ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๔

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๔ พงศาวดารและโบราณวัตถุสถานในเกาะชวา พระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จประพาสชะวา พ.ศ.๒๔๓๙

เจ้าภาพพิมพ์แจกในงานทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ครบปัญญาสมวารที่พระศพ พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าสุวภักตร์วิไลยพรรณ วันที่ ๑๘ กันยายม พ.ศ.๒๔๗๓ ____________________________ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร


สารบาน พงศาวดารเรื่องอิเหนา หน้า ๑ โบราณวัตถุสถานบรัมบานัน " ๑๕ โบราณวัตถุสถานบุโรพุทโธ " ๓๓ โบราณวัตถุสถานจันทิเมนดุด " ๔๑ กฤชและตำนานของกฤช " ๔๓







พงศาวดารและโบราณวัตถุสถานในเกาะชวา พระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จประพาสชะวาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙

พงศาวดารเรื่องอิเหนา ( ทรงสอบจากระเด่นอธิปติมนุนยาหยาที่เมืองบันดอง ) เมืองกุเรปันนั้น คือกุราวัน อยู่ในแขวงเมดวน เมืองดาหาอยู่ในแขวงกดีรี เมืองกาหลังคือซิ่งกาลา เมืองสิงหัดหส่าหรี คือสิงคัดสารี ฟังเล่าเรื่องราวดูเป็นอิเหนาใหญ่มาก


สนทนากันด้วยเรื่องอิเหนา เป็นความลำบากที่จะให้รู้ตรงคำกันได้ ด้วยเหตุหลายประการ ข้อ ๑ นั้นล่ามไม่ตั้งใจ พูดภาษากันไม่ค่อยได้ ข้อ ๒ ชื่อที่เรียกในเรื่องอิเหนาดังแกว่ง เป็นสำเนียงไทยบ้าง มะลายูบ้าง ข้อ ๓ เสียงพวกชะวาเองข้างฝ่ายตะวันตกตะวันออกก็ไม่เหมือนกัน ข้อ ๔ ชื่อตำบลก็ดี ชื่อคนก็ดีมักเรียกหลาย ๆ ชื่อ เรารู้แต่ชื่อเดียว เขาสอบถามถึงชื่ออื่นเราจน คงได้ความรัว ๆ ว่า กุเรปันนั้น เป็น


๒ ตำบลกุราวันแน่แล้ว ตาหากะดีรีโดโฮ กาหลังชื่อโกโลหรือจังโกโล สิงหัดส่าหรี สิงคัดสารี ยังเมืองอื่น ๆ ที่ได้แน่นั้นแต่เมืองล่าสำ นอกนั้นดูแกเดาพุ่ง ๆ เช่นหมันหยาว่าโมโป ปะตารำแกว่ามัตตารำคือที่ยกไป เช่นเมืองเกิดทีหลัง เป็นจะเอาแน่ไม่ได้

( ทรงสอบจากสุลต่างเมืองยกยา )

กุเรปันเรียกนครวัน หรือเรียกสั้น ๆ ว่ากุราวัน (ควรจะสันนิษฐานได้ ว่าเหมือนเมืองนครสวรรค์ เรียกสั้น ๆ ว่าครสวรรค์ ) อยู่ในแขวงมุกตรัน มณฑลมัธยูน หรือมัธยม ซึ่งเราจะผ่านไป ดาหาหรือโดโฮคำเดียวกัน อยู่ในมณฑลกดิรี กาหลัง จังโกโล หรือชังโกโลเรียกไม่สู้ชัด อีกนัยหนึ่ง จิงกาลา หรือชิงกาลา ว่าเป็นคำสังสกฤต แปลว่า หมาป่า ก็เป็นอันเข้าใจได้ว่าเป็นสิงคาละอยู่ในแขวงสิทรัชโชมณฑลสุรบายา ที่เรารู้ไปว่ากาหลังบางทีจะเป็นท้ายคาละขาดสิง เห็นจะพอเชื่อได้ว่าเป็นเมืองนั้น ถ้าจะว่าโดยภูมิประเทศ การที่ไปเล่นทะเลทรายคราวหลัง จะไปเล่นอย่างเก็บหอยเก็บปูก็ใกล้ทะเลมาก หรือถ้าจะไปทะเลทรายโบรโมก็พอไปได้แต่อยู่ข้างจะลำบาก เมืองสิงหัดส่าหรีนั้นเดี๋ยวนี้เรียกว่า สิงโดสารี แต่ชื่อที่แท้ว่า สิงหคิรี แปลว่าเมืองราชสีห์ หรือ สิงโต อยู่ในมณฑลปัสรวน พิเคราะห์ดูก็เห็นจริง เมือง ๔ เมืองนี้ อยู่ข้างท่อนท้ายเกาะชะวาข้างตะวันออก ระยะทางไม่สู้ห่างกัน เมืองกุเรปันอยู่ข้างตะวันตกห่างจากทะเลทุกด้าน นับว่าเป็นอยู่กลางเกาะชะวาข้าง ๓ ตะวันออก รถไฟเดิรเลียบหมู่เขาซึ่งเรียกว่าวิลิศมาหรา ไปจนหมดเขตต์เขาแล้วเลยไปอีกจนถึงกาโตโสโเลี้ยวลงมาข้างใต้จึงถึงกดีรี ซึ่งอยู่ใกล้กันกับดาหา ทางรถไฟอยู่ใน ๓ ชั่วโมง ถ้าจะไปจากดาหาถึงเมืองกาหลังทางก็อยู่ใน ๓ ชั่วโมง ๔ ชั่วโมง ตั้งแต่กาหลังไปถึงสิงหัดส่าหรีก็ราวกัน ถ้าเป็นทางเดิรอย่างด่วน ๆ อยู่ใน ๗ วัน ๘ วัน ถ้าเดิร สบาย ๆ คงอยู่ใน ๑๒ วันขึ้นไปหา ๑๕ วัน ดูยุติด้วยเรื่องราว แต่จะต้องสอบสวนต่อไป สุลต่านรับว่าหนังสือมีอยู่จะช่วยหาให้ เรารับจะจดเรื่องราวเป็นภาษามะลายูไปให้ แต่เสียทีที่จำอิเหนาใหญ่ไม่ได้ หาไม่จะได้เค้าดีขึ้นมาก แต่ข้อที่จะตัดสินว่าอิเหนาใหญ่ผิด หรืออิเหนาเล็กผิดเป็นว่าไม่ได้ เพราะเรื่องที่แต่งเล่นวายังวองมีมากหลายฉะบับ เนื้อความไม่ใคร่ต้องกัน เพราะเป็นเรื่องเก่าเหมือนพงศาวดารเหนือ รู้ว่าพระร่วงมีจริงแน่ แต่เป็น ๒ เรื่อง อิทธิปาฏิหารต่าง ๆ กัน อิเหนามีจริงเป็นแน่แต่เรื่องต่าง ๆ กันไป.


(ข้อความที่สุลต่านเมืองยกยาจดถวายที่หลัง) ว่าตรวจดูตามที่มีในหนังสือพงศาวดารเมืองซิงโกโล เจ้าแผ่นดินชื่อ ประภูฮามิลุฮูร์ หรือเทวกุสุมามีเมีย ๗ คน คนที่ ๑ ชื่อเทวีเรอราเง็น ไม่มีลูกต้องพรากกัน เมียที่ ๒ ชื่อลิกูโลโซ เป็นลูกของอารีโยโซวิโต มีลูกสาวชื่อราเกลกุนิง หรือเทวีออนะงัน เมียที่ ๓ ชื่อเทวีอุบลเป็นไทย มีลูกชายชื่อปันยีวูลุง เมียที่ ๔ ชื่อเทวีเตโชสวอโร เป็นลูกนิจฉะบูโร

๔ มีลูกสาวชื่อเทวอัสโมระบางูนตายเมื่อออกลูก เมียที่ ๕ ชื่อเทวีมเหศวโร ทีหลังเลื่อนเป็นเตชะสวโร เป็นตำแหน่งเมียที่ ๔ มีลูกชายชื่อระเด่นปันหยี สินมประโตโป เมียที่ ๖ ชื่อเทวีกากอนโรมาแต่เมืองไทย มีลูกชายชื่อระเด่นตุงกุลอุลุง เมียที่ ๗ ชื่อเทวีฮบีน้องของเมียที่ ๑ มีลูกชายชื่อปันหยีปามะจุ๊ด ดูชื่อเสียงเป็นอย่างอื่นไป.


วันนี้จะยกเรื่องบุโรพุทโธไว้ จะว่าด้วยเรื่องอื่น ๆ ซึ่งดูประชุมเรื่องกันเข้าหลายอย่าง คือเรื่องเขามราปีและเรื่องทะเลทิศใต้ จำจะต้องกล่าวถึงพงศาวดารตั้งแต่ ๔ กษัตริย์มา ซึ่งยังมิได้กล่าวไว้พอให้รู้เรื่องตลอด ด้วยในตอนนี้เป็นตอนที่พวกเรามีความพอใจที่จะรู้กันอยู่ ได้กล่าวไว้แต่ก่อนแล้วว่า เรื่องอิเหนาเป็นเรื่องเก่าเหมือนพงศาวดารเหนือและมีผู้เอาไปแต่งเล่นละคอนมาก เนื้อความต่าง ๆ กันไป จะเล่าให้เป็นเรื่องเดียวติดกันไปเหมือนเล่านิทานก็จะได้ฟังแต่เสียงเดียว จึงจำต้องเทียบเคียงบ้าง คงรัวกว่าชั้นมายาพหิส และไม่ละเอียดได้เหมือน ชั้นมตารำ เรื่องที่จะกล่าวเดี๋ยวนี้คือเขามราปีแห่ง ๑ ทะเลทิศใต้แห่ง ๑ เขาโบรโมแห่ง ๑ และเขาอะไรอีกเขา ๑ จำไม่ได้ ว่าเป็นเขาไม่สูงใหญ่ทั้งสุลต่านและสุนันต้องจัดของไปเป็นบรรณาการทั้ง ๔ แห่ง แต่ที่ทะเลทิศใต้ส่งสิ่งของมากกว่าที่อื่น คือมีเครื่องนุ่งห่มและอาหาร ถ้าเอาไปแล้วต้องทิ้งในทะเลมีคนคอยค้ำสิ่งของนั้นไม่ให้กลับขึ้นบนฝั่ง แปลว่าส่งลงไปถวายนางพระยาทะเลใต้ นับถือกันว่าเป็นนับเนื่องในวงศเดียวกันและมีอานุภาพใหญ่โตมาก และนัยหนึ่งว่าเป็นเมียของสุลต่านมังกุภูวโน ๕ ที่ ๒ ไปมาหาสู่กันที่ฝั่งทะเล เพราะสุลต่านที่ ๒ คนนั้นชอบไปที่ฝั่งทะเลข้างทิศใต้ทางจากเมืองยกยา ๓ ชั่วโมงเท่านั้น ฝั่งทะเลนั้นไม่มีอ่าวมีท่าเป็นคลิฟสูง ๆตลอดไปทั้งนั้น ที่ห่างจากฝั่งทะเลเข้ามาก็เป็นเขา ไม่เป็นที่ทำมาหากินอันใด จึงไม่ใคร่มีผู้คนอยู่ ไปสร้างเรือนไว้ที่นั้นหลังหนึ่ง ราษฎรพากันเชื่อถือว่าออกไปอยู่ด้วยนางทะเลใต้ จะเป็นด้วยสุลต่านนั้น แกล้งกล่าวให้เป็นที่นิยม หรือจะเป็นด้วยราษฎรนิยมกันไปเองเชื่อถือกัน ว่าเป็นความจริง วังน้ำที่สร้างในเมืองยกยาก็ว่าสร้างขึ้นสำหรับนางทะเลใต้ ขึ้นมาอยู่ด้วยสุลต่าน ด้วยอาศัยเหตุสุลต่านเชื่อเองหรือโดยคนนิยมมากขึ้น สุลต่านนั้นได้เกิดวิวาทขึ้นกับวิลันดา จนถึงรบพุ่งกัน วิลันดาถอดสุลต่านนั้นออก ตั้งลูกชายมังกุภูวนาที่ ๓ ขึ้นเป็นสุลต่านแทน ภายหลังอังกฤษได้เมืองชะวา เห็นว่าคนนิยมฮมังกุภูวโนที่ ๒ มากยกขึ้นให้เป็นเจ้าอีก เพราะมังกุภูวนาที่ ๓ ยังเด็กอยู่ก็เกิดวิวาทกันหรือจะเรียก ว่าเป็นขบถ ตกมาถึงชั้นหลังเมื่อเมืองยกยาเกิดขึ้น เพราะตัดเอาเขตต์แดนสุรการตะ สุสุนันมีความน้อยใจหนีออกจากเมืองโซโลไปนอนอยู่ที่ฝั่งทะเลทิศใต้ เพื่อจะขอฝันให้นางทะเลทิศใต้ขึ้นมาบอกการที่ควรจะทำอย่างไร แต่เรสิเดนต์ไหวขึ้นมาตามไปจับได้ตัวเนียรเทศให้ไปอยู่เสียเคบออฟคุตโฮป เพราะเหตุเช่นนี้จึงไม่ยอมให้สุลต่านสุสุนันไปข้างไหน นอกจากที่ลาก่อน แต่ที่ทะเลทิศใต้นั้นห้ามขาดเจ้านายจะไปไม่ได้ พระเกศาสุลต่านที่ทอนออกจากมวย เพราะเขาไว้มวยกันเล็ก ๆ หรือพระนักขาที่ตัดออกก็เก็บไว้ไปฝังที่ริมทะเลทิศใต้ปีละครั้ง ถ้าสุลต่านหรือสุสุนันตายเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มก็ไปทิ้งทะเลทิศใต้ทั้งนั้น แต่ที่เขามราปี เขาโบรโม

๖ และที่ตำบลใดอีกแห่ง ๑ มีแต่เสื้อผ้าเครื่องนุ่งหุ่มไปลาดปูบูชาทุกปี นางทะเลทิศใต้คนนี้นับว่าเป็นหลานของอิเหนา มีเรื่องราวอยู่ในพงศาวดาร ตอนวงศ ๔ กษัตริย์ คือเมื่อเทวกสุมา หรือ เทวกสุโม แบ่งเขตต์แดนให้ลูก ๔ คน ลูกคนใหญ่ชื่ออามิลูฮูร์ ให้ครองเมืองจิงกาลาหรือเมืองกาหลัง ลูกที่ ๒ ชื่ออามิยาหยา ให้เมืองจิเกลังหรือสิงคคิรี ลูกที่ ๓ ชื่อเลมบูมงารัง ให้เมืองนครวัน หรือโบรเวรโน ลูกที่ ๔ ชื่อเลมบูอามิลุตให้เมืองดาหา หรือกดิรี เพราะฉะนั้นเมื่อตายแล้วจึงปันออกเป็น ๔ พระราชอาณาจักร์ ในแผ่นดินเลมบูอามิลุต เป็นการปรากฎโด่งดังในเรื่องที่ได้ค้าขายกับต่างประเทศ แต่ที่เป็นการสำคัญนั้นคือในการที่ลูกชายผู้ชื่อว่าปันหยีอิเหนากรตปติได้ไปเที่ยวรบรอญเมืองต่าง ๆ เป็นอันมาก ในที่นี้เรียกอิเหนาปรากฎชัดเจน แต่คำที่เรียกว่ารเด่นมนตรีไม่ได่พบแห่งใดเลย ส่วนชื่อนอกจากนั้นบางแห่งเรียกว่าปันหยีสุริยอามิเสสา บางแห่งเรียกปันหยีกรตปติ บางแห่งเรียกปันหยีอามิเสสากรตปติ บางแห่งเรียกว่าปันหยีสุริยอามิเสสากรตปติ ถ้าจะเอามาลองย่นดูกับชื่อที่เราเรียกมิสาระ น่าจะเป็นอามิเสสาได้ สุกาหรา น่าจะเป็นสุรการตะ แต่ในหนังสือทั้งปวงเป็นอันมากย่อมกล่าวว่า อิเหนาอยู่เมืองจิงกาละหรือสิงคาละ ไม่ได้อยู่ในนครวันหรือกุราวัน ลูกคนใหญ่ของเทวกสุโม ไม่ได้กล่าวว่าอยู่เมืองนครวันเลย คงจะอยู่เมืองสิงคาละทั้งสิ้น เมืองที่ออกชื่อว่ากุริปันเมืองหนึ่งก็เป็นอยู่ในเขตต์จิงโกโลหรือจิงกาละ ถ้ามีผู้ซึ่งตั้งใจจะสืบจริง ๆ ไม่มีธุระที่จะต้องไปมาเหมือนเรา คงจะสืบเอาจริงได้ และในที่นี้ได้กล่าวว่าปันหยีเป็นลูกของเจ้าหญิงเมืองอินเดีย ทีก็จะเป็นที่

๗ สุลต่านคัดมาให้ว่าเป็นลูกคนไทย มีเรื่องราวเล่าต่อไปว่าเมื่อรุ่นหนุ่มขึ้นได้เมียคนหนึ่งชื่ออังเกรเนหรือเสกลายีเป็นลูกของเตปติรักใคร่ลุ่มหลงมาก ข้างบิดาอยากจะให้แต่งงานกับลูกสาวเจ้ากรุงกดิรี ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องจึงได้เอาผู้หญิงที่รักนั้นไปฆ่าเสีย ปันหยีจึงได้ลงเรือหรือแพไปกับศพเมียที่ตาย เกิดพายุใหญ่ขึ้นบรรดาเรือที่ไปสูญหายไปหมด ตัวปันหยีเองก็เข้าใจกันว่าจมน้ำตาย แต่ไปถึงเกาะแห่งหนึ่งชื่อว่าตนาบังไม่มีอันตรายก็เผาศพนางอังเกรเนในที่นั้น แล้วพาไพร่พลไปที่บาลี เปลี่ยนชื่อใหม่ว่ากราหนายาหยังสาหรี เจ้าเมืองบาลีชื่ออันดราปูปรนา ต้อนรับอุดหนุนให้ลูกสาวซึ่งตามธรรมเนียมว่าบุตรีเมืองบาลีเป็นเมีย แล้วข้ามจากเกาะบาลีกลับมาขึ้นที่บาลัมเบงกัน เป็นเมืองที่อยู่ข้างฝ่ายตะวันออกที่สุดของเกาะชะวาคือในปริยังคะ แล้วเดิรจากที่นั้นไปทางทิศตะวันตกหมายเมือง กดิรี เพราะมีข่าวเล่าลือว่าลูกสาวนั้นสวยนัก แต่ชื่อหาเป็นบุษบาไม่เป็นจันทรกิรานะ เพราะเชื่อกันว่าปันหยีจมน้ำตายเสียแล้ว จึงได้เข้าใจว่าเป็นรายาสบรังที่อยู่คนละฝั่งเป็นคนมีฤทธิ์มาก เข้าอยู่กับท้าวดาหาลอบลักเป็นชู้กับลูกสาว ในเรื่องที่เล่นละคอนบางเรื่องว่า มีเจ้าเมืองนุสากาญจหนา หรือ เกาะทองยกรี้พลมากับเจ้าหญิงเมืองนุสารัตนา ๒ คน เมื่อถึงเมืองจิงกาละแล้วบอกว่าตัวเป็นปันหยีที่หาย พ่อก็ต้อนรับและว่าเจ้าคนนี้เป็นลูกพราหมณ์มีวิชชาอาคม มีรายาเมืองต่าง ๆ ขึ้นมาก ออกชื่อเป็นหลายเมือง มีน้องสาวคนหนึ่งชื่อ เองเกรุนาสวารา มากับพี่เลี้ยงและเมียของพี่๔ คน และนางกำนัลเป็นอันมาก ในขณะนั้นกราหนายาหยังสาหรีกลับเป็น

๘ ปันหยีตามเดิม พ่อก็ยกไปที่เมืองดาหาพาปันหยีปลอมไปด้วย ปันหยีจริงเห็นปันหยีปลอมเกิดรบกันขึ้น จึงได้ปรากฎว่าผู้ใดเป็นปันหยีแท้ อีกฉะบับหนึ่งว่าเมื่อปันหยีต้องพายุนั้น นางอังเกรนียังไม่ตาย พลัดไปขึ้นเมืองบาลีแปลงตัวเป็นผู้ชาย เจ้าเมืองบาลีเอาไปเลี้ยงไว้ ภายหลังได้เป็นเจ้าเมืองบาลีชื่อยาหยาอังกลิงดาระ ส่วนปันหยีนั้นพลัดไปขึ้นฝั่งเกาะชะวา แล้วพ่อใช้ให้ไปรบเมืองบาลีพบกับนางอังเกรนี อีกฉะบับหนึ่งต่างหากนั้นว่านางจันทรกิรานะเองเป็นรายาบาลี ชื่อว่ากุดานารอังคะ ยังมีอย่างมะลายูบ้าง อย่างอะไรบ้างแปลก ๆ กันไป แต่ย่อมกล่าวว่าอิเหนานั้นเป็นพระนารายณ์อวตาร นางจันทรกิรานะเรียกเทวีการุ คือพระศรีแบ่งภาค เรื่องราวมักจะกล่าวให้วิเศษไปต่างๆจนจะจับเป็นเค้าพงศาว ดารไม่ใคร่จะได้ แต่เป็นอันได้ความแน่ว่าปันหยีนั้นมีอำนาจใหญ่ไม่แต่ฉะเพาะในเกาะชะวา ทั่วไปตามเกาะที่ใกล้เคียงตลอดจนถึงสุมาตรา มีสิ่งซึ่งสำคัญคือภาษาและการก่อสร้างและอาการกิริยาของผู้คน กฤชก็ว่าเกิดขึ้นเพราะปันหยี เมืองใดที่ใช้กฤชเมืองนั้นอยู่ในบังคับปันหยี บรรดาการเล่นทั้งปวงซึ่งเป็นของชะวาเล่นอยู่เดี๋ยวนี้ก็ว่าเป็นของปันหยีริอ่านเล่นขึ้นทั้งนั้น แต่การที่ปันหยีจะได้เป็นเจ้าแผ่นดินสืบตระกูลกล่าวต่าง ๆ กัน บางแห่งกล่าวว่าเมื่อพ่อตายแล้วปกครองบ้างเมืองอยู่หลายปี อีกฉะบับหนึ่งว่าตายเสียแต่หนุ่มเมื่อพ่อยังอยู่ มีเรื่องราวเล่าว่า เจ้าแผ่นดินเมืองมถุระเวลานั้นเรียกว่านุสาอันตาระ เกาะหว่างกลาง มีความริศยาเมืองจังโกโล มีครูพราหมณ์กานฑะเป็นอาจารย์ปรึกษาว่าจะมาตีเมืองนั้นอาจารย์ห้ามว่าถ้าเทวกสุมาอยู่อย่าเพ่อให้ไปตี ครั้นรู้ว่าเทวกสุมาตาย

๙ อาจารย์ยอมให้มาตีแต่ให้มีหนังสือไปว่ากล่าวโดยดีก่อน ครั้นเมื่อคนถือราชสาส์นมาถึง พบเจ้าแผ่นดินชื่ออังกรามะวิชย เห็นจะเป็นสังกรามะวิชยนั่งอยู่บนสติงเกที่เสด็จออก มีปาเตะเฝ้าอยู่ ๒ คน คือนวารสากับ ปะชานาตะ กำลังปรึกษาที่จะยกอิเหนากรตปติขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินยังไม่เป็นที่ตกลง เจ้าแผ่นดินไม่ยอมอ่านหนังสือเอง ให้ประชานาตะอ่านได้ความว่าให้เมืองจิงกาละไปอ่อนน้อม ประชานาตะโกรธฉีกหนังสือนั้นทิ้งใส่หน้าทูต แล้วไล่ให้กลับไป พออิเหนามาถึงทราบความก็ลาพ่อที่จะปลอมตัวไปเมืองนุสาอันตาระ เมื่อทูตไปถึงเจ้าเมืองนุสาอันตาระก็ยกกองทัพออกจากเมือง อิเหนาก็ลักเอาเมียของชยลังการ ชื่อเทวีสินาวดีพามา ครั้นกองทัพมาเหยียบแดนเมืองจังกาละ เจ้าแผ่นดินให้ไปขอกองทัพเมืองนครวันและเมืองสิงคสารีมาช่วยได้รบกัน พวกเมืองนุสาอันตาระเสียท่วงทีนายทัพนายกองตายมาก ชยลังการปลอมตัวเป็นไพร่มาเที่ยวหาปันหยีกรตปติ พบเข้าก็เอาธนูยิงตาย สมกับคำทำนายแต่แรกว่าอิเหนาจะไม่ตายด้วยอาวุธอื่น เว้นไว้แต่อาวุธของชยลังการ ครั้นพ่อรู้ว่าอิเหนาตายก็ยกทุ่มเทไปรบพวกนุสาอันตาระ เจ้ากรุงจังกาละแทงชยลังกาด้วยกฤชถึงแก่ความตายแล้วยกลูกอิเหนาซึ่งเป็นหลานชื่อไมสาลาเลียนขึ้นเป็นเจ้าในศักราชชะวา ๙๒๗ ปี ไมสาลาเลียนนี้นัยหนึ่งเรียก ว่ากุดาลาเลียน เมื่อเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วปราบปรามพวกเมืองบาโรเวโน เมืองสิงคคิริ เมืองกดิรี มาอยู่ในอำนาจเมืองจังกาละ เมื่อไมสาลาเลียนเป็นเจ้ายังเป็นเด็กหนุ่มอยู่ เสนาบดีคนหนึ่งชื่อบากะเป็นคนโกง ไปคบ


๑๐ คิดกับพี่น้องของเจ้าแผ่นดินจะชิงราชสมบัติ ในขณะนั้นเขากรุ๊ตกำเริบขึ้นเสียงร้องเหมือนยังกับฟ้าลั่น เท่าถ่านพลุ่งขึ้นมาตกทั่วไปทั้งเมือง มืดไม่มีแสงสว่าง ไข้เจ็บก็ชุกชุมคนหนีไปจากเมืองเป็นอันมาก ไมสาลาเลียนก็พานางจันทรกิรานะแม่ออกจากเมืองไป ถึงตำบลโบรราก็ตั้งเมืองให้ชื่อเมงดังกามูลัง อยู่ไม่นานบากะก็คิดขบถอีก ต้องหนีไปอยู่กับฤษีองค์หนึ่ง จนเจ้าเมืองกลิงคเวสีชื่อเปรราชาต่อมาช่วยจึงได้รบชนะแล้วยกกองทัพไปถึงเมืองกลิงคเวรีซึ่งอยู่ข้างทิศใต้ในหมู่เขาจิดามา ซึ่งเป็นแขวงสุขบุระ ( คือแขวงมนุนยาหยา) ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองแต่โบราณ เรียกว่าตุกุหนุงพบปืนใหญ่ ๒ บอก เห็นว่าเป็นนิมิตรมงคลจึงได้สร้างเมืองใหม่ตั้งกราคนในที่นั้น ให้ชื่อว่า ประชาชรัน ตั้งชื่อตัวว่า โบรวิชยไมสาตันทรามัน เอาเป็นธุระในการเพาะปลูก ในคำที่เล่าว่ากระบือป่ามาเข้าแอกเอง พวกชุนดานับถือมาก คำที่เรียกว่าไมสา แปลว่ากระบือเป็นคำชะวา ลูกชายชื่อมุนดิง แปลว่ากระบือเหมือนกันแต่เป็นภาษาซุนดาลาเลียนมีลูก ๒ คน พี่ชายชอบเที่ยว น้องชายเป็นเจ้าแผ่นดินต่อไปชื่อประบูมุนดิงสารี ในศักราช ๑๑๑๒ เจ็ดปีบ้านเมืองจึงได้เป็นปกติ ฝ่ายพี่ชายไปอยู่ในอินเดียแล้วเข้ารีดแขกกลับมากับสยัดอาบัก เกลี้ยกล่อมน้องชายจะให้เข้ารีดโดยดีก็ไม่ตกลง แล้วคิดทำกลอุบายต่าง ๆ จนบ้านเมืองไม่มีความสุขจึงต้องย้ายไปตั้งในแขวงบุกอซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับบุยเตนซอกเดี๋ยวนี้ ที่ตำบลนั้นเดี๋ยวนี้ก็ยังเรียกประชาชรัน หยีปุรวคิดการไม่สำเร็จต้องหนีไปอยู่ที่แขวงเมืองจริบอน ซึ่งในขณะนั้นเป็นป่าอยู่ เจ้าแผ่นดิน ปราชาชรันต่อมาชื่อมุนดิงวังคี ได้เป็นเจ้าในศักราช ๑๑๗๙ มีลูกด้วย

๑๑ พระมเหษี ๔ คน ๆ แรกเป็นผู้หญิงไม่ยอมมีผัว พ่อโกรธขับไล่เสียจึงไปเที่ยวอยู่ในป่าช้านานแล้วไปโดดน้ำตายที่ฝั่งทะเลข้างใต้ คนทั้งปวงนับถือกันว่าไปเป็นเจ้าอยู่ในทะเลเรียกว่ารตูกิดุล คนนี้ซึ่งยังนับถือกลัวเกรงกันจนบัดนี้ ลูกที่ ๒ เกิดมาขาวเองแต่มีโรค จึงได้เนรเทศให้ไปอยู่เกาะหน้าเมืองยักกัตรา เพราะฉะนั้นเกาะนั้นจึงชื่อว่าปุลูบุตรี คนที่ ๓ เป็นผู้ชายตั้งให้เป็นรายากาลู คนที่ ๔ ชื่อตันดูรันจะให้เป็นเจ้าแผ่นดินต่อไป มีลูกด้วยพระสนมอีกคนหนึ่ง เมื่อกำลังมีครรภ์อยู่นั้น มุนดิงวังคีฆ่าพราหมณ์ผู้หนึ่งโดยไม่ยุตติธรรม พราหมณ์นั้นแช่งให้ลูกในท้องฆ่าพ่อ ครั้นเมื่อลูกคนนั้นเกิดมาก็เรียกเอาตัวมาจะฆ่าด้วยมือตัวเอง แต่เพราะเด็กคนนั้นงามนักฆ่าไม่ได้ จึงได้เอาใส่หีบลอยไปในแม่น้ำกราวังชาวประมงคนหนึ่งพบเข้าเอามาเลี้ยงไว้เป็นลูก ครั้นอายุ ๑๒ ปีแล้วส่งไปให้อยู่กับน้องชายที่เป็นช่างเหล็กอยู่ในเมืองประชาชรัน ให้ชื่อว่าประเนียกเวทิ ชำนิ ชำนาญในการช่างเหล็ก กล่าวกันว่าอาจจะดัดเหล็กที่เผาแดงให้เป็นรูปต่างๆได้ด้วยนิ้วมือ ไม่นานนักก็ได้เป็นนายปานทิ คือช่างเหล็กหลวงเป็นที่สนิทสนมมาก จึงคิดทำห้องเหล็กเป็นซี่กรงล่อให้พระเจ้าแผ่นดินเข้าในกรงนั้นได้แล้ว นัยหนึ่งว่าทิ้งน้ำ นัยหนึ่งว่าเผาไฟเสีย แล้วประเนียกเวทิตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าตันทุรันพี่ชายไม่ยอมรบกัน พี่ชายแพ้หนีไปกับบ่าว ๓ คน ประเนียกเวทิตั้งตัวเป็นโบรวิยาชองวารน รเด่นตันทุรันไปอาศัยอยู่ในบ้านแม่หม้ายแห่งหนึ่ง พบกับพี่สาวที่เขาชไมยในแขวงจริบอน นางนั้นบอกให้ตามนกไปจนถึงตำบลวิรสภา เห็นต้นไม้เลื้อยอย่างหนึ่งชื่อว่ามายาพันต้นไม้ใหญ่อยู่ อยากจะใคร่กิน ครั้นเอามากินก็ขมจึงได้ทิ้งเสีย

๑๒ บ่าวคนหนึ่งชื่อกดีวิรบอกว่าได้ทราบมาว่า ที่นี้ต้นพระวงศ์ของพระองค์ได้ทำศึกแก่กันเรียกว่าภารตยุทธ เจ้านั้นจึงว่าถ้ากระนั้นเราตั้งเมืองหลวงที่นี้เถิด จึงได้ตั้งเมืองขึ้นให้ชื่อว่ามายาพหิส มายาและพหิสทั้ง ๒ คำ แปลว่าขม นัยหนึ่งเรียกว่ามสัตพหิส เห็นจะมาจากมสัตปติ อันเป็นเมืองหลวงของอรชุนวิชย ซึ่งพวกชะวาถือกันว่าเป็นนารายณ์อวตาร พวกคนทั้งปวงรู้ว่ารเด่นตันทุรันเป็นเชื้อวงศ์เจ้าก็พากันเข้ามาหามาก จนพวกประชาชรันที่ได้ความเดือดร้อนก็พากันหนีมาอยู่มายาพหิส พวกประชาชรันยกมาตามจวนจะรบกันขึ้น แล้วตกลงแบ่งปันเขตต์แดนกันปักเสาหินซึ่งยังปรากฎอยู่เดี๋ยวนี้ในแขวงตุ๊กกู ห่างเมืองสมารังสัก ๒ ไมล์ ๓ ไมล์ สัญญาที่ได้ทำเมื่อศักราชชะวา ๑๒๔๗ เขตต์แดนข้างตะวันตกเป็นของประชาชรัน ข้างตะวันออกเป็นของมายาพหิส แต่สัญญานั้นไม่อยู่นานพอชองวารนตาย พวกประชาชรันก็มาอ่อนน้อมต่อมายาพหิสและยอมให้ปืนไงสโตมีอันเป็นบุศบากะของเมืองประชาชรันซึ่งเจ้านายเมืองชะวานับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ เดี๋ยวนี้ตั้งอยู่ในกราตนของสุสุนันเมืองโซโลเราได้ไปเห็นเจ้าแผ่นดินมายาพหิสคนที่ ๒ ชื่อโบรกะมาระหรือโบรวิยาหยาที่ ๒ เป็นเจ้าอยู่ไม่นานนัก มีเรื่องวิเศษในกระบวนกฤช แล้วอาทิวิชยเป็นเจ้าคนที่ ๓ มีชื่อเสียงในการที่มาตีเมืองสิงคปุระที่แหลมมะลายู กล่าวกันว่าบ่าวเป็นสลัดแล้วฆ่าเสนาบดีคนหนึ่งซึ่งไม่มีความผิด ลูกเสนาบดีคนนั้นฆ่าตาย เจ้าแผ่นดินที่ ๔ ชื่อเมรตวิชยตีเมืองอินทคิรีคือสุมาตราได้ เจ้าที่ ๕ นัยหนึ่งว่าชื่อรเด่นอาลิต นัยหนึ่งว่ารเด่นอาลิตแลอังควิชยเป็นคนเดียวกัน อังควิ ชยคนนี้เป็นเจ้าแผ่นดินแต่เด็กด้วยสติปัญญาของตนเองและเสนาบดีซึ่งชื่อ


๑๓ ว่าคชามาทะ แผ่อาณาเขตต์ใหญ่กว้างยิ่งกว่าแต่ก่อน แต่เป็นที่สุดวงศ์ของเจ้าแผ่นดินที่ถือศาสนาฮินดูอันจะไว้กล่าวต่อไปภายหน้า

( พงศาวดารเรื่องตอนนี้คัดจากพระราชนิพนธ์จดหมายรายวัน เมื่อเสด็จประพาสชะวาครั้งหลัง พ.ศ. ๒๔๔๔ )

เวลาบ่ายโมง ๑ ออกจากเมดดิยูน ทางที่มาวันนี้อยู่ในเขตต์แขวง ๔ กษัตริย์เรื่องอิเหนาทั้งสิ้น การที่ค้นคว้ากันมาแต่ครั้งก่อนก็เป็นอันได้ แน่นอนแต่ลำดับเมืองไม่ลงรอย ซึ่งเรื่องอิเหนาดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้นเขตต์แขวงเมืองทั้ง ๔ นี้จับตั้งแต่มเกลังข้างใต้ที่ตกชายทะเล มีตำบลหนึ่งเรียกว่า "เกลัง" หรือ "กลึงคะ" เป็นเมืองกาหลังเก่า ใกล้ไปข้างทะเลคงจะตลอดจนถึงยกยาด้วย ตามเรื่องที่เซอสแตมป์ฟอดแรฟเฟอลแต่งว่ากาหลังเป็นเมืองใหญ่นั้นเห็นจะถูก ถัดมาก็เมืองมัดดิยูน หรือ มัธยมเป็นเขตต์แขวงของกุเรปัน เมืองเดิมคงจะตั้งอยู่ที่ปะนินะคะโร ซึ่งอยู่ค่อนออกไปข้างทะเล คำที่ว่าปะนินะคะโรไม่ผิดกันกับกุเรปัน กุเรปันนั้นคือคาระ เช่นกับสังโครา หรือสิงโคระ คือที่แขกเรียกเมืองสงขลา ซึ่งชื่อสิงคนคร ตัว นะ หายไป เช่นกับเราเรียกว่าครสวรรค์ ที่เรียกว่าสงขลานั้นเป็นเสียงไทยชาวนอกเรียกสั้นเข้าไปอีก ที่กลายเป็นกุเรไปนั้นก็ไม่แปลกอันใด เพราะไทยเราเรียกตัว ค ที่จุดข้างล่างไม่ได้เรียกเป็น ก ส่วนเรนั้นมาจากสำเนียงในชะวาซึ่งอยู่ในระวางกลาง เอ, เออ โอ, อา, เช่นกับแถบข้างซุนดา คือเกาะชะวาข้างตะวันตกเรียกว่าเวดานา ข้าง

๑๔ ชะวากลางวิลันดาเขาเรียกว่า เวโดโน แต่ถ้าหากว่าเขียนหนังสือ ไม่ใช้ตัวโอ O ใช้ A อ่านคล้อยเวเดอเนอ แต่เพราะเหตุที่ไม่เนออย่างฝรั่งเสียงมันดัง เหน่อ ฝรั่งพูดไม่ได้จึงต้องกลายเป็น โนไป คำว่า คุเรอปัน จึงเป็น กุเรปัน หรือ นครปันไป กลับกันกับเขาที่เรียกอยู่เดี๋ยวนี้ว่าปันนครจะเป็นด้วยเหตุใดไม่ทราบ ส่วนเมืองดาหานั้นยังคงมีชัดเจนเรียกว่า โดโฮ หรือ เดอเฮอ ใกล้เมืองกะดิรี เป็นเมืองอยู่คนละฟากเขาวิลิศกับกุเรปันซึ่งอยู่ในเขตต์มัดดิยูนนั้น ส่วนเมืองสิงหัดส่าหรีนั้นอยู่ต่อเมืองดาหาไปข้างตะวันออก ยังคงมีรากรั้ววังและวัดปรากฎ และคงมีชื่อเรียกสิงคัศซารี คือสิงหัดส่าหรีอยู่ตามเดิม เมืองทั้ง ๔ นี้มีเขตต์แดนติดต่อกันอยู่ในตอนกลาง ของเกาะยาวาซึ่งเป็นที่ราบมาก เพราะฝ่ายข้างตะวันตกก็เป็นภูเขาสูงเหลือเกินที่จะไปมาโดยลำพังเดิรเท้าขึ้นไปปราบปรามได้ฝ่ายข้างตะวันออกก็เป็นภูเขาสูงซึ่งนับว่าเป็นเขาหิมพานของยาวา คือ สีเมรุ เป็นเขาพระสุเมรุ กีสุศ หรือกลุ๊ศ เป็นเขาไกรลาศ จนที่สุดซึ่งใกล้มาข้างชะวากลางก็มีเขาอรชุนโซ ดูเหมือนจะเป็นอัญชโนเขาอัญชัญน์เป็นต้นคงเหลือที่เป็นแผ่นเดียวกัน ที่จะเดิรไปรบพุ่งชิงชัยกันได้ง่ายก็แต่ในตอนกลางนี้ แต่ ๔ เมืองนี้ดูเหมือนจะไม่มีอาณาเขตต์ไปตกถึงทะเลข้างฝ่ายเหนือ เพราะเมืองตั้งอยู่ค่อนข้างทะเลใต้ทั้งนั้น ตอนข้างตะวันออกคง จะเป็นเมืองต่างๆ มีเมืองหมันหยาอยู่ใกล้เขตต์แดนเมืองกุเรปันและดาหา เป็นเมืองใหญ่ซึ่งบัดนี้เรียกมดโยการโต คำมดโยก็พึงเข้าใจได้ตามลักษณที่อธิบายมาแต่ก่อน คือ อา, เอ, เออ, โอ, เรียกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ตรงกับที่จะเขียนภาษาฝรั่งหรือภาษาไทย อาจจะเลือนออกไปเป็นหมัน

๑๕ หยาได้ การโตนั้นแปลว่าเขตต์เหมือนยกยาการตะเป็นอยุธยาเขตต์ สุระกัตตะ แปลว่าสุระเขตต์ คำที่แปลชื่อ ๒ เมืองนี้ไม่ใช่กุละเขาแปลเช่นนั้นจริง ๆ เมื่อได้เดาดูว่าจะเป็นเช่นนี้แล้ว สังเกตทางที่เรามาวันนี้เดิรผ่านตั้งแต่ยกยา ซึ่งอยู่ใกล้ฝั่งทะเลข้างใต้ข้ามมาทะเลข้างเหนือผ่านไปทางตะวันออก คงผ่านเมืองมัดดิยูนซึ่งเป็นเขตต์แดนกุเรปัน แล้วผ่านเมืองมดโยการโตซึ่งเป็นเมืองหมันหยา แล้วผ่านทางร่วมที่จะไปเมืองกะดีรีซึ่งเป็นเมืองดาหา ต่อนั้นไปเราลงไปข้างตะวันออกเฉียงเหนือเกินไปเพราะจะไปสุรบายยา ถ้าจะไปเมืองสังคหัดส่าหรีต้องไปทางแยกไปปัสสะรวนจึงจะไปถึงทางแยกสิงคหัดส่าหรี เพราะฉะนั้นทางซึ่งเรามาวันนี้ผ่านแต่กุเรปันและดาหา เมืองกาหลังผ่านมาแล้ว เมืองสิงคหัดส่าหรีต่อวันไปปัสสะรวนจะได้ผ่าน เมืองซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อเสียงยังคงอยู่คือเมืองล่าสำอยู่ริมทะเล เมืองปะมอตันเข้ามาข้างในตรงแนวเดียวกับเมืองดาหายังมีเมืองอื่น ๆ อีกซึ่งดูออกจะเป็นกุมากเกินไปจึงต้องสงบไว้ที แต่บรรดาเมืองขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองชะเลยซึ่งรบแพ้แล้วไม่มีชื่อจะเทียบเคียงได้ เลยสักเมืองเดียว เห็นจะสาบสูญมาเสียในครั้งกวาดต้อนครอบครัวอะไรกันนั้นแล้ว

โบราณวัตถุสถานบรัมบานัน บรัมบานันนี้ได้เป็นเมืองหลวงครั้งหนึ่ง แต่เมื่อเจ้าแผ่นดินถือศาสนาฮินดู มีเรื่องราวพงศาวดารที่เล่าหลายอย่าง ว่าด้วยเรื่องเมือง


๑๖ ชะวานี้ นัยหนึ่งว่าเป็นคนอิยิปต์ซึ่งต้องเนียรเทศมา นับถือศาสนาตามอย่างอิยิปต์โบราณ นัยหนึ่งว่านับถือพระอาทิตย์ พระจันทร์ หรือธาตุน้ำ หรือธาตุไฟ หรือต้นไม้ นับถือผู้ที่มีอายุมากเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าการปกครองก็อาศัยด้วยผู้ใหญ่บังคับบัญชากัน เรื่องเหล่านี้เป็นแต่เล่าคะเนมากกว่าที่ได้หลักฐานมา ถึงมีจดหมายเป็นเรื่องราวก็เสมออย่าง พงศาวดารเหนือตั้งแต่อาทิสะกะเป็นต้นมา เหตุผลที่เล่านั้นเริ่มจับแต่ปี ต้นแห่งศักราชชะวา ว่าประบูยาหยาบายาเป็นเจ้ากรุงอสตินะ หรือหัสดินะสืบตระกูลมาแต่อรชุนลูกของปาณฑุเทวนาตะ มีเสนาบดีผู้ใหญ่คนหนึ่งเป็นคนมีสติปัญญาและความสามารถมาก เจ้าแผ่นดินใช้ให้ไปเที่ยวดูเมืองอื่น เมื่อมาถึงเกาะนี้แวะขึ้นพบเป็นเมืองแห่งรากษส ปรากฎชื่อว่านุสาเกนดัง นุสาแปลว่าแกะ เกนดังเป็นชื่อของภูเขาอันหนึ่งในเกาะนี้ ได้พบเม็ดยาวาวูดซึ่งเป็นอาหารของพลเมืองในเวลานั้น จึงได้เปลี่ยนชื่อนุสาเกนดังเป็นนุสาชะวา เมื่อเที่ยวไปในเกาะพบรากษส ๒ คนตาย มือถือใบไม้ มีอักษรจดไว้ในนั้นคนละใบ ๆหนึ่งเป็นอักษรปุรว (บุรพ) หนังสือเก่า อีกใบหนึ่งเป็นหนังสือไทย จึงเอาผสมกันเข้าตั้งขึ้นเป็นตัวพยัญชนะหนังสือชะวา ๒๐ ตัว แล้วได้รบกับพวกรากษสต่าง ๆ ที่เป็นสำคัญนั้นคือเขาวารสิงค แล้วได้จดหมายเหตุการณ์ ที่ได้พบสิ่งใดได้ตั้งสิ่งใดไว้โดยย่อ ๆ มีศักราชเป็นกำหนด ผู้อื่น ๆ จึงได้จดหมายต่อมาจนถึงเป็นเรื่องพงศาวดาร จดหมายอันนั้นยังมีปรากฏอยู่ แต่จะลงในที่นี้ไม่ได้ยาวนักเริ่มตั้งแต่ปีที่ ๑ อาทิสกะ แต่ภายหลังว่ากลับไปเมืองอสตินะ เพื่อจะกราบทูลเรื่องราวแก่พระราชาที่ใช้มา

๑๗ นัยหนึ่งกล่าวว่าอาทิสกะเป็นเจ้ามีอำนาจมาก ได้ตั้งบ้านเมืองหลายแห่งทั่วทั้งชะวา นับถือกันว่าเป็นเทวดา เมื่อจะมาก็แล่นเรือมาบนภูเขาได้ตั้งกฎหมายไว้อย่างหนึ่ง เป็นกฎหมายที่ไม่ดุร้าย และกฎหมายที่ใช้ต่อ ๆ มาว่าออกจากแบบนั้น แต่แก้ไขเพิ่มเติมใช้มาจนถึงเมื่อเมืองสิงคาละเป็นใหญ่ ๑๐๐๐ ปีเศษมาแล้ว นัยหนึ่งว่าใช้มาจนถึงเมืองมายา พหิสก่อนนี้ ๕๐๐ ปี ในพงศาวดารตอนนี้มีหลายฉะบับเนื้อความไม่ใคร่ต้องกัน ที่เป็นของพวกแขกจดก็มักจะกล่าวเจือปนด้วยศาสนาแขก ที่เป็นของพวกฮินดูจด ก็เรียกชื่อเรียกเสียงเป็นพวกปาณฑวะ เหมือนอย่างกับเมืองชะวาเป็นเมืองอินเดีย เอาแน่นักไม่ใคร่ได้ ตามลำดับแผ่นดินซึ่งมีในจดหมายต่าง ๆ เป็น ๓ อย่างกันนี้ ฉะบับของสุสุนันเป็นจดหมายเขียนด้วยลายมือมีกำหนดว่าตั้งแต่ศักราช ๒๘๙ ปี เมืองหลวงชื่อ วิภตะ มีเจ้าแผ่นดิน ๕ คน ตั้งแต่บาสุเกติถึงปาณฑุเทวนาตะศักราช ๘๐๐ เมืองหลวงตั้งกดิรี มีเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งชื่ออชิยาหยาพายา แล้วย้ายเมืองหลวงไปตั้งเปงคิงมีเจ้าแผ่นดินอีกองค์หนึ่ง ศักราช ๙๐๐ หรือ ๙๐๒ ไปตั้งเมืองหลวงที่ บรัมบานัน เจ้าแผ่นดินมี ๒ องค์ ชื่อบากะและธรรมมายา ศักราช ๑๐๐๒ ตั้งเมืองหลวงเมนดังกามูลัน แล้วจึงแยกเมืองออกเป็น ๔ เมือง ในศักราช ๑๐๘๒ หรือ ๑๐๘๔ คือเมืองกดิรี (ดาหา) เจ้าแผ่นดินชื่อเลมบู อามิยาหยา นครวัน (กุเรปัน) เจ้าแผ่นดินชื่อ เลมบูอามิเสสา สิงห


๑๘ คิริ (สิงคหัดส่าหรี) เจ้าแผ่นดินชื่อ เลมบูอามิวุ จังกาลา (สิงคา ละหรือกาหลัง) เจ้าแผ่นดินชื่อ เลมบูอามิลูเฮอ และต่อมาปันหยีสุริยอามิเสสารวมเมืองทั้ง ๔ เมืองนี้เป็นใหญ่ ไปตั้งอยู่ เมืองจิงกาลา คือเมืองกาหลัง ศักราช ๑๒๐๐ ตั้งเมืองหลวง เรียกประชาชะรัน เจ้าแผ่นดินชื่อลาเลียน เป็นลูกของปันหยี สืบวงศ์กันมาอีก ๓ คนย้ายเมืองไปตั้งใหม่ในปี ๑๓๐๑ เรียกว่ามายาพหิส เจ้าแผ่นดินเปลี่ยนชื่อจากชากาสุระเป็นโบรวิยายอที่ ๑ แล้วมีชื่อเดียวกันต่อมาเป็นที่ ๒, ๓, ที่ ๔, ๕, จนถึงปี ๑๓๘๑ พ่อของเจ้าแผ่นดินองค์แรกชื่อกาโนไม่ปรากฏว่าเป็นลูกผู้ใด กล่าวเสียว่าพระเจ้าโปรดให้เป็นเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๓ ก็ดูเป็นผู้อื่นครองเมือง อสตินะสืบตระกูลมาจนถึงเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๕ องค์ที่ ๖ จึงได้ย้ายเมืองไปกดิรี เมื่อเจ้าแผ่นดินตายเมืองก็ล่มจมไป เกิดเจ้าแผ่นดินแทนขึ้นอีกแยกเป็น ๒ เมือง คือเปงคิงและบรัมบานัน ๒ เมืองเกิดรบกัน เจ้า แผ่นดินบรัมบานันถูกธรรมมายาลูกเขยเจ้าแผ่นดินเปงคิงฆ่าตาย เมือง บรัมบานันว่างจนเจ้าแผ่นดินเปงคิงตาย ธรรมมายาได้เป็นเจ้าทั้ง ๒ เมือง ครั้นธรรมมายาตายสูญวงศ์กษัตริย์ จึงมีคนต่างประเทศชื่อ อาชิสกะ มาตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองเมนดังกามูลันแทน เทวาตลิงคซึ่งรบได้ชัยชนะ ในที่ นี้จดหมายไว้ว่า เมื่อปี ๑๐๑๘ จันทิเสวู คือวัดพันหนึ่งที่บรัมบานันได้ทำแล้วสำเร็จ เมื่อเมืองเมนดังกามูลัน สาบสูญเชื้อวงศ์แล้วจึงได้เกิด ๔ เมืองขึ้น ครั้นภายหลังปันหยีสุริยอามิเสสา ลูกของอามิลูเฮอคือท้าวกาหลัง รวม ๔ เมืองเข้าเป็นเมืองเดียว ในข้อนี้น่าสงสัยปันหยีชื่ออามิเสสาเป็นชื่อเดียวกันกับท้าวกุเรปัน ทำไมจึงไปเป็นลูกท้าวกาหลัง ถ้าจะ

๑๙ เข้าใจว่าปันหยีจะรวบรวมเมืองทั้งหมดแล้วไปตั้งอยู่กาหลัง ปันหยีสุริยตายแล้วลูกชื่อปันหยีลาเลียนได้เป็นเจ้าต่อไป ย้ายเมืองจากสิงคาละไปตั้งที่ประชาชะรัน สิ้นเนื้อความในจดหมายตอนนี้ที่มีอยู่ที่สุสุนัน แต่เขา คัดค้านกันว่าหนังสือฉะบับนั้นเป็นเห็นชัดว่าผู้แต่งถือศาสนาแขก เอาแน่นักไม่ได้ มีอีกฉะบับหนึ่งเป็นของปนัมบาหัน ๑๒ เมืองสุเม นับว่าเป็นคนรู้หลักนักปราชญ์มากดีกว่าสุสุนัน เขามีรายจำนวนเมืองและเจ้าแผ่นดินจับตั้งแต่ศักราชปีแรกมา คือที่ ๑ เรียกว่าเมืองกลิงคเวสี เจ้าแผ่นดินชื่อทริกเตรสตะ ต่อมาอีก ๓ คนจนถึงศักราช ๓๑๐ จึงได้ตั้งเมืองอสตินะเจ้าแผ่นดินชื่อเคาตมะ ในระยะเจ้าแผ่นดิน ๔ คนท่อนต้นนั้น ดูอายุอยู่ข้างจะมากเหลือเกิน ตั้งแต่เคาตมะสืบลงมาอีก ๘ คนจึงได้เปลี่ยนเมืองหลวงเรียกว่ามาลาอปติในศักราช ๕๘๘ สืบมาอีก ๕ คนจึงเปลี่ยนเมนดังกามูลันในปี ๖๕๘ สืบมาอีก ๓ เจ้าแผ่นดินจึงถึงจังกาละ คือ สิง คาละในปี ๘๑๘ เจ้าแผ่นดินชื่อกันกิยาอันหรือไชยลังกาละ มีเจ้าแผ่นดินต่ออีกคนหนึ่ง คือสุพรตหรือเทวกสุมา จึงได้ตั้งเมืองกุเรปันในปี ๙๒๗ เจ้าแผ่นดินชื่อลาเลียน มีเจ้าแผ่นดินต่อมาในเมืองนั้นอีก ๓ คนจึงได้ตั้งประชาชะรันในปี ๑๐๘๔ เจ้าแผ่นดินในเมืองนั้น ๒ องค์แล้วจึงย้ายไปตั้งมายาพหิสในปี ๑๑๕๘ เจ้าแผ่นดินชื่อ ชากะสุสุรุ หรือ บรวิชย เจ้าแผ่นดินสืบมาในเมืองนั้นอีก ๖ องค์ รวมตามบัญชีนี้เป็นเจ้าแผ่นดิน ๓๘ แต่ต้นเรื่องของจดหมายนี้ว่าจนถึงสร้างโลกและแบ่งยุคเอาอย่างอิน เดีย แต่อยู่ข้างฟั่นเฝือ เขาเข้าใจกันว่าศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาได้เข้ามาในเวลานั้น เจ้าแผ่นดินเหล่านี้ก็เป็นอวตารโดยมาก

๒๐ อีกตำราหนึ่งของไกยอธิปติอาทิมังคล เป็นริเยนต์เมืองเดมัก จับ เริ่มแต่ปีศักราชชะวา ๕๐๐ เศษ คือเมืองเมงตังกามูลัน เจ้าแผ่นดินชื่อ สเวลชาละศักราช ๕๒๕ มีเจ้าแผ่นดินต่อมาอีก ๓ องค์ แล้วจึงตั้งเมืองยังกาละ หรือ สิงคาละ คือกาหลัง เจ้าแผ่นดินเทวกสุมาในศักราช ๘๔๖ สืบมาอีก ๒ คน คือเลมบูอามิลูเฮอ คือท้าวกาหลัง แล้วปันหยีกรตปติในที่นี้มีคำอธิบายว่าเวลานั้นมีเมืองเอกราชอีก ๓ เมือง คือเมือง (ดาหาไม่ออกชื่อ ) กดิรี เมืองสิงคสารีและเมืองนครวัน ดูตามนี้เห็นชัดเจนว่า ผู้ที่นับลำดับเจ้าแผ่นดิน นับแต่วงศ์เมืองกาหลัง เห็นจะเป็นด้วยถือเอาการภายหลังรวมกันที่กาหลัง แต่ช่างเข้าเรื่องเสียจริง ๆ ผู้ที่สืบท้าวกาหลังชื่อปันหยีหรือกรตปติก็คือกรัตปาตีที่เราเรียกนั้นเอง แต่ว่าเป็นลูกท้าวกาหลังไม่ใช่ลูกเขย ต่อมาเมื่อเปลี่ยนเมืองหลวงเป็นประชาชะรันในศักราช ๑๐๐๐ ปี เจ้าแผ่นดินชื่อปันหยีไมสาตพักรามัน หรือลาเลียน ก็ลงรอยเดียวกัน เป็นเจ้าแผ่นดินประชาชะรัน ๓ คน ต่อไปถึงมายาพหิสในปี ๑๒๒๑ ต้องกันกับฉะบับของสุสุนัน ในตอนมายาพหิสอยู่ข้างจะได้เค้าแน่นอน หนังสือทั้ง ๓ ฉะบับนี้เป็นยากที่จะเอาแน่ได้ เพราะเจือปนด้วยการอัศจรรย์เหมือนเล่านิทานทั้งสิ้น แต่อย่างไร ๆ ก็ดี บรัมบานันซึ่งได้สร้างขึ้นไว้ปรากฎชัดว่าศานาฮินดูได้ตั้งมาช้านาน ขุดพบเทวรูป และแหวนโบราณเป็นอันมาก เราได้มาทั้งเทวรูปและแหวน คงเป็นเมืองที่เจริญใหญ่โตประกอบไปด้วยวิชชาช่างอย่างวิเศษ ในหนังสือฉะบับอื่นได้กล่าวว่าสร้างเมื่อปี ๕๒๕ อีกนัยหนึ่งว่า ๑๐๑๘ ตามนักปราชญ์


๒๑ ฝรั่งเขาคะเนกันว่า ฝีมือช่างเช่นนี้คงจะอยู่ในเซนชุรีคฤศตศักราชที่ ๖ หรือที่ ๗ เทวกสุมานั้นพวกชะวาว่าเป็นเจ้าที่ฉลาดมาก มีความคิดกว้างขวางและเมตตากรุณา แผ่อำนาจได้ด้วยความกรุณาโอบอ้อม ไม่ช้านานอำนาจก็แผ่ไปทั่วเกาะชะวา ได้ส่งลูกหญิงคนหนึ่งลูกชาย ๔ คนไปที่เมืองอินเดีย เพื่อจะให้เรียนศาสนาพระพรหม ลูกคนใหญ่ได้เจ้าหญิงเมืองอินเดียเป็นเมีย ได้สมบัติพัสถานไพร่พลทหารและช่างฝีมือดีมาเป็นอันมาก แต่เขาสงสัยว่าบางทีผู้แต่งหนังสือจะคิดปิดบังด้วยอายว่าคนต่างประเทศมาเป็นเจ้า แต่ไม่มีสิ่งไรเป็นสำคัญ อย่างใดก็ดีการจำเริญในวิชชาช่างของเมืองชะวาจำเริญในเวลานั้นโดยมากเป็นเรื่องที่รู้ได้แน่ ซึ่งนำเอาเรื่องพงศาวดารชั้นเก่ามาเล่าในที่นี้ ด้วยความประสงค์ว่าจะให้รู้ว่า บรัมบานันได้สร้างขึ้นเมื่อใด และเพราะเหตุใดแขกจึงได้ถือศาสนาพราหมณ์ และฝีมือช่างที่ทำดีอย่างวิเศษเช่นนี้ได้ช่างมาแต่ไหน เจ้าแผ่นดินมีอำนาจวิเศษอย่างใด และจะได้รู้ต้นเชื้อวงศ์ของอิเหนา ซึ่งเรานับว่าเป็นคนรู้จักกันในหนังสือ และเชื้อวงศ์นั้นได้สร้างบรัมบานันนี้ จะจับเรื่องที่ไปดูต่อไป ออกจากยกยาเช้า ๓ โมง ๑๕ มินิต ไปในรถไฟ ๑๕ มินิตถึงสเตชั่นที่หยุด ขึ้นรถม้าไปตามถนนในท้องนาเลี้ยวเข้าไปข้างถนนไม่ไกลนัก เป็นที่มณฑปหรือปรางค์ ซึ่งเรียกว่าจันทิกาลสังเป็น ๔ เหลี่ยมมีมุขทั้ง ๔ ด้าน แต่ด้านตะวันออกทะลุเข้าไปได้ถึงในกลางมณฑป อีก ๓ มุขเป็นแต่คูหาตั้งเทวรูป หลังคาทำลายลงมาเสียแล้ว ไม่เห็นว่ารูปเป็นอย่างไร แต่ตัวมณฑปนั้นซุ้มหน้าต่าง


๒๒ เสาเชิงกลอนบัวล้วนสลักศิลาทั้งสิ้น บันไดขึ้น ๔ ด้านแต่ทลายหมดต้องทำบันไดไม้ขึ้นไป เราไม่สามารถที่จะกล่าวถึงกว้างยาวสูงต่ำอย่างไรได้ ที่สุดจนจะดูละเอียดก็ไม่ใคร่จะได้ เพราะท่านผู้ที่ไปคอยชี้แจง ๒ คน คือ ดอกเตอร์ โกรนะแมน และ เปรสิเดนต์อาชิโอโลยิกลโซไซเอตี แกวิตกกลัวจะเพลิดเพลินเสียไม่ไปดูบรัมบานัน เพราะแบรอนกวาลเคยเห็นเราเพลิดเพลินดูที่มิวเซียมบัตเตเวีย บอกแกว่าเราคงจะชอบบรัมบานันมาก แกจึงคอยบอกเสมอว่าที่นี่ไม่ดีไปดูที่บรัมบานันเถิด จึงได้ดูสักแต่พอคุยได้ว่าได้มา แกอธิบายว่าเป็นที่ฝังกระดูกของกาลิเบนิง แต่จะอย่างไรไม่รู้ด้วย เห็นใหญ่โตมากเข้าใจว่าจะเปนศาลนางกาลีที่พวกฮินดูเรียกพระแม่ สังเกตเอาตามชื่อบรรดาที่ก่อสร้างด้วยศิลาเหล่านี้ พวก ชะวาแล้วเป็นบอกทุกคนว่าเทวดาสร้าง แต่ทั้งเชื่อว่าเทวดาสร้างเช่นนั้น ศิลาที่พอจะยกไปได้แล้วรื้อเอาไปทำอะไรต่ออะไรต่าง ๆ โดยมาก เหมือนอย่างกาลีเบนิงนี้อยู่ใกล้บ้านคนตั้งอยู่ในกลางนา ชำรุดเสียด้วยมือคนช่วยเป็นอันมาก ด้วยแต่ก่อนนี้วิลันดาสาละวนแต่การค้าขายไม่ได้เอาธุระ พึ่งจะมาจัดการรักษาห้ามไม่ให้คนรื้อ ออกจากนี้ไปตามทางที่มีต้นมะขามรายสองข้างในกลางนา เลี้ยวเข้าไปอีกถึงวัดอีกตำบลหนึ่ง เรียกว่าจันทิสารีเป็นพื้นสองชั้นปันเป็นสามห้อง สลักเป็นรูปภาพต่าง ๆ มีซุ้มมีกรอบทำงามมาก ข้างในดูเป็นรอยถือปูน ว่าเป็นวิหารสำหรับพระอยู่ ว่าเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เราไม่สู้จะแน่ใจ ไม่เห็นมีร่องรอยอย่างไร แต่การที่ดูนั้นก็ไม่ผิดอันใดกับกาลิเบนิงอยู่ในต้องเร่งเหมือนกัน ออกจากนั้นไปเป็นที่แจ้งไม่มีต้นไม้ ไร่นาดูก็ไม่สู้กระไรนัก จนถึงฝั่งแม่น้ำโอปัก

๒๓ เป็นแม่น้ำที่ลาวาถมเสียจนตื้นขับรถข้ามไปได้ น้ำอยู่ในสักคืบเศษชิ้นถึงฝั่งฟากโน้นก็เป็นตลาดตำบลปันหยีบรัมบานัน มีบาซาและบ้านเรือนติดต่อไปจนถึงจันทิเสวู เขาตั้งซุ้มที่ทางจะเข้าผูกใบไม้ริมทาง เอาหัวเม็ดกำแพงแก้วมาตั้งเรียงไว้เป็นแถว ในลานบริเวณนั้นปัดกวาดรักษาเรียบร้อยดีมาก แต่เดิมมาก็มีรู้กันว่าบรัมบานันเป็นวัดฮินดู มีฝีมือดี แต่เห็นจะเป็นด้วยย่อมกว่าบุโรพุทโธ และจมอยู่ในดินเสียมาก จึงไม่ทำให้ได้ตรวจรักษาก่อนบุโรพุทโธ พึ่งได้ลงมือจัดการใน ๒๐ ปีนี้ เรามาคราวก่อนแต่ชื่อบรัมบานันก็ไม่ได้ยิน เดี๋ยวนี้เป็นที่กำลังพวกวิลันดาตื่นเต้นกันมาก พบคอเวอนเนอเยเนอราลก็บอกเรื่องบรัมบานัน และให้ไดเรกเตอร์ ปับลิกเวิกจัดรูปมาให้ด้วย เดี๋ยวนี้ตั้งโซไซเอตีขึ้นสำหรับที่จะตรวจตราขุดรื้ออยู่เสมอ เมื่อขึ้นไปบนเทวสถานกลางก็แลเห็นได้ว่าแม่น้ำนั้นไม่ได้คงตามที่เดิม มีรอยเก่าเป็นแอ่งอยู่เปลี่ยนกระแสใหม่ปัดเข้ามาใกล้บรัมบานัน มีกองดินเป็นเท่าเขาไฟเป็นลูกคลื่นไปทั้งนั้น เพราะเขามราปีซึ่งอยู่ใกล้ระเบิดหลายครั้ง ถ้าระเบิดคราวใดวัดก็ทลายลงไป และเท่าถ่านก็มากถมสูงขึ้นจนเหลือเห็นพ้นดินอยู่น้อย ด้านข้างภูเขามีหินที่ทะลายลงไปกองโต ๆ ต้องขุดดินออกกว่าจะเสมอพื้นได้เป็นการลำบากมากที่ขุดไว้แล้วเดี๋ยวนี้แถวกลางหันหน้าไปทิศตะวันออกทั้งสิ้น สถานพระอิศวรอยู่กลางสูงและใหญ่กว่าอื่น ๆ มีบันไดขึ้น ๔ ด้าน สถานพระพรหมอยู่เหนือพระนารายณ์อยู่ใต้ย่อมลงมากว่า มีอัฒจันท์ขึ้นแต่ด้านตะวันออกด้านเดียว มีด้านตะวันออกอีกสายหนึ่ง ๓ สถาน ๆ กลางหันหน้าตรงสถานพระอิศวร บันไดขึ้นทางทิศตะวันตก มีรูปพระโคที่เรียกว่า

๒๔ นนทรี อีก ๒ สถานตรงหน้าพระพรหมและพระนารายณ์ไม่รู้ว่าจะมีอันใดสองสถานนี้พังมากจนไม่มีผนัง มีเล็ก ๆ สลับหว่างแถวกลางกับข้างตะวันออกอีกสองหลังย่อมลงไปกว่า จะสันนิษฐานว่าคงจะมีแถวข้างตะวันตกเป็น ๙ ยอดหรือ ๑๓ ยอดก็ไม่สนัด เพราะหลังสถานที่เราเรียกว่าแถวกลาง ถึงว่ามีกองหินเหลี่ยมเช่นที่ก่ออยู่มากก็ดี แต่ดูไม่เป็นเค้าว่ามีอีกแถวหนึ่งต่างหาก ถ้าจะว่าศิลากอง ๆ เหล่านั้นพังลงไปจากเทวสถานทั้งปวงก็ได้ เพราะที่แผ่นดินที่เหลืออยู่ ตั้งแต่แถวกลางออกไป ตกที่ลาด ไปหาท้องนาริมแม่น้ำ ไม่พอกันกับที่จะทำอีกแถวหนึ่งขนาดเดียวกับข้างตะวันออก ถ้าเช่นนั้นก็จะต้องเป็นหน้าเดียว ชั่วแต่ข้างตะวันออก ดูก็สมเหตุผล อีกอย่างหนึ่งที่เทวสถานเหล่านี้ยกเสียแต่สถานพระอิศวรมีบันไดด้านเดียว แถวกลางหันหน้าตะวันออก แถวตะวันออกหันหน้าตะวันตก ยังมีที่พื้นลาดลงไปข้างด้านตะวันออกเขากำลังขุดอยู่พบสถานใหม่ขนาดเดียวกับที่ห้อยอยู่ หว่างแถวขุดต่ำลง ไปกว่าหน้าแผ่นดิน ๖ ฟิตจึงถึงราก คือแปลว่าดินถมขึ้นมาถึง ๖ ฟิต ถ้าแถวนั้นรายตลอดอีกก็จะทำให้ตะวันตกรายยากขึ้นหรือต่ำกว่า ถ้าสันนิษฐานว่าหน้าเดียวแล้วสายกลางหรือแถวกลางต้องเรียกว่าสายหลังหรือแถวหลังพื้นที่ทำเทวสถานนี้สูงกว่าพื้นท้องนามากได้ไปขึ้นสถานกลางก่อน บันไดที่ขึ้นเป็นบันไดใหญ่มีหัวนาคแต่พลสิงห์ทะลายเสีย ดอกเตอร์โกรนแมนว่าเป็นรูปช้างซึ่งเราไม่เห็นด้วย แต่จะไว้อธิบายที่บุโรพุธโธหรือที่อื่นซึ่งมีที่เทียบมากกว่า สัณฐานเป็นไม้สิบสองย่อเก็จเป็น ๒๐ เหลี่ยม บันไดขึ้น ๑๖ คั่น ลายข้างล่างเป็นหน้ากระดานเป็นลูกแก้วบัวคว่ำบัวหงาย ท้องไม้แล้วมีลาย

๒๕ ข้างบนเหมือนอย่างพระเบญจาเราไทย ๆ ข้างบนเป็นพนักมีทักษิณชั้นหนึ่งแต่บันไดนั้นสูงกว่าทักษิณ ต้องมีอัฒจันท์ลงสองข้าง ๆ ละ ๖ คั่น แล้วมีลายขึ้นไปถึงทักษิณ ชั้นสองมีพนักบันไดอีก ๔ คั่น คราวนี้ถึงตัวมณฑปบันไดจมเข้าไปในซุ้มประตูถึงพื้นในประธานอีก ๑๐ คั่น ผนังพังลงมาเป็นศิลากอง ๆ แต่ช่องกบประตูยังดีอยู่ ลายสลักชั้นล่างปันเป็นช่อง ๆ ลายกลางเป็นซุ้มคูหามีสิงห์อย่างวัดพระแก้วหน้าอัดยืน ในนั้นสองข้างเป็นขวดปักดอกไม้ ซึ่งพวกวิลันดาว่าต้นโพธิ์ เพราะเขาไม่รู้ว่าศาสนาพราหมณ์อย่างใดฮินดูอย่างใด เหมือนกับที่เขาพูดว่ารู้ มีรูปสัตว์เคียงขวด ๒ ตัว แต่สัตว์นั้นรูปต่าง ๆ บางทีก็เป็นนกหน้าคน เขาเรียกว่าคันธารว บางทีก็เป็นห่านเป็นแกะ ยังตีอรรถไม่ออกว่าแปลว่ากระไร ถัดปลายช่องนั้นไปมีช่องลูกมะหวดคั่นสองเสา แล้วเป็นลายเช่นที่ว่าแล้วต่อไปอีกจนรอบ ที่ย่อเก็จชั้นล่างนั้นเป็นซุ้มมีเทวรูปยืน พนักทั้ง ๒ ชั้นมีเสาคั่น ที่เสาสลักเป็นเทวรูปนั่งบ้างยืนบ้าง ในหว่างเสาเป็นลายภาพเทวรูปหลาย ๆ ตัว ด้านหลังของพนักเป็นเรื่องรามเกียรติดูพอเอาเรื่องได้ แต่ผู้ที่จัดเรียบเรียงขึ้นใหม่ไม่สู้สันทัดในเรื่องรามเกียรติเป็นแต่จับต่อ ๆ กันเข้าเหมือนเด็กเล่นต่อรูปเขียนกระดาษ ด้วยลายนั้นสลักศิลาเป็นท่อน ๆ ถูกที่มีลายขนาบคาบเกี่ยวพอประกับกันเป็นเรื่องก็เป็นเรื่องติดต่อกัน ถ้าถูกที่ขาดหายเสียก็ไม่ต่อกันได้ พาให้ตัวเรื่องที่ควรจะอยู่หน้ากลับไปอยู่กลาง ๆ หรือข้างหลัง จึงได้ดูเรื่องได้เป็นท่อน ๆ ไม่เรียบเรียงกันตลอดเป็นเรื่องเดียวจนรอบเหมือนระเบียงวัดพระแก้ว ลาย


๒๖ ที่ต้องไม่ต้องบอกเลยว่าเรื่องอะไรเมื่อใดเช่นถวายแหวนจองถนนและอื่นๆ มีเป็นอันมาก บรรดารูปเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอย่างฮินดูทั้งนั้น ลิงก็เป็นรูปลิงแท้ ยักษ์หน้าไม่สู้ผิดกับคนมากเป็นแต่ผมหยิกหน้าดุมีหนวด แต่มนุษย์นั้นหน้าและเครื่องแต่งตัวกษัตริยเป็นอย่างฮินดู แต่ไพร่พลเป็นอย่างคนอิยิปต์โบราณผมหยิกมีแต่ผ้านุ่ง ตัวลายพนักทักษณชั้นสอง มีเสาคั่นเป็นห้อง ๆ เหมือนกัน ที่เสาเป็นมะหวดต่อออกมาแล้วถึงเทวรูปเป็นห้อง ๆ มักจะยืน ๓ ตัว หรือนั่ง ๓ ตัวเป็นพื้น ฝีมืออยู่ข้างจะงาม ๆ แต่เป็นพนักลวงเดิรไม่ได้ ในตัวเทวสถานนั้น มุขด้านตะวันออกทะลุเข้าไปถึงกลางตัวมณฑป มีฐานตั้งรูปพระอิศวรสูงสัก ๖ ศอกไปหา ๘ ศอกอยู่ท่ามกลางห้องไม่ได้อาศัยผนัง งามมากเป็นศิลาแท่งเดียวอีก ๓ ทิศเป็นแต่กั้นฉะเพาะมุข เหมือนที่กาลิเบนิงที่เขาตั้งไว้เดี๋ยวนี้ คือ มุขใต้ รูปพระอิศวรเป็นมหาฤษี ทิศตะวันตกมหาวิฆเนศร ทิศเหนือพระทุรคา ซึ่งพวกชะวาชั้นใหม่เรียกว่าโลโลยองแกรง ว่าเป็นนางกาลีนั้นเอง แต่เทวรูปนอกจากพระอิศวรองค์ใหญ่จะตั้งถูกที่หรือไม่เป็นที่สงสัยอยู่ แต่ฝีมือที่ทำนั้นงามยิ่งนักทั้ง ๓ องค์ เขาว่าเมื่อแรกพบจมลงไปอยู่ในพื้นทั้งนั้น เพราะที่ใต้ฐานพระมีหลุมลึก ๆ มีทรัพย์สมบัติเงินทองอยู่ในนั้นทุก ๆ แห่ง ว่ากันด้วยเรื่องศิลาที่ทำจะได้มาแต่แห่งใดดูมากมายนักหนา พวกวิลันดาเขาว่าคงจะเป็นศิลาในแม่น้ำ แต่เดี๋ยวนี้ทรายถ่านมากกลบแม่น้ำตื้นเสียหมด จึงไม่เห็นหินปรากฏในที่ใกล้ พวกชาวชะวาจึงได้เข้าใจว่าเป็นเทวดาสร้าง ถึงว่าถือศาสนามหหมัดก็ยังเคารพนับถือเทวรูปเหล่านี้บนบานสารกล่าวกันอยู่เสมอ ที่นับถือมากนั้นคือ

๒๗ ทุรคา เวลาเราไปที่นั้นก็เห็นดอกกุหลาบซึ่งเอาไปบูชาเสียบอยู่ตามเทวรูปออกแดงไป ครั้นเวลากลับลงมาแล้วก็เห็นคนขึ้นไปนับด้วยร้อย มุ่งหน้าไปที่ทุรคาทั้งนั้น เขาว่ามีคนไปมาบูชาอยู่เสมอไม่ขาด การที่บนบานนั้นมักจะเป็นเรื่องคลอดลูกหรือไข้เจ็บ จนตัวสุลต่านเองเมื่อยังไม่ได้เป็นสุลต่านก็เคยมาบูชาเส้นสรวงเหมือนกัน ดูสถานกลางนี้พอทั่วก็อยู่ในบ่ายโมง ๑ ร้อนเต็มทีต้องกลับไปที่พักที่โรงเขาปลูกไว้กับจันทิวิษณู คือ สถานพระนารายณ์ ตามรอบโรงนี้มีแผ่นศิลาซึ่งสลักรูปรามเกียรติและสลักเทวรูปเป็นลายพนักชั้นบน ที่ประกอบเข้าเรื่องไม่ได้ตั้งรายไว้ โดยรอบถึง ๒ ชั้น โรงนี้ทำหลังคามุงกระเบื้อง ตั้งโต๊ะสำหรับกินเข้ากลางวัน ที่ด้านหุ้มกลองทำเป็นซุ้มหุ้มด้วยผ้าแดงตั้งมหาวิฆเนศรองค์ย่อม ๆ แต่ทาสีขาวเขียนเขม่าเราบ่นว่าเสียดายไปทาสีเสียทำไม เขาว่าตั้งใจจะให้เห็นเป็น ธงช้างแปลใจความว่าเขาเข้าใจว่าธงช้างของเราหมายเอารูปมหาวิฆเนศร ๆ เป็นรูปของพระพุทธเจ้าแต่ชาติก่อน มีท่านพวกนักปราชญ์ทั้งหลายมาถามความเห็นว่าเราเห็นว่าที่นี้เป็นของพุทธศาสนาหรือศาสนาพระอิศวร เรา ว่าเราไม่ได้มีความสงสัยสักนิดเดียวว่าจะเกี่ยวข้องด้วยพุทธศาสนา เป็นศาสนาพระอิศวรแท้ เขาว่าทำไมจึงมีรูปโพธิสัตว์อยู่ตามพนักชั้นสอง คือเขาเข้าใจว่าบรรดารูปอันใดอันหนึ่งซึ่งมีมือถือดอกบัวแล้วเป็นโพธิสัตว์ ทั้งสิ้น เราว่าเทวรูปที่ถือดอกบัวมีโดยมากจะอ้างหาพยานให้เห็นได้หลายอย่าง เขาก็ยอมรับแต่ว่าเป็นศาสนาพระอิศวร แต่เทวดาถือดอกบัวยังร่มว่าเป็นโพธิสัตว์อยู่เช่นนั้น แต่เวลานี้ยังไม่ได้เถียงกันถึงแตกหักแล้วบรรดาพวกเปรสิเดนต์และแมมเบอร์ของอาชิโอโลยิกัลโซไซเอตีมาส

๒๘ บีชและให้ ดีโปลมาขอให้เป็นกิติมศักดิ์แมมเบอร์ ในโซไซเอตีนั้น เรารับจะอุดหนุนทุกอย่าง และถามดูถึงโซไซเอตีนี้ตั้งอย่างไร เขาว่าแมมเบอร์เสียปีละ ๔ กิลเดอ มีสัก ๗๐ คน แต่ทุนน้อยคอเวอนเมนต์ต้องอุดหนุน แต่ไม่เป็นการเสมอ ต่อเมื่อใดจะทำการอันใดอันหนึ่งทำรายงานไปยื่นคอเวอนเมนต์เห็นชอบก็อนุณาตให้คราวละ ๒๐๐๐ กิลเดอ ๓๐๐๐ กิลเดอ เราให้เงิน ๒๐๐ กิลเดอ เป็นค่าที่ต้องเข้าเรี่ยไรเหมือนแมมเบอร์ตามธรรมเนียม คิดเอาว่าจะอยู่อีก ๕๐ ปีคงเป็นแมมเบอร์ทั้ง ๕๐ ปี แล้วให้สมุดที่แต่งว่าด้วยเรื่องบรัมบานัน เซ็นชื่อพวกกรรมการพร้อมด้วยกันหมด แล้วดอกเตอร์ โกรนแมนให้สมุดเล่ม ๑ หรือ ๒ เล่ม ซึ่งแกแต่งว่าด้วยธรรมเนียมชะวาต่าง ๆ เพราะเหตุดีดังนี้เราจึงไม่คิดอ่านที่จะกล่าวถึงสูงต่ำกว้างแคบในเวลานี้ เพราะถ้าจะวัดก็ป่วยการเวลา จะคะเนตาก็ไม่แน่ดูในสมุดนั้นดีกว่า กินเข้ากลางวันพร้อมด้วยท่านนักปราชญ์ราชบัณฑิตเหล่านั้น แล้วขึ้น ไปดูสถานพระนารายณ์ ลดสิ่งละย่อม ๆ ลงหมด คือชั้นล่างบันไดสูง ๑๑ คั่น บันไดเกยที่ลงเดิรตามทักษิณเพียง ๒ คั่น บันไดชั้นบน ๑๑ หรือ ๑๒ คั่น แต่พนักชำรุดทรุดโทรมยังไม่ได้ตั้งที่ รูปพระนารายณ์ ใหญ่กว่าเทวรูปทั้ง ๓ ที่เห็นมาแล้ว สถานพระพรหมก็เหมือนกันผนังพังลงมาจนถึงฐานบัด รูปพระพรหมหัวตกอยู่ข้างล่าง แล้วไปดูสถาน ที่นนทรีย่อมกว่าสถานพระนารายณ์พระบรรทม รูปโคหมอบจะโตกว่างัวฝรั่งก็ไม่มากนัก แต่เขารูปพระอาทิตย์ พระจันทร์ คือเทวดาขับรถเทียมด้วยม้าและราชสีห์เสมอหน้ากันมาก ๆ เหมือนพระอาทิตย์

๒๙ พระจันทร์อย่างกรี๊กหรืออียิปต์ ไปตั้งไว้บนนั้นด้วย แต่ไม่ใช่ที่ ๆ ตั้ง เป็นแน่ ยังอีก ๔ สถานไม่ได้ไปดู แต่ ๒ สถานตรงพระนารายณ์ และพระพรหมย่อมลงไปกว่าสถานพระโค โคอีก ๒ สถานที่สับหว่างย่อมลงไปกว่าอีก

(เรื่องบรัมบานันตอนนี้คัดจากพระราชนิพนธ์จดหมาย เหตุรายวันคราวเสด็จประพาสชะวาครั้งหลัง พ.ศ ๒๔๔๔ ) เช้า ๒ โมงขึ้นรถไฟไปที่สเตชั่นบรัมบานัน ตาโกรนแมนต์ไปด้วย สนทนากันไปตามทาง ถึงที่สเตชั่นขึ้นรถม้ากับลูกหญิงสุทธาทิพยและ ตาโกรนแมนต์ไปทางไม่สู้ไกลถึงลงเดิร ไม่มีอะไรแปลกออกไปจากแต่ก่อนเลย ตรงไปขึ้นสถานพระอิศวรซึ่งเป็นสถานกลาง นับว่ายังบริบูรณ์ ดีกว่าสถานอื่น ๆ คือ อาจเดิรโดยชั้นทักษิณได้รอบ พนักกำแพงแก้ว ซึ่งสลักเป็นเรื่องรามเกียรติก็ยังเหลืออยู่มาก แต่ที่เขาจับตั้งขึ้นใหม่ไขว้เขวไปเสียบ้างก็มี เดิรรอบทักษิณแล้วขึ้นดูในมณฑปด้านตะวันออก เป็นห้องทะลุเข้าไปถึงกลางประธานมีรูปพระอิศวรใหญ่แต่ตั้งผิดฐาน อีกสามทิศเป็นซุ้มเข้าไปอีกตื้น ๆ ทิศเหนือเป็นรูปเทวฤษีหรือมหาฤษีคือพระอิศวรจำศีล ทิศตะวันตกเป็นรูปมหาวิฆเนศวร มีอาการอย่างเดียวกับพระวิฆเนศวรสิงคหัดส่าหรีที่เชิญเข้าไปไว้ ที่วัดพระแก้ว (๑)แต่เล็ก (๑) คือพระพิฆเนศวรที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในปัจจุบัน


๓๐ กว่ามากฝีมือก็เลวกว่า ทิศเหนือเป็นลูกนางกาลี ซึ่งเรียกว่าโลโลยองแกรงเป็นที่พวกแขกนับถือมาก การที่มีซุ้มเช่นนี้ ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจ คือ มณฑปศิลาที่สร้างในยาวานี้คงเป็นไม้สิบสองหรือไม้ยี่สิบทั้งสิ้น แล้วกั้นห้องข้างในเท่าที่ผนังตรงไว้เป็นห้องใหญ่สำหรับสิ่งสำคัญของมณฑปนั้น อีก ๓ ด้านที่เป็นที่ย่อเหลืออยู่นั้นไว้สำหรับไว้รูปซึ่งไม่สำคัญซึ่งเรา เรียกว่าซุ้ม การที่ทำนั้นก่อด้วยศิลาหนาอยู่ในคืบหนึ่ง กว้างราวศอกหนึ่งยาวศอกคืบหรือสองศอกไม่เสมอกันทั่วไป ที่เป็นลายหน้ากระดานบัวที่ควรจะสลักใช้สลักมีลักษณต่าง ๆ คือเทวรูปกับเทพธิดาประคองสองข้างรูปเทวดานั่งแท่นเช่นนี้สำหรับที่เล็ก ๆ ถ้าที่โต ๆ สลักเป็นเรื่องรามเกียรติ จับตั้งแต่หุงเข้าทิพย์ นางกากะนาสูรมาลักเป็นต้นไป ซึ่งตาโกรนแมนต์อธิบายได้พอใช้ แต่แกยังหลง ๆ อยู่มาก มิสเตอรราฟก็ไปด้วยสำหรับขัดคอ เพราะรู้ต่อรู้เข้าไปโดนกัน ที่จริงตาโกรนแมนต์เห็นจะรู้มาก กว่า แต่แกมักใส่ใจผิด แล้วก็กางร่มนั้นอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง มักจะอี๋ เมื่อคราวก่อนนี้อี๋โบดิสัตวะเห็นที่ไหนไม่ได้ชี้ซ้ำชี้ซากวันยังค่ำแต่คราวนี้คงเหลือกำลังอี๋จัดอยู่แต่อูรานะเห็นที่ไหนต้องไปจับ ถึงจะสูงหน่อยก็สู้ปีนไม่ว่ารูปอะไรๆสุดแต่มีตุ่มอยู่ที่กลางหน้าผากแล้วก็ไปชี้อูรานะเป็นพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น อธิบายว่าเป็นเครื่องหมายว่าเป็นพระอาทิตย์ ซึ่งแกไปได้มาจากไหนว่าพระพุทธเจ้านั้นเป็นพระอาทิตย์ แต่คราวนี้ไม่ ใคร่สนุก เพราะแกยอมเป็นลูกศิษย์เราเสีย เรื่องช้างหรือนาคก็ยอมราบไม่ใคร่จะมีอะไรเถียงกัน สถานพระนารายณ์อยู่ข้างทิศเหนือมีรูป


๓๑ พระนารายณ์ตั้งผิดฐานเหมือนกันได้ขึ้นไปดู แต่สถานพระพรหมซึ่งอยู่ข้างทิศใต้แดดร้อนนักไม่ได้ขึ้น เคยขึ้นแต่ก่อนแล้วมีหน้าพรหมอยู่ ในนั้น สองสถานนี้เล็กกว่าสถานพระอิศวร แล้วมีสถานนนทรี อยู่ตรงหน้าสถานพระอิศวร งัวตัวนี้ใหญ่เขาทำงามดีมาก หน้าสถานพระนารายณ์และพระพรหมก็มีเหมือนกันลดย่อมลงมาตามส่วน แต่ไม่มีสิ่งสำคัญอันใด ดูเหมือนว่าแถวด้านข้างหลังจะมีขนาดเดียวกันอีกสักแถว แต่พังหมดจนศิลากองเป็นคันหาร่องรอยไม่ได้ พ้นจากเขตต์ สามแถวนี้ออกไปมีมณฑปเล็ก ๆ รายรอบอีก ๓ ชั้น แต่จมดินอยู่มาก ขุดขึ้นไว้แต่พอเห็นแถวหนึ่ง เขตต์แดนเมืองโซโลกับยกยาฉะเพาะต่อกันที่บรัมบานันนี้ ก่อเสาอิฐจารึกไว้ เทวสถานทั้งปวงนี้อยู่ในเมือง ยกยา ๓ ส่วน อยู่ในเมืองโซโลส่วนหนึ่ง ที่โรงสำหรับคนเฝ้าเดิมมี ศิลาพนักซึ่งเป็นลายรามเกียรติมาก เดี๋ยวนี้ดูน้อยไปเห็นจะขนเอาไปไว้ ที่อื่น


โบราณวัตถุสถานบุโรพุทโธ ตื่นแต่เช้ากินเข้าแล้ว ๒ โมงเช้าขึ้นบุโรพุทโธ วันนี้เป็นกลางวัน ได้พิจารณาโดยถ้วนถี่ทุกชั้นจนตลอดยอดพระเจดีย์ ตามที่กล่าวไว้ในหนังสือเก่า ๆ ว่าได้สร้างแล้วเสร็จในปีศักราชชะวา ๑๓๖๐ ถ้าแน่ดังนั้น ก็ตกอยู่ในระวางเจ้าแผ่นดินเมืองมายาพหิส ตามที่สังเกตดูภูมิพื้นที่ บุโรพุทโธผิดกันกับที่บรัมบานัน เป็นที่สูงกว่าที่แผ่นดินเหล่านั้นมาก

๓๒ ตัวหลังเนินที่ตั้งบุโรพุทโธสูงกว่าพื้นดินประมาณ ๓๐ ฟิต เป็นหน้าพิศวง นักหนาด้วยเรื่องศิลาที่เอามาใช้ ถึงว่าแม่น้ำโปรโคอยู่ใกล้ ก็ไม่ใคร่แล เห็นศิลาก้อนใหญ่ในนั้น หรือจะเป็นด้วยเขามราปีมาถมเสียมากก็ไม่ทราบ และจะสืบถามหาที่ตั้งกราตนในที่แห่งใดแห่งหนึ่งก็ว่าไม่มีร่องรอยเลย ถ้าได้ตั้งกราตนในที่นั้นคงจะมีศิลาที่ก่อกำแพงปรากฎอยู่บ้างเหมือนอย่างที่อื่น ๆ แต่เขาว่ามีเครื่องที่สังเกตได้อย่างหนึ่ง ว่าในที่ นี้คงจะเป็นที่มีหมู่ประชุมชนมาตั้งทำมาหากินอยู่มาก ที่แผ่นดินยังจืดจะปลูกอันใดก็ไม่งามบริบูรณ์ต้องใช้ปุ๋ยมาก เพราะการที่ทำบุโรพุทโธนี้คงจะไม่ทำแล้วได้ในชั่วอายุเดียว คือไม่ต่ำกว่าร้อยปี และจะต้องใช้ กำลังผู้คนมากมายนัก ถึงว่าไม่มีกราตนก็คงจะเป็นที่ประชุมแห่งคนทำ งานนับด้วยหมื่นด้วยแสน ยังมีพยานที่มีวัดศิลาอยู่ข้างล่างอีก ๒ แห่ง คงจะเป็นวัดในหมู่บ้านคนหรือจะเป็นในเมือง ตัวบุโรพุทโธที่ตั้งอยู่บนหลังเนินนั้น ถ้าดูตามตัวลูกเนินและทางที่ตัดขึ้นกับลานหน้าประสังคระหัน ดูเหมือนตั้งเบี้ยว ไม่ตรงตามเหลี่ยมเนิน แต่ที่จริงเขาตั้งหันหาทิศบรรดาการก่อสร้างศิลาทั้งปวงในชะวาคงจะหันหน้าทิศตะวันออก หันหลังทิศตะวันตกโดยมาก แต่บุโรพุทโธนี้ ไม่มีหน้าไม่มีหลังก็จริง แต่เขาก็หันเหลี่ยมให้ตรงทิศใหญ่ทั้ง ๔ ได้วัดฐานชั้นล่างเกือบจะเป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส ผิดกันอยู่ ๒ ศอกคืบเท่านั้น จะเป็นด้วยวัดเคลื่อน คลาดเมื่อแรกทำหรืออย่างไร คงตั้งใจจะให้เป็น ๔ เหลี่ยม คือด้านตะวันออก ตะวันตกยาว ๒ เส้น ๑๒ วาเต็ม ด้านเหนือใต้ยาว ๒ เส้น ๑๑ วาศอกคืบ


๓๓ สูงแต่พื้นเนินถึงบัลลังก์พระเจดีย์กลาง ๔๐ เมเตอร์ หลังเนินสูงจากทะเล ๓๘๐ เมเตอร์ ชั้นล่างยกพื้นสูงเกินส่วนไม่มีพนัก เดี๋ยวนี้นับว่าเป็น ลานที่ตั้งบุโรพุทโธ มีบันไดและซุ้มประตูเป็นชั้น ๆ ตรงขึ้นไปทั้ง ๔ ทิศตั้งแต่ชั้น ๑ จนถึงชั้น ๕ เป็นไม้สิบสองย่อเก็จ ชั้นที่ ๑ เป็นฐานบัด ชั้นบน ๆ ขึ้นไปมีหน้ากระดานบัวคว่ำบัวหงาย ตั้งพนักรอบทั้ง ๕ ชั้น ที่พนักชั้นล่างด้านข้างนอกมีเสาคั่นเป็นห้อง ๆ คือห้องเล็กเทวรูป ๆ เดียวสองข้างที่ห้องกลางใหญ่หน่อย เทวรูป ๓ รูปเป็นภาพยืน ที่ตรงซุ้ม ตั้งพระพุทธรูป มีเสาคั่นข้างละ ๒ เสา ในกลางห้องกว้างเท่าเรือนแก้วมีเทวรูปนั่งท่าต่าง ๆ และมีเครื่องตั้งต่าง ๆ กันเว้นระยะพอสมควร มี ท่อน้ำทำเป็นหน้านาคอ้าปากแต่นาคนั้นคล้ายเหรา ที่ดอกเตอร์โกรนแมนต์ว่าช้างสำหรับเป็นทางน้ำฝนตกจากพื้นลานทุกชั้น พนักด้านในมีเสาคั่นเป็นห้อง ๆ ในระวางเสาสลักเป็นภาพเรื่องต่าง ๆ มีรูปคนมากบ้าง น้อยบ้าง เดาไม่ออกว่าจะเป็นเรื่องอะไรแปลก ๆ กันทุกห้อง หลัง พนักพ้นลายกรอบข้างบนขึ้นไปตั้งคูหาลึกสักศอกเศษ ด้านหลังร้านหลังคาโค้งเป็นเรือนแก้ว ในเรือนแก้วนั้นมีพระพุทธรูปหน้าตักสัก ๒ ศอกหลังซุ้มมีพระเจดีย์กลมรูปต่อมน้ำมีบัลลังก์ แต่ยอดเป็นเสากลม ๆ ไม่ มีปล้องไฉนและลูกแก้วข้างบน ในระวางคฤหและคฤหต่อกัน เป็นกำแพงตัน มีเสาและมีลายสลักรูปภาพ ตั้งแต่ชั้น ๒ ขึ้นไปจนถึง ชั้น ๕ ไม่มีฐานบัด มีแต่ลายกรอบบนและล่าง ชั้น ๒ ชั้น ๓ ปันเป็น


๓๔ ๒ ตอนมีลายคั่นกลาง ตอนบนเป็นปฐมสมโพธิ์ ตอนล่างเป็นชาดกพนักด้านในเป็นชาดก น่าที่จะเป็น ๕๕๐ ชาติ แต่จำเรื่องไม่ใคร่จะได้จึง ดูไม่ใคร่จะถูก ชั้น ๔ ชั้น ๕ ไม่มีลายคั่นกลาง เป็นภาพแผ่นเดียว มักจะมีพระพุทธเจ้านั่งอยู่ในกลางบริษัท ในเรือนแก้วบ้าง ในใต้ต้นไม้บ้างบริษัทนั้นคือเป็นกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง พระบ้าง พระพุทธเจ้าสำแดงอาการต่าง ๆ เดากันว่าเขาจะคิดทำเวลาพระพุทธเจ้าเทศนาพระสูตรต่าง ๆ เรื่องชาดกที่เห็นชัดได้เช่นเวสสันดรชาดกก็มี แต่ปฐมสมโพธิ์นั้นเห็นได้มาก มีตลอดจนถึงมหาพิเนษกรม แต่ตอนข้างต้นเรารู้แต่เพียงครรโภกันติกะประสูติและเปล่งอาสภวาจาทายมหาปุริสลักขณประลองศิลปและอภิเษกนอกนั้นเขายังมีเรื่องราวอีกเป็นอันมาก ที่เราไม่รู้ ชรอยกาลนานมา แล้วเขาจะรู้เรื่องละเอียดดีกว่าเรา รูปพระพุทธเจ้าคงจะทำให้โตกว่าผู้อื่นแต่ไม่มีพระรัศมี มีพระเมาฬีห่มผ้าอย่างพระโบราณของเรา รูปกษัตริย์ ก็สวมอาภรณ์อย่างฮินดู เว้นแต่คนธรรมดาแต่งตัวเป็นชะวาทั้งนั้นเครื่องที่ใช้อยู่ในประเทศชะวา เช่นร่มก็ใช้อย่างปยงที่ใช้ทุกวันนี้ ไม่แต่งอย่างฮินดูเหมือนเช่นที่บรัมบานัน ปราสาทราชฐานทำคล้ายปราสาทเขียนของเรา พนักทั้ง ๔ ชั้นก็ใช้เหมือนชั้นต้น คือมีคูหาเรือนแก้ว ยอดพระเจดีย์และพนัก แต่คูหานั้นชั้นบนกับชั้นล่างให้สลับเป็นฟันปลากัน เวลาดูข้างล่างพระพุทธรูปนั่งไม่ซ้อนกันตรงขึ้นไปคงแลเห็นได้ตลอดเมื่อแลดูก็เหมือนหนึ่งเมืองใดใหญ่ ๆ ที่ประกอบไปด้วยยอดและซุ้มเป็นอันมาก ช่องบันไดนั้นทำฝังเข้าไปในพื้นไม่ออกมายื่นเกะกะ เป็นซุ้มคูหา


๓๕ เหมือนกันกับเรือนแก้ว ที่มุมย่อใช้คูหา ๒ ด้าน พระเจดีย์บนยอดซุ้มองค์เดียว แต่การที่จะเขียนหนังสือให้เข้าใจชัดเจนได้นั้นเป็นพ้นวิสัย ได้แต่ต้องดูรูปถ่ายประกอบ แต่ถึงดูรูปถ่ายประกอบก็ยังไม่เห็นอัศจรรย์เหมือนได้เห็นด้วยตา ตั้งแต่ชั้นที่ ๖ ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ ๗ เห็นแล้วเป็นที่น่าเสียดายมาก เพราะไปกลายเป็นกลมก่อยกขึ้นเป็นชั้น ๆ เฉย ไม่มีพนัก ไม่มีลายสลักที่สุดจนบันไดที่ขึ้นก็ก่อเป็นลูกหีบยื่นออกมาไม่มีพลสิงห์ ตามชั้นที่เหมือนเขียง ๓ อันซ้อนกันนั้นลาย พระเจดีย์กลมสัณฐานก็คล้ายกันกับพระเจดีย์ยอดซุ้มแต่เป็นต่อมน้ำชัดกว่า เว้นแต่ที่องค์ระฆัง ตัดศิลาเป็น ๓ ขาซ้อน ๆ กันปรุเป็นช่องลูกฟักครอบ พระพุทธรูปซึ่งตั้งอยู่ใน นั้นก็ขนาดเดียวกันกับข้างล่าง ชั้นที่ ๘ คือเขียงที่ ๔ นั้นตั้งพระเจดีย์องค์ ใหญ่ไม่มีลายสลักอันใด เว้นไว้แต่ลายที่รัดกลางระฆังหรือจะเรียก ว่าราตคด พระเจดีย์นั้นก่อรวบข้างในโปร่งเหมือนพระศรีรัตนเจดีย์ทำนองเขาจะมีซุ้มคูหาแต่ฉะเพาะทะลายที่ที่ตรงนั้นเห็นไม่ได้ ข้างในมีพระพุทธรูปจะนั่งหรือยืนประการใดรู้ไม่ได้ ด้วยพลาดจากที่จมดินอยู่เพียงพระศอ ครั้นจะขุดยกขึ้นมาตั้งให้สมควรแก่ที่ก็กลัวว่าจะกระเทือนพระเจดีย์พัง สังเกตดูแต่พระเศียรจะไม่โตกว่าพระทั้งปวงมากนัก พระเจดีย์ใหญ่นี้เหลือแต่บัลลังก์ เขาทำคั่นบันไดสำหรับขึ้นไปยืนได้บนบัลลังก์ ดูถิ่นฐานเหล่านั้นโดยรอบ ซ้ำก่อเสริมขึ้นไปด้วยหน่อยหนึ่ง เมื่อพิเคราะห์ดูก็เห็นได้ชัดว่าบุโรพุทโธนี้ไม่ได้ทำครั้งเดียว คงจะเป็นเพราะ เหตุที่ความคิดกว้างไม่สมกับสูง มีพยานที่เห็นได้ คือฐานชั้นล่างซึ่งไม่มี


๓๖ พนัก เขาได้ขุดศิลาขึ้นดูเห็นผนังข้างในเป็นรอยสลักแล้วเป็นแต่โกลนบ้าง ที่ยังไม่ได้สลักบ้าง เป็นเรื่องพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ก่อกำแพงข้างนอกขึ้นเอาศิลาถมเสียคงจะประสงค์ที่จะให้ได้แรง เพราะจะร้าวแยกอย่างหนึ่งอย่างใดกลัวข้างล่างจะทนไม่ได้เป็นความคิดผิดไป แต่ถึงดังนั้นเมื่อก่อขึ้นไปถึง ๕ ชั้น ก็คงมีเหตุใดเหตุหนึ่งซึ่งสงสัยหรือไม่สามารถที่จะทำตามความคิดเดิมได้ จึงเปลี่ยนก่อเป็นเขียงกลม ๆ ตั้งพระเจดีย์หรือทิ้งไว้เช่นนั้น มีเจ้าแผ่นดินองค์อื่นที่รำคาญว่าค้างอยู่หรืออยากได้เกียรติยศว่าเป็นคนทำบุโรพุทโธแล้วไปทำเพิ่มเติมขึ้น ครั้นจะทำตามแบบเดิมก็เห็นว่ารากจะทนไม่ได้ เพราะถ้าจะทำตามทรงเดิมคงจะต้องสูงอีกเกือบเท่านี้ เป็น ๙ ชั้นหรือ ๑๑ ชั้น จะเป็นการใหญ่เหลือกำลัง จึงได้ทำเหมือนอย่างกับตัดเป็น ๒ ท่อน ๆ บนสักแต่พอให้แล้ว คงจะทำนองเดียวกันกับภูเขาทองที่ก่อพระเจดีย์เติมขึ้นข้างบน ที่จดหมายไว้ว่าบุโรพุทโธแล้วเสร็จในปี ๑๓๘๐ นั้น เป็นเวลามายาพหิส แต่น่าที่จะได้เริ่มไว้แต่ครั้งมุนดังกามูลังหรือประชาชรันเป็นอย่างเร็วที่สุด คงจะสร้างติดต่อกันกับบรัมบานัน แต่หากการไม่สำเร็จจึงไม่มีจดหมายไว้ พระพุทธรูปที่ตั้งรายในซุ้มคูหาเรือนแก้ว ชั้นที่ ๑ ด้านละ ๒๖ รวม ๑๐๔ ชั้นที่ ๒ ด้านละ ๒๔ รวม ๙๖ ชั้นที่ ๓ ด้านละ ๒๒ รวม ๘๘ ชั้นที่ ๔ ด้านละ ๑๘ รวม ๗๒ ชั้นที่ ๕ ด้านละ ๑๘ รวม ๗๒ รวมพระพุทธรูปในคูหาเรือนแก้ว ๔๓๒ชั้นที่ ๖ พระเจดีย์ครอบพระวงรอบ ๓๒ ชั้นเจ็ด ๒๔ ชั้นแปด ๑๖ ชั้นเก้าพระเจดีย์ ใหญ่ ๑ รวมเป็นพระพุทธรูป ๕๐๕ ทรวดทรงสัณฐานเป็นพระ


๓๗ อินเดียทั้งสิ้น มี ๕ ปาง ยกพระหัตถ์ป้องกันสองข้างปาง ๑ มารวิชัย อย่างไทย ๆ ปาง ๑ เหมือนมารวิชัยแต่หงายพระหัตถ์ปาง ๑ ยกพระหัตถ์อย่างพระคันธารราฐปาง ๑ ตามอรรถาธิบายของดอกเตอร์ โกรนแมนว่าเป็นพระพุทธรูปมหายาน เพราะเขาคิดเห็นว่าที่เกาะชะวาถือศาสนาพระ พุทธตามอย่างข้างจีน ด้วยอาศัยเหตุว่าในขณะเดียวกันนั้นเมืองญี่ปุ่นกำลัง เจ้าแผ่นดินนับถือศาสนาพระพุทธมาก สร้างพระพุทธรูปที่สำคัญ ๆ หลายอย่าง และอาศัยตรวจตามจดหมายฟาเหียน ซึ่งไปสืบพุทธศาสนาเมืองอินเดียว่าได้แวะที่เมืองชะวา กล่าวว่าในประเทศนั้น ถือศาสนาพราหมณ์หาได้ถือศาสนาพระพุทธไม่ เขาว่าพระพุทธเจ้านั้นคือดวงอาทิตย์ พระพุทธเจ้าไม่ได้เกิดในโลก ที่ทำพระปางต่าง ๆ นี้เป็นสำแดงอาการแห่งพระอาทิตย์องค์ ที่ ๑ ซึ่งยกพระหัตถ์ป้องกัน สำแดงว่าพระอาทิตย์อุทัย เรียกว่า ไวโรจน องค์ที่ ๒ ซึ่งเป็นมารวิชัยนั้น สำแดงว่าเป็นเวลาเช้าแดดยังอ่อน เรียกว่าอก โษภยะ ปางที่ ๓ ซึ่งหงายพระหัตถ์นั้น ว่าเป็นเวลาเที่ยง เรียกว่ารัตนสัมภาวะ ปางที่ ๔ สมาธิ ว่าเป็นเวลาบ่าย เรียกว่าอมิตาภะ ปางที่ ๕ ซึ่งพระหัตถ์เป็นคันธารราฐนั้น ใช้ ใบ้ว่าจะค่ำ เรียกว่าอัมโมฆสีทะ กล่าวถึงว่าพระเหล่านี้อยู่ทิศใดก็ทิศนั้นเหมือนกัน ประจำเป็น ๔ อย่างเหมือนกันทั้ง ๘ ชั้น แต่ครั้นเมื่อนับตรวจเข้าดูก็ไม่เป็นเช่นนั้นสลับปะปนกันไป เราไม่เห็นด้วยในคำที่กล่าวนี้เลย เมื่อว่าโดยเหตุผลซึ่งควรจะพิจารณาได้ ประเทศชะวานี้ตั้งภูมิสถานและทางที่ไปมาใกล้ข้างอินเดียกว่าข้างเมืองจีน จะว่าข้างเจ้าแผ่นดิน ซึ่งได้ปกครองแผ่นดินมา ๑๘๐๐ ปีเศษ ก็กล่าวว่ามาแต่อินเดีย ศาสนาพราหมณ์ ก็กล่าวว่ามาแต่

๓๘ อินเดีย ครั้นตกมาชั้นกลางราว ๙๐๐ ปีนี้ ก็ว่าเจ้าแผ่นดินไปเล่าเรียน ที่อินเดีย ๔ องค์ จนชั้นหลังที่ศาสนามหมัดจะเข้ามาก็เข้ามาทางอินเดียเมื่อสังเกตดูฝีมือช่าง ตั้งแต่ทำพระพุทธรูปและลวดลายต่าง ๆ จะหา ลายซึ่งเป็นอย่างจีนแต่สักสิ่งเดียวก็ไม่มี พระพุทธรูปกลับตรงกันข้าม คือเป็นฝีมือช่างข้างอินเดียแท้ แต่แม้ว่าจะละม้ายเหมือนข้างลังกาก็ไม่มีประเพณีในบ้านเมืองทั้งปวงก็เป็นอย่างอินเดียทั้งสิ้น ไม่มีอาการกิริยาของจีนติดอยู่เลย ได้อธิบายกันเป็นอันมาก แกดื้อถือครูแกจัดนัก แต่ที่แท้แกไม่รู้เรื่องราวอันใดในพระพุทธศาสนาเลย แต่ตั้งพิธีจะเทศนาปฐมสมโพธิ์ให้ฟังหลายสิบครั้งก็พลัด ๆ พลาด ๆ ถูกดักคอต่าง ๆ จน ไปแล้วก็รื้อใหม่ เรื่องที่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระอาทิตย์ บอกแกว่าเป็นคำเปรียบ ซักตัวอย่างต่าง ๆ ให้ฟังก็ไม่ใคร่จะยอม กลับเทศนาถึงเรื่อง โยคีตปสีบูชาเพลิงบูชาพระอาทิตย์ จนถึงญี่ปุ่นนับถือพระอาทิตย์เลอะหนักไป เรื่องพระปางต่าง ๆ อ้างให้ไปดูในอินเดียและมาดูที่เมืองไทย แกก็ยังเถียงนอกเรื่องนอกราวไปต่าง ๆ ครั้นแกฟังเรายืนยันแข็งแรงหนักประกอบด้วยเหตุด้วยผล จนคอนโทรเลอซึ่งเป็นผู้รู้มากดีกว่าแกหลายเท่า ลงเนื้อเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเราเข้าช่วยเถียงแกก็ยังร่มอยู่ จนกลายเป็นการขันล้อกันเล่นว่ากันเสียสามวันสามคืน ทีหลังทำใบยอมถึงกับมอบตัวเป็นลูกศิษย์ ไปไหนคอยตามแจถามโน่นถามนี่ ถึงเวลาที่แกกำลังเถียงอยู่ เราว่ากระไรแกจดหมดทุกคำ สิ่งที่ตื้น ๆ เช่นกับธรรมจักร์แปลว่ากระไรแกก็ไม่รู้ ได้เสียแล้ว ถึงอาราธนาให้เทศนาธรรมจักร์ให้ฟัง ความรู้ของแกมีประมาณอยู่เพียงว่า พระพุทธเจ้าเป็นช้างมา

๓๙ เข้าท้องพระพุทธมารดาอยู่ข้างจะเหลวแหลกเต็มที ภายหลังยอมทุกสิ่ง ว่ารู้ตัวแล้วว่ายังไม่รู้จักพระพุทธศาสนา จะขอเข้ามาเรียนที่บางกอก แลเห็นจริงด้วยแล้วว่าบุโรพุทโธไม่ได้ทำครั้งเดียวพร้อมกัน ยังคงร่มอยู่เรื่องเดียวแต่เห็นนาคเป็นช้าง ความเห็นของเราในเรื่องบุโรพุทโธนี้ก็เป็น ๒ อย่างอยู่ ถ้าจะคิด ว่าเขาจะทำขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ให้ ได้ลำดับกันจนถึงชั้นยอด เป็นมณฑปตั้งพระพุทธรูปก็ดูจะสูงสาหัส หรืออีกนัยหนึ่งเขาจะทำแต่เพียงชั้น ๕ แล้ว ก่อพระเจดีย์กลมองค์ใหญ่เท่าเขียงชั้นล่างคือชั้น ๖ เช่นพระปฐมเจดีย์ก็จะเป็นได้ แต่ทั้ง ๒ อย่างเพราะลาดชั้นล่างไม่พอจึงได้งดเสีย สังเกตดู อีกอย่างหนึ่ง ที่ตัวเนินมีบันไดลงไปตามเนินอีกหลายสิบคั่นแต่ดินถมเสีย เขาขุดลงไว้พอเห็น ถ้าจะมีลงไปข้างล่างอีกชั้นหนึ่งสองชั้นก็จะเป็นได้ แต่ เป็นดินถมเสียมากด้วยเขาไฟอยู่ใกล้ เวลาขึ้นไปบนยอดพระเจดีย์ เป็นเวลาเช้าอากาศสว่าง เห็นควันที่เขามราปีขึ้นพลุ่ง ๆ ไม่ได้อยู่ห่างไกลเลย ถึงที่ชำรุดครากแยะและซุ้มพังทะลายก็เป็นข้างทิศตะวันตกข้างเขามราปีมากกว่าทางอื่น พระเจดีย์รายข้างบนยุบลงไปเหมือนกับของที่หนักตกทับ และขันอีกอย่างหนึ่งที่ตามชั้นเหล่านั้น ตั้งแต่ชั้นหนึ่งขึ้นไปจนถึงชั้นยอด มีก้อนกรวดกลม ๆ ขนาดโตเท่าไข่เป็ดไข่ไก่กองอยู่เป็นกองโต ๆ ซึ่งไม่ต้อง การจะใช้อันใดบนนั้น และไม่มีใครที่จะขนขึ้นไป อันนี้ก็เห็นจะเป็นได้ด้วยเรื่องเขาไฟ การที่ทำนั้นใหญ่โตเกินกำลัง มนุษย์ ถ้าหากว่าเราจะก่อเล่นด้วยอิฐให้ โตขนาดนั้น ๒๐,๐๐๐ ชั่งก็เห็นจะไม่พอ เป็นที่ควรจะพิศวงยิ่งนัก ในการที่ใครจะคิดอ่านปฏิสังขรณ์ขึ้นได้นั้นเป็นไม่มีแล้ว

๔๐ นับวันแต่จะชำรุดไป ถ้าถูกเขาไฟกำเริบขึ้นเมื่อใด ก็จะโทรมเร็วลงกราวๆและใครก็ไม่สามารถที่จะรับประกันว่าเขาไฟจะไม่กำเริบขึ้นในปีนั้นเดือนนั้นได้เราลืมกล่าวถึงบันไดซึ่งได้นับไว้แต่จะเอาแน่นักไม่ได้ เพราะชำรุดเคลื่อนจากที่ ประกอบเข้าไว้ใหม่ก็มีคั่นไม่ใคร่เสมอกันอยู่บ้าง นับแต่ชั่วที่ เราได้เหยียบขึ้นไป คือขึ้นจากหลังเนินถึงชั้นฐานก่อเกาะเข้าไปใหม่ ๘ คั่นจากฐานขึ้นชั้น ๑ ชำรุดมาก จากชั้นหนึ่งถึงชั้นสอง ๗ คั่น จากชั้นสอง ถึงชั้นสาม ๑๔ คั่น จากชั้นสามถึงชั้นสี่ ๘ คั่น จากชั้นสี่ถึงชั้นห้า ๙ คั่น จากชั้นห้าถึงชั้นหก ๑๐ คั่น จากชั้นหกถึงชั้นเจ็ด ๘ คั่น จากชั้นเจ็ดถึงชั้นแปด ๗ คั่น จากชั้นแปดถึงลานพระเจดีย์ ๘ คั่น ขึ้นองค์พระเจดีย์จนถึงหลังบังลังก์ ๑๙ คั่น เป็นบันไดก่อใหม่ พระพุทธรูปและพระเจดีย์ชำรุด ทิ้งเรี่ยรายเกลื่อนกลาด จัดตั้งเข้าไว้ตามบุญตามกรรมบ้าง นาคท่อน้ำและกระจังหน้าราหูพลัดตกเกลื่อนกลาดอยู่ทุกหนทุกแห่ง เอามาก่อเป็นคันสนามก็มี ตกอยู่ตามเนินเหล่านั้นก็ยังอีกมาก มีเนินอยู่ใกล้อีก แห่งหนึ่งย่อม ๆ น่าจะมีอะไรแต่ขุดไม่ได้เพราะเป็นที่ฝังศพแขก แต่ใน ที่อื่น ๆ ซึ่งใกล้เคียงนั้นเขาขุดแล้วไม่พบอันใด ในที่นี้มีขุดได้แต่แหวนทองและเครื่องภาชนใช้สอยบางอย่าง แต่ที่บรัมบานันขุดได้เครื่องทำพิธีเป็นต้นว่ากระดึง กลด เชิงเทียนแกว่ง และเครื่องทำพิธีพราหมณ์ต่าง ๆ แต่มีอยู่ที่มิวเซียมบัตเตเวียเป็นอันมาก สังเกตดูว่าพุทธศาสนาจะไม่สู้แพร่หลายไปทั่วแผ่นดินชะวานัก การที่ถือคงจะปน ๆ กัน ถ้าจะเทียบกับเมืองเราคงจะเป็นเหมือนอย่างกรุงเก่า ครั้งเจ้าแผ่นดินในบรมราชวงศ์


๔๑ เชียงรายปกครอง ถ้าจะว่าอย่างเช่นชั้นหลังก็คงจะเป็นเช่นแผ่นดินพระนารายณ์มหาราช สร้างพระพุทธรูปบ้างเทวรูปบ้าง แต่ชะวามาชั้นหลังกลายเป็นศาสนามหมัดไปเสียทีเดียว โบราณวัตถุสถานจันทิเมนดุด เวลาเย็นไปจันทิเมนดุด ทางประมาณสักครึ่งชั่วโมง เป็นลาน ใหญ่อยู่ในหมู่บ้าน แต่ลึกลงไปกว่าพื้นแผ่นดินที่อยู่ใกล้เคียง ด้วยแต่เดิมเป็นดินถมขึ้นไปสูง เหลืออยู่แต่หลังคา คอเวอนเมนต์ลงทุนเป็นอันมากขุดดินลงใปจนถึงพื้นดินที่ตั้งมณฑป เครื่องที่ทะลายลงมาจากข้างบนเช่นยอดเป็นพระเจดีย์แปดเหลี่ยมและตัวลายอื่นๆ รูปร่างตัวมณฑปนั้นเป็น สี่เหลี่ยม ด้านหน้าเห็นจะเป็นคูหายื่นยาวออกมาสักหน่อย แต่ฉะเพาะด้านตะวันตกจึงชำรุดมาก อีก ๓ ด้านย่อเป็นทีเหมือนมุขแต่สั้นใหญ่ออกมาแต่ฐาน ตัวผนังด้านใต้สลักเป็นลายรูปพระนารายณ์นั่งในดอกบัว มีเทวดาสองข้าง ที่เป็นมุขลดผนังแคบ อีกสองข้างก็เป็นรูปเทวดาข้างละองค์ด้านตะวันออกเขาว่าเป็นรูปทุรคา ด้านเหนือเป็นรูปพระอิศวร ลายสลักมีแต่ฉะเพาะลายขอบและเสากับที่เทวรูป นอกนั้นเกลี้ยง ๆ บันไดขึ้นตะวันตกด้านเดียว มีนาคหรือช้างอยู่ที่ปลายพลสิงห์ แต่ตัวพลสิงห์ทำลายเสียหมด ข้างอัฒจันท์สลักเป็นห้อง ๆ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องสุภาษิตบางห้องก็เป็นพระกับพรานฤษีกับคนไปนมัสการ พราหมณ์ผัวเมียทะเลาะวิวาทอะไรกัน คนแก่กับปูไม่ได้ พิจารณาถ้วนถี่ แต่ที่เห็นชัดนั้นคือ ๖


๔๒ หงส์ ๒ ตัวคาบไม้ เต่าเอาปากคาบไม้พาบิน เป็นเรื่องชาดก ตามทางที่เข้าไปมีภาพพิทยาธรเหาะหันหน้าเข้าไปทางมณฑป และมีตุ่มที่ไว้ทรัพย์ มีกษัตริย์หรือผู้ใดมีลูกหลายคนที่อุ้มอยู่นั้นคนหนึ่ง ที่ซนต่าง ๆ ขี่กันบ้างชกกันบ้างดูสนุกดี ข้างซ้ายเป็นผู้หญิงมีลูก ๑๒ คน ข้างขวาเป็นผู้ชาย มีลูก ๑๐ คน ในมณฑปตรงกลางมีพระพุทธรูปใหญ่ทำด้วยศิลาทั้งแท่งนั่งห้อยพระบาทเหมือนพระป่าเลไลย ยกพระหัตถ์ขวาคว่ำซ้ายหงาย นิ้วนางข้างขวาจับนิ้วกลางข้างซ้าย พระพักตร์คล้ายพระชินสีห์ ดูหน้าเฉยสบายและแจ่มใสเป็นศิลาทั้งแท่ง ติดกับก้อนใหญ่ซึ่งเป็นที่นั่ง รอยผ้า ที่ห่มเหมือนผ้าบาง ๆ คลุม เป็นฝีมือช่างอย่างวิเศษ ที่จะทำให้เหมือน ในเวลาเดี๋ยวนี้ได้ โดยยาก แต่พลัดตกลงมาจากฐานตะแคงอยู่หน่อยหนึ่งพระบาทที่ห้อยลงมาจดพื้น เขาว่าครั้นจะยกขึ้นให้ได้ ที่ก็กลัวจะกระเทือนตัวมณฑปพัง สองข้างเป็นรูปกษัตริย์ข้างซ้ายมีทองต้นแขนปลายแขนสร้อยคอรัดอกรัดเอวและกำไลตีน ผ้าที่นุ่งสั้นอยู่เพียงต้นขา สวมมงกุฎลายเป็นเครือไม้ บ่าซ้ายมีสังวาลพราหมณ์ทำเป็นรอยเส้นเชือกสามเกลียวห้อย ขาข้างซ้ายข้างขวาพับ ยกมือข้างขวาหงายงอนิ้ว ข้างซ้ายพาดตัก มีเรือนแก้วข้างล่างเป็นรูปช้างหมอบที่เสาเป็นรูปสิงห์ยืน ที่ทับหลังเป็นนาคหรือช้างทรงเครื่องของดอกเตอร์โกรนแมน บนทับหลังขึ้นไปเป็นพุ่ม ที่จะทำเป็นรัศมีหรือต้นไม้ ข้างขวารูปร่างก็คล้ายคลึงกัน แต่ดูหน้า ย่อมลงหน่อยหนึ่ง นุ่งผ้ายาวกรอมลงไปถึงข้อเท้า ห่มผ้าสไบเฉียง มงกุฎ มีพระพุทธรูปนั่งอยู่บนนั้น ยกมือซ้ายคว่ำนิ้วชี้จับหัวแม่มือข้างขวาแบหงาย


๔๓ เท้าขวาห้อยเท้าซ้ายพับนั่งอยู่บนดอกบัว เท้าที่ห้อยมีดอกบัวรับทั้ง ๒ รูปบางคนเขาว่าเป็นเทวรูป แต่เราคิดเพลินไป เห็นว่าจะเป็นรูปกษัตริย์เพราะเหมือนกันกับรูปกษัตริย์ ที่ทำในลายสลักทั้งปวงจะเป็นปฤษณา ข้าง ที่ใส่สังวาลพราหมณ์จะเป็นถือศาสนาฮินดู ข้างที่ห่มผ้าสไบเฉียงมีพระพุทธรูปจะเป็นถือพุทธศาสนา บางทีจะเข้าเรื่องกับผู้ชายผู้หญิงที่มีลูกหลายคนข้างนอก มีอุ้มอยู่คนเดียว นอกนั้นชนทั้งหลายอยู่ฟากเดียวกับข้างที่เข้าใจว่าถือศาสนาพระพุทธ ข้างผู้ชายที่มีลูก ๑๐ คนอยู่ข้างที่ถือศาสนาพราหมณ์ รูปทั้ง ๒ กับพระพุทธรูปขัดเกลี้ยงเกลางดงาม แต่พระพุทธรูป ดีกว่ารูปทั้ง ๒ นั้น บรรดารูปศิลาที่ได้เห็นทั้งที่มิวเซียมบัตเตเวีย บรัมบานันและบุโรพุทโธจะหาเปรียบเสมอด้วยรูป ๓ รูปนี้ไม่มีแล้ว ช่างรักเสียจริง ๆ ถ้าได้ไปบางกอกเป็นต้องถึงสร้างวิหารกันใหม่ แต่ไม่ควรจะขอเขา เพราะเห็นว่าควรจะนับว่าเป็นสิ่งที่มีราคาอันวิเศษของเมืองชะวา กฤชและตำนานของกฤช ( ของสุลต่านเมืองยกยา ) บรรดาสิ่งไรซึ่งเป็นของสำกรับตระกูล สืบมาแต่ปู่ย่าตายายเรียกว่า ปุศบากะ กฤชนับเป็นปุศบากะอย่างหนึ่ง ๕ ตู้ด้วยกัน มี ๓๐๐ เล่มเศษ กฤชที่สำคัญ ๆ ผู้อื่นจะชำระไม่ได้สุลต่านต้องชำระเอง ใครจะอยู่ในที่นั้นด้วยไม่ได้ กฤชแต่ละเล่ม ๆ มักจะมีเรื่องพงศาวดารยืดยาว คงต้องมีชื่อ ผู้ทำและมีชื่อผู้ที่ถูกแทง มีปาฎิหารต่าง ๆ เช่นกับชักออกต้องกินเลือดเป็นต้น กฤชที่ชื่อเสียงโด่งดังอย่างยิ่งนั้น เช่นกฤชของสุนันคิรีที่อยู่


๔๔ บนหลังที่ฝังศพอันเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่เดี๋ยวนี้ มีเรื่องราวยืดยาวต่าง ๆ กันฟังดูตามที่พูดนั้น ว่ากฤชเกิดใช้ ขึ้นเมื่อครั้งปันหยีสุริยอมิเสสาวงศเมงดังกามูลัง ศักราชชะวา ๑๐๐๐ ปีเศษ ศักราชชะวานั้นคือมหาศักราชนั่นเองมากกว่าจุลศักราชอยู่ราว ๕๖๓ ปี ปันหยีคนนี้คืออิเหนาวงศเมงดังกามูลัง คือวงศ์ ๔ กษัตริย์ แต่จะเล่าเรื่องนั้นยังไม่ได้ (๑) เพราะสอบเรื่องยังไม่ใคร่ลงกันเรียบร้อย กฤชครั้งนั้นเรียกว่ากฤชฮินดู มักจะใช้ด้ามเป็นเทวรูปกฤชในชะวาชั้นถือศาสนามหมัด ก็ใช้ด้ามเลียนเทวรูปนั้นเอง แต่ยักให้ รูปร่างไม่เป็นเรื่อง เช่นกับหุ่นหรือหนังเพราะศาสนาห้าม แต่ข้อซึ่งจารึกชื่อในกฤช ไล่เลียงดูแล้วไม่มีธรรมเนียมที่ได้จารึกกันเลย ใช้ตีกฤชลายผุดขึ้นมาพอประกอบเป็นตัวหนังสือได้ ถ้าถูกชื่อเจ้าของแล้วกฤชนั้นก็เป็นขลัง หรือนัยหนึ่งเด็กเกิดมาตีกฤชให้ ลายในกฤชนั้นผุดเป็นตัวหนังสืออ่านได้ว่ากระไรก็ตั้งชื่อเด็กตามนั้น เหล็กที่ทำกฤชนั้นตามสุสุนันบอกว่าเป็นเหล็กตกมาจากสวรรค์ ยังรักษาอยู่ในตระกูลสำหรับทำกฤช กฤชที่ให้เราเล่มหนึ่งชื่อมังกุหรัด เป็นชื่อของเจ้าแผ่นดินในต้นวงศ์ปัตตารำหลายคน ว่าทำด้วยเหล็กสวรรค์นี้เหมือนกัน จะมาแต่สวรรค์หรือไม่ใช่ ก็ดี แต่เหล็กนั้นดีกว่าเหล็กสามัญที่จะพึงหาได้ในชะวา ทำนองเรื่องประตารกาหลา จารึกกฤชนี้คงจะมาแต่เรื่องเหล่านี้ แต่ที่จริงการที่จะ ตีเหล็กให้เป็นตัวหนังสือผุดขึ้นไม่ต้องผีสางเทวดาอะไร ไทย ๆ เราก็ตีได้กฤชที่ดีนั้นมีอีกแห่งหนึ่งก็ที่เกาะบาลี เพราะเมื่อพวกมหมัดมาทำลายพระราชอาณาจักร์มายาพหิสซึ่งเป็นปลายวงศฮินดู พวกช่างเหล็กที่เป็นกำลัง (๑) คือเรื่องพงศาวดารข้างต้น

๔๕ ใหญ่ของอังควิชัยหนีไปอยู่เกาะบาลี เพราะไม่ยอมถือศาสนาแขก ในกฤชชั้นหลังนี้ นับถือกฤชเกาะบันตัมและแม่นางกระเบา ซึ่งมีเรื่องราวฤทธิเดชในพงศาวดาร ถ้าสนทนาถึงเรื่องกฤชแล้วดูพวกชะวาชอบพูดนักจนเหลือที่จะจดจำ ยังอาวุธต่าง ๆ ด้ามยาว ๆ ปักราวเรียงเป็นแถวไป สวมถุงผ้าปูมปากถุงแดงราวละ ๖ เล่ม ๗ เล่มออกสพรั่งไป อาวุธเหล่านี้เรียกว่าตุมพ ได้ถอดถุงและถอดฝักให้ดูบางเล่ม คือเล่มหนึ่งนั้นเป็นตรีสามแหลม รูปร่างคล้ายฉมวก เรียกว่าตรีศุลชัชชยอง อีกเล่มหนึ่งเป็นห้าง่าม เรียกนังระโชปโร อีกเล่มหนึ่งรูปร่างเหมือนขอจีบ เรียกนังโคโล อีกเล่มหนึ่งเป็นรูปจักรทีเดียว ชั่วแต่มีเปลวยื่นออกไปจากที่คมอีก ๓ แห่ง เรียกว่าจักระ อีกเล่มหนึ่งรูปเหมือนปลายหอกหรือชนัก หยักเป็นเงี่ยงข้างหนึ่งโอนออกไปจากด้ามมีคมเหล็กติดอีก ๒ คม เรียกว่านังคาละ อีกเล่มหนึ่งรูปร่างเป็นหอกใบเข้าแต่หยักเข้าไปเหมือนชนัก มีขอคมอีกข้างหนึ่งเรียกจังปูเลง อีกเล่มหนึ่งเป็นตรีสามง่ามข้างไทยทีเดียว เรียกว่าตรีศุละหอกอีกเล่มหนึ่งมีรูปหนอนติดอยู่ข้าง ๆ เรียกว่าจะเจงกาเนล.


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก