ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๘

จาก วิกิซอร์ซ

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๘ เรื่อง โกศาปานไปฝรั่งเศส

ภาคที่ ๒

พระยาจ่าแสนยบดี พิมพ์ช่วยในงานศพ

หม่อมเมือง ทองแถม ณอยุธยา

วันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕

โรงพิมพ์ลหุโทษ จำนวน ๑,๐๐๐ ฉบับ

หม่อมเมือง ทองแถม ณอยุธยา ชาตะ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๑๐ มรณะ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๔ ประวัติสังเขป หม่อมเมือง ทองแถม ณอยุธยา ______________

บรรพบุรุษสืบเนื่องมาจาก เจ้าพระยายมราช บุนนาค (ตะเฆ่ทับ) บิดา นายคง พลนิเทศ มารดา กิ่ง พลนิเทศ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๑๐ ตรงกับวันพุฒ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ เป็นหม่อมห้ามในพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจและเป็นหม่อมมารดาของหม่อมเจ้าหญิงเครือมาศวิมล ถึงแก่กรรมวันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๔ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะแม






คำนำ พระยาจ่าแสนยบดี แจ้งความมายังราชบัณฑิตยสภาว่าใคร่พิมพ์หนังสือช่วยเจ้าภาพ แจกในงานศพหม่อมเมือง ทองแถม ณอยุธยา เรื่อง ๑ ขอให้กรรมการเลือกเรื่องหนังสือให้ ราชบัณฑิตยสภาได้แนะนำให้พิมพ์ เรื่องโกศาปานเป็นราชทูตไปเมืองฝรั่งเศส ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช พระยาจ่าแสนยบดีเห็นชอบด้วยจึงพิมพ์ ขึ้นเป็นสมุดเล่มนี้ เรื่องโกศาปานเป็นราชทูตไปเมืองฝรั่งเศสนี้ มองซิเออ เดอ วีเซ เป็นผู้แต่ง พิมพ์เมื่อ ค.ศ.๑๖๘๖ (พ.ศ.๒๒๒๙) มีฉะบับอยู่ในหอพระสมุดวชิราวุธ เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแล แห่งโรงเรียนอัสสัมชัญ แปลจากภาษาผรั่งเศสเป็นภาษาไทย มีผู้ขออนุญาตพิมพ์ตอนต้นไปภาค ๑ แล้ว ภาคนี้เป็นภาค ๒ จัดเป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕๘


ราชบัณฑิตยสภา วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๕




สารบาญ

บทที่ ๔๙ ราชทูตเริ่มเดิรทางไปเที่ยวดูมณฑลฟลังดร์ ข้างฝ่ายเหนือ หน้า ๑ บทที่ ๕๐ ระยะทางจากเมืองแซงต์เดอนีส์ถึงเมือง อาเมียงส์ หน้า ๔ บทที่ ๕๑ ราชทูตดำเนิรไปถึงเมืองอาราส หน้า ๗ บทที่ ๕๒ ท่านราชทูตดำเนิรทางตามมณฑลฝ่ายเหนือ ต่อไป หน้า ๑๗ บทที่ ๕๓ ราชทูตเยี่ยมเมืองกาแลส์ หน้า ๒๔ บทที่ ๕๔ ราชทูตถึงเมืองดึงแกร์ก หน้า ๒๘ บทที่ ๕๕ ราชทูตไปดูอู่เมืองตูร์เนย์ หน้า ๓๒ บทที่ ๕๖ ราชทูตถึงเมืองวาลังเซียนส์ หน้า ๔๑ บทที่ ๕๗ นางภิกษุนีเมืองเออแนง หน้า ๔๘ บทที่ ๕๘ ราชทูตถึงเมืองดูแอย์ หน้า ๕๓ บทที่ ๕๙ ราชทูตถึงเมืองกังแบรย์ หน้า ๖๘ บทที่ ๖๐ ราชทูตถึงเมืองเปรอน หน้า ๘๑ บทที่ ๖๑ ราชทูตกลับถึงเมืองแซงต์กังแตง หน้า ๙๐ บทที่ ๖๒ ราชทูตกลับถึงเมืองลาแฟร์ หน้า ๙๕ บทที่ ๖๓ ราชทูตเข้าไปอยู่เมืองซวาซงส์ หน้า ๙๘ บทที่ ๖๔ ราชทูตถึงวิแลร์ก็อตเตรต์ถึงนังเตยและ ดังมาแตง หน้า ๑๐๓

โกศาปานไปฝรั่งเศส

บทที่ ๔๙ ราชทูตเริ่มเดิรทางไปเที่ยวดูมณฑล ฟลังดร์ข้างฝ่ายเหนือ ____________ รุ่งขึ้นวันหลังเจ้าพนักงานฝ่ายกรมวังชื่อมงเซียร์เดอลาญี ได้เข้ามาหาราชทูตกล่าวว่า"บัดนี้ทรงพระปรารถถึงเจ้าคุณซึ่งเป็นคนมาแต่เมืองร้อน เกรงว่าจะกลัวหนาวกว่าคนในพื้นบ้านเมืองหนาวเป็นธรรมดา และเวลานี้ก็เกือบถึงเวลาที่ท่านจะออกไปเที่ยวหัวเมือง ฝ่ายข้างเหนือ ซึ่งเป็นประเทศหนาวกว่ามณฑลอื่น ๆ ในเมืองฝรั่ง เศส พระองค์ทรงพระปริวิตกว่า ถ้าจะไม่พระราชทานเสื้อสำหรับ ป้องกันหนาวไว้ก่อน จะเป็นการเลินเล่ออันมิบังควรกับพระปรีชาญาณเพราะเหตุฉะนี้ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ รับสั่งใช้ให้ข้าพเจ้านำเอาเสื้อกันหนาว ๖ ตัวกับหมวกอีก ๖ ใบมาพระราชทานท่านอัคราชทูต, อุปทูต, ตรีทูตคนละสองตัวกับหมวกคนละสองใบ เสื้อเหล่านั้นเป็นเสื้อล้วนพื้นไหมแกมทองก็มีและไหมแกมเงิน ก็มี ทั้งเป็นเสื้อยศและเสื้อหนาวรวมอยู่ในตัว อธิบาย คือเป็นเสื้อยศ เพราะพื้นสิ่งที่ใช้เป็นของดีล้วนแล้วด้วยไหมกับเงินและทอง แต่ก็เป็นเสื้อหนาวด้วย เพราะนอกจากนั้นยังมีขนสัตว์ แฮร์มิน คือหนัง อีเหนชะนิดหนึ่งอีกด้วยสำหรับจะกันหนาวได้. ๑ ๒ พอราชทูตได้รับเสื้อกับหมวกพระราชทานนั้นแล้วท่านถามทันทีว่า.- " เดี๋ยวนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ที่ใด ? " ก็ ได้รับคำตอบว่า"ทรงประทับอยู่ที่พระราชสำนักฟงแตนโบล"ท่านราชทูตถามต่อไปว่า " พระราชสำนักนั้นตั้งอยู่ตรงทิศใด ? " พอเจ้าพนักงาน บอก ทันใดนั้นท่านอัครราชทูต อุปทูต ตรีทูต ต่างก็หันหน้าไปทางนั้นแล้วหมอบลงไปถวายบังคมสามครั้ง ดูประดุจหนึ่งว่าพระองค์ทรงสถิตย์อยู่จำเพาะหน้าของท่าน แล้วท่านก็หันมาแสดงความขอบ ใจต่อเจ้าพนักงานผู้นำเสื้อและหมวกมาพระราชทานนั้นด้วย และ เมื่อเจ้าพนักงานจะลากลับ ท่านราชทูตยังเชื้อเชิญให้อยู่รับประทานอาหารด้วยกัน และวันนั้นนายช่างวาดเขียนชื่อเลอบรึงซึ่งได้กล่าวถึงมาก่อน ในตอนว่าด้วยพระราชวังแวร์ซาวยส์นั้นก็ได้อยู่รับประ ทานอาหารกับด้วยท่านราชทูตเหมือนกัน. พอถึงวันจันทร์ที่ ๑๔ เดือนตุลาคม คณะราชทูตสยามได้เริ่มเดิรทางออกไปเที่ยวตามหัวเมืองเหนือ ตอนกลางวันวันต้น ท่าน ได้พักรับประทานอาหารที่แซงต์เดอนีส์ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง เพราะเป็นที่ฝังศพพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสตั้งแต่ดึกดำบรรพ์หลายร้อยปีมา. เมืองนี้จะชื่อว่าแซงต์เดอนีส์ก็เนื่องจากท่านสังฆราช องค์แรกซึ่งได้มาสอนพระศาสนาคริศตัง แก่ชาวเมืองฝรั่งเศสที่ละแวกเมืองปารีสทุกวันนี้ ศพของท่านก็ยังฝังอยู่ในพระอารามแซงต์เดอนีส์นั้นเอง เว้นแต่แขนของท่านข้างหนึ่งซึ่งสันโตปาปาเอสเตวังที่ ๓ ได้ทรง นำไปที่กรุงโรมา. ๓ ถึงว่าราชทูตได้พักที่แซงต์เดอนีส์เพียงตอนกลางวันเท่านั้น ก็ยังได้อุตส่าห์ไปดูอนุสสาวรีย์ที่ฝั่งพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินผรั่งเศส องค์ก่อน ๆ และของที่มีฝีมือประณีตบรรจงซึ่งมีอยู่ชุกชุมในโบสถ์วัดแซงต์เดอนีส์นั้น. ของประณีตต่าง ๆ ซึ่งเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึกแห่งสมัยโบราณนั้นท่านราชทูตก็ได้ดูด้วย เป็นต้นว่าเครื่องแก้วเพ็ชรพลอยต่าง ๆ ซึ่งพระราชาองค์ก่อน ๆ และสัปบุรุษใจศรัทธาได้ถวายวัดนั้น แต่ท่านได้ดูด้วยความเจาะจงเป็นต้นก็คือ อนุสสาวรีย์ที่ฝั่ง พระศพของพระราชา. ในบรรดาอนุสสาวรีย์ที่ท่านได้แสดงความพอใจ อยากดูมาก กว่าอนุสสาวรีย์อื่น ๆ นั้นคืออนุสสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้า ฟรังซัวส์ที่ ๑ ซึ่งแวดล้อมไปด้วยรูปนักรบในสมัยของพระองค์กำลัง ออกสนามทำสงครามกับราชศัตรูของพระองค์. นอกนั้นท่านยัง ได้สังเกตอนุสสาวรีย์ ซึ่งทรงรับสั่งให้สร้างอุททิศแก่จอมพล เดอตุแรน ซึ่งได้มีความชอบทำคุณแก่ประเทศฝรั่งเศสอย่างสลักสำคัญ และซึ่งพึ่งสิ้นชีพลงใหม่ ๆ เมื่อราชทูตได้เห็นความงามวิจิตรบรรจงและที่ตั้งอนุสสาวรีย์ของท่านจอมพล เดอ ตุแรน นั้น ท่านได้กล่าวว่า.- " พระองค์ไม่จำเพาะแต่ทรงชุบเลี้ยงและโปรดประทานยศบรรดาศักดิ์แก่ผู้ที่ยังอยู่ สำหรับรับใช้จำเพาะพระพักตร์ของพระองค์เท่านั้น ถึงผู้ที่ล่วงลับแล้วทำคุณอะไรแก่พระองค์ไม่ได้แล้ว พระองค์ก็ยังทรงอุปถัมภ์ค้ำชูให้ชื่อเสียงคงอยู่เป็นที่เคารพนับถือของชาวชนเป็นอันมากอีกสิ้นกาลนาน ฉะนี้ก็ไม่เป็นที่อัศจรรย์

๔ เลยที่บรรดาอาณาประชาชนทั่วไปได้พากันยินดี ถวายชีวิตอุททิศแก่ชาติบ้านเมืองและพระมหากษัตริย์ เพราะต่างรู้สึกเต็มเปี่ยมอยู่ในทรวงอกว่า เป็นหรือตายพระองค์คงไม่ทรงลืม คงทรงระลึกถึงคุณความดีของตน ๆ อยู่เสมอ ฉะนี้ พระองค์จึงเป็นพระราชาซึ่งทรงชัยชำนะอยู่เสมอมิได้ขาด " เมื่อพูดดังนี้แล้วก็หมดเวลาท่านราชทูตอำลาพระสงฆ์เบเนดิกตินซึ่งเป็นคณะที่รับหน้าที่เฝ้ารักษาพระอารามนั้น แล้วท่านก็เดิรดูรอบวัดดูแล้วดูอีกว่าใหญ่โตงามสักปานใด แล้วท่านก็ขึ้นรถตั้งต้นเดิรทางใหม่ต่อไป และเย็นวันนั้นได้ไปพักแรมคืนอยู่ที่เมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเรียกว่าโบมง.

บทที่ ๕๐ ระยะจากเมืองแซงต์เดอนีส์ ถึงเมืองอาเมียงส์. รุ่งขึ้นวันที่ ๑๕ ราชทูตได้ไปรับประทานอาหารกลางวัน ที่ตำบลแห่งหนึ่งเรียกว่า ตีเลียร์ แล้วตอนเย็นก็ไปนอนที่ชนบทย่อม ๆ อีกแห่งหนึ่งเรียกว่า โบน ทั้งสองแห่งนี้ชาวเมืองพากันมาต้อนรับราชทูตเป็นขบวนเรียบร้อยราวกับขบวนทหารก็ว่าได้ ราชทูตได้ค้างแรมที่นั้นคืนหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้นมงเซียร์เดอเมนารด์ผู้พิพากษาได้มาคำนับราชทูต ๆ ดีใจไม่น้อยเลย เพราะท่านเดอเมนารด์คนนี้เป็นญาติอันสนิทของ


๕ ท่านเสนาบดี เดอเซเญอเล ซึ่งเป็นธุระมากกว่าเสนาบดีกระทรวงอนในการที่จะสมานมิตรไมตรีในระวางสยามและกรุงฝรั่งเศษให้มีผลสำเร็จ ในวันเดียวกันคือวันที่ ๑๖ ตุลาคมนั้น ราชทูตได้ไปค้างคืนอยู่ที่เมืองเบรอเตย ซึ่งเป็นเมืองย่อม ๆ ในมณฑลนอร์มังดี, เมือง นี้แต่เดิมมาเป็นของอังกฤษ แล้วภายหลังอังกฤษขายให้แก่สมเด็จพระเจ้าฟิลิปโอคึสต์ ก็เลยตกเป็นของฝรั่งเศสแต่นั้นมา. รุ่งขึ้นวันที่ ๑๗ ราชทูตไปพักอยู่ที่ " ชาโต " ของมงเซียร์เดแซร์โต ซึ่งเป็นลูกเขยของพระนมแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้า หลุยส์ที่ ๑๔ บ้าน " ชาโต " นั้นราชทูตพอใจมาก ว่าเป็นชาโตอย่างงดงามน่าอยู่จริง ๆ แต่อาศัยเหตุที่ท่านจะพักอยู่นานไม่ได้ต้อง รีบเดิรทางต่อไป ท่านจึงได้ออกแต่ในวันนั้นเอง สำหรับไปยังเมืองอาเมียงส์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อยู่รายทางที่จะขึ้นไปข้างเหนือ. ใน เย็นวันนั้นราชทูตได้ถึงเมืองอาเมียงส์ และเวลาท่านไปถึงนั้น บรรดากรมการขุนนางข้าราชการและพลเมืองที่สำคัญ ๆ ต่างได้ออกมาต้อนรับเป็นขบวนล้วนใส่เสื้อแสงถืออาวุธเป็นวิธีทหารทั้งนั้น พอเหยียบ ประตูเมืองก็ได้ยินเสียงปืนใหญ่ ๒๐ นัดตามพระราชกำหนดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทำความเคารพต่อคณะราชทูตสยามนั้น. แต่ประตูเมืองถึงที่พักของราชทูต พวกที่ออกมาต้อนรับนั้นได้เดิรเป็นกระบวนแห่แล้ว ต่างก็กลับเป็นเสร็จการต้อนรับสำหรับวันนั้น แต่รุ่งขึ้นวันที่ ๑๘ กระบวนแห่ได้มารับราชทูตยังที่พัก แล้วได้

๖ แห่ท่านไปดูโบสถ์ใหญ่. บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายได้ออกมาต้อนรับราชทูตถึงที่ประตูหน้าโบสถ์ แล้วได้พาเข้าไปข้างในถึงพระแท่นใหญ่พอดูอะไรต่ออะไรตามสมควรแก่เวลาแล้ว ราชทูตก็ได้ไปเยี่ยมเยือนท่านสังฆราช ครั้นเยี่ยมท่านสังฆราชเสร็จแล้ว ท่านราชทูตยังติดใจอยากจะดูวัดนั้นอีก เพราะเป็นวัดที่สวยงดงามที่สุดวัดหนึ่งในโลกท่านก็ขอโอกาสกลับไปชมเป็นพิเศษอีกต่อหนึ่ง แต่เดิมได้ตกลงกันว่าออกจากเมืองอาเมียงส์นั้นจะนำท่านราชทูตตรงไปยังเมืองอาราสซึ่งเป็นที่ว่าการมณฑลอาร์ตัวส์ แต่ทำไม่ได้ตามตกลงนั้น เพราะฤดูนั้นเป็นฤดูหนาวฝนตกเรื่อย ถนนหนทางเลยกลับกลายเป็นโคลนเลน เป็นที่หลุมที่ดอนเปรอะเปื้อนจนใช้ไม่ได้ ตกลงเปลี่ยนความคิดเดิม, แทนที่จะตรงไปเมืองอาราส ก็เป็นแต่เพียงไปพักอยู่ที่เมืองดูรดังที่เป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่ในระวาง ๒ เมืองใหญ่. แต่ถึงเป็นเมืองย่อม ๆ ดัง นั้นชาวเมืองดูรดังก็ไม่ยอมแพ้ชาวเมืองใหญ่ ๆ ในการต้อนรับราชทูต. พอคณะราชทูตมาถึงกองทหารสมัคร คือพลเมืองดูรดังนั้นเองได้ออกมารับราชทูตเป็นขบวนแห่เหมือนที่อื่น และได้ยิงปืนใหญ่ปืนเล็ก เสียงสนั่นเป็นการเอกเกริกเหมือนหนึ่งเมืองมีทหารประจำรักษาอยู่โดยธรรมดา. แท้จริงแม้ชาวเมืองจะไม่ทำการรับรองให้ใหญ่โตถึงเพียงนี้ก็คงไม่มีใครถือเป็นแน่, แต่เมื่อเขามีแก่ใจกระทำให้ถึงขนาดดังนี้ ก็ควรได้รับความชมเชยเป็นพิเศษด้วย เพราะเมื่อผู้น้อยทำหน้าที่ ของผู้ใหญ่ได้ดีผู้ใหญ่แล้ว ก็น่าชมผู้น้อยนั้นยิ่งกว่าผู้ใหญ่เสียอีก


๗ เรื่องนี้ได้เกิดขึ้นอีกตามชนบทเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกแห่งหนึ่งเรียก ว่าซาแบร์ ที่ชนบทนี้ชั้นที่สุดที่พักคนเดิรทางก็ไม่มี มีแต่เพียง โรงม้าสำหรับเปลี่ยนม้าที่ลากรถเมล์เท่านั้น ถึงกระนั้นชาวชนบท นั้นยังได้ช่วยกันจัดการเลี้ยงโต๊ะราชทูตอย่างสง่าผ่าเผยและเลี้ยงกันใน โรงม้านั้นด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่มีใครอาจรู้ได้ว่าเป็นโรงม้าหรือโรงรับ แขก เพราะชาวชนบทได้ตกแต่งประดับประดาจนเปลี่ยนรูปโรงม้า หมด ให้นึกว่าเป็นสโมสรพิเศษของขุนนางข้าราชการผู้ใหญ่ ไม่มีเค้าเป็นโรงม้าเหลือเลย.

บทที่ ๕๑ ราชทูตดำเนินไปถึงเมืองอาราส. พอออกจากที่ตำบลเล็กนั้นแล้ว ราชทูตก็มุ่งดำเนิรทางตรงไป ยังเมืองอาราส ซึ่งเป็นที่ว่าการมณฑลอาร์ตูอาส์ อันตั้งอยู่บน แม่น้ำสการ์ป และเป็นเมืองหน้าศึก มีป้อมคูประตูหอรบครบตาม ธรรมเนียมพิชัยสงคราม. พอราชทูตเกือบจะถึงเมือง มีทหาร ม้า ๑๒ กองออกมาต้อนรับถึงนอกเมือง. ตามทางเข้าเมืองมี พลทหารราบยืนเรียงรายอยู่ตลอดทาง และเมื่อราชทูตเดิรผ่านหน้า แถวไป ต่างก็คำนับด้วยเอาปลายหอกลง, ส่วนราชทูตก็รับคำนับ ข้างนี้ข้างโน้นไม่มีเวลาว่างเลย เพราะข้างล่างมีทหารทำวันทิยาวุธ ก็ต้องจำเป็นรับคำนับ, ข้างบนตามช่องหน้าต่างก็มีแหม่มเป็นต้น


๘ โบกผ้าเช็ดหน้าเป็นที่แสดงการต้อนรับ ก็ต้องจำเป็นรับคำนับทางนี้ด้วย, เลยต้องแหงน ๆ ก้ม ๆ รับคำนับเขาเรื่อยตลอดหนทางมา. พอรถราชทูตย่างเข้าไปสู่ธรณีประตูเมือง บรรดาพระสงฆ์ ตามวัดวาอารามทั้งหลายในเมืองอาวาสนั้น ต่างก็ให้ศิษย์ของตน ๆ ขึ้นตีระฆังเล็กใหญ่เสียงออกแซ่สนั่นเอกเกริกโกลาหล และ ในโอกาสนั้นระฆังใบใหญ่มหึมา ซึ่งชาวบ้านตั้งฉายาเรียกกันว่า " ลาชัวเยอส์ " (แปลว่า " แม่บรรเทิง " ค่าที่ดีได้แต่จำเพาะต่อเมื่อมี การมหาศุภมงคล ซึ่งเป็นที่ยินดีทั่วหน้ากัน) ก็ได้มีผู้ตีให้อุโฆษณา การด้วยกระแสเสียงอันน่าบรรเทิงของตน พร้อมกับสรรพสำเนียง เก่งก่างหง่างเหง่งแห่งระฆังเล็กใหญ่ทั้งหลายอื่น ๆ ที่มีอยู่ทุกพระอารามในเมืองอาราสนั้น. เมื่อทหารม้าซึ่งออก ไปต้อนรับราชทูตนอกเมือง ได้นำทางราชทูตมาถึงประตูเมืองแล้ว ทหารกองต่าง ๆ ในเมืองก็ยืนแหวกทาง ให้กระบวนรถราชทูตผ่านไปตรงกลาง ดังนี้ ตั้งแต่ประตูเมืองจนถึง ประตูที่พักของท่านราชทูต และที่ประตูนั้นท่านเลอกงต์เดอวิลเนิฟ ก็กระทำคำนับปราศรัย เชื้อเชิญราชทูตให้ลงจากรถ แล้วนำขึ้นไป ถึงห้องที่พักข้างในพร้อมกันกับท่านสตอร์ฟ เจ้าพนักงานกรมประจำ แขกเมือง แล้วก็ได้ลงมือสนทนาปราศรัยกันในระวางเวลาที่คอยพวกกรมการนคราภิบาลมณฑลอาร์ตูอาส์จะเข้ามาถึง สิ่งทราชทูต แสดงความกังวลอยากรู้ทันทีนั้น คือเมืองอาราสจะเป็นเมืองใหญ่โต สักเพียงไหน ? มีครอบครัวพลเมืองสักเท่าไร ? มีรูปสัณฐานเป็น อย่างไร ? ๙ ขณะที่ท่านราชทูตกับท่านเหล่านั้นยังกำลังสนทนากันด้วยเรื่องเมืองอาราสอยู่นั้น ท่านเจ้าอธิการพระอารามของคณเยซวิตในเมือง นั้นได้มาแสดงความเคารพและความขอบพระเดชพระคุณในการที่พระเจ้ากรุงสยามทรงชุบเลี้ยงท่านบาดหลวงเยซวิตคณะของตนด้วยพระ มหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น ท่านอัครราชทูตตอบว่า.- "เท่าที่พระองค์ทรงเลี้ยงนั้นยังน้อยนัก, พระองค์มีพระราชประสงค์จะทรงชุบเลี้ยงให้มาก ยิ่งกว่านี้อีกสองเท่าสามเท่า, ขอคุณพ่อได้เป็นภาระธุระช่วยชี้แจง อธิบายตามราชประสงค์อันนี้กับหัวหน้าของคณะเยซวิตทั้งหลาย เพื่อท่านจะมิได้มีความรังเกียจและจะได้จัดการเผดียงสงฆ์ใจศรัทธาอื่น ๆ ส่งไปยังเมืองไทยเป็นลำดับต่อ ๆ กันไปเทอญ " เมื่อปรารภกันถึงเรื่องบาดหลวงอยู่ก็พอดีกรรมการเมืองมาถึง ราชทูตก็ลุกขึ้นจากเก้าอี้ที่นั่ง แล้วก็แสดงความเคารพตามขนบธรรม เนียมบ้านเมืองไทยเขา แล้วท่านปาลิซงแด็งกูรต์สมาชิกแห่งมณฑล สภาและสมาชิกผู้แทนคณะไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของมณฑลอาร์ตูอาส์ที่ประชุมรัฐสภาใหญ่ในกรุงหลวงก็ได้กล่าวสุนทรพจน์ขึ้นว่า.- ท่านราชทูตทั้งหลาย อันว่าเมืองอาราสนี้ พลเมืองมีชื่อว่าเป็นคนสัตย์ซื่อถือความจงรักภักดีต่อเจ้านายเหนือตน มีสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวเป็นต้นอย่างเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ไม่มีเงาแห่งความตำหนิติเตียนเลย แต่ไหนแต่ไรมา. ทรงรับสั่งให้ทำประการใด ก็เป็นอันกระทำประ การนั้นจนสุดกำลัง. ก็บัดนี้เล่าทรงรับสั่งให้ข้าพเจ้าทั้งหลายชาวชน พลเมืองอาราสกระทำการต้อนรับ และบำรุงเลี้ยงดูท่านราชทูตสยาม ๒ ๑๐ อย่างเต็มที่ ข้าพเจ้าทั้งหลายจะไม่ยินดีกระทำปฏิสัถารต้อนรับท่านเจ้าคุณด้วยเต็มความสามารถอย่างไรได้แต่ข้าพเจ้ามาเกรงว่าแม้จะต้อน รับให้สุดความสามารถของข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็ยังหาได้เพียงพอกับเกียรติยศและบุญบารมีของเจ้าคุณราชทูตทั้งหลายไม่ และสำมหาอะไรกับบุญบารมีของพระมหากษัตราธิราชทั้งสองพระนคร ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เจ้าคุณ และข้าพเจ้าได้มีโอกาสอันประเสริฐที่จะพบปะซึ่งกันและกันในกาลบัดนี้เล่า ถึงจะพากเพียรจนสุดกำลังก็คงรับรองไม่สมพระเกียรติยศของพระมหากษัตราธิราชที้งสองพระนครเป็นแน่ แต่ กระนั้นก็ดีข้าพเจ้าทั้งหลายยินดีแสดงความเคารพนับถือต่อท่านเจ้าคุณจนสุดความสามารถ จะบกพร่องประการใดก็แล้วแต่เจ้าคุณจะมี ความเมตตากรุณาแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายข้างหนึ่ง และแล้วแต่ทั้งสอง พระมหากษัตริย์จะทรงพระเมตตาอีกข้างหนึ่ง. อันว่าพระบารมีของพระมหากษัตริย์ฝ่ายประเทศฝรั่งเศสนี้ ปรา กฎอยู่ ชัดดุจเดียวกับพระคุณานุคุณ ของพระอาทิตย์ซึ่งพระองค์ทรงเลือกเป็นศุภนิมิตรเครื่องหมายแห่งพระเดชานุภาพของพระองค์กล่าว คือ ทรงแผ่พระคุณแก่คนทั่วไปไม่เลือกหน้า ให้ต่างอุ่นอกอุ่นใจ เกิดผลประโยชน์อันสมควรแก่ชีพิตแห่งตน, ทรงแผ่พระรัศมีให้ รุ่งโรจน์ชัชวาลทั่วขอบจักรวาฬ, ทรงแผดแสงกล้าให้อริราชศัตรู หมู่ไพรีทั้งหลายสยดสยองพระเดชานุภาพทั่วทุกหมู่เหล่า สมควร อย่างยิ่งที่พระองค์ได้ทรงเลือกหาดวงทินกร มาเป็นศุภนิมิตรเครื่อง หมายสำหรับพระองค์.

๑๑ ฝ่ายข้างพระเจ้าแผ่นดินสยามเล่า พระองค์ก็กอบด้วยพระญาณ วิถีอันสุขุมคัมภีรภาพเป็น มหัศจรรย์ดุจเดียวกัน ด้วยว่าถึงแม้น พระองค์ทรงสถิตย์อยู่ในประเทศห่างไกลจนสุดโลกข้างบุรพทิศนั้นก็ดี พระองค์ยังทรงสอดส่องเล็งแลเห็นในพระอภินิหารของพระเจ้าแผ่นดิน ฝรั่งเศส ถึงกับทรงส่งบรรดาเจ้าคุณทั้งหลายให้มาเชยชมพระบารมี ต่างพระเนตรพระกรรณ ส่วนเจ้าคุณทั้งหลายเล่าในทุกวันนี้ ถ้า จะเปรียบก็คล้ายกับสมเด็จพระราชินีแห่งประเทศสะบาในสมัยโบราณ ซึ่งเมื่อได้ทรงสดับ ข่าวเล่าลือพระเกียรติคุณของสมเด็จพระเจ้าสะโลมน มหาราชเจ้าแล้ว ก็ได้เสด็จมาเยี่ยมเยือนสมเด็จพระเจ้าสะโลมน มหาราชจนถึงที่พระนครหลวงด้วยพระองค์เอง เพื่อจะใคร่ทรงทราบ ว่าคำเล่าลือนั้นจะมีมูลแห่งความจริงสักเท่าใด ครั้นได้มาแลเห็นด้วย พระองค์เองเข้าฉะนี้แล้ว ก็กลับทรงประหลาดพระทัยโดยที่คำเล่าลือ นั้นยังบกพร่องกว่าพระเกียรติคุณที่เป็นจริงเสียอีก พระองค์ราชินี ได้แต่ทรงเปล่งพระอุทานวาจาว่า.- " เดิมเมื่อได้ยินใครต่อใครสรรเสริญพระบารมีคณของสมเด็จพระเจ้าสะโลมนมหาราช ว่าพระองค์ทรง พระเกียรติคุณประเสริฐเหลือล้น ข้าพเจ้ายังเคลือบแคลงสงสัยอยู่ แต่ครั้นมาได้ยินกับหูรู้กับตาเข้าเองสิ กลับรู้สึกว่าคำเล่าลือกันมาแต่ เดิมนั้นยังไม่พอเพียงกับพระเกียรติคุณที่เป็นจริงเสียอีก ที่จริงพระ เกียรติคุณของพระเจ้าสะโลมนมหาราชมากเหลือล้นพ้นที่จะสรรเสริญ ให้สิ้นสุดได้ "


๑๒ สมัยเดี๋ยวนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่๑๔ก็ควรนับว่าเป็นพระเจ้าสะโลมนมาสมภพอีกคราวหนึ่ง ข้าพเจ้าจึงมีความหวังใจ เป็นอันมั่นคงว่าเมื่อเจ้าคุณได้ชมเชยบุญบารมีของพระองค์ซึ่งมีปรากฎประจักษ์อยู่ฉะเพาะหน้าเจ้าคุณในประเทศฝรั่งเศสนี้ เช่นที่พระราช วังต่าง ๆ ของพระองค์, ที่กระทรวงทหารบกทหารเรือของพระองค์, ที่ประเทศราชต่าง ๆ ซึ่งพระองค์ได้รวบรวมกับประเทศของพระองค์, ที่เมืองหน้าศึกต่าง ๆ ซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาให้เป็นเมืองมั่นคง ถาวรไม่กลัวเกรงอริราชไพรี, ที่พระกิริยาอาการของพระองค์อยู่ทุก เมื่อแล้ว บรรดาท่านเจ้าคุณทูตานุทูตทั้งหลายทั้งปวงคงรู้สึกในใจ ประดุจหนึ่งพระนางเจ้าราชินีเมืองสะบาว่าคำเล่าลือสรรเสริญพระบาร มีของพระองค์ยังหาบริบูรณ์ไม่ ดูยังบกพร่องกว่าความเป็นจริงแท้อีกมากมายนัก ถึงคำเล่าลือจะสรรเสริญพระองค์เท่าใด เกียรติคุณของ พระองค์ที่ควรจะสรรเสิรญให้ยิ่งกว่านั้นยังมีอีกเป็นอันมาก ถ้าใคร มิได้เห็นด้วยนัยน์ตาตนเองแล้วก็เป็นเหลือวิสัยที่จะเชื่อถือว่าเป็นจริงได้ แต่ครั้นได้มาแลเห็นเหมือนเจ้าคุณทั้งหลายแล้วไซ้ จึงเป็นอันเชื่อแน่ อยู่ทุกคำและยังกลับซ้ำรู้สึกว่า คำเยินยอยศเกียรติของพระองค์ซึ่งลือ ไปในนานาประเทศยังหย่อนจากความเป็นจริงอีกมาก เป็นโชคอันประเสริฐของเจ้าคุณราชทูต ที่ได้มีโอกาสมาชมเชยพระบารมีด้วยนัยน์ ตาเช่นนี้ และข้าพเจ้าทั้งหลายขอรวมน้ำใจยินดีของข้าพเจ้ากับความ ยินดีของเจ้าคุณด้วย."


๑๓ เมื่อท่านปาลิซงแด็งกูรต์ ได้กล่าวคำต้อนรับฉะนี้แล้ว เจ้าคุณอัครราชทูตได้ตอบแทนคณะราชทูตทั้งหลายว่า.- " โอกาสนี้ ข้าพเจ้า ทั้งหลายรู้สึกขอบใจท่านเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งท่านชวนให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ชาวสยามนี้ชมเชยพระราชกฤษฎาภินิหาร บุญบารมีของสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ข้าพเจ้าขอแถลงให้ท่านทราบว่า แท้จริงพระบาท สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามทรงรู้สึกและทรงชมเชยมานมนานแล้ว พระ องค์มีพระราชประสงค์มานานแล้วว่า จะกระทำดุจเดียวกับพระนางเจ้าราชินีเมืองสะบาได้กระทำต่อองค์สมเด็จพระราชาสะโลมน หากว่ากระทำให้สำเร็จสมตามพระราชประสงค์ ไม่ได้ด้วยอุปสัคหลายประ การ แต่เมื่อพระองค์เสด็จมาไม่ได้ด้วยพระองค์เองแล้ว พระองค์จึง ทรงเลือกตั้งข้าราชการชั้นสูงมาแทนพระองค์เมื่อปีกลาย แต่ก็หาได้ ถึงเมืองฝรั่งเศสไม่ เข้าใจว่าเป็นอันตรายเสียกลางทางในทะเลแถบ อาฟริกาใต้ แต่กระนั้นพระองค์ก็ยังไม่สิ้นความมุ่งหมายในพระ ราชหฤทัย ยังซ้ำทรงเลือกตั้งข้าพเจ้าทั้งหลายบรรดาคนไทยซึ่งอยู่ในที่นี้ให้เข้ามาชมเชยพระบารมี แทนคณะทูตานุทูตชุดก่อนนั้น แต่หาใช่ส่งมาจำเพาะเพื่อจะทำไมตรีการค้าขาย ในระวางกันและกันไม่พระราชประสงค์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ก็เพื่อจะให้มาฟังเกียรติศักดิ์เกียรติคุณของพระองค์ว่ามากน้อยถึงเพียงไหน เพื่อจะได้นำไปกราบทูล ให้พระองค์ทรงทราบเป็นรายละเอียดทุกอย่างทุกประการ พระองค์ทรงพระประสงค์อยู่อย่างเดียว คือทรงปรารถนาอยากกระทำความมิตรไมตรีภาพในระวางพระองค์ และองค์สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินประ เทศฝรั่งเศสได้สนิทสนมขึ้นเท่านั้น " ๑๔ คำตอบของเจ้าคุณอัครราชทูตนี้ เป็นพะยานให้คนในที่ประชุมนั้นรู้เห็นว่า ถึงท่านเป็นคนไทยมาแต่เมืองไกล ภาษาฝรั่งเศสท่าน ฟังออกพอรู้พอเข้าใจเป็นแน่, ถ้าหาไม่ที่ไหนท่านจะเปรียบการมา เยี่ยมเยือนของพระนางราชินี แห่งเมืองสะบากับการมาเมืองฝรั่งเศส ของท่านได้สนิทสนมดี ให้เป็นที่เข้าใจว่าท่านหาได้มาเพื่อการค้า ขายอย่างธรรมดาราชทูตในเมืองอื่นไม่ ท่านมาเหมือนพระนางเจ้า ราชินีเมืองสะบานั้น สำหรับจะได้รู้จะได้เห็นของน่ารู้น่าเห็นเท่านั้น พอกรมการออกจากที่ประชุม เมื่อเสร็จกิจธุระคำนับรับรองท่านราชทูตแล้ว ท่านกงต์เดอวิลเนิฟซึ่งเหลืออยู่คนเดียวเป็นคนสุดท้ายได้มาอำลาท่านราชทูตตามธรรมเนียม และก่อนที่ท่านจะออกไปท่าน ได้กล่าวกับเจ้าคุณราชทูตว่า .- " ธรรมเนียมเมืองที่มีทหารอยู่ประ จำ ย่อมมีอาณัติสัญญากันอย่างสั้น ๆ สำหรับเมื่อพบปะกันที่ไหนจะ ได้ใช้ไต่ถามกันให้รู้ว่าเป็นทหารชาติเดียวกันหาใช่ศัตรูไม่ เพราะ ถ้าเป็นศัตรูแล้วก็ไม่รู้คำอาณัติสัญญา ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ศัตรูปลอมเข้ามาในเมืองได้โดยไม่มีใครรู้ตัว และเพื่อจะมิให้คำอาณัตินั้นจืด ไปจนรั่วรู้ถึงคนอื่นซึ่งเผอิญอาจได้ยินจึงมีธรรมเนียมต้อง เปลี่ยนคำอาณัตินั้นทุก ๆ วันมิได้ขาด. วันนี้เจ้าคุณราชทูตก็เข้ามาอยู่ในเมือง อาราสซึ่งเป็นเมืองทหารสำคัญ คำอาณัติก็ต้องเลือกหาทุกวัน เพราะเหตุฉะนี้ขอเชิญเจ้าคุณจงโปรดเลือกคิดคำอาณัติสัญญาไว้สักคำหนึ่งเถิด เพื่อเป็นศุภมงคลโชคดีแก่หมู่ทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้า


๑๕ หลุยส์ที่ ๑๔ เชื่อว่าคำที่เจ้าคุณจะออกให้ทหารเมืองอาราสนี้คงเป็นคำศักดิสิทธิ์ขลังที่สุดเป็นแน่ เพราะอาศัยพระบารมีของพระเจ้าแผ่น ดินทั้งสองพระนครเป็นร่มโพธิ์ทองกั้นกางอยู่. ขณะนั้นเจ้าคุณอัครราชทูตกำลีงรำพึงถึงเหตุอันเหมาะ สำหรับ คิดคำอาณัติทหารนั้น ก็มาระลึกถึงความมั่นคงของเมืองอาราสซึ่ง เป็นเมืองแข็งแรงอย่างยิ่ง เจ้าคุณราชทูตก็เลยให้คำอาณัติสำหรับ คืนนั้นว่า.- " Qui in'attaque se perd " (กีมะต้ากเซอแปร์ด์) แปลว่าใครมาสู้ต้องแพ้ไปเอง. พออำลากันเสร็จสรรพแล้ว ท่าน กงต์เดอวิลเนิฟ ก็ออกไป. ส่วนท่านราชทูตนั้น รุ่งขึ้นวันหน้าท่านก็มิได้ออกไปเที่ยวที่ไหนเลย, ท่านอยู่ยังที่พักทั้งวัน คอยรับรองท่านผู้หลักผู้ใหญ่ซึ่งออกมาเยี่ยมเยือนเป็นต้นว่าท่านกงต์เดอวิลเนิฟ ซึ่งเป็นข้าหลวงพิเศษของ พระเจ้าแผ่นดินในมณฑลอาร์ตูอาส์, นายบิสเตส์ผู้บังคับการทหาร ในเมืองอาราส, กับบรรดานายทหารและข้าราชการพลเรือนและ ขุนนางเป็นอันมาก เย็นวันนั้นเจ้าหน้าที่ได้เชิญท่านราชทูตไปฟังดนตรีสังคีตพิเศษซึ่ง ได้เคยแสดงต่อหน้าพระที่นั่งที่เมืองโซช์ เมื่อพระองค์ได้เสด็จมาในงานของเจ้าคุณเซเญอแล เสนาบดีผู้ใหญ่, เจ้าคุณราชทูตก็ยินดีรับคำเชื้อเชิญ และถึงเวลาท่านกับขุนนางไทยอื่น ๆ ก็ได้พากันไป ฟังดูเป็นที่พอใจในสำเนียงเสียงดนตรีคืนวันนั้นอย่างยิ่ง, รำคาญอยู่อย่างเดียวที่มีคนไปดูฟังกันมากมาย เพราะต่างไม่จำเพาะแต่อยาก

๑๖ ฟังดนตรี อยากชมราชทูตของพระเจ้ากรุงสยามด้วย พอหมด การแสดงดนตรีท่านราชทูตก็กลับไปยังที่พัก. ในขณะนั้นนายทหารเดอบิสเซส์ ซึ่งเป็นผู้บังคับการทหารในเมือง นั้น ก็นำแผนที่เมืองอาราสมาให้ท่านราชทูต ให้สมความปรารถนาที่ท่านได้แสดงเมื่อแรกเข้ามาถึงในเมืองเมื่อคืนวันก่อน. ท่านราชทูตรับแผนที่ดูพลางแล้วถามพลางอย่างคนที่รู้อยู่แล้ว ในขบวนรักษาเมืองตามตำราพิชัยสงคราม. ก่อนที่ท่านผู้บังคับการทหารจะลากลับไปท่านก็ขอคำอาณัติสัญญาสำหรับทหารในคืนวันหน้าอีก, เจ้าคุณราชทูตระลึกถึงความกล้าหาญของพลเมืองอาราสเคยแสดงมาหลายครั้งหลายหนในคราวที่ขับขันที่สุด ท่านเลยเอาความกล้าหาญนั้นเป็นเกณฑ์ แห่งคำอาณัติว่า.- " Actions 'eclatanles " (อักซียงเอกลาตังต์) แปลว่า " กิจแกล้วกล้า " พอได้คำอาณัติสมประสงค์แล้วท่านผู้บังคับการจะลุกออกไป แต่เจ้าคุณราชทูตทักถามก่อนไปว่า.- "นี่แน่ะท่าน ผู้บังคับการ ท่านเป็นฝรั่งเศสแน่หรือ " ท่านผู้บังคับการตอบว่า.- " ข้าพเจ้าเป็นฝรั่งเศสแน่ซิครับ ทำไมเจ้าคุณยังสงสัยอยู่หรือ ? ถ้า มิฉะนั้นที่ไหนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมอบหน้าที่รักษาเมืองหน้าศึกอย่างเมืองอาราสนี้เล่า " ท่านราชทูตพูดต่อไปว่า.- " ที่ข้าพเจ้าถามเช่นนี้มิใช่เพราะเรื่องอื่น เป็นเพราะหน้าตาหนวดเคราเผ้าผมของท่านแทนที่จะมีลักษณะรูป และสีเหมือนชาวฝรั่งเศสอื่น ๆ ที่เคยเห็น ก็กลับไปมีลักษณะเหมือนคนไทยในเมืองสยามแทบทุกอย่าง จึงได้ถามดู " เมื่อได้ทราบความดังนั้นท่านผู้บังคับการ

๑๗ ตอบว่า.- " ที่เจ้าคุณพูดมานี้เป็นที่ถูกใจข้าพเจ้ามาก และหากข้าพเจ้ามิได้เกิดมามีสัญชาติเป็นฝรั่งเศสแล้ว ข้าพเจ้าใคร่ได้เกิดมีสัญชาติเป็นคนไทยเหมือนเจ้าคุณด้วย เพราะรู้สึกว่าจะเป็นเกียรติยศมิใช่น้อย." พอพูดดังนี้แล้วต่างก็ลากลับไป.

บทที่ ๕๒ ท่านราชทูตดำเนิรทางตามมณฑล ฝ่ายเหนือต่อไป. รุ่งขึ้นวันที่ ๒๑ เดือนตุลาคม ชทูตสยามออกจากเมืองอาราสขึ้นรถม้าเวลาเช้า ๘ นาฬิกา มีผู้คนมาส่งเหมือนขาเข้าเมือง มีทหารรักษาหน้าที่ตามทางที่จะออกไปเหมือนกัน ตามวัดวาอารามก็ตีระฆัง, ตามป้อมก็ยิงปืนสลุตส่งเหมือนกับที่เคยทำเมื่อรับไม่มีผิด. ตอนกลางวันวันนั้นท่านราชทูตไปกินเข้าที่ชนบทย่อม ๆ แห่งหนึ่งครึ่งทางจากเมืองอาราสไปเมืองเบทึนเรียกว่า แอ็ส. ตอนเย็นวันนั้นก็ถึงเมืองเบทึน ซึ่งเป็นเมืองหน้าศึกมีป้อมคูประตูหอรบพร้อมสรรพเหมือนเมืองหน้าศึก และเป็นเมืองอยู่ในมณฑลอาร์ตูอาส์อย่างเดียวกับเมืองอาราสเหมือนกัน. มีแม่น้ำเล็ก ๆ ผ่านกลางเมือง เรียกว่าแม่น้ำเบียด. เมืองเบทึนนี้เดิมทหารฝรั่งเศสตีได้จากสะเปญ เมื่อ ค.ศ. ๑๖๔๕ และเมื่อพระเจ้าแผ่นดินสะเปญกับพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสได้ทำหนังสือสัญญาสันติภาพในระวาง ๒ ประเทศซึ่งเรียกว่า ๓

๑๘ สัญญาแดปีเรเนส์เมื่อ ค.ศ. ๑๖๕๗ พระเจ้าแผ่นดินสะเปญยอมยกให้เป็นสิทธขาดของเมืองฝรั่งเศสต่อไป. รุ่งขึ้นวันที่ ๒๒ ราชทูตออกไปยังเมืองแอร์ ในมณฑลอาร์ตูอาส์อีก แต่เป็นเมืองใกล้เขตต์แดนมณฑลฟลังดร์. เมืองเล็กนี้เป็น เมืองสำคัญมากในเชิงพิชัยสงคราม ทั้งสำคัญเพราะถนนหนทาง กว้างขวางเรียบร้อยมาก ทั้งวัดวาอารามโบราณแน่นหนาและสวย มากด้วยผิดกว่าธรรมดาเมืองเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้งปวง. ก่อนที่จะถึงเมืองแอร์นี้ กองทหารก็ได้ออกมาต้อนรับราชทูตเหมือนที่อื่น และเมื่อผู้บังคับการหารนั้นได้แลเห็นรถราชทูตก็ ได้ลงจากหลังม้าเพื่อคำนับราชทูต. พอสนทนากันหน่อยหนึ่งกระ บวนก็ออกเดิรเข้าในเมืองต่อไป. มีทหารกระทำวันทิยาวุธทั้งสอง ข้างทาง, พลเมืองคำนับและโห่ร้อง กรรมการเมืองก็ออกมา ต้อนรับและพาไปยังที่พักเหมือนเช่นเหมือนเช่นเมืองที่ท่านเคยผ่านไป. พอสนทนายังที่พักเสร็จหมดแล้วท่านผู้บังคับการขอคำอาณัติสัญญาจากท่านราชทูตตามเคยทุกเมืองที่มีทหาร ท่านราชทูตก็เลือกเฟ้นคำอาณัติที่เหมาะกับภูมิประเทศนั้นว่า .- " Bien atlaque, mieux defendu " ( เบียงอะตะเก้, มิอืช์เดฟังดือ ) แปลว่า " เขา เก่งรุก, เราเก่งไล่ " ที่ท่านราชทูตเลือกคำนี้ก็เพื่อเป็นเกียรติยศ กับท่านผู้บังคับการเองซึ่งมารับหน้าที่รักษาเมืองนี้ เมื่อพวกราช ศัตรูแวดล้อมเกือบได้แล้ว แต่พอได้มาอยู่บังคับการไม่นานพวก ศัตรูที่ได้เปรียบอยู่แต่ก่อนกลับพ่ายแพ้ต้องทิ้งเมืองหนีเอาตัว รอดใน ไม่สู้ทันนาน. ๑๙ รุ่งขึ้นวันหน้าท่านราชทูตกับท่านผู้บังคับการทหาร ได้พากัน ไปดูป้อม ชื่อป้อมแซงต์ฟรังซัวส์ ซึ่งเป็นป้อมสำคัญและเข้าที น่าดูด้วย เมื่อราชทูตเข้าไปที่ป้อมพวกทหารปืนใหญ่ยิงปืนกันเสียง สนั่น ส่วนพลทหารก็ยืนเป็นแถวรับ. ป้อมนั้นมีแปลกกว่าป้อมอื่น คือรอบข้างเป็นคู ถ้าถึงคราวขับขันแล้วคูนั้นกลับเป็นแม่น้ำลำคลอง ก็ได้ทันที เพราะมีประตูน้ำไหลเข้าในคูนั้นได้ทุกทาง. ท่าน ราชทูตเห็นป้อมคูชะนิดนี้ก็ชอบใจว่า.- " เหมาะสำหรับประเทศ ไทยนัก ประเทศไทยนั้นหาตำบลน้ำท่วมคูเมืองได้ง่าย แต่จะระบาย น้ำให้คูแห้งตามชอบใจนั้นยาก นี้บัดเดี๋ยวแห้งเป็นถนน, บัดเดี๋ยว น้ำไหลเป็นแม่น้ำ ดีจริง " เมื่อดูป้อมต่าง ๆ รอบเมืองแล้ว ท่านผู้บังคับการได้พาไปดูเมืองเอง แต่ไม่ว่าไปที่ไหนตำบลไหนในเมืองนั้นล้วนแต่พบคนงานกำลังสร้างอะไรต่ออะไรเสมอ. ท่านราชทูตเลยพูดขึ้นว่า.- " เราเที่ยวดูเมืองต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงตีได้ไม่ว่าที่ไหน ดูมีแต่คนทำงานสร้างป้อมคูประตูหอรบทั้งนั้น ชวนให้นึกว่าพระองค์ ได้แดนดินมากน้อยเท่าไร ก็จะทรงเปลี่ยนแปลงให้เป็นป้อมเสียหมดทรัพย์สมบัติและวิริยะความเพียร ของพระองค์ดูช่างไม่มีที่สิ้นสุดลง ที่ตรงไหนเสียจริง ๆ " เย็นวันนั้นท่านผู้บังคับการถามคำอาณัติตามธรรมเนียม และราชทูตยังกำลังฝันเรื่องป้อมมีคูรอบอยู่ ก็เอาเกียรติคุณของป้อม


๒๐ ชะนิดนั้นมาตั้งเป็นคำอาณัติว่า.- " Mavaleur est comme aux Indes" (มา วาเลอร์ แอส์ต์ กอมม์ โอช์ แซงด์ ) เข้าใจเป็นหมายความว่า " ใช้ได้ทั้งฝรั่งทั้งไทย " . ราชทูตอยู่ที่เมืองแอร์นั้นจนถึงวันที่ ๒๔. ท่านได้ดูอะไรที่นั้น, ท่านได้ชอบใจอย่างไร, พลเมืองได้เป็นที่พอใจอย่างไร, ทหารรับรองราชทูตอย่างไร, ข้าพเจ้าของดไม่กล่าวเลย. ให้ท่านผู้อ่านเดาเอง เพราะก่อน ๆ เคยเป็นมาอย่างไรในเมืองอื่น การก็ได้ดำเนิรเป็นแบบน่าชมอย่างเดียวกันไม่มีผิด. พอท่านผู้อ่านรู้ว่าราชทูตไปเที่ยวดูเท่านี้ ก็อาจเข้าใจว่าท่านไปดูอะไรมาอยู่แล้ว, เพราะสิ่งใด ที่น่าดูมีอยู่ในเมืองนั้นเท่าไร ( ท่านผู้อ่านซึ่งเป็นฝรั่งเศสก็ย่อมรู้ดิบดี อยู่แล้ว ) ท่านก็ได้ไปดูหมดให้สมกับความประสงค์ของท่านที่อยาก ดูอยากเห็น. วันที่ ๒๔ ท่านราชทูตไปนอนพักอยู่ที่เมืองแซงต์โอแมร์ในมณ ฑลอาร์ตูอาส์ เมืองแซงต์โอแมร์นี้ข้างหนึ่งเป็นเนิน เป็นเครื่องป้อง กันอยู่ในตัว แต่อีกข้างหนึ่งเป็นบึงมีน้ำนองอยู่เสมอ. เดิมท่านสังฆราชแห่งเมืองเทรูอานเป็นคนคิดสร้างขึ้นเป็นเมือง เมื่อคริศตศก ๖๖๐, แล้วต่อมาเมื่อคริศตศก ๘๘๐ ท่านเจ้าอธิการฟุก ผู้ครองพระอารามเดอแซงต์แบร์แตง ก็ได้เริ่มการสร้างกำแพงล้อมแต่ทำไม่สำเร็จ; ต่อมาเมื่อคริศตศก ๙๐๒ ท่านกงต์เดอฟลังดร์ ซึ่งมีนามว่าโบดวงที่ ๒ และมีฉายาว่า " ท่านกงต์ศีร์ษะล้าน " ก็สร้างกำแพงเมืองสำเร็จรอบหมดทั้งเมือง. ครั้นนานต่อมาเมื่อคริศตศก

๒๑ ๑๖๗๗ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔, สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าของพระองค์ ได้ชัยชนะแก่อริราชศัตรูที่เมืองกาแซล์ ; เมืองแซงต์โอแมร์ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของแว่นแคว้นนั้น ก็เลยตกเป็น สิทธิ์แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ อีกด้วย. การรับรองที่เมืองนั้น ก็เป็นที่พอใจของท่านราชทูตเหมือน กับที่เมืองอื่นเหมือนกัน และคำอาณัติที่ท่านเลือกให้สำหรับ คืนที่ท่านอยู่ที่นั้น คือคำนี้ .- " A l ' action on connait le sang" ( อาลักซียง อง กอแนต์เลอซัง ) แปลว่า " สำเนียงบอกภาษา กิริยาบอกสกุล " แต่ถ้าจะหันเข้าหาความตามศัพท์ฝรั่งแปลว่า " กิจการบอกสายโลหิต " คือกิจการกล้าทำสำเร็จได้แต่ผู้ที่มีสาย โลหิตอันแกล้วกล้ามาแต่เดิม ทั้งนี้เพื่อยกย่องสรรเสริญพระเกียรติ ยศและพระเกียรติคุณของสมเด็จพระอนุชาธิราช คราวที่พระองค์ทรงชะนะศัตรูที่เมืองกาแซล์ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เมืองแซงต์โอแมร์นี้ตกมาอยู่ ในอำนาจประเทศฝรั่งเศส. เมื่อท่านราชทูตให้คำอาณัตินั้นท่านยังซ้ำกล่าวชมเชยสมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นอเนกประการ ว่า " คำอาณัติสั้น ๆ เพียงเท่านี้ไม่เพียงพอที่ จะจุคุณความดีของพระองค์ เพราะพระ องค์มิจำเพาะแต่ทรงพระคุณแกล้วกล้าอย่างเดียว พระองค์ทรงพระ เมตตาคุณ, ทรงพระอากัปกิริยาคุณอันลมุลลม่อมน่าจงรักภักดียิ่ง และ เป็นดังนี้ ด้วยสรรพคุณสมบัติซึ่งพระองค์มีอยู่บริบูรณ์ในดวงพระหฤทัย ของพระองค์ ข้าพเจ้ายังจำได้แม่นเพราะได้เห็นปรากฏแก่ตาข้าพเจ้า คราวที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปเฝ้าพระองค์นั้น

๒๒ เย็นวันนั้นเมื่อราชทูตนั่งนรับประทานอาหารได้มีนางผู้ดีมาคอยดู ท่านราชทูตกินเข้ายิ่งกว่าทุกที. กำลังกินเข้าก็มีมะโหรีดนตรีพร้อม ครั้นกินเข้าเสร็จแล้วก็ได้ มีการเต้นรำเป็นเกียรติยศต่อท่านราชทูตนั้น รุ่งขึ้นวันหน้าท่านสังฆราชสองพระองค์ คือพระสังฆราชเมืองแซงต์โอแมร์นั้นเอง และท่านสังฆราชเมืองอิปร์ส์ก็ได้มาเยี่ยมเยียน ราชทูต ๆ ดีใจเหลือที่จะกล่าวที่ท่านผู้น่าเคารพยิ่งอย่างท่านสังฆราช สองพระองค์นี้ยังอุตส่าห์ออกมาเยี่ยมท่านถึงที่พัก. นอกจากท่านสังฆ ราชนี้ ไม่ว่าผู้ใหญ่มีหลักฐานอยู่ในเมืองแซงต์โอแมร์มีอยู่เท่าไร ก็ ควรนับได้ว่าได้ออกมาเยี่ยมท่านราชทูตยังที่พักนั้นแทบทุกคนไม่มีเว้น ครั้นรับเยี่ยมเสร็จแล้วเจ้าพนักงานผู้ประจำรับใช้ราชทูตก็ได้ชวน ท่านราชทูตออกไปดูวัดคาเตดราลของท่านสังฆราชผู้มาเยี่ยมเยียนนั้น. ท่านราชทูตจึงถามว่า.- " เป็นวัดสวยไหม ? " " ไม่สู้สวยกี่มากน้อย " ท่านเจ้าพนักงานตอบ "เพราะเป็นวัดสร้างครั้งโบราณกาลนานมาแล้ว " "ท่านสังฆราชที่ออกมาเยี่ยมเรานี่จะอยู่ที่วัดด้วยหรือไม่ ?" ท่าน ราชทูตซัก. " เห็นทีจะอยู่เป็นแน่ ถ้าท่านรู้ว่าเจ้าคุณไป ท่านคงไปด้วย " " อ๋อ ถ้าอย่างนี้ก็ดีแล้ว ท่านอยู่วัดก็สวย ถึงแม้จะ โบราณคร่ำคร่าสักเท่าใด ถ้าท่านอยู่ด้วยละก็เป็นแห่งที่ควรไปดู " ที่จริงราชทูตทั้งหลายก็ไปและไม่จำเพาะแต่องค์พระสังฆราชออกมาอยู่ต้อนรับเท่านั้น พระสงฆ์อันดับซึ่งประจำอยู่โบสถ์นั้น ก็ออก มาต้อนรับอยู่ด้วยกันพร้อม ไม่มีขาดสักองค์เดียว.

๒๓ ครั้นออกจากวัดท่านสังฆราชแล้ว ท่านราชทูตได้ไปดูพระอา รามใหญ่อีกแห่งหนึ่ง เรียกว่าพระอารามเดอแซงต์แบร์แตง. เมื่อ ท่านราชทูตเห็นพระอารามนั้นท่านก็แสดงความพิศวงว่า .- " แหม, วัดนี้ใหญ่จริง " ที่ท่านราชทูตแสดงความพิศวงนี้ มิใช่การแปลก อะไรมิได้ เพราะเป็นความจริง วัดวาอารามที่จะมีขนาดใหญ่กว้าง เท่าพระอารามนี้ไม่ว่าที่ไหนเมืองไหนก็ย่อมเป็นของหายากนัก. นอก จากวัดนี้ท่านราชทูตได้ออกไปดูเข้าของในเมืองตามเคย ครั้นพอท่านกลับถึงที่พักก็มีผู้หลักผู้ใหญ่ทุกตำแหน่งที่มีอยู่ในเมืองนั้นได้พากันออก มาเยี่ยมท่าน. การเลี้ยงดูราชทูตก็เป็นไปตามระเบียบธรรมดา คือมี นางผู้ดีมานั่งดูด้วยเป็นอันมาก. วันต่อไปคณะบาดหลวงเยซวิตใน เมืองนั้นก็ได้เชิญท่านไปรับเลี้ยงที่พระอาราม เหมือนที่เคยทำในเมือง อื่น. เย็นวันนั้นเมื่อท่านผู้บังคับการทหารมาขอคำอาณัติ ซึ่งเกิดขึ้น เป็นธรรมเนียมแล้วไม่ว่าพักที่ไหน ท่านราชทูตเป็นต้องคิดออกให้ เสมอ, ท่านราชทูตออกคำอาณัติว่า- " MagnifiQue en toui . (มาญี ฟิก อังตูต์ ) แปลว่างามอัศจรรย์หมด เหตุซึ่งบันดาลให้คำนี้มาถูก เลือกเป็นคำอาณัติได้ก็เพราะราชทูตรู้สึกว่า การรับรองของท่าน รูส์เซต์ ผู้บังคับการอยู่ในเมืองนั้น ไม่ว่าทำอะไรอันเกี่ยวกับการ รับรองราชทูตมีเลี้ยงอาหารเป็นต้น ก็จัดการอย่างงามอัศจรรย์ใจ ทุกอย่างทุกประการ. เพราะฉะนั้นบรรดาคนที่ได้เห็นการรับรองท่าน เมื่อได้ทราบคำอาณัติสัญญาของท่านราชทูตจึงไม่ต้องคิดนานนัก พอ

๒๔ ได้ยินก็รู้สึกได้ทันทีว่าเป็นเพราะเหตุใด ท่านราชทูตจึงได้สรรค์เอาคำ ชะนิดนี้มาตั้งเป็นคำอาณัติ. พอดูเมืองเสร็จแล้ว รุ่งขึ้นคณะราชทูตก็ลาออกจากเมืองนั้น ดำเนิรทางต่อไปอีก. ตอนออกจากเมืองก็มีพวกทหารแห่แหน ส่ง เหมือนกับต้อนรับเมื่อขาเข้าเหมือนกัน.

บทที่ ๕๓ ราชทูตเยี่ยมเมืองกาแลส์ วันที่ราชทูตออกจากเมืองแซงต์โอแมร์นั้น ท่านได้ไปพักและ กินกลางวันที่เมืองย่อม ๆ ชื่อเรอคูชซึ่งอยู่ตามทางไปเมืองท่าสำคัญ เมืองหนึ่ง ซึ่งท่านราชทูตมุ่งจะไปต่อ เรียกว่าเมืองกาแลส์, เมืองนี้ก็เป็นเมืองท่าอันสำคัญสำหรับ จะเชื่อมเขตต์แดนเมืองอังกฤษ ให้ติดต่อกับประเทศฝรั่งเศสทางทะเลฝ่ายเหนือ, เมืองกาแลส์นี้ เป็นเมืองที่งดงาม, ถนนหนทางเรียบร้อยมาก, มีผู้คนแน่นหนา, ทั้งตึกรามที่งาม ๆ ก็มีมาก. เมืองกาแลส์นี้ แต่ไหนแต่ไรมาเป็นท่าอันแข็งแรงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศสหวงแหนมาก แต่ถึงกระนั้น เมื่อปี คริศตศักราช ๑๓๔๗ พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษทรงพระนามว่า พระเจ้า เอ็ดวร์ดที่ ๓ ก็ได้ให้กองทัพมาล้อมเมืองกาแลส์นั้นไว้ตั้งปี เมือง กาแลส์ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่อังกฤษ แต่นานไปสะเบียงอาหารขัดสนลง


๒๕ ผู้คนตายลงทุกวันค่าที่อดอาหารไม่มีอะไรจะกิน เจ้าเมืองเห็นจะสู้ ต่อไปอีกไม่ได้ก็ออกมาเฝ้าพระเจ้าเอ็ดวร์ด ยอมอ่อนน้อมให้อังกฤษ เข้าเมืองได้ แต่อาศัยเหตุที่อังกฤษต้องล้อมเมืองอยู่ ช้านานเสีย สินทรัพย์และผู้คนเป็นอันมาก พระเจ้าแผ่ดินอังกฤษก็ยังไม่หายพระพิโรธ ดำรัสสั่งว่าจะเผาเมืองให้พินาสและจะจับพลเมืองทั้งสิ้นมาฆ่าเสีย เจ้าเมืองทูลวิงวอนแล้ววิงวอนเล่าว่าจะยกเมืองให้ ขอแต่พลเมืองอย่าให้เป็นอันตราย ถ้าพระองค์ไม่ทรงพอพระทัยเลี้ยงเป็นพลเมืองของพระองค์ เพราะเขาเป็นฝรั่งเศสชาติศัตรู เจ้าเมืองยังรับว่าจะอพยพครอบครัว ไปในเขตต์แดนฝรั่งเศสเสียให้หมด ไม่ให้มีเหลือเป็นที่บาดพระเนตรสักคนเดียว. พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษก็ยังไม่ทรงยินยอม กลับทรงพระพิโรธหนักขึ้น ว่าจะไม่ให้ออกไปได้สักคนเดียวเป็นอันขาด. ครั้นเฝ้าวิงวอนนานเข้า พระเจ้าแผ่นดินทรงผ่อนโทษชาวเมืองกาแลส์ว่า แม้จะไม่ห่าหมดทั้งเมืองก็จะต้องฆ่าคฤหบดีผู้ใหญ่เสีย ๖ คน. เจ้าเมืองก็ต้องยอม. พอเจ้าเมืองนำข่าวร้ายนั้นมาแจ้งให้ชาวเมืองกาแลส์ทราบแทนที่ชาวเมืองจะร่ำร้องไห้เสียดายชีวิต ต่างคนต่างสมัครตาย แทน เพื่อนบ้านเมืองเดียวกัน นับแต่ท่านเออสตาช เดอ แซงต์เปียร ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่สุดลงมา จนเจ้าเมืองไม่ทราบว่าจะให้ใครไป ต้อง จับฉลากกัน เพราะต่างไม่ยอมที่จะให้ผู้อื่นไปตายแทนตน. รุ่งขึ้น ท่านเออสตาชเดอแซงต์เปียรกับเพื่อนผู้ใหญ่ที่สูงอายุ อีก ๕ นายก็ใส่เสื้อยาวคลุมตัวแต่คอลงไปถึงเท้า, ที่รอบคอมีเชือกผูกเป็นบ่วงอยู่ ๔ ๒๖ แล้วก็พร้อมกันออกไปเฝ้าพระเจ้าเอ็ดวร์ด ทูลถวายกุญแจเมือง และชีวิตของตนเพื่ออุททิศให้ชาวบ้านผู้เป็นเพื่อนด้วยกัน. พอพระเจ้าเอ็ดวร์ดทรงเห็นกิริยาอาการของท่านผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ทั้ง ๖ นายนั้นก็ยิ่งทรงกริ่วขึ้นมาทันที ทรงโบกพระหัตถ์ เรียก เพ็ชฌฆาฏให้ลงมือฆ่าต่อหน้าที่นั่งในบัดเดี๋ยวนั้น. ขุนนางข้าราช การฝ่ายอังกฤษเห็นดังนั้นต่างสงสารน้ำตาไหล ทูลวิงวอนขอให้ ทรงผ่อนโทษท่านผู้ใหญ่ ๖ นายนั้นบ้าง อย่าให้ถึงแก่ชีวิต, พระองค์ ก็ไม่ทรงยินยอม ทรงกระทืบพระบาทว่า .- " เร็ว ๆ เข้าฆ่าให้มันตายเสียเดี๋ยวนี้ " ข้าราชการแลราชบริพารก็ไม่กล้าทูลคัดค้านอีก, ตกลงเขาจะฆ่าให้ตาย, แต่เผอิญก่อนที่เพ็ชฌฆาฏจะลงดาพนั้น พระมเหษีของพระเจ้าเอ็ดวร์ดเสด็จเข้ามาถึง ก็คุกเข่าลงแทบพระบาทของพระเจ้าเอ็ดวร์ดทรงพระกรรแสง ขอมิให้ฆ่าพลเมืองดี ๆ ซึ่ง รักชาติบ้านเมืองของตนถึงเพียงนี้, ในขณะนี้พระเจ้าเอ็ดวร์ดมีพระอาการตลึงไปเป็นครู่, พระมเหษีเห็นได้ท่วงทีก็ยิ่งทูลขอโทษด้วย ความร้อนรนยิ่งขึ้น, ไม่ช้าพระเจ้าเอ็ดวร์ดก็ทรงพระกรุณาโปรด ยอมตามคำวิงวอนของพระนางนั้น แต่ตรัสกับพระมหเหษีโดยไม่พอพระทัยว่า.- " เมื่อจะเอาเขาไปก็เอาไปเถอะ, อย่าร่ำไร, แต่ความจริงถ้าเจ้าไม่อยู่ในเวลานี้ก็จะดีมาก " ตรัสเท่านี้ก็ทรงพระกรุณาโปรด ให้ปล่อยคฤหบดีผู้ใหญ่ ๖ นายนั้นให้กลับไปบ้านตามชอบใจ แต่ ก็มีผลร้ายเท่ากันสำหรับประเทศฝรั่งเศส คือพระองค์เสด็จเข้าไป ในเมืองกาแลส์ในขณะนั้น. แล้วแต่นั้นมาถึงคริศตศักราช ๑๕๕๘

๒๗ คือในราว ๒๐๐ ปีเศษ เมืองกาแลส์นั้นก็ได้ตกอยู่ในอำนาจอังกฤษตลอดมา จนเกิดมีนักรบฝรั่งเศสผู้ ๑ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพิชัยสงคราม เรียกว่า เลอ ดึกเดอคีส ก็ได้กระทำยุทธสงครามกับ อังกฤษจนชะนะได้เมืองกาแลส์คืน, นับว่าเป็ยบุญอันประเสริฐยิ่งสำหรับประเทศฝรั่งเศส ค่าที่เมืองกาแลส์นั้นเป็นเมืองท่า อยู่ตรง ปากช่องทะเลระวางอังกฤษและฝรั่งเศส ถ้าประเทศใดได้ไว้ใน อำนาจก็เป็นเหมือนได้กุญแจทะเลนั้นไว้ก็ว่าได้. ระวางเวลาที่ฝรั่งเศสเสียเมืองกาแลส์แก่อังกฤษนั้น ประเทศฝรั่งเศสเป็นเหมือนหนึ่งว่า มีเสี้ยมหนามยอกอยู่ที่สีข้างจะทำอะไรไม่ถนัด และมิหนำซ้ำยัง เป็นทางเปิดโอกาสให้อังกฤษรุกเข้ามาเมืองฝรั่งเศสได้ทุกเวลาด้วย. เมอท่านราชทูตดำเนิรทางมาถึงประตูเมืองกาแลส์นั้น ท่านผู้บังคับการทหารก็ออกมาต้อนรับอยู่ที่นั่น แล้วก็ได้นำท่านมายังที่พักตลอดหนทางทหารยืนรายทาง และตามโรงทหารและป้อมทั้งหลาย ก็ยิงปืนใหญ่ตามธรรมเนียม. เมื่อถึงที่พักสักครู่บรรดาข้าราชการผู้ ใหญ่ในเมืองกาแลส์ก็ออกมาคำนับท่านราชทูและนำสิ่งของต่าง ๆ มาเป็นของกำนัลไว้ในนามของเมืองกาแลส์ พอคำนับรับรองกระทำความค้นเคยซึ่งกันและกันแล้ว ท่านผู้บังคับการทหารขอคำอาณัติอีกตามที่เคยเป็นมาในเมืองอื่น. ท่านอัครราชทูตทราบว่าท่านผู้บังคับการคนนี้ไม่หลงกลอุบายของข้าศึกได้ง่าย ๆ เพราะปรากฏว่าตั้งแต่ท่านมาอยู่ รับหน้าที่รักษาเมืองกาแลส์นี้ ข้าศึกได้มาล่อลวงเป็นอเนกานุประ การแต่ก็ไม่สำเร็จสักที, ท่านผู้บังคับการรู้เท่าถึงการณ์ทุกที เพราะ

๒๘ ท่านมีไหวพริบดีในทำนองกลอุบายของข้าศึกที่มา และท่านมิจำเพาะ แต่รู้เท่าถึงการณ์เท่านั้น ท่านยังกลับเอากลซ้อนกลอีกก็มิใช่น้อยหน เพราะฉะนั้นท่านอัครราชทูตจึงเลยเอาการเฉลียวฉลาดของท่านนี้ ตั้ง เป็นอาณัติกติกาว่า:- " Ou la Valeur re'siste, la ruse sueeombe " ( อู ลา วาเลอร์ เรสิสต์, ลา รืสสึกกงป์ ) แปลใกล้เคียงกับความเดิมก็ว่าไหวพริบดีตีกลแตก.

บทที่ ๕๔ ราชทูตถึงเมืองดึงแกร์ก. ถัดจากเมืองกาแลส์แล้ว. ราชทูตไทยได้ไปดูเมืองดึงแกร์กซึ่งเป็นเมืองท่าเรือสำคัญเหมือนกัน. เมื่อเที่ยวดูเมืองเสร็จแล้วท่านอัครราชทูตออกปากสรรเสริญท่านเมครง ซึ่งเป็นผู้บังคับการในเมืองนั้นว่า ป้อมประตูหอรบและโรงทหารซึ่งท่านมีหน้าที่ดูแลรักษานี้ข้าพเจ้าขอออกปากสรรเสริญว่าสะอาดสะอ้านที่สุด. แม้สวนอุทยานหรือสนามหน้าพระลาน หน้าวังเจ้านายใหญ่โตกระบวนความสะอาดแล้วก็แพ้สนามทหารของท่านนี้แทบทุกแห่ง ที่ไหนจะหาสนามและ ตึกโรงร้านที่สะอาดเหมือนโรงทหารของท่านนี้ก็หายาก คำสรรเสริญของท่านราชทูตนี้ ถ้าจะคิดดูให้ซึ่งหน่อยก็หาใช่ เป็นที่สรรเสริญจำเพาะความสะอาดในป้อมและโรงทหารเท่านั้น แท้ จริงก็เป็นคำสรรเสริญ ถึงองค์แห่งความสามารถของท่านเมครงอีกชั้น


๒๙ หนึ่งด้วย เพราะว่าธรรมดาผู้ที่รับหน้าที่รักษาความสะอาดในที่อันกว้าง ขวางซึ่งมีผู้อาศัยมากมายเหมือนที่โรงทหารเมืองดึงแกร์กนี้แล้วได้บัง คับบัญชาให้เป็นไปจนสำเร็จโดยเรียบร้อยได้ ก็เป็นพะยานให้ทราบอยู่ในตัวว่าท่านผู้บังคับการเป็นคนสามารถ พูดอะไรก็เป็นดังนั้นทีเดียวแปลว่าเป็นผู้มีวาจาศักดิสิทธิ์ประจำอยู่ในตัว มิฉะนั้นเมื่อผู้บังคับไม่ อยู่ที่ไหนพนักงานเหล่านั้นจะทำการตามหน้าที่เล่า คงเป็นไปไม่ได้อยู่ เอง เพราะเหตุนี้คนที่อาจให้คนในบังคับของตนรักษาวินัย, รักษาระเบียบโดยเคร่งครัดเช่นการรักษาความสะอาดเป็นต้น ต้องเป็นผู้มีคุณวุฑฒิสามารถเช่นท่านเมครงนี้ จึงจะเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา ผู้อื่นได้ เมื่อลาท่านผู้บังคับการแล้ว ท่านราชทูตทั้งหลายก็ได้ออกไปเที่ยวดูเมืองพร้อมกับท่านเดอแวร์เยร์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลการก่อสร้างตึก รามหลวงในเมืองนั้น และท่านผู้นี้มีคุณวุฑฒิสำหรับอธิบายของที่ ผู้อื่นไม่รู้ให้รู้เข้าใจง่ายอย่างหาผู้เสมออยากนัก. เช่นท่านราชทูต สยามนี้ก็ยังไม่รู้ชำนาญในภาษาฝรั่งเศสนัก ส่วนท่านเดอแวร์เยร์ เล่า แม้แต่คำไทยคำเดียวก็ไม่รู้จัก แต่ถึงกระนั้นอาศัยอุปนิสสัยพิเศษของท่านสำหรับอธิบายของยากให้เป็นง่าย ท่านได้อธิบายเรื่องก่อสร้างให้ท่านราชทูตฟังอย่างกระจ่างแจ่มแจ้งสนิทสนมราวกับ เป็นชาติเดียวภาษาเดียวกันก็ว่าได้ ท่านราชทูตชอบใจนายช่างคนนี้จนติด ใจทิ้งกันไม่ได้ ไปไหนไปด้วยกันเสมอ และท่านราชทูตว่าอยากจะ


๓๐ เอาตัวไปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามให้จงได้ เพราะนาย ช่างวิเศษชะนิดนี้ในเมืองสยามกำลังต้องการนัก. อย่างไรก็ดี ตลอดเวลาที่ราชทูตอยู่ที่เมืองดังแกร์กนั้น นายช่างคนนี้ก็ประจำอยู่กับท่านเสมอ และชั้นที่สุดเมื่อถึงเวลาจะออกจากเมืองไปเมืองอิปร์ส์ต่อไป ราชทูตยังชวนท่านนายช่างนั้น ให้ติดกระบวนมาส่งถึงเมืองแบร์คด้วย นายช่างก็ไป แล้วตอนเมื่อจะกระทำการอำลานั้น ท่านราชทูตกล่าว ว่า " ข้าพเจ้าขอบใจท่านเป็นอันมาก เหลือที่ข้าพเจ้าสามารถจะ หาคำมาแสดงให้เห็นจริง เพราะท่านอธิบายล้วนแต่ฟังง่าย, เข้าใจได้ทุกอย่างพิเศษกว่าคนทั้งหลาย ที่เคยพบเคยเห็นมาหนักต่อหนัก แล้วในชีวิตของข้าพเจ้า แม้ที่สุดท่านจะไม่พูดเพียงแต่ทำท่าทางมือไม้ให้ดูเท่านั้นก็ยังรู้เรื่องกันง่าย กว่าผู้อื่นซึ่งอธิบายด้วยปากจนหมดพุงเสียอีก." เมื่อท่านราชทูตได้ดูของในเมืองที่มีอยู่บนบก ท่านปาตูเลต์ ซึ่งเป็นพนักงานบังคับการฝ่ายทะเลสำหรับเมืองดึงแกร์กนั้น ก็ได้มาเชื้อเชิญท่านราชทูตให้ไปดูเรือแพทั้งอู่ประตูน้ำ ซึ่งอยู่ในบัญชาของ ท่าน ท่านปาตูเลต์กล่าวกับท่านราชทูตว่า :- " เชิญเจ้าคุณราชทูตมา เถิดเห็นทีเจ้าคุณคงชอบ บัดนี้ข้าพเจ้าได้เตรียมการไว้คอยรับเจ้าคุณเสร็จแล้ว ประตูน้ำและอู่ก็เตรียมครบบริบูรณ์อยู่แล้ว เพียงแต่จะขันสกรูออกนิดเดียวก็สำเร็จ เชิญเจ้าคุณมาเถิด บัดเดี๋ยวเดียว เจ้าคุณจะได้รู้เห็นสิ่งที่น่ารู้น่าเห็นเป็นอันมาก และโดยไม่เปลือง


๓๑ แรงคิดเพราะเห็นกับตา, ทั้งไม่เปลืองเวลาดูเพราะอาจให้แล้วงานที่ควรดูรู้เห็นในพริบตาเดียวก็ว่าได้เชิญมาเถิด " เจ้าคุณอัครราชทูตจึงซักถามทันทีว่า :- " อู่แพประตูท่าเหล่านี้เป็นของสร้างแต่โบราณหรือพึ่งมีขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ นี้ ? " " ของโบราณก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน, แต่โดยมากเป็นของประดิษฐขึ้นใหม่ในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ นี้เป็นพื้น " " อ๋อ ถ้าอย่างนี้แล้วก็จำเป็นจะต้องไป ที่ใดมีสิ่งซึ่งสร้างขึ้น มาโดยรับสั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินปัจจุบันแล้วไม่มีปัญหาเป็นต้องไปดูทั้งนั้น เพราะรู้ล่วงหน้าว่าเป็นจองประเสริฐน่าชมเชย อย่า ว่าแต่จะต้องเสียเวลาดูอยู่เพียงครู่เดียวเลย ถ้าเป็นของน่าดูคู่บารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์มหาราชเจ้าแล้ว ถึงจะต้องอยู่ดูแลตั้ง คืนตั้งวันก็ยินดีไปดูทั้งคืนทั้งวันไม่นึกเสียดายเวลาสักนิดเดียว " พอท่านปาตูเลต์เห็นน้ำใจของท่านราชทูตเป็นดังนี้ แล้วท่านก็พูดว่า :- " ถ้าเจ้าคุณไม่รังเกียจ จะไปเดี๋ยวนี้ก็ได้เพราะรถเครื่องพาหนะสำหรับรับท่านราชทูต อุปทูต ตรีทูต ข้าพเจ้าได้เตรียมสำ รองไว้พร้อมสรรพแล้ว กำลังคอยท่าท่านอยู่หน้าบ้านนี้เอง เจ้าคุณ ว่าอย่างไร  ? " " ไปเดี๋ยวนี้ก็ไปท่าน ดีเหมือนกัน " ว่าแล้วต่างก็ชวนกัน ไปขึ้นรถขับไปยังท่าเมืองดึงแกร์ก. พอรถจอดที่ริมประตูประตูน้ำ, ท่าน ๓๒ ปาตูเลต์ให้เปิดประตูน้ำทันที. ในไม่ทันไรอู่ก็เต็มไปด้วยน้ำเป็นที่ น่าพิศวง, ท่านราชทูตจึงกล่าวว่า.- " ตราบใดที่ท่านรักษาประตูน้ำ เหล่านี้ดี, ตราบนั้นข้าพเจ้ารับรองได้ว่าอู่เมืองดึงแกร์กจะไม่มีวัน เสื่อมลงเป็นแน่ , มีแต่จะเจริญขึ้นส่วนเดียว " พอดูประตูน้ำเสร็จแล้ว ท่านปาตูเลย์ก็พาราชทูตานุทูตไปยังอู่พิเศษ ซึ่งพึ่งสร้างขึ้นใหม่สำหรับจอดเรือหลวง อู่นี้นับว่าเป็น ชิ้นหนึ่งในบรรดาของประเสริฐที่เกิดกับสำหรับพระบารมี พระบาท สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔. พอดูอู่เสร็จก็ได้ไปอู่ต่อเรือกำปั่น ใหญ่ด้วย ล้วนเป็นที่ถูกใจราชทูตทั้งนั้น บทที่ ๕๕ ราชทูตไปดูอู่เมืองตูร์เนย์. ครึ่งทางจากเมืองดึงแกร์กไปเมืองตูรเนย์ ราชทูตได้พักกลางทางที่เมืองแบร์ค. เรื่องรับรองและไปดูวัดดูวาดูป้อม ขอยกไม่กล่าว เลยเพราะเป็นไปตามเคย, ครั้นถึงวันที่ ๖ ราชทูตมาถึงเมือง ตูร์เนย์ (ซึ่งในเวลานั้นเป็นของประเทศฝรั่งเศส แต่ทุกวันนี้เป็นของเมืองแบลเยี่ยมเสียแล้ว.) เมืองตูร์เนย์นี้เป็นเมืองแข็งแรงในทาง ศึก มีชาโตหรือป้อมโบราณอย่างใหญ่แน่นหนานัยว่าคนชาติอังกฤษได้มาสร้างไว้แต่ครั้งโบราณ. การเข้าเมืองของราชทูต ได้เป็นไปด้วยเต็มเกียรติยศแก่ราชทูตเมืองใหญ่จะได้รับ กล่าวคือข้างในเมืองได้ยิงปืนใหญ่สลุตถึง ๒๐ นัดและทหารก็ยืนรายทางสองข้างถนนแต่ประตูเมืองถึงที่พักของราชทูต.

๓๓ พอกระบวนแห่ราชทูตมายังที่พักแล้ว ท่านกงต์เดอโมเล- เวรียร์ ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองในจังหวัดตูร์เนย์นั้น ก็ได้พาข้าราช การมาคำนับท่านราชทูต และท่านเดอสึร์มง ได้ออกมาข้างหน้าคำนับราชทูตแล้วกล่าวคำต้อนรับแทนข้าราชการผู้อื่นว่า .- " ท่านอัครราชทูต นานมาแล้วข้าพเจ้าเคยได้ยินว่าพระเจ้าแผ่นดินเมืองสยามเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งมีพระอภินิหารอัศจรรย์ยิ่งนัก ว่าพระองค์ทรงปกครอง พลเมืองของพระองค์ด้วยคุณธรรมอันมหาประเสริฐ วันนี้ข้าพเจ้าเห็น สมจริงดังคำที่เขาเล่าลือแล้ว โดยที่เห็นพระองค์ไม่ย่อท้อต่อความ ลำบาก ทรงพระอุตสาหะส่งเจ้าคุณมาให้สอดส่องกิจการในเมืองต่างประเทศ มีประเทศฝรั่งเศสนี้เป็นต้น เพื่อเจ้าคุณจะได้นำเอาแสงสว่างคือระเบียบแห่งการปกครองพลเมืองให้เป็นสุขของเมืองนี้ ไปกราบทูลให้พระองค์ทรงแลเห็นทางเจริญยิ่ง และเอาเยี่ยงอย่างอันงามจากความสังเกตเห็นของเจ้าคุณ. ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้สึกปีติยิ่ง ในการที่เจ้าคุณได้เดิรทางทะเลไกลจากบุรพทิศถึงเมืองนี้ โดยปราศ จากภัยอันตราย และข้าพเจ้าขอร่วมใจยินดีกับพระเจ้ากรุงสยามที่เห็น ผลแห่งความเพียรพยายามของพระองค์ อุบัติมีผลสำเร็จสมตามพระ ราชประสงค์ทุกประการอยู่แล้ว. ข้าพเจ้าทั้งหลายขอโมทนาคุณพระผู้เป็นเจ้าทรงพระกรุณาโปรดบันดาลให้พระเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงปรารถนาที่จะผูกสัมพันธมิตรไมตรีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส ซึ่งทรงประกอบ ด้วยเดชานุภาพและทรงประกอบไปด้วยพระเมตตาธิคุณและปรีชาญาณ ๕ ๓๔ อันประเสริฐยิ่งอย่างมหัศจรรย์สำหรับทำให้บรรดาล พลเมือง ในพระ ราชอาณาจักรของพระองค์ก็ดี นอกพระราชอาณาจักรก็ดี มีความ ผาสุกกันทั่วไปในเหล่าประเทศยุโรปในยุคสมัยของพระองค์นี้. สักขีพะยานแห่งพระเมตตาคุณของพระองค์อันหนึ่ง คือความพยายามของพระองค์ในการที่จะทรงชักชวนพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามให้เลื่อมใสในศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ยิ่งในสากลโลก ให้พระเจ้ากรุงสยามเสวยผาสุกในพระทัยดุจเดียวกับชาวชนพลเมืองคริศตังทั้งหลายผู้มีความจงรักภักดีเลื่อมใสในองค์พระผู้เป็นเจ้านั้น. " พอกล่าวดังนี้แล้ว ท่านเดอสึร์มง นำของกำนัลให้ท่านราช ทูตในนามของเมืองตูร์เนย์ คือขวดเหล้าองุ่นเก่าต่าง ๆ ๑๐ ขวด แล้วท่านก็คำนับ และถอยออกมาให้ห่างในที่อันควรแห่งหนึ่งพร้อมด้วยข้าราชการอื่น ๆ. ท่านอัครราชทูตจึงกล่าวตอบไปว่า.- " ท่านทั้งหลาย พระ บาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ทรงพระราชประสงค์จะกระทำมิตรไมตรี กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส จึงได้ให้ข้าพเจ้าราชทูตา นุทูตมาเจริญทางพระราชไมตรีให้สนิทสนม กเป็นพระเดชพระคุณ อันล้นพ้น ฝ่ายข้างหนึ่ง แต่ว่าการต้อนรับของพระบาทสมเด็จพระ เจ้ากรุงฝรั่งเศสก็เต็มไปด้วย พระเมตตากรุณาเหลือล้นเหมือนกัน การที่จะเตรียมทางทำมิตรไมตรี จึงเป็นการสะดวกสบายแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลาย ไม่ต้องหนักอกหนักใจอะไร กลับเป็นเกียรติยศและขวัญ หูขวัญตาอย่างพิเศษพิสดารอีกส่วนหนึ่งด้วย เช่นที่เมืองตูร์เนย์นี้ ๓๕ เป็นต้น การต้อนรับของท่านก็เป็นที่เชื่อมไมตรีจิตต์ในระวางกัน และกันอย่างสนิทเสน่หา, ข้าพเจ้าจึงขอแสดงความขอบพระคุณของ ท่านทั้งหลายในโอกาสนี้ด้วยเทอญ. " พอราชทูตพูดแสดงความขอบใจเสร็จแล้ว บรรดาข้าราชการ ทั้งหลายต่างก็ลากลับบ้าน., แต่ก่อนที่จะกลับท่านกงต์เดอโมเลเวรียร์ขอท่านอัครราชทูตคิดคำอาณัติศุภฤกษ์ให้ทหารสำหรับคืนนั้น ท่านอัครราชทูตดูไปดูมา ตรงหน้าท่านกงต์สักครู่หนึ่งแล้วก็ให้อาณัติเป็นเชิงปฤษณาว่า.- " Aussi belleque brave " ( โอซี แบล์ เกอ บร๊าฟ ) หมายความถึงตัวท่านกงต์เองว่า ดวงหน้าก็งามและใจก็แกล้วกล้า แต่ถ้าจะรัดความไทย ให้เข้าหาความฝรั่งตามวิธีผูกประโยคก็ควรว่า " งามเท่ากล้า " เวลาบ่าย ๕ นาฬิกาท่านสังฆราชเมืองตูร์เนย์ กับท่านเดอแมครี นี ผู้บังคับการในป้อมค่ายก็ได้ไปหาท่านราชทูตยังที่พักแล้ว พอเวลา ย่ำค่ำที่ศาลากลางได้จัดการจุดดอกไม้ไฟ เพื่อเป็นการรื่นเริงในการที่ท่านราชทูตมาถึง เครื่องร้านที่ตั้งดอกไม้นั้นสูงราว ๔ - ๕ เมตร, กินเนื้อที่ ๘ เมตร์สี่เหลี่ยมจตุรัส ที่ตรงกลางมีรูปช้างอยู่ ๒ รูปตั้งอยู่ บนฐานสูง , และในระวางช้างนั้นมีรูปดวงพระอาทิตย์ส่องรัศมีไปทั่วทุกทิศ. นอกนั้นตามรอบตัวช้างก็ดี ตามบริเวณรอบดวงอาทิตย์ก็ดี ยังประดับด้วยคำอวยพรชัยแก่พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระนคร. คำอำนวยพรพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ติดอยู่ในบริเวณดวงอาทิตย์ซึ่งเป็น เครื่องหมายพระองค์, และคำอำนวยพรถวายแด่พระเจ้ากรุงสยาม ก็ติดอยู่กับรูปช้าง ซึ่งเป็นเครื่องหมายของชาติสยาม. ๓๖ ตอนเมอจะเขียนคำอำนวยพรชัยนี้ ได้เกิดเป็นปัญหาขลุกขลัก อยู่สักหน่อย ข้าพเจ้าจะขอเล่าให้ท่านทราบบ้าง. คือตามธรรมดา เมืองฝรั่งเวลาจะโห่ถวายชัยก็ดี, จะเขียนคำอำนวยพรถวายก็ดี, มัก ไม่จำเพาะแต่ร้อง ไชโย หรือเขียน " ขอให้ทรงพระเจริญ " เฉย ๆ เหมือนในเมืองไทย มักเพิ่มร้องออกพระนามเช่นมักจะร้องว่า.- " วิฟ เลอ รูอาหลุยส์ เลอครังด์ " คือ แปลว่า " ขอให้พระเจ้ากลุยส์มหา ราชเจ้าทรงพระเจริญ " ดังนี้เป็นต้น. เมื่อเจ้าพนักงานจัดดอกไม้ไฟ เขียนคำอำนวยพรชัย สำหรับสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ก็ไม่มีปัญหาเขียนกันง่าย, แต่ครั้นมาถึงอำนวยพรสำหรับสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม จึงได้เกิดเรื่องขึ้น. เจ้าพนักงานไม่รู้ในขนบธรรมเนียมเมืองไทยก็ ถามท่านราชทูตว่า.- " จะเขียนพระนามพระเจ้ากรุงสยามอย่างไรดี เจ้าคุณ? " ท่านราชทูตตอบว่า .- "เขียนพระนามไม่ได้. พระนามของ พระองค์ชาวไทยเราไม่เรียก. ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ลงจึงจะเรียก ถ้า เมื่อพระองค์ยังดำรงพระชนม์อยู่ไม่มีใครเรียก. หรือจะว่าไม่มีใครรู้ จักพระนามก็ว่าได้. ที่เมืองไทยไม่มีธรรมเนียมระบุพระนามของพระ เจ้าแผ่นดิน" พอทราบธรรมเนียมกันเจ้าพนักงานก็เขียนคำอำนวยพรชัยอย่างกลาง ๆ ว่า " อุททิศถวายพระเจ้าแผ่นดินสยาม " ก็หมดปัญหาเรื่องพระนามพระเจ้าแผ่นดินเท่านี้ แต่ทำให้ชาวฝรั่งเศสแปลกใจมิใช่น้อย ที่ชาวเมืองไทยไม่รู้จักพระนามของพระเจ้าแผ่นดินแห่งตน. ขอกลับกล่าวถึงเรื่องจุดดอกไม้ไฟอีกหน่อยหนึ่งว่า พอถึงเวลาเจ้าพนักงานก็เอาชะนวนจุดดอกไม้ไฟให้ราชทูตดู ก็เป็นที่พอใจของ ๓๗ ท่านทุกอย่าง แต่สิ่งที่พอใจมากก็ช้างกับดวงอาทิตย์นั้น; คือธรรมดอกไม้ไฟจุดแล้วก็ลุกเป็นแสงเพลิงสีต่าง ๆ แล้วก็ดับ ส่วนตัวช้างสองตัวกับดวงอาทิตย์ ที่อยู่ตรงกลางไฟนั้นลุกส่องแสง รุ่งโรจน์ชัชวาลอยู่เสมอ ไม่มีดับเหมือนดอกไม้อื่นที่จุดแซม ที่เป็น ดังนี้ ก็เพราะเจ้าพนักงานใช้ชันกับน้ำมันดินชะนิดหนึ่งจึงทนไฟอยู่ได้นานไม่ไหม้ เขากะให้จำเพาะมาดับเอาเมื่อเวลาที่เล่นงานมหรศพ เสร็จแล้ว ดอกไม้อื่นบัดเดี๋ยวลุก บัดเดี๋ยวดับ แต่ช้างกับดวงอา ทิตย์นั้นยืนแผ่รัศมีอยู่ตรงกลางเสมอ. ครั้นเล่นดอกไม้ไฟแล้วท่านราชทูตไปสังเกตเครื่องสูบน้ำ ๔ สูบซึ่งมีอยู่ในที่นั้นก็ซักถามเจ้าพนักงานว่า.- " นี่เป็นเครื่องอะไรกัน ? " เจ้าพนักงานตอบว่า .- " เครื่องนี้เป็นเครื่องสำหรับน้ำเตรียมไว้ล่วง หน้า เพื่อหากว่าจะเกิดอัคคีภัยขึ้นเมื่อใดจะได้พ่นน้ำดับไฟนั้นเสียทันท่วงที ไม่ต้องเกิดอันตราย " ท่านราชทูตยังไม่คุ้นเคยกับเครื่องสูบน้ำ ชะนิดนั้น จึงขอให้เข้าพนักงานได้โปรดเปิดสูบทดลองให้ดู เจ้าพนัก งานก็ยินดีสูบให้ดู แต่เพราะเหตุที่มีคนมาดูออกหนาแน่นล้นหลาม ถนนรนแคมจะสูบเฉย ๆ ไม่ให้ถูกใครไม่ได้อยู่เอง ก็เลยเกิดเป็น การสนุกพิเศษอีกชั้นหนึ่ง ต่อเมื่อแลเห็นบรรดาคนที่มาดูต่างถูกสาย น้ำสูบฉีดเข้าหู้เข้าตา ต่างวิ่งตัวเปียกเอาตัวรอดคนละข้างสองข้างเป็นอลหม่าน พอสูบน้ำให้ดูแล้วท่านตรีทูตก็ลุกจากที่นั่งอยู่เพื่อไปดู เครื่องสูบใกล้ ๆ ให้รู้ว่าเป็นเครื่องชะนิดไรแน่ แล้วพอได้เวลา หมดเรื่องไฟเรื่องน้ำต่างก็ลากลับบ้าน.

๓๘ เย็นวันนั้น ในราว ๗นาฬิกาท่านอัครราชทูตได้ให้ไปเชิญบุตรชายของท่านกงต์เดอโมเลเวรียร์มานั่งกินเข้าด้วยกัน และท่านก็ มา พอท่านมาถึงท่านราชทูตก็เชิญนั่งโต๊ะทันที เย็นวันนั้นมี นางผู้ดีหลายนางด้วยกัน มาดูท่านราชทูตเวลาท่านกำลังรับประทานอาหารอยู่ การก็ดำเนิรไปตามปกติ. รุ่งขึ้นวันที่ ๗ ทานกงต์เดอโมเลเวรียร์ ให้รถ ๓ คันมารับ คณะราชทูตพาไปดูเมืองตูร์เนย์ ตามป้อมต่าง ๆ ท่านก็ไปดูแต่ไม่ทั่ว ดูบ้างไม่ดูบ้าง เพราะท่านมีแผนที่อยู่แล้วพอดูหน่อยเดียว ก็อาจเดาเอาเองได้ อาศัยแผนที่นั้นเป็นหลักพิจารณาก็รู้ง่ายกว่า ตอนอื่นเป็นอย่างไร วันนั้นท่านนั่งรถเที่ยวดูเมืองตลอดทั้งวัน หยุดเมื่อเวลา กลางวันสำหรับกินอาหารเท่านั้น เย็นวันนั้น ภรรยาของเจ้าเมืองก็ได้จัดละคอนให้ท่านราชทูตดูเรื่องที่เล่นเป็นเรื่องตลก และธรรมดาเรื่องตลก ต้องแต่งเป็นพื้น ๆ ตามท้องเรื่องที่เป็นจริง แต่คราวนี้เพื่อจะอวดราชทูต ถึงเล่นเรื่อง ตลกให้แต่งอย่างคนชาวโรมันครั้งโบราณ ทำท่าทางไว้ภูมิฐานจึง กลับเป็นของตลกคะนองผิดกว่าที่คาดไว้เสียอีก เป็นอันสมประสงค์ ๒ อย่าง คือได้อวดเสื้อแพง ๆ งาม ๆ ครั้งโบราณให้ท่านราชทูตดู และทั้งได้เล่นละคอน เรื่องตลกแปลกกว่าทุกที. เวลาเลิกละคอนท่านผู้บังคับการทหาร ได้ขอคำอาณัติราชทูตอีก ท่านคิดให้ดังนี้ .- " Je mappuic du batan en cemhattant de I' epee" " เยอ มัปปึย ดึ บาต้ง อังกงบะต้าง เดอ เลเป้ " หมายความ

๓๙ ว่า " ซ้ายถือไม้ ขวาถือดาพ " ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติยศแก่ท่านกงต์เดอโมเลเวรียร์ซงเป็นคนแก่ ไปไหนต้องถือไม้เท้าเสมอ แต่ถึงแก่ ดังนั้น หัวใจราวกับคนหนุ่มทำสึกสงครามอย่างแข็งแรง คำอาณัตินี้ใครได้ยินเข้าอดไม่ได้ต้องชมทั้งนั้นว่าคมคายดีเหลือเกิน. กลางคืนวันนั้น ท่านผู้ว่าราชการเมือง ๆ ตูร์เนย์ ยังได้พา ราชทูตไปดูการยิงปืนใหญ่ ทิ้งลูกระเบิด และอะไรต่อมิอะไรซึ่งเกี่ยวกับยุทธวิธีอีกหลายอย่าง เป็นที่ชอบใจไม่ว่าที่ไหน. ข้อที่เป็นที่ชอบของราชทูตนั้น คือเจ้าพนักงานไม่ปิดบังอะไร อยากดูอะไร ก็ชี้อธิบายให้ดูให้ฟังจนเป็นที่พอใจเข้าใจทุกที. พอดูยิงปืนแล้วก็กลับมากินเข้าที่บ้าน เวลากินเข้าก็ได้ฟังเครื่องสังคีตต่าง ๆ อีก. รุ่งขึ้นเวลาเช้า ๙ นาฬิกา ราชทูตให้ไปเชิญท่านกงต์มานั่งกินเข้าด้วยกัน ท่านก็มา แล้วต่างก็พากันไปดูวัดใหญ่ที่มีอยู่ในเมืองนั้นที่วัดนั้นเผอิญไปได้พบท่านสังฆราชอยู่ด้วย เดิมนึกจะไปหาท่านที่สำนักกุฏิ แต่เมื่อพบกันวัดแล้วก็เป็นอันงดไม่ต้องไปหา เวลาไปวัดนั้น ท่านราชทูตสยามแสดงอาการผิดกว่าคราวไปดูวัดอื่น คือไปวัดอื่นท่านไปเพื่อดูให้รู้เห็นว่าภายในจะเป็นไปอย่างไร แต่ที่วัดเมืองตูร์เนย์ ซึ่งเป็นวัดน่าดูยิ่งกว่าหลายวัดที่ท่านเคยไปดูมาแล้วนี้ ท่านไม่ค่อยจะผูกตาดูเหมือนที่อื่น ดูท่านสำรวมจิตต์เสงี่ยมกาย อย่างกับถูกพระทรงดลใจให้เกิดเลื่อมใสศรัทธาหรืออย่างไร ท่าน

๔๐ จึงได้พูดกับท่านสังฆราชเมืองตูร์เนย์นั้นว่า.- " ขอเจ้าคุณได้ช่วย สวดภาวนาอุททิศให้พวกข้าพเจ้าจงมาก ๆ ด้วยเถิดครับ ข้าพเจ้า ยังรู้สึกมืดมนธ์และไม่เห็นแจ้ง ในข้อการณ์ข้างหน้าอีกมากมาย ควรเจ้าคุณจะเอาเป็นธุระวิงวอน ขอแต่พระเจ้าเที่ยงแท้ ให้ข้าพเจ้าหายมืดมนธ์ กลับเห็นแสงสว่างแจ้งเถิดเจ้าคุณ " ส่วนท่านสังฆราชก็ตอบว่า .- " เจ้าคุณอย่าเดือดร้อนในเรื่องนี้เลย อย่าว่าแต่เราเท่านั้น ยินดีสวดอุททิศให้ท่านที่ไม่เห็นความจริงให้ได้แลเห็น ถึงแม้สัป บุรุษทั้งหลายในทั่วจังหวัดพระศาสนาก็ย่อมต้องสวดอุททิศให้สำเร็จไปดังนั้นอยู่ทุกวันมิได้ขาด ขอแต่ให้เจ้าคุณทำใจให้เลื่อมใสตามความเห็นที่มีอยู่แล้วก็พอแล้ว ถ้าเจ้าคุณอุตส่าห์เสมอที่จะปฏิบัติตามความเห็นที่มีอยู่แล้วนั้น อย่าวิตกไปเลย สักวันใดวันหนึ่งพระเจ้าเที่ยงแท้คง ทรงพระมหากรุณาโปรดดลใจ ให้เจ้าคุณแลเห็นแจ้งกระจ่างในทุกข้อ ซึ่งเวลานี้เจ้าคุณยังมีความสงสัยสนเท่ห์อยู่ " ว่าแล้วก็พาไปดูพระแท่นและบริเวณแห่งพระแท่นนั้น ซึ่งเป็นพระแท่นขึ้นชื่อลือนามว่างามยิ่งแล้วต่างก็อำลากันไป. ในวันเดียวกันนั้นคือวันที่ ๘ พฤศจิกายน ท่านราชทูตก็ออกจากเมืองตูร์เนย์ไปยังเมืองกงเด ซึ่งเป็นเมืองหน้าศึกฝ่ายข้างทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือ เป็นเมืองอยู่ในมณฑลแฮโนต์ ทั้งสองฟากแห่งลำ แม่น้ำแอ็สโกต์ได้ตกเป็นของฝรั่งเศส เมื่อคริสตศักราช ๑๖๗๖ ราชทูตได้พักอยู่ในเมืองวันเดียว.


๔๑ บทที่ ๕๖ ราชทูตถึงเมืองวาลังเซียนส์ รุ่งขึ้นวันที่ ๙ พฤศจิกายน ราชทูตไปถึงเมืองวาลังเซียนส์ซึ่งเป็นเมืองมีคนอยู่มาก นับครัวเรือนได้ถึงสี่พันห้าร้อยยี่สิบสามครัว (๔๕๒๓) มีพลเมืองถึงสองหมื่นหนึ่งพันร้อยแปดคน (๒๑๑๐๘) แต่พลทหารซึ่งมีอยู่เป็นอันมากก็มิได้นับเข้าในจำนวนนี้ด้วย. โบสถ์มีอยู่ถึง ๓๔ หลัง, พระอารามมีอยู่ ๒๓ พระอาราม เป็นเมืองโบราณ ที่มีชื่อมานาน ได้ตกมาอยู่ในปกครองของประเทศฝรั่งเศสในมงคล สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ โดยพระองค์ตีได้จาก ราชศัตรู. เมืองวาลังเซียนส์นี้มีสำนักหลวงอยู่ถึงสองสำนัก ๆ หนึ่ง ตั้งอยูในป้อมเดี๋ยวนี้ และอีกสำนักหนึ่งซึ่งเคยเป็นที่ประชุมของ รัฐมนตรีสภาแห่งพระเจ้าชาร์ลมหาราชเป็นครั้งแรก เดี๋ยวนี้เปลี่ยน เป็นพระอาราแดส์คอร์เดอเลียรส์เสียแล้ว. เมื่อท่านเจ้าเมืองได้เชิญให้ราชทูตเข้าไปพักอยู่ในที่ซึ่งเตรียมไว้สำรองเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงได้นำข้าราชการและคฤหบดีผู้สำคัญ ในเมืองนั้นมาคำนับท่านราชทูต และในโอกาสนั้นท่านชาโตช์ ข้าราชการชั้นสูงตำแหน่งที่ปรึกษาสำหรับเมืองนั้น ก็ได้ยืนขึ้นกล่าวคำต้อนรับราชทูตเป็นใจความดังนี้ว่า. " ท่านอัคราชทูต : ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาพบปะราชทูตานุทูต แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอำนาจราช ศักดิ์อันสูงสุดในบุรพประเทศ ๖ ๔๒ การที่พระเจ้าแผ่นดินของท่าน ได้ทรงมุ่งหมายพระทัยส่งท่านมากระทำมิตรไมตรีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสพระมหากษัตริย์ของข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ เป็นราชกรณียกิจอันมหาประเสริฐ เพราะว่าพระมหากษัตริย์ของข้าพเจ้าทั้งหลายบรรดาชาววาลังเซียนส์นี้ มิจำ เพาะแต่ทรงพระเดชานุภาพจนอาจทรงปราบอริราชศัตรูทั้งปวงให้อ่อนน้อมต่อพระองค์อย่างเดียวเท่านั้น แม้พระเมตตาธิคุณและราช ธรรมจริยาอันประเสริฐ พระองค์ก็ได้ทรงบำเพ็ญให้เป็นไปในหมู่ กษัตริย์ขัติยาธิบดีทั้งหลายที่เป็นสัมพันธมิตรไมตรีกับพระองค์ทั่วไปเพราะเหตุฉะนี้ การที่พระเจ้าแผ่นดินของท่านได้ส่งท่านเข้ามาทำ ไมตรีกับพระเจ้าแผ่นดินของข้าพเจ้าคราวนี้ มีแต่จะนำศุภอิฐวิบุลยผล เป็นอเนกประการไปสู่ประเทศสยามของท่านเป็นมั่นคง ฉะนี้ข้าพเจ้า จึงรู้สึกปีติยินดีเป็นอันยิ่ง. แต่บัดนี้ ถ้าท่านราชทูตทั้งหลายจะใคร่ให้ข้าพเจ้าทั้งหลายในที่นี้รู้สึกปีติยินดีให้ทวีมากขึ้นอีก ข้าพเจ้าขออัญเชิญท่านได้โปรดรับเครื่องกำนัลบ้างเล็กน้อย ซึ่งข้าพเจ้ายินดีนำมามอบให้ท่าน คือ เหล้าองุ่นเกียรติยศซึ่งเป็นธรรมเนียมบ้านเมือง ย่อมต้องนำกับผู้มีเกียรติคุณในโอกาสที่มาเหยียบเมืองวาลังเซียนส์นี้อย่างหนึ่ง เพื่อเป็นทางเชื่อมความคุ้นเคยและมิตรไมตรีในระวางข้าพเจ้าและผู้มาเยี่ยมเยือนนั้นให้ยิ่งแน้นแฟ้มขึ้น อีกประการหนึ่ง อนึ่งข้าพเจ้ายินดีมอบตัวอย่างแพร ตัวอย่างผ้าที่ทอขึ้นในเมืองวาลังเซียนส์ให้แก่ท่าน เพื่อเป็นการเชื่อมพาณิชการให้ติดต่อกันในระวางประเทศสยามและ ๔๓ ประเทศฝรั่งเศสดังที่ได้เคยทำมาแล้ว สำหรับนานาประเทศที่อยู่ห่างไกลกับประเทศฝรั่งเศส ตลอดทางทวีปอาเซีย, ทวีปอาฟ ริกาและอเมริกา นานาประเทศเหล่านั้น แต่พอได้เห็นตัวอย่างหัตถกรรมแห่งเมืองวาลังเซียนส์ต่างก็แสดงความพึงพอใจ อยากได้ต่อไปเสมอ ข้าพเจ้าหวังว่า วันใดที่ประเทศสยามได้แลเห็นตัว อย่างซึ่งข้าพเจ้ามอบให้ท่านราชทูตคราวนี้แล้ว การเชื่อมพณิชการในระวางสองประเทศคงจะดำเนิรไปตามรอยนานาประเทศนั้น และต่อไปทั้งสองประเทศก็จะแสดงอาการความอยากได้กระทำการติดต่อกันในเชิงค้าขายเข้ารูปกัน เหมือนกับนานาประเทศฉะนั้น, เพราะเหตุนี้ ขอท่านราชทูตจงยินดีรับวัตถุกำนัลของเมืองวาลังเซียนส์นี้ด้วยเทอญ." เมื่อสิ้นคำคำนับของท่านชาโตช์แล้ว ท่านก็นำเอาผ้าแพรที่เป็นชะนิดเอกอย่างละผืนมาส่งให้ท่านราชทูต ชั้นแรกท่านราชทูตจะ ไม่รับเพราะท่านไม่เคยรับสินค้าชะนิดใดเลย แต่เมื่อได้พิเคราะห์ดูรู้ว่าเป็นแต่ตัวอย่างสินค้า หาใช่ของกำนัลส่วนตัวของท่านไม่ ท่านจึงได้ รับพลางกล่าวว่า .- " รบก็ได้ จะได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้พระบาทสม เด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงเห็นเป็นตัวอย่าง " แล้วท่านก็รับเอาไป. ครั้นถึงเวลาจะเลิกประชุมต้อนรับกันนั้น ท่านเดอมาคาลอดี ได้มาขอคำอาณัติตามเคย, ท่านราชทูตออกคำอาณัติให้ว่า .- " Miracles de nos jours " (มิรากล์ เอด โนส์ ยูรส์) ซึ่งแปลว่า " ปัตยุบันปาฏิหาร " คือหมายว่าตัวอย่างหัตถกรรม เชิงทอผ้า ทอไหมของเมืองวาลังเซียนส์นั้น เป็นของทำโดยประณีตบรรจง

๔๔ ไม่มีใครอาจทำได้ให้เหมือนเป็นที่น่าอัศจรรย์ ซึ่งคนสมัยยุคก่อนไม่อาจทำขึ้นได้แต่สมัยนี้ทำได้ เลยควรเรียกว่า " ปัตยุบันปาฏิหาร " นั่นเอง. รุ่งขึ้นวันหน้าท่านสตอร์ฟ เจ้าพนักงานผู้ประจำราชทูตป่วย เป็นไข้, ท่านราชทูตได้ออกไปเยี่ยมหลายหน และแสดงความเสียใจที่ท่านสตอร์ฟมาป่วยลงดังนี้ ท่านสตอร์ฟขอบใจท่านราชทูต และพูดว่า .- " ที่เจ้าคุณออกมาเยี่ยมข้าพเจ้าโดยตนเองดังนี้ เป็น การไม่สมควร เพราะเจ้าคุณเป็นถึงราชทูต และข้าพเจ้าเป็น เพียงข้าราชการผู้น้อย ตำแหน่งต่ำกว่าท่านมาก ไม่ควรที่ท่าน จะมาเอง เพียงใช้คนมาถามข่าวก็พอแล้ว " เจ้าคุณราชทูตตอบ ว่า.- " อย่าว่าสูงว่าต่ำเลย ขอให้คิดว่าเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน คนหนึ่งก็แล้วกัน ที่จริงเราก็รักท่านเหมือนพี่น้องจะใช้คนอื่นมาแทนดูไม่สมควร เราจึงมาด้วยตนเอง และใช่ว่าเราจะเป็นแต่ เพียงมาเยี่ยมเท่านั้นเมื่อไร ใจเรายังอยากให้ท่านหายวันหายพรุ่ง เสียอีก " ในวันเดียวกันท่านราชทูตทั้งหลายได้ออกไปดูป้อม และ ในสนามข้างป้อมนั้น ท่านราชทูตได้มีโอกาสดูนักเรียนนายร้อยหลายกอง ซึ่งกำลังหัดเพลงอาวุธและทำนองยุทธวิธีต่าง ๆ กันอยู่. ท่านอัครราชทูตดูเพลินอยู่สักครู่ แล้วเกือบจะขอลงไปลองทำท่านทำทางทหารอย่างทำนองยุทธวิธีเหมือนเขาบ้าง. เจ้าพนักงานผู้ไปด้วย เห็นท่านราชทูตชอบดังนั้นก็ถามว่า.- " เจ้าคุณชอบหรือ ? " ท่าน

๔๕ ราชทูตก็ตอบว่า.- " เราชอบ ชอบจริงชอบแทบลืมตัวทีเดียว ทุก วันนี้ถ้าแม้นเรามิได้เป็นอัคราชทูตตำแหน่งผู้ใหญ่ เราก็ยินดีแสน ที่จะยินดีที่จะลงไปทำเพลงอาวุธกับด้วยนักเรียนทหารเหล่านี้ ตัวเราเป็นเชื้อทหารแท้วิชชาใดเกี่ยวกับการทหารแล้วเป็นวิชชาที่โปรดของเราทั้งนั้น ความปรารถนาอันใหญ่ยิ่งของเราคือถ้าหากว่าเวลานี้จะ มีศึกสงครามเกิดขึ้นในเมืองฝรั่งเศสนี้ เรายินดีสละชีวิตถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔. เสียดายโอกาสนั้นไม่มา ชรอยเราเป็นคนบุญวาสนาไม่ถึงจึงมิได้มีโอกาสอันประเสริฐดังที่ปรารถนา อยู่นี้ " เย็นวันนั้นข้าราชการผู้ใหญ่มีท่านผู้ว่าราชการเมืองเป็นต้นได้มานั่งกินเข้าเป็นการส่งราชทูตออกจากเมืองวาลังเซียนส์นั้น การก็ได้ เป็นไปโดยเรียบร้อยทุกประการ รุ่งขึ้นเวลาเช้าท่านเดอมาคาลอตีกับ ขุนนางผู้ใหญ่ทั่วหน้ากันก็ได้มาส่งท่านราชทูตทั้งหลาย ท่านราชทูต ได้ขอบใจท่านเจ้าเมืองและท่านผู้อื่นทั่วไปตามสมควร ว่าเมื่อถึงเมืองสยาม ตนจะไม่ลืมแสดงความชอบของเมืองวาลังเซียนส์นี้ให้ ทรงทราบในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ว่าเป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเป็นอย่างดี ทั้งฝีไม้ลายมือทางหัตถ กรรมก็จัดเป็นเยี่ยมยอดน่าชมเชยทุกอย่าง ว่าแล้วก็ตรงไปขึ้นรถ พอย่างเท้าก้าวขึ้นไปบนรถนั้น ท่านราชทูตก็ได้เห็นรูปใหญ่ ๆ ใส่ กรอบงามอยู่สองรูปภายในรถ คือรูปที่ได้ส่งมาจากเมืองปารีส เพราะเจ้าพนักงานได้ทราบมานานแล้วว่า ท่านราชทูตทะเยอทะยาน

๔๖ อยากได้เป็นที่สุด ค่าที่รูปนั้นเกี่ยวกับท่านราชทูตอยู่ด้วย เป็นรูป ที่นายช่างเอกได้วาด ตามรับสั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เพื่อไว้เป็นที่ระลึกถึงการกระทำมิตรไมตรี ในระวางกรุงสยามและ กรุงฝรั่งเศส รูปนั้นเป็นรูปท่านราชทูตานุทูตไทยทั้งสำรับกับพระ บรมรูปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และพระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการขุนนางฝรั่งเศส เมื่อคราวรับราชทูตที่พระที่นั่งวัง แวร์ซายส์นั้นเอง และเพื่อจะให้ท่านราชทูตรู้จำผู้คนในรูปนั้นได้ง่ายที่ใต้รูปของคนหนึ่ง ๆ ในรูปนั้นก็ได้ทำเป็นเครื่องหมายให้รู้จักเช่นถ้าเป็นฝ่ายฝรั่งเศสก็มีตัว A ตัว B และถ้าเป็นไทยก็มีเลข 1.2.3.ตามลำดับแล้วก็มีอธิบายชื่อเสียงตำแหน่งพร้อมเสร็จกำกับตัวอักษรและตัวเลขอยู่ด้วย. เมื่อราชทูตได้รูปงาม ๆ ดี ๆ เหล่านั้นสอง รูปท่านก็แสดงความชื่นชมยินดีเป็นล้นพ้น เพราะมิจำเพาะเป็นขวัญ ตาสำหรับท่านเองอย่างเดียว เป็นขวัญตาที่จะได้เป็นสักขีพะยาน แห่งความเป็นไปของอาการส่งพระราชสาสน์ แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามต่อพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ให้ทรงทราบเห็นตระหนัก อยู่กับพระเนตร์ ว่าได้ดำเนิรเป็นไปอย่างไรด้วย เพราะรูปนั้นเหมือน กับความเป็นจริงทุกอย่างทุกประการ. นี่เป็นลำดับรูปบุคคลซึ่งปรากฏอยู่ในสองรูปนั้น : a. สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ b. สมเด็จพระยุพราช " เลอ โดแฟง "


๔๗ c. สมเด็จพระอนุชาธิราช " มงเซียร์ " d. ในกรม " ดึก เดอ ชาร์ดร์ " e. พระโอรสของในกรมดึกเดอชาร์ดร์ f. เจ้า " ดึก เดอ บูร์บง " g. เจ้า " ดึก ดือ แมน " h. เจ้า กงต์ เดอ ตูลูส I. อธิบดีกรมพระภูษามาลา j. หมู่มหาดเล็กรับใช้ 1 ท่านอัครราชทูต 2 ท่านอุปทูต 3 ท่านตรีทูต 4 นายพล เดอ ลา เฟอย๊าด 5 นายพล เดอลึกซังบูร์ค์ 6 ท่านเดอ บอเนย กรมรับแขกเมือง 7 ท่านสตอร์ฟ กรมรับแขกเมือง 8 ท่านบาดหลวง เดอลิยอน (ล่าม) 9 ท่านยิโรด์ 10 ขุนนางไทย ๖ นาย 11 คนใช้ถือเครื่องยศของราชทูต. แต่เดิมนั้นเจ้าพนักงานได้นึกจะทำรูปพิเศษ จำเพาะรูปของท่านราชทูตแผนกหนึ่งต่างหาก ไม่ให้เกี่ยวข้องกับของผู้อื่นเลย แต่ ๔๘ ครั้นเมื่อได้เห็นรูปหมู่ในที่เฝ้าที่วังแวร์ซายส์นี้ เห็นรูปท่านทูต ได้ชัดเจนดี จะทำให้ชัดกว่านี้อีกเป็นเหลือฝีมือเป็นแน่ เพราะเหตุนี้การดำริที่จะทำรูปเดี่ยวนั้น เป็นอันต้องเลิกเสียทำแต่รูปหมู่อย่างเดียว เพราะถึงจะเพิ่มรูปจำเพาะราชทูตก็ไม่ให้ดีขึ้นอะไร.

บทที่ ๕๗ นางภิกษุนีเมืองเดอแนง ขณะเมื่อเดิรทางจากเมืองวาลังเซียนส์ จะไปเมืองดูแอย์นั้น ท่านเดอมาคาลอตี เจ้าเมืองวาลังเซียนส์ได้แนะนำท่านราชทูตว่า ทางที่จะไปข้างหน้ามีพระอารามภิกษุนีอยู่พระอารามหนึ่ง เป็นพระอา รามแปลกด้วยเหตุหลายประการ. เมื่อผ่านไปทางนั่นควรแวะเข้า ไปชมดูบ้าง เพราะเหตุฉะนี้พอถึงเมืองเดอแนง ราชทูตจึงได้เข้าไปชมพระอารามนั้น. พระอารามนี้มีตำนานกล่าวว่า ท่านเจ้าเมืองผู้หนึ่งสมัยก่อนชื่ออาดัลแบร์ต์ ดอสตระวัง กับคุณหญิงของท่านชื่อแรน เป็นภคินีของสมเด็จพระเจ้าเปแปง แห่งประเทศฝรั่งเศสต่างมีศรัทธากล้าหาญพร้อมใจกันอุททิศเคหะสถานบ้านเรือนที่อยู่ของ ตน ให้เป็นพระอาราม สำหรับบวชภิกษุนี และยังอุททิศเรือกสวนไร่นาถวายเป็นที่ธรณีสงฆ์ สำหรับบำรุงพระอารามนั้นอีก แต่ทุกวันนี้ที่ธรณีสงฆ์เหล่านั้นได้ตก เป็นของหลวงเสียโดยมาก.


๔๙ ท่านเจ้าเมืองมีธิดาถึง ๑๐ คน ๆ หัวปีชื่อนางรังฟรัวย์และธิดา ๑๐ คนเหล่านั้นล้วนแต่ได้บวชเป็นภิกษุนีอยู่ ในอารามนี้ หมดด้วยกันทั้ง ๑๐ คน และภายหลังปรากฏว่าได้สำเร็จพระอรหันต์เป็นนักบุญสิ้นทุกคนพร้อมทั้งบิดามารดาด้วย นับว่าเป็นวงศ์สกุลนักบุญแท้. ตามปกติพระอารามนี้มีเสนาสนะพอเพียงแก่ภิกษุนีถึง ๑๘ คนแต่คราวที่ท่านราชทูตสยามเข้าไปเยี่ยมดูนั้นมีแต่เพียง ๑๔ คนเท่านั้นซึ่งล้วนเป็นธิดาของขุนนางชั้นสูงด้วยกันทุกคน เพราะมีวินัยอยู่ว่า ถ้าไม่ใช่เป็นลูกขุนนางมาแต่เดิมแล้วจะเข้ามาขอบวชในพระอารามนี้ ไม่ได้เป็นอันขาด. ตามธรรมเนียมนักบวชในพระคริศตศาสนาในวันที่ตนบวชต้องให้ปฏิญาณสัญญาว่าจะลองบวชดูเท่านั้นปีเท่านั้นวรรษาก่อน. ครั้น เมื่อตนได้ร่ำเรียนและฝึกหัดถือพระวินัยตามนิกายที่ตนเลือกบวชนั้น ครบจำนวนปีที่สัญญาไว้แล้ว เมื่อไม่มีศรัทธา จะลาสึกก็สึกได้ แต่ถ้ามีศรัทธาจะบวชต่อไปก็ต้องทำสัญญาใหม่ ว่าตนจะบวชอยู่ในพระศาสนาตามนิกายที่ตนนิยมเห็นชอบนั้นจนตลอดชีวิต ไม่มี วันสึกหรือลาสิกขาบทต่อไปเป็นอันขาด คือบวชอยู่จนตายนั้นเอง แต่สำหรับอารามนางภิกษุนีนี้ ความเป็นไปในวิธีบวชไม่ได้ ดำเนิรตามแบบนี้เลย วิธีขอบวชสำหรับภิกษุนีเหล่านี้นั้นในชั้นต้น เป็นแต่เพียงใช้ให้ทหนายเชื้อขุนนางผู้หนึ่ง ให้การรับรองแทนตนว่า ตนเป็นเชื้อขุนนางจริง เพราะได้เห็นตราประจำตระกูลของนางนั้น ๗

๕๐ เป็นสำคัญ พอทนายรับรองแล้วนางที่ขอบวชนั้นก็คุกเข่าลงต่อหน้า ที่ประชุมภิกษุนีและอ้อนวอนว่า.- " เดชะ พระบารมีของพระผู้เป็นเจ้า ขอแม่พระและนักบุญรังฟรัวย์ (นางภิกษุนีองค์แรกในพระอา รามนั้น ) เป็นที่พึ่งขอได้โปรดให้ข้าพเจ้ารับส่วนแบ่งในภักษาหาร แห่งพระอารามนี้ด้วยเทอญ " ว่าเท่านี้แล้วนางหัวหน้าภิกษุนีก็เรียก ขนมปังก้อนใหญ่ ๆ มาสองก้อนแล้วยื่นให้นางภิกษุนีผู้ขอบวชใหม่ นั้น เป็นอันเข้าใจกันในทีว่าขอบวชและให้บวชสำเร็จบริบูรณ์แล้ว ส่วนนางภิกษุนีใหม่นั้น พอได้ขนมปังสองก้อนแล้วก็ตัดให้และแจก จ่ายไปให้คนขอทานทันที เป็นอันเสร็จพิธีบวชภิกษุนีในพระอารามนี้ เท่านี้ดูไม่สู้ยากนักเลย. ถึงเมื่อรับเข้าบวชแล้วเล่า การวินัยก็ไม่เคร่งครัดอะไรมิได้ มีอยู่แต่ว่าเมื่อบวชใหม่ตลอดสี่ปีต้นต้องเรียนทางวินัยบัญญัติและวิปัส สนาธุระประจำวัด สวดภาวนาทุกเช้าเย็นเหมือนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีผิดออกจากบริเวณพระอารามไม่ได้เป็นอันขาด แต่ครั้นล่วงพ้น ๔ ปีต้นนี้ แล้วจะออกไปจากพระอารามบ้างก็ได้แต่ไม่เกินกว่าปีละ ๒ เดือน การนุ่งห่มของนางภิกษุนีนี้ขาวล้วน เสื้อธรรมดาเป็นเสื้อยาว ปกคลุมแต่ศีร์ษะลงมาถึงข้อเท้า แต่เวลาเมื่อจะเข้าโบสถ์ต้องสวม เสื้อชะนิดสั้นและหลวมทับอีกชั้นหนึ่ง แล้วก็คลุมเสื้อใหญ่ ๆ ปิด ทับอีกชั้นที่ ๓ เสื้อสามชั้นเหล่านี้เป็นเครื่องขาวล้วนดังว่ามาแล้ว


๕๑ แต่ริม ๆ เย็บเป็นขลิบต่างสีกัน คือเสื้อที่ใช้ประจำนั้นขลิบด้วยสีน้ำเงิน ชั้นที่ ๒ ขลิบด้วยกำมะหยี่ดำชั้นที่ ๓ ขลิบด้วยขนสัตว์สีขาว เว้นแต่สำหรับนางอธิการินี เสื้อชั้นที่ ๓ นี้ขลิบด้วยสีขาวสีดำสลับกันเบื้องบนศีร์ษะนั้นนางภิกษุนีนี้ใช้ปกปิดด้วยผ้าขาวบาง ๆ สองชั้น แล้ว มีหมวกทับเป็นหย่อมอยู่ตรงกลางกระหม่อมอีกชั้นหนึ่ง คล้ายกับสวมมงคลในงานพิธี ดูเหมาะเจาะดีสำหรับนางภิกษุนีไม่สวยไม่งาม เหมือนหมวกแหม่ม ซึ่งประดับด้วยดอกไม้ต่าง ๆ. เมื่อราชทูตได้แลเห็นนางภิกษุนีเหล่านี้ในชั้นแรกชักงง ๆ ไปสักครู่หนึ่ง ค่าที่เห็นแปลกตาในการนุ่งห่ม ซึ่งตั้งแต่ท่านเข้ามาเมือง ฝรั่งเศสยังไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนเลย พอค่อย ๆ หายงงลงบ้างแล้วจึงได้พูดออกมาว่า .- " เสื้อขาว ๆ ดังนี้เข้าทีมากสมควรกว่าเสื้อสีอื่น ๆ ทั้งหมด ขึ้นชื่อว่าสตรีแล้วแต่งขาวเป็นการเหมาะ " การที่ท่านราชทูตออกความเห็นในเรื่องสีขาว ว่าเหมาะสำหรับการนุ่งห่มของสตรีนั้น บางทีจะเป็นเพราะ ท่านเคยเห็นนางชีไทยนุ่งขาวห่มขาวเป็นพื้นเสีย กะมัง แต่อย่างไรก็ดีพอท่านแสดงความเห็นเรื่องนุ่งขาวห่มขาวนี้แล้วการเจรจาในระวางราชทูตและนางภิกษุนีเหล่านั้นจึงค่อยสนิทกันขึ้นไม่กระดากเหมือนตอนต้นเมื่อแรกพบ. เมื่อคำนับกันเสร็จแล้ว ราชทูตก็ได้พากันไปดูพระอารามแล้วได้แวะเข้าไปดูกระฏิของนางภิกษุนีผู้มีอาวุโสสูงในพระอารามนั้น แต่หาได้ไปที่กระฏิของนางอธิการนีไม่ เพราะตำแหน่งว่างมาตั้งแต่นาง


๕๒ อธิการินีเก่าถึงแก่ความมรณภาพลง จนในเวลานั้นก็ยังหาได้ทันตั้งอธิการินีขึ้นใหม่ไม่ ในระวางเวลาที่ไม่มีอธิการินีนี้ การบังคับบัญชาในพระอารามนั้นสำเร็จไปโดยนางภิกษุนี ๔ นาง ซึ่งถูกเลือกตามอายุอาวุโสให้เป็นผู้รั้งหน้าที่อธิการินี เมื่อท่านราชทูตไปชมกระฏิของนางภิกษุนีผู้มีอาวุโสนี้แล้วก็ได้เลยคุยกันถึงเรื่องวินัยบัญญัติต่าง ๆ แล้ว นางภิกษุนีเหล่านั้นได้อธิบายให้ฟังว่า เวลาใดตำแหน่งอธิการินีว่างลงการเลือกตั้งอธิการินีใหม่เป็นไปโดยวิธีดังนี้ คือให้บรรดานางภิกษุนีทั้งหลายต่างเลือกเอานางที่ตนเห็นว่า ควรแก่ตำแหน่งอธิการินีคนละสามนาง ครั้นแล้วจึงรวมคะแนนความเห็นเหล่านั้นดูแล้วก็เลือกเอานางภิกษุนีที่ได้คะแนนสูงแต่เพียงสามนาง และนางภิกษุนีที่ได้คะ แนนสูงสามนางนี้ก็ยังอยู่ในระวางพิจารณาของพระเจ้าแผ่นดินที่จะต้องทรงเลือกตั้งขึ้นนางหนึ่งแต่ในสามนางนั้นให้เป็นอธิการินีต่อไป นาง อธิการินีนี้ แท้จริงก็ไม่ต้องมีคำมั่นสัญญาพิเศษกว่านางภิกษุนีอื่น ว่าจะบวชและปกครองพระอารามอยู่นานเท่าใดจะเป็นกี่พรรษา ๆ ก็ได้แล้วแต่ใจสมัคร แต่โดยมากนางภิกษุนีเหล่านี้มาบวชอยู่ในพระ อารามนั้นเพียงชั่วคราวทั้งนั้น ต่อเมื่อใดนางใดมีโอกาสที่จะกระทำ การวิวาหมงคลกับขุนนางผู้ใดก็ลาสิกขาบทในเวลานั้น และการลา นั้นไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรเลย เป็นแต่ลาเพื่อนภิกษุนีด้วยกันและ ขอบใจในการที่ได้ให้อาศัยอยู่ในร่มพระศาสนาเท่านั้น เมื่อท่านราชทูตทราบวิธีบวชวิธีสึก ทั้งทราบในพระวินัยของนางภิกษุนีเหล่านั้นแล้ว ท่านกล่าวว่า " วินัยนี้ดูเหมือนถือไม่ยากเลย ๕๓ อะไร ๆ ดูเหมือนช่างง่ายดายด้วยกันทุกข้อ จะบวชเมื่อไรก็ได้ จะสึกเมื่อไรก็ได้ ถ้าเป็นเมืองไทยละก็เข้าใจว่าคงบวชไม่นานเป็นแน่ เพราะชายผู้ดีหมดทั้งบ้านทั้งเมือง ต่างคงหมุ่งหมายแต่จะใคร่ขอเป็นคู่ครองหมดด้วยกันั้งนั้น " คุยกันไปคุยกันมา นางภิกษุนีหล่านั้นเลยเชื้อเชิญราชทูต เข้าไปในห้องกินเข้าหวังจะเลี้ยงท่าน ตามธรรมเนียมแขกเมืองชั้น ผู้ใหญ่ แต่ราชทูตไม่รับเชิญ เป็นแต่รับเลี้ยงน้ำชานิดหน่อยพอมิให้ เสียไมตรีแล้วก็ลาออกจากพระอาราม ทั้งนี้เพราะเกือบถึงกลางวัน อยู่แล้ว และเจ้าพนักงานหลวงแผนกรับรองดูแลราชทูตก็ได้เตรียมอาหารสำหรับรับประทานกลางวันคอยท่าอยู่ที่เมืองเล็ก ๆ ชื่อเกรอง ซึ่งเป็นเมืองรายทางใกล้เข้าไปกับพระอารามนั้นอยู่แล้ว. บทที่ ๕๘ ราชทูตถึงเมืองดูแอย์ เมื่อท่านราชทูตรับประทานอาหารกลางวันที่เมืองย่อม ๆ ชื่อ เกรองนั้นแล้ว ก็เริ่มออกเดิรทางจะไปเมืองดูแอย์ ซึ่งเป็นเมือง หน้าศึกแน่นหนาแข็งแรงต่อไป ตามความสันนิษฐานของนักโบราณ คดีเข้าใจกันว่า เมืองดูแอย์นี้คือเมืองหลวงของชาวกาตูอักส์เก่า ซึ่ง พระเจ้ายุลเซซาร์พระมหาจักรพรรดิ์โรมันกล่าวถึงในหนังสือพงศาวดาร ที่พระองค์ทรงนิพนธ์ เมื่อพระองค์มีชัยชะนะแก่โคลัวส์ คือชาวฝรั่ง เศสโบราณ.

๕๔ เมืองดูแอย์นี้ยังมีชื่อระบุปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากลอวีสอีกครั้งหนึ่งว่า ในรัชชสมัยของพระเจ้ากลอวีส นั้น มีนางผู้ใหญ่ของพระองค์คนหนึ่งชื่ออัสกานาล์ดเป็นผู้มีศรัทธา สร้างวัดแม่พระชอน็อตร์ด้ามขึ้นที่เมืองดูแอย์ อยู่ในราวศตกะที่ ๕ แห่งคริศตศก ในเมืองนี้มีโบราณสถานสำคัญที่น่าดูน่าชมอยู่ สามแห่ง คือโรงเรียนวัดสองโรงเรียน และโรงเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าฟิลิเปที่ ๒ แห่งประเทศสเปญได้เป็นผู้ทรงสถาปนาขึ้นตามคำขอร้องของสันโตปาปาปิโอที่ ๔ เมื่อ ค. ศักราช ๑๕๖๓ เมืองนี้ได้อยู่ในอำนาจความปกครองของประเทศสเปญมา เป็นกาลนานจนถึงรัชชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ครั้น ได้เกิดสงครามในระวางประเทศฝรั่งเศสและประเทศสเปญ ขึ้นใหม่ ๆ เมื่อศก ๑๖๖๗ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงยกทัพ เข้ายึดเอาเมืองดูแอย์นี้ได้ และครั้นทำหนังสือสัญญาพระราช ไมตรีกันใหม่ เมื่อศกหลังที่เมืองแอกส์ลาชาแปล์ พระเจ้าแผ่นดิน สเปญเลยยกเมืองดูแอย์นี้ ถวายแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ เป็นสิทธิขาด. ก่อนที่ราชทูตจะถึงเมืองดูแอย์ หนทางประมาณ ๒ ลี้ (๘,๐๐๐ เมตรเท่ากับ ๒๐๐ เส้น) มีทหารม้าเมืองดูแอย์ออกมาต้อนรับอยู่แล้วและตอนเข้าในเมืองก็ได้มีการแห่แหนอย่างเอิกเกริกเหมือนกับที่เคย ทำสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ออกมาเยี่ยมเมือง คือมีทหารราบยืน รายทางสองข้างถนน ตั้งแต่ประตูน็อตร์ด้ามถึงที่พักของราชทูตเป็น เกียรติยศ และมีชาวชนพลเมืองออกมาดูมารับด้วยเป็นอันมาก. ๕๕ พอถึงราชทูตก็ลงจากรถขึ้นไปยังบ้านที่พักท่านเดอปอมะเรย ผู้เป็นเจ้าเมืองก็นำพวกขุนนางข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนเข้ามาเยี่ยมเป็นลำดับ แล้วท่านเบค์เกต์ กรรมการพิเศษของเมืองดูแอย์ ได้กล่าวคำต้อนรับคำนับท่านราชทูตแทนชาวเมืองว่า .- เจ้าคุณราชทูต การที่ข้าพเจ้าชาวเมืองดูแอย์พากันทำปฏิสันถาร ต้อนรับเจ้าคุณ ทั้งหลายโดยเกียรติยศอันสูงเช่นนี้ แม้จะเป็นไปตามกระแสพระบรมราชโองการก็ดี แต่ข้าพเจ้าขอกล่าวโดยน้ำใสใจจริงว่า ข้าพเจ้า ทั้งหลายได้ทราบข่าวอยู่ก่อนที่กระแสพระบรมราชโองการจะมาถึงแล้วว่าคณะราชทูตานุทูตสยามจะเข้ามาเยี่ยมเมืองดูแอย์ และข้าพเจ้าก็ ได้ตกลงพร้อมใจกันอยู่ก่อนแล้วว่า จะจัดการรับรองท่านทั้งหลายโดยเกียรติยศอย่างสูงตามความสามารถที่จะทำได้ ให้สมแก่ฐานานุรูป แห่งท่านทั้งหลาย ผู้เป็นราชทูตของพระมหากษัตราธิราชอันยิ่งใหญ่เพราะฉะนั้นขอให้เจ้าคุณราชทูตพึงทราบตระหนักเถิดว่า การรับรอง ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้จัดทำไปแล้ว และจะทำต่อไปอีกนั้น มิใช่ข้าพเจ้าทั้งหลายจะปฏิบัติฉะเพาะ ตามกระแสพระบรมราชโองการ อย่างเดียวหามิได้ ข้าพเจ้าต่างยังมีความปลาบปลื้มยินดีที่จะรับรองด้วยความตั้งใจของตนเองอีกส่วนหนึ่งต่างหากด้วย เพราะต่างมา รู้สึกระลึกถึงความเมตตาของเจ้าคุณที่ได้อุตส่าห์ดำเนิรทางมาเยี่ยม เมืองของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยความลำบาก ข้าพเจ้าทั้งหลายถือว่า


๕๖ เจ้าคุณได้นำสิริมงคลและเกียรติยศมาสู่เมืองข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ต่างจึงมีความยินดีรับรองทั่วทุกตัวคน ถ้าเจ้าคุณยังพักแรมอยู่ในเมืองนี้ตราบใด ข้าพเจ้าทั้งหลายก็ยินดีจะรับใช้สอยอยู่ทุกเมื่อขอเจ้าคุณอย่าได้เกรงใจเลย. ในที่นี้ ข้าพเจ้ามิได้ตั้งใจที่จะรำพันสรรเสริญคุณานุคุณและ บุญบารมีของพระมหากษัตริย์สยาม โดยพิสดารให้เป็นการเนิ่นช้า เพราะรู้สึกอยู่เต็มตัวแล้วว่าจะรำพันเท่าไรก็มิรู้สิ้นสุด ทั้งจะหาคำ มาอุประมาสาธกก็เหลือที่จะหาให้สม แต่กระนั้นจะเว้นไม่กล่าวถึง ต้นเหตุแห่งความยินดีปราโมทย์ของข้าพเจ้าในการรับเจ้าคุณเสียเลยทีเดียวก็ไม่เหมาะ ข้าพเจ้าจึงขอโอกาสกล่าวแต่เพียงปฐมเหตุเท่านั้น ปฐมเหตุนั้นคือที่เจ้าคุณตั้งใจมาครั้งนี้ ก็โดยจะมาผูกพระราชสัมพันธมิตรไมตรีให้เป็นสุวรรณปถพีแผ่นเดียวกัน ในระวางกรุงสยามกับ กรุงฝรั่งเศส และจะใคร่ปลูกความสมัครรักใคร่และนิยมนับถือกัน และกันของพลเมืองแห่งประเทศทั้งสอง ให้สนิมสนมมั่นคงถาวร ไปชั่วกาลนาน ปฐมเหตุที่เจ้าคุณมานี้แหละ ได้เป็นปฐมเหตุแห่ง ความยินดีปรีดาของข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างยิ่งด้วย. ก่อนเมื่อเจ้าคุณจะออกมาจากประเทศสยามนั้นเจ้าคุณได้ยินคำยก ย่องสรรเสริญบุญบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของข้าพเจ้าเป็นอเนกประการมาแล้ว เป็นต้นได้ยินว่าพระองค์ทรงชะนะทุกทิศ นับตั้งแต่แม่น้ำแรงในปราจิณทิศถึงภูเขาอัลปส์ในทิศอาคเณย์ ตลอด

๕๗ ถึงเขาปิเรเน่ส์ในทักษิณทิศ กับได้ยินยกยอสรรเสริญพระองค์ว่า ทรงบุญญฤทธิปราบปรามบรรดากษัตราธิราช ซึ่งยังไม่มีใครอาจปราบปรามให้ราบคาบลงได้ และทรงทำการสำเร็จนี้ไม่ว่าในเวลาฤดูกาล อันเหมาะแก่การสงคราม หรือในเวลาที่มีฝนฟ้าอากาศมาขวางเป็น อุปสัค ถึงกับควรทรงพระนามว่าพระเจ้าผู้ทรงชะนะทั่วทั้งสิบทิศ. อนึ่ง ใช่ว่าพระองค์จะมีชัยชะนะฉะเพาะแต่สัตรูหมู่ปรปักษ์ภายนอกเท่านั้นหามิได้ แม้ข้าศึกภายในโลภศัตรูเป็นต้นซึ่งยากที่บุคคล จะชะนะได้ พระองค์ก็ทรงประหารด้วยพระขรรคาวุธอันวิเศษกล่าว คือพระศรัทธาญาณของพระองค์จนพ่ายแพ้แก่พระองค์ เกิดเป็นมหา ชัยมงคลพิเศษขึ้นอีกส่วนหนึ่ง เช่นพระองค์ทรงมีชัยชนะแก่ราช ศัตรูตีได้เมืองนี้เมืองนั้น แล้วเพื่อทรงเห็นแก่สันติภาพและความสุขสบายของชาวชนพลเมืองในเมืองนั้น ๆ พระองค์กลับทรงมอบคืนเมืองเหล่านี้เหล่านั้นแก่เจ้าของเดิม มิให้อนาทรร้อนจภึงไพร่ฟ้าข้าแผ่น ดินของพระราชศัตรูเอง ชัยชะนะอันนี้แหละเจ้าคุณ เป็นชัยชะนะอันมหาประเสริฐ ซึ่งน้อยคนอาจกระทำลงไปได้ เพราะต่างโลภต่าง อยากได้ยิ่งมากยิ่งดีเป็นธรรมดา อาศัยมหาชัยอันประเสริฐนี้ ชาว ชนพลเมืองทั้งหลายจึงยินดีถวายพระบรมนามาภิธัยพิเศษ เรียก พระองค์ว่า มหาราชา หรือมหาราช เพราะพระองค์ทรงไว้ซึ่งคุณานุภาพ ธรรมานุภาพอย่างมหัศจรรย์จริง. ส่วนพระคุณความดีต่าง ๆ นอกจากที่เจ้าคุณเคยได้ยินเขาเล่าลือกันทั่วโลกนั้น ข้าพเจ้าจะมิพักกล่าวถึงเลยเพราะเจ้าคุณอาจ ๘ ๕๘ ทราบตระหนักด้วยตนเองโดยเอาหูเอาตาเป็นเครื่องพิศุจน์ กระทำดุจ อาการของพระนางเจ้าราชินีเดอสบา ซึ่งเคยตรัสเมื่อพระนางได้ชม พระบารมีสมเด็จพระสโลมนในอดีตกาลว่า .- " Verus est sermo quem aulivi in terra mea? " แปลว่า คำเล่าลือที่ข้าได้ยินในเมืองข้า ๆ เห็นสมจริงทุกประการแล้ว เจ้าคุณไม่เคยนึกชมพระบารมีพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ดุจพระนางเจ้าราชินีเดอสบาชมพระบารมีของสมเด็จ พระเจ้าสโลมนบ้างแลหรือเจ้าคุณไม่เคยนึกเห็นเป็นการควรอย่างยิ่งหรือ ที่พระราชาในโลกจะกระทำมิตรไมตรีกับพระมหากษัตริย์เช่นสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ นี้ ข้าพเจ้าหวังว่าคงเคยได้นึกมาแล้ว แต่ยังไม่อาจพยากรณ์ยืนยันลง เป็นหนึ่งแน่ได้ จะอย่างไรก็ตามบัดนี้ข้าพเจ้ามีความยินดีขอเชิญเจ้าคุณรับเหล้าองุ่นแห่งไมตรีซึ่งชาวเมืองดูแอย์ได้จัดรับรองในบัดนี้เทอญ " เมื่อท่านอัครราชทูตได้ฟังคำตอบรับนี้เสร็จแล้ว ท่านจึงตอบว่า.- " ท่านทั้งหลาย ใจความในสุดท้ายแห่งสุนทรพจน์ของท่านนี้ เรายินดีขอรับรองว่าเป็นการสมจริง เพราะกิตติศัพท์ที่สรรเสริญพระบารมีสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ซึ่งเราเคยได้ยินมาแต่เมืองไทยนั้น เราได้มาเห็นประจักษ์แก่ตาอยู่แล้วว่าสมคำเล่าลือทุกประการ อนึ่ง ที่ว่าพระองค์ทรงชะนะทุกทิศนั้นก็มีราชอาณาเขตต์ขอบขัณฑเสมามณ ฑลต่าง ๆ ซึ่งเรากำลังผ่านไปเป็นลำดับ อยู่ในเวลานี้เป็นสักขีพะยาน ปรากฏอยู่ และคำเล่าลือที่ว่าพระองค์ทรงพระอภินิหารบารมีศรีสง่า


๕๙ ก็มีพะยานในพระราชสำนักวังแวร์ซายส์ ซึ่งเราได้ไปดูรู้เห็นมาแล้ว เพราะเป็นความจริง ตั้งแต่เกิดมาเรายังมิเคยได้แลเห็นพระราชสถาน ใด ๆ จะงดงามตระการตาเท่ากับพระราชสำนักนั้นเลย อนึ่งที่ลือว่าไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ของพระองค์ล้วนแต่เจริญด้วยธรรมสมบัติ และคุณสมบัตินา ๆ นั้น เราก็เห็นประจักษ์แก่ตาดุจเดียวกัน โดยเพียงดูฟังท่านทั้งหลายผู้มาต้อนรับบรรดาเราคราวนี้ ฉะนี้เราจึงมี ความพอใจและขอบใจท่านทั้งหลายทั้งเพราะวาจาที่ท่านพึ่งกล่าวเชื้อเชิญเราในบัดนี้ ทั้งเพราะของกำนัลอันถูกใจที่ท่านนำมาคำนับให้เรารับ ด้วย " ครั้นเสร็จการต้อนรับกันเรียบร้อยแล้ว ท่านเจ้าเมืองดูแอย์ ก็ได้พาท่านราชทูตไปชมมหาวิทยาลัยในเมืองนั้น. ที่มหาวิทยาลัยนั้นได้มีคำอวยพรคำนับราชทูตและอธิบายความ เป็นไปของวิทยาลัยนั้นด้วย แต่เพื่อจะให้สมเหมาะกับที่เป็นสถานศึกษาเล่าเรียนโบราณคดีชั้นสูง แทนที่จะได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสตาม ที่เคยในที่อื่น ๆ คณบดีผู้แสดงคำอภิปรายเชื้อเชิญนั้นได้ใช้ภาษา ละตินซึ่งเป็นภาษาโบราณมีรัศมีศรีสง่าอยู่ในตัวกว่าภาษาสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นธรรมดาต้องเป็นที่นิยมนับถือของปราชญ์ราชบัณฑิตน้อยกว่าภาษาละตินซึ่งเป็นภาษามีอายุอาวุโสสูง เย็นวันนั้น ท่านอัครราชทูตได้คิดคำอาณัติสัญญาสำหรับทหารในเมืองว่า.- " Pant qu'iltriomphera, Je me rejouirai " (ตังต์ กิล ตรียงเฟอรา เยอ เมอเรยูย์เร่ย์) ซึ่งแปลว่า :- " พระองค์จะ ทรงมหาชัยอยู่นานตราบใด ข้าพเจ้าก็มีความยินดีอยู่นานตราบนั้น " ๖๐ แท้จริง แม้ถึงท่านเดอปอมะเรยซึ่งเป็นนักดนตรีและชำนาญในทางจินตกระวี เคยนิพนธ์คำเฉลิมพระเกียรติถวายจนมีชื่อเสียงมา หลายครั้งแล้วได้เป็นผู้ออกอาณัติเอง ก็คงคิดไม่เหมาะกว่าคำนี้เลย ทั้งนี้เป็นที่น่าสรรเสริญท่านราชทูตสยามไม่ใช่น้อย. การรับประทานอาหารเย็นของราชทูตที่เมืองดูแอย์ได้ดำเนิรไป ตามธรรมเนียมที่เคยมาในเมืองอื่น คือท่านเจ้าเมืองได้จัดให้พวกมะโหรีมาบรรเลง และมีนางผู้ดีมานั่งดูและสนทนากัน แต่เพราะเหตุที่เมืองดูแอย์เป็นเมืองใหญ่ นางผู้ดีที่มาประชุมในเย็นวันนั้น ออกจะมากจนล้นห้อง บรรดาพวกผู้ชายเข้าไม่ได้เลยสักคนเดียว. รุ่งขึ้นเวลาเช้า ท่านเดอ ปอมะเรย ได้จัดรถของท่าน ๓ คัน มาคอยรับราชทูตจะพาไปดูโรงหล่อของกรมทหาร วันนั้นมงเซียร์ เกล์แลร์ ผู้บังคับการแผนกหล่อหลอมต่าง ๆ ในโรงหล่อนั้น ได้ตระเตรียมจะหลอมปืนใหญ่ชะนิดกะสุนหนัก ๒๕ ชั่ง ๔ กะบอก และชะนิดกะสุนหนัก ๑๖ ชั่ง ๒ กระบอกให้ท่านราชทูตดู. แต่ขณะที่ราชทูตไปถึงนั้น น้ำแร่ที่จะหล่อเป็นปืนนั้นยังหลอมไม่ค่อยจะได้ดี ฉะนั้นในระวางเวลาคอยน้ำแร่ให้ได้ที่เหมาะสำหรับ หล่อนั้น มงเซียร์เฟลอรีจเรปืนใหญ่ได้พาท่านราชทูตไปดูแม่พิมพ์สำหรับหล่อปืนเหล่านั้นไปพลางก่อน และได้อธิบายเรื่องแม่พิมพ์แบบหล่อนั้นให้ราชทูตเข้าใจดี สิ่งในแม่พิมพ์ซึ่งท่านราชทูตได้ดูแล้วดูอีก ด้วยความทะเยอทะยานอยากรู้อยากเข้าใจจริง คือแม่พิมพ์ที่ใช้สำหรับหล่อก้นปืนใหญ่ ท่านเฟลอรีก็ได้อธิบายให้ราชทูตฟังจนเข้าใจตอนนี้ ๖๑ แล้ว ท่านก็ได้พาไปดูเครื่องมือต่าง ๆ มีเลื่อยเหล็กเป็นต้นซึ่งใช้เลื่อย สกัดแต่งปุ่ม ๆ ปม ๆ ที่มีติดตามลำกระบอกปืนบ้าง. ดูพลางคุยพลางท่านราชฑูตกล่าวว่า:-"ที่เมืองไทยก็มีปืนเขื่องๆอยู่เหมือนกัน แต่ทำเกลี้ยง ๆ ไม่วิจิตรพิสดารเท่าที่เห็นอยู่ที่เมือง ดูแอร์นี้ แต่ทว่าถ้าจะพูดไปถึงเนื้อแร่ธาตุที่ใช้ทำปืนแล้ว ก็ดูเหมือน ว่าเนื้อแร่ที่ใช้ในเมืองไทยจะดีกว่าแร่ที่ใช้ในเมืองดูแอย์นี้เสียอีก" ต่อมาท่านราชฑูตสังเกตเห็นตามลำกะบอกปืนใหญ่นั้น บางกะบอกเป็นรูปสัตว์สิงห์และเครื่องไม้ต่างๆ ท่านก็ถามว่า.- " ก็รูปสัตว์สิงห์ต่าง ๆ เหล่านี้เขาทำอย่างไรกัน เห็นจะยากกะมัง " ท่าน เฟลอรีตอบว่า:- " ทำไม่ยากอะไรนักดอกเจ้าคุณ เชิญเจ้าคุณมาทาง นี้เถอะ จะได้เห็นว่าเขาทำอย่างไรกัน " แล้วก็พากันไปดูพวกช่าง แผนกแกะกะบอกปืน พอท่านราชฑูตแลเห็นวิธีเขาทำกันก็เข้าใจ ได้ทันทีว่าเป็นของทำไม่สู้ยาก นอกนั้นท่านยังได้รอดูการขัดเกลา ลำกะบอกข้างในและการหล่อเล็กหล่อน้อย จนกว่าน้ำแร่สำหรับหล่อ ปืนใหญ่จะได้ที่ ต่อมาสักครู่หนึ่งพอน้ำแร่ได้ที่ดีแล้วเจ้าพนักงานก็ได้ เชิญท่านไปดูการหล่อปืนใหญ่นั้นแต่ต้นจนสำเร็จ ก็เป็นที่พอใจอย่างยิ่งการไปดูครั้งนี้ท่านราชฑูตถามแล้วถามอีกวัดแล้ววัดเล่า จนรู้ขนาด วิธีสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ อย่างที่ทำกันในเมืองดูแอย์สิ้นทุกอย่างทุก ชะนิดก็ว่าได้. ครั้นออกจากการดูหล่อปืนใหญ่แล้ว เจ้าพนักงานได้พาไปดูโรงเก็บสาตราวุธต่างๆสำหรับค่ายเมืองดูแอย์ มีทั้งปืนใหญ่กะบอกยาว ๖๒ กะบอกสั้น ปืนยิงด้วยกะสุนเหล็กกะสุนศิลา พร้อมด้วยลูก กะสุนเสร็จนับตั้งสามร้อยกะบอก ท่านราชทูตจึงกล่าวชมเชยไปต่าง ๆ ว่า:- " เจ้าคุณเสนาบดีกระทรวงกลาโหมช่างมีปรีชาญานและเพียรพยายามสำคัญจริงหนอท่าน หาไม่ที่ไหนเมืองดูแอย์นี้ยังจะพร้อมไปด้วยเครื่องสาตราวุธยุทธภัณฑ์มากมายล้นหลาม เหมือนกับที่มีอยู่เดี๋ยวนี้เล่า อย่าว่าแต่มีอาวุธและกะสุนดินปืนเพียงพอสำหรับป้องกันมิให้เมืองดูแอย์ตกอยู่ในเงื้อมมือศัตรูเลย ถึงจะส่งอาวุธยุทธภัณฑ์เหล่านี้ไปยังค่ายอื่นเมืองอื่น เพื่อป้องกันตัวบ้างเท่าไร ๆ ก็ยังเหลือพอถมเถไปเสียอีก " เมื่อเดิรออกมาท่านราชทูต ยังกล่าวชมเชยท่านเสนาบดีกลา โหมไปอีกต่าง ๆ ว่า.- " พณ ฯลฯ ช่างสามารถจริงเจียวเพราะเมือง ดูแอย์นี้ เป็นแต่เพียงซีกเสี้ยวอันเล็ก ๆ น้อย ๆ ในหน้าที่ของท่าน ๆ ยังจัดการได้แข็งแรงถึงเพียงนี้ แท้จริงก็ไม่ประหลาดอะไร เพราะธรรมดาพระมหากษัตริย์ธิราชเจ้า ผู้ทรงพระอภินิหารเป็นที่มหัศจรรย์เหมือนพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระองค์นี้แล้ว เป็นต้องประกอบไปด้วยข้าบาทราชบริพารอันสามารถสำหรับคู่พระบารมีอยู่เสมอ พระองค์ท่านทรงพระวิจารณญาณอันประเสริฐจริงจึงเลือกเฟ้นจำเพาะวิริยบุรุษที่สามารถเช่นนี้มาทรงตั้งเป็นเจ้าพนักงานสำหรับดูแลการบ้านเมืองทั่วไปต่างพระเนตรพระกรรณของพระองค์ " ที่จริงท่านราชทูตกล่าวยกย่องพระบารมีที่ตรงหัวข้อนี้ นับว่าเป็นความเฉลียวฉลาดของท่านเป็นพิเศษยิ่ง เพราะความจริงประเทศบ้านเมืองฝรั่งเศส ๖๓ รุ่งเรืองถึงปานนี้ ก็ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงตั้งผู้สามารถในหน้าที่สำคัญต่างพระองค์นั่นเองมิใช่อื่นเลย พอออกจากโรงแสงสรรพาวุธแล้วได้ไปดูโรงเรียนทหารปืนใหญ่และเจ้าพนักงานให้ลองยิงปืนใหญ่นั้นให้ดู ท่านราชทูตเห็นแล้วก็สรรเสริญว่า :- " ยิงแม่นจริง ถูกสูนย์กลางขาวแทบทุกที แต่การยิงแม่นยำนั้นเป็นแต่ส่วนหนึ่งแห่งความดี ของทหารปืนใหญ่เหล่านี้เท่านั้นสิ่งที่หน้าชมยิ่งอีกก็คือการแคล่วคล่องว่งไว ไหนบัดเดี๋ยวบรรจุบัดเดี๋ยวเล็ง บัดเดี๋ยวยิง บัดเดี๋ยวบรรจุใหม่อีก บัดเดี๋ยวเช็ดแล้วในทันควันทีเดียว หน้าชมมาก " พอดูการยิงปืนใหญ่แล้วก็ได้ดูการขว้างปาด้วยลูกระเบิด แล้วไปเที่ยวดูรอบค่ายเมืองตลอด. ในตอนบ่ายวันนั้นราชทูตได้ไปดูค่ายเดอแลสการ์ปอีกค่ายหนึ่ง ท่านดือ เรอแปร์ ผู้บังคับการอยู่ที่นั้นก็ได้ยิงปืนคำนับรับราชทูต และมีทหารยืนเรียงรายเป็นเกียรติยศอีกตามเคย แล้วท่านก็ได้เชิญบรรดาราชทูตให้เข้าไปในบ้านของท่าน เพื่อจะให้อบอุ่นบันเทาความหนาวลงหน่อยเพราะวันนี้อากาศค่อนข้างจะหยาวมากอยู่ด้วย ที่บ้านนั้นท่านราชทูตได้พบกับนางดือ เรอแปร์และธิดากับแหม่มบารอนสักครู่หนึ่งแล้ว ๆ แหม่มเดอเรอแปร์ได้เลี้ยงท่านราชทูตด้วยของว่างกลางวัน แต่ท่านดือเรอแปร์คัดค้านว่า :- " วันนี้หนาวนักเชิญเจ้าคุณรับประทานเหล้าองุ่นด้วยกันเสียก่อนเถิด แล้วจึงค่อย


๖๔ รับประทานของอื่นต่อไป " ใคร ๆ ก็เห็นพ้องด้วย ก็เลยพา กันชิมขวดนี้ขวดนั้นเป็นหลายขวดหลายชะนิดจึงได้ลงมือรับประทานอาหาร. ในเวลาที่กำลังเลี้ยงกันอยู่นั้น ท่านราชทูตได้สังเกตเห็นธิดาของท่านดือเรอแปร์ประกอบด้วยลักษณะรูปร่างสวยงามนัก ท่านจึงเอ่ยขึ้นว่า  :- " บุตรีของท่านคนนี้รูปร่างเข้าทีมาก ถ้าท่านและบุตรีของท่านเห็นด้วย ข้าพเจ้ายินดีจะรับเป็นลูกสะไภ้ เพราะที่เมืองไทยนั้นข้าพเจ้ามีลูกชายอยู่คนหนึ่ง เข้าใจว่าสมเหมาะกับที่จะมา เป็นลูกเขยของท่าน ด้วยว่าต่อไปข้างหน้าข้าพเจ้าเชื่อว่าเขาคงมียศบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางผู้ใหญ่ในเมืองไทยคน ๑ เหมือนกัน ท่าน จะว่ากะไร " ท่านพ่อยังไม่ทันตอบ บุตรีชิงค้านขึ้นก่อนว่า :- " ดิฉันไม่เห็นด้วย จะเห็นด้วยไม่ได้ เดี๋ยวจะเป็นน้อยเป็นหลวงอะไรกันยุ่ง เมียตั้งร้อยดังนี้ดิฉันไม่ยินดีเจ้าค่ะไม่ยอมรับเป็นอันขาด " ท่านราชทูตจึงตอบว่า :- " เธออย่าพึ่งปฏิเสธเด็ดขาดเลย ถ้าเธอได้ไปเมืองไทยให้ลูกเราเห็นหน้าแล้วเข้าใจว่า ลูกเราคงผูกสมัครรักใคร่แต่เธอคนเดียวเป็นแน่ คงไม่กังวลกับการที่จะแสวงหาหญิงอื่นมาปรนนิบัติอีกต่อไป ขอเธออย่ามีความสงสัยเลย " ขณะที่กำลังสนทนาปราศรัยกันอยู่อย่างเพลิดเพลินเจริญใจยังมิทันที่จะสิ้นเรื่องราวลงก็พอดีคนใช้มาบอกว่า :- " คุณพ่อเยซวิตได้เตรียมการไว้คอยท่าสำหรับรับรองท่านราชทูตอยู่พร้อมเพรียงแล้ว "


๖๕ ก็เลยลาและพากันไปเยี่ยม สำนักของท่านบาดหลวงเยซวิตซึ่งอยู่ในเมืองดูแอย์นั้น พอย่างเข้าไปในสำนักนั้นก็เห็นเป็นห้องโถงใหญ่สำ หรับเป็นที่ประชุมคนมาก ๆ มีคนดีดสีตีเป่าร้องรับขับเพลงต่าง ๆ อย่างที่ราชทูตยังไม่เคยเห็นที่ไหน ดูก็น่าจะเล่าสู่กันฟังบ้างพอเป็น ใจความเลา ๆ โดยสังเขป การต้อนรับที่สำนักบาดหลวงเยซวิตนี้จัดเป็นละคอนเทวดากับมนุษย์สลับกัน ในองก์แรกมีเทพยดาผู้ประจำเมืองฝรั่งเศส ( จะ สมมุติเป็นพระเสื้อเมืองพระหลักเมืองฝรั่งเศสก็ไม่ผิด ) เสด็จออก มาจากหลังฉาก จูงพระหัตถ์พระสยามเทวราชพลางชวนว่า:- " เชิญน้องมาเถิด ! มา ! เราจะพากันทำมิตรไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ ขัตติยมหาราชเชิญน้องมาเถิด ! มา ! " ถัดมาองก์ที่ ๒ เมื่อพระสยามเทวราชกำลังเจรจากับพระฝรั่งเศสเทวราชอยู่นั้น มีเทพยดาอีก ๒ องค์ คือพระเทพเผยเดชกำ จาย และพระเทพบรรยายคุณกำจรซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ประกาศพระ เดชานุภาพและเกียรติคุณของพระมหากษัตราธิราช ได้ออกมา ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีชมพระเกียรติ พระยศ พระคุณธรรม พระศรัทธาธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ให้โลกเห็น ว่าพระองค์ทรงธรรมาภรณ์และกอบไปด้วยเดโชชัย สมเป็นปิยมหาราชาธิราชโดยแท้. ๙


๖๖ ในองก์ที่ ๓ เมือพระสยามเทวราชได้ทราบคุณประวัติอันเป็น ศุภมงคลจากเทพยดาทั้ง ๒ ซึ่งได้อุโฆษณาการองก์ที่ ๒ ดัง นี้แล้ว ก็บังเกิดความโสมนัสปีติยินดีเป็นที่สุดที่จะเห็นชาวไทย คน ในอารักขาของตนได้มารับส่วนร่มเย็นในฉายา แห่งพระเกียรติคุณ ของพระองค์ พร้อมด้วยมหาสัมพันธมิตรของพระองค์อันมีอยู่ในโลก วิสัยทั้ง ๘ ทิศ ก็ร้องเพลงสาธุการยินดีชวนชาวไทยให้มาทำมิตร ไมตรีกับชาวฝรั่งเศส. ในองก์ที่ ๔ ซึ่งเป็นองก์สุดท้าย พระสยามเทวราช พระ ฝรั่งเศสเทวราชกับบริวาร ก็เสด็จมาแต่ทิพยวิมาน สำหรับช่วย เหลือในพิธีการมงคลซึ่งบังเกิดมีในมนุษยโลกครั้งนี้ ต่างก็กวัก หัตถ์ชวน ชาวไทย ชาวฝรั่งเศสเข้ามาทำมิตรไมตรีสมัครรักใคร่กัน เป็นเหมือนพี่น้อง ฉลองเป็นงานใหญ่หลวงและหลามไปด้วยชาว ชนพลเมืองทั้งสองพระนคร ซึ่งแสดงความยินดีเอิกเกริกครึกครื้น ครั้นสิ้นละคอนเทวดาแล้ว คุณพ่อเยซวิตนั้นได้เชิญราช ทูตไปรับประทานอาหารอีก แต่อาศัยที่พึ่งได้รับประทานมาจากบ้านของท่านดือเรอแปร์ผู้บังคับการในค่ายไม่สู้นาน จึงเป็นแต่เข้านั่ง ร่วมโต๊ะด้วยพอเป็นพิธีมากกว่าอื่น เพราะใคร ๆ ก็ยังไม่หิวเลย ท่านราชทูตจึงกล่าวคำขอบใจบรรดาคุณพ่อเหล่านั้นว่า .- " อาหารเครื่องบำรุงกำลังที่คุณพ่อจัดนี้ก็ล้วนแต่ของดีมีโอชาวิเศษอยู่ แต่


๖๗ อาหารเครื่องบำรุงใจ กล่าวคือละคอนเทพยดานั้นยิ่งมีโอชารสกว่าอาหารอื่น ๆ เสียอีก ยิ่งรับประทานก็ยิ่งอยากไม่อิ่มเลย น่าชมเชย คุณพ่อเป็นอันมาก ในการที่อุตส่าห์พยายามฝึกฝนกุลบุตรให้เฉลียวฉลาดในทางที่ดีที่งามดังนี้ แท้จริงขบวนครูบาอาจารย์แล้วคุณพ่อเป็นนเอกไม่มีที่สงสัยไม่มีใครจับเป็นแน่ดีจริง เป็นการกุศลจริง " เย็นวันนั้น เมื่อกลับบ้านแล้วราชทูตให้อาณัติสัญญาสำหรับทหารในคืนวันนั้นว่า .- " Aux amis je fournis du bruilaux ennemis la most " (โอซามิส์เยอ ฟูร์นีซ์ ดือ บรุยต์; โอเซเนอมีส์ ลามอรต์) แปลว่า ขึ้นชื่อว่ามิตรแล้วข้าร้องสรรเสริญ, แต่ขึ้น ชื่อว่าศัตรู ข้าร้องขู่จนตาย หมายความว่า เมืองดูแอย์นี้ถ้าใคร มาเยี่ยมเป็นมิตรเหมือนเช่นราชทูตไทยนี้เป็นต้องยิงปืนสลุตทันที แต่หากจะเป็นศัตรูจู่เข้ามาแล้วเป็นต้องยิงปืนจนมันวินาสทีเดียว กล่าว ทั้งนี้เพื่อเกียรติยศแก่เมืองดูแอย์ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญในทางหล่อปืน ใหญ่นั้นเอง. เย็นวันนั้นถึงราชทูตจะได้กินเข้ามาสามแห่งแล้วก็ดี แต่เมื่อท่านแลเห็นมีนางผู้ดีมาคอยจะทักทายปราศรัยในเวลาท่านกินเข้าตามธรรมดา ท่านก็ยังอุตส่าห์นั่งที่โต๊ะกินไปอีกหนหนึ่งเป็นครั้งที่ ๔ เพื่อมิให้เสียพิธีให้นางผู้ดีเหล่านั้นเก้อกลับบ้าน โดยไม่ได้พูดจาปรา ศรัยกับราชทูตสมดังกับที่ตั้งใจมา.


๖๘ บทที่ ๕๙ ราชทูตถึงเมืองกังแบรย์ รุ่งขึ้นวันที่ ๑๓ เดือนพฤศจิกายน ราชทูตพากันเดิรทางไป เมืองกังแบรย์ต่อไป การออกจากเมืองดูแอย์มีทหารเป็นกองเกียรติยศรายเรียงไปตามทางดุจเดียวกับเมื่อเข้าเมืองไม่มีผิด พอมาถึง เมืองกังแบรย์ ก็มีการยิงปืนและมีทหารเรียงรายไปตามทางคอยรับ เป็นแบบเดียวกัน ผิดกันอยู่ก็ที่มีผู้คนมาคอยดูแน่นกว่าที่เมือง ดูแอย์เท่านั้น. เมืองกังแบรย์นี้ มีชื่อปรากฎมาแต่โบราณว่า เป็นเมืองใหญ่ โตงามสง่าแข็งแรงในทวีปยุโรป ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำแอสโกต์ มี ป้อมอยู่สองป้อมแน่นหนายิ่งนัก และมีวัดน็อตร์ด้ามอยู่วัดหนึ่ง เป็นวัดใหญ่และงามมากกว่าวัดอื่น ๆ พระสงฆ์ที่ทรงถานันดรศักดิ์ ในวัดนั้นมีอยู่ถึง ๔๘ องค์ และพระสงฆ์อันดับอีก ๙๕ องค์ เดิม วัดนี้เมื่อก่อนคริศตศก ๑๐๙๕ ก็เป็นวัดขึ้นของท่านสังฆราชเมือง อาราส แล้วต่อมาก็มีสังฆราชปกครองคณะสงฆ์เป็นอิสสระอยู่ต่างหาก ไม่ต้องขึ้นต่อท่านสังฆราชเมืองอาราสตลอดมา จนศก ๑๕๕๙ ครั้นถึงศาสนสมัยขององค์สันโตปาปาเปาโลโลที่ ๒ พระองค์ได้ทรง เพิ่มเกียรติยศแก่วัดเมืองกังแบรย์นี้อีกชั้นหนึ่ง ทรงตั้งตำแหน่งสังฆราชขึ้นเป็นมหาสังฆราช มีอำนาจว่ากล่าวสั่งสอนสังฆราชวัดอื่นอีกด้วย


๖๙ เมืองกังแบรย์นี้ สมเด็จพระเจ้าโคลดิยงเป็นพระราชองค์แรก ที่ได้ตีเอามาเป็นราชอาณาจักรของประเทศฝรั่งเศส ในคริศตศักราช ๔๔๕ เมืองกังแบรย์จึงได้ตกเป็นของฝรั่งเศสตลอดมาจนถึงศก๘๔๓ ซึ่งเป็นรัชชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าชาร์ล เลอ โซฟ ( ขุน หลวงชาร์ลศีร์ษะล้าน ) ขณะนั้นเมืองกังแบรย์ได้เป็นเมืองแก่งแย่ง กันระหว่าง ๓ เจ้าของ คือกษัตริย์ฝรั่งเสศฝ่ายหนึ่ง กษัตริย์ สเปญฝ่ายหนึ่ง และท่านกงต์เดอ ฟลังดร์ ซึ่งเป็นเจ้าของแคว้นฟลังดร์ คือดินแดนซึ่งเป็นปริมณฑลแวดล้อมเมืองกังแบรย์นั้นเอง ข้างฝ่าย ฝรั่งเศสเพื่อจะมิให้เสียไมตรีกับประเทศสเปญ ได้ยินยอมให้เมือง กังแบรย์เป็นเมืองเอกราชส่วนหนึ่งต่างหาก มิให้พระเจ้ากรุงสเปญ เข้าไปมีอำนาจเกี่ยวข้องด้วย การแก่งแย่งก็เป็นอันสงบมา ส่วน พระเจ้ากรุงสเปญต่อมาอีกหลายพระองค์ต่างก็ยังถือสัญญาเพื่อจะไม่ให้เสียพระราชไมตรีเหมือนกัน คงยินยอมให้เมืองกังแบรย์เป็น อิสสระกั้นกลางอยูในระวางแดนดินฝรั่งเศส และเมืองขึ้นของสเปญเป็นลำดับมา แต่ครั้นมาถึงรัชชสมัยของพระมหาจักรพรรดิ ชาร์ลแกงต์ หรือพระเจ้าชาร์ลมหาราชที่ ๕ แห่งสเปญพระองค์ทรงอานุภาพมาก กลับไม่ทรงยินยอมให้เมืองกังแบรย์เป็นเมืองอิสสระกลาง ๆ สมตามความตกลงเดิม พระองค์จึงยกกองทัพเข้าเมืองกังแบรย์ได้ แต่เพื่อมิจะให้ชาวเมืองกำเริบ พระองค์มิทรงบอกเงื่อนแห่งพระราชประสงค์ กล่าวคือพระองค์ทรงประกาศว่า การที่พระองค์ยกมาครั้งนี้ ขออย่าให้ชาวเมืองได้เข้าใจผิด พระองค์มิได้มาเพื่อจะยึด

๗๐ เอาเมืองกังแบรย์นี้เป็นเมืองขึ้นของประเทศสเปญหามิได้เลย พระองค์มา โดยหวังความสวัสดีต่อชาวเมืองเองมิใช่อื่น และพระองค์อ้างว่า พระองค์ได้ทราบในราโชบายของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสว่าทรงหมายพระทัยจะตีเมืองกังแบรย์ ทำเป็นประเทศราชของประเทศ ฝรั่งเศสต่างหาก และคราวนี้เพื่อจะรักษาอิสระของเมืองกังแบรย์ให้มั่นคงถาวรต่อไป ขอให้บรรดาชาวชนพลเมืองทั้งหลายจงช่วยชาวสเปญให้พรักพร้อมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จะได้สร้างค่ายคูประตูหอรบให้แข็งแรงมั่นคง ถึงข้างฝ่ายกรุงฝรั่งเศสจะปองร้ายหมายตีครั้งใด ชาวเมืองจะได้รักษาบ้านเมืองมิให้เป็นอันตรายแก่ศัตรูโดยง่าย เมื่อชาวเมืองได้ยินดังนี้ จะเป็นเพราะเกรงพระบารมี หรืออะไรไม่ทราบ กลับเห็นดีด้วยพระราชกระแสของพระเจ้ากรุง สเปญเลยพร้อมกันช่วยสร้างค่ายคูป้อมกำแพงแข็งแรงแน่นหนา แต่ นั้นมา (คริศตศักราช ๑๕๔๓) เมืองกังแบรย์ก็เลยตกเป็นเมืองประเทศราชของสเปญ ทั้งที่ขึ้นชื่อลือนามว่าเป็นเมืองตีไม่แตก (กรุงศรีอยุธยาอีกกรุงหนึ่งนั้นเอง) ก็เนื่องมาจากที่สร้างกำแพงคราวนี้ แต่ถึงเป็นเมืองที่ลือว่าตีไม่แตกนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์มหาราชเจ้า ยังทรงตีแตกได้ในไม่กี่วันเลยเข้าเมืองกังแบรย์ได้ในวันที่ ๑๖ มีนาคม ๑๖๗๗. ป้อมใหญ่สำหรับป้องกันเมืองกังแบรย์นั้นมีอยู่สองป้อมๆหนึ่งอยู่ ในที่สูงเด่นกว่า เมืองอาศัยป้อมนี้ป้อมเดียวอาจป้องกันเมืองทั้งเมืองก็ได้คูรอบป้อมนี้ขุดออกมาจากเนินศิลาล้วน ฝั่งคูจึงเป็นกำแพงหินแข็ง

๗๑ แรงทนทานยิ่ง คูอื่น ๆ รอบเมืองขุดลึกและกว้างทั้งนั้น ซ้ำมีหอรูปอยู่รายทางตลอด และตามด้านฝั่งแม่น้ำมีป้อมใหญ่อยู่อีกป้อมหนึ่งป้องกันเมืองจากที่ราบ เพราะด้านนั้นเป็นท้องทุ่งลุ่มมาก หากเปิดประตูคูเมื่อไรน้ำจะท่วมทุ่งฝ่ายข้างด้านนี้หมด เป็นที่ป้องกันเมืองอย่างดีอีกชั้นหนึ่ง ถนนหนทางต่าง ๆ ในเมืองกังแบรย์นั้นล้วนหันเข้าหาศูนย์กลางของเมืองทุกสาย และตรงหัวต่อที่ศูนย์กลางของเมืองนั้น เป็นที่ตั้งอยู่ของศาลากลางสำหรับว่าการมณฑลเป็นตึกสูงสง่างาม ข้างด้านหน้ามีหอนาฬิกาใหญ่ เป็นนาฬิกาอย่างประหลาดน่าดู ไม่ว่าแขกเมืองไหนที่มาเมืองกังแบรย์ต้องพาไปดูนาฬิกากลางเมืองนี้ด้วย. เมื่อราชฑูตถึงที่พักแล้ว ไม่ช้าท่านกงต์เดอมงบรงผู้ว่าราชการเมืองก็นำข้าราชการมีท่านแดร์ ครือเซเลียรส์ เป็นต้นมาเยี่ยมเยียนราชฑูตตามธรรมเนียม แล้วท่านแดร์ครือเซเลียรส์ซึ่งใส่หมวกกำมะหยี่ดำ สวมเสื้อยศยาวดำตามตำแหน่งก็ได้กล่าวรับรองราชทูตว่าดังนี้ " ท่านเจ้าคุณราชฑูต กิจศุภมงคลซึ่งทำให้ข้าพเจ้าทั้งหลายมาประชุมกันเพื่อคำนับรับรองท่านวันนี้เป็นสักขีพะยานให้รูเห็นเด่นชัดว่าถึงแม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์มหาราชเจ้าเป็นมหากษัตริย์ ซึ่งบริบูรณ์ไปด้วยศฤงคารอย่างเหลือล้น ก็ยังไม่เทียมเท่ากับราชคุณธรรมอันประเสริฐซึ่งอบรมอยู่ในดวงหฤทัยของพระองค์ และเปล่งรัศมีสว่างไพโรจน์แผ่สร้านไปทั่วทิศานุทิศ กระทั่งทิศบุรพาอันแสน

๗๒ ไกลของท่านเจ้าคุณราชฑูตพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามมหาราชเจ้าของเจ้าคุณ จึงได้ทรงพระปรารภในการที่จะผูกพระราชไมตรีกับพระองค์ พระองค์จึงได้ทรงเลือกตั้งเจ้าคุณทั้งหลายเป็นราชทูตานุฑูตของพระองค์ส่งมายังกรุงฝรั่งเศสคราวนี้ แท้จริงพระเจ้ากรุงสยามของเจ้าคุณทรงปรารภในทางที่ถูก ด้วยเหตุว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสของเรานี้ เป็นที่นิยมยินดีของชาวชนพลเมืองทั้งหลายในแว่นแคว้นของพระองค์ ว่าพระองค์ทรงเจริญ ในทางสุจริตธรรมให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์อยู่เย็นเป็นสุขปราศ จากทุกข์จนสุดพระกำลังของพระองค์ จนแซ่ซร้องไปทั่วขอบจักวาฬ." " เจ้าคุณจงโปรดสังเกตว่า การผูกสัมพันธมิตรไมตรีคราวนี้เป็นการสำคัญอย่างใหญ่หลวง ชะนิดที่ไม่ค่อยมีปรากฎในพงศาวดารเพราะเป็นพระราชไมตรี ในระวางพระมหากษัตราธิราชเจ้าแห่งบุรพทิศและพระมหากษัตราธิราชแห่งปัจฉิมทิศ ซึ่งพระองค์เป็นหลักโลกองค์เดียวฝ่ายละทิศ ถ้าพลิกพงศาวดารกลับถอยหลังเกือบตั้งพันพรรษา จึงจะได้พบมงคลสมัยมิตรไมตรีอันวิเศษในระวางบุรพทิศและปัจฉิมทิศ กล่าวคือรัชชสมัยของพระมหาจักรพรรดิฝรั่งเศสองค์แรก คือสมเด็จพระเจ้าชาร์ลมหาราชเจ้าเมื่อพระองค์ทรงปราบพวกลมบาร์ด์ ซึ่งเบียดเบียฬองค์องค์สันโตปาปาอาดรียาโนที่ ๑ และองค์สันโตปาปาทรงถวายพระเกียรติยศให้พระองค์เป็นพระมหาจักรพรรดิ ในบรรดาคริศตขัตติยราชทั้งหลายนั้น ขณะนั้น เกียรติยศเกียรติคุณของพระองค์ระบือลือไกลไปทั่วทิศนุทิศ

๗๓ จนกษัตริย์กรุงเปอร์เซีย กษัตริย์กรุงแฟล์ ต่างส่งราชทูตานุทูต มาเจริญพระราชไมตรีกับพระองค์ มีอยู่แต่คราวนั้นคราวเดียว และบัดนี้ก็จำเพาะมามีซ้ำ ในมงคลสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์มหาราชเจ้าของเรานี้เข้าอีก ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์ทรงคุณธรรมอันประเสริฐเสมือนหนึ่ง พระมหาจักรพรรดิชาร์ลมหาราชพระองค์เดิม นั้นนั่นเอง ทั้งสองพระองค์ทรงมุ่งพระทัยถือเป็นเกณฑ์แห่งการ ปกครองอย่างเดียวให้ราษฎรพลเมืองอยู่เย็นเป็นสุข และเป็นด้วยเหตุนี้ที่พระองค์ทรงขับไล่พวกมิจฉาทิฏฐิบรรดาถือลักทธิวิสัยของมิจฉาจาริย์ลูแทร์และกัลวิน มิให้มันทำวุ่นวายในบ้านเมืองได้. เป็นบุญของพลเมืองแห่งพระองค์ที่จำเพาะได้อุบัติขึ้นในรัชชสมัยของพระองค์ และบุญมหาลาภอันนี้หากพระเจ้ากรุงสยามจะจำลองอย่างพระองค์ในการปกครองราษฎรแล้วไซร้ ก็ได้บังเกิดมีขึ้นในดวงกมลแห่งชาวเมืองไทยด้วยเหมือนกัน ถ้าต่างคนต่างเลือมใสใน ทฤษดีเห็นชอบของเจ้าคุณ ซึ่งเจ้าคุณจะได้นำไปเป็นสมบัติส่วนตัว จากเมืองนี้แล้ว อย่าว่าแต่จะอยู่เป็นสุขในใต้ร่มโพธิ์ทองอันประเสริฐของพระมหากษัตริย์ในโลกนี้เท่านั้นเลย ยังจะหวังต่อความบรมสุขในใต้ร่มโพธิ์ทองอันประเสริฐยิ่งของกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งหลายในวิมานสวรรค์ กล่าวคือพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงครองดินฟ้าอากาศให้ดำรงในความร่มเย็นสุขสภาพอย่างหาเปรียบเทียบมิได้ด้วย. อาศัยความหวังของเราต่อชาวเมืองไทยในสุดท้ายนี้ เราจึงขอกล่าวคำอำนวยพรของจินตกระวีละตินโบราณว่า :- . " Vivite Foelices, ๑๐ ๗๔ quibus est fortuna peracta, Vobis parta quies est nulium jam scquer a andum " ซึ่งแปลว่า :- " จงอยู่เป็นสุขถาวรเถิด การที่ท่านได้พวกเพียรพยายาม จนทำการสำเร็จตามความมุ่งหมายนั้น บัดนี้ถึงเวลาพักด้วยสิริมงคลแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องตรากตรำให้ลำบากแล้ว ขอจงอยู่เป็นสุขเถิด " และเราขอเพิ่มคำอธิบายของเราติดท้ายคำกลอนสองวรรคนี้ว่า :- " บรรดาชาวสยามทั้งหลายเอ๋ย ขอจงอยู่เป็นสุขเถิดในวาระที่ราชทูตอันแกล้วกล้าของท่านจะได้กลับไปสั่งสอนให้ท่านทั้งหลายรู้จักทางดำเนิรอันชอบ เพื่อจะประสพพบเห็นบรมสุขอันแท้จริงทั้งในโลกนี้ทั้งโลกหน้าด้วยเทอญ นี่แหละเจ้าคุณทั้งหลาย คำอำนวยพรของเราชาวเมืองกังแบรย์ในโอกาสที่ท่านมาเหยียบบ้านเมืองของเราคราวนี้ " เมื่อเสร็จคำเชื้อเชิญของท่านแดส์ครือเซเลียร์แล้ว บรรดาท่านกรมการเมืองกังแบรย์ได้นำเอาเหรียญทองที่ระลึกมาให้ราชทูตเหรียญทองนี้หนัก ๒๗ ปิสตอล (ประมาณ ๗ บาท ๒ สลึงไทย) ด้านหน้ามีพระบรมฉายาลักษณ์แห่งสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และมีคำจารึกว่า .- Ladovico Victore et pacis Datore (สมเด็จพระเจ้า หลุยส์ผู้ทรงชัยและสันติภาพ) และด้านข้างหลังเป็น รูปเมืองกัง แบรย์มีคำจารึกว่า :- " DVLCIVS VIVIMVS " (เราอยู่เป็นสุข) คำจารึกด้านหลังนี้มีแปลกอยู่ที่อักษรเหล่านี้ (ยกเสียแต่ตัว S) ถ้าจะรวมคำนวณตามราคาตัวหนังสือที่สมมุติใช้ต่างเลข (เช่นที่หน้าปัดนาฬิกาเป็นต้นซึ่งเรียกว่า เลขโรมันนั้น) ก็ได้จำ

๗๕ นวนเลข ๑๖๗๘ ซึ่งตรงพอดีกับปีคริศตศักราชที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงชัยชำนะต่อพระเจ้ากรุงสเปญ พระเจ้ากรุง สเปญต้องยอมยกเมืองกังแบรย์นี้ขึ้นเป็นสิทธิขาดแก่พระองค์ (ขออธิบายวิธีนับนั้นหน่อย คือตัว D = ๕๐๐ ,ตัว V = ๕ , ตัว I = ๕๐ , ตัว C = ๑๐๐ ตัว I = ๑ , ตัว V = ๕ , ตัว V = ๕ , ตัว I = ๑ , ตัว V = ๕ ตัว ตัว I = ๑ ,ตัว M = ๑๐๐๐ ตัว , V = ๕ รวมได้จำนวนเลขดังนี้ ๕๐๐ + ๕ + ๕๐ + ๑๐๐ + ๑ + ๕ + ๕ + ๑ + ๕ + ๑ + ๑๐๐๐ + ๕ = ๑๖๗๘ ซึ่งตรงกับศักราชที่เมืองกังแบรย์ได้ตกเป็นของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ) เมื่อท่านแดส์ครือเซเลียรส์ได้ยื่นเหรียญทองแผ่นนี้ให้เจ้าคุณราชทูตแล้ว ท่านได้กล่าวว่า  :- " เจ้าคุณโปรดรับเหรียญที่ระลึกนี้ด้วยเถิด เจ้าคุณรักษาไว้ตราบใดก็จะเป็นเครื่องเตือนสติตราบนั้น ว่าเมืองกังแบรย์ อยู่เย็นเป็นสุข ในร่มโพธิ์ทองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์มหาราช ดังคำจารึกซึ่งชาวเมืองได้เขียนไว้ในนี้เป็นสักขีพะยานปรากฎอยู่ไม่รู้หาย ขอเจ้าคุณจงทราบตระหนักใจและโปรดป่าวร้องให้ชาวชนพลเมืองสยามทราบด้วย เพราะเป็นสิ่งน่าป่าวร้องให้รู้ในทั่วทิศานุทิศ ให้คนทั้งโลกทราบด้วย " ว่าเท่านี้แล้วท่านก็ยื่นเหรียญทองให้เจ้าคุณราชทูตแต่บนหน้าซอง ที่ใส่เหรียญทองนั้นยังมีคำกลอนภาษาละตินเขียนอำนวยพรชัยอีกชั้นหนึ่งดังนี้ :- Viciti, Princeps, Urbi Pacemque dedisiti, dabis. Qui Rex et Pater es, dulcius esse ซึ่งแปลว่า " ขอพระองค์ผู้ทรง

๗๖ มหาชัยได้ทรงพระเจริญ ด้วยว่าพระองค์ได้ทรงนำสันติภาพมาสู่โลกและยังตั้งพระทัยจะทรงนำของพิเศษกว่านี้ให้มาสู่ต่อไป ขอพระองค์ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นพระชนกและพระขัตติยมหาราชของเราทรงพระเจริญเทอญ " เมื่อเสร็จการให้เหรียญทองแล้ว กรมการยังได้เอาผ้าอย่างเนื้อละเอียดอีกสามผืน ซึ่งเรียกตามภาษาตลาดมาหลายร้อยปีแล้วว่า " ผ้ากังแบรย์ " มาให้เจ้าคุณราชทูตเพื่อนำเอาไปไว้ดูเป็นตัวอย่างเป็นเสร็จการเชื้เชิญฝ่ายพลเมืองกังแบรย์เท่านี้ เจ้าคุณอัครราชทูตจึงได้แสดงความขอบใจว่า :- " ท่านทั้งหลาย การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสทางจัดการรับรอง บรรดาเราชาวสยามด้วยเกียรติยศอันสูงใหญ่ดังนี้เป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ พระตำหนักขอพระองค์มีอยู่เท่าใด ของประเสริฐคู่พระบารมีมีอยู่มากน้อยเท่าใด เมืองประ เทศราชที่พระองค์ทรงตีมีชัยชะนะอยู่ในทิศใด พระองค์ทรงพระมหา กรุณาโปรดโอกาสให้เราได้ไปเยี่ยมได้ชมดู ตามปรารถนาทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นพระเดชพระคุณอันเหลือล้น และไม่ว่าในที่ใดทั่วประเทศฝรั่งเศสชาวเมืองทั้งหลาย พร้อมกันยินดีรับรองเราและอำนวยชัยมง คลถวายแด่สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามปิยมหาราชของเรา ข้อนี้เป็นข้อซึ่งจารึกฝังอยู่ในดวงใจของเรามิรู้หาย ถ้าวันใดเราได้เหยียบประเทศสยาม มีโอกาสเฝ้าพระบารมีแห่งสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามแล้ว วันนั้นท่านทั้งหลายอย่ามีความวิตกเลย เราตั้งใจจะกราบทูลความ ๗๗ ชอบความงามของท่านทั้งหลายในทั่วเมืองฝรั่งเศส ให้พระองค์ทรง ทราบทุกอย่างทุกประการ ถ้าถึงเวรกราบทูลกล่าวถึงเมืองกังแบรย์ของท่านนี้แล้ว เราจะถวายเหรียญทองอันประเสริฐที่ท่านให้เราเวลานี้ และไม่ต้องสงสัยว่าพระองค์จะไม่ทรงชอบพระทัยรักษาไว้เป็นพะยานแห่งไมตรีจิตต์ของท่านต่อไปจนชั่วกัลปาวสาน " แล้วท่านอัครราชทูตยังแสดงความพอใจส่วนตัวของท่าน ในเรื่องเหรียญทองที่ระลึกนั้นเป็นหลายประการว่า  :- " ถึงแม้เราจะได้รับเงินทองตั้งร้อยตั้งล้านก็ดี เราก็จะไม่อิ่มใจเท่ากับที่ได้เหรียญทองอันนี้เลย " แล้วท่านว่ากับท่านแดส์ครือเซเลียรส์ ผู้กล่าวสุนทรพจน์ว่านั้นว่า :- " เรายังติดคำเชื้อเชิญของท่านเมื่อกี้นี้ยิ่งนัก ถ้าท่านมีความเมตตา มอบร่างให้เราถือไปดูตามชอบใจเมื่อเราว่าง ๆ จะถือเป็นพระคุณยิ่ง " ครั้นตกเวลาเย็น ท่านเดอเฟเนอลงมหาสังฆราชแห่งเมืองกังแบรย์ซึ่งเป็นผู้ มีชื่อเสียงปรากฎในทางจินตกระวีได้นิพนธ์หนังสือ ต่าง ๆ เป็นต้นว่า หนังสือเตเลมักสำหรับถวายท่านชาย ดึก เดอบูรคอญ พระราชนัดดาทรงอ่าน เพราะท่านเป็นพระครูสำหรับถวายอักษรแก่องค์ขัตติยางกูรนี้ ก็ได้เข้ามาหาท่านราชทูตถึงสำนักที่พักของท่าน ท่านอัครราชทูตซึ่งเคยได้ยินถึงคุณวุฑฒิและคุณสมบัติต่าง ๆ ของท่านพระครูองค์นี้มาก่อนแล้ว ทั้งท่านราชทูตก็เป็นผู้ที่มีสัมมา คารวะต่อพระต่อเจ้าเป็นนิสสัยติดตัวอยู่แล้ว ก็รู้สึกเป็นพระคุณพิเศษของท่านมหาสังฆราชในการที่ท่านมาเยี่ยมถึงที่พักดังนี้. ๗๘ เมื่อพูดกันไปมาเสร็จแล้ว ท่านมหาสังฆราช เดอเฟเนอลงได้สังเกตในจำพวกชาวสยามที่มาด้วยกับท่านราชทูตนั้น มีพระสงฆ์เมืองไทยองค์หนึ่งชื่ออันโตเนียวบินโตเป็นคนมีความสามารถหลายอย่าง พูดได้คล่องแคล่วหลายภาษา เป็นต้นภาษาฝรั่งเศสและภาษาละตินท่านมหาสังฆราช เดอ เฟเนอลง ก็เชิญพระสงฆ์เมืองไทยองค์นั้น ให้มานอนพักที่สำนักพระสังฆราช พร้อมด้วยกันกับท่านตลอดเวลา ราชทูตอยู่ในเมืองกังแบรย์นั้น ท่านอันโตเนียวบินโตก็กินอยู่หลับนอนกับท่านมหาสังฆราชเดอเฟเนอลง ท่านมหาสังฆราชไต่ถามเรื่องราวเมืองสยามต่าง ๆ นา ๆ ท่านอันโตเนียวบินโตก็อธิบายความ เป็นไปของเมืองไทย จนท่านมหาสังฆราชรู้เรื่องได้อย่างดีเป็นที่พอใจอย่างยิ่ง และเมื่อจะอำลากันไปนั้นท่านมหาสังฆราชเดอเฟเนอลงได้ให้เสมาทองต่าง ๆ และลูกประคำสายหนึ่งไว้เป็นระลึกแห่งกัน และกัน. เมื่อท่านกงต์เดอมงบรงจะลาราชทูตนั้น ท่านขอคำอาณัติสำหรับทหารในคืนหน้าต่อไป และท่านอัครราชทูตก็คิดให้ว่า :- " Fidele a on choix " ( ฟีแดล อาซง ชูอาช์ ) ซึ่งแปลว่า "สมพระทัย" ทั้งนี้เพื่อหมายความว่า การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงเลือกตั้งท่านเดอมงบรงเป็นเจ้าเมืองกังแบรย์ อันเป็นเมืองหน้าศึกอย่างสำคัญนั้นเป็นการเหมาะ " สมพระทัย " ทุกอย่าง ค่า ที่ท่านกงต์นี้ปฏิบัติราชการล้วนแต่ตามพระราชประสงค์ด้วยความเคร่ง ครัดสัตย์ซื่อ ซึ่งเป็นการน่าสรรเสริญอย่างยิ่ง เพราะท่านยัง

๗๙ มีอายุวัยไม่สู้มาก ถ้าตามปกติข้าราชการผู้ใหญ่แล้วต้องมีอายุมากกว่านี้เป็นอันมากจึงจะได้รับหน้าที่สำคัญเช่นนี้ได้. รุ่งขึ้นเวลาเช้าเจ้าเมืองให้รถมารับราชทูตพาไปดูเมือง พอราชทูตขึ้นรถไปถึงกำแพงเมือง ก็ได้เห็นเจ้าเมืองได้จัดม้าไว้คอยท่าอยู่แล้ว ราชทูตจึงลงจากรถและขึ้นขี่ม้าไปดูค่ายประตูหอรบครบทุกค่าย ถึงค่ายใดผู้บังคับการค่ายนั้นก็คลี่แผนที่ให้ท่านราชทูตดูเมื่อราชทูตเห็นคูลึกและป้อมกำแพงสูงชันมาก ก็กล่าวว่า :- " ป้อมอย่างนี้ถ้าหากข้าพเจ้าได้มาอยู่รวมกับทหารฝรั่งเศสแล้ว อย่าว่าแต่ไม่กลัวใครเท่านั้นเลย เข้าใจว่าไม่มีศัตรูใดกล้าจะเข้ามาต่อกรเสียด้วย เหตุไฉนหนอพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ยังทรงตีได้เล่า " ขณะเมื่อท่านราชทูตดูป้อมอยู่นั้น ฝ่ายนักเรียนทหารต่าง ๆ ก็แสดงกิฬา ยุทธให้ท่านดู ท่านมีความพอใจมากถึงกับออกอุทานชมพระบารมีสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอีกเป็นหลายประการ เป็นต้นท่านกล่าวว่า .- " ตั้งแต่เด็กจนแก่เฒ่าขึ้นชื่อว่าทหารแล้ว พระองค์ทรงชุบเลี้ยงเหมือน บิดาเลี้ยงบุตร ๆ ไม่ต้องเป็นกังวลด้วยการหากินทุกเช้าค่ำตลอดชีวิตและไม่ว่าที่ไหนทั่วแผ่นดินล้วนแต่พบปะบุตรเลี้ยงที่รักของพระองค์เสมอ ทำไมพระองค์จะไม่ทรงชะนะราชศัตรูเล่า " ว่าเท่านี้แล้วท่านก็แสดงความประสงค์จะลาไป โดยอ้างว่า .- " ก็ดูทหารดังนี้ใช่ว่า จะไม่อยากดูอีกต่อไปเมื่อไร แต่ต้องขออำลาท่านก่อน เพราะเย็นวันนี้เราตั้งใจจะไปเยี่ยมท่านมหาสังฆราชเดอเฟเนอลง เพราะว่าท่านสังฆราชองค์นี้เป็นบุรุษ อันประกอบด้วยคุณานุคุณอันล้ำเลิศ นาน ๆ ๘๐ ถึงจะได้มีโอกาสพบเห็นสักที แต่ทหารกับป้อมนี้เคยเห็นมามากต่อมากแล้ว ทั้งเข้าใจว่าคงมีโอกาสเห็นข้างหน้าต่อไปอีกเป็นแน่ " ว่าเท่านี้ท่านก็อำลาเจ้าเมืองขึ้นรถไปหาท่านมหาสังฆราชนั้น. พอย่างเข้าไปในโบสถ์ก็เห็นพระสังฆราชเดอเฟเนอลงมาคอยรับท่านราชทูตอยู่พร้อมทั้งพระสงฆ์อันดับด้วยแล้ว ครั้นคำนับรับรองด้วยกันทั้งสองฝ่ายตามธรรมเนียมแล้ว ท่านสังฆราชเชิญท่านราชทูตเดิรไปข้างหน้าเข้าไปดูในโบสถ์ต่อไป แต่ท่านราชทูตไม่ค่อย ยอมไปข้างหน้าเกี่ยงว่า .- " เจ้าคุณสังฆราชเป็นผู้อยู่ในศีลธรรม ประกอบด้วยจิตต์ศรัทธาและญาณความรู้อันพิเศษ มิบังควรเลยที่จะเดิรหลังเชิญพระคุณเจ้าได้โปรดเดิรไปก่อน พวกผมยินดีจะเดิรตามรอยอันน่าเคารพของพระคุณเจ้า " เจ้าคุณสังฆราชเดอเฟเนอลงจึงเดิรไปหนาพาไปดูอะไรอันควรดูในโบสถ์ของท่าน มีพาไปชมและฟังหีบเพลงออร์คันใหญ่อันมีอยู่ในวัดนั้นเป็นต้น. เย็นวันนั้นเมื่อราชทูตกลับยังที่พักแล้ว ท่านเจ้าเมืองให้ไปขออาณัติตามที่เคย วันนั้นอาณัติเป็นดังนี้ .- " IL achevera son ouvrage" (อิลาแซเวอร่าชอนูวราช) ซึ่งหมายความว่ากิจการต่าง ๆ สำหรับป้องกันบ้านเมืองกังแบรย์ มิให้ตกไปในเงื้อมมือของศัตรูกล่าวคือ ค่ายคูประตูหอรบที่ท่านเดอมงบรงกำลังคิดสร้างอยู่นั้นคงสำเร็จ และคำนี้เป็นที่ชมเชยท่านเจ้าเมืองเท่าไร ข้าพเจ้าไม่จำเป็นจะต้องอธิบายในที่นี้ เพราะย่อมแจ้งอยู่ในตัวเสร็จแล้ว


๘๑ บทที่ ๖๐ ราชทูตถึงเมืองเปรอน. รุ่งขึ้นวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ราชทูตลาออกจากเมืองกังแบรย์เดิรทางไปเมืองเปรอนต่อไป เมืองเปรอนนี้นับในจำพวกเมืองสำคัญของประเทศฝรั่งเศสเหมือนกัน เป็นดังกุญแจของประเทศก็ว่าได้ผู้ที่จะตีนั้นต้องเป็นคนสามารถจริง เพราะเป็นเมืองที่ดียาก ค่าที่มีหนองบึงบางล้อมอยู่แทบทุกด้าน พวกสเปญได้ลองแล้วลองอีกที่จะเข้าเมืองเปรอนนี้ให้จงได้ ก็ไม่สำเร็จสักที แท้จริงถึงเมืองใดจะมั่นคงแข็งแรงและตั้งอยู่ในที่วิเศษอย่างไร ถ้าชาวเมืองเองไม่เป็นใจรบ เมืองนั้นก็เป็นอันต้องตกไปเงื้อมมือของศัตรูสักวันหนึ่งเป็นแน่ แต่เมืองเปรอนนี้ทั้งมั่นคง และทั้งชาวเมืองด้วยกันก็ล้วนขึ้นชื่อลือนามมาแต่ไหนแต่ไรว่าเป็นชาตินักรบแท้ ฉะนี้รักษาเมืองได้ไม่เป็นอันตราย. ตอนเมื่อจะรับราชทูตเข้าเมืองนี้ หากไม่มีมีผู้บอกแล้วเข้าใจไม่ได้ว่าเป็นเมืองหน้าศึกหรือเมืองกลางประเทศ โดยธรรมดาเพราะแลเห็นคึกคักไปด้วยทหาร น่าจะเป็นเมืองหน้าศึก แต่แท้จริงก็เปล่า มิใช่เมืองหน้าศึก มิใช่เมืองมีทหาร เป็นเมืองมีแต่พลเรือนล้วนทั้งนั้น แต่กระนั้นเหตุไฉนจึงมีทหารมาต้อนรับราชทูตอย่างเอิกเกริกแน่นหนาเหมือนเมืองหน้าศึกไม่มีผิด ข้อนี้อธิบายว่าพลเมืองเองชอบเป็นทหารถึงกับสมัครหัดเอง ตัดเสื้อ ซื้ออาวุธเองเสร็จ วันที่ราชทูตมาจึงได้รับท่านอย่างทหารแท้ มียิงสลุต


๘๒ ด้วยปืนใหญ่ มีกระทำวันทิยาวุธด้วยหอกด้วยดาพ ด้วยธงพร้อมเสร็จ กระบวนทหารรับนั้นมีอยู่ ๑๖ กอง ยืนเรียงรายไปตามทางและที่ประตูบ้านพักของราชทูตมีกองปืนสั้นอีก ๕๐ คนอยู่ใต้บังคับบัญชาของนายร้อยเอก นายร้อยโท และนายร้อยตรี คนสนิทของนายกองใหญ่ถือธงชัยประจำเมืองเปรอนซึ่งเรียกว่า ธงสุทธิธวัช หรือธงบริสุทธิเหมือนสาวพรหมจารี เพราะศัตรูยังไม่เคยแตะต้องเลย เป็นธงพิเศษสำหรับเมืองนี้ ซึ่งศัตรูยังไม่เคยตีแตกสักคราวเดียว. ในการต้อนรับราชทูตที่หน้าเมืองนั้น บรรดากรมการก็ออกมาทั้งสิ้น มีท่านโอเบเป็นหัวหน้า และนอกนั้นยังมีขุนนางข้าราชการพร้อมด้วยท่านมาร์กีส์เดอแกงกูร์ต ผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้าอีกฝ่ายหนึ่ง หัวหน้าทั้งสองนี้คือ หัวหน้าฝ่ายราชการและหัวหน้าฝ่ายราษฎร ต่างถือลูกประแจเมืองคนละพวง ท่านมาร์กีส์ถือในนามของรัฐบาล และท่านโอเบถือในนามของเมืองซึ่งเป็นเกียรติยศพิเศษของเมืองนี้ที่ได้ถือประแจเมืองเอาเอง เพราะยังไม่เคยแพ้แก่ศัตรูหมู่ปัจจามิตร จึงทรงไว้พระทัยชาวเมืองได้ พอรถราชทูตมาถึงสะพานหันข้ามคูรอบเมืองที่หน้าประตูเมือง ก็ลงจากรถเพื่อกระทำพิธีมอบและรับประแจเมือง ท่านมาร์กีส์ยื่นให้ท่านราชทูตถึงสามครั้ง ตามธรรมเนียมราชทูตจึงรับ ครั้นแล้วท่านโอเบหัหวน้าราษฎรบยื่นให้อีกที แล้วจึงได้เข้าเมือง ขณะนั้นเสียงปืนใหญ่ เสียงระฆัง และเสียงผู้คนก็ประสานกัน เป็นที่แสดงความยินดีต้อนรับราชทูต

๘๓ เข้าเมืองเปรอน หน้าสำนักที่พักราชทูตก็ประดับด้วยธงทิว และตราแผ่นดินสยามสลับกับดอกไม้ใบไม้สด มีใบยี่โถซึ่งถือเป็นใบ ไชยพฤกษ์เป็นต้น. พอราชทูตมาถึงที่พักไม่นาน ท่านมาร์กีส์เดอแกงกูร์ตพร้อมด้วยขุนางฝ่ายรัฐบาล และขุนนางฝ่ายเมืองก็พากันมาเยี่ยมราชทูตและในโอกาสนั้นท่านโอเบ หัวหน้าราษฎรเมืองเปรอนได้กล่าวสุนทรพจน์ว่า :- " เจ้าคุณราชทูต " " กรมการเมืองเปรอนขอโอกาส เพื่อยืนในที่ฉะเพาะหน้าท่านสักหน่อย จะได้แสดงให้ท่านหยั่งรู้วาระน้ำใจว่า อยากต้อนรับท่านให้สมเกียรติยศอันสูงของท่าน และสมพระราชประสงค์แห่งพระเจ้าแผ่นดินของข้าพเจ้าด้วย ดูเอาเถิดท่านราชทูต เหตุการณ์อันไม่น่าเป็น พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์ยังอาจบันดาลให้เป็นไปได้เมืองฝรั่งเศสกับเมืองไทยหรือก็ตั้งอยู่ในที่อันแสนไกล มีภูเขาและมหาสุมทรกันมิให้ไปมาหาสู่กันได้ง่าย ถึงกระนั้นอาศัยพระบารมีแห่งพระผู้เป็นเจ้าซึ่งทรงถือพระหฤทัย แห่งกษัตริย์ทั้งหลายในกำพระหัตถ์ก็ว่าได้ พระองค์ยังทรงบันดาลให้กษัตริย์ของสองประเทศนี้ได้ทำมิตรไมตรีกัน นี่ควรมิใช่หรือที่จะถือว่าเป็นเหตุการณ์อันไม่น่าจะพึงเห็นแล้วยังได้มาเห็นอยู่ฉะนี้ อีกประการหนึ่งเมืองเปรอนนี้ก็เป็นเมืองลี้ลับอยู่กลางประเทศ ควรอยู่เมื่อไรที่จะได้เป็นพะยานแลเห็นการเป็นไปอันมหามงคลนี้ได้ แต่พระองค์ยังทรงดลใจให้ท่านมาเยี่ยมเมืองน้อยอันลี้ลับได้ฉะนี้ นี้ก็เป็นข้ออัศจรรย์น่าพิศวงอันไม่ ๘๔ น่าจะพึงเห็นก็จำเพาะยังมาได้แลเห็นอีกชั้นหนึ่ง นับว่าเป็นบุญแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย แท้จริงบรรพบุรุษของข้าพเจ้าทั้งหลายในเมืองเปรอน นี้ ได้สระสมไว้ซึ่งเกียรติยศอันใหญ่ยิ่งมอบไว้เป็นมฤดกของชาวเมืองในชั้นหลัง ดูก็ไม่น่าจะหวังต่อเกียรติยศอื่นเสียอีกแล้ว แต่ครั้นมาซ้ำดลเกียรติยศ ที่ท่านนำเข้ามาสู่เมืองในคราวมหามงคลครั้งนี้อีก โดยไม่มีใครคาดว่าจะพึงมีมาถึง ข้าพเจ้าทั้งหลายจะไม่พากันชื่นชมยินดีคำนับท่านราชทูตทั้งหลายกะไรได้ ขอจงเชื่อเถิดว่า บรรดาขาวเปรอนทุกคนมีวาระน้ำใจล้วนแต่ปีติยินดีดุจเดียวกับถ้อยคำที่ข้าพเจ้าอุตส่าห์บรรยายให้ท่านฟังฉะนี้แหละ ข้าพเจ้าทุกคนใคร่แสดงความเคารพนับถือในท่าน และใคร่ภาวนาขอให้ไมตรีซึ่งท่านมาผูกนี้ ได้มั่นคงถาวรมิรู้สิ้นมิรู้สุดเลย " เมื่อสิ้นกระแสสุนทรพจน์ลงแล้วท่านผู้ที่เป็นล่ามของราชทูตจึงได้ขอร่างสุนทรพจน์นี้มาจากท่านปาฐก และท่านปาฐกส่งให้พลางว่า :- " ข้าพเจ้ารู้อยู่ก่อนแล้วว่า ท่านราชทูตคงจะใคร่ได้คำเชื้อเชิญของข้าพเจ้าไปอ่านดู เพราะได้ทราบว่าท่านเคยขอมาจากเมืองอื่นแล้ว เมื่อรู้ฉะนี้จึงได้เตรียมไว้พร้อมเสร็จ และยินดีมอบให้ท่านในบัดนี้ " เมื่อล่ามรับมาแล้วก็อ่านพลางแปลพลางให้ราชทูตฟังจนรู้ความได้ดิบดี ท่านอัครราชทูตจึงกล่าวตอบว่า :- " เราขอบคุณท่านทั้งหลายเป็นอัน มาก ที่ท่านมาแสดงความยินดีในการต้อนรับเราฉะนี้ ถึงแม้เราจะกลับไปเมืองไทย ท่านอย่าพึงเข้าใจว่าจะลืมจะจดจำไว้จนชั่วอายุกาลส่วนสัญญาพระราชไมตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระนครกระทำ ๘๕ กันนี้ ก็คงจะมั่นคงถาวรอยู่ชั่วเดือนตะวัน ขอท่านทั้งหลายจงสวดภาวนาให้ฝรั่งเศสมีน้ำใจกลายเป็นไทย และไทยกลายเป็นฝรั่งเศสมิตรไมตรีจะไม่รู้วันสิ้นสุดลงเลย " เมื่อกล่าวดังนี้แล้วพวกขุนนางฝ่ายตุลาการและพระสงฆ์สมณะ ก็ได้มาอวยพรชัยให้ราชทูตเป็นลำดับต่อไป ข้างฝ่ายพวกขุนศาลมีมงเซียร์วายังต์เป็นหัวหน้า และฝ่ายพระสงฆ์ก็มีท่านอาเบเดอแวส์เตียร์ เป็นหัวหน้า เพราะเป็นผู้มีอาวุโสกว่าพระสงฆ์อื่นในเมืองเปรอน ทั้งเป็นมหาเปรียญ เป็นที่ปรึกษาประจำของราชทูตตระกูลเดอ นาวารร์ด้วย คำอวยพรของท่านอาเบเดอแวส์เตียร์นั้นดำเนิรเป็นใจความดังนี้ " เจริญพรยังท่านอัครราชทูต ก็เมื่อมหาชนทั้งหลายกำลังพิศวงอยู่ในพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ซึ่งเจ้าคุณรับตำแหน่งเป็นผู้แทนพระองค์ในเวลานี้ และเมื่อต่างคนต่างกำลังสรรเสริญพระปรีชาญาณ ซึ่งพระองค์ทรงแสดงในราชกรณียกิจทั้งหลายของพระองค์เป็นต้น ความเพียรพยายามเพื่อจะประสานพระราชไมตรีกับพระบาทสมเด็จพระทรงชัยของเรา ส่วนอาตมภาพควรจะต้องสำแดงความเคารพนับถือ ต่อเจ้าคุณมากสักเท่าไรถึงจะสมกับอิสสริยยศของราชทูต แห่งพระมหากษัตราธิราชเจ้า ซึ่งทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ เป็นที่รักใค่รนับถือของคริศตศาสนิกชนทั่วไป อาศัยที่พระองค์ทรงปกป้องรักษาสัปบุรุษคริศตังทั้งหลายในแว่นแคว้นอันแสนไกลให้อยู่เป็นปกติสุขเห็นปานดังนี้ ๘๖ ดูกรท่านราชทูตานุทูตทั้งหลาย ขอพระองค์บนสรวงสวรรค์ทรงอำนวยพระพรชัยยังท่านทั้งหลาย เพื่อความเพียรอุตส่าห์ของท่านทั้งหลาย จะได้ประสพซึ่งผลสำเร็จสมมโนรถปรารถนาทุกประการเทอญขอผลานิสงส์แห่งเมตตาจิตต์มุทิตาจิตต์ ซึ่งท่านทั้งหลายเผยแผ่แก่ข้ารับใช้ของพระผู้เป็นใหญ่ยิ่ง ได้บันดาลให้เป็นอมฤตย์ผลา ผลสำหรับท่านทั้งหลายในปรโลกเบื้องหน้าเทอญ ขอผลานิสงส์แห่งปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพ และคุณานุคุณทั้งหลายอื่นเป็นอันมาก ซึ่งเป็นเหตุบันดาลให้สมเด็จพระเจ้าหลุยส์มหาราชทรงผูกพระทัยรักใคร่นับถือ ท่านทั้งหลายพร้อมด้วยพลเมืองทั้งหลายของพระองค์ จงบันดาลให้บรรดาท่านทั้งหลายได้ประสพซึ่งรัศมีแห่งความปรีชาญาณอันประเสริฐหาที่สุดมิได้ กล่าวคือพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งทรงสรรพคุณานุคุณทั้งปวงในสถานวิมานสวรรค์ด้วยเทอญ นี้ แหละท่านราชทูตทั้งหลาย เป็นใจความย่อแห่งความรู้สึกซึ่งได้บังเกิดขึ้นในดวงกมลของอาตมภาพทั้งหลาย บรรดาพระสงฆ์เมืองเปรอนซึ่งได้ออกมาหาท่านคราวนี้ ! เจริญพร ! " ขณะเมื่อราชทูตกำลังฟังคำอำนวยพรต่าง ๆ และโต้ตอบล้วนเหมาะ ๆ กับคำอวยพรอยู่นั้น ฝ่ายทหารสมัครซึ่งมาต้อนรับราชทูตนั้น กำลังเข้าแถวทำท่ารบอยู่หน้าสำนักที่พักของราชทูตพวกนายทหารชั้นนายร้อยเอก เป็นแถวหน้า พวกนายร้อยตรีสลับกันอยู่หัวแถวปลายแถว และแถวหลังที่สุดมีพวกนายร้อยเอกอีก แถวหนึ่งเหมือนแถวหน้า การจัดแถวนี้เข้าทีมาก ค่าที่หมวกนาย

๘๗ ทหารนั้นล้วนติดขนนกสีขาวเป็นพวงพู่ เมื่อแลดูรอบแถวทหารทั้งหลายเหล่านั้น จึงเห็นขนนกปลิวสะบัดสะบิ้งเป็นสีขาว น่าดูมาก. พอถึงคราวจะรบอย่าไปเข้าใจว่ารบจริง เปล่าไม่มีทั้งนั้น แทนที่จะรบกันจริงกลับเป็นรบกับขวดเหล้าองุ่นต่างหาก คือเมื่อสนทนาปราศรัยให้พรซึ่งกันและกันเสร็จแล้ว ฝ่ายเจ้าพนักงานเลี้ยงของกรมการเมือง ๑๒ คน ก็นำเอาขวดอุ่นมาเป็นขบวนแห่ คนเลี้ยงมิใช่คนอื่นล้วนผู้ใหญ่ฝ่ายพลเรือนทั้งนั้น เช่นพวกศาลเป็นต้น แล้ว ถัดมาผู้บังคับการทหารสมัครที่ ๑ กับผู้ช่วยพร้อมด้วยธงสมาคมหัตถ กรรม ๓๐ ธง ซึ่งมาแทนสมาคมของตน ๆ แล้ว ยังแซมคนตีกลองอีกเป็นอันมาก ตอนปลายขบวนแห่นั้นมีนายทหารอีกคนหนึ่งเป็นเสร็จขบวนแห่ขวด. เมื่อขบวนเดิรมาถึงสำนักที่พักแล้ว ก็ขึ้นไปบนเรือนเป็นขบวนแบบเดียวกัน แล้วหัวหน้าฝ่ายศาลจึงได้อัญเชิญราชทูตให้รับประทานเหล้าองุ่นซึ่งเมืองจัดเลี้ยง ท่านราชทูตรับเลี้ยงตามเชิญพลางกล่าวว่า .- " ที่ท่านรับรองพวกเราชาวไทยด้วยเกียรติยอันสูงใหญ่ฉะนี้เป็นที่ชอบใจยิ่ง แต่ก็ไม่เป็นที่แปลกประหลาดใจอะไรค่าที่ข่าวเมืองเปรอนนี้ เคยเข้าหูมาหลายทางแล้วว่า พวกชาวเมืองนี้เป็นคนอัธยาศัยดีอย่างหาที่เปรียบยาก เราเห็นสมจริงแล้วทุกประการและการรับรองของท่านคราวนี้เราจะมิได้ลืมเลย เสียดายอยู่อย่าง


๘๘ เดียวแต่ที่ท่านเป็นฝ่ายให้ข้างเดียว เรามิรู้ที่จะทดแทนคุณความดีของท่านอย่างไร แต่ขอท่านจงเชื่อเถิดว่า ถ้าพวกเรามีหนทางใดช่วยเหลือท่านได้เมื่อไร เรายินดีอยากจะช่วยอยู่ทุกเมื่อ " เมื่อเลี้ยงเหล้าองุ่นเสร็จแล้ว พวกที่นำเหล้ามาเลี้ยงนั้นก็จัดแจงออกเดิรเป็นขบวนแห่ดุจเดียวกับเมื่อขาเข้านั้นเอง ฝ่ายราชทูตก็อยู่แต่ลำพังในสำนักของท่าน ขณะนั้นฝ่ายพวกทหารโบราณ ซึ่งใช้ปืนสั้นมีขอเกี่ยวอยู่ตอนปลายเป็นอาวุธ ก็ยิงระดมมาจากหอ กลาง ทำให้ราชทูตอยากดูว่าเป็นอะไร ก็ออกไปดูทางหน้าลานเมือง และในขณะเดียวกันนั้น ฝ่ายพวกทหารสมัครซึ่งเข้าแถวทำท่าจะรบอยู่นั้นก็คำนับราชทูตด้วยชูปลายหอกขึ้นพร้อมกัน เล่นเอาราชทูตตกใจ เพราะท่านยังไม่ได้รู้เห็นว่าพวกทหารได้จัดการแสดงอยู่หน้าลานเช่นนั้น ส่วนทหารปืนขอนั้น เมื่อรู้ว่าราชทูตเยี่ยมประตูหน้าต่างออกมาก็ตั้งต้นยิงระดมไปอีกคราวหนึ่ง แล้วท่านราชทูตก็เข้าที่พัก เย็นวันนั้นท่านมาร์กีส์ดอแกงกูร์ตไปขอคำอาณัติตามธรรมเนียม ท่านออกให้คำเดียวสั้นที่สุดว่า .- " La Pucele ' (ลาปืแซล) คือพรหมจารีค่าที่เมืองเปรอนยังเป็นเมืองพรหมจารีอยู่ ราชศัตรูยังไม่เคยแตะต้องเลยสักที และท่านราชทูตอธิบายคำของท่านเองเป็นพิเศษว่า วันนี้เราเลือกให้แต่คำเดียวโดดก็จริง แต่ถึงเดี่ยวถึงสั้นดังนี้ก็จุคุณความดีเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ สำหรับเป็นเกียรติยศอันสูงของเมืองเปรอนอยู่แล้ว คืนวันนั้นทั่วเมืองเปรอน ชาวเมืองได้ตาม ๘๙ ประทีปโคมไฟกันทุกบ้านตามคำแนะนำของท่านโอเบ หัวหน้ากรม การฝ่ายพลเรือน ส่วนทางวัดก็ได้ตีระฆังเป็นที่แสดงความรื่นเริงด้วยทุกวัด จากที่พักของราชทูตนั้นแลไม่เห็นประทีปต่าง ๆ ที่ชาวบ้านตกแต่งประดับประดาไว้ เพราะเหตุนี้ ท่านสตอร์ฟเจ้าพนักงานรับแขกเมืองผู้อยู่ติดตามหลังราชทูตเสมอ ก็ได้ชวนราชทูตให้ออกไปชมดูคณะราชทูตทราบดังนั้นก็ลงจากที่พักไปดูถึงหน้าลาน ซึ่งทหารกำลังประลองยุทธกันให้ดู และเป็นเหตุให้ราชทูตสำแดงความพอใจอีกชั้นหนึ่งว่า :- " ท่านทั้งหลายรู้จักแสดงความจงรักภักดีของท่านต่อพระเจ้ากรุงสยามของเราช่างดีนัก. - น่าชมจริง " ที่เมืองเปรอนนี้ราชทูตเป็นแต่ค้างคืนเดียวเท่านั้น เพราะเหตุนี้ตอนหัวค่ำ เมื่อท่านนั่งกินเข้ามีคนพากันมาดูมากเหลือล้น แต่ก็เข้าไม่ได้หมด เข้าได้แต่นางแหม่มชั้นสูงบางคนเท่านั้น คนอื่นต้องคอยดูข้างนอก ในเย็นวันนั้นราชทูตขอแปลนของเมืองเปรอนจากท่านมาร์กีส์ ดอแกงกูร์ต ๆ จึงให้นายตีซงอินชเนียร์หลวงไปเอามาให้ เมื่อได้แล้วราชทูตกับเจ้าเมืองได้ดูด้วยกันจนท่านราชทูตเข้าใจดีว่า เมืองเปรอนมีรูปสัณฐานเป็นประการใด. รุ่งขึ้นเวลาเช้า ท่านเจ้าเมืองให้ทหารสมัครมายืนเรียงรายและตามไปส่งราชทูตเป็นขบวนแบบเดียวกันกับคราวเข้าเมือง พอขบวนราชทูตออกไปถึงประตูเมืองแล้ว ต่างได้แสดงคำอำลากันเป็นอันเสร็จการผ่านไปเมืองเปรอน รถราชทูตก็ออกเดิรต่อไป ฝ่ายในเมืองก็ยิงปืนใหญ่น้อย และตีระฆังกันเป็นการส่งราฃทูตด้วยเกียรติยศ ๑๒ ๙๐ ตอนกลางวัน วันนั้น ราชทูตไปพักและรับประทานอาหารกลางวันที่เมืองแฟส์น ออกจากเมืองแฟส์นแล้วก็เดิรทางจะไปเมืองแซงต์กังแตงต่อไป.

บทที่ ๖๑ ราชทูตถึงเมืองแซงต์กังแตง. เมืองแซงต์กังแตงนี้ เป็นเมืองอยู่สองฟากฝั่งแห่งแม่น้ำซอมม์เดิมรวมอยู่ในแว่นแคว้นแวร์มังดวาส์ ซึ่งเคยมีอิสระของตัวอยู่มาแต่ก่อน เวลานี้รวมอยู่ในมณฑลปีการ์ดี้ เป็นเมืองใหญ่มีการหัตถกรรมหลายอย่าง ชั้นแรกเมืองแซงต์กังแตง เป็นของท่านกงต์เดอแวร์มังดวาส์ ปกครองอยู่ตามลำพัง ต่อมาได้ตกเป็นของ พระเจ้าฟิลิปโอคึสต์แห่งฝรั่งเศส แล้วถัดมาได้เป็นส่วนหนึ่งในแว่นแคว้นของประเทศบุร์คอญ จนภายหลังตกเป็นของสเปญตีได้ ดังนี้ถึงศก ๑๕๕๙ แต่ในปีนั้นได้มีสัญญาสงบศึกที่เมืองกาโตกังแบร์ซีส์ สเปญยอมตกลงยกเมืองแซงต์กังแตง กลับคืนเป็นของประเทศฝรั่งเศสจึงได้เป็นของฝรั่งเศสแต่นั้นมา. การรับราชทูตเข้าเมืองแซงต์กังแตงนี้ เดิรเป็นแบบเดียวกับที่เคยเป็นมาในเมืองอื่น คือเจ้าเมืองและกรมการอำเภอต่างขี่ม้าและขึ้นรถออกไปรับราชทูตถึงนอกเมืองประมาณทางสองลี้ พอพบกันกลางทางพวกทหารที่ออกไปคอยรับ จากในเมืองก็ยิงปืนสลุตตาม

๙๑ ธรรมเนียมแล้วก็ทำคำนับวันทยาวุธพร้อมกันทุกหมวดหมู่ แล้วก็จัดกันให้ออกเดิรมาเข้าเมืองเป็นขบวน พวกทหารกองอัศวินมหามงกุฎก็ล้อมรถราชทูต มือถือดาพเรื่อยมาเป็นการเคารพ แล้วขบวนก็เคลื่อนออกเดิร มีทหารแห่หน้าหลังทั้งขุนนางข้าราชการและขุนนางพลเรือนอีก ๒๐๐ คน พวกกองหน้าคือกองตำรวจภูธรมาเรโชเซ่ เมื่อขบวนเคลื่อนมาถึงกำแพงเมือง บนเชิงเทินทั่วไป ก็ยิงปืนใหญ่คำนับราชทูตตามเคยแล้วขบวนก็เดิรเข้าเมืองต่อไป ตั้งแต่ระยะนี้ไปตลอดทั้งสองข้างทาง มีพวกชาวเมืองยืนเรียงรายมองดูราชทูตเป็นทิวแถวแน่นมิได้ขาด ตั้งแต่ประตูเมืองจนถึงที่พักซึ่งได้จัดไว้คอยท่านรับราชทูต หน้าประตูที่พักนั้นมีตราประจำรัชชกาลของพระเจ้าแผ่นดินสยามเป็นเครื่องประดับเป็นที่จับตราราชทูตยิ่งนัก ค่าที่มีเครื่องสีเงินสีทองสลับกันงดงามมาก เมื่อถึงประตูที่พักแล้วฝ่ายกองทหารปืนขอแบบโบราณ ซึ่งอยู่บนหอกลางเมืองก็ยิงปืนขอของเขาพร้อมกัน และอาศัยที่หอกลางกับบ้านของราชทูตอยู่ตรงข้ามกันไม่ห่าง เจ้าคุณราชทูตมิจำเพาะแต่ได้ยินเสียงปืนขอเท่านั้น ซ้ำยังได้เห็นทั้งปืนทั้งที่ผู้ยิงโดยถนัดด้วย. เมื่อราชทูตพักอยู่ในบ้านนั้นไม่นานนัก พวกเจ้าเมืองและขุนนางทุกรมทุกกองต่างก็มาแสดงคำเชื้อเชิญ และชวนเลี้ยงเหล่าองุ่นเหมือนที่เคยเป็นมาในที่อื่น ผู้ที่แสดงสุนทรพจน์นั้นเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายศาลชื่อมงเซียร์โรอาร์ต ซึ่งท่านพึ่งได้เป็นผู้ใหญ่ฝ่ายพลเรือนขึ้นในปีนั้น ถัดมาพวกพระสงฆ์ก็มาคำนับต่อไป และท่านอาเบคอ ดีเนต์ ผู้แทนท่านเดอโมปู ซึ่งพึ่งรับตำแหน่งเป็นสังฆราชเมือง ๙๒ กัสตร์ก็ได้เป็นผู้แสดงคำเชื้อเชิญ และเป็นผู้ให้สิ่งของกำนัลจำเพาะของพระสงฆ์เอง ซึ่งควรสังเกตุอยู่หน่อย เพราะมิใช่ธรรมเนียมที่สงฆ์จะให้อะไรแก่ฆราวาส ชอบแต่ฆราวาสถวายสิ่งของแก่สมณสงฆ์ต่างหาก. ในที่นี้ไม่ทราบสุนทรพจน์ของกรมการเมืองแซงต์กังแตง และของคณะสงฆ์ว่าจะดำเนิรไปประการใด แต่มีใจความของคำตอบแห่งท่านอัครราชทูตว่าดังนี้ .- " สังฆมณฑลแห่งเมืองแซงต์กังแตงนี้ประกอบไปด้วยเกียรติยศอันสูงใหญ่ มีเหตุประจักษ์อยู่แก่ตา หลายประการ ประการหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มหาราชเจ้ามิจำเพาะทรงรับตำแหน่ง เป็นผู้อุปถัมภ์คณะสงฆ์แซงต์กังแตงนี้ยังทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ รับตำแหน่งกิติมศักดิ์แห่งคณะนี้ด้วย ก็เป็นเกียรติยศหาที่สุดมิได้ ประการสอง คณะสงฆ์นี้อยู่ในสำนักที่เก็บรักษาพระธาตุของนักบุญแซงต์กังแตง ซึ่งเป็นองค์มาร์ตีร์ อันศรัทธาและแกล้วกล้าอาจหาญในการบำรุงพระคริศตศาสนา ก็เป็นพระเกียรติยศอันใหญ่ยิงอีกส่วนหนึ่ง ประการสาม สมณะกิรยาธยาศัยของคณะสงฆ์นี้เพียงเท่าที่สังเกตได้ด้วยนัยน์ตา ในขณะนี้ก็สุภาพเรียบร้อยน่าชวนศรัทธาสัปบุรุษทั้งหลายผู้ประสพเห็น ก็เป็นเกียรติยศอันสูงใหญ่ซึ่งสมควรแก่ตำแหน่งคริศตบุตร ในศาสนาของพระองค์การที่แลเห็นบรรดาสงฆ์ผู้ทรงศีลศรัทธาแกล้วกล้าฉะนี้ เป็นบุญวาส นาของผู้เห็น เพราะอาจให้บังเกิดความศรัทธาตามด้วยกิริยาสุภาพของท่าน เป็นพะยานแห่งความดีของพระศาสนา ซึ่งได้อบรมนิสสัย

๙๓ ให้ละเอียดสุขุมน่านับถือถึงพียงนี้ และเป็นด้วยเหตุอันเดียวกันนี้แหละ ซึ่งได้บันดาลให้พระเจ้าแผ่นดินสยามของเรา เกิดมีความเลื่อมใสในพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสของท่าน เพราะท่านทรงเห็นและทรงได้ยินพระสงฆ์ใจศรัทธากิริยางาม ในศาสนาของท่านบันดาลให้ออกไปเที่ยวประกาศศาสนาของท่าน ถึงในประเทศสยามของเรา ดังนี้เป็นเบื้องต้น และพระองค์ทรงนับถือกับชุบเลี้ยงอุปถัมภ์บำรุงมิให้อนาทรร้อนใจแต่ประการใด ทั่วพระราชอาณาจักรสยามมิได้ขาด ยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังทรงปลูกสร้างโบสถ์วิหารและสำนักอาศัย สำหรับท่านและสัปบุรุษศิษย์หาของท่านในเมืองไทยด้วยนี้ ก็ล้วนเป็นผลแห่งกิริยามรรยาทอันสุภาพน่าใคร่นับถือ ของท่านพระสงฆ์ผู้ได้ออกไปสอนศาสนาคริศตังในเมืองไทย เป็นปฐมเหตุเบื้องต้นนั้นเอง ในที่สุดนี้ เราขอท่านได้โปรดสวดภาวนาแบ่งส่วนกุศลอุททิศให้บรรดาเราและชาวชนพลเมืองสยามด้วยจงมากเทอญ " พอท่านราชทูตตอบปราศัยยกย่องพระสงฆ์ถานันดรดังนี้แล้ว ฝ่ายพระสงฆ์นั้นต่างก็มาคำนับราชทูตทีละองค์ ๆ แล้วพวกขุนศาลฝ่ายหลวงและขุนศาลฝ่ายราษฎร พวกเจ้าภาษีนายอากร มีภาษีเกลือเป็นต้น ก็ได้เข้ามาเป็นพวกเดียวกัน ครั้นคำนับกันเสร็จสรรพแล้วฝ่ายท่านดาบังกูร์ตช้าหลวงพิเศษก็ได้เข้ามาขออาณัติสำหรับคืนนั้นและอาศัยที่ท่านราชทูต ได้ทราบประวัติของท่านเจ้าเมืองชื่อมาร์กีส์เดอปราแดล อยู่บ้างแล้วว่าเป็นนักรบสำคัญ เคยติดศึกสงคราม

๙๔ มาไม่รู้กี่ราย และมีบาดแผลเป็นเกียรติยศติดหน้าไม่รู้กี่แห่ง ก็ตั้งคำอาณัติ ให้สมกับความชอบ ของท่านเจ้าเมืองผู้แกล้วกล้านั้นว่า .- " Pius chaerge de lauriers que danness " (ปลืส์ซาร์เจ เดอลอเรียร์ส์เกอ ดาเน่ส์) ซึ่งแปลว่า ท่านหนักด้วยดอกชัยพฤกษ์ ยิ่งเสียกว่าดอกฉนำ อธิบายคือ ว่าชัยชะนะล้ำอายุและบาดแผลของท่าน. เย็นวันนั้นตามเมืองแซงต์กังแตงได้ติดประทีปโคมไฟ กันทุกบ้านเรือนเป็นต้นรอบสนามกลางเมือง ซึ่งเป็นสนามใหญาและงามอย่างที่หาให้งามและใหญ่เท่าไม่ค่อยได้ ในทั่วราชอาณาจักรฝรั่งเศสเวลาก่อนเข้ามีนางผู้ดีมาดูราชทูตเป็นอันมากตามเคย และได้มีการดีดสีตีเป่าตลอดเวลานั้นด้วย. รุ่งขึ้นเวลาเช้าราชทูตให้ขุนนางไทยซึ่งมาด้วยกับท่านนั้นไปดูวัดใหญ่กลางเมือง เพื่อจะได้รายงานถวายสมเด็จพระนารายณ์เมื่อกลับ ขุนนางเหล่านั้นก็พากันไปแล้วกลับมาแจ้งว่าเป็นวัดใหญ่และงามที่สุด พอกินเข้าเช้าแล้วก็ถึงเวลากำหนดจะเดิรทางออกจาก เมืองแซงต์กังแตงกลับไปทางพระนครหลวงต่อไป แต่ก่อนที่จะไปนั้น ตามวัดวาอารามต่าง ๆ ก็ได้ตีระฆังกันออกเซงแซ่ และ ทางบ้านเมืองก็ได้ยิงปืนใหญ่ปืนเล็กกระหน่ำไป แล้วจึงได้จัดกระ บวนแห่ แห่รถราชทูตไปส่งจนพ้นชานเมือง หนทางเมืองสองลี้เท่ากับเมื่อขาเข้าเมืองเหมือนกัน จึงได้ลากันไป.


๙๕ บทที่ ๖๒ ราชทูตกลับมาถึงเมืองลาแฟร์. เย็นวันเดียวกันราชทูตถึงเมืองลาแฟร์ ซึ่งเป็นเมืองป้อมปราการอยู่ตามลำน้ำอวาส์ เป็นเมืองมีหนองน้ำอยู่รอบเป็นที่ป้องกัน และมีกำแพงเชิงเทินแข็งแรงแน่นหนาอีกชั้นหนึ่ง ซ้ำลำแม่น้ำ อวาส์แยกออกเป็นหลายสาย เป็นคูเมืองอย่างดีอยู่ด้วยอีก เพราะเหตุนี้จึงเป็นเมืองยากที่ศัตรูจะตีได้ แต่กระนั้นก็ได้ตกเป็นของสเปญไปพักหนึ่ง จนถึงคริศตศักราช ๑๕๙๗ แล้วจึงได้กลับคืนมาเป็นของฝรั่งเศสอีกใหม่จนตราบเท่าทุกวันนี้. ก่อนที่จะเข้าเมืองแฟร์ หนทางไกลประมาณลี้หนึ่งทหารม้า ๑๐๐ คนกับมังเซียร์เดอลาฟงแตนเป็นหัวหน้า บังคับการแทนเจ้าเมืองก็ได้มาต้อนรับถึงที่นั้น เมื่อถึงประตูเมืองก็มีทหารชื่อ " กองหนุ่ม " มาคอยท่าต้อนรับอยู่อีกตอนหนึ่ง ถัดมาอีกหน่อยพอมาถึงบางแซงต์ฟิรแมง ซึ่งอยู่ในประตูเมืองแต่นอกกำแพงชั้นใน มงเซียร์มาร์คอเญ ผู้บังคับการเมืองก็ได้ออกมาต้อนรับคำนับอยู่ที่นั้น ในคำคำนับนั้นท่านกล่าวว่า ท่านกับพลเมืองลาแฟร์มีความยินดีเป็นอันมาก ในการที่ท่านรชาทูตสยามมีโอกาสได้ผ่านมาเหยียบเมืองลาแฟร์นั้น และมีพระราชโองการสั่งให้พาท่านราชทูตไปดูอะไรต่ออะไรที่น่าดูซึ่งมีอยู่ในเมืองลาแฟร์นั้น จนครบเป็นต้นเช่นค่ายคูประตูหอรบ โรงเก็บอาวุธและโรงงานอื่น ๆ ที่สำ

๙๖ คัญ เพราะเหตุฉะนี้ ท่านราชทูตจะใคร่ดูสิ่งใดในเมืองลาแฟร์ขอโปรดบอกจะยินดีปฏิบัติตามทุกอย่างไม่มีปิดบังเลยสักสิ่ง ส่วนท่านราชทูตก็ตอบขอบใจและกล่าวเป็นใจความว่า สิ่งที่อยากดูเป็น ต้นนั้นคือแปลนเมืองกับค่ายเท่านั้น ต่อนั้นมายังมีผู้มาคำนับรับรองตามเคยอีกหลายพวก เช่นพวกขุนศาล พวกกรมการเมือง ฯลฯ เมื่อแห่มายิงปืนใหญ่พลางก็มาถึงที่พัก เมื่อราชทูตขึ้นอยู่บนบ้านที่พักนั้นแล้ว ท่านสังฆราชเมืองลังกับเถรานุเถระพระสงฆ์สมณะในโอวาทของท่านก็มาคำนับท่านราชทูตถึงที่พักทีเดียว ถึงเวลาแล้วก็ราชทูตก็เชิญ ท่านสังฆราชองค์นั้นกับมงเซียร์มาร์คอเญให้อยู่กินเข้าเย็นด้วยกัน เย็นวันนั้นก็มีแหม่มผู้ดีนั่งอยู่ด้วยมากมายตามเคย และท่านราชทูตก็ดูแลเอาใจใส่อย่างน่าชม มีเชิญให้รับประทานผลไม้สดบ้าง, ผลไม้กวนบ้างเป็นต้น จนเป็นที่ชอบพอของท่านทั้งหลายในที่นั้นเหมือนที่อื่นเหมือนกัน. เมื่อเลิกการเลี้ยงแล้ว ท่านมาร์คอเญก็ขอคำอาณัติคืนต่อไป ท่านราชทูตคิดออกให้ว่า .- "Je suis aux Indes" (เยอ ซูยส์โอแซงด์) แปลฉะเพาะแก่นใจความก็คืออยู่เมืองลาแฟร์นี้ ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนหนึ่งยังอยู่ในเมืองไทย ใจความของคำอาณัตินี้มิใช่ไม่มีเหตุผลเมื่อไร ย่อมมีเหตุผลสมควรทีเดียว ค่าที่เมืองไทยนั้นมีน้ำนองท้องทุ่งอยู่หลายเดือนทุกปี อยู่ในกรุงให้รู้สึกว่าเหมือนอยู่เกาะกลางทะเลก็เกือบจะว่าได้ และสำหรับเมืองลาแฟร์นี้เล่าก็คล้ายกัน ค่าที่มีหนองมีบึงเป็นที่ขังน้ำอยู่โดยรอบ ๙๗ ดุจเดียวกันฉะนี้ ท่านจึงอาจกล่าวถึงความรู้สึกของท่านโดยถูกต้องดังนี้ พอให้คำสัญญาเสร็จแล้วราชทูตกับเจ้าเมืองก็ได้ดูแปลนของเมืองลาแฟร์กันอยู่อีกครู่หนึ่งแล้วต่างก็ลากันไป. รุ่งขึ้นเวลาเช้า เจ้าเมืองได้มาเยี่ยมราชทูตอีกและพอท่านเจ้าเมืองเข้ามาถึงราชทูต ก็พาท่านเจ้าเมืองไปดูข้างเตียงที่นอนของท่านเพื่อให้ดูว่าแปลนเมืองซึ่งท่านเจ้าเมืองให้นั้น ท่านราชทูตหวงแหนรัก ษาอย่างกวดขัน ถึงกับเอาไปแขวนติดไว้ข้างเตียงนอนร่วมกับดาพเกียรติยศของท่าน ว่าจะไม่ให้ห่างออกไปจากกันเป็นอันขาดค่าที่นับถือเท่ากันทั้งสองสิ่ง ราชทูตออกจากเมืองลาแฟร์ เวลาเช้า ๘ นาฬิกาก่อนเที่ยงมีขบวนพลทหารสมัครและพลเมืองแห่แหนเป็นขนัดเป็นเหมือนขาเข้าเมืองไม่มีผิด เวลากลางวันได้ไปพักและรับประทานอาหารที่เมืองกรูซีย์เลอชาโต และในตำบลนั้นมงเซียร์เดอโลแนย์ซึ่งเคยเป็นนายทหาร รองในกองรักษาพระองค์ก็ได้มาคำนับราชทูต เมื่อราชทูตได้ทราบว่านายทหารรองคนนี้เคยเป็นผู้มีความชอบ ในการศึกสงครามมาก่อนก็แสดงความเคารพหลายอย่าง เป็นต้นโดยเชื้อเชิญให้บุตรของท่านเดอโลแนย์นั้นมานั่งรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน พอรับประทานอาหารพักตามสมควรแล้ว ตอนบ่ายคณะราชทูตก็ได้ขึ้นรถเดิรทางเข้ากรุงหลวงอีก และเย็นวันนั้นก็ได้หยุดพักที่เมืองซวาซงส์ ๑๓


๙๘ บทที่ ๖๓ ราชทูตเข้าไปอยู่เมืองซวาซงส์ เมืองซวาซงส์นี้เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ริมลำน้ำแอส์น ซึ่งเป็นบุญแก่เมืองมิใช่น้อย ค่าที่เป็นโอกาสให้ค้าขายได้สะดวก แต่ครั้งรัชชสมัยปฐมวงศ์กษัตริย์แรกที่ได้มีในเมืองฝรั่งเศสนั้น เมืองซวา ซงส์นี้เคยเป็นราชธานีมาคราวหนึ่ง แล้วต่อมาเมื่อย้ายราชธานีไปตั้งที่กรุงปารีสเมืองซวาซงส์นี้ ได้ลดลงเป็นเพียงที่ว่าการมณฑลบีการ์ดี้ วัดวาอารามโบราณที่งาม ๆ ในเมืองนี้มีมาก เช่นวัดสังฆ ราชเรียกว่า วัดนักบุญมาร์ตีร์แย็ร์แวส์และโปรแตส์กับวัดแซงต์เมดาร์ด วัดแซงต์เครส์แปง วัดนอตร์ด้าม วัดแซงต์ยัง วัดแซงต์เลเยร์ เป็นต้น เกียรติยศอันสูงสำหรับเมืองซวาซงส์นี้คือว่า ถ้าถึงคราวจะราชาภิเษกพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสแล้ว หากว่าท่านสังฆราช เมืองแรงส์ไม่อยู่เป็นประธานในงานหลวงนั้นแล้ว ท่านสังฆราช เมืองซวาซงส์นี้เป็นที่สองของท่านรับกระทำพิธีราชาภิเษกแทน (นี้ว่าสำหรับครั้งก่อนเมื่อประเทศฝรั่งเศสยังเป็นราชาธิปตัย) พอข่าวแห่งราชทูตสยามถึงเมืองซวาซงส์แล้ว อันว่ากรมการเมืองมีมงเซียร์บอเซวต์เป็นประธานก็ได้รีบจัดแจงเมืองให้สวยสะอาดสมควรเป็นที่พักแห่งผู้แทนพระมหากษัตราธิราชฝ่ายบุรพทิศทันที ทั้งเพื่อจะมิให้น้อยหน้าชาวเมืองอื่น ๆ ที่เคยต้อนรับราชทูตไทยมาแล้วนั้นด้วย เวลานั้นตำแหน่งสังฆราชเมืองซวาซงส์ว่างอยู่ เพราะ

๙๙ เหตุฉะนั้น ท่านผู้สำเร็จราชการแทนพระเจ้าแผ่นดินพร้อมทั้งกรม การผู้ช่วยทั้งหลายจึงพร้อมกันลงความเห็นว่า ควรจะจัดตำหนักท่านสังฆราชนั้นเองเป็นที่พักแรมของบรรดาราชทูตสยาม ค่าที่ ทั่วเมืองซวาซงส์นั้นจะหาบ้านช่องเรือนโรงที่งดงาม และเหมาะเท่าตำ หนักสังฆราชนั้นเป็นไม่มี ถึงพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสเองเล่า ถ้า ทรงประพาสที่เมืองซวาซงส์เมื่อใด ก็เสด็จมาประทับที่ตำหนักนั้นทุกคราวไม่ได้ทรงพักที่อื่นเลย เมื่อตกลงเห็นพร้อมกันเช่นนี้แล้ว ต่างก็ขนเอาเตียงตู้เครื่องตกแต่งบ้านของตนที่งดงามยิ่งมาตั้งประดับตำหนักที่พักของราชทูตสยามครบ มีเตียงถึง ๒๔ เตียง ล้วนแต่งามประณีตด้วยกันทั้งนั้น แต่ที่งาม ๆ ยิ่งกว่าที่ไหน ๆ หมด คือห้องที่พักของท่านอัครราชทูตนั้นงามมากจริงบรรดาประตูหน้าต่างประดับไปด้วยตราแผ่นดินสยามหมดทุกด้าน อนึ่งเพื่อจะเพิ่มความสง่าแก่การรับรองราชทูตนั้น พวกคฤหบดีที่มีอายุอยู่ในระวางเป็นชายฉกรรจ์และที่สมัครเป็นกองทหาร (เพราะเวลานั้นตามประเทศต่าง ๆ เช่นที่เมืองฝรั่งเศสเป็นต้นหาได้มีการเกณฑ์ทหารไม่ ทหารล้วนเป็นทหารจ้าง ทหารอาสาสมัครทั้งนั้นกองทหารสมัครที่กล่าวถึงในเรื่องนี้ จึงเป็นเหมือนหนึ่งทหารเสือในเมืองไทยเวลานี้เกือบจะว่าได้) ก็พร้อมกันลงความเห็นว่าจะมีการระดมพลสวนสนาม กองสมัครเหล่านี้แบ่งเป็น ๒๑ กอง แต่ครบจำนวนบ้าง ไม่ครบบ้าง พอตกลงอย่างนี้แล้วต่างก็จัดการในกอง


๑๐๐ ของตน ๆ ให้ครบตามบัญชี กองไหนขาดพลหรือขาดนายหมวดหมู่ก็เลือกตั้งขึ้นทันทีทันใด ให้พร้อมมูลกัน ครั้นจัดกองเสร็จแล้วได้แบ่งหน้าที่ต้อนรับดังนี้คือ ในพวกทหารสมัคร ๒๑ กองนั้น ให้ ๑๗ กอง ออกไปต้อนรับถึงประตูเมืองชื่อประตูเดอครูซีย์ ที่นั้นแยกให้ ๔ กองอยู่เฝ้ารับที่ประตูนั้นพร้อมกับเจ้าเมืองกรมการ และอีก ๑๓ กองก็ให้ออกไปต้อนรับนอกประ ตู หนทางไกลเพียงชั่วลูกปืนตกเป็นกำหนด ส่วนอีก ๔ กองนั้น ให้เหลืออยู่เรียงรายเฝ้ากันที่ในเมืองรอบตำหนักของราชทูต นอกนั้นยังกองสองร้อยพิเศษเรียกว่ากองเดอลาร์กบืส คือกองทหารม้าปืนสั้นก็มีคำสั่งให้ออกไปรับราชทูต ถึงนอกเมืองหนทางไกลถึงร้อยเส้น และส่วนกองทหารปืนใหญ่ก็เอาปืนใหญ่ขึ้นบนกำแพงเมืองเตรียมไว้คอยยิงสลุตรับเมื่อได้ข่าวว่ารถของราชทูตจะมาถึงนั้น เพื่อจะให้กองทหารเกียรติยศต่าง ๆ เหล่านี้ทำการประชุมตามหน้าที่ของตนได้สะดวก เจ้าเมืองได้ประกาศให้ชาวเมืองทราบว่า.- " อาศัยเหตุที่ท่านราชทูตสยามจะถึงเมือซวาซงส์วันนี้ ตลาดชั่วคราวซึ่งเคยเปิดกันที่สนามกลางเมืองในวันนี้ขอให้เป็นอันงด อย่าเปิดซื้อขายกันเลยให้พ่อค้าทั่วไป ปิดตลาดและโรงร้านของตนทั่วเมือง ซวาซงส์ให้ถือว่าวันนี้เป็นวันนักขัตฤกษของเมืองซวาซงส์เถิด " ครั้นสั่งการเสร็จแล้ว ถึงเวลาบ่ายวันจันทร์ที่ ๑๘ เดือน พฤศจิกายน กองทหารสมัครเหล่านั้นได้พากันไปต้อนรับราชทูตสยามตามที่ตกลงกัน ทหารออกไปเป็นหมวดหมู่มีทหารแตร

๑๐๑ ทหารตีกลองนำหน้าเป็นสง่ายิ่ง แต่กองที่สง่ากว่าอื่นหมดคือกองทหารม้าอาร์กบืสหรือกองปืนสั้นนั้นเอง พอถึงเวลา ๔ นาฬิกาหลังเที่ยง ท่านเจ้าเมืองและบรรดาขุนนางกรมการต่างก็นำประแจเมืองขี่รถมารับราชทูตเป็นกระบวนแห่ บรรดาราษฎรทั้งหลายทุกชั้นตระกูลต่างพากันแตกตื่นออกไปดูเป็นการเอิกเกริกใหญ่. รถราชทูตได้มาถึงประตูเมืองเวลา ๖ นาฬิกาหลังเที่ยงเป็นเวลาพลบค่ำอยู่แล้ว พวกไปต้อนรับต่างนึกเสียดายที่มิได้มาถึงเสียแต่กลางวัน แต่ลงปลายไม่มีใครเสียใจเพราะว่าชาวเมืองทั้งหลาย บรรดาที่ได้รอคอยดูอยู่ที่หน้าบ้าน ต่างคนอยากเห็นโฉมหน้าราชทูตไทยว่าเป็นอย่างไร จึงพากันจุดตะเกียงไขต่าง ๆ มองดูที่หน้าต่างและประตูบ้านตลอดหนทาง ตั้งแต่ประตูเมืองจนถึงตำ หนักสังฆราชซึ่งเป็นที่พักแรมของราชทูต เมืองซวาซงส์เย็นวัน นั้นจึงเลยดูเหมือนกับมีงานเฉลิมสว่างไสวคล้ายกับกลางวัน. ครั้นกระบวนราชทูตรับประแจเมืองที่ประตูเสร็จแล้วกระบวนก็เคลื่อนเข้ามาเป็นระเบียบเรียบร้อยจนถึงตำหนักของท่านสังฆราช ที่นั้นคณะพระสงฆ์ของเมืองได้ต้อนรับคำนับท่านราชทูต แล้วพวกกรมการก็ได้เชิญ คณะราชทูตไทยรับพร้อมถ้วยองุ่นแห่งเมืองซวาซงส์เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งมิตรไมตรีจิตต์ ซึ่งต่างขอแสดงต่อกันและกันในระวางคนไทยและคนฝรั่งเศส ถัดมาพวกขุนนางอื่นก็มาคำนับราชทูตและกล่าวคำเชื้อเชิญอวยชัยให้พรเป็นลำดับจนถึงเวลาราว ๙ นาฬิกาหลังเที่ยงจึงได้เชิญเลี้ยงอาหารท่านราชทูต เมื่อกินเข้า

๑๐๒ แล้วในเมืองได้มีการจุดดอกไม้เพลิง และยิงปืนเป็นการฉลองการมาถึงของบรรดาราชทูตไทย. รุ่งขึ้นเวลาเข้าเมื่อคณะราชทูตได้กินเข้ากับเจ้าเมือง และบุตรของท่านแล้วได้ขึ้นรถกับท่านเจ้าเมือง และบรรดากรมการเมืองพากันไปดูเมืองซวาซงส์ ท่านได้ไปดูวัดของท่านสังฆราชเมืองซวาซงส์ซึ่งเรียกว่าวัดแซงต์แย็ร์แวส์แล้วก็ได้ดูพระอารามชื่อแซงต์ยัง ซึ่งเป็นอารามงามยิ่งในประเทศนั้น โบสถ์ขาวสะอาดดี ข้างในสว่างเห็นแจ่มแจ้งราวกับข้างนอก ไม่มืดทึบเหมือนอย่างที่เป็นสำหรับบางวัดเลย ถัดจากวัดนี้ไปแล้วยังได้ไปดูสวนอาร์กบืสและสนามเมล์ซึ่งเป็นสนามพึ่งสร้างขึ้นใหม่ ต้นไม้ในนั้นยังไม่สูงเต็มขนาดแต่ก็ดูงาม ดีอยู่แล้ว. เย็นวันนั้นเมื่อกลับมาจากเที่ยวดูเมืองแล้ว ท่านราชทูตได้รับเลี้ยงที่จวนของเจ้าเมืองพร้อมกับขุนนางและเจ้าหน้าที่สำคัญที่มีอยู่ในเมืองซวาซงส์ เมื่อกินเข้าเย็นแล้วได้มีการเต้นรำเพื่อเป็นที่รื่นเริงต่อไปอีก ในการประชุมเต้นรำนั้น ท่านราชทูตได้แสดงให้ทราบว่าตนมิใช่เกิดมาเพื่อรู้จักแต่เพียงเจรจาการบ้านเมืองเท่านั้น ถึง กระบวนโอภาปราศรัยท่านก็ออกจะชำนิชำนาญไม่แพ้ใครเหมือนกันเมื่อเลิกเต้นรำแล้วท่านเจ้าเมืองได้พาราชทูตกลับยังที่พัก พวกทหารสมัครได้จุดดอกไม้ไฟเป็นเกียรติยศอีก ถึงที่พักเป็นเวลาดึกดื่นมากทีเดียว.


๑๐๓ รุ่งขึ้นวันพุธที่ ๒๐ เมื่อกินเข้าเช้าและรับคำอำลาของชาวเมือง ซวาซงส์แล้วท่านราชทูตกับเจ้าเมืองก็ได้ขึ้นรถออกจากเมืองเดิรทางกลับปารีสต่อไป พวกทหารทุกเหล่าก็ยืนเรียงรายไปตามทาง จนถึงประตูเมือง และส่วนกองตำรวจภูธรก็พากันไปส่งไกลออก ไปอีก ซึ่งเป็นที่พอใจของราชทูตมิใช่น้อย ท่านขอบใจแล้วขอบใจ เล่าที่เอาใจพวกของตนดังนี้ แล้วต่างก็ลากันไป.

บทที่ ๖๔ ราชทูตถึงวิแลร์ก็อตเตรต์. ถึงนังเตยและดังมาร์แตง. เย็นวันนั้นราชทูตถึงเมืองวิแลร์ก็อตเตรต์ เป็นเวลาฝนตกใหญ่อากาศมืดมิดแลไม่ค่อยเห็นอะไร จึงเป็นการไม่เหมาะที่จะไปเที่ยวชมอะไรต่ออะไรได้ ที่เมืองนั้นสถานที่ที่น่าดูมีอยู่เป็นต้นคือ พระตำหนักของสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า แต่ราชทูตไม่ยินดีเข้าไปชมดูเลย อ้างว่า " เมื่อท่านเจ้าของไม่อยู่เราก็ไม่อยากเข้าไปดู แต่เข้าใจว่าถ้าได้เห็นคงเป็นขวัญตา น่าปลื้มใจในบุญบารมีของพระองค์เป็นแน่ " พอค้างคืนหนึ่งที่เมืองนั้นแล้วรุ่งขึ้นราชทูตขึ้นรถไปยังเมืองนังเตยต่อไป เป็นวันที่ ๒๑ เดือน พฤศจิกายน. ที่เมืองนังเตยนี้ราชทูตพักอยู่ไม่นาน แต่กระนั้นก็ยังได้อุตส่าห์ไปเยี่ยมบ้านของท่านขุนนางคนหนึ่งชื่อมาร์กีส์เดอเซิฟร์ นอกนั้นท่านไม่ได้ไปดูอะไร เหตุที่ท่านไปดูบ้านของท่านมาร์กีส์นี้มิใช่เพราะเหตุอื่น

๑๐๔ เป็นเพราะบาดหลวงเดอลิยอน ( ซึ่งภายหลังได้เป็นสังฆราช ) ซึ่งเคยอยู่เมืองไทยหลายปี และเป็นที่พอพระทัยของสมเด็จพระนา-รายณ์ เป็นน้องเขยของท่านมาร์กีส์เดอเซิฟร์เจ้าของบ้านนี้ เมื่อ-ท่านราชทูตได้ทราบว่า ท่านบาดหลวงเดอลิยอนนี้เป็นเชื้อวงศ์ขุนนางชั้นสูง คือเป็นบุตรของท่านเสนาบดีแล้วยังอุตส่าห์ทิ้งบ้านเกิดเมืองมารดาไปเที่ยวเทศนาสั่งสอนพระศาสนาในประเทศสยาม โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยและภัยอันตรายแก่ตน นึกแต่ความสุขของชาวเมืองไทยเป็นประมาณดังนี้ ท่านก็ยิ่งเพิ่มความเคารพในท่านบาดหลวงเดอลิยอนเป็นอันมาก. เย็นวันเดียวกันนั้นราชทูตถึงเมืองดังมาร์แตง ซึ่งเป็นที่ใกล้เคียงกับพระนครปารีสแล้ว ทีนี้บรรดากรมการเมืองก็ตั้งใจต้อนรับราชทูตดุจเดียวกับที่ได้เป็นมา ในทุกเมืองตั้งแต่ท่านได้ออกจากกรุงปารีสไปข้างเหนือกลับมา แต่ส่วนราชทูตมีความมุ่งใจอยู่อย่างเดียวแต่ที่อยากจะกลับให้ถึงปารีสให้เป็นอันเสร็จการเที่ยวไปเสียสักที. พอพักอยู่ที่ดังมาร์แตงสักครู่หนึ่ง ราชทูตจึงได้ดำเนิรทางต่อไปจนถุงกรุงปารีส ครั้นท่านเข้าไปถึงพระราชวังซึ่งเป็นที่ประทับแล้วกิจที่ท่านเริ่มกระทำในเบื้องต้น ก็คือท่านได้พร้อมกันหันหน้าไปทางพระที่นั่งวังแวร์ซายส์ ซึ่งที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ต่างก็ฟุบหมอบลงกราบถวายบังคมต่อพระองค์เป็นสามครั้งตามขนบธรรมเนียมในบ้านเมืองของท่าน. ขณะนี้บรรดาผู้ที่คอยอยู่ต้อนรับท่าน เมื่อขากลับจากเหนือนี้ต่างก็ได้พากันไต่ถามท่านด้วยเรื่องต่าง ๆ บางท่านถามว่า " เจ้าคุณไม่ ๑๐๕ เหน็จเหนื่อยมากหรือ " บ้างก็ถามว่า " เจ้าคุณหนาวมากไหมที่มณฑลเหนือโน้น " แล้วคนนั้นคนโน้นก็ถามอีกต่อ ๆ ไป ส่วนท่านราชทูตมีคำตอบล้วนเหมาะ ๆ สำหรับทั่วทุกคนที่ได้ถามนั้น ท่านว่า "เรื่องหนาวหรือเหนื่อยนั้น ท่านอย่าเอามาถามเลย จะเหนื่อยอย่างไรได้ เมื่อกำลังชมเชยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหลุยส์มหา ราชเจ้า จะหนาวอย่างไรเล่า เมื่อเรามีพระบยารมีปกเกล้าปกกระหม่อม อยู่ตลอดทาง " รุ่งขึ้นเวลาเช้าวันที่ราชทูตกลับมาถึงกรุงปารีส ท่านสตอร์ฟเจ้าพนักงานกระทรวงวัง ซึ่งได้ติดตามราชทูตสยามตลอดทางก็ได้รีบเข้าไปเฝ้ากราบบังคมทูลรายงานความเป็นไปแห่งการเที่ยวของราชทูตสยามให้ทรงทราบว่า สำเร็จไปแล้วด้วยความเรียบร้อยทุกประการเป็นที่พอใจของราชทูตสยามเป็นอันมาก เวลาท่านจะไปเฝ้านั้นท่านอัครราชทูตใคร่จะให้ ท่านสตอร์ฟช่วยเป็นธุระกราบบังคมทูลให้ทรงทราบว่า ตนอิ่มเอิบในพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทรง โปรดเกล้า ฯ ดำรัสสั่งให้จัดการการพาไปเที่ยวชมมณฑลฝ่ายเหนือ แห่ง ประเทศฝรั่งเศสดังนี้ แต่ลงปลายท่านเกรงว่าจะเป็นการมิบังควร ก็เลยงดเป็นแต่เพียงสั่งให้ท่านขอบใจฯ พณฯ เจ้าคุณเสนาบดีเดอเซเญอเลย์ ว่าการต้อนรับของบรรดาเจ้าเมืองกรมการทั้งหลายทั่วทุกเมืองตลอดทาง ได้เป็นไปอย่างเอื้อเฟื้อสนิทสนมเป็นที่พอใจอย่างยิ่งเป็นที่ขอบใจพระเดชพระคุณ ฯ พณ ฯ เจ้าคุณเสนาบดีได้กะการเป็นอย่าง ดีที่สุดที่จะพึงเป็นไปได้


งานนี้เป็นสาธารณสมบัติ เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

  • (๑) เป็นภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรก (หรือวันที่มีการเผยแพร่งานครั้งแรก) แล้วแต่ว่ากรณีใดปรากฏก่อน
  • (๒) เป็นงานศิลปประยุกต์ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับยี่สิบห้าปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๓) เป็นงานโดยผู้ไม่เปิดเผยชื่อหรือผู้ใช้นามแฝง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับห้าสิบปี นับแต่วันสร้างสรรค์หรือเผยแพร่ครั้งแรก
  • (๔) เป็นงานในหมวดหมู่อื่น ๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้น และผู้สร้างสรรค์คนสุดท้ายถึงแก่ความตายมากว่าห้าสิบปีแล้ว
  • (๕) เป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานนี้ไม่ปรากฏ ผู้สร้างสรรค์งานนี้เป็นนิติบุคคล หรือตายก่อนการเผยแพร่งาน ประกอบกับงานนี้มีอายุอย่างน้อยห้าสิบปี นับแต่วันเผยแพร่งานครั้งแรก