ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓๙ หมวด ข
ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙
เรื่อง จดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กับ ครั้งกรุงธนบุรีแลกรุงรัตนโกสินทรตอนต้น ภาคที่ ๖
มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าธำรงศิริ
พิมพ์ในการบำเพ็ญกุศล อายุครบ ๕๐ ปี
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศรีหงส์
หมวด ข
- ว่าด้วยพวกเข้ารีดช่วยรบพม่า หน้า ๑๗
- จดหมายมองเซนเยอร์บรีโกต์ว่าด้วยพวกมอญในกรุงสยาม เปนขบถ " ๑๘
- ว่าด้วยพม่าตีเมืองทวาย ๆ มาสวามิภักดิ์ต่อกรุงสยาม " ๑๙
- จดหมายมองเซนเยอร์บรีโกต์ว่าด้วย ด้วยกรมหมื่นเทพิพิธ เข้ามาอยู่เมืองตะนาวศรี " ๒๑
- ว่าด้วยอำนาจเจ้านายผู้หญิงในเวลานั้น " ๒๒
- จดหมายมองซิเออร์อาลารีว่าด้วยพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยา " ๒๔
- ว่าด้วยข้อวิตกที่พม่าจะมา " ๒๕
- ว่าด้วยพม่ายกเข้ามาและเกิดการปล้นสดมภ์ขึ้น " ๒๘
- ว่าด้วยพวกมิชชันนารีถูกพม่าจับ " ๓๐
- ว่าด้วยพวกมิชชันนารีถูกแม่ทัพพม่าซักถาม และความวิตกของมิชชันนารี " ๓๓
- ว่าด้วยมองซิเออร์อาลารีทำลายศิลาจารึกประจาน " ๓๔
- จดหมายมองซิเออร์แคแฮว่าด้วยช่วยไทยรบพม่า " ๓๖
- จดหมายมองเซนเยอร์บรีโกต์ว่าด้วยพม่ายกทัพมาอีก " ๓๗
- ว่าด้วยอังกฤษช่วยไทยรบพม่า " ๓๙
- ว่าด้วยพม่าล้อมกรุง ฯ " ๔๒
- ว่าด้วยพวกเข้ารีดต่อสู้พม่า " ๔๓
(หน้า ๑๗)
ข
ว่าด้วยพวกเข้ารีดช่วยรบพม่า
ในการที่พวกเข้ารีดของเราได้ช่วยพวกไทย และเมื่อวันที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม เราได้ไปหาเจ้าพระยาพระคลังคนใหม่ และเจ้าพระยาพระคลังก็ได้ลงจากแท่นมาต้อนรับเรา
พูดว่าในคราวสงครามกับพม่าครั้งนี้ พวกเราได้ช่วยไทยมากกว่าบาดหลวง แต่ก่อน ๆ ซึ่ง ได้เอาของมาให้แต่ประเทศยุโรปนั้น
แต่ถึงดังนั้นก็ดี พระเจ้ากรุงสยาม มีพระราชประสงค์จะยกย่องพวกพระสงฆ์ จึงได้ห้าม มิให้ใช้คำว่า สังฆราช ในเวลาเรียกข้าพเจ้า
และในเวลาที่ข้าพเจ้าจะเขียนจดหมายนั้น ก็ห้าม มิให้ข้าพเจ้าใช้คำว่า สังฆราช เปนอันขาด
พระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทานรางวัลเปนของเล็กน้อยแก่พวกเข้ารีด ซึ่งได้ช่วยป้องกันรักษาพระนคร
และเมื่อวันที่ ๔ เดือน กรกฎาคมก็ได้โปรดพระราชทานแพรดำผืนเล็กให้ข้าพเจ้าผืน ๑ แต่ แพรที่พระราชทานมานั้นก็เปื่อยแล้ว
แต่การที่ได้เอาแพรเปื่อยมาพระราชทานข้าพเจ้านั้น ไม่ใช่ความผิดของ พระเจ้ากรุงสยามดอก
ส่วนในเรื่องนักเรียนนั้น พระเจ้ากรุงสยามได้เข้าพระทัยผิดทีเดียวคือ ได้โปรดให้เอาผ้าที่มาจากฝั่ง คอรอมันเดล พระราชทานให้แก่พวกนักเรียน โดยเข้าพระทัยว่าพวกนี้ ได้อยู่ช่วยรบกับข้าศึกเหมือนกัน
แต่ ถ้าได้ทรงทราบว่านักเรียนพวกนี้ ได้หนีไปอยู่ที่อื่นในเวลาที่พม่ายกทัพมานั้น ก็คงจะไม่พระราชทานรางวัลเปนแน่
๓
(หน้า ๑๘)
จดหมายมองเซนเยอร์บรีโกต์ว่าด้วยพวกมอญในกรุง สยามเปนขบถ
การตกตื่นใจและการจลาจล
จดหมายมอวเซนเยอร์ บรีโกต์ ถึง ผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ
วันที่ ๒๖ เดือน พฤษภาคม ค.ศ.๑๗๖๑ (พ.ศ.๒๓๐๔)
พวกเรามีแต่หวาดเสียวและตกใจอยู่เสมอ เพราะเหตุว่ามี เสียงลือกันไม่หยุดว่าพวกพม่าได้ยกทัพกลับเข้ามาอีกแล้ว แต่ ก็ไม่เห็นพม่ามาสักทีเดียว แต่เมื่อวันที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ (๒๓๐๓) ทางราชการได้ทราบความว่า มอญพวก๑ ซึ่งไทยได้ อนุญาตให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในหัวเมืองตวันตกเฉียงเหนือเมือง ๑ นั้น ได้เกิดเปนขบถขึ้น คือได้จับเจ้าเมืองไทยฆ่าเสียโดยหา ว่าเจ้าเมืองคนนี้ไม่ตั้งอยู่ในคลองยุติธรรม แล้วพวกมอญขบถก็ ได้พาพรคคพวกหนีไปตั้งมั่นอยู่บนภูเขาแห่ง ๑ ไทยได้จัดกองทัพออก ไปปราบพวกมอญขบถ แต่พวกมอญไม่ต้องการให้เปลืองดินปืน จึงได้สู้ไทยด้วยไม้แหลม และได้ตีกองทัพไทยแตกกระจายสิ้น เพราะฉนั้นเมื่อวันที่ ๒๑ เดือนนั้นเอง (กุมภาพันธ์) พวกไทยได้หนี กลับมาทำหน้าสลดและโดยมากก็ถูกบาดเจ็บกลับมา และเวลาที่ หนีพวกมอญนั้น ก็ได้ทิ้งอาวุธหมดเพื่อจะได้หนีได้คล่อง ๆ ข้าศึกใหม่นี้ซึ่งเรียกกันว่า มอญใหม่ก็เกิดกำเริบขึ้น จึงได้เที่ยว เอาไฟเผาหมู่บ้านต่าง ๆ ตลอดจนเกือบจะถึงพระนคร คือหนทางวัน
(หน้า ๑๙)
ว่าด้วยพม่าตีเมืองทวาย ๆ มาสวามิภักดิ์ต่อ กรุงสยาม
เดียวก็จะถึงพระนครอยู่แล้ว เมื่อพวกมอญเข้าตามหมู่บ้านนั้น ก็ได้ ปล้นสดมภ์เก็บริบทรัพย์สมบัติของชาวบ้านไปจนหมดสิ้น แล้วก็ หนีกลับไปตั้งมั่นอยู่ในค่าย พระเจ้ากรุงสยามทรงกริ้วในการที่เกิดปล้นสดมภ์ขึ้นเช่นนี้ จึงได้ทรงจัดกองทัพมีกำลังพล ๘๐๐๐ ให้ขึ้นไปจับพวกมอญขบถ กอง ทัพนี้เกือบจะแพ้พวกมอญอยู่แล้ว เพอิญเจ้าพระผู้เปนสมเด็จพระ อนุชาของพระเจ้ากรุงสยาม ได้จัดข้าราชการเก่า ๆ ให้ขึ้นไปช่วย ข้าราชการเหล่านี้ได้รวบรวมกำลังมีคน ๕๐๐ คน ได้ยกขึ้นไปตี พวกมอญ ได้ฆ่าพวกมอญล้มตายเป็นอันมาก จับเปนเชลยมา ได้ ๕๐ คน นอกนั้นก็แตกกระจายหนีหมด (พวกมอญมีกำลังอยู่ ๖๐๐ คนเท่านั้น) ข้าราชการของเจ้าพระได้นำความมากราบทูล พระเจ้ากรุงสยามเมื่อวันที่ ๒๘ เดือน กุมภาพันธ์ และมากล่าวโทษ ว่ากองทัพไทยที่โปรดจัดให้ไปปราบพวกมอญนั้น ทำการอ่อนแอมากความผิดอันนี้ก็ตกหนักอยู่กับตัวนายซึ่งควบคุมกองทัพไป พระเจ้า กรุงสยามจึงได้ให้เอานายทัพนายกองมาจำคุก และได้ทรงตัดสิน ว่าพวกนี้เปนขบถสมรู้เปนใจกับพวกมอญใหม่ ก่อนที่เรื่องจะสงบลงไปได้ ก็พอดีได้ข่าวมาจากเมืองมะริด ว่ามีมอญ ๓๐๐๐ คน พม่า ๓๐๐๐ คน ได้บยกเข้ามาตีเมืองทวาย เมืองทวายนี้ได้สวามิภักดิ์ยอมตัวขึ้นกับไทยแล้ว เมืองทวายจึงได้ มีบอกเข้ามาขอกำลังออกไปช่วย ข้างฝ่ายทางราชการในกรุงศรี
(หน้า ๒๐)
อยุธยาก็เกิดระส่ำระสายกันขึ้นอีก แต่ก็พอเบาใจได้บ้างเพราะจวน จะเข้าระดูฝนอยู่แล้วไทยจึงได้ตอบเจ้าเมืองทวายว่าจะส่งกำลังออก ไปช่วย และได้สั่ง มองตัด ซึ่งเปนแขกมลายูและเปนเจ้าเมือง ตะนาวศรีให้รวบรวมกำลังออกไปช่วยเมืองทวาย แต่การเรื่องนี้กว่า จะสั่งเสียกันได้ ก็ชักช้าเสียเวลามาก พวกทวายจึงได้ยกออกจาก เมืองเข้าโจมตีกองทัพมอญและพม่า ข้าศึกทานกำลังพวกทวายไม่ ไหวก็แตกกระจายพ่าบแพ้ไปสิ้น ฝ่ายเจ้าเมืองทวายอยากจะได้ กำลังไทยไปช่วยเพราะเกรงพม่าจะยกกลับมาอีก จึงได้ส่งต้นไม้ ทองเงินเครื่องบรรณาการยอมเปนเมืองขึ้นแก่ไทย พระเจ้ากรุง สยามได้ทรงทราบก็ดีพระทัย แต่ในไม่ช้าเท่าไรนักก็ต้องตกพระทัย อีก เพราะได้ทราบข่าวมาว่าพวกพม่ากำลังเตรียมทำดินปืนอยู่ทาง ทิศเหนือเมืองไทย จึงได้มีรับสั่งให้เจ้าพนักงารเกณฑ์ผู้คนเพิ่มเติม ขึ้นอีกและให้ถมชานกำแพงพระนครให้ใหญ่ออกไปอีก เพราะฉนั้น ในเวลานี้พวกเราอยู่ในฐานหวาดเสียวต้องระวังตัวอยู่เสมอ ยังมีพวกไทยที่พม่าจับไปเปนเชลยได้หนีกลับมาได้ และได้มารายงารว่า เวลานี้พวกพม่ากำลังเตรียมการใหญ่โตจะเข้ามาตีกรุงอีก
(หน้า ๒๑)
จดหมายมองเซนเยอร์บรีโกต์ว่าด้วย ด้วยกรมหมื่นเทพิพิธ เข้ามาอยู่เมืองตะนาวศรี
จดหมาบมองเซนเยอร์บรีโกต์ ถึง ผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ
วันที่ ๑๕ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๗๖๒ (พ.ศ. ๒๓๐๕)
ตั้งแต่ได้เกิดสงครามกับพม่าเมื่อปีค.ศ.๑๗๖๐(พ.ศ.๒๓๐๓) นั้นภายใน ๒ ปีนี้ พวกเรามีแต่ความหวาดเสียวต้องคอยระวังตัวอยู่เสมอ เพราะกลัวว่าข้าศึกจะกลับมาอีก และในปีนี้ก็มีข้อวิตกว่าเมือง ตะนาวศรีจะเปนขบถขึ้นและคงจะขอกำลังพม่ามาช่วย เพื่อจะยก เจ้าองค์ ๑ อันประสูติจากมารดาเปนพระสนม ซึ่งได้ถูกเนรเทศไป อยู่เกาะลังกาเมื่อ ๔ ปีมาแล้ว ฝ่ายเจ้าแผ่นดินเมืองแคนดีเห็นว่า ข้าราชการเมืองแคนดีและชาวเกาะลังกา มีความนับถือเจ้าองค์นี้มาก ก็เกิดไม่ไว้ใจขึ้น จึงได้ขับไล่เจ้าองค์นี้ให้ออกไปเสียให้พ้นเกาะลังกา เจ้าองค์นี้ได้ออกจากเกาะลังกาแล้วก็ได้เลยไปอยู่กับพวกอังกฤษที่ฝั่ง ครอมันเดล แล้วภายหลังได้เสด็จออกจากเมือง มสุลีปตัน เมื่อเดือนกรกฎาคม เสด็จลงเรือแขกมัวลำ ๑ มาประทับยังเมือง มะริด เมื่อได้เสด็จมาถึงเมืองมะริด แล้ว ก็ได้มีลายพระหัตถ์ถวายพระเจ้ากรุงสยาม ผู้เปนพระเชษฐา ขออนุญาตเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงรับลายพระหัดถ์ฉบับนี้ก็กริ้ว ทรงพระราช ดำริห์จะสำเร็จโทษเจ้าองค์นี้เสีย แต่ก่อนที่จะสำเร็จโทษได้ต้องเสีย เวลาเรียกเสนาข้าราชการมาปรึกษาหารือ และจะต้องเตรียมการให้เสร็จเสียก่อน ในเวลานั้นเจ้าเมืองเพ็ชร์บุรี คนเก่าซึ่งออกจากราชการ-
(หน้า ๒๒)
ว่าด้วยอำนาจเจ้านายผู้หญิงในเวลานั้น
-แล้วเกิดความไม่พอใจขึ้น เพราะไม่ได้รับรางวัลความชอบตามที่ ควรจะได้ทราบว่าพระเจ้ากรุงสยาม ทรงพระราชดำริห์จะฆ่าเจ้าองค์ นั้น จึงได้เกลี้ยกล่อมผู้คนได้ ๕๐๐ คนหนีไปหาเจ้าองค์นั้นที่เมือง มะริด ข้างฝ่ายไทยได้เกณฑ์ทหารให้ออกไปตามจับ และได้ มีคำสั่งถึงเจ้าเมืองรายทางทุกคน ให้คอยจับเจ้าเมืองเพ็ชรบุรีคนเก่านี้ ส่งเข้าไปยังกรุงให้จงได้
บรรดาผู้คนที่ได้เข้าเปนสมัคพรรคพวก ของเจ้าเมืองเพ็ชรบุรีได้ถูกริบทรัพย์มบัติจนหมดสิ้น ภายหลัง เจ้าพนักงารจับเจ้าเมืองเพ็ชรบุรีคนนี้ส่งเข้ามายังกรุง เจ้าพนักงาร จึงได้เอาตัวตระเวณรอบเมืองอย่างผู้ร้ายฉกรรจ์ ตั้งแต่นั้นมาการในเมืองตะนาวศรีก็สงบราบคาบ แต่ผู้คนร่วงโรยลงไปมากและเสบียงอาหารก็กันดารอัตคัดที่สุด
ตั้งแต่ครั้งสมัยก่อน ๆ มา พระราฃโองการของพระเจ้าแผ่นดินเท่ากับเปนกฎหมายในเมืองนี้ ครั้นมาในบัดนี้เจ้านายผู้หญิงทุก องค์ก็มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน และข้าราชการก็ต้องเปลี่ยน กันอยู่เสมอ แต่ก่อน ๆ มา ผู้ที่มีความผิดฐานเปนขบถ ฆ่าคนตาย และเอาไฟเผาบ้านเรือน ต้องรับพระราชอาญาถึงประหารชีวิต แต่มาบัดนี้ความโลภของเจ้านายผู้หญิง ได้เปลี่ยนลงโทษความผิดชนิด นี้พียงแต่ริบทรัพย์ และทรัพย์ที่ริบไว้ได้นั้น ก็ตกเปนสมบัติ ของเจ้าหญิงเหล่านี้ทั้งสิ้น ฝ่ายพวกข้าราชการเห็นความโลภของ เจ้านายผู้หญิงเปนตัวอย่างก็หาหนทางที่จะหาประโยชน์บ้าง ถ้าผู้-
(หน้า ๒๓)
-ใดเปนถ้อยความแล้วข้าราชการเหล่านี้ก็คิดหาประโยชน์จากคู่ความ ให้ได้มากที่สุดจะเอาได้ การที่ทำเช่นนี้ก็ปิดความหาให้พระเจ้าแผ่นดินทรงทราบไม่ แต่ถ้าห่างพระเนตร์พระกรรณออกไปแล้วข้าราชการ เหล่านี้ก็ลักขะโมยอย่างไม่กลัวทีเดียว เมื่อปีกลายนี้พวกข้าราชการ ที่เมืองภูเก็จได้ปล้นเรืออังกฤษลำ ๑ ซึ่งได้หนีจากเมืองเบงกอลแวะ เข้ามาที่เมืองภูเก็จเพื่อหนีท่านเคาน์เดซแตง เมื่อปีนี้พวกข้าราชการเมืองภูเก็จได้แนะนำให้เรืออังกฤษอีกลำ ๑ เข้าไปซ่อมแซมเรือที่ฝั่ง เมืองแตร์แฟม (Teere Ferme) ใกล้กับเมือง โตยอง (Toyon) ซึ่งเปนเมืองที่มีคนเข้ารีดมากที่สุดในแถบเกาะภูเก็จนี้ ครั้นเรือ อังกฤษได้ไปทอดที่เมืองแตร์แฟมตามคำแนะนำของข้าราชการเมือง ภูเก็จแล้ว พวกไทยและมะลายูซึ่งอยู่ที่เมืองนั้นกู้กันกับข้าราชการ เมืองภูเก็จ จึงได้ฟันแทงพวกอังกฤษและขึ้นปล้นเรือเก็บสินค้าใน เรือนั้นไปหมดสิ้น ฝ่ายข้าราชการเมืองภูเก็จคิดจะปิดบังความผิด ของตัว จึงคิดอุบายาความว่าพวกเข้ารีดที่เมืองโตยอง เปนผู้ที่ปล้น และทำร้ายเรืออังกฤษ ลงท้ายที่สุดพวกเข้ารีดเหล่านี้ก็พลอยฉิบหาย ไปเปล่า ๆ ยังมีบาดหลวงคณะฟรังซิซแกง เปนชาติ ปอตุเกตคน ๑ ได้ตายด้วยความตรอมใจและถูกทรมาน เพราะเจ้าพนักงารเมือง ภูเก็จได้จับบาดหลวงคนนี้ขังไว้ในระหว่างพิจารณาความเกือบเดือน ๑
(หน้า ๒๔)
จดหมายมองซิเออร์อาลารีว่าด้วยพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยา
พม่าตีกรุงครั้งที่ ๒
เมืองมะริด
จดหมายมองซิเออร์ อาลารี ถึง มองซิเออร์ เดอลาลาน
เขียนบนเรือลำ ๑ ซึ่งเดิรทางในระหว่างเมืองมะริดและเมืองย่างกุ้ง
วันที่ ๑๗ เดือน มีนาคม ค.ศ. ๑๗๖๕ (พ.ศ. ๒๓๐๗)
จดหมายฉบับนี้ข้าพเจ้าต้องเขียนด้วยเศษกระดาษที่ค้นพบ ในเวลา ที่วัดและบ้านได้ถูกเพลิงไหม้หมดแล้ว เพื่อจะเล่าให้ท่านฟังถึง การที่เมืองมะริดแตกทำลายยับเยินหมด และถึงตัวข้าพเจ้าที่ต้อง ทนทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ก่อนที่ข้าพเจ้าจะไปรับหน้าที่ใหม่นี้ การที่พระเยซูโปรดให้เปนดังนี้เปนการที่ข้าพเจ้าไม่คัดค้านอย่างใด และในเรื่องนี้ความเห็นของข้าพเจ้าจะมีอย่างไรก็ไม่จำเปนจะต้องกล่าวเพื่อจะได้มีเวลาเล่าเรื่องอื่น ๆ ให้ท่านฟังได้บ้าง
เมื่อปลายเดือน ธันวาคม ค.ศ.๑๗๖๔ (พ.ศ. ๒๓๐๗) ข้าพเจ้าได้มีจดหมายบอกมาให้ท่านทราบแล้วว่า ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่ โปรวิแกร์ (Provivaire) ในเมืองมะริด และหน้าที่นี้ข้าพเจ้าไม่เต็มใจรับ อย่างยิ่ง และได้เล่าให้ท่านฟังแล้ว ว่ามองซิเออร์ อันดรีเออถูก เรียกกลับไปอยู่กรุงศรีอยุธยา เพื่อไปทำการในโรงเรียนพร้อมกับมองซิเออร์ อาโต เวลานั้นมองซิเออร์ อันดรีเออ กับตัวข้าพเจ้าก็
(หน้า ๒๕)
เตรียมตัวพร้อมอยู่แล้วที่จะไปทำการตามหน้าที่ใหม่ แต่พเอิญพระ เปนเจ้าได้จัดการให้ข้าพเจ้าทั้ง ๒ ไปทำการอย่างอื่นต่อไป
ว่าด้วยข้อวิตกที่พม่าจะมา
เมื่อวันที่ ๒ เดือนมกราคม ค.ศ. ๑๗๖๕ (พ.ศ.๒๓๐๗) เวลา เช้าประมาณ ๔ โมง มีเรือต่างประเทศแปลกเข้ามาทอดสมอในลำ น้ำลำ ๑ มาบอกข่าวว่า รายาหรือเจ้าแผ่นดินเมืองทวายซึ่งเปนเมือง ขึ้นของไทย ได้หนีลงเรือพร้อมด้วยครอบครัวและข้าราชการเปน อันมาก เพราะพม่าได้ยกทัพมาจะล้อมเมือง แต่ได้ทราบจาก เสียงคนอื่นว่า การที่รายาเมืองทวายได้หนีเช่นนี้ เปนเพราะ เหตุว่ารายาคนนี้ดุร้ายนักจนราษฎรได้ลุกเปนขบถขึ้น พวกราษฎร จึงได้ไล่รายาคนนี้ออกจากเมือง ใคร ๆ ที่รู้จักนิสัยดุร้ายของรายา เมืองทวาย ได้พากันเชื่อว่าได้เกิดขบถขึ้นมากกว่าเชื่อว่าพม่าได้ เข้ามาล้อมเมือง แต่ถึงดังนั้นก็ไม่วายทำให้ชาวเมืองตะนาวศรีตื่น ตกใจทั้งเมือง และได้มีคนพาครอบครัวอพยพหนีไปก็มาก เพราะพวกชาวเมืองมีความเข็ดขยาด ที่ได้เคยเห็นความร้ายกาจของ พวกพม่าเมื่อครั้งสงครามคราวก่อน เพราะฉนั้นเมื่อมีข่าวมาว่าข้าศึก ได้ยกเข้ามาใกล้แล้ว จึงต่างคนต่าคิดหนีเอาตัวรอด การที่มอง ซิเออร์อันดรีเตรียมตัวจะเข้าไปกรุงศีอยุธยานั้นจึงต้องงด และส่วน
๔
(หน้า ๒๖)
ตัวข้าพเจ้าก็กำลังตรองอยู่ว่าจะเลยไปที่ฝั่งคอรอมันเดล จะดีกว่ากระมัง เพือ่เปนการหลีกตัวให้พ้นสงครามคราวนี้ เพราะการสงครามครั้งนี้ หาได้เกี่ยวในการสาสนาอย่างใดไม่
แต่เพื่อจะไม่ทำการให้รวดเร็วเกินไป ข้าพเจ้าก็ยอมให้เรือออกไปลำ ๑ ก่อน และได้รอให้รายาเมืองทวายได้เข้ามาถึงเสียก่อน เพื่อจะได้ฟังข่าวให้แน่นอนด้วย แต่ครั้นรายาเมืองทวายได้มาถึงแล้ว ก็ไม่ได้ความแน่นอนอะไรขึ้นเลย
ฝ่ายราษฎรพงเมือง ก็ต่างคนต่างเตรียมตัวที่จะหนี ไทยก็ได้ส่งกองสอดแนมให้ออกไปสืบข่าวข้าศึก แต่พวกกองสอดแนมเปนคนขี้ขลาดไม่กล้าเข้าไปใกล้ข้าศึก จึงส่งแต่ข่าวตามที่เขาบอกเล่ามาทั้งนั้น
ในระหว่างนั้น บุตรของรายาเมืองทวาย ได้มายังบ้านบาดหลวง มองซิเออร์ อันดรีเออ ไม่อยู่ ข้าพเจ้าจึงออกต้อนรับแทน บุตรรายาเมืองทวาย ได้ถามข้าพเจ้าว่า
ข้าพเจ้าไม่คิดจะไปยังฝั่ง คอรอมันเดล หรืออย่างไร เพราะอีก ๒ วัน พวกพม่าก็จะเข้าเมืองทวายอยู่แล้ว ส่วนตัวบุตรของรายาเมืองทวาย เชื่อเอาจริง ๆ ว่า พม่าคงยกทัพมาเปนแน่ ความที่กลัวตาย จึงได้หนีบิดายกครอบครัวไปอยู่ที่เมืองอื่นต่อไป
พวกเข้ารีดก็ได้มาปรคกษา มองซิเออร์ อันดรีเออ ว่า เมื่อความอันตรายใกล้จะมาถึงตัวเช่นนี้จะควรทำประการใดดี แต่มองซิเออร์ อันดรีเออ ก็ไม่ยอมออกความว่าอย่างไร เปนแต่ตอบพวกเข้ารีดว่า ตัวมองซิเออร์อันดรีเออเองก็จะอยู่ที่วัดนั้นจะไม่ไปไหน และถ้า
(หน้า ๒๗)
ใครอยากจะไปอยู่ในวัดด้วย มองซิเออร์อันดรีเออก็ยินดีที่จะรับไว้ การที่มองซิเออร์อันดรีเออตอบดังนี้ พวกเข้ารีดไม่พอใจจึงได้มาหาข้าพเจ้าบอกว่าพวกนี้เอยากจะไปยังฝั่งคอรอมันเดล แต่ในเวลานั้นมองซิเออร์อันดรีเออได้รับรองไว้ ว่ายังจะคงปกครองคณะบาดหลวง ต่อไปจนกว่าจะเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา ข้าพเจ้าจึงไม่อยากรับผิด ชอบในข้อที่พวกเข้ารีดมาหารือ ข้าพเจ้าจึงได้ตอบว่า พวกเข้ารีด ควรจะระวังตัวไว้ การที่เราควรเชื่อใจในพระเปนเจ้านั้นไม่ควรจะ ทำให้เราเผลอตัวแต่ควรระวังและเตรียมตัวไว้เสมอจึงจะดี การ ที่ข้าพเจ้าได้ตอบดังนี้ ก็ทำให้พวกเข้ารีดพอใจอยู่บ้าง เพราะเขา ได้เห็นแล้วว่าเราไม่ต้องการให้พวกนี้ยึดเราไว้เปนหลัก และถึงแม้ ว่าส่วนตัวเราเองก็ไม่ได้เตรียมตัวไว้อย่างไร แต่เราก็ไม่ได้ห้าม ไม่ให้เขาเตรียมตัว พวกเข้ารีดจึงตกลงเตรียมหารือไว้เพื่อจะ ได้หนีไปอยู่ตามเกาะใกล้เคียง แต่การที่เตรียมเรือไว้เช่นนี้ไม่ ทันกับเวลา เพราะเมื่อเขาได้ลงเรือหนีไป ก็ถูกจับตามทาง ดัง ข้าพเจ้าจะได้เล่าให้ฟังในตอนหลังต่อไป
ส่วนตัวข้าพเจ้าเองก็ไม่เข้าใจว่าเหตุใดข้าพเจ้าจึงไม่ได้ทำตามคำแนะนำของตัวข้าพเจ้าเองและเหตุใดข้าพเจ้าจึงได้ปล่อยเรือออก ไปถึง ๔ ลำโดยไม่ได้อาศรัยไปกับเรือเหล่านั้น การที่เปนเช่นนี้ ก็คงเปนเพราะเหตุว่า ข้าพเจ้ากลัวเขาจะหาว่าข้าพเจ้าตื่นอย่าง ๑ กลัวว่าเขาจะหาว่าข้าพเจ้ารังเกียจเมืองมะริดอย่าง ๑ และกลัวว่า
(หน้า ๒๘)
ว่าด้วยพม่ายกเข้ามาและเกิดการปล้นสดมภ์ขึ้น
จะทำให้ มองซิเออร์ อันดรีเออ น้อยใจอีกอย่าง ๑ เพราะเหตุ มองซิเออร์ อันดรีเออ เชื่อใจแน่ว่าพวกพม่าคงจะไม่มาจึงเกรงว่าข้าพเจ้าจะกีดขวางในการที่มองซิเออร์อันดรีเออจะเข้าไปกรุงศรีอยธยาด้วยเหตุทั้งปวงเหล่านี้ข้าพเจ้าจึงได้รอจนผลที่สุด ซึ่งเปนการทำให้ข้าพเจ้าได้รับ ความลำบากมาก
ในวันที่ ๑๐ เดือนมกราคม มองซิเออร์อันดรีเออ คิดจะให้พวกเข้ารีดหายกลัว จึงได้เรียกพวกเข้ารีดที่จะไปกรุงศรีอยุธยากับมองซิเออร์อันดรีเออ
มาบอกว่าอีกสองสามวันจะได้ออกจากเมืองมะริด เข้าไปกรุงศรีอยุธยา
เพราะฉะนั้นการที่กลัวพวกพม่าไม่ควรจะกลัว เพราะการที่ว่า พม่าจะมานั้น ไม่มีมูลอะไรเลย
แต่ในเวลาที่มองซิเออร์อันดรีเออ พูดเช่นนี้ ความจริงข้าศึกก้ได้ยกเข้ามาใกล้แล้วพวกพม่า ยกเข้ามาเกิดการปล้นสดมภ์ขึ้น-
พวกพม่ายกเข้ามา เกิดการปล้นสดมภ์ขึ้น
-เมื่อคืนวันที่ ๑๐ ถึง ๑๑ (มกราคม) เวลาประมาณ ๒ ยาม เกิดเสียงคนร้องเอะอะเกรียวกราวขึ้น เข้าใจกันว่าข้าศึกได้เข้าเมือง แล้ว พวกเราจึงได้เดิรไปดูที่ชายตลิ่ง จึงได้ทราบว่าการเอะอะ เกรียวกราวนี้ ก็คือกระบวนเรือของรายาเมืองทวายมาถึงนั้นเอง แต่พวกชาวเมืองซึ่งลงไปอยู่ในเรือเพื่อจะได้หนีง่าย ๆ นั้น ได้ทราบ ข่าวมาว่าพวกข้าศึกได้ยกมาถึงปากน้ำแล้ว แต่อีกสักครู่ ๑ เสียง
(หน้า ๒๙)
เล่าลืออันนี้ก็สงบลงไป เมื่อเกิดเสียงเอะอะเกรียวกราวกันนั้น พวกเข้ารีดก็ได้รีบลงไปอยู่ในเรือและพวกชาวบ้านก็ได้ออกจากบ้านหนี เข้าไปอยู่ในป่า ส่วนเรือของเจ้าเมืองทวายนั้นได้ทอดอยู่ริมตลิ่ง ไม่มีใคร ทราบว่าเจ้าเมืองทวายได้หนีขึ้นบกแล้ว หรือได้ลงเรือลำอื่นอย่างไร พวกเราก็เข้านอนโดยไม่ทราบแน่ว่าได้เกิดอะไรกันขึ้นแต่ไม่ช้าก็ ต้องลุกขึ้นจากที่นอนอีก ครั้นเวลาประมาณ๑๐ ทุ่ม (๔ ก.ท.) ก็ได้เกิดเสียงเอะอะเกรียวกราวเหมือนเเมื่อ ๒ ยามอีกครั้ง ๑ แต่คราวนี้ไม่ใช่แต่เสียงเกรียวกราวอย่าเดียว แต่ได้ยินเสียงปืนใหญ่ด้วยซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าพวกพม่า ได้เข้ามาแล้ว มองซิเออร์อันดรี ออซึ่งนอนอยู่ในห้องข้างหน้าได้ มาเรียกให้ข้าพเจ้าลุกขึ้นและบอกว่าข้าศึกมาแล้ว มองซิเออร์ อันดรีเออ จึงฉวยเสื้อยาวสวมตัวแล้วลงไปที่โบสถ์และข้าพเจ้าก็ ตามลงไปด้วย พวกเข้ารีดบางคนที่ยังอยู่ ก็ได้ตามเข้าไปในโบสถ์ มองซิเออร์อันดรีเออจึงได้ชี้แจงให้พวกเข้ารีดตั้งใจสละชีวิตให้แก่พระเปนเจ้าและได้ล้างบาปให้แก่พวกเข้ารีด แล้วมองซิเออร์อันดรีเออ กับข้าพเจ้าก็ได้ไปอยู่ในที่อื่นเพื่อต่างคนจะได้ล้างบาปให้ซึ่งกันและกันแต่การที่จะล้างบาปกันนี้ต้องทำอย่างสั้นที่สุด เพระาไฟที่ข้าศึก ได้จุดเผาบ้านราษฎรนั้น ได้ลุกลามไหม้มาเกือบจะถึงเราอยู่แล้ว ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าเมื่อเวลายังมีอยู่ก็ควรคิดอ่านหนีเอาชีวิตรอดข้าพเจ้าจึงได้รวบรวมเงินที่ยังเหลืออยู่เล็กน้อย ไปส้อนไว้ข้างต้นไม้ต้น ๑ -
(หน้า ๓๐)
ว่าด้วยพวกมิชชันนารีถูกพม่าจับ
-ที่อยู่ใกล้ ๆ เมื่อเพลิงดับหมดแล้วจะได้ย้อนกลับมาเอาเงินรายนี้ ได้ แล้วข้าพเจ้าจึงได้รีบเรียกคนใช้ให้ไปในป่ากับข้าพเจ้าคน ๑ และสั่งให้คนใช้เอาปืนติดตัวไปด้วยเพื่อจะได้เอาไว้ยิงเสือ ในเวลาที่ข้าพเจ้ายืนเรียกคนใช้อยู่ที่เชิงบันไดนั้น พอเหลียว ไปดูทางประตูก็ได้เห็นข้าศึกยืนอยู่แน่นที่ประตูแล้ว พวกข้าศึกจึงเดิรตรงเข้ามาหาข้าพเจ้า บางคนถือหอก บางคนถือไต้ แต่ไต้ที่ถือมา นั้นจะสำหรับเผาบ้านหรือสำหรับส่องดูทางก็ไม่ทราบเพราะเวลานั้น ยังมืดอยู่ข้าพเจ้าก็หมดความคิดที่จะหนีต่อไป ข้าพเจ้าจึงเดิร ตรงเข้าไปหาข้าศึกที่เดิรนำหน้า เพื่อนคนใช้ของข้าพเจ้าพูดภาษา พม่าได้ ข้าพเจ้าจึงได้ให้บอกกับทหารพม่าว่าข้าพเจ้าไม่ต้องการสู้ ทหารพม่าก็หาได้ทำอะไรไม่เปนแต่บอกให้ข้าพเจ้าส่งหมวกให้ ข้าพเจ้าห็ถอดหมวกส่งให้ทันที แต่พวกทหารที่ตามหลังมานั้นหา ได้มีอัธยาศรัยดีเหมือนคนแรกไม่ เพราะพวกนี้ได้รีบเข้าไปใน บ้านเพื่อจะปล้นเอาของ จึงได้ไปพบมองซิเออร์อันดรีเออ ๆ ก็ได้ มอบลูกกุญแจ ให้พวกพม่าเปิดหีบและโต๊ะตู้ตามชอบใจพวกพม่า ได้ฟันหีบสำหรับเก็บถ้วยเงินและเครื่องประดับโบสถ์และได้เก็บเอา ของไปหมดไม่มีเหลือเลย ข้าพเจ้าก็เดิรเข้าไปในห้องเพื่อไปเปิด หีบให้ข้าศึกดู พอเดิรก้าวเข้าไปในห้อง ทหารพม่าคน ๑ เข้าใจ ว่าข้าพเจ้าคิดจะไปส้อนของ จึงได้เงื้อหอกจะแทงข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
(หน้า ๓๑)
จึงทำกิริยาให้ทหารเห็นว่าข้าพเจ้าจะเก็บของส่งให้ ทหารคนนั้นจึง ได้เดิรเข้าไปในห้องพร้อมกับข้าพเจ้า เมื่อพบสิ่งใดก็เก็บเอาไปหมด ส่วนข้าพเจ้าเก็บได้แต่สมุดสวดมนต์ คัมภีร์ใบเบอลกับสมุดอีก ๓ เล่มเท่านั้น เพราะจะป้องกันไม่ให้หนังสือเหล่านี้ไหม้ไฟ และ ข้าพเจ้าคิดอ่านจะรักษาเสื้อซึ่งแต่งกายอยู่ในเวลานั้นด้วย แต่ ในทันใดนั้นเองพวกพม่าได้มาถอดเครื่องแต่งตัวออกจากตัวข้าพเจ้า ตั้งแต่ศีร์ษะตลอดถึงท้าว เหลือแต่เสื้อเชิ๊ตติดตัวอยู่กับหมวกกลมติด ศีร์ษะอยู่เท่านั้น ข้าพเจ้าได้ร้องว่าการเปลือยกายเช่นนี้เปนการขายหน้าและข้าพเจ้าจะไปไหนโดยแต่งตัวอย่างนี้ไม่ได้ แต่พวกพม่า หาฟังไม่ ข้าพเจ้าจำเปนต้องเดิรออกไปนอกถนนโดยสวมเสื้อเชิ๊ด อยู่ตัวเดียว กางเกงหรือรองท้าวก็ไม่มี บรศีร์ษะก็สวมหมวก มือก็ถือสมุดที่ได้กล่าวมาข้างบนนี้แล้ว ข้าพเจ้าจึงเข้าใจได้ว่าพวก พม่าข้าศึกคงจะจับเอาเราไปเปนเชลย และการที่พวกพม่าไม่ล้าง ชีวิตเสียนั้น ก็โดยเขากรุณาพออยู่แล้วพวกพม่าได้บังคับให้ เราเดิรออกหน้า พอเราออกจากบ้านแล้ว พวกพม่าก็ได้เอาไฟเผาบ้าน ทีเดียว ในระหว่างทางนั้นข้าพเจ้าได้พบทหารพม่าคน ๑ ถือเสื้อยาวตัวเก่า ๆ ของมองซิเออร์อันดรีเออตัว ๑ ข้าพเจ้าจึงได้ขอเสื้อตัวนี้พอ จะได้คลุมกายให้มิด และได้อธิบายว่าเสื้อตัวนี้ไม่เปนประโยชน์ อะไรแก่ทหารผู้นั้นเลย ข้าพเจ้าได้อ้อนวอนหนักเข้าขนทหารผู้นั้นก็
(หน้า ๓๒)
ยอมให้เสื้อแก่ข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าได้รับเสื้อมาบังกายแล้ว ก็นึก ยินดีว่าคัมภีร์ใบเบอล ก็ยังอยู่ เพราะในเวลาที่ข้าพเจ้าต้องเปนเชลย อยู่นั้น จะได้อ่านใบเบอล ให้เพลินใจได้ แต่ที่ข้าพเจ้าคาดการ เช่นนี้ก็มิได้สมหวัง เพราะข้าพเจ้าเดิรไปยังไม่ถึง ๒๐ ก้าว ก็มี ทหารอีกคน ๑ มากระชากสมุดเหล่านี้ออกจากมือ แล้วทำกิริยาบอก ให้ข้าพเจ้าเดิรกลับไปริมตลิ่ง เพื่อไปลงเรือพร้อมกับมองซิเออร์ อันดรีเออ แต่เวลานั้นเปนเวลาที่น้ำแห้ง จึงต้องเดิรท่องโคลน ลึกถึงหัวเข่ากว่าจะไปถึงเรือลำที่เขาจะให้ข้าพเจ้านั่งไป การที่เดิร ท่องโคลนเช่นนี้เปนการที่ข้าพเจ้าไม่ได้เคยฝึกหัดมาเลย เพราะฉนั้น ถ้าคนใช้ ๒ คนที่ยังอยู่กับเราไม่ได้มาช่วยแล้ว เราสองคนก็คงจะต้อง ล้มจมโคลนเปนแน่ มองซิเออร์อันดรีเออได้หันมาบอกกับข้าพเจ้า ว่าให้คอยไปพร้อม ๆ กันอย่าให้ห่างกันได้ ข้าพเจ้าจึงตอบว่า ถึง เราจะไม่อยากห่างกันก็เห็นจะไม่ฟัง พวกพม่าคงแยกไม่ให้เราอยู่ด้วยกันเปนแน่ ในทันใดนั้นได้มีคนตะโกนมาจากตลิ่งให้เรากลับขึ้นบกเพื่อจะได้ไปพูดกับแม่ทัพ จึงจำเปนต้องเดิรท่องโคลนกลับไปอีก ครั้น มาถึงตลิ่งแล้วพวกพม่าได้บังคับให้เราลงนั่งกับดิน เพื่อเปนการ แสดงเคารพต่อท่านแม่ทัพ แต่ก็หาได้มีใครบอกไม่ว่าเวลาที่นั่ง กับดินนั้นจะต้องวางขาท่าไหน จึงเปนการไม่ปลาดเลยที่ข้าพเจ้านั่ง ไม่ถูกท่า ซึ่งเปนการทำให้ข้าพเจ้าต้องถูกหวดด้วยหวายเพื่อให้
(หน้า ๓๓)
ข้าพเจ้าลดขาลงให้ต่ำ ท่านแม่ทัพเองเปนผู้เอาหวายหวดข้าพเจ้า ก่อนที่ถูกหวายหวดนี้ข้าพเจ้าได้ถูกกำปั้นทุบหน้ามาที ๑
พวกมิชชันนารีถูกแม่ทัพซักถาม ความวิตกของมิชชันนารี
แม่ทัพพม่าได้ถามเราถึงเรื่องเรือที่จอดอยู่ใกล้ๆ เพราะเรือ เหล่านี้ไม่มีเวลาพอที่จะถอนสมอได้ จึงได้ตัดสายสมอเพื่อจะได้หนี ไปง่าย ๆ เมื่อเราได้ตอบคำถามหมดทุกข้อแล้ว แม่ทัพพม่า ได้ชี้ตัวข้าพเจ้า และส่งให้ข้าพเจ้าไปกับทหารพม่าเพื่อไปตีเรือ เหล่านั้น ข้าพเจ้าจึงได้ตอบว่าข้าพเจ้าไม่รู้จักวิธีรบอย่างไรเลย จึงได้มีทหารอีกคน๑ พูดว่ากระไรไม่ทราบ แต่เชื่อว่าเขาคงบอกว่า ข้าพเจ้าเปน ปองกุย แปลว่าเปนบาดหลวงของพวกเข้ารีด แม่ทัพ พม่าจึงไม่ได้รบกวนข้าพเจ้าอีก แต่ได้ให้คนใช้ของข้าพเจ้าไปแทนข้าพเจ้าคน ๑ แล้วพวกพม่าได้ทำกิริยาบอกให้เราลุกขึ้น ทหาร พม่าจึงไม่ได้พาเราเดิรระหว่างไฟซึ่งกำลังไหม้บ้านเรือนอยู่ ไปจนถึงสุดถนนริมน้ำเพื่อเตรียมตัวที่จะลงเรือต่อไป ตามทางที่ไป นั้นมีอยู่แห่ง ๑ ซึ่งไฟยังไม่ไหม้ ข้าพเจ้าได้พบกางเกงเก่า ๆ ตัว ๑ ซึ่งได้มีคนทิ้งหรือทำตกไว้ ข้าพเจ้าจึงขอบใจพระเปนเจ้าที่ทำให้
๕
(หน้า ๓๔)
ว่าด้วยมองซิเออร์อาลารีทำลายศิลาจารึกประจาน
ข้าพเจ้าได้ของเช่นนี้ จะได้ไม่ต้องเปลือยกาย เพราะแต่ก่อนก็ได้เสื้อ ยาวมาตัว ๑ แล้ว พวกพม่าได้พาเราไปไว้กลางตลาด เท้าต้องจมโคลนอยู่ตั้งแต่สว่างจนเกือบเช้า ๔ โมงพวกพม่าได้ให้เราอยู่ต่างหากไม่ได้ปะปน กับคนอื่น จึงได้เกิดเสียงลือขึ้นว่าพม่าได้ฆ่าเราตายเสียแล้วข่าวลือ อันนี้ได้ไปจนถึงเรือซึ่งจะไปยังฝั่งคอรอมันเดล ดังเราได้ทราบมา ในภายหลัง แต่เวลานั้นก็หมดโอกาศที่จะบอกความจริงไปให้ มองซิเออร์มาธอน(๑) ทราบได้ และเราก็หมดปัญญาไม่ทราบว่า จะบอกไปทางไหนด้วย
มองซิเออร์อาลารีทำลายศิลาจารึก
พวกพม่าได้พาพวกเข้ารีดอื่นๆมารวมอยู่แห่งเดียวกันกับเราและเราต้องคอยอยู่ที่เมืองมะริดถึง ๑๕ วันเพราะคอยให้กองทัพ พม่ากลับมาจากเมืองตะนาวศรีเสียก่อน จึงจะพาเราไปยังเมืองทวาย ในระหว่างที่อคยอยู่นั้น พวกพม่าได้ปรึกษากันถึง ๒ ครั้งว่าจะฆ่า เราดีหรือจะพาเราไปด้วยดี ลงท้ายได้ตกลงกันว่าจะพาเราไป เพราะ ที่เมืองทวายมีเรือพม่าอยู่ลำ ๑ ซึ่งว่าง เพราะฉนั้นจึงเห็นกันว่าสมควรจะเอาเชลยบันทึกเรือลำนี้เพื่อเอาไปถวายพระเจ้าอังวะ
.......................
(๑) เปนอัยการของคณะต่างประเทศเมืองปอนดิเซริ
(หน้า ๓๕)
จดหมายมองซิเออร์แคแฮว่าด้วยช่วยไทยรบพม่า
ข้าพเจ้าได้ถือโอกาสอันนี้ทำลายศิลาจารึก ซึ่งได้รอดมาตั้งแต่ครั้งสงครามคาวก่อนนั้นแล้ว เมื่อกองทัพพม่ามาถึงแล้ว เราก็ได้รีบลงเรือ ได้รออยู่ในเรือ ๒ วัน ครั้นตอนกลางคืนวันที่ ๒ พวกพม่าจึงได้ถอยเรือออกและ เมื่อได้ถอยเรือไปแล้ว พวกพม่าได้เอาไฟเผาบ้านที่ยังเหลืออยู่ เพราะบ้านเหล่านี้พวกพม่าไม่ได้เผาแต่เดิม ด้วยรักษาไว้สำหรับให้ ทหารและพวกเชลยพัก เมื่อพม่าถอยทัพแล้วจึงได้เผาบ้านเหล่านี้ จนหมดสิ้น
(หน้า ๓๖)
กรุงศรีอยุธยา
มองซิเออร์แคแฮเวช่วยไทย
จดหมายมองซิเออร์แคแฮเว ถึง มองซิเออร์ เดอลาลาน
วันที่ ๑๙ เดือน พฤษภาคม ค.ศ. ๑๗๖๕ (พ.ศ. ๒๓๐๘)
ข้าพเจ้ามีความเสียใจอย่างยิ่ง ที่ได้รู้สึกตัวว่าข้าพเจ้าไม่เปนประโยชน์สำหรับคณะบาดหลวงนี้เลย เพราะฉนั้นข้าพเจ้าจึงคิดพยายามออกจากกรุงศรีอยุธยาในปีนี้ ปต่การที่พวกพม่าได้ยกทัพ มานั้นจึงเปนการกระทำให้เรือออกไปไม่ได้จนลำเดียว และฝ่ายเจ้าพระยาพระคลังก็ได้รับพระราชโองการฝห้เรียกข้าพเจ้าไปช่วยทำป้อมและฝึกหัดการยิงปืนใหญ่ด้วย เจ้าพระยาพระคลังจึงได้บอกข้าพเจ้าว่าจะไม่ยอมให้ข้าพเจ้าออกจากรุงศรีอยุธยา ข้าพเจ้าไม่ เต็มใจเลยที่จะทำการชนิดนี้ แต่พวกเพื่อนบาดหลวงได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าทำการให้ถูกใจเจ้าพระยาพระคลัง เพราะต้องการเอาใจเจ้าพระยาพระคลังไว้ เพื่อให้นำความกราบทลขอพระราชทานที่ดิน อีกแห่ง ๑ สำหรับสร้างโรงเรียน ข้าพเจ้าจึงได้ไปช่วยทำป้อมและ ช่วยฝึกหัดการยิงปืนใหญ่บ้างเปนครั้งเปนคราว
(หน้า ๓๗)
จดหมายมองเซนเยอร์บรีโกต์ว่าด้วยพม่ายกทัพมาอีก
จดหมายมองเซนเยอร์บรีโกต์ ถึง ผู้อำนวยการคณะต่างประเทศ
พม่ายกทัพมา
ด้วยมองซิเออร์ อันดรีเออ กับ มองซิเอออาลารี มิชชันนารีฝรั่งเศส ได้เล่าถึง การที่พม่ามาตี เมืองมะริด และได้จับมิชชันนารีทั้ง ๒ ไปยัง เมืองมอญ แล้ว เพราะฉนั้น จดหมายฉบับนี้เท่ากับ เปนจดหมายเหตุ ต่อจากจดหมายเหตุของมิชชันนารีทั้ง ๒ นั้น
เมื่อก่อน มองซิเออร์ อันดรีเออ กับมองซิเออร์อาลารี จะออกจากเมืองทวาย นั้น เจ้าเมืองทวาย ได้ส่งกองทัพให้เข้ามาตี กรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่า ได้เดิรทางข้ามป่าข้ามเขาเปนอันมาก
จนถึงเดือนมีนาคม จึงได้ปล้นเมืองราชบุรี และกาญจนบุรี ซึ่งเปนเมืองอยู่ทางทิศใต้กรุงศรีอยุธยา
ทัพพม่าและทัพไทยได้ต่อสู้กันอย่างสามารถ จนทัพไทยแตกหนีไปแล้ว พวกพม่าจึงปล้นและเผาบ้านเมืองทั่งทุกหนทุกแห่ง
แม่ทัพพม่าจึงได้ยกทัพไปสร้างเมืองขึ้นเมือง ๑ เรียกว่า เมือง มีชอง (Michong) อยู่ตรงกับแม่น้ำ ๒ แม่น้ำมาต่อกัน แต่ในระหว่างที่พม่าปล้น และเผาเมืองราชบุรีและกาญจนบุรี นั้น ข้างฝ่ายกรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้เตรียมการอย่างใด
เพราะได้ทราบว่าพม่าได้ยกออกจาก เมืองตะนาวศรี และมะริดแล้ว
ครั้นวันที่ ๗ เมษายนไทยจึงได้ลงมือเตรียมการสู้ ตลอดจนถึงเดือนมิถุนายน ในระหว่างนั้นได้มีพวกราษฎร ซึ่งเปนชาวบ้านนอก เข้ามาอาศรัยในกรุงวันละมาก ๆ
(หน้า ๓๘)
เพราะเหตุว่า พวกพม่าคอยไล่จับรุกเข้ามาทุกที ฝ่ายสังฆราชฝรั่งเศส เห็นว่าจะไม่พ้นอันตรายแล้ว จึงได้ให้บาดหลวงฝรั่งเศส ๒ คน ชื่อมองซิเอร์ แคแฮเว และมองซิเออร์ อาโต คุมนักเรียน ๓๐ คน หนีไปอยู่เมืองจันทบุรี
เพราะเมืองจันทบุรีนี้เปนหนทางเหมาะสำหรับ จะหนีต่อไปที่อื่นได้ง่าย และในที่สุดบาดหลวงทั้ง ๒ นี้ก็ได้หนีจากเมืองจันทบุรี เข้าไปอยู่ในเมืองเขมร
บาดหลวงทั้ง ๒ ได้คุมนักเรียนออกจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อปลายเดือน มิถุนายน และที่คุมไปได้นั้น ก็นับว่าเคราะห์ดีถ้าช้าไปอีกหน่อยเดียวก็จะออกจากกรุงศรีอยุธยาไม่ได้เลย เพราะทางราชการได้สั่งไปตามด่านต่าง ๆ ให้คอยกักคนไว้ อย่าให้ใครเข้าออกได้เปนอันขาด
เพราะฉนั้นเรือ ๒ ลำซึ่งบันทุกสมุดต่าง ๆ ที่สังฆราชจะส่งออกไปที่ท่าเรือนั้น จึงได้ถูกจับที่ด่านภาษี และต้องกลับขึ้นมาที่กรุงอีก พอมาถึงกรุง เรือนั้นก็จมลงพอดี
ฝ่ายพม่าข้าศึกก็ยกทัพเข้ามาทีละน้อย หวังจะให้ขาดเสบียงในกรุง เพราะพวกพม่าได้ทำลายทุ่งนาบ้านเรือนโดยรอบกรุง ถ้าไทยจะคิดตัดเสบียงพวกข้าศึกแล้ว ก็จะทำได้ง่ายที่สุด แต่ก็ไม่เห็นไทย คิดจัดการอย่างใดเลย
ในระหว่างนี้ มีนักพรตจีนเข้ามายังกรุงศรีอยุธยารูป ๑ กับจีน ๔ คนชาวตั๋งเกี๋ยว ๔คน เพื่อมาเล่าเรียนในโรงเรียนของเรา ท่านสังฆราช จำต้องรับไว้เพราะจะส่งกลับออกไปไม่ได้ และเวลานั้นครูก็ไม่มี
ท่านสังฆราชจึงได้สอนนักเรียน ๘ คนนี้ด้วยตัวเอง
(หน้า ๓๙)
ว่าด้วยอังกฤษช่วยไทยรบพม่า
เมื่อนักพรตจีนคนนี้ได้มาถึงกรุงศรีอยุธยาได้สักสองสามวัน พวกพม่า ข้าศึกได้มาเอาไฟเผาสวนที่บางกอก และทำลายป้อมทั้งเปาสวน และปล้นบ้าเนรือนไม่ละเว้นเลย ตลอดตั้งแต่ท่าเรือจอดจนถึง ชานพระนคร โรงเรียนใหม่หลัง ๑ ซึ่งเราได้สร้างขึ้น กับไม้สำหรับสร้าง โรงเรียนอีกหลัง ๑ ก็ถูกพม่าเอาไฟเผาเสียหมดสิ้น
ชาวอังกฤษชื่อ ปอเน
ฝ่ายข้าศึกก็ได้กลับถอยไปอยู่ที่เมืองที่ได้สร้างขึ้นใหม่ เพราะ แม่ทัพพม่าอยู่ณที่นั้น และไฟที่พวกพม่าได้จุดไว้ยังไม่ทันดับก็มี นายเรืออังกฤษคน ๑ ชื่อ ปอเน ได้นำเรือใหญ่ลำ ๑ เล็กลำ ๑ บันทุกสินค้าเข้ามายังกรุง นายเรือนคนนี้ได้นำสัตว์ไลออนตัว ๑ ม้าอาหรับม้า ๑ เข้ามาถวายพระเจ้าแผ่นดิน เพราะฉนั้นเจ้าพนักงาร จึงยกเว้นไม่เก็บภาษีแก่นายเรือคนนี้ แต่สินค้าที่นายเรือพาเข้ามา นั้นขายไม่ใคร่ได้ ถ้าจะขายก็ต้องขาดทุน แต่ถึงดังนั้นพระเจ้ากรุง สยามก็รับสั่งขอให้นายเรืออังกฤษคนนี้อยู่ช่วยรักษาพระนครต่อไป ฝ่ายชาวอังกฤษคนนี้เฟ็นการอ่อนแอของไทยก็มีความรังเกียจไม่อยากจะช่วย และยิ่งเห็นว่าพวกฮอลันดาได้รีบหนีออกจากเมือง นายเรืออังกฤษก็ยิ่งรังเกียจมากขึ้น ตั้งปต่ต้นปีมาแล้วพวกฮอลันดาได้ พยายมต่อเรือขึ้นลำ ๑ ครั้นต่อเรือเสร็จเมื่อเดือนตุลาคมจึงเตรียม การที่จะหนี ณวันที่ ๑ เดือนพฤศจิกายนเวลากลางคืน พวกฮอลันดา
(หน้า ๔๐)
จึงลอยลงเรือ และได้แล่นเรือฝ่าด่านภาษีหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาไปได้ นายเรืออังกฤษจึงได้ขออนุญาตไปอยู่ที่ห้างฮอลันดาและไทย ก็ได้อนุญาตให้ไปอยู่ตามขอ แต่ค่าโสหุ้ยของนายเรืออังกฤษคนนี้ ต้องจ่ายมากที่สุด เพราะในระหว่างที่พม่าล้อมอยู่เช่นนี้ เสบียง อาหารแพงเปนอันมาก
แต่ส่วนที่บ้านบาดหลวงเสบียงอาหารอุดม เพราะพวกบาดหลวงได้เตรียมเสบียงไว้ให้พอเลี้ยงนักเรียนและพวกเข้ารีด พวกบาดหลวงอยากจะได้เด็กของพวกที่ไม่ได้เข้ารีดให้เอามาเข้ารีดเสีย จึงได้ทำทานแก่คนที่ไม่ได้เข้ารีด เพราะฉนั้นในกรุงศรีอยุธยาและตำบลใกล้เคียง บาดหลวงจึงได้ให้น้ำมนต์รับเด็กเข้ารีดปี ๑ ถึงหมื่น คนเศษ แต่ในเวลานั้น มิชชันนารีที่ยังเหลืออยู่ในกรุงมีแต่ สังฆราชคน ๑ มองซิเออร์ คอร์ คน ๑ กับบาดหลวงชาติจีนคน ๑ เท่านั้น
ฝ่ายรัฐบาลไทย ก็ได้จัดกองทัพให้ออกไปต่อสู้กับข้าศึกหลายกอง แต่กองทัพเหล่านี้พอไปเห็นกองทัพพม่าก็แตกกลับมาเท่านั้น
ครั้งนั้นมีเจ้าไทยองค์ ๑ ซึ่งได้ถูกเนรเทศไปอยู่ เกาะลังกา ได้กลับเข้ามายังเมืองไทย เกลี้ยกล่อมผู้คนรวบรวมไว้ทางทิศตะวันออกและทิศเหนือของกรุง เจ้าองค์นั้นจึงได้ให้นำความกราบทูลพระเจ้ากรุงสยาม ขอรับอาสาต่อสู้กับพวกพม่า ฝ่ายพระเจ้ากรุงสยาม ทรงเห็นว่า การที่เจ้าองค์นี้มาอาสาดังนี้ เปนการองอาจ ก็กริ้ว จึงได้ทรงจัดกองทัพให้ไปจับเจ้าองค์นี้ ทัพกรุงและทัพของเจ้าได้ต่อสู้กันหลายครั้ง
(หน้า ๔๑)
บางทีก็ชนะบางทีก็แพ้ทัพของเจ้า และในเวลานั้นก็เกิดเสียงลือกัน ขึ้นด้วย ว่ากองทัพพม่าเต็มไปด้วยคนไทยซึ่งได้รับความเดือดร้อน เอาใจออกห่างจากไทยไปเข้ากับพม่า
เรือลำใหญ่ของมิสเตอร์ ปอเน ได้ทอดสมอ อยู่ที่ลำน้ำใต้กรุงศรีอยุธยาตรงกับบางกอก
ครั้นเมื่อวันที่ ๒๔เดือนธันวาคม อยู่ดี ๆ ไม่ทันรู้ตัว พวกพม่าข้าศึกก็มาตีเรือ พวกเรือก็ได้ต่อสู้อย่างสามารถ แต่ถึงจะทำอย่างไรก็สู้พม่าไม่ได้ เพราะพม่าได้ไปยึดป้อมไว้ได้และได้เอาปืนใหญ่ ๆ ไปตั้งบนป้อมเพื่อจะยิงเรืออังกฤษ เจ้าพนักงารในเรือเห็นเช่นนั้น จึงได้จัดการลากเรือขึ้นไปตามลำแม่น้ำ
และ เมื่อไปถึงที่แห่ง๑ พวกอังกฤษก็เตรียมการที่จะป้องกันมิให้พวกพม่าตั้งป้อมได้ โดยอังกฤษใช้วิธียิงกราดลงไปทั้ง ๒ ฝั่ง เรือลำเล็กนั้นจอดอยู่หน้า และมิสเตอร์ ปอเนซึ่งแต่ก่อนทำอิดออดก็เปนอันตกลงจะอยู่ช่วยไทยรักษากรุง แต่ขอให้ไทยส่งกระสุนปืนใหญ่กับกระสุนดินดำให้มาก ๆ กับขอปืนเล็กกับกระสุนด้วย
ไทยก็ยอมจัดปืนให้ แต่ไม่ครบตามจำนวนที่อังกฤษต้องการ แต่ไทยได้สัญญาว่า การที่จะให้ส่งปืนและกระสุนดินดำนั้น อังกฤษจะต้องขนเอาสินค้าขึ้นไปเก็บในพระคลังหลวง
มิสเตอร์ ปอเน ไม่เต็มใจ แต่ก็ขัดไม่ได้ จึงได้ให้ขนสินค้าขึ้นฝากไว้ที่พระคลังหลวง ๓๘ หีบ ของที่ยังเหลืออยู่นั้นมิสเตอร์ ปอเน ได้ขนลงไปรวบรวมไว้ในเรือ และตัวมิสเตอร์ ปอเน ก็ได้ลงไปอยู่ในเรือ-
๖
(หน้า ๔๒)
ว่าด้วยพม่าล้อมกรุง ฯ
-ได้สู้รบกับพม่ากว่าเดือน ๑ จึงได้มีจดหมายถวายพระเจ้ากรุงสยามขอปืนใหญ่และกระสุนดินดำเพิ่มขึ้นอีก ฝ่ายไทยทราบอยู่ว่าข้าศึก จะยกเข้ามาตีกรุงอีกด้าน ๑ ไม่เกี่ยวทางด้านที่เรืออังกฤษจอดอยู่ ทั้งยังไม่ค่อยจะไว้ใจอังกฤษนัก จึงไม่ยอมให้ปืนตามที่อังกฤษขอมา มิสเตอร์ ปอเน ก็โกรธมาก แล้วได้ส่งหนังสือคล้าย ๆ กับเปนการประกาศไปยังเสนาบดี จึงได้ถอนสมอล่องเรือลงไปตามลำน้ำ และในตอนล่อง เรือนั้นได้ให้ขึ้นไปริบของจากเรือสำเภาจีนรวม ๖ ลำ แต่ลำ ๑ เปนเรือของพระเจ้ากรุงสยาม นอกนั้นเปนเรือซึ่งมาจากประเทศจีนเพื่อมา ค้าขายในประเทศสยาม จึงได้มาจอดรออยู่ที่อ่าวสยาม
พม่าล้อมกรุง
พวกพม่าได้ยกทัพมีพลมากมายก่ายกองกระจายอยู่เต็มบ้านเต็ม เมืองดุจน้ำไหลอย่างเชี่ยว
เมื่อปี ค.ศ.๑๗๖๖ (พ.ศ. ๒๓๐๙) พม่าได้สร้างป้อมล้อมกรุงไว้ ๓ แห่ง แต่ถึงดังนั้น เสบียงอาหารในกรุงก็ยังบริบูรณ์ จะมีคนตายด้วยอดอาหารก็เพียงคนขอทานเท่านั้น
เพราะฉนั้น เมื่อวันที่ ๑๔ เดือนกันยายน ข้าศึกจึงได้ยกมาตั้งติดประชิดกรุง ห่างจากกำแพงเมืองเพียงระยะทางปืนใหญ่เท่านั้น และก็ตั้งมั่นคอยจับผู้คนเสบียงพาหนะซึ่งจะผ่านไปมา
(หน้า ๔๓)
ว่าด้วยพวกเข้ารีดต่อสู้พม่า
ความประพฤติของพวกเข้ารีด
พวกเข้ารีดโดยมากมีหน้าที่รักษาเชิงเทิน ซึ่งเปนการหาประโยขน์มิได้ เพราะการศึกครั้งนี้ ได้รบกันนอกกำแพงเมือง ภายหลัง พระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทานปืนใหญ่ให้แก่วัดเข้ารีด ๓ วัด ซึ่งอยู่ นอกกำแพงพระนคร รวมเปนปืน ๓๐ กระบอกพร้อมทั้งลูกกระสุนดินดำ และได้พระราชทานปืนไปให้พวกจีนซึ่งมีอยู่ ๖๐๐๐ คน เพราะพวกจีนได้ขออนุญาต เอาห้างพวกฮอลันดากับวัด ซึ่งอยู่บนเนินสูงสำหรับตั้งเปนค่าย
ยังไม่ใช่แต่เท่านั้น ไทยยังให้เงินแก่พวกจีน ๒ หมื่น แฟรง และให้เงินแก่พวกเข้ารีด ๕๐๐๐ แฟรง เพื่อขอให้พวกจีน และพวกเข้ารีดคอยป้องกัน และสู้รบกับข้าศึกจนกว่าจะเลิกสงคราม
แต่นั้นแหละ พวกเข้ารีดมีเพียง ๘๐ คนเท่านั้น ใน ๘๐ คนนี้ก็ต้องแยกกันอยู่ตามวัดถึง ๓ แห่ง ซึ่งล้วนแต่อยู่ห่าง ๆ กันสุดทางปืนทั้งนั้น และคนเหล่านี้ ก็มิได้เคยได้รับการฝึกหัดในวิธีทำสงครามเลย
เพราะ ฉนั้นพวกเข้ารีดจะทำอะไรได้ แต่ถึงดังนั้น พวกเข้ารีดก็ถือปืนเล็ก คนละกระบอกและเคยยิงปืนใหญ่ด้วย พวกเข้ารีดได้สู้รบกับพวกพม่าอย่างวิธีกองโจร
ครั้นเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พวกข้าศึกได้ยกพลมาเปนอันมาก และได้มายึดวัดใหญ่ ๆ ใกล้กับวัดเข้ารีดไว้ ๒ วัด
การที่ไทยทำวัดไว้มาก ๆ รอบพระนครดังนี้ เปนการที่คิดการผิดโดยแท้ แต่ส่วนวัดเข้ารีดและค่ายพวกเข้ารีดนั้น ได้เอาเสาและไม้กระดานล้อมไว้อย่างแน่นหนา
(หน้า ๔๔)
แต่ถึงดังนั้น ข้าศึกยังไม่ได้เหยียบเข้ามาถึงค่ายเข้ารีดเลย พวกไทยและจีนก็ตื่นตกใจเสียแล้ว แต่ข้อที่น่าปลาด อยู่นั้นก็คือ กระสุนปืนได้ตกลงมาในค่ายพวกเข้ารีดเปนอันมาก แต่ก็หาได้ถูกผู้ใดไม่ และในค่ายนั้นก็เต็มไปด้วยผู้คนเพราะไม่ได้มีแต่ฉเพาะพวกเข้ารีดพวกเดียว พวกที่ไม่ได้เข้ารีด ก็ได้มาอาศรัยอยู่ในค่ายเปนอันมาก เพราะพวกนี้อยากมาอยู่ในค่ายพวกเข้ารีด มากกว่าอยู่ในพระนคร
เมื่อวันที่ ๑๓ เดือนพฤศจิกายน พวกข้าศึกได้ไปยึดวัดใหญ่ วัด ๑ ซึ่งอยู่ตรงกับโรงเรียนสามเณร พวกเข้ารีดได้ต่อสู้อย่างสามารถแต่ทานกำลังพม่าไม่ไหว พวกข้าศึกจึงได้เอาปืนยิงวัดพวกเข้ารีด ซึ่งเรียกว่า วัดเซนต์โยเซฟ
จนทลุปรุไปหมด ฝ่ายพวกเข้ารีด ก็ได้เอาปืนยิงวัดไทย ที่พวกข้าศึกตั้งมั่นอยู่และได้จับช้างของข้าศึกได้มา ๑ เชือก
แต่เมื่อวันที่ ๗ เดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๗๖๗ (พ.ศ. ๒๓๐๙) พวกเข้ารีดได้เสียทีแก่ข้าศึก คือ พวกที่อยู่ยามได้พากันหลับหมด พวกข้าศึกจึงได้กรูกันเข้ามาเอาไฟเผาค่ายของท่านสังฆราช
บรรดาพวกเข้ารีดทั้งชายและหญิงก็ได้พากันหนีไปอาศรัยใน วัดเซนต์โยเซฟ และอาศัยในเขตบ้านของบาดหลวง แต่ได้มีคนเข้ารีดคน ๑ มีความชล่าใจจะกลับไปยังบ้านของตัว จึงถุกพวกข้าศึกจับได้และข้าศึก ก็ได้ฆ่าเสียโดยไม่มีเมตตาจิตเลย ฝ่ายที่รักษาค่ายสังฆราช ได้ต่อสู้ข้าศึกอย่างสามารถและได้เอาปืนระดมยิงข้าศึก จนข้าศึก-
(หน้า ๔๕)
-ได้ล่าถอย ไปตีพวกจีนในค่ายฮอลันดาต่อไป