ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔๖

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔๖ เรื่องจดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศส

ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา ตอนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาคที่ ๖ นายพันโท หลวงเวชยันต์รังสฤต (มุนี มหาสันทนะ) พิมพ์ในงานปลงศพสนองคุณ นางแย้ม ภรรยาหมื่นพรหมวรานุรักษ์ กันนางสาวเยื้อน มหาสันทนะ เมื่อปีมะโรง พ.ศ.๒๔๗๑

พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไท ถนนรองเมือง คำนำ นายพันโท หลวงเวชนต์รังสฤต (มุนี มหาสันทนะ) จะทำ การปลงศพสนองคุณนางแย้ม ภรรยาหมื่นพรหมวรานุรักษ์เจ้ากรม ผู้เปนยาย กับศพนางสาวเยื้อน มหาสันทนะ ผู้เปนพี่ ใคร่พิมพ์หนังสือ แจกพอเปนที่ระลึกในงานนั้นสักเรื่อง ๑ ได้มาขอหนังสือที่ราชบัณฑิตย สภา กรรมการจึงเลือกเรื่องจดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่ง เข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาภาค ๖ นับเปนประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔๖ ให้หลวงเวชยันต์รังสฤตพิมพ์ในสมุดเล่มนี้ จดหมายเหตุคณะพ่อค้าฝรั่งเศสเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ เลขานุการราชบัณฑิตยสภาได้ขอคัดมาจากประเทศฝรั่งเศส คราวออกไปเยี่ยมบ้านเรือน เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๓ ตามรายการที่ศาสตรา จารย์ ยอช เซเดส์ จดมาให้นั้น ปรากฎว่าได้พบแหล่งหนังสือเหล่านี้ ๔ แห่ง คือที่กระทรวงว่าการเมืองขึ้นแห่ง ๑ เปนรายการแลจดหมาย ต่าง ๆ ที่รัฐบาลฝรั่งเศสได้รับจากประเทศสยาม ที่กระทรวงทหารเรือ แห่ง ๑ เปนสำเนาจดหมายแลคำสั่งต่าง ๆ ที่ได้ส่งมายังประเทศสยาม ที่กระทรวงต่างประเทศแห่ง ๑ เปนสำเนาหนังสือสัญญาแลรายงาน สำคัญที่คณะทูตานุทูตฝรั่งเศสซึ่ง เข้ามาเมืองไทยในแผ่นดินสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช ได้ทำเสนอเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศไว้ ที่หอ สมุดสำหรับนครแห่ง ๑ เปนเรื่องเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวกับเมืองไทยในเวลา



(๒) นั้น มีทั้งต้นฉบับแลสำเนาจดหมายเหตุที่เก็บอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ขอคัดมาได้คราวนั้นแต่ ๓ แห่ง ที่กระทรวง ทหารเรือยังไม่ได้มา ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ หวังใจว่าคงจะได้ มาในไม่ช้า จดหมายเหตุคณะพ่อค้าฝรั่งเศสที่เข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยานี้ ว่าโดยรูปเรื่องที่เกี่ยวกับพงศาวดาร ก็คล้ายกับจดหมายเหตุคณะบาด- หลวงฝรั่งเศส ผิดกันแต่ความมุ่งหมายของคณะ คือ พวกบาดหลวง มุ่งหมายในการสอนสาสนามาก มีเหตุการณ์อันใดเกี่ยวแก่การสาสนา ก็จดลงโดยพิสดาร พวกพ่อค้าผู้มุ่งมากอยู่ในการค้าขายก็จดรายละเอียดไปในทางค้าขาย ส่วนประวัติของบ้านเมืองใครรู้เห็นอย่างไร ก็จดอย่างนั้น ข้อความจึงตรงกันบ้าง แผกเพี้ยนกันบ้าง เพราะเปนธรรมดาของคนภายนอกจะล่วงรู้การบ้านเมืองภายในให้ละเอียดนั้นยาก จดหมายเหตุที่คนในสมัยนั้นจดไว้ ถึงแม้จะไม่แจ่มแจ้งทีเดียวก็ยังเปน หนังสือที่ช่วยความรู้ในพงศาวดารสมัยนั้น เพราะเปนเรื่องที่ได้ยินแก่ หูรู้เห็นด้วยตาใกล้ความจริงโดยมาก ราชบัณฑิตยสภา วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑

อุปนายก สารบารพ์ จดหมายมองซิเออร์เวเรต์ ว่าด้วยสินค้าในเมืองไทย หน้า ๑ คำสั่งของมองซิเออร์เดอร์ลาลูแบร์ เรื่องให้ส่งพลทหาร ปืนใหญ่กลับประเทศฝรั่งเศส " ๑๒ จดหมายมองซิเออร์ฟอลคอน ว่าด้วยการส่งทูต สยามไปประเทศฝรั่งเศส และเรื่องที่ ฝรั่งส่งทหารเข้ามาเมืองไทย " ๑๓ ข้อสัญญาที่ฟอลคอนได้ทำกับมองซิเออร์เซเบเรต์ราช ทูตฝรั่งเศสเรื่องตั้งบริษัทการค้าขาย " ๒๙ สำเนาพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสยามทรงตอบ ขอบพระทัยพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสที่ส่ง กองทหารและบาดหลวงมา " ๓๑ รายงานมองซิเออร์เดฟาซ ว่าด้วยการที่จะรักษา บางกอก เมืองมะริด และจัดการ สร้างป้อม " ๓๖ รายงานของมองซิเออร์เดฟาช ว่าด้วยการฝึกหัดทหาร และการสร้างป้อมและสะเบียงอาหาร " ๔๙พระราชสาส์นถึง พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสทรงตอบขอบ พระทัยที่ประทานทหารและบาดหลวง " ๕๗



(ข) พระราชโองการพระเจ้ากรุงสยามถึงบาดหลวงตาชาด์ ๑๘ ข้อ หน้า ๖๑ จดหมายบาทหลวงตาชาด์ ว่าด้วยการจลาจลตอน สิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ " ๘๒ บาญชีสิ่งของต่าง ๆ ที่ฝ่ายไทยและฝรั่งเศสให้แก่กัน " ๘๕









จดหมายเหตุคณะพ่อค้าฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา ตอนแผ่นดินสมเด็จพระนรารายณ์มหาราช ( ต่อจากภาค ๕ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔๔ )

จดหมายมองซิเออร์เวเรต์ กรุงศรีอยุธยา วันที่ ๒๓ เดือนธันวาคม ค.ศ.๑๖๘๗ (พ.ศ.๒๒๓๐) ด้วยข้าพเจ้าได้ทราบตามจดหมายที่ท่านได้มีมายังข้าพเจ้า ลงวันที่ ๘ เดือนมีนาคม ค.ศ.๑๖๘๖ (พ.ศ.๒๒๒๘) ฉบับ ๑ ลงวันที่ ๒๙ เดือนกรกฎาคม ค.ศ.๑๖๘๖ (พ.ศ.๒๒๒๙) ฉบับ ๑ กับลงวันที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.๑๖๘๗ (พ.ศ.๒๒๒๙) อีกฉบับ ๑ นั้น ว่าท่านไม่ใคร่จะพอใจในตัวข้าพเจ้า ในเรื่องที่ท่านไม่พอใจข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้า จะไม่บ่นว่ากะไร หรือจะไม่คิดแก้ตัวอย่างใด แต่จะต้องขอเรียนให้ ท่านทราบไว้ว่า เปนการยากนักยากหนาที่ข้าพเจ้าจะทำความดีได้ เพราะในเมืองนี้จะทำอะไรก็ไม่ได้ แม้แต่จะทำสิ่งใดให้เปนที่พอใจของ ท่านก็ไม่ได้ หรือจะมีเจตนาอันดีทำการต่าง ๆ ให้เปนประโยชน์แก่ท่าน ก็ทำไม่ได้เหมือนกัน มองซิเออร์เซเบเรต์ซึ่งเปนคนฉลาดและมีความสามารถมาก คง



๒ จะได้ไปเล่าให้ท่านฟัง ว่าการทั้งปวงในเมืองนี้ผิดกันกับที่คาดหมาย ไว้มาก และถ้าเราไม่ได้เปนนายหรือเปนใหญ่ที่บางกอก และถ้าเรา ไม่มีหลักสำหรับยึดคนไทยแล้ว ทำอย่างไร ๆ การของท่านจะดำเนิน สู่ทางดีไม่ได้เปนอันขาด และถึงจะทำหนังสือสัญญาสักกี่ฉบับก็ตาม ถ้าไม่มีกำลังทหารมาหนุนหนังสือสัญญานั้นแล้ว หนังสือสัญญาที่ทำ ไว้นั้นก็จะหาประโยชน์อย่างใดมิได้เลย นี่แหละเปนสิ่งที่ท่านจะต้อง ดำริไว้ จึ่งจะหวังทำการให้เปนประโยชน์ในเมืองนี้ต่อไปในภาย หน้าได้ ต่อนี้ไปข้าพเจ้าจะได้ตอบข้อความต่าง ๆ ที่ท่านได้เขียนมา ถึงข้าพเจ้า ในข้อที่ท่านกล่าวว่า ท่านจะยกโทษให้ไม่ได้ในข้อที่ไม่มีผู้ใด เดินสารเรือรบหลวงกลับไป และไม่มีสินค้าอย่างใดบรรทุกลงเรือไป ทั้งข้าพเจ้าไม่รู้จักใช้เงินของบริษัทให้เปนประโยชน์นั้น ในข้อนี้ขอท่าน ได้โปรดให้อภัยแก่ข้าพเจ้า ถ้าข้าพเจ้าจะเรียนให้ท่านทราบว่า ข้าพเจ้า จะประพฤติเหมือนบุคคลบางจำพวกไม่ได้ เพราะบุคคลเหล่านี้จะต้อง การซื้อเครื่องลายครามสัก ๒๐ หรือ ๓๐ ชิ้น ก็เที่ยวเดินหาตามบ้านนี้ บ้างบ้านโน้นบ้าง และเมื่อซื้อเครื่องลายครามได้ ก็ให้ราคาแพงกว่า ธรรมดาตั้ง ๑๐ เท่า ซึ่งจะเปนตัวอย่างสำหรับให้ราคาสินค้าอย่างอื่น แพงขึ้นผิดปรกติ ถ้าจะค้าขายด้วยวิธีนี้แล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่าจะไม่เปน การยุติธรรมต่อบริษัทเลย มองซิเออร์เซเบเรต์ซึ่งเปนผู้มีความชำนาญ ในเรื่องเหล่านี้ คงจะเล่าให้ท่านฟังว่าความจริงในเรื่องนี้เปนอย่างไร


๓ และส่วนตัวข้าพเจ้านั้นเมื่อท่านจะสั่งมาอย่างไร ข้าพเจ้าคงจะได้รับ คำสั่งนั้น ๆ ด้วยความนบนอบทุกเมื่อ ในเรื่องกระจกเงาของมองซิเออร์เลอเบริงนั้น ข้าพเจ้าจะทำอย่างอื่นไม่ได้ เพราะในเมืองไทยก็มีแต่มองซิเออร์คอนซตันซ์คนเดียว ที่จะทำธุระกันได้เท่านั้น และมองซิเออร์คอนซตันซ์ได้สั่งข้าพเจ้าให้รอ ให้เรือได้ออกไปเสียก่อน เมื่อของข้าพเจ้ามีอยู่มากน้อยเท่าไร มอง ซิเออร์คอนซตันซ์จะรับซื้อไว้ให้หมด ถ้าท่านได้ทราบว่าการที่ไม่ทำ ตามคำสั่งของมองซิเออร์คอนซตันซ์จะเปนอันตรายต่อตัวสักเท่าไรแล้ว ท่านก็คงจะเห็นได้ทันทีว่าข้าพเจ้าอยู่ในฐานที่ลำบากมาก ในส่วนเรื่องผ้าต่างๆกับกะละปังหาและกระจกเงาที่ข้าพเจ้าพามา ด้วยนั้น ก็เปนเรื่องเช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้ว เมื่อเรือรบ ฝรั่งเศสได้กลับไปแล้ว ซึ่งเปนอันหมดเวลาที่ข้าพเจ้าจะมีหนังสือถึง ท่านได้นั้น มองซิเออร์คอนซตันซ์ก็เกิดไม่ต้องการอะไรขึ้นมาเสียแล้ว ต้องการแต่เงินสดและอ่างแก้วของมองซิเออร์เลอเบริงเท่านั้น มอง- ซิเออร์คอนซตันซ์จึ่งมาผัดแก่ข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้ารอไว้จนกว่าเรือจะ มาจากเมืองจีนเสียก่อน ครั้นเรือได้มาจากเมืองจีนแล้ว มองซิเออร์ คอนซตันซ์ก็ให้มาขอตัวอย่างผ้าต่าง ๆ และขอดูกะละปังหากับเครื่อง แก้ว ข้าพเจ้าก็เอาของต่าง ๆ ออกมาให้มองซิเออร์คอนซตันซ์ดู ตกลง มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ซื้อแต่เครื่องแก้วไว้เปนราคา ๕๐๐ แฟรงเท่านั้น ส่วนของอื่น ๆ เช่นผ้าและกะละปังหานั้น มองซิเออร์คอนซตันซ์รับรอง


๔ ว่าจะได้จัดการขายให้ แล้วมองซิเออร์คอนซตันซ์ก็เที่ยวพูดบ่นว่า บริษัทมิได้มีหนังสือมาถึงเขาบ้างเลย และบริษัทก็มิได้ส่งของมาถวาย พระเจ้ากรุงสยาม หรือส่งของฝากมาให้มองซิเออร์คอนซตันซ์เลย ลงท้ายที่สุดข้าพเจ้าจำเปนต้องเอาอ่างแก้วและหีบแก้วให้แก่มองซิเออร์ คอนซตันซ์ตามคำแนะนำของท่านสังฆราชและพวกบาดหลวงเยซวิต ถ้า จะฟังตามเสียงพวกบาดหลวงเยซวิตแล้ว ก็จะต้องเข้าใจว่ามองซิเออร์ คอนซตันซ์คงจะให้ของตอบแทนข้าพเจ้าบ้าง คิดราคาคงจะมากกว่า ที่ข้าพเจ้าให้มองซิเออร์คอนซตันซ์สัก ๑๐๐๐ เท่า แต่มองซิเออร์ คอนซตันซ์ได้ให้หีบไม้ลายสลักแก่ข้าพเจ้าหีบ ๑ ซึ่งข้าพเจ้าได้ส่งมา ยังประเทศฝรั่งเศส และได้ให้ผ้าข้าพเจ้า ๒-๓ พับ ซึ่งข้าพเจ้าได้ ขายไปเสียแล้ว ผลที่สุดของการเรื่องนี้ ก็คือ ว่าสินค้าของเรายังเหลือ อยู่เท่าไร และเงินสดของเรายังเหลืออีกเท่าไร มองซิเออร์คอนซตันซ์ ก็เอาไปหมด สำหรับไปทำการค้าขายกับหัวหน้าอังกฤษต่อไป กับ ข้าพเจ้าได้รายงานให้ท่านทราบแต่ปีกลายนี้แล้ว เพราะฉะนั้นในเวลานี้ มองซิเออคอนซตันซ์คงยังเปนหนี้เราอยู่คิดเปนเงิน ๑๐,๐๐๐ แฟรง และ เรื่องนี้ข้าพเจ้าก็ได้บอกให้มองซิเออร์เซเบเรต์ทราบ ทั้งเอาบาญชีให้ มองซิเออร์เซเบเรต์ดูด้วย และบาญชีนี้มองซิเออร์เซเบเรต์ก็ได้เอาไป ตรวจดูอยู่ช้านาน เพราะข้าพเจ้ายังจะส่งบาญชีนี้ไปให้ท่านในปีนี้ไม่ ได้ โดยเหตุที่มองซิเออร์คอชยังหาได้คัดสำเนาไว้ไม่ เพราะมีธุระ มากคัดสำเนาไว้ยังไม่ทัน การที่เปนเช่นนี้ ก็เพราะเหตุว่าเราต้องทำ


๕ ธุระเหลือมือ ด้วยมีคนอยู่ ๒ หรือ ๓ คนเท่านั้น และเราต้องทำ ธุระให้แก่เอกอัครราชทูตบ้าง ทำธุระให้บาดหลวงเยซวิตบ้าง ทำ ธุระให้แก่นายทหารทั้งบกและเรือบ้าง ทำธุระบรรทุกของลงเรือ ๘ หรือ ๑๐ ลำบ้าง และทำธุระต่าง ๆ หลายพันอย่างมิได้หยุดมือเลยจนนาที เดียว เพราะฉนั้นข้าพเจ้าเชื่อว่า ที่ห้างเมืองสุรัตก็ดี หรือที่ห้างอื่น ๆ ก็ดี คงจะไม่ต้องทำธุระมากเหมือนในเมืองนี้ เพราะที่เมืองสุรัตและ ห้างเมืองอื่น ๆ ถ้ามีคนเพียง ๒ หรือ ๓ คน ก็อาจจะบรรทุกของลง เรือได้ตั้ง ๒๐ ลำ ด้วยในที่เหล่านั้นมีคนรับทำธุระแทนกันได้ แต่ใน เมืองนี้เราต้องทำธุระของเราเองทั้งสิ้น แม้แต่เปนเรื่องที่เล็กน้อยที่สุด เราก็ต้องทำเองเหมือนกัน และเมื่อจะทำธุระเหล่านี้เครื่องมือที่จะทำ ก็หามีไม่ จนที่สุดปากกาก็ไม่มี น้ำหมึกก็ไม่มี มีดพับก็ไม่มี เครื่อง ชั่งตวงก็ไม่มี เพราะฉนั้นเมื่อเราจะทำอะไรก็เท่ากับหลับตาทำ สินค้า ที่เราต้องชั่งนั้น ก็ต้องชั่งด้วยคันชั่งเหมือนอย่างที่เขาชั่งเนื้อโคขาย ตามร้านขายเนื้อสัตว์ และคันชั่งที่ใช้กันนี้ก็เปนคันชั่งที่พวกจีนทำ ซึ่ง มีวิธีโกงกันได้มาก เมื่อปีก่อนนี้ ข้าพเจ้าจำเปนต้องเอากะละปังหาของมองซิเออร์ เดอมาเธวิตรีลาวีลส่งคืนไปยังเมืองปอนดิ์เชรี เพราะเห็นว่าจะขายไม่ ได้ จะเอาไว้ต่อไปก็ไม่เปนประโยชน์อะไร ส่วนผ้าต่าง ๆ นั้นข้าพเจ้า ได้เอาไปแลกกับชมดเชียง ซึ่งข้าพเจ้าได้ส่งไปยังประเทศฝรั่งเศสแล้ว ส่วนกระจกเงานั้นยังอยู่ครบบริบูรณ์ยังจำหน่ายไม่ได้เลย แต่ข้าพเจ้า


๖ เชื่อว่ากระจกเงานี้มองซิเออร์คอนซตันซ์คงจะรับเอาไปหมด เพื่อเอา ไว้เปลี่ยนกับกระจกที่แตก ในเรื่องที่ท่านต้องการให้ข้าพเจ้าทำรายงานไปยังท่านนั้น ราย งานเหล่านั้นข้าพเจ้าได้มอบไปกับมองซิเออร์เซเบเรต์แล้ว ข้าพเจ้า จะส่งสำเนารายงานไปยังท่านไม่ได้ เพราะข้าพเจ้าอยู่ตัวคนเดียว คนอื่น ๆ ต้องไปธุระต่าง ๆ เช่นไปชั่งของบ้าง เอาสินค้าบรรทุกลง เรือบ้าง พาเรือไปที่ท่าจอดเรือบ้าง ซึ่งเปนหนทางไกลจากที่นี่ตั้ง ๓๐ ไมล์ ส่วนตัวข้าพเจ้านั้นก็ทำธุระวุ่นอยู่ทุก ๆ วัน ไปหาคน โน้นบ้าง คนนี้บ้าง หาของส่งไปที่เรือบ้าง และเวลากลางคืนนั้น ข้าพเจ้าก็ต้องเขียนรายงาน เพราะฉนั้นถ้าท่านจะต้องการทำการค้า ขายในเมืองนี้แล้ว ขอท่านได้โปรดส่งคนเพิ่มมาอีกบ้าง ให้พอแยก ทำงานได้ทั้งในห้างและบนเรือ ตามที่ท่านโปรดกรุณาเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า พระเจ้าหลุยผู้เปนใหญ่ของเรา ได้ทรงพระกรุณาโปรดรับรองราชทูตของพระเจ้ากรุง สยามอย่างใหญ่โตงดงามนั้น ข้างฝ่ายข้าพเจ้าก็จะต้องเล่าให้ท่านฟัง บ้าง ว่าไทยได้จัดรับราชทูตของเราอย่างไม่สมควรเลย ทั้งมิได้แสดง ความเคารพนับถือราชทูตของเราเลย อันที่จริงราชทูตของเราก็เปน คนที่มีคุณวุฒิอย่างดี และเปนคนที่ซื่อสัตย์สุจริตมาก ทั้งเปนคนที่มา แทนพระเจ้าแผ่นดินที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ด้วย แต่ถึงดังนั้นมองซิเออร์ คอนซตันซ์ก็ไม่ใคร่จะยอมให้ราชทูตได้เดินหน้าเลย และไทยได้ทำ


๗ กับท่านราชทูตอย่างไม่สมควรอย่างยิ่ง แต่ในเรื่องเหล่านี้ท่านก็จะ ทราบได้ดีต่อไป ส่วนตัวข้าพเจ้าไม่อยากพูดถึง เพราะข้าพเจ้ามี ความเสียใจนักที่ได้รู้สึกว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีความเกลียด และริษยาเรานั้น ได้พากันเยาะเย้ยเราหลายพันย่าง ในเรื่องที่เกี่ยวด้วยการค้าพริกไทย ซึ่งมองซิเออร์เซเบเรต์คง จะได้รับความรู้ไปอย่างละเอียดแล้วนั้น ก็ไม่ผิดอะไรกันกับการค้า ขายสินค้สอย่างอื่นเลย ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าได้ชี้แจงให้มองซิเออร์เซเบ เรต์ทราบโดยละเอียดแล้ว เพราะเปนเรื่องที่เห็นได้ว่าข้างฝ่ายไทยคิด โกงเราเปนอันมาก ถ้าเราได้ทำให้พวกไทยกลัวเราแล้ว เราก็อาจ จะหาพริกไทยพอบรรทุกเรือใหญ่ ๆ ได้ปีละ ๓ หรือ ๔ ลำทุก ๆ ปี เพราะ ในปัตยุบันนี้ ในเมืองไทยก็พอจะหาพริกไทยบรรทุกเรือได้ไม่น้อยกว่า ๓ ลำ แต่ถึงดังนั้นเราก็หาซื้อพริกไทยไม่ได้ และข้าพเจ้าก็จะยอมเพิ่ม ราคาให้เกินปรกติถึง ๓ แฟรงก็ยังหาซื้อไม่ได้เลย ถ้าแม้ว่าข้าพเจ้าได้เชื่อวาจาของมองซิเออร์คอนซตันซ์แล้ว ข้า- พเจ้าก็คงจะได้สร้างห้างขึ้นที่เมืองสงขลา ที่กรุงศรีอยุธยา และทีเมือง ลพบุรีเสียแล้ว แต่ทีเมืองนี้วาจาที่พูดกันไม่เหมือนกับในเมืองอื่น ๆ และคำที่ว่าไม่ยอมนั้น เปนคำที่พูดกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นข้าพเจ้า จึงได้พูดอยู่เสมอว่าจะได้สร้างห้างต่อไป แต่ข้าพเจ้าก็ผัดเพี้ยนถ่วง เวลาไม่ได้ลงมือทำเลย และการที่จะสร้างห้างขึ้นนั้น ถ้าการงานไม่ ได้เปลี่ยนแปลงดีขึ้นแล้ว ข้าพเจ้าก็จะไม่คิดสร้างห้างขึ้นเลย ถึง


๘ มองซิเออร์เซเบเรต์ได้สั่งข้าพเจ้าให้สร้างห้างขึ้นที่กรุงศรีอยุธยาก็จริง แต่ข้าพเจ้าก็เห็นว่ายังไม่ควรจะทำ การที่ว่าในเมืองนี้มีอบเชยนั้นเปนความจริง มองซิเออร์คอนซ- ตันซ์ได้ให้คนเที่ยวหาให้มองซิเออร์เซเบเรต์ แต่ส่วนข้าพเจ้านั้นจะ หาซื้ออบเชยบ้างก็หาไม่ได้ ข้าพเจ้าได้มีหนังสือส่งไปยังเมืองมะริด ให้หาอบเชยให้แล้ว เพราะที่เมืองมะริดมีอบเชยมากกว่าในเมืองนี้ ถ้าข้าพเจ้าหาได้จะได้จัดการส่งไปยังประเทศฝรั่งเศสด้วยเรือเปรซิเดน ส่วนดีบุกเมืองไทยซึ่งท่านว่าเปนราคาหาบละ ๑๕ ปอนด์ (ฝรั่ง เศส) นั้น ในเมืองนี้ซื้อขายกันเปนราคา ๑๕ แฟรง ซึ่งเท่ากับ ๔๕ ปอนด์ (ฝรั่งเศส) ข้าพเจ้าได้ทราบว่าแต่ก่อนได้มีคนส่งดีบุกเมืองสุรัต ไปให้ท่าน ท่านได้เก็บไว้ที่ประเทศฝรั่งเศสอยู่ช้านานจึ่งได้ส่งกลับ คืนไปยังเมืองสุรัต เพราะดีบุกเมืองสุรัตนั้นสู้ดีบุกเมืองอังกฤษไม่ได้ แต่ถึงดังนั้นข้าพเจ้าได้ลองส่งดีบุกไป ๓๐ หาบ เพื่อทดลองดูเปนครั้ง ที่ ๒ แล้ว ข้าพเจ้าคิดอยากจะส่งไม้ฝางไปยังท่าน มีน้ำหนักตั้ง ๑,๐๐๐,๐๐๐ ปอนด์ แต่ติดขัดที่ไม่มีเรือเล็กสำหรับบรรทุกไปส่งเรือใหญ่ ทั้งคนที่จะ ชั่งไม้ก็ไม่มีด้วย อีกประการ ๑ พวกนายเรือก็ขัดข้องไม่อยากรับไม้นี้ บรรทุกลงเรือ เพราะเขาพูดว่าไม้ฝางนี้ทำให้เรือเสียโดยเหตุที่มีปลวก มาก การที่มีปลวกขึ้นกินไม้ฝางนั้น ก็เพราะคนพื้นเมืองมักเอาไม้ฝาง เก็บไว้ในทีชื้น ถ้าเราจะบรรทุกไม้ฝางส่งไปนอกจริงแล้ว เราก็จะต้อง


๙ เอาแบบของพวกฮอลันดา คือพวกฮอลันดาเก็บไม้ฝางนี้รวบรวม ล่วงหน้าไว้ตั้ง ๖ เดือนหรือปี ๑ จึงจะส่งออกไปนอก และวิธีเก็บไม้ นั้น ก็ตั้งซ้อนไว้เปนกอง ๆ ในที่แห้ง ส่วนเรื่องดินประสิวที่ท่านถามมานั้น ขอบอกให้ท่านทราบว่า ดินประสิวนี้หาใช่ของเมืองนี้ไม่ แต่เปนดินประสิวที่มาจากเมืองเบง กอล และราคาที่ซื้อขากันในเมืองนี้ก็แพงเท่ากับราคาในประเทศฝรั่งเศส แต่สินค้าดินประสิวนั้นในเวลานี้เปนสิ่งที่เรายังจะค้าไม่ได้ เพราะ เหตุว่าในหนังสือสัญญาทีมองซิเออร์ คอนซตันซ์ได้ทำกับมองซิเออร์เซ เบเรต์นั้น ได้มีข้อความยกดินประสิวนี้เปนสินค้าที่ผิดกฎหมาย การที่ เอาดินประสิวเปนสินค้าผิดกฎหมายนั้น ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาก็ไม่เคยถือ ว่าดินประสิวเปนสินค้าผิดกฎหมายเลย ที่เปนเช่นนี้ก็ฉะเพาะสำหรับเรา เท่านั้นซึ่งที่จะทำให้เราเสียหายมาก เพราะดินประสิวนี้เปนสินค้าที่ดีมาก จะจำหน่ายได้หลายแห่งตามเมืองในแถบเหล่านี้เช่นที่เมืองญวนและเมือง ตังเกี๋ยเปนต้น ในเรื่องเครื่องลายครามนั้น ข้าพเจ้าหาได้ความรู้ดีขึ้นกว่าเก่า ไม่ แต่ข้าพเจ้ากลับวิตกว่าความรู้เล็กน้อยที่ข้าพเจ้ามีอยู่ในเรื่องเครื่อง ลายครามนั้นน่ากลัวจะเสื่อมลงไปได้ เพราะตั้งแต่ข้าพเจ้าได้มาอยู่ใน เมืองนี้ ก็ยังไม่ได้พบเครื่องลายครามที่พอใจเลย คนที่ท่านได้ส่งมา สำหรับให้มาเลือกเครื่องลายครามนั้น เปนคนที่เข้าใจรู้จักเลือกลาย ครามที่ดี คนเหล่านี้ข้าพเจ้าจะได้จัดส่งไปเมืองจีนในปีนี้ เพื่อให้ไป


๑๐ จ้างให้เขาทำเครื่องลายครามอย่างดีที่สุดที่จะทำได้ แต่ถ้าได้ไปหา เครื่องลายครามของเก่า ๆ มาได้ก็จะยิ่งดีหนัก เพราะลายครามของ เก่าทำดีฝีมือปราณีตและงามกว่าลายครามทีทำกันทุกวันนี้ มองซิเออร์เซเบต์จะได้บอกให้ท่านทราบว่า ตามที่ท่านได้สั่ง ให้ข้าพเจ้ามาทำสำหรับท่านเสนาบดีนั้น เปนสิ่งที่จะทำในเมืองนี้ ไม่ได้ ถ้าข้าพเจ้ามีโอกาสสั่งให้ไปทำในเมืองตังเกี๋ยในปีนี้ได้ ข้าพเจ้าก็ จะได้พยยามที่สุดที่จะทำให้สำเร็จตามความต้องการของท่านให้จงได้ การที่จะเรียนให้ท่านทราบว่า สินค้าของประเทศฝรั่งเศสจะจำ- หน่ายในเมืองนี้ได้มากน้อยเท่าไรนั้น เปนสิ่งที่จะเรียนให้แน่นอนลงไป ไม่ได้ เพราะสินค้าของประเทศฝรั่งเศสนั้นจะจำหน่ายไม่ได้เลย จน กว่าพวกจีนจะรู้แน่ว่าสินค้าต่าง ๆ ที่เขาต้องการเปนอันหาได้ในเมืองนี้ ทุกอย่าง หรือมิฉะนั้นเราก็จะต้องทำอย่างพวกฮอลันดาและพวก อังกฤษ ซึ่งหาสินค้าไปขายหรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าของเมืองจีนและ เมืองตังเกี๋ย ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าได้รายงานให้มองซิเออร์เดอเซเบเรต์ ทราบโดยละเอียดแล้ว เรื่องเงินที่ท่านบอกมาว่า ท่านได้รองจ่ายให้แก่ราชทูต (สยาม) สำหรับทำของต่าง ๆ ที่พระเจ้ากรุงสยามได้รับสั่งให้ทำ และว่าเมื่อ ราชทูต (สยาม) ได้มาถึงเมืองไทยจะได้ใช้เงินรายนี้ให้นั้น ข้าพเจ้า เชื่อว่าเงินรายนี้คงจะไม่ถึงมือเราเปนแน่ เพราะในเมืองนี้ไม่รู้จักใน การใช้เงินกันเลย ซึ่งเปนการร้ายกาจมาก เปนต้นว่า ถ้าไทยได้ส่ง


๑๑ เงินที่เปนหนี้บริษัท ๑๐,๐๐๐ แฟรงมาให้ข้าพเจ้าสัก ๒ ปีมานี้แล้ว เมื่อปี กลายนี้ข้าพเจ้าก็จะได้มีโอกาสซื้อไหม ซึ่งในทุกวันนี้มองซิเออร์เดอ- เซเบเรต์ได้ซื้อไว้เปนราคา ๓๙๐ บาท แต่ในเวลานั้นข้าพเจ้าคงจะซื้อ ได้เปนราคา ๓๑๐ บาท หรืออย่างสูงทีสุด ๓๒๐ บาท เพราะเปนเวลา ที่เรือพึ่งมาถึงจากเมืองจีน และป่านนี้ไหมนั้นก็คงจะได้ส่งไปถึงประ- เทศฝรั่งเศสเสียแล้ว แต่การหาเปนดังนั้นไม่ มองซิเออร์คอนซตันซ์ กลับยึดเงินของบริษัทไว้เสีย และถ้าเราไม่ไปขอบใจในการทีมองซิ- เออร์คอนซตันได้กรุณาแก่บริษัทต่าง ๆ นั้น ก็น่ากลัวเราจะต้องถูก ตีเปนแน่ ข้าพเจ้าเชื่อใจว่าการงานต่าง ๆ ที่มองซิเออร์เดอเซเบเรต์ ได้มอบไว้กับมองซิเออร์คอนซตันซ์ ก็คงจะทำกันอย่างวิธีนี้เอง และ เมื่อเรือได้กลับมาถึงเมืองนี้จากประเทศฝรั่งเศสอีกครั้ง ๑ ก็น่ากลัว จะยังไม่ได้เงินรายนี้เปนแน่ ในเรื่งพลอยทับทิมและพลอยสีต่าง ๆ ซึ่งท่านติเตียนข้าพเจ้าและต่อว่า ๆ ข้าพเจ้าไม่ได้ส่งตัวอย่างไปให้ท่านนั้น ขอท่านจงทราบ ไว้ว่าพลอยทับทิมและพลอยสีต่าง ๆ นั้น ในเมืองไทยเปนของที่หายาก เท่ากับจะหาดาวในเวลากลางวัน และผู้ที่บอกท่านว่ามีพลอต่าง ๆ ในเมืองนี้นั้น ได้เอาความไม่จริงไปบอกแก่ท่าน ยังมีเรื่องต่าง ๆ อีกเปนอันมากซึ่งข้าพเจ้าตั้งใจจะเล่าให้ท่านฟัง แต่ผะเอิญข้าพเจ้ามาป่วยเจ็บในอกจนทำการงานอะไรไม่ได้ มองซิเออร์ เดอเซเบเรต์ได้รับรายงานและจดหมายเหตุของข้าพเจ้า ซึ่งกล่าวเรื่อง


๑๒ ต่าง ๆ ทุกอย่างแล้ว เพราะฉะนั้นมองซิเออร์เดอเซเบเรต์คงจะได้ รายงานให้ท่านทราบเรื่องต่าง ๆ โดยละเอียดต่อไป ( เซ็น ) เวเรต์

คำสั่งของมองซิเออร์ลาลูแบ และมองซิเออร์เซเบเรต์ ถึงมองซเออร์เดฟาช ในเรื่องส่งพลทหารปืนใหญ่คืนไปประเทศฝรั่งเศส วันที่ ๑๒ เดือนธันวาคม ค.ศ. (พ.ศ.๒๒๓๐) เราผู้มีนามข้างท้ายนี้ เปนเอกอัครราชทูตพิเศษของพระเจ้า กรุงฝรั่งเศส ขอบอกกล่าวแก่มองซิเออร์เออร์เดฟาช จอมพลในค่ายต่าง ๆ และกองทัพของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และเปนผู้บังคับการทหารของ พระเจ้ากรุงสยามว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนายของเราได้มีพระราช ดำริไว้ว่า บรรดาพลทหารปืนใหญ่ ลูกแตกและปืนสำหรับยิงลูกแตก ซึ่งพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้โปรดให้ส่งมากับเรือรบนั้น ต้องส่งกลับไป ยังประเทศฝรั่งเศสพร้อมกับมองซิเออร์คูลารี ผู้บังคับกองทหารปืน ใหญ่นั้น เพราะฉะนั้นเราจึงสั่งให้มองซิเออร์เดฟาช ส่งพลทหารปืนใหญ่ กลับไปตามกระแสพระราชโองการของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ถ้าแม้ว่ามองซิเออร์เอดฟาชได้ทราบคำสั่งนี้แล้ว ยังคงขัดขืนกัก


๑๓ พลทหารปืนใหญ่ ลูกแตก ปืนสำหรับยิงลูกแตก และเครื่องมือทั้ง ปวงสำหรับใช้ยิงปืนลูกแตกนี้ไว้แล้ว ก็ให้มองซิเออร์เดฟาชเปนผู้รับ ผิดชอบโดยฉะเพาะ ตรงต่อพระอง์พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสต่อไป สั่งที่เมืองลพบุรี ณวันที่ ๑๒ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๖๘๗ (พ.ศ.๒๒๓๐) (เซ็น) ลาลูแบ

จดหมายมองซิเออร์ฟอลคอน ถึงท่านมองซิเออร์เดอลาลูแบ และมองซิเออร์เดอเซเบเรต์ เอกอัครราชทูตพิเศษของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ท่านคงจะทราบดีอยู่แล้วว่าเรื่องต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าจะต้องทำธุระ กับท่านโดยฉะเพาะนั้นได้ทำให้ข้าพเจ้ามีงานเพิ่มขึ้นอีกเปนอันมาก และ งานที่ข้าพเจ้าต้องทำประจำอยู่นั้น ก็มากเหลือมืออยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเชื่อว่าท่านคงจะไม่นึกประหลาดใจในการที่ข้าพเจ้ามิได้ตอบ จดหมายของท่านลงวันที่ ๒๙ เดือนพฤศจิกายน แต่เพื่อมิให้เสียเวลา ต่อไปนั้น ข้าพเจ้าจะได้ตอบท่านในข้อที่ข้าพเจ้าควรจะตอบได้ ในข้อความต่าง ๆ ที่ท่านได้ออกความเห็นมานั้น ข้าพเจ้ายังจะ ตกลงอย่างไรไม่ได้ เพราะข้อความต่าง ๆ เหล่านี้ ท่านหาได้อธิบายให้ ข้าพเจ้าเข้าใจให้ละเอียดพอไม่ ในข้อแรกที่ข้าพเจ้ามิได้สังเกตในจดหมายฉบับนั้น ก็คือที่ท่าน


๑๔ มีความประหลาดใจนักหนาในข้อความต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าได้บอกให้ท่าน ทราบหลายครั้งก่อนทีท่านได้มาถึงเมืองลพบุรี และเพื่อท่านจะแสดงตัว ว่าท่านมีความพอใจในข้อความเหล่านั้น ท่านจึงได้ดื่มให้พรแก่บุคคล ผู้ ๑ ซึ่งในเวลานี้ท่านยังหารู้จักตัวไม่ เพราะฉะนั้นในทีนี้หข้าพเจ้าจึงไม่ กล่าวถึงเรื่องนั้นซึ่งจะเปนความซ้ำไป แต่ในข้อทีว่าบุคคลผู้นั้นจะควร มีวุฒิอย่างใดนั้น ท่านคงจะทราบได้ดีทีเดียว เพราะในจดหมายของ ท่านก็แสดงว่า ในเรื่องนี้เกิดเสียงลือขึ้นจนทำให้ท่านมีความสงสัยใน ข้อความต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าได้พูดกับท่านด้วยตัวของข้าพเจ้าเองหลายครั้ง หลายหนมาแล้ว เพราะเหตุฉะนั้นถึงแม้ว่าในเรื่องนี้จะมีการเปลี่ยน แปลงอย่างใดบ้างก็ตาม ข้าพเจ้าก็เห็นว่าเปนการเสียเวลาทีจะบอกให้ ท่านทราบ เพราะท่านไม่ใคร่จะเชื่อในถ้อยคำของข้าพเจ้าเลย ท่านได้ยกเอาเรื่องราชทูตของพระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้า มาเปนตัวอย่างในเวลาที่ราชทูตสยามได้เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เพื่อ จะให้ฝ่ายข้าพเจ้าได้พิเคราะห์ถึงตำแหน่งหน้าที่ของท่านนั้น แต่ข้าพเจ้า เห็นว่าที่ข้าพเจ้าจะต้องพิเคราะห์ดูนั้น ก็เพียงแต่ว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส นายของท่านมีพระราชประสงค์อย่างไรอย่าง ๑ กับอีกอย่าง ๑ จะต้อง พิเคราะห์ว่า ที่จะรับรองราชทูตแอมแบซาเดอร์ กับราชทูตเอนวอยนั้น จะต้องต่างกันหรือไม่ เพราะในราชสำนักไทยนั้นไม่เคยรู้สึกว่าหน้าที่ แอมแบซาเดอร์กับเอนวอยนั้นจะต่างกันอย่างไร แต่ในที่นี้ข้าพเจ้าไม่ กล้าอธิบายให้ท่านฟัง เพราะในเรื่องนี้ราชสำนักฝรั่งเศสเข้าใจได้ดี


๑๕ อยู่แล้ว ข้อที ๒ในจดหมายของท่านนั้นกล่าวถึงของเครื่องราชบรรณาการ และของต่าง ๆ ในเรื่องนี้ท่านก็ได้เห็นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นไม่จำเปนที่ ข้าพเจ้าจะต้องพูดยึดยาวต่อไป แต่เมื่อท่านถามมาว่าของเหล่านี้จะ ควรบรรทุกลงเรือและจะให้เก็บไว้ในทีใดนั้น ข้าพเจ้าก็จำจะต้องตอบ ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้คาดหมายเลยว่าจะตกเปนหน้าทีของข้าพเจ้าจะต้อง ชี้แจงแก่ท่านในข้อนี้ เพราะข้าพเจ้าไปเข้าใจเสียว่า การชะนิดนี้เปนหน้า ที่ของผู้บังคับการกองทัพเรือโดยแท้ และในเรื่องนี้ข้าพเจ้าก็ได้พูดไว้กับ ท่านผู้บังคับการแล้ว และท่านผู้บังคับการก็ได้รับรองกับข้าพเจ้า ว่า ของต่าง ๆ เหล่านี้จะได้บรรทุกเรือเก็บไว้ในที่อันสมควรแล้ว แต่จะ อย่างไรก็ตามเพื่อจะให้สมกับทีท่านจะต้องการรู้นั้น ข้าพเจ้าจะขอ บอกแก่ท่านแต่เพียงว่า ของต่าง ๆ อันเปนเครื่องราชบรรณาการและ ของพระราชทานไปยังราชสำนัก (ฝรั่งเศส) นั้น รวมทั้งสิ้นเปนของ ประมาณ ๒๐๐ หีบ ข้อที ๓ในจดหมายของท่าน ถามถึงเรื่องราชทูตของพระเจ้ากรุง สยามและข้าราชการที่จะไปกับราชทูต ว่าจะให้พักอยุ่ทีไหนนั้น ในข้อ นี้การที่เกียวด้วยเองที่พักของข้าราชการนั้น ขาพเจ้าเชื่อใจว่าเมื่อพวก ข้าราชการได้มาเมืองนี้ก็ได้จัดหาที่พักให้ เมื่อข้าราชการจะไปเมือง ฝรั่งเศส เหตุใดพวกฝรั่งเศสจะไม่จัดทีพักให้คนเหล่านี้อยู่เล่า แต่ในส่วน ตัวราชการทูตนั้นตำแหน่งหน้าทีของเขา โดยฉะเพาะไม่ทำให้เปนการจำเปน


๑๖ อย่างไรที่จะต้องจัดการรับรองใหญ่โตหรือจะต้องรับรองเปนพิเศษ แต่ ข้าพเจ้าเชื่อว่า ตัวราชทูตเอง คงได้รับความเอื้อเฟื้อ จากประเทศของ เขา และเพื่อนฝูงของเขาก็คงจะรับรองตามสมควร ข้อที่ ๔ ในจดหมายของท่านนั้นถามว่า พระเจ้ากรุงสยามได้มี รับสั่งให้ผู้ที่จะไปแทนพระองค์ ไปเจรจากับสำนักฝรั่งเศสว่า อย่างไร และเหตุใดพระเจ้ากรุงสยามจึงต้องส่งออกไปนั้น ข้าพเจ้า จะต้องตอบว่า ได้ทรงแต่งออกไปเพื่อราชการของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส แต่จะได้มีรับสั่งให้ไปพูดว่าอย่างไรนั้น ยังหาได้ทรงมีรับสั่งบอกให้ ข้าพเจ้าทราบไม่ แต่ข้าพเจ้าอดที่จะพูดไม่ได้ว่า ข้าพเจ้ามีความยินดี มากที่ได้เห็นท่านผู้ที่เปนเสนาบดีซึ่งฉลาดไหวพริบอย่างยิ่ง มีความ รู้มากจนถึงกับสอดส่องรู้เข้าไปถึงสิ่งที่ลับของราชสำนักนี้ได้ อันเปน เหตุทำให้ท่านพูดยืดยาวถึงข้อดีและชั่วต่าง ๆ ดุจเราจะกระกำหนดให้ พระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ ได้เปนพระราชไมตรีกันเพียงไรได้ทีเดียว ข้าพเจ้าเชื่อว่าถ้าราชการทูตคนใดได้ไปพูดจาเช่นนี้ในประเทศฝรั่งเศส จะ พูดเปนการลับหรือเปิดเผยก็ตาม ราชทูตผู้นั้นก็คงจะต้องได้รับความ ติเตียนเปนแน่ ข้อเหล่านี้เปนเรื่องที่หาประโยชน์มิได้ เพราะฉะนั้นไม่ จำเปนที่จะต้องพูดถึงเลย ข้าพเจ้าจะขอบอกแก่ท่านคำเดียวอันจะทำ ให้ท่านวางใจลงได้ว่า ในราชสำนักนี้ เจ้านายและข้าราชการมีความ นับถือท่านเปนอันมาก เพราะได้เคยเห็นคุณความดีของท่านมาหลาย ครั้งแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็เชื่อว่าท่านเองก็คงจะต้องรับรองว่า ถึงแม้ที่สุด


๑๗ พระเจ้ากรุงสยามจะมีกิจอย่างใดทีจะให้ไปพูดจาทีประเทศฝรั่งเศสพระ องค์ก็อาจจะส่งใคร ๆ ไปเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ โดยไม่เปนการ เสียหายต่ออำนาจของท่านอย่างใดเลย เมื่อข้าพเจ้าได้ตอบคำถามของท่าน ซึ่งเท่ากับเปนคำนำของ หนังสือฉะบับนี้แล้ว ข้าพเจ้าจำเปนจะต้องอธิบายให้ละเอียดกว้างขวาง ออกไปอีก เพื่อจะได้ตอบตามคำถามของท่านที่ถามมาโดยฉะเพาะ คือ ข้อ ๑ ถ้าแม้ว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ได้ทรงพระราชดำริจะให้ รักษาตำบลบางกอกและเมืองมริด โดยทรงถือว่าข้างฝ่ายไทยได้ยก ให้ได้น้ำใสใจจริง และปล่อยให้อยู่ในอำนาจของฝรั่งเศสอย่างเด็จ ขาด และถ้าไทยไม่ปล่อยให้เช่นนั้น พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสก็จะไม่ทรง ยอมให้กองทหารฝรั่งเศสเข้ารักษาที่ ๒ แห่งนี้ หรืออีกนัยหนึ่งถ้าจะ พูดตามอธิบายของท่านแล้ว ก็จะต้องเข้าใจว่า ไทยจะต้องขับไล่ พลทหารที่เปนสัมพันธมิตร์ของพระเจ้ากรุงสยาม และจะต้องขับไล่ พลหทารที่เปนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของไทยออกจากที่เหล่านี้ดังนี้ ถ้า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ทรงพระราชดำริเช่นนี้จริงอย่างท่านว่า และ ถ้าท่านได้ทำการโดยซื่อสัตย์สุจริตต่อพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และถ้าท่าน เปนคนทีซื่อตรงต่อไทยแล้ว ก็ควรท่านจะต้องบอกให้เราทราบในพระ ราชดำริของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเสียแต่ชั้นต้น และท่านไม่ควรจะเซ็น หนังสือสัญญาเลย เพราะท่านก็ทราบอยู่เต็มใจแล้ว ว่ามีพลทหาร ไทยรักษาบางกอกอยู่ถึง ๔๐๐ คน โดยที่ข้าพเจ้าได้บอกให้ท่านทราบ ๒ ๑๘ และท่านเองก็แน่แก่ใจแล้ว ว่ามีทหารไทยรักษาอยู่ในที่นั้น แต่เมื่อ ท่านทราบอยู่ดังนี้ท่านก็คงเซ็นหนังสือสัญญาทั้งทราบอยู่อย่างนั้น และ ยังมิใช่แต่เท่านี้ ท่านยังกลับได้ขอร้องและได้ทำความตกลงว่า กอง ทหารไทยก็ดี กองทหารพิเศษซึ่งพลทหารเปนคนต่างชาติต่างภาษา ก็ดี จะต้องอยู่ในความบังคับบัญชาของแม่ทัพฝรั่งเศส และแม่ทัพ ฝรั่งเศสนั้นจะต้องเปนผู้รักษาตำบลบางกอกในพระนามของพระเจ้ากรุง สยามด้วย ครั้นข้าพเจ้าได้ถามท่านจึงข้อขัดข้องต่าง ๆ เหล่านี้ ท่าน ก็ตอบด้วยปากอันเปนข้อความไม่เพียงพอ เหมือนกับที่ท่านได้ตอบมา ด้วยจดหมายเหมือนกัน ถ้าหากว่าจะเชื่อคำของท่านแล้ว ก็จะต้อง เข้าใจว่าในเรื่องนี้ท่านเข้าใจผิด แต่เดิมท่านก็ได้ทราบในพระราชประ- สงค์ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ครั้นท่านเอาคำสั่งทีท่านได้รับมา มา ตรึกตรองใคร่ครวญดู ท่านก็กลับเปลี่ยนความคิดไปอีกเช่นนี้ เพราะ ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงเชื่อว่าท่านไม่ควรจะไว้ใจในความคิดหใหม่นี้ เพราะเปน ความคิดที่ไม่ตรงกับพระราชประสงค์ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเลย เหตุ ที่ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจเช่นนี้ ก็ประกอบด้วยเหตุทีตัวท่านเองก็ได้พูดกับ ข้าพเจ้า และได้ให้คนบอกกับข้าพเจ้าบ่อย ๆ ว่า พระเจ้ากรุง ฝรั่งเศสทรงพอพระทัยในการต่าง ๆ ทีข้าพเจ้าได้จัดทำมาแล้ว ในข้อ นี้เปนเรื่องที่จริง เพราะบาดหลวงตาชาด์ก็ได้รับกระแสจากพระเจ้า กรุงฝรั่งเศส ทั้งพระองค์เองก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดมีลายพระหัตถ์ มายังข้าพเจ้า ทรงแสดงความพอพระทัยในกิจการต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้า


๑๙ ได้จัดทำนานแล้ว และเพื่อจะได้ทรงจัดการตามความเห็นของข้าพเจ้าที่ข้าพเจ้าได้กราบทูลชี้แจ้งใน จดหมายที่ได้ให้บาดหลวงตาชาด์นำไป ถวายนั้น จึงได้ทรงพระอุตสาหะลงทุนมากมายเช่นนี้ ก็ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าเชื่อใจแน่ว่า ในจดหมายของข้าพเจ้าทุก ๆ ฉะบับไม่มีฉะบับใด เลยที่จะได้แนะนำการตามที่ท่านว่ามานี้ เพราะข้าพเจ้าเห็นว่าได้ทำ อย่างท่านว่าแล้วก็จะไม่เปนพระเกียรติยศต่อพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส หรือ จะไม่เปนประโยชน์ต่อพระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้า หรือจะไม่ เปนประโยชน์ต่อสาสนาคริศเตียนเลยจนนิดเดียว เพราะเหตุฉะนั้นเมื่อข้าพเจ้าได้อธิบายมาถึงเพียงนี้แล้ว ก็ขอให้ ท่านนึกดูเถิดว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะทรงพระราชดำริเช่นนั้นได้ที เดียวหรือ ข้าพเจ้าจึงอยากจะทราบจากท่านว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ได้ทรงพระราชดำริอย่างอื่น นอกจากทรงพระราชดำริจะส่งกอง ทหารมาสำหรับให้มาเปนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน และให้มารักษาบ้านเมือง คอยต่อสู้กับ ศัตรูหมู่ปรปักษของพระเจ้ากรงุสยามนายของข้าพเจ้าหรือ อย่างไร และการที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้โปรดส่งกองทหารมาเช่นนี้ ไม่ใช่สำหรับแสดงความไว้พระทัยในระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ ดอก หรือ เพราะพระเจ้าแผ่นดินองค์ ๑ ได้ส่งกองทหารมามอบกับอีกองค์ ๑ และข้างฝ่ายองค์นี้ก็ได้มอบที่สำคัญ ๆ ให้กองทหารฝรั่งเศสรักษา ซึ่ง เปนการแสดงความไว้วางพระราชหฤทัยซึ่งกันและกันอยู่แล้ว ก็เมื่อ พระเจ้ากรงุสยามได้ทรงมอบบ้านเมือง อันท่ากับลูกกุญแจของประเศท


๒๐ สยามให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสรักษาเช่นนี้แล้ว พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสผู้ทรง ไว้ซึ่งความยุติธรรม และผู้เปนพระสหายอันสนิทของพระเจ้ากรุงสยาม นายของข้าพเจ้า จะทรงแสดงความไม่ไว้พระทัยในไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน และข้าอันสุจริตของพระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้า จนถึงกับจะ ทรงบังคับให้พระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้า ได้ขับไล่ไพร่ฟ้าข้า แผ่นดินของพระองค์ให้ออกจากที่ต่าง ๆ อันจะเปนเหตุกระทำให้เกิดการ วุ่นวายขึ้น และเปนการแสดงว่าไม่ทรงไว้วางพระทัยทั้งในองค์พระ เจ้ากรุงสยามและไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วย ได้เช่นนั้นทีเดียวหรือ เพราะ ฉะนั้นในเรื่องนี้ข้าพเจ้าจึงไม่อยากพูดให้ยืดยาวไป และไม่อยากพูดถึง ประโยชน์ของการสาสนา เพราะตามเหตุการณ์ที่เปนอยู่ในเวลานี้ การ ของสาสนาน่ากลัวจะเสื่อมทรามลงอันไม่มีใครได้นึกถึงเลย ในชั้นนี้ ข้าพเจ้าจะขอเพียงแต่กล่าวโทษท่าน ในข้อที่ท่านได้แสดงดุจหาว่าข้าพ- เจ้ามิได้กระทำการตามวาจาของข้าพเจ้าเท่านั้น ในข้อหาเช่นนี้ ความจริงควรเปนข้าพเจ้าหาความท่านจึงจะถูก เพราะท่านได้ปฎิบัติผิดกับวาจาทีท่านได้รับรองไว้กับข้าพเจ้าหลายเรื่อง ยกตัวอย่างคือ ๑ เรื่องทีท่านจะมาทำคงามตกลงกับข้าพเจ้าในเรื่อง ส่งกองทหารไปประจำรักษาที่เมืองมะริด ๒ เรื่องที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาซึ่งท่านได้เซ็นชื่อตกลงไว้แล้ว ๓ เรื่อง ต่าง ๆ ที่ท่านได้มาแนะนำแก่ข้าพเจ้า อันเปนข้อความไม่สมเกียรติยศ ข้าพเจ้าเลย ๔ ในเรื่องที่ท่านได้ทำกับข้าพเจ้าอันไม่เปนการสมควร


๒๑ แก่ตำแหน่งหน้าที่ของข้าพเจ้า โดยทีท่านสั่งให้บ่าวของท่านมาอยู่ที่ บ้านของข้าพเจ้า จนกว่าข้าพเจ้าจะได้ตอบจดหมายของท่าน และจด- หมายนั้นก็มิได้มีข้อความสำคัญอย่างใดเลย มิหนำซ้ำท่านได้สั่งบ่าว ของท่านให้มาบอกกับข้าพเจ้าโดยอ้างพระนามของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ว่าท่านจะต้องการพบกับข้าพเจ้าโดยฉะเพาะ และว่าเหตุที่ข้าพเจ้าควร จะมีความนับถือและนบนอบต่อพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้น จึงเปนการ จำเปนทีข้าพเจ้าจะต้องให้ท่านพบกับข้าพเจ้าโดยทันที อย่าให้เสีย เวลาได้ต่อไปดังนี้ แต่ความจริงในเรื่องนี้ข้าพเจ้าก็ได้บอกกับท่าน โดยตรงแล้วว่า ข้าพเจ้ายังไม่มีเวลาว่างพอที่จะอ่านหนังสือของท่านได้ และหนังสือฉะบับนี้มิใช่เปนหนังสือสำคัญอะไรเมื่อไร แต่เปนหนังสือ ทีท่านเขียนเล่น ไม่ได้เซ็นชื่อใคร และท่านได้สั่งมาให้ข้าพเจ้าอ่าน เปนการส่วนตัว โดยเปนทีเข้าใจกันว่า เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านแล้วเมื่อใด ก็จะได้คืนให้แก่ท่าน และหนังสือฉะบับนี้ข้าพเจ้าได้เข้าใจอยู่เสมอว่า เปนเรื่องสำหรับจะแกล้งทำให้ข้าพเจ้าตกใจเท่านั้น หนังสือที่ท่านได้มีมาถึงข้าพเจ้า เขียนเปนภาษาเสปญและส่ง มาจากด่านภาษีนั้น ท่านจะให้ข้าพเจ้ารับอย่างไรได้ เพราะในหนังสือ ฉะบับนั้นท่านได้กล่าวว่า ท่านไม่ใคร่จะพอใจในการทีท่านได้มอบ ธุระทั้งปวงถวายไว้แก่พระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้า ท่านจึงหัน มาขอให้ข้าพเจ้าช่วย แต่ที่จริงในชั้นต้นเมื่อข้าพเจ้าเต็มใจจะช่วย เหลือท่าน ท่านก็นิยอมรับความช่วยเหลือของข้าพเจ้า และข้อนี้


๒๒ ท่านก็ได้พูดต่อหน้าข้าพเจ้าเอง แต่ข้อที่ข้าพเจ้าน้อยใจและเสียใจที่สุด นั้น ก็คือท่านได้หาโอกาสอยู่เสมอทีจะทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ข้าพเจ้า ไม่ควรจะเชื่อถือลายพระราชหัตถ์ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส โดยที่ท่าน คอยขัดขวางในข้อความที่ข้าพเจ้า ได้มีหนังสือไปกราบทูลพระเจ้ากรุง ฝรั่งเศส และซึ่งพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ทรงพระกรุณาโปรดเห็นชอบ ด้วยแล้ว คือว่าเมื่อข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างไรซึ่งเปนประโยชน์ต่อ ราชการของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสแล้ว ท่านก็คอยขัดขวางอยู่เสมอ มิได้เว้นเลย แต่ขอย้อนกลับมาพูดถึงข้อความทีข้าพเจ้าได้ออกปากพูดมาแล้ว เถิด คือ ข้าพเจ้าได้สัญญาไว้กับบาดหลวงตาชาด์ ว่าจะได้จัดการให้กอง ทหารฝรั่งเศสได้เข้าประจำการรักษาตำบลบางกอก และเมืองมะริด โดยทันที แต่จะต้องให้ทำความตกลงในบางข้อซึ่งจำเปนเสียก่อน เช่นในเรื่องกระทำสัตย์สาบาลเปนต้น ข้าพเจ้าก็ได้ตั้งใจที่จะจัดการ ให้เรื่องเหล่านี้ได้สำเร็จไปทุกอย่าง เพราะข้าพเจ้ามีความไว้ใจใน ตัวท่าน ทั้งข้าพเจ้ามีความนับถือและรักใคร่ประเทศฝรั่งเศส และมี ความรักใคร่นับถือพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสด้วย และความรักใคร่นับถือ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนี้ มิใช่จะรักใคร่และนับถือฉะเพาะในเวลาปัตยุบัน นี้เมื่อไร แต่คงจะรักใคร่นับถือพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส จนกว่าชีวิต ข้าพเจ้าจะหาไม่ ครั้นข้าพเจ้าได้เห็นพวกพลทหารได้ป่วยเจ็บเปน


๒๓ อันมาก ข้าพเจ้าก็ได้ตั้งใจให้ปลูกบ้านอย่างสบายสำหรับให้พวก ทหารที่ป่วยได้พักอาศัยได้ และเมื่อข้าพเจ้าได้ให้ปลูกบ้านสำหรับ พลทหารนั้นก็ยังไม่ได้ตกลงทำสัญญากันจนข้อเดียวเลย ในส่วนกอง ทหารฝรั่งเศสทีมิได้เจ็บป่วยนั้น ข้าพเจ้าก็ต้องการให้กองทหารได้เข้า ประจำการ และให้แม่ทัพและนายทหารได้เข้าไปอยู่ในตำบลบางกอก โดยไม่ต้องให้กองทหารกระทำสัตย์สาบาล และโดยไม่ต้องรอให้ พระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้าได้ทรงแรติไฟหนังสือสัญญานั้นเลย อีกประการ ๑ จะมีใครว่าได้บ้างว่าได้ในหนังสือของข้าพเจ้าไม่มี ข้ออย่างใดที่จะกล่าวให้ทราบ ว่าในที่เหล่านี้จะมีกองทหารชาติอื่น นอกจากทหารฝรั่งเศส เพราะในจดหมายฉะบับนั้นเอง ข้าพเจ้าก็ ได้กล่าวไว้ว่า ก่อนทีจะรับกองทหารฝรั่งเศสเข้าไปรักษาในที่เหล่า นั้นได้ จะต้องทำความตกลงกันในบางข้อเสียก่อน แต่ข้าพเจ้าก็ หาได้กะกำหนดไม่ว่าจะต้องตกลงในข้อใดอย่างไร ทั้งข้าพเจ้าก็ได้ ขอให้ท่านได้ตรึกตรองเปนธุระในเรื่องนี้ก่อนเรื่องอื่น ๆ ทั้งหมด ครั้น ภายหลังท่านได้จัดให้บาดหลวงตาชาด์ขึ้นมาหาข้าพเจ้า และท่านก็ ได้มอบให้บาดหลวงตาชาด์ มีอำนาจที่จะมาจัดการพูดจากับข้าพเจ้า อย่างเด็จขาด ในเรื่องที่จะให้กองทหารฝรั่งเศสได้เข้าไปประจำการ รักษาตำบลบางกอกและเมืองมะริด ฝ่ายข้าพเจ้าก็ได้จัดให้บาดหลวง ตาชาด์ย้อนกลับไปหาท่าน โดยมอบอำนาจให้บาดหลวงตาชาด์ได้ ไปทำความตกลงกับท่านในเรื่องนี้ ตามข้อความที่ข้าพเจ้าได้เขียน


๒๔ จดไปให้บาดหลวงตาชาด์นั้นแล้ว ก็เมื่อการเปนเช่นนี้ ท่านจะสงสัยอย่างไรได้ ว่าพระเจ้ากรุง สยามได้หลอกท่าน ว่าในตำบลบางกอกและเมืองมะริดไม่มีทหารไทย หรือทหารชาติอื่นซึ่งเปนสัมพันธมิตร์ เพราะท่านเองก็มิได้กะกำหนด จำนวนพลทหารไทยว่าจะให้มีมากน้อยสักเท่าไร แต่ท่านกลับได้ขอร้องให้พลทหารไทยและพลทหารชาติอื่น ได้อยู่ในความบังคับบัญชา ของผู้ว่าราชการเมืองซึ่งต้องเปนคนชาติฝรั่งเศสเสียซ้ำไป เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าขอให้ท่านตรึกตรองดู หรือใคร ๆ นอกจาก ท่านก็ได้ ขอให้ตรึกตรองและพิเคราะห์ดู ว่าการที่พระเจ้ากรุงฝรั่ง เศสได้ส่งกองทหารมาถวาย ต่อพระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้านั้น พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ถูกหลอกลวงอย่างไรหรือไม่ และขอให้พิเคราะห์ ดูต่อไปว่า ถ้าความได้ปรากฎเซ็งแซ่แล้ว ว่าพระเจ้าแผ่นดินผู้เปนใหญ่ ได้ทรงพระอุตสาหะส่งกองทหาร มาในหนทางอันไกลและโดยเปลืองพระ ราชทรัพย์มากมาย เพื่อหวังประโยชน์การสาสนาของพระผู้เปนเจ้า เช่นนี้ จะเปนการเสียพระเกียรติยศได้ทีเดียวหรือ และเมื่อทราบกันต่อ ไปว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสผู้ทรงไว้ซึ่งยุติธรรม และซึ่งมีพระเดชา นุภาพใหญ่ยิ่งอันทราบกันทั่วโลก จนถึงกับพระเจ้ากรุงสยามได้ทรง ไว้วางพระราชหฤทัย จึงได้ทรงมอบหมายให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ได้ทรงปกครองบ้านเมือง ๒ แห่ง อันนับว่าเปนลูกกุญแจของประเทศ สยามดังนี้ จะเปนการเสื่อมเสียพระเกียรติยศของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส


๒๕ ได้ละหรือ ต่อนี้ไปจะได้กล่าวถึงข้อ ๒ ในจดหมายฉะบับนั้นต่อไป ท่านได้มุ่งหมายไว้ตั้งแต่เมื่อไรที่จะตัดตอนที่สำคัญ ๆ ในพระราช อาณาเขตร์ออกจากพระอำนาจ ของพระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้า จนถึงจะไปยอมให้พระเจ้ากรุงสยาม ได้ทรงมีอำนาจที่จะมอบที่เหล่า นั้นให้กองทหารฝรั่งเศสรักษาได้ ในชั้นต้นท่านก็ได้อ้อนวอนกราบไหว้ขอให้พระเจ้ากรุงสยามได้ ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในความซื่อสัตย์สุจริตและความกล้าหาญของ พวกฝรั่งเศส และขอให้พระองค์ได้ทรงมอบให้พวกฝรั่งเศสได้พิทักษ์ รักษาตำบลบางกอก แต่การทีจะให้รักษาบางกอกนี้ก็มิใช่จะรักษา ในพระนามของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเมื่อไร แต่จะให้รักษาในพระนาม ของพระเจ้ากรุงสยาม คือว่าให้พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงบังคับบัญชา ปกครองพวกฝรั่งเศส ดุจพวกฝรั่งเศสเปนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระ องค์เช่นนั้น เพราะเหตุว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ทรงปราบทวีปยุโรป ให้ได้อยู่เย็นเปนศุข มิได้มีพระราชดำริทีจะมาตีบ้านเมืองในฝ่าย ประเทศอินเดียแล้วดังนี้ แต่ครั้นมาอ่านข้อความในจดหมายของท่านนั้น ก็ดูประหนึ่งว่า ข้าพเจ้ามิได้คิดในประโยชน์ของพระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้า และ ดูเหมือนว่า ข้าพเจ้าได้เอาพระราชไมตรีมาแอบอ้างเพื่อเอาลูกกุญแจขอ ประเทศสยามยกให้แก่ฝรั่งเศสดังนี้ ถ้าหากว่าข้าพเจ้าไม่เชื่อในความ


๒๖ ยุติธรรมของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสแล้ว ก็น่าจะทำให้ข้าพเจ้าคิดไปเช่น นั้นได้ เพราะท่านก็ยืนยันอยู่ว่าพระเจ้ากรุงสยามไม่มีอำนาจที่จะส่ง กองทหารให้เข้าไปอยู่ในตำบลบางกอกและเมืองมะริดได้ จนที่สุดท่าน ก็เห็นว่าจะยอมให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระเจ้ากรุงสยามอยู่ในที่เหล่านี้ ไม่ได้ และท่านก็ยังยืนยันต่อไปอีกว่า พระเจ้ากรุงสยามไม่มีอำนาจ ที่จะตั้งแต่งผู้ว่าราชการเมืองให้ไปรักษาในทีเหล่านี้ได้ การที่ท่านกล่าว ออกความเห็นเช่นนี้เปนการผิดความยุติธรรม และเปนการหมิ่นประ- มาทอย่างยิ่ง ถ้าแม้ว่าพระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้าได้ทรงทราบ และเจ้านายข้าราชการผู้ใหญ่ได้ทราบในข้อความที่ท่านกล่าวนี้แล้ว ก็ น่ากลัวจะเกิดเรื่องใหญ่โตขึ้นได้ และเรื่องนี้ก็อาจจะทรงทราบแลทราบ กันได้ เพราะความคิดของท่านนี้มิได้ระวังให้เปนการลับลี้เลย แต่ได้ พูดจาอย่างเปิดเผย จนทีสุดก่อนที่ท่านจะได้พูดกับข้าพเจ้า ท่านก็ได้ เขียนเปนจดหมายจากกรุงศรีอยุธยาไว้แล้ว ในเรื่องที่จะให้มองซิเออร์ ดูบอัง ออกไปยังเมืองมะริดนั้น มอง ซิเออร์ ดูบรูอัง จะได้พากองทหารไปเท่าจำนวนที่ควรจะเอาไปได้อันพอแก่ราชการของพระเจ้ากรุงสยาม แต่ก่อนทีจะให้มองซิเออร์ ดูบรูอัง ไปเมืองมะริดนั้น ท่านกับข้าพเจ้าจะต้องทำความตกลงกันเสียก่อนว่า มองซิเออร์ ดูบรูอัง จะได้รับตำแหน่งหน้าที่เปนผู้ว่าราชการเมืองมะริด จากพระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้าสถานใด ในข้อที่เกี่ยวด้วยการสาสนานั้น ข้าพเจ้าจะไม่พูดถึงเลย เพราะ


๒๗ ความต้องการของท่านไม่เปนการสมควร ข้าพเจ้าจะขอเพียงแต่ให้ ท่านได้รู้สึกไว้ว่า ท่านสังฆราชก็ดี ท่านวิแกอาปอศตอลิ ก็ดี ท่าน มิชันนารีทั้งหลายก็ดี มิได้ยอมเลยทีจะทำตามความแนะนำของท่าน เพราะท่านเหล่านี้มีความเห็นพร้อมกันว่า ในเวลานี้การของสาสนาใน ประเทศนี้กำลังเดินสู่ทางเจริญอยู่แล้ว แต่ข้าพเจ้าก็อดไม่ได้ที่จะแสดงให้ท่านทราบว่า ข้าพเจ้ามีความ ยินดีนักทีท่านต้องการให้งดประเทศที่พระราชทานสิทธิต่าง ๆ ให้แก่ สาสนา แต่ในจดหมายของท่านก็ยังมีความหวังอยู่ ในการที่ข้าพเจ้า ได้ผัดเพี้ยนไม่รีบร้อนประกาศสิทธิต่าง ๆ นั้น เปนการที่จะทำให้พระ เจ้ากรุงฝรั่งเศสไม่พอพระทัยเปนอันมาก เหตุที่ข้าพเจ้ามีความนับถือและจงรักภักดีต่อพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส คอยหาช่องโอกาสที่จะทำการ ทั้งปวงให้ถูกพระทัยนั้นเอง จึงให้ท่านหาโอกาสทำให้ข้าพเจ้าได้ รับความลำบากและหนักใจ ท่านจึงแกล้งเปลี่ยนความคิดความเห็น บ่อย ๆ เช่นนี้ เมื่อข้าพเจ้าได้ตอบคำถามของท่าน ซึ่งท่านถามมาเปนการ ส่วนตัวนั้นแล้ว ข้าพเจ้าขอร้องต่อท่านในหน้าที่ท่านเปนเสนาบดีบ้าง คือ ขอให้ท่านได้ปฎิบัติการให้ตรงตามวาจาของท่าน ซึ่งท่านได้สั่งให้ บาดหลวงตาชาด์มาบอกกับข้าพเจ้า และซึ่งข้าพเจ้าได้นำความกราบ ทูลต่อพระเจ้ากรุงสยามแล้ว กล่าวคือเมื่อข้าพเจ้าได้พบกับบาดหลวง ตาชาด์ที่เมืองลพบุรีเปนครั้งแรก บาดหลวงตาชาด์ได้บอกกับข้าพเจ้า


๒๘ ว่า ท่านได้สั่งให้บาดหลวงตาชาด์มาบอกกับข้าพเจ้าว่า พระเจ้ากรุง ฝรั่งเศสได้ส่งพลทหาร นายทหาร เอนยินเนียปืนใหญ่ ลูกแตก และ ปืนสำหรับยิงลูกแตก มาถวายพระเจ้ากรุงสยามนายของข้าพเจ้า เพื่อให้กองทหารเหล่านี้มารักษาบางกอกในพระนามของพระเจ้ากรุง สยามนายของข้าพเจ้า หาได้ให้มารักษาบางกอกในพระนามของพระ เจ้ากรุงฝรั่งเศสไม่ พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงรับของถวายเหล่านี้จาก ราชมิตร์และพระสหาย โดยทรงรู้สึกในพระคุณของพระเจ้ากรุงฝรั่ง เศสแล้ว จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้เจ้าพนักงานจัดการถ่ายเครื่องอาวุธ ยุทธภัณฑ์เหล่านี้ลงจากเรือ เพราะในของต่าง ๆ เหล่านี้สิ่งที่ทรงเห็น ว่าเปนสิ่งสำคัญและจำเปนที่สุดก็คือ ปืนสำหรับยิงลูกแตกและลูกแตก แต่ผะเอิญของ ๒ อย่างนี้ท่านก็กักไว้หาส่งไปถวายไม่ ข้าพเจ้าเปนผู้มีหน้าที่ที่จะต้องกราบทูลเรื่องต่างๆเหล่านี้ให้ทรง ทราบทุกอย่าง เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าเมื่อได้ทรงทราบว่าการ ต่าง ๆ มิได้เปนไปตามพระราชโองการแล้ว ก็คงจะทรงประหลาดพระ ทัยเปนอันมาก และคงจะมีพระราชดำรัสห้ามมิให้ข้าพเจ้าได้ทำความ ตกลงกับท่านอย่างใด จนกว่าตัวท่านเองจะได้ปฎิบัติการให้ตรงวาจา ของท่าน ซึ่งท่านได้กล่าวไว้แทนพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสทุกประการ ขอให้ท่านตรึกตรองดูให้ดีเถิด ว่าเมื่อเสนาบดีได้รับอำนาจจาก พระเจ้าแผ่นดินของตัว มารับรองการต่าง ๆ กับพระเจ้าแผ่นดินของเราผู้ เปนพระราชมิตร์ และเสนาบดีผู้นั้นได้มากลับกลอกเปลียนวาจาของตัว


๒๙ เช่นนี้ จะเปนการสมควรแล้วหรือ เพราะเรื่องนี้เปนเรื่องที่ทราบกัน ทั่วไปแล้ว (เซ็น) ฟอลคอน เมืองลพบุรี วันที่ ๑๒ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๖๘๗ (พ.ศ. ๒๒๓๐)


วันที่ ๑๓ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๖๘๗ (พ.ศ. ๒๒๓๐) เราผู้มีชื่อช้างท้ายนี้ คอนซตันซ์ตินฟอลคอน เชอวาเลียของ เครื่องราชอิสสริยาภรณ์ เซนต์มีเชล ออกยา เคานต์ ผู้เปนเสาบดีว่า การทั่วไปของพระเจ้ากรุงสยามฝ่ายหนึ่ง และคลอด เซเบเรต์ เชอวา- เลียเซนเยอร์เดอบูเล เอกอัครราชทูตพิเศษของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส มาเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุงสยาม และเปนผู้อำนวยการ ทั่วไปผู้หนึ่งของราชบริษทฝรั่งเศสฝ่ายอินเดียตวันออกอีกฝ่ายหนึ่ง ได้ พร้อมกันทำความตกลงตามข้อความซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ กล่าวคือ ข้าพเจ้าคอนซตันซ์ตินฟอลคอนสัญญาว่า ข้าพเจ้าจะได้เข้าหุ้น กับริษัทฝรั่งเศสฝ่ายอินเดียตวันออก คิดเปนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ปอนด์ (ฝรั่งเศส) เงินนี้ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะได้ส่งไปมอบไว้กับผู้เก็บเงินของ บริษัทณะกรุงปารีศ และข้าพเจ้ายอมที่จะขาดทุนหรือได้กำไรเหมือน กับคนอื่น ๆ ที่มีหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทนี้ตลอดเวลาที่พระผู้เปนเจ้าจะโปรด ให้เปนไป และตลอดเวลาที่บริษัทยังคงตั้งอยู่ และข้าพเจ้าเซเบเรต์ใน


๓๐ นามของข้าพเจ้าเอง และในนามของบริษัทโดยทีข้าพเจ้าเปนผู้อำนวยการ อยู่ในบริษัทนั้น ยอมรับให้คอนซตันซ์ตินฟอลคอนได้เข้าหุ้นตามข้อ ความทีได้กล่าวมาข้างบนนั้นแล้ว และข้าพเจ้าขอสัญญาว่า เมื่อ ข้าพเจ้าได้กลับไปถึงกรุงปารีศเวลาใด หรือเมื่อบริษัทจะได้ทราบถึง ข้อความในหนังสือสัญญานี้เวลาใด บริษัทจะได้จัดการทำบาญชีราย รับรายจ่ายในและบาญชีเงินทีเหลือ ซึ่งนับว่าเปนทุนของบริษัทจนถึงวัน ที ๑ เดือนมกราคม ค.ศ. ๑๖๘๘ (พ.ศ. ๒๒๓๐ ) เปนสิ้นเขตต์ ซึ่งเปนวัน ทีเซนเยอร์คอนตันซ์ตินฟอลคอนจะได้เข้าหุ้นกับบริษัทเปนต้นไป ยก ตัวอย่างเช่นว่า เมื่อได้ทำบาญชีเงินคงเหลือเสร็จแล้ว ต่างว่าเงินทุน ของบริษัทยังคงเหลืออยู่ ๓,๐๐๐,๐๐๐ โดยมิได้คิดเอากำไรต่าง ๆ มาบวก ทบด้วย และฝ่ายเซนเยอร์คอนซตันซ์ตินฟอลคอนได้เอาเงินส่วนตัวมา เข้าหุ้นกับบริษัท ๓๐๐,๐๐๐ ปอนด์ (ฝรั่งเศส) ก็ต้องนับว่าเซนเยอร์ คอนซตันซ์ตินฟอลคอนมีหุ้นอยู่ ๑ ส่วนใน ๑๑ ส่วนในต้นทุนของบริษัท ๓,๐๐๐,๐๐๐ ปอนด์นั้น และจะต้องถือว่าต้นทุนจริงของบริษัทเปนเงิน ๓,๓๐๐,๐๐๐ ปอนด์ (ฝรั่งเศส) หรือถ้าแม้ว่าต้นทุนของบริษัทจะมาก กว่าหรือน้อยกว่า ๓,๐๐๐,๐๐๐ ปอนด์ เซนเยอร์คอนซตันซ์ตินฟอลคอน ก็คงจะได้ส่วนได้และส่วนเสียเท่าจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ปอนด์ ทีได้เข้าหุ้น กับบริษัท และคงจะต้องขาดทุนหรือได้กำไรตามส่วนมากและน้อยโดย เอาจำนวนเงินที่เข้าหุ้นนั้นเปนหลักเกณฑ์ ท่านเซนเยอร์คอนซตันซ์ตินฟอลคอน จะได้ส่วนแบ่งประจำปี


๓๑ เหมือนกับเข้าหุ้นอื่น ๆ ตามส่วนเงินทุนที่ได้ลงไปปีละ ๑๐ เปอเซนต์ ทุก ๆ ปี และกำไรทีเหลือจากการแบ่ง ๑๐ เปอร์เซนต์นั้นจะยังมีอยู่อีก มากน้อยเท่าใด จะได้บวกทบเปนทุนของบริษัทต่อไป และกำไร ๑๐ เปอร์เซนนี้บริษัทจะได้จ่ายให้แก่ผู้แทนของคอนซตันซ์ตินฟอลคอน ณะกรุงปารีศทุก ๆ ปีเสมอไป ข้าพเจ้าเซเบเรต์ขอกำชับและสั่งในนามของบริษัท แก่บรรดา ผู้อำนวยการและเจ้าพนักงานทั้งปวงของบริษัทอันอยู่ในทีต่าง ๆ ในทิศ ตวันออกของแหลมเคปออฟกุดโฮบ ให้กระทำตามคำสั่งของเซนเยอร์ คอนซตันซ์ตินฟอลคอน ซึ่งจะได้สั่งต่าง ๆ อันจะเปนประโยชน์แก่ การของบริษัทุกอย่าง จนกว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะได้สั่งมาเปน อย่างอื่นต่อไป สัญญานี้ทำที่เมืองลพบุรี เมื่อวันที ๑๕ ธันวาคม ค.ศ. ๑๖๘๗ (พ.ศ. ๒๒๓๐) ( เซ็น ) เซเบเรต์, ฟอลคอน

สำเนาพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสยาม ทูลท่านผู้มีอำนาจซึ่งแวดล้อมด้วยบารมีทั้งปวง ละซึ่งมีพระ เดชานุภาพสมพระเจ้าแผ่นดินผู้เปนใหญ่ ซึ่งทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม อันพระเดชานุภหาพและพระบารมีได้แผ่


๓๒ ไปทั่วโลก โดยที่ทรงมีชัยชนะแก่พระเจ้าแผ่นดินในทวีปยุโรปหลาย พระองค์ จนพระเจ้าแผ่นดินเหล่านี้จำเปนต้องมากราบทูลอ้อนวอนขอ ให้สงบศึกศึก และขอเปนพระราชไมตรีด้วย หลุยผู้เปนใหญ่พระเจ้าแผ่นดินแห่ง ประเทศฝรั่งเศสและประเทศ นาวา ผู้เปนพระสหายที่รักของหม่อมฉัน และซึ่งพระเปนเจ้าอันมีอำ- นาจปกครองดินฟ้าอากาศจงโปรดให้พระชนม์พรรษาได้ยั่งยืน ทั้งโปรด ให้ราชตระกูลได้เจริญ เพื่อให้เปนเกียรติยศต่อพระสหายของพระองค์ ด้วยหม่อมฉันได้ มีความเสียใจเปนอันมากทีได้ทราบข่าวมาว่า พระองค์ได้ทรงพระประชวร แต่พระราชไมตรีที่มีติดต่อในระหว่างเราทั้ง ๒ ก็มีอำนาจเปรียบประดุจแสงพระอาทิตย์ในทิศตวันออก ซึ่งกระทำให้ เมฆหมอกในพื้นแผ่นดินกระจายไปหมด เพราะฉะนั้น ที่กองทัพ เรือของพระองค์ได้มาถึงนั้น ก็ได้กระทำให้ความเศร้าโศกเสียใจใน หทัยของหม่อมฉันดับสูญหายไปหมดดุจเดียวกัน และที่พระองค์ได้ส่ง กองทหาร นายทหารและบาดหลวงมานั้น ก็เปนการสมใจที่หม่อมฉัน ได้นึกหวังไว้ทุกอย่าง การที่พระองค์ได้ทรงแสดงพระราชไมตรีเช่นนี้ เปนการจับใจ หม่อมฉันยิ่งนัก จนหม่อมฉันไม่ทราบว่าจะทำประการใด จึงให้พระ องค์ทรงเห็น ในความนับถือรักใคร่ของหม่อมฉันในความพอใจของ หม่อมฉัน การทั้งปวงที่พระองค์ได้จัดทำมาแล้ว เปนสิ่งน่าชมเชยสรร-


๓๓ เสริญยิ่งนัก และหม่อมฉันก็ไม่ทราบว่าจะควรทำประการใดจึงจะต้อง ด้วยพระราชประสงค์ของพระองค์ และข้อความในพระราชสาสน์ของ พระองค์ ก็เต็มไปด้วยใจความซึ่งทำให้รู้ชมเชยพระองค์เปนอันมาก เพราะฉะนั้น ในเวลานี้หม่อมฉันจะตอบอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจะขอ ให้พระเจ้าได้โปรดบันดาลให้พระองค์ได้ทรงมีพระชนมายุยืนยาว และ ขอให้พระองค์ได้ทรงพระเจริญทุกประการ อันกองทหารทีพระองค์ได้ส่งมาถวายหม่อมฉันนั้น หม่อมฉันได้ จัดให้เข้ารักษาในที่สำคัญที่สุดในพระราชอาณาเขตร์ของหม่อมฉัน ซึ่ง เปนแห่งที่ข้าศึกอาจจะมาทำร้ายได้ และได้มอบให้กองทหารนั้นได้ รักษาและคอยต่อสู้กับข้าศึก ให้สมกับทีเราทั้ง ๒ ได้เปนพระราช ไมตรีซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้เปนเรื่องที่พระองค์จะทรง วางพระทัยได้แล้ว ส่วนบาดหลวงที่บาดหลวงเดอลาเชซ ผู้ล้างบาปของพระองค์ได้ ส่งมาให้หม่อมฉันนั้น หม่อมฉันก็ได้รับไว้แล้ว และเปนการที่สมความ ปรารถนาของหม่อมฉันทุกประการ หม่อมฉันจึงได้ทำตราตั้งพระราช ทานโรงเรียน ๑ หลังโบสถ์ ๑ หลัง และของทั้งปวงยกให้ให้แก่บาด- หลวง อันเปนสิ่งที่จำเปนสำหรับให้พวกบาดหลวงได้ตั้งการสอนสาสนา ในพระราชธานีลพบุรีของหม่อมฉันแล้ว และในไม่ช้าก็จะได้จัดการให้ พวกบาดหลวง ได้ไปตั้งการสอนสาสนาที่กรุงเทพพระมหานครเหมือนกัน และขอพระองค์จงวางพระทัยเสียเถิดว่า หม่อมฉันคงจะได้บำรุงอุด ๓

๓๔ หนุนพวกบาดหลวงทั้งในปัตยุบันและในอนาคต เพราะหม่อมฉันถือว่า พวกบาดหลวงเหมือนกับ เปนเครื่องมือสำหรับเปนสะพานเชื่อมให้พระ ราชไมตรในระหว่างเราทั้ง ๒ ได้ติดต่อสนิทสนามต่อไปในภายหน้า จึง ทำให้หม่อมฉันมีความรักใคร่พวกบาดหลวงมากขึ้น หม่อมฉันมีความยินดีเปนอันมากที่ได้รับรองมองซิเออร์เดอลา- ลูแบและมองซิเออร์เซเบเรต์ ซึ่งพระองค์ได้ส่งมาเปนเอกอัครราชทูต พิเศษของพระองค์ ทั้งมีความยินดีทีได้รับของต่าง ๆ ซึ่งพระองค์ได้ มอบให้มองซิเออร์เดอลาลูแบ และมองซิเออร์เซเบเรต์นำมาถวาย หม่อมฉัน แต่ข้อต่าง ๆ ซึ่งเปนข้อจำเปนสำหรับให้พระราชไมตรีใน ระหว่างพระองค์และตัวหม่อมฉันได้สนิทสนมกันจริง ๆ ยังหาได้ตกลง กันเปนเด็ดขาดไม่ หม่อมฉันจึงจำเปนต้องส่งบาดหลวงตาชาด์ออกไป เพื่อให้ไปทำความตกลงในข้อต่าง ๆ ตามสมควร และเพื่อให้บาดหลวง ตาชาด์ไปกราบทูลต่อพระองค์ให้ทรงทราบในความนับถือและรักใคร่อัน จริงใจของหม่อมฉันซึ่งได้มีพระองค์ กับหม่อมฉันได้จัดให้บาดหลวง ตาชาด์นำของต่างๆอันมีในฝ่ายทิศตวันออกไปถวายต่อพระองค์แทนตัว หม่อมฉัน เพื่อเปนพยานให้เห็นในความปรารถนาของหม่อมฉัน ที่จะ ต้องการให้พระราชไมตรีในระหว่างเราทั้ง ๒ ได้เพิ่มทวีขึ้นชั่วกัลปาวสาน การที่หม่อมฉันได้แต่งให้บาดหลวงตาชาด์ออกไปเฝ้าพระองค์ครั้งนี้ หม่อมฉันหาได้ตั้งแต่ให้เปนตำแหน่งอะไรออกไม่ เพราะเกรงว่าผู้ที่ มีใจไม่สุจริตจะติเตียนบาดหลวงตาชาด์ได้ และถ้ามีคนติเตียนบาดหลวง


๓๕ ตาชาด์แล้วก็เท่ากับติเตียนตัวหม่อมฉันเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการที่จะ รับรองบาดหลวงตาชาด์ให้สมกับพระเกียรติยศของหม่อมฉัน จะควร สถานใดก็แล้วแต่พระองค์จะเห็นควรเถิด เมื่อบาดหลวงตาชาด์ได้ไป กราบทูลอย่างไร ก็ขอพระองค์จงเชื่อฟังถ้อยคำของบาดหลวงตาชาด์ เถิด เพราะหม่อมฉันได้มอบธุระให้บาดหลวงตาชาด์ไปทำความตกลง ในข้อต่าง ๆ กับพระองค์ เพื่อความหวังและความประสงค์ของเรา ทั้ง ๒ ฝ่ายจะได้สำเร็จลุล่วงไปแล้ว ขอพระเจ้าผู้สร้างสิ่งทั้งปวงจงโปรดให้พระองค์ได้มี พระชนม์ยืน ยาว และขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ จะต้องพระราชปรสงค์สิ่งใดก็ ขอให้ได้ดังพระราชประสงค์ทุกประการ และขอให้พระองค์ได้ทรงมี ชัยชนะศัตรูหมู่ปัจจามิตร์ ให้เปนทีนิยมยินดีของพระสหายทั่วไป เพื่อพระองค์จะได้ ทรงปกครองราชอาณาเขตร์ประเทศบ้านเมืองฝรั่งเศส และนาวาให้อยู่เย็นเปนสุขสืบไป และขอให้พระองค์ได้ทรงมีชัยให้ สมความปรารถนาของหม่อมฉัน ผู้เปนพระสหายที่รักของพระองค์ ด้วยเทอญ เขียนณพระราชวังลพบุรีของหม่อมฉัน ณวัน แรม ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปี ๒๒๓๑ ตรงกับวันที่ ๒๒ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๖๘๗



๓๖ รายงานมองซิเออร์เดฟาช เขียนที่บางกอก ลงวันที ๒๗ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๖๘๗ (พ.ศ. ๒๒๓๐) ด้วยสะเบียงอาหารทีได้บรรทุก ลงเรือโครมาแด และเรือลาลัวนั้น เปนของที่ไม่ดี จึงให้พลทหารล้มตายลง แต่เหตุที่พลทหาร ได้ล้มตายไปนั้น จะโทษสะเบียงอาหารไม่ดีอย่างเดียวไม่ได้ เพราะ ประจวบกับเวลาที่ไม่ได้รับความเอื้อเฟื้อจากผู้ว่าราชการเมืองบาตาเวีย เลย จนถึงกับต้องรีบออกเรือจากเมืองนั้น ทั้งเรือลานอมานด์ก็พลัด กันด้วย และเรือลานอมานด์ลำนี้ได้มาถึงเมืองไทยภายหลังเรืออื่น ๆ ถึง ๖ อาทิตย์ เมื่อได้ออกเรือจากเมืองบาตาเวียนั้น มองซิเออร์เดฟาชได้พูด กับบาดหลวงตาชาด์ว่า มีความประหลาดใจในการที่ท่านราชทูต ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสมิได้ให้บาดหลวงตาชาด์ล่วงหน้าไปที่กรุงศรี อยุธยาก่อน เพื่อจะได้ไปจัดการให้เตรียมรับกองทหารในเวลาที่เรือ ไปถึง แต่ท่านราชทูตของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสก็ได้จัดการดังว่ามานี้ โดย มิได้บอกกล่าวหรือหารือมองซิเออร์เดฟาชอย่างใด พอราชทูตคิด ขึ้นมาก็จัดทำไปที่เดียว มองซิเออร์เดฟาชจึงเห็นว่า เปนการจำเปนทีจะต้องเอาคำสั่งมา ให้ท่านราชทูตดู เพื่อต่อไปในภายหน้าราชทูตจะได้ไม่ทำการเช่นนี้อีก


๓๗ ราชทูตได้ขอให้มองซิเออร์เดฟาชจัดให้ มองซิเออร์โวลังไปด้วย พร้อมกับราชทูต แต่มองซิเออร์เดฟาชไม่ใคร่จะไว้ใจในมองซิเออร์ โวลังนัก จึงได้จัดให้มองซิเออร์เดอบรูอังไปแทน ครั้นมองซิ- เออร์เดอบรูอังได้พาบาดหลวงตาชาด์ไปส่งที่บางกอกแล้ว มองซิเออร์ เดอบรูอังก็กลับมารายงานให้ มองซิเออร์เดฟาชทราบในเหตุการณ์ ต่าง ๆ ตามที่ได้รู้ได้เห็นมาทุกประการ บาดหลวงตาชาด์ได้บรรทุกสะเบียงอาหารไปด้วยเปนอันมาก และได้รีบร้อนเดินทางอย่างเร็วที่สุด ได้เล่าให้มองซิเออร์เดอบูรอัง ฟังว่า พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงสัญญาว่าจะได้ทรงมอบบางกอกและ เมืองมะริดให้แก่พวกฝรั่งเศส และบาดหลวงตาชาด์ได้กำชับให้รีบส่ง คนทีเจ็บป่วยไปที่บางกอกโดยทันที เพราะที่บางกอกสะเบียงอาหาร บริบูรณทุอย่าง นอกจากนี้บาดหลวงตาชาด์หาได้เล่าอะไรให้มอง ซิเออร์เดอบรูอังฟังอีกไม่ มองซิเออร์เดฟาชจึงได้จัดให้มองซิเออร์เดอโบชังซึ่งเปนนายพัน ตรี แบ่งพลทหาร ๒๕ คน ให้คุมคนที่ป่วยเจ็บไป และได้สั่งมอง ซิเออร์เดอโบชังระวังการให้รอบคอบ และให้คอยสังเกตดูการ ทั้งปวง เมื่อกลับมาถึงก็ให้รายงานเรื่องต่าง ๆ ให้ทราบทุกอย่าง มองซิเออร์เดฟาชกล่าวว่า เมื่อบาดหลวงตาชาด์จะขึ้นไปยังกรุง ศรีอยุธยานั้น ท่านราชทูตได้มอบคำสั่งซึ่งราชทูตได้เซ็นชื่อไว้ในบาด หลวงตาชาด์ถือไป ในคำสั่งนั้นมีความว่า ราชทูตได้พากองทหาร


๓๘ ปืนใหญ่ ทหารปืนใหญ่ ลูกแตก และลูกกระสุนดินดำ มาสำหรับให้ ทำราชการของพระเจ้ากรุงสยาม แต่ที่ราชทูตได้กล่าวในคำสั่งเช่นนี้ ราชทูตก็รู้อยู่เต็มใจว่า ทหารปืนใหญ่ ๑๐ คนนี้จะต้องส่งกลับไป ประเทศฝรั่งเศสตามคำสั่ง ครั้นบาดหลวงตาชาด์ไปพบกับมองซิเออร์คอนซตันซ์เปนครั้ง ที ๒ แล้ว บาดหลวงตาชาด์ได้กลับมาและได้พูดจาสนทนาอยู่กับท่าน ราชทูตช้านาน มองซิเออร์เดฟาชเชื่อว่าในคราวที่บาดหลวงตาชาด์ กับราชทูตได้สนทนากันในครั้งนี้ ก็คงจะได้ทำความตกลงกันในข้อ ต่าง ๆ ด้วยเสียแล้ว จึงได้เชิญมองซิเออร์เดฟาชให้เข้าไปประชุมปรึกษาการต่าง ๆ ด้วย ครั้นราชทูตได้บอกข้อความต่าง ๆ ที่จะทำสัญญากันให้มองซิ- เออร์เดฟาชทราบนั้น ราชทูตจึงได้บอกให้มองซิเออร์เดฟาชทราบว่า พระเจ้ากรุงสยามมีพระราชประสงค์จะให้พลทหารไทย ๔๐๐ คน ช่วย กองทหารฝรั่งเศสรักษาบางบอก มองซิเออร์เดฟาชจึงได้บอกกับ บาดหลวงตาชาด์ว่า พระราชดำริของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสในเรื่องนี้มี อยู่ว่า ให้กองทหารฝรั่งเศสได้รักษาบางกอกโดยฉะเพาะ มิให้มีทหาร ชาติอื่น ๆ หรือให้คนหนึ่งคนใดเข้าไปปะปนกับทหารฝรั่งเศสอย่างใด ราชทูตจึงได้ถามมองซิเออร์เดฟาชว่า เท่าจำนวนพลทหารฝรั่ง เศสมีอยู่ในเวลานี้ มองซิเออร์เดฟาชจะรับผิดชอบในการรักษา บางบอกและเมืองมะริดได้แล้วหรือ มองซิเออร์เดฟาชจึงได้ตอบว่า


๓๙ จะยอมรับรักษาที่ทั้ง ๒ แห่งนี้ ถ้ารักษาไม่ได้แล้ว ก็จะยอมถวาย ศีร์ษะต่อพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและพระเจ้ากรุงสยาม เพราะฉะนั้นจึง ขอให้ราชทูตจงเชื่อใจเถิดว่า มองซิเออร์เดฟาชคงจะได้สั่งเสียการ งานทั้งปวงให้เปนที่เรียบร้อยทีเดียว แต่การที่จะเอากองทหารไทย ไปอยู่ปะปนกับทหารฝรั่งเศสนั้น มองซิเออร์เดฟาชจะยอมไม่ได้ ราชทูตจึงได้ถามมองซิเออร์เดฟาชว่า มองซิเออร์เดฟาชจะมี ความประสงค์อย่างไร และมองซิเออร์เดฟาชจะมีกำลังทีจะทำการ ได้หรือ มองซิเออร์เดฟาชจึงได้ตอบราชทูตว่า ถ้าการเรื่องนี้จัดไม่สำเร็จ แล้ว ก็จะยอมตามดีกว่า และมองซิเออร์เดฟาชเห็นว่า ในการเรื่องนี้ ถ้าคนกล้าหาญแล้ว ไม่เห็นจะต้องร้อนใจอย่างไร แต่คงจะทำการ ให้สำเร็จจงได้ มองซิเออร์เดฟาชเชื่อใจว่าในเรื่องนี้คงจะจัดทำได้ดีที่เดียว ถึง แม้ว่ากำลังพลทหารจะมีน้อยก็จริงอยู่ เพราะมีพลทหารทีจะใช้การ ได้เพียง ๒๘๐ คน เท่านั้นก็พอจะทำการให้สำเร็จได้ จริงอยู่ มองซิเออร์เดฟาชหาทราบไม่ว่าจะได้รับความช่วยเหลือ จากกองทัพเรือสักเพียงไร แต่มองซิเออร์เดฟาชก็เชื่อว่า คงจะไม่ ได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพเรือได้สักเท่าไรนัก ขอย้อนกลับกล่าวถึงอำนาจที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้พระราชทาน ให้แก่ราชทูตอีกครั้ง ๑


๔๐ มองซิเออร์เดอลาลูแบได้แสดงตัวว่า ตนมีความชำนาญในการ ใช้กระบี่เท่ากับชำนาญในการใช้ปากกา แล้วมองซิเออร์เดอลาลูแบ จึงเอาคำสั่งมาให้มองซิเออร์เดฟาชดู ซึ่งปรากฎว่ามองซิเออร์เดอลา ลูแบมีอำนาจทีจะมาจัดการได้ทุกอย่าง มองซิเออร์เดอลาลูแบ จึงได้พูดกับมองซิเออร์เดฟาชว่า ถ้าจะเกิดศัตรูขึ้นแล้ว มองซิเออร์ เดอลาลูแบ จะเปนธุระ ปราบพวกศัตรูเหล่านั้น ด้วยตนเองให้หมดสิ้นไป ให้จงได้ และมองซิเออร์เดอลาลูแบได้พูดต่อไปว่า ตัวมองซิเออร์ เดอลาบูแบเอง กับทั้งมองซิเออร์เซเบเรต์และบาดหลวงตาชาด์ จะไม่ ยอมเปนอันขาด ที่จะเปิดช่องให้กองทหารและกองทัพเรือของพระเจ้า กรุงฝรั่งเศสได้ถูกทำลายเปนอันตรายลงไปได้ และถ้าไทยไม่ยอมรับ กองทหารฝรั่งเศสแล้ว มองซิเออร์เดอลาลูแบก็ไม่มีหนทางอย่างใด นอกจากจะพากองทหารนั้นกลับไปประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น มองซิเออร์เดฟาชจึงได้ตอบราชทูตทั้ง ๒ ว่า ตามความคิดอันนี้ มองซิเออร์เดฟาชไม่เห็นด้วยเลย และมองซิเออร์เดฟาชสมัคที่จะจัด การในเรื่องนี้ต่อไป ท่านราชทูตทั้ง ๒ หาพอใจไม่ในการที่ตัวได้จัดทำมาแล้ว จน ถึงกับได้เกิดแตกร้าวขึ้นกับบาดหลวงตาชาด์ มองซิเออร์เดอลาลูแบจึงคิดอ่านหาทางที่จะกลับงดการต่างๆ ที ตัวได้จัดทำไปแล้ว จึงได้พูดกับมองซิเออร์เดฟาชและมองซิเออร์เดอ บรูอังว่า มองซิเออร์เดอลาลูแบหามีอำนาจที่จะจัดการอย่างใด ๆ ได้


๔๑ ไม่ เพราะฉะนั้นเมื่อมองซิเออร์เดฟาชเห็นว่าจะทำอะไรได้ ก็ให้จัด ทำไปตามชอบใจก็ได้ ถ้ามองซิเออร์เดฟาชไม่ได้มองซิเออร์เดอลาลูแบไว้แล้ว ก็ น่ากลัวมองซิเออร์เดอลาลูแบคงจะกลับคำและงดการทั้งหมด และคง จะคิดต่อสู้กับพระเจ้ากรุงสยามและเสนาบดีไทย แต่ส่วนตัวมองซิเออร์ เดฟาชนั้น มีความเชื่อใจในเสนาบดีของพระเจ้ากรุงสยามทุกอย่าง แต่มองซิเออร์เดฟาชเชื่อว่าคงจะไม่มีใครเห็นพ้อง กับความคิด ของมองซิเออร์เดฟาช เพราะฉะนั้นจะต้องจำเปนจำใจดำเนินการไป ตามเหตุผลที่มีอยู่ในเวลานั้น จนกว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะได้สั่งมา เปนเด็ดขาดต่อไป มองซิเออร์เดฟาชเชื่อว่าคงจะมีคนพอใจในหนังสือสัญญาว่าด้วย การค้าขาย ซึ่งมองซิเออร์เซเบเรต์ได้ทำไว้กับมองซิเออร์คอนซตันซ์ ในการทำหนังสือสัญญาเรื่องการค้าขายนั้น มองซิเออร์เดฟาชไม่ได้ คิดแก่ความเหนื่อยเหน็จเลย และมองซิเออร์เดฟาชเชื่อว่าที่ได้ตกลง กันทำสัญญาดังนี้ได้ ก็โดยมองซิเออร์เดฟาชได้ช่วยเหลือเปนอันมาก พระเจ้ากรุงสยามมีพระราชประสงค์จะเอาพลทหารปืนใหญ่ไว้ใช้ ราชการในเมืองไทยต่อไป เพราะราชทูตฝรั่งเศสได้กราบทูลถวายไว้ แล้ว มองซิเออร์เดฟาชได้ส่งคำสั่งของพระเจ้ากรุงสยามมาพร้อมกับ รายงานนี้ และคิดจะส่งนายทหารปืนใหญ่กลับไปยังประเทศฝรั่งเศสเสีย พระเจ้ากรุงสยาม มีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร์ปืนสำหรับ


๔๒ ยิงลูกแตกและลูกแตก และต้องพระราชประสงค์ทอดพระเนตร์ปืน ใหญ่ทีใหญ่ทีสุด ๓ กระบอกด้วย ในเรื่องนี้ไทยได้มาด้วยอ้อนวอนขอให้ มองซิเออร์เดฟาชส่งปืนใหญ่และลูกแตกไป ให้พระเจ้ากรุงสยามทอด พระเนตร์ตามที่มีพระราชประสงค์ไว้ เพราะฉะนั้นจึงเปนอันตกลงจะ ได้ส่งของเหล่านี้ไปยังบางกอกภายใน ๕ หรือ ๖ วัน เรื่องนี้เปนเรื่องที่ราชทูตฝรั่งเศส ได้กราบทูลถวายไว้ต่อพระเจ้า กรุงสยามแล้ว เพราะฉะนั้นมองซิเออร์เดฟาชจึงไม่กล้าขัด ด้วยเกรง ว่าพระเจ้ากรุงสยามจะกริ้ว และจะเลยไม่ไว้พระทัยพวกฝรั่งเศสด้วย ในการที่ได้ส่งปืนใหญ่และแตกไปถวายพระเจ้ากรุงสยามนั้น คงจะ มีคนหาความใส่มองซิเออร์เดฟาชได้ เพราะมองซิเออร์เดฟาชเปนผู้ที่ ได้พาพลทหารปืนใหญ่ ๑๐ คนขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยาด้วยตัวเอง การที่มองซิเออร์เดฟาชได้ทำเช่นนี้ ก็เพราะเหตุว่ามองซิเออร์ เดอลารีซึ่งได้ไปด้วยราชทูต ได้มาหามองซิเออร์เดฟาชและได้มา บอกให้มองซิเออร์เดฟาชพาทหารปืนใหญ่และปืนใหญ่ขึ้นไปถวายพระ เจ้ากรุงสยาม เพราะมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร์ ถ้ามองซิเออร์ เดอลารีไม่ได้มาพูดเช่นนี้ มองซิเออร์เดฟาชก็คงไม่พาขึ้นไปเปนแน่ พลทหารปืนใหญ่ได้ตายไปด้วยโรคโลหิตเสีย ๒ คน ถึงระวังรักษา อย่างไรก็ไม่ฟัง มองซิเออร์เดฟาชจะเปนผู้รับรอง ในความประพฤติของพลทหาร ปืนใหญ่เหล่านี้ และรับรองว่าถ้าพลทหารเหล่านี้ยังอยู่ในความ


๔๓ ปกครองของมองซิเออร์เดฟาชตราบใด พลทหารเหล่านี้คงจไม่ประ- พฤติตัวให้คนทั้งหลายติเตียนได้เปนแน่ ตั้งแต่กองทหารได้มาถึงเมืองไทยนั้น พระเจ้ากรุงสยามได้ทรง เปนพระธุระให้เลี้ยงดูตลอดมา แต่การที่ทรงเลี้ยงกองทหารเช่นนี้ ไม่ ช้าก็จะเลิกอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าจะคอยป้องกันรักษากันอย่างไรก็ดี แต่พลทหารก็ได้ล้ม ตายอยู่เสมอ ตั้งแต่ได้ออกเรือจากเบรสต์จนได้มาถึงเมืองไทย ได้มีทหารตายไปแล้วถึง๑๔๔ คน และในเวลานี้ก็ยังป่วยอยู่อีกถึง ๔๐ คน ถ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสมีพระราชประสงค์จะให้การทีได้ทรงพระ ราชดำริไว้เปนการลุล่วงสำเร็จไปแล้ว มองซิเออร์เดฟาชก็เห็นว่า จำเปนจะต้องมีนายทหารและพลทหารที่อดทนแก่ความเหน็ดเหนื่อยได้ มากกว่านี้ และนายทหารกับพลทหารนั้นจะต้องเปนคนทีชำนาญวิชา ทหารราบ เพราะในเวลานี้มองซิเออร์เดฟาชมองไม่เห็นว่าจะมอบธุระ ให้ผู้ใดไปรักษาที่แห่งใดได้เลย มองซิเออร์ดาลีมานั้นเปนคนทีซื่อตรงจริงอยู่ แต่ทีทำการใน ตำแหน่งนายพันตรีนั้น ไม่เหมาะแก่หน้าที่ เพราะฉะนั้นพวกพลทหาร จึงได้รับความเดือดร้อน เมื่อมองซิเออร์เดฟาชได้ถูกเรียกให้ไปยังราชสำนักสยามนั้น ก็ ต้องมอบหน้าท่ของมองซิเออร์ดาลีมาให้มองซิเออร์เดอโบชังทำการโดย อยู่ในความบังคับบัญชาของมองซิเออร์เดอแวเดอซาล เพราะมอง-


๔๔ ซิเออร์เดอโบชังเปนทหารชั้นเก่า เข้าใจการงานหน้าที่ของตัว ได้ดี คนไทยก็มีความใคร่ จึงสมควรที่มองซิเออร์เดอโบชังจะได้ รับบำเหน็จเหมือนกับนายพันตรีทั้งหลายในประเทศฝรั่งเศสบ้าง มองซิเออร์เดฟาชขอให้ระลึกดูว่าผลประโยชน์รายได้ของนายทหารฝรั่งเศสเปนจำนวนน้อย มองซิเออร์เดฟาชได้สั่งมองซิเออร์เดอโบชัง ทำบาญชีจำนวน ปืนใหญ่และลูกกระสุนดินดำซึ่งมีอยู่ในป้อมนั้นแล้ว ปืนใหญ่นั้นถ้าจะ ดูภายนอกก็ดูงดงามดี แต่ความจริงเปนปืนทีเก่าและสึกมากแล้ว มองซิเออร์เดฟาช ได้สั่งให้มองซิเออร์โวลังส่งแผนทีป้อมทั้ง ๒ ป้อมมาด้วย เพราะป้อมทั้ง ๒ นั้นชำรุดหักพังมาก มองซิเออร์เดฟาช ได้เข้าไปประจำอยู่ในป้อมที่ชำรุดน้อยที่สุด และจะได้พยายามซ่อมแซมทำให้แข็งแรงให้จงได้ มองซิเออร์โวลังได้ขัดคำสั่งในเรื่องทีให้ลงมือสร้างป้อม เพราะ เหตุว่าในแนวที่จะทำป้อมนั้นมีวัดอยู่วัด ๑ และมองซิเออร์คอนซตันซ์ ไม่ยอมให้รื้อวัดนั้นลง จนกว่าจะได้กราบทูลให้พระเจ้ากรุงสยามได้ ทรงทราบเสียก่อน ถ้าจะดูตามแผนที่ป้อมซึ่งมองซิเออร์โวลังได้เขียนไว้นั้น ก็คง จะเห็นว่าได้ว่า กว่าจะได้สร้างแล้วเสร็จบริบูรณ์ก็คงจะกินเวลานานมาก เพราะคนพื้นเมืองนี้เปนคนทีอ่อนแอและเกียจคร้านมาก มองซิเออร์คอนซตันซ์กับมองซิเออร์เดฟาชได้พร้อมกันไปตรวจ


๔๕ พื้นที่ที่จะสร้างป้อมนี้แล้ว มองซิเออร์คอนซตันซ์ก็เห็นว่า การที่จะ สร้างป้อมนี้จะต้องกินเวลานานมาก จึงได้ทำความตกลงกับเอนยิน- เนียให้ทำแผนที่เสียใหม่ และให้คิดตัดทอนแผนทีเดิมให้เล็กลงไปเสีย บ้าง เพราะฉะนั้นกว่ามองซิเออร์เดฟาชจะได้ยายไปอยู่ป้อมใหม่ ก็คง จะมีเวลาพอที่จะได้รับข่าวจากประเทศฝรั่งเศสอีกครั้ง ๑ มองซิเออร์คอนซตันซ์ นั้นก็ดูเอาใจใส่ดีที่สุด แต่ถึงมองซิเออร์คอนซตันซ์จะทำอย่างไร การสร้างป้อมนี้ก็ต้องช้าอยู่นั้นเอง เพราะ เหตุว่าติดขัด้วยเครื่องมือไม่ใคร่จะเพียงพอ เพราะฉะนั้นมอซิเอร์เดฟาช จึงขอให้ส่งเอนยินเนียจากประเทศ ฝรั่งเศสโดยเรือลำแลกที่จะออกสักคน ๑ และขอให้เอนยินเนียที่จะส่ง มาใหม่นี้เปนผู้ที่ชำนาญการงาน และเปนคนที่เอาใจใส่หมั่นเร่งให้การ ที่จะทำนั้นได้แล้วโดยเร็ว เพราะมองซิเออร์โวลังไม่มีวุฒิพอที่จะทำได้ มองซิเออร์เดอบรูอังจะได้ออกไปเมืองมะริดในเร็ว ๆ นี้ และถึง แม้ว่าพลทหารจะยังไม่สู้สบายดีก็จริงอยู่ แต่ก็จะต้องรีบเร่งให้ได้ไป โดยเร็วที่สุดให้จงได้ มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้บอกกับมอซิเออร์เดฟาชว่า พลทหาร ที่จะส่งไปยังเมืองมะริดนั้นสัก ๒ หมวด (กอมปานี) ก็พอแล้ว แต่มอง ซิเออร์เดฟาชจะได้มอบพลทหารให้มองซิเออร์เดอบรูอังคุมไป ๓ หมวด เพื่อจะได้กำลังพอที่จะต่อสู้และป้องกันเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ มองซิเออร์ปลันเตียได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว เพราะฉะนั้นที่มอง


๔๖ ซิเออร์เดฟาชได้มอบกองทหารที่มองซิเออร์ปลันเตียเคยบังคับอยู่ ให้ บุตรมองซิเออร์เดฟาชบังคับต่อไปนั้น หวังใจว่าจะไม่เปนข้อทีจะมี ใครติเตียนได้ เพราะบุตรของมองซิเออร์เดฟาชก็มีความจงรักภักดี ต่อการงานเหมือนกับคนอื่น ๆ เหมือนกัน บาดหลวงตาชาด์ได้เชิญกระแสรับสั่งของพระเจ้ากรุงสยาม ให้ มาขอนายทหาร สำหรับให้ไปบังคับบัญชากองทหารของพระเจ้ากรุง สยามต่อไป ในเรื่องนี้มองซิเอออร์เดฟาชเห็นว่าไม่ควรจะขัด เพราะ เมื่อมองซิเออร์เดฟาชได้เฝ้าพระเจ้ากรุงสยามครั้งใด พระเจ้ากรุง สยามก็ได้ทรงเมตตากรุณาแก่มองซิเออร์เดฟาชทุกคราว พระเจ้ากรุงสยามได้โปรดพระราชทานเสื้ออย่างงามให้แก่มอง- ซิเออร์เดฟาช ๑ เสื้อ และได้พระราชทานเสื้อให้แก่มองซิเออร์เดอ บรูอังอีก ๑ เสื้อด้วย มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ให้สายสร้อยทองคำฝังเพ็ชร์ ๑ เมล็ดแก่ มองซิเออร์เดฟาช ๑ สาย เพราะฉะนั้นมองซิเออร์เดฟาชจึงหวังใจว่า เมื่อเรือได้มาถึงเมืองไทยแล้ว ก็คงจะได้มีโอกาสหาของตอบแทน มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ มองซิเออร์เดฟาชได้ส่งบาญชีเงิน ซึ่งมองซิเออร์เซเบรต์ได้ มอบไว้กับมองซิเออร์เดอลาซาลมา ๑ ฉบับ แต่ในบาญชีนี้หามีเงิน เดือนของมองซิเออร์เดฟาชไม่ มองซิเออร์เดฟาชจึงขอร้องให้ได้รับเงินเดือนโดยเรือลำแรกที่จะ


๔๗ มาถึง และขอยกเว้นไม่ต้องเสียค่าระวางสุรา ๑๐ ถังด้วย เพราะสุรา นี้เปนของจำเปนสำหรับนายทหารและพลทหารที่เจ็บป่วย และในเวลา นี้ทหารก็ล้มตายอยู่เสมอ ต้องฝังกันอย่างน้อยคน ๑ ทุก ๆ วัน มองซิเออร์เดอลาซาลซึ่งรับหน้าที่เปนคอมมีแซนนั้น เปนคนที่เอา ใจใส่การงานจริง แต่มองซิเออร์เดฟาชเห็นว่าเปนคนทีทำการไม่ว่อง ไวเลย เพราะบางทีไม่ควรจะเปนเรื่องที่จะต้องขัดข้องเลย แต่มอง- ซิเออร์เดอลาซาลก็คอยขัดข้องเสมออยู่เปนนิตย์ เมื่อแรกมองซิเออร์เดฟาชได้มาถึงเมืองไทยนั้น มองซิเออร์- คอนซตันซ์ได้รับ ๆ สั่งพระเจ้ากรุงสยาม ตั้งให้มองซิเออร์เดฟาชเปน กาวนาเยเนราล แต่มองซิเออร์เดฟาชเห็นว่าตำแหน่งนี้ไม่เหมาะ จึง ได้บอกบาดหลวงตาชาด์ ให้ไปบอกคืนแก่มองซิเออร์คอนซตันซ์เสียแล้ว มองซิเออร์เดฟาชหาได้กระสัตย์สาบานไม่ แต่ข้อความที่ ราชทูตได้จดไว้สำหรับให้มองซิเออร์เดฟาชสาบานนั้น หาตรงกับข้อ ความทีมีในคำสั่งเดิมไม่ ราชทูตทั้ง ๒ หา ได้มอบสำเนาหนังสือ สัญญาไว้ให้แก่มองซิ- เออเดฟาชไม่ มองซิเออร์เดฟาชก็ได้ของสำเนาไว้ แต่ท่านราชทูต ก็หาให้ไม่ ในเรื่องเครื่องอาวุธต่าง ๆ และพลทหารปืนใหญ่ ซึ่งได้บรรทุก ลงเรือที่เมืองเบรสต์นั้น มองซิเออร์เดฟาชเห็นว่าเครื่องอาวุธเหล่านี้ เท่ากับเปนของสำหรับประดับเรือนอันหาประโยชน์มิได้ เพราะเครื่อง


๔๘ อาวุธเหล่านั้นเปนของใช้ไม่ได้ และมองซิเออร์เดฟาชกล่าวว่า อาวุธ ต่าง ๆ ทีได้บรรทุกลงเรือนั้น หาใช่อาวุธที่เจ้าพนักงานได้ให้มอง- ซิเออร์เดฟาชดูที่เมืองเบรสต์ไม่ และพลทหารปืนใหญ่ก็ได้ล้มตายตาม ทางเสีย ๓ คนแล้ว และทหารทีตายทั้ง ๓ นี้ก็ผะเอิญเปนทหารทีดีมี ความชำนาญกว่าคนอื่นด้วย เมื่อท่านราชทูตทั้ง ๒ ได้ขึ้นไปทีบางกอกนั้น มองซิเออร์เดฟาช หาได้ขึ้นไปพร้อมด้วยไม่ เพราะมองซิเออร์เดฟาชได้ป่วยมาตามทาง มองซิเออร์เดอลาลูแบ จึงได้พูดจาปรึกษาหารือกับมองซิเออร์เดอแว เดอซาลอยู่ช้านาน แล้วมองซิเออร์เดอลาลูแดบได้พูดกับมองซิเออร์- เดอแวเดอซาลว่า ถ้ามองซิเออร์เออร์เดฟาชไม่ได้อยู่ประจำการแล้ว ถึงจะสั่งการงานมาอย่างไร ก็อย่าให้เชื่อฟังถ้อยคำของมองซิเออร์- เดฟาชเลย มองซิเออร์เดอลาลูแบได้ขยายความ จริงใจให้มองซิเออร์เดอ- โบชังฟังว่า มองซิเออร์เดอโบชังมีหนทางที่จะหวังเปนนายร้อยโท ได้ เพราะเหตุว่า มองซิเออร์เดฟาชเปนคนที่หลงในของต่าง ๆ ที่ พระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทาน และหลงมองซิเออร์คอนซตันซ์จน เสียคนไปแล้ว ในข้อนี้มองซิเออร์เดฟาชหวังใจว่าคนทั้งหลายคงจะได้ให้ความ ยุติธรรมแก่ตัว และหวังใจว่าคนทั้งสองหลายจะรู้สึกว่ามองซิเออร์เดฟาช หาได้เปนคนที่มีนิสัยอย่างข้อหาของมองซิเออร์เดอลูแบไม่ และคง


๔๙ จะรู้สึกกันได้ดีว่าทำอย่างไร ๆ มองซิเออร์เดฟาช ก็คงจะไม่ขาดความ ซื่อสัตย์สุจริตต่อพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเปนแน่

กรุงศรีอยุธยา รายงานมองซิเออร์เดฟาช ลงวันที่ ๒๗ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๖๘๗ (พ.ศ. ๒๒๓๐) มองซิเออร์เดฟาชมิได้เกี่ยวข้องด้วย ในการทำหนังสือสัญญาทาง พระราชไมตรี ซึ่งมีข้อความตกลงกันว่า ทหารไทยจะได้ประจำอยู่ ที่บางกอกพร้อมกับกองทหารฝรั่งเศส เพราะมองซิเออร์เดฟาชได้ กล่าวอยู่เสมอว่า เชื่อว่าพระราชดำริของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสมิได้มี พระราชประสงค์ทีจะให้ทหารชาติอื่น ๆ อยู่ในที่นั้น นอกจากพวก ทหารฝรั่งเศสพวกเดียวเท่านั้น มองซิเออร์เดอบรูอังกำหนดจะได้ออกไปเมืองมะริดในเร็ว ๆ ใน แล้ว และมองซิเออร์เดฟาชคิดจะจัดทหารมอบไปกับมองซิเออร์เดอ บรูอัง ๓ หมวด ( กอมปานี ) พระเจ้ากรุงสยามมีพระราชประสงค์จะเอาทหารปืนใหญ่ไว้ใช้ราช การในเมืองไทย มองซิเออร์เดฟาช จึงได้ส่งคำสั่งของพระเจ้ากรุง สยามซึ่งสั่งในเรื่องนี้ มาให้ดูพร้อมด้วยรายงานนี้แล้ว ในระหว่างทีเดินทางมาจากประเทศฝรั่งเศสนั้น พลทหารได้ล้ม ๔


๕๐ ตายไปรวม ๑๔๓ คน การที่ทหารได้ตายเช่นนี้ ก็เพราะสะเบียงอาหาร ที่ได้บรรทุกลงเรือนั้นเปนของทีมีได้ มองซิเออร์เดฟาชจะต้องการพลทหารทีมีความทนทานในความ เหน็จเหนื่อยได้มากกว่านี้ และจะต้องการนายทหารซึ่งชำนิชำนาญ มากกว่านายทหารที่ส่งมาคราวนี้ มองซิเออร์ ดาลีมา นั้นเปนคนที่ซื่อสัตย์สุจริตก็จริงอยู่ แต่ที่ทำ การในหน้าที่นายร้อยเอกและนายพันตรีนั้น ไม่เหมาะแก่หน้าที เมื่อมองซิเออร์ เดฟาช ได้ขึ้นไปยังราชสำนักไทยนั้น ก็ต้อง มอบให้มองซิเออร์เดอโบชัง ซึ่งเปนนายพันตรี ได้บังคับการทั่วไป แต่คงให้อยู่ในความบังคับบัญชาของมองซิเออร์เดอแวเดอซาล เพราะ มองซิเออร์ เดอโบชังนี้เปนนายทหารที่ดีและกล้าหาญด้วย ผลประโยชน์รายได้ของนายทหารเหล่านี้ เปนจำนวนเล็กน้อย เพราะฉะนั้นควรเจ้าพนักงานจะต้องดำริในเรื่องนี้ต่อไป มองซิเออร์เดฟาชขอให้ตั้งเงินเดือนสำหรับผู้ช่วยนายพันตรีขึ้นอีก คน ๑ เพราะมองซิเออร์ เดฟาช ได้ตั้งตำแหน่งนี้ขึ้นไว้แล้ว โดยเหตุที่มองซิเออร์ ปลังเตีย ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วนั้น มอง ซิเออร์ เดฟาช จึงได้จัดให้ เชอวาเลียเดฟาช ได้บังคับการทหารซึ่งมอง ซิเออร์ ปลังเตีย เคยบังคับมานั้นต่อไปแล้ว และการที่มองซิเออร์ เด- ฟาชได้จัดการต่อไปดังนี้ ก็หวังใจว่าเจ้าพนักงานผู้ใหญ่คงจะเห็น ชอบด้วย


๕๑ มองซิเออร์ โวลัง ได้กะที่สำหรับสร้างป้อมที่บางกอก แต่กะที่ ใหญ่โตทากนัก มองซิเออร์ เดฟาช จึงเกรงว่าถ้าได้สร้างตามที่กะไว้ นี้ ก็จะต้องเสียเวลาหลายปีจึงจะทำให้แล้วเสร็จได้ มองซิเออร์ เดฟาช จะต้องการเอายินเนียอีกคน ๑ เพราะมอง ซิเออร์ โวลัง มีวุฒิไม่เหมาะแก่เมืองนี้ บาทหลวง ตาชาด์ ได้มาขอนายทหารสำหรับให้ไปบังคับบัญชา กองทหารไทย มองซิเออร์ เดฟาช เห็นว่าเปนการที่ไม่ควรจะขัด จึง ได้จัดนายทหารให้ตามประสงค์ เมื่อมองซิเออร์ เดฟาช ได้มาเมืองไทยนั้น มองซิเออร์คอนซ- ตันซ์ได้รับพระราชโองการจากพระเจ้ากรุงสยาม ตั้งมองซิเออร์เด- ฟาช เปนกาวนาเยเนราล แต่ครั้นมาภายหลังมองซิเออร์ เดฟาชเห็น ว่าการทีรับหน้าทีนี้เปนการไม่เหมาะ จึงได้บอกให้บาดหลวง ตาชาด์ ไปคืนตำแหน่งนี้แก่มองซิเออร์ คอนซตันซ์แล้ว แลมองซิเออร์เดฟาช หาได้กระทำสัตย์สาบานไม่ อาวุธต่าง ๆ ที่เจ้าพนักงานในเมืองเปรสต์ได้ส่งมาให้นั้น เปน อาวุธที่ใช้ไม่ได้ และมองซิเออร์เดฟาชยืนยันว่า อาวุธที่ส่งมานี้ หาใช่อาวุธที่มองซิเออร์เดคลูโซได้ให้ดูก่อนออกจากเมืองเปรสต์ไม่ พวกทหารปืนใหญ่ซึ่งมองซิเออร์เดฟาชได้พามาด้วยนั้น ได้ตาย ไปเสีย ๓ คน แล้ว และทหารที่ตายไปนั้นก็ฉะเพาะเปนทหารที่มีความ ชำนาญที่สุดด้วย เพราะฉะนั้นจำเปนจะต้องส่งทหารปืนใหญ่เพิ่มไป


๕๒ ให้อีกจึงจะได้ มองซิเออร์เดฟาชขอว่า ถ้าเรือได้ออกจากประเทศฝรั่งเศสเวลา ไร ก็ขอให้ส่งเงินเดือนของมองซิเออร์เดฟาชให้ไปด้วย และมองซิ- เออร์เดฟาชขอให้ยกเว้นอย่าต้องเสียค่าระวางเรือในสุรา ๑๐ ถัง และ สุรานี้ก็ขอให้ส่งไปโดยเรือลำแรกทีจะไปเมืองไทยด้วย ในเรือมองซิเออร์เดอบรูอังนั้นมองซิเออร์เกฟาชเห็นว่า ทาง ดีที่ควรจะปฎิบัตินั้น ก็คือควรแสดงความไว้วางใจในมองซิเออร์ คอนซตันทุกอย่าง ในเวลาที่ไปอยู่ในเมืองมะริดแล้ว มองซิเออร์เดฟาชได้ทราบมาว่า ทีเมืองมะริดนั้นมีปืนใหญ่อยู่ ๖๔ กระบอกแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเปนที่จะต้องเอาปืนใหญ่ทีมา จากประเทศฝรั่งเศสส่งไปยังเมืองมะริด มองซิเออร์เดอบรูอังได้ส่งบาญชีเครื่องมือต่าง ๆ ทีจำเปนจะ ต้องใช้ในเมืองมะริด และขอร้องให้มองซิเออร์เดอบรูอังได้รับมอบหมาย ตั้งเปนคอปอรัลด้วย มองซิเออร์เดอแวเดอซาลร้องว่า ในการที่จะสร้างป้อมที่บาง- กอกขึ้นนั้น มองซิเออร์คอนซตันซ์คัดค้านไว้ต่าง ๆ มองซิเออร์ เดอแวเดอซาลจึงคิดเห็นว่า มองซิเออร์คอนซตันซ์คงจะไม่คิดให้สร้าง ป้อมจริง บาดหลวงเยซวิต ซึ่งเปนบาดหลวงประจำกองทหารที่บางกอก นั้น ในเวลาสวดมนต์หาได้ใช้ว่า โฮตซูเปราเร (hostes superare)


๕๓ ในเวลาสวดให้พระเจ้าแผ่นดิน ไม่ มองซิเออร์เดฟาชเห็นว่าควรให้ ผู้ใหญ่บังคับบาดหลวงให้ใช้คำนี้จึงจะถูก มองซิเออร์เดอโบชังได้ส่งบาญชีปืนใหญ่ อาวุธต่าง ๆ และ ลูกกระสุนดินดำซึ่งมีอยู่ในป้อมเมืองไทย มองซิเออร์เดอโบชังได้พยายามฝึกหัดพลหทารอยู่เสมอเปนนิตย์ มองซิเออร์เดอโบชังขอได้รับเงินเพิ่มขึ้นบ้าง มองซิเออร์ดาลีมาร้องกล่าวโทษว่า มองซิเออร์เดฟาช ได้มอบ ให้มองซิเออร์เดอโบชังได้บัคับกองทหารที่รักษาบางกอก ซึ่งเปน การทำให้มองซิเออร์ดาลีมาได้รับความเสียหาย เครื่องอาวุธที่พลทหารใช้อยู่นั้นเปนของที่ใช้ไม่ได้ ปืนเล็กนั้น ก็ไม่เท่ากัน บางกระบอกสั้นก็มี บางกระบอกยาวก็มี และเครื่อง สำหรับใช้กับปืนนั้นก็ขาดบกพร่องทุกอย่าง จนที่สุดสายสะพายปืน ก็ไม่มี เขนงสำหรับใส่ดินปืนและกระบี่ก็ไม่มี มองซิเออร์ดาลีมา จึงขอให้ส่งของเหล่านี้ออกไปให้ด้วย มองซิเออร์โดดีแบร้องว่า ตั้งแต่ได้มาอยู่ในเมืองไทยนั้น ไม่มี ความสบายเลย เพราะเจ็ยฃบป่วยอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นมองซิเออร์ โดดีแบ จึงขอนุญาตกลับไปทำราชการในประเทศฝรั่งเศสต่อไป มองซิเออร์เดอลามาร้องว่า เมื่อเชอวาเลียเดอโชมองได้สั่งให้มองซิเออร์ลามาอยู่ในเมืองไทยนั้น เชอวาเลียเดอโชมองได้ทำ ให้มองซิเออร์เดอลามาเข้าใจว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะได้พระราช


๕๔ ทานเงินเดือนให้แก่มองซิเออร์เดอลามาในตำแหน่งเอนยินเนีย มอง ซิเออร์เดอมาลาหวังใจเช่นนี้ จึงไม่ยอมรับตำแหน่งเจ้าเมืองมะริด ซึ่งพระเจ้ากรุงสยามจะพระราชทานให้ ทั้งจะพระราชทานยศให้เปน ออกพระด้วย มองซิเออร์เดอลามาจึง ขอให้ได้รับตำแหน่งหน้าที่แทนมองซิ- เออร์ปลังเตีย มองซิเออร์เดอลามาได้ส่งแผนทีต่าง ๆ ซึ่งได้เขียนไว้ในระหว่าง ที่อยู่ในเมืองไทย ท่านสังฆราชเดอเมเตโลโปลิศ ได้มอบอำนาจให้แก่บาดหลวง เยซวิต ๒ รูป สำหรับให้ไปจัดการต่าง ๆ ในเมืองตังเกี๋ยได้ ท่านสังฆราชเดอเมเตโลโปลิศได้ช่วยเหลือบาดหลวง ๒รูปนี้ทุก อย่าง และท่านสังฆราชหวังใจว่า บาทหลวง ๒ รูปนี้คงจะได้จัดการ ให้สาสนาคริสเตียนได้แพร่หลายออกไปมาก ท่านบาดหลวงเดอลียอน ขอให้นำความกราบทูลต่อพระเจ้า กรุงสยาม และให้เรียนมองซิเออร์คอนซตันซ์ให้ทราบว่า ถ้าพระ เจ้ากรุงสยาม และมองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ปกครองและอุดหนุนพวก มิชันนารีแล้ว ก็จะเปนการทีพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะทรงพอพระทัยเปน อันมาก มองซิเออร์เดอลาซาล รายงานมาเมื่อวันที่ ๒๖ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๖๘๗ (พ.ศ. ๒๒๓๐) ว่าได้จัดเตรียมเข้าสารไว้พอให้กองทหาร


๕๕ รับประทานได้ ๑๘ เดือน และได้จัดหาที่นอนและเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับโรงพยาบาลไว้เสร็จแล้ว มองซิเออร์คอนซตันซ์ ได้ให้จัดทำที่นอนสำหรับพลทหารรวม ๔๕๐ อัน เพื่อป้องกันมิให้พลทหารได้ถูกไอดินได้ ฝ่ายพระเจ้ากรุงสยามก็ทรงรับสั่งถามถึงข่าวพลทหารที่ป่วยเจ็บ อยู่เสมอ และได้มีรับสั่งห้ามไม่ให้แพทย์ชาติอังกฤษออกจากบางกอก จนกว่าพลทหารจะหายป่วยเปนปกติแล้ว มองซิเออร์เดอลาซาลได้ไปสืบทีเจ้าพนักงานของบริษัท ถึง ราคาสะเบียงอาหารสำหรับเลี้ยงพวกพลทหาร จึงให้ทราบว่าเมื่อคิด ราคาของจำเปนแท้ ๆ สำหรับเลี้ยงพลทหารแล้ว ก็ตกอยู่ในราววัน ๑ อย่างน้อย ๔ แฟรง และเงินนี้ฉะเพาะแต่เครื่องรับประทานเท่านั้น หาได้ คิดค่าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มไม่ แต่ถึงดังนั้นมองซิเออร์เดอลาซาลจะหา ผู้ใดที่จะรับหาอาหารเลี้ยงพลทหารตามอัตรานี้ไม่ได้ จึงจำเปนต้อง จัดทำเอาเอง มองซิเออร์เดอลาซาลกล่าวว่า พระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทานเงินแก่ทหารปอตุเกตซึ่งทำราชการอยู่นั้นถึงวันละ ๑๐ แฟรง เครื่องแต่งตัวของพลทหารนั้นต้องการแต่เพียงเสื้อผ้าบาง ๆ เท่า นั้น เพราะอากาศร้อนมาก เพราะฉะนั้นถ้าจะเอาผ้าริ้วของฝั่งคอรอมัน- เดลมาตัดเสื้อชั้นนอก และเอาผ้าด้ายเทศมาตัดเปนเสื้อเชิดก็ใช้ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเจ้าพนักงานในประเทศฝรั่งเศส ได้ส่งหมวก


๕๖ รองเท้า ถุงเท้าด้ายหยาบสีน้ำเงิน กระบี และเข็มขัด มาให้กอง ทหารใช้ก็พอแล้ว พลทหารบางคนได้เอาเสื้อผ้าของตัวออกขายเสียแล้ว มอง- ซิเออร์เดอลาซาล จึงขอให้มองซิเออร์เดฟาชออกคำสั่งห้ามเสีย เพื่อ พลทหารจะได้ไม่เอาเสื้อผ้าไปขายเสียอีกต่อไป เหล้าบรั่นดีส่งมานั้นได้รั่วเสียเปนอันมาก มองซิเออร์เดอ- ลาซาลจึงเห็นว่าไม่จำเปนที่จะต้องส่งมาอีก เพราะสุราในเมืองนี้ก็ พอจะใช้ได้อยู่แล้ว ตั้งแต่กองทหารฝรั่งเศสได้ถึงเมืองไทยนั้น พระเจ้ากรุง สยามก็ได้โปรดพระราชทานเลี้ยงดูตลอดมาจนถึง วันที่ ๘ เดือน มกราคม ค.ศ. ๑๖๘๘ (พ.ศ. ๒๒๓๐) จึงงด เพราะมองซิเออร์เดฟาช เห็นว่าไม่ควรจะต้องให้ พระเจ้ากรุงสยามต้องเลี้ยงดูกองทหารต่อไป โดยเกรงมองซิเออร์คอนซตันซ์ จะเปนทีไม่พอใจที่ต้องใช้จ่ายเงินสำหรับ เลี้ยงกองทหารเช่นนี้ พลทหารปืนใหญ่ทีมองซิเออร์เดฟาชได้กักไว้ในเมืองไทยนั้น ไม่ พอใจที่จะอยู่ในเมืองไทยต่อไป จึงเปนข้อน่าวิตกว่าพลทหารปืนใหญ่ เหล่านี้ คงจะหนีไปเข้าหาพวกฮอลันดาบ้างเปนแน่ ถ้าส่งกองทหารมาเมืองไทยต่อไปแล้ว ก็จำเปนจะต้องทำ ข้อบังคับข้นสำหรับความปฎิบัติในระหว่าง นายทหารและเจ้าพนักงานใน เรือ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความลำบาก และการขัดข้องต่าง ๆ ขึ้นได้ เพราะโดยปกตินายทหารและนายเรือมักจะไม่ใคร่ปรองดองกันเลย

๕๗ สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามผู้เปนใหญ่ ถึง สมเด็จพระเจ้ากรงฝรั่งเศส นาวาร์ ผู้เปนใหญ่ พระองค์มีอำนาจอันสูงสุง ล้อมไปด้วยบารมีซึ่งได้มาจากพระ พระเจ้าแผ่นดินที่มีชื่อที่สุด ทรงไว้ซึ่งควายุติธรรม และทรงอยู่ใน ศีลในธรรม พระองค์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังโดยที่ประสูติในราชตระกูล ซึ่งมีพระ เดชานุภาพแผ่ไปทั่วโลก พระองค์ผู้ซึ่งพระเจ้าโปรดปรานนัก โดยที่ ทรงมีชัยชนะแก่พระมหาฏษัตริย์ในทวีปยุโรปหลายพระองค์ จนพระ มหากษัริย์เหล่านี้ทนกำลังอาวุธไม่ได้ จึงต้องมาขอร้องสงบศึกและ มาขอเปนไมตรีต่อพระองค์ หลุยผู้เปนใหญ่ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและนาวาร์ ผู้เปนพระสหาย ที่รักของหม่อมฉัน ขอพระเปนเจ้าซึ่งครองดินฟ้าและอากาศจงโปรด บันดาลให้พระองค์ได้ทรงพระเจริญทวีขึ้น และขอจงโปรดบันดาลให้ พระราชวงศ์ของพระองค์ได้เพิ่มพูนขึ้น เพื่อให้เปนเกียรติยศและให้ พระสหายของพระองค์ได้มีความยินดีปรีดาทั่วหน้ากัน เมื่อหม่อมฉันได้ทราบข่าวมาว่า พระองค์ได้ทรงพระประชวรนั้น หม่อมฉันได้มีความเสียใจอย่างยิ่ง จนไม่มีข้อความอย่างใดที่จะแสดง ความเศร้าสลดเสียใจนั้นได้ แต่การที่หม่อมฉันกับพระองค์ได้เปน พระราชไมตรีและรักใคร่ซึ่งกันและกันนั้น เปนสิ่งที่จะป้องกันเคราะห์ ต่าง ๆ ได้ เปรียบประดุจพระอาทิตย์เมื่อแรกขึ้น ได้กระทำให้เมฆ


๕๘ หมอกในโลกนี้ได้กระจายหายสูญไปสิ้น เพราะฉะนั้นเมื่อกองทัพเรือ ของพระองค์ได้มาถึงเมืองไทยนั้น ก็เปรียบประดุจได้ยกเมฆหมอกอัน คลุมหทัยของหม่อมฉันให้ดับสูญละลายหายไปหมด เพราะกองทัพเรือ ได้ส่งข่าวว่าพระองค์ได้หายพระประชวรและทรงพระสะบายอย่างเดิม แล้ว ทั้งเปนการกระทำให้หม่อมฉันเห็นว่าพระองค์ได้มีพระทัยรักใคร่ เปนไมตรีต่อหม่อมฉันจริง อันเปนสิ่งที่สมหวังของหม่อมฉันทุกประ- การ เพราะพระองค์ได้ส่งกองทหารและนายทหารมาให้หม่อมฉัน ทั้ง ส่งบาดหลวงหลายรูปมาให้หม่อมฉันด้วย โดยเหตุต่าง ๆ เหล่านี้จึงให้หทัยของหม่อมฉันเต็มไปด้วยความ ปีติยินดี และกระทำให้หม่อมฉันรู้สึกในความที่เราทั้ง ๒ ได้ปรอดดองซึ่ง กันและกันอย่างเรียบร้อย การที่พระองค์ได้ส่งกองทหารมาเช่นนี้ และ ที่ทรงพระราชดำริการต่าง ๆ อันตรงกับความประสงค์ของหม่อมฉันนั้น เปนสิ่งที่น่าชมน่าสวรรเสริญยิ่งนัก และในพระราชสาสน์ของพระองค์ก็ มีข้อความอันน่าชมเชยต่าง ๆ ซึ่งในเวลานี้หม่อมฉันไม่มีหนทางที่จะ ตอบแทนได้เลย เพราะฉะนั้นในชั้นนี้หม่อมฉันได้แต่อ้อนวอนขอให้พระ เจ้าได้ให้พระองค์ได้มีพระชนม์ยั่งยืนไปอีกหลายร้อยปี และเมื่อพระ องค์จะมีความปราถนาอย่างใด ก็ขอจงได้ความปราถนาทุกประการ ตำบลต่าง ๆ ทีเปนตำบลสำคัญ และซึ่งเปนแห่งทีศัตรูของหม่อม ฉันจะบุกรุกเข้ามาในพระราชอาณาเขตร์ของหม่อมฉันได้นั้น หม่อมฉัน ได้มอบหมายให้กองทหารทีพระองค์ได้ส่งมานั้น เปนผู้รักษาในที่ต่าง ๆ


๕๙ เหล่านี้แล้ว โดยเชื่อใจว่ากองทหารเหล่านี้คงจะรักษป้องกันตำบลเหล่า นี้ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สมกับพระราชไมตรีทีเราทั้ง ๒ ได้มีต่อกัน และสมกับที่พระองค์และตัวหม่อมฉันได้หวังดีซึ่งกันและกันด้วย เพราะ ฉะนั้นในการที่จะตั้งกองทหารนั้น ขอพระองค์จงวางพระทัยเสียเถิด บาดหลวงคณะเยชวิต ซึ่งบาดหลวงเดอเชซผู้ล้างบาปของพระ องค์ได้ส่งมาให้หม่อมฉันโดยพระกระแสรับสั่งของพระองค์นั้น หม่อม ฉันก็ได้รับไว้แล้วเหมือนกัน และการที่หม่อมฉันได้บาดหลวงเหล่านี้มา ตามที่หม่อมฉันได้ขอไปนั้น ก็เปนการสมปราถนาของหม่อมฉันทุก ประการ หม่อมฉันจึงได้ออกตราตั้งยกโรงเรียน ๑ หลัง โบสถ์ ๑ หลัง กับบ้านเรือนให้พวกบาดหลวงเหล่านี้ได้ตั้งอยู่ในพระราชธานีลพบุรีของ หม่อมฉันต่อไปแล้ว และในไม่ช้าหม่อมฉันก็จะได้จัดการให้บาดหลวง เหล่านี้ ได้ไปตั้งอยู่ในพระราชธานีกรุงศรีอยุธยาของหม่อมฉันต่อไป เหมือนกัน และขอพระองค์จงไว้พระทัยว่า หม่อมฉันคงจะได้ปกครอง บำรุงบาดหลวงเหล่านี้ตามคุณานุรูปของเขาทุกอย่าง แต่หม่อมฉันมี ความเสียงใจเปนอันมาก ที่ได้ทราบว่าในระวางที่เดินทางมานั้น บาด หลวงได้ถึงแก่กรรมไปเสียคน ๑ แล้ว เพราะหม่อมฉันถือว่าบาดหลวง เหล่านี้เปนเครื่องมืออันสำคัญ ดุจเปนลำคลองสำหรับที่จะใช้พระราช ไมตรีในระวางพระองค์และตัวหม่อมฉัน ได้ติดต่อสืบเนื่องกันอยู่เสมอ ขาดตอนลงไปได้ เพราะเหตุฉะนี้จึงทำให้หม่อมฉันมีความรัก ใคร่พวกบาดหลวงอยู่เสมอ


๖๐ เอกอัครราชทูตพิเศษของพระองค์คือมองซิเออร์เดอลาลูแบ กับ มิงซิเออร์เซเบเรต์นั้น ได้เชิญเครื่องราชบรรณาการของพระองค์มา ส่งต่อหม่อมฉัน และหม่อมฉันก็ได้รับของต่าง ๆ อันงดงามมีราคาไว้ ด้วยความยินดีแล้ว หม่อมฉันได้ถือว่าของต่าง ๆ อันพระองค์ได้ฝาก มาให้หม่อมฉันนั้น เท่ากับเปนของสำหรับแสดงให้เห็นในพระราชไมตรี ที่พระองค์ได้มีต่อตัวหม่อมฉัน แต่ข้อความต่างๆสำหรับให้เปนหลักในพระราชไมตรีในระหว่าง เราทั้ง ๒ หาได้ตกลงกันเปนเด็ดขาดไม่ หม่อมฉันจึงจำเปนต้องส่ง บาดหลวงตาชาด์ให้ไปเฝ้าพระองค์ เพื่อไปทำความตกลงในข้อขัดข้อง ทุก ๆ อย่าง และเพื่อให้ไปกราบทูลต่อพระองค์โดยฉะพาะ ว่าหม่อม- ฉันมีความปีติยินดีในพระราชไมตรีของพระองค์ยิ่งนักด้วย และหม่อม- ฉันได้มอบให้บาดหลวงตาชาด์เชิญเครื่องราชบรรณาการของหม่อมฉัน ให้ไปถวายต่อพระองค์ อันเปนของต่าง ๆ แปลก ๆ ในฝ่ายทิศตวันออก เพื่อให้เปนพยานว่าหม่อมฉันมีความปราถนาอันจริงใจ ที่จะได้เปน พระราชไมตรีต่อพระองค์ และมีความหวังดีที่จะได้ให้พระราชไมตรี นี้ได้ติดต่อสืบเนื่องกันชั่วกาลนาน แต่บาดหลวงตาชาด์นั้นเปนทั้งนักพรตและเปนเยซวิตด้วยหม่อม- ฉันจึงมิได้ตั้งแต่งให้ออกไปเปนตำแหน่งอันใด เพราะหม่อมฉันเกรงว่า ผู้มีใจทุจริตจะคิดหาโอกาสติเตียนบาดหลวงตาชาด์ได้ และถ้ามีใคร ติเตียนบาดหลวงตาชาด์แล้ว ก็เท่ากับติเตียนตัวหม่อมฉันเหมือนกัน


๖๑ เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้จะควรอย่างไร หม่อมฉันจึงมอบไว้ในพระ ปรีชาญาณของพระองค์ เมื่อจะควรจัดทำอย่างไรเพื่อให้สมพระ เกียรติยศของเราทั้ง ๒และเพื่อให้บาดหลวงตาชาด์ได้จัดการตามหน้าที่ ให้สำเร็จแล้ว ก็แล้วแต่พระองค์ทรงเห็นควรทั้งสิ้น หม่อมฉันได้มอบ หมายและสั่งบาดหลวงตาชาด์ให้ทราบในข้อความทุก ๆ อย่าง สำหรับ จัดการทั้งปวงให้สมปราถนาของเราทั้ง ๒ เพื่อบาดหลวงตาชาด์จะได้ ไปทำความตกลงกับพระองค์ต่อไป เพราฉะนั้นหม่อมฉันจึงขอให้พระ องค์จงมีความไว้พระทัยในบาดหลวงตาชาด์ทุกประการเถิด ขอพระเจ้าผู้สร้างดินฟ้าอากาสจงบันดาลให้พระองค์มีพระชน- มายุยืนยาว ถ้าจะมีพระราชประสงค์สิ่งใดก็ขอจงได้สมพระราช ประสงค์ทุกประการ และขอให้พระองคจงได้มีชัยชนะแก่ข้าศึกหมู่ ปัจจามิตร์ เพื่อพระองค์จะได้ปกครองบ้านเมืองประเทศฝรั่งเศสและ นาวาร์ให้เปนสุขสำราญยิ่งไปเทอญ พระสหายที่รักของพระองค์


มีพระราชโองการในพระเจ้ากรุงสยาม ให้สั่งมายังบาดหลวงตาชาด์ ด้วยมีความประสงค์จะให้ประเทศฝรั่งเศสและประเทศสยาม ได้ มีไมตรีติดต่อกัน และเพื่อหาโอกาสที่จะให้พระเจ้าแผ่นดินผู้เปนใหญ่


๖๒ ทั้ง ๒ พระองค์ ได้ช่วยในการสาสนาของพระเจ้าของเรานั้น พระ เจ้ากรุงสยาม จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเลือกให้ท่านเปนผู้เชิญพระราช สาสน์ไปยังราชสำนักฝรั่งเศส และเชิญไปยังกรุงโรมด้วย แต่มีเหตุผลอยู่ที่ควรจะสงสัยว่า คงจะมีบุคคลบางจำพวกซึ่ง เปนคนทีมีตำแหน่ง หน้าทีควรจะช่วยเหลืออุดหนุนให้ท่านได้ทำการสำเร็จ เพื่อเปนประโยชน์ต่อพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ นั้น คงจะกลับหาหนทาง ทีขัดขาวงไม่ให้ท่านทำการสำเร็จได้เปนแน่ เพราะฉะนั้นในการที่ ท่านจะได้เชิญพระราชสาสน์ไปในคราวนี้ ท่านว่าอย่าได้รับตำแหน่ง หน้าที่อย่างใดไปเลย แต่ท่านจงไปคอยฟังกระแสรับสั่งของพระเจ้า กรุงฝรั่งเศสต่อไปเถิด แต่เพื่อท่านจะได้ไปเจรจาการต่าง ๆ ให้เปนผล สำเร็จนั้น ขอให้วิเคราะห์หัวข้อต่าง ๆ ที่เปนข้อสำคัญ ดังจะได้ อธิบายต่อไปนี้ คือ ข้อ ๑ พระราชสาสน์สำหรับไปถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และ พระราชทานไปยังโป๊ปนั้น จะได้เชิญออกจากพระราชวังณวันแรม ๖ ค่ำ เดือนอ้าย ปี ๒๒๓๒ ซึ่งตรงกับวันที ๒๔ เดือน ธันวาคม ค.ศ. ๑๖๘๗ พร้อมกับข้ราชการ ๖ นาย ซึ่งพระเจ้ากรุงสยามได้ทรงจัดให้เชิญพระ ราชสาสน์ไป เมื่อพระราชสาสน์และข้าราชการได้ไปถึงกรุงศรีอยุธยา แล้ว เจ้าพนักงานจะได้เชิญพระราชสาสน์ประดิษฐานบนเรือรบ เพื่อ เชิญไปส่งที่ท่าเรือต่อไป ส่วนตัวท่านนั้นถึงแม้ว่าท่านไม่มีตำแหน่งอะไรก็จริงอยู่แต่ข้าพ-


๖๓ เจ้าเชื่อว่าโดยเหตุที่ท่านเปนผู้เชิญพระราชสาสน์ และเชิญพระราชโองการ ไปนั้น คงกระทำให้บรรดาผู้บังคับการได้จัดห้องให้ท่านพักในเรือ เหมือนกับข้าราชการ ๖ นายเช่นเดียวกันเปนแน่ ส่วนข้าราชการ ๖ นาย นั้น ข้าพเจ้าได้กำชับและสั่งสอนไปแล้ว ให้ประพฤติตัวอย่างสุภาพ ที่สุด เพราะฉะนั้นถ้าข้าราชการเหล่านี้จะกระทำการบกพร่องอย่าง ใดอย่างหนึ่ง ก็ให้ท่านขอร้องให้ผู้บังคับการเรือได้จับตัวข้าราชการ ผู้นั้นขังเสีย และให้สั่งสอนหรือทำโทษแล้วแต่จะควร เมื่อท่านได้ไปถึงประเทศฝรั่งเศสแล้ว หากท่านจะเจ็บป่วย หรือจะมีการติดขัดอย่างใด ๆ ที่ท่านจะรีบไปยังราชสำนักฝรั่งเศสโดย เร็วไม่ได้แล้ว ก็ให้ท่านรีบจัดนักการส่งหนังสือต่าง ๆ และสำเนา พระราชสาสน์ไปยังราชสำนักฝรั่งเศสโดยเร็ว เพื่อให้พระเจ้ากรุงฝรั่ง เศสได้ทรงทราบว่า เหตุการณ์ในราชสำนักสยามได้มีอย่างไรบ้าง และเพื่อคอยฟังกระแสรับสั่งของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสด้วย เพราะพระเจ้า กรุงสยามได้ทรงมอบกิจการทั้งปวง ในพระปรีชาสามารถของพระเจ้า กรุงฝรั่งเศสผู้เปนใหญ่แล้ว และที่ทรงโปรดใช้ให้ท่านไปเฝ้าพระเจ้า กรุงฝรั่งเศสนั้น ก็เพื่อจะได้ให้ท่านไปฟังดูว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะมี พระราชประสงค์ประการใดบ้าง ในระหว่างที่ท่านรอฟังกระแสพระราชโองการของพระเจ้ากรุงฝรั่ง เศสอยู่นั้น ก็ให้ท่านคิดอ่านจัดการหาเครื่องแต่งตัวให้ข้าราชการ ๖ นาย และคนอื่น ๆ ที่ไปกับท่านนั้น ให้เหมาะแก่อากาสและให้สมกับ


๖๔ ตำแหน่งหน้าที่ของข้าราชการเหล่านั้นด้วย เมื่อท่านได้จัดเครื่องแต่ง ตัวให้ข้าราชการเสร็จแล้ว ท่านจึงออกเดินทางไปยังราชสำนักฝรั่ง เศสต่อไป ส่วนของเครื่องราชบรรณาการของพระเจ้ากรุงสยาม และของ ที่ออกญาวิเชเยนทร์ส่งออกไปนั้น ให้ท่านมอบองต่าง ๆ เหล่านี้ไว้กับ เจ้าพนักงาน ซึ่งจะมีหน้าที่สำหรับส่งของเล่านี้ไปยังราชสำนัก ฝรั่งเศส ถ้าแม้ว่าในระหว่างเวลาที่ท่านยังไม่ได้ไปถึง ราชสำนักฝรั่งเศส ท่านจะได้รับพระราชโองการจากพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ให้ท่านรับ ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ ก็ตาม ก็ให้ท่านรับตำแหน่งหน้าทีนั้นเต็มตาม เกียรติยศของตำแหน่งนั้นทุกประการ นอกจากนี้พระเจ้ากรุงสยาม ทรงไว้วางพระราชหฤทัย ว่าท่านคงจะมีความไหวพริบและฉลาด เฉลียวพอที่จะรู้ได้ ว่าท่านควรจะวางตัวท่าไร เพราะทรงเชื่อว่าท่าน คงจะมีความยินดี ในการที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในตัวท่านเช่นนี้ เพราะการทีทรงไว้พระทัยในตัวท่านดังนี้ ก็เท่ากับได้ทรงมอบพระราช อำนาจและพระเกียรติยศพระเกียรติคุณ ให้ท่านเชิญไปยังพระราช สำนักของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้เปนเจ้านายท่านโดยตรง อันเปนการ ที่ท่านควรจะนิยมยินดี และเปนการพิเศษผิดปกติอยู่แล้ว การที่ทรงไว้ วางพระราชหฤทัยในตัวท่านเช่นนี้ จึงทำให้ทรงหวังว่า ท่านคงจะคิด จัดการทุกอย่าง ที่จะไม่ทำให้พระองค์ต้องเสียพระเกียรติยศลงได้


๖๕ ข้อ ๒ ถ้าแม้ว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะทรงพระราชดาริเห็นว่า ไม่ควรที่จะต้องให้ท่านรับตำแหน่งหน้าที่ใดแล้ว ก็ให้ท่านขอรับกระแส รับสั่งของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เพื่อให้ท่านได้มีโอกาสเฝ้าถวายพระราช สาสน์ซึ่งท่านได้เชิญไปนั้น แต่วิธีจะเฝ้าถวายพระราชสาสน์จะทำกัน อย่างไรนั้น ก็ต้องแล้วแต่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะทรงเห็นควรทั้งสิ้น ข้อ ๓ ถ้าหากว่าท่านได้มีโอกาสได้เฝ้าโดยฉะเพาะ และพระ เจ้ากรุงฝรั่งเศส จะรับสั่งถามท่านถึงผลที่สุดของการทีทรงแต่งราชทูต มาในคราวหลังนี้ และจะรับสั่งถามถึงความประพฤติของเอกอัคร ราชทูตของพระองค์ในราชสำนักสยามแล้ว ก็ให้ท่านกราบทูลตอบ ตามข้อความที่ปรากฎอยู่ในจดหมายบันทึก ซึ่งข้าพเจ้าได้มอบไว้ ให้ท่านแล้ว และให้ท่านกราบทูลให้ทรงทราบโดยตรงว่า ท่านเอก อัครราชทูตเหล่านี้ได้ทำการไม่ดีอย่างยิ่ง และให้ท่านกราบทูลโดย ฉะเพาะด้วยว่า พระเจ้ากรุงสยามทรงเข้าพระทัยว่า หน้าที่ของราช ทูตที่มาเจริญทางพระราชไมตรีในราชสำนักต่างประเทศนั้น จะต้อง มาสืบสวนถึงข้อข้องต่าง ๆ อันเปนเครื่องกีดขวางต่อพระราชไมตรี ในระหว่างพระมหากษัตริย์ เมื่อได้ทราบในข้อขัดข้องต่าง ๆ แล้ว จะได้คิดอ่านจัดการลบล้างข้อขัดข้องเหล่านี้ และหาหนทางที่จะได้ ดำเนินการให้ตรงกับความที่มุ่งหมายไว้ต่อไป แต่ท่านเอกอัครราช ทูตเหล่านี้หาได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ที่ว่ามานี้ไม่ แต่กลับพยายามหา โอกาสที่จะขัดขวางความมุ่งหมายอันดีของเราอยู่เสมอไป จนที่สุด ๕

๖๖ พระราชดำริอันดีของพระเจ้ากรุงสยาม และความเจตนาดีของเสนาบดี ของพระองค์ ก็กลับเปนสิ่งที่หาประโยชน์มิได้เลย ถ้าแม้ว่าพระเจ้า กรุงสยามไม่ได้ทรงรักใคร่และนับถือพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และไม่ได้ ทรงเอาพระทัยใส่ในความเจริญของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสแล้ว พระ เจ้ากรุงสยามก็คงจะได้ทรงจัดการอย่างอื่น อันจะเปนเหตุกระทำให้ บรรดาชนชาวต่างประเทศซึ่งอยู่ในพระราชอาณาเขตร์สยาม ได้มี ความปีติยินดียิ่งนัก การที่ท่านเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสปฎิบัติการ เช่นนี้ จะหาข้อแก้ตัวอย่างใดไม่ได้เลย และความประพฤติอันชั่ว ร้ายของท่านเอกอัครราชทูตมีอย่างไรนั้น คนทั้งหลายก็ย่อมทราบ กันทั่วทุกคน และตัวท่านเอกอัครราชทูตเอง ก็ควรจะรู้สึกตัวได้ ดีกว่าคนอื่น ข้อ ๔ ให้ท่านกราบทูลต่อพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสว่า เมื่อพระเจ้า กรุงสยามได้ทอดพระเนตร์เห็นกองทหารและนายทหาร ที่พระเจ้ากรุง ฝรั่งเศสได้ส่งมาถวายสำหรับให้มาทำราชการของพระองค์นั้น พระ เจ้ากรุงสยามได้ทรงพระโสมนัสส์ยินดียิ่งนัก เพราะฉะนั้นขอให้พระ เจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ทรงวางพระทัย ว่ากองทหารเหล่านี้คงจะได้มาตั้ง อยู่ในพระราชอาณาเขตร์ให้เปนหลักฐานมั่นคงต่อไป และขอให้ ทรงไว้พระทัยว่า พระเจ้ากรุงสยามคงจะได้ทรงปกครองและชุบเลี้ยง กองทหารนี้ ให้สมกับการที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ทรงเอื้อเฟื้อต่อ พระเจ้ากรุงสยามและอาณาประชาราษฎรไทย


๖๗ ให้ท่านกราบทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสต่อไปว่า พระเจ้ากรุงสยาม ทรงเสียพระทัยเปนอันมากที่ได้ทรงเห็นว่า ท่านเอกอัครราชทูตซึ่ง มีหน้าที่จะมาตั้งกองทหารนี้หาได้รู้สึกไม่ ว่าการที่ได้ทรงรักใคร่ ซึ่งกันและกันเช่นนี้จะมีราคาสักเพียงไร เพราะท่านเอกอัครราชทูต กลับพยายามทุกอย่าง ที่จะลบล้างเจตนาอันดีของพระเจ้ากรุงสยาม และเสนาบดีไทย แต่ในเรื่องนี้ท่านอาจจะหราบทูลได้โดยยืดยาว เพราะข้อความเหล่านี้มีปรากฎอยู่ในจดหมายบันทึกแล้ว ข้อ ๕ ในข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวด้วยบริษัทฝรั่งเศสนั้น ในเรื่องที่ บริษัทได้ทำแก่ราชทูต (ไทย) ทีกรุงปารีศอย่างไร และในเรื่องที่ หัวหน้าของบริษัทได้ประพฤติอย่างไรนั้น ท่านอย่าได้กราบทูลเปนที่ ฟ้องกล่าวโทษต่อพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส แต่ให้กราบทูลให้ทรงเห็นว่า ราชสำนักไทยได้มีความนับถือในสิ่งทั้งปวง อันเกี่ยวด้วยพระเจ้า และพระเจ้ากรุงฝั่งเศสทุกอย่าง แล้วให้ท่านกราบทูลต่อไปว่า ใน เวลานี้ บริษัทมีโอกาสและหนทางที่จะหาทรัพย์ในฝ่ายทิศตวันออกได้ เปนอันมาก และบริษัทนี้ก็มีโอกาสที่จะมาตั้งการค้าขายให้เปนหลักฐาน ปึกแผ่นยิ่งกว่าประเทศกว่าประเทศทั้งปวงในทวีปยุโรป แต่พระเจ้ากรุงสยาม ทรงพระวิตกว่า ถ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสไม่ทรงพระกรุณาโปรดช่วย บริษัท และไม่ทรงคุ้ยเขี่ยให้ผู้อำนวยการของบริษัทได้ทำการให้ฉับไว ขึ้นแล้ว โอกาสอันดีซึ่งบริษัทได้มีไว้ในชั้นต้นนั้น ก็น่ากลัวจะเสีย โอกาสเล่า จะหาประโยชน์มิได้เลย


๖๘ ข้อ ๖ ในเรื่องพลทหารปืนใหญ่ ลูกแตก สำหรับยิงลูก แตกนั้น เปนเรื่องที่ทำให้ราชสำนักสยามได้รับความน้อยใจและเสียใจ เปนอันมาก และพระองค์พระเจ้ากรุงสยามนั้นได้ทรงเสียพระราชหฤทัย ยิ่งกว่าคนทั้งหลายทั้งปวง เพราะเหตุที่ได้ทรงเห็นว่า เอกอัครราชทูต ฝรั่งเศสมิได้คิดที่จะทำการให้เปนทีพอพระราชหฤทัยเลย ถ้าหากว่า จะมีใครพูดในเรื่องนี้ขึ้นแล้ว ก็ให้ท่านกราบทูลต่อพระเจ้ากรุงฝรั่ง เศสว่า พระเจ้ากรุงสยามได้เข้าพระทัยว่าตามการที่ได้ทรงปฎิบัติ มานั้น คงจะเปนเรื่องที่พอพระทัยพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสทุกอย่าง แต่ ถ้าตามคำสั่งเดิมได้มีไว้ให้ส่งพลทหารปืนใหญ่กลับไป ประเทศฝรั่งเศส จริงแล้ว พระเจ้ากรุงสยามก็จะได้โปรดให้ส่งพลทหารปืนใหญ่เหล่า นี้กลับไปโดยเต็มพระทัย มิได้ทรงขัดขวางอย่างใดเลย ข้อ ๗ พระเจ้ากรุงสยามทรงทราบอยู่เต็มพระทัยว่า การที่ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ส่งกองทหารมายังเมืองไทยนั้น เพราะพระราช ประสงค์อะไร แต่ในที่นี้จะต้องขอกล่าวซ้ำในกระแสราชดำริของ พระเจ้ากรุงสยามอีกครั้ง ๑ จริงอยู่การทีพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ส่งกองทหารมา โดยต้อง ใช้จ่ายเปลืองพระราชทรัพย์เปนอันมากนั้น ก็เปนการแสดงพระราช ไมตรีและความรักใคร่ซึ่งพระองค์ได้มีต่อพระเจ้ากรุงสยาม แต่ถ้าจะ พูดตามความที่เปนจริงแล้ว การที่ได้ทรงโปรดให้ส่งกองทหารมา เท่านี้ ก็หาเพียงพอกับการทีคิดไว้แต่เดิมไม่ เพราะท่านก็ย่อมทราบ


๖๙ อยู่ดีแล้ว ว่าการที่จะป้องกันรักษาบางกอกนั้น จำเปนจะต้องมีทหาร ชาวยุโรปประจำรักษาอยู่อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ คน ส่วนกองทหาร ไทยนั้นอีกต่างหากหาได้รวมในจำนวนคน ๕๐๐ นี้ไม่ นอกจากกอง ทหารฝรั่งเศส ๕๐๐ คน สำหรับรักษาบางกอกนั้น ยังจะต้องการพล ทหารชาติฝรั่งเศส สำหรับทำกิจการในที่ต่าง ๆ ในพระราชอาณาเขตร์ สยามนี้อีกหลายคน ในส่วนเมืองมะริดนั้น ก็จะต้องมีจำนวนพลทหาร ไม่น้อยกว่าที่บางกอกเหมือนกัน และนอกจากนี้พระเจ้ากรุงสยาม ยังมีพระราชประสงค์ให้มีพลทหารอย่างน้อยอีก ๒๐๐ คน สำหรับ เปนทหารรักษาพระองค์และรักษาพระราชวังโดยฉะเพาะด้วย กับมีพระ ราชประสงค์ให้มีทหารไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ คน สำหรับประจำอยู่ตามเรือ ต่าง ๆ นอกจากพลทหารเหล่านี้ ก็จะต้องมีคนสำหรับทำการงาน ต่าง ๆ เปนจำนวนคนมาก เช่นคนสำหรับทำการบ่อแร่เปนต้น แต่ข้อนี้ จะหวังเอาให้เปนผลสำเร็จในคราวเดียวไม่ได้อยู่เอง แต่ในเรื่องนี้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ได้ทรงรับเปนธุระที่จะป้องกัน รักษาเมืองมะริดและบางกอกแล้ว เพราะฉะนั้นท่านอย่ากราบทูลขอ เพิ่มกองทหารให้มากขึ้นเลย แต่ท่านจะต้องส่งแผนที่เมืองมะริดและ บางกอกถวายให้ทอดพระเนตร์ เมื่อทรงเห็นแผนที่แล้วก็อาจจะทรง ทราบได้ว่าการจะควรอย่างไรต่อไป เพราะทรงพระปรีชาสามารถพอ อยู่แล้ว และการจะควรอย่างไรก็แล้วแต่พระองค์จะทรงเห็นควรทั้งสิ้น อนึ่งถ้าท่านไปถึงประเทศฝรั่งเศสในเวลาที่สงบศึก ก็ให้ท่านขอ


๗๐ พลหารสำหรับมาเปนกองรักษาพระองค์พระเจ้ากรุงสยามตามจำนวน ที่กำหนดมานั้นแล้ว และให้ท่านขอคนทำงานสำหรับมาทำเหมืองแร่ ด้วย แต่ต้องเลือกคนที่ชำนาญการทำเหมืองแร่จริง ๆ ถ้าท่านได้ไป ถึงประเทศฝรั่งเศสในเวลาที่มีสงครามอยู่ ก็อย่าขอพลทหารเลย เปน แต่ขอนายช่างและคนงานสำหรับทำการเหมืองแร่เท่านั้นก็พอ พระเจ้ากรุงสยามมีพระกระแสรับสั่งให้กำชับท่านโดยฉะเพาะ ว่า ในการที่จะเลือกคนงานสำหรับมาทำการในเมืองนี้นั้น ให้ท่านเลือกแฟ้น คนที่ดี เมื่อมาถึงแล้วก็อย่าให้เราได้รับความร้อนใจอย่างใดได้เลย เพราะฉะนั้นก่อนที่คนงานเหล่านี้จะได้ออกจากประเทศฝรั่งเศสนั้น ก็ ให้ท่านนัดหมายและทำสัญญากับเขาตามแต่ท่านจะต้องเห็นควร และถ้า หากว่าจะมีเจ้าพนักงานสำหรับมาเปนหัวหน้าของคนงานเหล่านี้สัก ๒-๓ คนได้ก็จะดี ในส่วนทหารสำหรับรักษาพระองค์นั้นไม่ต้องพูดว่ากะไร เพราะพระเจ้ากรุงสยามจะได้ทรงอุดหนุนบำรุงทหารเหล่านี้ และจะ ได้พระราชทานเงินค่าเลี้ยงชีพให้ด้วย ข้อ ๘ ในข้อที่เกี่ยวด้วยพระราชไมตรีในระหว่างประเทศฝรั่งเศส และประเทศสยามนั้นยังไม่ได้พูดถึงเลย จริงอยู่ เหตุที่ระยะในระหว่าง ประเทศทั้ง ๒ ห่างไกลกันมากนั้น กระทำให้เกิดความลำบากขึ้น หลายอย่าง แต่ถึงดังนั้นถ้าหากว่าจะได้เกิดสงครามขึ้นในระหว่างฝรั่ง เศสกับฮอลันดา และฮอลันดาได้มายึดที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งพระเจ้ากรุง สยามได้พระราชทานให้แก่บริษัทไว้แล้วก็ดี ถึงจะไม่ได้มีข้อสัญญา


๗๑ กล่าวในข้อนี้โดยฉะเพาะ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสก้ควรจะต้องร้อนพระทัย อยู่นั้นเอง แต่นอกจากเรื่องที่พวกฮอลันดาจะมากระทำการอย่างว่า มานี้ ยังอาจจะเกิดเรื่องอย่างอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งเปนการจำเปน จะต้องทราบไว้ว่าจะมีหลักปฎิบัติการอย่างไร ในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ พระเจ้ากรงฝรั่งเศสคงจะทรงทราบได้อย่างดี และพระปรีชาสามารถ ของพระองค์อาจจะบัญญัติได้ว่าเรื่องขึ้นอย่างใด ต่างฝ่ายจะ ควรปฎิบัติอย่างไร เพราะเหตุฉะนี้ พระเจ้ากรุงสยามจึงทรงมอบธุระ ให้อยู่ในพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส แล้วแต่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะทรงเห็น ควรอย่างใดทั้งสิ้น เพราะทรงเชื่อพระทัยว่าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเปน พระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถรอบรู้ในสิ่งทั้งปวง คงจะ จัดการให้เปนประโยชน์แก่ประเทศทั้ง ๒ ทุกอย่างเปนแน่ เพราะฉะนั้น ถ้ามีผู้ใดพูดกับท่านในเรื่องนี้แล้ว ก็ให้ได้ท่านกราบทูลให้พระเจ้ากรุง ฝรั่งเศสได้ทรงทราบถึงการเปนไปของประเทศสยามทุกประการ และ ให้ท่านกราบทูลขอร้องให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ได้ทรงกะหัวข้อที่จะทำ สัญญาด้วยพระองค์เองแล้วแต่จะทรงเห็นควรอย่างไร สำหรับความ เจริญของประเทศทั้ง ๒ เปนแล้วกัน เพราะข้างฝ่ายราชสำนักสยาม นั้นหาใคร่เข้าใจในการชะนิดนี้ไม่ จึงเห็นว่าไม่ควรที่จะให้ข้าฝ่ายไทย แนะนำการอย่างใด แต่มอบธุระให้แล้วแต่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะทรง เห็นควรดีกว่า โดยเหตุนี้จึงมีพระราชโองการให้สั่งท่านว่า ในเรื่องนี้ ท่านอย่าได่ไปแนะนำหรือออกความเห็นอย่างไร แต่ปล่อยให้พระเจ้า


๗๒ กรุงฝรั่งเศสได้ทรงจัดการ แล้วแต่จะทรงพระราชดำริเห็นควรทั้งสิ้น ข้อ ๙ เหมืองแร่ต่าง ๆ นั้นเปนสิ่งที่สำคัญสุดประโยชน์ ของประเทศสยามและประเทศที่เปนสัมพันธมิตร์ไมตรี และไม่ต้อง สงสัยเลยว่าบ่อแร่ต่าง ๆ เหล่านี้เปนบ่อแร่ทีบริบูรณ์ด้วยแร่ต่าง ๆ และ เปนบ่อแร่ที่ทำง่ายด้วย เพราะบางแห่งได้ไปขุดทองคำมาได้จนถึงกับ ได้ส่งทองคำไปยังประเทศฝรั่งเศสถึง ๔๖ หีบแล้ว และบ่อที่ขุดทองคำ มานี้ก็เปนบ่อสำคัญที่ได้ขุดทดลองดู เพื่อให้ทราบว่าถ้าจะทำบ่อทองคำ เหล่านี้จะได้กำไรมากน้อยสักเท่าใด ในเรื่องนี้ให้ท่านกราบทูลพระเจ้า กรุงฝรั่งเศส ขอให้ทรงโปรดส่งคนที่ชำนาญทีได้สุดในการทำบ่อแร่ทอง คำ แล้วให้ท่านทำความตกลงกับผู้ที่จะมาทำบ่อแร่ทองคำถึงเงินเดือนที เขาจะได้ประจำปีทุก ๆ ปี เพื่อป้องกันมิให้พวกเล่านี้มาดูถูกหรือหมิ่น ประมาทเรา และอย่าให้พวกนี้มีข้อที่จะมาร้องขัดข้องในภายหน้าได้ เพราะท่านก็ทราบอยู่ดีแล้วว่า ผู้ที่ชื่อวิโมต์ได้มาทำความลำบากและ รำคาญให้แก่เราสักเพียงใด จนถึงกับพระเจ้ากรุงสยามต้องขับไล่ผู้นั้น ออกไปนอกพระราชอาณาเขตร์ เพราะไม่มีพระราชประสงค์ที่จะทำ โทษแก่ผู้นั้นให้หนักกว่านี้โดยเหตุทีผู้นั้นเปนชาติฝรั่งเศส และฝ่ายท่าน เอกอัครราชทูตซึ่งควรจะยอมโดยดีเพราะเหตุที่พระเจ้ากรุงสยามได้ทรง พระกรุณาแก่มองซิเออร์วิโมต์หลายอย่างนั้น กลับพูดว่าถ้ามองซิ- เออร์วิโมต์ถูกจับแล้ว เอกอัครราชทูตจะได้ร้องขึ้น ให้ออกญาวิช- เยนทร์ได้รับความเดือนร้อนให้จนได้ ในเรื่องนี้ท่านก็ทราบอยู่ดีแล้ว


๗๓ ว่าข้างฝ่ายเอกอัครราชทูตและมองซิเออร์วิโมต์ได้ทำให้เกิดความลำบาก เพียงไร และมองซิเออร์วิโมต์ก็ได้ร้องขึ้นหลายครั้ง ว่าตนเปนคนชาว เมือง อาวินยอง แลเปนคนอยู่ในความปกครองของโป๊ป ซึ่งร้อง ขึ้นทั้งนี้ก็เพื่อจะป้องกันตัวมิให้ต้องได้รับพระราชอาญาของพระเจ้ากรุง ฝรั่งเศสเท่านั้น ข้อ ๑๐ ท่านเองก็ได้เห็นแล้วว่า พวกสังฆราชที่อยู่ในพระราช อาณาจักร์สยามได้ประพฤติ์ตัวอย่างไร ซึ่งเปนการกระทำให้พระเจ้า กรุงสยามเสียพระทัยเปนอันมาก ถ้าหากว่าในการเรื่องนี้มิได้เกี่ยวแก่ การสาสนาแล้ว พระเจ้ากรุงสยามก็คงจะทรงแสดงให้เห็นว่าทรงกริ้ว ซึ่งเปนการสมควรที่จะกริ้วอยู่บ้าง และเมื่อเปนเช่นนี้แล้วพวกสังฆราช ก็คงจะรู้สึกเดือดร้อนอยู่บ้าง แต่คนจำพวกนี้เปนคนที่จะทำให้บ้าน เมืองเกิดเดือนร้อนขึ้น ทั้งทำให้เสียพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน ด้วย พระเจ้ากรุงสยามจึงทรงพระราชดำริจะทำโทษพวกนี้โดยมิให้ เกิดความเสียหายแก่สาสนาคริศเตียนได้ เพราะฉะนั้นให้ท่านกราบทูล ให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ทรงทราบในเรื่องนี้ และให้กราบทูลขอให้ ทรงเปนพระธุระตั้งสังฆราชขึ้นในเมืองไทย โดยให้เปนตำแหน่งที่พระ เจ้ากรุงฝรั่งเศสต้องเปนผู้ตั้งออกมา จนกว่าพระเจ้ากรุงสยามจะได้ ทรงตั้งได้เองต่อไป อนึ่งตัวท่านเองก็เปนพยานเห็นอยุ่แล้ว ว่าการที่ จะมีความผาสุกและการที่จะจัด สาสนาได้แพร่หลายออกไปต้องเกียวแก่ การตั้งสังฆราชนั้น จึงเปนการควรที่จะกราบทูลให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส


๗๔ ได้ทรงทราบในเรื่องนี้โดยแจ่มแจ้ง และพระเจ้ากรุงสยามก็ทรงเชื่อ พระทัยว่า ถ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ทรงทราบ และโป๊ปได้ทราบใน เรื่องนี้แล้ว ท่านทั้ง ๒ คงจะคิดอ่านหาทางแก่ไขให้ดีขึ้นโดยเร็วเปนแน่ ข้อ ๑๑ส่วนพวกบาดหลวงที่ท่านได้พามายังเมืองไทยนั้น เปน ที่พอพระราชหฤทัยของพระเจ้ากรุงสยามทุกอย่าง ดังท่านทราบอยู่ แล้ว จึงไม่จำเปนต้องกล่าวในเรื่องนี้ให้ยืดยาวไป แต่กิจการของ สาสนามีมากมายนัก จึงเปนการจำเปนที่จะต้องบาดหลวงเหล่านี้ ออกไปอยู่ตามหัวเมืองหลายรูปแล้ว ที่ยังคงเหลืออยู่ในพระราช ธานีกรุงศรีอยุธยาและลพบุรีนั้น ก็มีจำนวนน้อยที่สุด เพราะฉะนั้น ให้ท่านกราบทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ขอให้ทรงโปรดส่งคนเพิ่มมา อีกสำหรับแทนบาดหลวงเหล่านี้ เพราะในไม่ช้าก็จะต้องส่งบาดหลวงทั้งหมดให้ออกไปอยู่ตามหัวเมือง เพื่อให้ทำกิจการของสาสนาต่อ ไป และถ้าได้โปรดส่งคนเพิ่มมาแล้ว จะได้มีบาดหลวงประจำอยู่ใน ราชสำนักของพระเจ้ากรุงสยาม ๑๒ รูปอยู่เสมอ ซึ่งเปนอัตราที่ พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงขอต่อพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสไว้แต่เดิม ข้อ ๑๒ เจ้าพนักงงานได้เอาตัวอย่างของต่าง ๆ ซึ่งพระเจ้ากรุง สยาม มีพระราชประสงค์ให้ไปทำที่กรุงปารีศนั้นมอบไว้กับท่านแล้ว และได้ส่งของต่าง ๆ ให้แก่ท่านเพื่อได้เอาของเหล่านั้นไปจำหน่าย และ เอาเงินที่ขายของได้นั้นไว้เปนโสหุ้ยรายจ่ายของท่าน ในระหว่างที่ ท่านเดินทางในกรุงปารีศและกรุงโรม ถ้าเงินที่ขายของได้จะยังไม่


๗๕ พอ ก็ให้ท่านเที่ยวยืมเงินได้ และเมื่อท่านได้ยืมเงินมาเปนจำนวน มากน้อยเท่าใด ทางนี้จะได้จัดการใช้ให้ทั้งต้นทุนและดอกเบี้ย ถ้า แม้ว่าท่านจะหาที่ยืมเงินไม่ได้แล้ว ก็ให้ท่านเอาเงินของออกญาวิช- เยนทร์ใช้ไปก่อนได้ ขอให้ท่านจงจำไว้ในเรื่องที่บริษัทฝรั่งเศสได้แสดงตัวไม่ดี ใน เรื่องราคาของ และเครื่องทดรองเงินสำหรับทำของต่าง ๆ ซึ่งพระเจ้า กรุงสยามได้มีรับสั่งให้ไปทำที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น และพระเจ้ากรุง สยามทรงได้มีรับสั่งให้พระราชหฤทัยว่า สติปัญญาอันสุขุมของท่านคงจะได้ ไปจัดการอันยุ่งยากต่าง ๆ ในเรื่องนี้ได้เปนการเรียบร้อย เปนที่พอ พระราชหฤทัยต่อไป ข้อ ๑๓ เจ้าพนักงานได้มอบหนังสือต่างๆเปนอันมากไว้กับท่าน ซึ่งเปนหนังสือเกี่ยวถึงการของบริษัทอังกฤษ อันหมดปัญญาที่จะทำ การได้ต่อไปแล้ว เพราะฉะนั้นให้ท่านขอรับคำสั่งจากบาดหลวงเดอ-ลาเชซ และขอพระราชานุญาตพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ให้ท่านได้ไป ยังกรุงอังกฤษโดยลำลอง แต่ถ้ามีการติดขัดที่ท่านจะไปเองไม่ได้ แล้ว ก็ให้ท่านจัดบาดหลวงเยซวิตคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเปนคนซื่อตรงตั้ง ใจดีต่อเราไปยังประเทศอังกฤษแทนตัวท่าน แล้วให้บาดหลวงเยซวิต ผู้นั้นไปเฝ้ากราบทูลพระเจ้ากรุงอังกฤษให้ทรงทราบว่า บริษัทอังกฤษ นี้มีความอกตัญญูและกระทำความยุติธรรม มิได้คิดถึงพระเดช พระคุณของพระเจ้ากรุงสยาม หรือคิดถึงบุญคุณของชนชาวสยาม


๗๖ เลย และให้กราบทูลขอร้องให้พระเจ้ากรุงอังกฤษได้ทรงชำระลงโทษ ผู้อำนวยการของบริษัทอังกฤษที่อยู่ในเมืองไทยด้วย กับต้องกราบ ทูลให้พระเจ้ากรุงอังกฤษ ได้ทรงทราบว่า ข้างฝ่ายพระเจ้ากรุงสยาม นั้นทรงตั้งพระทัยที่จะเปนไมตรีกับพระเจ้ากรุงอังกฤษอยู่เสมอ แต่ ข้อสำคัญที่จะไปเฝ้าพระเจ้ากรุงอังกฤษคราวนี้ ก็คือจะต้องไปกราบ ทูลขอร้องให้ทรงถอนอำนาจที่ได้พระราชทานไว้กับบริษัทอังกฤษ ใน ข้อที่ให้บริษัทอังกฤษมีอำนาจประกาศสงครามกับเจ้านายฝ่ายอินเดีย ได้นั้น จึงต้องขอร้องให้พระเจ้ากรุงอังกฤษได้ทรงถอนอำนาจของ บริษัท ในการที่จะประกาศสงครามได้กับเมืองไทยโดยฉะเพาะ และ ถ้าได้ทรงถอนอำนาจของบริษัทเช่นนี้แล้ว พระเจ้ากรุงอังกฤษก็คงจะ ทรงรู้สึกพอพระทัยในพระเจ้ากรุงสยามภาคหน้าต่อไป ข้อ ๑๔ ท่านคงจะทราบโดยละเอียดแล้วว่า พวกฮอลันดาได้ เดินวิธีอย่างไร สำหรับทำให้ไทยต้องเกิดความเสียหายขึ้นที่กรุงยี่ปุ่น โดยพวกฮอลันดาได้เอาอาวุธของฝรั่งเศสไปเปนตัวอย่างทีประเทศยี่ปุ่น สำหรับขู่เพื่อไปทำการต่าง ๆ แล้วพวกฮอลันดาได้ไปเทียวพูด ว่า พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงเข้ารีดเปนคริศเตียนโดยเชื่อถ้อยคำของ พระเจ้าแผ่นดินในทวีปยุโรปแล้ว และว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้มี อำนาจมาก เทียวรบราฆ่าฟันรบพุ่งกับเจ้านายและเจ้าแผ่นดินซึ่งอยู่ ใกล้เคียงทั่วไปหมด และเอากำลังไปเที่ยวยึดบ้านเมืองทุกแห่งด้วย แล้วพวกฮอลันดาจึงพูดต่อไปว่า พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้เอง กำลัง


๗๗ เตรียมกองทัพใหญ่โตจะยกมาตีอินเดีย เพื่อจะให้ฝ่ายทิศตวันออก ได้หมดความผาสุกทั่วไป และเพื่อจะมาบังคับให้ประเทศทั้งหลายใน ฝ่ายทิศตวันออก ได้เข้ารีดถือสาสนาโรมันคาธอลิกให้ทั่วหน้ากันหมด การที่พวกฮอลันดาได้ไปเที่ยวพูดเช่นนี้ กระทำให้เจ้าพนักงาน ยี่ปุ่นจับนายเรือไทยไปซักไซ้ไล่เลียงหลายคน นายเรือไทยจึงได้ ให้การแก่เจ้าพนักงานยี่ปุ่นว่า นายเรือไทยได้เห้นพวกตริสเตียนซึ่ง เปนคนหลายชาติหลายภาษาอยู่ในเมืองไทยเปนอันมากจริง และ มีราชทูตไปยังเมืองไทย จากบ้านเมืองต่าง ๆ หลายประเทศก็จริง เหมือนกัน แต่ในข้อที่ว่าพระเจ้ากรุงสยามได้ทรงเข้ารีดเปนคริศ เตียนนั้น จะจริงเท็จประการใดนายเรือหาทราบไม่ และที่ว่าราช ทูตคนใหม่เข้าไปยังเมืองไทยนั้น จะจริงหรือประการใดก็หาทราบ ไม่ เพราะนายเรือเหล่านี้ได้ออกจากเมืองไทยมาช้านานแล้ว แต่ เมื่อนายเรือเหล่านี้ยังอยู่ในเมืองไทย ก็หาได้เห็นราชทูตประเทศหนึ่ง ประเทศใดไปยังเมืองไทยไม่ แต่ข้อความต่าง ๆ ที่พวกฮอลันดาได้ไปเที่ยวเล่าลือนั้น ได้กระ ทำให้พวกยี่ปุ่นตกใจเปนอันมาก จนถึงกับไม่ยอมอนุญาตให้นายเรือ ไทยพาเรือไปยังเมืองโตกีโอ และเรือไทยจำเปนต้องกลับมาโดย จำหน่ายสินค้าออกไปได้แต่เศษ ๑ ส่วน ๓ เท่านั้น ยังมีเรือของพระ เจ้ากรุงจีนรวม ๑๓ ลำ ได้ถูกยี่ปุ่นบังคับเช่นนี้เหมือนกัน และพวก ยี่ปุ่นได้กดขี่เรือจีนอย่างร้ายแรงยิ่งกว่าเรือไทยหลายเท่า เพราะเหตุ


๗๘ ที่มีบาดหลวงเยชวิตประจำในเมืองจีนหลายคนนั้นเอง ข้อ ๑๕ ส่วนของต่าง ๆ ที่ได้บรรทุกลงเรือแล้วนั้น มีรับสั่ง ในพระเจ้ากรุงสยามให้ท่านนำของต่าง ๆ เหล่านี้ ไปถวายพระเจ้ากรุง ฝรั่งเศส ถวายมกุฎราชกุมาร ถวายมกุฎราชกุมารี ถวายเจ้า นาย ถวายพระเชษฐาของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และถวายต่อมาดำ ด้วย และในเวลาที่ท่านเอาของเหล่านี้ไปถวายนั้น ก็ให้ท่านแสดง ไมตรีของพระเจ้ากรุงสยาม ตามข้อความที่ท่านได้เคยฟังมาหลาย ครั้งแล้ว และให้ท่านกราบทูลให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและเจ้านายใน พระราชวงศ์รู้สึกว่า พระเจ้ากรุงสยามมีพระราชประสงค์ยิ่งนักที่จะส่ง ของต่าง ๆ ไปถวายและพระราชทาน แล้วแต่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและ เจ้านายจะมีพระราชประสงค์และมีพระประสงค์สิ่งไรเปนได้ทั้งสิ้น และ พระเจ้ากรุงสยามมีพระกระแสรับสั่งกับท่านโดยฉะเพาะ ให้ท่านกราบ ทูลถามพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสว่า จะมีของสิ่งใดในบ้านเมืองฝ่ายทิศตวัน ออกทีเปนของต้องพระทัยของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสบ้าง ข้อ ๑๖ การที่พระเจ้ากรุงสยามได้โปรดใช้ให้ท่านไปยังกรุง โรมโดยมีพระราชประสงค์อย่างไร และที่ท่านต้องไปยังกรุงโรมเปน การจำเปนอย่างไรนั้น ท่านก็ย่อมเข้าใจดีอยู่แล้ว คือว่าการที่ได้คิด ไว้จะให้บ้านเมืองได้อยู่เย็นเปนสุข และให้สาสนาคริศเตียนได้ตั้งอยู่ เปนหลักฐานมั่นคงได้นั้น จะเปนไปได้ตามประสงค์นี้ก็ต้องอาศัย ในการที่ท่านจะไปเจรจาในคราวนี้ได้เปนผลสำเร็จมาเท่านั้น เพราะ


๗๙ การเจริญของราชสำนักสยามต่อไปนั้น ก็ต้องอาศัยให้การสาสนาได้ แพร่หลายออกไปเปนหลักไว้ เพราะการเรื่องสาสนานี้ก็ได้เดินตามวิถี และได้อาศัยความบำรุงของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ทุกประการ เพราะ ฉะนั้นจึงมีรับสั่งให้ท่านไปเฝ้าพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ขอคำสั่งและอำนาจ แล้วแต่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะพระราชทาน แต่ต้องให้พระเจ้ากรุงฝรั่ง เศสได้มอบอำนาจให้ท่านจัดการต่าง ๆ ในพระนามของพระเจ้ากรุงฝรั่ง เศสได้ทุกอย่าง ข้อ ๑๗ เรื่องพวกปอตุเกตุที่เมืองมาเก๊าได้ทำการอย่างไรนั้น ท่านก็คงจะทราบอยู่แล้ว คือว่าพวกปอตุเกตได้บีบคั้นกดขี่พวก ไทยอย่างรายแรงมาก ถึงแม้ว่าพระเจ้ากรุงสยามได้ทรงปกครอง บำรุงพวกปอตุเกตที่อยู่ในพระราชอาณาเขตร์สยามก็จริงอยู่ แต่พวก ปอตุเกตก็มิได้วายที่จะข่มเหงคนไทยเสมอไป การที่พวกปอตุเกตได้บังคับกดขี่ราชทูตสยามทีเมืองโกอานั้น เปนการที่พระเจ้ากรุงสยาม ทรงกริ้วเปนอันมาก เพราะฉะนั้นจึงมีรับสั่งให้ท่านมีจดหมายไปยัง บาดหลวงผู้ล้างบาปของพระเจ้าปอตุเกต และบาดหลวงผู้ล้างบาป ของเจ้าหญิง ให้บาดหลวงเหล่านี้ได้ทราบในความประพฤติของพวก ปอตุเกต เพื่อขอให้พระเจ้ากรุงปอตุเกตได้มีรับสั่งไปยังเคาน์ดาลวอรา ผู้เปนไวซรอยในอินเดียให้ทราบว่า การที่เคาน์ดาลวอราได้ประพฤติ เช่นนี้เปนการผิด และขอให้พระเจ้ากรุงปอตุเกตได้ทรงมีรับสั่งติเตียน ไปยังพวกปอตุเกตที่เมืองมาเก๊า ว่าการที่ประพฤติเช่นนี้เปนการที่ชั่ว


๘๐ ร้ายอย่างยิ่ง การที่ราชทูตสยามที่ไปเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงปอตุเกต ได้หายสูญล้มตายไปนั้น เปนการที่พระเจ้ากรุงสยามทรงเสียพระราช หฤทัยยิ่งนัก เพราะทรงมีพระราชประสงค์จะเปนพระราชไมตรีติดต่อ กับพระเจ้ากรุงปอตุเกตอยู่เสมอ อนึ่งท่านจงอย่าลืมบอกให้บาดหลวงผู้ล้างบาปของพระเจ้ากรุง ปอตุเกตทราบ ว่ามองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ทำการเอื้อเฟื้อต่อประเทศ ปอตุเกตทุก ๆ วันด้วย ข้อ ๑๘ ในเวลาที่ท่านได้เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงสยามโดยฉะเพาะหลาย คราวนั้น ท่านก็ได้รับรู้ ในพระราชดำริและพระราชประสงค์ของพระ เจ้ากรุงสยามอยู่แล้ว ในเรื่องเด็ก๑๒ คนบุตร์ของข้าราชการไทย ที่พระเจ้ากรุงสยาม ทรงพระกรุณาโปรดให้ส่งไปยังประเทสฝรั่งเศสนั้น มีพระราชประสงค์ ให้เด็ก ๑๒ คนนี้ได้เข้าเล่าเรียนในโรงเรียนหลุยเลอกรัง และให้เล่า เรียนการทั้งปวงเหมือนกับผู้ดีชาวฝรั่งเศสทั่วไป ในเรื่องเด็กนักเรียน นี้ทรงพระราชดำริไว้ว่าจะส่งออก ไปเล่าเรียนให้คงมีจำนวนนักเรียนอยู่ ในประเทศฝรั่งเศส ๑๒ คนเสมอไป การที่พระเจ้ากรุงสยามทรงพระราชดำริเช่นนี้ ก็โดยพระราช ประสงค์จะให้เปนหนทางสำหรับเชื่อมหัวใจของคนในประเทศทั้ง ๒ ให้ ติดต่อกันเสมอ และมีพระราชประสงค์จะให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระ


๘๑ องค์ได้รู้จักในธรรมเนียมของชาติฝรั่งเศสด้วย จริงอยู่ พวกไทยไม่ใคร่จะเต็มใจเลยที่จะต้องข้ามน้ำข้ามทะเล อันกว้างขวางใหญ่โตเช่นนี้ และฝ่ายบิดารมารดาผู้ปกครองก็ไม่ใคร่ เต็มใจให้บุตร์ของตัวไปเลย แต่พระเจ้ากรุงสยามทรงพระราชดำริ เห็นว่า ในระหว่างเดินทางในเรือก็ดี ในเวลาที่พักอยู่ในประเทศฝรั่ง เศสก็ดี นักเรียนเล่านี้คงจะได้รับความเอื้อเฟื้อดีทุกอย่าง เมื่อเด็ก นักเรียนได้กลับมาเล่าถึงการเอื้อเฟื้อต่าง ๆ ของชนชาวฝรั่งเศสอันเปน ที่พอใจของนักเรียนแล้ว ก็อาจจะทำให้บิดามารดาผู้ปกครองเด็ก อื่น ๆ มีความเลื่อมใสที่จะส่งบุตร์ของตัวให้ออกไปเล่าเรียน เพื่อได้ รับความศึกษาและรับประโยชน์เหมือนกันนักเรียนทีกล่าวมาแล้วบ้าง เพราะฉะนั้นจึงเปนหน้าที่ของท่านที่จะจัดการทั้งปวงให้เด็กนัก-เรียนเหล่านี้ได้รับความเอื้อเฟื้อให้คุ้มกับความเหน็จเหนื่อย ทีต้องเดินทาง อันไกลเช่นนี้ และเปนหน้าที่ของท่านจะต้องกะ ว่านักเรียนเหล่านี้จะ ต้องมีโสหุ้ยใช้จ่ายในประเทศฝรั่งเศสปีละเท่าใด เพื่อจะได้จัดเงินส่ง ออกไปให้พอทุก ๆ ปี ส่วนข้อความอื่น ๆ ที่ได้มีพระราชดำรัสไว้กับท่าน ในเวลาที่ ท่านได้เฝ้าโดยฉะเพาะนั้น ก็ให้ท่านหาโอกาสทีจะกราบทูลพระเจ้ากรุง ฝรั่งเศสตามเวลาที่เหมาะ ในทีสุดที่เกี่ยวแก่ประโยชน์และ พระเกียรติยศของพระเจ้ากรุง สยามอย่าง ๑ การที่จะให้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสทรงพระเมตตากรุณาแก่ ๖

๘๒ เมืองไทยต่อไปอย่าง ๑ การปกครองติดต่อกับโป๊ปอย่าง ๑ การ ปรองดองเปนไมตรีกับ พระเจ้ากรุงอังกฤษและพระเจ้ากรุงปอตุเกตอีก อย่าง๑นั้น เปนสิ่งทีพระเจ้ากรุงสยามทรงหัวในความฉลาดไหวพริบ ของท่านที่จะได้จัดการให้เปนผลสำเร็จลุล่วงไป ขอพระเจ้าจงพิทักษ์รักษาตัวท่านให้อยู่เปนสุข แลขอให้ท่าน ได้กลับมาโดยสวัสดิภาพเทอญ เขียนทีพระราชวังทะเลชุบศร ณวัน แรม ๗ ค่ำ เดือนอ้าย ปี ๒๒๓๒ ครงกับวันที ๒๕ ธันวาคม ค.ศ. ๑๖๘๗


ถึงท่านมองเซนเยอร์ ข้าพเจ้าพึ่งจะพื้นจากความเจ็บป่วยอย่างร้ายแรง จนกำลังอ่อน เพลียไปหมดสิ้นแล้ว และด้วยข้าพเจ้าได้มีจดหมายฉะบับนี้มายังท่าน เพื่อขอคำาสั่งในตอนปลายที่สุดนั้น ก็โดยมือยังสั่นอยู่ ความฉลาดไหวพริบของท่าน อาจจะทำให้ท่านรู้สึกตามราย งานต่าง ๆ แล้ว ว่านใดเปนต้นเหตุที่ได้ทำการวุ่นวายขึ้นในเมือง ไทย และท่านก็ไม่ได้มีความลำบากอย่างใดที่จะแก้ไขในความวุ่นวาย เหล่านั้น อันจะเปนเหตุกระทำให้เกิดความเสียหายแก่สาสนา แก่ ประเทศ แก่บริษัทฝ่ายอินเดีย และจะทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศของ ชื่อฝรั่งเศสด้วย


๘๓ ข้าพเจ้าเองมิได้คิดเลยที่จะพูดบ่นถึงความยุติธรรมต่าง ๆ ที่ พวกเราได้ถูกมาในเมืองไทย เมืองตังเกี๋ย เมืองญวน และเมือง ต่าง ๆ ตลอดทั้งประเทศอินเดียจนที่สุดในกรุงโรมเอง พวกเราได้รับ ความอยุติธรรม เพราะเหตุว่าข้าพเจ้าไปถือเสียว่าการที่เราได้รับ ความกดขี่ข่มเหงต่าง ๆ นั้น ก็มีแต่พระเจ้าพระองค์เดียวที่จะเปนพยาน ของเราเท่านั้น และการทีพระเจ้าได้เปนพยานเช่นนี้ ข้าพเจ้าถือว่า เท่ากับเปนรางวัลความชอบอยู่ในตัวแล้ว แต่เมื่อข้าพเจ้ามาเห็นว่าสาสนาและประเทศฝรั่งเศสได้รับความ เสียหายเปนอันมาก และเห็นว่าผู้ที่กระทำการเช่นนี้มิได้คิดให้รอบตัว แต่จะพยายามอย่างเดียวจะให้พวกเราและผู้ทีบำรุงพวกเราได้ล่มจมดัง นี้แล้ว จึงเปนการจำเปนที่ข้าพเจ้าจะต้องเรียนให้ท่านทราบไว้เปน ส่วนตัว แต่การที่ข้าพเจ้าเรียนมาทั้งนี้ ก็มิให้ประสงค์ที่จะขอรับความ ยุติธรรมสำหรับการวุ่นวายที่ได้เปนมาแล้วหามิได้ เพราะการที่ได้ เปนมาแล้วกระทำให้หมดความหวังที่จะจัดการให้สาสนาได้แพร่หลาย ในฝ่ายทิศตวันออกได้ต่อไปแล้ว ทั้งหมดความหวังในการที่ประเทศ ฝรั่งเศสจะได้ไปตั้งห้าง และกองทหารในประเทศอินเดียและประเทศจีน ใช่แต่เท่านี้มองซิเออร์คอนซตันซ์ก็ต้องล้มตายไปด้วย และการที่มอง -ซิเออร์คอนซตันซ์ต้องตายนั้น ก็เพราะเหตุว่ามองซิเออร์คอนตันต์ เปนผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อประเทศฝรั่งเศส ผู้ที่แย่งชิงราชสมบัติไทย


๘๔ จึงได้เกลียดมองซิเออร์คอนซตันซ์นัก และเมื่อมองซิเออร์คอนซตันซ์ ตกอยู่ในอำนาจของศัตรูผู้นี้แล้ว ประเทศฝรั่งเศสก็ได้ปล่อยมือมิได้ ช่วยหลืออย่างใดเลย โดยประเทศฝรั่งเศสไปมัวเชื่อถ้อยคำอันชั่ว ร้ายของบุคคลจำพวก ซึ่งไปเห็นเสียว่าไม่มีหนทางทีจะแก้ไขการ ร้ายเหล่านี้แล้ว แต่การที่ข้าพเจ้าเรียนมาทั้งนี้ ก็เพื่อจะขอร้องให้ท่านได้ โปรด ออกคำสั่งป้องกันมิให้ความริษยาโกรธแค้นของบุคคลบางจำพวก ได้ ทำให้เราได้รับความเดือดร้อนในประเทศอินเดียต่อไป และเพื่อป้องกันมิให้คนจำพวกนี้ได้กระทำการร้ายแรงดังได้เคยทำแก่เรามา ซึ่ง เปนการเสียหายต่อสาสนาเปนอันมากต่อไป เมื่อเร็ว ๆ นี้เองข้าพเจ้าเชื่อว่า ในไม่ช้าข้าพเจ้าจะต้องละโลก นี้ไปสู่พระเจ้าแล้ว และข้าพเจ้าก็ได้เตรียมตัวที่จะไปรายงานให้พระ เจ้าได้ทราบความจริงทั้งปวง เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจำเปนต้องบอก กล่าวให้ท่านทราบว่า บุคคลเหล่านี้มีความตั้งใจดีก็จริงอยู่ แต่หาก เปนคนที่ไร้สติปัญญาจึงมิได้ระวังตัวจนได้กระทำการอันชั่วร้าย คล้าย กับเรื่องที่นักบุญเซนต์ปอลได้กล่าวไว้เช่นนั้น วันที่ ๓๐ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๖๘๗ ( พ.ศ. ๒๒๓๐ ) ( เซ็น ) ตาชาด์



๘๕ บาญชีรายละเอียดของต่าง ๆ ที่พระเจ้ากรุงสยามได้มีรับสั่งให้ราชทูตสยาม ไปจัดทำหรือซื้อที่เมืองฝรั่งเศส


หมวกอย่างดีต่าง ๆ และขนาดสูงต่างกัน ตามตัวที่ราชทูต ได้รับไปแล้วหลายหมวก หมวกสีขาว ๒ ใบ ตามตัวอย่าง ใบ ๑ ใช้ขนยาว ใบ ๑ เกลี้ยง หมวกอีก ๒ ใบสีใบแห้ง และให้ทำอย่างปราณีตเหมือนหมวก ใบอื่น ๆ หมวกอีก ๑ ใบเปนสีพิเศษตามสีผ้าตัวอย่าง ใบ ๑ให้เปนหมวก ขนยาว อีกใบ ๑ เกลี้ยง หมวกสีน้ำเงิน ๒ ใบ หมวกสีเขียว ๒ ใบ หมวกสีดำ ๒ ใบ หมวกสีม่วง ๒ ใบ หมวกสีแดง ๒ ใบ หมวกสีน้ำส้ม ๒ ใบ หมวกสีแดงแก่ ๒ ใบ หมวกสีม่วง ๒ ใบ แต่ให้เปนสีม่วงแก่กว่า ๒ ใบก่อน


๘๖ หมวกอีก ๒ ใบให้พับใส่กระเป๋าได้แต่อย่าให้เสียทรงเดิม ใบ ๑ สีดำ ใบ ๑ สีเทา หมวกต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น มีสีต่าง ๆ กันตามตัว อย่างสีที่ระบายใส่กระดาษไว้ หรือตามตัวอย่างผ้า หมวกอีกหลายใบแต่ให้ทรงเตี้ยกว่าหมวกใบก่อน คือใบก่อน ๆ นั้นให้สูง ๑๓ นิ้ว แต่หมวกจำนวนนี้ให้สุงเพียง ๗ นิ้วเท่านั้น หมวกที่มีทรงสูง ๗ นิ้วนั้นให้มีจำนวนเท่ากับหมวก ๑๓ นิ้ว รูป ทรงคงให้เหมือนกัน ผิดกันแต่ใบหมวกซึ่งมีรูปตามตัวอย่างทีส่งมา ด้วยแล้ว สีนั้นต้องระวังให้ถูกสี เพราะฉะนั้นในงบก่อนมีจำนวนหมวก อยู่ ๒๖ ใบ ใบงบหลังนี้ก็ต้องมีจำนวนเท่ากัน ตกลงรวมต้องเปนหมวก ๕๒ ใบ แต่เพื่อกันควมเข้าใจผิดนั้น ให้ราชทูตไปตรวจดูหมวกเสีย ก่อน แล้วจึงให้ช่างทำหมวกระบายสีต่อไป รวมหมวกทังสิ้น ๕๔ ใบ ดอกไม้ทองลงยาประดับเพ็ชร์ตามตัวอย่าง ๔ ดอก กระบี่ยาวตรง ๑ เล่ม ฝักกระบี่ให้ทำเปนลายดอกไม้ลงยา ตาม ตังอย่างทีได้ส่งไป แต่ลายดอกไม้นั้นต้องเปนไม้ไทย ดาบ ๑ เล่มให้สลักลายโปร่งและให้ลงยาอย่างแบบฝรั่งเศส ตาม ตัวอย่างที่ได้เขียนลายใส่กระดาษไว้ให้แล้ว และเพื่อจะให้ลวดลายที่ โปร่งขึ้นเงานั้น ให้เอาแผ่นดินทองปิดใต้ลาย แต่ด้ามดาบนั้นให้เปนแต่ลง ยาอย่างแบบฝรั่งเศส ไม่ต้องสลักเปนลายโปร่ง


๘๗ ดาบอีกเล่ม ๑ ให้ลงยาทั้งเล่มตามแบบตัวอย่าง กริช ๑ เล่ม (ซึ่งเปนมีดแทงของพวกแขกมลายู) ทำด้วยทอง คำทั้งเล่ม และให้ลงยาอย่างแบบของฝรั่งเศส เว้นแต่ตามขอบซึ่งได้ ส่งแบบไว้โดยฉะเพาะแล้ว เพราะบางแห่งต้องฝังพลอยแดงตามขนาดและจำนวนซึ่งได้จดมาให้แล้ว กาตัน (Cartanne) เมืองยี่ปุ่นอีก ๑ อัน ให้มี ๔ ชั้น และให้ลงยา อย่างแบบฝรั่งเศสตามตัวอย่าง Cartanne เมืองยี่ปุ่นอีก ๑ อัน มีชั้น ๔ ชั้น ลงยาและสลักลาย โปร่ง แต่ลายนั้นแล้วแต่นายช่างจะทำเปนรูปอะไร จะทำเปนลายนก หรือลายดอกไม้ก็ได้ แต่ดอกไม้นั้นจะต้องเปนดอกไม้ไทยซึ่งราชทูต สยามจะต้องให้แบบ ตามลายโปร่งนั้น ต้องเอาแผ่นทองรองข้างล่าง Cartanne ทั้ง ๒ อันนี้ต้องมีด้ามแต่อันเดียว ซึ่งจะต้องลงยา อย่างแบบของฝรั่งเศส ขอนั้นให้ทำด้วยเงินแต่ให้ปิดทองสลับ คือให้ ทองและเงินสลับกัน แล้วให้ฝังพลอยแดงเมล็ดเล็ก ๆ ตามแบบตัวอย่าง ไทยมีความประสงค์ให้ลงยาของต่าง ๆ ให้เปนเหมือนกระจก และอย่าให้ลงยานั้นทับซ้อนกับทองได้ ในข้อนี้จะต้องการทราบให้แน่ ว่า ไทยจะต้องการอย่างไร เพราะฉะนั้นเวลาที่จะสั่งนายช่างให้ทำนั้น จะต้องอธิบายกันต่อหน้าราชทูต อีกประการ ๑ จะต้องกำชับนายช่างว่า ในเวลาทีจะลงยาฝัก กระบี่นั้น ตอนที่จะต้องเอาเข้าเผาไฟนั้นจะต้องระวังอย่าให้ข้างในฝัก


๘๘ คดได้ เพื่อจะได้เอากระบี่สอดเข้าไปได้ง่าย ๆ แว่นตาทองคำสำหรับอ่านหนังสือ ๑ แว่น ให้ลงยาสีต่าง ๆ ตาม แบบของฝรั่งเศส กระจกเงากรอบทองคำ ๑ กระจก ตามอย่างซึ่งได้ทำแบบ ไว้ด้วยตะกั่วแล้ว กระจกเงานี้ให้มีกระจกส่อง ๒ บาน ๆ ๑ ให้ส่องเห็น ตามจริง อีกบาน ๑ นั้น ให้เห็นขยายโตขึ้น ทั้งหมดนี้ให้ลงยาตาม แบบของฝรั่งเศส กระจกเงาอีก ๑ บาน ทำด้วยทองคำ ซึ่งเวลานี้กำลังลงมือลงยา ตามแบบฝรั่งเศสอยู่แล้ว กระจกเงานี้มี ๒ บาน พับได้ และจะ ต้องใช้กระจกอย่างดี กระจกเงาอีก ๑ บาน ทำด้วยทองคำ รูป ๔ เหลี่ยม มีกระจก ๒ บาน ลงยาเปนลายดอกไม้ดอกเล็ก ๆ กล้องส่องทองคำ ๑ อัน ให้ลงยาหลายสีตามแบบของฝรั่งเศสและกระจกสำหรับใช้ในกล้องส่องนี้ ต้องใช้แก้วอย่างดีที่สุดทีจะหาได้ หีบทองคำเล็ก ๑ ใบ ให้ลงยาตามแบบของฝรั่งเศส ลูกกุญแจ นั้นให้ทำด้วยทองคำ หีบและลูกกุญแจนั้นให้ทำตามอย่างที่ส่งมาแล้ว ถ้วยทองคำเล็ก ๒ ใบ มีฝาปิด ให้ลงยาอย่างแบบของฝรั่งเศส ตามตัวอย่าง ตลับเล็ก ๆ สำหรับใส่ขี้ผึ้ง ๒ ใบ ให้ลงยาอย่างฝรั่งเศส ตามตัวอย่าง


๘๙ ตลับทองคำ ๒ ใบกลม วัดโดยรอบยาว ๙ นิ้ว ให้ลงยาอย่าง แบบของฝรั่งเศสตามตัวอย่าง ตลับอีก ๒ ใบ ขนาดโตและหนาเท่าใบก่อน แต่ให้ลงยาพื้นสี แดงเพื่อทำลายดอกไม้สีต่าง ๆ อย่างแบบของฝรั่งเศส และให้ชักเงา ให้มีเงามากที่สุดที่จะทำได้ (ตามคำอธิบายนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าหมาย ความจะต้องการให้ทำเปนรูปเล็ก ๆ ลงยาแทรกตามลาย) ของเครื่องทองตามที่กล่าวมาข้างบนนี้ จะต้องทำด้วยทองคำทั้ง สิ้น เพราะฉะนั้นได้สิ่งที่จำเปนสำหรับทำของเหล่านี้แล้ว เครื่องแก้วต่าง ๆ โถแก้วใหญ่ ๒ โถ ตามแบบตัวอย่าง ถ้วยกินน้ำร้อน ๒ ใบโต ๗นิ้ว ถ้วยกินน้ำร้อนมีฝา ๒ ใบโต ๔ นิ้ว ถ้วยกินน้ำร้อนอีก ๒ ใบโต ๓ นิ้ว กาน้ำ ตามตัวอย่าง ๒ กา จานโต ๑๑ นิ้ว ๒ ใบ จานโต ๑๐ นิ้ว ๒ ใบ หีบมีฝาโต ๔ นิ้วครึ่ง ๑ หีบ โถไม่มีฝา ๑ โถ ที่กลางโถนั้นให้มีรูสำหรับปักดอกไม้ได้ตาม ตัวอย่าง เครื่องแก้วทำเปนรูปลูกมะเดื่อให้กิ่งไม้รอบ


๙๐ เครื่องแก้วทำเปนรูปฟองนกกระจอกเทศ เครื่องแก้วอีกอย่าง ๑ ทำเปนรูปส้ม เหปลือกทำเปนหนาม เครื่องแก้วอีกอย่าง ๑ ทำเป็นรูปลูกไม้ซึ่งลิงชอบรับประทาน เครื่องแก้วเล็กกว่าทีกล่าวมาแล้ว ๔๗ ชิ้น เครื่องแก้วเล็กลงไปอีก ๗๐ ชิ้น เครื่องแก้วเล็กลงไปอีก ๑๐ ชิ้น เครื่องแก้วเล็กลงไปอีก ๑๒๐ ชิ้น เครื่องแก้วทำเปนรูปลูกสมอ ๒๘ ชิ้น เครื่องแก้วทำเปนรูปลูกสมอเล็กลงไป ๒๐ ชิ้น เครื่องแก้วทำเปนรูปลูกสมอเล็กลงไปอีก ๕๒ ชิ้น เครื่องแก้วทำเปนรูปลูกสมอเล็กลงไปอีก ๒๔๐ ชิ้น เครื่องแก้วทำเปนรูปลูกสมอเล็กลงไปอีก ๕๐ ชิ้น เครื่องแก้วเล็ก ๆ ๘๐ ชิ้น เครื่องแก้วเล็ก ๆ ๕๘ ชิ้น เครื่องแก้วเล็กลงไปอีก ๒๔๐ ชิ้น เครื่องแก้วเล็กลงไปอีก ๑๖๐ ชิ้น เครื่องแก้วเล็กที่สุด ๑๖๔ ชิ้น เครื่องแก้วเล็ก ๆ ๑๔๐ ชิ้น เครื่องแก้วเล็ก ๆ ๑๒๖ ชิ้น ใบไม้ซึ่งคนไทยนับถือ ๔๐ ใบ


๙๑ ใบไม้ชะนิดเดียวกันนี้ แต่ทำให้เปนขนาดเล็กลงไปเปนเถาอย่างละ ละ ๓๐, ๒๘, ๑๐, ๒๔, ๒๐, ใบ ดอกไม้เล็ก ๆ ๑๖๐ ดอก ดอกไม้เล็ก ๆ อีก ๑๖๐ ดอก ช่อดอกไม้สำหรับอยู่กลางดอกไม้ ๔๐ ช่อ ดอกไม้อีกชะนิดหนึ่ง ๓๒๐ ดอก ดอกไม้เล็กลงไป ๓๒๐ ดอก ช่อดอกไม้สำหรับอยู่กลาง ๑๕ ช่อ ดอกไม้อีกชะนิดหนึ่ง ๑๒๐ ดอก ดอกไม้ชะนิดเดียวกัน แต่ขนาดเล็กลงไป ๑๒๐ ดอก ช่อดอกไม้สำหรับอยู่กลาง ๑๔ ช่อ ดอกไม้เล็ก ๆ ชะนิดเดียวกัน แต่ขนาดย่อมลงมา ๑๑๒ ดอก ช่อดอกไม้สำหรับอยู่กลาง ๑๒ ช่อ ดอกไม้ชะนิดอื่น แต่ทำเปนเถาเล็กลงมาทุกที่ อย่างละ๙๖, ๙๖ ๑๐, ๘๐, ๘๐,ดอก จำนวนเครื่องทั้งหมดรวมทั้งสิ้นเปนเครื่องแก้ว ๔๓๐๒ ชิ้น




๙๒ เครื่องแก้วอย่างรูปอื่น ๆ สำหรับช้างพลาย แก้วกลม ๗๕ ชิ้น แก้วทำเปนดอกไม้แบน ๆ รูปคล้ายดาว ๒๘๐ ดอก แก้วทำเปนรูปพระเจดีย์ ๑๗ ชิ้น แก้วสำหรับทำเปนฐานเจดีย์ ๑๙ ชิ้น แก้วสำหรับทำเปนขอบเจดีย์ ๑๑๔ ชิ้น แก้วสำหรับประดับเจดีย์ ๓๓ ชิ้น แก้วสำหรับทำเปนเท้าเจดีย์ ๑๙ ชิ้น แก้วกลม ๆ เหมือนเมล็ดพริกไทย ๓๕๐ เมล็ด แก้วเหลี่ยม ๓๕๐ ชิ้น รวมเครื่องแก้วทั้งสิ้น ๑๒๕๗ ชิ้น


เครื่องแก้วสำหรับช้างพัง แก้วทำเปนดอกไม้แบน ๆ รูปคล้ายดาว ๑๐๖ ดอก แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น ๓๙๔ ชิ้น แก้วทำเปนรูปเจดีย์ดังกล่าวมาข้างบนนั้นแล้ว ๑๘ ชิ้น แก้วสำหรับใส่ยอดเจดีย์ ๒๖ ชิ้น แก้วสำหรับประดับเจดีย์ ๒๖ ชิ้น แก้วสำหรับขอบเจดีย์ ๙๖ ชิ้น


๙๓ แก้วสำหรับประดับยอดเจดีย์ ๒๖ ชิ้น แก้วสำหรับยอดเจดีย์ ๑๘ ชิ้น แก้วทำเปนรูปปากนก ๑๒ ชิ้น รวมทั้งสิ้นเปนจำนวน ๗๒๒ ชิ้น เครื่องแก้วต่าง ๆ ดังได้กล่าวมาข้างบนนั้นแล้ว และที่จะกล่าว ต่อไป ล้วนแต่มีตัวอย่างไว้แล้วทั้งสิ้น

เครื่องแก้วอย่างอื่นสำหรับช้าง ลูกไม้ซึ่งลิงชอบรับประทาน กลางมีรู ๔ ลูก จานกลม ๆ มีรูหลายรู ๔ จาน จานกลม ๆรูปอย่างเดียวกัน แต่มีรูที่กลางจานรูเดียว ๔ จาน แก้วทำเปนรูปลูกไม้ ๔ ชิ้น แก้วทำเปนรูปใบไม้ ๓ ชะนิด ๆ ละ ๔ อัน รวมเปน ๑๒ อัน แก้วมีหน้า ๔ หน้า ๒๙๑ ชิ้น แก้ว ๓ หน้า ๑๐๔ ชิ้น แก้วทำเปนรูปดอกไม้อีกชะนิดหนึ่ง ๓๔ ชิ้น แก้วสำหรับห้อยที่หู ๑๗ ชิ้น แก้วทำเปนรูปอื่นมีหน้า ๔ หน้ารวม ๕๕ ชิ้น แก้วกลม ๑๓, ๑๖, ๓, ๖, ๗, ๖ ,๑๑, ๔, ๔, ๓ ,๖ ,๑๑, ๖,


๙๔ ๕, ๖, ๖, ๑๐, ๗, ๑๑, ๔, ๓, ๕, ๕, ๑๒, ๔, ๖, ๕, ๒๑, ๘, ๙ , ๑๑, ชิ้น แก้วทำเปนรูปใบไม้ครึ่งใบ ๔ ชิ้น แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น ๓ ชิ้น แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น ๑๗ ชิ้น แก้วปิดทอง ๑๔ ชิ้น แหลม ๓ ชิ้น รูปคล้ายกันอีก ๒๑ ชิ้น แก้วกลม ๒๒ ชิ้น รูปอนย่างเดียวกันอีก ๕ ชิ้น สำหรับแขวน ๓ ชิ้น รูปอย่างเดียวกัน ๔ ชิ้น รวมทั้งสิ้น ๔๐๘ ชิ้น


เครื่องแก้วหล่อ ตลับเล็กๆ สำหรับใส่ยาสูบ ซึ่งท่านราชทูตจะได้ให้แบบ ๑๐ ใบ หีบทาสีขาวตามตัวอย่าง ๑ หีบ หีบทาสีน้ำเงิน ๑ หีบ หีบทาสีเขียว ๑ หีบ หีบเล็กลงไปอีก ๑ หีบ พระเจดีย์ทาขาว น้ำเงิน และเขียวตามแบบตัวอย่าง ๓ อัน เก้าอี้ขนาดกว้างและสูงและทาสีตามแบบตัวอย่าง ๑ ตัว กล้องส่องอย่างใหญ่สำหรับดูดาวในเวลากลางวัน ๒ กล้อง


๙๕ สิงห์โตแก้วสีขาว ๒ ตัว สิงห์โตแก้วสีเขียว ๒ ตัว สิงห์โตแก้วสีแดง ๒ ตัว สิงห์โตแก้วสีม่วง ๒ ตัว สิงห์โตแก้วสีน้ำเงิน ๒ ตัว สิงห์โตเหล่านี้ให้ท่านเปนคู่ ๆ หันเข้าหาหัน คือว่า สิงห์โต คู่ ๑ ต้องหันหน้ามองดูกัน สูง ๑ นิ้ว ถานยาว ๔ นิ้ว และให้ทำให้งาม ที่สุดที่จะทำได้ สิงห์โตเหล่านี้ต้องทำเปนสิงห์โตหมอบ สิงห์โตแก้วขาวอีก ๒ ตัว สูง ๑ ศอก ฐานกว้าง ๑ ศอก กล้องส่องสำหรับดูทั้งพระจันทร์และดาว ๑ กล้อง กระจกรูปซึ่งมีรูปต่าง ๆ เช่นแสดงในเรื่องพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เสด็จออกในที่ประชุมข้าราชการ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเสด็จนำหน้ากอง ทัพบก กองทัพเรือ กองทัพเรือเวลาประจันบาน พระเจ้ากรุงฝรั่ง เศสเสด็จออกรับแขกเมือง พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเสด็จพระราชดำเนิน เข้าบ้านเมือง วิธีประชุมของรัฐบาลเรื่องการสร้างดินฟ้าและ อากาศ รูปบ้านเมืองซึ่งมีป้อมคูประตูหอรบอย่างแน่นหนา รูปตึก เรือนอย่างงาม ๆ ทั้งรูปสวนซึ่งอยู่ตามตึกเรือนเหล่านี้ด้วย กรอบ รูปเหล่านี้ให้ทำด้วยเงินทั้งสิ้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่าตามที่บอกให้ส่งรูปต่าง ๆ เหล่านี้ คงจะหมาย ความว่าศิลาต่าง ๆ ซึ่งประกับรูปต่าง ๆ นั้นเอง เพราะศิลาสีที่ประดับ


๙๖ รูปนั้น คณะบาดหลวงได้ถวายไว้ต่อพระเจ้ากรุงสยาม และพระเจ้า กรุงสยามก็โปรดของสิ่งนี้มากกว่าของอย่างอื่นทั้งหมด กล้องขยายของเล็กให้ใหญ่ (ไมโกรซโก๊ป) ๒ กล้อง สำหรับ ดูรูเล็ก ๆ ตามผิวหนังในร่างกายคน เพื่อจะได้ส่องดูว่าวิญญาณออก ทางไหน ของแปลก ๆ ต่าง ๆ ซึ่งเปนของที่มาจากกรุงโรม ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ที่จะต้องการของแปลก ๆ จากกรุงโรมนั้น คง จะหมายความว่า รูปตุ๊กตาทำเปนสีต่าง ๆ ที่มาจากเมืองปาดูเดอเวนิช และประเทศเยอรมนีนั้นเอง ถ้วยสำหรับรับประทานน้ำทำเปนเกลียวให้ยืดเข้ายืดออกได้ สี ขาว ๑๐ ใบ สีเขียว ๑๐ ใบ สีน้ำเงิน ๑๐ ใบ แต่ถ้วยชะนิดนี้ให้หารูป ต่าง ๆ แปลก ๆ และหารูปที่แปลกและสีต่าง ๆ ด้วย ถ้าหารูปและ สีแปลก ๆ ได้แล้ว ก็ให้หามาอย่างละ ๒ ใบทุกอย่าง กล้องขยายของเล็กให้ใหญ่อีก ๒ กล้อง แก้วอย่างดีสำหรับดูของไกล ๕ คู่ ตามตัวอย่างซึ่งวัดสูญกลาง โต ๒ นิ้ว แก้วนี้สำหรับใช้กับกล้องส่อง ๓ อัน อีก ๒ อันนั้นให้แก้วโต ๑ นิ้วครึ่ง



๙๗ กระจกต่าง ๆ กระจกยาว ๑ ศอก ๑๐ นิ้ว กว้าง ๑ ศอก ๒ นิ้ว ๓๓๑๐ แผ่น " ๑ ศอก " ๖ ๑/๓ นิ้ว ๖๕ " " ๑ ศอก " ๑๑ นิ้ว ๓๒ " " ๑ ศอก " ๗ นิ้ว ๙๑ " " ๑ ศอก " ๗ นิ้ว ๕๙ " " ๑ ศอก " ๑ คืบ ๗ นิ้ว ๒๙ " " ๑ ศอก " ๗ นิ้ว ๕๗ " " ๑ ศอก " ๑ คืบ ๗ นิ้ว ๒๘ " " ๓ ศอก ๖นิ้ว " ๑ คืบ ๑๑ นิ้ว ๖ " " ๒ ศอก ๔ นิ้ว " ๑ ศอก ๓ " " ๒ ศอก ๙ นิ้ว " ๑ ศอก ๖ นิ้ว ๓ " " ๑ ศอกสี่เหลียม ๖ " " ๑ ศอก ๒ นิ้ว " ๒ ๑/๓ นิ้ว ๒๑ " " ๑ ศอก ๒ นิ้ว " ๒ ๑/๓ นิ้ว ๑๖ " " ๑ ศอก ๒ นิ้ว " ๕ นิ้ว ๑๔ " " ๑ ศอก " ๒ ๑/๓ นิ้ว ๑๒ " " ๑ ศอก ๑ นิ้ว " ๒ ๑/๓ นิ้ว ๑๓ " " ๑ ศอก " ๕ นิ้ว ๑๑ " " ๑ ศอก ๒ นิ้ว " ๓ นิ้ว ๙ " ๗

๙๘ กระจกยาว ๑ ศอก กว้าง ๖ นิ้ว ๘ แผ่น " ๑ ศอก ๑ นิ้ว " ๓ นิ้ว ๖ " " ๑ ศอก ๒ นิ้ว " ๖ นิ้ว ๕ " " ๑ ศอก " ๒ นิ้ว ๓ " รวมทั้งสิ้นเว้นแต่กระจกจำนวนแรกเปนกระจก ๕๓๒ แผ่น กระจกต่าง ๆ เหล่านี้ สำหรับจะใช้ประดับพระราชวังที่พระราช ธานีกรุงศรีอยุธยา


กระจกสำหรับประดับพระราชวัง เมืองลพบุรี กระจกยาว ๑ ศอก กว้าง ๕ นิ้ว ๓๒ แผ่น " ๑ ศอก " ๓ นิ้ว ๗๘ " " ๑ ศอก " ๓ ๑/๓ นิ้ว ๔๘ " " ๑ ศอก " ๒ นิ้ว ๓๐ " " ๑ ศอก " ๒ นิ้วครึ่ง ๓๐ " " ๑ ศอก " ๔ นิ้ว ๑๖ " " ๑ ศอก " ๑ คืบ ๓ นิ้ว ๑๖ " " ๑ ศอก " ๑ คืบ ๔ นิ้ว ๑๖ " " ๑ ศอก " ๑ คืบ ๕ นิ้ว ๑๖ "


๙๙ กระจกยาว ๑ คืบสี่เหลียม ๓๐ แผ่น รวมกระจกขนาดต่าง ๆ สำหรับประดับพระราชวังเมืองลพบุรี เปนกระจก ๒๑๒ แผ่น กระจกสำหรับประดับตามฝาผนัง ขนาดกว้างยาวเท่ากับที่เรา ได้นำไปเปนตัวอย่างเมื่อเทียวก่อนอีก ๒๐๐ แผ่น ตะกั่วแผ่นหนัก ๒ หาบ กระจกสำหรับใส่บานพระทวารยาว ๕ ศอก ๕ นิ้ว กว้าง ๑ ศอก เปนกระจกแผ่นเดียว ให้คนอยู่ข้างในมองออกมาเห็นข้างนอกได้ แต่ อย่าให้คนอยู่ข้างนอกมองเข้ามาเห็นข้างใน ๔ แผ่น กระจกยาว ๓ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว กว้าง ๒ คืบ ๒ นิ้ว อีก ๒ แผ่น กระจกสำหรับบานประตู ๓ ประตู ยาว ๔ ศอก ๗ นิ้ว กว้าง คืบ ๕ นิ้ว ๖ แผ่น กระจกสำหรับใส่ที่พระทวารนั้น ต้องเปนกระจกที่ขยายของให้ โต หรือของสิ่งเดียวให้เห็นเปนหลายสิ่งก็ได้ เชิงเทียนกิ่งทำด้วยแก้วเจียรนัยตามแบบตัวอย่าง ๑๐ อัน จานรองสำหรับทำเปนฐานเชิงเทียนแก้ว ๑๐ อัน แก้วทำเปนรูปต่าง ๆ ๑๐ อัน แก้วทำเปนรูปต่าง ๆ คล้ายลูกปัด ๑๐ อัน แก้วเปนลูกไม้รูปคล้าย ๆ กับดาว ๓๒๑ อัน


๑๐๐ แก้วทำเปนรูปลูกไม้ ๓๑๐ อัน แก้วทำเปนรูปปลูกไม้แต่ให้เล็กลงไป ๑๐๐๐ อัน แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น ๒๐๐ อัน แก้วทำเปนรูป มาเซา (massao) ๖๒๐ อัน แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น ๒๐๐ อัน แก้วทำเปนรูปอย่างอื่นแต่ให้เล็กลง ไป ๓๐๐ อัน แก้วทำเปนรูปอย่างอื่นอีก ๘๒๑ อัน แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น แต่ให้เล็กลงไป ๑๙๐๑ อัน แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น แต่ให้เล็กลงไป ๑๗๘๖ อัน แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น แต่ให้เล็กลงไป ๑๕๐ อัน แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น แต่ให้เล็กลงไป ๕๗๑ อัน แก้วทำเปนรูปเมล็ดพริกไทย แต่ปลายข้างหนึ่งแหลม ๑๒๐๐ อัน แก้วทำเปนรูปเมล็ดพริกไทย แต่ให้เล็กลงไป ๕๒๑ อัน แก้วทำเปนรูปเมล็ดพริกไทย แต่ให้เล็กลงไป ๒๖๔๐ อัน แก้วทำเปนรูปดอกไม้ ๔ ด้าน ๑๒๘๐ อัน แก้วทำเปนรูปดอกไม้ ๔ ด้าน แต่ให้เล็กลงไป ๑๒๘๐ อัน แก้วทำเปนรูปดอกไม้ ๔ ด้าน แต่ให้เล็กลงไป ๘๘๐ อัน แก้วทำเปนรูปดอกไม้ ๔ ด้าน แต่ให้เล็กลงไป ๘๘๐ อัน แก้วทำเปนรูปดอกไม้ ๔ ด้าน แต่ให้เล็กลงไป ๒๐๐๖ อัน แก้วทำเปนรูปดอกไม้ ๔ ด้าน แต่ให้เล็กลงไป ๒๐๐๐ อัน


๑๐๑ แก้วทำเปนรูปดอกไม้ ๔ ด้าน แต่ให้เล็กลงไป ๓๒๔๐ อัน แก้วทำเปนรูปดอกไม้ ๔ ด้าน แต่ให้เล็กลงไปอีก ๓๒๔๐ อัน แก้วทำเปนรูปดอกไม้ ๔ ด้าน แต่ให้เล็กลงไป ๑๒๐๐ อัน แก้วทำเปนรูปดอกไม้ ๔ ด้าน แต่ให้เล็กลงไป ๑๒๐๐ อัน แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น ๒๔๐๐ อัน แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น แต่ให้เล็กลงไป ๒๔๐๐ อัน แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น แต่ให้เล็กลงไป ๕๓๐๐ อัน แก้วทำเปนรูปอย่างอื่น แต่ให้เล็กลงไป ๕๓๐๐ อัน แก้วทำเปนรูปใบไม้เล็ก ๆ ๒๘๐ อัน แก้วทำเปนรูปใบไม้เล็ก ๆ แต่ให้ย่อมลงไป ๑๖๐ อัน แก้วทำเปนรูปใบไม้เล็ก ๆ แต่ให้ย่อมลงไป ๑๕๐ อัน แก้วทำเปนรูปใบไม้เล็ก ๆ แต่ให้ย่อมลงไป ๑๒๐ อัน แก้วทำเปนรูปใบไม้เล็ก ๆ แต่ให้ย่อมลงไป ๘๐ อัน เครื่องแก้วต่าง ๆ ตามบาญชีนี้มีตัวอย่างทั้งนั้น รวมเครื่องแก้วต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งสิ้นเปนแก้ว ๓๕๖๖๐ ชิ้น ลูกแก้วกลม ๒ อันเปนลูกแก้วแสดงเดือดดาวพระอาทิตย์อัน ๑ อีกอัน ๑ นั้นเปนลูกโลก ลูกแก้วแสดงเดือนดาวนั้นให้ใช้ห้อยแขวน ได้ และลูกโลกนั้นให้มีท้าวฐานตั้งได้ ทั้ง ๒ อันนี้ให้เขียนเปนตัว อักษรไทย ลูกโลกทั้ง ๒ นี้ได้ทำแบบตัวอย่างให้ไปแล้ว นาฬิกาพก ๒ เรือน ตลับให้ทำด้วยทองคำ


๑๐๒ นาฬิกาพกอีก ๒ เรือน แต่ตลับให้ทำด้วยเงิน อำพันเหลืองหลาย ๆ ก้อน ให้หาอย่างก้อนใหญ่ที่สุดที่จะ หาได้

บาญชี ผ้าแพร และผ้าปักไหมทอง เสื้อ ๑ ตัว สำหรับทำฉลองพระองค์พระเจ้ากรุงสยาม ให้ทำ ด้วยกำมะหยีแดงปักไหมทองและเอาไข่มุกประดับ ฉลองพระองค์อีก ๑ องค์ ทำด้วยกำมะหยีแดงปักไหมทอง และประดับไข่มุกเหมือนกัน แต่ไม่ต้องมีแขนเหมือนองค์ก่อน ฉลอง พระองค์ทั้ง ๒ นี้ต้องมีลูกไม้กำมะหยีประดับ และให้มีเครื่องประดับ ด้วยไหม ไหมทอง และไข่มุกด้วย ฉลองพระองค์อีก ๒ องค์ ทำด้วยกำมะหยีสีเขียว มีเครื่อง ประดับเหมือนกับฉลองพระองค์ ๒ องค์ก่อน ฉลองพระองค์อีก ๒ องค์ ทำด้วยกำมะหยีสีน้ำเงิน มีเครื่อง ประดับเหมือนกับองค์ก่อน ๆ ลูกไม้สำหรับติดฉลองพระองค์ทั้ง ๖ องค์นี้ ให้ทำด้วยกำมะหยี แดงปักไหม ไหมทอง และประดับไข่มุกทุกองค์ ลายทองที่ปักนั้นต้องเปนลายดุนสูงกว่าลายที่ปักด้วยไหม และ ต้องระวังให้เนื้อผ้าเหมือนกับตัวอย่างทีได้ส่งไปจากเมืองไทย


๑๐๓ ฉลองพระองค์สีดำ ๒ องค์นั้น ต้องให้รีบทำให้แล้วโดยเร็ว ที่สุดที่จะทำได้ และถ้ามีโอกาสส่งได้เมื่อไร ก็ให้รีบส่งไปโดยเร็ว เสื้อสักหลาดอย่างดี ๑ เสื้อ ตัวเสื้อนั้นให้ตัดอย่างแบบของ ฝรั่งเศส แต่แขนนั้นให้ทำอย่างแบบไทย ผ้าปักไหมและไหมทอง ๑ ผืน ให้ปักลายไทยตามแบบตัวอย่าง ที่ได้รับไปแล้ว ผืนที่ ๑ ให้ยาว ๖ ศอก ๙ นิ้ว กว้าง ๑ ศอก ๑ นิ้ว ผืนที่ ๒ นั้น ให้ยาว ๘ ศอก ๑ คืบ กว้าง ๑ ศอกคืบ ผืนที่ ๓ นั้น ให้ยาว ๑๐ ศอก กว้าง ๒ ศอก ผ้าทั้ง ๓ ผืนนี้ ต้องให้เนื้อผ้าและฝีมือปักเหมือน ๆ กัน ต่าง แต่ลายซึ่งได้ตัวอย่างไว้แล้ว และลวดลายที่จะปักนั้น ต้องให้ฉะเพาะ พอดีกับแบบตัวอย่างเท่านั้น ผ้าสักหลาดแดง ๓ ผืน กว้างยาวและลวดลายปักเหมือนผ้า ๓ ผืน ก่อน ผ้าสักหลาดนี้ได้ทำตัวอย่างโดยฉะเพาะให้แล้ว ผ้าสีน้ำส้มอีก ๓ ผืน มีลวดลายปักเหมือนผืนก่อน ๆ ผ้าสีน้ำส้มอีก ๓ ผืนเหมือนกับ ๓ ผืนก่อน ผิดกันแต่ลายดอกไม้ ที่ปักนั้นเปนดอกต่างกันเท่านั้น ผ้าสักหลาดแดงกว้างเท่าตัวอย่าง แต่ยาว ๗๘ ศอกปักไหมและ ไหมทองตามตัวอย่าง ผ้าสีเขียวเนื้ออย่างดี


๑๐๔ ผ้าสักหลาดขนสั้น ๒ผืนพื้นทองเหมือนกับผ้าปีกลายนี้ แต่สีนั้น ต้องตามตัวอย่างที่ส่งให้ไปแล้ว เสื้อทำด้วยผ้าลูกไม้ ๑๐ เสื้อ แต่ลูกไม้นั้นต้องทำตามลายไทย และเสื้อนั้นก็ให้ตัดอย่างแบบของไทย ผ้าลูกไม้สำหรับประดับเสื้อนั้นให้เปนลูกไม้แถบเล็ก ๆและกว้าง ยาวตามตัวอย่าง ผ้า๖ผืนให้ทำตามแบบที่ใช้กันในบ้านใหญ่ ๆในประเทศฝรั่งเศส ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ผ้า ๖ ผืนนี้คงจะต้องการใช้สำหรับปูโต๊ะ และ คงหมายความว่าผ้าที่ทอมาจากเมืองแฟลนเดอร์ ผ้าอย่างเนื้อดีที่สุด ๔ ผืนสำหรับทำเปนผ้าห่มของผู้หญิงไทยตาม แบบตัวอย่าง ผ้านี้ให้ยาว ๔ แขน กว้าง ๖ คืบ ผ้าทั้ง ๒ ชนิดนี้ ท่าราชทูตเดอโชมอง ได้รับรองว่าจะจัดหาให้ ผ้าพื้นทอง๑ ผืน ปักไหมเปนลายกิ่งไม้และดอกไม้ตามตัวอย่าง ผ้าพื้นเงิน ๑ ผืน ปักไหมและไหมทองเปนลายดอกไม้ ตาม ตัวอย่าง ผ้าแพรสีต่าง ๆ ๙ ผืน มีลายดอกไม้ทำด้วยไหมทองตามตัวอย่าง คือ สีแดง ๑ ผืน สีม่วง ๑ ผืน สีแดงด้าน ๑ ผืน สีเขียว ๑ ผืน สีขาว ๑ ผืน สีใบไม้แห้ง ๑ ผืน สีจันทร์ ๑ ผืน สีเทา ๑ ผืน สีดำ ๑ ผืน ผ้าทั้ง ๙ ผืนนี้ต้องเปนแพรแลปักเหมือนกันทั้ง ๙ ผืน ผ้าตามตัวอย่าง ๑ ผืน พื้นสีแดง ดอกสีต่าง ๆ แซมไหมทองทั้ง


๑๐๕ นอกและในดอก ตามตัวอย่าง ผ้าตามตัวอย่างอีก ๑ ผืน แต่พื้นสีม่วง ผ้าตามตัวอย่างอีก ๑ ผืน แต่พื้นสีลิ้นจี ผ้าตามตัวอย่างอีก ๑ ผืน แต่พื้นสีเขียว ผ้าตามตัวอย่างอีก ๑ ผืน แต่พื้นสีน้ำเงิน ผ้าตามตัวอย่างอีก ๑ ผืน แต่พื้นสีใบไม้แห้ง ผ้าตามตัวอย่างอีก ๑ ผืน แต่พื้นสีขาว ผ้าตามตัวอย่างอีก ๑ ผืน แต่พื้นสีดำ ผ้าตามตัวอย่างอีก ๘ ผืนไม่มีดอก คือ สีแดง ๑ ผืน สีขาว ๑ ผืน สีมี่วง ๑ ผืน สีลิ้นจี่ ๑ ผืน สีเขียว ๑ ผืน สีน้ำเงิน ๑ ผืน สีใบไม้แห้ง ๑ ผืน และสีดำ ๑ ผืน ผ้าริ้ว ๑ ผืน พื้นแดงริ้วสีน้ำเงินปนทอง ตามตัวอย่าง ผ้าริ้วทอง ๖ ผืน สีเหมือนกับผ้า ๘ ผืนก่อนเว้นแต่ขาดสีขาว และดำ ผ้าสีต่างๆดอกทองตามตัวอย่าง คือพื้นแดง ๓ ผืน พื้นม่วง ๓ ผืน พื้นเขียว ๓ ผืน พื้นน้ำเงิน ๓ ผืน พื้นสีใบไม้แห้ง ๓ ผืน พื้น เหลือง ๓ ผืน และพื้นดำ ๓ ผืน



๑๐๖ บาญชีของต่าง ๆ ที่พระเจ้ากรุงสยามได้ส่งไปถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส และบาญชีของที่มองซิเออร์คอนซตันต์ กับสมเด็จพระราชธิดา ของพระเจ้ากรุงสยาม ได้ส่งไปถวายมกุฎราชกุมาร มกุฎราชมารี ท่านดุกเดอบูรกอยน์ ท่านดุกดังยู มองซิเออร์เซเนเล และมองซิเออร์ เดอครัวซี ของที่พระเจ้ากรุงสยามส่งไปถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ปืนใหญ่ ๒ กระบอกยาว ๖ ฟิต เปนปืนกลึงด้วยมือมิได้เอาเข้า ไฟหล่อ มีปลอกเงิน ตั้งบนแท่นมีล้อ ฝังลายเงิน เปนปืนที่ทำใน เมืองไทย กาน้ำ ทำด้วยทองแดงซึ่งเปนแร่ที่มีราคามากกว่าทองคำ ๑ กา มีถาดรองพร้อม สำหรับล้างมือ กาน้ำนี้ได้ทำที่เมืองไทย ตามแบบ ของไทย ชามอ่างทองคำมีลายดุน ๔ด้าน มีถาดรองพร้อมทำด้วยทองคำ เหมือนกัน ของสิ่งนี้ทำที่เมืองยี่ปุ่น เรือสำเภาทองคำเรียกตามภาษาจีน เครื่องพร้อม ๑ อัน ขวดยาดมทองคำ ๒ ใบ มีลายดุนอย่างแบบยี่ปุ่น ให้ใช้สำหรับ ตั้งบนชั้นก็ได้ หรือจะบรรจุใส่หีบยี่ปุ่นหิ้วไปไหนก็ได้ หีบเครื่องแต่งตัวทองคำมีฝาปิด ๑ อันสลักลายดุนอย่างแบบยี่ปุ่น


๑๐๗ ถ้วยเล็ก ๆ ๒ ใบมีจานรองและวางบนกี๋ ทำด้วยทองคำสลักลาย ดุนอย่างแบบยี่ปุ่น ถ้วยทองคำเล็ก ๆ ๒ ถ้วยไม่มีฝา ทำลายดุนละเอียดตามแบบยี่ปุ่น กระปุกหมึกทองคำ ๑ กระปุก เปนฝีมือยี่ปุ่นอย่างงดงามมาก ตุ๊กตาจีนขี่นกยูง ๒ ตัว มือถือถ้วยเงิน ตุ๊กตาและนกยุงนั้นทำ ด้วยเงินกาไหล่ทองลงยา นกยูงนั้นมีลานไขให้เดินบนโต๊ะได้ หีบเงิน ๒ ใบ ปิดทองครึ่ง ๑ ขวดเงินใหญ่ ๒ ใบ มีสายรัดทอง มีถาดใหญ่รอง ๒ ใบ ถ้วยเงินใหญ่มีถาดรองทำด้วยเงิน ๒ สำรับ เปนฝีมือยี่ปุ่น ถ้วยใส่ชอกอเล็ตมีฝาปิด ทำด้วยเงิน ๒ คู่ ถ้วยน้ำชาทำด้วยเงิน ๒ ใบ ถ้วยน้ำชาแต่ย่อมหน่อยมีถาดรอง ทำด้วยเงิน ๒ ใบ มีฝาทำเปน ลายกิ่งไม้ ทำด้วยเงินเหมือนกัน กาน้ำใหญ่ทำด้วยเงิน ๒ ใบ ทำอย่างแบบไทย มีถาดรองทำ ด้วยเงินเหมือนกัน อับใส่ยาสูบฝีมือมือยี่ปุ่น ๑ อัน ตุ๊กตาจีนขี่ม้า ๒ ตัว มือถือถ้วย ม้านั้นมีลานไขให้เดินได้ ตุ๊กตา และม้าทำด้วยเงินอย่างแบบจีน นกยางยืนอยู่บนเต่า ๒ ตัว ทำด้วยเงิน เปนฝีมือจีน ตุ๊กตาทำด้วยเงิน ๒ อัน เปนฝีมือจีน มีลานไขให้เดินได้ ถือถ้วย


๑๐๘ หีบยี่ปุ่นใหญ่ ๒ ใบ ข้างในเขียนลายดอกไม้ ฝังลายเงิน ทาน้ำ มันเงาอย่างงาม เปนฝีมือยี่ปุ่น หีบขนาดกลาง ๒ ใบ ฝั่งลายเงินและมีลายดอกไม้ หีบเล็ก ๆ ทำเปนเกล็ดเต่า ๒ ใบ คาดเงิน ฝีมือจีน เปนของที่ หากันมาก กระบะใหญ่ ๔ อัน คาดเงิน เปนฝีมือยี่ปุ่น หีบเล็กคาดเงิน ๑ ใบ เปนฝีมือยี่ปุ่น โต๊ะเขียนหนังสือทาน้ำฝังลวดเงิน ๒ โต๊ะ โต๊ะทาน้ำมันเงาฝังลวดเงิน ๑ โต๊ะ เปนฝีมือยี่ปุ่น ลับแลไม้ ๒ ลับแล เปนฝีมือยีปุ่น ลับแลนี้มี ๖ กลีบ ซึ่งเปน ของที่พระเจ้ากรุงยี่ปุ่นส่งมาถวายพระเจ้ากรุงสยาม ลับแลทำด้วยแพรพื้นสีน้ำเงินปักรูปนก ๑ ลับแล ลับแล ๑ อันใหญ่กว่าลับแลที่กล่าวมาแล้ว เปนฝีมือกรุงปักกิ่ง กระดาษรูปใหญ่ ๒ แผ่น ๆ ๑ เปนรูปนก อีกแผ่น ๑เปนรูปดอกไม้ บาญชีของที่สมเด็จพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงสยาม ส่งไปถวายมกุฎราชกุมารี กาน้ำทองคำฝีมือยี่ปุ่น ๑ อัน หีบปิดทองรูปกลมของยี่ปุ่น ๑ ใบ หม้อสำหรับใส่ชอกอเล็ตทำด้วยทองคำ เปนฝีมือยี่ปุ่น ๑ ใบ หีบกลมเล็กปิดทองของยี่ปุ่น ๑ ใบ


๑๐๙ ถ้วยทองคำใบเล็ก มีถาดเงินรอง ๑ ใบ เปนฝีมือยี่ปุ่น ขวดเงินใหญ่ ๑ ใบ มีสิงห์โตหมอบอยู่ข้างบน เปนฝีมือยี่ปุ่น มี ถาดเงินรอง โถเงินมีฝาปิด ๒ โถ มีสิงห์โตหมอบอยู่ข้างบน เปนฝีมือยี่ปุ่น โถเงินอีก ๒ โถ แต่ย่อมหน่อย หม้อใส่ชอกอเล็ตทำด้วยเงิน ๑ ใบ เปนฝีมือยี่ปุ่น ถ้วยเงินใบใหญ่ ๒ ใบ เปนฝีมือยี่ปุ่น ถ้วยเงินใบเล็กมีจานรองเปนของยี่ปุ่น ๑ ใบ ถ้วยเงินใบเล็กมีจานรองทำด้วยเงินอีก ๒ ใบ ถ้วยเงินเล็กมีจานรองทำด้วยเงิน มีลายดอกไม้ยี่ปุ่น ๒ ใบ รูปหัวใจใหญ่ทำด้วยเงิน ฝีมือยี่ปุ่น ๑ อัน ตุ๊กตาผู้หญิงยี่ปุ่นทำด้วยเงินกาไหล่ทองลงยา ๒ ตัว ตุ๊กตานี้มือ ถือถ้วย และมีลานไขให้เดินได้ หีบเล็กมีหูทำด้วยเงิน ๑ ใบ เปนฝีมือยี่ปุ่น ฉากไม้ยี่ปุ่น ๑๒ กลีบ ๑ ฉาก มีรูปนกและรูปต้นไม้ ขอบปิดทอง ฉากแพร ๑๒ กลีบใหญ่ ๑ ฉาก แพรพื้นสีม่วง เขียนลายสัตว์ และต้นไม้ ระบายสีต่าง ๆ ฉากแพรเล็ก ๑ ฉากเขียนลายภาพจีน งามมาก หีบไม้ทาขาว ๒ หีบ เขียนลายดอกไม้สีต่าง ฝังลวดทองแดง เสื้อยี่ปุ่น ๒ ตัวงามอย่างทีสุด และเสื้อยี่ปุ่นธรรมดาอีก ๑ เสื้อ


๑๑๐ กระปุกหมึกทำเปนเกล็ดเต่า ๑ อัน กั้นเปนช่อง ๆ ที่สำหรับใส่หนังสือเลียมเงิน ๒ อัน กระบะ รูปต่าง ๆ ฝีมือยี่ปุ่น รวม ๒๑ อย่าง หีบยีปุ่นเปนเถา ๔ เถา กระปุกหมึกทำเปนเกล็ดเต่า ฝีมือยี่ปุ่น ๒ กระปุก หีบกลมพื้นแดงฝังลายเงิน ฝีมือยีปุ่น ๑ หีบ หีบยีปุ่นอีก ๑ หีบ หีบ ๔ เหลี่ยม ๑ หีบ มีตลับเล็ก ๆ ๑๒ ตลับ ของยีปุ่น เครื่องแต่งตัวผู้หญิงยี่ปุ่นทำด้วยกระ ๑ เครื่อง หีบยี่ปุ่น ๘ เหลียม ๑ หีบ ในหีบนี้มีเล็ก ๆ รูปแปลก ๆ หลาย หีบ เครื่องแต่งตัวหญิงยี่ปุ่นทาแดงอีก ๑ เครื่อง โต๊ะกระฝังลายเงิน ๑ โต๊ะ โต๊ะยี่ปุ่นเล็ก ๆ ทาแดง ๑ โต๊ะ หีบทาน้ำมันเงางามมาก ๑ หีบ หีบยี่ปุ่นทาน้ำมันเงา ฝังลายทองแดงงามมากอีก ๓ หีบ หีบกลมใหญ่ ๒ ชั้น เขียนลายดอกไม้ทอง ๑หีบ ลิ้นชักกั้นเปนช่อง ๆ ๑ อัน กระบะใหญ่ฝังลายเงิน ๒ อัน กระบะใหญ่ทาน้ำมันเงาอย่างยี่ปุ่นอีก ๒ อัน


๑๑๑ หีบทาชาดแดง ฝังลาดเงิน ๒ หีบ หีบทาน้ำมันเงา เขียนลายดอกไม้สีเขียวและทอง ๒ หีบ พัดไม้ไผ่บุแพร ๒ เล่ม หีบทาน้ำมันเงาดำฝังลายทองแดง ๒ หีบ ยังมีเครื่องลายครามอย่างงามที่สุดอีก ๖๔๐ ชิ้น


บาญชีของที่สมเด็จพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงสยาม ส่งไปถวายท่านดุกเดอบรุกอยน์ หม้อใส่ชอกอเล็ตทำด้วยทองคำ มีถาดเงินรอง เปนของฝีมือ ยี่ปุ่น ๑ หม้อ โถเงิน ๑ โถ ในโถนั้นมีตุ๊กตาเล็ก ๆ เวลารินน้ำใส่โถตุ๊กตา นั้นก็ลอยขึ้นมา หีบกลมหุ้มเงิน เปนของฝีมือยี่ปุ่น ๑ หีบ โถเงินมีฝาปิด และมีสิงโตห์หมอบอยู่บนหลังฝา เปนฝีมือ ยีปุ่น ๑ โถ ถ้วย ๒ หู มีจานรองทำด้วยเงิน เปนฝีมือยี่ปุ่น ๑ ถ้วย เครื่องโต๊ะสำหรับรับประทานอาหาร เปนเครื่องโต๊ะของพระเจ้า กรุงยีปุ่น ๑ เครื่อง เครื่องโต๊ะนี้ทำรูปแปลกและเปนของทำยากด้วย เครื่องสำหรับเดินทางทาน้ำมันเงา ๑ เครื่อง


๑๑๒ กระบะอย่างงามของยี่ปุ่นรวม ๒๖ ชะนิด หีบยี่ปุ่นเล็ก ๑ หีบ ซึ่งนับว่าเปนของทีแปลก โต๊ะทาน้ำมันเงา เปนของยี่ปุ่น ๑ โต๊ะ หีบยี่ปุ่น ๒ หีบ ในหีบนี้มีถาดทาน้ำมันเงาเล็ก ๆ หลายใบ หีบไม้ทาน้ำมันเงา ข้างนอกสีแดงเข้ม ข้างในทาดำ ๒ หีบ หีบต่าง ๆ ฝีมือยี่ปุ่น ๑๒ ใบ หีบใหญ่ ทาน้ำมันเงาอย่างยี่ปุ่น ๑ หีบ โคมทำด้วยแพร มีภาพคน ๒ โคม ของสิ่งนี้เปนของมาแต่ เมืองตังเกี๋ย และฝีมือที่ทำนั้นทำอย่างแปลกมาก โคมใหญ่กลม ขอบเปนลวดเงินอีก ๒ โคม เสื้อสำหรับนอน ๒ตัว เสื้อ ๑ สีม่วงแดง อีกเสื้อ ๑ สีแดง พรมกำมะหยีแดงปักลายทอง ๑ ผืน ขอบพรมนั้นทำด้วยกำ- มะหยีสีเขียว ปักลายทองเหมือนกัน พรมเมืองจีน ทำด้วยไหมสีแดง ปักลายดอกไม้ ๑ ผืน พรมเมืองอินเดีย ทำด้วยไหมสีขาว ดอกทอง และลายดอก ปักด้วยไหมสีต่าง ๆ ๒ ผืน คช คือ พลอยสีเขียวเกิดในกระเพาะสัตว์ต่าง ๆ ๙ เมล็ด หีบทาน้ำมันเงาดำ ดอกทอง ๒ หีบ กระบี ๒ ชะนิด ฝังทองแดง ฝักไม้ลายทอง และมีเครื่องลายครามทุก ๆ อย่างอีก ๑๕๐๐ หรือ ๑๕๕๐ ชิ้น


๑๑๓ บาญชีของต่าง ๆที่มองซิเออ์คอนซตันซ์ ส่งไปถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เก้าอี้ทอง ๑ เก้าอี้ ถ้วยเงินมีเท้าและมีฝาเปิด สลักลายดุนเปนทอง ๑ ถ้วย หีบเงินเล็ก ๆ ฝีมือยี่ปุ่น ๒ หีบ หม้อใส่ชอกอเล็จทำด้วยเงิน เปนขอฝีมือยี่ปุ่น ๓ หม้อ ถ้วยเงินใหญ่ ๖ เหลี่ยมฝีมือยีปุ่น ๑ ถ้วย ถ้วย ๔ เหลี่ยม ๒ ถ้วย ถ้วย ๒ หู ๓ ขา ๒ ถ้วย ถ้วยทำเปนแบบอย่างอื่นอีก ๒ ถ้วย ถ้วยกลมฝีมืออย่างเดียวกัน ๒ ถ้วย ถ้วย ๘ เหลี่ยม มีหู ๒ หู แต่ไม่มีเท้า ๒ ถ้วย กาเงินสำหรับต้มน้ำ ๑ กา ถ้วยเล็ก ๆ มีหู เดียว ๒ ถ้วย หม้อใส่ชอกอเล็ต ๒ หม้อ ของเล็ก ๆ ๔ อย่าง ของนี้ใช้สำหรับเผาเครื่องหอม ตลับใส่ยาสูบ ๑ ตลับ ตลับใส่ยาสูบใหญ่กว่าอันก่อน ๑ ตลับ หีบมีพานรองทำด้วยทองแดง ๑ หีบ ๘

๑๑๔ เครื่องลายคราม เครื่องลายครามรูปต่าง ๆ ๑๕๐ ขึ้น หีบลายครามอย่างแบบยี่ปุ่น ๖ หีบ เท้าสำหรับรองเตียงทาน้ำมันเงาอย่างยี่ปุ่น ๔ อัน เครื่องแต่งตัวผู้หญิงยี่ปุ่น ๓ เครื่อง ตลับใส่แป้ง ๒ ตลับ หีบทาน้ำมันเงาสำหรับใส่หวี ๑ หีบ หีบกั้นช่อง ๕ ช่องสำหรับใส่เครื่องยา ๒ หีบ กระบะ ๓ อัน ช้อนทำด้วยโมรา ๒ คัน เสื้อผู้หญิงไทย ทำด้วยทองและแพร ๑ ตัว เสื้อตัวนี้จะได้เอา ไว้ทำเปนตัวอย่าง ผ้า ๑ ผืน ยันโน Jenneau ซึ่งได้มอบให้มองซิเออร์ซำเบรักษาไว้ หีบยี่ปุ่น ๑ หีบ บรรจุรังนกเต็มหีบ โถลายครามใหญ่รูปต่าง ๆ ๗ ใบ เปนของจีน ๓ ใบ เปนของ ยีปุ่น ๔ ใบ รูปโบสถ์เล็ก ๆ ทำด้วยไม้กะลำพัก ๒ รูป ๆ ๑ ฝัง ลวดทอง อีก รูป ๑ ฝังลวดทองแดง นอแรด ๒ นอ ๆ ๑ เปนนอตัวเมีย


๑๑๕ นกทำด้วยลายคราม ๒ ตัว ถ้วยลายครามมีจานเงินรอง ๒ ใบ เปนของฝีมือยี่ปุ่น ตุ๊กตาเปนรูปผู้หญิงจีนทำด้วยเงินและอำพัน มีลานไขให้เดินได้ หีบเล็ก ๆ ทำที่กรุงโตกีโอเมืองหลวงยี่ปุ่น ฝังลวดเงิน ๓ หีบ หีบเล็ก ๆ อีก ๔ หีบ เครื่องแต่งตัวผู้หญิงยี่ปุ่น ๑ เครื่อง เครื่องเขียนหนังสือของยี่ปุ่น ๑ เครื่อง ตู้เล็ก ๆ มีประตู ๒ บาน ทาน้ำมันเงาฝังลายทองแดงกาไหล่ ทอง ๑ ตู้ ที่ใส่สมุดทาน้ำมันเงาฝังลายเงิน ฝีมือยี่ปุ่น ๑ ที โต๊ะทาน้ำมันเงาของยี่ปุ่น ๑ โต๊ะ หีบกลมฝีมือจีน ๑ หีบ ฉากเล็ก ๆ ๖ กลีบ ของจีน ๑ อัน หีบเขียนหนังสือทาน้ำมันเงาเขียนลายทอง ฝีมือยี่ปุ่น ๑ หีบ ลายครามทำเปนรูปสุนัข ๑ อัน นอกจากนี้ยังมีเครื่องลายครามอย่างงาม ๆ อีก ๓๒ ชิ้น ของที่สมเด็จพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงสยามส่งไปถวายท่าน ทุกดังยูนั้น เหมือนกันที่กล่าวมาข้างบนนี้แล้ว



๑๑๖ บาญชีของต่าง ๆ ที่มองซิเออร์คอนซตันซ์ ฝากไปให้ท่านมาควิศเดอเซเนเล

โถทองคำ ฝีมือยี่ปุ่น ๑ ใบ กระปุกเงินสำหรับใส่เกลือ ๒ กระปุก หม้อเงินสำหรับใส่ชอกอเล็ต ๒ หม้อ หม้อใส่ชอกอเล็ตใหญ่กว่าใบก่อนทำด้วยเงิน ลวดลายทำด้วย ทอง ๑ หม้อ ถ้วยเงินใหญ่ ๑ ถ้วย โถเล็ก ๆ มีฝาทำด้วยเงิน ๒ โถ ถ้วยเงินมีจานรอง ๑ ถ้วย ขวดเงินเล็ก ฝีมือยี่ปุ่น ๒ ขวด เครื่องแต่งตัวของผู้ดีเมืองยี่ปุ่น ทาน้ำมันเงาดำดอกทอง ๑ เครื่อง กระบะรูปต่าง ๆ ๓ อย่าง หีบทาแดง ๘ เหลียม ๑ หีบ ในหีบนั้นเล็ก ๆ หลายใบ หีบเล็กทาน้ำมันเงา ฝังลายเงิน ๑ หีบ หีบเขียนหนังสือทาน้ำมันเงา ๑ หีบ ตู้เล็ก ๆ มีชั้น ๔ ชั้น ๑ ตู้ กล่องทาน้ำมันเงาดำมีลิ้น ๔ ลิ้นดอกทอง ๑ กล่อง หีบเขียนหนังสือ ทาน้ำมันเงาฝีมือยี่ปุ่น ๑ หีบ

๑๑๗ ตู้ทาน้ำมันเงาฝีมือยี่ปุ่น มีลิ้นชัก ๑ ตู้ กล่องกระฝีมือยี่ปุ่น ๑ กล่อง หีบเล็ก ๆ ทาน้ำมันเงาแปลกมาก ๔ หีบ เสื้อนอนของยี่ปุ่น งามมาก ๑ เสื้อ นอแรด ๒ นอ ฉาก ๑๘ กลีบ ทาน้ำมันเงาฝีมือจีน ๒ ฉากๆ นี้ แปลกมาก ตู้ใหญ่ของยีปุ่น ๑ ตู้ แปลกมาก หีบบรรจุรังนก ๑ หีบ ยันโน Jenneau ๔ อัน ใบชา ๔ หีบ นอกจากนี้ยังมีเครื่องลายครามทั้งเล็กและใหญ่ รวม ๑๙๐ ขึ้น เครื่องลายครามเหล่านี้ บางสิ่งงามมาก และบางสิ่งเปนของเก่า แก่มาก ยังมีของต่าง ๆ อีกที่มองซิเออร์คอนซตันซ์ได้ฝากมาให้ท่านมา- ควิศเดอครัวซี และยังมีของต่างๆอีกเปนอันมาก ที่ได้ฝากมาให้ท่านบาดหลวง เดอชัวซีและท่านราชทูต ซึ่งล้วนแต่เปนของที่งดงามอย่างทีสุด



๑๑๘ บาญชีของต่าง ๆ ที่พระเจ้ากรุงสยาม ได้ส่งมาพระราชทานมกุฎราชกุมารฝรั่งเศส ดาบยี่ปุ่นคาดทองแดง ๒ เล่ม คือ เปนดาบใหญ่มีด้ามไม้ยาว กาน้ำทองคำ ฝีมือยี่ปุ่น ๑ กา หีบเขียนหนังสือ ๑ หีบ ลูกกุญแจนั้นทำด้วยทองคำ กาทองคำสำหรับใส่น้ำชา ๑ กา ถ้วยทองคำสลักลายกิ่งไม้ ๑ ถ้วย เปนของฝีมือยี่ปุ่นแปลกมาก โถทองคำ ฝีมือยี่ปุ่น ๑ โถ โถเงินมีจานรองฝีมือยี่ปุ่น ๑ โถ หม้อใส่ชอกอเล็ต มีดอกไม้ทอง ๑ หม้อ หม้อใส่ชอกอเล็ตอีก ๑ หม้อ หม้อใส่ชอกอเล็ต สลักลายดุนเปนดอกไม้ทอง ฝีมือยี่ปุ่นอีก ๑ หม้อ หม้อเงินมีฝาปิดทำด้วยเงิน ๒ ใบ ใบ ๑ ทำเปนรูปกระบอก หีบเขียนหนังสือทำด้วยเงิน เปนฝีมือยี่ปุ่น ๑ ใบ ถ้วยเงินมีฝาปิด ลายทอง มีสิงห์โตหมอบอยู่บนหลังฝา ๒ ถ้วย ถ้วยเงินใหญ่ ๑ ถ้วย ฝีมือแปลกเปนของยี่ปุ่น ถ้วยเงินฝีมือยีปุ่น ๒ ใบ ถ้วยเงินเล็กมีจานรองและมีลายทอง ๒ ถ้วย ถ้วยเงินเล็กมีจานเงินรองทำเปนลายกิ่งไม้อีก ๒ ถ้วย


๑๑๙ ถ้วยทำเปนรูปอย่างอื่นอีก ๒ ถ้วย ตลับใส่ยาสูบด้วยเงิน ฝีมือยี่ปุ่น ๑ ตลับ ขันน้ำใหญ่มีถาดรองทำด้วยเงิน ฝีมือยี่ปุ่นงามมาก ๑ ใบ ตุ๊กตาเปนรูปผู้หญิงยี่ปุ่น ๒ ตัว ตุ๊กตานั้นถือถ้วยเงินมีจานรอง อยู่ในมือ ถ้าเอาสุราหรือน้ำรินลงไปในถ้วยตุ๊กตานั้นก็ออกเดินเอง ปูทำด้วยเงิน ๑ ตัว บนหลังปูนั้นก็โถ และมีลานไขให้ปูเดิม ได้ด้วย โถฝีมือจีนเปนลายใบไม้ ๑ โถ โถมีลายกิ่งไม้ใบไม้และลูกไม้อีก ๑ โถ ชามเล็กทำด้วยศิลา มีงูพันอยู่รอบ ๑ ใบ ชามเล็กทำด้วยศิลา ฝีมือทำอย่างปราณีต ๒ ใบ สิงห์โตจีนทำด้วยศิลาก้อนเดียว ๑ ตัว กาน้ำเล็กทำด้วยศิลา ๑ อัน เสื้อนอนของยี่ปุ่น ฝีมือทำอย่างปราณีต ๑ เสื้อ พรมกำมะหยีเขียว มีลายดอกไม้ ๑ ผืน พรมทำด้วยไหม มีลายดอกไม้สีต่าง ๆ ๑ ผืน ตู้เล็ก ๆ ฝังลวดเงิน ฝีมือยี่ปุ่น ๒ ใบ หีบเล็ก ๆ ทำด้วยทองแดงและทาน้ำมันเงาแบบยี่ปุ่น ๑ ใบ โต๊ะเขียนหนังสือฝังลวดเงิน ฝีมือยี่ปุ่น ๒ โต๊ะ baud eyei ขอบเงิน ๔ อัน


๑๒๐ หีบเล็ก ๆ กรอบเงิน ๑ หีบ กระบะทั้งใหญ่และเล็ก เปนของฝีมือยี่ปุ่นงามมาก รวม ๒๑ ใบ หีบเขียนหนังสือทำเปนเกล็ดเต่า ๒ ใบ หีบเขียนหนังสือทาน้ำมันเงาอย่างยี่ปุ่นอีก ๓ ใบ โต๊ะเล็ก ๆ ทาน้ำมันเงา ฝีมือยี่ปุ่น ๑ ใบ กล่องกระแบนเล็ก ๑ กล่อง หีบเขียนหนังสือเล็ก ของยีปุ่น ๑ ตัว ตู้เล็ก ๆ มีลิ้นชัก ๑ ตู้ หีบยี่ปุ่น ๔ ใบ หีบยี่ปุ่น ๑ ใบ ข้างในมีตลับทาน้ำมันเงา ๑๒ ใบ หีบใหญ่ทาน้ำมันเงา ดอกทอง ๑ ใบ หีบเล็กทาแดง ๒ ใบ เครื่องแต่งตัวคนผู้ดียี่ปุ่น ๑ เครื่อง โคมแขวนทำด้วยแพร มีลายดอกไม้ต่าง ๆ ขอบทำด้วยเงิน ๒ โคม ตู้ยี่ปุ่นเล็ก ๑ ตู้ ลับแลยี่ปุ่นทำด้วยไหมงามมาก ๒ อัน หีบทาแดง ๑ ใบ ทาดำ ๑ ใบ รวม ๒ รวม ใบ ของยี่ปุ่น หีบลงพื้นสีเขียวลายทอง ๑ หีบ ฉากบังประตู ทำด้วยไม้ทาน้ำมันเงา ภาพยี่ปุ่น ๑ อัน


๑๒๑ หีบทาน้ำเงา ลายทองและเงิน ๒ ใบ กะลำพักอย่างดี หนัก ๖ ปอนด์ครึ่ง ( ฝรั่งเศส ) นอกจากของเหล่านี้ ยังมีเครื่องลายคราม ทั้งชิ้นเล็กและชิ้น ใหญ่ อันเปนสิ่งล้วนแต่งานทั้งนั้น รวม ๓๔๓ ชิ้น


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก