ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๗
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๗ โกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค ๑
พิมพ์ขึ้นในการพระราชทางเพลิงศพ นายพลตรี พระยาวิชิตณรงค์ (คืบ สุวรรณทัต) และประชุมเพลิงศพ คุณหญิงวิชิตณรงค์ (เหลียน สุวรรณทัต) วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์
คำนำ ในงานพระราชทางเพลิงศพ นายพลตรี พระยาวิชิตณรงค์ (คืบ สุวรรณทัต) และการปลงศพคุณหญิงวิชิตณรงค์ (เหลียน สุวรรณทัต) ซึ่งจะทำในเดือนธันว่าคมปีนี้ บุตรธิดาของผู้มรณะ คือนางบรรหารนรเหตุ (อู๋ สุวรรณทัด) นางถนอม นาวานุเคราะห์ และพระอุปนิกษิตสารบรรณ (ปรุง สุวรรณทัต) ใคร่พิมพ์ หนังสือแจกในเวลาพระราชทางเพลิงและเวลาฌาปนกิจเรื่อง ๑ จึง มองฉันทะให้พระอุปนิกษัตสารบรรณมาแจ้งความที่ ราชบัณฑิตย สภา ขอให้กรรมการเลือกหนังสือให้ ราชบัณฑิตยสภาได้แนะ นำให้พิมพ์เรื่องโกศาปานเป็นราชทูตไป เมืองฝรั่งเศสครั้งแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระอุปนิกษิตสารบรรณเห็นชอบ ด้วยจึงพิมพ์ขึ้นเป็นสมุดเล่มนี้ เรื่องโกศาปานเป็นราชทูตไปเมืองฝรั่งเศสนี้ มองซิเออร์ เดอ วีเซ เป็นผู้แต่ง พิมพ์เมื่อ ค.ศ. ๑๖๘๖ (พ.ศ.๒๒๒๙) มี ฉะบับอยู่ในหอพระสมุดวชิราวุธ เจฏาจารย์ ฟ. ฮีแล แห่ง โรงเรียนอัสสัมชัญแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทย เล่มนี้ เป็นภาค ๑ จัดเป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕๗ มีโอกาสจะได้ จัดพิมพ์ต่อไป อนึ่ง ในการพิมพ์หนังสือนี้ เจ้าภาพได้จดประวัติย่อของผู้
ข
มรณะส่งมาขอให้พิมพ์ไว้เป็นที่ระลึกด้วย จึงให้พิมพ์ไว้ต่อคำนำ
นี้ไป.
ราชบัณฑิตยสภา
วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๕
นายพลตรี พระยาวิชิตณรงค์
( คืบ สุวรรณทัต )
พ.ศ. ๒๓๙๗ - ๒๔๗๔
ประวัติพระยาวิชิตณรงค์
นายพลตรี พระยาวิชิตณรงค์ (คืบ สุวรรณทัต) ทม. ต ช. ต จ ว. ร จ ม. เกิดในรัชชกาลที่ ๔ เมื่อวันอังคาร แรม ๗ ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล จุลศักราช ๑๒๑๖ ตรงกับวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๗ เป็นบุตรพระยาราชภักดี (ทองคำ) มารดาชื่อไทย แรก เข้ารับราชการเป็นพลทหารมหาดเล็กเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๑๕ ได้เป็นนายสิบโท พ.ศ.๒๔๑๖ เลื่อนเป็นนายสิบเอก พ.ศ. ๒๔๒๓ ไปรับราชการเป็นเสมียนในกระทรวงพระคลังมหา-สมบัติ ได้เลื่อนตำแหน่งโดยลำดังจนเป็นพนักงานรักษาแสตมป์กระทรวงพระคลัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ และได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิเป็นหลวงอุปนิกกษิตสารบรรณในปีนี้ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นปลัดกรมเวรับกรมสารบาญชีกระทรวงพระ คลัง ฯ พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้พระราชทางเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ มงกฎสยามชัน ๕ ถึงพ.ศ ๒๔๔๐ ย้ายไปเป็นข้าหลวงคลังมณ- ฑลอิสาณ พ.ศ. ๒๔๔๒ กลับเข้ามาเป็นเจ้ากรมเจ้าจำนวนกระ ทรวงพระคลัง พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทร พิมล พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้พระราชทางเครื่องราชอิสสริยาภาณช้าง เผือกชั้น ๕ และในปีนี้ได้ย้ายไปรับราชการในตำแหน่งผู้ช่วย ยกกระบัตรทัพบก ได้พระราชทางยศเป็นนายพันตรี จนได้
ข เลื่อนตำแหน่งเป็นยกกระบัตรทัพบกมียศเป็นนายพันโทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๗ ได้เลื่อนยศเป็นนายพันเอก พ.ศ. ๒๔๔๘ ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิชิตณรงค์ ได้รับพระราช ทานเงินเดือนในอัตรานายพลตรี พ.ศ.๒๔๕๒ เป็นเจ้ากรมคลัง เงินทหารบก และได้รับพระราชทางเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ มงกุฎสยามชั้นที่ ๓ ในปีนี้ ถึงพ.ศ. ๒๔๕๓ ได้เป็นปลัดบาญชี กระทรวงกระลาโหม พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้พระราชทานเครื่องราช อิสสริยาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้เลื่อนยศเป็น นายพลตรี พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้พระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้พระราชทานเครื่องราช อิสสริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่ ๒ นอกจากเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ที่กล่าวมา พระยาวิชิต-ณรงค์ยังได้รับพระราชทานเหรียญที่ระลึก ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ อีกหลายอย่าง พระยาวิชิตณรงค์รับราชการตั้งแต่เป็นพลทหารมาจนเป็นนาย พลตรีรวมเวลา ๔๘ ปีเศษ ได้รับพระราชทานเงินเดือนตั้งแต่ ๑๒ บาท จนถึง ๙๐๐ บาทเป็นที่สุด ปลดเป็นายทหารนอกราช การรับพระราชทานเบี้ยบำนาญฐานสูงอายุเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ พระยาวิชิตณรงค์ทำการสมรสกับคุณหญิงเหลียน มีบุตร ธิดาซึ่งยังมีตัวอยู่ในเวลานี้ ๓ คน คือ ๑ นางบรรหารนรเหตุ (อู๋ สุวรรณทัต)
ค ๒ นางถนอม นาวานุเคราะห์ ๓ พระอุปนิกษิตสารบรรณ ( ปรุง สุวรรณทัต ) พระยาวิชิตณรงค์ป่วยเป็นโรคชราถึงอนิจกรรม เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๔ คำนวณอายุได้ ๗๘ ปี. คุณหญิงวิชิตณรงค์เกิดปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ เป็นสหชาตกับ พระยาวิชิตณรงค์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ คำนวณอายุได้ ๗๖ ปี
สารบาญ
โกศาปานไปฝรั่งเศส หน้า ๑ บทที่ ๑ ระยะทางของราชทูตสยาม- ในประเทศฝรั่งเศส " ๘ " ๒ ทูตรอคำสั่งอยู่ที่แบรสต์ " ๑๕ " ๓ เจ้าพนักงานกรมวังถือรับสั่งมาเชิญ- ราชทูตไปกรุงปารีส " ๒๑ " ๔ ราชทูตไทยออกจากเมืองแบรสต์ " ๒๔ " ๕ ราชทูตมาถึงเมืองตูรส์คือประมาณ- กลางทางจากทะเลไปเมืองหลวง " ๒๘ " ๖ ราชทูตสยามทำความเคารพต่อพระราชสาสน์- อย่างไร " ๓๒ " ๗ ราชทูตไปถึงเมืองแวงแซนใกล้เมืองหลวง " ๓๖ " ๘ ราชทูตพักแรมอยู่ที่พระตำหนัก - เดอแบร์นี " ๓๘ " ๙ ข้าราชการและผู้ดีฝรั่งเศสออกมา - เยี่ยมเยียนราชทูต " ๔๐ " ๑๐ ราชทูตไปเที่ยวดูบ้านเสนาบดีเดอเซเญอเล " ๔๕
ข บทที่ ๑๑ ราชทูตไปดูนักเรียนเล่นละคอนพูด - ที่โรงเรียน " หลุยส์เลอครังด์ " หน้า ๔๗ " ๑๒ ราชทูตกระทำวิสสาะกับสตรีชาวฝรั่งเศส " ๕๑ " ๑๓ ราชทูตแลเห็นผู้หญิงฝรั่งเศสขี่ม้า " ๕๔ " ๑๔ ราชทูตย้ายตำหนักไปพักอยู่ที่เมืองรังบูเย " ๕๗ " ๑๕ ราชทูตสยามยังเข้าไปเฝ้าไม่ได้ " ๖๐ " ๑๖ ว่าด้วยพระราชสาสน์และศาสนา " ๖๒ " ๑๗ ราชทูตเตรียมจะเข้าเฝ้า " ๖๖ " ๑๘ ราชทูตเข้าเฝ้า " ๖๘ " ๑๙ ราชทูตไปเฝ้าพระบรมวงศานุวงศ์ " ๗๒ " ๒๐ ราชทูตไปดูทหารขุดคลอง " ๗๖ " ๒๑ ราชทูตไปดูป้อม " เดอลาบัสตีย " และวัง - " แองวาลิด " " ๘๑ " ๒๒ ราชทูตไปดูละคอนอิตาเลียน " ๘๔ " ๒๓ ราชทูตไปดูพระที่นั่ง " ลูฟร์ " " ๘๘ " ๒๔ ราชทูตไปดูราชสภา " อรรคเดมี " " ๙๔ " ๒๕ ราชทูตไปดูช่างสดึงหลวงที่โรงค็อบแลง " ๙๗ " ๒๖ ราชทูตไปดูโรงเจียรไนเพ็ชรพลอย- ของหลวง " ๙๙ " ๒๗ ราชทูตไปดูอู่เรือกัญญาและโรงงานพิเศษ " ๑๐๑ " ๒๘ ว่าด้วยนิสสัยใจคอของราชทูต " ๑๐๕
ค บทที่ ๒๙ ว่าด้วยโรงเรียนสตรีชื่อแซงต์ซีร์ หน้า ๑๑๐ " ๓๐ ราชทูตไทยสนทนากับเสนาบดีเดอครัวซี " ๑๑๓ " ๓๑ ราชทูตไทยไปดูละคอนโอเปรา " ๑๑๘ " ๓๒ ราชทูตไปชมหอดูดาว " ๑๒๐ " ๓๓ ราชทูตไปดูพระอาราม " ๑๓๘ " ๓๔ ราชทูตไปดูไปดูห้างขายเพ็ชร " ๑๔๓ " ๓๕ ราชทูตไปพักอาศัยที่พระตำหนักเดอคลาญี " ๑๔๘ " ๓๖ ราชทูตไปดูลำคลองที่แวร์ซายส์ " ๑๕๓ " ๓๗ ราชทูตไปเที่ยวดูสวน " ๑๕๖ " ๓๘ ราชทูตไปชมพระราชอุทยานที่วังแวร์ - ซายส์เป็นครั้งที่ ๓ " ๑๕๙ " ๓๙ ราชทูตไปชมพระราชอุทยานที่วังแวร์ - ซายส์เป็นครั้งที่ ๔ " ๑๖๒ " ๔๐ ราชทูตไปดูหอน้ำประปาที่มาร์ลี " ๑๖๕ " ๔๑ ราชทูตไปเฝ้าในห้องเสวย " ๑๗๐ " ๔๒ ราชทูตไปเฝ้าพระชายาแห่งสมเด็จ - พระยุพราชเจ้า " ๑๗๖ " ๔๓ ว่าด้วยเพ็ชรพลอยของสมเด็จพระเจ้า - หลุยส์ที่ ๑๔ " ๑๗๘ " ๔๔ ราชทูตไปดูสถานที่เลี้ยงสุนัขของพระเจ้า- แผ่นดิน " ๑๘๐
ง บทที่ ๔๕ ราชทูตไปรับประทานอาหารที่พระอาราม- มงหลุยส์ หน้า ๑๘๓ " ๔๖ ราชทูตไปดูวัดแซงต์เมเดอริก " ๑๘๕ " ๔๗ ราชทูตไปเยี่ยมขุนนางข้าราชการ " ๑๘๗ " ๔๘ ราชทูตดูการทดลองวิทยาศาสตรต่าง ๆ " ๑๙๐
โกศาปานไปฝรั่งเศส คือจดหมายเหตุกล่าวถึงกิจจานุกิจของราชทูตแห่งพระบาทสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งมาเจริญทางพระราชไมตรีในเมืองฝรั่งเศส นี้ มีเป็นต้น คือรายงานการเดิรทางจากเมืองแบรส์ตในฝ่ายตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเมืองท่าที่ท่านราชทูตได้ขึ้นบก ไปยังกรุงปารีสบ้าง การรับรองปฏิสันถารราชทูตที่กรุงปารีสบ้าง การที่ราชทูตเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยกาต้อร์ส ( ที่ ๑๔ ) และเข้าเผ้าบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์บ้าง คำอวยชัยให้พรของ ชาวฝรั่งเศสในการรับรองต่าง ๆ ทั้งในกรุงและตามหัวเมืองบ้าง กับ ตัวอย่างคำโต้ตอบและทักทายปราศรัยของราชทูตสยามในงานนั้น ๆ ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น. ทูลถวาย แด่พระเจ้าบรมราชวงศ์ " มงเซเญอร์ เลอดึก ๑ " ธรรมดานักนิพนธ์ทั้งหลาย เมื่อได้เรียบเรียงร้อยกรอง
๑ คำอุทิศถวายของท่านเดอวิเซผู้ที่เได้เรียบเรียงเรื่องรายงานนี้ ต่อเจ้าบรมวงศ์เธอฝรั่งเศสองค์หนึ่งซึ่งไม่ออกพระนาม แต่เข้าใจว่าจะ เป็นพระบรมวงศ์เธอตระกูล " กงเด " ซึ่งเป็นผู้ที่ทรงคุณวุฒิในทางยุทธ วิธีขึ้นชื่อลือนามในสมัยโน้น. ( อุโฆษสมัย )
๒ หนังสือขึ้นเป็นเล่มแล้ว มักถือเป็นธรรมเนียมกันที่จะต้องถวาย เล่มต้นแก่เจ้านายของตน ๆ เสียก่อนเพื่อเป็นมงคลฤกษ์ และ มักจะถือเป็นธรรมเนียมอยู่ด้วยกันทั้งนั้นว่า คำถวายหนังสือเล่ม นั้น ๆ ต้องเป็นคำยอพระเกียรติรำพันถึงเกียรติคุณของเจ้านายผู้ อุปถัมภ์ตนนั้นจนสิ้นเชิง แต่ถึงว่าขนบธรรมเนียมดังนี้ได้เป็น ประเพณีสืบกันมานานแล้ว จนกระทั้งผู้ใดไม่ทำก็พากันเหมาเสีย ว่าไม่รู้ขนบธรรมเนียมอะไร ถึงกระนั้นก็ดี ในคำนำทูลถวาย หนังสือรายงานการเดิรทางของราชทูตสยามที่เข้ามาเจริญทางพระ ราชไมตรีในเมืองฝรั่งเศสของข้าพระพุทธเจ้าเล่มนี้ ข้าพระพุทธ - เจ้าขอวโรกาสฝ่าฝืนบัญญัติกติกาขนบเนียมนั้นเสีย : - ด้วย เหตุใด ? - ด้วยเหตุว่า ถ้าข้าพระพุทธเจ้าจะมาพักกล่าวสรรเสริญ สรรพคุณานุคุณและความสามารถของพระองค์จนสิ้นเชิงแล้ว คำ ทูลถวายหนังสือเล่มนี้ก็จะมีเนื้อความเท่ากับเนื้อเรื่อง หรือพิสดาร กว่าท้องเรื่องราชทูตเสียอีก ด้วยว่าเกียรติยศเกียรติศักดิ์และ สรรรพคุณานุคุณของพระองค์มีมากเป็นอเนกประการ ยากนักยาก หนาที่จะรำพันให้ครบถ้วนได้ . อาศัยเหตุดังบรรยายมานี้ ข้าพระพุทธเจ้าจึงขอพระวโรกาส กล่าวจำเพาะเพียงพระอากัปกิริยา ซึ่งพระองค์ได้แสดงให้ปรากฎ ในชั่วเวลาที่พระองค์ได้ทรงสนทนากับราชทูตไทย เมื่อท่านได้มี โอกาสเข้ามาเฝ้าพระองค์เท่านั้น. อันว่าการสนทนาพาทีของพระองค์เวลานั้น ถ้าจะนับเวลา
๓ แล้วก็เพียงชั่วนาฬิกาเดียวเท่านั้น นับว่าเป็นเวลาสั้นที่สุดที่จะ แสดงความสามารถให้ปรากฎชัดเจนได้ แต่ถึงกระนั้นก็ดี ถ้าจะ เก็บเอาเนื้อความทุก ๆ กระทงซึ่งพระองค์ได้ทรงดำรัสในชั่วเวลาอัน น้อยนั้นแล้วมาเรียงพิมพ์ ก็จะเกิดเป็นเล่มสมุดยอพระเกียรติ ขึ้นตั้งเล่มทีเดียว เหตุใดข้าพระพุทธเจ้าจึงหาญกล้ามาอ้างว่าจะ เป็นเช่นนั้นเล่า ? ตอบว่า เป็นด้วยเหตุที่ว่าตัวของข้าพระพุทธ เจ้าเอง ได้เป็นผู้หนึ่ง ซึ่งได้มีโอกาสอันประเสริฐเข้าไปเฝ้าชม เชยพระบารมีของพระองค์ พร้อมหน้ากันกับท่านราชทูตสยามอยู่ ด้วย รวมทั้งบรรดาขุนนางผู้ใหญ่อื่นอีกนับตั้งร้อยผู้ร้อยคน และ ท่านทั้งหลายเหล่านั้นล้วนแต่อดไม่ได้ ต้องกล่าวสรรเสริญพระ ปรีชาเฉลียงฉลาด และพระบารมีของพระองค์ในทางอื่นอีก จำเพาะพระพักตรของพระองค์เมื่อกำลังเฝ้าชมพระบารมีอยู่นั้น ยัง มีผู้หนึ่งแต่ในบรรดาเหล่านั้น ได้กล่าวให้ข้าพระพุทธเจ้าได้ยินต่อ โสตของข้าพระพุทธเจ้าเองว่า : - " ก่อนเมื่อที่ราชทูตสยามจะเข้า เฝ้าพระองค์นั้น ท่านราชทูตเหล่านั้นยำเกรงนับถือพระองค์ ว่าเป็น บุรุษอันเยี่ยมยอดของหมู่มนุษย์ชั้นสูง ๆ อยู่แล้ว เพราะท่านได้ ยินใคร ๆ สรรเสริญพระองค์ แต่ต่อเมื่อต่างได้ชมพระบารมีและ ได้ฟังพระวาจาของพระองค์ด้วยตนเองแล้ว ท่านยังได้เพิ่มความ พิศวงชมเชยในพระองค์ว่าเป็นบุรุษมหัศจรรย์ผู้หนึ่ง " ในระวางชั่วนาฬิกาเดียว ที่ราชทูตสยามได้มีโอกาสชมพระ บารมีของพระองค์ ๆ ได้ทรงแสดงให้ท่านรู้สึกว่าพระองค์เป็นนักรบ
๔ ผู้ทรงทราบในตำราพิชัยสงครามลึกซึ้งคัมภีร์ภาพแท้ สมเป็นเชื้อ พระวงศ์ตระกูล " กงเด " อันเป็นเชื้อนักรบชาติฝรั่งเศสที่ขึ้นชื่อ ลือนามสิ้นด้วยกันทั้งนั้น พระองค์ได้ทรงอธิบายให้บรรดาผู้ฟัง เข้าใจชัดทุก ๆ คนว่า แม่ทัพนายกองซึ่งหวังต่อชัยควรจะนำจะ ตั้งจะแปรกระบวนทัพอย่างไรจึงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึก พระองค์ ได้ทรงชี้แจงให้เห็นชัดว่า วิธีกระบวนยุทธสงครามของคนไทย ยังติดขัดและเสียเปรียบเสียเชิงกลศึกอย่างไร . การอธิบายนี้ ใช่ว่าเป็นการง่ายดายเมื่อไร เป็นการยากที่ สุด ด้วยว่าชาวสยามและชาวประเทศอื่น ๆ ซึ่งนับเข้าในชาวชมพู ทวีปด้วยกันนั้น ล้วนแต่ได้ยินได้ทราบในวิธีกระบวนยุทธของ สมเด็จพระเจ้าอาเล็กซันดร์ ซึ่งเป็นจอมของบรรดากษัตริย์ชาติ นักรบ เป็นผู้ขึ้นชื่อลือพระนามไปทั่วมละประเทศเขตต์อินเดีย เช่นในเมืองไทยเป็นตัวอย่าง . ก็เมื่อพระองค์ ได้ทรงสามารถอธิบายความอันลึกซึ้งคัมภีร์- ภาพนั้นให้กลับเป็นความแจ่มแจ้ง จนผู้ฟังทราบความได้ละเอียด ละออเช่นนี้แล้ว ก็เป็นองค์พะยานให้เห็นว่า - พระองค์มิใช่ จำเพาะแต่ทรงชำนาญในกลศึก และตำราพิชัยสงครามฝ่ายเดียวเท่า นั้น พระองค์ยังทรงเชี่ยวชาญชำนาญในขนบธรรมเนียมและ ประเพณีของบ้านเมืองไกลอีกด้วย. เมื่อพระองค์ทรงสามรถชี้ผลดี และผลร้ายแห่งขนบธรรม- เนียมของนานาชาติในสากลโลกได้ฉะนี้แล้ว ก็เป็นองค์พะยาน
๕ อยู่ในตัวให้รู้เห็นว่าผู้ที่สามารถสอดส่องไปในเหตุผลต่าง ๆ และใน สรรพกิจการอันอาจบังเกิดมีขึ้นในโลก ต้องกอบด้วยปรีชาญาณอัน สุขุมกว้างขวาง และท่านผู้นั้นก็ได้แก่พระองค์เอง ผู้ประกอบ ด้วยคุณวุฒิความสามารถหาอะไรนอกจากพระมหากรุณาธิคุณเมต - ตาธิคุณของพระองค์มาเปรียบเทียบก็ไม่ได้ แต่ว่าพระมหากรุณา -ธิคุณ พระเมตตาคุณของพระองค์นี้ ยังพิเศษพิสดารวิตถารกว้าง ขวางกว่าพระปรีชาญาณของพระองค์ก็ว่าได้ . ในการสนทนาของพระองค์ กับบรรดาราชทูตสยามเพียงชั่ว นาฬิกาเดียวนั้น พระองค์ได้เพิ่มเกียรติยศเกียรติศักดิ์แก่ประเทศ ฝรั่งเศสยิ่งไปกว่าที่พลเมืองผู้รักชาติธรรมดา สามารถจะหามาเพิ่ม ในชั่วเวลาอันนมนานเสียอีก เพราะว่าเมื่อบรรดาท่านราชทูต สยามเหล่านั้น เสร็จกิจธุระของตนในเมืองฝรั่งเศสแล้วกลับไปยัง ประเทศสยาม ต่างท่านคงจะป่าวประกาศพระเกียรติยศพระเกียรติศักดิ์ของพระองค์ และของพระบรมวงศานุวงศ์ราชตระกูล " บูร์บง " ให้ชาวสยามทั่วไปมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน เป็นต้นซึมทราบทุกประการ ต่อไปชาวสยามทั้งหลายต่างจะเชย ชมประเทศฝรั่งเศสว่า เป็นเมืองอันบริบูรณ์ไปด้วยผู้คนอันมีกิริยา มรรยาทและปรีชาสามารถอย่างสูง ฉะนี้พระบารมีของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและของพระองค์ ก็จะเป็นที่เกรงขามและเคา- รพนับถือของชาวชมพูทวีปทั่วไป เท่ากับที่เป็นอยู่แล้วในเหล่า ประเทศยุโรปในสมัยนี้ .
๖ เมื่อต่างคนทั่วทุกชาติทุกภาษา ต่างยังกำลังสรรเสริญพระ องค์อยู่ฉะนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ถือเป็นโอกาสอันเหมาะที่จะขอให้ หนังสือเรื่องราชทูตสยามของข้าพระพุทธเจ้าเล่มนี้ อยู่ในพระอุป- ถัมภ์ เพื่อพระนามของพระองค์จะได้เป็นสิริมงคลอันเประเสริฐ ด้วยเหตุที่พระองค์ ได้เป็นผู้ทรงสนทนากับราชทูตสยามเหล่านั้นดัง ที่บรรยายมานี้. การทูลถวายหนังสือเล่มนี้ต่อพระองค์ ก็เป็นเหตุนำซึ่งความ ปีติยินดีมาให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าเป็นล้นพ้น ด้วยว่าการทูลถวาย เพียงเล็กน้อยนี้ จะได้ปรากฎในหนังสือพระราชกิจจานุเบกษา " แมร์กึร์ " และบรรดาหนังสือพิมพ์รายปักษ์รายเดือนฉะบับ อื่น ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร์คงคัดกล่าวกันต่อไป ๆ ไป เป็นลำดับตาม ธรรมเนียม และอาศัยความไพศาลนี้ ความเคารพนับถือและ การสนองพระเดชพระคุณ โดยความสามิภักดิ์ต่อพระองค์ของข้า พระพุทธเจ้านี้ก็จะแผ่ไพศาลไปตามกัน ตลอดทั่วไปในทิศานุทิศ ทั้งหลายกระทั่งถึงชมพูทวีปมีในเมืองไทยเป็นต้นด้วย เพราะข้า พระพุทธเจ้าทราบจากผู้ที่ควรเชื่อถือเป็นอันมากว่า หนังสือพระราช กิจจานุเบกษาฝรั่งเศสชื่อ " แมร์กึร์ " นี้มีออกจำหน่ายกระทั่งถึง ประเทศเขตต์อินเดียและสยามโน้นด้วย ดังนี้จึงเป็นที่หวังใจ ของข้าพระพุทธเจ้าว่าหนังสือเล่มเล็ก ๆ ของข้าพระพุทธเจ้าเล่มนี้ จะเป็นเหตุทำให้ชาวชมพูทวีป ได้มีโอกาสชมพระบุญญาธิการ และบารมีแห่งพระบามสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสด้วยบ้าง ทั้งจะ
๗ เป็นเหมือนใบประกาศให้ชาวชนเหล่านั้น ๆ ทราบทั่ว ๆ กันว่าข้า- พระพุทธเจ้าเป็นข้าไทย ซึ่งมีความเคารพนับถือในพระองค์อย่างสูง และเป็นผู้ยินดีปฏิบัติรับใช้ตามรับสั่งของพระองค์อยู่ทุกเมื่อ .
ข้าพระพทุธเจ้า เดอวีเซ
ระยะทางของราชทูตสยาม ในประเทศฝรั่งเศส
บทที่ ๑ คำชี้แจงเบื้องต้น :- ในหนังสือของข้าพเจ้า เล่มที่ว่าด้วย ราชทูตฝรั่งเศสได้ออกไปเจริญทางพระราชไมตรี กับสมเด็จพระเจ้า กรุงสยามนั้น ข้าพเจ้าได้พรรณนากล่าวถึงชาวสยามทั้งหลาย มี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และบรรดาขุนนางผู้ใหญ่เป็นอาทิว่า ต่างได้ต้อนรับปฎิสันถารแก่ราชทูตฝรั่งเศสอย่างไร อนึ่ง ข้าพเจ้า ยังได้กล่าวว่าตัวราชทูตเองได้พูดว่ากะไรบ้าง ได้เห็นอะไรบ้าง ในระวางเวลา ๒ เดือนที่ท่านได้อยู่ในกรุงสยามโน้น บัดนี้ข้าพเจ้า อยากจะใคร่สำแดงถึงกิจจานุกิจน้อยใหญ่ทั้งหลาย ซึ่งตัวท่าน ราชทูตสยามได้กระทำในประเทศฝรั่งเศสของเราคราวนี้ ว่าได้ เห็นอะไรบ้าง ได้แสดงความเห็นเป็นอย่างไรบ้างเหมือนกัน และข้าพเจ้ามีความหวังใจอยู่ว่า ผู้ที่จะอ่านเรื่องระยะทางของราชทูต สยามได้มาเมืองฝรั่งเศสเล่มใหม่นี้ คงเพลินใจไม่น้อยกว่าบรรดา ผู้ที่ได้อ่านเรื่อง ราชทูตฝรั่งเศสไปเมืองไทยเล่มก่อนนั้นแล้วเป็น แน่. ธรรมดาของเราชาวฝรั่งเศสด้วยกัน เมื่อได้อ่านเรื่องราชทูต ของเราไปเจริญทางพระราชไมตรีในกรุงสยาม อันเป็นเมืองไกล
๙
แสนไกล ดูดูก็ออกจะนึกชมราชทูตฝรั่งเศสของเราด้วยกันทั้งนั้น ว่า :- " แหม ช่างกล้าจริงนะ ถึงเมืองไทยเป็นเมืองไกลอะโข เขายังสามารถไปได้ เก่งจริงแฮะ " เหล่านี้เป็นต้นมิใช่หรือ ?
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ดูก็น่าชมราชทูตสยามที่กล้าออกมาถึงเมือง ของเราคราวนี้ ให้เท่า ๆ กัน เพราะระยะทางที่จะไปยังเมืองสยาม
โน้น หรือขามาเมืองฝรั่งเศสนี้ก็ดี ไกลใกล้เท่ากัน ไม่มีผิดกัน สักนิดเดียว หากจะมีใครในพวกเราจะนึกเหมาเอาในใจว่า : - " ชะ พวกไทยเหล่านั้นจะเก่งกล้าสามารถอะไร เป็นชาวดงชาว ป่า อยู่เมืองไกล จนสุดโลกโน้น " ฉะนี้แล้วไซร้ ไฉนชาว สยามเหล่าโน้นเขาจะมิเหมาเอาเราบ้างเหมือนกันเล่า ว่าเราเป็น ชาวป่าชาวดงเหมือนกัน เพราะที่จริงเขาอยู่ห่างจากเราระยะทาง เท่าใด เราก็อยู่ห่างจากเขาระยะทางไกลเท่านั้น.
อีกประการหนึ่ง เราจะถึงท่านเหล่านั้นว่าเป็นชาวป่าชาว เถื่อน โดยเหตุที่ท่านเป็นชาวบุรพทิศ ไม่มีความรู้ในทางอารย ธรรม ก็จะผิดถนัดเหมือนกัน ด้วยเหตุใด ? ด้วยเหตุว่า แต่ ไหนแต่ไรมาแล้ว ชาวบุรพทิศก็เคยขึ้นชือลือนามว่าเป็นผู้ทรงไว้
ซึ่งความเฉลียวฉลาด ล่วงรู้ในเหตุสลักสำคัญฝ่ายคดีโลกคดีธรรม ก่อนหน้าพวกเราชาวตะวันตกเสียอีก.
องค์พะยานแห่งความเฉลียวฉลาดอาจล่วงรู้ในเหตุต่าง ๆ ก่อน
ใคร ๆ นั้น มีปรากฎอยู่ในตำนานพงศาวดารตั้งแต่ครั้งพระคริศกาล เป็นปฐม คือเมื่อพระมหาเยซูคริศโตเจ้าทรงสมภพอยู่ในเมือง
๑๐ เบ็ดเลเฮมโน้น ขณะนั้นพระองค์ยังเป็นพระกุมารน้อยไม่มีใคร ในพวกเราชาวตะวันตก หรือในพื้นบ้านเมืองยุเดวด้วยกันนั้นเอง ที่จะล่วงรู้ว่าพระกุมารองค์น้อยนั้น เป็นพระศาสดาอันประเสริฐ ซึ่งจะทรงถ่ายมนุษย์โลกให้พ้นบาปอันตรายต่าง ๆ ลุถึงสวรรค์ได้ แต่ขณะนั้นเล่าปรากฎว่า ยังมีพระราชาฝ่ายบุรพทิศตะวันออก ๓ พระองค์ ซึ่งคริศตังไทยสมัยนี้เรียกว่า " พระยาสามองค์ " ได้ ทรงล่วงรู้ก่อนใคร ๆ หมดว่า พระกุมารนั้นนั่นเอง หาใช่กุมาร เด็กน้อยธรรมดาไม่ เป็นอัจฉริยมนุษย์พระองค์หนึ่งต่างหาก พระราชาทั้ง ๓ พระองค์จึงได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนิร ออกจากบ้านเมืองของพระองค์ พากันมาถวายบังคมชมพระบารมี ของพระองค์ก่อนพระราชาใด ๆ ในสากลโลก และกิจอันนี้แหละ จะเป็นเกียรติศักดิ์อันประเสริฐของชาวบุรพทิศจนชั่วกาลปาวสาน. อนึ่งขึ้นชื่อว่า เป็นชาวบุรพทิศแล้วก็เท่ากับประกาศตนของ ตนเอง ว่าเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อเจ้านายเหนือตน และทุก วันนี้ ถ้าจะใคร่ครวญเทียบเคียงดูบรรดาประเทศทั้งหลายในโลก ซึ่งมีพระราชาเป็นประมุขหัวหน้า ว่าชาติใดประเทศใดจะเป็นชาติ ประเทศอื่น ๆ แล้ว ประเทศสยามคงเป็นชาตินำหน้าชาติทั้งหลาย ทั้งปวง ในการถือความสุจริตธรรมต่อพระราชาซึ่งพระผู้เป็นเจ้า ทรงบันดาลให้ปกครองรักษาชาติของตน แท้จริงชาวสยามเป็น พลเมืองซึ่งเยี่ยมยอดกว่าพลเมืองใด ๆ ในเรื่องการสัมมาปฏิบัติต่อ
๑๑
เจ้านายของตน มีพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้น.
อีกโสดหนึ่งเล่า ถึงหากว่าชาวบุรพทิศด้วยกัน มีไทยเป็น
ต้น เป็นมนุษย์ซึ่งมีผิวเนื้อผิดแผกไปกว่าผิวเนื้อของเราชาวฝรั่ง เศสก็จริงอยู่ แต่จะถือข้อนี้เป็นเหตุอันน่าประมาทคาดหน้าเสียก็ ไม่ได้ ด้วยว่าสีสรรวรรณผิดเนื้อภายนอกนี้หาได้บ่งไปถึงจิตต์ใจ และสติปัญญาข้างในไม่ หาใช่เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า ดี, เลว, ประการใดไม่ ถึงว่าผิวเนื้อจะ ดำ. แดง. เขียว. ขาว. อย่างไรก็ ดี ก็ไม่อาจเปลี่ยนคุณความดีที่มีอยู่ในดวงใจแม้แต่สักอย่างใด อย่างหนึ่งเลย.
แท้จริง หากจะใคร่ถือสีหน้าเป็นเกณฑ์แห่งความวินิจฉัย ให้รู้ว่าผู้ใดเป็นผู้วิเศษกว่าใครแล้วไซร้ ดู ๆ เหมือนคนผิวดำ ๆ แดง ๆ ยังควรจะต้องมีภาษีกว่าใคร ๆ เสียอีกซ้ำ ด้วยเหตุใด ?
ด้วยเหตุว่า สีดำแดงนั้นเป็นพะยานให้เราชาวผิวขาวด้วยกันสังเกต
ว่า เขาเป็นผู้ที่สถิตย์ตั้งอยู่ในปริมณฑลอันใกล้เคียงกับดวงพระ อาทินต์กว่าเรา ซึ่งย่อมถือกันว่าเป็นการสิริมงคล หาใช่การ อัปมงคลอย่างใดอย่างหนึ่งไม่.
ยิ่งกว่านี้ ถ้าจะอุปมาอีกชั้นหนึ่งก็จะกลับเห็นไปว่าผิวเนื้อ ดำมิใช่เป็นพะยานแห่งความเลวทรามมิได้ กลับจะเป็นพะยาน แห่งความดีด้วยต่างหาก เช่นต่างว่าทุกวันนี้มีผู้อยากทราบว่าใน บรรดาทแกล้วทหารฝรั่งเศสของเรา มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวเป็นประธาน ซึ่งล้วนมีผิวเนื้อดำ กับบรรดาเราพลเรือนซึ่งล้วน
๑๒ มีผิวเนื้อขาว ฝ่ายใดจะประเสริฐกว่ากัน ก็คงได้รับคำตอบเช่นนี้ ว่า บรรดาเราพลเรือนทั้งหลาย ซึ่งประกอบการเลี้ยงชีพอยู่ใน บ้านเมือง ไม่ต้องลำบากเพราะกรำฝนทนแดด ไม่ต้องจับอาวุธ เข้าประจัญบานต่อข้าศึก ไม่มีสิ่งที่น่าทำให้หวาดเสียวต่อภัย อันตรายแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงเวลากินก็ได้กิน ถึงเวลานอนก็ ได้นอนตามความประสงค์ ฉะนี้ ผิวพรรรณก็ย่อมเป็นน้ำเป็นนวล อยู่เอง ส่วนบรรดาทแกล้วทหารทั้งหลายเมื่อดำเนิรเข้าสู่ยุทธภูมิ แล้วก็ต้องอดทนต่อความลำบากต่าง ๆ นอนกลางดิน กินกลาง แดด รบสู้จนกว่าจะมีชัย กินนอนก็หาได้สบายเหมือนเราซึ่งอยู่ ในบ้านในเมืองไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผิวกายก็ย่อมเผือดผิดซีดคล้ำ ดำไปเป็นธรรมดา. การที่จะหยิบยกเอาผิดเนื้อขาวเป็นน้ำเป็นนวลของเราผู้เป็น พลเรือนมาเป็นพะยานชี้ให้ผู้อื่นเห็นว่า เราพลเรือนดีกว่า ประ- เสริฐกว่าทแกล้วทหารเหล่านั่นได้แลหรือ ? ย่อมไม่ได้เป็นอัน ขาด ผิวเนื้อดำของทหารเหล่านั้นเสียอีก กลับจะเป็นพะยานอัน พิเศษให้เราทั้งหลายทั้งปวงทราบว่า ทหารเหล่านั้นแต่ละคนล้วน แกล้วกล้าสามารถอาจหาญ ไม่กลัวความลำบากอันตรายอันเกิด แต่ฝนฟ้าอากาศหามิได้ ท่านย่อมตรากฝนทนแดดอยู่ในท่ามกลาง ยุทธภูมิ เพื่อจะชิงชัยแก่ราชศัตรูหมู่ปัจจามิตรทั้งหลาย มิให้เข้า มาเบียดเบียฬชาวเราผู้เป็นพลเรือนได้ ฉะนี้ ท่านจึงมีผิวเนื้อดำ และผิวเนื้อดำนั้น หาใช่เป็นเหตุให้เราประมาทคาดหน้าท่านไม่
๑๓ ตรงกันข้าม กลับเป็นสิริมงคลอันประเสริฐเสียอีก นี่แหละฉัน ใด ชนชาวสยามก็อาจจะเป็นเช่นนั้น ถ้าผิวเนื้อดำในพวกเรามิ ได้เป็นเหตุให้เราประมาทกันและกัน จะถือเป็นเหตุน่าประมาท ท่านผู้อื่นอย่างไรได้ ? ของเราเป็นฉันใด ของเขาก็ควรต้องเป็น ฉันนั้น. อนึ่งเล่า แม้จะไม่อ้างว่าชาวบุรพทิศเป็นผู้มีปรีชาสามารถ ล่วงรู้ในเหตุการณ์ใด ๆ ก่อนชนชาติอื่น ดังที่ได้บรรยายมาแล้ว เพียงแต่อ้างว่าท่านราชทูตสยามนี้ เป็นผู้มาแทนพระเจ้าแผ่นดิน สยามเท่านี้ ก็น่าที่จะเป็นเหตุอันเพียงพอสำหรับที่จะให้เราชาว ฝรั่งเศสรับรองปฏิสันถารอยู่แล้ว ด้วยว่าเราย่อมทราบอยู่ด้วยกัน ทั้งนั้นว่า เมื่อราชทูตฝรั่งเศสข้างฝ่ายเราได้จำทูลพระราชสาสน์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสของเรานี้ ไปถวายต่อพระ องค์ในประเทศไทยโน้นนั้น พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงรับรองเชื้อ เชิญท่านด้วยเต็มกำลังความสามารถ ให้สมพระเกียรติศักดิ์ของ พระเจ้าราชาธิราชชั้นสูงสุด พระองค์ได้ทรงจัดการอย่างพิเศษ พิสดารยิ่งกว่าที่พระองค์ทรงเคยกระทำ สำหรับบรรดาราชทูตของ เมืองอื่นทั้งปวง แต่ในบรรดาพระมหานคร ๓๒ พระนครซึ่งเป็น มิตรไมตรีกับกรุงสยาม เคยส่งราชทูตานุทูตจำทูลพระราชสาสน์ และเครื่องพระราชบรรณาการไปถวายในกรุงสยามมาแต่ก่อน ไม่ จำเพาะแต่เท่านั้น พระองค์ยังทรงพระกรุณาเป็นพิเศษอีกส่วน นึ่งห คือพระองค์ทรงหมายประกาศป่าวร้องให้ชาวชนพลเมือง
๑๔ พร้อมกับไทยต่างด้าวท้าวต่างแดน ซึ่งขึ้นอยู่ในพระราชอาณาจักร์ ของพระองค์ทราบทั้ว ๆ กันว่า พระองค์ทรงพระดำริหมายพระ ทัยอยากจะทรงยกย่องชาติฝรั่งเศส ให้สูงกว่าชาติใดหมดในสากล โลก เมื่อพระองค์ทรงกระทำแก่เราถึงปานดังนี้แล้ว เรายังจะนิ่ง ดูดายไม่เชื้อเชิญต้อนรับขับสู้ ด้วยเต็มกำลังแห่งความสามารถที่จะ ยกย่องสรรเสริญราชทูตของพระองค์ ซึ่งออกมาเยี่ยมเยียนเรา แทนพระองค์ในคราวนี้ได้แลหรือ ? อนึ่งแม้จะไม่ยกเอาบุญบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุง สยามขึ้นมาเป็นเหตุอ้าง ในการที่จะให้เรารับรองราชทูตของพระ- องค์ด้วยเกียรติยศอันสูง จะยกเอาความสามารถของตัวราชทูตเองเท่านั้นมาเป็นเกณฑ์ ก็เพียงพออยู่แล้วที่จะทำให้เราบังเกิดความ ประสงค์อยากจะรับรองท่านอย่างชั้นสูงเหมือนกัน เพราะว่าข้าพ- เจ้าได้มีโอกาสสังเกตด้วยนัตน์ตาของข้าพเจ้าเองว่า กระบวนไหว พริบเฉลียงฉลาดสมกาลสมสมัย ท่านราชทูตไทยนี้ไม่แพ้เปรียบใครเลย จะทำกิจการอะไรท่านก็ทำโดยรอบคอบ นึกทางได้ทาง เสีย ๆ ก่อนเสมอทุกที กระบวนใจเย็น ใจซื่อตรงไม่เหลาะแหละ เอนเอียงท่านเป็นครูใคร ๆ ก็ได้ กระบวนเข้าไปหามาสู่ ท่านก็คำนับรับตอบตามระเบียบเรียบร้อย กระบวนพูดจาปราศัยท่านก็มีเชาว์มีไวอันดี และบรรดาท่านทั้งหลายผู้ที่ได้มีโอกาสรู้จักมัก คุ้นกับท่าน ไม่มีใครติเตียนท่านแม้แต่สักคนเดียว มีแต่ยกย่อง สรรเสริญว่าเป็นที่ชอบพอกันทั้งนั้น.
๑๕ อาศัยเหตุดังกล่าวมานี้ ท่านราชทูตไทยนี้เป็นที่เคารพนับถือ ของชาวฝรั่งเศสเรายิ่งไปกว่าบรรดาราชทูตทั้งหลายอื่น ๆ ซึ่งมาแต่ เมืองไกล ๆ เป็นอันมาก. แต่บัดนี้ไป ข้าพเจ้าจะของดการเล่าบอกที่เป็นส่วนความ เห็นของข้าพเจ้าเอง มิฉะนั้นกลัวจะเป็นการเกินสมควร ที่จะกะ เกณฑ์ให้ท่านผู้อ่านทั้งหลาย หลับตาเชื่อถือแต่ตามความนิยมเห็นดี ของข้าพเจ้าท่าเดียว ต่อไปข้างหน้านี้ แทนที่จะแสดงความเห็นของ ข้าพเจ้า ๆ จะขอคัดตัวอย่างคำพูดของท่านราชทูตไทยเองมาให้ท่าน ผู้อ่าน ๆ แล้วใคร่ครวญดูด้วยตนเอง และข้าพเจ้ามีความหวังใจว่า อาศํยแต่เพียงคำพูดของท่านเท่านี้ เรื่องราชทูตสยามเล่มนี้ก็จะดี วิเศษพอใข้ได้ทีเดียว ไม่จำเป็นที่จะต้องคิดตัดเติมเพิ่มความสวย ความงาม เพียงเท่านี้เรื่องราวก็งามความก็เพราะพอดี ๆ อยู่แล้ว.
บทที่ ๒ ทูตรอคำสั่งอยู่ที่เมืองแบรสต์ ขอเริ่มต้นด้วยการรับรองราชทูตที่เมืองแบรสต์ก่อนว่า พอ เรือที่ท่านราชทูตโดยสารมาเทียบท่าเรียบร้อยดีแล้ว เลอเชอวะ- เลียร์ เดอ โชมงต์ ราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งได้ออกไปจำเริญทางพระ ราชไมตรีกับกรุงสยาม แล้วกลับเข้ามาพร้อมด้วยราชทูตสยามนั้น ก็สั่งให้บรรดานายเรือฝรั่งเศสทั้งหลาย ที่โดยสารมาในขบวนเรือจาก เมืองไทยนั้น ให้ยิงปืนใหญ่ทำคำนับรับรองท่านราชทูตสยามเป็น
๑๖ ปฐมฤกษ์ที่เข้ามาถึงประเทศฝรั่งเศสก่อนว่า :- " ปืนใหญ่ในลำเรือ มีอยู่เท่าไร ให้ยิงสลุตรับราชทูตหมดทุกกระบอก. " แล้วท่าน ได้มีคำสั่งไปยังผู้บังคับกองทหารในเมืองแบรสต์นั้น พร้อมทั้ง บรรดาเจ้าเมือง อำเภอ กรมการทั้งหลายว่า :- " ถ้าเราชาวฝรั่งเศส มีความปรารถนา อยากจะรับรองราชทูตสยามให้สมกับที่พระเจ้า กรุงสยามได้ทรงต้อนรับปฏิสันถาร คณะพวกทูตฝรั่งเศสเรานี้แล้ว ขอให้เข้าใจกันเสียแต่เบื้องต้นเถิดว่า เพียงยิงปืนสลุดตและแบ่ง ปันของกำนัล เครื่องบรรณาการของอุปโภคบริโภคอย่างละอัน พรรณละน้อยดังที่เป็นธรรมเนียม ซึ่งย่อมต้องกระทำกันต่อทูตใด ๆ หมดทุกชาติทุกภาษาแล้วเป็นแล้วกันไป, เท่านี้นั้นยังหาเพียง พอมิได้. ถ้าจะไปถือเสียว่า เรายิงปืนสลุตเท่านั้นนัด, เราให้ ของกำนัลเท่านั้นสิ่งแล้วเป็นแล้วกัน ไม่มีใครจะทวงคุณกันได้ เปนพ้นหนี้สินกัน ก็จะไม่ได้การทีเดียว. แท้จริง ถ้าเราอยาก จะรับรองท่านด้วยเกียรติยศอันสม่ำเสมอกับที่องค์พระเจ้าแผ่นดิน สยามได้ทรงกระทำแก่เราในประเทศของพระองค์ มีที่เมืองหลวง เป็นต้นแล้ว เราจะเป็นแต่เพียงแลกเปลี่ยนความเคารพและให้ เข้าของต่าง ๆ ตามธรรมเนียมบ้านประเทศที่เป็นมิตรไมตรีกันเช่น นั้นก็หาเพียงพอไม่, เรายังจำเป็นจะต้องแสดงน้ำใจรักเป็นพิเศษ อีกจงได้ ให้ราชทูตสยามเหล่านั้นรู้สึกชัด ๆ ไม่ให้มีที่สงสัยว่า เรารับรองท่านด้วยปีติยินดีอันแท้จริง หาใช่เป็นพิธีเคารพอย่าง ธรรมดาสามัญไม่.
๑๗ ท่านราชทูตนี้ถ่าจะว่าตามจริงแล้ว ถึงแม้ท่านจะมิได้เข้ามา โดยเป็นทูตจำทูลพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสยาม ท่านจะเข้า มาเพื่อกิจกจนุกิจของท่านเองก็ดี ก็เป็นการสมควรอยู่ที่จะต้องรับ รองท่านด้วยควาปีติยินดีอย่างสูง เพราะว่าแต่ละท่าน ๆ ก็ล้วนเป็นผู้ที่ประกอบไปด้วยคุณสมบัติอันสูง สมควรเป็นที่เคารพ นับถือเป็นพิเศษกันทั้งนั้น. ท่านทั้งหลายเหล่านั้นล้วนแต่ขุนนาง ตระกูลชั้นสูงของชาวไทย, มีคุณวุฑฒิความสามารถเคยรับราชการ ฉลองพระเดชพระคุณ ของพระเจ้ากรุงสยามในตำแหน่งอันเป็นที่ ไว้วางพระหฤทัยด้วยกันทั้งนั้น. ท่านอัครราชทูต ( คือคุณปาน ขณะนั้นเป็นที่ออกพระวิสุทธิ สุนทร ภายหลังได้เป็นพระยาโกษาธิบดี ) ก็เป็นน้องของ เสนาบดีกระทรวงว่าการต่างประเทศ (ขณะนั้นเรียกว่า " พระคลัง " Barcalon ), อุปทูตเล่า ( คือนายฉ่ำ ขณะนั้นเป็นที่ออกหลวง บวรกัลยาราชไมตรี ) ได้เคยเป็นราชทูตสยามไปเจริญทางพระราช ไมตรีกับกรุงจีนมาแต่ก่อน ได้ทำการในตำแหน่งนั้นเป็นที่พอ พระทัย ของพระเจ้ากรุงจีนและพระเจ้ากรุงสยามด้วยกันทั้งสอง ฝ่าย, ส่วนตรีทูต ( คือออกขุนศรีวิสารวาจา ) ก็เป็นบุตรของราช ทูตสยามซึ่งได้ออกไปเจริญทางพระราชไมตรีในกรุงลิสบอน ซึ่ง เป็นเมืองหลวงของประเทศปอร์ตุคัล. " ครั้นท่านเลอ เชอวะเลียร์ เดอ โชมงต์ ได้แถลงความเบื้อง ต้นให้ทราบฉะนี้แล้ว ท่านก็ได้กล่าวต่อไปว่า :- " ราชทูตสยาม ๒ ๑๘ มาถึงเมืองนี้โดยไม่ทันทราบถึงพระเนตรดระกรรณ จึงยังไม่มีรับ สั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าจะจัดการต้อนรับเป็นประ การใด. ถึงกระนั้นก็ดี ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้เชิญพระราชกระแสของ พระองค์ไปยังเมืองไทยโน้น เข้าใจว่าอาจเดาพระราชประสงค์ ในพระหฤทัยของพระองค์ได้โดยไม่มีผิด จึงขอออกหน้ารับผิด ชอบในเรื่องนี้แต่ผู้เดียวว่า ควรจัดการรับรองราชทูตสยามนี้ด้วย เต็มกำลังความสามารถที่จะกระทำได้. ฉะนี้ขอท่านทั้งหลายช่วย กันจัดการรับรองปฏิสันถาร ท่านราชทูตสยามด้วยเต็มเกียรติยศเถิด ส่วนข้าพเจ้าเล่า ก็จะขอลาท่านทั้งหลายณบัดนี้ รีบเข้าไปกราบ ทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงทราบล่วงหน้าไว้ก่อน , ท่านอย่ามีความวิตกไปเลย. " เมื่อเจ้าเมืองกรมการทราบความดังนี้แล้ว ต่างก็ได้จัดการ รับรองท่านราชทูตด้วยเต็มเกียรติยศ สมตามคำสั่งของราชทูตฝรั่ง เศสนั้นทุกประการ จนท่านเองได้กล่าวเป็นที่เชยชมข้าราชการ เมืองแบรสต์นั้นเมื่อภายหลังว่า " สิ่งใดที่ข้าราชการชั้นสูงชั้นต่ำ พร้อมทั้งราษฎรทั้งหลายในเมืองแบรสต์สามารถจะกระทำได้ เพื่อ เป็นเกียรติยศและความสนุกสุขสบายของราชทูตสยาม ท่านก็ ได้อุตส่าห์ทำโดยความเต็มอกเต็มใจ. ถึงว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนแต่ชาวชนบทอยู่หัวเมืองไกล ไม่ค่อยได้มีโอกาสเฝ้าแหนพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างข้าราชการในพระราชสำนัก ซึ่ง เป็นการยากสำหรับท่านเหล่านั้น ที่จะทราบในพระราชประสงค์ของ
๑๙ พระองค์ก็จริง ถึงกระนั้นอาศัยที่ท่านได้ตั้งใจกระทำการเพื่อเชิดชู พระเกียรติยศของพระองค์มิให้เสียการพระราชไมตรีในระวางสอง พระนครได้ การรับรองราชทูตสยามที่เมืองแบรสต์จึงได้ดำเนิร อย่างเรียบร้อยน่าชม เป็นที่ถูกพระทัยของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ทั้งเป็นที่ชอบพอของท่านราชทูตสยามเป็นอันมากด้วย, นี่ก็เป็นองค์พะยานให้เห็นว่าข้าราชการเมืองแบรสต์นั้น เป็นผู้ ประเสริฐด้วยความจงรักภักดี ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของ ตนเสมอเท่าข้าราชการในพระราชสำนัก หรือยิ่งไปกว่านี้เสียอีกก็ ว่าได้. " ส่วนราชทูตสยามเล่า ขณะเมื่อโดยสารมาในเรือกับท่าน ราชทูตฝรั่งเศส ก็ได้รับแต่ความผาสุกตลอดทาง, คนทั้งหลาย ในเรือ มีเลอเชอวะเลียร์ เดอ โชมงต์ ราชทูตเป็นต้น ก็ได้บำรุงเลี้ยงดูด้วยกิริยาสุภาพเรียบร้อยสมเกียรติยศของราชทูตแห่ง ประเทศใหญ่ทุกอย่างทุกประการ ฉะนี้จึงเป็นเหตุให้ท่านราชทูต สยามต่างพากันคิดเห็นล่วงหน้าเสียก่อนแล้วว่า " เมื่อตนถึงประ เทศฝรั่งเศสแล้ว ไฉนจะไม่รับด้วยความไมตรีจิตต์และด้วย เกียรติยศอันสูงเล่า กิจปฏิบัติอันประณีตซึ่งเราได้รับในเรือนี้ก็ เป็นเครื่องส่อถึงกิจปฏิบัติของชนชาวฝรั่งเศส เมื่อเราจะถึงเมืองเป็น แน่ " ท่านราชทูตคิดอย่างนี้ก็เป็นความถูกต้อง และตลอด เวลาซึ่งท่านจะอยู่ในประเทศฝรั่งเศส เราจะเห็นว่าท่านไม่ได้มี เหตุซึ่งจะต้องกลับความคิดเดิมนั้น เพราะไม่ว่าท่านไปที่แห่งใด
๒๐ เมื่อไร พลเมืองฝรั่งเศสก็รับรองท่านด้วยอัธยาศํยใจคอสนิท สนมและรักใคร่นังถือเป็นอย่างยิ่ง. แต่ก่อนที่จะดำเนิรความเป็นไปของราชทูตสยามในเมืองฝรั่ง เศสนั้น น่าจะกลับกล่าวถึงความเป็นไปในเรือเมื่อคราวมานั้น อีกสักพักหนึ่ง เพราะทิ้งไว้บัดนี้ต่อไปจะไม่มีโอกาสอันเหมาะ ที่จะกล่าว การมาในเรือนั้น อย่าว่าแต่ราชทูตไม่ได้มีความลำบาก เท่านั้นเลย ซึ่งที่แท้หากจะมีบ้างก็ไม่น่าอัศจรรย์ใจอะไร เพราะ พวกท่านมีอยู่น้อยคน ได้เข้ามารวมอยู่กับคนต่างชาติต่างภาษา เป็นอันมาก ความนิยมนับถือก็ผิดกัน, การสนทนาก็ไม่สะดวก, การบริโภคอาหารก็คงไม่ถูกปากนัก แต่กระนั้นท่านราชทูตยังมี แต่ออกปากชมเชยกิริยามรรยาท ของบรรดาชาวฝรั่งเศสซึ่งโดยสาร มาในเรือลำเดียวกันกับท่านว่า " กิจปฏิบัติต่าง ๆ ในเรือนั้นเรียบ ร้อยน่าจับใจ ถ้าจะว่าเป็นเชิงเปรียบแล้ว ลำเรือที่เราโดยสาร มานั้น เป็นดังพระอาราม ๆ หนึ่งก็ว่าได้, คนโดยสารทั้งหลาย เป็นดังพระสงฆ์สามเณรเถรานุเถระทั้งหลาย , แบ่งเวลาวันหนึ่ง ๆ เป็นตอน ๆ อย่างกับในพระอารามอันเจริญในพระวินัย, คือรับ ประทานอาหาร , เล่น, สนทนา, สวดมนตรภาวนาก็จัดเป็นพัก ๆ เรียบร้อยอย่างกับในสำนักอาวาสอันเคร่งครัดในพระวินัย น่าชมแท้ ๆ ถึงเป็นคนต่างเพศก็จริง อดเชยชมและสรรเสริญไม่ ได้ " เป็นด้วยเหตุฉะนี้ซิ ที่ทำให้ราชทูตไทยมีความหวังใจเป็น มั่นคงว่าถ้าถึงเมืองฝรั่งเศสเมื่อไร คงจะได้แลเห็นบ้านเมือง
๒๑ อันเรียบร้อยเมื่อนั้นเป็นแน่ เพราะเมื่อการเดิรทางกลางทะเล ยังเป็นที่ถูกใจถึงอย่างนี้ ตอนขึ้นบกเข้าไปในประเทศฝรั่งเศส เองคงดีกว่าอีก และเป็นความจริง การต่อ ๆ ไปนั้นก็ได้ดำเนิร เป็นที่สมความมุ่งหมายเดิม ดังที่เรื่องข้างหน้านี้จะเป็นพะยาน ต่อไป. บทที่ ๓ เจ้าพนักงานกรมวังถือรับสั่งมาเชิญราชทูตไปกรุงปารีส. เมื่อท่านราชทูตได้ค้างแรมอยู่ที่เมืองแบรสต์นั้น ๑๓ วันมีข้า ราชการในกระทรวงวังผู้หนึ่ง ชื่อสตอร์ฟได้ถือรับสั่งของพระบาท สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จากกรุงปารีสออกมาต้อนรับราชทูตไทย ที่เมืองแบรสต์และขอเชิญให้เข้าไปในพระนครหลวง เพื่อจะ ได้นำเข้าเฝ้าจำเพาะพระพักตร เจ้าพนักงานกรมวังคนนี้ตลอด เวลาที่ราชทูตสยาม ได้อยู่ในประเทศฝรั่งเศสก็ได้ประจำอยู่กับท่าน เสมอ เพื่อจะช่วยเหลืออธิบายอะไรต่ออะไรให้ราชทูตทราบ ท่าน สตอร์ฟคนนี้ เป็นคนเฉลียวฉลาดอารีอารอบมากพูดจาก็คมสัน น่าเป็นเจ้าหน้าที่รับแขกบ้านแขกเมืองอย่างดีที่สุด อาศัยความเป็นไปดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงพระราชประ- สงค์ที่จะรับรองราชทูตไทย ให้มีความเพลิดเพลินสนุกสบายตลอด เวลาที่ท่านจะอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ทั้งทรงทราบในคุณวุฑฒิ ความสามารถพิเศษของท่านสตอร์ฟ พระองค์จึงได้ทรงเลือกท่านผู้
๒๒
นี้ให้เป็นภาระประจำอยู่กับราชทูตสยามด้วยพระองค์เอง ดูเป็น การเหมาะเพราะ ท่านสามารถฉลองพระเดชพระคุณของพระองค์ให้ เต็มที่ได้อย่างหนึ่ง และสามารถให้ราชทูตบังเกิดความเพลิด เพลินเจริญใจอย่างยิ่งด้วย.
เมื่อท่านสตอร์ฟได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้ประจำอยู่ กับราชทูตสยามตลอดทางจากเมืองแบรสต์ถึงกรุงปารีส และ ตลอดเวลาที่ท่านราชทูตจะอยู่เมืองฝรั่งเศส เช่นนั้นแล้ว ท่าน ก็รีบออกจากเมืองปารีสเพื่อมารับราชทูตที่เมืองแบรสต์ พอมา ถึงก็ตั้งต้นเชื้อเชิญท่านราชทูตนำมายังกรุงปารีส แต่หาได้จัดเป็น ขบวนใหญ่โตอะไรไม่ เพราะเป็นการยาก ถนนหนทางตาม มณฑลเบรอต้าญที่จะต้องข้ามมานั้นเป็นที่ขรุขระ ไม่เรียบร้อยสม่ำ เสมอลุ่ม ๆ ดอน ๆ แทบตลอดหนทาง ใครมีธุระร้อนอยากไป
เร็ว ๆ ก็ต้องใช้เก้าอี้หาม ๆ ไป ตามแบบหามแคร่และเสลี่ยงนั้นเอง ราชทูตซึ่งเป็นผู้อยากไปกรุงปารีสได้เร็วก็ต้องใช้วิธีนี้นั้นเอง แต่ ถึงกระนั้นถ้าตอนไหนหนทางดี รถม้าเดิรไปมาได้ท่านสตอร์ฟก็ เกณฑ์เจ้าบ้านเมือง ให้นำรถมารับราชทูตพาไปใหพ้นเขตต์แดน บ้านเมืองของตน แล้วก็ทำอย่างนี้ต่อ ๆ กันไปทุกเมือง.
แท้จริงการโดยสารอย่างนี้ติดจะกันดารมิใช่น้อย ท่าน สตอร์ฟจึงพูดเอาใจราชทูตบ้างว่า เดิมพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงพระราชประสงค์ จะส่งม้าและรถหลวงจากกรุงปารีสมารับ แล้วต่อมาทรงพระดำริเห็นว่า ถ้าทำเช่นนี้การจะเฉื่อยช้านัก เพราะ
๒๓ กว่ารถและม้านั้นจะมาถึง และกว่าจะหยุดพักพอหายเหนื่อย เมื่อยล้าบ้างก็จะต้องเป็นเวลาแรมเดือนแรมวันนาน เมื่อทรง พระดำริดังนี้จึงรับสั่งให้ใช้ม้าตามเมืองต่าง ๆ ที่ต้องผ่านไป ถึงจะ ไม่สง่าเท่ากับได้รถและม้าจากเมืองหลวงก็ดี แต่ว่าการคงสำเร็จ ไปโดยเร็ว จะได้เป็นโอกาสให้พระองค์ทรงเชยชมพระราชสาสน์ และราชทูตของพระเจ้ากรุงสยามได้โดยเร็ว สมตามพระราชประ- สงค์ ฉะนี้ถึงท่านจะไม่สู้ได้รับเกียรติยศตามวิธีนี้ เท่ากับที่ พระองค์ทรงประสงค์จะพระราชทานให้ ขอจงรู้สึกว่าเป็นเพราะ ทรงพระกรุณาเป็นพิเศษ ไม่อยากให้แรมค้างตามหัวเมืองกันดาน นานนัก อยากทรงเชยชมท่านทั้งหลายเร็ว ๆ เท่านั้น." ออกพระวิสุทธิสุนทรราชทูตจึงตอบไปว่า " การที่พระเจ้า กรุงฝรั่งเศสทรงพระดำริจัดการดังนี้ ก็เป็นพระบรมราโชบายอันดี เลิศ หาเป็นที่รังเกียจแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายไม่, กลับเป็นที่ยินดี ปราโมทย์อย่างยิ่ง เพราะจะได้เฝ้าพระองค์ชมพระบารมีโดยเร็ว แท้จริงการที่พระองค์ทรงพระราชประสงค์ จะทรงพบกับข้าพเจ้าทั้ง หลายคราวนี้ คงเป็นเหตุได้บันดาลให้ลมคลื่นและฝนฟ้าอากาศ ตามทางที่เรามาสงบเรียบร้อย เราจึงสามารถมาได้ถึงที่นี้โดยปราศ จากภัยอันตรายทุกประการ ส่วนพวกข้าพเจ้าเล่า บัดนี้รู้สึก อยากชมพระบารมีเป็นกำลัง และอย่าว่าแต่พวกข้าพเจ้ารู้สึกเป็น ที่ไม่พอใจในการที่ต้องขี่เก้าอี้ หรือนั่งรถหัวเมืองไปเฝ้าพระองค์ฉะนี้ เลย ถึงแม้จะต้องเดิรก็หามีความน้อยใจไม่ ถ้าเดิรด้วยเท้า
๒๔ จะถึงกรุงปารีสเร็วกว่าขี่เก้าอี้หรือนั่งรถ ก็จะลงเดิรด้วยเท้าใน ทันทีนี้เอง ไม่ครั่นคร้ามต่อความเหน็ดเหนื่อยซึ่งอาจจะมีมาทุก ประการ ความอยากดูอยากชมพระองค์ก็จะเป็นกำลังวังชาอัน แรงกล้าอาจพาไปได้ให้ลุถึงกำแพงพระนครเป็นแน่ ฉะนี้จึงขอ ท่านจงอย่าวิตกในการอัตคัด ซึ่งบังเกิดจากการโดยสารคราวนี้เลย."
บทที่ ๔ ราชทูตไทยออกจากเมืองแบรสต์. ครั้นถึงวันที่ ๙ เดือนกรกฎาคม พวกราชทูตก็ออกจากเมือง แบรสต์ และไปรับประทางอาหารกลางวันที่ ตำบลชื่อ ลังดีรโนต์ , แล้วก็เลยไปค้างคืนอยู่ที่ฟูช์ , วันที่ ๑๐ เลี้ยงกลางวันที่เมือง ซาโตแลงและไปค้างคืนที่เมืองแคงแปร์, วันที่ ๑๒ รับประทาน อาหารกลางวันที่เมืองเอ็นบงต์ และมีรำเท้าเป็นที่ต้อนรับราชทูต ด้วย แล้วก็ยกไปค้างคืนที่เมืองโอแร. วันที่ ๑๓ ถึงเมืองวันน์ เจ้าเมืองจัดการต้อนรับอย่างแข็ง แรง จนราชทูตออกปากชมว่า " ต้อนรับอย่างนี้ดีจริง " แล้ว ในวันเดียวกันนั้นกระบวนราชทูตก็ได้ยกไปค้างคืนที่ตำบลชื่อมือ- ชีลียัก วันที่ ๑๔ กระบวนก็มาถึงตำบลหนึ่งชื่อลารอชแบร์นารด์ราชทูตและพวกก็ลงจากเก้าอี้หามเป็นไม่ขึ้นอีกต่อไป เพราะหน ทางจากนี้ไปถึงกรุงปารีสก็เรียบร้อยใช้รถม้าไปได้แล้ว. ที่ตำบล ลารอชแบร์นารด์นี้ได้เกิดมีปัญหาขึ้นในระวางราช
๒๕ ทูตสยามและเจ้าพนักงานกรมวัง เพื่อจะให้ทราบว่าจะอัญเชิญ พระราชสาสน์โดยอาการอย่างไร. ตามธรรมเนียมฝรั่งนับถือราช ทูตผู้มาแทนพระเจ้าแผ่นดินเป็นใหญ่ แต่ฝ่ายธรรมเนียมไทยไพล่ เป็นนับถือพระราชสาสน์เป็นใหญ่ เพราะเหตุนี้ต้องแสดงความ เคารพนับถือต่อพระราชสาสน์เป็นใหญ่ คือต้องอัญเชิญขึ้นประ ดิษฐานไว้ใน ที่อันสูงกว่าราชทูตจึงจะไม่เสียประเพณีบ้านเมือง. อาศัยเหตุนี้ ราชทูตได้ขอให้เจ้าพนักงานกรมวังผู้กำกับมาด้วยนั้น สั่งให้ตบแต่งบัลลังก์ไว้ในประทุนรถของราชทูต จำเพาะตรงที่ท่าน ราชทูตจะนั่งลง แต่ให้อยู่เหนือศีร์ษะของราชทูตไว้สำหรับจะ ได้อัญเชิญพระราชสาสน์ขึ้นไปประดิษฐาน. ท่านสตอร์ฟเจ้า พนักงานก็สั่งให้กระทำเช่นนั้น เมื่อเสร็จแล้วท่านราชทูตก็ได้ อันเชิญพระราชสาสน์ตั้งไว้เหนือศีร์ษะ แล้วกระบวนรถราชทูตก็ได้ เคลื่อนกระบวนไปตามระยะทาง แต่นั้นมา ถ้าถึงเมืองใดจะต้อง เปลี่ยนรถ ก็ได้มีการตั้งบัลลังก์ในรถเพื่อเชิญพระราชสาสน์ขึ้น ประดิษฐานเหมือนที่ตำบล ลา รอช แบร์นารด์นี้ทุกตำบล. ในวันเดียวกันที่ได้เริ่มขึ้นรถ และเริ่มตั้งบัลลังก์รับพระราช- สาสน์นั้นกระบวนทูตก็ได้มาถึงปงต์ชาโต. เลอ ดึก เดอกัว แลง เจ้าเมือง ๆ นั้นก็ได้จัดการรับรองปฏิสันถาวรโดยเรียบร้อย. วันที่ ๑๕ ได้เลื่อนมาถึงตำบลหนึ่งชื่อตังปล์และได้รับประทานอา- หารกลางวันอยู่ที่นั้นด้วย. คร้นรับประทานอาหารเสร็จแล้วท่าน ราชทูตได้ไปคำนักท่านผู้หญิงชื่อ ลา มัรกีส ดาพีญี ซี่งเป็นญาติ
๒๖ กันกับท่านกงต์เดอมังสแฟลต์ ราชทูตของพระมหาจักรพรรดิออส เตรียที่กรุงสเปญ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงดังในสมัยนั้น ครั้นเสร็จ การไปหาท่านผู้หญิงนั้น ตอนบ่ายก็ลาท่านไปที่เมืองนังต์และได้ ค้างอยู่ที่นั้นสองคืนกับวันครึ่ง คือวันที่ ๑๖ และ ๑๗. ตอนกลางวัน วันที่ ๑๖ นั้น เจ้าพนักงานได้พาราชทูนขึ้น ไปบนยอดเนินแห่งหนึ่ง ชื่อเนิน แด กาปีแซง เพื่อจะให้ท่านดู เมืองนังต์นั้นว่าใหญ่โตอย่างไร เพราะที่นั้นเป็นที่สูงเห็นเมืองได้ สนัด. พอขึ้นไปบนยอดเนินนั้น ท่านราชทูตทั้งหลายเห็น หมู่บ้านรอบเมือง มีเป็นหลายหมู่ใหญ่ ๆ ก็ถามท่านสตอร์ฟว่า :- " หมู่บ้านที่เห็นเรียงรายไปรองเมืองนั้น เป็นเมืองอะไรบ้าง ๆ ? " ท่านก็ตอบว่า :- " ที่ท่านเห็นเป็นเมืองเล็กเมืองใหญ่รอบเมืองนั้น หาใช่เป็นเมืองอื่นไม่ เป็นแต่แผนกหนึ่ง ๆ ของเมืองต่างหาก นับรวมเป็นเมืองเดียวกันคือเมืองนังต์ทั้งนั้น. " ในวันที่ ๑๗ นั้นราชทูตได้ออกจากเมืองนังต์ไปเมืองอังสนีส์ อยู่ข้างทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองนังต์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลัวร์ ซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่. ที่เมืองอังสนีส์นี้ นอกจากความเพลิดเพลิน ซึ่งเคยมีมาในเมืองอื่น ๆ ยังได้รู้สึกความเพลิดเพลิน เป็นพิเศษอีก อย่างหนึ่ง ซึ่งยังไม่เคยมีในเมืองฝรั่งเศส คือท่านได้ลงอาบน้ำใน แม่น้ำลัวร์. การอาบน้ำนี้ชาวเมืองฝรั่งเศสไม่ค่อยจะอาบกันนัก เพราะเป็นเมืองค่อนข้างจะหนาว ไม่เหมือนเมืองไทยซึ่งเป็นเมือง ร้อนต้องลงน้ำลงท่าอาบน้ำกันทั่วทุกคนทุกวัน เหตุฉะนี้การอาบ
๒๗ น้ำซึ่งเป็นของธรรมดาในเมืองไทย กลายเป็นของแปลกสำหรับคน ฝรั่งเศส คนจึงพากันมาดูราชทูตสยามอาบน้ำออกมากาย. สิ่ง ที่ทำให้ชาวเมืองฝรั่งเศสพิศวงกันอีกอย่างหนึ่งนั้น คือตามธรรมเนียมเมืองฝรั่งเศสล้างมือกันก่อนที่จะรับประทานอาหาร แต่เมื่อ รับประทานแล้วไม่ค่อยล้าง เพราะถือซ่อมถือช้อนกัน มือไม่ คอยเปื้อนไม่จำเป็นต้องล้าง, ส่วนธรรมเนียมเมืองไทยช้อนซ่อม ในขณะนั้นไม่มีเลย ใช่เปิบเข้าด้วยมือทั้งนั้น จึงเป็นธรรมดาจะ ต้องล้างมืองกันเมื่อรับประทานอาหารเสร็จ. วันที่ ๑๘ นั้นราชทูตได้มาถึงเมืองแองครังค์ ซึ่งเปนเมือง อยู่ตามลำแม่น้ำลัวร์เหมือนกัน ราชทูตจึงลงอาบน้ำที่แม่น้ำ เหมือนเมื่อวันก่อน แต่ที่นี้คนตื่นกันมาดูราชทูตอาบน้ำมากยิ่ง กว่าที่เมืองอังสนีส์ จนเป็นที่รำคาญ ต้องลงเรือข้ามแม่น้ำไปอาบ ที่ฟากข้างโน้น มิฉะนั้นคนแตกตื่นมามากเป็นที่รำคาญเหลือเกิน. เย็นวันนั้นราชทูตได้ถึงเมืองอังเจร์, รุ่งขึ้นก็ได้ไปรับประทาน อาหารและพักกลางวันที่ตำบลโรเซียร์ และตอนเย็นก็ได้ไปถึง เมืองโซมืร์ ซึ่งเป็นเมืองเก่าโบราณ มีป้อมปราการค่ายคูประตู หอรบอย่างแน่นหนา ทั้งมีลำแม่น้ำลัวร์ผ่านไปที่นั้นด้วยจึงเป็น ทำเลดีสำหรับเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง. ที่เมืองโซมืร์นี้เจ้าเมือง ได้จัดทหารกองเกียรติยศ สำหรับดูแลรักษาราชทูตตลอดเวลาที่ ท่านได้พักแรมอยู่ในเมืองนั้น. วันที่ ๒๐ ราชทูตได้มาถึงเมือง เล็กเมืองหนึ่งชื่อ ลังเชย์. ที่เมืองนี้หามีทหารประจำรักษาไม่ แต่
๒๘ อาศัยที่ชาวบ้านอยากแสดงความนับถือในราชทูตสยาม ก็ได้ช่วย ก็มาเฝ้ารักษาเป็นพวก ๆ ผลัดเวรกัน ทำนองเดียวกันกับทหาร เหมือนกัน.
บทที่ ๕ ราชทูตมาถึงเมืองตูรส์ คือประมาณกลางทางจากทะเลไป เมืองหลวง. วันที่ ๒๑ ราชทูตถึงเมืองตูรส์ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ เป็นที่ว่า การมณฑลตูแรน มีพระสังฆราชใหญ่ตำแหน่งอัครสังฆราช แต่ ถึงเป็นเมืองใหญ่สำคัญฉะนี้ ก็หาได้มีกองทหารประจำไม่ เพราะ เหตุฉะนี้การที่รับรองราชทูตด้วยมีกองทหารเป็นเกียรติยศต้องอา- ศัยชาวเมืองเองสมัครเป็น ประดุจหนึ่งทหารมาเฝ้าแทนดุจเดียวกับ ที่ตำบลลังเชย์นั้นเอง. วันที่ ๒๒ ราชทูตถึงเมืองบลัวส์ ซึ่งมีสมญาว่า " ราชบุรี " เหตุที่เรียกราชบุรีมิใช่เพราะเป็นเมืองหลวงหามิได้ เป็นเพราะที่ นั้นอากาศดี บรรดาพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ทรงพอพระราช หฤทัยที่จะเสด็จประพาสอยู่ที่เมืองบลัวส์นี้มาก กับอนึ่งแต่ไหน ๆ มา เมืองบลัวส์นี้ เป็นเมืองศึกษาเล่าเรียนของบรรดาราชตระกูล ทั้งหลายเมื่อยังทรงพระเยาว์ จึงเป็นเมืองหนึ่งเหมือนลูกหลวง ก็ว่าได้. วันที่ ๒๔ ราชทูตถึงพระตำหนักชื่อ ชังบอรด์ ซึ่งอยู่ในมณ ฑลบลัวส์ ห่างจากเมืองบลัวส์ ๓ หรือ ๔ ลี้ฝรั่งเศสโบราณคิด
๒๙ เป็นกิโลเมตร์ก็อยู่ในราว ๑๒ หรือ ๑๖ กิโลเมตร์. ที่พระตำหนัก ชังบอรด์นี้ ได้เกิดมีเรื่องน่าเล่าสู่กันฟังเรื่องหนึ่ง เพราะขอเปน อุทาหรณ์ชี้ให้เห็นว่าท่านราชทูตสยามนั้น เป็นผู้ประกอบไปด้วย จิตต์เมตตากรุณาอย่างไร. เรื่องเป็นอย่างนี้ คือคนขับรถราชทูต นั้นขับรถผิดไป อย่างไรไม่ปรากฎแต่เลยเกิดเหตุทำให้รถล้มลง. พวกราชทูตที่นั่งอยู่ในรถคันนั้น กะเด็นออกจากรถสิ้นทุกคน แต่ เดชุบุญ หามีใครเป็นอันตรายไม่. แต่ถึงกระนั้นเจ้าพนักงาน กรมวังผู้กำกับราชทูตไปนั้น มีความโกรธคนขับรถเป็นกำลัง จะ เฆี่ยนตีสารนั้นเสียให้สมกับความเลินเล่อของมันให้ได้ แต่ท่าน ราชทูตไม่ยอม ออกห้ามปรามท่านเสียว่า :- " ทำโทษเขาไม่ได้ ๆ อย่าพึงทำโทษเขาเลย. ขอท่านจงนึกดูบ้างเถิดว่า การที่เขาขับรถ ผิดไปนี้ก็เป็นการอับอายขายหน้าและเสียอกเสียใจพอยู่แล้ว. แต่ นี้ไปเขามีแต่จะเป็นทุกข์อยู่เสมอว่า เราเป็นต้นเหตุให้เสียเกียรติ ยศของราชทูตสยาม และรัฐบาลฝรั่งเศส ก็จะเจ็บใจแค้นตัวเอง ไม่หาย ก็เป็นโทษหนักอยู่ในตัวพอสมควรแล้ว. อนึ่งเมื่อเราทั้ง สิ้นผู้นั่งมาในรถนั้นเป็นแต่ตกจากรถ ไม่สู้จะเจ็บปวดอะไรนัก ควรและหรือที่จะลงโทษกับคนขับให้เขาเจ็บปวดอีกเล่า ? ดูไม่ ควรเลย. ขอยกเลิกเสียเถิด. อย่าทำโทษเขาเลย. " วันที่ ๒๕ ราชทูตมาพักที่เมืองออร์เลอัง ซึ่งเป็นที่ว่าการ มณฑลของจังหวัดที่เรียกว่าดึเช ดอร เลอังนั้นเอง. วันที่ ๒๖ ตอนกลางวันท่านราชทูต ได้พักรับประทานอาหารที่ตำบลอาร์เตอเน
๓๐ แล้วได้ยกไปพักแรมคืนที่ตำบลตูรี แล้วรุ่งขึ้นวันที่ ๒๗ ได้ไปพัก รับประทานอาหารกลางวันที่มาร์วิล และไปค้างคืนที่เมืองมัลแอร์ซ. วันที่ ๒๘ ราชทูตถึง พระตำหนักหลวงที่เมืองฟงแตนโบล. ขณะนั้นเจ้าพนักงานรักษาวังฟงแตนโบลไม่อยู่ จะไปตากอากาศ ชายทะเลหรือจะไปตามบ่อน้ำร้อนที่มีอยู่ในหัวเมืองต่าง ๆ ก็ไม่ ทราบ ๆ แต่ว่าไปเที่ยวอาบน้ำอาบท่าตามหัวเมือง แต่ว่าก่อนที่ ท่านจะออกไปนั้น ท่านได้ทราบแล้วว่าไม่สู้ช้านานนักราชทูต สยามจะมาถึง ท่านจึงได้มอบหน้าที่รับรองราชทูตกับเจ้าพนักงาน รองอีกที ท่านราชทูตจึงได้ไปดูพระราชวังฟงแตนโบลได้สบาย สิ่งซึ่งราชทูตได้ชมว่างามที่มีอยู่ในพระราชวัง ก็มีอยู่เป็นหลายสิ่ง แต่จะขอหยิบยกมากล่าวแต่ที่สำคัญ ๆ เท่านั้นพอรู้เป็นเลา ๆ สิ่ง ที่ถูกตาราชทูตก่อนอะไรหมดนั้น คือป่าไม้ที่มีอยู่รอบบิรเวณพระ ราชวัง ยิ่งดูยิ่งชอบ เพราะต้นไม้หรือล้วนแต่ใหญ่โนแลสล้าง ไม่รกเรี้ยว เป็นแถวถนนอยู่ในนั้นราวกับป่าต้นหมากป่ามะพร้าว สิ่งที่ถูกตาราชทูตอีกสิ่งหนึ่งนั้น คือ ท้องพระโรงภายในพระราชวัง นั้น มีพระระเบียงคาเลอรีใหญ่อยู่ ๔ ระเบียงกินที่ทางมากมาย อะโข แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีที่ทางเหลืออีกเป็นอันมาก ใช้เป็น ห้องอะไรต่ออะไรอีกเป็นหลาย ๆ ห้อง พอเข้าไปข้างในพระ ราชวังและมองไปทางหน้าต่างดูข้างนอกแล้วความพิศวงของราชทูต ก็ยิ่งทวีมาขึ้น เพราะจะดูไปข้างไหนก็ยิ่งเห็นมีตำหนักมากขึ้น และล้วนสร้างเป็นแบบผิด ๆ กันทั้งนั้น ที่สุดชั้นแต่บันไดเล่า
๓๑ ก็ไม่มีสองอันที่จะเหมือนกัน, แล้วรอบตำหนักเหล่านั้นล้วนมี สนามหญ้า สวนดอกไม้และสระต่าง ๆ งามเหลือที่จะพรรณนา จนถึงกับได้ยินว่า ถ้าใครเข้าไปดูเป็นคราวแรก แทนที่จะเข้า ใจว่าเป็นตำหนักในบริเวณพระราชวังนั้น ก็เลยหลงเข้าใจว่าเป็น เมือง ๆ หนึ่งต่างหาก เพราะยิ่งดูไกลยิ่งมีมาก ไม่แลเห็นว่า มีที่สิ้นสุดอยู่ที่ตรงไหน พระราชสำนัก เลอ ชาโต เดอ ฟงแตน- โบล นี้ ถึงตั้งอยู่ในมณฑลคาตีนก็ไม่ได้ขึ้นกับมณฑลนั้น ขึ้น กับมณฑลอีก เดอ ฟรังส์ คือมณฑลที่กรุงปารีสอยู่นั้นเอง พระ ราชาองค์แรกซึ่งได้สถาปนาวังนี้ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าฟรัง- ซัวส์ที่ ๑ ปรากฎว่าพระองค์ได้เริ่มตั้งห้องสมุดสำคัญไว้ที่พระตำหนัก นั้น แต่ทุกวันนี้สมุดเหล่านั้นตกไปอยู่ที่เมืองปารีสเกือบหมดแล้ว ส่วนบรรดาพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสตั้งแต่พระองค์ลงมาถึงพระบาท สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินปัจจุบันนี้ ( คือพระเจ้าหลุยที่ ๑๔ ) ต่างก็ ได้ทรงพระราชทานของเพิ่มเติม องค์ละสิ่งองค์ละอย่างแก่พระราช สำนักนี้ เพราะเหตุนี้จึงมีของน่าดูมาก. เวลาท่านราชทูตสยามยังอยู่ที่พระราชวังฟงแตนโบลนี้ ท่าน บาดหลวงบริซาเซียร์ ซึ่งเป็นพระประมุขหัวหน้าของคณะพระสงฆ์บาดหลวง สำหรับสั่งสอนพระศาสนาคริศตัวในมิซซังต่างประ- เทศทั่วโลก เช่นที่เมืองไทยตั้งแต่เวลานั้นมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ก็ได้ออกจากกรุงปารีส มาเยี่ยมเยียนท่านราชทูตหถึงที่พักเมืองฟง- แตนโบลนั้นด้วย.
๓๒ บทที่ ๖ ราชทูตสยามทำความเคารพต่อพระราชสาสน์อย่างไร. วันที่ ๒๙ ราชทูตได้มารับประทานอาหารกลางวันที่เมืองเมอ แลง ที่เมืองเมอแลงนี้เจ้าเมืองอำเภอกรมการทั้งพระสงฆ์ตาม วัดวาอารามต่าง ๆ ก็ได้ออกมาต้อนรับราชทูต, จัดการรับรอง อย่างใหญ่โต ถึงกับราชทูตกล่าวว่า " เราไม่ได้นึกได้ฝันเลย ว่าจะได้รับเกียรติยศถึงเพียงนี้ " ที่เมืองเมอแลงนี้มีพระตำหนัก " ชาโต " ของหลวงเหมือนกัน, เดิมเจ้าเมืองนึกจะให้ราชทูตพัก อยู่ที่นั่นแต่ก็ไม่อาจเป็นไปได้ เพราะขณะนั้นกำลังซ่อมแซม พระตำหนักนั้นอยู่ ไม่ว่าดูข้างไหนภายในบริเวณก็มีแต่กุลีขน ไม้, อิฐ, ปูน, อยู่เกลื่อนกล่น ทั้งภายในตำหนักจะหาห้องว่าง สะอาดสะอ้านเรียบร้อยให้สมกับเกียรติยศของราชทูตก็ไม่มี ตก ลงต้องเลิกไม่ให้ราชทูตพักอยู่ที่ตำหนักนั้น. เมื่อเกิดขลุกขลักอยู่อย่างนี้ เจ้าเมืองจึงได้เลือกสรรค์ บ้านเศรษฐีผู้หนึ่งซึ่งใหญ่โตระโหฐาน และงามกว่าบรรดาตึกรามทั้ง หลายในเมืองนั้น จัดให้เป็นที่พักแทน วิธีจัดห้องให้ราชทูต ทั้งหลายอยู่นั้น เจ้าเมืองจัดตามแบบธรรมเนียมฝรั่ง คือให้ อัครราชทูตอยู่ห้องใหญ่ชั้นล่าง, เพราะเป็นผู้ใหญ่จะได้ขึ้นลง โดยสะดวก, อุปทูตอยู่ถัดขึ้นไปข้างบนอีกชั้นหนึ่ง แล้วตรี ทูตอยู่ต่อขึ้นไปเป็นลำดับ คือแปลว่าใครยิ่งมียศสูงก็ยิ่งอยู่ต่ำ, และใครยิ่งมียศต่ำก็ยิ่งอ่ยู่สูง จำเพาะตรงกันข้ามกับธรรมเนียม
๓๓ ไทยซึ่งนิยมให้ผู้ใหญ่อยู่ชั้นสูง ผู้น้อยอยู่ชั้นต่ำ คร้นจัดห้องราชทูตเสร็จแล้ว ท่านสตอร์ฟได้เชิญท่านไป ดูห้องของตน ๆ แต่พาไปทีละคน, อัครราชทูตกับอุปทูตก็ชอบ ใจ ส่วนตรีทูตนั้นครั้นเมื่อเห็นภาพต่าง ๆ ซึ่งปรากฎตามช่องหน้า ต่าง อบรรดาวัดวาและตึกโรงร้านต่าง ๆ ในกรุงปารีสทั้งประตู ชัยชื่อ " อัร์ค เดอ ตรี ยง์ฟ " เลยประตูเมืองที่ชื่อประตู แซงต์- อัง ตู อัน ไปหน่อยก็ยิ่งชอบใจใหญ่ เพราะไม่ว่าทอดตาไปข้าง ไหนก็ล้วนแต่เป็นขวัญตาน่าทัศนาทั้งสิ้น เมื่อตรีทูตดูรอบห้อง เสร็จสรรพดิบดีแล้ว ก็หันมาถามท่านสตอร์ฟผู้นำทางนั้นว่า " ขอรับประทานโทษ มีใครอยู่ในห้องข้างล่างที่ข้าพเจ้าอยู่หรือ ไม่ ? ข้าพเจ้าอยากทราย " ท่านสตอร์ตอบว่า " ห้องชั้นล่างนี้ให้ ท่านอัครราชทูตกับท่านอุปทูตอยู่ " แหม เจ้าประคุณ พอพูด สองสามคำเท่านี้ ท่านตรีทูตซึ่งเมื่อกี้มีหน้าแช่มช้อยและแสดง ความร่าเริงไปต่าง ๆ ก็กลับหน้าซีดวางหน้าไม่สนิทขึ้นทันที , ดู อากับกิริยาราวกับมีข่าวร้ายมาทิ่มแทงหัวใจในทันใดนั้น ท่าน สอตร์ฟเห็นดังนั้นก็ถามว่า " นี่ท่านเป็นอะไรขึ้นมาล่ะ ? เจ็บปวด อะไรไปหรือ ? ท่านตรีทูตตอบมาว่า " เปล่าจ้ะ ข้าพเจ้ามิได้เจ็บป่วยอะไรดอก แต่ข้าพเจ้านึกขวยเขินกระดากแก่ใจ ที่ให้ ท่านอัครราชทูตซึ่งเป็นผู้จำทูล และประจำเฝ้าพิทักษ์รักษาพระราช- สาสน์อยู่ในชั้นล่าง และกลับให้ข้าพ่เจ้าซึ่งเป็นแต่ผู้น้อยมาอยู่ เสียชั้นบนฉะนี้ ข้าพเจ้านึกว่ามันจะกระไร ๆ อยู่ เพราะว่า ๓ ๓๔ ขึ้นชื่อว่า พระราชสาสน์แล้วก็เป็นของอันมีศักดิ์สูงใหญ่กว่าราชทูต เป็นไหน ๆ, ไม่ควรจะเอามาประดิษฐานในที่ต่ำกว่าข้าพเจ้าเลย ชอบแต่ว่า เชิญพระราชสาสน์ไว้ห้องชั้นสูง ตัวข้าพเจ้าจะอยู่ชั้น ล่าง หรือที่ไหน ๆ ก็ไม่เป็นไร ขอแต่พระราชสาสน์นั้นได้ตั้ง ในที่อันสมควรเท่านั้นจึงจะเป็นการดี. " เมื่อเจ้าพนักงานฝรั่งเศสได้ยินท่านตรีทูตพูดดังนี้ ก็ได้นำ ความนั้นไปปรึกษาเจ้าเมือง ๆ จึงว่า " การที่จะจัดให้พระราช สาสน์อยู่ที่ไหน ๆ ก็ได้ ข้าพเจ้าไม่มีความติดขัดในเรื่องนี้เลย แต่มาติดขัดตรงที่ว่า บ้านที่ท่านราชทูตอาศัยอยู่นี้ถึงใหญ่โตก็ จริง แต่ก็มีห้องใหญ่ที่สมควรให้ราชทูตอยู่ไม่พอ, ถ้าจะย้าย พระราชสาสน์ไปไว้ชั้นข้างบนแทนตรีทูต ตัวตรีทูตเองก็จำเป็น จะต้องอยู่ในห้องเล็กและค่อนข้างไม่สู้งามนักด้วย ท่านลองถาม ท่านดูทีหรือว่า ท่านจะเห็นเป็นประการใด. " พอไถ่ถามกันแล้วท่านตรีทูตตอบว่า " ข้าพเจ้าไม่จำเพาะ แต่ไม่มีความรังเกียจที่จะอยู่ในห้องเล็กแทนที่จะอยู่ในห้องใหญ่, ข้าพเจ้ารู้สึกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งเสียด้วยซ้ำ เพราะว่าจะเป็น โอกาสให้อันเชิญพระราชสาสน์ ขึ้นไปประดิษฐานในห้องสูง ๆ สม กับเกียรติศักดิ์อันสูงของพระราชสาสน์นั้นด้วย. " ดูเอาเถิดท่าน ความเคารพนับถือของชาวไทยสุขุมสักเท่าใด ดูเหมือนว่าถ้าเจ้าพนักงานฝ่ายฝรั่งเศสจะมิได้จัดการตามคำ ชี้แจงของท่านตรีทูตนั้นแล้ว ท่านคงไม่เป็นอันกินอันนอนโดย
๓๕ ปกติเลย เพราะท่านถือเสียว่าตนเป็นแต่เพียงผู้น้อยไม่ควรจะตั้ง อยู่ในที่สูงกว่าพระราชสาสน์เป็นอันขาด ขืนทำราวกับแกล้ง หมิ่นประมาทพระบรมเดชาของพระเจ้าแผ่นดินสยาม ซึ่งเป็นผู้ทรง พระคุณต่อตนเป็นอันยิ่ง ความผิดชะนิดนี้ตามที่ได้ยินมาชาว สยามถือนัก ว่าเป็นโทษอย่างอุกฤษฐ ใครทำก็เป็นคนเนระคุณ ต่อเจ้านาย น่าเกลียดที่สุด. รุ่งขึ้นเวลาเช้า เจ้าพนักงานได้พาราชทูตไปเที่ยวชมพระ ราชสำนักเมืองเมอแลงกับสวน " ปาร์ก " สำหรับเลี้ยงสัตว์ที่อยู่ใน บริเวณพระราชสำนักนั้น ท่านราชทูตได้เห็นก็ชอบใจชมว่าเป็น ของงามมาก และออกปากชมห้องภายในพระราชสำนักนั้นว่า " เข้าออกสะดวกดี " เหตุที่ท่านชมห้องว่า " เข้าออกสะดวกดี " นั้น คือห้องข้างในไม่มีเป็นแถวเดียวตามธรรมดาตึกรามต่าง ๆ โดยมากที่ท่านเคยเห็น มีห้องเป็นสองแถวและมีทางเดิรไว้ตรง กลางเป็นประดุจหนึ่งพระระเบียง จึงดูเข้าออกจากห้องนี้ไปห้อง นั้นสะดวกดี. นอกจากสวนสัตว์และพระราชสำนักนี้ ท่านราชทูตยังได้ ขี้นไปดูหอคอยที่สูง ๆ ซึ่งตั้งอยู่ที่นั้นเป็นหลายหอ และไม่ว่า ท่านไปดูสิ่งใด ถ้าเป็นของแปลกที่ท่านยังไม่เคยเห็น ยังไม่เข้า ใจผลประดยชน์ของสิ่งนั้น ๆ ท่านก็ไถ่ถามจนรู้เข้าใจหมดทุกสิ่งจึง เป็นที่เข้าใจว่า ท่านเป็นผู้เฉลียวฉลาดหาความรู้ใส่ตนเสมอ.
๓๖
บทที่ ๗
ราชทูตไปเมืองแวงแซนใกล้เมืองหลวง.
( จากเมืองเมอแลงนั้น ท่านราชทูตได้มาพักอยู่ที่เมือง แวงแซนซึ่งเป็นเหมือนเมืองหนึ่ง อยู่ในบริเวณของกรุงปารีสอีกที ก็ว่าได้ ) และที่ตำบลนั้นพระมหาสมณะใหญ่ฝ่ายเยสวิดนิกาย
ในกรุงปารีส ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งพระราชครูของพระบาทสม เด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เรียกว่า " เลอ แปร์ เดอ ลา แชส์ " ก็
ได้ออกมาคำนับท่านราชทูตสยามที่เมืองแวงแซนนั้น ท่านคุณ พ่อ เดอ ลา แชส์ นี้ ได้กล่าวกับราชทูตไทยว่า " อาตมภาพมี ความยินดีอย่างยิ่ง ที่จะมาคำนับท่านผู้เป้นราชทูตของพระบาท สมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม เพราะว่าสมเด็จพระนารายณ์พระเจ้า
กรุงสยามนั้นเป็นผู้มีพระคุณต่อาตมภาพอย่างยิ่ง พระมหากรุณา ธิคุณของพระองค์นั้นมีอยู่หลายประการ แต่เป็นต้นเป็นประธาน ก็คือ พระองค์ทรงพระเมตตาชุบเลี้ยงพวกบาดหลวงเยสวิดซึ่ง อาตมภาพได้ส่งไปเมืองไทย เพื่อจะตั้งการสั่งสอนพระศาสนา คริศตัง และคดีโลกคดีธรรมต่าง ๆ มีวิชชาโหราศาสตรเป็นต้น ซึ่งทราบว่าพระองค์ทรงพอพระทัยใฝ่ถึงมาก โดยความเมตตากรุณา อย่างยิ่งมิให้อนาทรร้อนใจ ถึงกับทรงตรัสว่า ถ้าท่านบาดหลวง ต้องการสิ่งใด พระองค์จะทรงประทานให้ ทั้งทราบว่าพระองค์
ได้มีรับสั่งว่า จะทรงสร้างวัดวาอารามโบสถ์วิหารถวายพระศาสนา ครัศตังโดยพระองค์เอง ก็เป็นพระเดชพระคุณพ้นที่จะกล่าวได้
๓๗ อนึ่ง เหล่าบรรดาบาดหลวงทั้งหลายซึ่งอาตมภาพส่งไปเมือง จีน ก็ได้ไปพักรอคอยโอกาสที่เมืองไทยก่อนเป็นหลายองค์ พระ องค์ทรงบำรุงรักษาและช่วยอุปถัมภ์ทุกอย่างทุกประการ ก็เป็น พระเดชพระคุณอันใหญ่หลวงเหมือนกัน ฉะนี้ อาตมภาพจึงมี ความยินดีที่จะมาแสดงความกตัญญูต่อท่านผู้เป็นราชทูตของพระ องค์เพื่อว่าเมื่อท่านกลับไปเมืองไทย จะได้ช่วยกราบบังคมทูลให้ ทรงทราบ จะเป็นที่ขอบใจท่านเป็นอันมาก." เมื่อท่านราชทูตได้ยินดังนั้น ทั้งได้ทราบว่าคุณพ่อบาดหลวง องค์นั้น คนทั่วบ้านทั่วเมืองเขานับถืออย่างไรแล้ว ก็รับปากคำว่า จะทำตามความประสงค์ของท่านทุกอย่าง แล้วต่างก็ลากันไป. ส่วนราชทูตรู้สึกว่า การที่พระมหาสมณะผู้ใหญ่ถึงเพียงนี้ยังอุตส่าห์ ออกมาหาถึงที่อยู่นอกกรุงปารีสฉะนี้ ก็เป็นเกียรติยศอันสูงใหญ่. เมื่อราชทูตได้มาถึงเมืองแวงแซนนี้ ก็เท่ากับว่าอยู่เมือง หลวงแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ยังหาได้ตระเตรียมเข้าไปเฝ้าพระบาท สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินไม่ เพราะว่าเครื่องราชบรรณาการต่าง ๆ ซึ่งพระเจ้ากรุงสยาม ทรงจัดถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสนั้นยังหาได้มา ถึงพร้อมกันกับราชทูตไม่. ราชทูตมาทางบกดังที่ได้พรรณนามา แล้วเป็นทางลัดถึงเร็ว, แต่หีบเข้าของต่าง ๆ นั้น เป็นของหนัก จัดส่งไปทางน้ำ เป็นทางอ้อมจึงถึงช้า, คือชั้นแรกต้องเปลี่ยนเรือ ที่เมืองแบรสต์เสียทีหนึ่งก่อน แล้วไปทางทะเลถึงเมืองรวงซึ่ง เป็นเมืองปากน้ำแซนที่ผ่านกรุงปารีส, ที่เมืองรวงนั้นต้องเปลี่ยน
๓๘ เรือใหม่อีก แล้วจึงจะถึงเมืองปารีส เพราะเหตุนี้เจ้าพนักงานฝ่าย ฝรั่งเศสพร้อมทั้งราชทูตสยามก็ได้ทำความตกลงกันว่า ราชทูตจะ ยังไม่เข้าเฝ้าก่อน จะรอคอยจนกว่าเครื่องราชบรรณาการซึ่งจะเข้า มาถึงจึงจะเข้าเฝ้านำขึ้นทูลเกล้าฯ ในคราวเดียวกัน เพราะตาม ธรรมเนียมเมืองไทยเมื่อทูตเฝ้า, เครื่องราชบรรณาการซึ่งจะทูล เกล้า ฯ ถวายต้องประดิษฐานอยู่ในท้องพระโรงที่เฝ้านั้นด้วย.
บทที่ ๘ ราชทูตพักแรมอยู่ที่พระตำหนักเดอแบร์นี เมื่อเกิดมีเหตุติดขัดฉะนี้แล้วก็ได้เป็นอันตกลงว่า ในระวาง ที่ราชทูตจะคอยวันเข้าเฝ้านั้นท่านจะอยู่พักแรมที่พระตำหนักเดอ แบร์นี ซึ่งแล้วด้วยฝีมืออันประณีตของนายช่างเอกชื่อ มังซาร์ต. ขบวนนายช่างทั้งหลายในสมัยนั้น มังซาร์ตเป็นที่ ๑ พระบาท สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จึงทรงชุบเลี้ยงเอาไว้ใช้สอยในส่วน พระองค์เสมอ ทั้งได้ทรงชุบเลี้ยงหลานของมังซาร์ตซึ่งเป็นนาย ช่างเอกดุจเดียวกัน ทรงตั้งให้เป็นเจ้ากรมก่อสร้างและเจ้ากรม พิทักษ์รักษาพระราชนิเวศน์วังและตึกรามของหลวงทั้งหลาย. นาย มังซาร์ตคนนี้ได้เป็นผู้ที่คิดแบบก่อสร้างวังหลายแห่ง มีที่พระที่ นั่งแวร์ซายเป็นต้น เช่นสำนักของกรมพระอัศวราชใหญ่, พระ อัศวราชน้อยและโบสถ์วิหารที่เมืองแวร์ซายนั้น ก็ล้วนเป็นฝีมือ ของท่านทั้งนั้น. ๓๙ พระตำหนัก " ชาโตเดอแบร์นี " นี้ เดิมทีเป็นของตระกูล คฤหบดีวงศ์ปุยเซียส์ซึ่งได้สร้างขึ้นแล้ว ภายหลังได้ตกเป็นของ เสนาบดี ชื่อ เดอลียอน ทุกวันนี้เป็นของพระราชาคณะผู้ปกครอง พระอารามเซนเยเนอ เวียฟ. เมื่อเป็นอันตกลงกันว่าราชทูตจะ ค้างอยู่ที่สถานที่นั้นก่อนแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จึงทรงพระมหากรุณาโปรดพระราชทานเครื่องใช้สอย และเครื่อง ประดับตำหนักนั้น ทั้งทรงรับสั่งให้กองทหารสวิสอาสามาเฝ้าดูแล เป็นกองเกียรติยศ เหมือนกับที่พระราชวังหลวงซึ่งเป็นที่ทรงประ ทับเหมือนกัน. สำนักเดอแบร์นี นี้เป็นที่เหมาะแก่การพักอยู่สบายของราช ทูต ด้วยเหตุหลายประการ คือประการ ๑ จะเป็นทางสะดวก แก่การไปมาหาสู่ของท่านผู้หลักผู้ใหญ่ที่อยู่ในเมืองหลวง เพราะ จากกรุงปารีสไปเป็นหนทางเพียง ๒๐๐ เส้นเท่านั้น ไม่สู้ห่างไกล นักเพียงนั่งรถม้าชั่วพักหนึ่งก็ถึง ประการที่ ๒ จะได้เป็นทางไม่ สะดวกแก่ราษฎร ที่จะแตกตื่นเกรียวกราวกันมาดูท่านราชทูตเพราะ ตนจะต้องเดิรออกจากเมืองหลวงมากว่าจะถึงก็เป็นทางไกล เมื่อ ท่านราชทูตไม่ถูกราษฎรติดตามมาดู ก็จะได้อยู่โดยปราศจากความ รำคาญ, และประการที่ ๓ ตำหนักนี้ตั้งอยู่นอกเมือง อากาศก็ บริสุทธิ์เป็นที่น่าอยู่กว่าในเมือง. อนึ่งเมื่อราชทูตไม่มีอะไรจะทำ ทั้งไม่มีเหตุเป็นที่รำคาญ ฉะนี้ก็เป็นโอกาสอันดี ที่ท่านจะได้ออกไปเที่ยวดูอะไรต่ออะไรทั่ว
๔๐ บริเวณตำหนักนั้น, จะชมดูละเอียดละออถ้วนถี่สักเท่าไรก็ได้ตาม ใจ ฉะนี้ไม่สู้ช้าท่านราชทูตรู้จักทำเลที่รอบตำหนักนั้น ดิบดีเท่ากับ บ้านของท่านที่กรุงศรีอยุธยาก็ว่าได้ ตำหนักนั้นมีห้องหับ , ประตู, หน้าต่างอย่างไร , เท่าไรเป็นรู้หมด. ดอกไม้ในสวนมีอยู่กี่พรรณ กี่ชะนิดท่านก็รู้ , ต้นไม้ต้นหญ้าผักอะไร ๆ มีอยู่กี่อย่างตามไร่ริม ๆ นั้นท่านก็รู้หมด และใช่ว่าท่านดู ๆ แล้วก็แล้วกันไปอย่างธรรมดา คนเรามักดูกันนั้นก็หามิได้. ทุกวันเมื่อท่านกลับมาจากเที่ยวดู อะไรนั้น ท่านก็นั่งจดรายงานไว้ในห้องก่อนที่จะไปนอนอยู่จนดึก ทุกคืน เพื่อกันมิให้ลืมและเพื่อนำไปกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ ในสมเด็จพระนารายณ์พระเจ้าแผ่นดินไทยนั้น. ยิ่งกว่านั้นยังได้ ยินว่า ในสำรับราชทูตไทยนั้น มีนักปราชญ์กลอนคน ๑ มาด้วย และท่านผู้นี้มีหน้าที่อย่างเดียว คือเรียบเรียงรายงานของที่เห็น เป็นคำโคลงกลอนล้วน เพื่อจะให้ยิ่งไพเราะกว่าคำร้อยแก้วของ ราชทูตไปอีก (น่าเสียดายนักสำหรับเราชั้นหลัง ๆ นี้ที่ไม่ได้คำ ประพันธ์ของท่านจินตกระวีไทยโบรารณนี้ มาอ่านเป็นขวัญตาบ้าง. บ.ก.) บทที่ ๙ ข้าราชการและผู้ดีฝรั่งเศสออกมาเยี่ยมเยียนราชทูต. ที่สำนักเดอแบร์นี นี้ข้าราชการชื่อเดอบอเนย์เป็นพนักงาน เบิกราชทูต เมื่อจะเข้าเฝ้าก็ได้ออกมาคำนับราชทูตไทยเแทนพระบาท
๔๑
สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และขุนนางกระทรวงทหารเรือและว่า การต่างประเทศ ก็ได้มาแทนเจ้าคุณเดอเซเญอเลเสนาบดีกระทรวง นั้น ขุนนางคนนี้ได้เรียนท่านอัครราชทูตสยามว่า " เจ้าคุณเสนาบดี อยากจะใคร่มาหาท่านโดยตนเอง แต่เสียใจที่มาไม่ได้เพราะต้อง ตามเสด็จตามหน้าที่ จึงใช้ให้ข้าพเจ้ามาคำนับท่านแทนก่อน "
แต่นั้นมาขุนนางคนนี้ เวียนมาฟังข่าวความสุขทุกข์ท่านราชทูตอยู่ เนือง ๆ มิได้ขาด, ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ท่านราชทูตปลื้มใจมาก แสดงความขอบใจแล้วขอบใจเล่า ที่ท่านเสนาบดีมีความเอื้อเฟื้อต่อ ตนฉะนี้.
ลำดับนั้นผู้หลักผู้ใหญ่ในราชการและนอกราชการ ก็ออกมา เยี่ยมเยียนท่านราชทูตสยามบ่อย ๆ วันหนึ่งท่านคุณหญิงเดอ- เซเญอเลคือภรรยาของท่านเสนาบดี ซึ่งกล่าวถึงเมื่อแต่กี้นี้ก็ออกมา หาบ้างเหมือนกัน แต่ท่านประสงค์มิให้ราชทูตรู้ว่าท่านเป็นใคร ก็แสร้างเดิรเข้ามากับสตรีอื่น ๆ อีกหลายคน ส่วนออกพระวิสุทธิ สุนทรอัครราชทูตเล่า แต่พอเห็นลักษณะพรรณโฉมและสังเกต กิริยามรรยาทอันสุขุมก็รู้ในทีว่า นางคนนี้คงหาใช่หญิงผู้ดีธรรมดา ไม่, ท่านจึงเลือกเอาถาดใส่ผลไม้สดบ้าง, ผลไม้กวนบ้างยกไปให้ นางนั้นรับประทาน โดยหมายจะเป็นยาเชื่อมความวิสาสะให้ติด
ต่อในระวางตนกับนางนั้น จะเป็นโอกาสให้ท่านล่วงรู้ว่าท่านเป็น
ใครแน่แต่ก็ไม่สำเร็จ นางไม่เปิดช่องให้ราชทูตไทยรู้เลย มิ หนำซ้ำเมื่อถูกซักถามหนักเข้า ท่านกลับไปว่าท่านเป็นหญิงชาวบ้าน
๔๒ นอกแขวงเมืองเบรอต้าญ หาใช่หญิงชาวกรุงไม่ ออกพระ วิสุทธิสุนทรไม่เชื่อ, ท่านจึงค้านว่า " ไม่ได้ ๆ เป็นไปไม่ได้ ข้าพเจ้าจะเข้ามากรุงปารีสก็ได้มาทางเมืองเบรอต้าญก่อน ก็หา ได้สังเกตเห็นสตรีใด จะมีสุภลักษณะลมุลลมัยภาคภูมิเรียบร้อย งามสง่าอย่างกับท่านนี้แม้แต่สักคนเดียวเลยไม่ ฉะนี้จึงเข้าใจว่า ท่านหาใช่หญิงบ้านนอกดังว่าไม่, ต้องเป็นสตรีชาวกรุงปารีสนี้ เป็นแน่ " ขณะนั้นยังมีผู้หนึ่งในที่ประชุม เห็นท่านอัครราชทูตเป็นคนดู หน้าคนออกแม่นยำฉะนี้ก็ถามท่านอัครราชทูตว่า ที่เจ้าคุณราช ทูตเข้าใจได้ว่านางคนนี้ไม่ใช่หญิงเมืองเบรอต้าญ จะเป็นเพราะวิธี แต่งตัวละกระมัง? จะเป็นเพราะเสื้อของหญิงบ้านนอกกับหญิง ชาวเมืองไม่เหมือนกันน่ะซี จึงทำให้ท่านเข้าใจได้ฉะนี้ แต่ ถึงจะเป็นแหม่มตามหัวเมืองหรือแหม่มในวังก็ช่างเถอะ เมื่อขึ้น ชื่อว่าเสื้อแหม่มฝรั่งแล้ว ท่านเห็นเป็นอย่างไร ? เราฝรั่ง ๆ ด้วย กันอยากจะใคร่รู้ว่า ท่านที่เป็นคนไทยจะลงความเห็นอย่างไรในเรื่อง นี้ เหมาะดีหรือไม่เหมาะดีขอเชิญท่านอธิบายให้ฟังบ้าง " ออก พระวิสุทธิสุนทรตอบว่า " เครื่องแบบแหม่มนี้เหมาะดีมาก แต่ ว่าถ้าแหม่มจะแต่งอย่างผู้หญิงไทย แล้วจะเพิ่มความสวยงามอีกเป็น กอง " - " เออ อย่างนั้นเจียวหรือ ? ก็ผู้หญิงชาวสยามเขาแต่ง กันอย่างไร ? "
๔๓ - " หญิงเมืองไทยนั้นหรือท่าน " ท่านราชทูตว่า " เขาผิดกัน กับแหม่มตรงที่ว่าแหม่มนั้นช่างปิดตัวมิดชิด แทบจะไม่แลเห็น ผิวเนื้อเลย นอกจากวงหน้านิดหน่อย แต่ผู้หญิงเมืองไทยนั้น หาเป็นเช่นนั้นไม่, แทนที่เขาจะนุ่งห่มปกปิดร่างกายให้มิดชิด ตั้งแต่เท้าขึ้นไปถึงศีร์ษะนั้น, เขาห่มปิดแต่บางส่วนของร่างกาย เท่านั้น, อีกบางส่วนเขาทิ้งให้ปรากฎเปิดเผย ฉะนี้ลักษณะ งดงามของสตรีในเมืองไทยจึงมีภาษีกว่าในเมืองนี้ ถ้าแหม่มจะ เอาอย่างนี้บ้างแล้วก็เข้าใจว่าผู้หญิงเมืองฝรั่งนี้ จะงามขึ้นอีกเป็น หลายเท่า " ( ความเห็นของราชทูนไทยนี้ถ้าเป็นสมัยนี้เห็นจะพูด ไม่ได้เสียแล้ว เพราะธรรมเนียมแต่งตัวครึ่งหนึ่ง, ทิ้งตัวเปลือย ไว้ครึ่งหนึ่งอย่างโบราณใคร ๆ ถึงในเมืองไทยเองก็ออกรู้สึกว่าไม่ เข้าแบบเสียแล้ว หรือพูดไปอีกนัยหนึ่งก็คือเป็นที่บาดตาของผู้ดูเท่านั้น เหตุที่ท่านราชทูตและคนไทยในสมัยของท่านยังไม่ รู้สึกความเป็นจริงของข้อนี้ ท่าจะเป็นเพราะเคยมิใช่อื่นกระมัง ท่านจึงเห็นเป็นเข้าทีไปได้ บ.ก. ) ขอกลับกล่าวถึงบรรดา ท่านผู้ที่ได้ออกมาเยี่ยมเยียนท่านราช ทูตต่อไปว่า ถ้าแม้นใครมาหาไม่ว่าเวลาใด, ท่านราชทูตกระทำ คำนับรับรองอย่างถูก แบบและ ถูกอัธยาศัย ของท่านผู้ที่มานั้นทุก อย่างทุกประการ ถ้าผู้ที่มา ๆ เวลาท่านราชทูตจะรับประทานอาหาร ไม่ว่าเวลาเที่ยงวันหรือเวลาเย็น เป็นต้องเชื้อเชิญผู้ที่มาหานั้น ให้อยู่รับประทานอาหารด้วยกัน ถ้าผู้ที่มาเป็นผู้ใหญ่มาก, ท่าน
๔๔ ราชทูตก็ยกเข้ายกของให้รับประทาน , ยกเก้าอี้ให้นั่งเองก็มี เชิญ ให้นั่งในที่เป็นประธานหัวหน้าก็มี ครั้นรับประทานอาหารเสร็จ แล้วก็ยืนขึ้นกล่าวคำอวยชัยให้พรตามภาษาสยามของท่าน และ บางทีถึงกับลองใช้คำฝรั่งเศสเจือปนกันบ้างก็มี. ช่างน่าเอ็นดูจริง ข้อที่ข้าพเจ้าเห็นแปลกอยู่หน่อยหนึ่ง ในเรื่องที่คนไทยนี้พูดคำฝรั่ง เศสก็คือ ไม่ว่าชาวต่างประเทศใด ๆ เช่นพวกเยอรมัน, พวก อิตาเลียนเป็นต้น ถ้าหัดพูดภาษาฝรั่งเศสมักพูดเป็นเสียงแปร่ง อยู่เสมอ ไม่ต้นเสียงก็หางเสียงต้องยักเยื้องหนักเบาไม่เหมือน เรา แต่ว่าราชทูตไทยนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ถึงว่าท่านยังพูดได้ แต่น้อยคำก็จริงอยู่ แต่คำที่พูดออกมานั้นน้ำเสียงชัดแจ่มใสดี ไม่มีเสียงแปร่งเจือปนเลย จึงเป็นเหตุให้สันนิษฐานว่าภาษาสยามนั้นไม่ใช่ภาษาที่มีคำเสียงสูงและเสียงต่ำ ท่านจึงจับเสียงของเราได้ถูกต้องฉะนี้ ( ที่ตรงนี้ข้าพเจ้าผู้แปลหนังสือเล่มนี้ขอ ออกความเห็นคัดค้านผู้เรียบเรียงนั้น ว่าความสันนัษฐานของท่านผิดถนัดทีเดียว เพราะว่าแต่บรรดาภาษาต่าง ๆ ซึ่งมีใช้อยู่ในโลกแล้ว ภาษาไทยนี้เป็นภาษาหนึ่งซึ่งควรออกชื่อลือนามว่าช่าง ดัดสำเนียงให้สูงต่ำพิเศษ พิสดารกว่าภาษาอื่น ๆ โดยมาก ต่างหากและข้าพเจ้าเข้าใจว่าถ้าราชทูตคราวนั้น พูดฝรั่งเศสสำเนียง ถูกฉะนี้ คงเป็นเพราะ เหตุที่เคยดัดสำเนียงในภาษาของตนมาหนักต่อหนัก เสียแล้ว ท่านจึงอาจดัดลิ้นไปจับเสียงฝรั่งให้เหมือนได้ง่ายหรือ อย่างไร ? เชิญผู้อ่านพิเคราห์ดูเอาเองเถิด )
๔๕ บทที่ ๑๐ ราชทูตไปเที่ยวดูบ้านเสนาดี เดอ เซเญอเล อันว่าสำนักเดอแบร็นีที่ราชทูตพักแรมอยู่นี้ เป็นตำหนัก ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองโซ และเมืองโซเล่ามีบ้านของเสนาบดีเดอ- เซเญอเลเป็นตึกรามใหญ่โตระโหฐานคล้ายกับวังเจ้านาย เจ้า พนักงานผู้ประจำดูแลเอาใจใส่ราชทูตสยาม จึงได้เชิญท่านไปดูบ้าน เสนาบดีนั้น เพราะเป็นของน่าดูอยู่ส่วนหนึ่ง คือมีน้ำพุพวย พุ่งออกมาเป็นสาย ๆ เมื่อถูกแสงตะวันแล้ว ออกเปนประกายขาว เขียวแดงคล้ายสีรุ้ง ใครไปแลเห็นแล้วเป็นต้องชมกันทั้งนั้นว่า สวยงามอย่างยิ่ง, แต่ส่วนท่านราชทูตนั้นเล่าดูไปดูมาเฉย ๆ เป็น นาน ไม่เห็นพูดชมแม้แต่สักนิดจึงทำให้ท่านผู้ที่พาไปดูนั้นประ- หลาดใจ คิดในใจว่า " เอ๊ะ นี่ไทยจะไม่เห็นเป็นงามได้เจียว หรือ ?" ก็อมความคิดไว้ในใจไม่ได้นานก็ถามท่านราชทูตว่า "อย่างไรเจ้าคุณ บ้านเสนาบดีนี้เป็นที่พอใจของเจ้าคุณหรือ ๆ ว่า ไม่เข้าท่าเข้าทางที่ตรงไหน ? ไม่เห็นเจ้าคุณชม ติ ว่ากะไรบ้าง เลย " ท่านราชทูตตอบคำถามอย่างใจเย็น ๆ ว่า " เปล่าย่ะ ไม่แปลก ใจมิได้ " แหมท่าน พอคำว่า " เปล่าไม่แปลกใจมิได้ " หลุด ออกมาจากปากท่านราชทูตแล้วยิ่งเล่นเอาเจ้าพนักงานไม่สบายใจ เลย เพราะยังไม่เคยได้ยินใครพูดดังนี้ เป็นแต่เคยได้ยินว่า " แหม งามจริง อัศจรรย์ใจจริง งามราวกับพิมานทิพ ๆ " เหล่า
๔๖ นี้เป็นต้น พอซักถามกันใหม่ ท่านอัครราชทูตอธิบายความเห็น ของท่านอย่างนี้ว่า - " ที่ข้าพเจ้ายังไม่ปริปากชมสถานที่นี้ใช่ว่าจะไม่ชมเมื่อไร ชม อยู่มากดอก ยิ่งกว่าท่านไปอีก เพราะของงามชะนิดนี้พวก ข้าพเจ้ายังไม่เคยเห็น และท่านก็เห็นอยู่ทุกเช้าค้ำจนชินตาเสียแล้ว แต่ถึงว่าชมมากอยู่ดังนี้ก็ชมไว้แต่ในใจ ไม่กล้าออกปากว่าชม เท่าไร เพราะถึงจะพูดอย่างไรก็กลัวจะผิดไปจากความเป็นจริงที่ มีอยู่ในใจ ก็ถ้าจะพูดว่า " งามที่สุด งามอย่างยิ่ง " แล้วต่อเมื่อ จะไปแลเห็นวังพระเจ้าแผ่นดินจะเอาคำอะไรมาชมเชยเล่า แต่ บ้านเสนาบดีก็งามที่สุดอยู่แล้ว วังพระเจ้าแผ่นดินจะงดงามสัก ปานใดเล่า เพราะว่าบ้านเสนาบดีถึงจะงามวิเศษอย่างไร วังแวร์ ซายคงงามไปกว่านี้อีกตั้งร้อยเท่าพันทวีมิใช่หรือ ? อนึ่ง ถึงหากว่าบ้านของท่านเสนาบดีจะงามไปกว่านี้อีกสักกี่ เท่า ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าไม่เห็นเป็นที่อัศจรรย์อะไร เพราะท่านเป็น เสนาบดีทหารเรือของพระมหากษัตราธิราชใหญ่ในสากลโลกพิภพ ไม่ว่าอยากได้สิ่งของแปลกประหลาดอะไร ซึ่งมีอยู่ในขอบจักรวาฬ เป็นต้องหามาใด้ทั้งนั้น อาศัยเหตุดังที่ได้พรรณนานี้แหละท่าน ข้าพเจ้าจึงยังมิได้ปริปากชมเชยเคหะสถานของท่านเสนาบดี แต่ หาใช่ว่าไม่ชอบใจ ไม่รู้จักชมหรือแสร้งทำเฉาเมยหามิได้ ความ จริงใจก็ชอบอย่างยิ่ง " ก่อนที่ท่านราชทูตจะออกไปจากบ้านของท่านเสนาบดีนั้นเจ้า
๔๗ พนักงานได้จัดการเลี้ยงอาหารบ่ายตามแบบที่เขาเรียก " อังบีคือ " คือว่าสลับอาหารคาวหวานรับประทานปนกัน ไม่แยกเป็นรับประ ทานของคาวก่อน แล้วรับประทานของหวานตามธรรมเนียมที่เขา เลี้ยงกันธรรมดา เมื่อราชทูตกลับดูเป็นที่พอใจกันเป็นอันมาก.
บทที่ ๑๑ ราชทูตไปดูนักเรียน เล่นละคอนพูด ที่โรงเรียน " หลุยส์เลอครังด์ " อีกคราวหนึ่งเมื่อราชทูตยังอยู่ที่สำนักเดอะเบร์นีนั้น ท่าน บาดหลวงเดอลาแชส์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ผู้ใหญ่ในพระราชสำนักใน สมัยนั้น ทั้งเป็นประมุขหัวหน้าของคณะนิกายบาดหลวง " เยสุวิด " ก็ได้มาเชื้อเชิญราชทูตทั้งหลาย ให้ไปดูละคอนพูดที่โรงเรียนหลุยส์ มหาราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนอยู่ในความปกครองของท่าน และซึ่งมีชื่อเสียงดังในกรุงปารีสในเวลานั้นยิ่งกว่าโรงเรียนอื่นหมด เรื่องที่จะเล่นนั้นเป็นเรื่องของพระบาทสมเด็จพระเจ้าครอ- วีส แก้สินบน ( ท้องเรื่องเป็นดังนี้ คือ สมเด็จพระเจ้าคลอวีส กำลัง สู้รบกับ เยอรมัน ที่เมืองต็อลเบียกในครั้งดึกดำบรรพ์โน้น ฝ่ายพระเจ้าคลอวีสสู้รบไม่ไหวจะเสียท่าอยู่แล้ว ไม่ทรงทราบว่า จะแก้ไขเอาชัยด้วยวิธีใด ก็ทรงระลึกถึงสมเด็จพระมเหษีนาง คลอติลด์ ซึ่งเป็นคริศตังและเคยทรงชักชวนพระราชสามีให้เป็น ๔๘ ด้วยเนือง ๆ ก็ไม่ทรงเอาพระทัยใส่ ก็มากลับพระทัยทรงบนบาน กับพระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์ว่า :- " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของนาง คลอติลด์เจ้าขา ถ้าพระองค์ทรงช่วยในเวลานี้ให้ข้าพระพุทธิเจ้า มีชัยชนะแก่อริราชศัตรู ข้าพระพุทธิเจ้าก็จะยินดีประกาศตน เป็นอันเตวาสิกของพระองค์ด้วยอีกคนหนึ่ง ขอทรงช่วยให้เห็น ประจักษ์พระเจ้าข้า " พอทรงสวดอธิษฐานดังนี้ไม่ช้า พวกเยอรมันซึ่งเป็นผู้มีชัยอยู่แล้ว ก็กลับพ่ายแพ้เปิดหนีในทันใด พระองค์ทรงเห็นเป็นที่ มหัศจรรย์ก็ทรงเลื่อมใสศรัธาในศาสนาคริศตัง ตามนางคลอติลต์ แต่นั้นมา พอเลิกศึกพระองค์สมัครเสด็จมารับศีลล้างบาปเป็น คริศตังที่วัดเมืองแรมส์แห่งเดียวกับที่เยอรมัน ยุคเรานี้อุตส่าห์ทำ- ลายให้วินาศไปอีกครั้งหนึ่ง แล้วแต่นั้นมาพระเจ้าแผ่นดินฝรั่ง เศสก็ได้เป็นคริศตังสืบ ๆ กันมา.) เมื่อท่านราชทูตได้ถูกเชิญไปในที่ประชุมเช่นนั้น ก่อนหน้าที่ ท่านได้เข้าไปเฝ้าและทูลถวายพระราชสาสน์ ท่านก็ไม่กล้ารับ เชิญเพราะกลัวว่า จะเป็นที่ดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๒ พระนคร แต่ก็ไม่กล้าปฏิเสธเสียตรง ๆ ด้วย เพราะท่านผู้มาเชิญนั้นเป็นผู้หลักผู้ใหญ่เป็นที่เคารพนับถือ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ท่านราชทูตจึงกล่าวตอบ ว่า:- " แต่ลำพังเราผู้น้อยก็จะไม่กล้ารับเชิญจากใครผู้ใดหมดก่อน ที่จะได้ไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่เมื่อพระเดชพระ
๔๙ คุณคุณพ่อมหากรุณานี้ ซึ่งเป็นผู้มีอายุอาวุโสและคุณวุฑฒิปรีชา สามารถเป็นที่เคารพนับถือของมหาชนทั่วไป นับแต่พระบาท สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินลงไปถึงราษฎรคนสามัญ มาเชื้อเชิญเราโดยเห็นว่าหามีโทษมีผิดมิได้ กลับจะเป็นคุณประโยชน์สำหรับ จะได้ซึมทราบขนบธรรมเนียมการศึกษาในเมืองนี้ เราจึงมีความ ยินดีรับเชื้อเชิญของคุณพ่อ ไปดูละคอนพูดที่มหาวิทยาลัยในพระ บรมราชอุปถัมภ์ด้วย " ถึงกำหนดวันที่จะเล่นละคอนนั้น เวลาเช้า ๖ นาฬิกา เจ้า พนักงานกรมพระราชยาน ได้จัดกระบวนรถม้าคู่ของหลวงมารับท่าน ราชทูตที่สำนักเดอแบร์นีนั้นแล้วได้ขับไปยังกรุงปารีส ที่วังแห่ง หนึ่งซึ่งได้ตกแต่งประดับประดาไว้คอยท่าท่านราชทูตสยาม จึง เรียกว่าวังราชทูต เวลากำลังนั่งรถมานั้นเจ้าพนักงานคลี่มูลี่รถลง หมด ไม่ให้มหาชนแลเห็นว่าใครมาในรถคันนั้น เพราะเกรงว่า ถ้ารู้ถึงหูชาวบ้าน แล้วข่าวก็จะลือกระฉ่อนไปทั่วจะเกิดการเอิกเกริก ครึกครื้นมากไป ไม่สมควรกับการที่จะรับรองราชทูตอย่างเงียบ ๆ ไว้ก่อนกว่าที่จะได้เฝ้าจึงจะเปิดเผย. ราชทูตรองพักอยู่ที่วังนั้นจนกว่าถึงเวลาละคอนจะเล่น ครั้น ถึงกำหนดแล้วท่านบาดหลวงเยสุวิดก็จัดรถพิเศษสำรับใหม่ อีก ๔ คันมารับราชทูตจากวังที่พักพาไปยังโรงเรียน คนขับรถทั้ง ๔ คัน นั้นล้วนแต่งเครื่องแบบหมายยี่ห้อเจ้าของรถทั้งนั้น เช่นคันหนึ่ง เป็นของพระเจ้าลูกเธอ แผ่นดิน อังกฤษองค์ ๑ ซึ่งกำลังทรงศึกษา ๔ ๕๐ เล่าเรียนในโรงเรียนนั้น ก็ตกแต่งตามแบบมหาดเล็กลูกหลวง เมืองอังกฤษ อีกคันหนึ่งเป็นของนักเรียนชาวเมืองปอลอญ ท่าน บิดาเป็นผู้สำเร็จราชการฝ่ายทหารในเมืองนั้น ก็แต่งตามวงศ์ตระกูล เจ้านายเมืองปอลอญ อีกคันหนึ่งเป็นของบุตรของท่านผู้สำเร็จ ราชการอยู่ในเมืองลีทัวเนีย ก็แต่งตามแบบธรรมเนียม บ้านเมือง นั้น ฯลฯ พอมาถึงโรงเรียนแล้ว ท่านบาดหลวงให้ท่านราชทูตนั่งดู อยู่ในที่อันสมควรแห่งหนึ่งแล้วก็ได้ลงมือเล่น พอตัวละคอน ออกจากโรงแล้วสังเกตได้ง่ายที่สุดว่า ราชทูตทั้งสำรับพอใจในทำนองที่นักเรียนเล่นมาก แต่ตอนซึ่งท่านสำแดงว่าพอใจยิ่งกว่า ตอนอื่น ๆ หมดคือ ตอนเมื่อบุตรของท่านแม่ทัพใหญ่ชื่อเดอ- วีเลอรัวกับบุตรของท่านมัรคีส์เดอลามารเลียร์ และของท่านเลอ- เชอวาเลียร์ดาโวออกมาเต้นรำทำเพลงด้วยกัน ทั้งสังเกตได้ง่าย ว่าท่านชอบใจในวิธีจัดโรงละคอนด้วย อีกสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้ท่าน ราชทูตพิศวงคือ ที่ได้เห็นบรรดาบิดามารดาผู้ปกครองนักเรียนซี่งได้ มาดูละคอนนั้น ล้วนแต่เจ้านายขุนนางและคฤหบดีชั้นสูง ๆ ฝ่าย ฝรั่งเศสและต่างประเทศทั้งนั้น. เมื่อเล่นละคอนแล้ว ท่านบาดหลวงได้นำท่านราชทูตให้ รู้จักกับบรรดาเจ้าขุนมูลนาย และราชทูตประเทศอื่นซึ่งมาในงานนั้น และท่านราชทูตสยามก็ได้เจรจาปราศรัยกับท่านทั้งหลายเหล่านั้น อย่างสนิทสนมทุกอย่าง ท่านรู้ผ่อนหนักชักเบาตามเกียรติยศ
๕๑ ของผู้คนแม่นยำไม่มีผิด. ภายหลังวันที่ท่านได้ไปดูละคอนที่โรงเรียนนั้น ยังมีสุภาพ สตรีหลายนางได้มาคำนับท่านที่ตำหนังเดอแบร์นี และไม่ว่านาง คนไหนซึ่งได้มีบุตรเล่นละคอนอยู่ในวันนั้น ท่านราชทูตยังจำได้ หมด ถึงกับกล่าวชื่อของเด็กนั้นและว่าเล่นตอนนั้น ๆ ต่อหน้า มารดาให้พัง เลยทำให้บรรดาหญิงเหล่านั้นยิ่งพอใจในราชทูต สยามเป็นอันมาก สรรเสริญว่า ช่างจำแม่นยำนัก."
บทที่ ๑๒ ราชทูตกระทำวิสาสะกับสตรี ชาวฝรั่งเศส. เวลาบ่ายวันหนึ่งมีผู้ใหญ่หลายคนได้มาประชุมสโมสร ที่ตำ- หนักราชทูต และในที่ประชุมนั้นมีสตรีรูปงามอยู่หลายนางด้วย กัน และตามธรรมดาที่ประชุมซึ่งมีผู้หญิงมากก็ต้องพูดมากตก ลงวันนั้นเลยได้เกิดไถ่ถามราชทูตกันยกใหญ่ ยังมีนางคน ๑ ถาม ราชทูตว่า " ท่านราชทูตค๋ะ ทำไมเจ้าคุณไม่พาภรรยาของเจ้าคุณ มาเมืองฝรั่งเศสบ้างเล่า ? น่าจะใคร่เห็นหน้านัก " ท่านราชทูต ตอบเป็นเชิงย้อนถามว่า " หล่อนเป็นบุตรีหรือภรรยาของข้าราช การมิใช่หรือ ? นี่ต่างว่าบิดาหรือสามีของหล่อนจะต้องไปรับราช การเป็นราชทูตฝรั่งเศสไปเมืองสยามหล่อนจะยินดีทิ้งบ้านทิ้งเมือง ไปด้วยหรือไม่ ? " ที่ตรงนี้สตรีคนนั้นไม่ทราบว่าจะตอบอย่างไร
๕๒
เพราะความจริงหล่อนคงไม่กล้ามาหนทางไกลเช่นนี้ (ปัญหา
ข้อนี้ถ้าทุกวันนี้ราชทูตคงไม่ตั้ง ให้หญิงฝรั่งเศสแก้เสียแล้วเป็นแน่ เพราะหญิงชายเมืองฝรั่งไปมาในระวางเมืองฝรั่ง และเมืองไทยได้ สะดวกแล้ว แต่ในขณะนั้นหาเป็นเช่นนี้ไม่ ขณะนั้นยังไม่ มีผู้หญิงเมืองนอกมาเมืองไทยเลย ท่านราชทูตจึงพูดได้ดังนี้.
บ. ก. )
ขณะนี้ยังมีสตรีสาว ๆ อีกคนหนึ่งถามเป็นทีสัพยอกเล่นกัน ว่า " ท่านราชทูตเจ้าค๋ะ ต่างว่าดิฉันยอมเป็นภรรยาของเจ้าคุณ ๆ จะรับดิฉันเป็นภรรยาไหม ? ที่จริงเจ้าคุณคงมีเมียอยู่แล้วมิใช่ หรือ แต่เข้าใจว่าไม่เป็นที่รังเกียจเพราะเคยได้ยินใครเขาว่า ที่
เมืองไทยโน้น ใครจะมีเมียสักกี่คน ๆ ก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นผิดประ เพณีสามีภริยากัน " ท่านราชทูตตอบว่า " เปล่าไม่เป็นที่รังเกียจ มิได้ ถ้าหล่อนจะยินยอมดังนั้นแล้วเราคงบำรุงเลี้ยงมิให้อนาทร ร้อนใจ ถึงอนุภรรยาเรามีสักกี่คน ๆ เราจะตั้งหล่อนให้เป็นใหญ่ ยิ่งกว่าเขาทั้งหลายเหล่านั้น ห้องหอที่อยู่กินนอน เราจะจัด ให้ดีที่สุดซึ่งเราสามารถจะจัดได้ ให้สมยศสมตระกูลของหล่อนทุก อย่าง "
หญิงคนนั้นจึงถามราชทูตต่อไปว่า " ก็เมียเล็กเมียน้อยนั้น เจ้าคุณมีสักเท่าไร ดิฉันอยากรู้นัก เจ้าคุณช่วยบอกได้ไหมค๋ะ ? "
- " ได้ซิหล่อน ได้ ทำไมจะไม่ได้ เรามี ๒๒ คนเท่านั้น "
- " แหมเจ้าคุณ มีถึง ๒๒ คนเจียวหรือเจ้าคุณ แหมไม่
๕๓ ใช่น้อยเลย ๒๒ คน แหมเหลือเกินจริง เหลือเกิน " - " นี่แน่ะหล่อน อย่าพึ่งตกใจก่อน เราจะบอกให้ หล่อน เห็นแปลกในการที่เรามีเมียถึง ๒๒ คน เพราะยังไม่เคยได้ยิน ว่าใครในเมืองนี้มีมากถึงอย่างนี้ แต่ในเมืองไทยนั้นไม่มีใครเห็น แปลก ใครจะมีเท่าไรก็ได้ ยิ่งกว่านี้ใครยิ่งมีมาก เขายิ่งนับถือ ว่าเป็นคนมีบุญวาสนามากต่างหาก ก็เมื่อพื้นบ้านพื้นเมืองเขา นิยมอย่างนี้แล้ว ใครเล่าจะอาจฝืนความนิยมของเขาได้ ใคร ทำก็ยากยิ่งกว่ากลิ้งครกขึ้นภูเขาเสียอีก อย่าว่าที่อื่นไกลเลย ดูเอา แต่ในเมืองฝรั่งเศสนี้เถอะ ทุกวันนี้มีธรรมเนียมผัวเดียวเมีย เดียวมิใช่หรือ ? นี่หากจะมีธรรมเนียมใหม่ให้หญิงคนเดียวมี สามีได้ถึง ๒๒ คน ถ้าเคยเสียแล้วคงไม่เห็นแปลกอะไร จะ กลับเห็นแปลกที่จะมีคนเดียวเสียอีก " ( ที่ตรงนี้ถึงวาระที่ผู้แปล อยากจะใคร่แซกความเห็นบ้างอีกหน่อยคือ อยากจะว่ากระชั้น ไปอีกถึงอำนาจของความนิยมว่าเป็นของถอนยาก ดังท่านราชทูตว่า ดูเอาเถอะธรรมเนียมมีภรรยามากหลายคน ยังมีชายไม่เห็นเป็น ของแปลกอะไร เหมือนในครั้งพระนารายณ์โน้น แต่ถ้าจะ ถามชายผู้ที่นิยมเช่นนี้ว่า ถ้าภรรยาจะมีสามีหลายคนท่านจะเห็น แปลกไหม ? คงตอบว่าไม่จำเพาะแปลกใช้ไม่ได้ทีเดียว ถ้า ฉะนี้แล้ว ทำไมจะเกณฑ์ให้สตรีมิให้เห็นแปลกในความประพฤติ ของตนเล่า ? บุรุษหรือสตรีย่อมมีความชอบธรรมดุจเดียวกัน ใครพินิจพิเคราะห์ในข้อนี้คงเห็นเป็นจริงเป็นแน่ และเหตุที่บาง
๕๔ คนยังหลงไม่ถือตามที่ตนเชื่อว่าดี ก็เพราะไม่กล้าฝืนธรรมเนียม และไม่กล้าฝืนใจของตน ชายนิยมอย่างไรก็ทำตามใจของชาย นิยม ชะนิดนี้ยังไม่ใช่อารยบุคคลหรือคนศรีวิลัย คนศรีวิลัย เขาเอาความนิยมของผู้อื่นเป็นใหญ่ นี่เมื่อใดชายชาวสยามจะ นิยมตามใจหญิงซึ่งเป็นบุคคลสำคัญพวกหนึ่ง จึงจะเรียกว่าชาว สยามถึงวาระแห่งอารยธรรมแล้ว. บ.ก.) ขอกลับว่าถึงสตรีชาวฝรั่งเศสซึ่งสนทนากับราชทูตไทยในวัน นั้นว่า เดิมทีนางนึกว่าจะไล่เลียงราชทูตให้จนแต้มในเรื่องผัว ๆ เมีย ๆ นั้นก็เลยจนแต้มไปเอง นี่ส่อให้เห็นว่าราชทูตเป็นคน ฉลาดพูดมาก หาไม่คงจอดเป็นแน่ เพราะข้อที่ถูกซักนั้นหาใช่ ข้อมงคลไม่ ท่านยังอุตส่าห์แก้กลบเกลี่ยความชั่วด้วยความดีได้
บทที่ ๑๓ ราชทูตแลเห็นผู้หญิงฝรั่งเศสขี่ม้า. เวลาบ่ายวันหนึ่ง ยังมีเจ้านายและข้าราชการชั้นสูงหลายองค์ หลายท่าน ทั้งหญิงและชายมีเป็นต้นคือท่านเจ้าดีเซงเคนกับท่าน หญิงภรรยา ท่านเจ้าหญิงเดอเบอร์นงวิลและท่านหญิงมาคีส- เดอลาวารแดง ฯลฯ ต่างทรงม้าและขี่ขับม้ามาเยี่ยมเยียนราชทูตที่ สำนักท่าน ท่านเจ้าหญิงและภรรยาข้าราชการที่มานั้นล้วนทรง เครื่องและแต่งตัวเหมือนผู้ชายหรือคล้าย ๆ กัน คือเสื้อกั๊กสั้น รัดขารัดแขนแน่น อย่างธรรมเนียมนักกีฬาและพรานเนื้อเขานุ่ง ๕๕ ห่มใส่กัน ราชทูตไทยเห็นผู้หญิงฝรั่งไม่แต่งตัวเป็นแหม่มก็ แปลกใจ เหตุฉะนี้ เมื่อท่านหญิงชายเหล่านั้นลงจากหลังม้าและ คำนับราชทูตเสร็จแล้ว ราชทูตจึงถามท่านหญิงเหล่านั้นว่า " ทำ ไมจึงแต่งเหมือนผู้ชาย หาได้แต่งเป็นแหม่มไม่ ? " ก็มีคำตอบ แต่ในบรรดาผู้ที่ออกมาหานั้นว่า " ท่านนุ่งห่มอย่างนี้เพราะเป็น ที่สะดวกในการขี่ม้า และสำหรับไปในป่าในรก ถ้านุ่งห่มเสื้อ แหม่มก็จะติดนี่ติดโน่นลำบากมาก " ท่านราชทูตทราบดังนั้นก็ เห็นด้วย แล้วท่านได้พูดชมบรรดาหญิงเหล่านั้นว่า " ขี่ม้าเก่ง น่าชมเหลือเกิน จะขึ้นจะลงดูว่องไวราวกับผู้ชายไม่มีผิด." เมื่อสนทนากันเช่นนี้สักครู่หนึ่ง แล้วบรรดาผู้ที่ขี่ม้ามานั้นสัง- เกตดูท่าทางราชทูตอยากจะใคร่ดูแหม่มรำม้าเหลือเกิน จึงได้พูด กับท่านว่า " เจ้าคุณราชทูต อยากเห็นเราขี่ม้าตามทำนองต่าง ๆ เมื่อเราออกไปไล่เนื้อในป่าบ้างหรือไม่ ? ยินดีจะขี่ขับให้ดู " ท่าน ราชทูตตอบว่า " ข้อที่อยากดูนั้นไม่เป็นปัญหาเลย อยากดูเหลือ เกิน ท่านเดาใจของเราแม่นทีเดียว แต่ไม่ถึงกับบังอาจขอให้ ท่านออกแรงให้เราดูเล่นดอก เรานับถือท่านยิ่งกว่านั้น แต่ว่า เมื่อท่านยินดีอยากจะสำแดงโดยความพอใจของท่านเองแล้ว เรา ไม่มีความรังเกียจ จะถือเป็นพระคุณพิเศษต่างหาก ." พอตกลงกันว่าจะรำม้าให้ท่านดูแล้วฉะนี้ ท่านเจ้านายทั้ง หญิงและชายก็ลงจากตำหนักไปยังลานหน้าตำหนักทันที และส่วน ท่านราชทูตก็ออกมายืนดูที่ระเบียงข้างบน ส่วนท่านเจ้าดีเซงเคน
๕๖ และคนอื่น ๆ ซึ่งตามเสด็จมาด้วยก็เสด็จและขึ้นขี่ม้าแล้วก็ขับไป มาเป็นขบวนและทำนองต่าง ๆ แต่ว่าลานหน้าตำหนักนั้นติดจะ เล็กไปหน่อยแสดงไม่ได้เต็มฝีมือ ก็เลยเปลี่ยนให้ท่านราชทูตไป ยืนดูบนระเบียงหลังตำหนัก จะขับม้าไปในสนามข้างหลังตำหนัก เพราะสนามนั้นใหญ่ขับไปขับมาได้สนัด. พอราชทูตมายืนอยู่ในที่นั้นแล้วพวกนักเลงม้าเหล่านั้น ก็ชัก บังเหียนกระทืบโกลน แล้วรำไปรำมาเป็นหลายท่าเป็นหลายทำนอง ประมาณสัก ๑๕ นาฑี แล้วต่างก็เสด็จและลงจากหลังม้าขึ้นมาบน ตำหนักจะลาท่านราชทูตกลับไป ขณะนั้นเกือบถึงเวลาที่ราชทูต จะรับประทานอาหารเย็นแล้ว ท่านจึงได้เชิญบรรดาท่านที่มา เยี่ยมนั้นให้อยู่รับประทานและเสวยอาหารเย็นด้วยกัน คำชักชวน ให้อยู่ของท่านราชทูตเป็นคำน่าจับใจที่สุด เมื่อได้ยินต่างก็ต้อง ยอมรอรับประทานอาหารอยู่กับท่าน เย็นวันนั้นท่านอัครราชทูต ปฎิบัติผู้ที่มาเยี่ยมนั้นอย่างพินอบพิเทาเข้าท่าเข้าทางทุกอย่าง บัด เดี๋ยวท่านยกเก้าอี้ให้เจ้าหญิงทรงนั่งบ้าง บัดเดี๋ยวยกเอาจานกับ เข้าให้ทรงเสวยบ้างไม่หยุดหย่อน ตลอดเวลาที่นั่งรับประทานนั้น พอรับประทานเสร็จแล้ว ท่านก็ยกแก้วกล่าวคำอำนวยพรให้ท่าน ทรงเจริญเป็นสุขอายุยืน ฯ ล ฯ ส่วนผู้ที่เป็นแขกมานั้นก็ได้ยืน ขึ้นกล่าวคำอำนวยพรด้วยบ้าง และมีผู้หนึ่งในพวกนั้นยังแถม อำนวยพรไปถึงเมีย ๒๒ คนของท่านราชทูตด้วยว่า :- " ขอให้อยู่ เป็นสุขทุก ๆ คน ถึงแม้มีค่อนข้างจะมากหน่อยเข้าใจว่าคำอวยพร
๕๗ จะแผ่ไปถึงเขาทุกคนได้" ท่านราชทูตตอบว่า :- " จะมากมิมากก็ ตามทีเถิด เราก็อยู่เป็นสุขเขาก็อยู่เป็นสุข ข้อนี้เป็นข้อสำคัญ กว่าอะไร ๆ หมด ส่วนเราอวยพรให้ท่านก็แทบนึกจะอวยพร ให้มีภรรยาถึง ๒๒ คนเหมือนกับเราบ้างเหมือนกัน แต่เกรงใจ ว่าจะไม่เป็นที่พอใจของภรรยาที่ท่านมีไว้แล้ว หาไม่คงอวยพร และคงชี้วิธีให้สำเร็จไปตามนั้นเป็นแน่ แต่คราวนี้เราของดไว้ก่อน เป็นแต่เพียงกล่าวว่าเจริญ ๆ เทอญ " ในพวกสตรีที่อยู่ที่นั่นในเวลานั้น ยังมีคนหนึ่งมีกำไลมือประ ดับเพ็ชรตรงกลางมีรูปคน ราชทูตเห็นก็ถามว่า :- " รูปที่กำไลมือ นี้เป็นคนที่รักของหล่อนกระมัง ? " นางนั้นตอบว่า :- " เจ้าคุณคิด ถูกแล้ว รูปนี้เป็นรูปของมารดา และมารดาเป็นคนที่ดิฉันรัก มาก " ราชทูตก็ไม่จนกลับตอบว่า :- " หล่อนทำดังนี้ก็ดีแล้ว แปล ว่าหล่อนเป็นคนมีกตัญญูกตเวที แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดคือที่มือข้าง โน้นซึ่งไม่มีกำไลใส่ ควรใส่บ้างเหมือนกัน และที่กำไลข้าง โน้นนั้นแหละ หล่อนควรใส่รูปของสามีไว้อีกด้วยรูปหนึ่งจึงจะ เป็นคู่กันเหมาะ " บทที่ ๑๔ ราชทูตย้ายตำหนักไปพักอยู่ที่เมืองรังบูเย. ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มีรับสั่งว่าจะรับ ราชทูตสยามให้พาท่านเข้ามากรุงปารีสในวันที่ ๑๒ สิงหาคม เจ้า
๕๘
พนักงานจึงได้จัดการเชิญ ราชทูตไปพักอยู่ที่พระตำหนักหลวงที่ เมืองรังบูเยใกล้กรุงปารีสเข้าไปอีก เมื่อราชทูตไปนั้นผะเอิญท่าน ได้พบกันกับสตรีบางคนพวกที่ขี่ม้าให้ดูที่ตำหนักเดอแบร์นีนั้น ก็ จำกันได้ดี ๆ และต่างก็เป็นที่พอใจกันเป็นอันมากด้วย.
ในระวางเวลาที่ราชทูตยังไม่ได้เฝ้านั้น ท่านราชทูตสั่งผู้ดูแล
กำกับฝ่ายฝรั่งเศสว่า :- " บัดนี้เกือบถึงกำหนดจะเข้าเฝ้าแล้ว ขอ ท่านได้โปรดห้ามมิให้ใครเข้ามาหาอีกเป็นอันขาด เพราะเราเห็น เป็นการไม่สมควรที่ใคร ๆ จะมีโอกาสมาหาเราก่อนที่จะได้เฝ้าพระ เจ้าเแผ่นดิน ต่อเมื่อเฝ้าแล้วใครจะมาหาก็ไม่เป็นที่รังเกียจ เรา ยินดีรับรองกันทั้งนั้น แต่ในเวลานี้ของดไว้ก่อนไม่ว่าในเวลาปกติ หรือในเวลารับประทานอาหาร ขออย่าได้เป็นเหมือนเมื่อเรายังอยู่ที่ แบร์นีนั้นเลย " เมื่อเจ้าพนักงานทราบความประสงค์ของท่านฉะนี้ แล้วก็ห้ามมิให้ใครเข้ามา ส่วนราษฎรเมื่อต่างทราบเหตุที่ราชทูต
ไม่ยอมให้ใครไปมาหาสู่แล้วก็ไม่มีใครรังเกียจ กลับเห็นเป็นดี ด้วยกันทั้งนั้นว่านับถือพระเจ้าแผ่นดินจริง.
ถึงตกลงกันอย่างนั้นแล้วก็ไม่สำเร็จ คืนวันที่ ๑๕ เดือน สิงหาคมนั้นเป็นวันฉลองแม่พระสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงอัญ เชิญเข้าไปสู่สวรรค์อย่างที่เรียกว่าแม่พระอัสสัมชัญ และตาม ธรรมเนียมทุกปีในวันนั้น ที่กรุงปารีสมีงานแห่ในบริเวณวัดนอตร์ ด้าม ซึ่งเป็นวัดใหญ่ในกรุงปารีส เพราะเหตุฉะนี้ถ้าไม่ให้ราชทูต ดูงานแห่ในวันนั้นแล้วแปลว่าจะไม่ได้เห็นเลยนั้นเอง เพราะ
๕๙ ท่านจะคอยถึงปีหน้าฟ้าใหม่จึงจะมีอีก และปีหน้านั้นเข้าใจว่า ราชทูตจะออกจากเมืองฝรั่งเศสเสีย กลับไปเมืองไทยเสียแล้ว ตกลงต้องจัดให้ท่านมีโอกาสเห็นในคราวนี้จึงจะได้ ครั้นตกลง เห็นพร้อมดังนี้แล้วก็ได้พาไปดูแห่ที่วัดนอตร์ด้าม. เมื่อกลับมาจากงานแห่แล้ว มีผู้ถามอุปทูตซึ่งเคยไปเจริญ ทางพระราชไมตรีในระวางกรุงสยาม กับกรุงปักกิ่งประเทศจีนว่า:- " เมืองปักกิ่งกับเมืองปารีสนี้ ถ้าจะพูดกันทางเปรียบเทียบแล้ว ท่านเห็นข้างไหนจะมีพลเมืองมากกว่า ? " ท่านอุปทูตนั้นเล่า นิส- สัยเป็นคนเฉลียวฉลาด สังเกตสังกาแม่นยำนักทั้งเป็นคนซื่อตรง ด้วย เห็นการเป็นอย่างไรก็บอกเป็นอย่างนั้นตรง ๆ ไม่มีบิด ๆ เบือน ๆ เป็นเจ้าถ้อยหมอความอะไรก็ตอบว่า.- " ถ้าจะเทียบประ เทศต่อประเทศแล้วเมืองจีนจะมีพลเมืองมากกว่า หรือเมืองฝรั่ง เศสจะมีมากกว่าอย่างนี้ผมตอบไม่ถูก เพราะไม่ได้เห็นทั่วด้วยกัน ทั้งสองประเทศ แต่ถ้าจะให้ผมเปรียบพื้นที่ต่อพื้นที่ในสองเมือง นั้นพอตอบได้ เพราะได้เห็นมามากตำบลแล้วทั้งสองแห่ง ที่ เมืองจีนนั้น ตามตำบลสูง ๆ ดอน ๆ พลเมืองเบาบางหน่อย แต่ ตามลำแม่น้ำติดจะหนาแน่นมาก ถ้าจะเปรียบกับตำบลบ้านที่ผม ได้เห็นตามลำแม่น้ำลัวร์ในประเทศฝรั่งเศสนี้ ดูจำนวนพลเมือง ทั้งสองข้างไม่สู้จะมากไม่สู้จะน้อยกว่ากันเท่าไร เข้าใจว่าพอวัดเหวี่ยงกันได้ดีทีเดียว ส่วนที่ดอน ๆ ในเมืองฝรั่งเศสผมไม่ค่อย ทราบดีว่ามีมากน้อยเท่าไร แต่ถ้าจะมีเท่ากับที่มีตามลำแม่น้ำลัวร์
๖๐ แล้ว พลเมืองฝรั่งเศสตามเนื้อที่คงมีไม่น้อยกว่าพลเมืองจีน แต่ ข้อนี้ยังไม่สู้แน่ใจนัก ที่รู้แน่แท้ไม่มีที่สงสัยนั้นคือที่เมืองจีนพล เมืองมากจริง เพราะว่าธรรมเนียมจีนเขากักผู้หญิงไม่ให้ออกไป ข้างนอก ออกได้แต่ผู้ชายฝ่ายเดียว แต่ถึงกระนั้นตามถนนหน ทางก็หนาแน่นไปด้วยคนไปมาขวักไขว่เสมอมิได้ขาดสาย ส่วน กรุงปารีสกับกรุงปักกิ่งนั้นถ้าจะเปรียบกันแล้ว เมืองปักกิ่งได้ ภาษีเป็นแน่ เพราะถึงว่าพวกจีนเขากักผู้หญิงไม่ให้ออกไปข้าง นอกบ้านได้ และที่กรุงปารีสเขามิได้กักก็ดี ถึงกระนั้น แต่เพียง ชายที่ได้เห็นเดิรไปมาในกรุงปักกิ่งนั้น ก็มากกว่าพลเมืองทั้งหญิง และชายในกรุงปารีส ฉะนี้จึงเข้าใจว่า กรุงปักกิ่งมีพลเมืองมาก กว่ากรุงปารีสเป็นแน่. "
บทที่ ๑๕ ราชทูตสยามยังเข้าไปเฝ้าไม่ได้. ถึงว่าท่านราชทูตได้ตกลงเป็นการเด็ดขาดว่า ในระวางที่ท่าน ยังไม่ได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จะไม่ยอมให้ผู้ใด ไปหามาสู่หมดทั้งสิ้น ดังที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นแล้ว ก็ยังมีผู้ หลักผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงอีกหลายท่านหลายนายได้วิงวอน ขอ โอกาส เพื่อมาเยี่ยมเยียนท่านได้อย่างเงียบ ๆ ท่านจะขืนขัด อัธยาศัยของคนเหล่านั้นก็ยาก เลยต้องยอมรับเยี่ยมบ้างบางราย พอให้สมควรแก่การ แต่ก็รับรองกันอย่างไม่เปิดเผยเลย เพื่อ
๖๑ รักษาธรรมเนียม ในบรรดาผู้ที่ออกมาหานั้น ถ้าคนไหนเป็นผู้ที่ ท่านราชทูตเคยได้พบเห็นมาตามทาง จากเมืองแบรสต์ถึงกรุงปารีส บ้างแล้ว ท่านก็จำคนนั้นได้ทันที และหากว่าในบรรดาผู้ที่เข้ามาหานั้น มีใครที่เคยได้แสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อท่านราชทูต มาบ้างสักนิดหน่อยก็ดี ท่านก็ยังระลึกได้ไม่ลืมเลย ท่านจำแม่น ราวกับท่านผู้นั้นพึ่งแรกเอื้อเฟื้อต่อท่านทีเดียว และท่านราชทูต ก็รับรองแข็งแรงยิ่งกว่าคนอื่น ๆ อีก เช่นภรรยาของท่านเจ้าเมือง แบรสต์คือเมืองท่าที่ท่านได้ขึ้นบกนั้น ก็ได้มาเยี่ยมเยียนราชทูต เหมือนกัน แต่แรกมาถึงท่านราชทูตก็จำได้ ท่านรีบฝ่าฝูงชนที่ ประชุมอยู่ที่นั้นตรงเข้าไปต้อนรับนางภรรยาเจ้าเมืองนั้นทันที แล้ว รับรองอย่างเอาอกเอาใจจริง ๆ ค่าที่ท่านอยากจะแสดงกตัญญู ให้ปรากฎว่า หาได้ลืมการรับรองอันดีของนางเมื่อท่านผ่านเมือง แบรสต์มานั้นไม่. ครั้นต่อมาก็ถึงกำหนดที่ราชทูตไทยจะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ต่างก็แสดงความพอใจไปต่าง ๆ แต่เป็นเคราะห์ ร้ายจริง ๆ จำเพาะเวลานั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร ไข้ ตกลงเป็นอันต้องงดการรับราชทูตเลื่อนไปรับวันหลัง ๆ เมื่อ ทรงหายประชวรแล้ว. ตั้งแต่วันที่พระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวรมา ราชทูต ก็ยิ่งถือธรรมเนียมไม่ อยากรับรองคนไปหามาสู่เคร่งครัดหนักขึ้น เพราะท่านว่า " เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงพระประชวรอยู่เป็นการ
๖๒ มิบังควรยิ่งนักที่เราจะมาพากันรื่นเริง แท้จริงเราต้องร่วมทุกข์ กับพระองค์ด้วยจึงจะควร ฉะนี้จึงของดไม่รับรองใครเลยเป็น อันขาด " หากจะมีผู้คัดค้านความเห็นของท่านในเรื่องนี้โดยอ้าง ว่าการรับรองเยี่ยมเยือน เป็นประเวณีกันที่จะต้องทำสำหรับรักษา ธรรมเนียม ไม่เห็นมีโทษผิดอะไร ท่านราชทูตก็ยังไม่ยอมอยู่นั้น เอง เพราะท่านถือเสียว่า " การไปมาหาสู่ย่อมเป็นเหตุให้เกิด ความรื่นเริงบรรเทิงใจ หาใช่เป็นการสำรวมอิริยาบถให้สมกับ ข้าเมื่อนายเจ็บไม่ ตราบใดนายเป็นทุกข์ บ่าวที่ดีก็ต้องเว้นจาก การสนุกตราบนั้น. " ดูเอาเถิดเรา ชาวฝรั่งเศสด้วยกัน การที่ไทยต่างด้าวท้าวต่าง แดนมาแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของเรา ซึ่งมิ ได้เป็นพระมหากษัตริย์ของเขาถึงเพียงนี้แล้ว เขาจะจงรักภักดี ต่อพระเจ้าแผ่นดินของเขาแท้ ๆ สักเท่าใด นึก ๆ ก็น่าชมความ ภักดีของชาวไทยซึ่งมีต่อเจ้านายเหนือตนยิ่งนัก.
บทที่ ๑๖ ว่าด้วยพระราชสาสน์และศาสนา ความเคารพของราชทูตต่อพระราชสาสน์นี้เอง อาจเป็นตัว อย่างอันดีที่จะให้เราชาวฝรั่งเศสด้วยกันเข้าใจแจ่มแจ้งว่า ความ จงรักภักดีของพลเมืองไทยซึ่งมีต่อเจ้านายของตน เป็นสิ่งที่น่า ชมถึงปานใด เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจะขอพรรณนาถึงประพฤติเหตุ
๖๓ แห่งราชทูต ซึ่งกระทำความเคารพต่อพระราชสาสน์อีกสักหน่อย หนึ่งก่อน. ในตำหนักที่พักของราชทูตนั้น ท่านอัครราชทูตได้จัดแท่น ไว้ข้าง ๆ ที่นอนของท่านแห่งหนึ่ง แล้วได้ตั้งพระราชสาสน์ไว้ บนแท่นนั้น ไม่ยอมให้อยู่ห่างออกจากท่านแม้แต่เวลาเดียว หีบสำหรับบรรจุพระราชสาสน์นั้นมีอยู่เป็น ๓ หีบ ๆ ข้างนอกแล้ว ด้วยไม่แก่นชะนิดหนึ่ง ซึ่งเราเรียกว่า " ไม้ญี่ปุ่น " หีบชั้นที่ ๒ แล้วด้วยเงิน และหีบชั้นที่ ๓ ซึ่งบรรจุพระราชสาสน์ทีเดียวนั้น เป็นหีบแล้วไปด้วยทองคำ. องค์พระราชสาสน์เองนั้น เป็นสุพรรรบัฎคือแผ่นทองคำ อย่างธรรมเนียม พระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงสยามทุกฉะบับ เพราะแผ่นอะไร ๆ อื่น ๆ แม้จะเป็นแผ่นกระดาษอย่างดีพระองค์ ไม่ทรงใช้เขียนเลย ต้องเป็นแผ่นทองจึงจะทรงเอง ( ข้อนี้ท่า จะผิดกระมัง เพราะได้ยินผู้ใหญ่เล่าว่า พระราชสาสน์ซึ่ง มีไปมาโดยทางราชการเป็นที่เปิดเผยต้องเป็นเจ้าพนักงานกรมพระ อาลักษณ์เขียนทั้งนั้น หรือว่าบางทีในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ จะทรงเขียนด้วยพระองค์เองก็ไม่ทราบ บ.ก. ) ภายนอกหีบทั้ง ๓ หีบซิ่งบรรจุพระราชสาสน์นั้นยังหุ้มห่อ ด้วยผ้าทองอีกชั้นหนึ่ง คือถ้าจะนับทั้งหีบทั้งผ้านั้นก็เป็น ๔ ชั้น แล้วภายนอกนั้นยังประทับตรา ขี้ผึ้งขาวของท่านอัครราชทูตอีกด้วย จัดอย่างประณีตบรรจงทีเดียว.
๖๔ อนึ่งทุกเวลาเช้า บรรดาราชทูตไทยก็ได้พร้อมกันนำเอาพวง ดอกไม้สดมาตั้งไว้ที่หน้าแท่นพระราชสาสน์เสมอ ทุกวันมิได้ขาด และกระทำความเคารพราวกับจะเป็นผู้คนจริง ๆ นอกนั้นถ้าเวลา ใดท่านอัครราชทูต อุปทูตหรือตรีทูตมีกิจธุระจะต้องเดิรผ่านไป หน้าพระราชสาสน์นั้นท่านก็หมอบยอบกายลงกระทำเคารพเสียก่อน โดยความยำเกรง ดังกับว่าพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงสถิตย์อยู่ที่นั้น ก็ว่าได้ แล้วท่านจึงค่อยไปทำกิจธุระของท่านต่อไปในภายหลัง. กิจปฏิบัติเหล่านี้แหละ ได้เป็นสักขีพะยานอันดีที่จะให้ เราหยั่งลงไปถึงคุณสมบัติของคนไทย ว่าดีเลิศสักเพียงใดได้แล้ว แต่บัดนี้จะขอชักอุทาหรณ์อีกอันหนึ่ง ซึ่งเห็นว่าจะเพิ่มความ เข้าใจให้ชัดขึ้นอีกในเรื่องนี้ คือราชทูตไทยทั้งหลายเหล่านี้ล้วน เป็นผู้ถือเคร่งในศาสนาของตน ไม่ล่วงละเมิดต่อข้อบัญญัติใน ศาสนาของตนแม้แต่เพียงเล็กน้อย และข้าพเจ้าได้ยินว่าพวก ราชทูตไทยนี้ทุกเวลาเช้าต่างคนต่างนั่งสำรวมใจมิได้ขาด คล้าย ๆ นักบวชกระทำกันในวัดนั้นเอง. ข้อรำพึงของเขาในเวลานั้น ได้ยินว่าเป็นการปลงอารมณ์ ลงสู่คลองสัมมาปฏิบัติตามลัทธิศาสนาของเขา เช่นรำพึงถึงกิจ วัตรที่สามีกระทำต่อภรรยาบ้าง กิจวัตรที่ภรรยากระทำต่อสามีบ้าง และกิจวัตรที่บิดามารดากระทำต่อบุตรบ้าง กิจวัตรที่บุตรกระทำ ต่อบิดามารดาบ้าง และหน้าที่ของมิตรสหายกระทำต่อมิตรสหาย บ้าง เหล่านี้เป้นต้น.
๖๕ ข้อเหล่านี้แหละ ราชทูตอ้างว่าเป็นหลักสำคัญในศาสนาของ เขา และเขาไม่ค่อยจะพอใจพวกเราบางคนซึ่งติเตียนศาสนาของ เขาว่าไม่ดีอย่างนี้ ไม่ดีอย่างนั้น ท่านราชทูตกล่าวว่า " ที่แท้การ ที่คนบางจำพวกดูหมิ่นและติเตียนศาสนาของเราว่าไม่ดีนั้น ข้อ นี้เป็นเพราะคนที่ตินั้นไม่รู้จักศาสนาของเรานั้นเอง " ( เราซึ่งเป็นคนชั้นหลังนี้ ถ้าจะออกความเห็นบ้างในเรื่องศาสนานี้ก็จะขอว่า การติศาสนาผู้อื่นเป็นกิริยาอันเลว เพราะศาสนาเป็นสิ่งที่เขาเลื่อมใส ไม่ควรจะหมิ่น และโดยมากตัวผู้ตินั้นมีความรู้ยังอ่อน ไม่เทียมเท่ากับผู้ที่ถืออยู่ ก็เลยเป็นติเขาผิด ๆ ไม่เข้าเรื่อง เหมือนกับประกาศตนว่าเป็นคนโง่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเรา เห็นว่าแทนที่จะเยาะเย้ยติเตียนเขาไม่เข้าเรื่อง ควรที่จะชมสิ่งที่ ดีและน่าชมในศาสนาของเขาดีกว่า เช่นว่าการสอนให้บุตรรัก บิดา ๆ รักบุตร สอนให้ภรรยาประพฤติให้ถูกใจของสามี ๆ ประ- พฤติให้ถูกใจภรรยา ฯ ล ฯ ดังที่ได้กล่าวมาเมื่อกี้นั้น ก็เป็นการดี มิใช่กากรชั่ว เป็นของควรชม มิควรติเลย ถึงผู้ที่ไม่มีศาสนาเล่า ถ้าเขาอยากได้ชื่อว่าเป็นผู้ดีตามภาษาโลกนิยม ก็ยังจำเป็นต้อง ถือข้อเหล่านี้เหมือนกัน เพราะเป็นวิสัยธรรมดาโลกที่จะกระทำ ดังนั้น ใครไม่ทำก็แปลกมนุษย์. เมื่อได้ยกข้อความดีมาชี้ให้เห็นดังนี้แล้ว แม้จะเปรียบ เทียบกับคำสั่งสอนในศาสนาอื่น เพื่อเป็นทางเตือนสติผู้อยากรู้ ต่อไป ก็ไม่เห็นเป็นข้อบาดหมางอันใด เช่นจะเปรียบคำสั่ง ๕ ๖๖ สอนที่ว่าให้รักพ่อและรักบุตร ฯ ล ฯ นั้นว่าเป็นคำสั่งสอนที่มีมาใน ศาสนาคริศตังเหมือนกัน แต่พิสดารกว่านี้หน่อยคือข้างนี้สอน แต่ให้รักผู้อื่น เละข้างนั้นซ้ำเพิ่มสอนให้รักพระด้วย ดังคำว่า ดังนี้ " มนุษย์จงรักพระเป็นอย่างยิ่ง และต้องรักผู้อื่นเหมือน ตน " ตกลงข้างนี้ถือความดีไว้ครึ่งหนึ่ง และข้างนั้นยังเพิ่มถือ ไว้อีกครึ่งหนึ่ง ว่าเท่านี้แล้วทิ้งให้ต่างตรองตามสติปัญญาของตน จะไปติเตียนให้เสีย ๆ หาย ๆ อีกทำไม่ ? ไม่มีผลดี บ.ก. )
บทที่ ๑๗ ราชทูตเตรียมจะเข้าเฝ้า ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงหายพระประชวรเป็นปกติดีแล้ว พระองค์จึงมีรับสั่งกับท่านมัรคีส์เดอลา- เฟอยัดว่า " เพราะเราป่วยต้องทำให้ราชทูตไทยมาคอยอยู่นาน บัดนี้เราก็หายป่วยแล้ว เจ้าคุณจงออกไปบอกเขาเถิดว่า เรา ได้กำหนดวันเข้าเฝ้าเป็นวันที่ ๑ กันยายน ให้เขาเตรียมตัวมาหา เราในวันนั้น เราจะรับ. " ท่านมัรคีส์เดอลาเฟอยัด รับพระบรมราชโองการใส่เกล้า ฯ แล้วก็รีบมาหาราชทูตและกล่าวว่า " ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นที่ยิ่ง ที่จะเรียนเจ้าคุณราชทูตว่า บัดนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายประชวรแล้ว และพระองค์ได้ทรงกำหนดให้เจ้าคุณและ ขุนนางไทยทั้งหลายเข้าไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในวันที่ ๑ เดือน ๖๗ หน้าที่ ขอเจ้าคุณได้เตรียมการให้พร้อมเสร็จที่จะเข้าเฝ้าในวันนั้น ด้วย ถ้าถึงเวลากำหนดแล้วข้าพเจ้าเองจะเป็นผู้มารับเจ้าคุณไป เจ้าคุณอย่ามีความวิตกในส่วนนี้เลย ติดขัดอย่างใดโปรดบอก ข้าพเจ้า ๆ ยินดีจะแก้ไขให้ได้การตามประสงค์ทุกอย่าง ถึงคราว ต่อไปข้างหน้าที่เจ้าคุณจะมีโอกาสไปเฝ้าพระบารมีเมื่อใด ข้าพเจ้า ยินดีจะนำเจ้าคุณไปเมื่อนั้น หากว่าเจ้าคุณไม่มีความรังเกียจ ข้า- พเจ้าจะรู้สึกเป็นเกียรติยศอย่างยิ่งด้วย " เมื่อท่านอัครราชทูตทราบข่าวน่ายินดีนั้น ท่านจึงตอบว่า "พระบารมีเป็นล้นเกล้า ฯ วันศุภมงคลซึ่งเราทั้งหลายได้อยาก พบเห็นมานมนานได้มาถึงเราแล้ว สาธุมิเสียแรงที่เราเพียรข้าม ทะเลเพื่อจะได้มาชมพระบารมี บัดนี้ก็เป็นอันจะได้ชมพระบารมี สมดังมโนรถของเราแล้ว สาธุขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ" แล้วก็สนทนากันพอสมควรแก่เวลาแล้วท่าน มัรคีส์เดอเฟอยัดก็ลาไป. ครั้นถึงวันที่ ๑ กันยายนซึ่งเป็นวันที่กำหนดนัดจะนำราชทูต เข้าเฝ้า พอได้เวลาแล้ว เจ้าพนักงานก็ได้ออกมารับบรรดาท่าน ราชทูตไทยทั้งหลายยังที่พักแล้วได้เชิญให้ขึ้นรถหลวง นำไปยัง พระที่นั่งวังเวร์ซายส์ ตามหนทางที่ไปนั้น เจ้าพนักงานได้ชี้บอก ให้ราชทูตชมวัง และบ้านขุนนางข้าราชการเป็นลำดับมาจนตลอด ทาง. เช่นได้ชี้ให้ชมพระตำหนักสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า
๖๘ "มงเซียร์ ( ซึ่งตรงกับคำไทยว่า " เจ้าฟ้าองค์น้อย " ) และบ้านท่านลูวัวเสนาบดีกระทรวงกลาโหม แล้วก็ถามท่านราชทูตว่า:- " สวย ไหมเจ้าคุณ บ้านเรือนในเมืองฝรั่งเศส ? " ท่านราชทูตตอบว่า:- " สวยงามทั้งนั้น แต่ก็ไม่น่าอัศจรรย์อะไรนัก เพราะขึ้นชื่อว่า เมืองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แล้วเป็นต้องสวย งามทั้งสิ้น เพราะไม่ว่าตึกแก้ว วังแก้วหรือของประเสริฐอะไร ๆ ทรงนึกจะได้อย่างไรเป็นต้องได้อย่างนั้นทุกประการ."
บทที่ ๑๘ ราชทูตเข้าฝ้า ราชทูตชมตึกพลาง คุยพลางดังนี้เป็นครู่ใหญ่ ๆ ก็พอดีรถ มาถึงพระที่นั่งแวร์ซายส์ ราชทูตลงจากรถหลวงแล้วเจ้าพนักงาน ก็พาให้ไปพักคอยอยู่ที่ห้องแห่งหนึ่ง ท่านราชทูตจึงได้จัดแจง แต่งตัวสำหรับราชทูตอย่างเต็มยศ ตามธรรมเนียมของบ้านเมืองไทย คือสวมเสื้อเยียระบับมีกลีบทอง และดอกไม้ทองและสวมเสื้อครุย ซึ่งดูเป็นของแปลกสำหรับนัยน์ตาเราชาวฝรั่งเศส เพราะผิดแบบ ของราชทูตเมืองอื่นเป็นอันมาก. สิ่งสำคัญซึ่งทำให้ดูราชทูตไทย ผิดกว่าราชทูตเมืองอื่นมากนั้น ก็คือหมวก หมวกไทยนั้นเป็นหมวกมียอดแหลมซึ่งเขาเรียกว่า กะลอมพอก สูงกว่าหมวกเราเป็นไหน ๆ เรียวขึ้นไปเป็นชั้น ๆ สัณฐานคล้ายกับมงกุฎ แต่ละชั้นล้วนประดับด้วยเครื่องเงินทอง
๖๙ เพ็ชรพลอยและนิจจินดาเป็นอย่างหนึ่ง ๆ และชั้นต่อ ๆ ไปก็ประ ดับด้วยวิธีอื่นอีก ดูแปลกเข้าทีมาก. พอราชทูตสวมกะลำพอกและเครื่องยศเต็มตามตำแหน่งแล้ว ก็พอดีถึงเวลากำหนดที่จะเข้าเฝ้า มีเจ้าพนักงานกรมพระราชพิธี มาอัญเชิญราชทูตว่า :- " ขอเรียนเจ้าคุณได้ทราบว่า พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรงใหญ่เวลา นี้ ถึงเวลาที่เจ้าคุณจะเจ้าเฝ้าได้แล้ว ขอเชิญเจ้าคุณตามข้าพเจ้า มาเถิด ข้าพเจ้าจะพาไป." ทันใดนั้น ก็ได้ตั้งกระบวนแห่สำหรับจะนำพระราชสาสน์เข้า ไปถวาย มีทหารสวิสอาสากองรักษาพระองค์ ๑๒ คนเดิรกำกับพระราชสาสน์อย่างกวดขัน พระราชสาสน์นั้นมีพระกลด คือร่ม ขาวซึ่งไทยเรียกเศวตฉัตรเป็นเครื่องกั้นอีก ๔ คัน สำหรับแสดง พระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินสยาม นอกนั้นที่เชิงบันได ใหญ่ยังได้มีทหารกรมมหรศพอีกเป็นหลายกอง คือทหารตีกลอง ๓๖ คน ทหารแตรเดี่ยว ๒๔ คน เมื่อริ้วกระบวนแห่เดิรเข้ามา ถึงต่างก็เป่าแตรและตีกลองรับ พอขบวนเดิรขึ้นสุดคั่นบันได แล้ว ก็ถึงพื้นท้องพระโรงที่จะเฝ้าทีเดียว กระบวนแห่ก็หยุด ท่านอัตรราชทูต จึงเดิรไปรับเอาพระราชสาสน์จากแท่นที่แห่มานั้น แล้วท่านก็ให้ตรีทูตอัญเชิญด้วยมือของตนเอง จนถึงหน้าพระ ที่นั่งต่อไป. เมื่อกระบวนเดิรเข้าไปถึงจำเพาะพระพักตรพระบาทสมเด็จ
๗๐ พระเจ้าอยู่หัว บรรดาราชทูตานุทูตไทยทั้งหลายทั้งขุนนาง ไทยที่ตามมาในกระบวน ก็พร้อมกันกราบถวายบังคมลงยังพื้นท้อง พระโรงตามธรรมเนียมบ้านเมืองไทยของเขา แล้วก็หมอบเฝ้าอยู่ ดังนั้น หาได้มีใครผู้ใดในพวกราชทูตลุกขึ้นมองหรือเพียงเงย หน้าดูแม้แต่สักคนเดียวไม่ ต่างก็นิ่งแน่อยู่กับที่ไม่มีเขยื้อนเลย. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสังเกตกิริยามรรยาท ท่านราชทูตแน่นิ่งดุษณีภาพอยู่ดังนี้ จึงมีรับสั่งว่า:- " เรายินดีอนุญาต ให้ท่านดูอะไรดูได้ตามชอบใจ จะไม่ถือว่าเป็นการบังอาจอะไร มิได้ " เมื่อท่านราชทูตได้ทราบในพระบรมราชาธิบายฉะนี้แล้ว ต่างคนนึกรู้สึกพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แล้วค่อย ๆ คลาน ไปพลางมองดูไปพลาง หาไม่ถ้าไม่ได้ยินรับสั่งอนุญาตเช่นนั้น เห็นทีจะไม่ได้ชมพระบารมีเลยสักนิดเดียว. เมื่อท่านราชทูตเงยหน้าขึ้นไปทางที่ทางประทับอยู่นั้น พระ องค์ได้ทรงกวักพระหัตถ์ให้ราชทูต เข้าไปให้ใกล้ชิดพระองค์เข้าไป อีก ราชทูตจึงถวายบังคมอีกเป็นคำรบ ๒ แล้วก็คลานเข้าไปอีก อัครราชทูตคลานไปหน้า แล้วอุปทูตตรีทูตก็คลานตามลำดับยศ กันต่อ ๆ ไป ไม่มีก้าวก่ายกันเลย. พอคลานเข้าไปอีกหน่อย ก็ถึงเชิงพระราชบังลังก์ที่ทรงประ ทับ ต่างจึงหมอบกราบลงถวายบังคมอีกครั้งหนึ่งเป็นคำรบ ๓ ครบ ตามธรรมเนียมบ้านเมืองไทยของเขา ขณะนั้นพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงลุกขึ้นรับคำนับ แล้วทรงถอดพระมาลาเป็นที่คำ
๗๑ นับตอบ แล้วท่านอัครราชทูตก็คลานขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งจนใกล้ ชิดพระองค์แล้วก็ทูลถวายพระราชสาสน์ต่อพระราชหัตถ์ ขณะ เมื่อกำลังถวายอยู่นั้น ส่วนอุปทูต ตรีทูตและขุนนางไทยทั้งปวง ต่างก็หมอบเฝ้าเป็นลำดับกันไป ไม่ได้เขยื้อนเคลื่อนไหวไปสัก กะเบียดเดียวเลย. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเอื้อมพระหัตถ์รับพระราช สาสน์แล้วจึงทรงรับสั่งกับคุณพ่อเดอลิยอน ซึ่งเป็นล่ามให้ถามถึง พระองค์สมเด็จพระนารายณ์พระเจ้าแผ่นดินสยาม ว่าทรงสำราญ พระบรมราชหฤทัยอยู่หรือประการใด เมื่อไถ่ถามได้ความสมพระ ราชประสงค์ของพระองค์แล้ว จึงมีรับสั่งให้ถามถึงเจ้าฟ้าราชธิดา ( กรมหลวงโยธาเทพ ) อีกว่ายังทรงพระสำราญเบิกบานหฤทัย เช่น อย่างสมเด็จพระราชบิดาละหรือ ? " เมื่อทรงทราบความในส่วนนี้ แล้ว พระองค์จึงทรงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ท่าน ราชทูตแถลงความปรารถนาของตนว่า:- " เจ้าคุณมีความประสงค์ ให้เราช่วยเหลืออย่างไรบ้างก็จงว่าไปเถิดอย่าเกรงใจเลย ไม่ว่าการ สิ่งใด ถ้าเป็นสิ่งที่พอจะทำได้แล้วก็ยินดีจะกระทำเพื่ออุทิศถวาย พระเจ้ากรุงสยาม พระบรมเชษฐาธิราชของเราทุกสิ่งทุกประการ." ราชทูตได้ฟังดังนั้นก็กราบถวายบังคม พนมมือขึ้นเหนือศีร์ษะ โดยดุษณีภาพ หาได้แสดงความประสงค์แต่อย่างไดอย่างหนึ่งไม่ เมื่อได้เวลาแล้วก็กราบถวายบังคมลา คลานออกไปจากท้องพระ โรงเฝ้าเหมือนเมื่อเวลาเข้ามาฉะนั้น.
๗๒ บทที่ ๑๙ ราชทูตไปเฝ้าพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อราชทูตออกจากที่เฝ้าแล้ว ก็เข้าไปเปลื้องเครื่องยศในห้อง ซึ่งเป็นที่พักเมื่อก่อนจะเข้าเฝ้านั้น แล้วได้นั่งพักผ่อนรับประทาน ของคาวหวานพร้อมด้วยเจ้าพนักงานผู้นำเข้าเฝ้านั้น การเลี้ยงคราว นี้มีของคาวหวานนานาวิกัติขัชชโภชน์ ล้วนมีรสอันเอมโอชเลิศ ต่าง ๆ และมีเหล้าฉุนเหล้าอ่อน เหล้าผสมน้ำตาลและน้ำลูกไม้ทุก อย่างทุกชะนิดพร้อมเสร็จ ครั้นรับประทานอาหารและหายเหนื่อยแล้ว ราชทูตได้แต่ง เครื่องยศอย่างเดิมอีก แล้วเจ้าพนักงานได้พาเข้าไปเฝ้าสมเด็จ พระยุพราช คือ เจ้าฟ้าโดแฟง วิธีถวายบังคมสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชองค์ใหญ่นี้ ก็ได้ดำเนิรเป็นแบบเดียวกันกับที่ได้เล่า มาแล้วในคราวเมื่อไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวนั้นเอง คือกราบลงยังภาค พื้นสิ้นสามครั้งแล้วก็หมอบนิ่งฟังกระแสรับสั่งต่อไป. ใจความที่ท่านราชทูตได้ทูลแถลงในคราวนั้น ดำเนิรเป็นทำ นองนี้ :- " ข้าพระพุทธิเจ้า ราชทูตของพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุง สยาม ขอกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบใต้ฝ่าละออกธุลี พระบาทว่า พระเจ้ากรุงสยามเจ้านายของข้าพระพุทธิเจ้า ขอแสดง ความโสมนัสส์ปรีดาปราโมทย์อันยิ่งมายังใต้เรณูบงกชมาศ แด่ พระองค์ผู้เป็นพระบรมโอรสาธิราช ของพระมหากษัตริย์อันยิ่งใหญ่ ในสกลพิภพ เป็นที่นอบน้อมเคารพแห่งขัติยาธิบดีทั่วทิศานุทิศ
๗๓ เป็นที่เกรงขามแห่งมู่ปัจจามิตร จะหากษัตริย์พระองค์ใดซึ่งได้มี ชัยชะนะต่ออริราชศัตรู เป็นที่เด็ดขาดมหัศจรรย์เสมอเท่า-สมเด็จ พระบรมชนกาธิราชในสมัยปัจจุบันนี้เป็นไม่มี เหตุนี้ พระเจ้ากรุง สยาม เจ้านายของข้าพระพุทธิเจ้าจึงทรงปรีดาปราโมทย์อย่างยิ่งใน การที่พระองค์ทรงรับทางพระราชสัมพันธมิตรไมตรี กับกรุงสยาม ในคราวนี้. อนึ่งมิจำเพาะแต่พระราชกฤษฎาภินิหารบรมเดชานุภาพ และ พระเกียรติยศ พระเกียรติศักดิ์ของพระองค์เท่านั้นซึ่งได้แผ่ไพ- ศาลไปในนานาสีมารัฐมณฑล จนทราบถึงพระเนตรพระกรรณ ของพระเจ้ากรุงสยาม เจ้านายของข้าพระพุทธิเจ้า แม้ถึงพระ เมตตาคุณ พระกรุณาคุณ พระขันตีคุณ ก็ได้แผ่ไพศาลไปทั่ว ทิศานุทิศ มีที่กรุงสยามด้วยเป็นต้น ก็เมื่อข้าพระพุทธิเจ้าได้มา ประสพเห็นสมจริงโดยประจักษ์แก่ข้าพระพุทธิเจ้าเอง ทุกอย่างทุก ประการในกาลบัดนี้ ก็เป็นอันไม่ต้องหาพะยานอีกต่อไป เพราะ เหตุฉะนี้ ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า เมื่อพระเจ้ากรุงสยามได้ทรง ทราบจากคำให้การของข้าพระพุทธิเจ้าแล้ว จะไม่ทรงปีติโสมนัสส์ อันใหญ่หลวง พระองค์คงทรงปีติยินดีหาที่สุดมิได้. บัดนี้ข้าพระพุทธิเจ้ามีความยินดีเป็นล้นเกล้า ฯ ที่จะกราบทูล ให้ทรงทราบว่า เมื่อพระองค์เป็นสมเด็จพระบรมราชโอรสแห่งพระ มหากษัตราธิราชผู้มีบุญญาภินิหาร และเกียรติศักดิ์อันมหาประเสริฐ ถึงเพียงนี้แล้ว พระองค์ก็ได้ชื่อว่าเป็นบุรุษอันประเสริฐมหัศ-
๗๔ จรรย์ ประกอบไปด้วยพระกฤษฎาภินิหารอันใหญ่ยิ่งดุจดังสมเด็จ พระราชบิดาด้วยฉะนั้น. อันว่ามิตรไม่ตรีภาพ ซึ่งพระมหากษัตริย์แห่งสยามทรงบำรุง ให้รุ่งเรืองกับสมเด็จพระบรมชนกาธิราชในครั้งนี้ สมเด็จพระ บรมชนกาธิบดีได้ทรงรับโดยเต็มพระหฤทัยยินดีฉันใด ส่วนมิตร ภาพในระวางกษัตริย์สยาม กับองค์พระยุพราชซึ่งจะสืบสันตติวงศ์ สนององค์พระชนกนาถในอนาคตกาลภายหน้านั้น ข้าพระพุทธิเจ้า ก็หวังเป็นหนึ่งแน่ว่า พระองค์จะทรงยินดีบำรุงมิให้หย่อนกว่าคราว นี้ฉันนั้น." เมื่อทูลความฉะนี้แล้ว ท่านอัครราชทูตก็ได้นำเครื่องมงคล ราชบรรณาการต่าง ๆ ขึ้นทูลถวายแด่สมเด็จพระยุพราชพลางกราบ ทูลว่า :- " ข้าพระพุทธิเจ้าขอกราบทูลให้ทรงทราบฝ่าพระบาท พระ อาชญาไม่พ้นเกล้าฯด้วย ข้าพระพุทธิเจ้านำเครื่องบรรณาการแต่ เพียงเล็กน้อยมาถวายพระองค์ในครั้งนี้ หาสมกับพระเกียรติยศ ของพระองค์ไม่ เพราะเป็นการรีบด่วนหาทันได้เลือกเฟ้นแต่ของ ประณีตให้สมกับพระบารมีของพระองค์ไม่." เมื่อเสร็จการเฝ้าสมเด็จพระยุพราชแล้ว ท่านราชทูตได้พากัน ไปเฝ้าพระองค์เจ้าเลอดึกเดอบุร์คอญ ผู้เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ ของพระยุพราชนั้น และพระองค์เจ้าเลอดึกเดอบุร์คอญนี้ยังทรง พระเยาว์อยู่ ท่านราชทูตจึงถวายตุ๊กตาเครื่องเล่นต่าง ๆ ซึ่งพระเจ้า กรุงสยามและสมเด็จพระราชธิดากรมหลวงโยธาเทพได้ จัดส่งมา
๗๕ ถวายพลางทูลว่า :- " ขอพระองค์ทรงเล่นให้เป็นที่สำราญพระหฤทัย เถิด ถ้าพระองค์ทรงชอบพระทัยแล้วขอให้รับสั่งให้ข้าพระพุทธิ เจ้าทราบด้วย ข้าพระพุทธิเจ้าจะจัดการส่งมาถวายอีกใหม่." วันนั้นควรที่ราชทูตจะไปเฝ้าพระชายา ของพระยุพราชด้วยจึง จะถูกระบอบธรรมเนียมของราชทูตผู้เจริญทางพระราชไมตรี แต่ หาได้ไปเฝ้าในวันนั้นไม่ เพราะเดิมท่านราชทูตไทยก็ตั้งใจจะไป เฝ้าด้วยเหมือนกัน แต่เผอิญพระนางพึ่งประสูติพระโอรสยังไม่ หายประชวรดี ไม่สามารถจะต้อนรับปราศรัยกับราชทูตโดยปกติ ได้ จึงต้องงดไม่ได้ไปเฝ้าพระนางในวันนั้น. ในวันเดียวกันนั้นราชทูตยังได้เฝ้าพระราชโอรส และพระราช นัดดาอีกหลายพระองค์ เช่นมงเซเญอร์ เลอดึก ดังชู และมงเซ เญอร์ เลอดึก เดอเบรี เป็นต้น และในทุกแห่งที่ได้ไปเฝ้าท่าน ได้ทูลโดยถ้อยคำสมควรกับฐานะอันสูงศักดิ์ของราชตระกูลที่ท่าน ไปเฝ้านั้นทุก ๆ องค์. ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ ๔ เดือนกันยายน มงเซียร์โอแบร์ต เจ้าพนัก งานกรม พระราชพิธีได้นำรถหลวงมารับราชทูตไปเฝ้าสมเด็จพระ เจ้าน้อยยาเธอ มงเซญอร์ เลอดึก เดอชาร์ต ณพระระเบียงโถง แห่งวังแซงคลูด์ วันที่ ๕ มงเซียร์เดอบอเนยเจ้าพนักงานกรม พระราชพิธีก็ได้มารับราชทูตไป เฝ้าหม่อมเจ้าหญิงมาเดอมัวแซ็ล ดอร์เลอัง ในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ มงเซเญอร์ เลอดึก เดอ ชาร์ตที่วังลึกซังบูรค์ และนอกจากได้เฝ้าหม่อมเจ้าหญิงดังที่ได้
๗๖ กล่าวมา ยังซ้ำได้เฝ้ามาดำ ลาครังด์ ดึแชส ซึ่งเป็นพระมารดา ของท่านด้วย. บทที่ ๒๐ ราชทูตไปดูทหารขุดคลอง. เมื่อเสร็จการเฝ้าแหนพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุ- วงศ์แล้ว เจ้าพนักงานได้เชิญราชทูตไปดูวังเวร์ซายส์ก่อน เพราะ วังนั้นเป็นศรีเมืองแท้ ๆ ควรเป็นที่ทัศนายิ่งกว่าถิ่นถานใด ๆ หมด ในเมืองฝรั่งเศส ทั้งประจวบเหมาะกับการที่เขากำลังขุดคลอง ใหญ่ด้วย ก็ยิ่งเห็นเป็นการควรที่จะพาราชทูตไปดูเพราะจะได้ แลเห็นวิชชาช่างฝรั่งเศสว่าเป็นอย่างไร ด้วยว่าคลองนั้นมิจำเพาะ แต่เพียงขุดดินให้เป็นลำคลองเท่านั้น เป็นการละเอียดยิ่งกว่านี้เป็น อันมาก ต้องสร้างสะพาน, ฝังท่อน้ำ, ทำเขื่อนและอะไรต่อ อะไรพิสดาร สำหรับจะนำน้ำในแม่น้ำเออร์ให้ไหลเข้าไปสู่บริเวณ ของวังเวร์ซายส์อีกด้วย ใครไปแลเห็นการใหญ่โตดังนี้แล้วจะ อดชมพระบารมีของพระเจ้าหลุยส์มหาราชไม่ได้ ว่าพระองค์ทรง พระกฤษฎาภินิหารอันล้นพ้น จึงทรงสามารถสละพระราชทรัพย์ เพื่อสถาปนาพระที่นั่งเวร์ซายส์ ให้เป็นที่มเหาฬารได้ถึงเพียงนี้ ธรรมดาพระราชาก็มีขีดขั้น ในการใช้สอยพระราชทรัพย์เหมือน มนุษย์บุทคลธรรมดาเหมือนกัน ถ้าเกินกำลังก็ทำไม่สำเร็จดุจ เดียวกับคฤหบดีที่จะสร้างเคหสถานสำหรับตัวอยู่นั่นเอง ต้อง
๗๗
คาดกำลังทรัพย์สมบัติของตนเสียก่อนจึงจะสำเร็จ.
อนึ่ง เหตุสำคัญอีกอันหนึ่งที่ได้เป็นเหตุให้นำราชทูตไปดูงาน ขุดคลองในบริเวณวังเวร์ซายส์นั้น ก็เพราะว่าผู้ที่ขุดคลองนั้นล้วน เป็นทหารทั้งสิ้น ( เพราะเวลานี้เป็นเวลาว่างราชการสงคราม แทน
ที่จะบำรุงทหารให้กินนอนและหัดเดิรเล่นเปล่า ๆ ในบริเวณโรง ทหาร ก็ได้จัดให้ทำการที่มีผลประโยชน์และเพิ่มศรีแก่บ้านเมือง เช่นการขุดคลองนี้ บ.ก. ) ถึงโดยว่าทหารจะทำการขุดคลองอยู่ ก็ดี จะทำสัญญาให้เจ้าระเบียบเข้าแถวตามกระบวนยุทธวิธีต่าง ๆ ให้ดูก็ได้ง่าย ๆ และทั้งราชทูตไทยก็อยากจะดูทหารฝรั่งเศสเป็น อันมาก จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีสำหรับราชทูตชมทหารด้วย จะได้เห็นคราวเดียวถึง ๒ อย่างก็เลยพาราชทูตไปดูการขุดคลอง.
( ความที่ตรงนี้ช่างชวนให้ข้าพเจ้าผู้แปลหวนนึกไปถึงพระราช พงศาวดารกรุงเก่าตอนหนึ่ง คือตอนที่ว่าถึงราชทูตไปดูทหารแม่น ปืนนั้นเอง ขำพิลึก จะขอคัดหน่อย ใจความในพระราชพงศา- วดารตอนนั้นมีว่า " ขณะนั้นทหารฝรั่งเศสแม่นปืน ๕๐๐ คนแบ่ง กันเป็นสองพวก ข้างละ ๒๕๐ แล้วต่างก็ยืนเป็นสองแถวยิงปืน ให้กระสุนข้างนี้กรอกเข้าไปในลำกล้องปืนข้างโน้น และข้างโน้น ก็ยิงตอบเข้ามาให้กระสุนกรอกเข้าไปในลำกล้องปืนข้างนี้ แล้ว ราชทูตให้อาจารย์แต่งศิษย์มาสำแดงวิชชาถวาย เมื่อทหารฝรั่ง เศสระดมกันยิงปืน ไฟปากนกไม่ติดดินดำบ้าง แล้วอนุญาตให้ ติด แต่ให้กระสุนตกตรงปากกระบอกบ้าง ตกห่างออกไปบ้าง
๗๘ แต่ไม่มีฤทธิถึงกับจะไปถูกต้องทหารไทยเลย ฯ ล ฯ " โท่ ช่างเขียนเล่นให้คนเซอะหลงเชื่อได้ ถ้าพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ ยังอยู่และทรงทราบเรื่องนี้คงทรงพระศรวลก๊ากใหญ่เป็นแน่ เพราะเป็นเรื่องน่าหัวเราะมิใช่น้อย แต่นึกไปนึกมาการที่จับปด เล่นในเรื่องพงศาวดารได้ถึงเพียงนี้ดูเป็นที่น่าสลดใจนัก เพราะ ทำให้นักเรียนเสื่อมศรัทธา คลายความเลื่อมใสในคำให้การแห่ง พงศาวดาร ด้วยว่าเมื่อตนกำลังอ่านพงศาวาดารนั้น ใช่จะมี พระครูยืนกำกับคอยตักเตือนอยู่เสมอว่า ข้อนี้จริง เชื่อได้ ข้อ นี้เขียนเล่น ข้ามไปเถอะ " จริงอยู่การเขียนพงศาวดารเป็นของยาก เพราะบางข้อจับ ความจริงไม่ค่อยจะได้ แต่สิ่งที่รู้จริง ๆ ทำไมยังเปลี่ยนรูปให้ เป็นอื่นไปได้เล่า ? ไม่มีหิริโอตตัปปะแลหรือ ? ทุกวันนี้ลวงกัน ยากกว่าก่อนหน่อย แต่กระนั้นก็ยังต้องระวังเมื่ออ่านเหมือนกัน เพราะยังอาจพบคนที่เขียนลวงให้ผู้ไม่รู้เท่าเชื่อถืออยู่บ้าง เช่น ข้อความใดเกี่ยวข้องกับผู้ที่ตนชอบ ข้อความเรื่องนั้นอาจกลาย เป็นเรื่องงามไปหมด แต่ถ้าเกี่ยวกับผู้อื่นซึ่งตนไม่สู้จะชอบ ความดีของเขาอาจศูนย์หายไปหมดไม่ปรากฎให้คนเห็น หรือ ว่ากล่าวบ้างแต่พอสังเขป เพื่อกันมิให้มีข้อครหาว่าแกล้งปิดบัง เท่านั้น ทุกวันนี้การที่จะปั้นลมปั้นน้ำให้เป็นตัวเหมือนสมัยก่อน ค่อนข้างยาก ๆ อยู่ เพราะนักรู้ออกจะหนาแผ่นดินอยู่แล้ว แต่ พิเคราะห์ดูอาการพวกนักเขียนชะนิดนั้น หากว่าโอกาสให้ดูเหมือน
๗๙ คนจำพวกนี้ จะยังไม่สิ้นความพยายามที่จะลวงให้ผู้อื่นซึ่งไม่รู้เท่า หลงเข้าใจความผิด ๆ ถูก ๆ อยู่เสมอ นักคดีชะนิดนี้เต็มที. บ.ก.) เมื่อตกลงเห็นดีด้วยกันทั้งสองฝ่าย ว่าจะไปดูทหารขุดคลอง ในบริเวณวังเวร์ซายส์ฉะนี้แล้ว เจ้าพนักงานจึงได้จัดให้ราชทูตมา พักอยู่ที่สำนักเดอแมงตะนง เพราะเป็นที่เหมาะสำหรับการแสดง วิธีต่าง ๆ เช่นสวนสนามเป็นต้น ในกระบวนทหารที่ออกมาแสดง ในโอกาสนี้ มีอยู่เกือบ ๒๐ กองต่าง ๆ คือกองบีการ์ดี (ฝ่ายพยัพ ) กองชังปาญ ( ฝ่ายทิศปราจิณ ) กองนาวาร์และกองลังคะด๊อก ( ฝ่ายทิศใต้ ) แล้วก็ยังมีกองเพอเกียร์ กองครึซอล กองลาแฟร์ กองรักษาพระองค์ กองอัลซาสคองโดเบอกูร์ กองเดอลิยอง กอง โดแฟง กองพระราชินี กองดังชู กองเดอแวร์มังดัว กองทหาร เรือ กับกองม้ารำทวนดราคง ( มังกร ) อีก ๓ กอง. นอกจากนั้น ยังมีกองทหารพิเศษอีกกองหนึ่งต่างหากสำหรับ คอยตามราชทูตเป็นกองเกียรติยศไปทุกแห่ง และเมื่อราชทูต กลับยังตำหนักที่พักก็ยืนเฝ้าพิทักษ์อยู่โดยรอบ ทั้งกลางคืนและ กลางวัน กองเกียรติยศนี้แต่งเครื่องแบบเต็มยศมีสวมเสื้อคอ ยาวแขนยาวเป็นต้น ดูสง่างามที่สุด. ถ้าจะบรรยายถึงสิ่งทั้งหลายบรรดาซึ่งเป็นที่พอใจของราชทูต ในคราวนั้นให้สิ้นเชิงแล้ว ก็จะมีมากมายนัก ฉะนี้ข้าพเจ้าจำเป็น ต้องขออนุญาตย่นลงกล่าวแต่สิ่งที่สำคัญ ๆ บางอย่างเท่านั้น แต่ ก่อนที่จะกล่าวถึงสิ่งอื่น จะย้อนกลับไปกล่าวถึงคำพูดของท่าน
๘๐ ราชทูตซึ่งข้าพเจ้ายังไม่ได้เปิดเผย โดยที่เห็นว่าสมควรจะสงวน ไว้มิให้ศูนย์ เพราะเป็นคำแสดงน้ำใจของราชทูตว่าเป็นอย่างไร ได้ดี ๆ ได้ส่วนหนึ่ง จึงได้นำมาแสดงให้ปรากฎเสียในบัดนี้. คือคราวเมื่อราชทูต ออกจากที่เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวคราวถวายพระราชสาสน์นั้นแล้ว เย็นวันนั้นขณะท่านกำลัง นั่งโต๊ะรับประทานอาหาร พร้อมด้วยขุนนางไทยและขุนนางฝ่ายฝรั่ง เศสเป็นอันมาก จึงท่านมงเซียร์สตอร์ฟ เจ้าพนักงานประจำดูแล ราชทูตซึ่งรับประทานอาหารอยู่ด้วยนั้น สังเกตเห็นท่านอัครราชทูต ไม่ค่อยจะรับประทานกี่มากน้อย ผิดกว่าทุกคราวมาดูสา- ละวนแต่จะตรึกตรองถึงอะไรต่ออะไรอยู่ เห็นไม่ชอบกลกลัว ท่านอัครราชทูตจะไม่สู้สบาย หรือจะเหน็ดเหนื่อยอะไรสักอย่าง ท่านจึงซักถามท่านอัครราชทูตว่า " เจ้าคุณเป็นอะไรหรือ จึงดู ไม่ค่อยรับประทานอาหาร ? " ท่านอัครราชทูตจึงตอบว่า " จะได้ เป็นอะไรก็หามิได้ ขอท่านจงอย่ามีความวิตกถึงเราเลย เหตุที่ เราไม่ค่อยจะรับประทานอะไรเหมือนวันอื่นนั้น มิใช่เพราะเหตุ ไกลอะไรที่ไหนมิได้ เป็นเพราะวันนี้เราได้มีโอกาสชมพระบารมี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส ซึ่งเรากระหาย อยากชมมานมนานแล้ว บัดนี้เราได้ชมพระองค์สมมะโนรถ แล้วเราจึงไม่ค่อยหิวเหมือนวันธรรมดา ความอิ่มใจเลยให้อิ่ม กายไปด้วยและความอิ่มหนำสำราญใจนี้ ตลอดชีวิตของเรา ๆ จะมิลืมเลย. "
๘๑ บทที่ ๒๑ ราชทูตไปดูป้อม " เดอลาบัสตีย " และ วัง " แองวาลิด " ครั้นต่อมาบรรดาราชทูตได้พากันไปดูป้อมเดอลาบัสเตีย ซึ่ง เป็นป้อมมีชื่อเสียงมากตั้งอยู่กลางพระนคร เป็นดังกรมสรรพา วุธก็ว่าได้ ผู้ที่นำท่านราชทูตไปนั้น ได้อธิบายให้ท่านฟังว่า " บรรดาเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ที่มีอยู่ในป้อมนี้นั้นไม่ว่าเวลาใด พอ ที่จะแจกจ่ายให้แก่ทหารออกไปสนามรบ ได้ประมาณสักสามหมื่น คนอยู่เป็นนิตย์ นอกจากคลังสรรพาวุธนี้ยังมีป้อมอื่น ๆ ในทั่ว พระราชอาณาจักร์ที่พร้อมด้วยอาวุธต่าง ๆ เหมือนป้อมนี้อีกกว่า ๒๐ ป้อม." ( สำหรับนักเรียน ที่ยังไม่ทราบต้นสายปลายเหตุขอป้อม เดอลาบัสตียนี้ ทั้งสำหรับผู้อื่นซึ่งอาจรู้ความเป็นจริงไม่สู้ถูกต้อง ข้าพเจ้าจึงขอโอกาสเพื่อชี้แจงโดยสังเขปว่า " ป้อมเดอลาปัสตีย นี้ เดิมทีเป็นป้อมใหญ่มั่นคง สร้างมาครั้งโบราณเมื่อศก ๑๓๖๙ ( คือ ๕๐๐ กว่าปีก่อนปีที่กำลังแปลเรื่องนี้ ) ป้อมนี้ใช้ได้หลาย อย่าง อย่างหนึ่งใช้เป็นป้อมตรง ๆ คือใช้ป้องกันกรุงปารีสเมื่อ เกิดศึกและอีกอย่างหนึ่งใช้สำหรับคุมขังนักโทษแผ่นดินที่ต้องโทษ อุกฉกรรจ์ มีพวกก่อการกำเริบกลางเมืองเป็นต้น คือว่าเป็นทั้ง ป้อมทั้งคุก. ก็อันว่าคุกตะรางหรือเรือนจำนี้ ย่อมเป็นที่นิยมนับถือว่า ๖ ๘๒ ดีของพลเมืองดีฉันใด ก็ย่อมเป็นที่เกลียดชังของพลเมืองพวก ทุจริตฉันนั้น. เหตุนี้เมื่อคราวที่เกิดมหากลียุคขึ้นกลางเมืองฝรั่งเศส ล้าง วงศ์เจ้านาย และเลิกถอนธรรมเนียมการปกครองโดยทางราชาธิปตัย เปลี่ยนเป็นอย่างประชาธิปตัย เมื่อศักราช ๑๗๘๙ นั้น พวกขบถ ได้พยายามจนสุดกำลังที่จะบุกรุกเข้าไปปล่อยนักโทษทั้งหลายที่อยู่ ในป้อมเดอลาบัสตียนี้ให้ออกมา เพื่อช่วยกันก่อการกำเริบต่อ ไป และเมื่อสำเร็จการชั้นนี้แล้วพวกขบถเหล่านั้นก็ได้พร้อมใจ กันรื้อถอนป้อมนั้นเสีย มิให้เหลือแม้แต่อิฐสักแผ่นเดียวหรือ ศิลาสักแท่งหนึ่ง เพราะต่างเข้าใจกันเสียว่าป้อมนี้เป็นเครื่อง หมายอำนาจของพระราชาอย่างสำคัญ ควรต้องล้างให้ศูนย์จงได้ การทำลายคุกเดอลาบัสตียนี้ สำเร็จลงในวันที่ ๑๔ เดือน กรกฎาคม เหตุนี้แต่นั้นมา พวกข้างฝ่ายประชาธิปตัยซึ่งเป็นผู้ยึด ถืออำนาจในประเทศจึงได้เลือกตั้งวันที่ ๑๔ กรกฎาคมนั้นสำหรับ เป็นวันที่ระลึกของชาติฝรั่งเศส คือว่าเป็นวันล้างอำนาจพระราชานั้น เอง ซึ่งที่แท้พลเมืองฝรั่งเศสเป็นอันมากพากันติเตียนอย่างแรง ว่า หาใช่เป็นการศุภมงคลไม่ เพราะว่าผู้ที่ยังถือฝ่ายข้างพระ ราชาธิปตัยว่าเป็นการปกครองที่ดีก็ยังมีอยู่อีกอะโข และการที่ มาตั้งวันนั้นเป็นวันมงคล ก็เท่ากับสะกิดหัวใจให้พวกเขาระลึกถึง ความหยาบช้าทารุณของพวกขบถและให้เจ็บแค้นมิรู้หายนั้นเอง. ฉะนี้คนเป็นอันมากทั่วเมืองฝรั่งเศสโดยไม่เลือกว่าเลื่อมใส
๘๓ ไปข้างราชาธิปตัยหรือประชาธิปตัย เห็นว่าควรเลือกตั้งวันอื่น เป็นวันฉลองชาติ โดยมิให้เป็นที่บาดหมางแก่ผู้ใด เช่นวัน ฉลองนางยานดาร์กเป็นต้น ซึ่งได้ทำคุณให้แก่ชาติโดยไม่มีใคร รังเกียจ ไม่ต้องแบ่งชาติเป็นสองฝ่ายดังนี้จะดีกว่า. บ.ก. ) เมื่อราชทูตดูป้อมเดอลาบัสตียเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานจึง ได้พาไปที่วังแดส์แองวาลิด ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงสร้าง ขึ้นไว้ สำหรับเป็นที่สำนักอาศัยแห่งพวกทหารของพระองค์ซึ่งพิการ มาแต่การสงคราม และทำมาหากินต่อไปไม่ได้ ( ทุกวันนี้วัง นี้ก็ยังมีทหารพิการอยู่อาศัย แต่คนในสมัยนี้มิฉะเพาะแต่เห็น ว่าวังนั้นเป็นที่สำคัญ เพราะเหตุเป็นที่อาศัยของพวกทหารพิการ เท่านั้น ยังถือเป็นที่สำคัญน่าไปทัศนาดูอีก เพราะที่โบสถ์ใน วังนั้นเป็นสถานที่ฝังศพของพระเจ้านาโปเลียนด้วย. บ.ก. ) เมื่อราชทูตไทยได้ไปแลเห็นบรรดาทหารพิการเหล่านั้น ซึ่ง ล้วนแต่สวมเสื้อสะอาดเรียบร้อย ซ้ำมีเจ้าพนักงานประจำสำหรับ พิทักษ์รับใช้ดูแลปฏิบัติอย่างคนใช้ในบ้านเศรษฐี และมหาดเล็ก เด็กชาตามวังของเจ้านาย ดูเป็นที่สบายราวกับขุนนางแก่ชราที่ ลาพักราชการไม่มีกังวลอะไร นั่ง ๆ นอน ๆ อยู่กับบ้านก็ได้รับ พระราชทานเบี้ยบำนาญเรื่อยไป รอให้หมดไปวันหนึ่ง ๆ จนกว่า ชีวิตจะหาไม่เท่านั้น. ท่านอัครราชทูตจึงเปล่งอุทานวาจาขึ้นว่า " อ้อ เราได้มา ประสพเงื่อนแห่งปัญหาเข้าแล้ว บัดนี้เราทราบได้ดี ๆ แล้วว่า
๘๔ ทำไมพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส จึงทรงมีแต่ชัยชะนะเสมอ ไป พึ่งมาเห็นแจ้งเดี๋ยวนี้เอง " เจ้าพนักงานจึงถามว่า " เห็นอย่างไรกันเจ้าคุณ ? " - " อ๋อ คือเราเห็นว่าการที่พระองค์มีแต่ทรงชัยชะนะอยู่เสมอ นั้น เป็นผลานิสงส์ที่พระองค์ทรงทนุบำรุงทแกล้วทหารของพระ องค์เช่นเดียวกับบิดาทนุบำรุงบุตรฉะนั้น ทหารจึงรักพระองค์ เหมือนบุตรที่ดีมีกตัญญูรักบิดา ถึงคราวมีราชการสงครามต่าง จึงเต็มใจยอมถวายชีวิตของตน เพื่อสนองพระเดชพระคุณของพระ องค์ ๆ จึงมีชัยเสมอ." ดูเอาเถิดเราชาวฝรั่งเศสด้วยกัน เราก็เคยได้อ่านคำยอ- พระเกียรติสรรเสริญพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์มหา ราชของเราเป็นอเนกประการมาแล้วมิใช่หรือ ? ก็ใครเล่าเคยได้ อ่านข้อที่ถูกที่เป็นจริง เหมือนคำชมเชยของท่านอัครราชทูตไทยคำ นี้ มีบ้างไหม ? ส่วนข้าพเจ้าเห็นว่าคำสรรเสริญสั้น ๆ ซึ่งท่าน เปล่งออกมาโดยน้ำใสใจจริงของท่านนี้ มีน้ำหนักยิ่งกว่าคำชม เชยอื่น ๆ เป็นอันมาก. บทที่ ๒๒ ราชทูตไปดูละคอนอิตาเลียน. เมื่อราชทูตจากวังแองวาลิดนั้นแล้ว ก็ได้เลยไปดูละคอน อิตาเลียน ซึ่งในสมัยนั้นนิยมกันว่าเล่นดีมีชื่อเสียงปรากฎทั่วพระ
๘๕
นครปารีส พอย่างเข้าไปในโรงละคอนนั้นก็ได้เห็นห้องใหญ่ น้อยและชั้นฉากดูงดงามมาก ผู้นำทางจึงถามราชทูตว่า " ท่าน เห็นเป็นอย่างไร ? งามไหม ? " ท่านราชทูตก็ตอบว่า " ขึ้นชื่อว่า เมืองปารีสแล้ว ไม่ว่าจะดูไหน ก็ล้วนงามเป็นขวัญตาไปทั้งนั้น โรงละคอนอิตาเลียนนี้เราเห็นว่าเป็นโรงละคอนที่งามวิลัยเลิศ หา มีโรงละคอนอื่นเสมอสองมิได้."
ส่วนเจ้าของโรงละคอนชื่อ ซิญอร์ซินเทียว เป็นชาวอิตา เลียน ได้ทำปฎิสันถาวรปราศรัยกับราชทูตว่า " ข้าแต่ท่านราชทูต ผู้มาแต่ไกล ท่านมาคราวนี้ เปรียบประดุจหนึ่งว่าท่านมาฉายแสง พระบารมีของพระเจ้ากรุงสยามให้ส่องสว่างมาถึงเรา เราได้แล เห็นดวงหน้าอันฉลาดของท่าน ก็ให้นึกว่าเหมือนกับได้เห็น บริมณฑลพระพักตร ของสมเด็จพระนารายณ์พระมหากษัตริย์ของ ท่าน เป็นบุญของเรานักหนา ที่ท่านมิได้มีความย่อท้อต่อความ ลำบาก อุตส่าห์ฝ่าคลื่นฝืนลมมาให้เราได้เชยชมฉายาพระบารมี ของพระเจ้ากรุงสยาม แต่บัดนี้ไปเราจะได้รู้ได้ฟังประพฤติเหตุ ความเป็นไปของกรุงศรีอยุธยาและชมพูทวีปก็เพราะท่าน ที่เรา ได้มาทราบว่าประเทศสยามเป็นประเทศใหญ่ มีมละประเทศซึ่ง ล้วนแต่ทรงอิสสรภาพอยู่ในอาณาจักรของตน ๆ มาขึ้นกับกรุงศรี- อยุธยาถึง ๑๑ นคร ก็เพราะท่านได้นำข่าวมาให้เราทราบทั้งสิ้น แท้จริงตามที่เรารู้เห็น ในบัดนี้เราสันนิษฐานว่าทางรัฐประสาสโนบาย สำหรับปกครองบ้านเมืองแล้ว เมืองไทยเป็นเมืองที่ดำเนิรเข้า
๘๖ สู่ทางเจริญดี น่าที่ชาติทั้งหลายจะถือเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เท่ากับที่ เมืองไทยเพียรจะถ่ายแบบอย่างจากเราฉะนั้น. เหตุฉะนี้ การที่ราชทูตแห่งประเทศที่เจริญถึงเพียงนี้ได้มา ชมโรงละคอนของเรานี้ เราถือเป็นเกียรติยศอันใหญ่ยิ่ง ส่วน ท่านทั้งหลายเล่า จะค้างแรมอยู่ในเมืองฝรั่งเศสนี้นานตราบใด ขอเชิญมาดูละคอนของเรานี้สิ้นกาลตราบนั้น ไม่ว่าเป็นวันเวลาใด เรายินดีเล่นให้ท่านดูท่านชมอยู่ทุกเมื่อ. อนึ่ง เมื่อท่านกลับไปถึงบ้านเมืองของท่านแล้ว ขอท่านได้ โปรดนำความเห็นของเราขึ้นกราบทูล ให้พระเจ้ากรุงสยามทรงทราบ ด้วยว่า เวลานี้เราชาวละคอนฝ่ายตะวันตกนี้ รู้สึกว่าเป็นพระ เกียรติยศอันใหญ่ยิ่งของกรุงสยาม และของสมเด็จพระนารายณ์ใน การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์มหาราช ซึ่งไม่ว่าเจ้านายประเทศ ใดในสากลโลก มีแต่จะยำเกรงนับถือพระบารมี พากันสรรเสริญ พระองค์เป็นเสียงเดียวว่าพระองค์ดำรงทศพิธราชธรรม อย่างประ เสริฐ ได้ทรงยินดีกระทำมิตรไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์มหา ราชเจ้ากรุงสยาม นี่ก็เป็นพะยานให้เห็นชัดว่าทั้งสองพระนคร กำลังจะดำเนิรเข้าสู่ทางเจริญวัฒนาการ หาประเทศอื่นเสมอ เหมือนมิได้." ครั้นต่อมาวันหนึ่ง ราชทูตแสดงความประสงค์ที่จะชมเชย ภูมิประเทศแห่งกรุงปารีส ว่าจะมีลักษณะสัณฐานเป็นอย่างไร เจ้า พนักงานจึงได้พาท่านไปที่มงมาร์ตร์ ซึ่งเป็นเนินสูง ๆ ตั้งอยู่เกือบ
๘๗ ตรงสูนย์กลางแห่งพระนคร เมื่อท่านขึ้นไปบนยอดเนินนั้นแล้ว แลเห็นเมืองปารีสได้ถนัดทุก ๆ ด้านก็ชอบใจ ท่านจึงพูดกับเจ้า พนักงานผู้พาไปนั้นว่า :- " ภูมิประเทศตามที่ได้เห็นนี้ คาดคะเน ว่าเมืองปารีสกับกรุงศรีอยุธยาถ้าจะว่าโดยขนาดโตเล็ก เห็นทีจะ ไม่สู้ผิดกันนัก แต่ถ้าจะเทียบเคียงพลเมืองทั้งสองพระนครแล้ว เห็นทีจะผิดกันไกล ตั้งห้าหกเท่าเป็นแน่ เพราะว่าที่กรุงปารีสนี้ บ้านเรือนล้วนแต่มี ๕ ชั้นบ้าง ๖ ชั้นบ้างสิ้นทั้งนั้น ส่วนบ้าน เรือนข้างกรุงศรีอยุธยานั้น มีแต่ชั้นเดียวทั้งสิ้น จึงคาดคะเนว่า พลเมืองข้างนี้คงจะมากกว่าข้างโน้น " ( ถ้าเป็นทุกวันนี้ ราชทูตคงออกเห็นผิดกันกับวันนั้น อีก เพราะขณะนั้นพระวิหารที่ชาติฝรั่งเศสสร้างอุทิศถวายพระ หฤทัยซึ่งเป็นโบสถ์อันงามยิ่ง และใหญ่โตที่สุดในกรุงปารีสก็ยังไม่ มี พึ่งมีเป็นครั้งแรกก็ในราว ๔๐ กว่าปีมานี้เอง และทั้งพึ่งจะแล้ว เสร็จลงในเดือนพฤศจิกายน ศก ๑๙๑๙ นี้ด้วยซ้ำ ในงานสมโภช พระวิหารนี้มีพระมหาสังฆราชมาประชุมกันถึง ๑๑๐ องค์ และมี พระสงฆ์และสัปบุรุษพากันมาจากประเทศต่าง ๆ อีก นับตั้งหมื่น ตั้งแสน ) ต่อมาอีกวันหนึ่ง มงเซียร์ เดอบอเนย เจ้าพนักงานกรมวัง ได้พาราชทูตไปหาเสนาบดี เดอครัวซี การไปคราวนี้เป็นไปโดย เรียบร้อยตามธรรมเนียม ราชทูตสวมกลำพอกของเขาตามเคย ตอนเมื่อลาท่านเสนาบดีกลับนั้น ท่านเสนาบดีได้ส่งราชทูตถึง
๘๘ เชิงบันได แม้อัครราชทูตจะเชิญให้ท่านกลับแล้วกลับเล่า ท่าน ก็ไม่กลับ. ต่อนั้นมาราชทูตก็ได้ไปเฝ้าเจ้านายเชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่อีกองค์ หนึ่ง ทรงพระนามว่า เลอดึก เดอรบูร์บง แต่ไม่ได้เฝ้าอยู่นาน เพราะเป็นเวลาค่ำมากเสียแล้ว พอทูลถึงเรื่องที่เข้ามาเมืองฝรั่ง เศสนี้บ้างเล็กน้อยแล้วพระองค์ท่านก็รับสั่งว่า " ท่านอย่าวิตกเลย ถ้าเราสามรถจะเชื่อมทางพระราชสัมพันธมิตรไมตรีระวางเมืองฝรั่ง เศสกับเมืองไทย ให้ยิ่งสนิทสนมกว่าที่เป็นมาในเวลานี้ได้เพียงใด เรายินดีจะช่วยเหลือให้สำเร็จโดยเต็มกำลังของเราเพียงนั้น รับ สั่งเท่านี้แล้ว ราชทูตก็ทูลลากลับมายังที่พัก.
บทที่ ๒๓ ราชทูตไปดูพระที่นัง " ลูฟร์ " ต่อมาราชทูตได้ไปดูพระราชวังลูฟร์เก่า มงเซียร์เซแคง ซึง เป็นเจ้าพนักงานรักษาพระที่นั่ง ก็ได้ออกมาต้อนรับท่านราชทูตถึงที่ หน้าพระลานแล้วเชิญเข้าไปข้างใน. ชั้นแรก พวกราชทูตได้ผ่านไปทางหน้าห้องพวกสิวสอาสาซึ่ง มีประจำอยู่สำหรับพิทักษ์รักษาวังนั้นร้อยคน แล้วก็ได้เข้าไปใน ห้องพระบรรทมของสมเด็จพระพันปี คือพระราชมารดาของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งในเวลานั้นเสด็จสวรรคตเสีย แล้ว ทรงพระนามว่าพระราชินีมารีเทเรส เป็นพระราชธิดาของ ๘๙ พระเจ้าแผ่นดินสเปญ. ห้องพระราชินีนั้น ภายในล้วนประดับด้วยของเก่าโบราณ ทั้งสิ้น แต่กระนั้นก็ยังดูวิจิตรงดงามอยู่โดยมาก เมื่อเข้าไปแล้ว จะหันดูซ้ายขวาหน้าหลังก็มีแต่ลายกระหนกทองไปทั้งนั้น ครั้น ราชทูตชมห้องพระราชินีเสร็จแล้วก็ไปดูห้องสรง และบรรดา ห้องซึ่งเคยเป็นที่ประทับอื่น ๆ อันล้วนตกแต่งประดับประดาไป ด้วยรูปแขวน รูปตั้ง โดยฝีมือของนายช่างผู้มีชื่อทั้งนั้น. ในบรรดาห้องที่ประทับของสมเด็จพระราชีนีนั้น มีอยู่ห้อง หนึ่งซึ่งเป็นที่พอพระทัยของพระองค์ยิ่งกว่าห้องอื่น แต่บังเอิญ ได้ถูกไฟไหม้เสียก่อนที่ราชทูตได้ไปนั้น เดี๋ยวนี้กำลังทำใหม่ เพดานที่ทำขึ้นใหม่แทนเพดานเก่าซึ่งถูกทำลายด้วยไฟนั้น นาย ช่างชาวอิตาเลียนชื่อโรมาแนลเป็นคนวาดเขียน ดูเป็นที่จับตา ของผู้ไปชมยิ่งนัก. ครั้นแล้วก้ได้เข้าไปชมห้องพระระเบียงโถง " คาเลอรี " และ เมื่อได้เห็นรูปต่าง ๆ อันแล้วไป ด้วยฝีมือนายช่าง อย่างเอก ๆ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงจัด ตั้งไว้เป็นระเบียบน่า ปลื้มอกปลื้มใจ ต่างคนต่างก็กล่าวสรรเสริญพระปรีชาญาณอัน สุขุมของพระองค์ว่า :- " พระองค์มิจำเพาะแต่ทรงพระปรีชาสา- มารถในทางรัฐประสาสโนบายการปกครองเท่านั้น แม้ถึงการเลือก เฟ้นจัดสรรมหัคฑภัณฑ์อันมีค่าให้เป็นที่ต้องตาของมหาชน พระ องค์ก็ทรงชำนิชำนาญยิ่งกว่าพ่อบ้านแม่เรือนเสียอีก ดังมีบรรดา
๙๐ รูปทั้งหลาย ที่พระองค์ทรงจัดให้ตั้งไว้ในที่อันเหมาะเจาะนี้เป็น พะยานปรากฎอยู่ แท้จริงแต่ลำพังพระที่นั่งเมื่อแลดูภายนอกก็ งดงามน่าดูอยู่แล้ว ซ้ำกระบวนจัดข้างในก็สมกับกระบวนข้างนอก ด้วยอีก ก็ยิ่งดูเพลินใจไม่จือตาเลย. เมื่อดูห้องไว้รูปนั้นเสร็จแล้ว ราชทูตก็ขึ้นบันไดใหญ่ไป ชมห้องซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พอ ขึ้นบันไดและข้ามห้องพวกทหารสวิสอาสาไปแล้ว ราชทูตก็มา หยุดชมสนามหน้าพระลานอยู่ที่พระระเบียงโถง เพราะตรงนั้น เป็นที่เหมาะสำหรับดูรูปทรงของวังลูฟร์ได้ดี และอาจเห็นทั้งพระ ที่นั่งองค์เก่า และพระที่นั่งองค์ใหม่ซึ่งกำลังสร้างยังไม่แล้วได้ถนัด. ราชทูตยืนชมพลางถามไปพลางถึงพระที่นั่งสองนั้น แล้วก็ เดิรเข้าไปชมห้องอื่นต่อไป ห้องเหล่านี้ล้วนเป็นห้องซึ่งไว้รูปที่ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยทั้งนั้น ราชทูต เห็นรูปเหล่านั้นก็ถามถึงราคาบ้าง ถึงนายช่างผู้เขียนบ้างถึงรูปที่ เป็นฝีมือชาวฝรั่งเศสทำบ้าง ชาวอิตาลีทำบ้าง. เมื่อออกจากห้องนี้แล้วพวกราชทูตก็เข้าไปชมห้อง อาปอ- โล ห้องอาปอโลนี้ เรียกตามชื่อเทพบุตร ซึ่งแต่โบราณมาพวก นายช่างฝ่ายจิตรกรรมโกศลและพวกจินตกระวีต่าง ๆ เคยยกย่องว่า เป็นพระครู สำหรับคอยกระซิบหรือดลใจให้คิดทำอะไรทำได้สม ประสงค์ ห้องอาปอโลนี้เป็นห้องใหญ่กำลังสร้างขึ้นแทนห้อง เก่าซึ่งถูกเพลิงไหม้มาแต่ก่อน ถึงเวลานี้ห้องนั้นยังไม่สำเร็จ
๙๑ บริบูรณ์ก็ดี แต่ถ้าจะประมาณราคาสิ่งของอันประเสรีฐซึ่งได้สะสม ไว้ในนั้นแล้ว ก็ต้องคิดโดยจำนวนตั้ง ๆ ล้านฟรังค็ขึ้นไป. ถัดจากห้องนี้ไป ราชทูตได้เข้าไปชมตามระเบียบ " คาเลอรี "ใหญ่ซึ่งเชื่อมพระที่นั่งวังลูฟร์เก่ากับพระที่นั่งเลอรี ให้ติดต่อกัน (ขออธิบายคำว่า " คาเลอรี " ซึ่งใช้คู่กับระเบียงนี้หน่อย ระเบียง เมืองฝรั่งผิดกับระเบียบเมืองไทย คือเมืองไทยเป็นเมืองร้อนก็ทำ ระเบียบไว้ข้างนอก ใช้สำหรับเดิรและสำหรบกันแดด แต่ เมืองฝรั่งเป็นเมืองหนาว ทำระเบียงเดิรไว้ข้างในตึกทีเดียว เวลา เดิรจากห้องนี้ไปเข้าห้อง จะได้ไม่ต้องถูกลมอากาสภายนอกซึ่ง หนาวเกินควรแก่ความสบาย ถ้าจะเปรียบก็คือบ้ารเรือนในเมือง ไทยนี้มีระเบียงอยู่หน้าบ้าน หน้าเรือนแล้วต่อระเบียงออกมาก็เป็น ชาน แม้จะมีเรือนที่หันหน้าเข้าหากันก็ต้องทำเป็นเรือนมีชาน อันเดียวกัน แต่ระเบียงต้องทำเป็นเรือนระเบียง เพราะต้อง การให้โปร่งจึงจะรับลมได้สะดวก ที่เมืองฝรั่งจะทำเหมือนเรือน ในเมืองไทยไม่ได้เพราะเป็นเมืองหนาว ต้องทำเป็นห้องหันหน้า เข้าหากัน แล้วทำระเบียงแล่นกลางเป็นทางเดิร ระเบียง " คาเลอรี " นี้ก็ทำเป็นแบบดังกล่าวมานี้....) เมื่อราชทูตมาเห็นระเบียบ " คาเลอรี " นี้ยาวมากผิดกว่า ระเบียงใด ๆ ซึ่งเคยเห็นมาก็ตกตลึงไปเป็นครู่ แล้วท่านอัครราช ทูตจึงถามว่า :- " คาเลอรี " นี้ยาวสักเท่าไร ? " เจ้าพนักงานตอบ ว่า :- " ยาว ๓๐๐ วา " ว่าแล้วก็พอดีเดิรมาถึงตอนกลางระเบียง
๙๒ ยาวนั้น ราชทูตก็ออกไปยืนที่มุขยื่นซึ่งมีอยู่ที่ตรงนั้นเพื่อจะได้ ชมเมือง มุขยื่นนั้นเป็นที่อัพโภกาศเปิดโล่งโถงไม่มีเครื่องมุง บังอะไร ราชทูตจึงแลเห็น " เกาะกลางเมือง " สนัด (เกาะนั้น เป็นเกาะย่อม ๆ อยู่ตรงสูนย์กลางเมืองปารีส แต่เดิมมาเมือง ปารีสอยู่แต่ภายในแห่งเกาะนั้น ภายหลังจึงได้ขยายให้กว้างออก ไปตลอดทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำแซน ) และเมื่อราชทูตได้เห็นหอสูง ตระหง่านเด่นอยู่กลางเมืองปารีสทั้งสองหอเข้า ก็จำได้ทันทีว่าใช่อื่น ไกล คือหอระฆังวัดน็อตรด้ามนั่นเอง ซึ่งท่านเคยเห็นมาครั้งเดียว คราวที่เขาพาท่านไปดูแห่เมื่อวันแม่พระขึ้นสวรรค์นั้น พอราชทูต ยืนชมดูเมืองชมสะพานที่ข้ามแม่น้ำแซนได้สักครู่หนึ่ง แล้วก็เข้าไป ภายในอีก. ในที่นี้ ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวถึงลายกระหนกแล้วแกมทองต่าง ๆ นา ๆ ซึ่งไม่ว่าในห้องไหนเป็นต้องมีด้วยกันทั้งนั้น เพราะจะเกิน ความสามารถที่จะเล่าไปได้ และจะเกินความต้องการสำหรับหนัง สือเล่มนี้ด้วย ฉะนี้จะขอกล่าวเพียงว่าพระโรงโถงซึ่งราชทูตเข้าไป ดูต่อไปนั้นมีคาเลอรีตลอดรอบ และตามฝาคาเลอรีนั้นล้วนแต่ ประดับไปด้วยพรม " คอ็บแลง " ซึ่งช่างสดึงหลวงได้ทำถวายทั้งสิ้น ฝีมือ เย็บปัก ถักร้อย ล้วนประณีต บรรจงเหลือจะรำพันให้สิ้นเชิง และถูกต้องได้. ระยะทางตามฝาคาเลอรีนั้นแบ่งออกเป็นช่อง ๆ หรือคูหา ประมาณ ๑๐ หรือ ๑๒ คูหา และทุกคูหานั้นล้วนประดิษฐ์วิจิตร
๙๓ งดงามหลาก ๆ กันทั้งนั้น พอชมพระโรงโถงแล้วก็เข้าไปดูห้อง เครื่องจักร ห้องนี้ยาวเหลือยาว ราชทูตยังไม่เคยเห็นห้องที่ไหน ซี่งจะยาวเท่ากับห้องนี้เลย ห้องนี้ได้ทำขึ้นโดยฝีมือและความ คิดของนายช่างเอกชื่อวิคารานี ซึ่งเป็นชาติอีตาเลียนชาวเมือง โมเดนา. อันว่าบรรดาเครื่องจักรเครื่องกลต่าง ๆ ซึ่งนายช่างไม่ว่าชาติ ไหนเป็นผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ย่อมมีอยู่ในห้องนี้ทั้งสิ้น เพราะว่า แม้นายช่างผู้คิดขึ้นนั้นจะอยู่เสียต่างเมืองก็ดี หรือไม่มีทุนรอน สำหรับที่จะทำเครื่องที่ตนคิดขึ้นนั้น ให้สำเร็จโดยกำลังทรัพย์ของ ตนเองได้ก็ดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงสอดส่อง และเชื้อเชิญกระทั่งอุปถัมภ์ค้ำชู ด้วยพระราชทรัพย์ซึ่งเป็นส่วน ของพระองค์เอง เพราะพระองค์ทรงคาดหมายถึงประโยชน์ใน ทางหัตถกรรม และกสิกรรมซึ่งจะบังเกิดมีในกาลข้างหน้า เพราะ ด้วยอาศัยเครื่องจักรเครื่องกลเหล่านั้น. ในบรรดาเครื่องซึ่งคิดขึ้นใหม่เหล่านี้มีอยู่เครื่องหนึ่งสำหรับ ใช้ส่งคนจากชั้นล่างสู่ชั้นบนบรรทุกได้ถึง ๑๐๐ คน ( เครื่องนี้หาก จะเดาไม่ผิด บางทีจะเป็นเครื่องชะนิด lift หรือ ascenseur ซึ่ง ใช้กันตามห้างใหญ่ ๆ ในสมัยนี้ เช่นห้างไวต์อะเวเป็นต้น เวลานี้ เป็นเครื่องที่ใคร ๆ ไม่เห็นแปลกเสียแล้ว แต่ในเวลานั้นคง แปลกมากเป็นแน่ เพราะไม่ต้องใช้เดิรตามกะไดก็ขึ้นตึกชั้นสูง ได้ อย่างเดียวกับรถไฟรถยนตรและเรือเหาะ แต่แรกมีก็เป็น
๙๔ ของแปลกใคร ๆ อยากดูอยากเห็นกันทั้งนั้น แต่เดี๋ยวนี้กลับเป็น ของธรรมดาเสียแล้ว. บ.ก. ) เมื่อราชทูตดูห้องเครื่องจักรเสร็จแล้ว ก็ออกมาชมบันไดใหญ่ และหน้าตึกนั้นอีกสักครู่หนึ่ง แล้วก็ได้อำลาท่านเดอคงชีส์ ซึ่ง เป็นผู้คอยชี้แจงอธิบายอะไรต่ออะไร ให้ราชทูตฟังตลอดเวลาที่ท่าน มาชมวังลูฟร์นั้น. บทที่ ๒๔ ราชทูตไปดูราชสภา " อรรคเดมี " ทีนี้เจ้าพนักงานได้นำท่านราชทูตเข้าไปดูราชสภา " อรรคเดมี " ซึ่งเป็นสภาสำหรับบำรุงวิชชาการปั้น, แกะ, และวาดเขียนรูปต่าง ๆ ท่านเสนาบดีเดอลูวัวเป็นสภานายกและผู้อุปถัมภ์ราชสภานี้. พอราชทูตลงจากรถที่หน้าตึกราชสภาสโมสรนั้นแล้ว ท่าน เลอบรึงผู้เป็นประมุขหัวหน้า สำหรับดูแลสภานั้นพร้อมทั้งกรรมการ หลายท่านกล่าวคือ ท่านยิราร์ดง ท่านแดชาร์แดง, เดอเลเว, เดอฮงค์ร์, โบบรึง, เซแปส์, เป็นต้น กับนายช่างอันมีชื่อเสียง ทั้งที่เป็นสมาชิก และมิได้เป็นสมาชิกในราชสภาวิชชาช่างนั้นอีก ด้วยหลายนาย ต่างพากันออกมาต้อนรับราชทูตสยามณหน้าตึก ราชสภานั้น. ในชั้นแรกราชทูตก็เข้าไปในห้องประกวด คือเป็นห้องที่ตั้ง แห่งรูปแกะ, สลัก, รูปปั้น, รูปวาดเขียน ซึ่งบรรดานานช่างทำ มาประกวดประขันกันตามธรรมเนียมทุกปี เพื่อจะได้ทราบว่า
๙๕ นายช่างคนไหนมีฝีมือ ควรได้รับพระราชทานรางวันประจำปีของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบ้าง ใครควรถูกเลือกเป็นสมาชิก ราชสภาวิชชาช่างนั้นบ้าง. ธรรมเนียมนายช่างซึ่งนำรูปมาประกวดกันนี้มีกฎบังคับอยู่ดัง นี้คือว่า ใครสมัครอยากจะมาประกวดฝีมือกันแล้ว ข้อต้นตน ต้องยกรูปซึ่งตนนำมาประกวดนั้น ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของราชสภา- อรรคเดมี อาศัยข้อบัญญัติอันนี้ห้องประกวดนี้เลยเต็มไปด้วย รูปภาพประณีตบรรจงเป็นอเนกอนันตัง. ที่ห้องประกวดนั้น ท่านอัครราชทูตได้แสดงตนทันทีว่ากระ- บวนช่างแล้วท่านก็เป็นผู้มีชื่ออยู่บ้างเหมือนกัน คือว่าเมื่อท่าน ดูไปดูมานั้น ท่านเอ่ยขึ้นต่อหน้ารูปภาพรูปหนึ่งซึ่งมีอยู่ที่นั้นว่า " รูปภาพนี้เราเห็นว่างามรูปอื่น ท่านจะเห็นเป็นประการใด ? " ท่านเลอบรึงซึ่งเป็นผู้ถูกถามก็อยากจะตอบว่า " ใช่ " เสียทันที เพราะท่านเห็นเป็นอย่างนั้นจริง แต่เพื่อจะกันมิให้ผู้ใดติเตียน ว่าตนพลอยเอออวยไปด้วย ท่านจึงใช้อุบายแสร้งถามบรรดา กรรมการที่อยู่ในที่นั้นว่า " ท่านเอ๋ย ท่านราชทูตสยามมานี้เพื่อ จะชมรูปที่งามจริง ๆ ฉะนี้ขอท่านทั้งหลายโปรดช่วยชี้แต่ใน บรรดารูปทั้งหลายซึ่งนายช่างนำมาประกวดฝีมือกันปีนี้ว่า รูปภาพ รูปไหนที่ท่ารรวมความเห็นว่างามกว่ารูปอื่น ๆ " ทันใดนั้นพวก กรรมการทั้งหลายก็ลงความเห็นเป็นคลองเดียวกัน ชี้มือไปทาง รูปซึ่งท่านราชทูตได้เลือกว่าดีกว่าเพื่อนนั้นเอง ทั้งนี้ก็เป็นพะยาน
๙๖ รับสมกับที่ได้อ้างมาแต่ต้น ว่ากระบวนช่างแล้วราชทูตสยามเป็นผู้มี เชื้อติดนิสสัยอยู่ด้วยเป็นแน่ หาไม่ที่ไหนท่านจะได้ชี้รูปจำเพาะ ที่งามที่สุดดังนั้นได้เล่า. พอดูห้องประกวดเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานก็เชิญราชทูตไปดู ห้องสภาอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งแต่ละห้อง ๆ ล้วนเต็มไปด้วยรูปประ- ณีตบรรจงทั้งนั้น ท่านราชทูตเดิรดูในนั้นจนตาลายเหลือที่จะ ดูให้สิ้นเชิงได้ และมิใช่ว่าท่านจะก้มหน้าแหงนหน้าดูเฉยๆ แล้วเดิรเลยอย่างนั้นหามิได้ อัครราชทูต อุปทูต ตรีทูตก็ดี ขุนนางไทยซึ่งตามหลังท่านก็ดี ต่างมีแต่ไต่ถามอะไรต่ออะไรจาก เจ้าพนักงานไม่หยุด เดี๋ยวก็ถามว่า " รูปนี้เป็นฝีมือใคร ? เป็น ฝีมือนายช่างฝรั่งเศสหรือฝีมือคนต่างประเทศ ? " เดี๋ยวก็ว่า " นาย ช่างที่ทำรูปนี้ยังอยู่หรือ ๆ ล่วงลับไปเสียแล้ว ? " เดี๋ยวก็ว่า " รูป นี้เป็นรูปใคร ? รูปนี้เป็นรูปจริงหรือรูปประดิษฐ์ ? " ถ้ารูปนั้นเป็นรูปจริง เป็นต้องถามเสมอว่า " ท่านผู้นั้นเป็น อะไรบ้าง ? " เป็นกษัตริย์ชาตินักรบ ? หรือเป็นพลเรือน ? เคย ทำอะไรสลักสำคัญบ้าง ? " ถ้าเป็นรูปประดิษฐ์ท่านก็ไล่เลียงซัก ถามเพื่อจะทราบว่าเปรียบเทียบไปถึงอะไรบ้าง ถามตั้งร้อยแปด ไม่มีที่สิ้นสุด จนเล่นเอาบรรดากรรมการราชสภาทุก ๆ คนแทบ จนก็ว่าได้ ดูช่างเป็นคนอยากรู้เสียจริง ๆ ราชทูตถามพลางเดิรพลางมาดังนี้จนมาถึงรูปเปรียบสองรูป สูงหนึ่งวาสองศอกคืบมีเศษ รูปหนึ่งเป็นรูปของแฮร์กุลเทพบุตร
๙๗ ( ซึ่งขึ้นชื่อลือนามว่าเรี่ยวแรงมากคล้ายหณุมานในเรื่องรามเกียรติ์ ) และอีกรูปหนึ่งเป็นรูปเทพธิดาหรือนางฟ้าอะไรองค์หนึ่ง ตามลัทธิ โบราณเรียกว่า ฟลอราบุบผเทพธิดา ก็ถามผู้นำว่า " รูปยักษ์ กับรูปนางเทพธิดานี้เป็นฝีมือใคร ? ของนายช่างอิตาลีใช่ไหม ? " ก็ได้รับคำตอบว่า " รูปนี้ชาวอิตาลีเขาก็มีเหมือนกัน แต่สอง รูปนี้ชาวฝรั่งเศสทำเอง หาใช่ชาวอิตาเลียนทำไม่ อนึ่งขอท่าน ราชทูตจงเข้าใจว่า สองรูปนี้เป็นแต่รูปปูนสำหรับทำแบบไปแกะใน ศิลาต่อไป เวลานี้รูปศิลาซึ่งจำลองรูปนี้เกือบจะแล้วเสร็จ อยู่แล้ว ถ้าแล้วเมื่อใดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่ง ว่าจะเอาไปตั้งที่วังแวร์ซายส์ " เมื่อทราบว่าสองรูปนี้แล้วด้วยฝีมือนายช่างฝรั่งเศสเอง หา ใช่ของนายช่างอิตาลีไม่ก็พากันกล่าวว่า " ทีนี้ถึงว่าเราจะเห็นอะไร งามเลิศสักปานใด เราก็จะไม่อัศจรรย์ใจเสียแล้วเพราะเรารู้เสีย แล้วว่า เมืองฝรั่งเศสเป็นเมืองซึ่งบริบูรณ์ไปด้วยนางช่างอัน ประเสริฐหาที่เปรียบมิได้ ดังสองรูปนี้เป็นต้นเป็นพะยานให้ เห็นประจักษ์อยู่กับตา " ว่าแล้วท่านราชทูตก็อำลาพวกกรรมการ ราชสภาออกไป เป็นเสร็จการไปดูพระที่นั่งวังลูฟร์. บทที่ ๒๕ ราชทูตไปดูช่างสดึงหลวงที่โรงค็อบแลง. ครั้นแล้วราชทูตก็พากันขึ้นรถไปยังโรงช่างสดึงหลวงชื่อค็อบ ๗
๙๘ แลง เมื่อไปถึงที่นั้นก็ได้เห็นท่านเลอบรึงสภานายกแห่งราชสภา วิชชาช่าง ได้ล่วงหน้ามาแต่วังลูฟร์ถึงโรงค็อบแลงก่อนเพื่อกระ ทำการต้อนรับราชทูตที่นั้นด้วย. สิ่งที่ราชทูตได้ออกปากชมในโรงสดึงหลวงนั้นก็มีอยู่เป็นอัน มาก จะขอตัดมาเล่าสู่กันฟังแต่บางเรื่องบางอย่าง เพราะว่าถ้า จะเล่าให้ละเอียดก็จะยืดยางเกินควร เมื่อราชทูตเหยียบธรณี ประตูเข้าไปในห้อง ๆ หนึ่งนั้น ท่านได้ชี้ไปทางม่านผืนหนึ่งซึ่ง ปักเป็นรูปคนหมู่หนึ่งกำลังประชุมอ่านหนังสือกันอยู่ว่า " รูปปัก นี้ดูเหมือน เป็นรูปอันเดียวกันกับรูปปั้นที่ได้เห็นในห้องราชสภา เมื่อกี้มิใช่หรือ ? ช่างเหมือนกันจริง " คำทักทายนี้ส่อให้เห็น ว่าราชทูตเป็นคนจำแม่นเท่ากับที่เป็นคนดูแม่นเหมือนกัน หาไม่ ที่ไหนท่านจะทายถูกว่าเป็นรูปนั้นเล่า. ถัดจากม่านผืนนี้ราชทูต ก็ได้ชมผ้าปักสำหรับปิดหน้าพระแท่น ที่บูชาในวัดผืนหนึ่ง รูปที่ปักในผืนผ้านี้เป็นรูปพระพุทธมารดา กับบรรดาสาวกอาปอสโตโลบางองค์ และสตรีอุบาสิกาบางคน กำลังปลดพระพุทธิกายาแห่งพระมหาเยซูเจ้าออกจากไม้กางเขนจะ นำพระบรมศพของพระองค์ไปฝังไว้ในคูหาต่อไป ผ้าปักผผืนนี้ ท่านเลอบรึงเจ้ากรม ๆ ศิลปะเป็นผู้คิดแบบให้ เดิมคนสั่งให้ ทำตั้งใจไว้ว่าจะเอาไปประดับในพระวิหารเมืองลิยง แต่เมื่อเย็บ ปักเสร็จแล้ว ท่านเสนาบดีเดอลูวัวมาเห็นเข้าก็พอใจเลยขอปัน จากท่านมหาสังฆราชเดอลิยงเจ้าของเดิม เพื่อไปตั้งพระแท่นใน
๙๙ พระอารามหลวง ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินกำลังสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณ พระที่นั่งวังแวร์ซายส์ ท่านสังฆราชเดอลิยงก็ยินยอมให้ ตก ลงเป็นของท่านเสนาบดีเดอลูวัวนั้นเอง. เมื่อดูตามห้องเสร็จแล้วราชทูตก็ได้เดิรไปดูตัวอย่างม่านและ ผ้าปักต่าง ๆ ล้วนแต่ฝีมือโบราณซึ่งมีแขวนไว้ตามฝาผนังรอบ ๆ ห้อง กับได้ไปดูห้องทำงานของท่านเลอบรึงเจ้ากรม ๆ ศิลปะด้วย แล้ว ต่างก็ได้พากันลงไปที่กลางลาน. ขณะเมื่อราชทูตจวนจะลาอยู่แล้วนั้น ท่านอัครราชทูตได้พูด กับท่านเลอบรึงเจ้ากรมผู้ตามมาส่งนั้นว่า " บัดนี้ถึงเวลาที่พวก เราจะลาท่านไปแล้ว เราขอขอบคุณท่านเจ้ากรมเป็นอันมาก ที่ ได้โปรดนำเราไปดูตัวอย่างม่าน และผ้าที่เย็บปักถักร้อยเป็นลาย เครือวัลย์ต่าง ๆ ล้วนเป็นที่พอใจกันทั้งนั้น แต่ถึงกระนั้นก็ดี เรายังเที่ยวชมไม่ถึงที่ทีเดียว ถ้าจะให้ถึงที่แล้วเราจะขอท่านได้ ช่วยโปรดนำพวกเราไปดูช่างสดึงที่กำลังทำงานปักถักร้อย นั่น แหละจึงจะเป็นที่พอใจทีเดียว จะได้หรือไม่ได้ ? " ท่านเจ้ากรม ๆ ศิลปะตอบว่า " ยินดีที่สุด เชิญเจ้าคุณมา เถิด จะไปกันเดี๋ยวนี้ก็ได้ เชิญ " ว่าแล้วต่างก็พากันเข้าไปที่ โรงสดึง. บทที่ ๒๖ ราชทูตไปดูโรงเจียรไนเพ็ชรพลอยของหลวง พอดูโรงสดึงเสร็จแล้ว ก็พากันไปดูโรงช่างเจียรไนเพ็ชรพลอย
๑๐๐ และโรงช่างทองของหลวงต่อไป ที่ในโรงช่างเจียรไนนั้นราชทูต ได้แลเห็นฉลองพระองค์ที่สำหรับใส่ในพระราชพิธีองค์หนึ่ง ซึ่ง ประดับไว้ด้วยเพ็ชรนิลจินดาหลายชะนิด จึงได้ถามท่านผู้ที่นำ ไปนั้นว่า " ฉลองพระองค์ ๆ นี้ถ้าจะคิดเป็นราคาเงินจะมากน้อย ประมาณสักเท่าได ? " เจ้าพนักงานตอบว่า " ถ้าจะคิดเป็นราคา เงินแล้วก็กว่า ๒๐๐๐ ฟรังค์ต่อคืบสี่เหลี่ยมจตุรัส " เพ็ชรพลอยที่ใช้สำหรับประดับฉลองพระองค์เหล่านั้น บาง เม็ดก็เล็กที่สุด จนแลด้วยตาเปล่าเกือบไม่เห็น ต้องส่อง กล้องจึงจะแลเห็นได้ บางเม็ดก็ใหญ่ทีสุด แทบจะว่ามีค่าควร เมืองก็ว่าได้ เพ็ชรต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ว่าเล็กว่าใหญ่ ท่านราชทูต พินิจพิเคราะห์โดยละเอียดเสียจนหมด ถึงกากเพ็ชรเล่าท่านก็ ยังดู. เพ็ชรพลอยเหล่านี้ ท่านไม่จำเพาะแต่ดูเท่านั้น ท่านยัง เลือกจับบรรดาเครื่องมือของนายช่างเจียรไนด้วย แล้วอธิบายว่า " เครื่องนี้ใช้สำหรับทำสิ่งนั้น เครื่องนั้นใช้สำหรับทำสิ่งนั้นสิ่ง โน้น " และท่านกล่าวแม่นยำชำนิชำนาญเหมือนกับนายช่างเจียร- ไนคนหนึ่งก็ว่าได้. ที่โรงช่างทองนั้น ท่านราชทูตก็เข้าไปดูบ้างเหมือนกันแต่ ไม่อยู่ดูนาน เพราะการช่างทองท่านเข้าใจดิบดีมาแต่กรุงสยาม เสียแล้ว รวมความดูเหมือนว่าสิ่งที่ท่านราชทูตได้ดูด้วยความ พอใจมากในวันนี้ก็คือโรงสดึงและโรงฟอกย้อม.
๑๐๑ บทที่ ๒๗ ราชทูตไปดูอู่เรือกัญญาและโรงงานพิเศษ. สิ่งที่ท่านราชทูตได้เที่ยวดูต่อไป คือโรงช่างไม้หลวง ขณะ ที่ท่านไปนั้นเป็นเวลาที่พวกช่างไม้กำลังแกะไม่ต่อเรือกัญญา " คง- ดอลา " สำหรับเป็นเรือพระที่นั่งทรง เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จะ ทรงเล่นน้ำตามลำคลองในบริเวณพระราชวังสวนแวร์ซายส์ ที่โรง ไม้หรืออู่เรือกัญญานี้ ท่านราชทูตยังได้แสดงฝีมือของท่านให้ปรากฎ อีกคราวหนึ่ง คือท่านไปเลือกหยิบเอาเครื่องมือที่มีอยู่ในท่าม กลางหมู่เครื่องมือทั้งหลาย ที่นายช่างเขาใช้แกะสลักนับตั้งโหล ๆ ขึ้นไปมาอันหนึ่ง จำเพาะเป็นเครื่องที่เหมาะกับการสลักลาย กระหนกที่นายช่างเขากำลังแกะอยู่นั้นพอดี ยิ่งกว่านี้ท่านราชทูต ยังแกะต่อไม้ที่ค้างนั้นด้วย ดูท่าทางที่ท่านบาก ท่านเจาะเกาะและ ถากไส ช่างสนัดสนี่นี่กะไร ราวกับเป็นช่างไม้ที่ชำนาญดี ๆ ทีเดียว. เมื่อดูอู่เสร็จแล้วเจ้าพนักงานได้พาราชทูตไปดูโรงงานพิเศษ อีกโรงหนึ่งซึ่งอยู่ในบริเวณอันเดียวกัน โรงนี้เป็นโรงสร้างไว้ชั่ว คราว ส่วนกว้างยาวสูงของโรงนี้ก็เท่ากันกับขนาดห้องราชกกุธ- ภัณฑ์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างไว้ที่วังแวร์ซายส์ แต่ยังไม่สำเร็จบริบรูณ์ดี. เหตุที่ได้ตั้งโรงชั่วคราวนี้ขึ้น ก็คือว่านายช่างจะได้ทำเครื่อง ประดับ ซึ่งกะหมายจะเอาไปติดไปตั้งประดับที่ห้องราชกกุธภัณฑ์ นั้นทดลองติดดูในโรงงานนี้เสียก่อน เมื่อเห็นได้ที่เรียบร้อยดี
๑๐๒ แล้วจึงจะเอาไปประดับที่พระที่นั่งแวร์ซายส์นั้นต่อไป จะได้ ไม่ต้องตัดต่อเพิ่มเติมอะไรให้เกะกะรุรัง ซึ่งล้วนเป็นเครื่อง รำคาญตาของผู้ที่อยู่ในที่ใกล้เคียง. อันว่าปราสาทราชมนเทียร ซึ่งจะเป็นห้องราชกกุธภัณฑ์ที่วัง แวร์ซายส์นั้น กำแพงฝาและอะไร ๆ ก็แล้วเสร็จดังที่ได้ว่ามา แล้ว แต่ถ้าจะเข้าไปดูในเวลานี้ก็จะเห็นเป็นห้องว่างโล่งโถงไม่ สวยไม่งามอะไร ถ้าจะใคร่ให้รู้ว่าห้องนั้นจะงามวิเศษสักปานใด ก็ต้องตามหลังราชทูตเข้าไปดูโรงงานพิเศษซึ่งกล่าวนี้ เพราะเครื่อง ประดับซึ่งจะมีในห้องกกุธภัณฑ์นั้นก็รวมอยู่ในโรงงานนี้ทั้งนั้น. เครื่องประดับเพดานนั้น จะให้แล้วไปด้วยฝีมือของนาย ช่างเอกชื่อมิญาร์ด์ ( ขณะที่ราชทูตไปดูเขากำลังตบแต่งวาดเขียน รูปอยู่ ) ว่าเท่านี้ก็พอเดาได้ว่าคงเป็นรูปวิเศษ เพราะขึ้นชื่อว่า รูปฝีมือมิญาร์ด์แล้ว อย่าว่าแต่ไม่มีเสียหายเลยยังเป็นของวิเศษเสีย อีกด้วย. ระเบียง " คาเลอรี " ซึ่งมีอยู่โดยรอบเล่า ไม่ว่าบัวเสา ลำเสา หรือเชิงเสาก็ดี ก็แล้วด้วยศิลาลายสีเขียวครามทั้งนั้น เครือ เขาเถาวัลย์ลายกระหนกต่าง ๆ แล้วด้วยทองสัมฤทธิหุ้มด้วยทองใบ อีกชั้นหนึ่ง ช่องว่างในระวางเสาต่อเสามีกระจกเงาแผ่นใหญ่ ๆ ปิดไว้ต่างฝา กระจกแผ่นใหญ่ซึ่งเชื่อมเสาให้ติดกันนี้ ควรต้องอธิบายหน่อย คือว่า มันใหญ่เกินขนาดเหลือความสามารถที่นายช่างจะหล่อหลอม
๑๐๓ ให้เป็นแผ่นเดียวได้ ฉะนี้ จึงต้องคิดอุบายหลอมแก้วกระจกเงา ให้เป็นแผ่น ๆ กว้างใหญ่เอาตามขนาดแบบพิมพ์ที่อาจทำได้ แล้ว เอาแผ่นกระจกเหล่านั้นมาติดต่อกันให้ดูเป็นแผ่นเดียว วิธีนี้ยังมี เสียอยู่ที่แลเห็นรอยต่อของกระจก ไม่งามเหมือนเห็นเป็นแผ่น เดียวจริง ๆ จึงต้องคิดอุบายใหม่อีกชั้นหนึ่ง สำหรับปิดรอยเหล่า นั้นมิให้เห็น. วิธีที่นายช่างได้คิดแก้ไขนั้นเป็นดังนี้ คือเขาได้ต่อบรรดา เครือเขาเถาวัลย์ทองสัมฤทธิ์ ซึ่งได้ว่ามาแล้วว่ามีอยู่ตามเสาให้ เลื้อยพาดลงมาสลับอยู่เหนือรอยต่อกระจกเงานั้น ปิดรอยมิดชิด ไม่มีใครทายได้ว่าเป็นกระจกแผ่นเดียวหรือหลายแผ่น ความเป็น จริงก็มีอยู่ตั้ง ๒๐ แผ่น และบรรดาเครือเขาเถาวัลย์ สัตว์สิงห์และ วิหคนกต่าง ๆ ซึ่งกำลังโผผินบินร่อนอ้าปากกินลูกไม้บ้าง ทำท่า วิ่งไล่กันบ้าง ซึ่งตามธรรมดาใคร ๆ จะเข้าใจว่าเป็นเครื่องประดับ ให้ดูเป็นเหมือนป่าเหมือนพุ่มไม้นั้น เป็นแต่เพียงอุบายปิดรอย กระจกเท่านั้น. นายช่างผู้ที่ได้คิดแบบห้องราชกกุธภัณฑ์นี้ คือท่านเลอบรึง เจ้ากรมศิลปะ ซึ่งเป็นผู้นำราชทูตมานั้นเอง ไม่ต้องสงสัย ถ้า ห้องนี้แล้วเสร็จเมื่อไร คงไม่มีราชสถานใดในทั่วพิภพมนุษย์นี้ ซึ่งจะงามเลิศเท่ากับหอพระราชมนเทียรอันนี้เลย. ที่โรงงานพิเศษนี้ ราชทูตได้แสดงความสามารถของท่านใน กระบวนวิชชาช่างเหมือนที่ในโรงงานอื่นเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น
๑๐๔ ปากนก ปีกนกหรือลวดลายกระหนกต่าง ๆ ไม่ว่าชนิดใดซึ่งนาย ช่างกำลังเป็นชิ้น ๆ เป็นอัน ๆ ยังไม่ได้ปิดทอง ยังไม่ได้ทาสี อันใดให้เป็นเครื่องสังเกตให้รู้ว่าจะควรใส่ตรงไหน ราชทูตตรง เข้าไปหยิบนี่หน่อย นั่นหน่อย เอามาต่อกันเข้าตรงช่องที่เหมาะ ดูเป็นรูปเป็นร่างถูกแบบไม่มีพลาดเลย. เมื่อเดิรออกไปจากโรงงานนั้น ราชทูตได้เดิรผ่านไปทางระเบียง โรงสดึง ซึ่งเป็นทางเดียวกับที่ท่านได้เดิรเมื่อขามา แต่ท่านราชทูต แปลกใจไม่น้อยเมื่อได้เห็นบรรดาม่านปักต่าง ๆ ซึ่งแขวนประดับ ฝาระเบียงเมื่อขามา บัดนี้เก็บเอาไปเสียหมด เปลี่ยนเป็นม่านปัก อื่น ๆ หมดทั้งชุด ซึ่งงามไม่แพ้ชุดก่อนเลย ตอนนี้ราชทูต อดไม่ได้ต้องสรรเสริญพวกช่างสดึงว่าเก่งจริง. ขณะนั้นเกือบจะค่ำลงแล้ว ดูอะไรไม่ค่อยจะเห็นถนัด แต่ ยังมีผ้าปักอันวิเศษอีกหลายฝืน ซึ่งเป็นของประณีตยิ่งน่าควรให้ ราชทูตดูก่อนไป เป็นต้นว่าฝืนที่ปักพระราชประวัติของพระบาท สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กำลังรบเอาป้อมชะนะอีก ๔ ผืน ก็งาม เหลือที่จะกล่าวได้ เจ้าพนักงานกลัวว่าถ้าท่านไม่ได้เห็น ๔ ผืนนี้ ก็จะเหมือนกับว่าเสียเที่ยวก็ว่าได้ ท่านจึงอุตส่าห์เอาม่านปักสี่ผืน นั้นออกมาให้ท่านดูที่นอกชาน ราชทูตดูแล้วมีความพอใจเป็น อันมาก ท่านถามแล้วถามอีกว่า.- " อ้อ นี่หรือป้อมที่พระองค์ ทรงตีชะนะ สาธุ ๆ ขงจงทรงพระเจริญสิ้นชั่วฟ้าชั่วดินเถิด " ว่า แล้วก็ลาท่านเลอบรึงกลับไปยังที่พัก.
๑๐๕ เมื่อจะลาไปนั้น อัครราชทูตได้กล่าวเป็นที่ชมเชยท่านเลอ บรึงเจ้ากรมศิลปนั้นว่า.- " ข้าพเจ้าต้องสรรเสริญท่านโดยชื่นใจว่า ท่านเป็นบุรุษมหัศจรรย์ผู้หนึ่ง ผิดกว่าคนทั้งหลายซึ่งข้าพเจ้าเคยเห็น มาแต่ก่อน ด้วยว่าวิชชาทั้งหมดดูเหมือนสิงอยู่ในใจท่านทุกอย่าง ไม่ว่าท่านถูกซักถามถึงข้อความอันใด ท่านก็ตอบได้ทันควันทุกที น่าชมเชยมาก ท่านเป็นศรีแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้า หลุยส์ที่ ๑๔ ขอท่านจงรักษาตัวของท่านให้ดีตลอดเถิด เพราะ นายช่างเอกเป็นของประเสริฐหายากนักหนา. อนึ่งข้าพเจ้าย่อมทราบว่าท่านเป็นผู้มีราชการมิได้ขาด ขอ ท่านได้ทำตัวของท่านให้ว่างจากงานบ้าง เพื่อจะได้มารับประทาน อาหารกับข้าพเจ้าสักคราว จะถือเป็นเกียรติยศอย่างยิ่ง แต่บัดนี้ ถึงเวลาแล้ว ข้าพเจ้าขออำลาท่านไปก่อน."
บทที่ ๒๘ ว่าด้วยนิสสัยใจคอของราชทูต. เพื่อจะให้ท่านผู้อ่าน ทราบเรื่องราวราชทูตนี้ให้ละเอียดขึ้น ข้าพเจ้าจะขอเล่าถึงนิสสัยใจคอและจริตกิริยา ของท่านราชทูตานุทูต เป็นบทพิเศษสักบทหนึ่ง ฉะนี้ ขอเชิญท่านผู้อ่านระลึกถึงคราว เมื่อราชทูตได้ไปเฝ้า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าฟิลิปดอร์เลอัง ซึ่งมีพระราชทินนามว่า เลอดึก เดอชาร์ตร์ คล้ายกรมในเมืองไทย คือกรมนครชาร์ตร์ นั้นเอง. ๑๐๖ เวลาท่านราชทูตกำลังเฝ้าสมเด็จพระเจ้าน้อยยาเธอเจ้าฟ้ากรม นครชาร์ตร์อยู่นั้น พระองค์ท่านได้ทรงแสดงพระอัธยาศัยเหมือน ว่าพระองค์มิได้เป็นเจ้า ทรงถ่อมพระองค์เหมือนกับว่าเป็นราษฎร คนหนึ่ง ไม่ทรงถือยศเลย การพูดจาปราศรัยกับราชทูต ดำเนิร เหมือนการไปมาหาสู่ในระวางเพื่อนที่สนิท จนทำให้ท่านราชทูต เห็นแปลก และเมื่อท่านออกจากที่เฝ้าแล้วท่านได้กล่าวกับผู้ที่ไป ด้วยนั้นว่า - " การที่พระองค์สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าทรงรับรอง ข้าพเจ้าด้วยพระอัธยาศัย เช่นอย่างมิตรสนิทนี้เป็นที่มหัศจรรย์ ถึงว่าข้าพเจ้าจะกลับไปทูลให้ทรงทราบ ในพระบาทสมเด็จพระนา- รายณ์นั้น พระองค์คงไม่ทรงเชื่อว่าเป็นจริง คงปลงพระทัยว่า ข้าพเจ้ายกย่องตัวข้าพเจ้าเกินไป เดชะบุญข้าพเจ้ามิได้เข้าไปเฝ้า แต่ผู้เดียว มีพะยานอีกหลายคน คือบรรดาขุนนางข้าราชการฝรั่ง เศสและไทยซึ่งติดตามมาด้วย และที่พระองค์ทรงแสดงความ ลดหย่อนผ่อนตาม ถึงกับทรงถ่อมพระองค์ให้เป็นประดุจหนึ่งมิตร สหายของข้าพเจ้าคนหนึ่งต่อหน้ามหาชนเป็นอันมากฉะนี้ ข้าพเจ้า จะถือเป็นเกียรติยศอย่างยิ่งในชีวิตของข้าพเจ้า." ยังอีกคราวหนึ่งเจ้าพนักงานได้มาแจ้งความให้ท่านราชทูตทราบว่า ที่สถานทูตออสเตรียในกรุงปารีส จะมีการเล่นจุดดอกไม้ไฟฉลอง พระเดชพระคุณ และบุญบารมีของพระมหาจักรพรรดิออสเตรียใน โอกาสที่พระองค์ทรงตีเมืองบูดาแปสต์คืนจากอำนาจชาติตุร์กี ซึ่ง เคยยึดถือไว้ในอำนาจของตนตั้งร้อยกว่าปี ( เมืองบูดาแปสต์นี้
๑๐๗ เป็นเมืองหลวงของประเทศฮุงคารี) และอัครราชทูตเมืองออส เตรียมีความยินดี ขอเชิญคณะราชทูตสยามให้ไปประชุมสโมสรใน การรื่นเริงนั้นด้วย. ท่านอัครราชทูตไทยได้ยินดังนั้นก็ตอบว่า:- " การที่จะไปดู งานของราชทูตออสเตรียนั้น อันที่จริงก็อยากจะไปดูอย่างยิ่ง แต่ เสี่ยใจที่จะรับเชิญของท่านอัครราชทูตออสเตรียไม่ได้ เพราะว่า เมื่อไม่กี่วันมานี้เจ้ากระทรวงฝ่ายนครบาล ก็ได้เชิญให้ไปดูงานมหร- ศพซึ่งชาวนาคาปารีสเล่นถวาย ข้าพเจ้าก็มิได้ไปเพราะขณะนั้น ข้าพเจ้ายังมิได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ข้าพเจ้าจึงไม่ ยอมรับเชิญ ก็นี่เมื่อเจ้าของบ้านเองเป็นผู้เชิญแล้วยังรับเชิญไม่ ได้ ด้วยเหตุดังกล่าวมาแล้ว สำมหาอะไรกับคนต่างชาติต่างภาษา เขาเชิญเล่า ก็ย่อมจะรับเชิญไม่ได้อยู่เอง." อนึ่ง ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วแต่ก่อนว่า ขบวนต้อนรับแขก แล้วเป็นมือขวาท่านอัครราชทูตไทย และเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าเป็น จริงเพียงไร ข้าพเจ้าจะขออธิบายความเป็นจริงในเรื่องนี้ให้ท่านผู้ อ่านทราบบ้าง. ราชทูตไทยมาเมืองฝรั่งเศสคราวนี้ ก็นับว่าเป็นของแปลกซึ่ง ไม่เคยมี ฉะนี้คนเป็นอันมากจึงอยากดูท่านว่าเป็นคนอย่างไร ก็ พากันมาหาท่านทุกวัน ๆ มิได้ขาด ในพวกที่มาหานั้นมีคนทุกชั้นทุก ชนิด เจ้านายและขุนนางข้าราชการชั้นสูงก็มี นักปราชญ์ราชกวี และนายช่างจิตรโกศลก็มี เป็นแต่ราษฎรธรรมดาก็มี ทั้งหญิงทั้ง
๑๐๘ ชาย คนต่าง ๆ เหล่านั้นท่านราชทูตรับรองอย่างเอื้อเฟื้ออารีอารอบ แต่รับด้วยกิริยาลักษณะผิดกันตามสมควรแก่ฐานะของบุคคล สำ- หรับคนธรรมดา ท่านเป็นแต่พูดจาปราศรัยคำนับตอบเท่านั้น สำหรับคนชั้นกลางท่านกล่าวคำอวยชัยให้พรเป็นพิเศษบ้าง และ สำหรับคนชั้นสูงยังเพิ่มคำเชื้อเชิญให้ท่านอยู่รับประทานอาหารด้วย กัน ถ้าหากท่านผู้นั้นรับเชิญท่านราชทูตก็ยังแสดงคารวะให้ผิด กันอีก สำหรับบางคนเป็นแต่สนทนากินอยู่ด้วยกันเท่านั้น แต่ สำหรับบางคนนั้น ท่านราชทูต อุปทูตและตรีทูตก็ช่วยกันยกสำรับ กับเข้าให้รับประทาน ถ้ามีสตรีนั่งรับประทานอาหารด้วยกัน ท่าน ก็เลือกเอาผลไม้ที่สุกดีและงดงามยกให้สตรีผู้นั้น ชั้นที่สุดถึงการ ให้ลูกไม้นี้ ท่านราชทูตมีวิธีเลือกให้ไม่เหมือนกัน ถ้าสตรีนั้นยิ่ง มียศศักดิ์ ท่านก็เลือกหาผลไม้ที่งามยิ่งให้สมกับยศ. วันหนึ่งในบรรดาสตรี ซึ่งนั่งรับประทานอาหารกับท่านราชทูต นั้น มีภรรยาของข้าราชการชั้นสูงผู้หนึ่งซึ่งได้แสดงความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่แก่ท่านราชทูตเป็นอันมาก ในเมื่อท่านกำลังเดิรทางจาก เมืองท่าจะไปกรุงปารีสนั้น ท่านอัครราชทูตมีความประสงค์อยาก จะแสดงความรู้บุญคุณต่อท่านข้าราชการผู้นั้นเป็นพิเศษ วันนั้น ท่านจึงเลือกผลไม้ให้จำเพาะแต่นางคนนั้นคนเดียว ผู้หญิงอื่น ๆ ท่านก็ไม่เลือกให้. ขณะนั้นยังมีสตรีตระกูลสูงอีกคนหนึ่ง ท่าทางจะมียศศักดิ์ มากกว่าภรรยาข้าราชการผู้รับผลไม้นั้น เมื่อเห็นตนไม่ได้รับผล
๑๐๙ ไม้จากมือท่านราชทูตเหมือนอย่างนางนั้น ก็แสดงอากัปกิริยาให้ เห็นว่าตนไม่พอใจในการที่ท่านราชทูต มิให้เกียรติยศแก่ตนบ้างทำ ให้ตนต้องอับอาย ท่านราชทูตจึงชี้แจงด้วยใจเยือกเย็นยิ่งว่า:- "วันนี้เราอยากแสดงความนับถือต่อนางคนนั้นเป็นพิเศษ หล่อน อย่าเสียใจคงมีโอกาสพบกันใหม่เป็นแน่ และในคราวหน้านั้นเรา ตั้งใจจะแสดงความเคารพต่อหล่อนเป็นพิเศษบ้าง " ยังอีกคราวหนึ่งท่านหญิงลาคงแตส เดอ ปอลอญ กับบุตร ชายของท่านจอมพลแห่งประเทศปอลอญ ก็ได้มาเยี่ยมราชทูตยังที่ พัก วันนั้นท่านราชทูตได้เชิญให้ท่านหญิงคงแตสนั้นรับประทาน อาหาร และอาศัยเหตุที่ท่านราชทูตเห็นว่าท่านหญิงคนนั้นเป็นผู้ ใหญ่ชั้นสูง ท่านจึงไม่ยอมเข้านั่งร่วมโต๊ะด้วย โดยอ้างว่าวาสนา ไม่คู่เคียงที่จะเข้ากินร่วมโต๊กับท่านหญิง ควรแต่เพียงจะเดิรโต๊ะ เลี้ยงท่านหญิงคงแตสเท่านั้น ท่านหญิงต้องอ้อนวอนแล้วอ้อน วอนเล่าอยู่เป็นนาน ท่านราชทูตจึงได้ยินยอมนั่งร่วมโต๊ะกินอาหาร ด้วยกัน. ส่วนบุตรชายของท่านจอมพลนั้น เห็นความอารีอารอบของ ราชทูตไทยก็ชอบใจที่สุด รุงขึ้นจึงได้ส่งพระบรมฉายาของสมเด็จ พระเจ้าโซเบียสกี้ พระราชาแห่งประเทศปอลอญมาให้ท่านราชทูต ไทยไว้เป็นที่ระลึก และเขียนกำกับกับพระบรมรูปนั้นว่า.- " ขอ ท่านราชทูตสยาม โปรดรับพระบรมรูปแผ่นนี้ไว้เป็นที่ระลึกถึงพระ บาทสมเด็จพระเจ้ากรุงปอลอญ ซึ่งท่านราชทูตได้แสดงความ
๑๑๐ คุ้นเคยโดยรับรองข้าพเจ้าด้วยจิตต์อารีอารอบเป็นอย่างยิ่ง " นี้แหละ การที่ราชทูตสยามกระทำสัมมาคารวะถ่อมตัวด้วย อากัปกิริยามรรยาทอันเสงี่ยมงามแก่แขกผู้ไปมาหาสู่เช่นนี้ ขอท่าน ผู้อ่านอย่าพึงเข้าใจว่า ถ้าขึ้นชื่อว่ามีแขกมาหาแล้วท่านราชทูตนั้น เป็นต้องถ่อมตัวร่ำไป ท่านถ่อมแก่ผู้ที่ควรถ่อม ท่านไว้เกียรติยศ แก่ผู้ที่ควรไว้ ให้สมกับฐานะที่เป็นราชทูตของพระมหากษัตริย์ อันใหญ่ ท่านสงวนเกียรติยศไว้เป็นอย่างดีเสมอทุกเมื่อ. ควรชม ท่านก็ชม ไม่ควรชม ท่านก็นิ่งเสีย ไม่ติเตียนว่า กะไร เช่นคราวหนึ่ง เจ้าพนักงานรบกวนถามท่านว่า:- " ของนี้ งามไหมเจ้าคุณ ? " ซ้ำซากไม่รู้จักหยุด ถ้าเปนคนอื่นถูกถามดังนี้ ก็นาเบื่อรำคาญ ส่วนท่านเปล่า ท่านตอบเฉย ๆ ว่า:- " ถ้าท่าน อยากทราบว่าของนั้นจะงามเป็นที่ถูกใจข้าพเจ้าหรือไม่นั้น ท่าน ต้องควรถามตัวเองเสียก่อนว่าสิ่งนั้นงามจริงไหม ? แล้วหากท่าน คิดตอบตัวของตัวเองว่า " งาม " แล้วไซร้ ท่านพึงเข้าใจเสียเถิดว่า สิ่งนั้นเป็นของงามจริง และข้าพเจ้าคงเห็นเป็นของงามด้วยคน หนึ่งเหมือนกัน เพราะว่าใจท่านนึกชมสิ่งใดฉันใด ใจข้าพเจ้าก็ นึกชมด้วยเช่นเดียวกัน."
บทที่ ๒๙ ว่าด้วยโรงเรียนสตรีชื่อแซงต์ซีร์ ต่อไปนี้ข้าพเจ้าขอย้อนไปเล่าถึง ตอนเมื่อท่านราชทูตดำเนิร ๑๑๑ มาจากเมืองท่าจะเข้าไปพระนครปารีส ซึ่งข้าพเจ้าลืมกล่าวในลำดับ อันควร คือพอขบวนเดิรมาถึงตำบลชื่อแมงตนงเจ้าพนักงานก็ ได้เชิญพวกทุตานุทูตให้ไปดูโรงเรียนสตรี ซึ่งมีอยู่ในตำบลนั้น เพราะเห็นว่าเป็นโรงเรียนพิเศษควรราชทูตจะไปดูไปชมบ้าง. โรงเรียนนี้ชื่อ แซงต์ซีร์ เป็นตึกยาว ๒๑๖ เมตร (๑๐๘วา) ด้านหน้าหันไปสู่ทิศใต้ มีมุขยื่นออกมาทางหน้าตึก ๒ มุขแต่มุข นั้นมิได้อยู่ตรงปลายสุดของตึก และที่พื้นดินตั้งแต่ปลายตึกทั้ง ๒ ข้างมาถึงมุข และระวางมุขต่อมุขทั้ง ๒ นั้นทำเป็นสนามหญ้า สลับกับสวนดอกไม้บ้างเป็นแห่ง ๆ โบสถ์สำหรับนักเรียนไป สวดนั้นอยู่ในโรงเรียนหลังใหญ่ข้างสุดปลายข้างหนึ่งยาว ๕๒ เมตร ( ๒๖ วา ) กว้าง ๑๒ เมตร ( ๖ วา ) ห้องนักเรียนเรียนนั้นอยู่ชั้น บน ชั้นล่างแบ่งเป็นระเบียงใน. เป็นบันได, ห้องรับประทาน อาหารและห้องใช้สอยเบ็ดเตล็ด. เมื่อท่านราชทูตได้แลเห็นโรงเรียนแซงต์ซีร์นั้น ต่างก็ แสดงความพิศวง เพราะเหตุที่ใหญ่สง่างามยิ่งกว่าโรงเรียนใด ๆ ซึ่งเคยได้แลเห็นมาแต่ก่อน ท่านสตอร์ฟเจ้าพนักงานผู้พาราชทูต ไปนั้นจึงชี้แจงอธิบายให้ท่านทราบว่า โรงเรียนแซงต์ซีร์นี้เป็น โรงเรียนหลวงซึ่งพึ่งจะทรงสร้างขึ้นใหม่ สำหรับบุตรีขุนนางข้าราช- การซึ่งขัดสน ไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะใช้ธิดาของตนได้เล่าเรียน วิชชาความรู้ชั้นสูงสมกับชั้นตระกูลของตน ธิดาข้าราชการชะนิด นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงอุปถัมภ์ค้ำชูด้วยพระราช
๑๑๒ ทรัพย์ส่วนพระองค์. ( คำอธิบาย - โรงเรียนสตรีชื่อแซงต์ซีร์นี้จะมีขึ้นก็เพราะอา- ศัยพระนางมาดาม เดอ แมงตนง ๆ นี้ เมื่อสมเด็จพระนางอันน์- โดตรีชพระมเหษีของพระเจ้าหลุยที่ ๑๔ สิ้นพระชนม์ลงจึงได้เป็น พระชายาของพระองค์ แต่มิได้ราชาภิเษก พระนางนั้นมีศรัทธา ทูลเตือนพระราชสามีให้ทรงสถาปนาโรงเรียนนั้นขึ้น และตลอด รัชชกาลของสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ หลุยส์ที่ ๑๕ หลุยส์ที่ ๑๖ โรงเรียนนั้นก็ได้เป็นโรงเรียนสำหรับธิดาข้าราชการที่ขัดสน แต่ ครั้นต่อมา เมื่อได้เกิดขบถกลางเมืองฝรั่งเศสล้างวงศ์กษัตริย์เสีย หมด รัฐบาลประชาธิปตัยได้อุทิศโรงเรียนแซงต์ซีร์นั้นให้เป็นโรง เรียนนายร้อย และทุกวันนี้ก็ยังเป็นสำนักนักเรียนยุทธสงคราม อยู่นั่นเอง.) เมื่อราชทูตไทย ได้ยินท่านสตอร์ฟเจ้าพนักงานอธิบายเรื่อง สร้างโรงเรียนสตรีนั้น ท่านราชทูตก็สรรเสริญพระปรีชาญาณและ พระราชศรัทธาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เป็นอเนก ประการว่า.- " นอกจากผู้มีศรัทธาและใจกรุณาเป็นอันยิ่งแล้ว เป็น ไม่มีใครจะได้นึกสร้างโรงเรียนชะนิดนี้ขึ้น น่าสรรเสริญพระราช ศรัทธาและพระปรีชาญาณของพระองค์ผู้ทรงสร้าง เพราะเป็น สถานที่มีประโยชน์แก่แผ่นดินอย่างยิ่ง.
๑๑๓ บทที่ ๓๐ ราชทูตไทยสนทนากับเสนาบดี เดอ ครัวซี. บัดนี้ข้าพเจ้าจะขอกล่าวถึงลำดับความเป็นไปของราชทูตสยาม ในเมืองฝรั่งเศสต่อไป เพราะเรื่องต่าง ๆ ซึ่งข้าพเจ้าได้กล่าวมาใน ๒ บทที่ล่วงแล้วนี้ ล้วนแต่เรื่องซึ่งข้าพเจ้าลืมกล่าวมาก่อน. ครั้นถึงวันที่ ๒๔ เดือนกันยายน ท่านเสนาบดีเดอครัวซี ก็ได้มาเยี่ยมตอบราชทูตที่สำนักของท่าน ซึ่งเรียกว่าสถานทูต พิเศษ พอราชทูตไทยได้ข่าวว่าท่านเสนาบดี เดอครัวซี จะมาเยี่ยม ตอบนั้น ท่านก็ให้ขุนนางไทย ๖ นางลงไปคอยรับท่านที่เชิงบันได และส่วนท่านอัครราชทูตกับอุปทูต ตรีทูตนั้น ก็ออกมายืนรับที่ นอกชาน ตรงบันไดที่ท่านจะขึ้นมา. เมื่อทั้งสองฝ่ายได้แสดงคำอวยพรคำนับกันที่นอกชานแล้ว ท่านอัครราชทูตสยามได้เชิญท่านเสนาบดีมาพักที่ห้องรับแขก ใน ห้องนั้นมีที่ยกพื้นอยู่แห่งหนึ่ง ข้างบนปูด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ คล้ายพระราชบังลังก์ และบนที่ยกพื้นข้างล่างนั้นมีเก้าอี้อยู่ ๔ ตัว ตั้งอยู่ข้างขวามือเก้าอี้ ๑ และอีก ๓ เก้าอี้ตั้งเรียงกันอยู่ข้างซ้ายมือ พอท่านอัครราชทูตเชิญให้ท่านเสนาบดีนั่งลงที่เก้าอี้เดี่ยวอยู่ข้างขวา มือแล้ว ท่านเองกับอุปทูตตรีทูตก็นั่งลงที่เก้าอี้ ๓ ตัวซึ่งเรียงอยู่ ข้างซ้าย. เมื่อทั้งสองฝ่ายนั่งเสร็จสรรพเป็นปกติแล้ว ท่านเสนาบดี ๘ ๑๑๔ เดอครัวซีจึงเอ่ยขึ้นก่อนว่า.- " ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจต่อ ท่านที่มาเยี่ยมช้าไปหน่อย เป็นเพราะหาเวลาว่างราชการไม่ค่อยได้ ขอท่านได้โปรดอภัยแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ แต่ถึงมาเยี่ยมช้าดังนี้ ก็มิได้ลืมท่านเลย พระราชสาสน์ที่ท่านให้ข้าพเจ้านำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายนั้น ข้าพเจ้าได้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายให้ทรงทราบตามประ สงค์เสร็จแล้ว และข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอันมากที่จะเรียนเจ้า คุณว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพอพระทัยที่พระเจ้ากรุง สยามมาขอเจริญทางพระราชไมตรี กับกรุงฝรั่งเศสนั้นเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงรับสั่งกับข้าพเจ้าว่า พระองค์ทรงยินดีที่จะให้ช่วยความ เป็นมิตรในระวางสองพระนครนั้นให้ยิ่งแน่นแฟ้นขึ้นทุกวัน. อนึ่งพระองค์ยังทรงรับสั่งถึงท่านเองว่า เดิมก็มีผู้มากราบทูล สรรเสริญท่านอยู่ว่า ท่านเป็นผู้เฉลียวฉลาดสามารถในราชการ และบัดนี้ที่พระองค์ได้ทรงพบท่านด้วยพระองค์เอง และทราบด้วย พระเนตรพระกรรณของพระองค์ ว่าท่านเป็นคนดีสมดังคำเขาเล่า ลือกัน การที่ท่านประพฤติมาตั้งแต่แรกที่ได้เหยียบแผ่นดินฝรั่ง เศสนั้น เป็นที่พอพระทัยของพระองค์เป็นอันมาก ฉะนี้ ข้าพเจ้า มีความยินดีที่ได้มีโอกาสนำข่าวอันน่าชื่นใจเหล่านี้ มาเรียนให้ท่าน ทราบ." เมื่อราชทูตได้ฟังท่านเสนาบดี กล่าวคำยกย่องสรรเสริญท่าน ฉะนี้ ท่านก็มิได้สะทกสะท้านอันใด ท่านตอบด้วยนิสสัยอันเยือก เย็นและสุขุมคัมภีรภาพของท่านดังที่เคยมาในคราวอื่นว่า.- " ที่
๑๑๕ เจ้าคุณมีความเมตตามาหาข้าพเจ้า เพื่อนำข่าวอันประเสริฐมาให้ ข้าพเจ้าทราบนี้ เป็นที่พอใจของข้าพเจ้าอย่างยิ่ง ขอขอบพระเดช พระคุณเป็นอันมาก ด้วยว่า ถ้าทุกวันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้า แผ่นดินฝรั่งเศสทรงพอพระทัยในเราชาวสยาม ก็ย่อมเป็นเพราะ เจ้าคุณได้นำความจริงขึ้นกราบบังคมทูลให้ทรงทราบเท่านั้น อนึ่ง ที่ท่านว่าใคร ๆ ย่อมพอใจในความประพฤติของเรานั้น แท้จริง มิใช่เป็นเพราะคุณวุฑฒิปรีชาสามารถในส่วนตัวเราหามิได้ เป็น เพราะบารมีของพระเจ้าแผ่นดินสยาม คุ้มครองรักษาเสมอมิได้ขาด ต่างหาก ก่อนที่เราจะได้ออกมาเมืองฝรั่งเศสนี้ สมเด็จพระเจ้า กรุงสยามทรงกำหนดให้พวกเรากระทำอย่างไร พวกเราก็ทำตามทุก อย่างทุกประการ ฉะนี้ ท่านทั้งหลายข้างนี้จึงชอบใจเรา. แท้จริงทุกเช้าค่ำ พวกเราทั้งหลายบรรดาราชทูตสยามนี้ ได้ มีความจำนงใจอยู่ แต่ที่จะปฎิบัติมิให้เป็นที่ขุ่นเคืองพระทัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระนคร และยิ่งกว่านี้ มิ อยากกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนแก่ชาวชนพลเมือง ฝรั่งเศส แม้แต่คนต่ำที่สุดซึ่งมีอยู่ในบ้านเมืองนี้ น่าเสียดาย อยู่อย่างเดียว แต่ที่พวกเรายังไม่ชำนาญในขนบธรรมเนียมแห่งบ้าน เมืองนี้ ถ้าทราบละเอียดดีแล้วข้าพเจ้ากล้ารับทีเดียวว่า บรรดา ชาวฝรั่งเศสทั้งหลาย คงไม่มีใครที่จะมีความรังเกียจในพวกข้าพเจ้า เพราะถ้ารู้แล้วจะปฏิบัติให้ถูกใจเป็นแน่ " ทีนี้ท่านเสนาบดีจึงได้กล่าวต่อไปว่า:- " ถ้าท่านอยากได้
๑๑๖ รับคำชมเชยอันแท้จริงของชาวฝรั่งเศสทั่วไป และถ้าพระเจ้า กรุงสยาม มีพระราชประสงค์อยากจะบำรุงความไมตรีให้สนิทสนม ถาวรไปในระวางสองพระนครแล้ว ควรเจ้าคุณจะทูลให้พระองค์ ทรงทราบว่า ไม่มีทางอื่นที่จะให้ดีเท่ากับอุปถัมภ์บำรุงพระศาสนา คริศตังในเมืองไทยให้เจริญ ควรที่พระองค์จะทรงป้องกันท่าน บาดหลวงที่ไปสั่งสอนพระศาสนาในเมืองไทยนั้น และป้องกัน รักษาคนไทยที่นับถือพระศาสนาคริศตังด้วย อย่าให้เดือดร้อน เพราะความเลื่อมใสของเขาเป็นอันขาด นั่นแหละ ถ้าพระเจ้า กรุงสยามทรงจัดการให้เป็นไปได้ดังกล่าวในเรื่องนี้แล้ว ไม่ต้อง สงสัยเลย เจ้าคุณคงเป็นที่ชอบใจของคนฝรั่งเศส และทาง พระราชไมตรีก็จะมีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป นอกนั้นไม่เห็นมีทาง อื่นที่จะดีเท่ากับวิธีนี้. " ท่านราชทูตจึงตอบว่า :- " เรื่องนี้ขอเจ้าคุณจงอย่าได้มีความ วิตกไปเลย ถึงทุกวันนี้คริศตังสยามก็ไม่น้อยหน้าพลเมืองอื่นเลย ท่านบาดหลวงอาเบ เดอ ลิยอน ซึ่งได้เป็นล่ามมาในคราวนี้ก็อาจ เป็นพะยานแห่งความจริงในเรื่องนี้ได้ ขอเจ้าคุณโปรดสืบถาม ท่านดูเถิด คงทราบได้ดี อนึ่งบัดนี้ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสอง พระนครทรงเจริญทางพระราชไมตรีกันอย่างสนิทสนม ถึงกับส่ง ทูตไปเยี่ยมเยือนกัน ความเจริญแห่งพระศาสนาคริศตังในเมือง สยาม คงเจริญวัฒนาการต่อ ๆ ขึ้นไปเป็นลำดับ ขอเจ้าคุณ ได้เชื่อเถิดว่าการนี้คงสำเร็จ สมตามพระราชประสงค์ทุกอย่างทุก
๑๑๗ ประการ." เมื่อบรรดาท่านทั้งหลายซึ่งอยู่ในที่ประชุม ได้ยินท่านราชทูต สยามกล่าวดังนี้ก็ชอบใจถึงกับตบมืออวยชัยว่า:- " ดีแล้ว ๆ " แล้วต่างคนก็ปรารภถึงท่านเสนาบดีว่า.- " แปลกจริงหนอ ท่าน เสนาบดีเดอครัวซีซึ่งเราไม่เคยได้ยินพูดดังนี้เลยแต่ก่อนมา วันนี้ พูดเอื้อเฟื้อศาสนาราวกับสงฆ์ทีเดียว " ความจริงในเรื่องนี้ คือว่า ถึงตัวเสนาบดีเองไม่มีศรัทธานัก ท่านก็ยังพูดเหมือนคนมีศรัทธาได้ เพราะว่าใคร ๆ รู้อยู่ว่าเหตุที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ อยากจะเชื่อมไมตรี ให้ติดต่อกับกรุงสยาม ก็เพื่อจะชักนำพระเจ้ากรุงสยามและพลเมือง ของพระองค์ให้เป็นคริศตังเข้ารีตเหมือนพระองค์ จะได้เป็น เกียรติยศอันใหญ่ยิ่งแก่พระองค์ต่อนานาชาติ ซึ่งนับถือพระคริศต ศาสนา ฉะนี้ท่านเสนาบดีจึงพูดกับราชทูตดังนั้น เพื่อจะให้การ นั้นสำเร็จไป จะได้เป็นความชอบแก่ตนบ้างเท่านี้เอง. เมื่อสนทนากันไปมาตามสมควรแก่การแล้ว ท่านเสนาบดี กล่าวลาราชทูตว่า.- " แท้จริงข้าพเจ้าก็อยากจะอยู่สนทนากับท่าน อีก แต่ว่าวันนี้เป็นวันที่ท่านจะไปดูละคอนออเปรา และเวลานี้ ก็จวนจะถึงเวลาที่ท่านจะไปอยู่แล้ว ข้าพเจ้าจึงต้องขอลาไปก่อน เพราะว่าถ้าขืนหน่วงให้ช้าตามความสนุกของข้าพเจ้าทางนี้ ก็จะตัด ความสนุกของท่านในทางนั้น ซึ่งเป็นการมิบังควร ฉะนี้จึงต้อง ขอลาไปก่อน " ว่าเท่านี้แล้วท่านก็ลุกออกไป และคณะราชทูตก็ตามไปส่ง
๑๑๘ ถึงเชิงบันได เป็นหมดการเยี่ยมตอบของเสนาบดีฝรั่งเศสใน คราวนั้น. บทที่ ๓๑ ราชทูตไทยไปดูละคอนโอเปรา ก่อนที่จะกล่าวถึงการที่ราชทูตไปดูละคอน ข้าพเจ้าจะขอ โอกาสกล่าวถึงความเป็นไปในตอนเช้าวันที่ได้ไปนั้นบ้าง ว่า นายลึลี เจ้ากรมมหรศพได้ออกมาเยี่ยมราชทูตไทยยังที่พัก เมื่อ เจ้าคุณราชทูตได้ทราบว่า ท่านอาจารย์ลึลีคนนี้เป็นผู้มีคุณวุฒิชำนิ ชำนาญในทางวิชชาดนตรี และเป็นกวีในทางนิพนธ์แต่งบทเพลง บทละคอนโอเปราเป็นต้น ทั้งทราบว่าเป็นคนโปรดของสมเด็จ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ด้วย เจ้าคุณราชทูตจึงได้ต้อนรับท่าน อาจารย์อย่างแข็งแรง ทั้งได้เชิญให้อยู่รับประทานอาหารด้วยกัน. ( ผู้แปลหนังสือเรื่องราชทูตไทยนี้ เคยได้ยินผู้ใหญ่ซึ่งเป็นคน น่าเชื่อถือกล่าวกันหลายปากว่า บทสรรเสริญพระบารมี คือเพลง ชาติไทยซึ่งร้องกันทุกวันนี้ เป็นเพลงที่ท่านอาจารย์ลึลีได้ผูกไว้ เป็นเพลงตามแบบดนตรีฝรั่ง โดยเอาบทเพลงไทยเก่าเป็นเค้ามูล แต่เสียดายจนป่านนี้ยังหาหลักฐานประกอบกับคำเล่าสืบ ๆ กันมา นี้ยังไม่ได้ ) ครั้นตกเวลาเย็น เมื่อสิ้นการสนทนากับท่านเสนาบดีเดอ ครัวซีแล้ว อัครราชทูตไทยและขุนนางไทยอื่น ๆ ที่มาด้วยกัน
๑๑๙
ก็พากันไปดูละคอนโอเปรา ที่ท่านอาจารย์ลึลีเจ้ากรมมหรศพเป็นผู้ จัดการ พอรถราชทูตจอดหน้าโรงละคอนโอเปรา ท่านอาจารย์ลึลี
ก็ออกมาต้อนรับและเชิญให้เข้าไปข้างใน
บทละคอนโอเปราที่แสดงในคืนวันนั้นเรียกว่า " อาซีซเอ
คาลาเต " เป็นเรื่องนางผีเสื้อชื่อคาลาเตอยู่ในห้องเกษียรสมุทร
ได้มาทำความรักใคร่กับบุตรของมนุษย์ ชื่ออาซีซซึ่งเป็นชายงามน่า
รักที่สุด จนได้สัญญาจะแต่งงานวิวาห์ด้วยกัน แต่ก็หาสำเร็จ
ตามความประสงค์ไม่ เพราะอ้ายยักษ์ชื่อ ปอลีเฟม เป็นชาติผี
ทะเล มีตาดวงเดียวอยู่ตรงกลางหน้าผาก อ้ายยักษ์ปอลิเฟมนั้น อิจฉานายอาซีซ ไม่ยอมให้เขาแต่งงานกับนางคาลาเตได้ ครั้น เกือบถึงเวลากระทำการวิวาหะ อ้ายยักษ์ปอลิเฟมขึ้นไปบนยอด ภูเขาสูง แลเห็นอาซีซเดิรไปอยู่ที่เชิงเขา ก็เอาก้อนศิลาอัน มหึมาขว้างลงมาข้างล่างทับเจ้าอาซีซนั้นตาย.
โอเปราที่เล่นนั้น เป็นโอเปราสั้น ๆ ไม่เปลี่ยนฉากเลย เจ้าพนักงานผู้กำกับราชทูตจึงอธิบายให้ท่านฟังว่า โอเปรานี้เป็น โอเปราอย่างสั้น เดิมตั้งใจจะให้เล่นกลางแปลง ฉะนี้ จึงไม่ใช้ ฉากเหมือนละคอนโอเปราธรรมดา ๆ มักจะยาวกว่าโอเปรานี้ และ มักจะมีภาษีกว่าโอเปรานี้ด้วย เพราะมีเครื่องพร้อม ท่านอัครราช ทูตจึงแสดงความเห็นในคราวนั้นโดยตอบว่า.- " เมื่อบทโอเปรา สั้น ๆ ไม่มีเครื่องประกอบยังน่าฟังและน่าดูถึงปานนี้แล้วไซร้ ถ้า เป็นบทที่พร้อมเพรียงไปด้วยเครื่องเคราเสร็จ จะน่าดูน่าฟังสักเพียง
๑๒๐ ไหนเล่า ? เพราะเท่าที่เห็นที่ฟังกันอยู่นี้ก็เป็นยอดเยี่ยมอยู่แล้ว." ใจความในเรื่องที่เล่นนั้น ท่านราชทูตเข้าใจเงื่อนเป็นแน่ เพราะการสนทนาของท่านต่อไปภายหลัง ทำให้เห็นว่าท่านเข้าใจดี หาไม่ท่านคงพูดไม่สมกับเรื่อง ซึ่งในเวลาเย็นตอนเมื่อละคอน เลิกแล้วนางสาวราชัวร์ ตัวละคอนที่แต่งเป็นนางผีเสื้อคาลาเตนนั้น ได้มาคำนับราชทูตยังที่สำนักของท่าน และท่านอัครราชทูตได้ ออกปากสรรเสริญนางสาวราชัวร์นั้นว่า " ดีแล้วที่ธิดาพระมหา- สมุทรออกมาหาถึงที่ดังนี้ ดีแล้วเป็นที่หวังเป็นอันมั่งคงว่าคณะ ราชทูตไทยจะได้กลับบ้านเมืองโดยสวัสดิภาพ ปราศจากคลื่นลม ร้ายแรงเป็นแน่แล้ว เพราะที่ไหนเล่าพระสมุทรจะไม่อนุโลม ตามใจพระธิดาอันน่ารักนี้ ดีแล้ว ๆ "
บทที่ ๓๒ ราชทูตไปชมหอดูดาว. รุ่งขึ้นวันหลัง ราชทูตได้พากันไปชมหอดูดาว " ออบแซร์- วาตัวร์ " ซึ่งตั้งอยู่บนเนินข้างทิศใต้แห่งกรุงปารีส ห่างจากละแวก บ้านและโรงทำงานใหญ่ ๆ ออกไป เพราะตามธรรมดาเป็นที่มี ประชุมชนอยู่กันมาก และมีโรงงานตั้งอยู่มากอากาศไม่ค่อยโปร่ง พอไปถึงท่านคาชีนีเจ้ากรมก็ออกมาต้อนรับราชทูตถึงนอกชาน ชาน ของหอดูดาวนั้นแล้วด้วยศิลาทั้งนั้น ข้างล่างเป็นราวกับบ้าน เรือนใหญ่ ๆ สำหรับเก็บเครื่องวัดแดดและดูดาวต่าง ๆ และ ๑๒๑ ข้างบนก็เป็นหอสูงสำหรับดูดาว. หอดูดาวนี้รูปทรงสัณฐานกลมสูง ๆ แล้วด้วยศิลาแผ่นใหญ่ ๆ ทั้งหลัง กำแพงหอนั้นหนาถึง ๓ เมตร สูง ๒๓ เมตร นับตั้ง แต่ลานศิลาหรือชานซึ่งกล่าวถึงนี้เป็นที่ตั้ง ชานนี้คนธรรมดา เห็นก็น่าจะเข้าใจว่าเป็นพื้นล่าง แต่ที่จริงไม่เป็นเช่นนั้น เป็น แต่เพียงชั้นกลางเท่านั้น ส่วนชานข้างล่างนั้นแต่เดิมเมื่อยังไม่ มีหอก็เป็นถ้ำลึกเข้าไป ที่เขาเคยระเบิดศิลาไปใช้ในการก่อสร้าง และเดี๋ยวนี้เป็นห้องสำหรับทดลองเครื่องต่าง ๆ แต่ห้องเหล่านี้ คนข้างนอกรู้ไม่ได้ว่าเป็นห้อง น่าจะนึกเห็นว่าเป็นพื้นล่างของหอ เท่านั้น ต่อเข้าไปข้างในจึงจะรู้. หอที่ปรากฎบนนอกชานนั้นสร้างเป็นสองชั้น และชั้น บน ๆ นั้นไม่มีหลังคาเป็นพื้นที่เดิรเหมือนชั้นล่างที่เรียกว่านอกชาน ชั้นนี้มีเสาตั้งกล้องใหญ่สูง ๒๓ เมตร ข้างในหอนั้นมีกะไดเวียน ลงจากชั้นบนที่สุดถึงชั้นล่างที่สุดข้างใต้ดิน ซึ่งว่าเมื่อกี้ว่าเดิมเป็น ถ้ำขุดศิลา กะไดนั้นเป็นของแปลกที่ไม่พิงพาดกับอะไร วน เวียนหมุนไปตลอดและข้างในกลวงดูดังกระบอกไม้ไผ่ใหญ่ ๆ ซึ่ง จะมีสะกรูไว้ข้างในคือข้างหนึ่งเป็นฝา และอีกข้างหนึ่งเป็นราว สำหรับยึดจับ และพ้นออกไปจากราวนั้นก็เป็นช่องว่างเวิ้งสูง ละลิ่ว ก้มลงดูจากข้างบนก็ใจหาย ค่าที่เห็นเป็นช่องว่างลึกลง ไปตั้ง ๔๘ เมตร คือเส้นเศษ. ที่เขาสร้างกะไดให้สูงละลิ่วดังนี้ ไม่ใช่สร้างไว้เล่น ๆ เพื่อ
๑๒๒ ให้ดูแปลก ๆ เท่านั้น แท้จริงเขาสร้างให้มีประโยชน์ในการทด ลองวิทยาต่าง ๆ อันเกี่ยวกับวิทยาศาสตร เช่นเขาอยากทราบว่า อาการตกของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเร็วช้าเท่าใด เขาเอาสิ่งนั้นปล่อยทิ้ง ไว้ในช่องว่างระวางกะไดเวียนนั้นก็รู้ ทั้งทราบว่าอากาศข้างบน เบากว่าลมอากาศข้างล่างเท่าใด เพราะความหน่วงเหนี่ยวสิ่งที่ทิ้ง ลงไปนั้นข้างบนกับข้างล่างมีอาการไม่เหมือนกัน อนึ่งเขาใช้ สำหรับทดลองดูว่าอากาศยิ่งสูงยิ่งหนาวเท่าไร แปลงเปลี่ยนจาก ร้อนและหนาวเร็วช้าอย่างไร ลูกตุ้มนาฬิกาถ้าสายยาวก็แกว่งช้า ถ้าสั้นก็แกว่งเร็วเป็นธรรมดา แต่ถ้าลูกตุ้มถูกลมอากาศก็อาจ เปลี่ยนแปลงเร็วเป็นช้า หรือช้าเป็นเร็วได้แล้วแต่ลมอากาศที่มา กระทบนั้น แต่ครั้นได้มาทดลองในช่องหว่างกะไดกลวงนี้ดูแล้ว ก็คิดคำนวณแรงแกว่งได้แน่ชัด เพราะลมอากาศไม่มีมาเป็น เครื่องอุปสัคหรือช่วยเหลือประการใด เกี่ยวจำเพาะแต่เรื่อง สายจะยาวสั้นเพียงไรเท่านั้น อนึ่งยังใช้สำหรับวัดดูลมอากาศ หนักเบาผิดกันอย่างไรตามวันและเวลาจึงอาจทายพายุได้ ตกลง ช่องกะไดนี้ซึ่งถ้าไม่รู้อาจนึกว่าสร้างไว้ดูเล่นแปลก ๆ ที่จริงก็ เป็นสิ่งสำคัญอันหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับวิชชาโหร. อย่าว่าแต่ช่องว่างนั้นเลย ถึงแม้ห้องลึก ๆ ที่อยู่ภายในใต้ ดิน ดังที่ได้อธิบายมาแล้วนั้น ก็มีประโยชน์เป็นอเนกประการ เหมือนกัน คือเขาใช้รักษาผลไม้เมื่อหน้าหนาว แล้วทำความ แนะนำให้ราษฎรรู้วิธีเก็บงำรักษาผลไม้ ของตนมิให้เน่าเสียเก็บไว้
๑๒๓ ได้นาน ๆ ทั้งเป็นเบื้องต้นแห่งวิชชาท่ดลองสร้างยุ้งฉางให้ถูก ต้องด้วย. หอดูดาวนี้สร้างไว้ถูกต้องตรงกับทิศทั้ง ๔ ด้านเหนือก็หัน ไปข้างเหนือ ด้านใต้ก็หันไปข้างใต้ไม่มีผิดสักองษาเดียว ทั้งนี้ เพื่อเป็นที่สะดวกในการตรวจตราท้องฟ้าอากาศ หน้าต่างเล่าก็ ทำไว้ทั้งกว้างทั้งสูง เพียงเปิดออกก็เห็นท้องฟ้าได้สนัดแทบเท่า กับอยู่ข้างนอกทีเดียว. นอกจากที่เป็นหอสำหรับดูดาว จะว่าเป็นหอ-มิวเซียมหอ พิพิธภัณฑ์ด้วยก็ไม่ผิด เพราะภายในนั้นไม่ว่าเครื่องแผนที่โบราณ แต่ครั้งไหน ครูไหน เป็นต้องมีรวบรวมอยู่ในนั้นทั้งสิ้น สรรพ เครื่องที่เกี่ยวกับการเดิรเรือ กับภูมิศาสตร ดาราศาสตร ฯ ล ฯ ย่อมมีอยู่ในนั้นหมด. นายช่างผู้ที่ได้คิดแบบหอดูดาวนี้ชื่อ แปรโรล์ต์ คือคนเดียว กันกับผู้ที่ได้คิดแบบพระที่นั่งวังลูฟร์ เมื่อราชทูตเดิรดูทางภาย นอกหอเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานจึงเชิญเข้าไปดูข้างใน เพราะ ของน่าดูที่ยังไม่ได้เห็นยังมีอีกมาก ในชั้นต้นเขาพาไปดูห้องที่ อยู่ฝ่ายด้านทิศตะวันออก ในห้อง " ตะวันออก " นี้ของที่แปลก สำหรับราชทูต คือ กระจก สำหรับดูดแสงแดดรูปกลม ศูนย์กลางกว้างเกือบ ๒ เมตร ( เกือบ ๑ วา ) เวลาราชทูตไปถึงเจ้าพนักงานได้หัน หน้ากระจกให้เหมาะกับแสงแดด แล้วเอาไม้กระดานทั้งแผ่นหนา
๑๒๔ หลายนิ้วฟุตมาตั้งไว้ข้างล่างกระจกให้ได้ศูนย์กัน พอได้ศูนย์กัน แล้วก็เกิดเป็นไฟลุกขึ้นทันที ไหม้ไม้กระดานราวกับตกอยู่ใน กองเพลิง พอไหม้ไม้กระดานแผ่นนั้นแล้วเจ้าพนักงานก็เปลี่ยน เอาตะกั่วทั้งก้อนมาวางไว้แทน ในบัดเดี๋ยวนั้นก้อนตะกั่วก็ละลาย เหลงคว้างไป ทั้งนี้ก็เพราะอำนาจแห่งแสงอาทิตย์ซึ่งส่องเข้ามา กลางกระจกนั้นนั่นเอง. ถัดจากกระจกไปแล้วราชทูตได้ไปดูแผนที่ดาวในท้องฟ้า ซึ่ง เจ้ากรมคาซ์ซีนีได้ประดิษฐขึ้นใหม่ ๆ อาศัยแผนที่นี้ไม่ว่าดาว ดวงใดซึ่งปรากฎในท้องฟ้าอากาศแล้วก็เห็นแจ้งอยู่ในนั้นหมด รูป ร่างสัณฐานและสถานที่ไม่คลาดเคลื่อนเลย ราชทูตเห็นก็ชอบ ใจ จึงขอท่านคาซ์ซีนีเจ้ากรมว่า " แผนที่อย่างนี้ดีจริง ขอท่าน ได้โปรดคิดทำขึ้นอีกแผ่นหนึ่งสำหรับพระเจ้ากรุงสยาม แต่ขอ ให้ถูกต้องกับดวงดาวซึ่งปรากฎในท้องฟ้าทางบุรพทิศเมืองไทย " เมื่อราชทูตดูแผนที่นั้นแล้ว ท่านคาซ์ซีนีก็ได้พาไปดูกล้อง ยาวต่าง ๆ ที่พวกโหรใช้ในการดูดาว ท่านอัครราชทูตมาติดใจ เครื่องหนึ่งซึ่งมีลำกล้องยาวตั้ง ๘ เมตร ( ๔ วา ) เพราะถึงว่าลำ กล้องใหญ่ยาวพะรุงพะรัง ถึงเพียงนี้ก็เห็นสิ่งของแจ่มแจ้งชัดดีกว่า ที่จะดูด้วยตาเปล่าแต่ใกล้ ๆ เสียอีก ไม่รู้สึกว่ามีลำกล้องเลย. ท่านอัครราชทูตจึงเลยเตือนท่านคาซ์ซีนีว่า " ก็เมื่อลำกล้อง ยาว ๆ ดังนี้ไม่เป็นที่กีดขวางในการดูแล้ว ทำไมท่านจะไม่คิด ทำให้ยาวใหญ่กว่านี้อีกเล่า ? เช่นจะให้ยาวตั้งเส้นสองเส้นจะไม่
๑๒๕ ได้แลหรือ ? จะได้แลเห็นของไกลได้ชัดขึ้นกว่านี้อีก " แท้ จริงเรื่องนี้ พวกโหรทั้งหลายก็ได้เคยดำริกันมาแล้วเหมือนกัน คือต่างอยากสร้างลำกล้องให้ยาวที่สุดที่จะทำได้ เพื่อจะให้กระ จกข้างปลายกระบอกนั้นใกล้เข้ากับสิ่งของที่ต้องการจะดู แต่ก็ ทำไม่ค่อยสำเร็จได้ง่าย เพราะถ้าทำให้ลำกล้องยาวเกินไปก็มัก จะเขยื้อนไปมา ทำลายความสามารถของกล้องที่จะเห็นได้ถนัด ชัดเจน เพราะกล้องไม่คงที่กระจกเขยื้อนเลยไม่เห็นถนัด ท่าน คาซ์ซีนีจึงตอบเจ้าคุณราชทูตว่า " เครื่องอย่างที่เจ้าคุณว่านี้ ที่ จริงเราก็ดำริจะสร้างขึ้นเหมือนกัน แต่ยังคิดวิธีไม่สำเร็จ เพราะ เครื่องอย่างนั้นจะมีน้ำหนักมาก จะเป็นการยากมากในการหันไป หันมา ยกขึ้นหรือหย่อนลงให้ได้ศูนย์ซึ่งล้วนเป็นของจำเป็นสำ- หรับให้เห็นชัด แต่ถึงกระนั้นในระวางที่ยังคิดไม่ตกลงเราได้นึก แก้ไขไปทางอื่นเสียแล้ว คือในกรมโหรนี้มีโหราจารย์คนหนึ่งเป็น คนสามารถชื่อคาเมียรส์ พึ่งได้คิดประดิษฐกล้องอย่างแรงขึ้นชะนิด หนึ่งมีกระจกใหญ่ แต่กล้องใหม่นี้ลำกล้องที่เป็นรูปกระบอก นั้นไม่มี มีก็แต่กระจกเท่านั้น ได้ทดลองแล้วใช้ได้ดีเหมือนกัน เรื่องกล้องใหม่ไม่มีกระบอกนี้ ท่านคามียรส์เองได้เคยอธิบาย ไว้ในหนังสือโหราศาสตรคราวหนึ่งแล้ว และในราว ๒-๓ ศก มานี้เอง ก็ได้อธิบายซ้ำไว้ในหนังสือพิมพ์รัฐบาลกลาย ๆ ที่เรียกว่า " แมร์กึร์ " อีกคราวหนึ่ง. เมื่อพูดอย่างนี้แล้ว ท่านคาซ์ซีนีก็เอาแผ่นกระจกอย่างแรง
๑๒๖ มาตั้งไว้ตรงหน้าต่างแห่งหนึ่ง แล้วท่านเอาแผ่นกระจกเล็กประ มาณเท่าแว่นตาอีกแผ่นหนึ่ง ถอยหลังออกไปตั้งไว้ห่างจากแผ่น ใหญ่ราว ๙๐ ฟุต แล้วท่านจึงได้เชิญให้ราชทูตมองดูที่แผ่นกระจก เล็กนั้น พอตั้งได้ที่ ได้สายศูนย์กันพอดีแล้วราชทูตดูเห็นสิ่งที่ อยู่ห่างออกไปไกลอะโขได้ถนัด ราวกับกล้องมีกระบอกเหมือนกัน อาศัยกล้องส่องชะนิดไม่มีกระบอกนี้แหละ ท่านอาจารย์ คาซ์ซีนีได้ค้นพบดาวบริวารพระเสาร์ดวงเล็ก ๆ อีก ๒ ดวง ซึ่ง ตารกาจารย์แต่ก่อนยังไม่เคยพบเห็นเลย ดาวบริวารพระเสาร์นี้ ท่านได้ตั้งชื่อเรียกว่าสิลเวราลาออดีเซรา. พอดูกล้องนี้เสร็จแล้ว ท่านอาจารย์คาซ์ซีนีได้นำเจ้าคุณ ราชทูตเข้าไปดูเครื่องอีกเครื่องหนึ่งในห้องของท่าน เครื่องนั้น แล้วด้วยทองเหลือง รูปสัณฐานกลมเหมือนผลส้มโอใหญ่ ๆ สมมุติว่าเป็นดวงโลกที่มนุษย์เราอาศัยอยู่นี้ รอบลูกกลมนั้นมี เส้นพาดขึ้นพาดลงและผ่านไปทางซ้ายขวา ทั้งนี้สำหรับกะเนื้อ ที่และคำนวณได้สะดวกว่าตำบลใดอยู่เหนือใต้เท่าไร ห่างไป ทางทิศตะวันออก , ตะวันตกเท่าไรแน่ ข้างในลูกโลกทองเหลือง นั้น มีเครื่องจักรบังคับให้ลูกโลกนั้นหมุนไปเหมือนกับโลกหมุน ไปนั่นเอง ไม่เร็วไม่ช้ากว่ากันคือพอหมุนรอบตัวก็เป็นเวลาวัน ๑ กับคืน ๑ พอดี และหมุนรอบดวงอาทิตย์สมมุติอีกดวงหนึ่งก็ สิ้นเวลาปีหนึ่งพอดี อนึ่งบนลูกโลกทองเหลืองนั้นมีกระจกแผ่น ใหญ่อยู่แผ่นหนึ่งสำหรับรับแสงอาทิตย์ แล้วฉายแสงนั้นให้มา
๑๒๗ กระทบกระจกแผ่นเล็กอีกแผ่นหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปจากกัน ระยะทางประมาณ ๑๔๐ ฟุต เมื่อตั้งเครื่องกับกระจกทั้งสองนี้ ในที่เหมาะแล้ว ถ้าใครจะเข้าไปมองดูที่แผ่นกระจกเล็กก็จะเห็น วิถีโคจรของโลกได้ถนัดชัดเจน และจะรู้สึกว่าหมุนได้ส่วนกัน อย่างไรกับดวงอาทิตย์และดาวอื่น ๆ ด้วย เช่นเมื่อพระอาทิตย์ แรกอุทัยขึ้น เครื่องนั้นก็ตั้งต่ำไปหน่อยแล้วก็ค่อย ๆ เลื่อนขึ้น ไปพร้อมกับดวงอาทิตย์ได้ส่วนสูงต่ำกันพอดีอยู่ตลอดทั้งวัน ส่วน คนที่มองดูเล่าก็จำเป็นด้องค่อย ๆ หันไปตามด้วย มิฉะนั้นจะ แลไม่เห็นอะไร เพราะว่าถ้าจะดูให้ดีแล้วนัยน์ตาของคนที่ดูนั้น ต้องคอยเพ่งดูให้ได้เส้นศูนย์กับกระจกแผ่นเล็ก และกระจก แผ่นเล็กนั้นก็ต้องให้ได้สายศูนย์กับกระจกแผ่นใหญ่ และกระจก แผ่นใหญ่ ก็ต้องให้ได้สายศูนย์กับเครื่องโลกทองเหลือง ๆ ก็ต้อง ให้ได้สายศูนย์กับดวงพระอาทิตย์ อย่างตรงดิกหมดทุก ๆ เครื่อง ถ้าเป็นคนใหม่ยังไม่เคยดูเลย ก็แลไม่ค่อยจะเห็นเพราะหันหาศูนย์ ไม่ถูก แต่ถ้าเป็นคนเคยหน่อยก็ง่ายนิดเดียว. นอกจากโลกทองเหลืองนี้ ราชทูตยังได้ดูกล้องใหญ่อีก กล้องหนึ่ง ซึ่งเขาใช้สำหรับพิศูนจ์เวลา อาศัยกล้องนี้เขารู้วัน เวลานาฑี , วินาฑีได้อย่างแม่นยำ ดีกว่าดูนาฬิกาอย่างดี ๆ เสียอีก เพราะธรรมดานาฬิกาอาจคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่ส่วนพระอาทิตย์ ซึ่งเขาเอามาเป็นเกณฑ์ในการพิศูจน์นี้ เที่ยงตรงอยู่เสมอไม่ผิดเวลา เลย กล้องนี้ยังใช้เป็นประโยชน์ที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือใช้
๑๒๘ สำหรับคนเดิรเรือในท้องทะเลหลวง เป็นเครื่องพิศูจน์ดูว่า แม่เหล็กซึ่งใคร ๆ ย่อมรู้ว่าชี้ไปข้างทิศอุดรเสมอนั้น มันเขวไปข้าง ซ้ายขวาของขั้วโลกเหนือเท่าไร เพราะที่จริงแม่เหล็กเป็นแต่ว่า ชี้ไปทางเหนือเท่านั้น จะถือว่าเที่ยงตรงทีเดียวยังไม่ได้ตลอด. ถัดจากดูกล้องทั้งสองนี้แล้ว ราชทูตได้ดูแว่นตาพิเศษสำหรับ หาระดับน้ำ แว่นตาชะนิดนี้พอจับใส่แล้วก็รู้ทีนทีว่าของที่เราดู เห็นนั้นได้ระดับน้ำหรือไม่ ถ้าได้ระดับเที่ยงตรงแล้วก็เห็นของ นั้นได้แจ่มแจ้ง ถ้าเห็นเอียงซ้ายขวาเท่าไรก็เป็นอันแปลว่าสิ่ง นั้นยังผิดระดับน้ำเท่านี้เท่านั้น. ถัดจากดูแว่นตาทดลองระดับนี้แล้ว ราชทูตก็ได้ไปดูแผนที่ ดวงพระจันทร ซึ่งเขาทำให้เหมือนจริง คือว่าในดวงพระจันทรมี หลุมมีดอนมีเหวมีเขาที่ไหน ในแผนที่นั้นก็มีเหมือน ๆ กัน. พอดูของต่าง ๆ เหล่านี้เสร็จแล้ว ท่านอาจารย์คาซ์ซีนีได้พา ท่านราชทูตไปดูแผนที่กลม ที่ท่านได้จารึกไว้ตามพื้นห้องที่อยู่ ข้างด้านตะวันตก เมื่อท่านอาจารย์คาซ์ซีนีจะทำแผนที่นี้ ท่าน ได้สอบสวน สถานที่อยู่ในอัมพรวิถีแห่งดวงดาวบริวารของดาว พฤหัสบดีก็อย่างหนึ่ง ทั้งได้เอาจันทรคาธที่เมืองฝรั่งเศสเมื่อศก ๑๖๘๓ และจันทรคาธที่เมืองละโว้ในกรุงสยามเมื่อศก ๑๖๘๕ มา สอบสวนประกอบให้สมกันเสียก่อน เห็นเป็นที่ถูกต้องกับแผนที่ เก่าซึ่งฝรั่งเศสเคยใช้ แต่ผิดกันกับแผนที่ของชาวฮอลันดา ถ้า จะเชื่อแผนที่ฮอลันดาแล้ว เมืองไทยซึ่งเป็นเมืองอยู่ห่างจาก
๑๒๙ เมืองฝรั่งเศสอะโขก็ยังจะกลายเป็นห่างออกไปอีกตั้ง ๑๒๐๐ กิโล- เมตร ซึ่งมิใช่หนทางเล็กน้อยเลย. ทีนี้ข้าพเจ้าจะขออธิบายถึงแผนที่ใหม่นี้ ให้เห็นว่ามีพิเศษกว่า แผนที่ที่แขวนไว้ตามฝาผนังอย่างไร ในเบื้องต้นข้าพเจ้าได้บอก แล้วว่า แผนที่นี้กลมไม่เป็นสี่เหลี่ยมอย่างแผนที่ธรรมดา ข้อ ๒ แผนที่ธรรมดาเขาเขียนไว้บนผืนผ้าหรือแผ่นกระดาษ แต่ แผนที่นี้จารึกไว้ในแผ่นศิลา ตามพื้นห้องของหอโหราศาสตรอ็อบ- แซร์วาตัวร์ ขนาดของแผนที่นี้ถ้าวัดตรงเส้นศูนย์กลางตั้งแต่ขอบ ขวาไปซ้ายหรือซ้ายไปหาขวาก็ดีก็ยาวถึง ๒๘ ฟุต อนึ่งแผนที่ ธรรมดาสมมุติตั้งทิศเหนือไว้ข้างบน ทิศใต้ไว้ล่าง ฯ ล ฯ แต่ แผนที่กลมนี้สมมุติตั้งทิศอุดร คือขั้วข้างเหนือของโลกว่าอยู่ตรง ศูนย์กลางของแผนที่ อนึ่งแผนที่ธรรมดากับแผนที่นี้ยังผิดกัน อีก คือแผนที่กลมนี้ถ้าจะดูให้ถูกแล้วต้องสมมุติว่าคนที่มองดู นั้นไม่ได้อยู่ในมนุษยโลก ไพล่ไปอยู่หลังดาวหลังเดือนกลาง อากาศ จำเพาะตรงกับขั้วโลกเหนือโน้น แล้วหันตามาดูแผนที่ โลกกลมดังนี้จึงจะเข้าใจได้ หาไม่จะหลงเป็นแน่ เพราะว่าแผนที่ เมืองใดซึ่งเราเคยรู้เคยเห็นในแผนที่ธรรมดา ว่าเป็นรูปอย่างนี้ อย่างนั้น ขนาดเท่านี้ขนาดเท่านั้น ครั้นดูในแผนที่กลมนี้จะกลาย ดูเป็นอื่นไปหมด เมืองเล็กจะกลายเป็นเมืองใหญ่และเมือง ใหญ่จะกลายเป็นเมืองเล็กฉันใด ก็เหมือนว่าถ้าเรามองดูภูเขา สองลูก ลูกหนึ่งอยู่ใกล้และอีกลูกหนึ่งอยู่ห่างออกไป ภูขาลูก ๙ ๑๓๐ หน้าดูใหญ่ไป และลูกหลังดูเล็กไป แต่แท้จริงถ้าเราไปดูใกล้ ลูกที่สองที่ดูเหมือนเล็กกลายเป็นใหญ่กว่าลูกต้นก็ได้ ดังนี้เป็น ตัวอย่าง อนึ่งขอจงสังเกตด้วยว่า ธรรมดาของกลมเราดูรอบใน พริบตาเดียวไม่ได้ เราดูได้จำเพาะแต่ซีกเดียวนี่ฉันใด ส่วน แผนที่กลมนี้ก็ฉันนั้น คือมีปรากฎอยู่เพียงประเทศบ้านเมือง และทะเลที่อยู่ในซีกเหนือของมนุษยโลก อีกครึ่งหนึ่งนั้นคือ ซีกข้างทิศใต้เรามองไม่เห็น. บัดนี้ท่านผู้อ่านเข้าใจแล้วว่า แผนที่กลมของท่านอาจารย์ คาซ์ซีนีนี้เป็นอย่างไร ข้าพเจ้าจะขอกลับกล่าวถึงราชทูตไทยให้ รู้ว่าท่านเองได้รู้สึกอย่างไร เมื่อท่านได้มาแลเห็นแผนที่นั้นซึ่ง เป็นแผนที่พึ่งคิดทำขึ้นใหม่ ๆ แต่ก่อนยังไม่มีใครเคยทำ. ในชั้นแรก ควรต้องบอกให้ทราบอีกชั้นหนึ่งว่า อักษรภาษา ฝรั่งที่เขียนไว้ในแผนที่นั้น เจ้าคุณท่านอ่านไม่ออก แต่ถึง กระนั้นก็ดี พอท่านได้แลเห็นแผนที่นั้นท่านก็รู้เข้าใจเอาเองว่า เป็นแผนที่อะไร ตัวอย่างซึ่งจะชี้ให้เห็นว่าเป็นจริง คือณทัน ใดนั้นท่านชี้ไปตรงที่เมืองสยามอยู่แล้วว่า :- " นั่นแน่ะเมืองไทย โน่นแน่ะเมืองอเมริกา.... นี่แน่ะหนทางที่เราได้โดยสารมาเมือง ฝรั่งเศส....." พลางท่านชี้กะไปว่า :- " เรือของเราแล่นไปทาง นี้ แล้วเลี้ยวไปทางโน้น.. " พอชี้แหลมอาฟริกาใต้แล้วท่านกลับ ชี้ไปทางเหนือตรงกับหมู่เกาะอาซอ์ร ซึ่งอยู่ตรงเมืองปอร์ตุเกศ ข้าม แล้วท่านว่า :- " นี่แน่ะที่ชาวเรือหลงเข้าใจว่าเป็นเมืองฝรั่ง
๑๓๑ เศส ที่จริงยังเป็นเพียงเมืองปอร์ตุเกศเท่านั้น." เจ้าคุณชี้ไป พลาง คุยไปพลางเป็นที่น่าฟังหามีผิดมีหลงไม่ ดูราวกับท่าน เคยท่องขึ้นใจมาก่อน. เมื่อข้าพเจ้าได้กล่าวถึงวิธีทำแผนที่กลมนี้ ข้าพเจ้าได้อ้าง ว่าท่านอาจารย์คาซ์ซีนีได้ทำสำเร็จถูกต้องดี เพราะท่านได้สอบ สวนดูจันทรุปราคาในเมืองฝรั่งเศส กับจันทรรุปราคาซึ่งได้ปรากฎใน กรุงสยามในสมัยนั้น ที่ตรงนี้บางทีผู้ช่างคิดจะพากันนึกฉงนอยู่ บ้างว่า :- " ท่านได้สอบสวนอย่างไรกัน ? ท่านได้มาเมืองไทยหรือ ? หรือคนไทยได้ส่งข่าวไปบอก ? " ขอตอบว่า :- " หามิได้ ท่าน คาซ์ซีนีไม่เคยเข้ามาเมืองไทย และคนไทยไม่ได้บอกให้ท่านรู้อะไร ในเรื่องจันทรุปราคา ผู้ที่ได้สอบสวนดูจันทรุปราคาแทนแล้วนำ สรรพกรณียกิจอันเนื่องด้วยการนั้นไปให้ท่านทราบ คือท่านบาด- หลวง เยซูวิตสององค์ คุณพ่อเดอฟงต์แน และคุณพ่อตาชาร์ต ในปี ๑๖๘๕ ซึ่งเป็นปีที่ได้มีจันทรุปราคาปรากฎในเมืองไทยนั้น ขณะนั้นท่านบาดหลวงทั้งสองนี้ อยู่สอนวิทยาศาสตรและศาสน- ศาสตรในเมืองไทยเป็นหลายปีมาแล้ว ท่านบาดหลวงสององค์ นี้สมเด็จพระนารายณ์พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงโปรดมาก เพราะ ท่านเป็นปราชญ์และพระองค์ทรงโปรดปราชญ์เป็นอันมาก และ ในวันที่ได้เกิดจันทรุปราคานั้น ทั้งสมเด็จพระนารายณ์ทั้งบาด หลวงสองท่านนี้ก็ได้เฝ้าดูอยู่หน้าพระที่นั่ง - ในกรุงละโว้ ( ลพบุรี ) ยิ่งกว่านั้นทราบว่า สมเด็จพระนารายณ์ทรงชอบพระทัยบาดหลวง
๑๓๒ สององค์นี้มาก ถึงกับทรงอาราธนาขอบาดหลวงชะนิดนี้จากเมืองฝรั่ง เศสอีก ๑๒ รูป ก็เป็นโชคลาภอันดีแก่ศาสนาเป็นอันมาก และ เป็นพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ด้วย เป็นอันมาก เพราะเป็นโอกาสอันดีเมื่อกำลังสืบสวนสั่งสอน วิชชาโหราศาสตรดังนี้ ก็จะได้เป็นช่องให้ชี้คุณความดีของศาสนา และของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย สมด้วยความปรารถนาอัน ร้อนรน ซึ่งเป็นธรรมดาต้องมีฝังอยู่ในหัวใจของผู้ที่มีความศรัทธา และจงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าและพระเจ้าอยู่หัว เช่นบาดหลวง นี้เป็นต้น นานไปข้างหน้าเมืองไทยอาจกลายเป็นประเทศคริศตัง ในฝ่ายบุรพทิศอีกด้วยประเทศหนึ่งก็ได้. ขอกลับกล่าวถึงเจ้าคุณราชทูตไทยต่อไปอีกว่า เมื่อท่าน ได้แลดูแผนที่ศิลาดังที่กล่าวมานั้นแล้ว ก็ได้ออกไปดูกรุงปารีส ที่นอกชาน เพราะที่นั้นเป็นที่สูงแลเห็นเมืองได้ถนัด ท่าน ราชทูตและขุนนางไทยที่ไปด้วยกับท่าน ได้ดูรอบเมืองทั้งด้วยตา เปล่าแลด้วยอาศัยกล้องต่าง ๆ เป็นที่พอใจ เมื่อยืนดูครู่หนึ่ง เจ้าคุณราชทูตจึงถามท่านอาจารย์คาซ์ซีนีว่า :- " สำนักเดอแบร์นี ซึ่งเคยเป็นที่พักมาก่อนตั้งอยู่แถวทางไหน ? ขอท่านโปรดชี้หน่อย " ท่านอาจารย์คาซ์ซีนีก็ชี้ให้ตามประสงค์ เมื่อเจ้าคุณทราบว่าสำนัก นั้นอยู่ตรงไหนแล้ว ท่านจึงได้ค้นจนเห็นสำนักอีกหลายตำบลโดย ลำพังตนเอง เช่นได้พบเห็นสำนักแวงแซน วัดมงมารตร์ สำนัก โซ และตำบลสำคัญ ๆ อีกหลายแห่งซึ่งได้เคยไปมาแล้ว ดูช่าง
๑๓๓ จำแม่นยำทีเดียว. พอดูกรุงปารีสแล้ว ราชทูตได้เข้าไปดูห้องบอกเวลาเที่ยง อธิบายคือว่า ในห้องนั้นมีแผ่นทองเหลืองอยู่แผ่นหนึ่งที่เขาตั้งไว้ ให้ถูกทิศทางเหนือทิศใต้ ตอนกลางวันเมื่อพระอาทิตย์ผ่านส่อง จำเพาะตรงเหนือเส้นทองเหลืองนั้นจึงรู้ว่าเป็นเวลาเที่ยง ก็เลย ตั้งนาฬิกาให้ถูกต้องกับพระอาทิตย์ ตลอดทั่วพระราชอาณาจักรฝรั่ง เศส นอกจากเส้นทองเหลืองสำหรับบอกเที่ยงนี้ ยังมีเครื่อง วัดแดด อีกหลายอย่าง ซึ่งท่านราชทูตได้ดูด้วยแสดงความพอใจ และท่านได้บอกกับท่านอาจารย์คาซ์ซีนีเป็นหลายหนว่า " เมือง สยามน่าที่จะได้โหรสำคัญเช่นอย่างท่านนี้ไว้เป็นศรีพระนครบ้าง " ครั้นแล้ว ก็ได้พากันไปดูเครื่องสำหรับค้นหาและพิศูจน์สุริยุ- ปราคาและจันทรุปราคา อาศัยเครื่องนั้นจึงรู้ได้ว่าเมื่อไรจะมี สุริยคราสและเมื่อไรจะมีจันทรคราส จะเห็นได้ที่ประเทศไหน เมืองไหนและช้านานาเท่าใด สุริยคราสและจันทรคราสนั้นจะ เป็นสรรพคราส หรือเป็นแต่แหว่งไปบ้างก็รู้ได้หมด โดย แต่เพียงหมุนเครื่องนั้นให้เดิรเป็นวัน ๆ พอหมุนไปนั้นเดี๋ยวก็ เห็นดวงโลก, ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เกิดปิดบังกันข้างละหนสอง หน เดี๋ยวส่องสว่างเดี๋ยวก็มืดเป็นพัก ๆ เหมือนกับมีสูริย์มีจันทร ฉะนั้น ถ้าคนหมุนเครื่องอ่านหนังสือออกก็รู้ได้ว่าเมื่อไรถึงจะมี สุริยคราสมีจันทรคราสด้วย เพราะมีเขียนบอกในตัวเครื่องเสร็จ ชั้นที่สุดแม้อ่านไม่ออก เพราะผิดภาษากันเพียงดูแผนที่ออกก็เดา
๑๓๔ ได้ว่าตรงไหนถึงจะเห็นสุริยคราส และตรงไหนจึงจะไม่เห็น. นอกนั้นถ้าเราอยากรู้ว่าเดือนนั้น ๆ พระอาทิตย์จะส่องแสง ตรงหรือเอียงประการใด เราก็หมุนเครื่องให้ถูกกับเดือนนั้น ๆ ที่เราอยากรู้ เครื่องก็บอกทันทีว่าจะส่องตรงเอียงประการใดหมด ท่านอาจารย์คูเปลต์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกำกับดูแลเครื่องแผนกนี้ ยังได้เชิญท่านอัครราชทูต ให้ลองหมุนเครื่องนั้นด้วยมือของตนเอง และในบัดใจนั้น ท่านอัครราชทูตก็หมุนไปหมุนมาจนได้จันทรุ- ปราคา ซึ่งได้ปรากฎขึ้นมาแล้วในปีนั้นตรงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม และในขณะนั้น เจ้าคุณราชทูตซึ่งที่จริงอ่านหนังสือฝรั่งไม่ออกก็ยัง รู้ได้ทันทีว่าเป็นจันทรคราสหาใช่สุริยคราสไม่ ทั้งนี้ก็ด้วยอำนาจ แห่งความพินิจพิเคราะห์อันเฉียบแหลมของท่านนั้นเอง. เครื่องอย่างที่กล่าวมานี้ ใช้ได้แต่เพียงสำหรับสุริยคราส จันทรคราสเท่านั้น หรือเท่ากับว่าเป็นเครื่องเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ จันทร และดวงมนุษยโลก ๓ ดวงเท่านั้น แต่ถ้าสำหรับดวงดาว อื่น ๆ แล้วใช้ไม่ได้ เช่นอยากทราบว่าวันนี้ดาวดวงนั้น ๆ ตั้งอยู่ ตรงไหน เป็นเหนือใต้ของโลกเราเท่าใด อยู่ใกล้ชิดหรือห่าง ไกลจากมนุษยโลกเท่าใด เมื่อวานนี้และวันก่อน ๆ มันตั้งอยู่ ตรงไหน เหล่านี้เป็นต้น ก็รู้ไม่ได้ด้วยอาศัยเครื่องสุริยุปราคานั้น เลย ต้องอาศัยเครื่องอีกชะนิดหนึ่งของท่านอาจารย์ปัรลังต์. เครื่องของท่านอาจารย์ปัรลังต์นี้ ถ้าจะเทียบแล้วก็คล้ายกับ เครื่องเมื่อกี้นี้เอง คือว่าถ้าหมุนให้มันเดิรแล้วดวงดาวต่าง ๆ ท้ง
๑๓๕ ใหญ่เล็กก็เดิรวนเวียนสลับกันไป เร็วบ้างช้าบ้างเทียบให้ได้ส่วน เร็วช้ากัน เหมือนกับที่หมุนจริงในท้องฟ้าอากาศ บางดวง ก็หมุนเป็นหนทางวงกลมทีเดียว บางดวงก็หมุนเป็นวงยาวรี บ้างก็เป็นวงเล็ก บ้างก็เป็นวงใหญ่ บางดวงดูเหมือนอยู่กับที่นิ่ง ๆ ไม่วิ่งไม่หมุนอะไร แต่ที่จริงก็หมุนไปมาเหมือนกัน แต่หาก กำลังหมุนเข้ามาทางโลกเราบ้าง หนีห่างออกไปจากโลกบ้าง ด้วย หนทางของดาวชะนิดนั้น ตรงไปตรงมาเราจึงหลงเข้าใจว่านิ่งอยู่กับ ที่ แต่ที่เข้าใจดังนี้เป็นเพราะเราดูตรง ๆ นั่นเอง ถ้าเราเอียงไป ข้างใดข้างหนึ่งก็จะเห็นว่าเดิรเหินวงเวียนเหมือนกัน. ดวงดาวที่เจ้าคุณราชทูตได้ดูนานกว่าดวงดาวอื่น ๆ นั้นคือดาว พระเสาร์และดาวพระพุธ ซึ่งเป็นดาวบริวารของพระอาทิตย์ เดิร โคจรหมุนอยู่รอบดวงอาทิตย์เป็นนิตย์เสมอ แต่เดิรเร็วช้าไม่ เหมือนกัน ดาวพระเสาร์นั้นต้องโคจรอยู่ตั้ง ๓๐ ปีกว่าจึงจะ บรรจบรอบดวงอาทิตย์คราวหนึ่ง ส่วนดาวพระพุธนั้นโคจรเพียง ๘๐ วันเท่านั้นก็บรรจบรอบ ตกลงปีหนึ่งของดาวพระเสาร์นาน เท่ากับ ๓๐ ปีของเรา และปีหนึ่งของดาวพระพุธเร็วเพียง ๒ เดือนเศษ ๆ ของเราเท่านั้น. เครื่องดูสุริยคราสและเครื่องดูดาว ๒ เครื่องนี้เป็นฝีมือของ นายช่างนาฬิกาหลวงชื่อ ทุเรต์ นับว่าสามารถพอใช้ เพราะการ ที่จะคำนวณดูระยะทางและอาการหมุนของดวงดาวต่าง ๆ ทั้ง การที่จะคิดประดิษฐเครื่อง ให้หมุนเร็วช้าได้ส่วนเท่ากันสม่ำเสมอ
๑๓๖ ไม่คลาดเคลื่อนนั้น เป็นการยากอยู่มิใช่เล่น. นอกจากเครื่องเหล่านี้ ราชทูตไทยยังได้ดูเครื่องอื่นอีกซึ่ง เกี่ยวกับดาวบ้าง ไม่สู้เกี่ยวกันบ้างหลายอย่าง เช่นได้ดูเครื่อง สำหรับสูบลมออกจากหลอดเพื่อทดลองแรงดันของอากาศ และ ได้ดูเครื่องทอหูกซึ่งปั่นด้ายไหมคราวละร้อยเส้น เหล่านี้เป็นต้น. พอดูเสร็จสมประสงค์แล้ว ท่านราชทูตกำลังเดิรจะออกไป จากห้องนั้นก็พอดีท่านได้แลเห็นเครื่องชะนิดหนึ่ง รูปเหมือนแตร ยาว แต่ไม่ใช่แตร ก็ถามผู้ที่นำท่านไปนั้นว่า :- " แตรนี้แปลก ไม่เหมือนแตรที่เคยเห็น เขาใช้เป่าเพลงอะไรกัน ? " ผู้ที่นำ ท่านไปก็ตอบว่า " ที่เจ้าคุณดูเห็นเป็นแตรนี่ที่จริงหาใช่แตรไม่ เป็นเครื่องสำหรับต่อเสียงพูดให้ได้ยินไกล เช่นตะโกนเรียก ใครไม่ได้ยินก็เอาแตรนี้มาติดปากแล้วก็พูดไป คนที่เราต้องการ เรียกนั้นถึงแม้เขาอยู่ไกลตั้งหลายเส้นก็ได้ยินชัด ราวกับอยู่ใกล้ ๆ กัน " ขณะนั้นท่านราชทูตอยากจะทดลองเครื่องสำหรับส่งเสียง พูดนั้นดูว่าจะส่งเสียงไปได้ไกลจริงดังว่าหรือไม่ ก็ขอให้เอามา ใช้พูดดูในทันใดนั้น ขณะนั้นมีคนกำลังเดิรอยู่บนถนนหน้า หอดูดาวคน ๑ ระยะทาง ๕๐๐ เมตร, เจ้าพนักงานจึงหยิบเอา เครื่องนั้นมาใส่ปาก แล้วหันหน้าออกไปทางที่ผู้นั้นกำลังเดิรอยู่แล้ว ร้องทักถามว่า " นี่แกจะไปไหนกัน ? หยุดพักกันประเดี๋ยว เถอะ " พอขาดคำลงผู้นั้นก็หยุดแล้วเหลียวซ้ายแลขวาไป ๆ มา ๆ เพื่อให้รู้ว่าใครเรียกตัว ก็ไม่เห็นใครอยู่ในที่แถวนั้นเลยสักคน
๑๓๗ เดียวแล้วเขาก็เดิรเลยต่อไป. เวลานี้ท่านราชทูต เตรียมจะลาท่านอาจารย์คาซ์ซีนีอยู่แล้ว ทั้งท่านก็กำลังเดิรออกไป ถึงที่นอกชานอยู่แล้วแต่มามีเรื่องเบ็ด- เตล็ดเกิดขึ้นเรื่องหนึ่งจึงยังไม่ได้ลาไป เรื่องนั้นฟังดูก็น่าขัน คือ ที่นอกชานนั้นยังมีกล้องอยู่อีกเครื่องหนึ่งยาวใหญ่ตั้ง ๕-๖ วา ใช้สำ- หรับดูดวงอาทิตย์เป็นต้น ท่านอาจารย์คาซ์ซีนีอยากจะชี้ให้เจ้า คุณราชทูตเห็นจุดดำ ๆ หลายจุดที่ดวงอาทิตย์ ซึ่งพึ่งสังเกตเห็น กันขึ้นใหม่ ๆ จึงเชิญให้เจ้าคุณราชทูตดูบ้าง เจ้าคุณดูอยู่สักครู่ก็ เห็นจุดเหล่านั้นได้ดี ๆ แต่แทนที่ท่านจะกล่าวถึงจุดเหล่านั้น ท่านไปชักคำเปรียบเทียบอะไรที่ไหนไม่ทราบขบขันน่าฟังว่า " อ้อ, เราพึ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า ทำไมผู้หญิงฝรั่งเศสเมื่อจะเดิรไปไหนมา ไหน มีเข้าประชุมสโมสรเป็นต้น ต่างคนจึงต้องพากันเอาผ้า โปร่งมีจุดสีดำ ๆ ปิดบังหน้าเสีย, ชะรอยจะเอาอย่างพระอาทิตย์ กระมัง เพราะเป็นความจริงวงหน้าของหล่อนก็กลมเกลี้ยงสด ใส แม้นละม้ายคล้ายพระอาทิตย์อยู่แล้ว, ฉะนี้เมื่อหล่อนเห็น พระอาทิตย์ทรงเจิมพระพักตรด้วยจุดดำ, หล่อนก็ต้องเอาผ้าโปร่ง มีจุดดำมาปกปิดหน้าเสียบ้าง หาไม่ก็จะเกิดตาฟางตาลายกันทั้ง เมือง " ว่าเล่น ๆ ล้อ ๆ ดังนี้แล้วเจ้าคุณราชทูตก็อำลาท่านอาจารย์ คาซ์ซีนีว่า " บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่ได้กำหนดไว้ว่าจะไปดูพระอาราม แดชาร์เตรอว์จึงต้องขอลาท่านไปก่อน " ท่านอาจารย์คาซ์ซีนีทราบ ดังนั้นก็ต้องจำเป็นยินยอมอนุญาตให้ลา เพราะเกรงว่าถ้าหน่วง
๑๓๘ ไว้ท่านราชทูตจะผิดนัด หาไม่ท่านคงได้พาไปดูหอแผนกอื่นต่อ ไป มีแผนกท่านอาจารย์เดอลาอีร์เป็นต้น เพราะแผนกนั้นเป็น แผนกที่สลักสำคัญเหมือนกัน และไม่ต้องสงสัยถ้าเจ้าคุณราชทูต ได้ไปดูคงติดใจ อยากจะดูโดยละเอียดเหมือนแผนกอื่นเป็นแน่ ท่านอาจารย์คาซ์ซีนีจึงอำนวยอวยชัยให้พร แก่ท่านราชทูตขอบใจ ท่านที่ได้อุตส่าห์มาเยี่ยมดังนั้นก็นับว่าเป็นเกียรติยศอันใหญ่ ส่วน ท่านราชทูตก็ว่า " ถ้าว่างเมื่อไดและสพกับโอกาสอันเหมาะ ข้า- พเจ้ายินดีจะกลับมาสนทนาเรื่องดาวกับท่านต่อไปอีก เพราะเป็น วิชชาน่ารู้คดีน่าฟังอย่างยิ่ง อาจชวนให้คนึงถึงข้อคัมภีรภาพลึก ซึ้ง , แต่เวลานี้หมดโอกาสแล้ว ข้าพเจ้าขอลาท่านไปก่อน "
บทที่ ๓๓ ราชทูตไปดูพระอาราม. ในเย็นวันนั้น ท่านราชทูตกับพรรคพวกของท่านได้ไป-ดู พระอาราม " แดชาร์เตอซ์ " พอรถไปถึงลานที่หน้าโบสถ์แล้ว ท่านราชทูตกับขุนนางไทย และคนที่พาไปได้พากันเดิรดูสถานที่ภาย ในบริเวณของวัดนั้นทั่วไปก่อน แต่ที่วัดนี้หามีผู้ใดออกมารับ คำนับราชทูตแต่อย่างใดอย่างหนึ่งดุจสถานที่อื่น ๆ ตามธรรมเนียม ไม่ ท่านราชทูตนึกแปลกใจ, เจ้าพนักงานที่พาไปดูนั้นจึงอธิบาย ให้ท่านฟังว่า " เจ้าคุณอย่าแปลกใจเลย อย่าว่าแต่ท่านราชทูต เลย ถึงจะเป็นใคร ๆ ทั้งหมดนักบวชวัดนี้ไม่ออกมาต้อนรับเลย ๑๓๙ เพราะวินัยห้ามไม่ให้ท่านมาเกี่ยวข้องอะไรกับใคร ใครจะไปจะ มาก็ไปมาได้ตามลำพัง ท่านไม่ธุระปะปังอะไรหมด ท่านได้ แต่ถือศีลเจริญพรตอดทนภาวนาอย่างเดียว " เมื่อทราบเช่นนี้ ท่านราชทูตจึงหายแปลกใจ. ในชั้นแรกท่านสตอร์ฟเจ้าพนักงานผู้นำราชทูต ก็ได้นำไปดู โบสถ์แต่เวลานั้นเกือบจะค่ำอยู่แล้ว ข้างในโบสถ์ยังมีพระสงฆ์ ซึ่งคอยประจำเปิดปิดประตูเหลืออยู่องค์หนึ่ง เมื่อเดิรเข้าไป ข้างในแล้วท่านสตอร์ฟก็คุกเข่าลงไหว้ศีลมหาสนิท ซึ่งตั้งอยู่เหนือ พระแท่นใหญ่สักครู่หนึ่ง และขณะนั้นท่านอัครราชทูตและขุน นางที่ตามไปก็ได้ย่อเข่าลงแสดงความเคารพบ้างเหมือนกัน และ ต่อเมื่อเห็นท่านสตอร์ฟนั้นลุกขึ้นแล้วจึงได้ลุกขึ้นพร้อมกัน. ทีนี้ต่างก็ได้พากันไปชมดูเข้าของต่าง ๆ ในโบสถ์นั้น เช่น พระแท่น , ธรรมาสน์และอาสนะที่นั่งของพระสงฆ์ซึ่งเป็นวัตถุที่ขึ้น ชื่อลือนามว่าประณีตบรรจง หาที่งดงามเสมอเหมือนในทั่วประ เทศบ้านเมืองด้วยยาก แล้วก็ได้พากันไปดูพระรูปนักบุญเทพยดา อรหันต์ต่าง ๆ กับทั้งพระบทซึ่งมีเขียนอยู่ตามฝาผนังโบสถ์ ซึ่ง ล้วนแล้วด้วยฝีมือนายช่างเอกทั้งนั้น เช่นของอาจารย์เซแปล์ เป็นต้น พอเดิรต่อ ๆ ไปก็ได้มาถึงรูปทองสัมฤทธิ์ซึ่งตั้งอยู่เหนือ อนุสสาวรีย์อันหนึ่ง ท่านราชทูตจึงถามว่า " นี่เป็นรูปใคร ? " ท่านสตอร์ฟตอบว่า " เป็นรูปของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเดิมทีเป็นมรรคนายก และอุปถัมภกสำคัญของพระอารามนี้
๑๔๐ และเดี๋ยวนี้ศพท่านก็ยังฝังอยู่ในนี้ด้วย " เมื่อดูโบสถ์เสร็จแล้วก็ได้เข้าไปในห้อง " ซาคริสเตีย " ซึ่ง เป็นห้องสำหรับเก็บรักษาบรรดาเครื่องพิธีมีพระภูษาต่าง ๆ ซึ่ง พระสงฆ์ใช้กระทำสังฆกิจกีกิจศักดิ์สิทธิ์ ถวายบูชามิซซาเป็นต้น และไปดูห้องไว้รูปภาพงาม ๆ ทั้งเก่าใหม่ด้วย ต่อนี้ไปก็ได้ออก ไปดูพระระเบียงข้างนอกรอบโบสถ์ ในระวางเสาพระระเบียง นั้น มีรูปภาพเขียนแสดงพระประวัติของนักบุญบรูโนซึ่งได้เป็น ผู้เริ่มตั้งนิกายนักบวชนี้ขึ้น แต่ตามปกติคนเดิรไปมาไม่แลเห็น เพราะมีบานประตูปิด แต่เพื่อจะให้ราชทูตเข้าใจในประวัติของ ท่านผู้ที่ได้เริ่มสร้างนิกายนี้ ก็ได้จัดให้เปิดหมด ท่านราชทูต เห็นแล้วรู้สึกว่างามดีมิใช่น้อย, เพราะรูปประวัตินั้นเป็นฝีมือ ท่านอาจารย์เลอซึเออร์ นับว่าเป็นชิ้นเอกที่มีชื่ออยู่ในกระบวน ช่างเหมือนกัน. เมื่อราชทูตดูเสร็จแล้วก็พอดีได้มาพบกับท่านอธิการรองและ พระสงฆ์อื่น ๆ ในอารามนั้นอีกบางองค์ ต่างจึงได้แสดงความ เคารพต่อกันและกันตามธรรมเนียม ประหนึ่งว่าท่านมิได้เป็น นักบวชถือวินัยเคร่งครัด และโดยเห็นแก่ท่านราชทูตซึ่งเป็นผู้ มาแต่ไกล ท่านอธิการรองจึงได้เป็นธุระนำท่านไปดูอะไรต่ออะไร ที่เป็นของน่าดูอันมีอยู่ภายในพระอารามนั้นต่อไป มีที่ห้องกิน เข้าเป็นต้น อันว่านักบวชชาร์เตรอช์นี้ถึงว่าอยู่ร่วมอาวาศกันตั้ง หลายสิบองค์ก็ดี, ก็มิได้รวมกันสำหรับกิจปฎิบัติต่าง ๆ เว้น
๑๔๑ แต่เมื่อจะทำสังฆกิจก็ลงโบสถ์พร้อมกัน หรือกระทำภัตตกิจก็ไป ห้องกินเข้าด้วยกัน นอกนั้นต่างอยู่ตามกุฏิเล็กน้อยของตน ๆ ขณะเวลาที่ราชทูตไปถึงคราวนั้น พอเป็นเวลารับประทานอาหารของ พวกนักบวชเหล่านั้น และสำรับกับเข้าก็ตั้งอยู่บนโต๊ะเสร็จแล้ว ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะให้ราชทูตดูเห็นกับตาว่า นักบวชฝ่ายตะวันตก บริโภคอาหารกันอย่างไร. ข้อต้นที่ท่านราชทูตได้สังเกตนั้น คือบนโต๊ะกินเข้าซึ่งมี ภาชนะเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ตามธรรมเนียมทุกห้องกินเข้า หาได้ มีถ้วยแก้วสำหรับกินน้ำไม่ กลับเป็นมีหม้อดินขอบหนา ๆ แทน, ท่านอัครราชทูตจึงถามว่า " ทำไมบาดหลวงเหล่านี้จึงใช้แต่หม้อ ดินใส่น้ำองุ่น ไม่ใช้ถ้วยแก้วใส่น้ำเล่า ? " ก็ได้เรียนตอบท่านว่า " กินน้ำด้วยถ้วยแก้วไม่ได้, วินัยห้ามว่าเป็นของสวยเกินฐานะของ นักธรรม ๆ ควรต้องตัดกังวลในสิ่งของโลก ฉะนี้ท่านจึงใช้หม้อ ดินต่างถ้วยแก้ว " พอดูห้องกินเข้าเสร็จแล้วก็ได้ออกไปข้างนอก พบเครื่อง สำหรับสูบน้ำราชทูตจึงถามว่า " เครื่องนี้ใช้ทำอะไรกัน ? " ก็ได้ รับคำอธิบายว่า " เป็นเครื่องสำหรับสูบน้ำจากบ่อแล้วส่งขึ้นไป แจกทั่วทุกกุฎิพระสงฆ์ในพระอารามนี้, ฉะนี้พระสงฆ์ไม่ต้อง เป็นกังวลเรื่องตักน้ำหาบน้ำมาแต่ไกล" เจ้าคุณราชทูตก็ชอบใจ มาก เพราะสูบน้ำนั้นในสมัยนั้นก็นับว่าเป็นของแปลกอยู่ ท่าน ราชทูตไม่ฉะเพาะแต่ชอบใจเท่านั้น ท่านยังอุตส่าห์เล็ดลอดไป
๑๔๒ ดูทางช่องเล็กช่องน้อยต่าง ๆ เพื่อจะให้รู้เห็นว่าวิธีท่อน้ำนั้นติดต่อ กันอย่างไร เป็นวิธีไหน. เมื่อดูเครื่องสูบน้ำหมดก็พอเป็นเวลาค่ำมืด จะเที่ยวดูอะไร ต่อไปไม่ได้ ท่านจึงหันหน้าไปทางประตูจะกลับ พอเดิรออก พ้นระเบียงวัดท่านราชทูตเหลียวหลังมาดูจึงได้รู้ในเวลานั้นว่า ท่าน อธิการรองกับพระสงฆ์อันดับ ที่ได้ชี้แจงอธิบายอะไรต่ออะไรในวัด นั้นหาได้ติดตามไปส่งถึงประตูวัด ตามธรรมเนียมทุกบ้านที่เขาเคย ส่งท่านแต่ก่อนไม่ เจ้าพนักงานเห็นท่านราชทูตฉงนใจจึงอธิบาย ว่า " ข้อที่คุณพ่อนิกายนี้ไม่ตามมาส่งเจ้าคุณขอเจ้าคุณจงอย่ารู้สึก แปลกใจเลย เพราะเป็นธรรมเนียมของนักบวชนิกายนี้ไม่ต้อง เกี่ยวข้องกับแขกเมืองใดซึ่งมาเยี่ยมวัดวาอารามของท่าน " เมื่อ ทราบความนี้แล้ว ท่านราชทูตก็ชอบใจมากว่า " วินัยนี้เคร่ง ครัดดี " แล้วท่านก็อุตส่าห์เดิรกลับไปหาคุณพ่อเหล่านั้นถึงที่ ๆ ท่านยืนอยู่นั้น เพื่อจะแสดงความขอบใจและอำลาท่านด้วย ดูเป็นที่พออกพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่ายมิใช่น้อย ส่วนคนทั้ง หลายเมื่อเห็นท่านราชทูตกลับไปลาท่านเจ้าอธิการ นั้นเป็นที่แสดง ความสัมมาคารวะต่อท่านผู้มีศีล ก็สรรเสริญท่านเป็นอเนกประการ แท้จริงข้าพเจ้าได้สังเกตมาหลายหนแล้ว ถ้าท่านราชทูตเห็น พระสงฆ์ยิ่งเคร่งแล้วท่านยิ่งเคารพมากขึ้น.
๑๔๓ บทที่ ๓๔ ราชทูตไทยไปดูห้างขายเพ็ชร. รุ่งขึ้นจากวันที่ได้ไปดูพระอารามนั้น เจ้าคุณราชทูตกับพรรค พวกได้ไปดูห้างขายเพ็ชร และเครื่องเงินทองของรูปพรรณของท่าน อาจารย์ช่างทองเดอมงตาร์ซีส์ ซึ่งเป็นหัวหน้าช่างทองหลวงและ ที่มีชื่อเสียงปรากฎว่า เป็นผู้ที่มีเพ็ชรเม็ดใหญ่และแพงที่สุดในทวีป ยุโรป เครื่องเพ็ชรพลอยที่ประดังพระมาลามหามงกุฎพระบาท สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กับเครื่องทรงอื่น ๆ ซึ่งทรงใช้ในงาน ใหญ่ล้วนแล้วด้วยฝีมือของนายช่างคนนี้ทั้งนั้น. ที่ห้างขายเพ็ชรนี้ ท่านราชทูตได้มีโอกาสชมรัตนเครื่องเพ็ชร พลอยอันมีค่าตั้งหลาย ๆ ล้านบาท อย่างที่เรียกกันว่าอนัคฆมณี แก้วหาค่ามิได้หรือราคาค่าควรเมืองฉะนั้น การดูเพ็ชรนี้ท่านราช- ทูตเพ่งพิศดูไม่ผิดแบบกับที่ดูสิ่งอื่นคือดู ๆ จริง ๆ ที่ห้างขาย เพ็ชรนี้มีรัตนะกี่อย่างกี่ชะนิด ท่านราชทูตดูจนทั่ว และทุก ๆ เม็ดที่ สำคัญท่านจับตรวจดูน้ำ , ดูแวว , ดูฝีมือเจียรนัยถ้วนถี่ทุกอย่าง แล้วถามถึงวิธีใช้และราคาและความนิยมของบุคคลพร้อมเสร็จ ที่ จริงท่านนี้ก็เป็นผู้ชำนาญในทางดูเพ็ชรพลอยเก่งทีเดียว เพราะ ท่านพูดถูกต้องว่าน้ำชะนิดนี้ชะนิดนั้นเป็นราคาเท่านี้เท่านั้น และ ชะนิดนั้นเขานิยมใช้ทำแหวน , ทำเครื่องประดับอื่น ๆ เช่นสาย สร้อยเป็นต้น ดูท่านพูดถูกต้องคล่องแคล่วราวกับพ่อค้าเพ็ชร พลอยหรือช่างทองคนหนึ่งก็ว่าได้.
๑๔๔ เมื่อได้ดูเครื่องเพ็ชรพลอย เครื่องเงินทองของรูปพรรณเสร็จ แล้ว, ท่านเดอมงตาร์ซีส์ได้พาท่านราชทูตไปดูหอพิพิธภัณฑ์ของ ท่านซึ่งเต็มไปด้วยโบราณวัตถุชะนิดเดียวคือ แผ่นเสมาที่ระลึกและ เหรียญเงินตรา , เหรียญทองตราต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลทั้งหลายเคยทำ ใช้แลกเปลี่ยนซื้อสิ่งของแต่ครั้งโบราณกาลลงมาจน ถึงรัชชสมัย ปัตยุบันนั้น. หอเก็บเสมานี้มีตู้สำหรับเก็บรักษาตั้ง ๔๐ ตู้ด้วยกัน, มีแผ่น เงิน, แผ่นทอง, ทองแดง, ตะกั่วดีบุก แทบทุกรัชชกาลและทุก ประเทศที่มีชื่อเสียงในโลกในสมัยนี้ เช่นเมืองฝรั่งเศส , เมือง สเปญ, เมืองเยอรมันนี, เมืองอิตาลี, เมืองอังกฤษ, เมืองปอ- ลอญ, เมือซวิท, เมืองฮอลันดาและอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก. ท่านเดอมงตาร์ซีส์นั้นเป็นคนน่าชมจริง คือว่าท่านไม่ใช่ คนมัวแต่เล่นเก็บอัฐ เก็บสตางค์ไว้เพื่ออวดเพื่อนฝูงว่ามีแปลก ๆ หลายร้อยหลายพันชะนิดเท่านั้น ๆ แผ่น , ( อย่างพวกเล่นบอนและ กล้วยไม้เป็นต้น ) ท่านสะสมไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในทางสอบ สวนโบราณคดีมีตำนานพงศาวดารเป็นต้น เหตุให้รู้ว่าท่านเดอ- มงตาร์ซีส์ เป็นนักโบราณคดีรู้พงศาวดารในสากลโลกละเอียดสุขุม นั้น คือว่าเมื่อท่านราชทูตหยิบแผ่นเหรียญไหนถามว่า " นี้สร้าง มาแต่ครั้งไร ? เพื่ออะไร ? " ท่านก็ตอบทันควันว่า " สร้างมา แต่ครั้งแผ่นดินพระราชาองค์นั้น ๆ เมืองนั้น ๆ เนื่องด้วยมงคลและ เหตุเศร้าโศกนั้น ๆ " ดังนี้ทุกแผ่นไม่มีติดหรือฉงนเลย ดูราว
๑๔๕ กับท่านอ่านในพงศาวดารก็ว่าได้, ฉะนี้จึงได้รู้ว่าท่านเป็นนัก โบราณคดีรู้ข้อความในพงศาวดรแห่งโลกดีจริง ผู้หนึ่งหาผู้เสมอ ยาก. ฝ่ายท่านราชทูตเล่า นอกจากพินิจดูด้วยตาและตั้งกระทู้ถาม ท่านยังได้แสดงความจงรักภักดี ซึ่งท่านมีไว้ต่อเจ้านายเหนือตนอย่าง น่าชม และโดยไม่ต้องพูดสักคำเดียว เพราะเหตุนี้จึงเป็นการ แปลก ถ้าเป็นแต่ยอสรรเสริญพระบารมีด้วยปากธรรมดาก็ไม่ แปลกอะไร แต่นี่ท่านนิ่งไม่พูดไม่จาสักคำเดียว และถึงกระนั้น การดุษณี ภาพนี้เป็นที่สรรเสริญบารมีของเจ้านายตนดีกว่าคำพูดตั้ง หลายเท่า เรื่องได้เกิดขึ้นดังนี้คือ เมื่อท่านราชทูตกำลังดูแผ่น เหรียญเหล่านั้น เผอิญมีอยู่แผ่นหนึ่งซึ่งท่านหยิบขึ้นมาพิจารณา ด้านหน้ามีรูปอะไรต่ออะไรไม่แปลกอะไรนัก แต่ด้านหลังมีคำ จารึกมากมายและยืดยาวกว่าแผ่นเหรียญอื่น ๆ เป็นอันมาก ท่าน ราชทูตจึงถามว่า " คำจารึกเหล่านี้มีใจความอย่างไร ทำไมจึงยาว ยืดพิสดารดังนี้เล่า ? ท่านเดอมงตร์ซีส์อธิบายว่า " เหรียญแผ่น นี้เป็นเหรียญที่พวกขบถได้หล่อขึ้น เมื่อศก ๑๖๗๒ เมื่อสงครามได้ เกิดขึ้นในระวางประเทศยุโรป รูปข้างหน้าเป็นรูปเปรียบเสีย ๆ หาย ๆ ต่อพระมหากษัตริย์ต่าง ๆ และคำจารึกที่ด้านหลังก็ล้วน คำติเตียนว่ารัฐบาลของพระมหากษัตริย์เหล่านั้นทั้งสิ้น." เมื่อท่านราชทูตได้ฟังคำอธิบายนั้น ท่านก็โยนทิ้งเหรียญแผ่น นั้นลงทันทีโดยอาการแค้นใจและเกลียดชังอย่างที่สุด และอาการ ๑๐ ๑๔๖ อันนี้ ของราชทูต ก็เป็นการแสดงความจงรักภักดี ต่อเจ้านายและ ความเกลียนดชังต่อคนพาล ที่ได้ปรากฎขึ้นในท่ามกลางที่ประชุม อย่างเปิดเผยดีกว่าใช้วาจาสามิภักดิ์และติเตียนเป็นอันมาก. ในบรรดาเหรียญและเสมาที่ระลึก ซึ่งให้ท่านราชทูตดูนั้นมี อยู่หลายแผ่นซึ่งเป็นเหรียญพึ่งได้สร้างขึ้นในรัชชสมัย ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และมีหลายแผ่นที่มีพระบรมฉายา ลักษณ์ปรากฏอยู่ในนั้นด้วย แผ่นที่มีพระบรมรูปนั้นสังเกตดู ท่านราชทูตพิเคราะห์แล้วพิเคราะห์เล่าเป็นกาลนาน ไม่ค่อยจะวาง ลงได้ ดูเหมือนมีเสน่ห์อะไรอันหนึ่งดลใจท่านราชทูตให้ชอบดู ยิ่งกว่าแผ่นอื่น ๆ. ต่อเมื่อท่านราชทูต ได้ตรวจดูแผ่นเหรียญเหล่านั้นเสร็จหมด แล้ว ท่านก็ได้กล่าวชมเชยความคิดและธรรมเนียมของผู้ที่สร้าง เหรียญชะนิดนั้นว่า " เป็นธรรมเนียมอันดีอย่างยิ่ง เพราะเป็น เหมือนหนึ่งประกาศคุณความดีของคนในสมัยหนึ่ง ให้คนใน สมัยหลังได้รู้ถึงด้วย หาไม่เมื่อคนสมัยปัตยุบันล่วงลับไปแล้ว ชื่อเสียงและเกียรติคุณความดีมักหายศูนย์ไปเร็ว หามีพะยาน ปรากฏให้คนชั้นหลังทราบทั่วถึงกันไม่ เพราะความทรงจำของ มนุษย์ย่อมไม่ยืดยาวเป็นธรรมดา ถึงกระนั้นก็ดีส่วนพระบาท สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กฤษดาภินิหารและพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์มากเหลือล้น ถึงแม้จะไม่สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นไว้ เกียรติศักดิ์เกียรติคุณของพระองค์ ก็คงแผ่เผยฟุ้งซ่านไปเองจน
๑๔๗ ชั่วกาลปาวสาน เพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ย่อมทรง ฝังในจิตต์ใจของพลเมืองฝรั่งเศสทั่วทุกคน ในพระราชอาณาจักรของ พระองค์ ฉะนี้จึงเข้าใจว่าแม้นไม่มีเสมาที่ระลึกก็คงไม่มีวันศูนย์ เป็นแน่ แต่เมื่อยิ่งมีเสมาเตือนให้ระลึกถึงด้วยก็ยิ่งดี เพราะ เป็นเหมือนหนึ่งส่งเสริมคุณความดี ของพระองค์ให้ยิ่งแผ่ซ่านออก ไกลสิ้นกาลนาน ซึ่งไม่เป็นการเกินสมควรหามิได้ เพราะพระ บารมีของพระองค์น่าสรรเสริญหาที่สุดมิได้." เมื่อดูแผ่นเหรียญเสร็จแล้ว ท่านราชทูตได้แสดงความ ขอบใจต่อท่านเดอมงตาร์ซีส์ ในการที่ท่านได้โปรดอธิบายฐานที่เกิด และพงศาวดารของเหรียญเหล่านั้น โดยละเอียดละออจนเข้าใจดี แล้วต่างก็ได้พากันไปดูรูปต่าง ๆ ซึ่งแขวนอยู่ในบ้านของท่านเดอ- มงตาร์ซีส์พร้อมทั้งคำอธิบาย ถึงรูปภาพที่แขวนไว้รอบห้องนั้นด้วย เมื่อท่านราชทูตได้เห็นรูปพร้อมคำอธิบายฉะนี้แล้ว จึงได้รู้เข้าใจ ถึงการที่ไปพบประเทศอเมริกา เพราะในจำนวนรูปเหล่านั้นมีรูป ท่านคริศโตบาลโกลำโบนายเรือเอกสเปญอยู่รูปหนึ่ง ซึ่งได้ไป พบปะเมืองอเมริกาเป็นคราวแรกเมื่อคริศตศก ๑๔๙๒. นอกจากรูปเหล่านั้นซึ่งท่านราชทูตชมแล้ว ชมเล่าถึงกับซัก ถามชื่อของนายช่างผู้ที่เขียนหมดทุกรูป ท่านยังได้ดูอีกสิ่งหนึ่ง ในห้องของท่านเดอมงตาร์ซีส์ซึ่งควรจะต้องกล่าวถึงบ้าง คือนาฬิกา เรือนหนึ่งซึ่งไขคราวเดียวแล้วก็เดิรไปได้ตลอดถึง ๓ เดือนไม่หยุด พอดูนาฬิกานี้แล้ว ก็นับว่าราชทูตได้ดูหมดในของน่าดูซึ่งมีอยู่ที่ห้าง
๑๔๘ ขายเพ็ชรนั้น ท่านราชทูตจึงได้ขอบใจและอำลาท่านเดอมงตาร์- ซีส์กับภรรยาอีกคำรบหนึ่ง แล้วก็ได้ออกไปขึ้นรถซึ่งรอคอยอยู่ หน้าห้าง.
บทที่ ๓๕ ราชทูตไปพักอาศัยที่พระตำหนักเดอคลาญี. วันที่ท่านราชทูตได้เข้าไปเฝ้า สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินที่วังแวร์ ซายส์นั้น ท่านยังหาได้ทันไปเที่ยวชมดูพระราชวังตลอดไม่ พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีรับสั่งให้เจ้าพนักงานกระทรวงวังจัด การให้ราชทูตไปพักที่พระตำหนักเดอคลาญี ซึ่งอยู่ไม่สู้ห่างจากวัง แวร์ซายส์เท่าไร เพื่อจะเปิดโอกาสให้ท่านราชทูตได้ไปเที่ยวชม ดูตามชอบใจ. ฉะนี้เมื่อรุ่งขึ้นจากวันที่ท่านได้ไปดูห้างขายเพ็ชรนั้น คณะ ราชทูตไทย ก็ได้ย้ายไปพักอาศัยอยู่ที่ตำหนักเดอคลาญีตามกระแส พระบรมราชโองการ พระตำหนักเดอคลาญีนี้จำลองแบบวัง โบราณที่เมืองครีก (Gre'ce) มาสร้างไม่มีแบบอื่นมาเจือปนเลย และจะรียกว่าวังคริกก็ไม่ผิด แต่อาศัยเหตุที่วังนี้ตั้งอยู่ริมบ้าน ขุนนางโบราณชื่อ " บารงเดอคลาญี " (หรือหลวงเดอคลาญี ถ้าจะ เทียบกับตำแหน่งขุนนางเมืองไทย) จึงได้ตั้งชื่อเรียกว่า " พระ ตำหนักเดอคลาญี." พระตำหนักนี้ หันหน้าไปทางทิศเดียวกันกับพระที่นั่งวังเดอ
๑๔๙ แวร์ซายส์ ทางด้านหน้าของพระตำหนักนี้มีมุขยื่นออกมาในที่ สุดทั้งสองข้าง และมุขนั้นทำหักเข้ามาทางหน้าตำหนักอีกหน่อย ท้องสนามหน้าลานพระตำหนักวัดตามยาวได้ ๖๐ เมตร. วัดตาม กว้างตั้งแต่หน้ามุขไปถึงรั้วนอกหน้เาประตูใหย่ได้ ๖๔ เมตร หน้า มุขกลางนั้นทรวดทรงกลมเป็นวงพระจันทรครึ่งซีก ยื่นออกมาข้าง หน้าดูเหมาะเจาะเข้าทีมาก ค่าที่ทำให้ดูเห็นพระตำหนักซึ้งเข้าไป ที่ด้านหน้านั้นมีบันไดขึ้นลงปูด้วยศิลาอ่อน ๕ บันได ทำเป็นรูป สี่เหลี่ยมเตี้ย ๆ ประมาณ ๕ ฟุตเท่านั้น. ชั้นล่างของพระตำหนักนี้งามกว่าชั้นอื่นหมด มีที่ประทับ ของพระเจ้าแผ่นดินอยู่เหนือมุขหน้าที่ยื่นออกไปหน้าลาน และ เหนือมุขหลังซึ่งยื่นออกไปในสวนกับทั้งสองข้างแห่งมุขนั้น และ มีท้องพระโรงใหญ่อยู่ตรงกลาง ในท้องพระโรงใหญ่นั้นมีเสา ศิลาสำหรับพื้นเพดานโดยรอบ และเพดานนั้นพอพ้นเสาออก มาทางกลางห้องก็ต่ำลงมากว่ารอบ ๆ หน่อย ลวดลายเครื่องประดับ ทำล้วนแต่ทรวดทรงตรง ๆ ไม่มีวงไปมาอย่างลวดลายธรรมดา เป็นวิธีประดับอย่างพื้น ๆ อย่างที่เรียกว่าแบบ " อัตติก " ของชาว เมืองครีกโบราณ. ห้องอื่น ๆ ซึ่งตั้งอยู่ข้างซ้ายมือเมื่อขึ้นมาจากบันไดใหญ่หน้า พระลานก็แต่งตามแบบ " อัตติก " นี้ทั้งหมด, แต่ห้องด้านขวา มือนั้น ก็แต่งเป็นแบบครีกโบราณเหมือนกัน แต่เรียกชื่อว่าแบบ " คอรินเทียน " คือผิดกันกับแบบ " อัตติก " ที่เพิ่มลวดลายกนก
๑๕๐ วนเวียนเข้าบ้าง เพิ่มภาพต่าง ๆ เช่นสัตว์และใบไม้และรูปเปรียบ เข้าบ้าง ส่วนแบบ " อัตติก " นั้นเป็นแต่เส้นตรง ๆ เท่านั้น เครื่อง ประดับอื่นไม่มีเลย ห้องที่สร้างตามแบบคอรินเทียนนี้เป็นห้อง เล็กห้องน้อยหลายห้อง เป็นห้องสรงและห้องชะนิดคาเลอรี แต่ไม่มีฝากั้น พื้นเพดานของห้องคาเลอรีนี้ยังไม่แล้วเสร็จดี ถ้าแล้วเมื่อใดคงงามเป็นที่จับตาจับใจมาก เพราะที่บนเพดาน นั้นรับสั่งให้เขียนเป็นราชประวัติของพระเจ้าเอเน่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่า จับใจมาก ( พระราชประวัติของพระเจ้าเอเน่นั้นปรากฏดังนี้คือ เมื่อพระเจ้าเอเน่ได้ทรงครอบครองพระนคร ตรัวแทนพระราชบิดา ซึ่งทรงพระชราชิณแล้ว พระเจ้าอุลิสก็กรีธาทัพมาตีเมืองตรัว พระเจ้าเอเน่เห็นเหลือกำลังที่จะต้านทาน ก็ต้องทิ้งบ้างทิ้งเมืองเสด็จ หนีไปและทรงแบกพระราชบิดา ซึ่งทรงพระชราภาพขึ้นเหนือพระ ปฤษฎางค์พาหนีไปด้วย เป็นการแสดงความกตัญญุตาต่อพระ ราชบิดาอย่างสิ้นสุดกำลังซึ่งพระองค์สามารถจะทำได้ ฉะนี้ถ้า เขียนเรื่องภาพนี้สำเร็จลงเมื่อไรจึงเข้าใจว่าคงงามเป็นแน่.) ที่มุมเพดานข้างล่างนั้น ปั้นเป็นรูปหมู่กำลังก้มหน้าลง ทำท่า แบกเพดานไว้มิให้ตกลงข้างล่าง และใต้ลงมาอีกหน่อยปั้นเป็น รูปเทพธิดาบ้าง ยักขินีบ้าง ถือกระเช้าดอกไม้และพวงมาลัย ทั้ง ช่วยกันยกโค้งศิลาทั้ง ๘ โค้งซึ่งไปบรรจบกัน ตรงกลางพื้นเพดาน. ที่เหนือบัวเสาซึ่งเป็นที่เกิดแห่งโค้งทั้ง ๘ โค้งที่เป็นเหมือน ซี่โครงของเพดานนั้น ก็มีเป็นรูปเทพบุตรเทพธิดาและพระ ๆ
๑๕๑
เจ้า ๆ ตามลัทธิพวกครีกโบราณกำลังแผลงฤทธิแสดงเดชกันทั้งนั้น
เช่นมีรูปพระนางธรณีผู้บำรุงโลกให้ชุ่มชื่น รูปเทพบุตรผู้ประจำ
ธาตุไฟ ธาตุลม ดินและน้ำเป็นต้น รูปเทพยดาผู้ประจำจักรราษี
และดาวนพเคราะห์ ซึ่งถือกันว่าล้วนแต่อาจยังฤดูให้ผลัดเปลี่ยนกัน
ได้ ให้ฝนฟ้าอากาศดีร้ายตามพระทัย กับมีรูปพระภูมิเจ้าที่และ
เทพยดาประจำทิศ สำหรับกันผีร้าย ป้องกันบ้านเมืองมิให้เป็นอัน-
ตราย เหล่านี้เป็นต้น.
ถ้าจะออกจากพระตำหนักโดยทางประตูห้องคาเลอรีที่ว่ามานี้
ก็ถึงสวนอุทยาน " โอรังเซอรี " คือสวนส้มซึ่งทำเป็นโรงใหญ่ปลูก
ต้นไม้ไว้ข้างใน ค่าที่ต้นส้มในเมืองฝรั่งเศสไม่อาจขึ้นกลางแจ้ง
ได้เหมือนในเมืองไทย ต้องปลูกไว้ในโรงและปฏิบัติอย่างดิบดี
จึงจะเผล็ดดอกออกผลได้บ้าง หรือถึงโบสถ์หรือโรงสวด ขอ
กล่าวถึงสวนส้มและโรงสวดนี้อีกหน่อย เพราะเห็นเป็นของแปลก
คือตามธรรมดาโบสถ์ มักมีสัณฐานยาวมากกว่ากว้างทั้งทรวดทรงมัก
เป็นดังรูปกางเขน แต่โบสถ์นี้ไม่เป็นเช่นนั้น ทรวดทรงกลมเหมือนจอมปลวก ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะจะเลียนแบบครีกทั้งนั้น
คือศาลเทพารักษ์ของกรีกทรวดทรงกลม โบสถ์นี้จึงทำทรวดทรง
กลมด้วยมิให้เสียแบบแผนความนิยมแห่งเจ้าของเดิม ลวดลาย
ข้างในเป็นไปตามแบบคอรินเทียนทั้งนั้น ขนาดของโบสถ์นี้วัด
ตามศูนย์กลางจากข้างหนึ่งไปหาข้างหนึ่งได้ ๑๐ เมตรพอดี เมื่อ
พระเจ้าแผ่นดินทรงประทับอยู่ในพระตำหนักนี้ ถ้าทรงหมาย
๑๕๒
พระทัยจะไปฟังมิซซา ไม่ต้องเสด็จออกจากพระตำหนักก็เข้าโบสถ์
ได้ เพียงเสด็จตามระเบียงพระตำหนักก็ถึงโบสถ์ สะดวกดี
ส่วนสวนส้มนั้น มีแปลกดังที่ได้กล่าวแล้วคือเป็นสวนสร้างไว้ใน
โรง หาใช่สร้างโรงไว้ในสวนเหมือนเมืองไทยไม่ ที่คิดทำเช่น
นี้ก็เพราะเมืองฝรั่งเศสเป็นเมืองที่มีอากาศค่อนข้างหนาว ต้นไม้
ผักหญ้าบางอย่างซึ่งขึ้นดีในเมืองร้อน ถ้าจะปลูกตามสวนในเมือง
ฝรั่งเศสคงไม่งอกงาม ( อย่างเดียวกับต้นไม้ที่ชอบขึ้นงามในเมือง
หนาวมาปลูกในเมืองไทยก็ไม่งอกงามเหมือนกัน ) ก็ในจำพวก
ต้นไม้ในเมืองร้อน ซึ่งปลูกไม่ขึ้นที่กลางแจ้งในประเทศฝรั่งเศส
ตอนเหนือ เช่นที่แถวพระนครปารีสนั้น ต้นส้มก็เป็นต้นไม้
ชะนิดหนึ่งซึ่งไม่ชอบหนาวปลูกไม่ขึ้น ฉะนี้พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จึงได้ทรงดำริปลูกสวนอุทยานไว้ในที่กำบังดังนี้
เพื่อจะบำรุงอากาศในนั้น ให้ร้อนหนาวจำเพาะพอเหมาะแก่ความ
ต้งการของต้นส้มนั้นเอง เพื่อให้งอกงามเผล็ดดอกออกผลได้
สวนส้มนี้หลังคาและฝามุงบังด้วยแผ่นกระจกทั้งนั้น แต่
ถึงเวลาระบายลมเข้าออกแผ่นกระจกเหล่านั้น ปิดเปิดได้ตามชอบ
ใจ ถ้าอากาศหนาวก็ปิดเสีย ถ้าอากาศร้อนอับเกินไปก็เปิดออก
ดังนี้ อากาศภายในจึงเป็นปกติอยู่เสมอ ถ้าฤดูหนาวทีเดียวเพียง
ปิดแผ่นกระจกเท่านั้นก็ยังอุ่นไม่พอ จึงต้องคิดทำให้อบอุ่นไป
ด้วยวิธีสุมไฟข้างใน ดังนี้ ต้นไม้จึงไม่ตาย.
สวนส้มที่ตำหนักเดอคลาญีนี้จัดอย่างประณีต ถนนรน
๑๕๓ แคมสำหรับเดิรเหินไปมาภายในโรงสวนนั้น ล้วนแต่ปูด้วยศิลา อ่อนขาวบริสุทธิ์ทั้งนั้น และถ้าจะวัดตามยาวก็ได้ ๔๘ เมตร วัด ตามกว้างได้ ๘ เมตรเศษ ท่านราชทูตเที่ยวดูจนทั่วเป็นที่พอใจ อย่างยิ่ง.
บทที่ ๓๖ ราชทูตไปดูลำคลองที่แวร์ซายส์ เย็นวันต้นที่ราชทูตไปพักที่ตำหนักเดอคลาญีนั้น ท่าน สตอร์ฟซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประจำอยู่กับราชทูตเสมอ ได้เข้าไป หาท่านราชทูตแล้วพูดว่า " ขอเรียนเจ้าคุณได้ทราบด้วยว่า พรุ่งนี้ ข้าพเจ้าจะเข้าไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้าเจ้าคุณมี ความประสงค์อยากให้ข้าพเจ้า ทูลสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ทรงทราบบ้างแล้ว ขอเชิญเจ้าคุณบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด จะได้นำขึ้นกราบบังคมทูล ให้ทรงทราบ " เจ้าคุณราชทูตตอบว่า " หามิได้ เราจะมิบังอาจ ถึงกับให้ท่านนำความอันใด ขึ้นกราบบังคมทูลให้ลำบากพระทัยเลย เราอยู่เป็นสุขในสำนักนี้ ก็เพราะพระองค์ได้ทรงจัดให้มาอยู่พระ มหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าฯ อยู่แล้ว ถ้าเมื่อใดพระองค์ก็มีพระราช ประสงค์จะทรงทราบความเป็นไปของเรา พระองค์คงทรงไต่ถามถึง เรา ๆ จึงจะกราบทูลให้ทรงทราบเมื่อนั้น แต่ที่จะให้เรารบกวนพระ องค์ก่อนดังนั้นหาเป็นที่ชอบไม่ แต่ข้อที่ท่านให้โอกาสแก่เรา เช่นนี้เราขอบใจท่านเป็นอันมาก."
๑๕๔ ตั้งแต่วันนั้นมา ท่านสตอร์ฟก็มิได้ตามถึงความประสงค์กับ ราชทูตอีกต่อไป แต่ทุกวันต้องไปหารือกับท่านอัครมหาเสนาบดี เดอเซเญอเลว่า " วันนี้ควรจะพาท่านราชทูตไทยไปดูอะไรบ้าง? " เพราะเกรงว่าแต่ลำพังท่านราชทูตจะไม่กล้าออกปาก ขอดูอะไรเลย และหากว่าจะเว้นเสียบ้าง จะไม่พาไปดูทุกวันท่านราชทูตก็จะไม่ทัน ได้ดูได้ชมของที่น่าดูน่าชมอีกหลายอย่าง จะต้องกลับไปเมือง ไทยเสียก่อน. วันต้นนั้น ท่านเสนาบดีมีคำสั่งให้พาราชทูตไปดูเรือกัญญา และลำคลองต่าง ๆ ในบริเวณวังแวร์ซายส์ว่า " มงเซียร์สตอร์ฟ ท่านควรพาราชทูตไปคอยที่ท่าราชวรดิตถ์ศิลาลายก่อนเถิด แล้ว ที่นั้นจะได้พบกับมงเซียร์เลอแฟฟร์ ชาวพนักงานอุทยานหลวง มง- เซียเลอแฟฟร์ก็จะได้รับภาระนำทางต่อไป เพราะมีรับสั่งว่ามง- เซียเลอแฟฟร์นี้เป็นคนชำนาญทางพระราชนิเวศน์ วังแวร์ซายส์มาก กว่าใคร ๆ ควรมอบธุระให้อธิบายความเป็นไปในนั้นได้ดีกว่า ใคร ๆ หมด " เหตุที่พระองค์ทรงเพิ่มเจ้าพนักงานพิเศษขึ้นฉะนี้ ก็โดยพระราชประสงค์ว่า เมื่อราชทูตานุทูตกลับไปเมืองไทยแล้วจะ ได้ทำรายงานความเป็นไปของเมืองฝรั่งเศสขึ้น กราบบังคมทูลโดย ละเอียดตามความเป็นจริง ดีกว่าทิ้งให้เลือกไปดูเอาเองตาม อำเภอใจโดยไม่มีผู้แนะนำ แล้วทำรายงานขึ้น กราบทูลสมเด็จ พระนารายณ์โดยคลาดเคลื่อน จากความเป็นจริงตามความเข้าใจของ ตนเอง.
๑๕๕ วันนั้นก่อนหน้าที่จะลงเรือไปเที่ยวชมสวน และลำคลองท่าน ราชทูตได้แวะเข้าไปดูสระ " อาปอล์โล " ซึ่งอยู่ตามทางที่จะไป ชม สระเสร็จแล้วก็ได้พากันไปดูพระตำหนักน้ำ ซึ่งเป็นท่าที่เรือมา คอยรับ. พอดีขณะนั้นขบวนเรือ " คงดอลา " คือเรือกัญญาหลวงกำลัง เทียบท่าพร้อมด้วยเจ้าพนักงาน และพวกฝีพายทนายเลือก ซึ่ง ล้วนแต่งตัวเต็มยศ เช่นในวันพระราชพิธีใหญ่ ๆ ฉะนั้น เรือทุก ลำก็ล้วนชักธงทิวปลิวไสวสบัดตามกระแสลมอยู่ไปมา พอราช- ทูตมาถึงท่าบรรดาเครื่องมหรศพ ฆ้อง กลอง มะโหรีและดนตรีต่าง ๆ ซึ่งมีประจำอยู่ในลำเรืออย่างเดียวกับเรือพระที่นั่ง ก็บรรเลง เพลงต้อนรับราชทูตสยาม พอได้เวลาราชทูตก็ลงเรือ พนักงาน ดนตรีก็บรรเลงเพลงอย่างวิเวกเยือกเย็น แล้วก็เคลื่อนกระบวนไป. เมื่อขบวนเรือแล่นไปได้สักครู่ ก็มาเทียบอยู่ตรงหน้าสวน มิสกวันและสวนเลี้ยงสัตว์ป่าต่าง ๆ มีสัตว์ต่างประเทศเป็นต้น ท่านราชทูตไทยก็พากันขึ้นบก เดิรไปตามถนนใหญ่ที่มีต้นไม้ ใหญ่ใบร่มชิดเรียงรายไปทั้งสองข้างถนน แล้วก็เข้าไปในสวน เลี้ยงสัตว์ " เมนาเญอรี " สิ่งที่ทำให้ท่านราชทูตดูแปลกใจไม่น้อย ในสวนนั้น คือสัตว์บางอย่างซึ่งท่านทราบว่าจำเพาะมีอยู่แต่ใน ประเทศสยาม ก็ยังกลับมามีอยู่ในสวน " เมนาเญอรี " นั้นด้วย. พอดูสัตว์ตามสมควรแก่กาลแล้ว ต่างก็ได้พากันไปดูพระ ที่นั่งโรงนาชื่อตรียานง ซึ่งตั้งอยู่ตอนท้ายบริเวณวังแวร์ซายส์นั้น ๑๕๖ พระที่นั่งโรงนานี้ดูเป็นที่ติดอกติดใจ ของคณะราชทูตเป็นอันมาก ดูแล้วดูเล่าจนแทบประหนึ่งว่า จะไม่อยากไปจากพระที่นั่งโรง นานั้น. ครั้นราชทูตออกจากพระที่นั่งโรงนาแล้วนั้น ก็ถึงเวลากลับเสีย แล้ว แต่ขากลับนี้หาได้กลับโดยกระบวนเรือ เหมือนเมื่อขามา ไม่ กลับโดยขบวนรถหลวงซึ่งเจ้าพนักงานได้จัดไว้คอยรับที่ปลาย ทางสวนหลวงนั้น ในที่นี้หากว่าท่านผู้อ่านอยากจะใคร่ทราบว่า ราชทูตได้แลเห็นของมากน้อยสักเท่าไร ข้าพเจ้าจะกล่าวเพียง แต่ว่า เมื่อท่านราชทูตกลับมายังที่พักแล้วท่านได้เขียนรายงาน สิ่งที่ท่านได้เห็นสำหรับนำไป กราบทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามนั้น ท่านลงมือตั้งแต่หัวค่ำจนเกือบย่ำรุ่งจึงได้ลุกจากที่นั่งเขียนนั้น ว่า เท่านี้แล้ว ท่านผู้อ่านคงอาจเดาเอาเองได้ว่าราชทูตได้ไปเห็นของ แปลกตามาในวันนั้นมากน้อยสักเท่าไร จึงต้องนั่งเขียนรายงาน อยู่ช้านานถึงเพียงนี้.
บทที่ ๓๗ ราชทูตไปเที่ยวดูสวน รุ่งขึ้นเวลาเช้าจากวันที่ได้ไปเที่ยวตามลำคลองนั้น มงเซียร์- เลอแฟฟร์เจ้าพนักงานรักษาพระอุทยานก็ได้มารับราชทูต แล้วพา ท่านไปดูสวนส้ม " โอรังเชอรี " ซึ่งเป็นสวนอยู่ในโรงกระจกคล้าย สวนส้มที่พระตำหนักเดอคลาญีนั้น โรงสวนส้มนี้นายช่างเอก
๑๕๗ ชื่อมังซารต์เป็นผู้สร้างพึ่งจะสำเร็จลงไม่สู้นานนัก แต่ก็มีชื่อเสียง ปรากฎรู้กันทั่วทุกประเทศว่า เป็นสถานที่แปลกประหลาดใหญ่ โตมโหฬารพิเศษกว่าโรงสวนซะนิดเดียวกันมาก. เมื่อราชทูตเที่ยวดูโรงสวนส้มโอรังเชอรีนี้แล้ว เจ้าพนักงาน ได้พาไปดูสวนไม้มีผลชะนิดอื่นและสวนผัก " เลอปอตาแยร์ " ซึ่ง อยู่ติดกันกับโรงสวนส้มแต่ต่างขนัดกัน สิ่งที่ท่านราชทูตได้สัง- เกตด้วยความแปลกใจในสวนนี้ คือการจัดบรรดาไม้มีผลและ ต้นผักไว้เป็นชะนิด ๆ เป็นพวก ๆ ไม่ปะปนกันเลยล้วนเปนหมวด หมู่น่าดู ที่ตรงนี้ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าท่านราชทูตได้พิเคราะห์ดู พืชพันธุ์ผลไม้ด้วยความเจาะจงอย่างไร จะขอบอกเพียงว่าสิ่งที่ น่าดูอื่น ๆ ท่านเคยพิเคราะห์ด้วยความตั้งใจอย่างไร สิ่งในสวน นี้ท่านก็ได้พิเคราะห์ด้วยความตั้งใจอย่างนั้น. วันที่ท่านราชทูตไปเที่ยวชมสวนนี้ เผอิญท่านเดอลาแคง คีนีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เฝ้าพิทักษ์รักษาสวนนั้น มาป่วยลงออกมาต้อน รับราชทูตไม่ได้ บุตรชายของท่านจึงได้ออกมาทำปฏิสันถารต้อน รับแทนบิดา และได้เอาผลไม้ต่าง ๆ มีลูกองุ่น " มึสกาต์ " เป็น ต้นให้ท่านราชทูตและพวกขุนนางไทยลองชิมดู ท่านราชทูตและ ขุนนางไทยก็ได้ชวนกันชิมดูทุกคน แล้วต่างก็พากันออกปาก ชมผลองุ่นมึสกาต์ว่ามีโอชารสอร่อย และหอมน่ากินเป็นเสียงเดียว กันไปหมด. ในวันนั้นนอกจากที่ได้ไปดูสวน คณะราชทูตก็ยังได้ไปดู
๑๕๘ สถานที่สำหรับเล่นลูกบอลไม้ชะนิดหนึ่ง ซึ่งทอยด้วยมือคล้าย เด็กเล่นโมราฉะนั้น สถานที่นั้นมีต้นไม้ปลูกรายเป็นแถวไปสอง ข้างดูราวกับเป็นซุ้ม ภายใต้มีเงาร่มสนิทเล่นได้สบายไม่ร้อน ใกล้สถานที่เล่นลูกบอลไม้นั้น มีสระใหญ่อยู่สระหนึ่งยังไม่แล้วจึง ยังไม่มีชื่อตั้งว่าเป็นสระอะไร แต่ชาวสวนด้วยกันตั้งขื่อเรียกกัน เองว่าสระสวิส เพราะใช้พลอาสาชาวสวิสเป็นคนขุด. พอดูสระสวิสเสร็จแล้วก็ได้พากันขึ้นไป ดูบนยอดภูเขาดิน ย่อม ๆ และไม่สู้สูงนัก ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางสวน ถึงแม้ว่าภูเขาดิน นั้นจะเตี้ยก็จริง แต่เมื่อได้พากันขึ้นไปถึงยอดเขาแล้วก็แลเห็น บริเวณพระราชวังแวร์ซายส์ได้ถนัด ท่านอัครราชทูตจึงเอ่ยขึ้นว่า "แล้วกันซิเรา เดิมก็เข้าใจว่าได้เห็นพระที่นั่งวังแวร์ซายเกือบ ๆ ทั่วแล้ว พึ่งจะรู้สึกเดี๋ยวนี้เองว่าสถานที่ซึ่งเราเที่ยวชมมามากต่อ มากแล้วนั้น ยังน้อยกว่าที่เรายังไม่ได้ไปเที่ยวชมอีกมากต่อมาก ไม่รู้กี่เท่า ช่างใหญ่โตมะโหฬารจริง." ตำบลภูเขาดินนี้ มีนกไก่ฟ้าผสมมาก ถ้าวันใดไม่สำราญพระ ทัยก็เสด็จประพาสมาเที่ยวทรงยิงเล่น พอให้เป็นที่สำราญพระทัย เมื่อเล่าเหตุการณ์นี้ให้ท่านราชทูตฟัง ยังมีบุรุษผู้หนึ่งแสร้งถาม ขึ้นมา โดยหมายจะให้ราชทูตจนแต้มว่า " นี่แน่ะเจ้าคุณ ต่าง ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานไก่ฟ้าตัว ๑ ที่พระ องค์ทรงยิงด้วยพระหัตถ์ เจ้าคุณจะเอาไปทำอะไร ? จะกินหรือ ไม่กิน ? " ที่แสร้งถามดังนี้ก็เพราะธรรมดาไก่ป่าที่ตายไปแล้วถ้า
๑๕๙ ไม่กินก็ต้องทิ้ง เพราะบัดเดี๋ยวเน่า แต่จะทิ้งอย่างไรได้ด้วยเป็น ของพระราชทาน จะเป็นทางหมิ่นประมาทพระบรมเดชานุภาพ ไป ถ้าจะไม่ทิ้งก็ต้องกิน แต่จะกินอย่างไรได้ด้วยเป็นของสำหรับ พระองค์ทรงเสวย จะเป็นการละโมกเกินฐานะของตนผู้เป็นราษ- ฎรไป รวมความก็ถามเพื่อจะให้ราชทูตจนแก่ปัญหา เพราะเห็น เป็นสองเงื่อนอยู่ แต่ที่ไหนได้เล่า พอถามจบประโยคลงท่าน ราชทูตก็ตอบทันทีว่า " อย่าว่าแต่จะกินเนื้อเลยท่าน ถึงกระดูก ก็จะไม่ทิ้ง เพราะขึ้นชื่อว่าของพระราชทานแล้วไม่ยอมให้เสียเลย สักชิ้นเดียว " ที่ตรงนี้เล่นเอาคนถามเองจนแก่ถ้อยคำไปเอง ไม่ รู้จะต่อประโยคราชทูตได้อย่างไร ได้แต่ตอบสรรเสริญราชทูตว่า " เจ้าคุณช่างมีไหวพริบเฉลียวฉลาด และความจงรักภักดีสัมมาคารวะ ต่ออำนาจราชศักดิดีจริง ๆ "
บทที่ ๓๘ ราชทูตไปชมพระราชอุทยานที่วัง แวร์ซายส์ เป็นครั้งที่ ๓. รุ่งขึ้นในวันคำรบ ๓ ราชทูตได้ไปชมสวนอุทยานวันแวร์- ซายส์อีก ชั้นแรกท่านเข้าไปดูสวนเล็กน้อย สวนนี้ที่จริงก็ใหญ่ โตระโหฐานมากทีเดียว ไม่น่าจะเรียกว่าสวนเล็กเลย แต่เพราะ มันไม่ใหญ่โตเท่ากับสวนใหญ่ในบริเวณวังแวร์ซายส์นั้น จึงเรียก กันว่าสวนเล็ก.
๑๖๐ ในสวนเล็กนี้มีแปลกเป็นพิเศษ ที่มีรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ตั้งอยู่ทุกมุมสวน รูปเหล่านี้จำลองตามแบบอิตาลีบ้าง ตามแบบ กรีกบ้าง สุดแต่ว่าท่านเสนาบดีเดอลูวัวส์ได้ยินว่าที่ไหนมีรูปฝีมือ ดีของอาจารย์โบราณ ท่านก็สั่งให้ช่างไปจำลองแบบมาทำไว้ ประดับวังแวร์ซายส์ ตกว่าฉะเพาะแต่ในวังแวร์ซายส์แห่งเดียว เท่านั้นมีรูปโบราณและสมัยปัจจุบันทั่วไปในโลกพิภพ ประดับทุก ชนิด อนึ่งนอกจากรูปหล่อซึ่งมีมากมายดังนี้ก็ยังซ้ำมีรูปอื่นซึ่ง ทำด้วยศิลาอ่อนสลับกันไปกับรูปหล่อเหล่านั้นอีกเอนกอนันต์. นอกจากรูปเหล่านั้นซึ่งเป็นของน่าชมแล้ว ราชทูตยังได้ แปลกใจในเรื่องน้ำอีกไม่น้อย คือสวนแวร์ซายส์ตั้งอยู่ที่ดอน ซึ่งน่าจะหาน้ำยากตามธรรมดา แต่อาศัยพระบารมีกลับเป็นตรง กันข้ามที่ดอน ได้กลายเป็นที่บริบูรณ์ไปด้วยน้ำอย่างเดียวกับที่ลุ่ม เหมือนกัน ธรรมดาที่ลุ่มนั้นย่อมมีน้ำพุขึ้นมาจากที่ดินอย่างไร ที่สวนแวร์ซายส์นั้นก็มีน้ำพุออกจากที่ดินอย่างนั้น บัดเดี๋ยวน้ำ ไหลออกจากแง่ศิลา บัดเดี๋ยวพุออกจากพุ่มไม้ จนน้ำไหลย้อย ไปตามกิ่งบ้าง ตามใบบ้าง บัดเดี๋ยวก็ไหลออกมาจากปากของ รูปที่ตั้งไว้ในสวนนั้นก็มีต่าง ๆ นา ๆ ล้วนแต่ดูเหมือนกับเป็นมา เองตามธรรมดา ที่แท้ก็เป็นขึ้นมาโดยฝีมือนายช่างประดิษฐขึ้น ทั้งนั้น คือเขาทำท่อน้ำต่าง ๆ ล้วนแต่ให้เป็นรูปเหมือนต้นไม้ บ้าง ทั้งสีสรรวรรณก็ทำให้เหมือนกับเป็นของจริง เมื่อคนที่ ไม่เคยเห็นได้มาเห็นเข้าจึงไม่รู้ว่าเป็นของประกอบกัน เข้าใจไป
๑๖๑ เสียว่าเป็นอยู่อย่างนั้นเองตามธรรมดาของโลก. ในบรรดาน้ำที่พุออกมาจากที่ต่าง ๆ นี้ มีรูปอีกแผนกหนึ่งซึ่ง น่าจะกล่าวถึงบ้างสักนิดหน่อย เพราะเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ได้ยิน ได้ทราบอยู่ทั่วกัน คือว่าในระวางพุ่มไม้ต่าง ๆ ที่น้ำไหลนั้น มี รูปหมู่เป็นสัตว์บ้าง มนุษย์บ้าง นรสิงห์บ้าง เทพยดาบ้าง ตั้ง อยู่เป็นหมวดหมู่กันตามเค้านิทานของท่านอาจารย์อิซป อันว่า บรรดาสัตว์ที่เปรียบกับความเป็นไปของมนุษย์ ซึ่งเป็นท้องนิทาน ของท่านอาจารย์อิซปนั้น ล้วนมีรูปปรากฎกำลังทำท่าสมกับท้อง เรื่องในนิทานนั้น ๆ และตามฐานของรูปที่สำคัญในหมู่หนึ่ง ๆ ก็มี อักษรจารึกบอกกิริยาอาคาร และความเป็นไปตามท้องนิทานไว้อีก ด้วย สำหรับผู้ที่ยังไม่สู้เข้าใจความอุประมาอุประมัยจะได้เข้า ใจเนื้อความดี. เมื่อท่านราชทูตได้เห็นของแปลกประหลาดเหล่านั้น โดยที่ ท่านเกรงว่าจะลืม ท่านให้เสมียนซึ่งติดตามมาด้วยจดเรื่องราว ที่ได้เห็นมาเป็นลำดับเสมอ เย็นวันนั้นตอนเมื่อกลับจากเที่ยวดูสวนเจ้าพนักงานถามราช ทูตว่า " อย่างไรเจ้าคุณราชทูต ? พระราชอุทยานกับของที่มีอยู่ ในนั้นเป็นที่ถูกใจเจ้าคุณหรือไม่ ? มีอะไรบ้างที่เจ้าคุณเห็นเป็น ของน่าดูยิ่งกว่าสิ่งอื่น ในสิ่งที่ดูมาแล้วในวันนี้ ? " ท่านราชทูต ก็ไม่ตอบเป็นแต่ก้มลงกำทรายขึ้นมากำหนึ่ง แล้วชี้ให้เจ้าพนักงาน ผู้ถามนั้นดูว่า " นี่แน่ะท่าน สิ่งที่น่าดูน่าชมในพระราชอุทยาน ๑๑ ๑๖๒ แวร์ซายส์นี้มีอยู่มากต่อมากราวกับเม็ดทราย ที่เรากำลังกำอยู่ในมือ เดี๋ยวนี้ และการที่เราจะตอบท่านว่าอะไรเป็นสิ่งที่น่าดูน่าชมมาก กว่าสิ่งอื่นนั้น เป็นการยากที่จะบอกได้เพราะว่าแต่ละสิ่งละอย่าง ก็ราวกับเม็ดทรายเม็ดหนึ่ง ๆ เมื่อกำรวมกันไว้ให้แน่นมาก ๆ เข้า แต่พอคว่ำมือลงก็พอดีไหลรั่วออกจากระวางนิ้ว จนแทบหมดเกือบ ไม่เหลือฉันใดก็ฉันนั้น ฉะนี้จึงว่าเป็นการยากที่จะบอกได้ว่าสิ่ง นี้งามกว่าสิ่งนั้น เพราะความจริงเราเห็นว่าประเสริฐสิ้นด้วยกัน ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งนั้น."
บทที่ ๓๙ ราชทูตไปชมพระราชอุทยานที่วัง แวร์ซายส์เป็นครั้งที่ ๔ ในวันที่ ๔ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ราชทูตจะอยู่ดูวังแวร์ซายส์นั้น เจ้าพนักงานได้พาท่านไปดูสวนที่ประชุมมุขมนตรีสภาก่อน สวน มุขมนตรีสภาพนี้เป็นที่งดงามยิ่งนัก แ ต่ไม่อาจจะบรรยายให้ผู้อ่าน รู้ได้ง่าย นอกจากจะเอารูปภาพมาคลี่ให้ดูซึ่งเป็นการเหลือวิสัย ที่จะกระทำได้ ครั้นชมสวนมุขมนตรีสภาแล้ว ก็ได้พาราชทูตไปดูสระที่เรียก ว่าสระอังซลัด ซึ่งล้อมไปด้วยเครือเขาเถาวัลย์ดูตระการตา แต่ ก็ไม่แปลกเท่ากับสะพานสำหรับข้ามคลอง ซึ่งอยู่ในบริเวณสระนั้น เพราะสะพานเหล่านั้นล้วนทำเป็นสะพานหัน สะพานหกกันทั้งนั้น
๑๖๓ แต่แทนที่จะหันไปซ้ายย้ายมาขวา หรือหกขึ้นไปแหงนค้าง อยู่ข้าง บน กลับหกหงายแล้วพับราบเสมอกับพื้นดินราวกับไม่มีสะพาน ดูน่าพิศวงจริง ๆ อนึ่งหมู่รูปที่ประดับสระนั้นล้วนทำเป็นรูปเด็ก ๆ ยืน ๆ นั่ง ๆ ทำท่าต่าง ๆ กัน และล้วนทาเป็นสีทองทั้งนั้น. และที่กลางสระนั้น มีรูปอสุรยักษ์ตนหนึ่งเรียกว่ายักษ์อัง- ซลัด ซึ่งเป็นยักษ์มีชื่อปรากฎมาแต่ครั้งโบราณ มีเรื่องราวกล่าว กันว่า วันหนึ่งมันพยายามจะขึ้นไปสวรรค์ให้จงได้ มันขนเอา ศิลาก้อนใหญ่ ๆ ทับถมกันตั้งแต่โลกของมันจนถึงสวรรค์ แต่ลง ปลายกลับได้ผลตรงกันข้าม คือเมื่อเกือบ ๆ จะแล้วเสร็จนั้น หมู่ก้อนศิลาเหล่านั้นได้พังทลายลงมา ทับยักษ์อังซลัดเองแทบ ปางตาย. รูปยักษ์อังซลัดที่นายช่างได้ประดิษฐขึ้นไว้นี้ มีอาการกำลัง นอนอ้าปากพ่นน้ำออกมาเป็นสายใหญ่ ๆ แลเห็นแต่ปลายแขน ปลายเท้าและศีร์ษะของมันเท่านั้น ส่วนร่างกายนั้นมีก้อนหิน ทับให้บี้แบนอยู่เกือบตาย ดูน่าเวทนาและแปลกพิลึก ขนาด หัวยักษ์นั้นใหญ่กว่าหัวคนธรรมดาตั้ง ๔-๕ เท่าจึงดูเห็นสนัดทีเดียว เมื่อดูสระยักษ์อังซลัดแล้วราชทูต ได้ไปดูของแปลกอีกหลาย อย่าง แต่จะขอเล่าแต่เรื่องละคอนน้ำพุ ที่เรียกว่าละคอนน้ำพุ นั้น เป็นเพราะว่ารูปต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ในนั้นแลดูเป็นเหมือนตัว ละคอนกำลังรำทำท่าต่าง ๆ เหมือนพวกละคอน และรูปตัวละคอน
๑๖๔ นั้นทุก ๆ รูปล้วนแต่เล่นน้ำทั้งนั้น ตัวนี้พ่นมากทางปากบ้าง ตัว นั้นเทจากเครื่องใดเครื่องหนึ่งบ้างต่าง ๆ นา ๆ ดูราวกับละคอน น้ำแท้ ๆ. ถัดจากละคอนน้ำราชทูตได้ไปดูหนองประดิษฐซึ่งดูไม่ผิดกับ หนองและบึงธรรมดาเลย แต่ที่จริงหนองและบึงธรรมดาจะมี อยู่ในดอนเช่นนี้ไม่ได้อยู่เอง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จาก หนองนี้ก็ได้ไปดูสวนสามพุเพราะมีน้ำพุในที่นั้น ๓ แห่ง แล้ว ก็ได้ชมสระ ชมสวน ชมโคก และเดรชมตำหนักอื่น ๆ อะไร ต่ออะไรอีกเหลือที่จะพรรณนาได้ ต้องได้แลเห็นด้วยตนเองจึง จะเข้าใจโดยถ้วนถี่ได้ ว่างดงามใหญ่โตมะโหฬารและเป็นเอนก อนันต์สักเท่าใด. ตอนนี้ราชทูตได้แสดงความขอบใจ ต่อเจ้าพนักงานผู้นำทาง ไปและต่อเจ้าพนักงานผู้ดูแลสวนอุทยานนั้นว่า เป็นบุญแท้ ๆ ที่ท่านได้พาเรามาดูสวนอุทยานนี้ เพราะน่าดูจริง อนึ่งก็เป็นบุญ อันใหญ่หลวงที่จะได้เป็นเจ้าพนักงาน ดูแลพิทักษ์รักษาสถานที่อัน งดงามถึงเพียงนี้ แท้จริงนอกจากผู้ที่เป็นข้าราชการของพระบาท สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แล้วไม่มีใครที่อื่นแล้วในโลกซึ่งจะ อาจได้ดำรงตำแหน่ง เป็นคนดูแลรักษาของประณีตงดงามเช่นวัตถุ เหล่านี้ ขอขอบใจเป็นอันมากที่ท่านได้เอื้อเฟื้อพาเราไปและ ชี้แจงอธิบายทุกสิ่ง ซึ่งเกี่ยวกับวัตถุ และสถานที่ที่เราได้มาแลเห็น ขอท่านจงเจริญ ๆ เทอญ.
๑๖๕ บทที่ ๔๐ ราชทูตไปดูหอน้ำประปาที่มาร์ลี รุ่งขึ้นวันหน้า ราชทูตได้ไปดูหอน้ำประปาที่เมืองมาร์ลีซึ่ง เป็นที่สำหรับทำการสูบน้ำ จากแม่น้ำแซนส่งขึ้นไปตามท่อต่าง ๆ จน ถึงพระที่นั่งวังแวร์ซายส์ หอน้ำประปานี้สำหรับสมัยนี้ก็นับว่า เป็นงานอัศจรรย์ใหญ่ซึ่งหาคู่มิได้ในทั่วโลกพิภพ ทั้งเป็นของ งามน่าดูเป็นสิ่งอันประเสริฐ ซึ่งได้เกิดจากสติปัญญาของมนุษย์ หอน้ำประปานี้ข้อต้นถ้าใครไม่รู้ แล้วก็ไม่น่าเชื่อว่าเป็นหอน้ำ ประปาเลย น่าที่จะเข้าใจไปว่าเป็นพระราชสถานคล้ายกันกับวัง แวร์ซายส์อีกแห่งหนึ่งนั้นเอง มีพระตำหนัก มีพระที่นั่ง มีสวน เลี้ยงสัตว์ มีสวนผัก สระน้ำเหมือนกับที่แวร์ซายส์เหมือนกัน แต่ละแห่ง ๆ มิใช่แกล้งว่าดูพอสมกับที่จะใช้ต่างพระที่นั่งที่ประทับ ของพระมหากษัตริย์ก็ว่าได้ คงมีพระเจ้าแผ่นดินหลายประเทศ ซึ่งมีที่ประทับสู้หอน้ำประปาและบริเวณนี้ไม่ได้. สิ่งประหลาดสำหรับราชทูตในห้องประปานี้ คือท่านได้แล เห็นสรรพเครื่องราชบรรณาการทั้งหลาย ซึ่งท่านได้นำมาถวายแต่ เมืองไทย เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้ในที่นี้แทบทุกอย่าง. สิ่งที่ราชทูตได้ชมด้วยความพอใจนั้น คือรูปภาพของอาจารย์ เดอแวร์เมอแลงซึ่งมีอยู่ในนั้นเป็นอันมาก ท่านชอบจนถึงกับ ออกปากว่า ถ้าท่านได้รูปภาพชะนิดดังนี้สำหรับไปอวดที่เมือง ไทยท่านจะชอบมิใช่น้อย
๑๖๖ นอกนั้นท่านยังได้แสงความแปลกใจอีกข้อหนึ่ง ที่ตรง ว่าสำนักนี้แม้จะมิใช่ที่เสด็จมาทรงประทับเนือง ๆ ก็ดี ก็ยังประดับ ประดาให้วิจิตรงดงามและมีเครื่องราชูปโภค เครื่องใช้ไม้สอย เหมือนในพระราชสำนักพร้อมทุกอย่าง ถ้าแม้ว่าเมื่อใดพระเจ้า แผ่นดินจะเสด็จมาประทับแรม พร้อมด้วยราชบริพารมากมายสัก เท่าใด ๆ อย่าว่าแต่จะต้องวุ่นวายจัดหาที่ประทับและเครื่องเสวย สำหรับพระเจ้าแผ่นดินแต่พระองค์เดียวเลย ที่พักที่กินที่นอน สำหรับหมู่อำมาตย์ราชบริพารก็มีอยู่บริบูรณ์ เหมือนในพระราช สำนักที่ทรงประทับอยู่ทุกวัน. เมื่อได้เวลาแล้ว ท่านราชทูตได้รับเชิญจากท่านมัรีส์เดอมง- เชอเวรย ผู้สำเร็จราชการต่างพระเนตรพระกรรณที่จังหวัดพระที่ นั่งแซงต์แยร์แมงอัลเลย์ พระที่นั่งแซงต์แยร์แมงนี้ เริ่มสร้าง ตั้งแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าฟรังซัวส์ที่ ๑ เป็นวังที่สวยสม กับพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์สิ้นทุกอย่างอยู่แล้ว แต่ กระนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ยังทรงพระกรุณาโปรด เกล้า ฯ พระราชทานเงินรายพิเศษสำหรับจะสร้างเพิ่มเติมและ แก้ไขให้สวยสมยิ่งกว่านั้นขึ้นไปอีก. ข้อที่น่าสังเกตคือพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ นี้ มิจำเพาะแต่พอ พระทัยสร้างวังและอะไรต่ออะไร ซึ่งนับว่าเป็นของคู่แผ่นดินและ บุญบารมีของพระองค์เท่านั้น พระองค์ยังทรงสถาปนาปฏิสังขรณ์ สถานที่โบราณต่าง ๆ ให้ถาวรมั่นคงและงดงามยิ่งกว่าเดิมอยู่
๑๖๗ ทุกสถาน มิได้ทิ้งปล่อยปละละเลยไว้ให้ชำรุดทรุดโทรม โดย ทรงถือทิฏฐิมานะว่ามิใช่ของพระองค์ทรงสร้างเองหามิได้ พระ องค์ทรงพระอุตสาหะบำรุงเหมือนกับว่า พระองค์ทรงเป็นเจ้า ของสร้างมาเอง ของเดิมมีอยู่อย่างไรก็ให้คงอยู่ไม่รื้อไม่ถอน ไม่ทอนไม่ตัด มีแต่จะทรงจัดเพิ่มเติมทวีคูณอย่างกับเจ้าของ เดิมยังอยู่ ๆ เสมอ เช่นที่วังแซงต์แยร์แมงนี้พระองค์ทรงดำรัส ให้เพิ่มเติมมุขขึ้นอีก ๕ มุข ทำให้พระราชสถานนั้นดูงามสม ทรวดทรงเข้าอีก ที่วังแซงต์แยร์แมงนี้ราชทูตได้ดูหลังคาพระ ราชวังด้วยความแปลกใจ เพราะหลังคานั้นมุงด้วยแผ่นศิลาสั้น ทั้งหลัง ราชทูตยังไม่เคยเห็นที่ไหนจึงเห็นเป็นของแปลก. เมื่อดูวังเสร็จแล้ว ก็ได้กลับไปดูเครื่องสูบน้ำเดอมาร์ลีซึ่ง สูบน้ำเข้าหอประปา สำหรับจำหน่ายไปยังสวนอุทยานวังแวร์ซายส์ เครื่องนี้ก็เป็นเครื่องแปลกน่าอัศจรรย์ดังที่ได้ว่าแล้ว แต่สำหรับ การก่อทำนบกั้นน้ำจากแม่น้ำเท่านั้นได้ยินว่าต้องตัดต้นไม้สิ้นทั้งป่า จึงได้ซุงเสาเพียงพอแก่ความต้องการ. วิธีสูบน้ำเป็นดังนี้ คืออาศัยเหตุที่หาเครื่องแรงให้พอสำหรับ สูบน้ำจากแม่น้ำส่งขึ้นไปถึงเมืองแวร์ซายส์ไม่ได้ โดยเป็นหนทาง สูงไกลจากแม่น้ำมาก ก็ใช้วิธีสูบเป็นระยะ ๆ กันไป ชั้นแรก ก็สูบจากแม่น้ำขึ้นไปตามไหล่เนินพอหมดแรงสูบลงที่ไหน ก็มี สระรับน้ำที่นั้นระยะหนึ่ง แล้วก็มีสูบใหม่ที่ตรงนั้นรับช่วงสูบ น้ำจากสระนี้ส่งขึ้นไปอีกทอดหนึ่ง ก็มีสระอีกแห่งหนึ่งซึ่งอยู่สูง
๑๖๘ กว่าต่อไป และก็รับช่องสูบต่อ ๆ กันไปอีกเป็นทอด ๆ ดังนี้จน กว่าจะถึงถึงใหญ่ซึ่งตั้งอยู่บนหอน้ำประปา แล้วจากนั้นต่อไปก็ มีท่อน้ำสำหรับจำหน่ายน้ำไปตามต้องการ ในทั่วพระราชสถาน วังแวร์ซายส์ ๆ ซึ่งเป็นที่ดอนเลยกลายเป็นที่ ๆ บริบูรณ์ไปด้วยน้ำ ราวกับตั้งอยู่ริมฝั่งลำน้ำก็ว่าได้ ทั้งนี้ก็เพราะบุญบารมีของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่ได้ทรงกะการนี้ และได้ทรงอุป- ถัมภ์จนเป็นผลสำเร็จ. แท้จริงเท่าที่ได้ทรงจัดการในเรื่องน้ำประปาสำหรับเมืองแวร์- ซารส์เท่านี้ ก็เป็นกรณียกิจอันปรีชาสามารถใหญ่หลวงในรัชช- กาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ อยู่แล้ว ถึงแม้ว่า พระองค์จะได้กระทำเพียงกิจนี้ประการเดียวก็ยังพอนับได้ว่า ใน รัชชกาลของพระองค์ มิได้เป็นไปโดยปราศจากประโยชน์ต่อแผ่น ดิน เพราะหอประปานี้ย่อมเป็นไปเพื่อสิริสวัสดิพิพัฒน์มงคล แก่ชาติเป็นมหัศจรรย์อยู่แล้ว แต่อาศัยเหตุที่พระองค์ได้ทรง กระทำพระราชกิจจานุกิจน้อยใหญ่เป็นอเนกประการ กิจแห่ง หอน้ำประปานี้ จึงเลยไม่สู้มีใครเชิดชูและเชยชมเท่ากับที่ควรชม เท่าไรนัก แต่แท้จริงก็เป็นของน่าชมอย่างอัศจรรย์ใจจริงมิ น้อยเลย ส่วนท่านอัครราชทูต ซึ่งข้าพเจ้าเคยได้กล่าวมาแล้ว แต่กาล ก่อนว่าท่านประกอบด้วยความเฉลียวฉลาด และวิจารณญาร อย่าง หาผู้เสมอยาก ก็ได้พิเคราะห์ดูเครื่องสูบน้ำประปาเดอมาร์ลีนี้
๑๖๙ ด้วยความกำหนดจดจำอย่างละเอียดสุขุมยิ่ง ที่จริงการดูเครื่อง ใหญ่โตดังนี้โดยละเอียดก็มิใช่ของง่ายเลย เพราะเครื่องที่โยง ถึงกันและกันตั้งอยู่เป็นแผนก ๆ ห่างกันตั้งหลายสิบเส้น จะเที่ยว เดิรตรวจดูก็จะต้องกินเวลาตั้งหลาย ๆ วันจึงจะเห็นทั่วถึงตลอดได้ เพราะเหตุฉะนี้เจ้าพนักงานจึงได้จัดม้าไว้คอยท่า และได้พากันขี่ม้า เที่ยวดูเครื่องสูบน้ำนั้นตลอด ตามเนินที่อยู่ในระวางแม่น้ำแซนและ หอน้ำประปานั้น, เมื่อท่านราชทูตไทยได้ตรวจดู เครื่องสูบน้ำเสร็จแล้วท่านได้ พูดสรรเสริญขึ้นว่า " เครื่องอย่างนี้ดูเป็นของเทวดาทำมากกว่า ของคนทำ ช่างน่าชมสติปัญญาความสามารถของผู้คิดขึ้นมาจริง แต่ถึงนายช่างผู้ต้นคิดนั้นจะมีปัญญาความสามารถสักเท่าใดก็ดี ก็ ต้องอาศัยพระบรมราชูปถัมภ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน หาไม่เครื่องวิเศษนั้นคงไม่มีวันสำเร็จลงได้เป็นแน่ เครื่องนี้เรา เข้าใจว่าสำเร็จได้เพราะกิตติศัพท์สรรเสริญบารมี ของพระเจ้าแผ่น ดินซึ่งขจรไปในนานาประเทศ จนเป็นเหตุชักนำให้นายช่างผู้ วิเศษต่างเขตต์ขัณฑสีมา พากันมีความจงรักเข้ามาสวามิภักดิ์ถวายฝี มือให้พระองค์ทรงใช้สอย และพระองค์ผู้ทรงญาณอันมหาประ- เสริฐก็ทรงปูนบำเหน็จรางวัล แก่ผู้มีความชอบตามควรแก่คุณานุรูป และความจงรักภักดีทั่วกันหมด พระเกียรติยศเกียรติคุณยิ่งแผ่ ไพศาลไปทั่วทิศานุทิศ ทราบไปถึงไหนต่างก็มีจิตต์ชื่นชมยินดี พากันมาช่วยทนุบำรุงแผ่นดิน ของพระองค์ให้บริบูรณ์ด้วยศิลป-
๑๗๐ ศาสตรต่าง ๆ ฉะนี้ เราจึงได้กล่าวว่า เครื่องอัศจรรย์นี้สำเร็จลงได้ เป็นต้นก็เพราะอาศัยพระบารมีของพระองค์เป็นต้นเดิม หาใช่ เพราะฝีมือและความสามารถ ของนายช่างผู้ต้นคิดอย่างเดียวไม่ ด้วยว่าถ้ามีแต่คนคิดไม่มีผู้ทรงไว้ซึ่งกำลังช่วยอุปการะ ก็คงจะคิด เสียเปล่านั้นเอง " ในวันเดียวกันนั้น ท่านราชทูตยังได้ไปดูสวนเพาะปลูกซึ่ง อยู่ในที่บริเวณที่เหล่านั้น ในสวนนี้มีถึงสำหรับปลูกต้นไม้ถึงสอง แสนแปดหมื่นถัง, ล้วนแต่เป็นต้นไม้ดอกทั้งนั้น.
บทที่ ๔๑ ราชทูตไปเฝ้าในห้องเสวย รุ่งขึ้นวันหลัง เจ้าพนักงานได้พาราชทูตไปเฝ้าสมเด็จพระ เจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในเวลาที่พระองค์กำลังเสวยพระกระยาหาร เมื่อ คณะราชทูตเข้าไปถึงหน้าพระที่นั่ง ถวายบังคมตามธรรมเนียม เมืองไทยเสร็จแล้ว ต่างก็หมอบนิ่งพนมมือเหนือหน้าผากเฝ้า เฉยอยู่ในที่นั้น พระองค์จึงทรงรับสั่งให้ราชทูตเงยหน้าขึ้นชม พระองค์ ราชทูตจึงได้เงยหน้าขึ้นชมพระบารมีตลอดเวลาที่ทรง เสวยนั้น แต่การชมนั้นท่านกระทำด้วยแสดงความเคารพนับถือ เป็นอย่างยิ่งตลอดเวลามิได้ขาด. พระอากัปกิริยาของพระองค์ เป็นที่ถูกใจของท่านราชทูตจน ถึงกับนายระคนอันนับเข้าในคณะทูตซึ่งอยู่ในที่เฝ้าเวลานั้น ได้
๑๗๑ ออกอุทานวาจา กล่าวกับท่านบาดหลวงเออลิออนซึ่งเป็นล่ามประ- จำอยู่นั้นว่า :- " คุณพ่อขอรับ น่าเสียดายที่ผมพูดภาษาฝรั่งเศส ไม่เป็น ถ้าหาไม่ผมรู้สึกกล้าในใจขึ้นมาถึงกับอยากกราบบังคม ทูลโดยฉะเพาะตัว ด้วยมั่นใจว่าพระองค์คงพระราชทานอภัยโทษ มิได้ทรงถือพระองค์ เพราะผมเชื่อแน่ว่าถึงว่าผมจะมีความทนง ในใจมากเท่าไร พระองค์ทรงไว้ซึ่งความเมตตากรุณาในพระทัย ที่จะยกอภัยโทษนั้นมากยิ่งกว่านั้น ดุจหยาดน้ำเปรียบกับมหาสมุทร ฉะนั้น." ขณะเมื่อกำลังเสวยพระกระยาหารนั้น พนักงานชาวประโคม ก็บรรเลงเพลงดนตรี ออกเซงแซ่จนพูดไม่ค่อยจะได้ยินเสียงกัน จึงมีรับสั่งให้เจ้าพนักงานอธิบายให้ คณะทูตไทยทราบว่าในเวลา กำลังเสวยนี้ ใช่โอกาสที่จะพูดกับราชทูต ขอให้ราชทูตรอคอย จนกว่าจะเสร็จการเสวย แล้วจึงจะทรงยินดีเชิญราชทูตให้ไป นั่งเจรจาด้วยกัน. ครั้นเสร็จการเสด็จลุกจากโต๊ะเสวย แล้วก็ทรงรับสั่งเชื้อเชิญ ราชทูตให้เข้ามาเฝ้าฉะเพาะพระพักตรทีเดียว ท่านอัครราชทูต จึงนำเอาอักษรสาสน์ของเจ้าพระยาวิชเยนทรขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย พลางทูลว่า :- " พระราชอาชญามิพ้นเกล้า ฯ ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระ มหากรุณาโปรด อักษรสาสน์กับทั้งเครื่องบรรณาการอันเล็กน้อย นี้ เป็นของท่านเสนาบดีกรุงสยามซึ่งมีความจงรักภักดี มีบัญชา
๑๗๒ ฝากมาให้ข้าพระพุทธิเจ้านำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ข้าพระพุทธิเจ้า มีความหวังใจว่าพระองค์คงทรงพระกรุณารับอักษรสาสน์กับทุคคต บรรณาการของท่านเสนาบดีกรุงสยาม เพื่อเป็นเกียรติยศแก่ ท่านเสนาบดีและคณะราชทูตกรุงสยามสิ้นกาลนาน ขอเดชะ " เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้ทรงฟังคำกราบ บังคมทูลของราชทูตจบลงแล้ว ก็ทรงพอพระทัยทั้งในเชิงโวหาร ทั้งในกิริยาท่าทางของราชทูตเป็นอันมาก รับสั่งตอบกับราชทูต ว่า มีความยินดีเป็นอันมากทั้งในสิ่งที่เสนาบดีกรุงสยามส่งมา ถวาย ทั้งวิธีถวายของราชทูตสยามด้วย รับสั่งเท่านี้แล้วก็ เสด็จขึ้น. ครั้นออกจากที่เฝ้าแล้วราชทูต ต่างก็พากันพิศวงในพระมหา กรุณาของพระองค์ สรรเสริญพระบารมีกับผู้ที่ไปด้วยกันว่า;- " พวก เราก็นับว่ามีบุญมากอยู่ จึงเข้าไปเฝ้าฉะเพาะพระพักตรโดยใกล้ชิด พระองค์ได้ หาไม่พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ซึ่งเปรียบ ประหนึ่งว่ารัศมีพระอาทิตย์ ก็จะเผาผลาญพวกเราให้เป็นภัสมธุลีใน ขณะนั้นเอง" แล้วเจ้าพนักงานพร้อมกับท่านอาจารย์เลอแบรง ก็ได้พาราชทูตไปชมรูปภาพต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ในห้องอันดับนั้น แม้ว่าอัครราชทูตจะเห็นรูปในที่นั้นมีอยู่มากมายก็จริง ท่าน ก็ไม่ค่อยจะผูกใจดูเท่าไร ท่านมัวไปชมแต่พระบรมรูปของพระ เจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซึ่งมีอยู่ในนั้นหลายรูป พอเดิรมาสักหน่อยก็ ถึงรูปภาพรูปหนึ่ง ซึ่งแสดงความกล้าหาญของสมเด็จพระเจ้า
๑๗๓ หลุยส์ที่ ๑๔ ในเวลาเมื่อพระองค์เสด็จไปตีเมืองคังด์ ในประเทศ เบลเยียม ท่านอาจารย์เลอแบรงได้อธิบายว่าการที่พระองค์ทรง ตีเมืองคังด์อันเป็นเมืองมั่นคงแข็งแรง มีทั้งป้อมคูประตูหอรบ พร้อมเสร็จได้นี้ ก็เพราะพระราโชบายอันสุขุมของพระองค์คือ พระองค์ทรงจัดให้กองทหารทั้งหลายซึ่งจะยกไปตีเมืองคังด์นี้ ยก จู่ไปมิให้ข้าศึกศัตรูรู้ตัวว่า ตนมีความประสงค์ที่จะมาตีจำเพาะเมือง นั้น และทรงจัดให้ต่างกองต่างไปตั้งแอบแฝงคอยท่าอยู่ในที่ ต่าง ๆ ทุกทิศทุกด้านของเมืองนั้น และทรงห้ามมิให้ใครเข้าใกล้ หรือทำท่าทางรีบร้อนที่จะตีเมืองคังด์นั้นด้วยเป็นอันขาด. ส่วนพระองค์ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นจอมพลเล่า ก็หาได้ เสด็จประทับใน ท่ามกลางทหารกองใดกองหนึ่ง ซึ่งจะรุกเข้าไปตี เมืองคังด์นั้นไม่ ตรงกันข้าม พระองค์ทรงเสด็จเที่ยวประพาส ไปในหนทางอื่นริมเขตต์แดนเมืองเยอรมนี กระทำดังว่าทรงเที่ยว สำราญพระหฤทัย ทั้งนี้เพื่อมิให้ข้าศึกศัตรูทันรู้ตัวคิดตระเตรียม ป้องกันบ้านเมืองไว้ และซ้ำพระองค์ทรงเที่ยวประพาสข่าวเลื่อง ลือทั่วไป ว่าบัดนี้พระองค์ทรงเที่ยวประพาสป่าเพื่อยิงเนื้อตาม ริมเขตต์แดนเมืองเยอรมนี. ครั้นทรงเห็นว่าได้โอกาสแล้ว พระองค์ก็รับสั่งให้กอง ทหารทั้งหลายซึ่งจัดให้ซุ่มรอคอยอยู่ในที่ต่าง ๆ นั้นรีบกรูกันบุรุก เข้าไปในเมืองคังด์นั้นให้พร้อมกันทุก ๆ กอง ส่วนพระองค์ก็ เสด็จทรงรถรีบมาทั้งกลางคืน และกลางวัน พอมาทันกองทัพก็เลย
๑๗๔ เข้าเมือง เพราะฝ่ายข้างชาวเมืองคังด์ไม่ทันรู้ตัวจึงมิได้จัดแจง ป้องกันบ้านเมืองไว้ พระองค์จึงได้บ้านเมืองตามพระราชประสงค์ เมื่อทราบดังนั้น ราชทูตจึงเอามือชี้ไปตรงพระบรมรูปแล้ว พูดขึ้นว่า " รูปพระองค์นี้ดูงามสง่าราวกับรูปเทวดาพระองค์ ๑ ก็ ว่าได้ แต่ก็ควรอยู่แล้วเพราะว่าพระองค์ทรงดำเนิรกลศึกในการ ตีเมืองคังด์นี้อย่างลึกซึ้ง มีอาการประดุจหนึ่งเทวดาเสด็จลงมาตี เมืองเองทีเดียว " แล้วก็หันมาพูดกับท่านอาจารย์เลอแบรงซึ่ง เป็นผู้ที่ได้เขียนรูปนั้นว่า :- " เจ้านายของท่านสมควรเป็นบรมมหา ราชาธิราชเจ้าแห่งบรรดากษัตริย์ทั้งหลายในสมัยนี้ฉันใด ส่วน ท่านก็สมควรได้รับเกียรติยศเป็นมหาเชฐกาจารย์ ของพวกนายช่าง ที่มีฝีมืออย่างเอกอุทั้งหลายในสมัยนี้นั้น." พอดูรูปภาพในห้องนี้เสร็จแล้ว ราชทูตได้ไปชมตามท้องพระ โรงและห้องอื่น ๆ อีกต่อไปเป็นลำดับ แต่ละห้อง ๆ นั้นล้วนมี ชื่อพิเศษเรียกตามรูปที่มีอยู่ในห้องนั้น ๆ ทั้งสิ้น และโดยมาก รูปเหล่านั้นเป็นรูปแสดงโบราณคดีเป็นปาง ๆ เป็นตอน ๆ และ ตอนไหนปางไหนอยู่ในห้องไหน ก็เรียกชื่อห้องนั้นตามรูปในปาง นั้น เช่นมีห้องปางพระอาทิตย์ ห้องพระจันทร ห้องพระอังคาร ห้องพระพุธเป็นต้น แต่ละห้อง ๆ นั้น ถ้าจะนับว่ามีรูปที่น่าดูเท่าใด ราคาเท่าใด ก็จะต้องประมาณว่าแห่งละตั้งล้าน ๆ ฟรังค์ขึ้นไปทั้งนั้น หรือแห่ง ละค่าควรเมืองก็ว่าได้ เพราะบางรูปหาไม่ได้ในโลกนอกจากที่
๑๗๕ ห้องนั้น จะอธิบายโดยละเอียดจำเพาะสิ่งจำเพาะห้องเป็นการ เหลือกำลัง ขอสรุปเพียงว่า ราชทูตเที่ยวดูตลอดทุกห้องที่เจ้า พนักงานเห็นควรจะพาไป และในที่ต่าง ๆ เหล่านั้นท่านราชทูต ซักไซ้ไต่ถาม จนรู้พงศาวดารการ เป็นมาแห่งรูปเหล่านั้นว่าเปรียบ ด้วยสิ่งใดบ้าง เป็นฝีมือใครทำบ้าง เป็นคนชาติอะไรบ้าง ฯลฯ เครื่องประดับพระบัญชร ประดับเตาไฟ ประดับโต๊ะตู้และ อะไรต่ออะไรท่านดู, ท่านจับ, ท่านยกดูน้ำหนักทุกสิ่ง พระที่นั่ง องค์นี้ พระที่นั่งองค์นั้น ทรวดทรงสัณฐานเป็นอย่างไร มีรูป ราชสีห์ นรสิงห์ เทพยดาหรือหมู่เด็ก ๆ ตั้งที่ตรงไหนโดยอาการ อย่างใด ท่านราชทูตถามจนรู้สิ้นทุกเรื่อง. มาคราวหนึ่ง ราชทูตไปแลเห็นรูปภาพฝีมือนายช่างเอกชาว อิตาเลียนชื่อราฟาแอนรูป ๑ เป็นรูปเทวดามิคาแอลชะนะมาร และ อีกรูป ๑ เป็นรูปพระเยซูกับแม่พระ และนักบุญโยแซฟรวมอยู่เป็น หมู่ก็พอใจในสองรูปนั้นเป็นอันมาก เจ้าพนักงานเห็นท่านติด ใจสองรูปนั้นมากฉะนี้ก็ถามท่านว่า :- เจ้าคุณชอบอันไหนในสอง รูปนี้ ? รูปแม่พระหรือรูปเทวดา ? " ราชทูตตอบว่า :- " เราชอบ ด้วยกันทั้งสอง และเป็นการยากที่จะบอกได้ว่าอันไหนเป็นที่ ชอบใจกว่ากัน เพราะว่ารูปทั้งสองนี้เป็นฝีมือนายช่างเดียวกัน ทั้งคู่ ก็ต้องงามวิเศษด้วยกันทั้งคู่เหมือนกัน แต่เอาเถอะเมื่อท่าน อยากทราบความเห็นของเราในเรื่องนี้เราก็ต้องตอบว่า รูปหมู่งาม กว่ารูปเดี่ยว เพราะแผ่นที่มีรูปเดียวก็จำเป็นต้องงามครั้งเดียว
๑๗๖ แต่รูปหมู่นั้นยิ่งมีรูปมากอยู่ในหมู่นั้นก็ต้องยิ่งงาม เพราะแต่ละ รูป ๆ นั้นก็ต้องงามรูปละครั้ง ๆ ทุก ๆ รูป ฉะนี้เราจึงว่ารูปแม่พระ มีภาษีกว่ารูปเทวดา " ดูไปดูมาดังนั้นเป็นนาน จนราชทูตต้องบอกกับคนนำไปว่า " พอแล้ว ๆ ถึงแม้จะดูต่อไปตั้งปีคงไม่แล้ว " แล้วก็พากันไปชม บันไดใหญ่ซึ่งใคร ๆ ได้แลเห็นแล้วเป็นต้องชมว่าไม่มีบันไดแก้ว บันไดทองที่ไหนจะงามสู้บันไดนี้ได้.
บทที่ ๔๒ ราชทูตไปเผ้าพระชายาแห่ง สมเด็จพระยุพราชเจ้า วันนี้ก่อนที่จะไปเฝ้าพระชายา ของสมเด็จพระยุพราชเจ้าได้ ไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวก่อน แต่การไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวคราวนี้ ข้าพเจ้าไม่ตั้งใจจะกล่าวอะไรนอกจากที่จะว่าเฝ้าอยู่นมนานกว่าคราว ก่อน และทั้งฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินก็ดี ทั้งฝ่ายราชทูตไทยก็ดี ดู ต่างพอพระทัยและพอใจซึ่งกันและกันยิ่งกว่าคราวเดิมอีก. วันนี้ข้าพเจ้าตั้งใจจะเล่าสู่กันฟังถึงการที่ราชทูตไทยได้ไปเฝ้า พระชายาแห่งสมเด็จพระยุพราชเจ้าซึ่งงดมาแต่คราวก่อน เพราะ ในเวลานั้นพระนางพึ่งประสูติพระโอรสใหม่ ๆ จึงไม่เป็นโอกาส การเฝ้าพระยุวราชินีหรือพระชายาของพระยุพราชนี้ได้ดำเนิร เป็นแบบเดียวกันกับคราวที่เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือว่า
๑๗๗ ราชทูตได้กระทำเกียรติยศแก่พระนางยุวราชินี อย่างเดียวกับที่เคย กระทำสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทุกประการไม่มีผิด และแสดง ความเคารพเท่า ๆ กัน. ถึงการสนทนาปราศรัยกันในระวาง สมเด็จพระนางยุวราชินี และราชทูตไทยก็ได้ดำเนิรไปในทางปรารถ ถึงพระราชธิดาของสม- เด็จพระนารายณ์แห่งกรุงสยาม เป็นต้นว่าพระราชธิดานั้นได้ทรง ทราบด้วยความโสมนัสยินดีอย่างยิ่งว่า พระนางเจ้ายุวราชินีฝรั่งเศส นี้มีพระราชโอรสอยู่หลายพระองค์ เป็นที่หวังต่อความสุขแห่งประ- เทศฝรั่งเศสและประเทศสยามในอนาคตเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ว่าเมื่อบรรดาพระราชกุมารของพระนางเจ้านั้น ได้เจริญวัยและซึม ทราบจากพระชนนีว่า การมิตรไมตรีในระวางชาติต่อชาติเป็นของ ประเสริฐเลิศล้นเท่าใด สำหรับอาณาประชาราษฎร์ทั่วไปไม่ต้องสง สัยว่าพระราชกุมารเหล่านั้น จะไม่ทรงพระอุตสาหะในการที่จะทรง ทนุบำรุงมิตรภาพในระวางกรุงสยามและกรุงฝรั่งเศส ให้ยิ่งสนิท สนมขึ้นทุกที เพราะเมื่อพระองค์ท่านได้ทรงเสาวนาการแต่พระ โอษฐพระแม่เจ้าอยู่หัว ว่าการเป็นมิตรไมตรีเป็นบุญลาภอันมหา ประเสริฐอยู่เนือง ๆ ดังนี้ พระองค์คงทรงเอาเยี่ยงอย่างคำสั่งสอน แห่งพระมารดาเป็นแน่. ว่าดังนี้แล้วท่านราชทูตก็ทูลถวายเครื่องราชบรรณาการต่าง ๆ นา ๆ ซึ่งพระราชธิดาแห่งสมเด็จพระนารายณ์เจ้าได้ทรงจัดส่งมา ถวายพลางทูลว่า :- " สิ่งเหล่านี้เป็นแต่เพียงตัวอย่างแห่งสิ่งของ ๑๒ ๑๗๘ ที่มีอยู่ในเมืองไทยเท่านั้น ถ้าพระแม่เจ้าอยู่หัวทรงสังเกตเห็น พระราชโอรสองค์ใดทรงชอบพระทัยในสิ่งใด ขอได้ทรงพระ กรุณาโปรดให้ทราบเกล้า ฯ จะได้จัดหามาถวายใหม่ มากน้อย ตามแต่จะทรงปรารถนา " ส่วนพระนางเจ้ายุวราชินีได้ยินบรรดาทูตไทยทูลว่า ดังนั้นก็ ทรงรับสั่งขอบใจพระราชธิดาแห่งสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม และ ว่าพระนางมีความยินดีเป็นอันมาก ที่จะอบรมนิสสัยของพระโอรส ทุกพระองค์ให้ต่างทรงนับถือ การเป็นมิตรไมตรีกับกรุงสยามตาม พระราชประสงค์ของพระราชธิดาแห่งกรุงสยามนั้น แต่ในเวลา นี้ยังทำไม่เต็มมือ เพราะว่าพระโอรสของพระองค์ยังเยาว์วัยมาก มีอยู่แต่พระองค์เดียวเท่านั้นซึ่งพอรู้เดียงสาบ้าง ฉะนั้นจึงยังไม่ เป็นโอกาส แต่เมื่อทรงเจริญวัยพอสมควรแล้วพระองค์ยินดีที่ จะเพียรพยายามให้สำเร็จตามคำทูลของราชทูตทุกประการ " ว่า เท่านี้ราชทูตก็กราบถวายบังคมลาออกจากที่เฝ้า.
บทที่ ๔๓ ว่าด้วยเพ็ชรพลอยของสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ เมื่อราชทูตสยามเข้ามาเมืองฝรั่งเศส ในชั้นแรกทุกคนพากัน เชื่อว่า อะไร ๆ ที่งดงามที่สุดเป็นต้องมีอยู่ที่กรุงปารีสทั้งนั้น ฉะนี้ราชทูตได้มั่นใจเสียก่อนเข้ามาถึงว่า ถึงแม้นจะพบเห็นอะไร ๑๗๙ ที่งามอัศจรรย์ก็จะถือว่าเป็นแต่ของงามธรรมดา ครั้นมาแลเห็น ด้วยตาจริง ๆ เข้าสิ, ต่างพากันตาลายไปตามกัน, เห็นเป็นอัศจรรย์ ยิ่งเสียกว่าที่ได้นึกได้ฝันอีก เช่นเมื่อท่านเสนาบดีเดอเซเญอแล ได้เอาเครื่องสูงของพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งล้วนแล้วไปด้วยแก้วเพ็ชร พลอยอันหาค่ามิได้ออกมาให้ชมนั้น, ถึงได้เตรียมตามาแต่ก่อน ที่จะได้ชมที่เม็ดโต ๆ น้ำบริสุทธิใสสะอาด, ครั้นมาแลเห็นเข้า ก็ตกตลึงแปลกตายิ่งกว่าที่ได้นึกไปอีก. ราชทูตที่ ๑ จึงกล่าวว่า:- " ในทั่วบุรพทิศที่ได้เที่ยวดูมาแล้ว เช่นที่เมืองจีน, เมืองอินเดียและญี่ปุ่นเป็นต้น, จะหาเพ็ชรเม็ด ใหญ่ ๆ ที่มีแววงามเท่ากับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ นี้เป็นไม่มีแล้ว ทั้งมีก็ไม่มากมายเท่านี้ด้วย ได้ยินแต่เขาลือ ว่าพระเจ้ามงโคล์มีเม็ดที่โตและงามยิ่ง แต่ก็ยังไม่ได้เห็น จึงจะ มาเปรียบกับเพ็ชรเหล่านี้ไม่ได้, แต่เข้าใจว่ามีแต่จะแพ้เปรียบ เสียโดยมาก ส่วนไข่มุกด์นั้นในเมืองอินเดียเคยเห็นที่งามกว่า นี้อีก แต่ส่วนเพ็ชรพลอยรัตนต่าง ๆ ไม่มีที่ไหนจะสู้เหล่านี้เลย แต่ก็ไม่น่าจะอัศจรรย์ใจเลย ด้วยว่าเมื่อใดเทพยดาเชิญพระมหา ราชาซึ่งทรงพระอภินิหารเสมอเท่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ นี้ให้เสด็จลงมาสมภพในโลกแล้ว, เครื่องแก้วทองนพรัตน ชัชวาลย์ทุกอย่าง ก็ย่อมทรงบันดาลให้บังเกิดมาเป็นคู่พระบารมี ของพระองค์ด้วย " ฉลองพระองค์ที่พระองค์ทรงสวมเมื่อราชทูตไปเฝ้านั้น ราช
๑๘๐ ทูตได้ชมดูในคราวนี้, ท่านจึงได้แลเห็นว่าฉลองพระองค์นี้หาค่า มิได้, ด้วยว่านอกจากทองและเพ็ชรนิลจินดาซึ่งมีโดยธรรมดา ท่านได้นับเพ็ชรเม็ดใหญ่โต ซึ่งประดับฉลองพระองค์นั้นมีอยู่ถึง ๗๐ เม็ด ถึงจะตีราคาฉลองพระองค์ ๆ นั้นสักกี่ล้าน ๆ ก็ได้ เพราะ เป็นสิ่งประมาณราคามิถูก. นี่ว่าแต่เพ็ชรพลอยจำเพาะของพระราชาองค์เดียว, ถ้าท่าน ราชทูตได้เห็นของบรรดาเจ้านายมีพระยุพราชินีเป็นต้น จะพิศวงสัก เท่าไร, ด้วยเขาลือกันว่าไม่มีผู้ใดในโลกที่จะร่ำรวยด้วยเครื่อง เพ็ชรพลอยเท่ากับสมเด็จพระยุพราช และซ้ำในเร็ว ๆ นี้พระองค์ ยังได้ทรงรับเพ็ชรพลอยที่เป็นมรดก ของพระมารดาซึ่งสิ้นพระชนม์ ลงไว้อีกเป็นอันมาก เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยก พระราชทานให้สมเด็จพระยุพราชทั้งสิ้น เว้นไว้แต่เครื่องไข่มุกด์ พระองค์ทรงเก็บไว้เป็นส่วนของพระองค์เอง แต่อย่างไรก็ดี เท่า ที่ได้นำออกมาให้ราชทูตชมคราวนี้ ก็นับว่าพอที่จะทำให้ท่านราชทูต ได้รู้สึกพิศวงมิใช่น้อยอยู่แล้ว.
บทที่ ๔๔ ราชทูตไปดูสถานที่เลี้ยงสุนัขของ พระเจ้าแผ่นดิน ในเวลาที่ราชทูตยังอยู่ที่แวร์ซายส์นั้น วันหนึ่งเจ้าพนักงาน ได้พาไปดูสถานที่เลี้ยงสุนัข ซึ่งใช้ในการไล่เนื้อ. เมื่อพระองค์
๑๘๑ ทรงเสด็จไปเที่ยวประพาสป่า. ชั้นแรกที่ราชทูตเข้าไปถึงก็ไม่ เชื่อว่าเป็นที่สำหรับเลี้ยงสุนัขเลย, ไพล่ไปเข้าใจว่าเป็นตำหนัก อีกหลังหนึ่งต่างหาก เพราะสร้างอย่างประณีตบรรจงอย่างกับวัง เจ้านายก็ว่าได้ เป็นตึกใหญ่หลายชั้นหลายหลังและมีสวนและ สนามเช่นสวนและสนามหลวงล้อมอยู่โดยรอบ, ตกว่าเมื่อดูภาย นอกก็ไม่มีใครอาจบอกได้ว่าเป็นพระราชวังหรือเป็นอะไร แต่เข้า ใจว่าเป็นวังเสียมาก ในวันที่ราชทูตไปดูสุนัขหลวงนั้น เจ้าพนักงานแผนกนั้นก็ได้ พาท่านไปดูจนทั่ว แต่น่าเสียดายท่านมิได้มีโอกาสแลเห็นจำนวน สุนัขนั้นเต็มบริบูรณ์ตามที่มีอยู่จริงโดยปกติธรรมดา เพราะเจ้า พนักงานได้พาตามเสด็จเจ้านายบางพระองค์เข้าไปเที่ยวป่าเสียเป็น อันมาก, แต่กระนั้นเพียงที่เหลืออยู่ก็ยังพอที่จะให้ราชทูตเข้าใจ ได้ดี ๆ ว่าการเป็นไปอย่างไร. ครั้นเที่ยวดูจนรอบแล้วเจ้าพนัก- งานได้เชิญท่านราชทูตนั่งเก้าอี้ที่สนามในที่ควรแห่งหนึ่ง แล้วท่าน จึงได้ปล่อยสุนัขตั้งสองหรือสามร้อย ที่ยังเหลืออยู่นั้นออกจากห้อง ที่ขัง แล้วเอาเนื้อสัตว์สด ๆ มาเลี้ยงสุนัขเหล่านั้นต่อหน้าราชทูต. เมื่อดูเสร็จแล้วท่านราชทูตกล่าวว่า:- " แท้จริง แต่ลำพัง ความคิดของคน ๆ เดียวก็เหลือกำลังที่จะนึกฝันว่าภายใน บริเวณ แวร์ซายส์นี้มีเข้าของแปลกประหลาดสักกี่อย่าง " พอดูศาลาเลี้ยงสุนัขแล้วก็ได้พาไปดูศาลาเลี้ยงม้าหลวงต่อ ไป เพราะเป็นที่ ๆ น่าดูเหมือนกัน. แต่ที่ตรงนี้ราชทูตก็เสียโอ
๑๘๒ กาสอีกเหมือนกัน คือราชทูตไม่ได้ดูพันธุ์ม้าทุกม้าทุกชะนิดที่ เลี้ยงอยู่ในนั้น เพราะในเวลานั้นมีเจ้านายหลายพระองค์ได้เอาไป ใช้ไล่เนื้อเสีย, แต่ที่เหลือก็ยังพอที่จะให้ท่านราชทูตเข้าใจดิบดี ในการเลี้ยงม้าผสมม้าว่าดำเนิรการเป็นอย่างไร ชะนิดม้าที่ท่านราชทูตพอใจมากเป็นต้นคือม้าดำเชื้อสะเปญ, กับม้าเชื้อบรังเดอบูรค์ ซึ่งเจ้าประเทศบังเดอบูรค์ถวายล้วนเป็น ม้าสีเทา ๆ เหมือนกันหมดทุกตัว. นอกนั้นราชทูตยังได้ชมอีก หลายชะนิด เป็นพันธุ์ม้าฝรั่งเศสบ้าง, พันธุ์ม้าอังกฤษบ้าง. ในโอกาสที่ราชทูตไทยได้ไปดูกรมอัศวราชนี้ เจ้าพนักงาน ได้แต่งม้าเหล่านั้นเหมือนกับที่เคยแต่งในเวลาที่มีงานหลวง คือม้า ขี่แต่งเครื่องขาวเครื่องแดงฉะเพาะที่หัวเท่านั้น, ส่วนม้าเทียมแต่ง เครื่องขาวเครื่องแดงทั้งหัวทั้งหางด้วย. พอดูม้าเสร็จแล้วก็ได้ไป ดูเครื่องอานม้าเบาะเมาะและเครื่องเคราม้าต่าง ๆ พร้อมทั้งอาวุธซึ่ง เป็นเครื่องมือของคนขี่ขับ อันล้วนแล้วไปด้วยเงินด้วยทองทั้งนั้น. ในกรมอัศวราชนี้ ราชทูตได้แสดงความพอใจใน ๓ สิ่งซึ่ง เป็นข้อใหญ่ คือ ๑ ท่านได้ชมระเบียบว่าสะอาดสะอ้านเรียบร้อย ดีเป็นอย่างยิ่ง, ๒. ได้ชมว่าเป็นที่สง่าผ่าเผยและใหญ่โตมะโหฬาร ยิ่ง, ๓. ได้ชมว่าพระองค์มีรถมีม้ามากมายเหลือที่จะพรรณาได้. ครั้นแล้วเจ้าพนักงานได้พาไปดูม้าพระที่นั่งต้น ซึ่งเป็นราช พาหนะจำเพาะพระองค์. ในโรงม้าต้นนี้มีเก็บเครื่องทรงล้วนทำ ด้วยไม้งาฝีมืออย่างเอกมีเงินมีทอง. มีผ้ากำมะหยี่และอะไร ๆ
๑๘๓ ประดับอย่างงดงามยิ่ง. ในตู้เหล่านั้นมีสรรพเครื่องอลงกตทั้ง หลายซึ่งพระองค์ทรงประดับในเวลาที่ทรงม้าต้น, เช่นฉลองพระ บาท, พระแสงปืนโก๊, พระแสงขรรค์ ฯลฯ ทั้งเครื่องทรงของ เจ้านายฝ่ายในเมื่อจะเสด็จประพาสป่าในการไล่เนื้อด้วยเป็นต้น. ดูกรมอัศวราชเสร็จแล้วราชทูตก็กลับเข้ากรุงปารีสมหานคร แต่ในระวางทางเมื่อได้ผ่านหน้าวังในกรมดึกเดอชาร์ตร์, ท่านราช ทูตได้แสดงความประสงค์ที่จะเข้าไปดูอีกวาระหนึ่ง, แต่ในเวลา นั้นเสด็จในกรมไม่อยู่ มีแต่คนเฝ้า ๆ จึงได้ต้อนรับราชทูตเป็น อย่างดี, ได้เปิดน้ำประปาซึ่งมีอยู่ในวังนั้นเหมือนกับในวันมีงาน, และราชทูตก็ได้ดูด้วยความพอใจเป็นอันมาก, ถึงได้เคยเห็น มาแล้วคราวหนึ่งเมื่อคราวไปเฝ้านั้น ท่านก็ยังได้แสดงว่าคราวนี้ท่าน พอใจยิ่งกว่าคราวแรกอีก และหากว่าวันยังมิได้ค่ำลงน่าที่ราชทูต จะอยู่ดูอีกเป็นนาน, แต่อาศัยเหตุที่ค่ำลงแล้วดูได้หน่อยเดียว ก็พากันกลับเข้ากรุงปารีส.
บทที่ ๔๕ ราชทูตไปรับประทานอาหารที่ พระอารามมงต์หลุยส์ รุ่งขึ้นวันหลังพวกราชทูตได้ไปที่พระอารามของคณะนักบวช เยซวิตที่มงต์หลุยส์ คือที่ภูเขาของพระเจ้าหลุยส์. พอเดิรเที่ยวดู อะไรต่ออะไรในบริเวณของพระอารามนั้นแล้ว, ท่านบาดหลวง
๑๘๔ เดอลาแชสซึ่งเป็นหัวหน้าของคณะ และเป็นพระอาจารย์ของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ด้วย ก็ได้เชื้อเชิญท่านราชทูตให้ รับประทานอาหารที่วัดนั้น, ราชทูตก็อนุโลมตาม. การเลี้ยงที่พระอารามของคุณพ่อเยซวิตนี้ จัดอย่างประณีต สมด้วยเกียรติยศแห่งราชทูตของพระมหาราชาแท้ ๆ ตลอดเวลา ที่นั่งรับประทานอาหารนั้น ได้มีนักเรียนนักบวชและนักร้องนัก ดนตรีอื่น ๆ ทำเพลงร้องและเพลงแตร, เพลงซอจนตลอดเวลา, นับว่าเป็นการรื่นเริงซึ่งนาน ๆ จะมีในวัดสักครั้ง. ในบรรดาพระสงฆ์สมเณรซึ่งมีสมณศักดิ์ในการประชุมการเลี้ยง วันนั้น ท่านบาดหลวงเดอลาแชสพระอาจารย์ของพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ กับท่านสังฆราชเมืองโบแวส์ก็นั่งเป็นประธานอยู่ในที่นั้น ด้วย. ราชทูตได้แสดงความพอใจในพวกบาดหลวงเยซวิตเหล่านั้น ว่าชำนาญในการปฏิสันถาร ต้อนรับแขกผู้ไปมาหาสู่ให้อยู่สบายใจดี เป็นอย่างยิ่ง. นอกนั้นราชทูตยังได้แสดงว่าตำบลที่ตั้งแห่งพระ อารามนั้นเป็นทำเลเหมาะดี, โดยที่สูงกว่าพื้นที่รอบนอกทุก ๆ ด้าน, ไม่ว่าข้างทิศใดก็และเห็นบริเวณพระอารามได้ไกล ๆ โดย สะดวก. แท้จริงนอกจากเวลาที่นั่งรับอาหารนั้น ราชทูตได้แต่แล ดูรอบ ๆ อยู่เสมอ และข้อน่าชมคือไม่ว่าที่ไหนซึ่งท่านเคยได้ไป มาแต่ก่อนนั้น ท่านเห็นเข้าทีไรมาจากทิศใด, ท่านก็จำได้โดย แม่นยำไม่มีผิดเลย ซึ่งเป็นพะยานให้เห็นว่าราชทูต ช่างจำแม่นจริง มิใช่เล่น เพราะที่ ๆ ท่านได้ไปเที่ยวมาก่อนนี้แล้วมิใช่น้อยแห่ง
๑๘๕ เมื่อไร, มีหลายสิบแห่งทีเดียว, แต่กระนั้นท่านยังทรงจำดีจน อาจเล่าให้ฟังได้ว่า มีสิ่งนี้สิ่งนั้น เป็นดังนี้ดังนั้น. ครั้นคุยไปคุยมา และเที่ยวดูเข้าของอันมีอยู่ในวิหารนั้นแล้ว ก็เป็นเวลาบ่าย ๕ นาฬิกาแล้ว ราชทูตจึงได้อำลาพวกคุณพ่อบาด หลวงเหล่านั้นว่า :- " ที่คุณพ่อจัดรับรองคราวนี้ทำใหญ่โตเหลือ ขนาดนัก " แต่คุณพ่อเดอลาแชสตอบทันทีว่า :- " เท่าที่ทำสำหรับ ราชทูตคราวนี้ถึงแม้จะมากมายสักพันสักแสน ก็ยังไม่เทียมถึงซึ่งพระ เจ้ากรุงสยาม กระทำสำหรับบรรดาคุณพ่อบาดหลวงทั้งหลายซึ่งอยู่ ประจำในเมืองไทย ฉะนี้ เจ้าคุณอย่าว่าเราทำการใหญ่โตเกินขนาด อะไรเลย ว่าตามจริงก็ไม่เพียงพอเสียอีกซ้ำ " พูดไปพูดมาทั้งสอง ฝ่ายก็เกิดความรักใคร่นับถือซึ่งกันและกันอย่างสนิทสนมทีเดียว.
บทที่ ๔๖ ราชทูตไปดูวัดแซงต์เมเดอริก ตอนเมื่อกลับจากสำนักเยซวิตนั้น ราชทูตได้แวะเข้าไปที่ โบสถ์แซงต์เมเดอริก ซึ่งเป็นวัดมีชื่อว่ามีหีบเพลงอยู่ในนั้นทั้ง ใหญ่ทั้งเสนาะอย่างที่หายากในทั่วประเทศ ทั้งประจวบกับคราวที่ ผู้เป็นครูเอกในทางดนตรีกำลังบรรเลงอยู่ที่นั่นด้วย. เมื่อย่างเข้าไปในโบสถ์ พอได้ยินเสียงหีบเพลงนั้นไม่ต้อง บอก ใคร ๆ ได้แลเห็นท่านราชทูตก็รู้สึกอยู่ว่าถูกใจของท่านเป็น แน่ อยากจะใคร่อยู่หังอีกนาน แต่เกิดรำคาญเรื่องราษฎรมีมาก
๑๘๖ มายกำลังประชุมทำกิจวัตรอยู่ในเวลานั้นด้วย แต่เมื่อรู้ว่าราชทูต สยามมาถึงต่างก็กรูเกรียวกันมามองจนอย่างเหลือทน ราชทูตก็จำ เป็นต้องถอยออกมานอกวัด เพราะเสียงเกรียวกราวโกลาหล นั้น เป็นอุปสัคห้ามมิให้ฟังเพลงอีกต่อไป. เพราะการฟังเพลงย่อม ต้องการความวิเวกเงียบสงัดเป็นธรรมดา. จึงจะเกิดความศรัทธา หรือเพลินใจ. ครั้นกลับเข้าบ้านแล้ววันนั้น เจ้าพนักงานได้เตรียมอาหาร เย็นสำหรับเลี้ยงราชทูตตามธรรมเนียม, แต่อาศัยที่ราชทูตได้รับ ประทานอาหารกลางวันพึ่งเลิกมาไม่นาน ต่างก็ยังอิ่มหนำอยู่ด้วย กันทั้งนั้น, ต่างท่านจึงได้แสดงความประสงค์ที่จะไม่รับประทาน อาหารในเย็นวันนั้นอีก, แต่ต่อมาราชทูตได้ทราบว่าได้มีผู้ใหญ่ หลายท่านได้ขออนุญาตจากเจ้าพนักงาน เพื่อมาดูราชทูตในเวลารับ ประทานอาหารอย่างที่เคยเป็นธรรมเนียมมา สำหรับผู้ใหญ่ชั้นสูง และทั้งเจ้าพนักงาน ได้เชื้อเชิญให้ท่านผู้ใหญ่เหล่านั้นรออยู่รับประ ทานอาหารกับท่านราชทูต เพื่อเป็นเกียรติยศด้วยกันทั้งสองฝ่าย, ท่านอัครราชทูตจึงว่า :- " ถึงแม้เรายังอิ่มอยู่ก็จริง เราก็ยินดีจะนั่ง รับประทานอาหารด้วยกันกับแขกผู้ใหญ่ ซึ่งมาหามิให้ท่านเหล่านั้น มาเก้อเสียใจเพราะเราฝ่ายเดียว " ว่าแล้วท่านราชทูตและขุนนาง ไทยทั้งปวงก็เข้ามานั่งโต๊ะตามธรรมเนียม เลยเป็นโอกาสให้ท่าน ผู้ใหญ่เป็นอันมากที่มาในงานเย็นวันนั้นไม่ต้องเก้อกลับไป แต่ที่ ท่านราชทูตทำดังนี้ ก็เพราะท่านเป็นผู้เอื้อเฟื้อต่อขนบธรรมเนียม
๑๘๗ ของแขกผู้มาหายิ่งกว่าธรรมเนียม หรือความสะดวกสบายฝ่ายตน เพราะสังเกตดูตลอดเวลาที่ท่านอยู่ที่โต๊ะ ท่านเป็นแต่นั่งคุยพอ เป็นกิริยามิได้รับประทานอาหารอะไรเลย
บทที่ ๔๗ ราชทูตไปเยี่ยมขุนนางข้าราชการ เมื่อราชทูตได้ไปเฝ้าบรรดาเจ้านายชายหญิงเสร็จแล้ว ท่านก็ ได้เริ่มไปเยี่ยมขุนนางข้าราชการผู้ใหญ่อีกหลายนาย และส่วนขุน นางข้าราชการเป็นอันมากเหล่านั้น ต่างก็ได้ผลัดเปลี่ยนเวียนมา เยี่ยมเยียนตอบตามธรรมเนียม ในบรรดาท่านที่ราชทูตได้ออกไปเยี่ยมเป็นทางราชการที่ควร จะระบุชื่อนั้น คือมาดามลาแปรงแซซ์ เดอคารีญัง และมาดาม เดอซึล์ลี ซึ่งเป็นสตรีมีชื่อเสียงในเชิงจรรยาวิชชาความรู้อันเป็น ลักษณะของนารีครบบริบูรณ์ หาสตรีอื่นเสมอได้ยากในสมัยนั้น. ส่วนผู้ที่มาเยี่ยมเยียนตอบนั้นเล่า มีมากต่อมากจนนับไม่ ถ้วน จนภายหลังเจ้าพนักงานประจำอยู่กับราชทูตต้องกำชับสั่งคน เฝ้าประตูที่พักอาศัยอยู่นั้นว่า " อย่าให้ใครเข้ามาต่อไป. ถ้าขืนมี คนมามากต่อมากอย่างนี้ ท่านราชทูตไม่มีเวลาพักผ่อนเลย, ชั้น ที่สุดจะกินเข้าแต่ลำพังก็ไม่ได้ ต้องมีผู้มารบกวนอยู่เสมอ ! อย่าเลย ! แต่นี้ไปห้ามอย่าให้ใครเข้ามา " ครั้นออกคำสั่ง ดังนี้ไม่นาน ก็มีภรรยาข้าราชการผู้ใหญ่หลาย
๑๘๘ คนมาเยี่ยมราชทูตขณะเมื่อกำลังรับประทานอาหารเย็น. คนเฝ้า ประตูจะไม่ให้เข้า แต่เผอิญท่านอัครราชทูตทราบก็ถามว่า " ใคร มาหรือ ? " ก็ได้รับคำตอบว่า " เป็นภรรยาข้าราชการ " ท่านอัคร ราชทูตจึงซักว่า :- " ก็ข้าราชการตำแหน่งไหนบ้างเล่า " ก็ได้รับคำ ตอบว่า :- " เป็นภรรยานายจอมพลคน ๑, ภรรยาขุนนางชื่อเลอ มาร์กีส์ เดอ เครกี คน ๑ และอีกคน ๑ เป็นภรรยา ข้าราชการหัว เมืองชื่อ เดอ ลาวาร์แดง " แต่พอท่านราชทูตได้ยินชื่อ เดอลาวาร์ แดง นี้จำได้ว่าเมื่อคราวท่านเดิรทางผ่านมณฑลเบรอต๊าญจะเข้ามา กรุงปารีสนั้น ท่านและคณะทูตเคยได้รับความเอื้อเฟื้อทุกอย่าง จากท่านเดอลาวาร์แดงข้าหลวงผู้สำเร็จราชการในมณฑลนั้น ท่าน เดาว่าคงเป็นภรรยาข้าราชการผู้นั้นกะมัง ท่านจึงตอบว่า :- " ถ้าเป็น มาดาม เดอ ลาวาร์แดงแล้วเป็นไม่มีห้าม ไม่ว่าเวลาไหนเวลาใด หมด อยากเข้ามาหาเมื่อไรก็เชิญท่านมาเถิด เพราะว่าถึงเราจะ ปรนนิบัติท่านดีสักเท่าไร คงไม่เท่ากับที่สามีของนางได้ ต้อนรับเรา เมื่อได้ผ่านมณฑลเบรอต๊าญนั้นมา ส่วนท่านที่เป็นภรรยาของ ท่านจอมพลนั้นเล่า สามีของนางอยากจะเข้าป้อมค่ายของศัตรูเมื่อ ไรก็เข้าได้เมื่อนั้น ไม่มีใครจะต้านทานได้สักคน ก็เมื่อเป็นดังนี้ แล้ว ควรภรรยาจะเข้าไหนเข้าได้ตามชอบใจเหมือนกัน จึงจะคู่ วาสนากัน " พอว่าเท่านี้แล้วสตรีเหล่านั้นก็ได้รับอนุญาตเข้ามา สนทนาปราศรัยชมเชยราชทูตได้ตามความปรารถนา คืนวันนั้น ราชทูตรับประทานอาหารค่อยสบายหน่อย เพราะนอกจากไม่
๑๘๙ มีผู้คนมามองดูมากนักแล้ว ยังมีภรรยาข้าราชการหลายนางนั่ง วิสาสะอยู่ด้วย ล้วนแต่เป็นขวัญตาเครื่องบำรุงใจชวนกินเพลิด เพลินจนตลอดเวลา หาเป็นเครื่องรำคาญไม่. ในบรรดาผู้ที่ออกมาเยี่ยมเยียนนั้นยังมีอีกสองท่านซึ่งควรจะ ระบุชื่อไว้ในที่นี้ คือ เลอดึกเดอลาเฟอย๊าดขุนนางผู้ใหญ่ในราช สำนัก และมงเซียร์โอแบร์ต์ขุนนางผู้เบิกทูตในวันที่ได้ไปเฝ้า สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าผู้ทรงพระนามย่อว่า " มงเซียร์ " ส่วน ท่านดึกเดอลาเฟอย๊าดนั้น ท่านมาแสดงความพอใจต่อราชทูต ในการที่ท่านราชทุตได้ต้อนรับบุตรชาย และภรรยาของท่านเป็น อย่างดี เมื่อเขามาเยี่ยมราชทูจตแต่ลำพังสองคนเมื่อก่อน และ ท่านว่าที่ท่านเองมิได้มาพร้อมกันในวันนั้น เป็นเพราะมีหน้าที่ ราชการต้องตามเสด็จอยู่เสมอ จึงมาไม่ได้เช่นคราวนี้ท่านรีบมาหา โดยเร็วด่วนไม่มีเวลาอยู่ได้นาน เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้า หลุยส์ที่ ๑๔ กับพระบรมวงศานุวงศ์จะแปรสถานออกจากกรุงปา- รีสไปประทับแรมณพระตำหนักฟงแต็นโบล และท่านก็ต้องติด ตามไปด้วย ท่านจึงมาขอบใจและลาท่านราชทูตก่อนหน้าที่จะไป ฟงแต็นโบลนั้น. ฝ่ายมงเซียร์โอแบร์ต์นั้นเล่า ท่านมาก็โดยที่ท่านได้รับเชิญ ให้มาหาแต่ครั้งราชทูตไปเฝ้าสมเด็จพระอนุชาธิราช และตลอด เวลาที่ได้สนทนาอยู่กับท่านราชทูต ก็ล้วนแต่ปรารภถึงองค์สมเด็จ พระอนุชาซึ่งในเวลานั้นกำลังทรงพระประชวรอยู่ ท่านราชทูต
๑๙๐ จึงเรียนมงเซียร์โอแบร์ต์ว่า " เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิงซึ่งเจ้านาย ชั้นสูงสุด เช่นพระอนุชาธิราชนี้มาทรงพระประชวรไม่ทรงสำราญ พระสริรกาย ทำไฉนจึงจะให้พระโรคหายเด็ดขาดเสียได้โดย เร็ว " แล้วท่านก็พูดต่อไปว่า " เมื่อเราจะมาจากเมืองไทยนั้น เราได้เลือกสรรเอาหยูกยาของเมืองเรามาบ้างเล็กน้อย ถ้าพระ องค์จะทรงพอพระทัย ปรารถนาจะทดลองเสวยดูบ้างบางทีจะเป็น ผลดี หากพระองค์ทรงรับเราจะถือเป็นบุญของเราแท้ ๆ คือเรา ได้เอารังนกนางแอ่นซึ่งเป็นของชูกำลังอย่างวิเศษ และซึ่งเข้า ใจว่าเป็นของหายากในเมืองฝรั่งเศสนี้ ถ้าแม้นพระองค์จะใคร่ ทดลองเราก็ยินดีถวายทุกเมื่อ และที่เราบังอาจถึงกับกล้าขอ ถวายโอสถเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นนี้มิใช่ใจเหลิงหลง ถือเสียว่าเป็น ของอันมีค่าคู่ควรกับพระบารมีของพระองค์หามิได้ แท้จริงเรารู้ สึกว่าเป็นของมิบังควรที่จะถวาย แต่อาศัยที่เรารู้สึกว่าความสำราญ อันเป็นเหตุให้เจริญพระชนมายุของพระองค์ เป็นสิ่งอันประเสริฐ ยิ่ง ซึ่งควรเราทั้งหลายจะช่วยกันบำรุงให้ภิยโยภาพยิ่งขึ้นไปกว่า สิ่งใดทั้งหมด เราจึงกล้าขอทูลถวายพระโอสถไทยนี้ให้พระองค์ ทรงทดลองเสวย "
บทที่ ๔๘ ราชทูตดูการทดลองวิทยาศาสตรต่าง ๆ ข้าพเจ้าเคยได้บอกหลายหนมาแล้วว่า ราชทูตเป็นคนมี นิสสัยอยากรู้ อยากเห็นของแปลกทุกสิ่งซึ่งมีอยู่ในเมืองฝรั่งเศส ๑๙๑ ครั้นมาวันหนึ่งราชทูตได้ยินมงเซียร์ฮูแบง ช่างถมของหลวงเป็น คนมีชื่อเสียงในทางวิทยาศาสตรต่าง ๆ ท่านจึงแสดงความประสงค์ อยากจะรู้จักกับท่านมงเซียร์ฮูแบงบ้าง, มงเซียร์ฮูแบงทราบความ ประสงค์อันนี้ ก็ยินดีจะแสดงการทดลอง และชี้แจงอธิบายวิทยา- ศาสตรต่าง ๆ ให้ราชทูตเข้าใจ. ครั้นมาถึงวันกำหนดมงเซียร์ฮูแบงให้นำเครื่องต่าง ๆ ที่จะ ต้องใช้ในการอธิบายวิทยาความรู้ของท่านไปยังสถานที่อยู่ของราช- ทูตทีเดียว เพื่อมิให้ท่านราชทูตลำบากในการไปหาเลย วิชชา ความรู้เบื้องต้นที่ท่านอธิบายให้ราชทูตดูนั้น คือแสดงให้เห็น น้ำหนักของอากาศ ท่านได้เอาปลายหลอดงอ ๆ ที่เขาเรียก " ซีฟง " จุ่มลงไปในน้ำ เมื่อจุ่มปลายข้างหนึ่งลงไปในน้ำและสูบลมออก จากหลอดแล้วน้ำหนักของอากาศภายนอกหลอด ก็ดันน้ำให้เข้าไป ในหลอดสูงกว่าระดับน้ำที่จุ่มลงข้างล่างหลายฟุต นี่เป็นข้อพิศูจน์ ให้รู้เห็นง่ายว่าลมอากาศมีน้ำหนักจริง หาไม่ที่ไหนน้ำจะขึ้นไป สู่หลอดนั้นได้เล่า ถัดจากการทดลองวิธีหลอด " ซีฟง " นี้แล้ว มงเซียร์ฮูแบง ได้เอาหลอดแก้วอีกสองหลอด, หลอดหนึ่งท่านสูบลมออกหมด แต่อีกหลอดหนึ่งนั้นท่านไม่สูบออกเลย แล้วท่านเอาใยสำลี สอดใส่เข้าไปในหลอดทั้งสองนั้น ณทันใดนั้นสำลีในหลอดที่ สูบลมออกแล้วก็ตกลงมายังก้น หลอดรวดเร็วราวกับเป็นก้อนหิน หรือก้อนเหล็กที่หนัก ๆ แต่ส่วนใยสำลีในหลอดที่ยังมีลมอากาศ
๑๙๒ ปกติอยู่ก็ค่อย ๆ ตกลงไปค่อย ๆ ลดลงไปอย่างช้า ๆ เพราะลมใน หลอดนั้นเหนี่ยวรั้งใยสำลีมิให้ตกลงมายังก้นได้โดยเร็ว. ต่อมาท่านฮูแบงได้เอาน้ำใส่ลงในหลอดแก้วปลายตันซึ่งสูบ ลมออกแล้ว พอท่านคว่ำหลอดนั้นลงน้ำที่อยู่ในหลอดก็ตกลง มากระทบปลายหลอดแตกกระจายไปหมดในทันที เพราะสู้น้ำ หนักของน้ำที่ตกลงมาแรง ๆ ไม่ได้ ถ้าหากว่าได้มีลมเป็นปกติ อยุ่ในหลอดนั้น ลมนั้นคงเหนี่ยวรั้งให้น้ำนั้นตกลงมาแต่ช้า ๆ ปลายหลอดคงไม่แตกกระจายเป็นแน่. แต่นั้นไปท่านฮูแบงได้ทดลองฟองแก้วให้ราชทูตดู คือ แสดงให้เห็นว่าฟองแก้วบาง ๆ นั้น ซึ่งตามธรรมดาแต่เพียงนี้ด้วย นิ้วก็เอียดเป็นผงทันทีไม่มีชิ้นเหลือเลย จะจับก็ได้ไม่ต้อง กลัวจะบาดมือเพราะเป็นผงละเอียดเสียแล้ว แต่ถ้ามีน้ำอัดเต็ม อยุ่ในฟองแล้วก็กลับแข็งเท่ากับเหล็กก้อนหนึ่ง ถึงจะทุบด้วยฆ้อน แรง ๆ ก็ไม่แตก เพราะแรงน้ำข้างในฟองรับอยู่แน่น ท่าน ราชทูตได้แสดงความพอใจในวิธีทดลองนี้เป็นอย่างยิ่ง ถึงกับ ขอทุบเอง, บี้เองก็แตกและไม่แตกดุจเดียวกันกับเมื่อมงเซียร์- ฮูแบงตีเอง, บี้เองเหมือนกัน. ครั้นแล้วมงเซียร์ฮูแบงก็ทำการทดลองด้วยปรอทให้ท่านราช ทูตดูต่อไป ก็ยิ่งทำความเข้าใจของท่านราชทูตในเรื่องลมอากาศ มีน้ำหนักและมีแรงดันนั้นให้ยิ่งกระจ่างชัดขึ้นเป็นอันมาก. ในวันที่มงเซียร์ฮูแบง มาทำการทดลองให้ท่านราชทูตดูนั้น
๑๙๓ เผอิญมาดามแปร์โรต์ภรรยาของนายช่ายหลอมแก้ว ที่โรงหลอม แก้วและเครื่องลายครามต่าง ๆ ที่เมืองออร์เลอังส์ ได้มาพร้อมกัน กับมงเซียร์ฮูแบงที่สถานทูตนั้นด้วย และท่านอัครราชทูตเมื่อ ได้แลเห็นนางคนนั้นท่านก็จำได้ทันที เพราะตอนเมื่อท่านได้ ผ่านเมืองออร์เลอังส์ก่อนและเจ้าเมืองออร์เลส์ ได้พาท่านไปชม โรงลายคราม และโรงหลอมเครื่องแก้วซึ่งสามีของนางแปร์โรต์ นั้นเป็นเจ้าของ ณทันใดนั้นท่านอัครราชทูตจึงได้ทักทายนาง แปร์โรต์ว่า " อ๋อดีแล้ว ท่านพานางลายครามมาด้วย ดีจริง " ขณะนั้นพวกในที่ประชุมต่างก็แปลกใจไม่น้อย ในคำทักทายของ ท่านอัครราชทูต เพราะต่างคนต่างยังไม่รู้ว่าท่านราชทูตเคยไปดู โรงลายครามออร์เลอังส์ของนางแปร์โรต์มาแล้ว ท่านอัครราชทูต เห็นความตื่นอัศจรรย์ของท่านเหล่านั้นท่านจึงตัดสงสัยว่า " ท่าน อย่าพึ่งตกตลึงที่เราเรียกชื่อนางคนนี้ว่านางลายคราม แท้จริงเรา เรียกท่านดังนี้ เพราะเรารู้อยู่ดิบดีว่าท่านมาแต่โรงลายครามเมือง ออร์เลอังส์ เรายังจำได้ " เมื่อหายตลึงในการที่ราชทูตทักคน แม่นดังนี้แล้ว ต่างก็ได้สนทนาปราศรัยถึงเรื่องเครื่องแก้วเครื่อง ลายครามต่อไป. ส่วนท่านอุปทูตซึ่งข้าพเจ้าเคยบอกแล้วหลายหนเหมือนกัน ว่าเป็นคนพูดตรงไปตรงมา ในระวางเวลาสนทนานั้นท่านก็เปรียบ เทียบความเป็นไปในเมืองฝรั่งเศสกับเมืองจีน ซึ่งท่านเคยไปมาแต่ ๑๓
๑๙๔ ก่อนว่า " ฝ่ายข้างพวกจีนนั้นเมื่อรับรองทูตานุทูตแห่งต่างประเทศ ท่านก็รับรองเป็นอย่างดีสมเกียรติยศ แห่งราชทูตของประเทศใหญ่ ทุกประการ แต่ถึงกระนั้นเขายังเป็นรองพวกฝรั่งเศสมาก ส่วน วิธีเลี้ยงนั้นข้างฝ่ายจีนจัดอาหารมากอย่างกว่าพวกฝรั่งเศสจริง แต่ การแต่งบ้านแต่งเรือนที่พักของราชทูตด้วย เครื่องแก้ว เครื่องลาย ครามและอื่น ๆ ซึ่งเขาเป็นผู้มีชื่อในทางนั้นมาแต่ไหนแต่ไรก็ดี เขายังสู้ชาวฝรั่งเศสไม่ได้ เหตุที่เป็นดังนี้ ไม่มีปัญหาอะไรคงเป็น เพราะฝีมือช่างของชาวเมืองจีนสู้ฝีมือ ของชาวเมืองฝรั่งเศสไม่ได้ นั่นเอง ด้วยว่าถ้าเขามีของดีมากน้อยเพียงไรเขาคงต้องการอวด ให้คนต่างประเทศดูเป็นแน่ "
งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
- (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
- (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
- (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
- (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
- (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก