราชบัณฑิตยสภา เพื่อจะพิมพ์แจกในงารปลงศพ คุณหญิงผลกรนุรักษ์ (สงวน เกาไศยนันท์) ผู้ภริยา กรรมการแนะ ให้พิมพ์คำแปลจดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งอยู่ ในประเทศนี้ เมื่อกรงุศรีอยุธยายังเปนราชธานี อันเปนหนังสือซึ่ง มีประโยชน์มากอยู่ พระยาผลากรนุรักษ์เห็นชอบ จึงได้พิมพ์ในครั้งนี้ จดหมายเหตุของคณะบาดหลวงซึ่งเข้ามาตั้งอยู่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา นี้เปนหนังสือเรื่องใหญ่ บาดหลวงโลเนรวบรวมพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ (ค.ศ๑๙๒๐) นายอรุณ อมาตยกุล เปนผู้แปล กรรมการได้ให้ เจ้าพนักงารผู้ชำนาญ อ่านคำแปลสอบกับภาษาเดิมเห็นว่าได้ความถูกต้อง จึงได้จัดให้พิมพ์เปนลำดับมา กรมพระดำรงราชานุภาพได้ทรงแต่ง อธิบายเหตุที่คณะบาดหลวงฝรั่งเศสเข้ามาตั้งใน กรุงสยามพิมพ์ไว้ในภาค ต้นแล้ว ภาคนี้เปนภาคที่ ๔ ราชบัณฑิตยสภา วันที่ ๒๙ มกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ อุปนายก.
คุณหญิงผลากรนุรักษ์ (สงวน เกาไศยนันท์)
พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๖๙
ประวัติคุณหญิงผลากรนุรักษ์
คุณหญิงผลากรนุรักษ์ (สงวน เกาไศยนัน์) เกิดเมื่อวันอังคาร
เดือน ๗ แรม ๘ ค่ำ ปีมะแม จุลศักราช ๑๒๓๓ ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๑๔
ณบ้านริมวนจวนเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี ปากคลองจังหวัด
สมุทรปราการ เปนบุตรี นายไท้โก นางเง็ก ได้ทำการสมรสกับ
พระยาผลากรนุรักษ์ มีบุตร์ธิดากัน ๓ คน คือ
๑. นางอินทปัญญา ทิพวรรณ
๒. นางสาวสอึ้ง เกาไศยนันท์
๓. เด็กชาย ถึงแก่กรรมแต่อายุได้ ๘ เดือนเศษ
คุณหญิงผลากรนุรักษ์ (สงวน เกาไศยนันท์) เปนผู้มีจิตต์สัทธา
เลื่อมใสในพระพุทธสาสนาบริจาคทานทำการกุศล ประกอบด้วยความ
กตัญญูกตเวทีต่อท่านผู้มีอุปการะคุณ แลมีอัธยาศัยดี อารี เอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่ สัตย์ซื่อแก่วงศ์ญาติและมิตร์ ทั้งเอาใจใส่สั่งสอนบุตร์ธิดาให้
ประพฤติตั้งอยู่ในคุณความดี
คุณหญิงผลากรนุรักษ์ (สงวน เกาไศยนันท์) ป่วยเปนฝีเนื่อง
ด้วยโรคปัสสาวะหวาน เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ ๒๔๖๙ แพทย์
ประกาศนียบัตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลศิริราชพยาบาลได้รักษาพยาบาลด้วยความกวดขัน แต่อาการมีทรงกับซุด ครั้นณวัน
ที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๙ ตรงกับวันจันทร์ เวลา ๑๐.๐๕ นาฬิกา
หลังเที่ยง อาการกำเริบมากกขึ้น เหลือความสามารถของแพทย์ที่จะ
เยียวยาก็ถึงแก่กรรม คำนวณอายุได้ ๕๖ ปี
สารบารพ์
จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซบอกข่าวเรื่องพระเจ้ากรุงสยามไม่ใคร่
พอใจพวกฝรั่งเศส หน้า ๑
ว่าด้วยพระเพทราชาสวรคต " ๓
ว่าด้วยพระเจ้าเสือได้ราชสมบัติ " ๓
ว่าด้วยไทยต้องการให้ฝรั่งเศสเข้ามาค้าขาย " ๔
ว่าด้วยอัธยาศัยแลความดุร้ายของพระเจ้ากรุงสยาม " ๕
จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซบอกข่าวความเรียบร้อยข้าง
เมืองไทย " ๘
จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซว่าด้วยไทยอยากให้ฝรั่งเศส
เข้ามาค้าขายแลความประพฤติของพระเจ้ากรุงสยาม
ซึ่งดุร้ายแลโปรจับเด็กไปไว้ในวัง " ๑๒
จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซว่าด้วยพวกฮอลันแลพวกอังกฤษ
ในเมืองไทย " ๑๘
จดหมายมองซิเออร์เกดีเรื่องผู้ว่าราชการปอนดิเชรีเจรจา
การบ้านเมือง " ๑๙
จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเล่าความที่เจ้าพระยาพระคลัง
เกียจกันไม่อยากให้ชาวต่างประเทศเข้าไปค้าขาย " ๒๒
จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซอออกความเห็นเรื่องจะขอให้
ไทยยกเมืองมริดให้ฝรั่งเศส " ๒๗
จดหมายเหตุของสังฆราชเตเซียเดอเคราเลว่าด้วยไทยกดขี่บีบ
คั้นคณะบาดหลวง " ๓๕
ข ต้นเหจตุเรื่องที่จะกดขี่ หน้า ๓๖ มองเซนเยอร์เตเซียเดอเคราเลถูกซักถาม " ๓๙ พวกคริสเตียนถูกจับ " ๕๐ มองเซนเอร์เตเซียเดอเคราเลถวายดอกไม้ธูปเทียน " ๕๐ ความเดือดร้อนของพวกเข้ารีต " ๕๓ ขุนชำนาญถกไต่สวน " ๕๓ มองเซนเยอร์เตเซียเดอดคราเลขัดขืนไม่ยอม " ๕๔ พวกบาดหลวงจัดการขอร้องให้ปล่อยพวกเข้ารีต " ๕๘ ความเดือดร้อนของพวกเข้ารีต " ๖๑ ไทยปักศิลาจารึกสำหรับประจาน " ๖๘ คำแปลข้อความในจารึกสำหรับประจาน " ๗๐ ความเห็นมองเซนเยอร์เลบองในเรื่องศิลาจารึก " ๗๕
จดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส
ซึ่งเข้ามาตั้งกรุงศรีอยุธยา
ตอนแผ่นดินพระเจ้าเสือแลพระเจ้าท้ายสระ
ต่อจากภาคที่ ๓
เรื่องมองเซนเยอร์เดอซีเซ ค.ศ. ๑๗๐๐-๑๗๒๗ (พ.ศ. ๒๒๒๔๓-๒๒๗๐) เรื่องเจรจาการบ้านเมือง ค.ศ. ๑๗๐๓-๑๗๒๗ (พ.ศ.๒๒๔๖-๒๒๗๐) การเจรจาที่จะให้ฝรั่งเศสกับไทยได้เปนมิตร์กันอย่างเดิม การเจรจาชั้นต้น จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซ ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๗๐๓ (พ.ศ. ๒๒๔๖)
เมื่อปีกลายนี้ ข้าพเจ้าได้มีจดมายถึงท่านฝากมาหลายทาง ข้าพเจ้าจึงเชื่อว่าอย่างไร ๆ ท่านก็คงจะได้จดหมายของข้าพเจ้าบ้างบาง ฉบับ เพราะฉนั้นในที่นี้ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวซ้ำถึงการที่ข้าพเจ้าได้มาถึง เมืองนี้ เพราะข้าพเจ้าได้เล่าให้ท่านฟังแล้ว ว่าเจ้าพระยาพระคลัง ได้รับรองข้าพเจ้าอย่างดี และพระเข้าแผ่นดินกับเจ้าองค์ใหญ่ ผู้เปน พระโอรสองค์ใหญ่ก็ได้โปรดในของที่ข้าพเจ้าได้ถวายนั้น ๑
๒ ในจดหมายฉบับหลัง ๆ ที่ข้าพเจ้าได้มีมายังท่านนั้น ข้าพเจ้า ได้บอกให้ท่านทราบแล้วว่างารที่ปวงซึ่งได้ตั้งต้นอย่างดี ไม่ได้เปน ผลสำเร็จดังที่คาดไว้ พระเจ้ากรุงสยามกับพระมหาอุปราชมีพระ ราชประสงค์จะพระราชทานของให้เปนที่พอใจของข้าพเจ้าอย่าง ๑ แต่ ก็ติดเพียงพระราชประสงค์เท่านั้น เพราะของก็ยังหาได้พระราชทาน ไม่ การที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ ไม่ทราบว่าจะเปนด้วยเหตุใด บางคน เห็นว่าการที่พระเจ้ากรงุสยามและพระมหาอุปราชทำเช่นนี้ เพื่อแสดง การที่ไม่พอพระทัย ในเรื่องที่ฝรั่งเศสไม่ได้รับพระราชสาสน ซึ่งได้ให้ บาดหลวงตาเชิญไปนั้น ให้สมพระเกียรติยศดังได้ทรงคาดไว้ เพราะ ได้ทรงมุ่งหมายไว้ว่า ฝรั่งเศสคงจะแต่งราชทูตเชิญพระราชสาสนตอบ ของพระเจ้ากรงุฝรั่งเศส และคงจะส่งเครื่องบรรณาการมาถวาย เหมือนเมื่อครั้งฝรั่งเศส แต่งราชทูตมาสองคราวในแผ่นดินสมเด็จพระ นารายณ์เช่นนี้ แต่ที่พระเจ้ากรุงสยามไม่พอพระทัยยิ่งกว่าอย่างอื่นนั้น ก็ที่ได้ทรงทราบว่าบาดหลวงตาชาได้ไปยังเมืองสุหรัต แล้วเลยไปเมือง ปอนดีเซรี โดยมิได้ตรงกราบทูลถึงเหตุผลที่ตนได้เชิญพระราช สาสนไป ได้มีคนมาบอกกับข้าพเจ้าว่า พวกฮอลันดาได้กราบทูลยุแหย่ ให้พระเจ้ากรุงสยามมีพระทัยลำเอียงไปทางอื่น โดยได้พยายาม กราบทูลว่า การที่ติดต่อกับฝรั่งเศสนักเปนการไม่สมควร ในเวลา ที่คนมาเล่าให้ข้าพเจ้าฟังนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นสมจริงอยู่บ้าง และ ในเรื่องนี้ดูเหมือนข้าพเจ้าได้เล่าให้ท่านฟังในจดหมายฉบับก่อนๆ แล้ว
๓
ครั้นมาภายหลังได้ทราบความแนน่อน ถึงเรื่องเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นใน
ระหว่างพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสกับพวกออลันดาในเรื่องการค้าขาย จนถึง
กับจะเกิดแตกร้าวกันขึ้น ข้าพเจ้าเห็นว่าการที่หาว่าพวกฮอลันดา
กราบทูลยุแหย่พระเจ้ากรุงสยามนั้นคงเปนการไม่จริง แต่ถึงจะอย่าง
ไรก็ตาม การทั้งปวงก็คงอยู่ตามเดิมนั้นเอง และในระหว่างที่การ
ยังค้างอยู่นั้น ก็พอดีพระเจ้ากรุงสยามได้เสด็จสวรรคต พระเจ้า
แผ่นดินพระองค์นี้ได้บังคับไพร่ ฟ้า ข้าแผ่นดินให้นับถือพระองค์ดุจเปน
พระพุทธเจ้า ครั้นประชวรลงพระอาการก็มีคล้ายที่กล่าวไว้ในคัมภีร์
ของพระเยซู และมีอาการทั้งเจ็บทั้งปวด จึงได้ทรงรู้สึกว่า พระองค์
เปนแต่เพียงมนุษย์ธรรมดาเท่านั้นเอง พอพระเจ้ากรุงสยามได้เสด็จ
สวรรคต พระมหาอุปราชก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติ แลเพื่อจะได้
ครองราชสมบัติให้เปนสุขโดยไม่มีใครมารบกวนนั้น พระมหาอุปราช
จึงได้ประหารพระญาติของราชวงศ์เก่าจนหมดสิ้น การที่ทำเช่นนี้ก็เดิร
ตามแบบอย่างของเมืองอันเปนมิจฉาทิฐินั้นเอง
ได้มีคนมาแนะนำให้ข้าพเจ้าหาของไปถวายพระเจ้าแผ่นดินพระองค์
ใหม่นี้ เพื่อป้องกันมิให้ทำอันตรายแก่โรงเรียนนี้ ข้าพเจ้าจึงได้นำน้ำอบ
อย่างหอมไปถวายสองสามขวด พระเจ้าแผ่นดินทรงรับของถวายนี้โดย
แสดงความดีพระทัยอย่างยิ่ง แล้วได้พระราชทานเสื้อแพรมาให้ข้าพเจ้า
๑ เสื้อ ในลายพระราชหัดถ์ที่ส่งมาพร้อมกับเสื้อ ตามธรรมเนียม
ของเมืองไทยนั้น ได้มีความยกย่องสรรเสริญข้าพเจ้าเปนอันมาก
๔
และมีใจความว่า ทรงหวังพระทัยว่าเรือฝรั่งเศสคงจะได้มาทำการค้า
ขายในพระราชอาณาเขต และถ้าพวกฝรั่งเศสมาจริงแล้ว ก็จะได้
ทรงเปนพระราชธุระให้ฝรั่งเศสได้เปรียบยิ่งกว่าชาติอื่น ในข้อนี้มี
พระราชประสงค์จะให้ข้าพเจ้ามีหนังสือบอกไปยังประเทศฝรั่งเศส และ
บอกให้พ่อ้าฝรั่งเศสในอินเดียทราบ และมีพระราชประสงค์จะให้
ข้าพเจ้ารับรองว่า พอพวกพ่อค้าฝรั่งเศสได้รับจดหมายของข้าพเจ้าแล้ว
เรือฝรั่งเศสจะได้มายังเมืองไทยโดยทันที ในเรื่องจนถึงกับรับสั่งใช้
ขุนนางบางคนให้มาคาดคั้นให้ข้าพเจ้าสัญญาให้จงได้ แต่ข้าพเจ้าได้
ให้กราบทูลเสมอว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยกาค้าขายอย่างใด
แต่เพื่อจะไม่ให้ขัดพระทัย ข้าพเจ้าก็จะได้มีหนังสือไปยังประเทศ
ฝรั่งเศส บอกให้ชาวฝรั่งเศสทราบว่า พระองค์ทรงพระเมตตาแก่
ประเทศของเรามาก ทั้งจะมีจดหมายไปบอกให้ท่านผู้อำนวยการค้าขายฝ่ายอินเดียให้ทราบด้วย แต่ที่จะให้ข้าพเจ้ารับรองว่าการคงจะเปน
ไปตามพระราชประสงค์นั้น ข้าพเจ้ารับรองไม่ได้ เพราะในการชนิดนี้
ข้าพเจ้าไม่มีหน้าที่จะบังคับได้
ข้าพเจ้าได้รับรองว่าหนังสือที่ข้าพเจ้าจะมีไปอย่างว่านี้ จะได้มี
ไปในราวเดือน พฤศจิกายน หรือ ธันวาคม แต่ในเวลาที่จะมีไปนั้นก็
จะต้องแน่ใจเสียก่อนว่า พระเจ้าแผ่นดินยังคงทรงพระราชดำริห์อย่าง
เดิมมิได้เปลี่ยนแปลงอย่างใด และการบ้านเมืองจะต้องเรียบร้อยเปน
ปรกติพอที่จะให้พระเจ้ากรุงสยามได้มีเวลาดำริห์ถึงการภายนอกได้ เมื่อ
๕
เวลามีโอกาศที่จะฝากหนังสือไปทางเมืองจีนได้ ข้าพเจ้าหาได้ฝาก
ไปไม่ และก็ปิดความเสียด้วยซ้ำ เพราะเหตุว่าต้องการเวลาเพื่อจะ
ได้คอยดูให้แน่เสียก่อนว่า การจะดำเนิรไปอย่างไรต่อไป การที่ข้าพเจ้า
ได้เล่าให้ท่านฟังทั้งนี้ ก็ประสงค์อย่างเดียวแต่จะให้ท่านทราบว่า ตั้งแต่
ข้าพเจ้าได้มีจดหมายมาฉบับก่อนๆได้มีเหตุการณ์ดำเนิรมาอย่างไรเท่านั้น
เมื่อท่านได้ทาบข้อความตามนี้แล้ว ท่านจะจัดการอย่างไรต่อไปก็แล้ว
แต่ท่านจะเห็นควร และเมื่อท่านจะเห็นควรนำความกราบทูลพระเจ้ากรุง
ฝรั่งเศสให้ทรงทราบเหมือนไม่นั้น ก็แล้วแต่ท่านจะเห็นควรทั้งสิ้น
ข้าพเจ้าจะต้องรับสารภาพว่า เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นพระเจ้าแผ่นดิน
องค์ใหม่ดำริห์การที่จะให้ฝรั่งเศสกับไทยทำการค้าขายติดต่อกันอีก และจะเอาคณะบาดหลวงเปนสายสำหรับให้การนี้ได้สำเร็จไปนั้น เปนการที่ทำให้ข้าพเจ้าไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะข้าพเจ้าได้เห็นแล้วว่า การ
ที่ฝรั่งเศสกับไทยได้ มีไมตรีติดต่อกันนั้นได้ทำให้เปนผลร้ายเกิดขึ้นเพียง
ไร การที่ได้เปนมาแล้วในเวลาที่เกิดจลาจลครั้งพระราชบิดาของพระ
เจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ ก็เปนสิ่งทำให้ชาวฝรั่งเศไม่พอใจอยู่แล้ว เพราะ
ฉะนั้นจึงไม่ควรไว้ใจในพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ ซึ่งปฎิบัติการแต่ตาม
ความพอพระทัย และทั้งพระทัยก็กลับกลอกไม่แน่นอนด้วย ยิ่ง
ข้าพเจ้ารู้จักพระองค์มากขึ้นก็ยิ่งทำให้ข้าพเจ้าเห็นว่าการต่าง ๆ ที่มีคนเล่า
ถึงพระอัธยาศัยนั้นเปนความจริงนั้น ถ้าแม้ว่าจะกลับพระทัยใน
เวลาอันรวดเร็วเช่นนี้เปนการปลาดอย่างยิ่ง บางทีถ้าได้เดิรการ
๖
ปอลิติกอย่างดีก็อาจจะทำให้เปลี่ยนพระนิสัยได้บ้างกระมัง แต่ปอลิติก
ในเมืองชนิดนี้ ไม่แรงพอที่จะคุ้มครองเมืองซึ่งมีกษัตรย์อันมีนิสัย
เต็มไปด้วยโทษะโมหะ และยิ่งมีอำานจเด็จขาดที่จะทำตามโทษะได้
ทุกอย่างแล้ว ก็เปนอันไม่ได้อยู่เอง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบีบคั้น
พระอนุชาซึ่งเปนรัชทายาท ผู้ที่สมควรจะครองราชสมบัติโดยแท้ อย่าง
แสนสาหัส และทรงบีบคั้นขุนนางข้าราชการที่เข้ากับพระอนุชาจนลง
ท้ายได้ห่าเสียหมดทุกคน ถึงพวกข้าราชการผู้ใหญ่แลพระสงฆ์จะ
กราบทูลทัดทานเท่าไรก็ไม่ฟังนั้น ทั้งการที่ทรงลงพระอาญาอย่างร้าย
กาจแก่พระราชบุตร์ทั้ง ๒ ของพระองค์ ซึ่งพระองค์ไม่ไว้พระทัย
และทรงลงพระอาญาเฆี่ยนอยู่เสมอนั้น ก็ทำให้เห็นได้ชัดว่า คงมี
บุคคลบางจำพวกที่จะไม่ยอมทนไปได้นานสักเท่าไร และจำเปนที่พระ
องค์จะต้องกลับใจเสียโดยเร็ว การทั้งปวงเหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้าหนักใจ
เปนอันมาก เพราะข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้มิได้ รัก
ชอบพวกเราเลย ข้าพเจ้าจึงเกรงว่าถ้าไม่มีเรือพ่อค้าฝรั่งเศสมาตาม
พระราชประสงค์แล้ว ก็น่ากลัวจะทรงถือว่าเปนการที่ฝรั่งเศสดูถูก และ
คงจะทรงแก้แค้นกับพวกเราในโรงเรียนเปนแน่
การที่พระเจ้ากรุงสยามมีพระราชประสงค์จะให้พ่อค้า ฝรั่งเศสมา
ทำการค้าขาย และมาตั้งห้างในพระราชอาณาเขตนั้น ก็ด้วยเหตุ
เหล่านี้ คือ ๑ พระราชอาณาเขตสยามร่วงโรยลงไปมาก ด้วยเหตุ
ว่าไม่มีชาวยุโรปมาเลย และพ่อค้าทางอินเดียก็มาน้อยที่สุด ๒ เพราะ
๗ ได้ทราบข่าวว่าเจ้าอันสืบสายโลหิตของพระราชวงศ์ฝรั่งเศสองค์หนึ่ง ได้ ขึ้นครองแผ่นดินสะเปน และประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสะเปนได้เปน ไมตรีกันอย่างสนิธแล้ว ๓ เพราะอังกฤษได้ไปตั้งตัวอยู่ที่เกาะ ปูโล คอนตอ ซึ่งเปนเกาะอยู่ในระหว่างเมืองเขมรและเมืองญวน และ การที่อังกฤษไปตั้งอยู่ที่เกาะปูโลคอนดอเช่นนี้ กระทำให้อังกฤษเปน ใหญ่ในทะเลจีน ยี่ปุ่นและไทย ฝ่ายพระเจ้ากรุงสยามก็ทรงเชื่อว่า พวกอังกฤษคงจะไม่ในการที่พวกอังกฤษถูกฆ่า ตายในเมืองมริด และ ในการที่ฆ่าพวกอังกฤษครั้งนั้น พระราชบิดาของพระองค์ก็เปนต้นเหตุ ด้วย เพราะฉนั้นการที่อังฤกษมาตั้งอยู่แถบชานพระนครเช่นนี้ จึงกระทำ ให้พระองค์ร้อนพระทัยยิ่งนัก ๔ เพราะพระเจ้ากรุงสยามทรงเกรงพวก ฮอลันดา เพราะพวกฮอลันดาไม่พอใจในพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้อย่างยิ่ง และมีเรื่องที่ควรจะขัดใจพวกออลันดาอยู่เสมอ เพราะฉนั้นจึงทรงเกรง ว่าพวกฮอลันดาจะคิดการร้ายอย่างอย่างใด การต่าง ๆ เหล่านี้ จึงกระทำให้ทรงเห็นว่า ถ้าฝรั่งเศสได้อุดหนุนแล้วก็คงเปนกาช่วย ให้เบาพระทัยลงเปนอันมาก จึงทรงพยายามที่จะทำไมตรีกับฝรั่งเศส ดังข้าพเจ้าได้กล่าวมาข้างบนนี้แล้ว
๘ จดมหายมองเซ็นเยอร์เดอซีเซ ถึงอำนวยการคณะต่างประเทศ เดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๗๐๓ (พ.ศ. ๒๒๔๖) ด้วยบาดหลวงซีมา ซึ่งประจำอยู่เมืองจีนแลเปนพวกคณะแซง โอกุศแตงจะผ่านไปทางเมืองฝรั่งเศสเพื่อไปเมืองอิตาลี ข้าพเจ้ากับ เจ้าพระยาพระคลังจึงฉวยโอกาศนี้ ที่จะเขียนจดหมายถึงท่านเพื่อบอกข่าว ในเมืองไทยว่าการในเวลานี้เป็นอย่างไรบ้าง ข้าพเจ้าได้มาถึงเมืองไทย ได้ปี ๑ แล้ว ได้เห็นว่าการในบ้านเมืองสงบราบคาบดีเพราะพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระปรีชาสามารถได้ปราบปรามพวกขบถที่ได้คิดการจลาจลขึ้น พระ เจ้ากรุงสยามกับทั้งพระโอรสได้ทรงแสดงความยินดีในการที่ข้าพเจ้าได้มา ถึงเมืองไทย และได้ทรงเต็มใจรับของที่ข้าพเจ้าได้ถวายด้วย ข้าพเจ้า มีความปลาดใจมากที่ได้เห็น โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนเกือบเท่าจำนวนที่มี อยู่เมื่อ ๒๐ ปีมาแล้ว พวกฝรั่งเศสซึ่งมีแต่จำนวนเล็กน้อยได้แต่งงาร มีภรรยาในเมืองนี้เอง ดูก็เปนที่พอใจและได้อยู่เปนสุขสบายดีมาก ข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านคงจะได้ทราบแล้วว่าเมื่อ ๒ ปี ที่ล่วงมาแล้ว มีเรือ ฝรั่งเศสลำ๑ จากเมืองสุหรัตจะไปเมืองจีน ได้ถูกพยุอย่างแรงจึงต้องเข้า มาซ่อมแซมในเมืองนี้ และพระเจ้ากรุงสยามได้ทรงพระเมตตาช่วยเหลือ เรือลำนี้เปนอันมาก คือได้พระราชทานที่บ้านให้พวกนายเรือพัก และได้ พระราชทานที่สำหรับเอาสินค้าขึ้นเก็บด้วย ส่วนภาษีอากรต่าง ๆ นั้น ก็ได้ทรงยกเว้นไม่เก็บอย่างใดเลย เหมือนเมื่อครั้งราชบริษัทได้เคย รับความยกเว้นเมื่อได้มาตั้งห้างในเมืองนี้เช่นเดียวกัน ทั้งได้รับสั่งว่ามี
๙
พระราชประสงค์อย่างยิ่งที่จะให้พ่อค้ามาตั้งการค้าขายในพระราชอาณาเขต
และถ้าพ่อค้าฝรั่งเศสได้มาแล้วก็จะทรงปกครองบำรุงทุกอย่าง ในระหว่าง
ที่ทรงพระราชดำริห์อยู่เช่นนี้ก็ได้เสด็จสวรรคต เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์
พระมหาอุปราชซึ่ง เปนพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ได้เสวยราชสมบัติแทน
พระบิดา ก็ได้มีพระราชดำริห์เช่นเดียวกับพระราชบิดา พอได้ขึ้นครอง
ราชสมบัติก็ได้ทรงแสดงพระองค์พอพระทัย ที่จะให้พ่อค้าฝรั่งเศสมา
ค้าขายในเมืองนี้ ข้าพเจ้าได้ถวายพรในการที่ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
ซึ่งเปนการพอพระทัยมาก และในพระราชดำรัสตอบนั้นได้รับสั่งว่า
ทรงมีความนับถือประเทศฝรั่งเศสมาก และได้รับสั่งต่อไปว่า สิ่งที่
ข้าพเจ้าจะทำให้พอพระทัยนั้นไม่มีอย่างใดยิ่งกว่าที่ ข้าพเจ้าจะเปนธุระช่วย
ให้ไมตรีซึ่งเคยมีในระหว่างไทยกับฝรั่งเศสมาแต่ก่อนนั้น ได้คงมีอยู่
ตามเดิม และรับสั่งว่าถ้าพวกฝรั่งเศสจะมาจากประเทศฝรั่งเศสก็ดีหรือ
มาจากอินเดียก็ตาม ถ้าได้เข้ามาค้าขายในพระราชอาณาเขตแล้ว
ก็จะพระราชาทานโอกาศให้ได้ทำการค้าขายตามท่าเรือต่าง ๆ ได้ทุกแห่ง
และส่วยราชบริษัทฝรั่งเศสโดยฉเพาะนั้นจะได้พระราชทานพระราชนุญาต
ให้มาค้าขายในพระราชธานี หรือที่แห่งอื่น ๆ ก็ได้แล้วแต่บริษัทจะพอใจ
เพื่อจะได้มาตั้งห้างและจะได้พระราชทานสิทธิต่าง ๆ เสมอหน้ากันกับพวก
ฮอลันดา ในพระราชหัดถเลขาซึ่งทรงตอบจดหมายของข้าพเจ้าที่ข้าพเจ้า
ได้ให้เจ้าพระยาพระคลังถวายนั้น มีกระแสรับสั่งโดยฉเพาะให้ข้าพเจ้า
บอกความทั้งนี้ไปยังประเทศฝรั่งเศสและอินเดีย เพราะฉนั้นข้าพเจ้า
๒
๑๐
จึงได้มีจดหมายฉบับนี้มายังท่านตามพระราชโองการ แล้วข้าพเจ้าจะได้
บอกไปยังผู้อำนวยการบริษัทที่เมืองปอนดีเชรีเมืองสุหรัต และเมือง
เบงกอลให้ทราบเหมือนกัน
ข้าพเจ้าอยากจะกราบทูล ต่อพระเจ้ากรุงสยามว่าในเรื่องที่จะโปรด
กรุณาแก่พวกพ่อค้าฝรั่งเศสนั้น ข้าพเจ้าคงจะได้รับหนังสือตอบโดยเร็ว
แต่หากว่าการเดิรเรือในเมืองนี้ต้องอาศรัยระดูมาสุม และมรสุมนั้น
บางทีก็ล่าช้าไปเปนการไม่แน่ได้ ข้าพเจ้าจึงไม่กล้ากราบทูลรับรอง
แต่ได้พยายามจัดการให้บาดหลวงอิตาเลียน ไปถึงเมืองมริดในต้นระดู
มาสุมที่พัดมาจากเหนือ และให้บาดหลวงลงเรือลำแรกที่จะออกจาก
เมืองมริดจะให้ไปถึงเมืองปอนดีเชรีหรือ เมืองเบงกอลที่เรือของบริษัท
ซึ่งจะกลับไปยังประเทศฝรั่งเศสจะได้ออกจากเมองเหล่านั้น
เมื่อข้าพเจ้าได้จัดการไปดังนี้แล้วก็หมดหน้าที่ที่จะทำอะไรต่อไปอีกได้
นอกจากมอบการเรื่องนี้ให้พระเปนเจ้าได้จัดการต่อไป และเชื่อในความ
สามารถของท่านอย่างเดียวเท่านั้น พระเจ้ากรุงสยามและบรรดาข้า
ราชการหวังพระทัยแลหวังใจว่า ท่านคงจะได้นำความเรื่องนี้ขึ้น
กราบทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และเชื่อกันว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสคงจะทรง
ยินดีในการที่พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงจัดการอย่างนี้เพื่อจะได้เปนไมตรีกับ
กรุงฝรั่งเศสต่อไป และหวังใจกันว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสคงจะทรงตอบ
โดยพระอัธยาศัยอันดี ในการเรื่องนี้ขอท่านได้โปรดฟังข่าวที่หัวหน้า
โรงเรียนสามเณรที่กรุงปารีสด้วย เพราะหัวหน้าโรงเรียนจะได้ส่งจดหมาย
๑๑
ฉบับนี้ให้แก่ท่านพร้อมด้วยบาดหลวงอิตาเลียน และหัวหน้าโรงเรียน
จะได้เล่าความต่าง ๆ ให้ท่านฟังนอกจากข้อความที่มีในจดหมายฉบับนี้อีก
หลายอย่าง เพราะข้อความต่าง ๆ ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวในจดหมายฉบับนี้โดยเกรงว่าเจ้าพระยาพระคลังและที่ปฤกษาราชการของพระเจ้ากรุงสยามจะเบื่อ
แต่เพื่อจะให้จดหมายฉบับนี้ เนื้อความโดยตลอดและเลอียดตาม
ความปรารถนาของพระเจ้าพระยาพระคลังแล้ว จึงเปนการจำเปนที่ข้าพเจ้า
จะต้องเล่าให้ท่านฟังถึงความเห็นของพวกไทยในพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่
นี้คือ พวกไทยเข้าใจว่า พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่นี้คงจะได้ครอง
ราชสมบัติโดยยืดยาว และโดยมีความผาสุกตลอดรัชกาล การที่ไทย
คิดเช่นนี้ก็โดยจับเอาเหตุที่มีขึ้นซึ่งไทยถือว่าเปนปฤกษ์ดี กล่าวคือ แต่
ก่อนมาเจ้าแผ่นดินเขมรไม่ยอมส่งช้างเผือกให้ไทยเลย และการที่
ไม่ยอมนี้เปนกาลช้านานมาแล้ว ครั้นมาในปีนี้เจ้าแผ่นดินเขมรได้ส่ง
ช้างเผือกเข้ามา โดยแต่ราชทูตและผู้คนเปนอันมากให้นำช้างเผือก
มาถวาย เมื่อเวลาช้างเผือกมาถึงนั้น บรรดาขุนนางข้าราชการ
ทวยราษฎรทั่วพระราชอาณาเขต ได้จัดการรับช้างเผือกอย่างเอิกเกริก
ด้วยความปีติยินดี ฝ่ายพวกพรานของพระเจ้ากรุงสยามก็คล้องช้างสีดำ
ได้ ๑ เชือก แต่ช้างเชือกนี้มีลักษณะงามมากซึ่งไม่มีใครได้เคยเห็นเลย
ช้างตัวถึงจะแก่ก็จริงแต่งาเล็กมาก หางก็ปลาดซึ่งเปนการที่คนไทย
เห็นว่าเปนการอัศจรรย์มาก ฝ่ายเจ้าลาวก็แต่งทูตลงมาซึ่งพระสงฆ์
๑๒ มีชื่อเปนหัวหน้าคุมมา ฝนก็ตกตามระดูกาลซึ่งจะทำให้ไร่นายบริบูรณ์มาก เมื่อเวลาท่านอ่านหนังสือฉบับนี้ ท่านคงจะนึกว่าเปนหนังสือแขก หาใช่หนังสือชาวยุโรปไม่ แต่หนังสือฉบับนี้แต่งตามแบบของไทย ซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของฝรั่งเศสเลย และพวกมิชันนารีก็ไม่ ทราบว่าจะแก้ไขได้อย่างไร เพราะฉนั้นพวกบาดหลวงได้แต่อ้อนวอน พระเปนเจ้า ขอให้ดปรดบรรดาผู้ที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่สูง ๆ ซึ่งต้อง รับน้ำหนักของการแผ่นดิน และข้อนี้ข้าพเจ้าก็ได้อ้อนวอนพระเปนเจ้า ขอให้โปรดตัวท่านโดยฉเพาะและทั้งครอบครัวของท่านด้วย
จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซ ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๖ เดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๗๐๓ (พ.ศ. ๒๒๔๖) การทางเมืองไทยได้มีเรื่องขึ้นอีกแล้ว และถึงข้าพเจ้าจะตั้งใจว่า จะไม่กี่ยวข้องด้วยสักเท่าใดก็ไม่ไหว เพราะเปนการจำเปนจำใจที่ ข้าพเจ้าต้องเกี่ยวด้วยจนได้ จริงอยู่การที่ข้าพเจ้าต้องเกี่ยวด้วยการ เมืองไทยคราวนี้ก็เปนแต่เพียงเปนล่ามของคนที่ใช้ข้าพเจ้าเท่านั้น คือว่า เขาให้พูดอย่างไรก็พูดตามเขาโดยไม่ต้องเพิ่มเติมอะไรในส่วนของข้าพเจ้า เลย หนังสือที่ข้าพเจ้าได้มีไปยังมองซิเออร์ปองชาแตรงนั้น ก็เปน ใจความตามที่ไทยบอกให้เขียนทั้งนั้น หนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าได้ส่งมา ยังท่านโดยยังไม่ปิดผนึก เพราะข้าพเจ้าจะต้องการให้ท่านอ่านและให้ ท่านพิเคราะห์ดูว่าจะควรให้มองซิเออร์ปองซาแตรงหรือไม่ ข้าพเจ้า
๑๓
ได้บอกให้บาดหลวงอิตาเลียนผู้นำจดหมายฉบับนั้น ให้เข้าใจในเรื่องนี้โดย ตลอดแล้วเมื่อท่านเห็นว่าจะไม่ควรส่งหนังสือให้มองซิเออร์ปองซาแตรงบาดหลวงอิตาเลียนจะได้ไม่ตกใจ
พระเจ้าแผ่นดินสยามได้สวรรคตเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้เอง พระมหาอุปราชได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน เพราะท่านพระองค์นี้สมควรจะครองราชย์สมบัติได้ดีกว่าพระอนุชาซึ่งมีพระชนม์เพียง ๑๔ หรือ ๑๕ ปี เท่านั้น แต่ที่จรองราชสมบัติควรจะได้แก่พระอนุชา เพราะท่านพระองค์นี้ได้ประสูติจากพระองค์หญิงซึ่งเปนเชื้อพระวงศ์เก่า ครั้นพระเจ้าแผ่นดินอง๕ใหม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ก็หาได้ฆ่าพระอนุชาไม่แต่กลับแสดงความรักใคร่โปรดปรานและทรง สัญญาว่าถ้าพระอนุชาสมควรจะครองราชสมบัติได้เมื่อใดก็จะทรงราชสมบัติให้ ข้าพเจ้าได้เห็นบรรดาผู่ที่เปนหัวหน้าของชนชาวประเทศอื่น ๆ ได้ถวายพรในการที่ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ข้าพเจ้าได้ถวายพรตามอย่างเขาบ้าง พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงรับพรและได้มีพระราชดำรัสตอบด้วยในพระราชดำรัสที่ตอบมานั้น ได้ทรงยกย่องสรรเสริญประเทศฝรั่งเศสโดยยืดยาวมาก และได้รับสั่งแก่ข้าพเจ้าว่าถ้าข้าพเจ้าจะทำการให้เปนที่พอพระทัยแล้วก็ไม่มีการอย่างใดที่จะ พอพระทัยยิ่งกว่าที่ข้าพเจ้าจะจัดการให้พระราชไมตรีซึ่งเคยมีในระหว่างประเทศสยามและ ประเทศฝรั่งเศสมาแต่เดิมได้กลับมีขึ้นอีก ถ้าได้ทรงเห็นพ่อค้าฝรั่งเศสมายังเมืองนี้แล้วก็จะทรงยินดีเปนอย่างยิ่ง และจะได้ทรงปกครองทั้งจะทรงอนุญาตให้พ่อค้า
๑๔ เหล่านี้ได้ตั้งห้างในที่ต่างได้ตามความพอใจ และจะได้พระราชทานสิทธิ ให้เท่ากับพวกฮอลันดา จึงมีรับสั่งให้ข้าพเจ้ามีจดหมายบอกข้อความ ตามที่รับสั่งนี้ไปยังประเทศฝรั่งเศสและประเทศอินเดีย เพราะทรงมั่น พระทัยว่าพอพวกฝรั่งเศสได้รับหนังสือของข้าพเจ้าแล้ว ในไม่ช้าก็คง จะมีเรือพ่อค้ามาจากประเทศฝรั่งเศสและประเทศอินเดียเพื่อมาทำการ ค้าขายในพระราชอาณาเขต การที่มั่นพระทัยเพียงเท่านี้ยังหาพอไม่ ยังจะกลับให้ข้าพเจ้าเปน ผู้รับประกันเสียอีกว่าพวกพ่อค้าจะมาเมืองไทย โดยทันที ข้าพเจ้าจึงกราบทูลว่า ข้าพเจ้าจะได้นำข้อพระราชดำริห์บอก ไปยังประเทศฝรั่งเศส และอินเดียโดยหาโอกาศที่จะส่งหนังสือไปอย่างเร็ว ที่สุดที่จะส่งไปได้ แต่ขออย่าให้ข้าพเจ้ารับผิดชอบในการเรื่องนี้เลย เพราะการจะสำเร็จหรือไม่เปนการที่ข้าพเจ้าจะบังคับไม่ได้เลย ทั้งใน เวลานี้การบ้านเมืองก็ยังไม่ปรกติ ข้าพเจ้าจึงสงสัยว่าการเรื่องนี้คงจะไม่ สำเร็จเปนแน่ แต่ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าได้กราบทูลเช่นนี้ก็จริงแต่ก็ยังไม่พอ พระทัย จึงได้มีรับสั่งให้ข้าราชการบางคนมาพูดคาดคั้นข้าพเจ้าในเรื่อง นี้อีก เพราะฉนั้นเพื่อจะให้ทรงเห็นว่าข้าพเจ้ามิได้เพิกเฉยในสิ่งที่ตั้ง พระทัยนักหนาเช่นนี้ และเพื่อจะไม่ให้เสียวาจาที่ข้าพเจ้าได้กราบทูล ไว้นั้น ข้าพเจ้าจึงหาโอกาศฝากจดหมายไปกับบาดหลวงอิตาเลียน ชื่อ นโกลาซ์ซีมา ซึ่งเป็นบาดหลวงคณะแซงโอกุศประจำอยู่ณเมืองจีน ในเวลานี้จะกลับไปยังประเทศอิตาลีและเดิรทางผ่านฝรั่งเศสด้วย
๑๕ ข้าพเจ้าจึงได้กราบทูลว่า ถ้าเปนการชอบด้วยพระราชดำริห์แล้ว ข้าพเจ้าได้มีจดหมายฝากบาดหลวงคนนี้ไปยังประเทศฝรั่งเศส เพื่อ บอกให้ทราบถึงพระราชดำริห์ ที่จะทรงพระกรุณาแก่ราชบริษัทฝรั่งเศส ถ้าหากว่าได้เดิรทางโดยรีบด่วน แล้วบาดหลวงคนนี้คงจะถึงเมืองมริด โดยเร็ว เพื่อหาเรือที่จะออกเมืองมริดในต้นมรสุมและกะให้ไปถึง เมืองปอนดีเซรีหรือเมืองเบงกอล ก่อนที่เรือของบริษัทจะกลับไปยัง ทวีปยุโรป ตามที่ข้าพเจ้ากราบทูลดังนี้พระเจ้ากรุงสยามทรงเห็นชอบด้วย จึงได้รับสั่ง ให้เจ้าพนักงารจัดการให้บาดหลวงอิตาเลียนได้ออกเดิรทาง โดยเร็ว ตามเรื่องที่ทรงพระราชดำริห์เช่นนี้ ไม่ใช่เปนเรื่องใหม่หรือเรื่อง สำคัญอย่างใดเลย และถ้าชาวฝรั่งเศสนิยมยินดีในเรื่องนี้ก็จะเปนการ ที่ข้าพเจ้าเข้าใจผิดไปมาก เพราะในเรื่องนี้ไม่ได้กล่าวถึงอะไรนอกจาก เรื่องบริษัทเรือพ่อค้า และห้างซึ่งล้วนแต่ต้องอยู่ในความเอื้อเฟื้อและ ความกรุณาของไทยทั้งสิ้น ถ้าจะพูดสั้น ๆ แล้วการเรื่องนี้คงลง รูปเดิมซึ่งบริษัทได้เคยจัดทำมาก่อนการจลาจลนั้นแล้ว แต่ในครั้งนี้มี แปลกอยู่ข้อเดียวที่ว่าจะให้ ฝรั่งเศสได้รับสิทธิเท่ากับพวกฮอลันดาเท่านั้น อนึ่งการที่พระเจ้าแผ่นดินสยามชักชวนให้พ่อค้ามาทำการค้าขายนั้น ก็ ไม่ได้ชักชวนแต่ฉเพาะประเทศฝรั่งเศสแห่งเดียว แต่ได้ทรงชักชวน พวกอังกฤษ พวกเดนมาร์ค และชาวยุโรปทั้งหลายซึ่งจะมีความ ปรารถนามาตั้งค้าขายในพระราชอาณาเขต โดยฐานะเดียวกันทั้งนั้น
๑๖
ถ้าการที่ทรงพระราชดำริห์เช่นนี้เปนที่พอใจของฝรั่งเศสแล้ว ถ้าเช่นนั้น
นิสัยของฝรั่งเศสคงจะได้เปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ถ้านิสัยฝรั่งเศสไม่ได้
เปลี่ยนแปลงแล้วการที่ทรงพระราชดำริห์เช่นนี้ก็คงจะไม่เปนที่พอใจของ
พวกฝรั่งเศสเปนแน่ เพราะข้าพเจ้ารู้สึกว่าฝรั่งเศสต้องการอย่างอื่น
นอกจากการตั้งห้าง แต่จะอย่างไรก็ตามข้าพเจ้าก็ต่องเขียนจดหมาย
ตามความต้องการของไทย
ในส่วนความคิดแลความเห็นของข้าพเจ้าโดยฉเพาะนั้น ข้าพเจ้า
ได้เล่าให้ท่านพงโดยยืดยาวในจดหมายที่ข้าพเจ้าฝากไปทางเมืองจีนแล้ว
ตามที่ข้าพเจ้าได้เล่าถึงความเดือดร้อนของเมืองนี้ ถึงความไม่แน่นอน
ของรัฐบาลปัจจุบันนี้ ถึงพระนิสัยของพระจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ อันจะ
เชื่อพระวาจาไม่ได้นั้นเปนสิ่งที่จริงทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้
ต้องร้อนพระทัยด้วยยังต้องทำศึกสงครามอยู่ก็จริง แต่ถึงดังนั้นก็ยังคง
โหดร้ายและ ทรงกริ้วกราดอยู่เสมอเท่ากับไม่มีเรื่องอะไรมากวนพระทัยเลย และการที่ได้มีศึกขึ้นคราวนี้ก็โดยเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชไม่ยอม
อ่อนน้อมโดยถือว่าไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน ทั้งเจ้าเมืองสงขลากับปัตตานีก็
สมทบเข้าด้วยกับเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้โปรดนัก
ในการที่จะไปแย่งชิงเด็กทั้งหญิงและชาย เพื่อเอาไปเปนทาสสำหรับไว้ใช้
ในวัง เมื่อสองสามวันนี้เองได้มีพวกญวนและไทยเข้ารีตซึ่งตั้งบ้านเรือน
ใกล้กับโรงเรียน ได้ตื่นตกใจวิ่งมาขอให้เราช่วย เพราะเจ้าพนักงาร
ได้มาจดชื่อเด็กลูกของคนเหล่านี้ จึงเกรงว่าเด็กพวกนี้จะต้องถูกจับเข้า
๑๗
ไปในวัง พวกนี้คิดจะบอกเจ้าพนักงารว่าตัวเขาและลูกเปนทาสขายตัว
อยู่กับพวกบาดหลวง เพราะฉนั้นพอรุ่งขึ้นพวกนี้ก็ได้ไปทำหนังสือยอม
ตัวเปนทาสของบาดหลวงตามที่คิดไว้ แล้วได้พาลูกมาขอให้เรารับไว้
ซึ่งเปนการที่เราจะไม่ยอมไม่ได้ เพราะถ้าจะคิดถึงส่วนประโยชน์ของ
เด็กเหล่านี้แล้ว ถ้ามาอยู่กับเราอาจที่จะหันให้นับถือสาสนาคริศเตียนได้
แต่ถ้าจะขืนปล่อยตามลำพังแล้ว เด็กพวกนี้คงจะประพฤติตามเยี่ยง
อย่างของผู้ใหญ่ ส่วนเด็กผู้หญิงซึ่งจะต้องระวังมากกว่าผู้ชายนั้น เรา
ได้เอาไปเที่ยวฝากไว้กับผู้หญิงแก่ ๆ ที่เข้ารีตและผู้หญิงเหล่านี้ได้จัดการ
ซ่อนเด็กผู้หญิงไว้อย่างดีที่สุดที่จะซ่อนได้
แต่ถึงเราได้จัดการป้องกันเด็กเหล่านี้ไว้ก็จริง แต่เราจะอวดอ้าง
ไม่ได้ว่าเด็กเหล่านี้จะพ้นอันตรายแล้ว ถ้าไทยยกพวกมาจับเด็กเหล่านี้
แล้วเราก็จะเดือดร้อนมาก การที่ข้าพเจ้าเล่ามาให้ท่านฟังดังนี้ ก็อด
กลั้นความสงสารพวกญวนเหล่านี้ไมได้ เพราะพวกญวนเหล่านี้ได้หนีมา
จากเมืองญวนเพราะทนการงารแลทนความเดือดร้อนไม่ได้ ครั้นหนีมา
หาที่เย็นก็กลับได้ความเดือดร้อนยิ่งกว่าเก่า ซึ่งตัวหนีมาคิดว่าพ้นแล้วเสีย
อีก เพราฉนั้นพวกญวนโดยมากจึงคิดอพยพไปอยู่ที่อื่นซึ่งจะขาดทาง
สาสนา และเขาพูดกันว่าพวกญวนจะอพยพไปอยู่ที่เกาะปูโลคอนดอ ซึ่ง
เปนเกาะที่พวกอังกฤษไปยึดไว้เมื่อเร็ว ๆ นี้ และอังกฤษกำลังสร้าง
ป้อมที่เกาะนี้ซึ่งเปนการทำให้อังกฤษเปนใหญ่ฝ่ายเมืองจีนได้
๑๘ พวกฮอลันดาและอังกฤษในเมืองไทย จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซ ถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ วันที่ ๔ เดือนมกราคม ค.ศ. ๑๗๐๘ (พ.ศ. ๒๒๕๑) ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าในเมืองฝรั่งเสสจะมีความเห็นถึงเรื่องเมืองไทย ว่าอย่างไร แต่ข้าพเจ้าได้เห็นด้วยตาของข้าพเจ้าเองว่า พวกฮอลันดา และพวกอังกฤษถือว่าเมืองไทยนี้ เปนเมืองที่สำคัญสำหรับการค้าขาย อย่างยิ่ง คือพวกฮอลันดาเกิดความไม่พอใจขึ้นมา จึงได้ขออนุญาต อพยพออกจากเมืองไทยและเลิกห้างเสียด้วย พระเจ้าแผ่นดินก็พระ ราชทานพระราชนุญาตให้พวกออลันดาออกจากเมืองใต้ ครั้นความ นี้ทราบไปถึงผู้อำนวยการใหญ่ที่เมืองบาตาเวีย ผู้อำนวยการก็ไม่พอ ใจในการที่พวกฮอลันดาได้ทำเช่นนี้ จึงได้บังคับให้พวกนี้กลับมายัง เมืองไทยอีก และให้นำของอย่างดี ๆ งาม ๆ มาถวายเพื่อเปนหน ทางได้ทำการอีกได้อย่างเดิม ฝ่ายพระเจ้าแผ่ดินก็กริ้วในการที่พวก ฮอลันดาได้ทำการเช่นนี้ จึงทรงแสดงดูถูกและบังคับกดขี่ด้วย พวก ฮอลันดาก็ยอมทุกอย่าง แต่การที่พวกฮอลันดายอมอ่อนน้อมเช่นนี้ ก็หาได้ทำให้พระเจ้าแผ่นดินคลายกริ้วไม่ พวกฮอลันดาจึงทำกันทุก อย่างที่จะพยายามให้หายกริ้วให้ได้ เพื่อจะได้ตั้งต้นทำการได้ต่อไป อย่างเดิม การที่เขาพยายามนี้ก็พึ่งมาสำเร็จปรารถนาเมื่อปีนี้เอง ในปีนี้พวกอังกฤษได้ส่งทูตมาเจริญทางพระราชไมตรี ซึ่งได้เคย มีมาแต่ก่อนในระหว่างประเทสทั้งสองนี้แล้ว และเพื่อจะขออนุญาตตั้ง ห้างขึ้นอย่างเดิมด้วย
๑๙
ในการที่ยุโรปได้เข้ามาเฝ้าทำพระราชไมตรีเช่นนี้ พระเจ้า
กรุงสยามทรงยินดีเปนอันมาก แต่ภายนอกแกล้งทำอิดออดต่าง ๆ
แต่ความจริงนั้นทรงยินดีเปนอย่างยิ่ง ที่ได้ทรงเห็นชาวยุโรปกลับเข้า
มาในพระราชอาราเขต และถ้าพวกฝรั่งเศสได้เอาอย่างพวกฮอลันดา
และอังกฤษแล้ว พระเจ้ากรุงสยามก็จะทรงยินดีหาสิ่งที่จะเปรียบไม่ได้
ตามความข้อนี้ขอท่านโปรดพิเคราะห์ดูด้วย ว่าจะควรบอกให้มองซิเออร์
เดอปองชาแตรงทราบด้วยหรือไม่
เรื่องผู้ว่าราชการเมืองปอนดีเชรีเจรจาการบ้านเมือง จดหมายมองซิเออร์เกดีถึงมองเซนเยอร์เมโกร เมืองปอนดีเชอร๊ วันที่ ๓ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๗๑๑ (พ.ศ. ๒๒๕๔) ด้วยท่านสังฆราชเดอซาบูลได้รับจดหมายจากท่านเชอวาเลียเฮ แบต์ซึ่งเวลานี้เปนเจ้าเมืองปอดีเชรี บอกความประสงค์ของบริษัท ฝรั่งเศสในการที่คิดจะไปทำความตกลงกับพระเจ้ากรุงสยาม ตามข้อ ความที่ได้บอกมาในจดหมายนั้น และถ้าท่าสังฆราชเห็นมีทางที่จะ สำเร็จได้แล้ว ก็ขอให้ท่านสังฆราชนำความกราบทูลแด่พระเจ้ากรุง สยามด้วย ตามข้อความที่จะต้องการตกลงกับไทยนั้น ข้อที่สำคัญ ก็คือให้การต่าง ๆ ได้คงเปนไปตามหนังสือสัญญาที่ได้ทำไว้กับพระเจ้า แผ่นดินองค์เก่าที่เปนพระเจ้าแผ่นดินดีนั้น ซึ่งพระราชทานท่าเรือ
๒๐
เมืองมริดให้แก่บริษัทฝรั่งเศส มองเซนเยอร์เดอซาบูลจึงนำความ
นี้เรียนต่อเจ้าพระยาพระคลังและขุนนางผู้ใหญ่อีกหลายคน เพื่อให้นำ
ความกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินใหม่ ซึ่งได้ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อปี ค.ศ.
๑๗๐๙ (พ.ศ. ๒๒๕๒) และซึ่งเปนพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน
องค์ดุร้ายที่สวรรคตเมื่อต้นปี ค.ศ. ๑๗๐๕๒ (พ.ศ. ๒๒๕๒) นั้น แต่เจ้า
พระยาพระคลังแลข้าราชการอื่น ๆ ก็ได้ตอบสังหราชอย่างเคร่า ๆ จะ
จับหลักอย่างใดไม่ได้ และข้อที่เกี่ยวด้วยการจะยกเมืองมริดให้แก่
ฝรั่งเศสนั้นก็เกือบไม่พูดถึงเลย ตามข่าวที่ได้ทราบมาว่าบริษัทฝรั่งเศส
ได้ยกให้เปนหน้าที่ของมองซิเออร์มาลวงจัดการต่อไปนั้น กระทำให้คณะ
บาดหลวงพวกเรามีความเกรงว่า ถ้ามองซิเออณ์มาลวงเห็นว่าจะไม่
ได้เมืองมริดโดยดีแล้ว ก็อาจจะมายืดเมืองด้วยใช้กำลังก็จะเปนได้
ท่านสังฆราชอยากจะทราบความจริงว่า มองซิเออร์มาลวงจะคิดการ
อย่างไรแน่ จึงได้ตกลงเมื่อปลายเดือนมกราคมปีกลายนี้ จะให้
ข้าพเจ้าไปยังฝั่งโดยเรือของพระเจ้ากรุงสยามลำหนึ่ง ข้าพเจ้าจึง
ได้ออกเดิรทางเมื่อวันที่ ๑ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๗๑๐ (พ.ศ. ๒๒๕๓)
พร้อมด้วยนายเรือและคนนำร่อง เดิรทางบกถึงเมืองตนาวศรีและเมือง
มริด เพื่อจะได้ลงเรือพร้อมกับนายเรือและคนนำร่องที่ไปด้วยกัน
ครั้นเดิรทางอยู่เหน็ดเหนื่อย ๓๕ วัน ก็ได้ไปถึงเมืองมริด แต่การ
ที่เดิรทางคราวนี้ได้รับความลำบากอย่างสาหัส จึงได้เดิรทางช้ามาก
ข้าพเจ้าคิดในใจจะพักอยู่ที่มริดต่อไป แต่เพอิญพระเปนเจ้า
๒๑
ได้จัดการให้ข้าพเจ้าได้เดิรทางต่อไป โดยมีเรือของแขกอามเนียคน
๑ ชื่อเซซาเดอเลตัวล์เปนเพื่อนของเรา ได้หนีพายุเข้าอาศรัยใน
เมืองมริดยอมจะไปส่งข้าพเจ้าที่ฝั่ง (Cote) ครั้นข้าพเจ้าได้ไปเมือง
ปอนดีเชรี ก็ได้ไปหาเชอวาเลียเฮแบต์เพื่อส่งจดหมายของมองเซน
เยอร์เดอซาบูล และเพื่อจะพูดด้วยปากถึงข้อความที่ได้กล่าวมาข้าง
ต้นนี้แล้ว และจะพูดถึงเรื่องเงินของบุตร์มองซิเออร์คอนซตันซ์ซึ่ง
ได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. ๑๗๐๙ (พ.ศ. ๒๒๕๒) และซึ่งมาดามคอน ซตันซ์จะต้องการ เพราะตัวเปนคนยากจนด้วย เมื่อข้าพเจ้าได้พบ
กับเชอสวาเลียเฮแบต์แล้วก็ได้รับความพอใขทุกอย่าง เพราะท่านผู้
นี้ไม่ใช่แต่เปนคนมีสติปัญญาสมกับตำแหน่งหน้าที่อย่างเดียว แต่เปน
คนคริศเตียนที่ดีด้วย ท่านผู้นี้มีความรักคณะบาดหลวงของเราและ
นับถือมองซิเออร์เตเซียมาก และบอกกับข้าพเจ้าว่ามีความนับถือมอง
เซนเยอร์เดอซาบูลมากเหมือนกัน ท่านเชอวาเลียเฮแบต์ได้รับรอง
กับข้าพเจ้าว่า ตามที่พวกเรากลัวจะเกิดเรื่องขึ้นที่เมืองไทยนั้นเปนอัน
ไม่ต้องวิตก เพราะมองซิเออร์มาลวงยังไม่ได้รับหน้าที่เปนหัวหน้าของ
บริษัท และถึงแม้ว่าเขาจะได้เปนหัวหน้าของบริษัทแล้ว ก็จะไม่
ใช้กำลังไปตีเมืองมริดเปนแน่ เพราะการที่จะใช้กำลังที่เราวิตก
นั้นจะไม่ได้ประโยชน์เท่าไรนัก ด้วยเหตุว่าเวลานี้ฝรั่งเศสยังเปนไมตรี
กับไทยอยู่ คือว่าทุก ๆ ปีบริษัทฝรั่งเศสก็ได้อาศรัยซ่อมแซมเรือ
ที่เมืองมริด ไทยก็รับรองอย่างดี เมืองฝรั่งเศสจะต้องการอะไรไทย
๒๒
ก็จัดหาให้โดยบริษัทไม่ต้องใช่โสหุ้ยมากมายเท่าไรนัก พระเจ้ากรุง
สยามองค์ที่สวรรคตก็ได้รับสั่งไว้ แก่เจ้าเมืองตะนาวศรีและเจ้าเมืองมริด
ให้รับรองให้ดี และถ้าบริษัทจะต้องการอะไรก็ให้จัดหาให้ ข้อนี้เมื่อ
มองซิเออร์หลุยได้ไปยังเมืองมริดก็ได้เห็นปรากฎอยู่แล้ว แลพระ
เจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ก็ได้มีรับกำชับอย่างนี้เหมือนกัน
จดหมายมองเซนเยดร์เดอซีเซ ถึงมองซิเออร์เฮแบต์เจ้าเมืองปอนดีเชรี ค.ศ. ๑๗๑๔ (พ.ศ. ๒๒๕๗) ในจดหมายฉบับนี้ ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวความให้ซ้ำกับจดหมายที่ ข้าพเจ้าได้มีมายังท่านซึ่งฝากมาทางเมืองมริดเมื่อ ๘ เดือนล่วงมาแล้ว (๑) และที่ข้าพเจ้าได้กำชับให้ฝากไปกับเรือลำแรกที่จะไปยังฝั่ง เรือที่เดิร เข้าออกมีอยู่เสมอเกือบทุกระดู ข้าพเจ้าจึงหวังใจว่าท่านคงจะได้รับ หนังสือของข้าพเจ้า และท่านคงจะทราบถึงการต่าง ๆ ที่ได้ขึ้นในเมือง ไทย ตามความดำริห์ของท่านที่ได้บอกมาให้ทราบนั้นแล้ว ข้าพเจ้าเชื่อท่านคง จะมีความพอใจในรายงารของข้าพเจ้าที่ได้ชี้แจ้งถึง การต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าได้จัดไปเพื่อให้ถูกใจท่าน และคงจะพอใจในการที่ ข้าพเจ้าได้จัดเปนการสำเร็จไปนั้นด้วย
(๑) สำเนาจดหมายที่อ้างนี้หามีไม่
๒๓ ตั้งแต่นั้นมาการต่าง ๆ ก็คงอยู่รูปเดิม ดังข้าพเจ้าได้ชี้แจ้งให้ ท่านทราบแล้ว ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายเราหาได้จัดกการอย่างไรต่อไปอีกไม่ ตามที่ข้าพเจ้าได้บอกท่านไปว่าพระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งให้เตรียมบ้าน ที่เอกอรรคราชทูตฝรั่งเศสได้เคยพัก และให้ซ่อมแซมบ้านของพ่อค้า ฝรั่งเศสเพื่อจัดให้เปนที่พักของเจ้าพนักงารของบริษัท เพราะไทยเชื่อ ว่าท่านคงจะพาคนของบริษัทมาด้วยนั้น การทั้งสองอย่างที่รับสั่งให้ทำ นี้หาได้ใคร่ทำกันไม่ เมื่อได้รับสั่งในเรื่องนี้เปนเวลาที่พึ่งได้เสวยราชย์ และเปนเวลาที่เหมาะ พวกขุนนางซึ่งได้รับกระแสรับสั่งให้จัดเรื่องนี้ก็ ได้ลงมือทำบ้างในชั้นต้น แต่ภายหลังก็ได้กระตือรือร้นอย่างใด การ ที่ช้าไปเช่นนี้จะเปนได้ด้วยหลายประการ คือจะเปนด้วยพระทัยของ พระเจ้าแผ่นดินชาไป เพระได้มีคนกราบทูลว่า การที่จะเปนไมตรีและ ติดต่อกับฝรั่งเศสอีกความต้องการของฝรั่งเศสนั้น คงจะได้รับความ บีบครั้นของฝรั่งเศสซึ่งจะไม่เปนประโยชน์แก่ประเทศสยามเลย อย่าง ๑ หรือจะเปนด้วยความรังเกียจของข้าราชการไทยที่มีหน้าที่ทำการนี้ เพราะ การที่จะซ่อมแซมบ้านตามรับสั่งนั้น ข้าราชการเหล่านี้ต้องออกทุนทรัพย์ ของตัวเองซึ่งเปนเงินไม่น้อยอย่าง ๑ หรือจะเปนด้วยพวกออลันดาคิด อ่านยุแหย่ เพราะพวกฮอลันดาหาหนทางทุกอย่างที่จะขัดขวางในความ คิดของท่ายอีกอย่าง ๑ ก็จะเปนได้ ในเวลานี้พวกฮอลันดาก็ได้ประจบ ประแจงเอาเจ้าพระยาพระคลังเปนพวกของตัวแล้ว เจ้าพระยาพระคลัง คนนี้ในส่วนต้วเองก็เปนคนดีอยู่ แต่ก็เชื่อถ้อยฟังคำของจีนผู้หนึ่งทุก
๒๔
อย่าง ถ้าจีนผู้นี้จะพูดอย่างไรหรือจะให้ทำอย่างไร เจ้าพระยาพระคลัง
ก็ทำตามใจจีนคนนี้ทั้งสิ้น ฝ่ายพวกฮอลันดาเห็นว่าจีนผู้นี้จะเปนสายได้ดี
สำหรับพูดจาเกลี้ยกล่อมเจ้าพระยาพระคลังได้ จึงได้เอาจีนคนนี้ไป
เลี้ยงและตั้งให้เปนพ่อค้าของบริษัทฮอลันดา และนอกจากทำการของ
บริษัทแล้ว พวกฮอลันดายังอนุญาตให้จีนผู้นี้ทำการค้าขายในส่วนตัว
ได้อีก ซึ่งทำให้จีนคนนี้ได้รับประโยชน์ถึงสองทาง เพราะฉนั้นจีน
ผู้นี้จึงเข้ากับพวกออลันดา ถ้าการที่ไทยชานั้นไปนั้นจะเปนด้วยเหตุหนึ่ง
เหตุใดดังที่ข้าพเจ้ากล่าวมานี้แล้ว ข้าพเจ้าจะได้บอกให้ท่านทราบภายหลัง
ในเวลาที่เรือลำเล็กลำ ๑ ซึ่งมาจากเมืองมัทราสจะได้ออกจากเมืองนี้
ในเวลานี้ถ้าข้าพเจ้าจะบอกให้ท่านทราบว่า ในเรื่องนี้ข้าพเจ้ามีความเห็น
อย่างไรนั้นก็พอจะบอกได้ แต่ความเห็นนี้เปนความเห็นส่วนตัวข้าพเจ้าเอง
และจะรับรองว่าเปนความเห็นที่ถูกทีเดียวก็ยังไม่ได้ เพราะฉนั้นจึงควร
จะรอให้ได้ความชัดเจนขึ้น และคิดอ่านสืบสวนให้ได้สว่างแจ่มแจ้ง
เสียก่อนจะดีกว่า
ถึงแม้ว่าการที่พวกฮอลันดาจะพูดจายุแหย่และได้เปนผลอย่างไรเปน
การที่ข้าพเจ้ายังแคลงใจอยู่ก็จริงนั้น แต่ในข้อที่พวกฮอลันดาคิดจะ
ขัดขวางท่านนั้นเปนการที่ข้าพเจ้าไม่มีความสงสัยเลย เพราะพวก
ฮอลันดาได้พยายามอยู่เสมอเปนนิตย์ ที่จะขัดขวางในความคิดของท่านทุก
อย่าง และความคิดของท่านจะมีอย่างไร พวกฮอลันดาก็รู้ถึงอยู่เสมอ
เวลานี้พวกฮอลันดายึดเจ้าพระยาพระคลังไว้เปนหลัก และเจ้าพระยา
๒๕
พระคลังกับพวกฮอลันดาชอบกัน เปนอันหนึ่งอันเดียวกันจนถึงกับกินและ
เล่นอยู่ด้วยกันเปนนิตย์ การที่กินกับเล่นด้วยกันนี้ได้ทำกันอย่างเปิดเผย
จนถึงกับคนทั่วไปมีความปลาดใจว่าเหตุใดจึงได้สนิธกันถึงเพียงนี้ การ
ที่พวกฮอลันดากับเจ้าพระยาพระคลังประชุมสำหรับกินและเล่นกันนั้น ก็มัก จะไปประชุมที่บ้านจีนนั้นซึ่งได้รับตำแหน่งหน้าที่เปนพ่อค้าของห้างฮอลันดา
จีนผู้นี้ได้คิดถึงบุญคุณของเจ้าเมืองบาตาเวียมาก จนถึงกับพยายาม
กีดกันมิให้พ่อค้าต่างประเทศเข้มาในเมืองนี้เพื่อพวกฮอลันดาจะได้ทำการค้าขายได้แต่ฝ่ายเดียว เมื่อเร็ว ๆ นี้เองมีพ่อค้าอังกฤษคน ๑ มาจาก
เมืองเบงกอล ได้มาหารือจีนผู้นี้ถึงเรื่องการค้าขาย จีนผู้นี้จึงได้แนะนำ
กับพ่อค้าอังกฤษอย่างเปนกันเอง ว่าอังกฤษจะเชื่อฟังถ้อยคำของจีน
ผู้นี่แล้วก็ไม่ควรจะเข้ามาค้าขายในเมืองนี้ เพราะเปนเมืองที่ยากจน
กันดารจะค้าขายสิ่งใดหากำไรยาก ฝ่ายพ่อค้าอังกฤษก็หาเชื่อไม่กลับ
แสดงความปลาดใจที่จีนผู้นี้พูดดังนี้ เพราะฉนั้นจีนผู้นี้จึงพยายามจะให้
พ่อค้าอังกฤษฉิบหายให้จงได้ และจวนจะสำเร็จไป หากว่ามีข้าราชการ
ไทยได้อุดหนุนพ่อค้าอังกฤษ และได้แนะนำต่าง ๆ จนที่สุดได้หาโอกาศ
ให้พ่อค้าอังกฤษคนนี้ได้ถวายเรื่องราว พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงรับ
เรื่องราวแล้วก็ได้มีกระแสรับสั่งอนุญาต ให้พ่อค้าอังกฤษได้ทำการค้าขาย
ได้ตามชอบใจ แต่ถึงดังนั้นเจ้าพระยาพระคลังและจีนผู้นี้ได้ทำให้พ่อค้า
อังกฤษได้รับความลำบากและเดือนร้อนเปนอันมาก จนถึงกับพ่อค้า
อังกฤษคนนีด้คิดจะกลับจากเมืองไทยอยุ่แล้ว
๒๖ เจ้าพระยาพระคลังคนนี้เปนคนที่พระเจ้าแผ่นดินที่สวรรคโปรด ปรานมาก และพระเจ้ากรงสยามองค์ปัจจุบันก็เดิรตามรอยพระราชบิดา ก็โปรดปรานมากเหมือนกัน แต่การที่เจ้าพระยาพระคลังทำตามใจจีน ผู้เปนพ่อค้าของบริษัทฮอลันดาทุกประการนั้น จึงเปนการกระทำให้ ความคิดของท่านเปนที่ติดขัดไปหมด ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ยัง มีพระชนมายุน้อยโปรดแต่ในการเล่นให้เพลินพระทัย จึงมอบราชการ งารเมืองโดยมากให้เจ้าพระยาพระคลังจัดทำไป ส่วนเจ้าพระยาพระคลัง รู้พระทัยของพระเจาแผ่นดินก็ได้ ดำเนิรการทุกอย่างให้เปนทีต้องพระราช หฤทัย เพราะฉนั้นผู้ที่เจ้าพระยาพระคลังไม่ชอบนั้นจึงตกอยู่ในฐาน ลำบากมาก แล้วเจ้าพระยาพระคลังได้คิดอุบายหาผู้หญิงจีนเข้าไปไว้ ในพระราชวัง เพื่อให้คอยรับใช้พระมเหษีและเจ้านายผู้หญิง ส่วน ราชการฝ่ายหน้านั้นตำแหน่งใดที่เปนตำแหน่งสำคัญ ๆ เจ้าพระยา พระคลังก็ตั้งให้พวกจีนเข้ารับตำแหน่งนั้น ๆ และตำแหน่งหน้าที่ที่เกี่ยว ด้วยการค้าขาย เจ้าพระยาพระคลังก็ตั้งให้พวกจีนเปนหัวหน้า เพราะ ฉะนั้นในเวลานี้การค้าขายในเมืองไทยจึงตกอยู่ในมือพวกจีนทั้งสิ้น ถึง แม้ว่าพวกไทย มอญ แขกด มลายู แขกมัวไม่พอใจอย่างยิ่งในการที่ ไทยลำเอียงเข้าข้างจีนเช่นนี้ ก็ไม่กล้าพูดจาคัดค้านอย่างใด เพราะ ทราบอยู่ว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงฟังเสียงพวกจีน โดยพระเจ้าพระยาคลัง เปนสาย
๒๗
ท่านได้ขอให้ข้าพเจ้าเล่าความจริงถึงการในเมืองไทยให้ท่านทราบ
เพราะฉนั้นข้าพเจ้าจึงได้เล่าความต่าง ๆเหล่านี้โดยเลอียดเพื่อให้ตรงกับ
ความต้องการของท่าน เพราะฉนั้นเมื่อท่านได้ทราบแล้ว ท่านจะคิด
จัดการอย่างไรก็แล้วแต่ท่านจะเห็นควรตามสติปัญญาของท่านเถิด
จดหมายมองเซนเยอร์เดอซีเซ ถึงมองซิเออร์เฮแบต์ เจ้าเมืองปอนดีเชรี ค.ศ. ๑๗๑๕ (พ.ศ. ๒๔๕๘) ท่านคงจะได้ เห็นแล้วตามจดหมายที่ข้าพเจ้าได้มีมถึงท่านสอง ฉบับฝากมาทางเมืองมริดฉบับ ๑ ลงวันเดือนมีนาคม อีกฉบับ ๑ ลงวัน เดือนพฤศจิกายนปีก่อนนั้น ว่าข้าพเจ้าได้จัดการอย่างไร สำหรับทาบทาม ความคิดของไทยในเรื่องที่ท่านได้ดำริห์ไว้ เพราะฉนั้นในที่นี้ข้าพเจ้าจะ ได้รายงารให้ท่านทราบดังข้าพเจ้าได้สัญญาไว้ในจดหมายฉบับหลัง ว่า ผลที่สุดของการที่ข้าพเจ้าได้ทาบทามไทย ในเรื่องที่ฝรั่งเศสจะขอเมือง มริดนั้น เปนอย่างไร การที่ข้าพเจ้าจะทาบทามความคิดของไทยนั้น ข้าพเจ้าเดิรวิธี ๒ อย่าง คือ ๑ ได้สืบถามและลองพูดกับข้าราชการผู้ใหญ่หลายคน อีก อย่าง ๑ ข้าพเจ้าได้สืบถามพวกไทยที่ฉลาด ๆ ซึ่งอยู่ในที่นี้ว่า ถ้า ฝรั่งเศสจะขอให้ไทยยกเมืองมริดให้ฝรั่งเศสแล้ว คนไทยเหล่านี้จะ เห็นเปนอย่างไร แต่การที่ข้าพเจ้าสืบถามทาบทามทั้งสองทางนี้ไม่ได้
๒๘
ข่าวอันดีที่จะบอกให้ท่านทราบได้เลย วิธีที่ข้าพเจ้าได้จัดการในเรื่องนี้
นั้นได้ทำดังนี้ คือเมื่อสองสามวันนี้เอง ข้าพเจ้าให้หัวหน้าของ
โรงเรียนสามเณร ไปหาข้าราชผู้ซึ่งได้นำความกราบทูลว่าท่านได้
มาถึงอินเดียเมื่อปดีก่อน และได้กราบทูลถึงอัธยาศัยของท่าน ทั้ง
กราบทูลด้วยว่าท่านกำลังดำริห์ที่จะให้ ไทยกับฝรั่งเสสได้กลับเปนไมตรี
กันอย่างเดิมอีกนั้น เมื่อหัวหน้าโรงเรียนได้ไปพบกับข้าราชการผู้นี้ จึง
ได้แจ้งให้ข้าราชการผู้นั้นทราบว่า เรือจวนจะออกแล้ว เพราะฉนั้น
ข้าพเจ้าอยากจะทราบว่า พระเจ้ากรุงสยามจะทรงตอบเรื่องราวที่ข้าพเจ้า
ได้ถวายไว้แต่ปีก่อนนั้นอย่างไร เพื่อข้าพเจ้าจะได้แจ้งไปให้ท่านทราบ
ในปีนี้ เพราะเมื่อปีก่อนจะบอกไปให้ท่านทราบไม่ทันด้วยเหตุเรือได้
ออกเสียก่อนได้รับหนังสือจากเมืองมริด
ข้าราชการคนนี้ซึ่งเปนผู้มีความรู้แต่ผู้เดียวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เมื่อ
ครั้งเกิดจลาจลนั้น และเปนคนที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียวยิ่งกว่าข้า
ราชการทั้งปวงในเมืองนี้ ได้ตอบว่าการเรื่องนี้เปนการสำคัญอยู่จะต้อง
บอกให้เจ้าพระยาพระคลังทราบเสียก่อน เพื่อเจ้าพระยาพระคลังจะได้
นำความขึ้นกราบทูลให้ทรงทราบ ในวันนั้นเองหัวหน้าโรงเรียนได้ไป
ยังบ้านเจ้าพระยาพระคลัง และได้ไปพูดอย่างเดียวกับที่ได้พูดไว้แก่
ข้าราชการในตอนเช้า แต่หาได้บอกให้เจ้าพระยาพระคลังทราบไม่ว่า
ในเรื่องนี้ได้พูดกับคนอื่นไว้แล้ว เจ้าพระยาพระคลังจึงได้ตอบโดย
ทำกิริยาเฉย ๆ ว่า "ให้ท่านราชทูตมาเถิด ไทยจะได้จัดรับรองอย่างดี
๒๙
พระเจ้ากรุงสยามก็ได้มีรับสั่งไว้แล้วให้จัดเตรียมวังให้ราชทูตพัก และ
ให้จัดบ้านไว้ให้พวกพ่อค้าทจะมากับราชทูตอยู่ด้วย "หัวหน้าสามเณร
จึงขอสำเนาคาสั่งอันนี้ เจ้าพระยาพระคลังก็เรียกเสมียนมาแล้วสั่งให้
คัดสำเนาคำสั่งให้ แต่เพราะเหตุว่าคำสั่งอันนี้ก็ตรงกันกับที่ข้าพเจ้าได้
ส่งไปให้ท่านดูในจดหมายฉบับก่อน ๆ แล้ว ในครั้งนี้ข้าพเจ้าจึงหาได้
แปลส่งมาอีกไม่ ภายหลังมาอีกสองวันเจ้าพระยาพระคลังจะได้ตรอง
ถึงกิริยาหยาบที่ตนได้แสดงไว้หรืออย่างไรไม่ทราบ จึงได้ให้คนมา
บอกข้าพเจ้าว่า ถ้าข้าพเจ้าต้องการแล้วเจ้าพระยาพระคลังจะได้นำความ
เรื่องนี้กราบทูลพระเจ้าแผ่นดินให้ทรงทราบ ข้อนี้เปนการที่ข้าพเจ้า
ต้องการโดยแท้ แต่การที่จะกราบทูลนั้นข้าพเจ้าไม่ต้องการให้ขึ้นชื่อว่า
ข้าพเจ้าได้ขอร้องอย่างไร มิฉนั้นเจ้าพระยาพระคลังก็จะมายกบุญยอคุณ
ข้าพเจ้าจึงได้ทำเปนพูดว่า การที่ข้าพเจ้าได้มาแนะนำเช่นนี้เปนสิ่งที่น่า
ยินดีเปนอันมาก และเปนการที่เจ้าพระยาพระคลังควรจะจัดการโดย
เต็มอกเต็มใจ เพราะเปนทางที่จะให้เจ้าพระยาพระคลังหาความชอบ
ต่อพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ได้ เพราะเรื่องนี้เปนสิ่งที่จะพอพระทัยยิ่งกว่า
เรื่องอื่น (ที่จริงเรื่องการที่เกี่ยวด้วยพะรเกียรติยศคงจะพอพระทัยเปน
แน่ แต่ที่เกี่ยวด้วยยกเมืองมริดให้ฝรั่งเศสคงจะทำให้กริ้วหนักหนา)
โดยเหตุที่พอได้เสวยราชย์ใหม่ ๆ ก็ได้รับสิ่งที่พระราชบิดาต้องพระราช
ประสงค์มาช้านานแล้ว เพราะฉนั้นในเรื่องนี้ควรจะอย่างไรคือจะควร
กราบทูลหรือไม่นั้นก็แล้วแต่เจ้าพระยาพระคลังจะเห็นควรทั้งสิ้น เพราะ
๓๐
การเรื่องนี้เปนเรื่องที่เข้าใจกนอยู่แล้ว จึงขอให้เจ้าพระยาพระคลังตรึก
ตรองเสียให้ดี และจะควรอย่างไรก็แล้วแต่เจ้าพระยาพระคลังจะจัดการ
ต่อไป เจ้าพระยาพระคลังเห็นว่าที่ได้คัดสำเนาคำสั่งมาให้ข้าพเจ้า
เปนการพอแล้ว และไม่เห็นควรที่จะนำความกราบทูลให้ทรงทราบ
ในการที่จะนำเรื่องนี้ขึ้นกราบทูลตามที่เจ้าพระยาพระคลังว่า ถ้า
ข้าพเจ้าต้องการแล้วก็จะนำความกราบทูลให้นั้น ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้
เจ้าพระยาพรพคลังรู้สึกว่าข้าพเจ้าได้ขอให้นำความกราบทูล เพราะถ้า
เปนการที่ข้าพเจ้าขอร้องแล้วก็เท่ากับเปนการที่ข้าพเจ้าจะขอเฝ้าด้วย ทั้งจะตรงข้ามกับหนทางที่ควรจะดำเนิรในเรื่องนี้ เพราะเหตุว่าด้วย
ประการทั้งปวงจะต้องให้ตาโลกเห็นว่าไทยหาฝรั่งเศส หาใช่ฝรั่งเศส
เข้าหาไทยไม่ ถ้าแม้ว่าการเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นในแผ่นดินก่อนทั้งสอง
รัชกาล คือว่าถ้าในแผ่นดินก่อน ๆ ได้ทราบกันว่าในประเทศอินเดียมี
ราชทูตของพระเจ้าแผ่ดินฝรั่งเศสซึ่งพร้อมอยู่ที่จะมา เจรจาการบ้านเมือง
เพื่อให้พระราชไมตรีซึ่งเคยมี อยู่ในระหว่างประเทศสยามและประเทศ
ฝรั่งเศสได้คงมีต่อสืบไปอีก และราชทูตคนนี้อาจจะเจ้ามาถึงกรุงศรี
อยุธยา เพื่อมาเจรจาการเหล่านี้ได้นั้น ชาวสยามก็คงจะมีความยินดี
อย่างยิ่ง และถ้าได้จัดการรับราชทูตเหมือนเมื่อครั้งรับเชอวาเลียเดอ
โชมอง หรือมองซิเออร์เดอลาลูแบและมองซิเออร์เซเบเรต์แล้วไทยก็
จะปลื้มหาน้อยไม่ แต่มาในสมัยนี้ไทยดูเฉื่อยชาเฉยไปหมด จนที่สุด
การที่ว่าจะสร้างหรือตบแต่งวังสำหรับราชทูต และการที่จะซ่อมแซม
๓๑
บ้านสำหรับให้พ่อค้าฝรั่งเศสพักนั้นก็ ดูเฉื่อยชาไม่กระตือรือร้นกันเลย
การทั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าแน่ใจ ขึ้นอีกตามที่ข้าพเจ้าได้บอกท่านมาโดยืดยาว
ในจดหมายก่อน ๆ สองฉบับแล้วนั้น ว่าพวกฮอลันดาได้เกลี้ยกล่อม
หรือจะว่าซื้อเอาเจ้าพระยาพระคลัง กับ ข้าราชการอื่น ๆ อีก หลายคน
เข้าเปนพวกของตัวหมดแล้ว ในข้อที่ว่าซื้อนั้นฉเพาะพระยาพระคลัง
เปนของแน่ เพราะหัวหน้าของห้างฮอลันดาซึ่งอยู่ในเมืองนี้ได้พูดกับ
คน ๆ ๑ ซึ่งเปนที่เชื่อใจได้ ว่าหัวหน้าห้างได้รับสั่งจากตาเวียว่า
ถ้าเจ้าพระยาพระคลังจะต้องการอะไร ก็ให้ห้างจัดหาให้ทุกอย่าง
การที่ข้าพเจ้าได้จัดการทาบทามความคิดของไทยในเรื่องฝรั่งเศส
นั้น เปนเรื่องดังที่ได้เล่ามาข้างบนนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าไทยเฉยเมินมาก
จึงเห็นว่าการทั้งปวงที่ท่านได้ดำริห์ไว้นั้นไม่หวังว่าเปนการสำเร็จได้ คือ
ว่าคงจะจัดการไม่ให้เปนการ เสียพระเกียรติยศของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสไม่ได้ และฝ่ายบริษัทก็คงจะไม่ต้องเสียใจภายหลังที่ตัวต้องลงทุนมาก
มาย แต่ไม่ได้ประโยชน์อย่างใด
ในข้อที่จะถามความเห็นของพวกฝรั่งเศสที่อยู่ในเมืองนี้ว่า เขา
คิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้นั้น ข้าพเจ้าจะต้องบอกเสียก่อนว่า ตั้งแต่
ได้ตกลงปรองดองกับไทยมานั้น ยังคงเหลือชาวฝรั่งเศสแต่สามคน
เท่านั้น ในสามคนนี้มีอยู่สองคนที่พอมีความรู้ที่จะทำมาหากินพอเลี้ยง
ครอบครัวเท่านั้น แต่นอกจากนั้นไม่มีความรู้อย่างใดเลย เพราะ
ฉนั้นยังคงเหลือแต่ชาวฝรั่งเศสอีกคนเดียว ซึ่งมีสติปัญญาพอที่จะ
๓๒
ปฤกษาหารือได้ คือ มองซิเออร์ ชาบอนโน ซึ่งได้มาอยู่ในเมืองนี้
ช้านานมาแล้ว และซึ่งได้เกี่ยวเมื่อครั้งเกิดจลาจลไม่ใช่น้อยด้วย และ
ในระหว่างที่กำลังเดือดร้อนอยู่นั้นก็ได้ดำเนิรการโดยระวังตัวอย่างดี ท่าน
ผู้นี้ความรู้ในอัธยาศัยของไทยพอที่จะเชื่อถือได้ โดยไม่ต้องกลัว
ว่าเขาจะเข้าใจผิดอย่างใด มองซิเออร์ชาบอนโนเปนคนที่ชาวต่างประเทศ
ทั้งหลายในเมืองนี้นับถือมาก เมื่อการงารติดขัดพวกชาวต่างประเทศ
ก็มาปฤกษาหารือมองซิเออร์ ชาบอนโนอยู่เสมอเปนนิตย์ และถ้ามี
การโต้เถีบยงกันในระหว่างพวกชาวต่างประเทศ ก็มักจะขอให้มองซิเออร์
ชาบอนโนเปนคนกลางชี้ขาดในข้อโต้เถียงเหล่านั้น ฝ่ายพวกไทยก็มี
ความนับถือรักใคร่มองซิเออร์ ชาบอนโนมากเหมือนกัน และยกย่อง
เหมือนกับมองซิเออร์ ชาบอนโนได้เคยเปนข้าราชการเก่า ซึ่งเคยได้
เปนผู้ว่าราชการเมือง และในระหว่างที่ว่าราชการเมืองอยู่นั้นก็ได้ทำ
ให้คนทั้งหลายพอใจทั้งนั้น เพราะฉนั้นข้าพเจ้าจึงอยากจะทราบว่า ใน
การที่ฝรั่งเศสจะขอเมืองมริดจากไทยนั้น มองซิเออร์ ชาบอนโนจะมี
ความเห็นอย่างไร ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าได้เคยพูดกับมองซิเออร์ ชาบอนโน
หลายครั้ง เพื่อคอยสังเกตว่าเขาจะคงยืนคำอยู่หรือจะเปลี่ยนแปลง
อย่างใด ข้าพเจ้าได้อธิบายถึงประโยชน์ในการที่ฝรั่งเศสจะได้ตั้งอยู่ที่
เมืองมริด และได้เล่าว่าไทยก็ได้รับรองไว้แต่เดิมแล้วว่า จะได้ยก
เมืองมริดให้แก่ฝรั่งเศส มองซิเออร์ชาบอนโนจึงได้ตอบข้าพเจ้าว่าไม่ควร
จะนึกเลยว่า ไทยจะยกเท่าเรือนี้ให้แก่ฝรั่งเศส เพราะไทยถือว่า
๓๓ เมืองมริดเปนเมืองที่สำคัญสำหรับทำการค้าขาย ติดต่อกับเมืองมอญ เมืองเบงกอลและฝั่งคอรอมันเดล การที่ไทยได้รับรองไว้แต่ก่อน ๆ นั้น ก็ไม่ได้ประสงค์อะไรนอกจากจะพูดให้ถูกใจฝรั่งเศส เพื่อล่อให้ ฝรั่งเศสแต่งราชทูตมา เพราะการที่มีราชทูตมาเช่นนี้เปนเกียรติยศ ต่อไทย ทั้งไทยก็ได้กำไรด้วย ถ้าหากไทยจะถูกบังคับเพราะเหตุที่ตัว รับรองไว้ และจำเปนจะต้องตามที่รับริงไว้นั้นแล้ว ไทยก็คง สัญญายอมหมดทุกอย่าง แต่ลงปลายไทยก็คงจะไม่ทำตามที่ได้สัญญา ไว้ ถ้าจะดูภายนอกก็เหมือนไทยจะเปนธุระช่วยฝรั่งเศสให้มาตั้งค้า ขายในแห่งต่าง ๆ ที่ไทยได้อนุญาตไว้ก็จริงอยู่ แต่ภายในไทยก็คิด อุบาย ๆ หลายพันอย่างที่จะขัดขวางไมให้ฝรั่งเศสตั้งอยู่ได้ และ ถ้าหากว่าพวกฝรั่งเศส จะจัดการแก้อุบายของไทยจนได้มาตั้งการค้าขาย ได้แล้ว ไทยก็คงจะพยายามรังแกข่มเหงที่สุดที่จะทำได้ นี่และ เปนความเห็นของมองซิเออร์ชาบอนโน ซึ่งตรงกับเห็นของพวก บาดหลวงและนักเรียนของเรา และพวกนี้ก็รู้จักนิสัยของไทยได้ดี เหมือนกัน ถ้าจะสรุปรวมความแล้ว ความเห็นของคนทั้งหลายในเรื่องนี้มี ดังนี้ คือ ๑ ทำอย่างไร ๆ ไทยก็คงไม่เต็มใจยกเมืองมริดให้ฝรั่งเศส ๒ ถ้าฝรั่งเศสได้แต่งราชทูตมาแลมีเครื่องราชบรรณาการอย่างดีและงาม
๓๔
ฝรั่งเศส ๓ แต่ถึงไทยจะรับรองและสัญญว่าจะยกเมืองมริดให้ฝรั่งเศส
อย่างไรก็ตาม ไทยก็คงไม่ยกให้ นอกจากจะใช้กำลังแล้วทำอย่างไร
ฝรั่งเศสก็คงจะไม่ได้เมืองมริด ๔ ถ้าแม้ว่าไทยจะทำอย่างอื่นไม่ได้
นอกจากแกล้งทำเปนทีช่วยให้ฝรั่งเสสได้ไปตั้งที่เมืองมริดแล้ว ไทย
ก็คงจะคิดอุบายต่าง ๆ มิให้ฝรั่งเศสตั้งอยู่ได้ ๕ หาความฝรั่งเศสจะจัด
การไปอยู่เมืองมริดให้จงได้ โดยใช้กำลังทหารก็ตาม หรือจะเอา
เงินหว่านก็ตาม หรือจะคิดอุบายดีอย่างใดก็ตาม แต่ก็คงจะวิวาทกับ
ไทยเสมอไม่ขาดเลย และไม่ช้าก็เร็วไทยก็คงจะทำกับฝรั่งเศสเหมือน
กับพวกญวนได้ทำกับอังกฤษที่ปูโลคอนดอเมื่อ ๓-๔ ปีนี้เอง และ
การที่ไทยจะคิดการเช่นนี้ ก็อาจทำด้วยกำลังของตัวเอง หรือจะใช้
พวกแขกพราหมณ์และแขกมลายู ซึ่งอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ใกล้กับประเทศ
สยามก็ได้ ถ้าเสียงของข้าพเจ้าจะมีน้ำหนักบ้างแล้ว และเพื่อจะยืน
ยันว่าความเห็นตามที่กล่าวมาแล้วเปนความเห็นที่ถูกนั้น ข้าพเจ้าจะ
ต้องขอบอกให้ท่านทราบว่า ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้รู้จักกับคนไทย ความ
เห็นของข้าพเจ้าก็ตรงความเห็น ๕ ข้อซึ่งได้กล่าวมาแล้วนั้น เพราะ
ฉนั้นข้าพเจ้าเห็นว่าท่านควรจะถือความเห็นนี้ไว้เปนหลัก เพราะเปน
เรื่องที่จะพูดในที่อื่นไม่ได้
การที่เจ้าเมืองตะนาวศรีได้เอื้อเฟื้อแก่เรือฝรั่งเศสซึ่งได้แวะเข้าไป
ที่เมืองมริดเพื่อทำการซ่อมแซมเรือนั้น จะต้องถือว่าเปนด้วยน้ำใจอัน
ดีของเจ้าเมืองนั้นเอง เพราะการที่เอื้อเฟื้อนี้ไม่ได้เอื้อเฟื้อฉเพาะเรือ
๓๕
ของฝรั่งเศส แต่เจ้าเมืองตะนาวศรีได้เอื้อเฟื้อแก่คนทั่วไป เพราะ
เมื่อก่อนเจ้าเมืองคนนี้จะออกไปรับหน้าที่เมืองตะนาวศรี ก็ได้บอกกับ
ข้าพเจ้าไว้ว่าจะตั้งใจเอื้อเฟื้อแก่คนทั่วไป แต่ท่านเจ้าเมืองคนนี้จะไม่
ได้อยู่ในตำแหน่งนานเท่าไรนัก เพราะหลานของเจ้าเมืองคนนี้ได้ถูกหา
ว่าเปนขบถจะคิดชิงราชสมบัติ และศาลก็ได้ตัดสินประหารชีวิตทั้งลูก
ด้วยอีกคน ๑ แต่พระเจ้ากรุงสยามซึ่งมีพระอัธยาศัยอันเต็มไปด้วย
พระเมตตากรุณา ได้ทรงโปรดยกโทษประหารชีวิต แต่ให้คงมี
โทษจำคุกตลอดชีวิต
ความกดขี่บีบคั้น ว่าด้วยรื่องไทยกดขี่บีคั้นคณะบาดหลวงในเมืองไทย เมื่อ ค.ศ. ๑๗๓๐ (พ.ศ. ๒๒๗๓) สังฆราชเตเซียเดอเคราเล เปนผู้แต่ง
เมื่อเร็ว ๆ นี้เองพวกเราได้หวังใจว่า ในปีนี้คือปี ค.ศ, ๑๗๓๐ (พ.ศ. ๒๒๗๓) พวกเราจะได้สละเลือดเนื้อสำหรับให้เปนเกียรติยศต่อ พระเปนเจ้า แต่หากว่าพวกศัตรูของสาสนายังไม่ถึงกับต้องให้เรา สละเลือดเนื้อ เพราะฉนั้นในที่นี้จะต้องเล่าพอเปนสังเขปว่า ศัตรู ของศาสนาได้ทำการอย่างไรเพื่อให้เสียเกียรติยศของพระเปนเจ้า และ เพื่อให้เสื่อมเสียแก่สาสนาด้วย
๓๖
ต้นเหตุของเรื่องที่จะกดขี่
มีเด็กอยู่คน ๑ ชื่อเต็ง ซึ่งแต่ก่อนนี้บิดาเคยทำได้ทำการหน้าที่ใหญ่
และซึ่งมารดาในเวลานี้ก็ยังเปนคริสเตียนอยู่ ครั้นบิดาถึงแก่กรรม
แล้วนายเต็งก็คงยังอยู่ในบ้านของบิดาต่อไป แล้วภายหลังญาติของ
นายเต็งได้เก็บทรัพย์สมบัติของมารดานายเต็งไปจนหมดสิ้น แล้วจึง
ไล่มารดานายเต็งให้ออกจากบ้าน มารดานายเต็งหมดเนื้อหมดตัว
และไม่มีที่จะอยู่แล้ว จึงได้ไปอาศรัยอยู่กับสังฆราชเดอซาบูล
ท่านสังฆราชก็ได้ช่วยเหลืออุดหนุนทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ ครั้นมา
ภายหลังไม่ช้าเท่าไรนัก นายเต้งก็ตกมาจากที่สูงจนขาแลแขนหัก
ญาติของนายเต็งจึงไล่ออกจากบ้านให้ไปอยู่กับมารดาต่อไป ฝ่าย
มารดาก็เปนคนยากจนที่สุดไม่มีกำลังพาหนะจะรักษาบุตร์ได้ จึงได้ทำ
หนังสือยกบุตร์ให้กับสังฆราชเดอซาบูล ตามแบบธรรมเนียมของเมืองนี้
ครั้นได้จัดการรักษานายเต็งอยู่หลายเดือน นายเต็งก็หาย แต่เขาและ
แขนนั้นยังไม่มีกำลัง ท่านสังฆราชไม่ไว้ใจ จึงได้ทูลขอนายเต็งต่อ
พระเจ้ากรุงสยาม ก็โปรดพระราชทานยกนายเต็งให้แก่สังฆราช
ครั้นนายเต็งอายุได้ประมาณ ๘ ขวบ ได้รับความเล่าเรียนใน
ทางสาสนาก็ยอมเข้ารีตโดยเต็มใจ นายเต็งได้เล่าเรียนอยู่ในโรงเรียน
๑๐ ปี ได้เล่าเรียนหาคุณความดีสำหรับมีใจเผื่อแผ่ช่วยเหลือมนุษย์
จึงได้เจ้าทำพิธีโกนศีร์ษะเจ้าคณะบาดหลวง ฝ่ายญาติของนายเต็ง
ไม่พอใจให้นายเต็งอยู่กับพวกเรา จึงให้ทำเรื่องราวถวายสมเด็จพระ
อนุชาของพระเจ้าแผ่นดิน ขอให้บาดหลวงส่งนายเต็งคืนให้มาอยู่กับ
๓๗ ญาติ สมเด็จพระอนุชาทรงอนุญาตตามคำร้องขอพวกญาติ จึงรับสั่ง ให้พวกข้าราชการมายังโรงเรียน เพื่อสั่งให้เราคืนตัวนายเต็งให้ ฝ่าย นายเต็งอดกลั้นอยู่ไม่ได้ จึงได้ไปเฝ้าสมเด็จพระอนุชา ๆ ทรงกริ้ว หนัก จึงมีรับสั่งให้พนักงารถอดเสื้อยาวออกจากตัวนายเต็ง และ ให้นายเต็งแต่ตัวอย่างไทย แล้วจึงทรงมอบตัวนายเต็งให้ข้าราชการ คุมตัวไว้ ภายหลังสักสองสามวัน สมเด็จพระอนุชาได้รับสั่งให้หานายเต็ง ไปเฝ้า และมีพระกะทู้ถามว่า นายเต็งได้ไปเข้ารีตด้วยเหตุใด นายเต็งได้ทูลตอบว่า "เพราะเห็นว่าสาสนาคริสเตียนเปนสาสนาที่ดี" สมเด็จพระอนุชารับสั่งถามว่า "พระเปนเจ้าของเอง จะทำให้เอง พ้นมือข้าได้หรือ" นายเต็งจึงทูลตอบว่า "ได้เปนแน่ เพราะพระ เปนเจ้ามีอำนาจมาก" สมเด็จพระอนุชาจึงรับสั่งให้เอาไม้เรียว เฆี่ยนนายเต็ง นายเต็งทนถูกเฆี่ยนได้สองสามทีก้ร้องขึ้นว่า จะยอม ทำตามรับสั่งของสมเด็จพระอนุชาทุกประการ สมเด็จพระอนุชาจึง รับสั่งให้นายเต็งเอาท้าวขยี้ไม้กางเขนและให้กราบพระพุทธรูปเสีย นาย เต็งก็ได้ทำตามรับสั่งทั้งสองประการ สมเด็จพระอนุชาจึงให้นายเต็ง ระบุชื่อพวกเข้ารีตรวม ๑๑ คน ซึ่งเปนคนไทยบ้างมอญบ้าง ครั้น นายเต็งได้รักษาแผลถูกเฆี่ยนหายแล้ว สมเด็จพระอนุชาก็บังคับให้ บวชเปนภิกษุ และการที่บวชนี้ก็ได้ทำตามพิธีบวชชองไทยทุก อย่าง การที่นายเต็งมีใจกลับกลอกเช่นนี้ได้ทำให้พวกเราเสียใจเปน อันมาก แต่นายเต็งก็ร้องอยู่เสมอว่า ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะความกลัว แต่ในใจจริงก็ยังนับถือพระเยซูอยู่เสมอ ๓๘ แล้วสมเด็จพระอนุชาได้ให้ข้าราชการมาหาพวกเรา กล่าวโทษ มองเซนเยอร์เดอโรซาลี ในการที่รับนายเต็งเข้ารีต มองเซนเยอร์เดอ โรซาลีจึงได้ตอบว่า "นายเต็งคนนี้ได้เข้ารีตก่อนที่ข้าพเจ้าได้เข้ามาใน กรุงสยามอยู่แล้ว" สมเด็จพระอนุชาได้ทรงทราบในคำตอบของ มองเซนเยอร์เดอโรซาลี ก็มิได้รับสั่งอย่างไรต่อไป แต่ทรงหาช่องทาง ที่จะริบโรงเรียน วัด และบ้านของเราที่มหาพราณ์ให้จงได้ แต่ผลที่สุด เรามีอำนาจอันชอบธรรมในที่นี้ สมเด็จพระอนุชาคิดการหาสำเร็จไม่ เรื่องนี้เปนปฐมเหตุที่จะทำให้ไทยกดขี่บีบคั้นพวกเรา เรื่องที่ ๒ เปนเรื่องดังนี้ มีเจ้าเชื้อพระราชวงศ์เก่าองค์ ๑ แสดงพระองค์ว่าเปนเพื่อนกับ พวกเรา ได้พาเจ้านายอื่น ๆ กับพระสงฆ์มาดูพิธีสวดของเราอยู่เสมอ จึงได้ยืมหนังสือสาสนาของเราจากท่านสังฆราชไปหลายเล่ม เจ้าองค์นี้ ได้หนังสือเหล่านี้ไปแล้ว ก็นำไปถวายสมเด็จพระอนุชาของพระเจ้า แผ่ดิน โดยทรงเชื่อว่าสมเด็จพระอนุชาคงจะทรงโปรดสาสนาของเรา เหมือนกับพระองค์เหมือนกัน หนังสือเหล่านี้กล่าวถึงคุณความดีและ อภินิหารของพระเปนเจ้า กล่าวถึงเรื่องที่ว่าตายแล้ววิญญาณจะไป เกิดใหม่หรือไม่ และมีข้อปัญหาถามพระสงฆ์ไทยถึงข้อนี้ ซึ่งพระสงฆ์ ตอบไม่ได้เลยจนองค์เดียว ครั้นสมเด็จพระอนุชาได้ทรงอ่านหนังสือ เหล่านี้แล้ว ก็มีพระประสงค์จะต้องการหนังสืออื่น ๆ ที่เขียนไว้เปน ภาษาไทย จนที่สุดหนังสือที่เราเคยอ่านในโบสถ์นั้นก็ต้องพระประสงค์
๓๙
ด้วย จึงมีรับสั่งให้ข้าราชการมารับหนังสือเหล่านี้ไปจากพวกเรา การที่
เปนดังนี้ได้ทำให้เราหนักใจมาก เพราะเราจะบอกว่าหนังสือเหล่านี้ไม่มี
ก็บอกไม่ได้ และถ้าจะไม่ให้ไปก็จะกริ้ว อีกประการ ๑ เราก็
นึกอยู่ว่า หรือบางทีจะเปนโชคอันดีที่พระเปนเจ้าจะต้องการให้เจ้านาย
เหล่านี้ได้รับความสว่าง เพราะในราชสำนักนี้ไม่เคยไปสอนสาสนา
คริสเตียนเลยกระมัง เมื่อคิดได้ดังนี้เราจึงได้มอบหนังสือเหล่านั้นให้
ข้าราชการรับไปถวายสมเด็จพระอนุชา
ตั้งแต่นั้นมา พระเจ้ากรุงสยามทั้งเจ้านายข้าราชการผู้ใหญ่
ได้มีประชุม ปรึกษา หารือโต้เถียงกันถึงเรื่องสาสนา อยู่หลายเดือน
แต่การที่ประชุมปฤกษากันนี้ หาได้ทำให้เห็นความจริงของสาสนาไม่
กลับทำให้ไทยหลับตาหนักลงไป และใจแข็งยิ่งขึ้นไป จนถึงกับพวก
พระสงฆ์อันนับจำนวนไม่ถ้วน ซึ่งหากินทางสาสนาอันไม่จริงนั้น ได้
ร้องขึ้นขอให้ล้างสาสนาคริสเตียนเสียอย่าให้มีเลย
มองเซนเยอร์เตเซียเดอเคราเล ถูกซักถาม ภายหลังอีกหลายวันพระเจ้ากรุงสยาม ได้มีพระราชโองการ ให้พวกเราไปยังศาลสูงตามวันที่กำหนดมา ครั้นถึงวันกำหนดพวกเรา ๕ คน คือ มองเซนเยอร์เดอโรซาลี มองซิเออร์เลอแมร์ กับบาดหลวง อีก ๓ รูป ได้ไปยังศาลตามเวลาที่นัดไว้ ทั้ง ๕ คนนี้ล้วนแต่ชำนาญ
๔๐ ภาษาไทยทุกคน พอพวกเราได้ไปถึงศาล เจ้าพระยาพระคลังก็สั่ง ให้เรานั่งลงกับพื้น โดยไม่ยกเว้นในเกียรติยศของสังฆราชอย่างใด แล้วเจ้าพระยาพระคลังจึงพูดโดยอ้างพระราชโองการว่า มีข้อที่จะ ต้องกล่าวโทษสังฆราชหลายข้อ ซึ่งเปนความผิดที่สังฆราชได้ทำไว้ มองเซนเยอร์เดอโรชาลีจึงได้ตอบว่า มองเซนเยอร์เดอโรซาลีไม่รู้ตัว เลยว่าได้ทำการสิ่งใดที่จะให้พระเจ้ากรุงสยามกริ้ว เพราะฉนั้นขอให้ เจ้าพระยาพระคลังชี้ข้อผิดให้ทราบด้วย เจ้าพระยาพระคลังจึงได้เรียก เสมียนศาลมา แล้วมอบหนังสือซึ่งจดคำถามไว้ให้เสียนอ่านดัง ๆ และแจ่มแจ้ง เมื่อเสมียนได้อ่านคำถามแล้ว เจ้าพระยาพระคลังก็ จัดการถามด้วยปากเปนข้อ ๆ คำถามและคำตอบมาของเรา มีดังนี้ คำถาม ท่านสังฆราชมีพยานหลักฐานที่จะอ้างได้หรือไม่ ว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ขออนุญาตต่อพระเจ้ากรุงสยาม ให้พวกสังฆราช มาทำการและตั้งบ้านเรือนในเมืองนี้ คำตอบ ข้อนี้มีพยานหลักฐานอันแน่นอนโดยพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และสังตปาปา ได้มีพระราชสาสนาและศุภอักษรมาถวายพระเจ้ากรุง สยาม ฝ่ายพระเจ้ากรุงสยามก็ทรงเต็มพระทัยพระราชทานพระราชา นุญาตตามที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและสังตปาปาได้ขอร้องมา และพยาน ในเรื่องนี้ยังมีอีกที่พระเจ้ากรุงสยามได้โปรดให้สร้างวัด และบ้านพระราช ทานแก่พวกเรา คำถาม ท่าสังฆราชมาอยู่เมืองนี้ประสงค์จะรักษาพระราชไมตรี ในระหว่างพระเจ้ากรุงสยาม และพระเจากรุงฝรั่งเศสหรือไม่
๔๑ คำตอบ ตั้งใจจะรักษาและข้าพเจ้าคิดจะรักษาพระราชไมตรีนี้ด้วย ความเต็มอกเต็มใจโดยแท้ คำถาม ถ้าท่านสังฆราชมาอยู่ในเมืองนี้โดยตั้งใจจะรักษาพระราช ไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองแล้ว เหตุใดสังฆราชจึงทำการ ตัดพระราชไมตรีนี้ โดยเทศน์ติเตียนสาสนาของพระเจ้ากรุงสยามเล่า คำตอบ การเทศนาสั่งสอนสาสนาคริสเตียนนั้นดุจจะเปนสายเชือก สำหรับเชื่อมพระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสอง และพวก ข้าพเจ้าได้ตั้งใจแต่จะสอนความจริงทุกแห่งเท่านั้น คำถาม ถ้าเช่นนั้นเหตุใดท่านจึงยกย่องสาสนาของท่านนัก และ ติเตียนดูหมิ่นสาสนาของพระเจ้ากรุงสยามนักเล่า คำตอบ เพราะเหตุว่าในโลกน์นี้มีแต่พระเปนเจ้าองค์เดียวที่เปน ผู้สร้างฟ้าและดินและปกครองการทั่วไป เพราะฉนั้นสำหรับมนุษย์เรานี้ ก็ควรจะมีแต่สาสนาอันเดียว ซึ่งจะพาเราไปสู่ที่ดีเท่านั้น คำถาม ในหนังสือเหล่านี้ ท่านสังฆราชได้เอาความจริงและความ เท็จปนกัน และใช้คำล่อลวงซึ่งทำให้ราษฎรเข้าใจผิด เพราะราษฎร เหล่านี้เปนคนอยากโง่เขลาไม่รู้จักจะแยกความจริง ออกจากความเท็จได้ ฟังแต่ถ้อยคำที่ไพเราะแก่หูจึงหลงเชื่อ เพราะฉนั้นท่านสังฆราชทำการ หลอกลวงราษฎรเพื่อจะให้เขาเข้ารีต
๔๒
คำตอบ พระเปนเจ้าไม่โปรดเลยในการที่เราจะหลอกลวง พวก
เราเทศนาสั่งสอนแต่สิ่งทีจริงทั้งนั้น เราไม่ได้บังคับกดขี่ผู้ใด เพราะสาสนา
ของเราห้ามไม่ให้บังคับกดขี่ เรารับคนเข้ารีตแต่ฉเพาะผู้ที่ได้แลเห็น
ความจริงแล้วก็เข้ามาหาเราเท่านั้น เราไม่ได้เอาเงินหรือคำสัญญา
อย่างใด ๆ ล่อให้คนเข้ารีตเลย เราได้ทำทานแก่คนจนตามคุณนุรูป
ของเรา และทานอันนี้เราก็ได้ทำตลอดเผื่อแผ่ไปถึงคนไทยสามัญด้วย
คำถาม ถ้าเช่นนั้นพวกที่นับถือสาสนาคริสเตียน ได้ไปเข้ารีต
ด้วยความเต็มใจ มิได้ถูกหลอกลวงหรือถูกบังคับอย่างใดอย่างนั้นหรือ
คำตอบ เปนอย่างนั้น และถ้าใครไม่ได้เต็มใจมาขอเข้ารีตก่อน
เราไม่ได้รับให้เปนคริสเตียนเลย
คำถาม ท่านสังฆราชจะยืนยันได้หรือไม่ ว่าไม่มีใครที่ได้เจ้ารีต
ด้วยถูกบังคับเลย และที่ได้เข้ารีตนั้นเพราะความเต็มใจทุกคน
คำตอบ ยืนยันได้
คำถาม ถ้าจะมีคนเข้ารีตคนใดสารภาพว่า ตัวได้เข้ารีดเพราะ
ถูกบังคับและถูกหลอกลวงแล้ว ท่านสังฆราชจะว่าอย่างไร
คำตอบ ถ้าท่านกดขี่ด้วยใช้จารีตนครบาล คนนั้นอาจจะพูดเช่น
นั้นก็ได้
คำถาม ถ้าเขาพูดเช่นนั้นด้วยเต็มใจ โดยไม่ถูกบังคับกดขี่
อย่างใด ท่านจะว่าอย่างไรเล่า
คำตอบ ข้าพเจ้าก็จะพูดว่าคนนั้นมุสาเท่านั้น
๔๓
คำถาม เหตุใดท่านสังราชจึงไม่ดำเนิรตามแบบอย่างของ
สังฆราชแต่ก่อน ๆ เพราะสังฆราชแต่ก่อนได้เคยเทศนาในภาษาบ้านเมือง
ของตัว แต่ส่วนสังฆราชคนนี้ใช้เทศนาเปนภาษาไทย การที่ทำเช่นนี้
สังฆราชเห็นว่าจะชักนำให้คนเข้าสาสนาคริสเตียน หรือ
คำตอบ ข้าพเจ้ามิได้ดำเนินการให้ผิดแบบของสังฆราชแต่ก่อน ๆ
เลย เพราะสังราชแต่ก่อน ๆ ก็เคยได้เทศนาเปนภาษาไทยเหมือนกัน
และมองซิเออร์เดอเมเตโลโปลิศ ก็เคยเทศน์เปนภาษาไทยอยู่เนืองนิตย์
จนพระเจ้ากรุงสยามโปรดปราน จึงได้พระราชทานธรรมมาสน์อันงดงาม
และพระราชทานพระชารานุญาต ให้สังฆราชมีอำนาจสอน สาสนา
คริสเตียนแก่ไทย มอญและลาวได้ เพราะทรงถือว่าเปนสาสนาที่แท้
ท่านเจ้าพระยาพระคลังเปนตนมีอายุน้อยไม่ใคร่มีความรู้ ในเรื่อง
เก่า ๆ และไม่ทราบในเรื่องนี้ จึงไม่ยอมรับคำตอบวันนี้และถามว่า
ท่านมีหลักอย่างไรที่ว่าพระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทานอำนาจเช่นนี้
คำตอบ มีหลักที่พระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งให้สร้างโบสถ์และ
โรงเรียน และยังมีพยานอื่นอีก คือข้าราชการเก่า ๆ ซึ่งยังมีชีวิต
อยู่นั้น ได้ยินแก่เห็นแก่ตา
คำถาม ในประเทศสยามมีคนต่างภาษหลายชาติ เช่นแขกมัว
แขกมลายู จีน เขมร และชาติอื่น ๆ อีกหลายชาติ คนเหล่านี้ก็ต่าง
นับถือสาสนาของตัวแต่ก็หาได้มาติเตียนสาสนาของไทยไม่ และตัว
เราเองก็ไม่ได้ติเตียนสาสนาเตียนอย่างใดเลย เหตุใดสังฆราชจึง
มาติเตียนสาสนาของเราเล่า
๔๔ คำตอบ ชนชาติต่างภาษาที่ท่านยกมาอ้างนี้ ได้ศึกษาและ แสวงหาความจริงหรือเปล่า ข้าพเจ้าจะขอถามท่านสักอย่าง ๑ ว่าเหตุใด จึงได้มีสาสนาต่าง ๆ กันในโลกนี้มากนัก มนุษย์เราทั้งหลายก็เกิดจาก ผู้ชายคนเดียวและผู้หญิงคนเดียว คืออาดำและเอวา เพราะเหตุฉนั้น มนุษย์ทั้งหลายต้องเปนพี่น้องกันทั้งนั้น ซึ่งควรจะนับถือแต่สาสนา อันเดียวเท่านั้น ก็การที่มีสาสนาต่าง ๆ กันเช่นนี้ จะเปนด้วยเหตุอะไรเล่า ท่านจะให้ข้าพเจ้าบอกท่านหรือไม่เล่า ก็คือ มนุษย์เราได้ปล่อยใจเอา แต่ความพอใจของตัวเปนเกณฑ์ จึงลืมสาสนาเดิมทีละเล็กทีละน้อย และต่างคนต่างคิดสาสนาของตัวขึ้นใหม่ ผู้ที่ยังคงนับถือสาสนาเดิมอยู่ ก็มีน้อยคน และที่คนเหล่านี้ยังคงถือสาสนาเดิมอยู่ก็โดยได้สอนกันมา เปนทอด ๆ เจ้าพระยาพระคลังไม่ยอมให้สังฆราชชี้แจงต่อไป จึงพูดตัดตอนว่า การต่าง ๆ ตามที่เอามาอ้างนี้ไม่เกี่ยวในเรื่องนี้ แต่ท่านสังฆราช ไม่ยอมจึงอธิบายต่อไปว่า เพราะฉนั้น ถ้าผู้ใดได้ละทิ้งสาสนาเดิม และคิดประดิษฐสาสนาขึ้นใหม่ซึ่งเปนการไม่มีต่อพระเปนเจ้า เราก็ ติเตียนคนเหล่านั้นอยู่เสมอ ในที่นี้เจ้าพระยาพระคลังก็เอาเรื่องอื่นเข้าแทรก และพูดว่า พวกโดหรของเรามีควมนับถือภาษาบาฬี (๑) และหนังสือเขมรมากเพราะฉนั้นบรรดาเรื่องต่าง ๆ ที่เขียนเปนภาษาบาฬีหรือเขียนเปนหนังสือ
๑) การที่ข้าพเจ้าได้พูดชี้แจงเพื่อเปนทางแก้ข้อหานั้น หาได้จดลง ในสมุดที่จะนำขึ้นถวายพระเจ้ากรุงสยามทุกคำตามข้าพเจ้าพูดไม่ เพราะ
๔๕ เขมรแล้ว ไทยก็ถือว่าเปนเรื่องที่จริงทั้งนั้น เพราะที่ฉนั้นการที่สังฆราช แต่งหนังสือด้วยภาษาบาฬีและใช้ตัวหนังสือเขมร จะประสงค์อะไร นอกจากจะหลอกคนซึ่งขาดความพิเคราะห์ และทำให้คนเหล่านั้น หลงเชื่อ เจ้าพระยาพระคลังให้จดแต่ตามความต้องการของท่านเท่านั้น ข้าพเจ้า ได้ร้องค้ดค้านว่า การที่จดถ้อยคำของข้าพเจ้าเช่นนี้ไม่เปนการยุติธรรม แต่เจ้าพระยาพระคลังก็หาฟังไม่ ข้าพเจ้าก็ต้องยอมนิ่ง ข้าพเจ้า เชื่อแน่ว่าเจ้าพระยาพระคลังคงจะหาว่าข้าพเจ้าใช้วาจาและกิริยาอย่างร้ายแรงมาก ในเวลาที่ถามและตอบกันอยู่นั้นขุนนางผู้เฒ่าชื่อ จักรี นั่งนิ่ง ไม่ได้พูดอะไรเลยจนคำเดียว ด้วยคอยถึงเวลาจะนำพระราชโองการ ของพระเจ้าแผ่นดินมาบอกแก่เรา ท่านจักรีคนนี้เคยเปนมิตร์แก่เราอยู่ เสมอจึงพูดกับเราโดยชื่อตรง แต่ก็จำเปนต้องปฎิบัติตามพระราชโองการ และเปนผู้ที่รักษาคำถามตอบเหล่านี้ ท่านจักรีได้ชี้ให้เราดูตัวหนังสือ บาฬีและพูดว่า "การที่ท่านได้ใช้หนังสือบาฬีนั้นเปนการที่ท่านได้ทำ ความผิดอย่างร้ายแรง เพราะไทยถือว่าหนังสือบาฬีนั้นเท่ากับพระองค์ ๑ และการที่คนมิจฉาทิฐิเช่นพวกเราเอามาใช้เช่นนี้ เท่ากับเปนการลบหลู่ สาสนา (ข้อความนี้คัดมาจากจดหมายมองเซนเยอร์เตเซียถึงผู้อำนวย การคณะต่างประเทศ ลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๗๓๔ พ.ศ. ๒๒๗๗)
๔๖ คำตอบ หนังสือต่างๆที่สมเด็จพระอนุชาได้เรียกไปจากเรา และ หนังสืออื่น ๆ ซึ่งอยู่ในพระหัดถ์ของสมเด็จพระอนุชานั้น ไม่ให้หนังสือ ที่ข้าพเจ้าแต่ง หนังสือเหล่านี้เปนหนังสือที่มองซิเออร์เดอเมเตโลโปลิศ เปนผู้แต่งเขียน และท่านสังฆราชผู้นี้เปนคนที่ฉลาดและเปนนักปราชญ์ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินโปรดปรานมาก และการที่ท่านสังฆราชผู้นี้ได้ใช้ ภาษาปละตัวอักษรซึ่งเหมาะสำหรับ แต่งข้อสูงในสาสนาของเรานั้น ไม่เปนการแปลกอะไรเลย เจ้าพระยาพระคลังได้เปลี่ยนเรื่องอีก ถามว่า เขาเล่ากันว่า เมื่อแต่ก่อนนี้ได้มีบาดหลวงคริสเตียนเข้าไปยังเมืองยี่ปุ่น ได้ไปสอน สาสนาคริสเตียนในเมืองยี่ปุ่นและได้รับชาวยี่ปุ่นเปนคริสเตียนหลายคน ครั้นบาดหลวงเหล่านั้นเห็นว่า พวกของตัวมีจำนวนมากขึ้น เชื่อในกำลัง ของตัวว่าพอแล้ว จึงได้ขบถขึ้น พระเจ้ากรุงยี่ปุ่นได้ต่อสู้พวกบาดหลวง จนบาดหลวงแพ้ พระเจ้ากรุงยี่ปุ่นจึงได้จับบาดหลวงและพวกยี่ปุ่น ที่เปนขบถฆ่าเสียสิ้นทั้งริบทรัพย์สมบัติเสียด้วย และสั่งว่าต่อไปห้าม มิให้คนถือสาสนาคริสเตียนเหยียบเข้าไปในแผ่นดินอีกต่อไปเปนอันขาด เพราะฉนั้นในเวลานี้ถ้าพระเจ้ากรุงสยามจะดำเนิรตามแบบอย่างของยี่ปุ่น และจะจับสังฆราชกับพวกบาดหลวงตัดหัวเสียให้หมดทั้งริบทรัพย์สมบัติ ให้สิ้นเชิงด้วย พระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้ากรุงสยามและพระเจ้า กรุงฝรั่งเศสคงจะขาดเปนแน แต่เมื่อเปนเช่นนั้นการที่ขาดพระราชไมตรี นั้น จะไม่ใช่สังฆราชเปนต้นเหตุทำให้เปนเช่นนี้หรือ
๔๗
คำตอบ ถ้าพระเจ้ากรุงสยามมีพระราชประสงค์จะตัดหัวพวกข้าพเจ้า
ทั้งหมดและจะริบทรัพย์สมบัติของพวกข้าพเจ้าด้วยก็ได้ เพราะพวก
ข้าพเจ้าอยู่ในเงื้อมพระหัดถ์ทั้งหมดทั้งพระองค์ก็เปนนายใน พระราชอาณา
เขตนี้ด้วย แต่ถ้าพระเจ้ากรุงสยามได้กระทำเช่นนั้นจริงก็จะไม่ต้องสงสัย
เลยว่า พระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองจะต้องขาดเปน
แน่นอน แต่เมื่อได้ขาดพระราชไมตรีแล้ว ก็จะไม่มีใครโทษข้าพเจ้า
ได้ว่าข้าพเจ้าเปนต้นเหตุทำให้ขาดพระราชไมตรี เพราะข้าพเจ้าไม่ได้
ทำอะไรเลยที่จะให้เขาโทษข้าพเจ้าเช่นนั้นได้ ในข้อที่ท่านยกการขบถใน
เมืองยี่ปุ่นมาเปนตัวอย่างและว่ายี่ปุ่นรังเกียจในพวกเรานั้น การเรื่องนี้
เปนการให้ร้ายต่อประเทศฝรั่งเศสและต่อพวกเราจริง แต่เราก็จำเปน
ต้องยอมทนเอา เพราะความจริงพวกเราไม่เคยได้ไปขบถที่ไหนเลย ถึง
ในเมืองไทยนี้และในเมืองอื่น ๆ พวกเราก็ไม่เคยได้ก่อการขบถขึ้นเลย
อีกประการ ๑ คนทั่วโลกย่อมทราบอยู่แล้วว่าสังฆราชก็ดี มิชชันนารี
ฝรั่งเศสก็ดีไม่เคยได้ไปยังเมืองยี่ปุ่นเลย
คำถาม ถ้าเช่นนั้น พวกที่ไปก่อการขบถในเมืองยี่ปุ่นเปนชน
ชาติใดในทวีปยุโรปเล่า
คำตอบ การที่ข้าพเจ้าตอบเพียงแต่ว่าไม่ใช่ชาติฝรั่งเศสก็พอ
แล้ว เพราะไม่ใช่หน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะกล่าวโทษประเทศใด ๆ หรือ
บุคคลใด ๆ แต่ถึงจะเปนชนประเทศใดก็ตาม เรื่องนี้ก็เปนเรื่อง
ที่พวกข้าพเจ้าติเตียนมาก
๔๘
คำถาม ที่ท่านสังฆราชได้ปฎิบัติการที่ได้กล่าวมาในตอนต้น
แล้วนั้นเปนความผิด สมควรที่พระเจ้ากรุงสยามจะลงพระราชอาญาอย่างหนัก แต่พระเจ้ากรุงสยามทรงพระกรุณาโปรดยกโทษให้ในครั้งนี้
แต่เพื่อจะป้องกันมิให้สังฆราชประพฤติเช่นนี้อีก จึงมีพระราชโองการ
ว่าดังนี้ คือ ๑ ห้ามมิให้สังฆราชแต่งหนังสือสอนสาสนาคริสเตียนเปน
ภาษาไทยและภาษาบาฬี ๒ ห้ามมิให้สังฆราชเทศนาสั่งสอนสาสนาแก่
ไทย มอญ และลาว ๓ ห้ามมิให้สังฆราชชักชวนและหลอกลวงพวก
ไทย มอญ และลาวให้เปนคริสเตียน ๔ ห้ามมิให้สังฆราชติเตียนสาสนา
ของเรา ตามที่มีพระราชโองการดังนี้ สังฆราชจะว่าอย่างไร สังฆราช
จะทำตามพระราชโองการของพระเจ้ากรุงสยามหรือไม่
คำตอบ ปัญหาข้อนี้เปนความสำคัญนัก เพราะฉนั้นข้าพเจ้าขอ
ทุเลาตรึกตรองใคร่ครวญดูสักสองสามวันก่อน
การที่ท่านสังฆราชขอผัดเช่นนี้ ก็ประสงค์จะหาเวลาตึกตรองว่า
จะควรตอบอย่างไรดี แต่เจ้าพระยาพระคลังไม่ยอมโดยบอกว่า จะเลื่อน
เวลาไปตอบในเวลาอื่นไม่ได้ และพูดต่อไปว่า "ท่านก็อยู่ในที่นี้
พร้อมกันแล้ว จะปฤกษาหารือกันอย่างไรก็ได้ เพราะฉนั้นจะตอบว่า
อย่างไรก็ปฤกษากันดู แต่ถ้าท่านยังไม่ได้ตอบในคำถามนี้ตราบใด
ท่านก็จะกลับไปยังบ้านไม่ได้"
สังฆราชถามว่า "อย่างไรกัน จะห้ามไม่ให้ข้าพเจ้าสอนบ่าวและ
คนใช้ของข้าพเจ้าเปนภาษาไทย และคนเหล่านี้ก็ไม่เข้าใจภาษาอื่น
นอกจากภาษาไทย อย่างนั้นหรือ"
๔๙ เจ้าพระยาคลังตอบกว่า "พระราชโองการในข้อนี้ชัดเจนและ เด็จขาดอยู่แล้ว คือว่ามีพระราชประสงค์ห้ามไม่ให้ท่านเทศนาสั่งสอน เปนภาษาไทย ภาษามอญ ภาษาลาว ภาษาญวนและภาษาจีน" สังฆราชถามว่า "ถ้าเช่นนั้น หากว่าคนชาติเหล่านี้ได้ถูกพระ เปนเจ้าดลใจ จะมาหาพวกข้าพเจ้าเพื่อรับคำสั่งสอน จะให้พวกข้าพเจ้า ปฎิเสธไม่ยอมรับสั่งสอนให้อย่างนั้นหรือ" เจ้าพระยาพระคลังตอบว่า"ท่านจะสั่งสอนในภาษาเหล่านี้ไม่ได้ เปนอันขาด" ในขณะนี้ขุนนางที่ชื่อจักรีได้พูดขึ้นว่า "ขอให้ท่านพิเคราะห์ใน ประกาศพระราชโองการนี้ให้ดี และขอให้ตรึกตรองให้ดีด้วย ในประกาศ พระราชโองการนี้ พระเจ้ากรุงสยามทรงตั้งห้ามมีอยู่ ๔ ข้อ ถ้าท่าน ปฎิบัติตามพระราชโองการแล้ว ท่านก็จะอยู่โดยสุขสบายอย่างแต่ก่อน ถ้าท่านขัดพระราชโองการแล้ว ท่านก็จะต้องถูกตัดหัว" สังฆราชได้ตอบว่า "ถ้าการเปนดังนี้แล้ว ควรจะอนุญาตให้พวก ข้าพเจ้าได้กลับไปยังบ้านเมืองของข้าพเจ้าจะดีกว่า ถ้าไม่ยอมให้พวก ข้าพเจ้ากลับบ้านเมืองแล้ว ก็ขอให้ฆ่าพวกข้าพเจ้าเสียทีเดียวเถิด เพราะ ตามที่มีข้อห้ามดังนี้ พวกข้าพเจ้าจะไม่ยอมทำตามเปนอันขาด" เจ้าพระยาพระคลังจึงถามว่า"บาดหลวงอื่น ๆ มีความเห็นอย่าง เดียวกับสังฆราชหรืออย่างไร"
๕๐ เมื่อเจ้าพระยาพระคลังได้ถามดังนี้ พวกบาทหลวงทุกคนได้ตอบว่ามีความเห็นพ้องกับท่านสังฆราชทั้งนั้น เจ้าพระยาพระคลังจึงได้ถาม ชื่อพวกเราทุกคน และสั่งให้จดชื่อพวกเราไว้ ครั้นจดชื่อจดเสียงกัน เสร็จแล้ว เจ้าพระยาพระคลังก็พูดว่า "เวลานี้ก็ดึกแล้ว ท่านสังฆราช ก็เหนื่อยมาก ให้กลับไปบ้านเถิด" พวกเราก็ลากลับไปบ้าน
พวกคริสเตียนถูกจับ รุ่งขึ้นขุนนางมีชื่อคน ๑ ได้รับพระราชโองการจากพระเจ้าแผ่นดิน ได้มาจับพวกเข้ารีต ๑๑ คน ซึ่งนายเต็งได้ระบุชื่อไว้ ในคน ๑๑ นี้ได้ถูก ใส่คุกจำตรวน ๕ คน นอกจากนั้นได้หนีไปหมด คนใช้ของเรา ๒ คน ได้ถูกฉุดคร่าออกจากโรงเรียน ท่านสังฆราชได้จ่ายเงินสำหรับช่วย พวกนี้เปนอันมาก
บาดหลวงถูกซักถามอีก มองเซนเยอร เตเซียเดอเคราเล ถวายดอกไม้ธูปเทียน เมื่อวันที่ ๑๙ เดือนตุลาคมได้มีข้ราชการมายังโรงเรียน เพื่อมา ริบหนังสือต่าง ๆ ที่เขียนเปนภาษาไทย มองเซนเยอร์ เดอโรซาลีได้ส่ง แต่หนังสือบางเล่มที่ไม่เกี่ยวแก่การสาสนาให้แก่ข้าราชการเท่านั้น แต่ หนังสือที่เกี่ยวด้วยสาสนาของเราและสาสนาของไทย ท่านสังฆราช
๕๑
ไม่ได้มองให้เลยจนเล่มเดียว ในระหว่างสามคืนเราได้เอาหนังสือและ
สมุดต่าง ๆ ที่เกี่ยวด้วยสาสนาไทยเผาไฟเสียโดยมาก หนังสือเหล่านี้
เปนหนังสือที่หายากและมีราคาแพงมาก หนังสือที่เกี่ยวด้วยสาสนา
ของเราก็ได้เผาบ้านเหมือนกัน เพื่อมิให้ตกในเมืองไทย
มีขุนนางคนหนึ่งชื่อขุนชำนาญ (Khunchaman) เปนคนโปรด
ของสมเด็จพระอนุชา และดูภายนอกก็ดูเหมือนกับจะขอบพวกเรา
ได้ให้คนมาตามพวกเราไปคน ๑ และได้บอกกันบาดหลวงผู้ที่ไปนั้นว่า
การที่สังฆราชตอบขออนุญาตกลับไปบ้านเมืองนั้น เปนการที่พระเจ้า
กรุงสยามและสมเด็จพระอนุชากริ้วมาก แล้วขุนชำนาญได้อธิบาย
ต่อไปว่า ตามแบบธรรมเนียมของเมืองนี้ ถ้าใครจะต้องการให้พระเจ้า
แผ่นดินหายกร่วแล้ว ก็ต้องเอาดอกไม้ธูปเทียนไปถวาย (ธูปเทียนนั้น
หมายความว่า ไมตรีได้ดับสูญไปแล้ว บัดนี้ได้ติดต่ออีกดังธูปเทียน
ที่จุดสว่าง ดอกไม้นั้นหมายความว่ากลิ่นหอมของไมตรีที่กลับมีกัน
ใหม่) ในการเรื่องถวายดอกไม้ธูปเทียนนี้ ต่างเห็นพร้อมกันว่าเปนวิธี
สามัญหาเกี่ยวในการสาสนาอย่างใดไม่ ท่านสังฆราชจึงตกลงยอมจะ
ถวายดอกไม้ธูปเทียน
ครั้นจัดหาดอกไม้ธูปเทียนไว้เสร็จแล้ว ท่านสังฆราชก็ได้ไปยัง
ศาลของเจ้าพระยาพระคลัง พร้อมด้วยมองซิเออร์ เลอแมร์ บาทหลวง
อีก ๒ คนกับพ่อค้าฝรั่งเศส ๔ คน ครั้นไปถึงแล้วบาดหลวงก็ลงนั่งกับพื้น
และพูดกับเจ้าพระยาพระคลังว่าดังนี้ "ข้าพเจ้าได้ทราบว่าพระเจ้ากรุง
๕๒
สยามได้ทรงกริ้วในการที่ข้าพเจ้าพูดเมื่อวันก่อน คืออนุญาตกลับไป
ยังบ้านเมืองของข้าพเจ้า แต่การที่ข้าพเจ้าได้พูดเช่นนี้ก็ไม่ได้คิดทุจริต
อย่างไร และพูดตามธรรมเนียมที่ใช้กันในทวีปยุโรป เพราะใน
ทวีปยุโรป ถ้าผู้ใดขออนุญาติกลับบ้านเมืองแล้วเขาก็อนุญาตโดยง่าย
และก็ไม่มีใครจะคิดขัดเคืองเลย เพราะฉนั้นข้าพเจ้าจึงขอแสดงตัวว่า
ในการที่พระเจ้ากรุงสยามทรงกริ้วนี้ ข้าพเจ้ามีความเสียใจมากที่ทำ
ให้กริ้วเช่นนี้ ข้าพเจ้าจึงขอถวายดอกไม้ธูปเทียนนี้ เพื่อแสดงความ
บริสุทธิ์ของข้าพเจ้า
พอมองเซนเยอร์เดอโรซาลีได้พูดจบลงแล้ว เจ้าพระยาพระคลัง
ก็เรียกเสมียนเข้ามา และบอกให้เขียนหนังสือคล้ายทานบล ในหนังสือ
ทานบลนี้มีความว่า มองซิเออร์เดอโรซาลี กราบทูลต่อพระเจ้าอยู่หัว
ให้ทรงทราบว่ามองซิเออร์เดอโรซาลีรู้สึกว่ามีความผิด จึงยอมปฎิบัติ
ตามพระราชโองการ ๔ ข้อซึ่งได้กล่าวมาแล้ว และต่อไปมองซิเออร์เดอ
โรซาลีรับรองว่าจะได้ปฎิบัติตามพระราชโองการทุกอย่าง เมื่อเขียน
เสร็จแล้วเจาพระยาพระคลังก็ส่งมาให้เราอ่าน พออ่านเสร็จเราก็ได้พูด
กับขุนชำนาญซึ่งนั่งอยู่ใกล้กับเรา ว่าทำอย่างไร ๆ ก็จะยอมตามนี้ไม่ได้
และถ้าหากว่าเจ้าพนักงารได้เอาหนังสือทานบลฉบับนี้ออกก่อนในที่เปิดเผย
แล้วเราก็จะปฎิเสธข้อความในหนังสือทานบลนั้นทุกข้อ และข้าพเจ้า
ก็ได้พูดต่อไปว่า พวกข้าพเจ้ายอมตายดีกว่าที่จะยอมทำตามหนังสือ
ทานบลนี้ ขุนชำนาญเห็นว่าพวกเราพูดดังนี้ และเชื่อใจว่าตัวพอจะพูดกับ
๕๓
สมเด็จพระอนุชาได้ จึงได้เอาทานบลนั้นไปพับ ตกลงไม่มีใครได้อ่าน
ข้อห้าม ๔ ข้อนั้นเลย เจ้าพระยาพระคลังจึงถามขึ้นว่า "ดอกไม้ธูปเทียนนี้มองซิเออร์เดอโรซาลีถวายใคร" มองซิเออร์เดอโรซาลีจึงตอบว่า
"ข้าพเจ้าขอถวายตอพระเจ้ากรุงสยาม" เจ้าพระยาพรคลังจึงได้ชมเชย
สรรเสริญมองซิเออร์เดอโรซาลีว่า เปนผู้ที่ทำให้พระราชไมตรีในระหว่าง
พระเจ้าแผ่นดินได้ติดต่อกันอีก และว่าถ้าพระเจ้ากรุงสยามได้ทรงทราบ
แล้วก็คงจะทรงยินดีเปนอันมาก ครั้นเสร็จเรื่องแล้วท่านสังฆราชก็ได้
ลากลับมาบ้าน
ความเดือดร้อนของพวกเข้ารีต
ตั้งแต่ไทยได้ลงมือกดขี่บีบคั้นพวกเรา และจับพวกเข้ารีตใส่คุกนั้น
พวกเข้ารีตอื่น ๆ ก็ได้ละทิ้งบ้านเรือนอพยพหนีไปหมดและได้รับความ
ลำบากเดือดร้อนเปนอันมาก ฝ่ายไทยก็คาดค้นเราอยู่เสมอ ให้เรา
จัดการสมานพระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสอง แต่ถึงดังนั้น
พวกเข้ารีตของเราก็ยังติดคุกอยู่นั้นเอง ส่วนพวกเข้ารีตที่หนีไปนั้น
เจ้าพวกงารห้ามมิให้กลับเข้าบ้านเข้าเรือน และพวกนี้ก็มากวนเราอยู่
เสมอ ๆ ไม่หยุดเลย
ขุนชำนาญถูกไต่สวน
ภายหลังมาสักสองสามวัน เจ้าพระยาพระคลังได้ไปกราบทูล
พระเจ้ากรุงสยามกล่าวโทษขุนชำนาญ หาว่าการที่ท่านสังฆราชไม่ยอม
๕๔
เซ็นหนังสือทานบลนั้น ก็เพราะขุนชำนาญคนเดียว พระเจ้ากรุงสยาม
จึงได้รับสั่งให้ขุนชำนาญไปไต่สวน ขุนชำนาญได้ให้การว่า การที่
ขุนชำนาญรับหนังสือทานบลมาจากเสมียนนั้นก็เพราะ ขุนชำนาญเห็นว่าถ้า
ได้เอาหนังสือทานบลนี้ออกอ่านเปนการเปิดเผยแล้ว ท่านสังฆราชและ
บาดหลวงทั้งหลายก็คงจะร้องค้ดค้านปฎิเสธข้อความในหนังสือทานบลนั้น
ถ้าสังฆราชและบาดหลวงได้กระทำเช่นนี้แล้ว ก็จะมีความผิดโทษถึง
ประหารชีวิต และถ้าได้ประหารชีวิตสังฆราชและบาดหลวงแล้วก็จะ
ต้องขาดพระราชไมตรีที่ได้ มีไว้กับพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เมื่อขุนชำนาญ
ได้แก้ตัวเช่นนี้ พระเจ้ากรุงสยามก็ทรงนิ่ง แต่ถ้าสมเด็จพระอนุชาไม่ได้
เสด็จมาช่วยขุนชำนาญแล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยขุนชำนาญคงจะต้อง
ถูกเฆี่ยนเปนแน่ เพราะข้อหาไม่มีแต่เพียงเท่านี้ เจ้าพระยาพระคลัง
ยังหาว่าขุนชำนาญได้ลงเอาเงินด้วย ในข้อที่หาว่าเอาเงินกับนี้ถ้าจะพูด
ไปแล้ว เจ้าพระยาพระคลังมีความผิดยิ่งกว่าขุนชำนาญเสียอีก เพราะ
เมื่อสองสามวันนี้เอง เจ้าพระยาพระคลังได้มารีตเงินจากพวกเราไป
๑๕๐ เหรียญ
มองเซนเยอร์เตเซียเดอเคราเล ขัดขืนไม่ยอม
ภายหลังวันประชุมสุดท้ายสักสองสามวัน ขุนชำนาญกับขุนนางอีก
หลายคนได้มาหาพวกเรา และได้ขอร้องต่อท่านสังฆราชว่าถ้าเจ้าพนักงาร
ได้เอาแผ่นดินศิลาซึ่งจารึกข้อห้าม ๔ ข้อมาปักไว้ที่ประตูโบสถ์หรือที่ประตู
โรงเรียนแล้ว ก็ขออย่าให้สังฆราชขัดขวางอย่างใดเลย (เพราะสังฆราช
๕๕
ไม่ยอมเซ็นทานบลครั้ง ๑ แล้ว มองซิเออร์เดอโรซาลีได้ตอบว่า พระ
เจ้ากรุงสยามจะทำอะไรก็ได้ตามพระทัยเพราะเปนบ้านเมืองของท่าน แต่
ในส่วนตัวสังฆราชนั้นจะตามใจพระเจ้ากรุงสยามอย่างนี้ไม่ได้ เพราะเปน
การผิดสาสนาและขัดกับพระราชไมตรี ซึ่งพึ่งจะต่อติดกันใหม่ในระหว่าง
สองประเทศนี้ ตามที่ท่านสังฆราชได้ตอบดังนี้ดูขุนชำนาญพอใจ และดู
ปลาดใจที่ได้เห็นเจ้าพนักงาร ของเจ้าพระยาพระคลังได้มาหาพวกเราเพื่อ
จะเขี้ยวเข็ญให้มองซิเออร์เดอโรซาลีเซ็นชื่อและประทับตราหนังสือทานบล
ให้จงได้ มองซิเออร์เดอโรซาลีก็หายยอมไม่ จึงได้ไล่เจ้าพนักงารกลับไป
และตอบไปอย่างเดียวกับที่ได้เคยตอบมาแล้ว
ภายหลัง ขุนชำนาญกับข้าราชการอีกหลายคนได้มาค้นตามตู้
หนังสือและตามห้องต่าง ๆ เพื่อตรวจดูว่าหนังสือเรื่องสาสนาของเรา
ที่เขียนเปนภาษาไทยจะยังมีอยู่อีกบ้างหรือไม่ การค้นนี้เจ้าพนักงาน
ได้ถึงสองหรือสามครั้ง แล้วเจ้าพนักงารจะบังคับให้ท่านสังฆราช
สาบาลตัว และให้เขียนไว้เปนลายลักษณ์อักษรว่าหนังสือชนิดนี้ไม่มีอยู่
ที่เราแล้ว หรือถ้าไม่เช่นนั้นก็ให้สังฆราชทำทานบลเซ็นชื่อประทับตรา ว่าต่อไปในภายหน้าถ้าค้นพบหนังสือชนิดนี้ได้อีก มองซิเออร์เดอโรซาลี ยอมรับผิดฐานหมิ่นพระเดชานุภาพ มองซิเออร์เดอโรซาล์ไม่ยอม
ทั้งสองอย่างโดยอ้างว่า การที่ให้สาบาลนั้นเปนการทำให้เลื่อมเสีย
เกียรติยศ และการที่จะให้ทำทานบลนั้นไม่จำเปนอย่างไร เพราะเจ้า
พนักงารมีอำนาจจะค้นบ้านได้ทุกมุมทุกรู เจ้าพนักงารคน ๑ จึงถามขึ้นว่า
๕๖ " ก็ถ้าต่อไปพบหนังสือชนิดนี้อีกกระทำอย่างไรกันเล่า" ท่านสังฆราชจึง ตอบว่า "ก็แล้วแต่พระเจ้ากรุงสยามจะทำอย่างไรก็ตามพระทัยเถิด" การที่ ท่านสังฆราชได้ตอบดังนี้ก็เคยตอบมาแล้วอย่างเดียวกับที่ได้เคยตอบ ข้าราชการบางคนในเวลาที่เขาจะให้สังฆราชทำทานบล ถึงเรื่องพวก เข้ารีตที่นายเต็งได้ระบุชื่อแลซึ่งยังหนีอยู่เจ้าพนักงารยังจับไม่ได้นั้น ในราวกลางเดือนพฤศจิกายน มีขุนนางคน ๑ เปนบุตร์น้องสาว เจ้าพระยาพระคลังได้มาหาพวกเรา ขุนนางคนนี้ได้รับเอาเงินไปจาก พวกเราแล้วโดยสัญญาว่าจะช่วยพูดกับลุงให้ แต่ก็หาได้พูดกับลุงตามที่ ได้สัญญาไว้ไม่ เมื่อมาคราวนี้ขุนนางผู้นี้ได้มาเตือนเรื่องเงินที่เราได้ สัญญาว่าจะให้เจ้าพระยาพระคลังและ มาแจ้งว่าเจ้าพระยาพระคลังได้โอน เงินรายนี้ให้ตัวแล้ว มองซิเออร์เดอโรซาลีจึงได้ตอบว่า ได้สัญญา จะให้เงินแก่เจ้าพระยาพระคลัง ๑๕๐ เหรียญจริง แต่การที่จะให้เงินนี้ก็ เพราะจะให้เจ้าพระยาพระคลังงดการข่มเหงพวกเรา แต่เจ้าพระยา พระคลังก็หาได้ทำตามที่ได้สัญญาไว้ไม่ กลับข่มเหงรังแกพวกเรา หนักยิ่งกว่าเก่าขึ้นอีก หลานเจ้าพระยาพระคลังจึงแก้ตัวว่าการสำคัญ ๆ ชนิดนี้สงบยากนัก จึงขอว่าอย่างน้อย ๆ ก็ขอให้ ๆ เงินสักครึ่ง ๑ ก่อน ท่านสังฆราชได้ตอบว่าจะไม่ให้เลยเหรียญเดียว แต่ถ้าเขาได้จัดการ ในเรื่องนี้ให้เปนที่เรียบร้อยก็จะให้เงินทั้ง ๑๕๐ เหรียญทีเดียว เมื่อหลาน เจ้าพระยาพระคลังได้รับคำตอบเช่นนี้ จึงได้ควักเอาคำสั่งเจ้าพระยา พระคลังออกมา ในคำสั่งฉบับนี้ว่าให้ท่านสังฆราชพูดโดยตรงอย่า
๕๗
โยกโย้ว่าจะยอมเซ็นซื่อประทับตราใหนหนังสือทานบลที่ได้เขียนไว้เมื่อคราว
ประชุมครั้งแรก หรือสังฆราชจะพอใจให้เอาข้อห้ามดังว่าไว้มาติดไว้
ที่ประตูโบสถ์หรือประตูบ้านอย่างไร ในคำถามชนิดนี้มองซิเออร์เดอ
โรซาลีก็ได้ตอบมาหลายครั้งหลายหนแล้ว แต่ในครั้งนี้ก็ได้ตอบอีกว่า
สังฆราชจะยอมเซ็นชื่อ ประทับตราในหนังสือทานบลชนิดนี้ไม่ไดเพราะ
เหตุว่า ๑ ข้อห้ามเหล่านี้ผิดด้วยระเบียบสาสนาของเรา ๒ ข้อห้ามเหล่านี้
ขัดกับวิธีดำเนิรการอันสำคัญของพระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้ากรุงสยาม
และฝรั่งเศสซึ่งพึ่งได้เชื่อมติดต่อกันขึ้นใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้เอง ๓ ส่วน
การที่จะเอาข้อห้ามเหล่านี้มาปิดไว้ที่ประตูโบสถ์หรือประตูบ้านนั้น พระเจ้า
กรุงสยามเปนนายจะสั่งให้ทำอย่างไรก็ได้ และถ้าพระเจ้ากรุงสยาม
จะพอพระทัยทำอะไรในแผ่นดินของท่าน พวกเราก็ไม่ได้คิดที่จะขัดขืน
หรือต่อสู้อย่างใด แต่ถึงจะอย่างไรก็ตามพวกข้าพเจ้าจะต้องขอร้องต่อ
พระเจ้ากรุงสยามอย่าได้มีรับสั่งให้ทำดังนั้นเลย เพราะการที่จะเอาประกาศ
เช่นนี้มาปิดไว้ที่ประตูโบสถ์หรือประตูบ้านนั้น ก็เท่ากับเปนอนุสาวรีย์
ซึ่งจะอยู่ชั่วกาลนาน แสดงว่าพระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส
และกรุงสยามได้ขาดเสียแล้ว
แต่การที่พวกเราได้ขอร้องเช่นนี้จะติดอยู่เพียงเจ้าพระยาพระคลัง
หรือเขาจะได้นำความกราบทูล เปนเรื่องที่เราจะทราบไม่ได้
๕๘ พวกบาดหลวงจัดการขอรองให้ปล่อยพวกเข้ารีต เมื่อต้นเดือนธันวาคม ได้ทราบว่าพวกนักโทษเข้ารีตบางคน ได้ถูกเฆี่ยนเพราะเจ้าพนักงาร จะต้องการให้นักโทษเหล่านี้ระบุชื่อพวก เข้ารีตอื่น ๆ อีก และได้ทราบว่านักโทษคน ๑ ก็ได้ระบุชื่อพวกเข้ารีต หลายคน พวกเราจึงได้ทำเรื่องราวถวายพระมเหษี ขอให้ทรงโปรด กราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อจะทรงหายกริ้วลงบ้าง เพราะเจ้าพระยา พระคลังคอยกราบทูลแหย่ให้กริ้วพวกเราอยู่เสมอ แต่พระมเหษีได้ทรง จัดการไม่สำเร็จเปนแต่ตกลงทรงเวรเรื่องนี้ให้ พระชามาดา (ลูกเขย) ทรงตัดสิน ท่านลูกเขยคนนี้ถึงจะมีนิสัยอย่างไรก็ตาม แต่ก็คงไม่ชัง พวกเราเท่ากับเจ้าพระยาคลัง เพราะเจ้าพระยาพระคลังได้ไปกราบทูล กล่าวโทษพวกเราซึ่งเปนความไม่จริง หาว่าพวกเราได้ชักชวนบุคคล บางจำพวกให้เข้ารีต และบุคคลจำพวกนี้ต้องรับโทษเปนตพุ่นหญ้าช้าง มีหน้าที่หาหญ้ามาเลี้ยงช้างของเจ้าพระยาพระคลัง หรือหาไม้หอมมา ส่งส่วยเจ้าพระยาพระคลังมานานแล้ว เมื่อวารนี้ วันที่ ๑๓ เดือนธันวาคม ภรรยาของข้าราชการคน ๑ ได้มาหาเราบอกว่า สามีได้รับหน้าที่พิจารณาในเรื่องเราต่อไป ถ้าเรา ยอมจะให้อะไรสามีบ้างแล้ว สามีจะได้ใช้อำนาจที่มีอยู่เพื่อให้ความ ของเราเบาลง แต่การชนิดนี้เราได้ถูกหลอกมาหลายครั้งแล้ว เพราะ ฉนั้นเราจึงได้ตอบไปว่า ถ้าสามีได้จัดการช่วยเราได้จริงแล้ว เราก็จะ ไม่ลืมบุญคุณของสามี
๕๙
ข้าพเจ้าลืมเล่าไปว่า เมื่อราวปลายเดือนพฤศจิกายน เราได้ถวาย
เรื่องราวต่อพระไอยิกาของพระเจ้ากรุงสยามรัชกาลปัจจุบัน ขอให้ทรง
โปรดรับสั่งแก่พระเจ้ากรุงสยาม อย่าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงเชื่อ
ถ้อยคำที่เจ้าพระยาพระคลังกล่าวโทษเรานัก แต่ในการที่เราได้ถวาย
เรื่องราวนี้ เราได้ทราบว่า พระสงฆ์ได้ทูลคัดค้านไว้ เพราะฉนั้นที่ทรง
คิดจะช่วยพวกเราแต่เดิมจึงเปนอันสงบไป
ในระหว่างคืนวันที่ ๑๓ และที่ ๑๔ เดือนธันวาคม คือเมื่อคืนนี้ เรา
ได้จัดการย้ายเครื่องโบสถ์ไปไว้ที่อื่น เพื่อมิให้ตกไปอยู่ในมือคนไทย
ในจำพวกหนังสือที่ไทยได้ริบไปนั้นมีอยู่เล่ม ๑ ซึ่งยกข้อผิดและ
คลาดเคลื่อนของสาสนาไทยมาแจงให้เห็นความที่ผิด พระเจ้ากรุงสยาม
และพระมหาอุปราชได้เรียกพวกพระสงฆ์ที่รู้ธรรมมาแก้ ในข้อที่เรากล่าว
ว่าผิดนั้น แต่ไม่มีพระสงฆ์จนองค์เดียวที่จะกล้าแก้ปัญหาเหล่านั้นได้
และแก้ตัวว่าไม่เคยโต้เถียงแก้ปัญหาเหมือนย่างพวกบาดหลวง ทั้ง
พระสงฆ์เหล่านี้ก็มีกิจอย่างอื่นที่จะต้องทำด้วย ครั้นวันหนึ่งพระมหา
อุปราชกริ้วในการที่พระสงฆ์ทูลดังนี้ จึงได้ไล่พระสงฆ์ออกจากวัง
และทรงหาว่าสงฆ์เหล่านี้โง่เขลา ทำให้เสียเกียรติยศแก่ผ้าเหลือง
ภายหลังมาไม่เท่าไรวันนักพระมหาอุปราช ได้ให้มาเอาแผนที่
ภูมิศาสตร์จากพวกเรา ด้วยเขาพระทัยว่าในแผนที่นี้คงจะมีเขาพระ
สุเมรุ ซึ่งไทยเชื่อว่าเปนเขาที่สถิตของชั้นสวรรค์ต่าง ๆ และเชื่อกัน
ว่าเขานี้สูงเหลือที่ประมาณ และสูงยิ่งกว่าชั้นฟ้าทั้งหลายด้วย
๖๐
ข้าพเจ้าจึงได้จัดให้มองซิเออร์เลอแมร์ กับมองซิเออร์ธอมาศ นำแผนที่
อย่างใหม่ทั้ง ๔ ทวีปไปถวาย แต่คนสนิธของพระมหาอุปราชหายอมให้
บาดหลวงทั้งสองเข้าเฝ้าไม่ เพราะจะต้องการตรวจดูด้วยตังเองและ
จะโต้เถียงกับบาดหลวงเสียเอง แต่บาดหลวงก็ได้ชี้แจงให้เห็นว่า
ถ้ามีภูเขาทั้งสูงและใหญ่ดังที่พูดกันนั้นจริงแล้ว โลกเรานี้จะต้องโตกว่า
ที่เปนอยู่เดี่ยวนี้ถึง ๑๐ เท่าจึงจะพอจุฐานของภูเขานั้นได้ และโลกเรานี้
ก็ใหญ่เพียง ๙๐๐๐ ไมล์โดยรอบเท่านั้น คนสนิธของพระมหาอุปราช
คนนี้ ก็คือเจ้าพระยาพระคลังคนปัจจุบันนี้ ซึ่งหาว่าเราติเตียนและดุถูก
สาสนาไทยนั้นเอง เจ้าพระยาพระคลังคนปัจจุบันนี้ ไม่ใคร่จะกล้าเหมือน
เจ้าพระยาพระคลังคนก่อน แต่จึงจะมีท่าทางกิริยาเปนคนซื่อก็จริง
แต่ช้า ๆ นาน ๆ ก็ทำเราอย่างร้ายกาจ และพวกเราก็ไม่ได้หวังจะ
ได้รับความกรุณาจากเจ้าพระยาพระคลังคนนี้เลย การที่เจ้าพระยา
พระคลังคนนี้ ซึ่งเปนศัตรูอย่างร้ายของสาสนาคริสเตียนได้ยอมให้เด็ก
ชาติจีนของเรา ๔ คน มายังโรงเรียนของเรานั้น ต้องนับว่าเปนการที่
ปลาดซึ่งพระเปนเจ้าได้บันดาลเปนแท้ เพราะเมื่อพวกเราได้ไปขอ
อนุญาตให้เด็ก ๔ คนนี้ไปยังโรงเรียนได้นั้น เจ้าพระยาพระคลังได้ตอบ
ว่า "ข้าพเจ้าจะยอมให้เด็กเหล่านี้ไปเข้าสาสนาคริสเตียนไม่ได้ แต่ถ้า
เขาอยากจะไปโรงเรียนก็ให้ไปเถิด"
การที่พวกเราได้พูดจาโต้เถียงกันเสมอ ถึงเรื่องพระผู้เปนเจ้ามี
แต่องค์เดียว เรื่องตายแล้ววิญญาณจะไปเกิดใหม่ไม่ เรื่องสูรย์และ
๖๑
จันทรครธ เรื่องเปนการจำเปนที่จะต้องมีแต่สาสนาเดียวในโลกนี้
และเรื่องอื่น ๆ นั้น ก็ได้ทำให้เกิดผลดีอยู่บ้าง กล่าวคือมีข้าราชการ
ชั้นผู้ใหญ่บางคนได้อ่านหนังสือที่เราได้แต่งในเรื่องนี้แล้ว ได้พูดว่า
การที่สาสนาคริสเตียน เปนเรื่องติดต่อกันดีนั้นเปนการน่าชมเชยมาก
เพราะสาสนาของไทยนั้นไม่มีเท่าไม่มีศีร์ษะและไม่มีระเบียบอะไรเลย
มาวันหนึ่งข้าพเจ้ากำลังสนทนาอยู่ขุนนางผู้ ๑ ชื่อ ออกพระเดชา
ซึ่งเคยเปนราชทูตไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีใน ประเทศฝรั่งเศสแต่
กาลก่อน และซึ่งไปรับน้ำมนต์เข้ารีตที่กรุงปารีศนั้น ข้าพเจ้าอ้อนวอน
และชี้แจงเหตุผลต่าง ๆ ขอให้ออกพระเดชากลับถือสาสนาคริสเตียนเสียอย่างเดิม ออกพระเดชาจึงตอบข้าพเจ้าว่า "โอ เปนการยาก
เหลือเกิน เพราะข้าพเจ้าต้องถือสาสนาตามพระเจ้าแผ่นดิน" ข้าพเจ้า
คัดค้านว่า "ก็ถ้าพระเจ้าแผ่นดินจะตกนรก ท่านจะต้องการตกนรกตาม
เสด็จด้วยหรือ" ออกพระเดชาตอบว่า "จะทำอย่างไรได้ เปนการ
จำเปน" ข้าพเจ้าจะพูดจาชี้แจงเกลี้ยกล่อมอย่างไรก็ไม่ฟัง
ความเดือดร้อนของพวกเข้ารีต
ถึงแม้ว่าไทยได้บังคับให้ท่านสังฆราชทำการปรองดองเพื่อพระราช
ไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดิน ทั้งสองได้คงมีอยู่อย่างเดิมนั้นก็จริงอยู่
แต่ถึงดังนั้นไทยก็ยังพยายามที่ จะทำให้ท่านสังฆราชเดือดร้อนอยู่เสมอ
และคงเอาพวกเข้ารีตที่จับได้นั้นจำคุกและจำตรวนอยู่นั้นเอง พวกเข้ารีต
๖๒ ที่หลบหนีไปนั้นก็ไม่ได้กลับมายังบ้านเรือนเลย ฝ่ายเจ้าพระยาพระคลัง ก็หมายจะเอาชะนะแก่สังฆราชโดยทรมานพวกเข้ารีตที่ติดคุก จึงได้สั่ง ให้เอาพวกเข้ารีตจำตรวนเสีย ๗ ชั้น ให้เอาคาใส่คอ และให้คุมขังไว้ อย่างแน่นหนาอย่าให้ปะกับใครได้เปนอันขาด เมื่อได้ทรมานพวก เข้ารีตอย่างนี้ได้หลายวัน เจ้าพระยาพระคลังก็ส่งเจ้าพนักงารให้มา ซักถามพวกเข้ารีต เจ้าพนักงารได้มาขู่กันโชกว่าจะทำโทษพวกนี้อย่าง สาหัสจึงถามขึ้นว่า "การที่สังฆราชและพวกบาดหลวงรับคนไทยเข้ารีต ก็โดยบังคับบ้าง ให้เงินบ้าง นั้นจริงหรือไม่" พวกนักโทษเข้ารีตตอบ เปนเสียงเดียวทุกคนว่าไม่จริง และไม่เคยได้ยินเลยว่าสังฆราชและ บาดหลวงจะบังคับหรือให้แก่ใคร เจ้าพนักงารผู้นั้นโกรธที่พวก เข้ารีตตอบเช่นนี้ ก็เรียกหวายมาเฆี่ยนพวกนี้จนโลหิตไหลทรามไป ทั้งตั ว โดยหวังว่าถ้าเฆี่ยนแล้วพวกนี้คงจะพูดตามความต้องการ แต่ พวกนักโทษเข้ารีตก็คงยืนยันส่าที่ตัวได้พูดไว้นั้นเปนความจริงทั้งสิ้น ครั้นมาอีกวันหนึ่งเจ้าพนักงารคนนั้นเอง ได้เรียกพวกนักโทษ เข้ารีตมาและถามว่า "เหตุใดพวกเองจึงทิ้งสาสนาของตัวไพล่ไปถือ สาสนาคริสเตียนเสีย" การที่ถามดังนี้ก็เพราะเจ้าพนักงารไปเข้าใจเสีย ว่าพวกนี้พึ่งเข้ารีตใหม่ ๆ พวกนักโทษจึงตอบตัวไม่คยถือสาสนา อย่างอื่นเลยนอกจากสาสนาคริสเตียน เพราะได้เปนคริสเตียนตั้งแต่ วันเกิดมาแล้ว เจ้าพนักงารจึงบังคับให้พวกนี้บอกชื่อคนอื่น ซึ่งเปนพวก เข้ารีต นักโทษเหล่านี้เกรงจะทำให้พระเปนเจ้ากริ้วก็ไม่ยอมระบุชื่อ
๖๓
ผู้ใด แต่ครั้นถูกเฆี่ยนทนไใไหวเข้าจึงได้นะบุชื่อพวกเข้ารีตบางคน
เจ้าพระยาพระคลังจึงส่งให้ไปจับพวกเข้ารีตตามชื่อที่พวกนักโทษบอกไว้นั้น
แต่ฝ่ายเจ้าพนักงารผู้ที่รับคำสั่งของเจ้าพระยาพระคลังให้ไปจับพวกเข้ารีต
นั้น หาได้เปนศัตรูกับท่านสังฆราชไม่ จึงได้ให้คนไปกระชิบบอก
สังฆราชให้รู้ตัว ครั้นอีกสักครู่หนึ่งเจ้าพนักงารคนนี้ได้คุมทหารไปจับ
พวกเข้ารีตก็ไม่ได้พบคนเข้ารีตจนคนเดียว เพราะพวกนี้ได้หนีเข้าป่าไป
หมดแล้ว เจ้าพนักงารคนนี้ก็ได้พยายามคุมทหารมาคอยจับพวกเข้ารีต
อยู่เนือง ๆ และมันด้อมมาในเวลาที่ไม่มีใครคาดหมายว่าจะมา แต่
เจ้าพนักงารคนนี้มุ่งนี้ตีต่อเราจึงร้องตะโกนมาแต่ไกลว่า "เอาฝรั่ง
เอาฝรั่ง" ซึ่งเปนเครื่องหมายให้รู้ว่าจะมาจับพวกเข้ารีต พอพวก
เข้ารีตได้ยินเสียงตะโกนมาดังนี้ ก็ต่างคนต่างหนีออกจากบ้านไปส้อน
ต้วอยู่ในที่ต่าง ๆ บางคนได้ไปลอยอยู่ในหนองหลังโรงเรียนต่างห้าหก
ชั่วโมง และได้เอาตะกร้าคลุมศีร์ษะ ทำประดุจตะกร้านั้นลอยน้ำอยู่
เฉย ๆ ตั้งแต่เราได้เกลี้ยกล่อมเอาเจ้าพนักงารคนนี้มาเปนพวกเรา ไทย
ก็จับคนเข้ารีตไม่ได้อีกเลย
ครั้นเจ้าพระยาพระคลังเห็นว่าการที่คิดไว้นี้ไม่สมปรารถนาก็คิดการ
อย่างอื่นต่อไป คือเพื่อจะให้ปรากฎชั่วฟ้าและดินว่าเจ้าพระยาพระคลัง
ได้ชนะพวกเรานั้น จึงได้ให้เอาแผ่นสิลาจารึกข้อห้าม ๔ ข้อ ซึ่งได้
กล่าวมาในตอนแล้วนั้น และคิดจะเอาแผ่นศิลาจารึนี้มาไว้ปักไว้ใน
วัดคริสเตียนที่มีอยู่ในกรุงศรีอยุธยาทั้ง ๓ วัด แต่เพื่อจะได้การนี้ได้
๖๔
สมปราถนายิ่งขึ้น จึงได้จัดเจ้าพนักงารหลายคนให้มาหาสังฆราช
คราวละคน และให้มาพูดกับท่านสังฆราช ขอให้สังฆราชรับศิลาจารึก เหล่านี้มาไว้ในวัด แต่ท่านสังฆราชได้ตอบยืนคำอยู่เสมอว่าพระเจ้าแผ่นดินเปนนายในเมืองนี้ จะทำอย่างไรห็ได้ตามพระทัย แต่ส่วนตัว สังฆราชนั้นจะรับศิลาจารึกมาไว้ ในวัดด้วยมือของท่านสังฆราชเองไม่ได้
เปนอันขาด และจะยอมให้เอาศิลาจารึกมาไว้ก็ไม่ได้เพราะเปนการ
เสียหายต่อพระเปนเจ้าและสาสนา คำตอบอย่างนี้ไม่เปนที่พอใจ
เจ้าพระยาพระคลังเลย แต่พระเปนเจ้าจะได้ช่วยอย่างไรก็ไม่ทราบใน
เวลานั้นเจ้าพระยาพระคลังหาได้เอาศิลาจารึกมาไว้ในวัดได้ไม่ เพราะ
ฉนั้นเจ้าพระยาพระคลัง จึงได้ไปกราบทูลพระเจ้ากรงสยามไม่เว้นเลย
หาว่าท่านสังฆราชเปนขบถ และเจ้าพระยาพระคลังก็มุ่งหมายที่จะทำลาย
สาสนาของเรา จึงกราบทูลต่อพระเจ้ากรุงสยามขอพระราชาญาต
ไล่สังฆราชและพวกมิชชันนารี ให้ออกไปพ้นพระราชอาณาเขตเสียให้
หมด การทีเจ้าพระยาพระคลังกราบทูลจอพระราชนุญาตเช่นนี้ จะได้
มีรับสั่งว่าอย่างไรพวกเราหาทราบไม่ แต่ก็พอจะเชื่อได้ว่าพระราชทาน
พระราชานุญาตเพียงแต่ให้จับท่านสังฆราชได้
ฝ่ายเจ้าพนักงารผู้ทีท่านสังฆราชได้เกลี้ยกล่อมให้เปนพวกเรานั้น
ได้ทราบว่าได้พระราชทานพระราชานุญาต ให้เจ้าพระยาพระคลังจับตัวท่าน
สังฆราช จึงได้ให้คนใช้ถือเศษกระดาดมีอักษรจีนสองสามตัวมาส่ง
๖๕ ให้แก่สังฆราช และสั่งคนใช้ให้บอกแก่สังฆราชให้สังฆราชจัดนักเรียน คนใดที่รู้หนังสือจีนแปลหนังสือนี้ให้สังฆราชฟัง ในหนังสือนี้แปลได้ ความว่า ถ้าเจ้าพระยาพระคลังให้มาเรียกตัวางฆราชไปเมื่อใด ก็ให้ สังฆราชบอกป่วยเสียอย่างได้เปนอันขาด พอไห้รับข่าวนี้สักครู่ ๑ เจ้าพระยาพระคลังก็ใช้เจ้าพนักงารมาหาท่านสังฆราช ครั้นบอกไปว่า ท่านสังฆราชป่วยเจ้าพนักงารเหล่านั้นก็กลับไป และยังมีเจ้าพนักงาร อื่น ๆ กลับมาอีกเพื่อมาดูว่าสังฆราชป่วยจริงหรืออย่างไร เจ้าพนักงาร เหล่านี้ก็เห็นว่าสังราชป่วยจริง เพราะสังฆราชร้อนใจและเสียใจใน การที่เปนไปดังนี้จึงได้ทาให้อ่อนเพลียไม่มีแรง เจ้าพนักงารเหล่านี้ก็ กลับไปแล้วไม่ได้มาอีกเลย ซึ่งทำให้พระเจ้ากรงสยามได้มีเวลาใคร่ ครวญในเรื่องนี้ และเพราะเหตุว่าพระเจ้ากรุงสยามมีพระอัธยาศัย โอบด้อมอารี จึงดำรัสสั่งให้ข้าราชการมาประชุมปฤกษาว่าในเรื่องนี้ จะควรทำอย่างไรต่อไป ข้าราชการได้ประชุมพร้อมกันตามรับสั่ง ผู้ที่มาประชุมนั้น มี พระเจ้ากรงสยามเสด็จมาประชุมก้วยพระองค์เอง มีพระมหาอุปราช ท่านจักรี และเจ้าพระยาพระคลัง เจ้าซึ่งเปนเชื้อพระวงศ์เก่าเปนผู้ที่ชอบกับพวกเรา ได้ทรงทราบ ว่าจะได้มรการประชุมกันเช่นนี้ จึงได้รับสั่งแก่พวกเข้ารีตที่ทรงรู้จักว่า เห็นจะไม่เปนการแล้ว เพราทรงพระวิตกว่าที่ประชุมคงจะตกลงอย่าง ใดอย่างหนึ่งซึ่งจะให้ผลร้ายแก่เรา แต่เมื่อตกถึงเวลากลางคืนแล้วจึง จะบอกข่าวมาให้ทราบ
๖๖ ฝ่ายพระเปนเจ้าซึ่งรู้ในความคิดของมนุษย์ และทำให้ร้ายกลาย เปนดีได้นั้น ได้บันดาลให้ที่ประชุมนี้ซึ่งมาประชุมสำหรับหาทางทำลาย สาสนาของเรานั้น ได้กลับกลายทำให้สาสนากลับมั่นคงในเมืองนี้ยิ่ง กว่าเก่าไปอีก โดยที่ประชุมจำเปนต้องยกย่องสรรเสริญผู้ที่มาเทศนา สั่งสอนสาสนานี้ พระเจ้าแผ่นดินได้รับสั่งยกเหตุผลข้อที่เรียกประชุมคราวนี้ แล้ว จึงรับสั่งให้เจ้าพระยาพระคลังซึ่งเปนข้าราชการหนุ่มที่ สุดในที่ประชุมนี้ ออกความเห็นว่า จะควรทำอย่างไรแก่สังฆราชและบาดที่ยังอยู่ใน พระราชอาณาเขต เจ้าพระยาพระคลังกราบทูลว่า ในเรื่องนี้ไม่ควร จะรอรั้งเลย ควรไล่สังฆราชและบาดหลวงให้ออกไปพ้นพระราชอาณา เขตให้หมด แล้วกราบทูลต่อไปว่า "สังฆราชและพวกบาดหลวง ได้พยายามเอาคำสั่งสอนยังเปนมิจฉทิฐไปเที่ยวสั่งสอนให้แพร่หลายไม่ หยุดไม่หย่อนเลย ทั้งพวกนี้ก็ติเตียนดูถูกสาสนาของเรา และคอย รบกวนอาณาประชาราษฎรอยู่เสมอ จนพวกเข้ารีตเพิ่มมาอขึ้นทุกวัน ๆ วัน ซึ่งเปนการที่จะปล่อยให้เปนอยู่ดังนี้ไม่ได้เปนอันขาด" แล้วพระเจ้ากรุงสยามทรงหันพระองค์ไปทางท่านจักรี รับสั่งถามว่าท่านจักรีคิดเห็นเปนอย่างไร ท่านจักรีได้กราบทูลถามว่าจะโปรดพระราชทานพระราชานุญาตให้ กราบทูลความเห็นที่จริงใจหรือไม่ พระเจ้ากรุงสยามจึงพระราชทานพระ ราชานุญาต ให้พูดได้ตามความพอใจ และให้พูดแต่ฉเพาะที่จริงใจได้ ท่านจักรีจึงได้กราบทูลว่าดังนี้
๖๗ "พวกสังฆราชฝรั่งเศส และพวกมิชชันนารี ได้เข้ามายังพระราช อาณาจักร์ ก็โดยที่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน ๆ ได้รับสั่งให้หาเข้ามา พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน ๆ ก็ได้เคยโปรดปรานพวกสังฆราชและมิชัน นารีฝรั่งเศสอยู่เสมอ การที่พวกสังฆราชและมิชชันนารีเที่ยวเทศนาสั่ง สอนการสาสนานั้น ก็ด้วยพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน ๆ ได้พระราช ท่านพระราชานุญาตไว้ มาจนบัดนี้ก็ได้โปรดพระราชทานพระราชานุญาต อยู่อย่างเดิม การที่หาว่าพวกสังฆราชและมิชชันนารีทำความผิดนั้นก็ ไม่ได้ยินใตครพูดเลย เพราะคนจำพวกนี้เปนคนที่เรียบร้อยไม่ทำการ เอะอะอย่างใด และทุกความดีโดยแจกยาจนคนไทยเราทั้งเจ้าพนักงาร และพระสงฆ์ ก็ได้รักษาโรคหายเพราะยาของพวกมิชชันนารีก็มาก จำ นวนคนที่เข้ารีตมีจำนวนเล็กน้อยที่สุด เพราะฉนั้นไม่ควรจะสงสัย หรือ หาความใส่พวกมิชชันนารีนี้เลย" เมื่อท่านจักรีได้กราบทูลตามความเห็นแล้ว พระเจ้ากรุงสยามได้รับ สั่งถามพระมหาอุปราชว่า ในเรื่องนี้ทรงเห็นว่าอย่างไร พระมหาอุปราช กราบทูลว่า ท่านจักรีได้กราบทูลโดยสติปัญญเฉีบยแหลมมาก และ ทรงเห็นพ้องกับท่านจักรีด้วย พระเจ้ากรงสยามจึงรับสั่งว่า "ถ้าฉนั้น ต้องเอาเรื่องของคนทั้งหลายมากกวนเราทำไม เรื่องการเปนอยู่ดังนี้แล้ว ก็ปล่อยให้พวกเข้ารีตได้มีความสุขเสียบ้างเถิด และใครอย่าเอาเรื่องนี้ มาพูดอีกต่อไป" ถึงแม้ว่าพระจ้ากรุงสยามจะได้รับสั่งดังนี้ก็จริงอยู่ แต่เรื่องนี้ก็หาได้ยุติเพียงเท่านี้ไม่ เพราะเจ้าพระยาพรคลังไม่ยอมถอด
๖๘
ตรวนให้พวกเข้ารีต ถ้าจะถอดตรวนแล้วเจ้าพระยาพระคลังจะคิดเอาเงิน
แก่คนเข้ารีตคนละ ๖๐๐ เหรียญ พวกเข้ารีตต้องทนทุกข์ทรมานและ
ติดตรวนอยู่จนตลอดสิ้นรัชกาล เพราะท่านสังฆราชไม่มีเงินพอทีจะเสีย
ให้เจ้าพระยาพระคลังได้
ศิลาจารึกสำหรับประจาน การยกศิลาจารึกสำหรับประจาน เมื่อพระเจ้ากรุงสยามได้มีรับส่งในที่ประชุมดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เจ้าพระยาพระคลังก็ไม่มีหนทางอะไรนอกจากปล่อยให้ท่านสังฆราชได้อยู่ เปนสุขบ้าง แต่เจ้าพระยาพระคลังก็พยายามหาหนทางที่จะรังแกท่าน สังฆราชอยู่มิได้ขาด จึงได้เอาเรื่องเงิน ๓๐๐ เหรียญที่บาดหลวงเปนหนี้ อยู่นั้นเปนเรื่องสำหรับรังแกท่านสังฆราชต่อไป เงิน ๓๐๐ เหรียญนี้เปน หนี้เก่แก่ซึ่งมองเซนเยอร์เดอซาบูลได้ ยืมจากพระราชบิดาของพระเจ้า แผ่นดินองค์ปัจจุบัน และการที่ยืมนั้นก็เพื่อสำหรับเปนปอลิติก หาใช่ เพราะต้องการเงินจริงไม่ มองเซนเยอร์เดอซาบูลได้เล่าให้ข้าพเจ้า ฟังเองว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น คือพระราชบิดาของพระเจ้าแผ่นดิน องค์ปัจจุบันนี้ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น คือพระราชิดาของพระเจ้าแผ่นดิน ที่อยู่ในเมืองไทยไม่ว่าไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินหรือชนชาวต่างภาษา มีความ กลังเกรงสทกสท้านยิ่ง เพราะฉนั้นมองเซนเยอร์เดอซาบูลจึง คิดอุบายขอพระราชทานยืมเงินเพื่อทดลองว่า ๑ พระเจ้ากรงสยาม องค์นั้นจะมี ความโปรดปรานคณะบาดหลวงแะจะทรงช่วยในเวลาทุกข์
๖๙ ยากหรือไม่ ๒ เพื่อป้องกันตัว เพราะท่านสังฆราชเชื่อใจว่าพระเจ้า แผ่นดินคงจะไม่ทรงทำอันตรายสังฆราช ด้วยทรงกลัวว่าเงินจะสูญ เพราะฉนั้นเงินรายนี้ได้เปนหนี้กับมาหลายปีแล้ว ฝ่ายเจ้าพระยาพระคลัง ทราบอยู่ว่าทานสังฆราชเดอโรซาลีขัดเงิน จึงได้ให้คนไปบอกว่าเงิน รายที่เปนหนี้อยู่นั้นจะต้องใช้ให้ภายใน ๒๔ ชั่วโมง มิฉนั้นจะต้องริบ โรงเรียน ท่านสังราชเปนคนขัดสนไม่มีเลย จึงได้ไปยืมเงิน จาพวกฮอลันดา ๆ ก็ได้ให้ยืมโดยเต็มใจ ครั้นท่านสังฆราชได้นำเงิน ไปใช้ให้ภายใน ๒๔ ชั่วโมงตามกำหนด เจ้าพระยาพระคลังก็หมดพูด และถ้าเจ้าพระยาพระคลังมีอำนาจที่จะเรียกอดกเบี้ยในเงินรายนี้แล้ว ก็ คงเรียกเอาเปนแน่ เพราะตามธรรมเนียมของเมืองนี้เงินที่พระเจ้า แผ่นดินให้ยืมด้วยพระองค์เองหามีดอกเบี้ยไม่ แต่ถ้ายืมเงินหลวงจาก เจ้าพนักงารคลังแล้ว ต้องมีดอกเบี้ยแพงมาก การที่เจ้าพระยาพระคลัง ได้คิดรบกวนรังแกท่านสังฆราชนั้น ได้สงบเงีบยไปจนถึงข้างต้นเดือน ตุลาคม ปี ค.ศ. ๑๗๓๑ (พ.ศ.๒๒๗๔) ในขณะนี้เจ้าพระยาพระคลัง ได้ให้เจ้าพนักงารไปหาสังฆราช ๓ คน เพื่อไปเลือกหาที่ในวัด สำหรับ ตั้งศิลาที่จารึกข้อห้าม ๔ ข้อที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว จ้าพนักงาร ทั้ง ๓ คน ได้พยายามจะให้ท่านสังราชชี้ที่ให้ปักศิลาจารึกนี้ เพื่อจะได้ พูดได้ว่าท่านสังฆราชได้ ยอมแลเห็นชอบในข้อความที่จารรึกในแผ่นศิลา นั้นแล้ว แต่ท่านสังฆราชไม่ยอมชี้ที่ให้เปนอันขาด เพราะฉนั้น เจ้าพนักงารจึงจำเปนเข้าไปยังวัดตามลำพังตัวเอง แล้วกลับไปรายงาร ให้เจ้าพระยาพระคลังทราบต่อไป
๗๐
เมื่อวันที่ ๙ เดือนนั้นเอง (ตุลาคม ) เจ้าพนักงารได้กลับมาอีก
และนำศิลาจารึกกับทั้งช้างปูนมีอิฐแลปูนมาด้วย เพื่อจะมาก่อฐาน สำหรับตังหินนั้น ฝ่ายท่านสังฆราชไม่ทราบว่าเจ้าพนักงารจะเอาศิลา
ตั้งที่ตรงไหน จึงได้ถอนเอาศีลมหาสนิธ (๑) (Consecrated Host)
ออกเสีย ฝ่ายเจ้าพนักงารก็เที่ยวเดิรในโบสถ์ บางคนก็ต้องการเอา
ศิลาตั้งตรงนี้ บางคนก็ต้องการให้ตั้งตรงนั้น แลมีคน ๑ ต้องการ
เอาศิลาตั้งบนที่บูชาพระ (altar) เพราะเปนที่เด่นดี แต่บังเอิญมี
ข้าราชการคน ๑ ซึ่งไม่ได้ชังพวกเข้ารีตเหมือนเจ้าพนักงารอื่น ๆ ได้
พูดขึ้นว่า "ถ้าขืนเอาศิลาขึ้นตั้งตรงนี้แล้ว พวกบาดหลวงก็คงจะทิ้ง
วัดแลคงจะไม่ใช่วัดนี้อีกต่อไป" เจ้าพนักงารเหล่านี้จึงตกลงเอาศิลา
ตั้งตรงทางเข้าตรงกับประตูหน้าโบสถ์ซึ่งเปนทางจะโรงเรียน ช่างปู
ได้ก่อฐานอย่างฝีมืออยาบ แล้วเอาศิลาตั้งบนฐาน ตัวอักษรจารึก
นั้นอยู่บนฐาน
คำแปลข้อความในศิลาจารึกสำหรับประจาน มองเซนเยอร์เลอบองเปนผู้แปล ไทยได้ให้เอา ศิลาแผ่นดินใหญ่แบนมาจารึกประกาศของพระเจ้า กรุงสยาม ในประกาศที่จารึกแผ่นศิลานั้นมีความว่าดังนี้ (๑) แปลตามดิกชันนารีของบาดหลวงปาเลอกัว เปนวัตถุชิ้นหนึ่งซึ่งคณะบาดหลวงได้สร้างสวดสมมตว่าเปนองค์พระเยชู
๗๑ ด้วยแต่ก่อนช้านานมาแล้ว ได้มีพระราชไมตรีอันสนิธในระหว่าง พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสแลพระเจ้ากรุงสยาม พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจึงได้ แต่งราชทูต เชิญพระราชสาสนและเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระเจ้า กรุงสยาม ในพระราชสาสนนั้นมีความว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสขอพระ ราชานุญาตให้พวกมิชันนารีฝรั่งเศส มาอยู่ในพระราชอาณาเขตสยาม แลขอให้พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงโปรดสร้างบ้านให้พวกมิชันนารีอยู่ เพื่อ มิชันนารีจะได้ช่วยให้พระราชไมตรีในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองได้คิด ต่อชั่วกาลนาน เพราะเหตุฉนั้นพระเจ้ากรุงสยามมีพระราชประสงค์จะ ให้พระราชไมตรีในระหว่างประเทศทั้งสองได้คงอยู่ จึงได้พระราชทาน ที่ให้แก่มิชันนารีฝรั่งเศสในตำบลซึ่งเรียกว่า บางปลาเหตุ (Banplahet) แลได้โปรดให้จ่ายพระราชทรัพย์จากท้องพระคลัง เพื่อไปซื้ออิฐปูน แลเครื่องก่อตึก กับได้พระราชทานคนงารสำหรับไปก่อตึกทำด้วย ศิลาพระราชทานให้แก่พวกมิชันนารี ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้า กรุงฝรั่งเศสทุกประการ ด้วยเหตุที่พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงพระเมตตา กรุณาแก่มิชันนารี ๆ เหล่านี้จึงได้อยู่ในที่ตำบลนี้ช้านาน แต่ครั้นมา เมื่อปีจอโทศก (ค.ศ.๑๗๓๐) พ.ศ. ๒๒๗๓ นายเต็ง บุนร์หลวงไกรโกษา ได้ให้กราบทูลต่อพระมหาอุปราช (เวลานั้นยังเปนสมเด็จพระอนุชาของ พระเจ้าแผ่นดิน มาในเวลานี้เปนองค์พระเจ้าแผ่นดินแล้ว) ว่าพวกหัวหน้า บาดหลวงซึ่งได้มาอยู่ที่บ้านบาดหลวงที่บางปลาเหตก่อนสังฆราช ดอม ยากซ์ (คือมองเซนเยอร์ยังยากซ์ สังฆราชเดอโรซาลี) แลตัว
๗๒
สังฆราชดอมยากซ์เองได้กระทำความผิดหลายข้อ คือ ๑ ได้ใช้
ตัวหนังสือเขมรและหนังสือไทย สำหรับแต่งหนังสืออธิบายถึงสาสนา
คริสเตียน และหนังสือที่แต่งเหล่านี้มีอยู่ในบ้านบาดหลวงเปนอันมาก
๒ เมื่อพวกบาดหลวงได้เทศนาสั่งสอนเปนภาษาฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้
สั่งสอนอธิบายการสาสนาเปนภาษาไทย ๓ พวกบาดหลวงได้หลอกลวง
คนไทยมอญและลาวซึ่งเปนผู้ถือสาสนาอันประเสริฐของไทยอยู่แล้ว และ
พวกบาดหลวงได้ยอพวกไทย และมอญลาวและเกลี้ยกล่อมให้พวกนี้เข้า
รีตเปนอันมาก ๔ พวกบาดหลวงได้แต่งหนังสือติเตียนแลเยาะเย้ย
สาสนาอันประเสริฐของไทย
พระมหาอุปราชจึงได้นำคำให้การของ นายเต็งขึ้นกราบทูลพระเจ้า
กรุงสยาม ครั้นทรงทราบข้อความตามคำให้การนั้นแล้ว จึงมีรับสั่ง
ให้หาสังฆราชดอมยากซ์ หัวหน้าบาดหลวงและมิชชันนารีทั้งปวงให้ไป
ยังศาลของเสนาบดีตามแบบประเพณี เพื่อจะได้พิจารณาในความผิด
ของดอมยากซ์และมิชชันนารีทั้งปวง สังฆราชดอมยากซ์และมิชันนารี
ทุกคนได้สารภาพว่าได้ทำความผิดตามข้อหาเหล่านั้นจริง ภายหลัง
สังราชกับบาดหลวงได้นำของรับประทาน ดอกไม้ น้ำหอม และเทียน
ขี้ผึ้งมาถวาย เพื่อมาขอโทษในการที่ตัวได้กระทำผิด ฝ่ายพระเจ้า
กรุงสยามได้ทรงฟังคดีนี้และได้ทรงพิจารณาโดยถี่ถ้วนแล้ว จึงได้โปรด
ให้ประกาศพระราชโองการดังนี้ต่อไปนี้ ด้วยพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและ
พระเจ้ากรุงสยาม ได้เปนพระราชไมตรีอย่างสนิธซึ่งกันและกันมาช้า
๗๓
นานแล้ว ส่วนความผิดของพวกมิชชันนารีนั้น พวกมิชชันนารีได้รู้
สึกตัวรับผิดแล้ว และได้นำของรับประทาน ดอกไม้ น้ำหอมและ
เทียนขี้ผึ้งมาถวายเพื่อขอพระราชทานโทษ เพราะฉนั้นในครั้งนี้ให้งดเลิก
ในการที่บาดหลวงทำผิดไว้นั้นคราวหนึ่ง แต่ต่อไปภายภาคหน้า ถ้า
สังฆราชดอมยากซ์ก็ดีหรือมิชชันนารีคนใดก็ดีจะเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา
เพื่อเปนการสมานพระราชไมตรี ในระหว่างประเทศทั้งสองและเพื่อให้
พระราชไมตรีนั้นได้แน่นหนาเพิ่มขึ้นยิ่งกว่าเก่าแล้ว ห้ามมิให้สังฆราช
และมิชชันนารีนั้น ๆ ได้ผิดทำผิดต่อข้อห้าม ๔ ข้อ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปนี้เปน
อันขาด ถ้าพวกมิชชันนารีได้ปฎิบัติถูกต้องไม่ผิดด้วยข้อห้าม ๔ ข้อแล้ว
จึงจะเข้ามาในกรงุศรีอยุธยา เพื่อให้พระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุง
ฝรั่งเศสได้สนิธแน่นขึ้นอีกได้ แต่ถ้าพวกบาดหลวงบังอาจขัดขืนต่อ
ประกาศพระราชโองการ ๔ ข้อนี้ หรือบังอาจขัดขืนแม้แต่ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว
ถ้านั้นก็จะเปนการขาดพระราชไมตรี เพราะด้วยความเจตนาของพวก
มิชชันนารีที่ได้ทำการฝ่าฝืนข้อห้าม ๔ ข้อ ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ ๑ ห้าม
มิให้ใฝช้ตัวหนังสือเขมรและหนังสือไทย สำหรับไปเขียนหนังสือซึ่งสอน
สาสนาคริสเตียน ๒ ห้ามมิให้พวกมิชชันนารีเทศสั่งสอนเปนภาษาไทย
๓ ห้ามมิให้ ไทย มอญ ลาว ซึ่งถือสาสนาอันประเสริฐของไทยแม้จะ
ยากจนอย่างใด ไปยืมเข้าของเงินทองจากพวกมิชชันนารี และห้าม
มิให้ไปขอเข้ารีต ห้ามมิให้ไทยมอญลาวเชื่อแลนับถือสาสนาคริศเตียน
๑๐
๗๔
และห้ามมิให้ไทยมอญลาวไปคบค้าสมาคมกับพวกเข้ารีต และห้าม
มิให้พวกมิชชันนารีรับคนไทยมอญและลาวเข้ารีตเปนอันขาด ๔ ห้ามมิ
ให้พวกมิชชันนารีแต่งหนังสือซึ่งติเตียนและค้ดค้านสาสนาไทย ให้บรรดา
มิชชันนารทั้งหลายที่จะเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ระวังอย่าได้กระทำการ
ผิดต่อข้อห้าม ๔ ข้อนี้แม้แต่ใดข้อหนึ่งเปนอันขาด ถ้าหากว่พวก
มิชชันนารีที่จะเข้ามายังกรงศรีอยุธยา ได้เห็นและทราบข้อความตาม
ประกาศพระราชโองการซึ่งจารึกไว้ในแผ่นศิลานี้ ไม่ปฎิบัติตามแต่ขืน
ทำการผิดต่อข้อห้าม ๔ ข้อนี้แม้แต่ข้อหนึ่งข้อใด เมื่อได้ไต่สวน
พิจารณาได้ความแล้ว ก็จะต้องลงโทษหัวหน้าของพวกมิชันนารีถึง
ประหารชีวิต และพวกมิชันนารีอื่น ๆ นั้น เมื่อได้รับพระราชอาญา
เฆี่ยนแล้ว จะต้องถูกไล่ออกไปให้พ้นพระราชอาณาเขตสยามทั้งหมด
อีกประการ ๑ พวกไทย มอญ และลาว ซึ่งได้ไปเข้ารีตในครั้งสมัย
สังฆราชดอมยากซ์ จะต้องลงพระราชอาญาเฆี่ยนอย่างหนักและจะ
ต้องประหารชีวิตดสียด้วย ถ้าแม้ต่อไป ไทยก็ดี มอญก็ดี ลาวก็ดี
ซึ่งเปนผู้นับถือสาสนาไทย เมื่อได้ทราบประกาศพระราชโองการซึ่งได้
จารึกไว้ในแผ่นศิลานี้ กระทำการขัดขืนประกาศพระราชโองการนี้โดยละสาสนาอันประเสริฐของตัวกลับไปเข้าด้วยสาสนาคริสเตียนแล้ว ก็จะต้องรับพระราชอาญาอย่างหนัก คือจะต้องถูกตัดศีร์ษะแล้วจะได้เอาศพไปเสียบไว้หน้าบ้านบาดหลวงที่บางปลาเหต ส่วนบิดามารดาบุตรภรรยา
และพี่น้องจะได้รับพระราชอาญาอย่างหนัก และจะต้องถูกริบทรัพย์สมบัติ
ให้สิ้นเชิงด้วย
๗๕ ประกาศพระราชโองการนี้ได้จารึกลงในแผ่นศิลา เมื่อณวันพุธ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีจอโทศก (ตามคริศศักราชตรงกับวันเดือนมกราคม ๑๗๓๐) พ.ศ. ๒๒๗๓ นี่แหละเปนคำแปลค่ำต่อคำตามแต่จะแปลให้ตรงได้ ของประกาศ พระราชโองการพระเจ้ากรุงสยาม ซึ่งได้จารึกไว้ในแผ่นศิลาเปนภาษา ไทย และซึ่งได้มาตั้งไว้ตรงกับประตูโบสถของคณะบาดหลวงในกรุง ศรีอยุธยา
ควาเห็นมองเซนเยอร์เลอบอง ในเรื่องศิลาจารึกนี้ ข้อความที่ได้จารึกไว้ในแผ่นศิลานี้ ไม่มีความตรงกับความจริง เลยจนข้อเดียว และประกาศอันนี้ก็หาใช่พระราชโองการของพระเจ้า แผ่นดิวนไม่ แต่ประกาศของสมเด็จพระอนุชาซึ่งเปนพระเจ้าแผ่นดิน อยู่ในเวลาปัจจุบันนี้ ได้ทรงคบคิดกับผู้ที่ได้รับตำแหน่งเปนเสนาบดีอยู่ ในเวลานี้ จัดทำขึ้นในเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประชวรหนักจนที่สุดก็ สววรคตด้วยพระโรคที่ทรงพระประชวรนั้นเอง ตามข้อความที่กล่าวถึงพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสก็ไม่ตรงกับความจริง เหมือนกัน จริงอยู่พระเจ้ากรงุสยามพระองค์เก่าได้พระราชทานที่ที่บาง ปลาเหต ให้แก่พวกสังฆราชและพวกมิชันนารีฝรั่งเศสทั้งได้พระราชทาน อิฐปูนสำหรับก่อโบสถ์ด้วย กับได้โปรดส่งไทยหนุ่ม ๆ ให้ไปรับความ เล่าเรียนจากมิชชันนารีเหล่านั้น และได้โปรดให้พวกมิชชันนารีกราบทูล
๗๖
อธิบายเรื่องราวของสาสนาคริสเตียน จนได้โปรดปรานนับถือสาสนาของ
เรถึงกับพระราชทานธรรมมาสน์ปิดทองมาให้เราใช้ โดยพระราชทาน
พระราชานุญาต ให้เทศนาสั่งสอนสาสนาคริสเตียนแก่ไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดิน
ของพระองค์ได้ เพราะรับสั่งว่าสาสนาที่ทำให้มนุษย์เที่ยวไปถึงสุดโลก
โดยไม่หาประโยชน์ส่วนตัวแต่จะให้ความดีแก่มนุษย์ทั่วไปนั้น คงจะเปน
สาสนาที่แท้จริงเปนแน่ และสมเด็จพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินพระ
องค์นี้ ได้ทรงรับคำสั่งสอนในสาสนาแล้วก็ได้ทรงรับรองว่าต่อไปจะไม่
ทรงนับถือพระเจ้าองค์อื่นนอกจากพระเปนเจ้าซึ่งพวกคริสเตียนนับถือองค์
เดียวเท่านั้น การเหล่านี้ได้เปนไปก่อนพระเจ้าแผ่นดินของเราคือพระเจ้า
หลุยที่ ๑๔ ได้เปนพระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุงสยาม ภายหลังเมื่อ
พระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ ได้ทรงทราบในเรื่องเหล่านี้ ได้ทรงหวังประโยชน์
ของการสาสนา จึงได้ทรงแต่งราชทูตให้เชิญพระราชสาสนและเครื่อง
ราชบรรณาการอย่างดีมีราคาถวายพระเจ้ากรงสยาม และเมื่อพระเจ้า
กรงุสยามได้ทรงแต่งราชทูตไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น พระเจ้าหลุยที่ ๑๔
ก็ได้จัดรับราชทูตสยามอย่างมีหน้ามีตา เพราะพระเจ้ากรงุฝรั่งเศสทรง
หวังพระทัยว่า พระเจ้ากรุงสยามคงจะทรงนับถือสาสนาคริสเตียนต่อไป
การที่พระเจ้าหลุยที่ ๑๔ ได้มีพระราชสาสนมาขออนุญาตให้พวกมิชันนารี
ฝรั่งเศสได้อยู่ในเมืองไทย และขอให้สร้างบ้านให้พวกมิชันนารีอยู่นั้น
ไม่เปนการจำเปนอะไรเลย เพราะการทั้งนี้ได้เปนไปตามที่ขอมานั้นอยู่แล้ว
สิ่งที่พระเจ้าหลุยที่ ๑๔ ควรจะขอมานั้น ก็คือควรขอให้พระเจ้ากรุงสยาม
ได้ทรงพระเมตตากรุณาแก่พวกมิชันนารีฝรั่งเศสต่อไป
๗๗
แต่ข้อที่จารึกในศิลาที่เกี่ยวด้วยนายเต็งนี้ นายเต็งคนนี้เปน
บุตร์ของหลวงไกโกษา ๆ เปนพระคลังของพระมหาอุปราช มารดานายเต็ง
นั้นเปนญวนเข้ารีดชื่อนาน (Nan) ซึ่งหลวงเง (Nghe) ได้ลักพาไป
เมื่อท่านพระคลังของพระมหาอุปราชได้ถุงแก่กรรมแล้ว นางนานก็ได้
ย้ายไปอยู่กับพวกเข้ารีต และได้พยายามจะรับบุตร์ซึ่งอายุได้ ๕-๖ ขวบ
จากญาติฝ่ายบิดา โดยอ้างเหตุว่าจะเอาไปรักษาที่บ้านบาดหลวงเพราะเด็ก
นั้นป่วยอยู่ พอนางนานได้รับบุตร์มาแล้วก็รีบเอาไปฝากไว้ที่โรงเรียน
และเวลานั้นข้าพเจ้าก็อยู่ที่โรงเรียนด้วย พวกเราได้เลี้ยงดูนายเต็งอยู่
ช้านาน แต่ไม่กล้าให้รวมเสื้อนักเรียนและไม่กล้าให้น้ำมนต์รับเปนคน
เข้ารีต เพราะเกรงว่าญาติฝ่ายบิดาซึ่งไม่ใช่คนเข้ารีตจะมาเอาตัวไปเสีย
และจะเอาไปสั่งสอนในทางมิจฉาทิฐิ ภายหลังมาดำคอนซตันซ์ได้ช่วย
จัดการจึงได้รับพระรานุญาต จากพระเจ้าแผ่นดินให้รับนายเต็งเข้าโรงเรียน
ได้พวกบาดหลวงขจึงได้ให้น้ำมนต์รับเปนคนเข้ารีตและได้ชื่อว่า ลอรัง
และเมื่อนายเต็งอายุได้ ๑๕ ปี มองเซนเยอร์เดอโรซาล์ได้อนุญาตให้
โกนศีร์ษะรับเข้าเปนคณะบาดหลวงซึ่งเปนผิดการธรรมเนียม แต่ที่ทำ
ดังนี้ก็เพราะมองเซนเยอร์เดอโรซาลีหวังว่านายเต็งจะได้นับถือสาสนาแน่น
กว่าเดิม และเพื่อป้องกันมิให้ญาติซึ่งไม่ใช่คนเข้ารีตรับเอาตัวนายเต็ง
ไปจากโรงเรียน ฝ่ายญาตินายเต็งก็ได้มาขอเอาตัวไปหลายครั้ง แต่
พวกบาดหลวงก็ได้ปัดอยุ่เสมอ ครั้นพระเจ้ากรุงสยามทรงพระประชวร
จนว่าราชการเมืองไม่ได้แล้ว พระมหาอุปราชจึงได้ให้คนไปตาม
๗๘
ตัวนายเต็ง แต่พวกบาดหลวงไม่ยอมส่งตัวให้ พระมหาอุปราชจึงให้คน
ไปบอกมองเซ็นเยอร์เดอโรซาลีว่า ถ้าขืนไม่ส่งตัวให้แล้วก็จะให้ทำลาย
บ้านบาดหลวงลงให้เหลือแต่พื้นดิน มองเซนเยอร์เดอโรซาลีเกรงว่า
พระมหาอุปราชจะทำจริงอย่างรับสั่ง และเกรงว่าพระมหาอุปราชจะทรง
คิดทำลายพวกเข้ารีตและทำลายสาสนา จึงได้ส่งตัวนายเต็งไปทั้งเสื้อ
ยาวที่สวมอยู่ ภายหลังนายเต็งได้หนีไปได้ และเพื่อจะถือสาสนา
คริสเตียนให้สดวก จึงได้ไปอยู่เมืองญวนกับพวกมิชชันนารีจน
ทุกวันนี้
ข้อที่จารึกไว้ในแผ่นศิลาว่านายเต็งได้ให้การว่า ที่บ้านบาดหลวง
มีหนังสือที่อธิบายด้วยสาสนาคริสเตียนโดยยืดยาว และมีหนังสือติเตียน
เอาะเย้ยสาสนาไทยนั้น นายเต็งหาได้ให้การเช่นนี้ไม่ ต่ความจริงใน
เรื่องนี้ ก็คือพระมหาอุปราชซึ่งเปนพระเข้สาแผ่นดินองค์ปัจจุบันนี้ ได้ทรง
ยืดหนังสือซึ่งมองเซนเยอร์เดอเตโลโปลิศผู้ถึงแก่กรรมได้แต่งไว้ ช้านาน
แล้ว หนังสือไม่ได้เขียนเปนภาษาไทยอย่างเดียวแต่ได้เขียนเปนภาษา
บาฬีและใช้ตัวหนังสือเขมรด้วย และการที่มองเซนเยอร์เดอเมเตโล
โปลิศได้แต่งหนังสือเหล่านี้ ก็โดยนักปราชญ์ผู้ชำนาญภาษาเหล่านี้
ได้มาช่วยด้วย หนังสือเหล่านี้เจ้าซึ่งเปนเชื้อพระราชวงศ์องค์ ๑ ได้ยืม
ไปจากมองเซนเยอร์เดอโรซาลี เพราะเจ้าองค์นี้ได้มาที่บ้านบาดหลวง
บ่อย ๆ มีความรักใคร่กับพวกบาดหลวงและชมเชยสาสนาของเรามาก
เจ้าองค์นี้ได้ทรงอ่านหนังสือเหล่านี้ก็ทรงติดใจ จึงได้นำหนังสือเหล่านี้ไป
๗๙
ถวายพระมหาอุปราช พระมหาอุปราชทรงอ่านหนังสือเหล่านี้ก็แกล้งทำเปนพอพระทัย และรับสั่งว่าพอพระทัยในพวกชาวต่างประเทศซึ่งได้
แต่งหนังสือเหล่านี้เพราะแต่งดีมาก พระมหาอุปราชจึงรับสั่งให้เจ้าองค์
ที่เปนเพื่อนของบาดหลวงให้มายืมหนังสือไปอ่านอีก เจ้าองค์นี้ได้มายืม
ตามรับสั่งแต่ก็หาได้บอกไม่ว่าหนังสือที่ยืมไปนั้นจะเอาไปทำอะไร ฝ่าย
มองเซนเยอร์เดอโรซาลีหวังใจว่าเจ้าองค์นี้ คงจะศรัทธาในสาสนาคริสเตียน
และเพื่อจะให้ทรงเชื่อหนักขึ้น จึงได้ถวายหนังสือซึ่งคัดค้านและติเตียน
สาสนาของไทย หนีงสือเหล่านี้ก็ได้ไปตกถึงพระหัดถ์พระมหาอุราชด้วย
ท่านพระมหาอุปราชก็ทำเฉยให้ใครรู้สึกในพระทัยไม่ แล้วจึงได้รับสั่ง
ให้นิมนต์พระสงฆ์ที่รู้ธรรมมาประชุมเปนการลับ และได้ให้พระสงฆ์
เหล่านั้นตรวจและอ่านหนังสือที่ยืมไปจากสังฆราช ครั้นพระสงฆ์ได้
อ่านหนังสือเหล่านั้นจบแล้ว พระมหาอุปราชจึงรับสั่งถามว่าพระสงฆ์จะ
แก้ข้อติเตียนซึ่งพวกชาวต่างประเทศติเตียนสาสนาไทยได้หรือไม่ พระ
สงฆ์ทุกองค์ทูลตอบว่สแก้ไม่ได้ เพราะเหตุว่าพวกชาวต่างประเทศ
เหล่านี้ศึกษาการเช่นนี้ทั้งกลางวันกลางคืน พระมหาอุปราชกริ้วมากจึง
รับสั่งว่า "เราเลี้ยงแต่คนขี้เกียจและคนโง่ดอกหรือ" ตั้งแต่มาได้
ทรงจ้ดให้ทีการสอบความรู้พระสงฆ์เปนครั้งเปนคราว การทั้งปวงดังที่
เปนมานี้พระมหาอุปราชปิดยังมิให้ใครรู้ในน้ำพระทัยเลย เพราะฉนั้น
การที่ทรงเกลียดพวกมิชันนารีจึงทวีปมากขึ้นทุกที และเมื่อครั้งบาดหลวง
ไม่ยอมส่งตัววนายเต็งให้นั้น ก็คงจะทรงกริ้วตั้งแต่นั้นมาแล้ว ครั้น
๘๐
พระเจ้าแผ่นดินผู้เปนพระเชษฐาได้ทรงพระประชวร พระมหาอุปราก็
ได้เห็นโอกาศที่จะทำการต่าง ๆ ได้ตามพระทัยโดยไม่ต้องกลัวกรง
ใคร ความกริ้วที่ได้ทรงกลั้นไว้นั้นจึงระเบิดออกมา จึงได้มีรับส่ง
ให้จารึกแผ่นศิลาตามข้อความที่พอพระทัย แต่ซึ่งหาความจริงมิได้
เพราะเหตุว่ามองเซนเยอร์เดอโรซาลีมีได้ขอโทษในการที่หาว่าตัวทำผิด
และมิได้ยอมปฎิบัติตามข้อห้ามนั้น ๆ เลย
งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
- (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
- (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
- (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
- (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
- (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก